directions_run

โครงการ “คลังอาหารข้างบ้าน สร้างสุข” พื้นที่ตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ “คลังอาหารข้างบ้าน สร้างสุข” พื้นที่ตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
ภายใต้โครงการ โครงการการฟื้นฟูคุณภาพชีวิต และพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากแก่ผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะจังหวัดภาคใต้
ภายใต้องค์กร Node โควิค ภาคใต้
รหัสโครงการ 65-10018-12
วันที่อนุมัติ 1 กันยายน 2022
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2022 - 30 กันยายน 2023
งบประมาณ 80,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มชุมชนตำบลเขาพระบาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ น.ส.จุฑาทิพย์ บริเพชร
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 087-4633776
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ Chuthathipborepat@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ นายยงยุทธ สุขพิทักษ์
พื้นที่ดำเนินการ พื้นที่ ตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ย. 2022 28 ก.พ. 2023 1 ก.ย. 2022 28 ก.พ. 2023 50,000.00
2 1 มี.ค. 2023 31 ก.ค. 2023 1 มี.ค. 2023 31 ส.ค. 2023 25,000.00
3 1 ส.ค. 2023 30 ก.ย. 2023 5,000.00
รวมงบประมาณ 80,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 มีรายงานเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2563 ที่สาธารณรัฐประชาชนจีน รายงานพบผู้ป่วยมีสาเหตุจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 จำนวน 41 ราย ไวรัสสายพันธุ์นี้สามารถแพร่เชื้อจากคนสู่คนได้ ต่อมาวันที่ 30มกราคม 2563 พบผู้ป่วยยืนยันในประเทศจีนกระจายทั่วประเทศ จํานวน 7,711ราย อาการรุนแรง 1,370 ราย เสียชีวิต 170 ราย และมีการกระจายไปทั่วโลก จากสรุปรายงานวันที่ 30 พฤศจิกายน 2563 สรุปรายงานการระบาดทั่วโลก ทั้งหมดมี 195 ประเทศ พบการระบาดและมีผู้ติดเชื้อแล้ว 185 ประเทศ ยอดผู้ป่วยติดไวรัสโควิด-19 จำนวน 62,642,920 ราย รักษาหาย 43,531,365 ราย ยอดผู้เสียชีวิต 1,458,018 ราย และเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2565 WHO ประกาศให้เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (Public health Emergency of international Concern) เนื่องจากมีรายงานผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น สำหรับประเทศไทยพบผู้ป่วยและเสียชีวิตรายแรกเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2563 ต่อมาในวันที่ 5 มีนาคม 2563 กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้เป็นโรคอุบัติใหม่และรายงานล่าสุดเมื่อ 5 สิงหาคม 2565 ทั่วโลกพบผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 568,517,091 ราย เสียชีวิต 6,430,441 ราย และประเทศไทยพบผู้ป่วยทั้งหมด 4,600,978 ราย เสียชีวิต 31,529 ราย รักษาหาย 4,548,639 ราย
จังหวัดนครศรีธรรมราช พบผู้ป่วยรายแรกเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2563 เป็นนักศึกษาที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ จำนวน 1 ราย และข้อมูลการระบาดระลอกที่สอง ปี พ.ศ.2564 พบผู้ป่วย 49,660 ราย เสียชีวิต 377 ราย ปีพ.ศ.2565 พบผู้ป่วย 124,139 ราย เสียชีวิต 812 ราย สำหรับอำเภอเชียรใหญ่พบข้อมูลการระบาดระลอกสอง มีผู้ป่วยติดเชื้อ ปี พ.ศ.2564 จำนวน 429 ราย เสียชีวิต 6 ราย และปีพ.ศ.2565 ข้อมูล ณ วันที่ 5 สิงหาคม 2565 พบผู้ป่วย 1,691 ราย เสียชีวิต 11 ราย (สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเชียรใหญ่, 2565) พื้นที่ตำบลเขาพระบาท มีจำนวน 1,543 ครอบครัว และเริ่มพบการระบาดครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2564 จำนวน 4 ราย โดยผู้ป่วยเดินทางมาจากกรุงเทพฯ เพื่อกลับบ้านช่วงสงกรานต์ และนำเชื้อโควิด-19 มาระบาดในพื้นที่ มีกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 45 ครอบครัว 75 ราย และพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้น ปี พ.ศ.2564 ตำบลเขาพระบาท มีผู้ป่วย 48 ราย ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 428 ราย เสียชีวิต 2 ราย และปีพ.ศ.2565 พบผู้ป่วย 238 ราย เสียชีวิต 1 ราย ผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ของพื้นที่ตำบลเขาพระบาท พบว่า 1)ประชาชนที่ไปทำงานต่างจังหวัดช่วงปี พ.ศ.2564 เป็นต้นมา ถูกเลิกจ้างกลับมาอยู่บ้านจำนวน 554 ราย 237 ครอบครัว 2)พักงานโดยไม่กำหนดเวลาและไม่ได้รับเงินเดือนจำนวน 207 ราย 3)บางจังหวัดที่โควิด-19 ระบาดหนัก ออกไปไหนไม่ได้ ต้องเดินทางกลับมาอยู่บ้านและทำงานที่บ้านแบบ WFH จำนวน 215 ราย 4)คนที่เดินทางกลับบ้านไม่ได้จำนวน 111 ราย ต้องทนอยู่กับสภาพพื้นที่ระบาดหนักและให้ครอบครัวส่งอาหารไปให้เพื่อดำรงชีวิตประจำวัน 5)ครอบครัวผู้ป่วยสูญเสียสมาชิกในครอบครัวเสียชีวิตด้วยโควิด-19 จำนวน 2 ราย ไม่มีโอกาสได้ไปเผาศพ ทำให้เกิดภาวะเครียด 12 รายและกลายเป็นจิตเวช 1 ราย ปัจจุบันกำลังรักษาอยู่ 6)ผู้สัมผัสเสี่ยงสูงหรือ HR เกิดภาวะเครียดและวิตกกังวล นอนไม่หลับเพราะถูกกักตัว ไม่ได้ไปทำงาน ขาดรายได้ ส่งผลกระทบมากกว่า 1,248 ครอบครัว (ร้อยละ 80.88) 7)ครัวเรือนที่ป่วยเป็นโควิด-19 ช่วงแรกถูกรังเกียจจากสังคมเมื่อออกไปซื้อของที่ร้านชำและไม่ขายให้ จำนวน 48 ครอบครัว แต่ปัจจุบันสังคมเข้าใจและรับรู้ที่ถูกต้องแล้ว 8)สินค้าเกษตรที่เกิดผลผลิตและกำลังเก็บขาย ไม่สามารถจำหน่ายได้ ทำให้ขาดทุนมากถึงร้อยละ 82.25 9)ผลกระทบที่เกิดกับหน่วยราชการคือ การเกิดผู้ป่วยรายใหม่ ไม่ได้เกิดจากพื้นที่โดยตรง แต่เกิดจากญาติเดินทางมาเยี่ยมและนำเชื้อโรคมาให้ ร้อยละ 95.42 ซึ่งควบคุมได้ยาก 10)คนต่างพื้นที่บางคนเป็นกลุ่มเสี่ยงไม่ยอมกักตัว 11)อบต.เขาพระบาท มีงบไม่เพียงพอที่จะแจกถุงยังชีพทุกคน เมื่อเกิดการระบาดหนักในพื้นที่ 12) กลุ่ม HR บางคนไม่ยอมกักตัวและแอบหนีไปเที่ยวเล่นการพนันหรือชนไก่ ร้อยละ 25 13)กลุ่มผู้ป่วยมากกว่าร้อยละ 95 มีประวัติเกี่ยวข้องกับการพนันและสถานบันเทิง เมื่อสถานการณ์เริ่มคลี่คลาย ได้สำรวจและติดตามครอบครัวที่ได้รับผลกระทบ จากเดิม 237 ครอบครัว บางส่วนได้กลับไปทำงานที่เดิม บางส่วนก็กลับไปหางานทำงานใหม่ แต่ยังมีอีก 39 ครัวเรือน ที่ยังไม่ได้กลับไปทำงาน เพราะไม่มีเงิน ต้องรับภาระหนี้สินที่เกิดขึ้นที่เกิดระหว่างช่วงที่โควิด-19 ระบาด ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ข้อมูลครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ในพื้นที่ตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ ได้ทำการเก็บรวบรวมในช่วงเดือนมิถุนายน 2565 มีรายละเอียดข้อมูล ดังนี้ 1)ช่วงกลุ่มอายุ พบว่ากลุ่มอายุแรกเกิด-5ปี จำนวน 10 คน กลุ่มอายุ 6-12 ปีจำนวน 13 คน กลุ่มอายุ 13-18 ปีจำนวน 15 คน กลุ่มอายุ 18-24ปี จำนวน 13 คน กลุ่มอายุ 25- 34 ปีจำนวน 16 คน กลุ่มอายุ 35 –59ปีจำนวน 51 คน กลุ่มอายุ 60ปีขึ้นไป จำนวน 15 คน 2)ระดับการศึกษาพบว่า ไม่ได้เรียนหนังสือ 14 คน กำลังเรียนหนังสือ 43 คน จบประถมศึกษา 36 คน จบมัธยมต้น 18 คน จบมัธยมปลาย 13 คน จบระดับปวช.และปวส. 9 คน จบปริญญาตรี 6 คน 3)กลุ่มเปราะบาง โดยมีคนพิการจำนวน 33 ครัวเรือน (ร้อยละ 84.61) ไม่มีผู้ป่วยติดเตียงทุกครัวเรือน 4)ประวัติการเจ็บป่วยพบว่า ป่วยเป็นเบาหวาน 8 คน ความดันโลหิตสูง 9 คน โรคภูมิแพ้/SLE 2 คน โรคอ้วน 2 คน ไตวายเรื้อรัง 2 คน COPD 4 คน หัวใจ 1 คน และสุขภาพดี 29 คน 5)ด้านที่อยู่อาศัยพบว่า มีบ้านตนเอง 34 หลัง และอาศัยอยู่กับพ่อแม่ 4 หลัง 6)จำนวนสมาชิกครัวเรือน ก่อนการระบาดของโควิด-19 มีสมาชิกอาศัยอยู่ 140 คน ช่วงเกิดการระบาดโควิด-19 ลูกหลานกลับมาอยู่บ้าน ไม่มีงานทำ 30 ครัวเรือน จำนวน 42 คน และหลังโควิดได้กลับไปทำงาน ปัจจุบันมีสมาชิกอยู่เหลือบ้านเพียง 138 คน ปัจจุบันสมาชิกในครัวเรือนตกงานไม่มีรายได้ 29 คน 7)รายได้ครัวเรือน ก่อนโควิด-19 ระบาด รายได้ครัวเรือนภาพรวมเดือนละ 557,360 บาท มีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 14,291.28 บาท ซึ่งสมาชิกทำงานและมีรายได้เพียง 59 คน ที่มาของรายได้ต่อเดือนดังนี้ (1)ได้มาจากค่าจ้าง 174,600 บาท (2)ขายผลผลิตทางเกษตร 271,400 บาท (3)ค้าขาย 36,000 บาท (4)อาชีพส่วนตัว 41,000 บาท (5)อาชีพเสริม 28,400 บาท (6)รัฐช่วยเหลือ 5,960 บาท 8)รายจ่ายครัวเรือน ก่อนโควิด-19 รายจ่ายครัวเรือนต่อเดือนโดยภาพรวมเดือนละ 652,865 บาท เฉลี่ยรายจ่ายเดือนละ 16,740.12 บาท เป็นค่าใช้จ่ายดังนี้ (1)จ่ายเพื่อการบริโภคประจำวัน 170,550 บาท (2)ค่าศึกษาบุตร 94,660 บาท (3)จ่ายด้านสุขภาพ 34,805 บาท (4)ด้านการลงทุนอาชีพ 147,400 บาท (5)งานสังคม 72,200 บาท (6)ค่าซื้อหวย 14,650 บาท (7)ใช้ในการชำระหนี้ 118,600 บาท สอบถามภาระหนี้สินก่อนโควิด-19 มีหนี้สินภาพรวม 13,332,000 บาท เฉลี่ยครัวเรือนละ 341,846.15 บาท
ข้อมูลหลังโควิด-19 ระบาด สอบถามเพื่อเปรียบเทียบ ดังนี้ (1)รายได้ครัวเรือนภาพรวมลดลง เดือนละ 430,900 บาท ลดลงไป 126,460 บาทต่อเดือน รายได้เฉลี่ยครัวเรือนคงเหลือเดือนละ 11,048.72 บาท (ลดลงจากเดิมเดือนละ 2,256.41 บาท) ซึ่งสมาชิกในครอบครัวทำงานเพื่อให้มีรายได้ในครอบครัว เพิ่มเป็น 73 คน ที่มาของรายได้ต่อเดือนดังนี้ (1)ได้มาจากค่าจ้าง 118,020 บาท (2)ขายผลผลิตทางเกษตร 201,380 บาท (3)อาชีพส่วนตัว 27,000 บาท (4)อาชีพเสริม 18,000 บาท (6)รัฐช่วยเหลือ 11,560 บาท 2)ข้อมูลรายจ่ายครัวเรือนต่อเดือน โดยภาพรวมเดือนละ 690,675 บาท (เพิ่มขึ้นเดือนละ 37,810 บาท) เฉลี่ยรายจ่ายเดือนละ 17,709.01 บาท เป็นค่าใช้จ่ายดังนี้ (1)จ่ายเพื่อการบริโภคประจำวัน 168,750 บาท (2)ค่าศึกษาบุตร 73,500 บาท (3)จ่ายด้านสุขภาพ 32,105 บาท (4)ด้านการลงทุนอาชีพ 175,600 บาท (5)งานสังคม 48,000 บาท (6)ค่าซื้อหวย 10,100 บาท (7)ใช้ในการชำระหนี้ 181,770 บาท 3)ภาระหนี้สินครัวเรือน หลังโควิด-19 มีหนี้สินภาพรวม 15,280,000 บาท เฉลี่ยครัวเรือนละ 391,794.87 บาท (มีภาระหนี้สินเพิ่มขึ้นเฉลี่ยครัวเรือนละ 49,948.72 บาท จากเวทีประชาคม เมื่อ 8 กรกฎาคม 2565 สอบถามสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นหลังโควิด-19 จากกลุ่มเป้าหมาย 39 ครัวเรือน แยกเป็นรายด้าน ดังนี้ (1)ด้านสังคมและการดำเนินชีวิตประจำวันพบว่า ต้องปรับตัวในการดำเนินชีวิตใหม่ทั้งหมด ทำให้ยากกว่าเดิม ทุกอย่างไม่เหมือนเดิมร้อยละ 12.89 การเดินทางและการติดต่อประสานงานยากกว่าเดิมร้อยละ 12.82 (2)ด้านเศรษฐกิจพบว่า รายได้น้อยและไม่เพียงพอกับรายจ่ายร้อยละ 56.41 รับภาระค่าใช้จ่ายเพราะลูกตกงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.58 มีหนี้สินเพิ่มขึ้นร้อยละ 56.41 สินค้าราคาแพงขึ้นกว่าเดิม ร้อยละ 100 ราคาผลผลิตตำต่ำและชายผลผลิตไม่ได้ ร้อยละ39.76 สมาชิกในครอบครัวตกงานร้อยละ 43.58 (3)ด้านสุขภาพพบว่า มีความเครียดกังวลเพิ่มขึ้นร้อยละ 100 นอนไม่หลับและวิตกตลอดเวลาร้อยละ 66.66 จากความเครียดกลายเป็นผู้ป่วยซึมเศร้าร้อยละ 5.12 สุขภาพแย่กว่าเดิมและเหนื่อยง่าย ร้อยละ 43.58 (4)ด้านสิ่งแวดล้อมพบว่า ขยะติดเชื้อทิ้งไม่เป็นที่เป็นทางและกำจัดไม่ถูกต้อง ร้อยละ 71.79 จากข้อมูลสภาพปัญหาทั้งหมด กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตและการระบาดของโควิด-19 ได้ร่วมกันนำเสนอข้อมูลปัญหา สาเหตุของปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาภายใต้ประเด็นหัวข้อ “คลังอาหารข้างบ้าน สร้างสุข” โดยมีรายละเอียดดังนี้
1.ปัญหาคือ รายได้ของครัวเรือนลดน้อยลง (ลดลงจากเดิมเฉลี่ยเดือนละ 2,256.41 บาทต่อครัวเรือน) รายจ่ายของครัวเรือนเพิ่มขึ้น (เพิ่มขึ้นเฉลี่ยเดือนละ 37,810 บาทต่อครัวเรือน) โดยมีข้อมูลที่สำคัญคือ (1)ราคาสินค้าแพงขึ้นทุกชนิด ทำให้ต้องใช้เงินในการซื้อสินค้าสูงกว่าเดิม (2)สมาชิกในครอบครัวตกงาน 7 ครอบครัว (3)สมาชิกกลับมาอยู่บ้านทำให้มีสมาชิกเพิ่มขึ้น 6 ครอบครัว (4)ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ขายไม่ได้ ไม่มีตลาดที่แน่นอน จำนวน 17 ครอบครัว (5)สมาชิกป่วยเป็นโควิด-19 และสุขภาพร่างกายแย่ลง ไม่สามารถทำงานได้เหมือนเดิมจำนวน 22 คน (6)นอนไม่หลับ เครียดตลอดเวลา 39 คน (7)รายได้ครัวเรือนลดลง 39 ครอบครัวและมีหนี้สินเพิ่มขึ้น
2.สาเหตุของปัญหา ดังนี้
2.1 ด้านสังคม พบว่า (1)เกิดความหวาดระแวงความกลัวและรังเกียจร้อยละ 70 (2)คนในชุมชนต่างคนต่างอยู่ ไม่ยอมพบปะกันร้อยละ 85 (3)การประชุมในหมู่บ้านลดลง ร้อยละ 90 (4)นักเรียนไม่ได้ไปโรงเรียน ทำให้เล่นเกมส์ออนไลน์เพิ่มขึ้นและเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มร้อยละ 100 (5)ปัญหาลักขโมยเกิดเพิ่มขึ้น ร้อยละ 50 (6)การเดินทางไปมาหาสู่กันไม่สะดวกร้อยละ 65 (7)ความเห็นแก่ตัวและปกปิดข้อมูลมากขึ้น ร้อยละ 50 2.2.ด้านเศรษฐกิจ พบว่า (1) สินค้าแพงมากกว่าเดิมประมาณ 2 เท่าตัว ร้อยละ 100 (2) สินค้าที่จำเป็นขาดแคลนและหายากในช่วงที่มีการระบาดโควิด-19 ร้อยละ 100 (3)ถูกเลิกจ้าง ว่างงานและลดระยะเวลาการทำงาน ร้อยละ 70 (4)รายจ่ายมากกว่ารายได้ถึง 4 เท่าตัว ร้อยละ 100 (5ปมีหนี้สินเพิ่มขึ้นจากเดิม ร้อยละ 100 2.3 ด้านสุขภาพ พบว่า (1)ประชาชนตำบลเขาพระบาทติดโควิด 637 ราย และเป็นกลุ่มเสี่ยงสูง จำนวน 1,160 ราย ตายจากโควิด-19 จำนวน 4 ราย (2)มีความเครียดมากขึ้น ร้อยละ 100 (3)มีโรคประจำตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 45.32 (4)โดยภาพรวมทั้งตำบล เมื่อหายป่วยแล้วเกิดความเสื่อมของร่างกาย สุขภาพแย่ลง จำนวน 102 คน คิดเป็นร้อยละ ร้อยละ 16.08 จากผู้ป่วยทั้งหมด
2.4 ด้านสิ่งแวดล้อม พบว่า (1)ขยะในชุมชนเพิ่มขึ้นทุกหมู่บ้าน เพราะไม่มีการกำจัด ทิ้งไม่เป็นที่และไม่มีการเดินรณงค์จัดการขยะ เพราะทุกคนกลัวการติดโควิด-19 (2)ไม่มีการคัดแยกขยะ ก่อนกำจัดและร้อยละ 100 ทำลายขยะโดยการเผา (3)น้ำสำหรับใช้บริโภคก็มีไม่เพียงพอ และน้ำอุปโภค ก็ขาดแคลน เพราะขาดเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ อีกทั้งมีการใช้น้ำมากเกินความจำเป็น เพราะช่วงระบาดโควิด-19 ทุกคนอยู่บ้าน ไม่ไปไหน ทำให้น้ำใช้ไม่เพียงพอ 3.ทุนชุมชนตำบลเขาพระบาท ตำบลเขาพระบาท มีทุนทางสังคมและพร้อมที่จะให้การสนับสนุนในกระบวนการพัฒนาโดยสนับสนุนทั้งคน และงบประมาณในการดำเนินงาน มี 3 หน่วยงานดังนี้ 3.1 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาพระบาท มีการเปิดบริการด้านการแพทย์แผนไทย ได้ส่งเสริมให้ครัวเรือนในพื้นที่ตำบลเขาพระบาท มีการปลูกสมุนไพร และรับซื้อสมุนไพร เพื่อนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ลูกประคบ ยานวดสมุนไพร ยาเหลือง ชุดอบสมุนไพร และทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงในการขับเคลื่อนด้านการแปรรูปสมุนไพรและวิทยากรให้ความรู้ 3.2 กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.เขาพระบาท มีความพร้อมที่จะให้การสนับสนุนงบประมาณในการอบรมพัฒนาศักยภาพประชาชนหรือสมาชิกกลุ่มด้านพัฒนาศักยภาพการแปรรูปสมุนไพรในชุมชน ซึ่งเป็นไปตามธรรมนูญชุมชนข้อที่ 7 ประเด็นส่งเสริมการปลูก การใช้สมุนไพรและการแปรรูปให้เกิดรายได้ในครัวเรือน 3.3 สภาองค์กรชุมชนตำบลเขาพระบาท ได้ประสานงานกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน เพื่อขับเคลื่อนงานด้านเศรษฐกิจและทุน โดยสนับสนุนด้านการส่งเสริมอาชีพในชุมชน การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรชุมชน จากทุนชุมชนที่มีอยู่ทั้ง 3 องค์กรในพื้นที่ตำบลเขาพระบาท ได้ตอบรับและให้การสนับสนุนการพัฒนากลุ่มเป้าหมายทั้ง 39 ครัวเรือน ให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจครัวเรือน โดยการส่งเสริมการปลูกสมุนไพร การแปรรูปสมุนไพรและช่องทางจำหน่ายสมุนไพร ทั้งสมุนไพรที่เกี่ยวกับสุขภาพของประชาชนและอาหารบริโภคที่ปลอดภัย

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

ไม่มี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 2.เพื่อเพิ่มความรู้ ทักษะการประกอบอาชีพ และเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนเป้าหมายที่เป็นสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพร 3.เพื่อเกิดชุดความรู้เกี่ยวกับการแปรรูปสมุนไพรชุมชน 4.เพื่อให้ครัวเรือนเป้าหมายมีความรอบรู้ทางสุขภาพและการเงิน

1.เกิดคณะทำงานซึ่งเป็นแกนนำหลักของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนด้านการแปรรูปสมุนไพร จำนวน 5 คน และแกนนำรอง 5 คน โดยมาจากการคัดเลือกและเห็นชอบร่วมกันของสมาชิกกลุ่มและทุกคนยอมรับ 2.เกิดโครงสร้างคณะทำงานและกำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะทำงานอย่างชัดเจน 3.มีแผนการปฏิบัติงาน และมีการติดตามผลการดำเนินงานทุกเดือน 4.มีการจัดเก็บข้อมูล เพื่อนำมาประเมินผลและปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่อง และมีการสรุปผลการดำเนินงานเมื่อสิ้นสุดโครงการ 5.กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสมุนไพร มีผลิตภัณฑ์ดังนี้ 1)ยาดมสมุนไพร 2)ยานวดสมุนไพร 3)ลูกประคบ 4)อาหารสัตว์สมุนไพร โดยออกจำหน่ายเดือนละ  1 ครั้ง 6.กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสมุนไพร มีการทำบัญชี รับ-จ่ายของกลุ่มทุกเดือน อย่างต่อเนื่อง 71สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสมุนไพร มีความรู้ มีทักษะและสามารถแปรรูปวัตถุดิบได้ทุกคน รวมทั้งตัวแทนครัวเรือนสามารถแปรรูปได้ทุกครัวเรือน 8.รายได้รวมของครัวเรือนเป้าหมายเพิ่มขึ้น อย่างน้อยร้อยละ 25 ของรายได้เดิม
9.สมาชิกกลุ่มมีความรู้และจัดทำเอกสารชุดความรู้ เพื่อใช้ในการถ่ายทอด 4 เรื่อง ดังนี้
-การทำยาดมสมุนไพร  -ลูกประคบ  -ยานวดสมุนไพ  -อาหารสัตว์สมุนไพร 10.ครัวเรือนเป้าหมายมีความรอบรู้ทางสุขภาพและการเงินไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80
(ประเมินตามเอกสารของสำนัก 6) 11.ครัวเรือนเป้าหมายสามารถนำความรอบรู้ทางสุขภาพและการเงิน ไปใช้ให้เกิดประโยชน์และทำบัญชีครัวเรือนต่อเนื่องกันไม่น้อยกว่า 6 เดือน

0.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 39
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายเป็นประชาชนในพื้นที่ตำบลเขาพระบาท อำเ 39 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66
1 พัฒนาทักษะอาชีพ(2 ส.ค. 2022-2 ส.ค. 2023) 42,544.00                          
2 ประชุมแกนนำโครงการ(6 ส.ค. 2022-6 มิ.ย. 2023) 0.00                          
3 การบริหารจัดการ(1 ก.ย. 2022-31 ส.ค. 2023) 10,000.00                          
4 ประชุม จัดตั้งคณะทำงานติดตามครัวเรือนต้นแบบ(7 เม.ย. 2023-7 เม.ย. 2023) 19,996.00                          
5 ติดตามผลการดำเนินงานบัญชีครัวเรือน(8 พ.ค. 2023-8 พ.ค. 2023) 7,460.00                          
6 0(25 ก.ค. 2023-25 ก.ค. 2023) 0.00                          
7 ประชุมเวที ARE ร่วมกับ พี่เลี้ยง(29 ก.ค. 2023-29 ก.ค. 2023) 500.00                          
รวม 80,500.00
1 พัฒนาทักษะอาชีพ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 411 42,544.00 11 38,741.00
29 ต.ค. 65 อบรมเพิ่มความรู้ทักษะการทำ ครั้งที่ 1 ยาหม่อง ยานวดสมุนไพร 39 9,460.00 7,316.00
12 ม.ค. 66 อบรมความรู้ เพิ่มทักษะการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ 39 0.00 0.00
4 ก.พ. 66 อบรมเพิ่มความรู้ทักษะการ ครั้งที่ 2 ทำลูกประคบสมุนไพร 39 9,320.00 7,460.00
8 ก.พ. 66 อบรมเพิ่มความรู้ทักษะการ ครรั้งที่ 3 ทำอาหารอัดเม้ดสมุนไพร สำหรับเลี้ยงไก่ 39 7,460.00 7,460.00
7 มี.ค. 66 อบรมเพิ่มความรู้ทักษะการประกอบอาชีพและเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน 39 0.00 0.00
22 เม.ย. 66 อบรมเพิ่มความรู้ทักษะการประกอบอาชีพและเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนให้ความรู้เกี่ยกับการปรับปรุงรูปแบบการบรรจุภัณฑ์ 39 3,504.00 3,705.00
17 มิ.ย. 66 ประชุมแกนนำโครงการ 10 3,120.00 3,120.00
19 มิ.ย. 66 อบรมเพิ่มความรู้ทักษะการ การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ 39 0.00 0.00
24 มิ.ย. 66 อบรมทักษะ และช่องทาง การเผยแพร่สินค้าทางออนไลน์ 39 5,000.00 5,000.00
25 มิ.ย. 66 อบรมเพิ่มและพัฒนาทักษะ การทำยานวดสมุนไพร 39 0.00 0.00
13 ก.ค. 66 อบรมเพิ่มทักษะอาชีพและการปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ 50 4,680.00 4,680.00
2 ประชุมแกนนำโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 200 0.00 8 0.00
13 พ.ย. 65 พัฒนาศักยภาพแกนนำโครงการ 50 0.00 0.00
26 พ.ย. 65 พัฒนาศักยภาพแกนนำกลุ่ม 10 0.00 0.00
13 ธ.ค. 65 พัฒนาศักยภาพแกนนำโครงการ ร่วมกับภาคีเครือข่าย 10 0.00 0.00
23 ธ.ค. 65 พัฒนาศักยภาพแกนนำโครงการ ร่วมกับภาคีเครือข่าย 10 0.00 0.00
19 ม.ค. 66 พัฒนาศักยภาพแกนนำกลุ่ม 50 0.00 0.00
5 ก.พ. 66 พัฒนาศักยภาพแกนนำกลุ่ม 50 0.00 0.00
19 พ.ค. 66 พัฒนาศักยภาพแกนนำกลุ่ม 10 0.00 0.00
30 ก.ค. 66 ประชุมแกนนำโครงการ ปิดเอกสารโครงการ 10 0.00 0.00
3 การบริหารจัดการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 23 10,000.00 6 10,000.00
30 ก.ย. 65 ค่าป้ายไวนิล /ค่าตราปั้ม 2 ชิ้น /ค่าป้ายห้มสูบบุหรี่ 3 1,500.00 1,500.00
1 - 2 ต.ค. 65 ปฐมนิเทศโครงการย่อย โดย node โควิดภาคใต้ (ล่าง) 4 3,900.00 3,900.00
5 - 6 พ.ย. 65 การอบรมแกนนำโครงการ เกี่ยวกับการรอบรู้ด้านสุขภาพและการเงิน 2 2,600.00 2,600.00
11 - 12 ก.พ. 66 เวที ARE ร่วมกับ Node ครั้งที่ 1 2 2,000.00 2,000.00
20 - 21 พ.ค. 66 อบรมกิจกรรมสื่อออนไลน์ 2 0.00 0.00
21 ก.ค. 66 พัฒนาศักยภาพแกนนำโครงการ 10 0.00 0.00
4 ประชุม จัดตั้งคณะทำงานติดตามครัวเรือนต้นแบบ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 195 19,996.00 5 20,500.00
12 ต.ค. 65 ประชุมกลุ่มเป้าหมาย 39 5,960.00 5,960.00
24 ต.ค. 65 ประชุมแกนนำโครงการ 10 คน 39 0.00 0.00
17 พ.ย. 65 ครั้งที่ 1 ประชุมกลุ่มเป้าหมายเ ติดตามข้อมูลก่อนเริ่มดำเนินงาน 39 5,585.00 5,960.00
20 ธ.ค. 65 การจัดตั้งคณะทำงานโครงการ (1.3 ประชุมกลุ่มเป้าหมาย และติดตามบัญชีครัวเรือน ครั้งที่ 2) 39 5,585.00 5,460.00
3 มิ.ย. 66 ครั้งที่ 3 ประชุมติดตามผลการดำเนินงานตามโครงการ 39 2,866.00 3,120.00
5 ติดตามผลการดำเนินงานบัญชีครัวเรือน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 78 7,460.00 2 10,460.00
18 พ.ย. 65 อบรมสมาชิกเรียนรู้เกี่ยวกับความรอบรู้ด้านสุขภาพและการเงิน 39 7,460.00 7,460.00
1 - 2 ก.ค. 66 ติดตามและประเมินผลครัวเรือนต้นแบบ 39 0.00 3,000.00
6 0 กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 10 0.00 1 0.00
24 ก.ค. 66 กิจกรรมเผยแพร่ผลงาน สู่สาธารณะโดยการถ่ายทำวีดีโอ 10 0.00 0.00
7 ประชุมเวที ARE ร่วมกับ พี่เลี้ยง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 80 500.00 5 500.00
27 ต.ค. 65 ถอนเงินเปิดบัญชี 2 500.00 500.00
29 ม.ค. 66 จัดประชุมเพื่อติดตามผลการดำเนินงาน ARE ครั้งที่ 1 ร่วมกับพี่เลี้ยง 39 0.00 0.00
25 ก.พ. 66 พี่เลี้ยงติดตามผลงานระดับบุคคล และครัวเรือน 10 0.00 0.00
27 พ.ค. 66 ประชุมสรุปติดตามงานร่วมกับพี่เลี้ยง เวที ARE 25 0.00 0.00
15 - 16 ก.ค. 66 ประชุมเวที ARE ร่วมกับ Node ที่ อ.หาดใหญ่ 4 0.00 0.00
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 10 0.00 1 0.00
8 เม.ย. 66 ประชุมแกนนำโครงการ 10 0.00 0.00

กิจกรรมร่วมกับ สสส. 1อบรมแกนนำ 5 คน ในการปฐมนิเทศโครงการจาก Node และเรียนรู้เกี่ยวกับความรอบรู้ด้านสุขภาพและการเงิน ค่าที่พักและค่าเดินทาง 2.ค่าป้ายไวนิลโครงการ
3.ป้ายห้ามสูบบุหรี่ 4.ประชุมทอดบทเรียนร่วมกับNode 5.ค่าตราปั้ม 2 ชิ้น 6.ค่าทำเอกสารรายงานฉบับสมบูรณ์

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เกิดกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกี่ยวกับการด้านแปรรูปสมุนไพร 1 กลุ่ม และดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
2.สมาชิกในครัวเรือนเกิดรายได้ 3.สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรมีความรู้ด้านการแปรรูปสมุนไพร มีทักษะการประกอบอาชีพด้านการทำยาดมสมุนไพร ลูกประคบ ยานวดสมุนไพร และอาหารสัตว์สมุนไพร 4.ครัวเรือนเป้าหมายมีรายได้เพิ่มขึ้น 5.เกิดชุดความรู้เกี่ยวกับการแปรรูปสมุนไพรชุมชน จำนวน 1 ชุด ประกอบด้วย -การทำยาดมสมุนไพร
-ลูกประคบ -ยานวดสมุนไพร -อาหารสัตว์สมุนไพร 6.มีการถ่ายทอดความรู้ให้แก่กลุ่มอื่นๆ ในชุมชน 9 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 1 ครั้ง 7.ครัวเรือนเป้าหมายมีความรอบรู้ทางสุขภาพและการเงินเพิ่มขึ้น

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.ย. 2022 07:52 น.