directions_run

โครงการแปรรูปปลาดุกฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชนสถานีอู่ตะเภา ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแปรรูปปลาดุกฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชนสถานีอู่ตะเภา ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ภายใต้โครงการ โครงการการฟื้นฟูคุณภาพชีวิต และพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากแก่ผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะจังหวัดภาคใต้
ภายใต้องค์กร Node โควิค ภาคใต้
รหัสโครงการ 65-10018-33
วันที่อนุมัติ 1 กันยายน 2022
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2022 - 31 สิงหาคม 2023
งบประมาณ 80,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชุมชนสถานีอู่ตะเภา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางธัญญรัตน์ พูลเกิด
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0986828247
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ ๋๋Thanyarat@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ ว่าที่ ร.ต.พร้อมศักดิ์ จิตจำ
พื้นที่ดำเนินการ ชุมชนสถานีอู่ตะเภา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ย. 2022 28 ก.พ. 2023 1 ก.ย. 2022 31 ส.ค. 2023 50,000.00
2 1 มี.ค. 2023 30 มิ.ย. 2023 25,000.00
3 1 ก.ค. 2023 31 ส.ค. 2023 5,000.00
รวมงบประมาณ 80,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ชุมชนสถานีอู่ตะเภา จัดตั้งขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ.2553 โดยแยกจากชุมชนท่าไทร อาศัยในพื้นที่ เขตเลือกตั้งที่ 4 เทศบาลนครหาดใหญ่ อาณาเขตพื้นที่ 90,000 ตารางเมตร เป็นพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยมีการอาศัยของประชาชนจำนวน 90 ครัวเรือน ประชากรรวมทั้งสิ้น 350 คน
4.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ชุมชนสถานีอู่ตะเภา จัดตั้งขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ.2553 โดยแยกจากชุมชนท่าไทร อาศัยในพื้นที่ เขตเลือกตั้งที่ 4 เทศบาลนครหาดใหญ่ อาณาเขตพื้นที่ 90,000 ตารางเมตร เป็นพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยมีการอาศัยของประชาชนจำนวน 90 ครัวเรือน ประชากรรวมทั้งสิ้น 350 คน โดยแยกเป็นชาย 125คน หญิง 225 คน อาชีพส่วนใหญ่รับจ้าง ร้อยละ 60 ค้าขาย ร้อยละ 40 ส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาพุทธ ด้วยสถานการณ์โควิด 19 ส่งผลกระทบกับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในเขตพื้นที่ชุมชนสถานีอู่ตะเภาที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ระบาด จำนวนมากถึง2 ใน3 ของประชากรในชุมชน ประมาณ 60 กว่าครัวเรือน มีประชากรในชุมชนว่างงานประมาณ 200 คน เพราะประชากรส่วนใหญ่ จะประกอบอาชีพค้าขายและรับจ้างเป็นส่วนใหญ่ ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 19 เกิดปัญหาว่างงานเพราะนายจ้างเลิกจ้างไม่สามารถประกอบกิจการต่อได้ในช่วงนั้น อาชีพค้าขายก็รายได้ลดลง บางรายขายไม่ได้เลยต้องเลิกกิจการเพราะทนต้นทุนที่สูงขึ้นของแพงขึ้นแต่ขายไม่ได้ ส่งผลให้เกิดภาระหนี้สินและรายได้ลดลงตามมากว่า50 % ของรายได้ครัวเรือนในชุมชน ซึ่งเฉลี่ยประมาณ 10,000 ถึง 30,000 บาทต่อครัวเรือน กระทบการทำมาหากินของประชาชน เกิดการเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิต ที่ต้องดิ้นรนหารายได้หลายทางเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน ค่าใช้จ่ายในครัวเรือน รวมทั้งค่าเล่าเรียนหนังสือของบุตรหลาน เพื่อให้ครอบครัวอยู่รอดและผ่านช่วงวิกฤตไปได้ในแต่ละวัน คณะทำงาน จึงเล็งเห็นถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดประกายทางความคิดว่าควรมีการสร้างรายได้เพิ่ม และลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับประชาชนในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จึงเกิดแนวคิดให้ประชาชนในเขตชุมชนได้มีรายได้โดยส่งเสริมการเลี้ยงปลาดุกเพื่อบริโภค ลดรายจ่ายในครัวเรือน เมื่อเริ่มเลี้ยงก็ประสบกับปัญหาแรกในด้าน ราคาอาหารที่สูงมากเมื่อคิดคำนวณต้นทุนแทบจะไม่ได้กำไรเลยจากการเลี้ยงในรอบแรกที่ผ่านมา ก็ได้มีคนในชุมชนประมาณ 3 ครอบครัวที่แก้ไขปัญหาโดยการนำเศษผักผลไม้ในตลาดสดมาเป็นอาหารเสริมให้ปลาดุกนอกเหนือจากอาหารสำเร็จรูป ก็สามารถช่วยลดต้นทุนค่าอาหารได้ ปัญหาที่สองเรื่องของน้ำเสียจากการเลี้ยงปลาดุกที่มีการปล่อยทิ้งและส่งกลิ่นเหม็นในชุมชนทำให้สร้างความรำคาญและมลภาวะทางอากาศที่ส่งกลิ่นเหม็นในชุมชนซึ่งยังไม่มีแนวทางในการแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ แต่มีแนวคิดเรื่องการนำน้ำจากบ่อปลาดุกมาใช้ในการรดน้ำผักเป็นปุ๋ยให้กับผักที่ปลูกในชุมชนซึ่งคาดว่าจะแก้ไขปัญหาในด้านนี้ได้ ปัญหาที่สาม เรื่องปลาดุกที่เลี้ยงออกพร้อมกันมีปริมาณมากเกินการบริโภคในครัวเรือน ไม่สามารถขายปลาดุกสดได้ ที่ขายได้ก็มีราคาถูกไม่คุ้มกับต้นทุนในการเลี้ยง จึงมีแนวคิดว่าควรที่จะมีการนำปลาดุกของคนในชุมชนมารวมกลุ่มแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับปลาดุกของคนในชุมชน เช่น ปลาดุกแดดเดียว ปลาดุกร้า และน้ำพริกปลาดุก
คณะทำงานจึงเล็งเห็นถึงโอกาสและความสำคัญของโครงการนี้เพื่อสามารถนำมาพัฒนา ต่อยอดองค์ความรู้ประสบการณ์เดิมของชุมชนในการเลี้ยงปลาดุก และเป็นทุนในการพัฒนาเพิ่มมูลค่าของปลาดุก สร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้นของคนในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด -19 จำนวน 30 ครัวเรือนที่มีการรวมกันกันแบบไม่เป็นทางการที่มีความสนใจเรื่องการเลี้ยงปลาดุกลองผิดลองถูกร่วมกัน และเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของชุมชนสถานีอู่ตะเภา ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และยังสามารถลดรายจ่ายของครัวเรือน สนับสนุนสร้างภูมิคุ้มกันด้านเศรษฐกิจครัวเรือน ระดับชุมชน ให้เกิดประโยชน์ต่อสมาชิกในชุมชน และยังสืบสานทำต่อเป็นรุ่นๆได้อีกด้วย สร้างรายได้อย่างยั่งยืนต่อไป

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อพัฒนาคณะทำงานและกลไกการขับเคลื่อนโครงการของชุมชนสถานีคลองอู่ตะเภา

1.มีคณะทำงานจำนวน 5 ท่าน ที่มีการกำหนดบทบาทหน้าที่อย่างชัดเจน 2.เกิดแนวทางในการขับเคลื่อนตามแผนงานของ 3.เกิดการวิเคราะห์ สำรวจกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ
4.มีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ จำนวน 30 ท่าน 5.เกิดกติกา ข้อตกลงร่วมกันภายในกลุ่ม 4.เกิดข้อมูลบริบทชุมชน / แผนที่เลี้ยงปลาดุกในชุมชน 5.เกิดข้อมูล ปัญหาและอุปสรรค พร้อมแนวทางการแก้ไขปัญหา 6. เกิดภาคีความร่วมมือ
7.เกิดแผนการดำเนินโครงการร่วมกัน

1.00
2 2.เพื่อพัฒนาศักยภาพคนในชุมชนให้มีความรู้และทักษะด้านการเงิน สุขภาพ และสังคม เพื่อใช้เพิ่มรายได้แก่ครอบครัว

1.สมาชิกในกลุ่มมีความรู้ความเข้าใจการทำบัญชีรายรับ- รายจ่ายในการเลี้ยงปลาดุก 2.สมาชิกในกลุ่มมีความรู้ความเข้าใจในการเลี้ยงปลาดุก 3.สมาชิกในกลุ่มมีความรู้ในการแปรรูปเลี้ยงปลาดุกและผลิตภัณฑ์จากปลาดุกจำนวน3 ผลิตภัณฑ์ 4.มีแผนการตลาดและช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ 5.เกิดกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปปลาดุก 6.ได้บทเรียนการดำเนินโครงการและมีการปรับแผนธุรกิจให้สอดคล้องกับชุมชน 7.สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน มีรายได้เพิ่มขึ้นเดือนละ2,000-4,000 บาท

1.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66
1 กิจกรรมร่วมกับหน่วยจัดการ และสสส.(1 ก.ย. 2022-31 ส.ค. 2023) 10,000.00                        
2 ประชุมคณะทำงานเพื่อติดตามและวางแผนการทำงาน ก่อนและหลังดำเนินกิจกรรม ทุกๆ2 เดือนและสื่อสารการทำงานผ่านกลุ่มไลน์อย่างสม่ำเสมอ(1 ก.ย. 2022-31 ส.ค. 2023) 6,300.00                        
รวม 16,300.00
1 กิจกรรมร่วมกับหน่วยจัดการ และสสส. กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 2 10,000.00 2 2,600.00
17 - 18 ก.ย. 65 ปฐมนิเทศน์โครงการ 2 10,000.00 1,400.00
19 - 20 พ.ย. 65 อบรมความรอบรู้ด้านสุชภาพ 0 0.00 1,200.00
2 ประชุมคณะทำงานเพื่อติดตามและวางแผนการทำงาน ก่อนและหลังดำเนินกิจกรรม ทุกๆ2 เดือนและสื่อสารการทำงานผ่านกลุ่มไลน์อย่างสม่ำเสมอ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 6,300.00 5 6,100.00
19 ก.ย. 65 ประชุมคณะทำงานประจำเดือนกันยายน 2565 5 1,050.00 700.00
19 ก.ย. 65 ประชุมคณะทำงาน เพื่อติดตามและวางแผนการทำงาน ก่อนและหลังดำเนินกิจกรรมทุกๆ 2 เดือน และสื่อสารการทำงานผ่านกลุ่มไลน์อย่างสม่ำเสมอ 0 0.00 2,800.00
6 พ.ย. 65 ประชุมคณะทำงานประจำเดือนพฤศจิกายน 2565 5 1,050.00 700.00
8 ม.ค. 66 ประชุมคณะทำงานประจำเดือนมกราคม 2566 5 1,050.00 700.00
5 มี.ค. 66 ประชุมคณะทำงานประจำเดือนมีนาคม 2566 5 1,050.00 1,200.00
7 พ.ค. 66 ประชุมคณะทำงานประจำเดือนพฤษภาคม 2566 5 1,050.00 -
9 ก.ค. 66 ประชุมคณะทำงานประจำเดือนกรกฏาคม 2566 5 1,050.00 -
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 225 63,700.00 3 27,500.00
28 ก.ย. 65 กิจกรรมที่ 1 จัดตั้งคณะทำงานกำหนดบทบาทหน้าที่อย่างชัดเจน 5 700.00 -
18 ต.ค. 65 กิจกรรมที่ 7 การอบรมให้ความรู้การทำบัญชีรายรับ- รายจ่ายในการเลี้ยงปลาดุก 30 5,700.00 -
26 ต.ค. 65 กิจกรรมที่ 5 ลงพื้นที่เก็บข้อมูล ปัญหา อุปสรรค เพื่อเป็นข้อมูลในการจัดทำแผนการดำเนินการขับเคลื่อนโครงการ 5 1,500.00 -
29 ต.ค. 65 กิจกรรมที่ 4 เวทีประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการร่วมกับผู้เข้าร่วมโครงการเพื่อหาแนวทางสร้าง กติตาร่วมกัน กับภาคีเครือข่ายในพื้นที่ 50 6,000.00 -
29 ต.ค. 65 เวทีจัดประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการร่วมกับผู้เข้าร่วมโครงการ เพื่อหาแนวทางสร้าง กติการ่วมกันกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่ 0 0.00 6,000.00
5 พ.ย. 65 กิจกรรมที่ 3 ลงพื้นที่สำรวจกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเชิญชวนเข้าร่วมโครงการ 5 1,500.00 1,500.00
5 พ.ย. 65 กิจกรรมที่ 6 ศึกษาดูการเลี้ยงปลาดุกแบบประหยัดต้นทุนเพื่อมาปรับกับชุมชน 15 5,400.00 -
12 พ.ย. 65 กิจกรรมที่ 8 การอบรมให้ความรู้ในการเลี้ยงปลาดุก 30 20,700.00 -
10 ธ.ค. 65 กิจกรรมที่ 9 การอบรมการแปรรูปปลาดุกและช่องทางการจัดจำหน่วย 30 11,000.00 20,000.00
14 ม.ค. 66 กิจกรรมที่ 10 จัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปปลาดุก 5 2,700.00 -
11 มี.ค. 66 กิจกรรมที่ 11 ประชุมถอดบทเรียนและสรุปผลการดำเนินงาน และปันผลกำไรแก่สมาชิก 50 8,500.00 -

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.ย. 2022 07:05 น.