directions_run

โครงการสนับสนุนระบบความมั่นคงทางอาหารเพื่อจัดการบริหารการการเงินกลุ่มเปราะบางในชุมชนบ้านลูโบ๊ะซูลง

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสนับสนุนระบบความมั่นคงทางอาหารเพื่อจัดการบริหารการการเงินกลุ่มเปราะบางในชุมชนบ้านลูโบ๊ะซูลง
ภายใต้โครงการ โครงการการฟื้นฟูคุณภาพชีวิต และพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากแก่ผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะจังหวัดภาคใต้
ภายใต้องค์กร Node โควิค ภาคใต้
รหัสโครงการ 65-10018-18
วันที่อนุมัติ 9 กันยายน 2022
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2022 - 31 สิงหาคม 2023
งบประมาณ 100,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ นายไซลฮูดิง สาอิ ชุมชนบ้านลูโบ๊ะซูลง
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายไซลฮูดิง สาอิ
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0810935157
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ saihuding.58@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ นางกัลยา เอี่ยวสกุล
พื้นที่ดำเนินการ บ้านลูโบ๊ะซูลง ตำบลเตราะบอน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ย. 2022 28 ก.พ. 2023 1 ก.ย. 2022 28 ก.พ. 2023 65,000.00
2 1 มี.ค. 2023 31 ก.ค. 2023 1 มี.ค. 2023 31 ก.ค. 2023 25,000.00
3 1 ก.ค. 2023 31 ส.ค. 2023 10,000.00
รวมงบประมาณ 100,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หมู่บ้านลูโบ๊ะซูลง มาจากคำว่า ลูโบ๊ะ” เป็นภาษามลายูท้องถิ่น แปลว่า พื้นที่ ๆ มีลักษณะเป็นพรุ มีน้ำท่วมขังและเป็นหลุมลึกกว้าง ส่วนคำว่า ”ซูลง” เป็นชื่อของบุคคลที่เป็นลูกชายคนโตของครอบครัวหนึ่งที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน วันหนึ่ง ”ซูลง” ได้พลัดตกลงไปเสียชีวิตในพรุที่เรียกกันว่าลูโบ๊ะ จึงนำคำว่า ลูโบ๊ะซูลง มารวมกันและใช้เป็นชื่อหมู่บ้านจนถึงปัจจุบัน บ้านลูโบ๊ะซูลง หมู่ที่ 10 ตำบลเตราะบอน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี จากการลงสำรวจแบบสอบถามครัวเรือนด้านสังคม และสิ่งแวดล้อม วันที่ 1 มีนาคม 2562 หมู่บ้านลูโบ๊ะซูลง มีพื้นที่ 680 ไร่ มีลักษณะเป็นที่ราบ ล้อมรอบด้วยสวนยางพารา สวนผลไม้ มีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 166 ครัวเรือน และมีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 720 คน โดยแบ่งเป็น ชาย 368 คน หญิง 352 คน ผู้สูงอายุ 60 ปี ขึ้นไปทั้งหมด 55 คน โดยแบ่งเป็น ชาย 25 คน หญิง 30 คน ผู้พิการทั้งหมด 13 คน โดยแบ่งเป็น ชาย 9 คน หญิง 4 คน เด็กกำพร้าทั้งหมด 7 คน โดยแบ่งเป็น ชาย 4 คน หญิง 3 คน เด็กแรกเกิดทั้งหมด 5 คน โดยแบ่งเป็น ชาย 3 คน หญิง 2 คน ช่วงอายุ 1-4 ปีทั้งหมด 46 คน โดยแบ่งเป็น ชาย 29 คน หญิง 17 คน ช่วงอายุ 5-14 ปีทั้งหมด 153 คน โดยแบ่งเป็น ชาย 83 คน หญิง 70 คน ช่วงอายุ 15-18 ปีทั้งหมด 54 คน โดยแบ่งเป็น ชาย 28 คน หญิง 26 คน ช่วงอายุ 19-59 ปีทั้งหมด 373 คน โดยแบ่งเป็น ชาย 171 คน หญิง 202 คน และมีเยาวชนทั้งหมด 130 คน แยกเป็นประเภทชาย 90 คน ประเภทหญิง 40 คน มีโรงเรียนตาดีกา 1 โรงเรียน โดยคนในชุมชนมีระดับการศึกษา ไม่เรียนหนังสือมีทั้งหมด 60 คน ชาย 38 หญิง 22 คน กำลังศึกษา ป.6 ทั้งหมด 239 คน ชาย 140 คน หญิง 99 คน กำลังศึกษา ม.3 ทั้งหมด 54 คน ชาย 29 คน หญิง 25 คน กำลังศึกษา ม.6 มีทั้งหมด 73 คน ชาย 33 คน หญิง 40 คน และกำลังศึกษา ปริญญาตรีทั้งหมด 57 คน ชาย 16 คน หญิง 36 คน ในส่วนอาณาเขตติดต่อกันทิศเหนือติดกับ หมู่ที่ 5 บ้านชะเมาสามต้น ทิศใต้ติดกับ หมู่ที่ 4 บ้านสือดัง ทิศตะวันออกติดกับหมู่ที่ 6 บ้านบาโงมูลง ทิศตะวันตกติดกับ หมู่ที่ 11 บ้านกะลูบี ตำบลเตราะบอน ประชากรในหมู่บ้านสวนใหญ่มีอาชีพ รับจ้าง กรีดยาง ทำนา เพาะพันธ์ยาง ค้าขาย ข้าราชการ และรับจ้างทำงานนอกพื้นที่เช่น กรุงเทพ ภูเก็ต และประเทศมาเลเซีย เป็นต้น จากการลงสำรวจแบบสอบถามครัวเรือน ข้อมูลด้านเศรษฐกิจในครัวเรือนพบว่า รายได้และรายจ่ายของครัวเรือนต่อปี รายได้เฉลี่ยจากอาชีพหลัก 1,000,000 บาทต่อปี 5 ครัวเรือน รายได้ 200,000 บาทต่อปี 67 ครัวเรือน รายได้ 100,000 บาทต่อปี 49 ครัวเรือนรายได้ 50,000บาทต่อปี 42 ครัวเรือนและ มีรายได้ต่ำกว่า 40,000 บาท จำนวน 3 คน ซึ่งเป็นครัวเรือนที่ตกเกณฑ์จปฐ.2565 ส่วนรายได้จากอาชีพเสริม 50,000 บาทต่อปี 42 ครัวเรือน 30,000 บาทต่อปี 55 ครัวเรือน และ 10,000 บาทต่อปี 38 ครัวเรือน ครัวเรือนที่ไม่ได้ประกอบอาชีพเสริม 31 จำนวน รายได้เสริมส่วนใหญ่มาจากการทำเกษตรปลูกผักสวนครัว การเลี้ยงสัตว์ การหาไว้กินเอง ขายของออนไลน์ และรับจ้างทั่วไปในช่วงเวลาว่าง จากสถานการณ์โรคระบาดโคโรน่าไรรัสหรือโรคระบาดโควิด 19 ในช่วงปลายปีพ.ศ.2562 ผ่านมาได้มีการแพร่ระบาดเชื้อไปยังทั่วโลกนั้น ส่งผลทำให้ผู้คนต้องใช้ชีวิตด้วยความวาดกลัวและวิตกกังวล กลัวการเข้าไปอยู่ในสังคมที่มีการรวมกลุ่มกันเป็นจำนวนมากๆ เพราะเชื้อไวรัสโคโรน่าหรือโควิด 19 นั้นแพร่เชื้อได้ง่าย เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและผลอันตรายจากเชื้อมีความเสี่ยงต่อชีวิตเป็นอย่างมาก จึงทำให้ผู้คนพากันเก็บตัวอยู่กับบ้าน ไม่มีการร่วมกิจกรรมสร้างสรรค์ และไม่มีการรวมกลุ่มในช่วงที่มา ร้านค้าต่างก็ต้องปิดตัวลงเพื่อลดการระบาดเชื้อโรควิด เศรษฐกิจย่ำแย่ บางประเทศที่พบผู้ติดเชื้อจำนวนมากพากันปิดประเทศ ส่งผลให้แรงงานแห่กันอพยพกับมาปักลักในพื้นที่บ้านเกิดขึ้น ไม่มีรายได้ มีแต่รายจ่าย อยู่ในสสภาพวะตึงเครียดเนื่องจากตั้งรับภาระค่าใช้จ่ายที่สูงต่อการดำรงชีวิตประจำวันไม่ไหว หมู่บ้านลูโบ๊ะซูลงเป็นอีกหนึ่งหมู่บ้านที่มีประชาการร้อยละ 10 (50-70 คน) ประกอบอาชีพลูกจ้างหรือรับจ้างเป็นแรงงานนอกพื้นที่ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย กรุงเทพมหานคร ภูเก็ต สงขลา ซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคโควิด 19 เมื่อเกิดสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด 19 บริษัทบางที่จำเป็นต้องปิดการลง และบางบริษัทมีการปลดพนักงานออกเพื่อลดค่าใช้จ่ายให้น้อยลง จาการสำรวจแรงงานในชุมชนอพยพกลับตั้งหลักเนื่องจากถูกเลิกจ้าง จำนวน 28 ราย และมีแรงงานที่ถูกพักงานจำนวน 15 ราย จำใจกลับมาอาศัยอยู่ที่บ้านด้วยสถานะที่ว่างงาน ไม่มีอาชีพประกอบ ขาดรายได้ในการดำรงชีพ ซึ่งแต่เดิมนั้นแรงงานดั่งกล่าวมีรายได้เฉลี่ยวันละ 400 - 600 บาทต่อวัน 12,000 – 18,000 ต่อเดือน ใช้ชีวิตด้วยความสะดวกสบายเพราะมีรายได้เข้าวันต่อวัน แต่เนื่องด้วยสถานการณ์แพร่เชื้อโควิด 19 ระบาดหนักทำให้กลุ่มแรงงานดังกล่าวขาดรายได้ ไม่มีงานทำ อย่างไม่คาดคิดมาก่อน การใช้จ่ายในครัวเรือนของแรงานใช้จ่ายด้วยเงินเก็บส่วนที่เหลือใช้ไม่มีเพียงพอต่อการดำรงชีพ และแรงงานคนบางกลุ่มกลับมาเริ่มต้นด้วยการปลูกผักสวนครัวเพื่อบริโภคและขายหารายได้ บางกลุ่มเป็นลูกจ้างร้านอาหารพื้นที่ใกล้บ้าน บางกลุ่มประกอบอาชีพเป็นกรรมกร และบางกลุ่มไม่ได้ประกอบอาชีพพึ่งพ่อแม่ที่บ้าน และหวังอย่างว่าจะได้กลับไปทำงานเช่นเดิม จากสถานการณ์ดังกล่าวนั้นจึงทำให้แรงงานบางคนเลือกวิธีแก้ไขปัญหาชีวิตด้วยการกู้หนี้ยืมสิน โดยมีหนี้สินเฉลี่ย 20,000 – 50,000 บาทต่อครัวเรือน เนื่องจากต้องรับภาระค่าใช้จ่ายเยอะในครัวเรือน ในชีวิตประจำวันเรื่องการซื้อเครื่องอุปโภค บริโภคในครัวเรือจากเดิมมีรายได้วันละ 400 - 600 บาทต่อวัน 12,000 – 18,000 ต่อเดือนแต่รายได้นี้หายไปเมื่อถูกเลิกจ้างงาน ตกอยู่ในภาวะตึงเครียด มีสุขภาพจิตใจที่ค่อนข้างน่าเป็นห่วง นำซ้ำแรงงานบางคนมีโรคประจำตัวอยู่แล้ว เมื่อสภาวะเช่นนี้ ยิ่งส่งผลให้เกิดความแทรกซ้อนของโรค ยิ่งเพิ่มค่าใช้จ่ายในการรักษา นำมาซึ่งการกู้หนี้ยืมสินเพิ่มขึ้น เกิดปัญหาภายในครอบครัวเรือนเรื่องค่าใช้จ่ายไม่มีเงินทุนมาหมุนเวียน ลูกหลานบางคนไม่สามารถไปเรียนหนังสือได้เนื่องจากพ่อแม่ไม่มีเงิน ในส่วนของการเลือกบริโภคอาหารครัวเรือนจำต้องเลือกซื้ออาหาร วัตถุดิบ ที่มีราคาถูก ไม่ค่อยได้รับสารอาหารตามโภชนาการที่ครบถ้วนเท่าที่ควร และกลุ่มเปราะบางที่อยู่ในชุมชนที่ลูกหลานเคยส่งเสียดูแลเป็นอย่างดี กลับถูกดูแลเอาใจใสจากลูกหลานน้อยลง เกิดความน้อยใจ ไม่สมารถที่ปฏิบัติตามใจอย่างเช่นเคย ส่งผลให้สภาวะทางจิตใจแย่ลงกว่าที่เคยเล็กน้อยและจาการสำรวจข้อมูลการทุนชุมชนที่มีอยู่เดิมพบว่า ชุมชนมีฐานข้อมูลแหล่งผลิตอาหารภายในชุมชนกล่าวคือ ชุมชนมีกลุ่มฐานผลิตอาหารในพื้นที่ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรที่ปลูกผักสวนครัวเรือนจากโครงการส่งเสริมการปลูกและการบริโภคผัก การทำสวนผลไม้ ปลูกนาข้าว และการเลี้ยงสัตว์ เช่น แพะ วัว ปลา ไก่ และมีกลุ่มที่สัมมาชีพที่ที่ทำข้าวเกรียบจากผักของกลุ่มแม่บ้านในชุมชน ร่วมถึงมีโรงน้ำดื่มที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนหมู่บ้าน เพื่อให้ชุมชนมีน้ำที่สะอาดดื่ม แต่สิ่งที่ขาดไปคือการนำทุนชุมชนที่มีอยู่ใปประยุกต์การใช้ประโยชน์ในเรื่องการบริการจัดการหนี้สินแก่ครัวเรือนที่ได้รับกระทบได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าทีควรนัก ข้อค้นพบคือ จากการดำเนินโครงการสนับสนุนการสร้างความมั่นคงทางอาหารในชุมชนบ้านลูโบ๊ะซูลงในช่วงเวลา 1 ปีที่ผ่านมา ชุมชนมุ่งเน้นที่จะสนับสนุนการสร้างระบบความมั่นคงทางอาหารด้วยวิธีการส่งเสริมการปลูกผัก เลี้ยงสัตว์เพื่อบริโภคในครัวเรือนเป็นหลักเพื่อลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ส่งเสริมการออม มีความรู้และทักษะในเรื่องการดูแลตัวเองในช่วงสถานการณ์โควิด 19 และมีความรู้ในเรื่องการเก็บออมเงิน บันทึกบัญชีในครัวเรือน แต่ยังขาดการประเมินการในเรื่องการจัดการระบบหนี้สินในครัวเรือน กล่าวคือ ครัวเรือนยังมีหนี้เมื่อเดิม แล้วทวีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องด้วยเขาของอุปโภคบริโภคในช่วงสถานการณ์นี้พุ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆเกือบเท่าตัวของราคาเดิม ทำให้ครัวเรือนมีค่าใช้จ่ายที่พอสูงขึ้น

จากการวิเคราะห์ตันไม้ปัญหาชุมชนพบว่า สาเหตุของปัญหาเกิดจากพฤติกรรมชุมชนมีการกู้หนี้ยิมสิ้นทั้งในและนอกระบบ ขาดการตระหนักเรื่องการค่าใช้จ่าย ไม่มีการเก็บออม มีความรู้เรื่องกการเก็บออมแต่ไม่นำมาใช้ ขาดการวางการบริหารจัดการเงินในครัวเรือน ไม่มีต้นแบบครัวเรือนการเก็บออมเงิน มีภาระค่าใช้จ่ายที่เกินความสามารถ ไม่มีหน่วยงานสนับสนุนกลุ่มให้เกิดการออม และเกิดปัญหาสถานการณ์โควิด 19 ทำให้ชุมชนไม่มีแบบแผนการจัดการเงินครัวเรือน และหนี้สินที่เป็นระบบ ส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาปลายเหตุตามมาคือ ความเครียด เกิดปัญหาทางสุขภาพจิต เกิดการตกงาน รายได้ไม่เพียงพอ ค่าใช้จ่ายเยอะ ยิ่งทวีคูณให้ชุมชนมีการกู้ยืมเงินจากภายนอกและในระบบมากขยิ่งขึ้น เมื่อครอบครัวมีปัญหาทางการเงินลูกหลานไม่ได้เรียนหนังสือ ผู้สุงอายุและกลุ่มเปราะบางขาดการดูแลเอาใจใสใจ และเกิดปัญหาทะเลาะเบาะแวงภายในครอบครัวในที่สุด ความสุขทางใจของชุมชนก็น้อยลง ส่งผลการเข้าร่วมสังคมน้อยลง

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

ไม่มี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อสนับสนุนการสร้างระบบความมั่นคงทางอาหารของชุมชน

1.กลุ่มสมาชิกและชุมชนมีระบบการจัดการอาหารที่ดี และปลอดภัยในการบริโภค 2.เกิดระบบความมั่นคงทางอาหารชุมชนด้านการเพาะปลูก

2 2.เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการบริหารจัดการการเงินและหนี้สินของชุมชน

1.กลุ่มเป้าหมายร้อยละ 80 จัดทำบัญชีครัวเรือน
2.กลุ่มเป้าหมายร้อยละ 80 บริหารจัดการการเงินอย่างเป็นระบบ รายได้เพิ่มขึ้น หนี้สินลดลง

3 3.เพื่อจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตในการแปรรูปอาหาร ของชุมชนบ้านลูโบ๊ะซูลง

1.กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตแปรรูปพืชสมุนไพร สามารถผลิตเครื่องแกง ออกจำหน่ายอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 30
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 19 30 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66
1 งบประมาณบริหารจัดการที่ สสส. สนับสนุน(24 ก.ย. 2022-24 ก.ย. 2022) 10,000.00                        
2 ประชุมคณะทำงานประจำเดือน 12 เดือน(10 ต.ค. 2022-23 มิ.ย. 2023) 12,500.00                        
3 ลงพื้นที่สำรวจเก็บข้อมูลรายได้และหนี้สินในครัวเรือนเป้าหมาย จำนวน 3 ระยะ (ก่อนเริ่ม - ระหว่าง -สิ้นสุดโครงการ)(13 ต.ค. 2022-27 เม.ย. 2023) 4,200.00                        
4 กิจกรรมจัดตั้งกลุ่มออมเพื่อการผลิตเพื่อการรับมือสถานการณ์การเงินในครัวเรือน(27 ม.ค. 2023-27 ม.ค. 2023) 42,850.00                        
5 พัฒนาศักยภาพกลุ่มฯ(1 มี.ค. 2023-1 มี.ค. 2023) 12,150.00                        
6 ติดตามและประเมินผล การบริหารจัดการเงินในครัวเรือนและกลุ่มออมทรัพย์(24 มี.ค. 2023-24 มิ.ย. 2023) 1,500.00                        
7 ศึกษาดูงานการแปรรุปอาหาร(27 พ.ค. 2023-27 พ.ค. 2023) 10,300.00                        
8 สรุปผลการดำเนินงาน(20 มิ.ย. 2023-20 มิ.ย. 2023) 6,500.00                        
รวม 100,000.00
1 งบประมาณบริหารจัดการที่ สสส. สนับสนุน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 32 10,000.00 11 10,000.00
17 - 18 ก.ย. 65 ปฐมนิเทศโครงการ 3 4,046.00 4,060.00
24 ก.ย. 65 ค่าป้ายไวนิลโครงการ 0 1,500.00 1,500.00
24 ก.ย. 65 ค่าตราปั้มโครงการ 0 267.00 267.00
3 ต.ค. 65 พี่เลี้ยงคลี่โครงการฯ 10 0.00 0.00
19 พ.ย. 65 อบรมความรอบรู้ด้านสุขภาพและการเงิน 2 480.00 480.00
2 ม.ค. 66 ติดตามการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และการพัฒนา ARE1. 0 0.00 0.00
11 - 12 ก.พ. 66 เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงาน 2 2,560.00 2,560.00
17 ก.พ. 66 พี่เลี้ยงตรวจเอกสาร 2 430.00 430.00
17 ก.พ. 66 พี่เลี้ยงตรวจเอกสาร ครั้งที่ 2 0 430.00 430.00
27 มิ.ย. 66 ติดตามและประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ARE.2 10 0.00 0.00
15 ก.ค. 66 เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์ และบทเรียนการดำเนินงาน 3 287.00 273.00
2 ประชุมคณะทำงานประจำเดือน 12 เดือน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 150 12,500.00 13 12,300.00
30 ก.ย. 65 ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 1 10 1,042.00 1,042.00
2 ต.ค. 65 ประชุมชี้แจงโครงการเพื่อทำความเข้าใจต่อกลุ่มเป้าหมาย 30 4,100.00 4,100.00
5 ต.ค. 65 ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 2 10 600.00 600.00
5 พ.ย. 65 ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 3 10 400.00 400.00
1 ธ.ค. 65 ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 4 10 600.00 600.00
5 ม.ค. 66 ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 5 10 400.00 400.00
2 มี.ค. 66 ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 6 10 600.00 600.00
5 มี.ค. 66 ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 7 10 600.00 600.00
20 มี.ค. 66 ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 8 10 600.00 600.00
19 เม.ย. 66 ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 9 10 900.00 900.00
8 พ.ค. 66 ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 10 10 800.00 600.00
16 มิ.ย. 66 ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 11 10 900.00 900.00
23 มิ.ย. 66 ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 12 10 958.00 958.00
3 ลงพื้นที่สำรวจเก็บข้อมูลรายได้และหนี้สินในครัวเรือนเป้าหมาย จำนวน 3 ระยะ (ก่อนเริ่ม - ระหว่าง -สิ้นสุดโครงการ) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 90 4,200.00 3 4,200.00
30 ต.ค. 65 ลงพื้นที่สำรวจเก็บข้อมูลได้และหนี้สินในครัวเรือนเป้าหมาย ระยะที่ 1 30 1,400.00 1,400.00
3 มี.ค. 66 ลงพื้นที่สำรวจเก็บข้อมูลได้และหนี้สินในครัวเรือนเป้าหมาย ระยะที่ 2 30 1,400.00 1,400.00
27 เม.ย. 66 ลงพื้นที่สำรวจเก็บข้อมูลได้และหนี้สินในครัวเรือนเป้าหมาย ระยะที่ 3 30 1,400.00 1,400.00
4 กิจกรรมจัดตั้งกลุ่มออมเพื่อการผลิตเพื่อการรับมือสถานการณ์การเงินในครัวเรือน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 180 42,850.00 6 42,150.00
12 พ.ย. 65 กิจกรรมการแปรรูปอาหารปลอดภัย “น้ำพริกชุมชน” ผลิตภัณฑ์ชุมชน (เช้า-บ่าย) 30 10,900.00 10,900.00
29 พ.ย. 65 กิจกรรมส่งเสริมการปลูกผักผสมผสานในครัวเรือน 30 8,500.00 8,500.00
5 ธ.ค. 65 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการบริหารจัดการเงินและหนี้สินในครัวเรือน 30 5,350.00 5,250.00
15 ธ.ค. 65 กิจกรรมจัดบัญชีครัวเรือน 30 7,400.00 6,600.00
7 มี.ค. 66 จัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการการผลิตเพื่อการรับมือสถานการณ์การเงินในครัวเรือน 30 5,400.00 5,400.00
14 เม.ย. 66 จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ชุมชน ว่าด้วยความมั่นคงทางอาหาร ร้านค้าลอยฟ้าสินค้าเพื่อชุมชน และกลุ่มอาชีพ 30 5,300.00 5,500.00
5 พัฒนาศักยภาพกลุ่มฯ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 60 12,150.00 2 12,150.00
1 มี.ค. 66 กิจกรรมพัฒนาศักยภาพกลุ่มออมทรัพย์ 30 6,000.00 6,000.00
10 เม.ย. 66 พัฒนาศักยภาพกลุ่มเพื่อการบริการจัดการศูนย์เรียนรู้ชุมชน 30 6,150.00 6,150.00
6 ติดตามและประเมินผล การบริหารจัดการเงินในครัวเรือนและกลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 70 1,500.00 3 1,500.00
15 มี.ค. 66 ติดตามและประเมินผล การบริหารจัดการเงินในครัวเรือนและกลุ่มออมทรัพย์ ครั้งที่ 1 30 500.00 500.00
24 มี.ค. 66 ติดตามและประเมินผล การบริหารจัดการเงินในครัวเรือนและกลุ่มออมทรัพย์ ครั้งที่ 2 30 500.00 500.00
3 เม.ย. 66 ติดตามและประเมินผล การบริหารจัดการเงินในครัวเรือนและกลุ่มออมทรัพย์ ครั้งที่ 3 10 500.00 500.00
7 ศึกษาดูงานการแปรรุปอาหาร กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 10,300.00 1 11,200.00
27 พ.ค. 66 ศึกษาดูงานการแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชน การทำน้ำพริก 30 10,300.00 11,200.00
8 สรุปผลการดำเนินงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 6,500.00 1 6,500.00
20 มิ.ย. 66 สรุปผลการดำเนินงาน และถอดบทเรียนพร้อมคืนข้อมูลสู่ชุมชน 30 6,500.00 6,500.00
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 3 0.00 1 500.00
18 ก.ค. 66 ถอนเงินในบัญชี 3 0.00 500.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.มีระบบการจัดการอาหารระดับชุมชนในภาวะวิกฤติอย่างเพียงพอและปลอดภัย 2.เกิดกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต 1 กลุ่ม ที่สามารถดำเนินงานได้ต่อเนื่อง เกิดรายได้ให้สมาชิกและครอบครัว

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.ย. 2022 07:03 น.