stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ การแปรรูปปลาสเตอรีไลซ์พร้อมทาน
ภายใต้องค์กร Node โควิค ภาคใต้
รหัสโครงการ 65-10018-32
วันที่อนุมัติ 9 กันยายน 2022
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2022 - 31 สิงหาคม 2023
งบประมาณ 80,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ บางตาวา อ.หนองจิก จ.ปัตตานี
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายรอยาลี กียะ
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 086-3656195
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ royaleekeeya1992@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ อุบัยดิลละห์ หาแว
พื้นที่ดำเนินการ บางตาวา อ.หนองจิก จ.ปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ย. 2022 28 ก.พ. 2023 1 ก.ย. 2022 28 ก.พ. 2023 50,000.00
2 1 มี.ค. 2023 30 มิ.ย. 2023 1 มี.ค. 2023 31 ส.ค. 2023 25,000.00
3 1 ก.ค. 2023 31 ส.ค. 2023 5,000.00
รวมงบประมาณ 80,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ชุมชนบางตาวาเป็นชุมชนหนึ่งที่อยู่ติดชายทะเลยตั้งอยู่ในตำบลบางตาวา อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี การประกอบอาชีพของคนในชุมชนนี้สามารถแบ่งเป็นสองกลุ่มใหญ่ คือ คนหนุ่มสาวก็จะเป็นแรงงานในร้านอาหารในประเทศมาเลเซีย และอีกกลุ่มหนึ่งจะประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน สำหรั
3.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อำเภอหนองจิกมีจำนวนประชากรโดยรวมทั้งหมดประมาณ 70,942 คน คิดเป็นครัวเรือน 15,300 ครัวเรือน และมีการแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 12 ตำบล 74 หมู่บ้าน ได้แก่ตำบลเกาะเปาะ 3 หมู่บ้าน ตำบลคอลอตันหยง 8 หมู่บ้าน ตำบลดอนรัก 7 หมู่บ้าน ตำบลดาโต๊ะ 5 หมู่บ้าน ตำบลตุยง 8 หมู่บ้าน ตำบลท่ากำชำ 7 หมู่บ้าน เทศบาลตำบลบ่อทอง 9 หมู่บ้านหมู่บ้าน ตำบลบางเขา7 หมู่บ้าน ตำบลบางตาวา 2 หมู่บ้าน ตำบลปุโละปุโย 7 หมู่บ้าน ตำบลยาบี 6 หมู่บ้าน ตำบลลิปะสะโง 5 หมู่บ้าน   ชุมชนบางตาวาเป็นชุมชนหนึ่งที่อยู่ติดชายทะเลยตั้งอยู่ในตำบลบางตาวา อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี การประกอบอาชีพของคนในชุมชนนี้สามารถแบ่งเป็นสองกลุ่มใหญ่ คือ คนหนุ่มสาวก็จะเป็นแรงงานในร้านอาหารในประเทศมาเลเซีย และอีกกลุ่มหนึ่งจะประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน สำหรับจุดแข็งหรือต้นทุนเดิมของชุมชนบางตาวาได้แก่ เป็นชุมชนที่ติดทะเลและมีอาชีพทำประมงพื้นบ้านโดยออกหาปลาทุกวันจึงทำให้ปลาตากแห้งของชุมชนอร่อยและสด นอกจากนี้สมาชิกในกลุ่มที่แปรรูปปลาตากแห้งมีประสบการณ์ในการแปรรูปปลาตากแห้งเป็นระยะเวลานาน จึงทำให้มีทักษะสูงและเชี่ยวชาญในการแปรรูปปลาแห้ง หากจะมีการเพิ่มกำลังการผลิตในสูงก็ไม่ทำให้เกิดอุปสรรคต่อกระบวนการแปรรูป และต้นทุนเดิมอีกอย่างหนึ่งก็คือ สมาชิกในกลุ่มเป็นแม่ค้าด้วยจึงมีทักษะในแง่ของการขายสินค้าและการเจรจาทางธุรกิจ ซึ่งจะเป็นจุดหนุนเสริมได้ดีหากจะมีการพัฒนาการจำหน่ายในรูปแบบออนไลน์ในอนาคต สำหรับปัญหาที่ทางชุมชนกำลังประสบคือ

  1. พื้นที่หรือแหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปลาตากแห้งของชุมชนยังแคบและยังไม่เป็นที่รูปจักในวงกว้าง โดยทางกลุ่มจะนำปลาที่แปรรูปได้ไปจำหน่ายเฉพาะที่ตลาดสะพานปลา อำเภอเมืองจังหวัดปัตตานีเพียงอย่างเดียวยังไม่มีการทำตลาดในรูปแบบอื่นๆ
  2. ทางกลุ่มสนใจอยากจะขยายพื้นที่หรือแหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปลาตากแห้งของตนเองในตลาดออนไลน์ เนื่องจากว่ามีความต้องการบริโภคมากกว่า และต้นทุนต่ำกว่า แต่ยังขาดทักษะในแง่ของการสร้างคอนเทนต์ และสื่อที่จะใช้เป็นช่องทางในการจำหนายออนไลน์ จึงอยากได้รับการพัฒนาทักษะทางด้านนี้มาก
  3. ผลิตภัณฑ์ปลาตากแห้งของกลุ่มถ้าจะจำหน่ายออนไลน์ส่งไปยังพื้นที่ห่างไกลได้ จะต้องหาวิธีการยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมด้วย จึงจะทำให้ผลิตภัณฑ์ยังคงรสชาติอร่อยเหมือนเดิมได้ ซึ่งกระบวนการสเตอรีไลซ์เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะสามารถช่วยแก้ปัญหานี้ได้
  4. ผลิตภัณฑ์ปลาตากแห้งของชุมชนยังไม่มีฉลากสินค้า โลโก้และแบรด์ จึงทำให้การสื่อสารกับกลุ่มลูกค้าเป้ามายไม่ทั่วถึง ซึ่งถ้าสามารถพัฒนาให้ผลิตภัณฑ์ปลาตากแห้งของชุมชนมีแบรนด์ โลโก้และฉลากสินค้าได้ ก็จะทำให้การสื่อสารประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ไปยังกลุ่มเป้าหมายสามารถดำเนินการได้ง่ายและทั่วถึงมากขึ้น ซึ่งคาดว่าจะส่งผลให้ปริมาณลูกค้าที่สนใจจะบริโภคผลิตภัณฑ์ปลาตกแห้งของชุมชนเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

    จากสภาพปัญหาข้างต้นหากไม่มีการแก้ไขก็จะทำให้ช่องทางในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปลาตากแห้งของชุมชนในอนาคตลดลงได้ เนื่องจากการแข่งขันของผลิตภัณฑ์ปลาตากแห้งในพื้นที่ในอนาคตจะสูงขึ้น โอกาสส่วนแบ่งทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ปลาตากแห้งของกลุ่มก็จะลดลงและหายไปในที่สุด ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อรายได้และคุณภาพชีวิตของสมาชิกกลุ่มแปรรูปปลาตากแห้งในอนาคตได้ ประกอบกับด้วยสถานการณ์โควิดที่เกิดขึ้น ทำให้สภาพเศรษฐกิจของประเทศมาเลเซียได้รับผลกระทบสูง การจ้างงานแรงงานไทยในประเทศมาเลเซียจึงลดลงมาก และเกือบทั้งหมดเดินทางกลับสู่ภูมิลำเนาและไม่มีอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ที่แน่นอนมาเป็นระยะเวลาเกือบ 2 ปี มาแล้ว หากสถาการณ์โควิดยังระบาดหนักเฉกเช่นปัจจุบันต่อไป จะยิ่งทำให้แรงงานไทยที่กลับจากประเทศมาเลเซียได้รับผลกระทบมากยิ่งขึ้นอีก และจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของลูกหลานในอนาคตต่อไปได้ ดังนั้นการพัฒนากลุ่มแปรรูปปลาตากแห้งของชุมชนบางตาวาให้มีคุณภาพ และมีช่องทางในการจำหน่ายที่หลากหลาย เช่น การจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์ เป็นต้น ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะสามารถสร้างอาชีพให้กับคนว่างงานในชุมชนนี้ได้ เมื่อคนว่างงานมีงานทำ มีรายได้ ฐานะทางครอบครัวก็จะดีขึ้น คุณภาพชีวิตของบุตรหลานหรือสมาชิกในครอบครัวก็ดีตามไปด้วย และหากสามารถเพิ่มกำลังผลิตจนสามารถวางจำหน่ายส่งออกนอกพื้นที่ได้ ก็จะทำให้สมาชิกกลุ่มแปรรูปมีรายได้อย่างต่อเนื่อง และไม่จำเป็นต้องเดินทางไปทำงานเป็นแรงงานในร้านอาหารที่ประเทศมาเลเซียอีกต่อไป สมาชิกในครอบครัวทุกคนก็จะอยู่พร้อมหน้าพร้อมตา พ่อแม่ก็จะมีเวลาในการอบรมดูแลลูกๆ และดูแลผู้สูงวัยที่อยู่ในบ้าน ความเสี่ยงของเยาวชนในชุมชนที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งอบายมุกก็จะลดลง และส่งผลให้เกิดเป็นชุมชนสันติสุขได้ โดยหน่วยงานภาคีร่วมเครือข่ายที่จะร่วมขับเคลื่อนโครงการนี้ให้บรรลุเป้าหมายตามแผนได้ จะสามารถแบ่งประเภทได้ดังนี้

1.หน่วยงานภาคีร่วมเครือข่ายที่จะเข้ามาช่วยในแง่ของการพัฒนาคุณภาพกระบวนการผลิตและการยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ปลาตากแห้งของชุมชน ได้แก่ โรงงานต้นแบบสเตอรีไลซ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี สำนักงานสาธารณะสุขอำเภอหนองจิก โรงพยาบาบอำเภอหนองจิก พัฒนาชุมชนอำเภอหนองจิก และสาขาวิชาวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ฮาลาล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยฟาฏอนี 2.หน่วยงานภาคีร่วมเครือข่ายที่จะเข้ามาช่วยในแง่ของการสร้างแบรนด์ ฉลากสินค้า โลโก้สินค้า การสร้างกลยุทธ์ทางการตลาด ได้แก่ พาณิชย์จังหวัดปัตตานี สาขาวิชามัลติมิเดีย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยฟาฏอนี และสาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี เป็นต้น

ด้วยเหตุนี้ทางกลุ่มสนใจที่จะทำธุรกิจออนไลน์เกี่ยวกับปลาตากแห้งพร้อมทานที่ผ่านการยืดอายุการเก็บรักษาไว้ได้นาน 6 เดือน – 1 ปี ด้วยกระบวนการนึ่งฆ่าเชื้อสเตอรีไลซ์ ที่แปรรูปจากปลาหลังเขียว ปลาอินทรีย์ ปลาขนุน ปลาช่อน ปลาดุก และปลาแดง เป็นต้น จึงได้ไปสำรวจชุมชนแปรรูปปลาตากแห้งที่ชุมชนบางตาวาเพื่อประเมินปริมาณวัตถุดิบว่าเพียงพอต่อการทำตลาดออนไลน์หรือไม่ และประเมินต้นทุนและโอกาสความเป็นไปได้ในการนำปลาตากแห้งของชุมชนเป้าหมายมาทำปลาตากแห้งสเตอรีไลซ์พร้อมทาน ซึ่งจากการลงพื้นที่พบว่าทั้งปริมาณวัตถุดิบและต้นทุนในการผลิตเอื้อต่อการนำไปแปรรูปเป็นปลาตากแห้งสเตอรีไลซ์พร้อมทาน จำหน่ายในรูปออนไลน์ ทางทำให้ทางกลุ่มเห็นโอกาสในการสร้างธุรกิจแบบการทำงานร่วมกับชุมชนเป้าหมาย โดยจะมีสองชุมชนที่เข้าร่วมทำงานด้วย คือ ชุมชนแปรรูปปลาตากแห้งบางตาวา อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ซึ่งมีสมาชิกจำนวน 12 คน และวิสาหกิจชุมชนโต๊ะลางาแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร ต.ปุโละปุโย อ.หนองจิก จ.ปัตตานี ซึ่งมีสมาชิกจำนวน 14 คน โดยชุมชนที่สองนี้จะทำหน้าที่ในส่วนของการแปรรูปและบรรจุผลิตภัณฑ์ ดังนั้นโครงการนี้ไม่ใช่แค่ทางกลุ่มผู้เสนอโครงการเท่านั้นที่จะได้รับผลประโยชน์ในแง่ของการสร้างอาชีพการเป็นผู้ประกอบการขายออนไลน์รุ่นใหม่ แต่ยังจะสามารถสร้างอาชีพและเพิ่มรายได้ให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทั้งสองกลุ่มอีกด้วย

ในการดำเนินโครงการโอกาสที่ชุมชนที่สามารถพัฒนากลุ่มการแปรรูปและบรรจุผลิตภัณฑ์ กิจกรรมการบูรณาการความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายรวมถึงพัฒนาศักยภาพของกลุ่ม ในการเข้ากระบวนการทดลองสเตอร์รีไลแปรรูปปลา โดยทดลองผ่านห้องแลบเพื่อหาอุณหภูมิที่ลงตัว โดยอาจจะมีความร่วมมือภาคีจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ในการทดลองครั้งนี้ เพื่อมาเป็นสินค้าต้นแบบในการพัฒนาในอนาคต

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

สร้างอาชีพและรายได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำและเพิ่มทักษะการเป็นผู้ประกอบการคนรุ่นใหม่

คณะทำงานที่มีความสามารถในการขับเคลื่อนโครงการ

  1. มีคณะทำงานจำนวน 5 ท่าน ที่มีการกำหนดบทบาทหน้าที่อย่างชัดเจน
  2. แบ่งบทบาทหน้าให้ชัดเจน
  3. มีภาคีเครือข่ายร่วมดำเนินกิจกรรม
2 เพื่อสร้างผู้ประกอบการแปรรูปและขายปลาตากแห้งสเตอร์รีไลซ์พร้อมทาน ที่สามารถต่อยอดและพัฒนาเป็นธุรกิจที่มีกำลังซื้อสูงได้ในอนาคต

มีการพัฒนาทักษะด้านการเงินกลุ่มเป้าหมาย

  1. มีการเก็บข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย
  2. มีการวางแผนการทำงานร่วมกัน
  3. กำหนดปฏิทินในการปฏิบัติงาน
  4. มีการพัฒนาทักษะกลุ่มเป้าหมายทั้งการผลิต การขายและการสื่อสาร
  5. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ด้านการเงิน
3 พัฒนากลุ่มอาชีพและเพิ่มรายได้ให้กับสมาชิกในวิสาหกิจชุมชนแปรรูปปลาตากแห้งบางตาวาและวิสาหกิจชุมชนโต๊ะลางาแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร

เกิดแผนการดำเนินงาน กำหนดกติการ่วมและเกิดวิสาหกิจชุมชน

  1. เกิดข้อตกลงร่วมกัน
  2. เกิดการร่วมกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
  3. มีแผนการปฏิบัติที่ชัดเจน
  4. ผ่านการรับรองมาตรฐาน อ.ย.และฮาลาล
  5. มีการเก็บข้อมูลคุณภาพของสินค้า

เกิดผลิตภัณฑ์ในชุมชนที่สามารถสร้างอาชีพได้

  1. ชุมชนมีผลิตภัณฑ์ที่พร้อมจำหน่าย
  2. มีผู้สนับสนุนจากหน่วยงานรัฐและองค์กร
  3. กลุ่มวิสาหกิจมีงานทำอย่างน้อย 30 คน
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66
1 กิจกรรมรวมกับหน่วยงานจัดการ สสส(18 ก.ย. 2022-18 ส.ค. 2023) 10,000.00                        
2 ประชุมคณะทำงาน เพื่อติดตามและวางแผนการทำงาน(25 ก.ย. 2022-25 ส.ค. 2023) 70,000.00                        
รวม 80,000.00
1 กิจกรรมรวมกับหน่วยงานจัดการ สสส กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 4 10,000.00 2 4,700.00
17 - 18 ก.ย. 65 เวทีปฐมนิเทศโครงการ ระดับหน่วยจัดการ 2 10,000.00 2,310.00
11 - 12 ก.พ. 66 เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงาน โครงการสร้างเสริมสุขภาวะด้วยแนวคิดเศรษฐกิจฐานราก 2 0.00 2,390.00
2 ประชุมคณะทำงาน เพื่อติดตามและวางแผนการทำงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 174 70,000.00 13 75,300.00
25 ก.ย. 65 ประชุมคณะทำงาน เพื่อติดตามและวางแผนการทำงาน ครั้งที่ 1 10 1,400.00 1,400.00
8 ต.ค. 65 ลงพื้นสำรวจและสร้างความร่วมมือและข้อตกลงในการทำธุรกิจร่วมกับกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ปลาตากแห้งชุมชนบางตาวา 5 700.00 1,970.00
11 ต.ค. 65 จัดอบรมและวางแผนการทำงานของสมาชิกในกลุ่มวิสาหกิจกลุ่มเป้าหมาย และจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมขนเป้าหมาย 30 6,300.00 4,500.00
25 ต.ค. 65 ประชุมคณะทำงาน เพื่อติดตามและวางแผนการทำงาน ครั้งที่ 2 10 1,400.00 1,260.00
5 พ.ย. 65 เวทีชี้แจงโครงการให้กับหน่วยงานภาครัฐและชุมชนเป้าหมาย จัดตั้งคณะทำงาน แบ่งบทบาทหน้าที่อย่างชัดเจน ประชุมชี้แจงกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ 30 4,500.00 4,825.00
15 พ.ย. 65 การจัดอบรมให้ความรู้ด้านการเงิน และการจัดอบรมพัฒนาสูตรและกระบวนการผลิต การขายและการสื่อสาร 30 7,500.00 7,090.00
24 พ.ย. 65 ประชุมและติดตามงานประจำเดือนพฤศจิกายน 5 1,400.00 1,400.00
30 มี.ค. 66 พัฒนาช่องทางการขาย ไลฟ์สดให้ปัง สร้างคอนเทนต์โดนใจ 30 10,000.00 9,480.00
1 พ.ค. 66 ประชุมคณะทำงาน เพื่อติดตามและวางแผนการทำงาน ครั้งที่ 3 5 840.00 840.00
5 พ.ค. 66 พัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์ปลาสเตอรรีไลซพร้อมทาน ครั้งที่ 1 (ทดสอบการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ในตัวอย่างผลิตภัณฑ์) 2 4,000.00 6,000.00
7 - 21 พ.ค. 66 พัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์ปลาสเตอรรีไลซพร้อมทาน ครั้งที่ 2 (ทดสอบอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์) 2 30,000.00 34,000.00
21 มิ.ย. 66 ลงพื้นที่สอนชาวบ้านในการแปรรูปปลาต้มส้ม 10 1,120.00 1,585.00
13 ส.ค. 66 สรุปกิจกรรม 5 840.00 950.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • เกิดคณะทำงานที่มีความสามารถในการขับเคลื่อนโครงการ
  • มีการพัฒนาทักษะด้านการเงินกลุ่มเป้าหมาย
  • เกิดแผนธุรกิจแปรรูป กำหนดกติการ่วมและเกิดวิสาหกิจชุมชน
  • เกิดผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ในการยกระดับเป็นผู้ประกอบการ ที่สามารถสาร้างอาชีพได้
stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.ย. 2022 07:07 น.