directions_run

โครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลกันตังใต้

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลกันตังใต้
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดตรัง
รหัสโครงการ 65-00-0144-0001
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2022
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2022 - 31 พฤษภาคม 2023
งบประมาณ 120,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลกันตังใต้
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอุดม แซ่เลี้ยว
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 098-9232742
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกันตังใต้ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2022 30 ก.ย. 2022 1 มิ.ย. 2022 30 ก.ย. 2022 48,000.00
2 1 ต.ค. 2022 31 ม.ค. 2023 1 ต.ค. 2022 31 ม.ค. 2023 60,000.00
3 1 ก.พ. 2023 31 มี.ค. 2023 1 ก.พ. 2023 31 มี.ค. 2023 12,000.00
รวมงบประมาณ 120,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์(Complete Aged Society) ในปี พ.ศ. 2564 ประชากร สูงอายุจะมีถึง 1 ใน 5 ทั้งนี้ในปี 2562 เป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยมีประชากรสูงอายุมากกว่าประชากรวัยเด็ก และจะเป็น “สังคมสูงวัยระดับสุดยอด” (Super Aged Society) ในอีกไม่ถึง 20 ปี(พ.ศ 2578) ซึ่งโครงสร้าง อายุของประชากรที่เปลี่ยนไปนี้เท่ากับเป็นการเปลี่ยนโครงสร้างของสังคมโดยรวมด้วย สถานการณ์ประชากรผู้สูงอายุไทยในปี 2565มีผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 12.12 ล้านคน คิด เป็นร้อยละ 18.3 ของประชากรไทยทั้งหมด เมื่อจำแนกประเภทผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ประมาณร้อย ละ 96 ของจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมดคือ ผู้สูงอายุที่สามารถดูแลตัวเองได้โดยไม่ต้องพึ่งผู้อื่น (กลุ่มติดสังคม) โดยส่วน ใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 60-69 ปี อีกประมาณร้อยละ 2 เป็นผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งผู้อื่นในบางกิจกรรมของกิจกรรมของ กิจวัตรประจำวัน (กลุ่มติดบ้าน) และผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาผู้อื่นทั้งหมด(ติดเตียง)ประมาณร้อยละ 1 โดยส่วนใหญ่อยู่ ในวัยมากกว่า 80 ปี ซึ่งผู้สูงอายุในช่วยวัยปลายหรืออายุตั้งแต่ 80 ปีขึ้นไปนั้น มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จึงสะท้อนถึง การเพิ่มขึ้นของประชากรที่อยู่ในวัยพึ่งพิงทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคมและสุขภาพ แม้ว่าประชากรไทยจะมีอายุยืนยาวขึ้น แต่กลับตามมาด้วยการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังยาวนานขึ้น และ โอกาสที่จะอยู่ในภาวะพึ่งพิงเนื่องมาจากการมีทุพพลภาพและผู้สูงอายุที่อยู่ลำพังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยปัญหา สำคัญของผู้สูงอายุ คือ ประเด็นสุขภาพและด้านเศรษฐกิจ ซึ่งในด้านสุขภาพจากผลการสำรวจสุขภาวะผู้สูงอายุ ไทยปี 2557 พบว่าผู้สูงอายุร้อยละ 95 มีปัญหาสุขภาพด้วยโรคเรื้อรังต่างๆ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคข้ออักเสบ ข้อเสื่อม โรคถุงลมโป่งพอง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจตายและอัมพาต รวมทั้งยังมีภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุด้วย นอกจากนี้ยังมีข้อมูลว่ามีผู้สูงอายุเพียงร้อยละ 26.5 มีการออกกำลังกาย เป็นประจำ ดังนั้นหากปล่อยให้เป็นเช่นนี้จะส่งผลกระทบต่อทั้งตัวผู้สูงอายุเอง ครอบครัว รวมถึงภาครัฐที่จะต้องใช้ งบประมาณจำนวนมหาศาลเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสุขภาพ ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องมีการเฝ้าระวัง ดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องตลอดจนการปรับพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม ในด้านสังคม พบว่า ในปี 2560 มี ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม/ชมรมผู้สูงอายุเพียงร้อยละ 33.7 ส่วนด้านสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินชีวิต พบว่า ผู้สูงอายุกว่าร้อยละ 10 เคยมีประสบการณ์ในการหกล้ม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวก ภายในบ้าน เช่น ราวจับ และการปรับสภาพพื้นที่ในบ้านและนอกบ้านให้เอื้อต่อการใช้ชีวิตอย่างปลอดภัยและ ป้องกันการหกล้ม ซึ่งเป็นสาเหตุของการบาดเจ็บอันนำไปสู่ภาวะติดบ้านและติดเตียงตามมา ในด้านเศรษฐกิจ พบว่า ผู้สูงอายุร้อยละ 34.3 เป็นผู้สูงอายุที่ยากจน โดยผู้สูงอายุ 4.4 ล้านคน (ร้อยละ 37) ยังคงทำงานอยู่ ซึ่ง ผู้สูงอายุชายทำงานมากกว่าผู้สูงอายุหญิงเกือบ 2 เท่า อีกทั้ง ในปัจจุบันผู้สูงอายุเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมากขึ้น ซึ่งการ เข้าถึงอินเทอร์เน็ตนั้นง่ายต่อการสื่อสาร แต่มีทั้งคุณและโทษ จึงควรพัฒนาช่องทางสื่อสารไปยังผู้สูงอายุเพื่อให้เกิด การเข้าใจปัญหา และการเตรียมความพร้อมในการแก้ไขปัญหา เช่น การแก้ไขปัญหาข่าวลวง และความเชื่อที่ไม่มี หลักฐาน สำหรับจังหวัดตรังพบว่าประชากรที่มีอายุมากกว่า ๖๐ ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 17.24 และประชากรอายุ 15-59 ปี คิดเป็นร้อยละ 64.84 ประชากรอายุ 0.14 ปี คิดเป็นร้อยละ 17.51 เพิ่มตามธรรมชาติ ร้อยละ ส่วนที่ 2: รายละเอียดโครงการ 5 ๐.๒๑ ภายในปี ๒๕๗๒ จะมีประชากรกลุ่มนี้กลายเป็นผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ ๓๐ ของประชากรจังหวัดตรังซึ่งจะ ทำให้จังหวัดตรังเข้าสู่สังคมสูงวัยสุดยอด (ข้อมูลเมื่อ เดือน ธันวาคม 2564) สถานการณ์ประชากรในจังหวัดตรังสามารถจำแนกเป็นกลุ่มสูงอายุส่วนใหญ่สามารถดูแลตัวเองได้โดยไม่ ต้องพึ่งผู้อื่น คิดเป็นร้อยละ ๙๖.๒๙ ของจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด อีกประมาณร้อยละ 3.71 เป็นผู้สูงอายุที่ต้อง พึ่งพิง ประชากรกลุ่มอายุ ๕๐-๕๙ ปีป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ ๒๒.๒๒ และโรคเบาหวานร้อยละ ๑๐.๓๐ ประชากรกลุ่มอายุ ๖๐ ปีขึ้นไปป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ ๔๘ และโรคเบาหวานร้อยละ ๑๗.๒๔ (ที่มา: HDC Report สสจ.ตรัง, กันยายน ๒๕๖๒) ทั้งนี้จากการทำงานของ Node Flagship จังหวัดตรังปี 2563-2564 ใน 11 พื้นที่ตำบลพบว่า สถานการณ์และสภาพปัญหาส่วนใหญ่ของการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยใน 4 มิติ ได้แก่ (1) มิติด้านสุขภาพ พบว่า กลุ่มคนวัยทำงานเริ่มมีโรคประจำตัว เบาหวาน ความดันเพิ่มมากขึ้น และมี พฤติกรรมกินอาหารรสจัด หวาน มัน เค็ม ขาดการออกกำลังกายสม่ำเสมอ การทำงานด้านการส่งเสริมสุขภาพของ หน่วยงานที่ผ่านมาเน้นการรักษาและฟื้นฟูปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกับกลุ่มผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยง สำหรับกลุ่มที่ไม่เสี่ยง ยังไม่มีกิจกรรมโครงการรองรับมากนัก (2) มิติด้านสังคม พบว่า ผู้สูงอายุมีภาระเลี้ยงดูลูกหลานบ้างอยู่ตามลำพังมีภาระเรื่องการประกอบอาชีพ ทำให้ไม่สามารถมาเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชนได้สม่ำเสมอ ในขณะที่ชมรมผู้สูงอายุขาดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง สมาชิกกลุ่มชมรมผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป สมาชิกกลุ่มอายุ40-59 ปียังมีจำนวนน้อย และขาด กำลังคนในวัยทำงานมาเสริมการทำงานของชมรมผู้สูงอายุ (3) มิติด้านเศรษฐกิจ(การออม) พบว่า ผู้สูงอายุมีรายได้ไม่เพียงพอในการดำรงชีวิตเนื่องจากมีภาระเลี้ยงดู ลูกหลาน ขาดเงินออมที่เพียงพอและมีหนี้สิน สำหรับกลุ่มอาชีพการรวมกลุ่มยังไม่เข้มแข็งอีกทั้งกลุ่มอายุ 40-59 ปียังขาดการออมและวางแผนการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย (4) มิติด้านสภาพแวดล้อม พบว่า บ้านและพื้นที่สาธารณะในชุมชน เช่น วัด และสถานที่ราชการ ยังขาด การปรับสภาพแวดล้อมเพื่อรองรับการใช้ชีวิตประจำวันสำหรับผู้สูงอายุ เช่น ขาดราวจับในห้องน้ำ มีพื้นที่ต่าง ระดับที่มีความเสี่ยงต่อการหกล้มของผู้สูงอายุ การใช้โถนั่งยอง การติดตั้งอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ราว จับ ที่ไม่ถูกต้อง ช่างชุมชนและท้องถิ่นที่มีความเข้าใจและสามารถให้คำแนะนำการปรับสภาพบ้านที่ปลอดภัย สำหรับผู้สูงอายุมีน้อย รวมถึงการสร้างบ้านของประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้คำนึงถึงการพร้อมใช้เมื่อเป็นผู้สูงอายุ สำหรับข้อมูลเตรียมรองรับสังคมสูงวัยด้านสุขภาพ ด้านสังคม ด้านสภาพแวดล้อม และด้านเศรษฐกิจเพื่อ เตรียมรองรับสังคมสูงวัยในตำบลกันตังใต้ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ประชากรทั้งหมดของ ตำบลกันตังใต้ มีจำนวน 6,899 คน โดยแบ่งเป็นผู้สูงอายุ จำนวน 1,171 คน ซึ่งคิดเป็นจำนวน 16% ของ ประชากรทั้งตำบลกันตังใต้ ผู้สูงอายุทั้งหมดแยกออกเป็น 3 ประเภท คือ 1. ผู้สูงอายุที่สามารถดูแลตนเองได้โดย ไม่ต้องพึ่งผู้อื่น (กลุ่มติดสังคม) จำนวน 738 คน 2.ผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งผู้อื่นบ้างในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (กลุ่มติดบ้าน) จำนวน 425 คน 3.ผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาผู้อื่นทั้งหมด (กลุ่มติดเตียง) จำนวน 8 คน โดยมีข้อมูลด้าน สุขภาพของผู้สูงอายุภายในตำบลกันตังใต้ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 235 คน ผู้ป่วยเป็น โรคเบาหวาน จำนวน 345 คน โรคอัมพาต จำนวน 3 คน โรคภาวะซึมเศร้า จำนวน 2 คน โดยทางองค์การ บริหารส่วนตำบลกันตังใต้ มีจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลในระบบ LTC จำนวน 8 คน มีจำนวน Care Giver 2 คน มีจำนวน อาสาบริบาล 2 คน เพื่อดูแลด้านสุขภาพแก่ผู้สูงอายุภายในตำบลกันตังใต้ แต่ยังมีผู้สูงอายุที่หกล้ม จากท่ายืน/ตกจากเตียง เก้าอี้ หรือตกจากที่สูง (ระหว่างปี 2563-2564) จำนวน 10 คน ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องมี การแก้ไข จากการดำเนินการโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยในปีที่ผ่านมาภายใต้โครงการบ้านปลอดภัยเตรียม รองรับสังคมสูงวัย ทำให้องค์การบริหารส่วนตำบลกันตังใต้ เกิดช่างชุมชน/ท้องถิ่นที่สามารถให้คำแนะนำการปรับ สภาพบ้านที่ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุและสามารถเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพการปรับสภาพบ้านที่ ปลอดภัย ได้จำนวน 15 คน องค์การบริหารส่วนตำบลกันตังใต้ จึงมีแนวทางในการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย 6 ประจำปี 2565 – 2566 ภายใต้โครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลกันตังใต้ ทั้ง 4 มิติ สุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม โดยมุ้งเน้นพิเศษในด้าน เศรษฐกิจโดยมีแนวทางในการออมต้นไม้ และ ด้านสิ่งแวดล้อม โดยการสำรวจและปรับสภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัยภายในตำบลกันตังใต

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนท้องถิ่น(ภาคีท้องถิ่น ภาคีสุขภาพ และภาคีภาคประชาชน)มี ศักยภาพในการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยให้กับประชาชนในตำบล

 

2 1.1เกิดกลไกการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยให้มีความเข้มแข็ง

1.1 มีกลไกคณะทำงานเตรียมรองรับสังคมสูงวัยจำนวน 15 คน ที่ ประกอบด้วยภาคีที่หลากหลาย ประกอบด้วย ภาคีท้องถิ่น ภาคีสุขภาพ ได้แก่ รพ. สต. อสม. ภาคีภาคประชาชน ได้แก่ แกนนำชมรมผู้สูงอายุ ท้องที่ และแกนนำกลุ่ม องค์กรภาคประชาชน
1.2 มีการนำเข้าข้อมูลคนเปราะบาง (ผู้สูงอายุ คนพิการและคนยากจน) เข้าสู่ ระบบ imed @home

3 1.2 เกิดสภาพแวดล้อมเตรียม รองรับสังคมสูงวัย

มิติสุขภาพ
2.1 มีกติกาชุมชนในการดูแลสุขภาพเพื่อรักษาสุขภาพให้ปลอดโรคปลอดภัยสูงวัย แข็งแรง
2.2 มีการรณรงค์ให้ความรู้เชิดชูเกียรติผู้ที่มีการดูแลสุขภาพปลอดโรคปลอดภัย
2.3 มีร้านลดหวานมันเค็ม 1 ร้าน
2.4 มีระบบดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงระยะยาว (Long Term Care) ผ่านมาตรฐานร้อย ละ 80**
มิติสภาพแวดล้อม
2.5 มีครัวเรือนที่มีการปรับสภาพบ้านให้ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ (เจ้าบ้านปรับ เอง/ปรับโดยชุมชน/ปรับโดยหน่วยงาน เช่น อปท. พมจ. ) อย่างน้อยจำนวน ๒ ครัวเรือน
2.6 มีพื้นที่สาธารณะในชุมชน เช่น วัด หรือ มัสยิด หรือ ศาลเจ้า หรือ อาคารและ สถานที่ของราชการ มีการปรับสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ อย่าง น้อย 1 จุด
2.7 มีช่างชุมชน/เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้าใจแนวคิดและสามารถ ให้คำแนะนำการปรับสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุอย่างน้อย 2 คน มิติสังคม
2.8 มีศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล

4 1.3 เกิดพฤติกรรมสำคัญเตรียมรองรับสังคมสูงวัย 4 มิติได้รับการเตรียมความพร้อม

มิติสุขภาพ
3.1 กลุ่มเป้าหมายมีดัชนีมวลกายผ่านเกณฑ์ร้อยละ/มีพฤติกรรมลดการสูบบุหรี่ ร้อยละ 25
มิติสังคม
3.2 กลุ่มเป้าหมายร้อยละ 25 มีการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม (ชมรมผู้สูงอายุ/โรงเรียน ผู้สูงอายุ/กลุ่มอื่นๆ ) อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
3.3 กลุ่มเป้าหมายมีการไปเยี่ยมผู้สูงอายุในชุมชน ร้อยละ 10
3.4 กลุ่มเป้าหมายเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเท่าทันสื่อและเทคโนโลยี ร้อยละ 25 มิติเศรษฐกิจ
3.5 กลุ่มเป้าหมายมีการออมเตรียมสูงวัยด้วยเงิน ได้แก่ สถาบันการเงินในชุมชน ธนาคาร กอช. ประกันตนเองมาตรา 40 กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ อย่างน้อย 2 รูปแบบ ร้อยละ 25

5 1.4 เกิดคุณภาพชีวิตเตรียมรองรับสังคมสูงวัย

ด้านสุขภาพ
4.1 กลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองและมีความเสี่ยงเป็น โรคเบาหวานน้อยกว่าร้อยละ 10 มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงน้อยกว่า ร้อยละ 5
4.2 กลุ่มเสี่ยงเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ลดลง มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ5
4.3 กลุ่มเสี่ยงเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตรายใหม่ลดลง มากกว่าหรือเท่ากับร้อย ละ5
4.4 กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 60
4.5 กลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตที่ควบคุมระดับได้ดีมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 60
4.6 กลุ่มติดเตียง ได้รับการดูแลร้อยละ 80

6 1.5 เกิดนโบบายแผนงานโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยของตำบล

5.1 มีการบรรจุแผนงานโครงการสนับสนุนการขับเคลื่อนการเตรียมรองรับสังคมสูง วัยในแผนพัฒนาท้องถิ่นและหรือกองทุนสุขภาพตำบล
5.2 มีและใช้ธรรมนูญสุขภาวะชุมชนในการขับเคลื่อนการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย ของพื้นที่

stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 200
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ประชากร 60 ปีขึ้นไป 40 -
ประชากรอายุ 35-59 ปี 160 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66
1 พัฒนากลไกเตรียมรองรับสังคมสูงวัยให้มีความเข้มแข็ง(1 มิ.ย. 2022-31 มี.ค. 2023) 13,450.00                        
2 พัฒนาสภาพแวดล้อมเตรียมรองรับสังคมสูงวัย(1 มิ.ย. 2022-31 มี.ค. 2023) 29,100.00                        
3 พฤติกรรมสำคัญเตรียมรองรับสังคมสูงวัย 4 มิติ(1 มิ.ย. 2022-31 มี.ค. 2023) 38,300.00                        
4 คุณภาพชีวิตเตรียมรองรับสังคมสูงวัย(1 มิ.ย. 2022-31 มี.ค. 2023) 12,400.00                        
5 พัฒนานโยบายแผนงานโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยของตำบล(1 มิ.ย. 2022-31 มี.ค. 2023) 6,750.00                        
6 ส่วนที่ สสส. สนับสนุนเพิ่มเติม(1 มิ.ย. 2022-31 มี.ค. 2023) 20,000.00                        
7 บัญชีธนาคาร(1 มิ.ย. 2022-31 มี.ค. 2023) 0.00                        
รวม 120,000.00
1 พัฒนากลไกเตรียมรองรับสังคมสูงวัยให้มีความเข้มแข็ง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 13,450.00 11 11,450.00
1 - 30 มิ.ย. 65 ประชุม คณะทำงาน ครั้งที่ 1 0 900.00 700.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 สำรวจรวบรวม ข้อมูลเตรียม รองรับสังคมสูง วัย 1 ครั้ง/ นำ ข้อมูลคน เปราะบางเข้าสู่ ระบบ imed@home 0 4,450.00 4,450.00
1 - 31 ก.ค. 65 ประชุม คณะทำงาน ครั้งที่ 2 0 900.00 700.00
1 - 31 ส.ค. 65 ประชุม คณะทำงาน ครั้งที่ 3 0 900.00 700.00
1 - 30 ก.ย. 65 ประชุม คณะทำงาน ครั้งที่ 4 0 900.00 700.00
1 - 31 ต.ค. 65 ประชุม คณะทำงาน ครั้งที่ 5 0 900.00 700.00
1 - 30 พ.ย. 65 ประชุม คณะทำงาน ครั้งที่ 6 0 900.00 700.00
1 - 31 ธ.ค. 65 ประชุม คณะทำงาน ครั้งที่ 7 0 900.00 700.00
1 - 31 ม.ค. 66 ประชุม คณะทำงาน ครั้งที่ 8 0 900.00 700.00
1 - 28 ก.พ. 66 ประชุม คณะทำงาน ครั้งที่ 9 0 900.00 700.00
1 - 31 มี.ค. 66 ประชุม คณะทำงาน ครั้งที่ 10 0 900.00 700.00
2 พัฒนาสภาพแวดล้อมเตรียมรองรับสังคมสูงวัย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 29,100.00 4 19,800.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 กิจกรรมอบรม การพัฒนา ศักยภาพช่าง ชุมชน 0 4,050.00 4,050.00
1 ต.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 กิจกรรมอบรม ให้ความรู้เตรียม รองรับสังคมสูง วัย ครั้งที่ 1 0 5,260.00 5,250.00
1 ต.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 กิจกรรมอบรม ให้ความรู้เตรียม รองรับสังคมสูง วัย ครั้งที่ 2 0 5,260.00 5,250.00
1 ต.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 กิจกรรมอบรม ให้ความรู้เตรียม รองรับสังคมสูง วัย ครั้งที่ 3 0 5,230.00 5,250.00
1 ต.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 กิจกรรมอบรม การปรับ สภาพแวดล้อมที่ อยู่อาศัยให้ ปลอดภัย 0 9,300.00 -
3 พฤติกรรมสำคัญเตรียมรองรับสังคมสูงวัย 4 มิติ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 38,300.00 2 41,685.00
1 ต.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 กิจกรรมอบรม ให้ความรู้เตรียม รองรับสังคมสูง 0 7,550.00 7,550.00
1 ต.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 การปรับจุด เสี่ยงครัวเรือน 0 30,750.00 34,135.00
4 คุณภาพชีวิตเตรียมรองรับสังคมสูงวัย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 12,400.00 1 12,515.00
1 ต.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 กิจกรรมอบรม ให้ความรู้การ ออมต้นไม้และ จัดตั้งธนาคาร ต้นไม้ 0 12,400.00 12,515.00
5 พัฒนานโยบายแผนงานโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยของตำบล กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 6,750.00 2 4,750.00
1 ต.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 สรุปบทเรียน การดำเนินงาน 0 2,750.00 2,750.00
1 ต.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 กิจกรรมติดตาม ผลการ ปรับเปลี่ยน พฤติกรรมและ สภาพแวดล้อม เตรียมรองรับ สังคมสูงวัย 0 4,000.00 2,000.00
6 ส่วนที่ สสส. สนับสนุนเพิ่มเติม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 28 20,000.00 7 8,728.00
1 มิ.ย. 65 - 1 ก.ค. 65 เวทีปฐมนิเทศโครงการ 3 1,700.00 464.00
27 มิ.ย. 65 - 26 เม.ย. 66 จัดทำป้ายปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกกอฮอล์และป้ายชื่อโครงการ 0 1,000.00 -
1 ก.ย. 65 - 31 ต.ค. 65 เวทีพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 2 (ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการย่อยในการใช้โปรแกรม canva และรายงานกิจกรรมและบันทึกรายงานการเงินในระบบ www.happynetwork.org) 0 1,700.00 364.00
1 ต.ค. 65 - 31 ต.ค. 66 จัดทำบัญชี 1 2,000.00 2,000.00
1 ต.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 การประสานงานและจัดทำรายงานโครงการ 2 3,000.00 3,000.00
1 ต.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 จัดทำชุดนิทรรศการแสดงผลการดำเนินโครงการ 0 2,000.00 -
1 ต.ค. 65 - 31 ธ.ค. 65 เวทีพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 1 (อบรมพัฒนาศักยภาพชุมชนต้นแบบสังคมสูงวัย : การเตรียมรองรับสังคมสูงวัยใน 4 มิติ) 3 1,700.00 -
1 - 31 ต.ค. 65 เวทีสะท้อนผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE)ระดับจังหวัด ครั้งที่1 3 1,700.00 1,780.00
1 พ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 เวทีพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 3 3 1,700.00 -
1 พ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 เวทีสะท้อนผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE)ระดับจังหวัด ครั้งที่ 2 3 1,700.00 728.00
1 พ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 เวทีแลกเปลี่ยนรู้กับ สสส. 10 1,800.00 392.00
7 บัญชีธนาคาร กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 1 500.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 ค่าเปิดบัญชีธนาคาร 0 0.00 500.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ก.ย. 2022 15:34 น.