directions_run

โครงการตลาดปลายนิ้ว " ซื้อ-ขายผลิตภัณฑ์ชุมชนอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ง่ายแค่ปลายนิ้ว

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตลาดปลายนิ้ว " ซื้อ-ขายผลิตภัณฑ์ชุมชนอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ง่ายแค่ปลายนิ้ว
ภายใต้โครงการ โครงการการฟื้นฟูคุณภาพชีวิต และพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากแก่ผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะจังหวัดภาคใต้
ภายใต้องค์กร Node โควิค ภาคใต้
รหัสโครงการ 65-10018-29
วันที่อนุมัติ 9 กันยายน 2022
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2022 - 31 สิงหาคม 2023
งบประมาณ 80,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โครงการตลาดปลายนิ้ว ซื้อขายผลิตภัณฑ์ชุมชนอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ง่ายแค่ปลายนิ้ว
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุวิระ โกสม
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0619811369
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ Janamarketonline@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ นายอุบัยดิลละห์ หาแว
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.962022,100.687172place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 9 ก.ย. 2022 28 ก.พ. 2023 9 ก.ย. 2022 28 ก.พ. 2023 50,000.00
2 1 มี.ค. 2023 30 มิ.ย. 2023 1 มี.ค. 2023 31 ส.ค. 2023 25,000.00
3 1 ก.ค. 2023 31 ส.ค. 2023 5,000.00
รวมงบประมาณ 80,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา มี 14 ตำบล 28,193 ครัวเรือน ประชากรทั้งหมด 105,077 คน มีสภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบเหมาะแก่การเพาะปลูก ทำนา ทำสวนผลไม้ มีบางส่วนเป็นทิวเขาซึ่งอยู่ทางด้านทิศใต้และทิศตะวันตก แต่ไม่สูงมากนัก บริเวณทิวเขา จะมีต้นไม้ขึ้นหนาแน่น ส่วนใหญ่จะเป็นไม้ป่าเบญจพรรณ ชื้น มีน้ำตก คือน้ำตกเขาเหรง อยู่ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาเหรง ทางด้านทิศตะวันออก จะเป็นชายฝั่ง ติดกับทะเลอ่าวไทย ซึ่งชายหาดมีความยาวประมาณ 20 กิโลเมตร ทอดตัวยาวตั้งแต่อำเภอเมือง จรดอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ชายหาดที่สำคัญได้แก่ หาดวังหนาว ตำบลนาทับ และหาดสะกอม ตำบลสะกอม ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ทั้งพื้นที่ ป่า เขา นา และทะเล ได้ขนานนามว่าจะนะ เป็นพื้นที่ผลิตอาหารของคนทั้งประเทศ เพราะด้วยสภาพภูมิประเทศที่หลากหลายทำให้มีความสมบูรณ์ครบทุกสภาพพื้นที่

ประกอบกับประชากรในอำเภอจะนะส่วนใหญ่มีอาชีพด้านการเกษตรเป็นหลัก อาชีพเกษตรที่สำคัญ คือ การทำสวนยางพารา ซึ่งเป็นรายได้หลัก การประมงซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการประมงที่ทำกันในครัวเรือน การทำสวนผลไม้ ได้แก่สวนทุเรียน สวนลองกอง สวนเงาะ มังคุด สวนส้มจุก ปลูกผสมผสานกัน โดยปลูกกันทั่วไป อาชีพด้านการเกษตรอีกอย่าง คือการเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว นกเขาชวา โดยเฉพาะนกเขาชวามีการเลี้ยงกันเป็นฟาร์มขนาดใหญ่ ทำรายได้ปีหนึ่งๆ นับล้านบาท และในพื้นที่อำเภอจะนะมีผลิตภัณฑ์จำพวก ”ข้าว” ซึ่งมีพันธุ์ข้าวพื้นเมืองและพันธุ์อื่นๆอีกด้วย ในอำเภอจะนะมีพื้นที่นา 2,000 ไร่ เป็นพื้นที่มั่นคงทางด้านอาหาร จนเกิดพิพิธภัณฑ์ข้าวชุมชนป่าชิง(จะณะแบ่งสุข) มี “ข้าวลูกปลาป่าชิง” เป็นพันธุ์ข้าวพื้นเมืองในท้องที่ ตามด้วยข้าวพันธุ์อื่น โดยข้าวได้ผ่านการทดสอบ (liac-MRA และ DMSc) จาก บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ข้าวในพื้นที่อำเภอจะนะ นับว่าเป็นพืชเศรษฐกิจประถิ่น แต่ด้วยสภาวะด้านเศรษฐกิจสินค้าด้านการเกษตรตกต่ำ และสถานการณ์โควิด 19 ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา โดยในพื้นที่อำเภอจะนะ กระจายเป็นวงกว้าง จึงส่งผลให้ 1.ทำให้การส่งออกพืชผลทางการเกษตรมีข้อจำกัดมากขึ้น คือ ข้อจำกัดในเรื่องการขนส่งที่สูงขึ้นในช่วงสถานการณ์โควิด ประกอบด้วยข้อจำกัดของบริษัทขนส่งที่เข้มงวดขึ้นกว่าเดิม 2.ส่งออกได้น้อยลง ราคาสินค้าจึงตกต่ำลง เนื่องจากการกระจายสินค้าออกนอกพื้นที่ได้น้อย อย่างเช่น ราคามังคุดจากสวน ราคาขายอยู่ที่ 10 บาทต่อกิโลกรัม และรวมถึงสินค้าอย่างอื่นด้วย 3.สินค้าผลิตภัณฑ์ไม่เป็นที่รับรู้และรู้จักในวงกว้าง คือ ไม่มีผู้รวบรวมหรือศูนย์กลางในการจัดการบริหารให้สินค้าผลิตภัณฑ์เป็นที่รับรู้และรู้จัก จึงส่งผลให้ช่วงสถานการณ์โควิดที่ผ่านมา ทำให้สินค้าขายยาก จึงส่งผลให้เกษตรกรในชุมชนมีรายได้ที่ลดลงไปจากเดิมและรายจ่ายในครัวเรือนเพิ่มมากขึ้น ทำให้สภาวะการเงินในแต่ละครอบครัวไม่คล่องตัว นำไปสู่การเป็นหนี้สินทั้งในระบบและนอกระบบ ส่งผลให้มีดอกเบี้ยเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะหนี้นอกระบบ ทำให้ครอบครัวบางครอบครัวต้องมีการขายที่ดินทำกินไปบางส่วน คณะทำงานและสมาชิกมีความเห็นที่ตรงกันที่จะเข้าไปช่วยเกษตรกรในพื้นที่ 6 ตำบล อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา รวมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น คือ เราต้องปรับแผนการขาย จากเดิมที่เราขายผลผลิตตามตลาดนัด ร้านค้าชุมชน ส่งร้านอาหาร หรือมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อถึงสวน ทำให้เกิดสินค้าชนิดเดียวกันล้นตลาด เช่น ผักและผลไม้ตามฤดูกาล ล้นตลาด และผลิตภัณฑ์ชุมชนรูปแบบต่างๆ ล้นตลาดเช่นเดียวกัน

ทุนเดิม สมาชิกคณะทำงาน (นายสุวิระ โกสม) ผู้รับผิดชอบโครงการฯ มีประสบการณ์โดยตรงในการเขียนแพลตฟอร์ม เนื่องจากตนมีประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับดูแลระบบหลังบ้านรวมถึงด้านการตลาด การโปรโมท บนแพลตฟอร์มอาลีบาบาและการวิเคราะห์ระบบมาก่อน จากบริษัทเอกชน จึงมีความรู้ความสามารถความเข้าใจในการเขียนพัฒนาระบบบนแพลตฟอร์มและดูแลระบบหลังบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างแน่นอน และจากประสบการณ์ทำงานทางด้านนี้มาโดยตรง จึงเล็งเห็นว่า การทำตลาดปลายนิ้ว บนแพลตฟอร์มออนไลน์ (พัฒนาเว็บไซต์) รวมถึงช่องทางการขาย Line Shopping , Page Facebook และ Tiktok จะเป็นทางเลือกให้ผู้บริโภคเข้าถึงผู้ผลิตโดยตรง โดยตลาดปลายนิ้ว จะเป็นศูนย์กลางในการจัดการบริหารผลิตภัณฑ์ชุมชนจะนะ

นางจินตหรา มุสิการัตน์ ทีมทำงานตลาดปลายนิ้ว ซึ่งมีประสบการณ์ในการทำข้อมูลชุมชนโดยใช้เครื่องมือ 7 ชิ้น เป็นเครื่องมือศึกษาชุมชนที่ นายแพทย์โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ได้พัฒนาจากเครื่องมือของนักมานุษยวิทยาที่ใช้ในการศึกษาชุมชนให้มีความเหมาะสมกับการศึกษาด้านสุขภาพ ประกอบด้วยแผนที่เดินดิน ผังเครือญาติ โครงสร้างองค์กรชุมชนระบบสุขภาพชุมชน ปฏิทินชุมชน ประวัติศาสตร์ชุมชน และประวัติชีวิต

ตั้งแต่ปี 2560 มีแนวคิดในการสร้างพื้นที่อาหารปลอดภัยในชุมชนอำเภอจะนะ ได้ทำข้อมูลอาหารปลอดภัยในพื้นที่และรวมกลุ่มผู้ผลิตอาหารปลอดภัยอำเภอจะนะ ผลผลิตที่ทำการจำหน่ายภายใต้โครงการตลาดอาหารสุขภาพ อำเภอจะนะ โครงการตลาดอาหารปลอดภัยใส่ใจสุขภาพ อำเภอจะนะ ได้มีการรวมกลุ่มกันจำหน่ายผลผลิตที่มีการรับรองความปลอดภัยของอาหาร โดยธนาคารเมล็ดพันธุ์ โดยผลผลิตส่วนใหญ่จะเป็น ผลไม้ตามฤดูกาล เช่น ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง ผักพื้นบ้าน เช่น ถั่วพู ถั่วฝักยาว ถั่วลิสง ผักเหมียง ผลิตภัณฑ์แปรรูป เช่น ทุเรียนกวน มังคุดกวน ทุเรียนแกะเนื้อสำหรับทำเบเกอรี่ จากประสบการณ์ในการจำหน่ายผลผลิตอาหารปลอดภัยมากกว่า 5 ปี ได้มองเห็นว่าเมื่อสินค้าถูกขายเพียงแค่ในพื้นที่ใกล้เคียงก็จะได้ราคาที่ถูกมาก เช่น ทุเรียน กิโลกรัมละ 60-80 บาท เมื่อมาเปรียบเทียบกับต้นทุนที่นับวันก็จะสูงขึ้นเรื่อยๆ ก็เท่ากับเราแทบจะไม่ได้กำไรเลย จึงเล็งเห็นช่องทางการจำหน่ายแบบออนไลน์ มีการกระจายสินค้าออกไปต่างจังหวัด ต่างภูมิภาค ทุเรียนก็จะมีราคาที่ดีขึ้นมาก ถึงกิโลกรัมละ 150-180 บาท

จากประสบการณ์ที่ผ่านมาทำให้เล็งเห็นว่าการกระจายสินค้าออกไปให้ทั่วประเทศก็เป็นอีกทางเลือกที่ราคาสินค้าของอำเภอจะนะ จะมีราคาที่สูงขึ้น ทำให้ผู้ผลิตมองเห็นถึงกำไรของผลิตภัณฑ์ตัวเอง และสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตครอบครัวของผู้ผลิตได้

นางสาวสายฝน ชุมมิ่ง คณะทำงานตลาดปลายนิ้ว มีประสบการณ์การเป็นผู้ผลิตอาหารปลอดภัย ได้ให้ความสำคัญกับอาหารเป็นยา เพราะต้องการให้ครอบครัวได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ปลอดภัย รู้ที่มา จึงมีแปลงปลูกอาหารปลอดภัยแบบผสมผสาน ทั้งผลไม้ เช่น ทุเรียน เงาะ มังคุด ลองกอง จำปาดะ ฝรั่ง ลำไยคริสตัล ผัก ได้แก่ ผักเหมียง ผักกูด ผักบุ้ง กวางตุ้ง ขิง ข่า ตะไคร้ มะนาว พริก มะเขือ เลี้ยงสัตว์เป็นอาหาร เช่น ปลาดุก หมู ไก่บ้าน เป็ดเนื้อ เพื่อหวังเป็นอาหารให้คนในครอบครัว แต่เมื่อมีผลผลิตออกมาจำนวนมาก จึงได้จำหน่ายและแจกจ่ายญาติๆ เพื่อนสนิท มีโอกาสได้เข้าร่วมโครงการตลาดอาหารปลอดภัยใส่ใจสุขภาพอำเภอจะนะ และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องอาหารปลอดภัยและนำความรู้ที่ได้ไปบอกต่อเพื่อนๆญาติๆจนเป็นที่ยอมรับเรื่องการปลูกอาหารปลอดภัยในชุมชน
โดยในพื้นที่มีต้นทุนเดิม 1.เรามีการรวบรวมกลุ่มและทำข้อมูลผู้ผลิต ผู้บริโภค อาหารปลอดภัยอำเภอจะนะ 2.มีการทำแผนการผลิต ปฏิทินฤดูกาลการผลิต ในพื้นที่ 2 ตำบล โดยมีทีมที่ปรึกษาการทำกระบวนการจากสถานีบริการวิชาการชุมชนจะนะ (มอ.) 3.มีเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่มีพื้นฐานด้านการทำตลาดออนไลน์ 4.มีกลุ่มเครือข่ายผู้ผลิตที่มีการรวมตัวเป็นกลุ่มและจดวิสาหกิจชุมชน สามารถผลิต ผลิตภัณฑ์ได้ตามมาตรฐานของกลุ่มนั้นๆ

ในอนาคตคาดว่าจะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการผลิตและแปรรูปสินค้าเกษตร เข้ามาสนับสนุนผลิตภัณฑ์ในชุมชน เช่น เกษตรอำเภอ , สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8 , หน่วยงานด้านสถาบันการศึกษา เป็นต้น

ดังนั้นคณะทำงานจึงได้จัดทำโครงการตลาดปลายนิ้ว " ซื้อ-ขายผลิตภัณฑ์ชุมชนอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ง่ายแค่ปลายนิ้ว เพื่อเป็นศูนย์กลางรวบรวมผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยจากเดิมสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนอยู่กระจัดกระจาย ต่างคนต่างกลุ่มผลิตและจำหน่ายกันเอง เมื่อมีศูนย์กลางรวบรวมผลิตภัณฑ์ จะช่วยให้ลดภาระหน้าที่ มีช่องทางจำหน่ายที่เพิ่มขึ้นและน่าเชื่อถือมากกว่าเดิม เพื่อพัฒนาคณะทำงานตลาดปลายนิ้ว”ซื้อ-ขายผลิตภัณฑ์ชุมชนอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ง่ายแค่ปลายนิ้ว” และพัฒนากลไกในการขับเคลื่อนการจัดการตลาดอาหารสุขภาพ ผลิตภัณฑ์ชุมชน ถ่ายทอดองค์ความรู้ สร้างความเข้าใจกลไกตลาด เพิ่มพื้นที่ตลาดสุขภาพ นำไปสู่การเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนเกษตรกรในพื้นที่ ส่งเสริมความรู้ ทักษะด้านการเงินและสุขภาพ ให้แก่คณะทำงานและผู้ร่วมโครงการฯเพิ่มมากขึ้นและสร้างอาชีพให้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่สู่ผู้ประกอบการที่มีประสิทธิภาพอย่างมืออาชีพ

โดยการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ที่มีอยู่ในมือ ประกอบด้วย พัฒนาระบบซื้อ-ขายออนไลน์ (เว็บไซต์) , Page Facebook , Instragram , Line Shop , Line Official และ Tiktok โดยเปิดร้านค้าออนไลน์บนแพลตฟอร์มดังกล่าวที่กล่าวมา มีการสร้างเรื่องราวของสินค้า มีการประชาสัมพันธ์สินค้า สร้างความเป็นเอกลักษณ์ให้สินค้า มีวางแผนการผลิต และมีแผนการจัดการบริหารระบบให้เป็นไปตามแผนธุรกิจ โดยกระบวนการซื้อขาย เราจะมีขั้นตอนการผลิต บรรจุ และแพค เพื่อรอส่งจากทางกลุ่มผู้ผลิตและมีการทำความร่วมมือกับบริษัทขนส่งในพื้นที่ให้เข้ามารับสินค้าที่ผู้ผลิตโดยตรง ขั้นตอนการขาย 1.ตลาดปลายนิ้วนำรูปสินค้าและเปิดรับออร์เดอร์จากผู้บริโภค 2.สรุปออร์เดอร์ของแต่ละกลุ่มแต่ละชนิดสินค้าส่งให้กลุ่มผู้ผลิต 3.ผู้ผลิตรับออร์เอดร์จากตลาดปลายนิ้ว แล้วจัดแพคสินค้า 4.บริษัทขนส่งเข้ารับสินค้าที่แพคเรียบร้อยแล้วที่กลุ่มผู้ผลิต 5.ตลาดปลายนิ้วแจ้งเลขพัสดุแทร็กกิ้งผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ให้กับผู้บริโภค 6.ตลาดปลายนิ้วตามสอบถามข้อมูลการรับสินค้าของผู้บริโภค 7.หากสินค้าเสียหายตลาดปลายนิ้วจะทำการแจ้งผู้ผลิตเพื่อส่งสินค้ารอบใหม่ไปให้กับผู้บริโภคอีกครั้ง ทั้งนี้เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนให้มีมูลค่าที่สูงขึ้น และสามารถสร้างรายได้ให้กับคณะทำงานได้อีกด้วย

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 พัฒนาความรู้และทักษะด้านการเงิน สุขภาพ และสังคม
    สร้างอาชีพและรายได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำในพื้นที่ มีความรู้ ทักษะด้านการเงิน สุขภาพ และสังคม
  1. มีคณะทำงานจำนวน 5 คน เข้าใจในระบบการจัดการตลอดจนขับเคลื่อนโครงการฯจนจบ
  2. มีเครือข่ายผู้ผลิต 6 ภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย ( จะณะแบ่งสุข,กลุ่มม้าเงย แปรรูปอาหาร,กลุ่มทอกกราชินี บ้านศาลาน้ำ,กลุ่มเครื่องแกง บ้านไร่, กลุ่มวิสาหกิจชุมชน รักษ์ส้มจุกจะนะ,สถานีบริการวิชาการชุมชนจะนะ(มอ.) )
  3. มีโครงสร้างบทบาทหน้าที่คณะทำงานและภาคีเครือข่าย
  4. มีความรวบรู้ทางสุขภาพและการเงิน ร้อยละ 80
  5. มีปฏิทินการผลิตอำเภอจะนะ 6 ตำบล
  6. มีแผนการทำงาน, กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อำเภอจะนะ 6 ตำบล
  7. มีแผนธุรกิจ โดยใช้ Model (Business Model Canvas) จากบริษัท ไลน์ คอมพานี (ประเทศไทย) จำกัด
  8. มีแผนการผลิต ตามพื้นที่เป้าหมาย และตามฤดูกาลในแต่ละพื้นที่เป้าหมาย (รายละเอียดย่อยเฉพาะผลิตภัณฑ์)
1.00
2 พัฒนาแกนนำให้เป็นผู้ประกอบการ เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนในรูปแบบออนไลน์ครบวงจร อย่างมีประสิทธิภาพ
  1. มีระบบการจัดการผลิตภัณฑ์และวางแผนทำ Stock สินค้า
  2. พัฒนาระบบ 2 รูปแบบ 2.1.ออกแบบและพัฒนาระบบเว็บไซต์ ซื้อ-ขาย ออนไลน์ 2.2.นำสินค้าขึ้นบนแพลตฟอร์มออนไลน์ ประกอบด้วย เว็บไซต์ , Page Facebook , Instagram , Line Official ,Line Shop , Tiktok
  3. มีข้อตกลงระบบการจัดการขนส่งสินค้าร่วมกับไปรษณีย์ไทย , Kerry , Flash และ J&T
  4. มีผลิตภัณฑ์ชุมชนจำหน่ายตลอดทั้งปี
  5. มีสินค้าขึ้นขายบนแพลตฟอร์มตลาดออนไลน์อย่างต่อเนื่องรอบละไม่ต่ำกว่า 15 ชนิดสินค้า
  6. มีรายได้เฉลี่ย 7,000 บาท/คน/เดือน
  7. กลุ่มเป้าหมาย มีรายได้เฉลี่ย 3,000 บาท/คน/เดือน
  8. กลุ่มภาคีเครือข่ายสามารถพัฒนาทักษะการขาย 2 ภาคีเครือข่าย
1.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66
1 กิจกรรมร่วมกับหน่วยจัดการและสสส.(18 ก.ย. 2022-31 ส.ค. 2023) 9,900.00                        
2 ประชุมคณะทำงาน เพื่อติดตามผลและวางแผนการทำงานของแต่ละเดือน จำนวน 9 ครั้ง(18 ก.ย. 2022-31 ส.ค. 2023) 9,000.00                        
3 กิจกรรมทำปฏิทินการผลิต และวางแผนการผลิตร่วมกับพื้นที่ผลิต 6 ตำบล เพื่อให้ทุกชุมชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายได้รู้ฤดูกาลผลิตสินค้า สามารถกำหนดแผนการผลิตให้ได้ตลอดทั้งปี(23 ก.ย. 2022-28 ก.ย. 2022) 8,200.00                        
4 กิจกรรมพัฒนาทักษะการขาย เทคนิคการขายเพื่อเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบช่องทางการขาย(3 ธ.ค. 2022-31 มี.ค. 2023) 17,100.00                        
รวม 44,200.00
1 กิจกรรมร่วมกับหน่วยจัดการและสสส. กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 18 9,900.00 7 9,980.00
17 - 18 ก.ย. 65 ปฐมนิเทศโครงการย่อยร่วมกับหน่วยจัดการ สสส 2 2,000.00 1,580.00
3 ต.ค. 65 ถอนเงินเปิดบัญชีธนาคารกรุงไทย สาขาจะนะ จังหวัดสงขลา 0 500.00 500.00
19 พ.ย. 65 กิจกรรมอบรมความรอบรู้ด้านสุขภาพและการเงิน 2 1,600.00 2,000.00
3 ธ.ค. 65 จัดทำไวนิลโครงการ 0 0.00 800.00
29 ม.ค. 66 เวที ARE สะท้อนผลลัพธ์ 10 2,100.00 1,400.00
11 - 12 ก.พ. 66 เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินการ 4 3,700.00 3,700.00
15 - 16 ก.ค. 66 เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงาน ครั้งที่ 2 0 0.00 0.00
2 ประชุมคณะทำงาน เพื่อติดตามผลและวางแผนการทำงานของแต่ละเดือน จำนวน 9 ครั้ง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 5 9,000.00 9 9,000.00
4 ต.ค. 65 ประชุมคณะทำงาน เพื่อติดตามผลและวางแผนการทำงาน ครั้งที่ 1 0 1,000.00 1,000.00
11 ต.ค. 65 ประชุมคณะทำงาน เพื่อติดตามผลและวางแผนการทำงาน ครั้งที่ 2 5 1,000.00 1,000.00
8 พ.ย. 65 ประชุมคณะทำงาน เพื่อติดตามผลและวางแผนการทำงาน ครั้งที่ 3 0 1,000.00 1,000.00
30 พ.ย. 65 ประชุมคณะทำงาน เพื่อติดตามผลและวางแผนการทำงาน ครั้งที่ 4 0 1,000.00 1,000.00
12 ธ.ค. 65 ประชุมคณะทำงาน เพื่อติดตามผลและวางแผนการทำงาน ครั้งที่ 5 0 1,000.00 1,000.00
10 เม.ย. 66 ประชุมคณะทำงาน เพื่อติดตามผลและวางแผนการทำงาน ครั้งที่ 6 0 1,000.00 1,000.00
20 มิ.ย. 66 ประชุมคณะทำงาน เพื่อติดตามผลและวางแผนการทำงาน ครั้งที่ 7 0 1,000.00 1,000.00
7 ก.ค. 66 ประชุมคณะทำงาน เพื่อติดตามผลและวางแผนการทำงาน ครั้งที่ 8 0 1,000.00 1,000.00
5 ส.ค. 66 ประชุมคณะทำงาน เพื่อติดตามผลและวางแผนการทำงาน ครั้งที่ 9 0 1,000.00 1,000.00
3 กิจกรรมทำปฏิทินการผลิต และวางแผนการผลิตร่วมกับพื้นที่ผลิต 6 ตำบล เพื่อให้ทุกชุมชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายได้รู้ฤดูกาลผลิตสินค้า สามารถกำหนดแผนการผลิตให้ได้ตลอดทั้งปี กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 8,200.00 6 8,600.00
23 ก.ย. 65 กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมทำปฏิทินการผลิตร่วมกับพื้นที่ผลิต 6 ตำบล ครั้งที่ 1 5 2,300.00 2,300.00
24 ก.ย. 65 กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมทำปฏิทินการผลิตร่วมกับพื้นที่ผลิต 6 ตำบล ครั้งที่ 2 5 1,600.00 1,600.00
25 ก.ย. 65 กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมทำปฏิทินการผลิตร่วมกับพื้นที่ผลิต 6 ตำบล ครั้งที่ 3 5 1,300.00 1,300.00
26 ก.ย. 65 กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมทำปฏิทินการผลิตร่วมกับพื้นที่ผลิต 6 ตำบล ครั้งที่ 4 5 1,300.00 1,300.00
27 ก.ย. 65 กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมทำปฏิทินการผลิตร่วมกับพื้นที่ผลิต 6 ตำบล ครั้งที่ 5 5 1,300.00 1,700.00
28 ก.ย. 65 กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมทำปฏิทินการผลิตร่วมกับพื้นที่ผลิต 6 ตำบล ครั้งที่ 6 5 400.00 400.00
4 กิจกรรมพัฒนาทักษะการขาย เทคนิคการขายเพื่อเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบช่องทางการขาย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 17,100.00 3 18,100.00
3 ธ.ค. 65 กิจกรรมที่ 6 กิจกรรมพัฒนาทักษะการขาย ครั้งที่ 1 5 1,500.00 700.00
16 - 17 เม.ย. 66 กิจกรรมที่ 6 พัฒนาทักษะการขาย ครั้งที่ 2 15 13,000.00 12,400.00
1 พ.ค. 66 กิจกรรมที่ 6 พัฒนาทักษะการขาย ครั้งที่ 3 10 2,600.00 5,000.00
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 155 35,700.00 5 38,120.00
22 ก.ย. 65 เวทีชี้แจงโครงการให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจในการขับเคลื่อนกิจกรรม พร้อมจัดตั้งคณะทำงานในการดำเนินโครงการ และอบรมให้ความรู้เรื่อง บัญชีครัวเรือนให้กลุ่มเป้าหมายเข้าก่อนเริ่มโครงการ 30 6,000.00 6,020.00
15 พ.ย. 65 กิจกรรมพัฒนาทักษะการขาย เทคนิคการขายเพื่อเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบช่องทางการขาย 30 8,400.00 8,400.00
20 ธ.ค. 65 กิจกรรมวางแผนการจัดการตลาด ช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์และวิเคราะห์รูปแบบการจำหน่ายสินค้าแต่ละประเภท ให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจการจัดการการตลาด 30 9,000.00 9,000.00
13 มิ.ย. 66 กิจกรรมเก็บข้อมูลผู้ผลิตของแต่ละชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรม และผู้บริโภค มูลค่าการขาย 30 6,200.00 6,200.00
10 ก.ค. 66 ถอดบทเรียนเพื่อเรียนรู้และสรุปผลการดำเนินงานโครงการตลอดทั้งปี และภาคีร่วมรับฟัง 35 6,100.00 8,500.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. คณะทำงานที่มีความสามารถในการขับเคลื่อนตลาดปลายนิ้ว และมีทักษะบริหารจัดการระบบหลังบ้านการจัดการการเงิน และมีความรอบรู้ทางสุขภาพเพิ่มขึ้น
  2. มีการรวมกลุ่มอาชีพในพื้นที่พร้อมจัดแผนการทำงาน
  3. มีกลไกการทำงานร่วมกับภาคีในพื้นที่ และสามารถดำเนินธุรกิจ/กิจการได้ตามแผนที่วางไว้
  4. เกิดเป็นอาชีพหลักที่สามารถสร้างรายได้
stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.ย. 2022 07:07 น.