directions_run

โครงการหลาด 100 ปี สุขภาพดี วิถีชุมชน ตำบลแม่ทอม อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหลาด 100 ปี สุขภาพดี วิถีชุมชน ตำบลแม่ทอม อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา
ภายใต้โครงการ โครงการการฟื้นฟูคุณภาพชีวิต และพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากแก่ผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะจังหวัดภาคใต้
ภายใต้องค์กร Node โควิค ภาคใต้
รหัสโครงการ 65-10018-31
วันที่อนุมัติ 9 กันยายน 2022
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2022 - 31 สิงหาคม 2023
งบประมาณ 100,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ บ้านหัวนอนวัด ม.3 ต.แม่ทอม อ.บางกล่ำ จ.สงขลา
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเตือนจิต ศรีสวัสดิ์
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0630793325
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ aum1278@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ ว่าที่ ร.ต. พร้อมศักดิ์ จิตจำ
พื้นที่ดำเนินการ บ้านหัวนอนวัด ม.3 ตำบลแม่ทอม อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ย. 2022 28 ก.พ. 2023 1 ก.ย. 2022 28 ก.พ. 2023 65,000.00
2 1 มี.ค. 2023 30 มิ.ย. 2023 1 มี.ค. 2023 31 ส.ค. 2023 25,000.00
3 1 ก.ค. 2023 31 ส.ค. 2023 10,000.00
รวมงบประมาณ 100,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ผลกระทบจากสถานการณ์โรคระบาดและวิกฤตเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทำให้เกิดปัญหาติดขัดทั้งในเรื่องการใช้ชีวิต การทำงาน และการดำเนินธุรกิจ ซึ่งต้นทุนที่สูงขึ้น ส่งผลให้มีผลผลิตน้อยลง จากเดิมการทำเกษตรปลูกพืชได้หลากหลาย ต้องปลูกพืชที่มีความต้องการของตลาดและมีต้นทุนที่ส
4.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จังหวัดสงขลา ประกอบด้วย 16 อำเภอ 127 ตำบล มีประชากร 1,435,968 คน แบ่งออกเป็นเพศชาย จำนวน 700,411 คน เพศหญิง จำนวน 735,527 คน ในจำนวนนี้แบ่งออกเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้น จำนวน 219,472 คน คิดเป็นร้อยละ 15.6 (สำนักงานสถิติสงขลา, 2563) จังหวัดสงขลาจึงนับเป็นจังหวัดที่กำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ในขณะที่อำเภอบางกล่ำซึ่งเป็นอำเภอขนาดเล็กในจังหวัดสงขลา มีครัวเรือน 13,116 ครัวเรือน และมีประชากร จำนวน 31,780 คน ในจำนวนนี้เป็นผู้สูงอายุ ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 4,590 คน คิดเป็นร้อยละ 14.44 และมีคนที่กำลังเข้าสู่วัยผู้สูงอายุที่มีอายุระหว่าง 55-59 ปี จำนวน 1,951 คน และจากข้อมูลใน Application iMed@home ที่สำรวจโดยเครือข่ายภาคประชาสังคมและมูลนิธิชุมชนสงขลา พบจำนวนผู้ยากลำบากในพื้นที่จังหวัดสงขลา จำนวน 4,268 คน ซึ่งประชากรกลุ่มนี้กำลังจะกลายเป็นบุคคลที่เข้าสู่ภาวะพึ่งพิง ต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ด้วยการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านที่อยู่อาศัย ด้านอาชีพ และด้านสุขภาพ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในประเทศไทย รวมทั้งในพื้นที่ตำบลแม่ทอม อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา ทำให้มีผู้ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการแพร่ระบาดของโรคเป็นจำนวนมาก ทั้งด้านการท่องเที่ยวชุมชนที่เป็นเรื่องเด่นของพื้นที่นักท่องเที่ยวไม่สามารถมาเที่ยวชมและซื้อสินค้าในชุมชนซึ่งเป็นรายได้อีกช่องทางหนึ่งของชาวบ้านคนในพื้นที่ ทั้งเกิดภาวะการว่างงานของคนหนุ่มสาวบุตรหลานของผู้สูงอายุ ทำให้ผู้ว่างงานส่วนใหญ่หันมาทำเกษตรในพื้นที่ของตนเอง เพื่อสร้างรายได้ แต่ด้วยผลกระทบจากสถานการณ์โรคระบาดและวิกฤตเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทำให้เกิดปัญหาติดขัดทั้งในเรื่องการใช้ชีวิต การทำงาน และการดำเนินธุรกิจ ซึ่งต้นทุนที่สูงขึ้น ส่งผลให้มีผลผลิตน้อยลง จากเดิมการทำเกษตรปลูกพืชได้หลากหลาย ต้องปลูกพืชที่มีความต้องการของตลาดและมีต้นทุนที่สูง รายได้ก็น้อยลงทำให้เกษตรกรและผู้ว่างงาน เกิดความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การตลาดที่อาจมีแนวโน้มของปัญหาเพิ่มขึ้น จากเดิมที่มีการจำหน่ายแบบกระจายแต่ละครอบครัวบริเวณริมถนนหน้าบ้านของเกษตรกรในพื้นที่ ประมาณ 10 จุดตลอดเส้นทางนางรักนก-คูเต่า ซึ่งเป็นถนนเส้นหลักในพื้นที่ ซึ่งขายหมดบ้างไม่หมดบ้าง เกิดปัญหาผลผลิตตกค้าง และบางส่วนก็จะมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรเพื่อรวบรวมไปจำหน่ายภายนอก ส่งผลให้รายได้กำไรตกอยู่ที่พ่อค้าคนกลาง มากกว่าเกษตรกรคนรุ่นใหม่ในพื้นที่ที่หันมาทำการเกษตร รวมทั้งการจำหน่ายรายย่อยในตลาดนัดชุมชน ซึ่งประสบปัญหาการขายได้ราคาต่ำ หรือขายไม่หมด เนื่องจากมีความซ้ำซ้อนของการผลิตผักชนิดเดียวกันที่เกินความต้องการของผู้บริโภคในชุมชนหรือบางช่วงที่ตลาดมีความต้องการผักบางชนิดแต่เกษตรกรในชุมชนไม่สามารถผลิตได้ทันหรือเพียงพอซึ่งเป็นปัญหาของการวางแผนการจัดการในการผลิต ดังนั้นโครงการ ร้านผักปลอดภัย หลาด 100 ปี สุขภาพดี วิถีชุมชน ตำบลแม่ทอม อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา จะเป็นการแก้ไขปัญหาการขับเคลื่อนงานด้านเกษตรปลอดภัยในพื้นที่ รวมทั้งต่อยอดโครงการส่งเสริมทักษะอาชีพทางการเกษตร ผลิตอาหารปลอดภัย เพื่อคนแม่ทอมและคนบางกล่ำ เมื่อปี2564 ที่เน้นถึงความสำคัญของผู้สูงอายุ คนพิการ คนว่างงาน และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 เป็นอย่างมาก เพราะบุคคลเหล่าถือเป็นกลุ่มคนที่ควรได้รับการช่วยเหลือเยียวยาที่ตรงจุดเพื่อสามารถส่งเสริมคุณภาพชีวิตของกลุ่มคนเหล่านี้ให้มีศักยภาพเพิ่มมากขึ้น ด้วยการส่งเสริมทักษะด้านอาชีพในการทำการเกษตรและเพื่อหนุนเสริมในการแก้ไขปัญหาราคาผลผลิตผักปลอดสารที่ตกต่ำ การวางแผนทางการตลาด การสร้างแหล่งรวบรวมและจัดจำหน่ายผักปลอดภัย ในรูปแบบกลุ่มวิสาหกิจชุมชนร้านผักปลอดภัย เพื่อเพิ่มการต่อรองและกำหนดราคาผักปลอดภัยของชุมชน สร้างรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของกลุ่มเป้าหมาย ผู้สูงอายุ คนพิการ คนว่างงาน เกษตรกรและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 ในพื้นที่ ให้มีศักยภาพเพิ่มมากขึ้น ด้วยการส่งเสริมทักษะด้านอาชีพในการทำการเกษตร เพื่อเป็นอาชีพที่จะสามารถสร้างรายได้ ความมั่นคงทางอาหาร รวมทั้งการพัฒนาสร้างพื้นที่เรียนรู้ศูนย์ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านผักปลอดภัย ในพื้นที่ โดยอาศัยความร่วมมือของภาคีเครือข่ายต่าง ๆ เพื่อเสริมองค์ความรู้ พัฒนาทักษะ สนับสนุนเครื่องมือต่าง ๆ พร้อมทั้งขับเคลื่อนการทำงานร่วมกับสำนักงานเกษตรอำเภอบางกล่ำ พัฒนาชุมชนอำเภอบางกล่ำ องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ทอม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม่ทอม สหกรณ์การเกษตรบางกล่ำ สวนปันสุข กลุ่มวิสาหกิจท่องเที่ยวลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภาตอนล่าง ตลาดเกษตร ม.อ. เป็นต้น เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการภายในกลุ่ม ในด้านการผลิต จำหน่ายผักปลอดภัย ผลผลิตทางการเกษตร หรือแม้แต่การร่วมมือกับเครือข่ายในพื้นที่ต่างๆในการนำผลผลิต ผลิตภัณฑ์ของเครือข่ายมาว่างจำหน่าย ผ่าน ร้านผักปลอดภัย หลาด 100 ปี สุขภาพดี วิถีชุมชน ตำบลแม่ทอม อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา ภายใต้กลุ่มวิสาหกิจชุมชน

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อพัฒนาศักยภาพคนในชุมชนให้มีความรู้และทักษะด้านการเงิน สุขภาพ และสังคม เพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตวิถีใหม่

1.1 เกิดคณะทำงานในการขับเคลื่อนโครงการ

  1. มีคณะทำงานจำนวน 5 ท่าน ที่มีการกำหนดบทบาทหน้าที่อย่างชัดเจน
  2. เกิดแนวทางในการขับเคลื่อนตามแผนงานของโครงการ
5.00
2 1. เพื่อพัฒนาศักยภาพคนในชุมชนให้มีความรู้และทักษะด้านการเงิน สุขภาพ และสังคม เพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตวิถีใหม่

1.2 เกิดการรวมกลุ่มในการกำหนดกติการ่วมกัน

  1. เกิดการวิเคราะห์ สำรวจกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ
  2. มีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ จำนวน 30 ท่าน
  3. เกิดกติกา ข้อตกลงร่วมกันภายในกลุ่ม
  4. เกิดข้อมูลบริบทชุมชน / แผนที่เพาะปลูกในชุมชน
  5. เกิดข้อมูล ปัญหาและอุปสรรค พร้อมแนวทางการแก้ไขปัญหา
  6. เกิดภาคีความร่วมมือ 5 ภาคี
5.00
3 2. เพื่อส่งเสริมให้เกิดกระบวนการการจัดการ ผลักดันการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจและต่อยอดสู่ตลาดชุมชน

2.1 เกิดแผนการดำเนินงาน

  1. เกิดผลิตภัณฑ์สารไล่แมลงจากสมุนไพร 1 ผลิตภัณฑ์
  2. เกิดผลิตภัณฑ์แปรูปใหม่ 1 ผลิตภัฑณ์ ได้แก่ ผักทอดพร้อม Packaging
  3. เกิดการสร้างสื่อผ่านสื่อ Online จำนวน 1 ช่องทาง
  4. เกิดปฏิทินผลผลิตของชุมชน
  5. เกิดองค์ความรู้ ทักษะในการขับเคลื่อนงานชุมชน
30.00
4 2. เพื่อส่งเสริมให้เกิดกระบวนการการจัดการ ผลักดันการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจและต่อยอดสู่ตลาดชุมชน

2.2 เกิดวิสาหกิจชุมชนและร้านค้าในตลาดสำหรับการขายสินค้าภายชุมชน

  1. เกิดแผนธุรกิจชุมชน
  2. การจัดทำบัญชีครัวเรือนของสมาชิกกลุ่ม
  3. เกิดแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรปลอดภัยและอื่นๆ 4 แห่ง
  4. เกิดวิสาหกิจชุมชน 1 แห่ง
  5. เกิดร้านค้าในตลาดชุมชน 1 ร้าน
  6. ร้านค้าในตลาดมีรายได้ ต่อเดือน 5,000 – 10,000 บาท
30.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 30
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
คณะทำงานโครงการ 5 -
ผู้สูงอายุ คนพิการ คนว่างงาน และผู้ที่ได้รับผลกระท 25 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66
1 กิจกรรมร่วมกับหน่วยจัดการ และ สสส.(1 ก.ย. 2022-15 ส.ค. 2023) 10,500.00                        
2 ประชุมคณะทำงานเพื่อติดตามและวางแผนการทำงาน ก่อนและหลังดำเนินกิจกรรม ทุก 2 เดือน และสื่อสารการทำงานผ่านกลุ่มไลน์อย่างสม่ำเสมอ(1 ก.ย. 2022-31 ส.ค. 2023) 5,300.00                        
รวม 15,800.00
1 กิจกรรมร่วมกับหน่วยจัดการ และ สสส. กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 4 10,500.00 8 9,270.00
17 - 18 ก.ย. 65 ปฐมนิเทศ 2 10,000.00 1,200.00
19 พ.ย. 65 อบรมการรอบรู้ด้านสุขภาพและการเงิน 0 0.00 1,170.00
5 ก.พ. 66 ประชุมติดตาม ประเมินโครงการ ARE 0 0.00 750.00
12 ก.พ. 66 กิจกรรมถอนเงินออกจากบัญชี 2 500.00 500.00
3 ก.ค. 66 ประชุมติดตาม ประเมินโครงการ ARE ครั้งที่ 2 0 0.00 1,275.00
15 - 16 ก.ค. 66 งบบริหารโครงการ 0 0.00 1,200.00
7 ส.ค. 66 พบพี่เลี้ยงเพื่อตรวจสอบการเงิน 0 0.00 175.00
18 ส.ค. 66 งบบริหารโครงการ จัดทำรายงาน 0 0.00 3,000.00
2 ประชุมคณะทำงานเพื่อติดตามและวางแผนการทำงาน ก่อนและหลังดำเนินกิจกรรม ทุก 2 เดือน และสื่อสารการทำงานผ่านกลุ่มไลน์อย่างสม่ำเสมอ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 5,300.00 7 5,950.00
18 ต.ค. 65 ประชุมคณะทำงาน ประจำเดือนกันยายน 2565 (ครั้งที่ 1) 5 2,550.00 2,550.00
22 ต.ค. 65 ประชุมคณะทำงานเพื่อติดตามและวางแผนการทำงาน จากพี่้เลี้ยงโครงการ หลาด100 ปี สุขภาพดีวิถีชุมชน ต.แม่ทอม 0 0.00 650.00
18 พ.ย. 65 ประชุมคณะทำงาน ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565 (ครั้งที่ 2) 5 550.00 550.00
18 ม.ค. 66 ประชุมคณะทำงาน ประจำเดือนมกราคม 2565 (ครั้งที่ 3) 5 550.00 550.00
18 มี.ค. 66 ประชุมคณะทำงาน ประจำเดือนมีนาคม 2565 (ครั้งที่ 4) 5 550.00 550.00
18 พ.ค. 66 ประชุมคณะทำงาน ประจำเดือนพฤษภาคม 2565 (ครั้งที่ 5) 5 550.00 550.00
18 ก.ค. 66 ประชุมคณะทำงาน ประจำเดือนกรกฎาคม 2565 (ครั้งที่ 6) 5 550.00 550.00
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 295 84,700.00 13 85,930.00
28 ก.ย. 65 กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานทำความเข้าใจภาพรวมโครงการพร้อมจัดตั้งคณะทำงานกำหนดบทบาทหน้าที่อย่างชัดเจนในการขับเคลื่อนโครงการ 5 650.00 650.00
29 - 30 ต.ค. 65 กิจกรรมที่ 3 ลงพื้นที่สำรวจกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเชิญชวนคนในชุมชนที่เป็นพื้นที่เป้าหมายเข้าร่วมโครงการ 5 3,800.00 3,800.00
3 พ.ย. 65 กิจกรรมที่ 4 เวทีชี้แจงการวัตถุประสงค์ของโครงการร่วมกับผู้เข้าร้วมโครงการเพื่อหาแนวทางสร้าง กติการ่วมกัน กับภาคีเครือข่ายในพื้นที่ 40 5,500.00 5,500.00
26 - 27 พ.ย. 65 กิจกรรมที่ 5 ลงพื้นที่เก็บข้อมูล ปัญหา อุปสรรค เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนการ 5 1,600.00 1,600.00
11 - 12 ก.พ. 66 เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงานโครงการสร้างเสริมสุขภาวะด้วยแนวคิดเศรษฐกิจฐานรากในกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด 19 พื้นที่ภาคใต้ 0 0.00 1,230.00
18 ก.พ. 66 กิจกรรมที่ 9 อบรมผลิตสื่อ Online เพื่อการตลาด เปิดช่องทางการขยายตลาดที่หลากหลายมากขึ้น 20 9,500.00 9,500.00
4 มี.ค. 66 กิจกรรมที่ 6 อบรมให้ความรู้จัดทำบัญชีครัวเรือนของสมาชิกกลุ่ม เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการรายรับรายจ่ายของครัวเรือนตัวเอง 30 6,300.00 6,300.00
25 มี.ค. 66 กิจกรรมที่ 10 เวทีประชุมจัดทำปฏิทินผลผลิตทางการเกษตร และแผนเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติวิถีชีวิตของพื้นที่ 30 6,800.00 6,800.00
1 เม.ย. 66 กิจกรรมที่ 8 การอบรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร การออกแบบผลิตภัณฑ์ และวิธีการทำผักทอดที่จะเพิ่มมูลค่าให้มากขึ้น 30 16,750.00 16,750.00
8 เม.ย. 66 กิจกรรมที่ 7 การอบรมการทำสารไล่แมลงจากสมุนไพร / สารปรับปรุงดิน เป็นการให้ให้ความการทำสารไล่แมลงจากสมุนไพร และสารปรับปรุงดิน เพื่อประหยัดต้นทุนในการซื้อและปลอดภัยต่อสุขภาพ 30 10,700.00 10,700.00
22 เม.ย. 66 กิจกรรมที่ 12 พัฒนาศูนย์เรียนรู้ในพื้นที่ และพัฒนาปรับภูมิทัศน์ สร้างร้านค้าผักปลอดภัยในชุมชน 30 14,300.00 14,300.00
17 พ.ค. 66 กิจกรรมที่ 11 จัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและแผนการตลาด 30 4,400.00 4,400.00
24 มิ.ย. 66 กิจกรรมที่ 13 ประชุมถอดบทเรียน และสรุปผลการดำเนินงาน 40 4,400.00 4,400.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.ย. 2022 07:06 น.