directions_run

(20)ส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์แบบมีมาตรฐานในพื้นที่ สวี - ทุ่งตะโก

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ (20)ส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์แบบมีมาตรฐานในพื้นที่ สวี - ทุ่งตะโก
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดชุมพร
รหัสโครงการ 65-00240-0020
วันที่อนุมัติ 30 เมษายน 2022
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2022 - 30 เมษายน 2023
งบประมาณ 170,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืน(SDGsPGS)สวี - ทุ่งตะโก
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายชาตรี แดงแก้ว
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสุดาภรณ์ ปัจฉิมเพ็ชร
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2022 30 ก.ย. 2022 1 พ.ค. 2022 30 ก.ย. 2022 68,000.00
2 1 ต.ค. 2022 28 ก.พ. 2023 1 ต.ค. 2022 28 ก.พ. 2023 93,500.00
3 1 มี.ค. 2023 30 เม.ย. 2023 1 มี.ค. 2023 30 เม.ย. 2023 8,500.00
รวมงบประมาณ 170,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

พื้นที่อำเภอ สวี และอำเภอทุ่งตะโก มีพื้นที่รวมประมาณ 636,800 ไร่ มีพื้นที่เพาะปลูกรวมประมาณ 555,600 ไร่ ส่วนใหญ่ทำการปลูกมะพร้าว ปาล์มน้ำมัน ยางพารา ไม้ผลต่างๆ เช่น ทุเรียน มังคุด ลองกอง กาแฟ สับปะรด เป็นต้น    แต่ด้วยราคาผลผลิตยางพาราตกต่ำ ประกอบกับทุเรียนมีราคาสูงขึ้น ในห่วง 4-7 ปีที่ผ่านมาเกษตรกรได้ปรับเปลี่ยนการผลิต ไปปลูกทุเรียนเพิ่มขึ้นนับแสนไร่ แต่หากมองถึงปัจจุบัน สถานการณ์โรคระบาดโควิด19 ได้รุนแรงมากขึ้นในขณะเดี่ยวกัน สมุนไพรได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในทางแก้ปัญหาเรื่องนี้มากขึ้น สามชิกของกลุ่มจึงได้หันมาปลูกพืชกระท่อมและสมุนไพรค่อนข้างมาก แต่ผลผลิตที่ได้ จะต้องเป็นผลผลิตจากแปลงเกษตรอินทรีย์เท่านั้น ถึงจะเป็นความต้องการของตลาดทั้งใน และต่างประเทศเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร ยา และเครื่องสำอาง       สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืน SDGsPGS สวี – ทุ่งตะโก จึงมีความประสงค์ที่จะส่งเสริม ให้สมาชิก และเกษตรกรในพื้นที่อำเภอสวี และอำเภอทุ่งตะโกหันมาทำเกษตรอินทรีย์เพื่อสุขอนามัยของประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งผู้บริโภคในเป้าหมายในระยะเวลา 2 ปีที่พัฒนามา สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืน SDGsPGS สวี – ทุ่งตะโก ได้งบประมาณสนับสนุนจาก สสส. จัดทำโครงการพัฒนาระบบเกษตรกรรนยั่งยืนเพื่อความมั่นคง และปลอดภัยทางอาหาร      เมื่อ 1 มิถุนายน 2563 – มีนาคม 2564 เพื่อพัฒนาขีดความสามารถขององค์กร ซึ่งมีคณะกรรมการ และสมาชิก เช่นแนวทางการทำเกษตรกรรมยั่งยืนการทำสารชีวภัณฑ์ และปุ๋ยชีวภาพทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี และสารป้องกันและกำจัดศัตรูพืชมีการจัดทำแผนธุรกิจชุมชน พัฒนาวิสาหกิจชุมชน , จัดทำแผนและปฏิทินการผลิตรายครัวเรือน , อบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการผลิตเกษตรปลอดสารพิษและแปรรูปอาหารปลอดภัย , สนับสนุนเครือข่าย ผลิตปุ๋ยชีวภาพและสารชีวภัณฑ์ , อบรมเชิงปฏิบัติการ พัฒนารูปแบบการผลิตและการตลาดให้แก่สมาชิก,ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ เช่น สำนักงานเกษตรอำเภอสวี    สำนักงานเกษตรจังหวัด สำนักงานทรัพยากรบ่อบาดาล และหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง


ผลที่เกิดขึ้นจาการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา 1. มีคณะกรรมการวิสาหกิจชุมชน SDGsPDS สวี-ทุ่งตะโกที่เข้มแข็งระดับหนึ่ง 2. มีแหล่งผลิตและจำหน่ายสารชีวภัณฑ์ ปุ๋ยชีวภาพ เพื่อจำหน่ายใหกับสมาชิกนำไปใช้ในแปลงของตนเอง 3. มีศูนย์เรียนรู้เกษตรกรรมยั่งยืนจำนวน 11 ศูนย์ 4. มีนวัตกรรมในการแปรรูปสินค้าในกลุ่มเช่น น้ำสกัดเปลือกมังคุด น้ำมังคุดไซเดอร์ ผลิตภัณฑ์อเนกประสงค์บำรุงพืช (เนเจอร์แคร์) น้ำผึ้งโพรงพันธุ์ไทย ผลิตภัณฑ์สารชีวภัณฑ์เพื่อป้องกันกำจัดศัตรูพืช ผักผลไม้อินทรีย์ เช่น ทุเรียนอินทรีย์ ผักเหลียงอินทรีย์ ปศุสัตว์อินทรีย์ และผลิตภัณฑ์จากเห็ด 5 อย่าง 5 สี น้ำมันปาล์มแดง กล้วยเล็บมือนางอบแห้ง สมุนไพรต่างๆ


สมาพันธ์เกษตรยั่งยืนสวี และ วิสาหกิจชุมชน เกษตรอินทรีย์SDGPGS สวี-ทุ่งตะโก มีจุดมุ่งหมายที่จะทำ ให้  ผู้ผลิตปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย ซึ่งการดำเนินการที่ผ่านมาวางแผนตลอดห่วงโซ่ คือ ส่งเสริมการผลิต ผ่านเวทีเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ทั้ง 12 จุด  พัฒนาการรับรองมาตรฐานSDGsPGS ได้จำนวน 14 ราย 350 ไร่  การยกระดับเป็นผู้ประกอบการ และเข้าร่วมพัฒนาผู้ประกอบชุมชนกับมหาวิทยาลัยแม้โจ้-ชุมพร ซึ่งยังมีข้อจำกัดในการมีและใช้แผนธุรกิจชุมชน  และการตลาด ซึ่งก็มีการดำเนินการทั้งตลาดหน้าฟาร์มและตลาดออนไลน์ แต่ยังไม่ได้มีระบบจัดการในภาพรวมของเครือข่าย ดังนั้นในสมาพันธ์ฯ จึงมีแนวทางสำคัญ คือ การขยายและพัฒนาคุณภาพมาตรฐานผลผลิตผัก ผลไม้และสมุนไพร(กระท่อม)  พร้อมกับพัฒนาระบบจัดการตลาดที่หลากหลายรูปแบบ ตามความพร้อมของมวลสมาชิกและให้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคกลุ่มต่างๆ ตามชนิดสินค้า สำหรับประเด็นที่เป็นจุดเน้นสำคัญ คือ การรับรองมาตรฐานสินค้าสู่การจัดการตลาด ซึ่งโดยสถานการณ์ แล้วมีผลกระทบดังนี้ ด้านสุขภาพ: อาหารมีผลต่อสุขภาพร่างกายและความเครียด สารเคมีตกค้าง และภาวะเจ็บป่วย  ด้านเศรษฐกิจ: เกษตรกรมีภาระหนี้สิน ด้วยต้นทุนการผลิตสูง และขาดการจัดการตลาดที่ดี ด้านสิ่งแวดล้อม :เกิดการสูญพันธ์ของพันธุกรรมพืช-สัตว์ แหล่งอาหารตามธรรมชาติหายไป และสารเคมีตกค้างในดิน-น้ำ  ทั้งนี้ปัญหาที่เกิดมีสาเหตุดังนี้  อันเนื่องมาจากพฤติกรรมกลุ่มคน : ขาดความรู้ ความตระหนักในการทำเกษตรอินทรีย์  นิยมความสะดวกสบายและเชื่อตามการโฆษณาสินค้าต่างๆ  อันเนื่องมาจากสภาพทางสังคม-กายภาพ ได้แก่ ยังมีร้านค้าจำหน่ายเคมีภัณฑ์ที่เกษตรกรเข้าถึงได้ง่าย การตลาดและสื่อประชาสัมพันธ์ ยังเน้นการผลิตเพื่อจำหน่ายมากกว่าบริโภค และอาหารที่ดียังเข้าถึงผู้บริโภคได้น้อย ทำการตลาดไม่ดี ไม่เก่ง  สภาพแวดล้อมถูกทำลายเสื่อมโทรมทั้งดิน-น้ำ-ป่า การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ อันเนื่องมาจากระบบและกลไก ได้แก่ กลไกรัฐไม่ตอบสนองแนวทางเกษตรอินทรีย์แม้นว่ามีวาระจังหวัด เกษตรอินทรีย์วิถีชุมพร พื้นที่หรือแปลงต้นแบบเกษตรอินทรีย์มีน้อย นโยบายรัฐไม่เอื้อต่อระบบเกษตรอินทรีย์และมีมูลค่าน้อยต่อ GDP ของจังหวัด/ประเทศ อย่างไรก็ตามสมาพันธ์เกษตรยั่งยืนสวี และ วิสาหกิจชุมชน เกษตรอินทรีย์SDGPGS สวี-ทุ่งตะโก ยังคงมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมการเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่อำเภอสวี-ทุ่งตะโก เพื่อให้ผู้ผลิตปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัยต่อไป

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 65มิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66
1 ส่วนที่ สสส สนับสนุนเพิ่มเติม(1 พ.ค. 2022-30 เม.ย. 2023) 10,000.00                        
2 กลไกสมาพันธ์เกษตรยั่งยืนมีขีดความสามารถขับเคลื่อนงาน(30 ก.ค. 2022-30 เม.ย. 2023) 98,785.00                        
3 เกิดความร่วมมือภาคีเครือข่ายใน-นอกพื้นที่(30 ก.ค. 2022-30 ธ.ค. 2022) 32,020.00                        
4 เกิดการจัดการตลาดสินค้าเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ(30 ก.ค. 2022-31 ม.ค. 2023) 29,695.00                        
รวม 170,500.00
1 ส่วนที่ สสส สนับสนุนเพิ่มเติม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 82 10,000.00 12 10,000.00
4 - 5 มิ.ย. 65 ปฐมนิเทศโครงการย่อยNFชุมพร 15 1,600.00 1,600.00
22 มิ.ย. 65 จัดทำป้ายโครงการและป้ายประชาสัมพันธ์งดเหล้า บุหรี่ 0 1,000.00 1,000.00
30 ก.ค. 65 การอบรมเสริมทักษะในการบันทึกข้อมูลออนไลน์ 1 400.00 400.00
22 ก.ย. 65 ประชุมชี้แจ้งรายละเอียดการทำเอกสารโครงการย่อยของเครือข่ายสมาพันธ์เกษตรกรรมฯ 4 1,200.00 1,200.00
26 ต.ค. 65 เวทีสมัชชาสุขภาพจังหวัดชุมพร 1 530.00 530.00
31 ต.ค. 65 ประชุมติดตามประเมินผลลัพธ์โครงการย่อย (ARE ครั้งที่ 1) 50 530.00 530.00
3 พ.ย. 65 ประชุมร่วมกับพี่เลี้ยง 1 300.00 300.00
3 ธ.ค. 65 พบพี่เลี้ยง (การลงข้อมูลตามขั้นตอน) 1 300.00 300.00
19 ม.ค. 66 อบรมการทำเกษตรอินทรีย์และการใช้ปุ๋ย 4 1,200.00 1,200.00
10 เม.ย. 66 ประชุมติดตามผลลัพธ์โครงการ (AREครั้งที่ 2) 3 600.00 600.00
19 เม.ย. 66 พบพี่เลี้ยง (เอกสารรับรองแปลงเกษตรอินทรีย์) 1 500.00 500.00
30 เม.ย. 66 ค่าบันทึกข้อมูลกิจกรรมลงระบบ 1 1,840.00 1,840.00
2 กลไกสมาพันธ์เกษตรยั่งยืนมีขีดความสามารถขับเคลื่อนงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 456 98,785.00 14 98,785.00
2 พ.ค. 65 ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 1 15 3,200.00 3,200.00
12 มิ.ย. 65 - 30 ก.ย. 65 ตรวจแปลงเกษตรของสมาชิกจำนวน 50ราย 50 15,000.00 15,000.00
12 มิ.ย. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2 11 3,850.00 3,850.00
22 มิ.ย. 65 อบรมเชิงปฎิบัตการการพัฒนาศักยภาพผู้ตรวจแปลง 20 10,300.00 10,300.00
9 ก.ค. 65 อบรมเชิงปฏิบัติการ การจัดการแปลงเกษตรอินทรีย์ ครั้งที่ 1 30 9,500.00 9,500.00
18 ก.ค. 65 อบรมเชิงปฏิบัติการ การจัดการแปลงเกษตรอินทรีย์ ครั้งที่ 2 100 6,500.00 6,500.00
29 พ.ย. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3 15 5,250.00 5,250.00
2 มี.ค. 66 หักเงินยืมเปิดบัญชีโครงการ 0 500.00 500.00
5 มี.ค. 66 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 4 15 4,200.00 4,200.00
21 มี.ค. 66 ประชุมติดตามประเมินผลลัพธ์โครงการ (ARE) 15 675.00 675.00
25 มี.ค. 66 พัฒนาระบบข้อมูลทั้งเกษตรกรและแอดมินในระบบออนไลน์และออนไซด์ 20 5,000.00 5,000.00
3 เม.ย. 66 ประชุมคณะทำงานและสมาชิกวิสาหกิจชุมชน SDGsPGSสวี-ทุ่งตะโก (ครั้งที่ 5) 15 5,550.00 5,550.00
26 เม.ย. 66 การตรวจรับรองแปลงมาตรฐานอินทรีย์จำนวน50แปลง(รอบ2)ข้อมูลในระบบล่ม 50 10,760.00 10,760.00
30 เม.ย. 66 เวทีคืนข้อมูลแก่ชุมชนท้องถิ่น (ติดตามประเมินผลลัพธ์) 100 18,500.00 18,500.00
3 เกิดความร่วมมือภาคีเครือข่ายใน-นอกพื้นที่ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 21 32,020.00 3 32,020.00
8 เม.ย. 66 ประชุมกลั่นกรอง และรับรองแปลงเกษตร 3 1,560.00 1,560.00
16 เม.ย. 66 พัฒนาระบบเกษตรอินทรีย์ต้นแบบจำนวน 14 แปลง 14 28,000.00 28,000.00
20 เม.ย. 66 ประชุมรับรองแปลงเกษตรมาตรฐาน SDGsPGS 4 2,460.00 2,460.00
4 เกิดการจัดการตลาดสินค้าเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 89 29,695.00 3 29,695.00
1 เม.ย. 66 อบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำเเผนธุรกิจครัวเรือนเเละชุมชน (ครั้งที่ 1) 24 8,235.00 8,235.00
24 เม.ย. 66 อบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาผู้ประกอบการชุมชน/ด้านการตลาดอ๊อฟไลน์และออนไลน์ 25 7,750.00 7,750.00
29 เม.ย. 66 อบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำเเผนธุรกิจครัวเรือนเเละชุมชน (ครั้งที่ 2) 40 13,710.00 13,710.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ก.ค. 2022 11:58 น.