directions_run

โครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเทศบาลตำบลนาตาล่วง

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเทศบาลตำบลนาตาล่วง
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดตรัง
รหัสโครงการ 65-00-0144-0008
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2022
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2022 - 30 กันยายน 2023
งบประมาณ 120,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลนาตาล่วง
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวิวัฒน์ เกื้อชูศรี
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 099-0313014
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นายจรัส วงค์วิวัฒน์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาตาล่วง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2022 30 ก.ย. 2022 1 มิ.ย. 2022 30 ก.ย. 2022 48,000.00
2 1 ต.ค. 2022 31 ม.ค. 2023 1 ต.ค. 2022 31 ม.ค. 2023 60,000.00
3 1 ก.พ. 2023 30 ก.ย. 2023 1 ก.พ. 2023 30 ก.ย. 2023 12,000.00
รวมงบประมาณ 120,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์ประชากรผู้สูงอายุไทยในปี ๒๕๖๕ ผู้สูงอายุที่มีอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป จำนวน ๑๒.๑๒ ล้านคน คิดเป็นร้อยละ ๑๘.๓ ของประชากรไทยทั้งหมด เมื่อจำแนกประเภทผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ประมาณ ร้อยละ ๙๖ ของจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมดคือ ผู้สูงอายุที่สามารถดูแลตัวเองได้โดยไม่ต้องพึ่งผู้อื่น (กลุ่มติดสังคม) โดยส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ ๖๐-๖๙ ปี อีกประมาณร้อยละ ๒ เป็นผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งผู้อื่นในบางกิจกรรมของ กิจกรรมของกิจวัตรประจำวัน (กลุ่มติดบ้าน) และผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาผู้อื่นทั้งหมด (ติดเตียง) ประมาณร้อยละ ๑ โดยส่วนใหญ่อยู่ในวัยมากกว่า ๘๐ ปี ซึ่งผู้สูงอายุในช่วยวัยปลายหรืออายุตั้งแต่ ๘๐ ปีขึ้นไปนั้น มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่กลับตามมาด้วยการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังยาวนานขึ้น และโอกาสที่จะอยู่ในภาวะพึ่งพิงเนื่องมาจากการมี ทุพพลภาพและผู้สูงอายุที่อยู่ลำพังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยปัญหาสำคัญของผู้สูงอายุ คือ ประเด็นสุขภาพและด้าน เศรษฐกิจ ซึ่งในด้านสุขภาพจากผลการสำรวจสุขภาวะผู้สูงอายุจากสถานการณ์ผู้สูงอายุของประเทศไทย ที่เพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็ว และคาดว่าประเทศไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Complete Aged Society) ประเทศ ไทยมีประชากรสูงอายุมากกว่าประชากรวัยเด็ก คาดว่าจะมีประชากรเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ ๖๐ ปีขึ้นไปปีละประมาณ ๑ ล้านคน และ ที่น่าเป็นห่วงคือ ประชากรไทยก่อนวัยสูงอายุ กว่าร้อยละ ๓๐ % ยังคงไม่ได้มีการเตรียมพร้อมเพื่อ เป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพในอนาคต โดยเฉพาะในมิติด้านสุขภาพ ด้านเศรษฐกิจ ความมั่นคงทางรายได้ ด้านสังคม และด้าน สิ่งแวดล้อม โครงสร้างประชากรไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยส่งผลกระทบ ในหลายด้าน เช่น ข้อมูลสุขภาพ พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ร้อยละ ๙๕ มีโรคประจำตัวแต่ยังคงสามารถดำเนินชีวิตประวันได้ตามปกติ โดยส่วนใหญ่ ยังคง เป็นโรคความดันโลหิตสูง และเบาหวาน และผู้สูงอายุวัยปลายมีอัตรามีโรคประจำตัวสูงขึ้น ด้านเศรษฐกิจ ผู้สูงอายุ ถึงร้อยละ ๓๔.๓ มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยาก ทั้งนี้มีคนไทยเพียง ๑๕ ล้านคน ที่อยู่ในระบบการออมเพื่อเป็น หลักประกันรายได้ยามเกษียณ เมื่อเทียบกับประชากร วัยทำงานมากกว่า ๔๐ ล้านคน ด้านสังคม พบว่าผู้สูงอายุ ที่ต้องอยู่เพียงลำพังคนเดียวหรืออยู่ตามลำพังกับคู่สมรส มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น รวมถึงคนรุ่นใหม่ยังมีทัศนคติเชิงลบ ต่อวัยสูงอายุ ฯลฯ สถานการณ์ปัญหาดังกล่าวมีสาเหตุจากหลายปัจจัย รวมถึงการที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคม ผู้สูงอายุ อย่างรวดเร็ว และมีเวลาเตรียมการน้อยกว่าประเทศพัฒนาแล้วที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุส่งผลให้ประเทศไทย ต้องเผชิญผลกระทบต่ำงๆ จากสังคมผู้สูงอายุหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงจำเป็นต้องพัฒนาระบบเพื่อรองรับสังคมสูงวัยโดย การมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ อย่างจริงจังและ มีประสิทธิภาพ -/การก้าวสู่สังคม.. การก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ที่ว่า คือมี ผู้สูงอายุ หรือ “คนแก่” อายุ ๖๐ ปีขึ้นไป มากกว่า ๒๐% ของประชากรทั้งประเทศ และหากดูสถิติย้อนหลังจะพบว่าอัตราการเกิดของเด็กไทยลดลงอย่าง ต่อเนื่องและมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ โดยในอีก ๒๐ ปีข้างหน้าหรือเร็วกว่านั้น ประเทศไทยก็ต้อง เผชิญ ปัญหาขาดประชาชนกลุ่มวัยทำงาน เพราะในสังคมจะมีแต่ผู้สูงอายุ เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า การเข้าสู่ “สังคม ผู้สูงอายุ” นั้น จะเป็นปัญหาสำคัญของการพัฒนาประเทศในอนาคต เพราะรัฐบาลมีภาระจะต้องดูแลผู้สูงอายุมาก ส่วนที่ 2: รายละเอียดโครงการ 5 ขึ้น ขณะเดียวกัน ความสามารถในการแข่งขัน ของประเทศก็จะลดลงเมื่อประชากรในวัยทำงานลดลงไป ซึ่งปัญหา นี้ต้องรีบได้รับการแก้ไขตั้งแต่วันนี้ หากมิเช่นนั้น อีก ๒๐ ปีข้างหน้า ประเทศไทย จะมีแต่ผู้สูงอายุเต็มประเทศ สถานการณ์และข้อมูลทั่วไปตำบลนาตาล่วง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง มีพื้นที่ ๑๔.๘ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๙,๒๓๐ ไร่ มี ๖ หมู่บ้าน มีประชากรทั้งหมด ๗,๓๕๒ คน แยกเป็น ชาย ๓,๔๘๔ คน , หญิง ๓,๘๖๘ คน จำนวนครัวเรือน ๓,๖๔๐ ครัวเรือน , สถานศึกษาโรงเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน ๓ แห่ง, โรงเรียนอาชีวศึกษา ๑ แห่งศูนย์อินเตอร์เน็ตชุมชนตำบลนาตาล่วง ๑ แห่ง ,ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ๑ ศูนย์,สถานที่ ปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา (วัด) จำนวน ๓ แห่ง ,ชมรมผู้สูงอายุ ๑ ชมรม, ศูนย์บริการคนพิการทั่วไป ๑ ศูนย์, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ๑ แห่ง ,ศูนย์กู้ชีพตำบลนาตาล่วง ๑ แห่ง, ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ๑ แห่ง ศูนย์ช่วยเหลือสังคมเทศบาลตำบลนาตาล่วง ๑ แห่ง กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลนาตาล่วง ๑ แห่ง ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลนาตาล่วง ๑ ศูนย์ และมีธรรมนูญสุขภาพตำบลนาตาล่วงเตรียมรองรับสังคม ผู้สูงอายุ , ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และอาชีพรองคือรับจ้าง มีผู้สูงอายุอายุ ๖๐ ปี ขึ้นไป จำนวน ๑,๕๘๑ คน , คิดเป็นร้อยละ ๒๑.๕๐% คนพิการ จำนวน ๒๐๐ คน ตำบลนาตาล่วง เป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็ง การทำงานแบบมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ประกอบกับ มีแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ มีแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี มีแม่น้ำตรังไหลผ่าน มีโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งในปัจจุบันมีความเจริญมากขึ้น และเปลี่ยนแปลงวิถีความเป็นอยู่ ส่งผลให้การใช้ชีวิตเปลี่ยนไป และจะมีปัญหา ตามมาเรื่อยๆ ในหลายๆ ด้าน เช่น ปัญหาด้านสุขภาพ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม เทศบาลตำบลนาตาล่วง จึงมุ่งเน้นที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุใน ๔ มิติไปพร้อมๆกัน เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนตำบล นาตาล่วง ในมิติต่างๆ เช่น มิติสุขภาพ มีการตรวจสุขภาพให้แก่ผู้สูงอายุ รวมทั้งผู้สูงอายุที่ติดบ้าน ติดเตียง เพื่อให้มีสุขภาพดี ทั้งด้าน ร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา มีการรวมกลุ่มออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากผู้สูงอายุส่วนมากยังมีโรค ประจำตัว และมีโอกาสที่จะเจ็บป่วยจนไม่สามารถ ดูแลตนเองได้ หรือต้องมีผู้ดูแล จนกลายเป็นผู้สูงอายุ ที่ติดบ้าน และอาจจะเป็นผู้สูงอายุที่ติดเตียงได้ในโอกาสต่อไป จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความสำคัญกับการเตรียมความ พร้อมเพื่อเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพและไม่เป็นภาระของลูกหลานต่อไป รวมทั้งการบริโภคอาหารตามหลัก โภชนาการ ลดหวาน มัน เค็ม สถิติจำนวนผู้สูงอายุของตำบลนาตาล่วงอายุ ๖๐ ปีขึ้นไปพบว่าผู้สูงอายุที่ไม่มีปัญหาด้านสุขภาพ ๔๑๐ คน มีปัญหาด้านสุขภาพ ๘๐๔ คน โรคความดันโลหิตสูง ๗๗๔ คน โรคเบาหวาน ๓๙๗ โรคอัมพาต ๖๘ คน โรคมะเร็ง ๒๒ คน กลุ่มประชากร ๔๐-๕๙ คน ปีที่มีปัญหาสุขภาพ กลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิต ๒๙ คน กลุ่มเสี่ยงโรคความ ดันโลหิต ๕๐ คน กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน ๒๐ คน กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ๒๕ คน มีระบบการดูแลสุขภาพ ระยะยาว Long Term Care จำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลในระบบ LTC ๑๙ คน จำนวน Care Giver ๖ คน -/นอกจากนี้... นอกจากนี้ยังป้องกันไม่ให้ กลุ่มติดสังคม เป็นกลุ่มติดบ้าน และกลุ่มติดบ้าน ไม่ให้เป็นกลุ่มติดเตียง จากการสำรวจพบว่าประชาชนมีปัญหาด้านสุขภาพ โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุและวัยทำงาน พบมีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดัน โรคหลอดเลือดหัวใจ ฯลฯ มีอัตราการเป็นผู้ป่วยติดเตียงเพิ่มขึ้นทุกปี ปัจจุบันมีผู้ป่วยติดเตียง จำนวน ๑๕ คน ผู้ป่วยติดบ้าน จำนวน ๕๖ คน สาเหตุจากการไม่ดูแลสุขภาพ เช่น การออกกำลังกายไม่สม่ำเสมอ การรับประทานอาหารประเภท หวาน มัน เค็ม และอาหารประเภทรสจัด การบริโภคอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ต่อสุขภาพ เช่น ดื่มชาเย็น ในปริมาณมากต่อวัน มิติสังคม ให้ผู้สูงอายุมีการรวมกลุ่มกันจัดกิจกรรมไม่อยู่โดดเดี่ยว อันเป็นสาเหตุให้เกิดการเจ็บป่วย และ ซึมเศร้า ได้รับการยอมรับจากสังคมเพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี ผู้สูงอายุต้องการได้รับการคุ้มครองด้านสิทธิที่ พึงได้รับ และต้องมีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมกับชุมชน ในการพัฒนาด้านต่างๆ และที่สำคัญผู้สูงอายุต้องมีผู้ดูแล อย่างใกล้ชิด การที่มีสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นทำให้ผู้ที่อยู่ในวัยทำงานจะต้องทำงานมากขึ้นและต้องรับภาระดูแล 6 ผู้สูงอายุในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น บางครั้งอาจทำให้ผู้สูงอายุขาดความอบอุ่นหรืออาจถูกทอดทิ้งได้ มีการรวมกลุ่ม การจัดการแข่งขันกีฬาเทศบาลอยู่เป็นประจำทุกปี การแข่งขันกีฬานอกจากจะให้มีสุขภาพที่ดีแล้วยังให้ผู้สูงอายุ และผู้เข้าร่วมการแข่งขันที่ไม่ได้เป็นผู้สูงอายุ ได้ทำกิจกรรมร่วมกันเป็นหมู่คณะแล้ว ยังทำให้รู้รักสามัคคี มีการ รวมกลุ่ม ลดการเกิดโรคได้แล้วยังสามารถทำให้เข้าร่วมกิจกรรม ได้มาพบปะกัน ทำให้ไม่อยู่โดดเดี่ยว มีอารมณ์ และจิตใจที่ดี จะเห็นว่า เมื่อไม่ได้ทำงานหรือไม่มีกิจกรรมให้มีการรวมกลุ่ม ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกเหงา ไม่ภาคภูมิใจเหมือน เป็นภาระกับลูกหลาน อาจรู้สึกน้อยใจ ซึมเศร้าได้ มิติเศรษฐกิจ มีอาชีพเสริม เพื่อสร้างหลักประกันรายได้ สร้างกลไกลการออม เนื่องจากรายได้ไม่เพียงพอ กับรายจ่าย เนื่องจากไม่ได้เตรียมตัวในการเก็บออมเงินไว้ใช้ยามชรา เช่น การส่งเสริมการออม มีการประกอบ อาชีพเสริม หากไม่มีการวางแผนสะสมเงินออมเพื่อเก็บไว้ใช้จ่าย ในวัยชราจึงจำเป็นต้องเตรียมสะสมเงินออม หรือวางแผนการลงทุนเพื่อจะได้มีรายได้หรือเงินสะสมไว้ใช้ในช่วงที่สูงอายุ หรือสามารถนำเงินออมที่สะสมไว้ มาใช้ในช่วงบั้นปลายชีวิตได้ เทศบาลตำบลนาตาล่วง ส่งเสริมให้กลุ่มผู้สุงอายุและกลุ่มอายุตั้งแต่ ๓๕ ปีขึ้นไป รวมตัวกันในการจัดตั้ง กลุ่มต่างๆ ในการจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ในครัวเรือน เช่น - วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านป่าหมาก - อู่ตะเภาร่วมใจ หมู่ที่ ๔ ตำบลนาตาล่วง เป็น การรวมกลุ่มของสมาชิกที่มีอายุตั้งแต่ ๓๐ ปีชึ้นไป การรวมกลุ่มทำไข่เค็มสมุนไพร/ฝาชีแฟนตาซี ออกจำหน่ายตามร้านค้าต่าง ๆ และสถานที่ราชการ เช่น ที่ว่าการอำเภอเมืองตรัง สำนักงาน เกษตรอำเภอเมืองตรัง/สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองตรัง - วิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาชีพการจัดไม้ดอกไม้ประดับ หมู่ที่ ๒ ตำบลนาตาล่วง มีการรวมกลุ่มจัดทำ ไม้ดอกไม้ประดับ ผูกผ้า ทำดอกไม้จันทน์ สำหรับใช้ในงานศพตามวัดต่าง ๆ ของตำบลนาตาล่วง และนอกสถานที่ กลุ่มนี้จะเป็นการรวมกลุ่มของสมาชิก กลุ่มอายุตั้งแต่ ๔๐ ปีขึ้นไป - วิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมบ้านทุ่งตำเสา (ตัดเย็บกระเป๋า) หมู่ที่ ๑ ตำบลนาตาล่วง เป็นการ รวมกลุ่มของกลุ่มผู้สูงอายุ ในการตัดเย็บกระเป๋าผ้า เช่น กระเป๋าสตางค์ กระเป๋าสะพาย ออกวาง จำหน่ายเป็นอาชีพเสริมได้เป็นอย่างดี -/กลุ่มทำยา... - กลุ่มทำยาดมสมุนไพร หมู่ที่ ๑ ตำบลนาตาล่วง เป็นการรวมกลุ่มทำยาดมสมุนไพรจำหน่าย และรับออเดอร์ สำหรับเป็นของชำร่วยในงานศพ และส่งไปจำหน่ายไว้ ณ ศูนย์ราชการต่าง ๆ - วิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมบ้านทุ่งควน (ยาหม่องน้ำ) หมู่ที่ ๕ ตำบลนาตาล่วง มีการรวมกลุ่มการ ทำยาหม่องน้ำสมุนไพรจำหน่ายตามร้านค้า และรับออเดอร์สำหรับเป็นของชำร่วยในงานศพ - วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรบ้านในแขวง หมู่ที่ ๖ ตำบลนาตาล่วง (ทำเกาหยุก) เป็น อาหารคาวที่มีชื่อเสียงของเมืองตรัง และของตำบลนาตาล่วง และเกาหยุกยังเป็นอาหารที่ขึ้นชื่อ และขึ้นโต๊ะ ในงานพิธีต่างๆ เช่น งานแต่งงาน งานบวช งานขึ้นบ้านใหม่ งานศพ ฯลฯ สามารถเป็นรายได้เสริมให้กับกลุ่มเป็นอย่างดี - วิสาหกิจชุมชนสุรากลั่นทรัพย์ทวี หมู่ที่ ๖ เป็นการรวมกลุ่มของสมาชิกอายุตั้งแต่ ๓๕ ปีขึ้นไป รวมกลุ่มกันผลิตและจำหน่าย ซึ่งเป็นการนำน้ำผลไม้ต่าง ๆ มาผสมกับหัวเชื้อสุรากลั่น ดื่มเพื่อ สุขภาพ วางจำหน่ายและออกบู้ทในช่วงเทศกาลต่าง ๆ เช่น เทศกาลปีใหม่ ประเพณีงานลอย กระทง ของตำบลนาตาล่วง และนอกสถานที่ นอกจากนี้ยังรับออเดอร์ที่มีการติดต่อเข้ามา ผ่านช่องทางต่าง ๆ ของกลุ่ม เช่น เฟสบุ๊ค ไลน์สร้างรายได้เป็นอย่างดี - กลุ่มทำขนมเปี๊ยะ หมู่ที่ ๔ บ้านป่าหมาก ตำบลนาตาล่วง มีการรวมกลุ่มตั้งแต่วัยหนุ่มสาวอายุ ตั้งแต่ ๓๐ ปีขึ้นไป และกลุ่มผู้สูงอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป รวมตัวกันทำขนมเปี๊ยะและขนมอื่นๆ ตามเทศกาล โดยเทศบาลตำบลนาตาล่วง ได้สนับสนุนโรงเรือนทำขนมและเตาอบ ผลิตขนม 7 ออกวางจำหน่ายในตัวเมืองตรัง และต่างจังหวัด เช่น พัทลุง หาดใหญ่สตูล สามารถสร้างรายได้ ให้แก่สมาชิกกลุ่มอีกด้วย - กลุ่มทำข้าวหลาม หมู่ที่ ๔ ตำบลนาตาล่วง มีการรวมกลุ่มตั้งแต่วัยเด็ก อายุตั้งแต่ ๒๕ ปีขึ้นไป ทำข้าวหลามวางจำหน่าย บริเวณริมมถนนสายหลัก (สี่แยกป่าหมาก - สี่แยกขนส่ง) สำหรับผู้ใช้ เส้นทางขับรถผ่านไปมา และช่วงเทศกาล งานประเพณีต่าง ๆ เช่น งานฉลองรัฐธรรมนูญฯ ประเพณีชักพระหรือลากพระ ซึ่งสามารสร้างรายได้เป็นอย่างดี และยังเป็นการสืบสานรุ่นต่อรุ่น ในการทำข้าวหลาวของตระกูลในชุมชนบ้านหนองบัว หมู่ที่ ๔ ตำบลนาตาล่วง มิติสิ่งแวดล้อม เพื่อให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุดีขึ้น สนับสนุนให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการสร้าง ชุมชนน่าอยู่ เช่น การซ่อมแซมบ้าน/ปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้เหมาะสม ตลอดจนการบริการสาธารณะ เพื่อให้เหมาะสมและปลอดภัยสำหรับการใช้ชีวิตในประจำวัน เช่น ห้องน้ำ สภาพแวดล้อม แสงสว่างไม่เพียง มีความเสี่ยงต่อการใช้ชีวิตในประจำวันของผู้สูงอายุจำเป็นต้องมีการปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม มีความ ปลอดภัย ห้องน้ำมีราวจับ พื้นไม่ลื่น ที่อยู่อาศัยมีแสงสว่างเพียงพอ ประตูที่ใช้เป็นบานเลื่อน ที่ผ่านมา เทศบาลตำบลนาตาล่วง ได้ดำเนินการสำรวจบ้านผู้สูงอายุและคนพิการ ที่เข้าหลักเกณฑ์เพื่อนำ ข้อมูลเข้าสู่กระบวนการทำประชาคม เขียนแบบและประมาณราคา เสนอโครงการ นำส่งสำนักงานพัฒนาสังคม และความ มั่นคงของมนุษย์จังหวัดตรัง ได้รับการอนุมัติงบประมาณและปรับสภาพแวดล้อม ไปแล้ว จำนวน ๘ หลังจากการ สำรวจพบว่า เมื่อปรับสภาพแวดล้อมแล้ว ทำให้ผู้สูงอายุ/คนพิการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และการใช้ ชีวิตประจำวัน ยังสามารถลดการพลัดตกหกล้ม และมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น -/ดังนั้น… ดังนั้น เทศบาลตำบลนาตาล่วง จึงได้จัดทำโครงการเตรียมรองรับสังคมผู้สูงวัยตำบลนาตาล่วง มุ่งเน้นการ พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ และกลุ่มที่มีอายุตั้งแต่ ๓๕ ปีขึ้นไป ดำเนินการร่วมกันในหลายภาคส่วน ทั้งหน่วยงาน ภาครัฐ ภาคประชาสังคม เช่น เทศบาลตำบลนาตาล่วง, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาตาล่วง ชมรมผู้สูงอายุ และภาคประชาชน ฝ่ายปกครอง บ้าน วัด โรงเรียน เพื่อเป็นกระบวนการสร้างการเรียนรู้ให้ผู้นำและประชาชน ในชุมชน และกลุ่มเป้าหมายตั้งแต่อายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ได้รับรู้ถึงสถานการณ์ของการเปลี่ยนแปลง และรับรู้ถึงการเข้า สู่สังคมสูงวัย สภาพปัญหาด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านสุขภาพ ด้านสังคม ด้านสภาพแวดล้อม และด้านเศรษฐกิจ ว่าจะมี การเตรียมตัวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างไรให้มีความสุข ไม่มีโรคภัย มีเพื่อนบ้านที่ดี มีลูกหลานคอยดูแล มีเงินเก็บ ออมไว้จ่ายยามชรา บ้านเรือนหรือที่อยู่อาศัย ห้องน้า สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและปลอดภัย ในการดำรงชีพ เพราะฉะนั้นทุกฝ่ายต้องมาร่วมขับเคลื่อนการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลนาตาล่วง ร่วมกันขับเคลื่อนธรรมนูญ สุขภาพ ในการ “ร่วมคิด ร่วมมือ ร่วมตัดสินใจ ร่วมทำ ร่วมแก้ไขปรับปรุง ร่วมประโยชน์” เพื่อให้เกิดคุณภาพชีวิต ที่ดีต่อตนเอง ครอบครัว ชุนชนและสังคม อันจะนำไปสู่การพัฒนาและขับเคลื่อนการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย ตำบลนาตาล่วง ภายใต้วิสัยทัศน์ “พัฒนาเทศบาลตำบลนาตาล่วง ให้เป็นเทศตำบลของการมีส่วนร่วม สุขภาพ ปลอดภัย การศึกษาก้าวไกล สิ่งแวดล้อมสดใส”

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส

 

2 1.เกิดกลไกการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยให้มีความเข้มแข็ง

1.1 มีกลไกคณะทำงานเตรียมรองรับสังคมสูงวัยจำนวน ๑๕ คน ที่ ประกอบด้วยภาคีที่หลากหลาย ประกอบด้วย ภาคีท้องถิ่น ภาคีสุขภาพ ได้แก่ รพ. สต. อสม. ภาคีภาคประชาชน ได้แก่ แกนนำชมรมผู้สูงอายุ ท้องที่ และแกนนำกลุ่ม องค์กรภาคประชาชน
1.๒ มีการนำเข้าข้อมูลคนเปราะบาง (ผู้สูงอายุ คนพิการและคนยากจน) เข้าสู่ ระบบ imed @home

3 2.เกิดสภาพแวดล้อมเตรียม รองรับสังคมสูงวัย

มิติสุขภาพ
2.1 มีกติกาชุมชนในการดูแลสุขภาพเพื่อรักษาสุขภาพให้ปลอดโรคปลอดภัยสูงวัย แข็งแรง
2.2 มีการรณรงค์ให้ความรู้เชิดชูเกียรติผู้ที่มีการดูแลสุขภาพปลอดโรคปลอดภัย
2.3 มีร้านลดหวานมันเค็ม 1 ร้าน
2.4 มีระบบดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงระยะยาว (Long Term Care) ผ่านมาตรฐานร้อย ละ 80**
มิติสภาพแวดล้อม
2.5 มีครัวเรือนที่มีการปรับสภาพบ้านให้ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ (เจ้าบ้านปรับ เอง/ปรับโดยชุมชน/ปรับโดยหน่วยงาน เช่น อปท. พมจ. ) อย่างน้อยจำนวน ๒ ครัวเรือน
2.6 มีพื้นที่สาธารณะในชุมชน เช่น วัด หรือ มัสยิด หรือ ศาลเจ้า หรือ อาคารและ สถานที่ของราชการ มีการปรับสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ อย่าง น้อย 1 จุด
2.7 มีช่างชุมชน/เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้าใจแนวคิดและสามารถ ให้คำแนะนำการปรับสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุอย่างน้อย 2 คน

4 3.เกิดพฤติกรรมสำคัญเตรียมรองรับสังคมสูงวัย 4 มิติได้รับการเตรียมความพร้อม

มิติสุขภาพ
3.1 กลุ่มเป้าหมายมีดัชนีมวลกายผ่านเกณฑ์ร้อยละ/มีพฤติกรรมลดการสูบบุหรี่ ร้อยละ 25
มิติสังคม
3.2 กลุ่มเป้าหมายร้อยละ 25 มีการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม (ชมรมผู้สูงอายุ/โรงเรียน ผู้สูงอายุ/กลุ่มอื่นๆ ) อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
3.3 กลุ่มเป้าหมายมีการไปเยี่ยมผู้สูงอายุในชุมชน ร้อยละ 10
3.๔ กลุ่มเป้าหมายเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเท่าทันสื่อและเทคโนโลยี ร้อยละ 25 มิติเศรษฐกิจ
3.๕ กลุ่มเป้าหมายมีการออมเตรียมสูงวัยด้วยเงิน ได้แก่ สถาบันการเงินในชุมชน ธนาคาร กอช. ประกันตนเองมาตรา 40 กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ อย่างน้อย 2 รูปแบบ ร้อยละ 25

5 4.เกิดคุณภาพชีวิตเตรียมรองรับสังคมสูงวัย

ด้านสุขภาพ
4.1 กลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองและมีความเสี่ยงเป็น โรคเบาหวานน้อยกว่าร้อยละ 10 มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงน้อยกว่า ร้อยละ 5
4.2 กลุ่มเสี่ยงเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ลดลง มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ5
4.3 กลุ่มเสี่ยงเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตรายใหม่ลดลง มากกว่าหรือเท่ากับร้อย ละ5
4.4 กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 60
4.5 กลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตที่ควบคุมระดับได้ดีมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 60
4.6 กลุ่มติดเตียง ได้รับการดูแลร้อยละ 80

6 5.เกิดนโบบายแผนงานโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยของตำบล

5.1 มีการบรรจุแผนงานโครงการสนับสนุนการขับเคลื่อนการเตรียมรองรับสังคมสูง วัยในแผนพัฒนาท้องถิ่นและหรือกองทุนสุขภาพตำบล
5.2 มีและใช้ธรรมนูญสุขภาวะชุมชนในการขับเคลื่อนการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย ของพื้นที่

stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 200
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ประชากร 60 ปีขึ้นไป 40 -
ประชากรอายุ 35-59 ปี 160 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66
1 พัฒนากลไกเตรียมรองรับสังคมสูงวัยให้มีความเข้มแข็ง(1 มิ.ย. 2022-31 มี.ค. 2023) 21,400.00                                
2 พัฒนาสภาพแวดล้อมเตรียมรองรับสังคมสูงวัย(1 มิ.ย. 2022-31 มี.ค. 2023) 9,840.00                                
3 พฤติกรรมสำคัญเตรียมรองรับสังคมสูงวัย 4 มิติ(1 มิ.ย. 2022-31 มี.ค. 2023) 50,060.00                                
4 คุณภาพชีวิตเตรียมรองรับสังคมสูงวัย(1 มิ.ย. 2022-31 มี.ค. 2023) 18,700.00                                
5 พัฒนานโยบายแผนงานโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยของตำบล(1 มิ.ย. 2022-31 มี.ค. 2023) 0.00                                
6 ส่วนที่ สสส. สนับสนุนเพิ่มเติม(1 มิ.ย. 2022-31 มี.ค. 2023) 20,000.00                                
7 บัญชีธนาคาร(1 มิ.ย. 2022-31 มี.ค. 2023) 0.00                                
รวม 120,000.00
1 พัฒนากลไกเตรียมรองรับสังคมสูงวัยให้มีความเข้มแข็ง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 80 21,400.00 10 14,055.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 ประชุมคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องชุดใหญ่ ครั้งที่ 1 0 3,000.00 1,255.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 ประชุมคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องชุดใหญ่ ครั้งที่ 2 0 3,000.00 3,000.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 ประชุมคณะทำงานชุดเล็ก ครั้งที่ 1 5 210.00 210.00
1 ต.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 ประชุมคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องชุดใหญ่ ครั้งที่ 3 0 3,000.00 3,000.00
1 ต.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 ประชุมคณะทำงานชุดเล็ก ครั้งที่ 2 5 210.00 210.00
1 ต.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 ประชุมคณะทำงานชุดเล็ก ครั้งที่ 3 5 210.00 210.00
1 ต.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 ประชุมคณะทำงานชุดเล็ก ครั้งที่ 4 5 210.00 210.00
1 ต.ค. 65 - 31 มี.ค. 66 พัฒนาศักยภาพคณะทำงานเตรียมรองรับสังคมสูงวัย 25 4,675.00 2,875.00
1 ต.ค. 65 - 31 มี.ค. 66 สรุปบทเรียน 20 3,255.00 2,875.00
1 ต.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 ประชุมคณะทำงานชุดเล็ก ครั้งที่ 5 5 210.00 210.00
1 ต.ค. 65 - 31 มี.ค. 66 สำรวจข้อมูลและนำข้อมูลคนเปราะบางในระบบ imed@home 10 3,420.00 -
2 พัฒนาสภาพแวดล้อมเตรียมรองรับสังคมสูงวัย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 15 9,840.00 3 9,840.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 พัฒนาศักยภาพช่างชุมชน 5 440.00 440.00
1 ต.ค. 65 - 31 มี.ค. 66 ปรับสภาพบ้านผู้สูงอายุและพื้นที่สาธารณะ 5 6,950.00 6,950.00
1 ต.ค. 65 - 31 มี.ค. 66 ครัวเรือนสะอาดและร้านค้าต้นแบบ 5 2,450.00 2,450.00
3 พฤติกรรมสำคัญเตรียมรองรับสังคมสูงวัย 4 มิติ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 178 50,060.00 2 47,060.00
1 ต.ค. 65 - 31 มี.ค. 66 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโทษภัยบุหรี่ และเท่าทันสื่อออนไลน์ 70 17,050.00 31,100.00
1 ต.ค. 65 - 31 มี.ค. 66 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับสภาพแวดล้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัย 70 17,050.00 -
1 ต.ค. 65 - 31 มี.ค. 66 ออกกำลังกาย 38 15,960.00 15,960.00
4 คุณภาพชีวิตเตรียมรองรับสังคมสูงวัย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 140 18,700.00 1 18,900.00
1 ต.ค. 65 - 31 มี.ค. 66 สุขภาพดี"ศรี"นาตาล่วง 140 18,700.00 18,900.00
5 พัฒนานโยบายแผนงานโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยของตำบล กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
6 ส่วนที่ สสส. สนับสนุนเพิ่มเติม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 33 20,000.00 5 7,200.00
1 มิ.ย. 65 - 1 ก.ค. 65 เวทีปฐมนิเทศโครงการ 3 1,800.00 600.00
1 มิ.ย. 65 - 31 ส.ค. 65 เวทีพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 1 3 1,700.00 1,000.00
1 ก.ย. 65 - 1 ธ.ค. 65 เวทีพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 2 3 1,700.00 600.00
1 ต.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 ค่าประสานงานและจัดทำรายงานโครงการ 2 3,000.00 3,000.00
1 ต.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 ค่าจัดทำบัญชี 1 2,000.00 2,000.00
1 ต.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 ค่าจัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกฮอล์และป้ายชื่อโครงการ 1 1,000.00 -
1 ต.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 ค่าจัดทำชุดนิทรรศการแสดงผลการดำเนินงานในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการ 1 2,000.00 -
1 ต.ค. 65 - 31 มี.ค. 66 เวทีพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 3 3 1,700.00 -
1 - 31 ต.ค. 65 เวทีสะท้อนผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนาระดับจังหวัดครั้งที่ 1 3 1,700.00 -
1 ต.ค. 65 - 31 มี.ค. 66 เวทีแลกเปลี่ยนรู้กับ สสส. 10 1,700.00 -
1 ก.พ. 66 - 31 มี.ค. 66 เวทีสะท้อนผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนาระดับจังหวัดครั้งที่ 2 3 1,700.00 -
7 บัญชีธนาคาร กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 1 100.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 ค่าเปิดบัญชีธนาคาร 0 0.00 100.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ก.ย. 2022 15:27 น.