directions_run

(23)โครงการ พัฒนาการผลิตและแปรรูปข้าวไร่ชุมพรด้วยเกษตรทันสมัย

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ (23)โครงการ พัฒนาการผลิตและแปรรูปข้าวไร่ชุมพรด้วยเกษตรทันสมัย
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดชุมพร
รหัสโครงการ 65-00240-0023
วันที่อนุมัติ 30 เมษายน 2022
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2022 - 30 เมษายน 2023
งบประมาณ 110,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เครือข่ายข้าวไร่ชุมพร (สจล.ชุมพร)
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนิพนธ์ ฤทธิชัย
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นายปวิตร ชัยวิสิทธิ์
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดชุมพร
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2022 30 ก.ย. 2022 1 พ.ค. 2022 30 ก.ย. 2022 44,000.00
2 1 ต.ค. 2022 28 ก.พ. 2023 1 ต.ค. 2022 28 ก.พ. 2023 60,500.00
3 1 มี.ค. 2023 30 เม.ย. 2023 1 มี.ค. 2023 30 เม.ย. 2023 5,500.00
รวมงบประมาณ 110,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ข้าวไร่ชุมพรที่ได้รับการเก็บรวบรวมและทำให้มีความบริสุทธิ์ของพันธุ์ โดย รศ.ดร.ร่วมจิตร นกเขา และคณะ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2550 จนทำให้เกษตรกรในเขตจังหวัดชุมพรและจังหวัดใกล้เคียง มีการผลิตเพื่อการบริโภค พบว่าเป็นข้าวที่มีศักยภาพ เนื่องจากให้ผลผลิตต่อไร่สูง ทนทานต่อโรค และแมลง มีลักษณะการบริโภคที่ผู้บริโภคชื่นชอบ มีทั้งพันธุ์ข้าวเจ้า และพันธุ์ข้าวเหนียวดำ บางพันธุ์มีกลิ่นหอม มีแร่ธาตุ เช่นธาตุเหล็ก และคุณค่าทางอาหารสูง นอกจากนี้หากปลูกเป็นข้าวอินทรีย์ (organic) ก็จะทำให้ได้ข้าวที่มีคุณภาพ และมีคุณค่าทางอาหารสูงยิ่งขึ้น จากการสืบค้นข้อมูลพบว่า มีข้าวพื้นเมืองหรือข้าวไร่หลายสายพันธุ์ ที่มีสารสำคัญได้แก่ ไธอามิน ไรโปฟลาวินและไนอาซิน (1) นอกเหนือจากนี้ยังเป็นแหล่งที่ดีของสารอาหารรอง (Micronutrients) และสารอื่นๆ อาทิ แกมม่า อะมิโนบิวทีริกแอซิด (Gamma-Aminobutyric Acid, GABA) เร่งกระบวนการเมตาบอริซึมในสมอง, อินโนซิทอล (Inositols) เร่งการเผาผลาญไขมัน ป้องกันตับมีไขมัน, กรดเฟอร์รูริก (Ferulic acid) (พบมากในน้ำมันรำข้าว และ มีโครงสร้างทางเคมีคล้าย Curcumin ที่เป็นสารจากขมิ้น) ช่วยกำจัดอนุมูลอิสระ (Superoxides) ระงับกระบวนการสร้างเม็ดสีผิว (Melanogenesis), แกมม่า-โอไรซานอล มีผลต่อ Antioxidative effects. จากงานวิจัยก่อนหน้าพบว่า สาร Oryzanol มีความสามารถช่วยลดระดับคลอเรสเตอรอลได้ และเป็น สารต้านอนุมูลอิสระได้ดีกว่าวิตามินอี (2) และยังพบว่า Oryzanol ยังมีส่วนช่วยในการลดการสร้างคลอเรสเตอรอลที่ตับและลดการดูดซึมคลอเรสเตอรอล (3,4). การขยายผลการผลิตข้าวไร่ชุมพร สายพันธ์ที่เกษตรกรนิยมปลูกและบริโภคนั้นสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ดี อีกทั้งข้าวไร่ยังมีคุณค่าทางโภชนาการอาหาร ซึ่งมีเครือข่ายข้าวไร่ชุมพรได้การทดลองทำการผลิตและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น โจ๊ก ขนมครก-ขี้หมอด แหนมข้าวไร่ และมีจุดมุ่งที่จะการพัฒนายกระดับการผลิตและแปรรูปข้าวไร่ให้มีคุณค่าและมูลค่าเพิ่มก่อให้เกิดรายได้ครัวเรือน สร้างความมั่นคงทางอาหารในครัวเรือนและชุมชน ยังเป็นข้อจำกัดจากการสนับสนุนของราชการด้วยมีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจในระดับมหภาคนั้นมีน้อยจึงไม่ได้ให้ความสำคัญ สำหรับข้าวพื้นเมืองที่ถูกละเลยให้ความสำคัญ คณะทำงานความมั่นคงทางอาหารภาคใต้ ได้สร้างการเรียนรู้และข้อเสนอเชิงนโยบายผ่านเวทีสร้างสุขภาคใต้ เพื่อการยกระดับขับเคลื่อนประเด็นเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ โดยมีแนวทางดำเนิน ดังนี้
1) การจัดตั้งกลไกคณะทำงานติดตามและสนับสนุนระดับเขตหรือภาคใต้ ในการพัฒนาระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ ตั้งอยู่ภายใต้หลักคิดสำคัญ 3 สร้างอธิปไตยทางอาหาร สร้างหลักประกันในชีวิต จัดความสัมพันธ์ใหม่ รายละเอียดตามที่กล่าวไว้ข้างต้น 2) การสร้างและพัฒนา ขยายเครือข่าย โดยเฉพาะการเพิ่มพูนศักยภาพผู้นำการเปลี่ยนแปลง และการสร้างความเข้มแข็งกลุ่มเครือข่ายให้สามารถพึ่งตนเองได้นั้น จำเป็นที่ต้องจัดรูปองค์กรผสมทั้งแบบทางการและไม่เป็นแบบทางการ โดยเฉพาะการปรับ ยกระดับสถานะองค์กรให้ทันสถานการณ์เปลี่ยนแปลงของกระบวนการพัฒนาทางสังคม อันจะเป็นโอกาสเข้าถึงแหล่งทุนและทรัพยากรเพื่อนำมาสู่การพัฒนาขยายกลุ่มเครือข่ายตามวัตถุประสงค์เป้าหมายที่ตั้งไว้
3) การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุกรรม (เมล็ดพันธ์-ข้าวนาและข้าวไร่-พันธุสัตว์) ให้คงอยู่จำเป็นที่ต้องดำเนินงานไประหว่างการอนุรักษ์กับใช้ประโยชน์พันธุกรรม ต้องขับเคลื่อนไปพร้อมๆ กัน 4) การพัฒนาระบบเกษตรสุขภาพที่สอดคล้องกับศักยภาพพื้นที่ เป็นการสลายกลุ่มก้อนทำการเกษตรรูปแบบต่าง ๆ โดยมีเป้าหมายร่วมเพื่อ ความมั่นคงอาหารและชีวิตพลเมืองฅนใต้ 5) สุขภาวะชาวสวนยางพาราและปาล์มน้ำมัน สำหรับชาวสวนยางพารานั้น จะต้องผลักดันให้เกิดแผนแม่บทพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวสวนยางและส่งเสริมขยายผลสวนยางยั่งยืน  ชาวสวนปาล์มน้ำมัน นั้นต้องการปรับกระบวนทัศน์ใหม่แก่ชาวสวนปาล์มน้ำมันในการทำเกษตรผสมผสาน ที่มีพืชหลากหลายควบคู่การเลี้ยงสัตว์ในแปลงคือทางออกของเกษตรรายย่อย ผลการดำเนินงานในปี 63-64 ของเครือข่ายข้าวไร่ชุมพร (สจล.) มีสมาชิกผู้ปลูกข้าวไร่ทุกอำเภอ กว่า 85 ราย/ แปลง สมาชิกผู้ผลิตข้าวไร่หลายพื้นทีที่ทำได้โดดเด่น เช่น วิสาหกิจชุมชนข้าวไร่ชุมโค กลุ่มข้าวไร่นาชะอัง อ.เมือง  กลุ่มข้าวไร่ละแม กลุ่มข้าวไร่สวีซึ่งปลูกในสวนทุเรียน กลุ่มข้าวไร่พะโต๊ะ กลุ่มข้าวไร่เนินทอง ทุ่งตะโก ฯ มีการขับเคลื่อนตามธรรมชาติมา ต่อเนื่องได้มีการรวมตัวปีละ 1-2 ครั้งในคราวที่ สจล.จัดกิจกรรมรวมพลข้าวไร่ทุกปี แต่ในการพัฒนายกระดับกิจกรรมระดับพื้นที่เครือข่ายร่วมกันทำได้น้อย ด้วยได้รับสนับสนุนงานไม่ต่อเนื่อง อีกทั้งขีดความสามารถหรือพลังในการประสานทรัพยากรก็ค่อยข้างจำกัดของภาคประชาชนทำได้น้อย โดยส่วนใหญ่จะมีเจ้าภาพหลักคือฝ่ายวิชาการคือ สจล.ชุมพร และภาคราชการ กับภาคเอกชนยังไม่ได้เข้ามามีบทบาทสนับสนุน อย่างไรก็ดีมี ที่ผลิตเพื่อบริโภคเหลือจำหน่ายในแต่ละฤดูกาลส่วนใหญ่ยังไม่ทำการการค้า ซึ่งขาดแรงจูงใจจากสมาชิกรายใหม่ที่จะขยาย กระจาย พัฒนาข้าวไร่ให้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจได้อย่างครบวงจร
    ดังนั้นการขยายผลการผลิตข้าวไร่ชุมพร บางสายพันธ์ที่เกษตรกรนิยมปลูกและบริโภค และข้าวไร่ยังมีคุณค่าทางโภชนาการอาหาร ป้องกันการเกิดโรค ซึ่งมีการทดลองเหมาะต่อการผลิตและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น โจ๊ก ขนมครก-ขี้หมอด แหนมข้าวไร่ ได้อย่างหลากหลายในอุตสาหกรรม นอกจากนี้จะเป็นการยกระดับความสำคัญ และเป็นการเพิ่มมูลค่าของข้าวพื้นเมืองที่ถูกละเลยความสำคัญมาเป็นระยะเวลานานและได้นำข้อเสนอเวทีสร้างสุขภาพใต้ เพื่อการยกระดับขับเคลื่อนประเด็นเกษตรอาหรเพื่อสุขภาพในระยะต่อไป
    ผลกระทบจากระบบการผลิตเชิงเดี่ยว ภัยทางเศรษฐกิจ ภัยทางสุขภาพโดยเฉพาะโควิด-19 ส่งผลให้วิถีชีวิต ชุมพร หรือคนภาคใต้ไม่มั่นคงทางอาหาร โดยเฉพาะข้าว เพราะต้องนำเข้าจากภาคกลางอีสาน อีกทั้งมีแนวโน้มการมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นทุกขณะ โดยสรุปดังนี้  1)ด้านสุขภาพ ภาวะการณ์เจ็บป่วยตาย โดยเทียบเคียงกับข้อมูลสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชุมพร  สาเหตุการตายจังหวัดชุมพรพบว่า โรคมะเร็ง เป็นโรคที่เป็นสาเหตุการตายเป็นอันดับที่ 1มาตลอด และสูงขึ้นเรื่อยๆ จากปีที่ผ่านมา (อัตรา 103.72 ต่อประชากร 100,000 คน) รองลงมาคือโรคระบบหายใจ (อัตรา 55.14 ต่อประชากร 100,000 คน) และ โรคโลหิตเป็นพิษ ซึ่งมาอัตราตายเท่ากับโรคหลอดเลือดสมอง (อัตรา 36.43 ต่อประชากร 100,000 คน) ตามลำดับ และสาเหตุการป่วยของผู้ป่วยนอก จังหวัดชุมพร อันดับ 1 คือ โรคเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ โภชนาการ และเมตะบอลิสึม อันดับ 2 คือ โรคระบบไหลเวียนเลือด และอันดับ 3 คือ โรคระบบหายใจ  2)ด้านสังคม ประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นและแรงงานวัยทำงานน้อยลง คนในพื้นที่ไม่เข้าถึงอาหารที่ปลอดภัย วิถีการทำเกษตรเชิงเดี่ยวแล้วซื้ออาหารอื่นมาบริโภค ข้าวก็เช่นเดี่ยวกันปลูกปาล์มและทุเรียนได้เงินไปซื้อข้าว  3)ด้านเศรษฐกิจ หนี้สินครัวเรือนและค่าใช้จ่ายในครัวเรือนของเกษตรกรสูงขึ้น ต้นทุนการผลิตภาคเกษตร โดยเฉพาะที่ทำเกษตรเชิงเดี่ยว ราคาปัจจัยการผลิตเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งต้องใช้เวลาเปลี่ยนแปลงการผลิตจากเกษตรเคมีสู่เกษตรกรรมยั่งยืนในห้วง 3-5 ปี จึงจะลดค่าใช้จ่ายได้ แต่เกษตรผู้ปลูกข้าวไร่ สามารถขายข้าวไร่ได้ กก.ละ 45-60 บาท หรือตันละ 45000-60000 บาท  4)ด้านสิ่งแวดล้อม มีการปนเปื้อนสารเคมีสภาพภูมิอากาศและในแม่น้ำลำคลอง

จากการดำเนินงานในปีที่ 1 ตามผังโมเดลการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาเครือข่ายข้าวไรชุมพรเพื่อเพิ่มการผลิตข้าวไร่ครบวงจรโดยมีการรวบรวมเครือข่ายข้าวไร่ในจังหวัดชุมพรทั้ง 8 อำเภอ เพื่อสร้างกลไกคณะทำงานในการขับเคลื่อนและรวบรวมข้อมูลพื้นที่การผลิตพันธุ์ข้าวไร่ทั้ง 12 สายพันธุ์และมีแหล่งเรียนรู้ผลิตเมล็ดพันธุ์จำนวน 3 จุด คือ ลาดกระบังชุมพร/นาชะอังชุมพร/วิสาหกิจข้าวไร่ชุมโค ซึ่งการขับเคลื่อนงานในที่ 1

  ปีที่ 2 จากการร่วมวิเคราะห์ สภาพปัญหา สถานการณ์ของเครือข่าย จากสภาพปัญหาการผลิตข้าวไร่ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ตามขนาด ความรุนแรง ความยากง่าย ความตระหนักของชุมชนโดยอาศัยข้อมูลประกอบจึงมีข้อตกลงร่วมกันที่จะทำโครงการพัฒนาการผลิตและแปรรูปข้าวไร่ชุมพรด้วยเกษตรทันสมัย เนื่องจากมีการบริโภคกันน้อยโดยเฉพาะกลุ่มของเด็กเยาวชน วัยทำงานและผู้สูงอายุในชุมชน และเพื่อส่งเสริมการปลูกข้าวไร่ไว้บริโภคในครัวเรือน ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นเพื่อสุขภาพ มีข้อมูล ดังนี้ 1) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มคน   ประชาชนทั่วไปไม่ให้ความสำคัญในการเลือกซื้ออาหารไม่รู้คุณค่าข้าวไร่จึงขาดแรงจูงใจในการผลิตหรือปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตเดิม เชื่อว่าทำเกษตรเชิงเดี่ยว ใช้สารเคมี ทำง่าย มีผลผลิตมาก ขายแล้วได้เงินมากๆ อีกทั้งยังขาดทักษะการขายโดยตรงจากแปลงเกษตรและขาดการจูงใจในเรื่องของสุขภาพแต่ละช่วงวัย จากการสอบถามพบว่าข้าวไร่มีราคาสูงทำให้ประชาชนทั่วไปจึงไม่นิยมซื้อมารับประทาน ขาดความเข้าใจในการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย และขาดการรวมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร

      2) เกิดจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพสังคม สภาพแวดล้อม และกลไกที่เกี่ยวข้อง     - สภาพแวดล้อมที่มีความสะดวกขึ้นในการจับจ่ายซื้ออาหารจากตลาดที่มีอยู่ทุกวันและเกือบร้อยละ 80 ใน ตลาดโดยทั่วไปเป็นการขายข้าวที่มีความหลากหลายและราคาถูกจึงไม่คำนึงต่อผลกระทบต่อสุขภาพของตัวเองครอบครัว     - ความเจริญเติมโตของชุมชนมีมากขึ้น ทำให้ขาดการปฏิสัมพันธ์ส่งผลกระทบเพราะแต่ละครอบครัวต่างมุ่งเป้าในการประกอบอาชีพและไม่มีเวลาในการทำกิจกรรมร่วมกันทางด้านสังคม และการรวมตัวหรือการรวมกลุ่มในการทำกิจกรรมต่างๆร่วมกัน - การพัฒนาขึ้นของเทคโนโลยีทางด้านการสื่อสาร ไม่เหมือนกับการติดต่อสื่อสารแบบเดิมการสื่อสาร เพื่อให้เกิดการจัดการที่รวดเร็ว การแก้ปัญหาแบบทันด่วน ซึ่งบางครั้งทำให้ขาดการแก้ปัญหาวิเคราะห์ ด้วยปัจจัยแวดล้อมที่เหมาะสม ทำให้การตัดสินใจบางครั้งเกิดความผิดพลาดได้ง่ายขึ้น และขาดซึ่งความน่าเชื่อถือความเข้าใจในปัญหาอย่างแท้จริงในเรื่องของคุณค่าของข้าวไร่เกษตรกรเข้าถึงได้ง่ายด้วยการโฆษณาชวนเชื่อ ลดแลกแจกแถม การรวมกลุ่มทำกิจกรรมเครือข่ายข้าวไร่ไม่ได้ต่อเนื่องด้วยข้อจำกัดการเดินทางและงบประมาณหรือมูลค่าที่สร้างแรงจูงใจให้เกิดการพัฒนาตนเอง  ไม่มีพันธ์ที่ดี เพียงพอต่อเกษตรกรรายใหม่ที่สนใจปลูกข้าวไร่และเครือข่ายข้าวไร่ยังไม่มีระบบบริหารจัดการไม่มีแผนงานขับเคลื่อนที่ชัดเจนในการจัดการพัฒนาสายพันธ์มีแต่แหล่งรวบรวมเมล็ดพันธ์ที่ สจล.ชุมพร  พื้นที่ปลูกข้าวมีน้อย ปลูกได้ไม่ต่อเนื่องเฉพาะช่วง 3 แรกของของการปรับปรุงสวน/ล้มยางพารา ยังไม่มีการปลูกข้าวเชิงพาณิชย์ 3) ผลกระทบที่เกิดขึ้น   ปัญหาประเด็นการปลูกและบริโภคข้าวไร่ของคนในชุมชนมีน้อย ส่งผลกระทบด้านสุขภาพของคนในชุมชนที่ยังซื้อข้าวที่มีราคาถูกจากท้องตลาด ซึ่งบางครั้งอาจมีสารตกค้างเกินขนาด และก่อให้เกิดการสะสมสารอันตรายในร่างกาย ซึ่งก่อให้เกิดเป็นจุดเริ่มต้นของความไม่ปลอดภัยต่อร่างกาย เป็นปัญหาด้านสุขภาพ เช่น โรคมะเร็ง โรคอ้วน รอบเอวเกิน นำไปสู่โรคเรื้อรัง ความดัน เบาหวาน หากไม่มีมีแนวทางในการป้องกัน หรือการร่วมกันรณรงค์จะทำให้สมาชิกภายในชุมชนอาจได้รับผลกระทบต่อร่างกายโดยเฉพาะ เยาวชน วัยทำงาน ผู้สูงอายุและสร้างความเสียหายให้กับครอบครัวและชุมชน จึงควรส่งเสริมให้ชุมชนสามารถผลิตและบริโภคข้าวไร่ และเกิดต้นแบบขึ้น ตลอดจนการส่งเสริมให้เกิดรายได้เสริมภายในชุมชนที่ส่งเสริมให้ชุมชน สร้างอาหารที่ปลอดภัยและช่วยในการดูและสุขภาพของคนในชุมชนต่อไป

  ดังนั้นคณะทำงานเครือข่ายเครือข่ายข้าวไร่จังหวัดชุมพร จึงได้ร่วมกันพัฒนาข้อเสนอ โครงการพัฒนาการผลิตและแปรรูปข้าวไร่ชุมพรด้วยเกษตรทันสมัยเพื่อให้เกิดการผลิตข้าวไร่ที่พอเพียงแก่การบริโภคและจำหน่ายเพิ่อสร้างรายได้แก่เครือข่ายข้าวไร่และการขยายผลรูปแบบการผลิตและแปรรูปการผลิตข้าวไร่ด้วยเกษตรทันสมัยอันจะทำให้เกิดการยอมรับทั้งในด้านของผุ้บริโภคและหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง มาสนับสนุนการเรียนรู้ของกลุ่มเครือข่ายต่างๆให้มีอาชีพ อาหาร และรายได้ครัวเรือนเพิ่มขึ้น

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

สุขภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมศักยภาพกลไกเครือข่ายข้าวไร่ชุมพรให้มีขีดความสามารถในการดำเนินงานเกษตรสมัยใหม่

ผลลัพธ์ที่ 1 คณะทำงานเครือข่ายข้าวไร่มีขีดความสามารถในการดำเนินงาน ตัวชี้วัด 1.1 มีการประชุมคณะทำงานทุก 2 เดือน ตัวชี้วัด 1.2 มีฐานข้อมูลสารสนเทศ(คน ทรัพยากร) ตัวชี้วัด 1.3 มีแผนงานและการสื่อสารสาธารณะ ผลลัพธ์ที่ 2เกิดกลไกความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่ ตัวชี้วัด 2.1 มีเกษตรกรรุ่นใหม่เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 10 คน ตัวชี้วัด 2.2 ความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย จำนวน  5 เครือข่าย ตัวชี้วัด 2.3 มีผลการตรวจสอบทางโภชนาการอาหารข้าวไร่

0.00
2 เพื่อพัฒนาการผลิตและแปรรูปข้าวไร่ให้เกิดมูลค่าเพิ่มขึ้นสู่รายได้ครัวเรือนเกษตรกร

ตัวชี้วัด 3.1  มีศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและแปรรูป 3 จุด
ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 3.2 มีผู้ประกอบการชุมชน  ผลิตได้ ขายเป็น จำนวน  5 คน ผลลัพธ์ที่ 4 เกิดการเพิ่มพื้นที่การผลิตและรายได้ครัวเรือนเพิ่มขึ้น ตัวชี้วัด 4.1 .มีการผลิตและแปรรูปข้าวไร่เพิ่มขึ้น 10% ตัวชี้วัด 4.2  ครัวเรือนผู้ประกอบการผลิตข้าวไร่มีรายได้เพิ่มขึ้น
ตัวชี้วัด 4.3  มีข้อเสนอและแนวทางการสนับสนุนการผลิตและแปรรูปข้าวไร่ชุมพร

0.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 65มิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66
1 ชื่อกิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานทุก 2 เดือน(1 พ.ค. 2022-30 เม.ย. 2023) 18,550.00                        
2 ชื่อกิจกรรมที่ 4 จัดทำช่องทางสื่อสารประชาสัมพันธ์ เพจ FB(1 พ.ค. 2022-30 เม.ย. 2023) 0.00                        
3 ชื่อกิจกรรมที่ 9 พัฒนาเครือข่ายสู่การเป็นผู้ประกอบการชุมชน(1 พ.ค. 2022-31 พ.ค. 2022) 0.00                        
4 ชื่อกิจกรรมที่ 7 ประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย(1 มิ.ย. 2022-30 มิ.ย. 2022) 0.00                        
5 ชื่อกิจกรรมที่ 2 พัฒนาระบบฐานข้อมูลสมาชิก/แปลง/พันธ์ข้าวไร่แต่ละอำเภอ(30 ก.ค. 2022-30 ก.ค. 2022) 4,000.00                        
6 ชื่อกิจกรรมที่ 3 จัดทำแผนงานและประสานความร่วมมือกับเครือข่าย(30 ก.ค. 2022-30 ก.ค. 2022) 14,500.00                        
7 ชื่อกิจกรรมที่ 5 อบรมเชิงปฎิบัติการพัฒนากลุ่มผู้ผลิตข้าวไร่และเกษตรกรรุ่นใหม่ในการคัดสายพันธ์ข้าวไร่/เทคนิคการปลูก/การใช้เครื่องจักรกล(1 ส.ค. 2022-31 ต.ค. 2022) 40,000.00                        
8 ชื่อกิจกรรมที่ 6 เวทีความมือภาคีเครือข่ายข้าวไร่ (เทศกาลข้าวไร่)(1 ส.ค. 2022-30 พ.ย. 2022) 0.00                        
9 ชื่อกิจกรรมที่ 10 ติดตามประเมินผลลัพธ์การผลิตและแปรรูปข้าวไร่(1 ก.พ. 2023-28 ก.พ. 2023) 0.00                        
10 ชื่อกิจกรรมที่ 8 จัดตั้งและพัฒนาศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและแปรรูป(1 มี.ค. 2023-31 มี.ค. 2023) 12,000.00                        
11 ชื่อกิจกรรมที่ 11 จัดเวทีนำเสนอผลงานและข้อเสนอต่อหน่วยงาน(1 มี.ค. 2023-31 มี.ค. 2023) 1,500.00                        
12 กิจกรรมที่ 12 งบประมาณที่สสส.สนับสนุนเพิ่มเติม (10,000)(8 พ.ย. 2023-8 พ.ย. 2023) 10,000.00                        
รวม 100,550.00
1 ชื่อกิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานทุก 2 เดือน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 51 18,550.00 4 26,450.00
1 พ.ค. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่1 20 9,000.00 8,700.00
1 ก.ค. 65 ประชุมคณะกรรมการครั้งที่2 10 750.00 9,000.00
4 มี.ค. 66 ประชุมคณะทำงานเครือข่ายข้าวไร่ 20 8,300.00 8,250.00
13 เม.ย. 66 คืนเงินสำรองจ่ายเพื่อเปิดบัญชีโครงการ 1 500.00 500.00
2 ชื่อกิจกรรมที่ 4 จัดทำช่องทางสื่อสารประชาสัมพันธ์ เพจ FB กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 1 0.00
26 พ.ย. 65 จัดทำเพจประชาสัมพันธ์ 0 0.00 0.00
3 ชื่อกิจกรรมที่ 9 พัฒนาเครือข่ายสู่การเป็นผู้ประกอบการชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
4 ชื่อกิจกรรมที่ 7 ประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
5 ชื่อกิจกรรมที่ 2 พัฒนาระบบฐานข้อมูลสมาชิก/แปลง/พันธ์ข้าวไร่แต่ละอำเภอ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 8 4,000.00 1 4,000.00
25 มิ.ย. 65 พัฒนาระบบฐานข้อมูลสมาชิก 8 4,000.00 4,000.00
6 ชื่อกิจกรรมที่ 3 จัดทำแผนงานและประสานความร่วมมือกับเครือข่าย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 14,500.00 1 15,210.00
24 ก.ย. 65 เวทีจัดทำแผนและประสานความร่วมมือกับเครือข่ายข้าวไร่จังหวัดชุมพร 30 14,500.00 15,210.00
7 ชื่อกิจกรรมที่ 5 อบรมเชิงปฎิบัติการพัฒนากลุ่มผู้ผลิตข้าวไร่และเกษตรกรรุ่นใหม่ในการคัดสายพันธ์ข้าวไร่/เทคนิคการปลูก/การใช้เครื่องจักรกล กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 80 40,000.00 2 42,240.00
16 - 17 พ.ย. 65 อบรมเชิงปฎิบัติการพัฒนากลุ่มผู้ผลิตข้าวไร่และเกษตรกรรุ่นใหม่เพื่อเรียนรู้เทคนิคการปลูกและการใช้เครืองจักรกล 40 20,000.00 21,040.00
20 - 21 เม.ย. 66 อบรมเชิงปฎิบัติการพัมนากลุ่มผู้ผลิตข้าวไร่และเกษตรกรรุ่นใหม่ในการคัดสายพันธื์ข้าวไร่ 40 20,000.00 21,200.00
8 ชื่อกิจกรรมที่ 6 เวทีความมือภาคีเครือข่ายข้าวไร่ (เทศกาลข้าวไร่) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 1000 0.00 1 0.00
18 - 19 ก.พ. 66 มหกรรมเครือข่ายข้าวไร่ 1,000 0.00 0.00
9 ชื่อกิจกรรมที่ 10 ติดตามประเมินผลลัพธ์การผลิตและแปรรูปข้าวไร่ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
10 ชื่อกิจกรรมที่ 8 จัดตั้งและพัฒนาศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและแปรรูป กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 40 12,000.00 1 11,400.00
28 ม.ค. 66 จัดตั้งและพัฒนาศุนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและแปรรูปข้าวไร่จังหวัดชุมพร 40 12,000.00 11,400.00
11 ชื่อกิจกรรมที่ 11 จัดเวทีนำเสนอผลงานและข้อเสนอต่อหน่วยงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 1,500.00 1 1,500.00
28 เม.ย. 66 จัดเวทีนำเสนอผลงานและข้อเสนอต่อหน่วยงาน 30 1,500.00 1,500.00
12 กิจกรรมที่ 12 งบประมาณที่สสส.สนับสนุนเพิ่มเติม (10,000) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 1021 10,000.00 7 10,000.00
26 พ.ค. 65 จัดทำป้ายประชาสัมพันธืเหล้า-บุหรี่ 1,000 1,000.00 1,000.00
4 - 5 มิ.ย. 65 ปฐมนิเทศโครงการ 4 1,400.00 1,400.00
30 ก.ค. 65 อบรมการบันทึกข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ 3 1,400.00 1,400.00
20 ส.ค. 65 อบรมพัฒนาศักยภาพด้านการจัดทำสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ 4 1,300.00 1,300.00
31 ต.ค. 65 ประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้ ARE ครั้งที่ 1 4 1,400.00 1,400.00
10 เม.ย. 66 ประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้ ARE ครั้งที่ 2 5 1,500.00 1,500.00
14 เม.ย. 66 ค่าจัดทำเอกสารข้อมูลการเงินและการขับเคลื่อนงานโครงการ 1 2,000.00 2,000.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2022 12:40 น.