directions_run

โครงการ การยกระดับผลิตภัณฑ์แปรรูปและพัฒนากลุ่มผู้เลี้ยงชันโรง ตำบลละหา อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ การยกระดับผลิตภัณฑ์แปรรูปและพัฒนากลุ่มผู้เลี้ยงชันโรง ตำบลละหา อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
ภายใต้โครงการ โครงการการฟื้นฟูคุณภาพชีวิต และพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากแก่ผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะจังหวัดภาคใต้
ภายใต้องค์กร Node โควิค ภาคใต้
รหัสโครงการ 65-10018-30
วันที่อนุมัติ 9 กันยายน 2022
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2022 - 31 สิงหาคม 2023
งบประมาณ 80,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ บ้านละหา อำเภอเเว้ง จังหวัดนราธิวาส
ผู้รับผิดชอบโครงการ มุสตาซา ยูโซ๊ะ
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 091-315-6178
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ mustasa.udoh@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ อุบัยดิลละห์ หาแว
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลละหา อำเภอเเว้ง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 5.9324573617625,101.85607824591place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ย. 2022 28 ก.พ. 2023 1 ก.ย. 2022 28 ก.พ. 2023 50,000.00
2 1 มี.ค. 2023 30 มิ.ย. 2023 1 มี.ค. 2023 31 ส.ค. 2023 25,000.00
3 1 ก.ค. 2023 31 ส.ค. 2023 5,000.00
รวมงบประมาณ 80,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 กลุ่มผู้เลี้ยงชันโรง บ้านละหาร อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส ยังขาดองค์ความรู้ด้านการแปรรูปผลผลิต ซึ่งด้วยข้อจำกัดด้านความรู้ในการจัดน้ำผึ้งชันโรงหรือนำน้ำผึ่งที่มีอยู่มาแปรรูปเป็นสิ้นค้าอื่น นอกจากน้ำผึ่งชันโรงที่มีอยู่ จึงทำให้กลุ่มผู้เลี้ยงไม่สามารถนำน้ำผึ
30.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส มีเนื้อที่ประมาณ 347 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 217,047 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 7.76 ของพื้นที่จังหัดนาธิวาส มีตำบล จำนวน 6 ตำบล ประกอบด้วย 1.แว้ง 2.โละจูด 3.กายูคละ 4.ฆอเลาะ 5.แม่ดง 6.เอราวัณ จำนวนหมู่บ้านรวมทั้งสิ้น 46 หมู่บ้าน ประชากรและครัวเรือน อำเภอแว้งมีประชากรทั้งสิ้น 52,245 คน แยกเป็น ชาย จำนวน 25,845 คน หญิง จำนวน 26,400 คน จำนวนบ้านเรือน 11,998 หลังคำเรือน อำเภอแว้งเป็นพื้นที่อ้อมล้อมด้วยภูเขา มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ มีการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอย่างหลากหลายภายใต้ฐานธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ อาทิเช่น วิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงชันโรง โรงเรียนชาวนา ที่มีการก่อตั้งโดย มูฮามัดซักรี ดาโอ๊ะ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงชันโรง โรงเรียนชาวนา จ.นราธิวาส อาศัยอยู่ หมู่บ้านเจ๊ะเหม ตำบลแว้ง อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส มีสมาชิกจำนวน 48 คน และมีจำนวนการเลี้ยงชันโรงทั้งหมด 135 ขอน “ชันโรง” เป็นแมลงตัวเล็ก ๆ ที่ไม่มีเหล็กใน ภาษามลายูถิ่นเรียกว่า มาดูกือลูโล๊ะ ซึ่งเป็นผึ้งชนิดหนึ่งไม่มีเหล็กไนเป็นแมลงตัวเล็ก ๆ ที่ให้ประโยชน์มากมายเกินตัวและเป็นแมลงที่ปรับตัวได้เก่งโดยส่วนใหญ่จะอาศัยตามโพรงต้นไม้โพรงใต้ดินและไม่ชอบย้ายที่อยู่จึงเป็นวิธีการง่ายสำหรับการนำตัวผึ้งชันโรงมาเลี้ยงรอบ ๆ บ้านของตนเอง เนื่องจากเกิดผลกระทบจากมาตรการป้องโควิด 2019 มีการปิดหมู่บ้านชาวบ้านไม่สามารถไปประกอบอาชีพข้างนอกได้ จึงเกิดผลกระทบทำให้ชาวบ้านไม่มีรายได้ ในระหว่างนั้นมีการลักลอบตัดชันโรงเพื่อขายออกนอกพื้นที่ ส่วนใหญ่จะไปขายในต่างจังหวัดและมีบ้างส่วนที่ขายไปยังมาเลเซีย ต่อมามีนายทุนมากว้านซื่อชันโรง หลังจากนั้นมีชาวบ้านรวมกันพูดคุยมีความคิดว่า หากเรายังปล่อยให้นายทุนกว้านซื้อต่อไปโดยไม่มีการอนุรักษ์นานไปชันโรงก็จะศูนย์หายไป และอาจจะทำให้ผลไม้มีผลผลิตลดลงเนื่องจากชันโรงเป็นแมลงที่ไปช่วยในเรื่องผสมเกษตร หลังจากนั้นมีการรวมกลุ่มขึ้นมา มีประธานซึ่งเคยเลี้ยงชันโรงประมาณ 6 ปีแล้ว เขาก็รวมกลุ่มขึ้นมาโดยมีอาจารย์คมวิทย์ สุขเสนีย์ เป็นคนรวมกลุ่มโดยหากลุ่มผู้ที่สนใจเลี้ยงชันโรง กลุ่มคนที่มีชันโรงอยู่ กลุ่มนายทุนและกลุ่มเยาวชนรวมพ่อค้าเพื่อให้กลุ่มเหล่านี้ได้ตระหนักและห่วงแหนสทรัพยากรในพื้นที่ และตลอดที่ผ่านมาชุมชนละหารเป็นพื้นที่หนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด -19 มีการย้ายถิ่นกลับมาจากพื้นที่ทำงานจากประเทศมาเลเซียและจากจังหวัดต่าง ๆ ในประเทศไทย กลับมาสู่ภูมิลำเนาเดิม ซึ่งเกิดจากวิกฤต COVID-19 ทำให้กลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบและส่งผลต่อเศรษฐกิจอย่างมหาศาล มีการสั่งหยุดกิจกรรมทั้งงานทั้งคน / ปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ คนก็ตกงาน เกิดการว่างงานและขาดรายได้ในการดำรงชีวิต ก่อให้เกิดปัญหาหลายๆด้านตามมาทั้งสุขภาพจิตและสภาพความเป็นอยู่ที่ลำบากมากขึ้น ทำให้เกิดการรวมตัวของกลุ่มผู้เลี้ยงผึ้งชันโรงที่ตกงานจากสถานการณ์โควิด -19 สร้างวิกฤตให้เป็นโอกาสในการสร้างตัวที่บ้านเกิดและพัฒนาชุมชนไปพร้อม ๆ กัน โดยคิดทำธุรกิจ ซึ่งผลผลิตและสินค้า ที่เกิดจากผึ้งชันโรงนำมาขายน้ำหวานของผึ้งสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนและกลุ่มผู้เลี้ยงผึ้ง แต่กลุ่มผู้เลี้ยงผึ้งชันโรง บ้านละหาร อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส ประสบปัญหาทางด้านการรวบรวมผลผลิต เนื่องจากผู้เลี้ยงชันโรงจะเลี้ยงอยู่ในพื้นที่บ้านของตนเอง ปัญหาด้านคุณภาพที่แตกต่างกัน การดูแลรังชันโรง และไม่สามารถที่จะรู้ได้ว่าผลผลิตของน้ำผึ้งชันโรงของแต่ละบ้านมปริมาณเท่าใด จึงทำให้การเก็บน้ำผึ้งมารวมกันเป็นเป็นปัญหาอุปสรรคของกลุ่ม อีกทั้งน้ำผึ้งชันโรงที่ยังไม่สามารถนำผลผลิตมาแปรรูปทำเป็นสินค้าอื่นนอกจากน้ำผึ้งชันโรง และบรรจุภัณฑ์ที่อยู่ในขวดพลาสติดธรรมดา ซึ่งไม่สามารถที่จะเพิ่มมูลค่าสิ้นค้าได้
กลุ่มผู้เลี้ยงชันโรง บ้านละหาร อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส ยังขาดองค์ความรู้ด้านการแปรรูปผลผลิต ซึ่งด้วยข้อจำกัดด้านความรู้ในการจัดน้ำผึ้งชันโรงหรือนำน้ำผึ่งที่มีอยู่มาแปรรูปเป็นสิ้นค้าอื่น นอกจากน้ำผึ่งชันโรงที่มีอยู่ จึงทำให้กลุ่มผู้เลี้ยงไม่สามารถนำน้ำผึ้งชันโรงมาเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าได้ และกลุ่มผู้เลี้ยงยังขาดความรู้ด้านการจัดการบัญชีรายรายจ่ายและรายรับ ทำให้ผู้เลี้ยงไม่สามารถรับรู้ได้ว่าต้นทุนในการจัดการ หรือกำไรจากการขาย
กลุ่มผู้เลี้ยงชันโรง ตำบลละหา อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส เป็นการเลี้ยงให้พื้นที่ช่วยกันดูแลสภาพแว้ดล้อมที่ผึ้งอาศัยอยู่ ช่วยกันปรับทัศนคติคนที่ใช้สารเคมีในการดูแลต้นทุเรียน ลองกอง มังคุด หรือไม้ผลอื่น ๆ การรณรงค์และให้ความสำคัญกับการเลี้ยงผึ้ง เป็นการสร้างคุณค่าอีกทางทั้งทางตรงและทางอ้อมให้ชุมชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแบบเดิม ๆ ช่วยส่งเสริมทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการสร้างอาชีพที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตในชุมชน โดยการนำกลุ่มผู้เลี้ยงผึ้งชันโรงในพื้นที่มาต่อยอดการสร้างธุรกิจโดยการเสริมองค์ความรู้ เป็นช่องทางในการสร้างรายได้ให้ และรายได้ส่วนหนึ่งสามารถนำมาพัฒนาชุมชนสามารถสร้างโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มคนกลุ่มอาชีพและชุมชน จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น แกนนำและกลุ่มผู้เลี้ยงผึ้งชันโรง ขอความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ในพื้นที่ มาสนับสนุน ด้านการจัดการการตลาด การทำแผนธุรกิจ ช่องทางการขาย รวมทั้งการแปรรูปสร้างผลิตภัณฑ์ในรูปแบบใหม่เพื่อเพิ่มมูลค่า สถานการณ์ปัจจุบันที่ทางกุล่มผู้เลี้ยงผึ้งชันโรงประสบปัญหาอยู่ในตอนนี้ด้านการกระจายผลผลิตได้น้อย ช่องทางการขายไม่หลากหลาย รูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ไม่ดึงดูดและน่าสนใจพอกับผู้บริโภคทำให้กลุ่มได้มีการรวมกลุ่มเพื่อยกระดับและก้าวข้ามแบบเดิม ๆ ในการพัฒนาในครั้งนี้

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำให้มีความรู้และเพิ่มทักษะด้านการบริหารจัดการให้ครบวงจรตามกระบวนการต่าง ๆ
  1. เกิดคณะทำงานผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 5 คน และจัดตั้งคณะทำงานในชุมชน 10 คน และมีการกำหนดบทบาทหน้าที่ในการทำงานอย่างชัดเจน
  2. มีการติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และมีการประชุมสรุปผลการดำเนินงาน ทุก ๆ 1เดือน 3.เกิดกลุ่มเลี้ยงผึ้งที่มีแนวคิดยกระดับการเลี้ยง
  3. เกิดข้อตกลงร่วมกันในการพัฒนากลุ่มให้เข้มแข็ง 5.มีข้อมูลกลุ่มผู้ดลี้ยงชันโรงจำนวน 30 ครัวเรือน ที่สนใจในการพัฒนาและแปรรูปน้ำผึ้ง
  4. กลุ่มเป้าหมายจำนวน 30 คน เกิดการเรียนรู้ และมาปรับใช้กับพื้นที่ตนเอง
30.00 30.00
2 เพื่อพัฒนาแกนนำยกระดับให้เป็นผู้ประกอบการเป็นพื้นที่กระจายผลผลิตและสินค้าของชุมชนละหา อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
  1. เกิดทักษะด้านการแปรรูปบรรจุภัณฑ์น้ำผึ้งชันโรงที่หลากหลายของกลุ่มจำนวน 30 คน
  2. เกิดทักษะด้านการจัดการบริหารจัดการ และการตลาด และยกระดับให้เป็นมาตราฐาน
  3. เกิดช่องทางการตลาด และการขาย
  4. กลุ่มผู้เลี้ยงชันโรงมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการขาย 500 บาทต่อเดือน
  5. มีผลิตภัณฑ์หลากหลายรูปแบบ ในการขาย
  6. เพิ่มช่องทางการตลาดออนไลน์ 1 ช่องทาง
  7. เกิดศูนย์การเรียนรู้ การเลี้ยงผึ้งชันโรง 1 พื้นที่
30.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 35
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
คณะทำงานผู้รับผิดชอบโครงการ 5 -
สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชันโรง โรงเรียนชาวนา อำเภอแว้ง 30 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66
1 ประชุมคณะทำงาน เพื่อติดตามและวางแผนการทำงาน และสื่อสารการทำงานผ่านกลุ่มไลน์อย่างสม่ำเสมอ(9 ก.ย. 2022-31 ส.ค. 2023) 5,700.00                        
2 กิจกรรมอบรม(9 ก.ย. 2022-31 ส.ค. 2023) 19,710.00                        
3 กิจกรรมร่วมกับหน่วยงานจัดการ สสส.(17 ก.ย. 2022-31 ส.ค. 2023) 15,460.00                        
รวม 40,870.00
1 ประชุมคณะทำงาน เพื่อติดตามและวางแผนการทำงาน และสื่อสารการทำงานผ่านกลุ่มไลน์อย่างสม่ำเสมอ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 60 5,700.00 4 5,700.00
24 ก.ย. 65 ประชุมคณะทำงานเดือนกันยายน2565 ครั้งที่ 1 15 1,200.00 1,200.00
12 พ.ย. 65 ประชุมคณะทำงานเดือนพฤศจิกายน 2565 ครั้งที่ 2 15 1,200.00 1,200.00
15 ม.ค. 66 ประชุมคณะทำงานประจำเดือนมกราคม 2566 ครั้งที่ 3 15 1,200.00 1,200.00
29 เม.ย. 66 ประชุมคณะทำงานเดือนมิถุนายน 2566 ครั้งที่ 4 15 2,100.00 2,100.00
2 กิจกรรมอบรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 70 19,710.00 2 19,710.00
12 ต.ค. 65 กิจกรรมเพิ่มทักษะด้านสุขภาพและการเงิน เป็นการเสริมความรู้และตระหนักในการป้องโรคระบาด และเพิ่มทักษะการทำบัญชีรายรับรายจ่ายมากขึ้น 35 5,100.00 5,100.00
18 ต.ค. 65 กิจกรรมอบรมพัฒนาทักษะกลุ่มผู้เลี้ยงผึ้งชันโรง 35 14,610.00 14,610.00
3 กิจกรรมร่วมกับหน่วยงานจัดการ สสส. กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 21 15,460.00 5 15,460.00
17 - 18 ก.ย. 65 เวทีปฐมนิเทศโครงการ ระดับหน่วยงานจัดการ สสส. 3 3,380.00 3,380.00
18 ก.ย. 65 จัดทำไวนิลโครงการ 0 2,000.00 2,000.00
3 ก.พ. 66 สรุปผลการดำเนินงาน ถอดบทเรียน 15 1,650.00 1,650.00
11 - 12 ก.พ. 66 เวทีเเลกเปลี่ยนผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงาน 3 3,430.00 3,430.00
22 มิ.ย. 66 ไวนิลศูนย์ โฟมบรอ์ด เเละบรรจุภัณฑ์ 0 5,000.00 5,000.00
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 215 40,030.00 9 40,530.00
2 ต.ค. 65 การสำรวจข้อมูลชุมชน กลุ่มผู้เลี้ยงชันโรง พร้อมจัดทำแผนในการดำเนินงานให้ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ 15 4,070.00 4,070.00
8 ต.ค. 65 เวทีชี้เเจงโครงการ เเละจัดตั้งคณะทำงานพร้อมกำหนดบทบาทหน้าที่ในการทำงาน 35 5,230.00 5,230.00
19 พ.ค. 66 ศึกษาดูงาน ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้เลี้ยงผิ้งชันโรงเพื่อการอนุรักษ์และส่งเสริมอาชีพแบบวิถีเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลยี่งอ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส 30 13,000.00 13,000.00
1 มิ.ย. 66 ประชุมเครือข่ายชันโรง จังหวัดนราธิวาส 0 0.00 0.00
22 มิ.ย. 66 กิจกรรมจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ชันโรง ตำบลละหา อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส 100 12,830.00 12,830.00
16 ก.ค. 66 เวทีถอดบทเรียนและสรุปผลการดำเนินงานโครงการ 35 4,900.00 4,900.00
24 ส.ค. 66 การพัฒนาบรรจุภัณฑ์เเละแบรนด์กลุ่มกลุ่มผู้เลี้ยงชันโรงโรงเรียนชาวนา อ.เเว้ง จ.นราธิวาส 0 0.00 0.00
26 ส.ค. 66 การส่งเสริมด้านวิชาการให้กลุ่มโรงเรียนชาวนา 0 0.00 0.00
26 ส.ค. 66 เปิดบัญชี 0 0.00 500.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.ย. 2022 07:08 น.