directions_run

โครงการริมและพัฒนาการแปรรูปผลผลิตในครัวเรือน ของ ตำบลป่าคลอก จังหวัดภูเก็ต

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการริมและพัฒนาการแปรรูปผลผลิตในครัวเรือน ของ ตำบลป่าคลอก จังหวัดภูเก็ต
ภายใต้โครงการ โครงการการฟื้นฟูคุณภาพชีวิต และพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากแก่ผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะจังหวัดภาคใต้
ภายใต้องค์กร Node โควิค ภาคใต้
รหัสโครงการ 65-10018-41
วันที่อนุมัติ 1 กันยายน 2022
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2022 - 31 สิงหาคม 2023
งบประมาณ 80,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มส่งเสริมการเกษตรและอาชีพแม่บ้านเกษตรกร
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอัมพิกา ก่อเจริญกิจ
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 095-2419647
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ ampikaip6plus@icloud.com
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวจินดา สวัสดิ์ทวี
พื้นที่ดำเนินการ ป่าคลอก ตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
ละติจูด-ลองจิจูด 8.049796,98.408719place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ย. 2022 28 ก.พ. 2023 1 ก.ย. 2022 28 ก.พ. 2023 50,000.00
2 1 มี.ค. 2023 31 ก.ค. 2023 1 มี.ค. 2023 31 ส.ค. 2023 25,000.00
3 1 ส.ค. 2023 31 ส.ค. 2023 5,000.00
รวมงบประมาณ 80,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันการให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพเป็นที่ได้รับการยอมรับและให้ความสนใจเป็นอย่างมา และคนทุกกลุ่มวัยได้หันมาให้ความสนใจเกียวกับการดูแลสุขภาพทั้งในด้านการออกกำลังกาย การกินอาหารให้ถูกสุขลักษณะ สืบเนื่องจากการเกิดโรคอุบัตใหม่ เกิดการระบาดจากโควิด19 ทำให้ประชาชนในพื้นที่และคนทั้งประเทศได้รับผลกระทบกันทั่วหน้า จังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการเกิดโรคนี้ ทำให้ทางจังหวัดได้หันมาให้ความสนใจและให้ความสำคัญกับการดูแลและรักษาสุขภาพของคนในจังหวัด ดังนั้น จึงพยายามผลักดันและความรู้เกี่ยวกับการแก้ปัญหาและทำให้คนในพื้นที่อยู่อย่างมีความสุข โดยผลักดันให้คนในพื้นที่หันมาให้ความสำคัญในการแก้ปัญหาผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น รวมไปถึงการช่วยกันแก้ปัญหา หรือการเตรียมการรองรับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
ตำบลป่าคอก เป็นตำบลหนึ่งที่อยู่ในอำเภอถลางจังหวัดภูเก็ต ซึ่งถือว่าเป็นปอดของจังหวัดภูเก็ต เพราะเป็นพื้นส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม และมีแหล่งการเรียนรู้ทางเกษตรและชุมชนท่องเที่ยวที่มีกิจกรรมต่างๆ มากมายของชุมชน แต่เมื่อเกิดโรคอุบัตใหม่ (โควิด19) ทำให้กิจกรรมต่างๆ ต้องหยุดชะงัก ส่งผลให้คนในพื้นที่ได้รับผลกระทบไม่ว่าจะเป็นเรื่องรายได้ อาชีพ หนี้สิน รวมไปถึงผลกระทบที่อาจจะส่งผลถึงสุขภาพ อีกด้วย ต่อมากลุ่มวิสาหกิจการแปรรูปผลผลิตในชุมชน ที่เกิดจากการรวมตัวเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร โดยนำผลผลิตทางการเกษตรที่มีอยู่ในชุมชนมาแปรรูป โดยจะยึดผลผลิตที่ได้ตามฤดูกาล ต่อมาเกิดปัญหาด้านโควิด 19 ทำให้คนในตำบลป่าคลอก ได้รับผลกระทบ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนจึงได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ที่ได้จากการนำผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรในชุมชน ที่สามารถนำไปสู่การสร้างรายได้ให้กับชุมชน โดยร่วมกลุ่มกับแกนนำชุมชนในกตำบลป่าคอกจำนวน 5 คน ได้ชักชวนกลุ่มเป้าหมายทีได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 19 เพื่อเป็นกลุ่มนำร่องในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือแปรรูปผลิตภัณฑ์ จำนวน 30 ครัวเรือน เพื่อมาทบทวนปัญหาของครัวเรือนกลุ่มเป้าหมายและครัวเรือนชุมชน พบว่า หลังจากเกิดสถานการณ์โควิด 19 ส่งผลให้บางครัวเรือนมีปัญหารายได้ไม่พอรายจ่าย มีการวิเคราะห์ค้นหาสาเหตุของการที่มีรายได้ไม่พอรายจ่าย ได้แก่ ประกอบอาชีพที่สร้างรายได้ให้น้อยซึ่งอาชีพในชุมชนได้แก่ การรับจ้าง การทำงานในเครือโรงแรม การสวนผลไม้ ปลูกผัก ทำให้คนในชุมชนยังไม่มีอาชีพเสริม มีรายได้ทางเดียว และขาดความรู้ความตระหนักเรื่องการจัดการหนี้สินและการออมหรือรายได้จากการประกอบอาชีพลดลงจากเพราะสภาพคล่องทางเศรษฐกิจย่ำแย่ลง ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปัญหาดังกล่าว อาจจะก่อให้เกิดหนี้สิน ความไม่มันคงทางการเงิน อาจจะนำไปสู่การเกิดโรคจากการประกอบอาชีพที่ต้องใช้แรงงานหนัก ได้แก่ การเกิดความเครียด เกิดอาการป่วยต่างๆ ที่เป็นผลกระทบที่เกิดจากภาวะความเครียด ต่อมาได้เกิดการร่วมคิดร่วมทำเพื่อวางแผนในการเพิ่มรายได้ ด้วยการสร้างหาแหล่งขายสินค้าของชุมชน หาพื้นที่ในการขายสินค้าและผลิตภัณฑ์ในชุมชน เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ทักษะในการพัฒนาสินค้า พัฒนาแหล่งจำหน่ายสินค้าและสามารถจัดการการจำหน่ายสินค้าได้ นอกจากนี้จะต้องสามารถ จัดการด้านบัญชีของกลุ่มและตนเอง ทำการตลาดด้วยตนเองได้ มีความรอบรู้ทางสุขภาพและการเงิน เพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง สามารถขยายการทำงานไปสู่ครัวเรือนอื่นได้ต่อไปในอนาคต นอกจากการสนับสนุนให้ปลูกผักผลไม้ปลอดสารพิษในครัวเรือนแล้ว การแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าทางการเกษตรเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการเพิ่มรายได้ครัวเรือน โดยเน้นให้ครัวเรือนเรียนรู้และสามารถแปรรูปพืชผักผลไม้ที่มีอยู่เป็นสินค้าเพื่อจำหน่ายในช่องทางการตลาดต่างๆ ซึ่งการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าเกษตร เป็นเทคนิคที่สำคัญที่จะช่วยให้เกษตรกรสามารถมีรายได้เพิ่มขึ้นจากผลผลิตทางการเกษตรของตัวเองได้ โดยการนำผลผลิตทางการเกษตรที่ได้ตามฤดูกาลมาเพิ่มลักษะพิเศษหรือจุดเด่น เพื่อให้ตรงต่อความต้องการของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น และจะสามารถช่วยส่งผลให้ผลผลิตสินค้าทางการเกษตรมีปริมาณไม่ล้นตลาด ทำให้ไม่เกิดสงครามราคาที่จะทำให้ราคาสินค้าลดลง อีกทั้งยังเสริมสร้างอาชีพใหม่ๆ ในชุมชน อีกด้วย

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

ไม่มี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อเกิดการรวมกลุ่มการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร และการหาแหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของชุมชน
  1. เกิดคณะทำงานของกลุ่มการแปรรูปผลิตภัณในชุมชน ที่ได้จากการรวมกลุ่ม และแกนนำโครงการจำนวน 5 คน ที่มาจากสมาชิกกลุ่ม และเกิดการทำงานร่วมกันกับสมาชิกในกลุ่ม

2.เกิดการกำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะทำงานอย่างชัดเจน

3.มีแผนการปฏิบัติงาน การติดตามผลการดำเนินงาน อย่างต่อเนื่อง และนำข้อมูลที่ได้มาประเมินและปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่อง และมีการสรุปผลการดำเนินงาน

4.เกิดกลุ่มการแปรรูปผลิตภัณทางการเกษตรตามฤดูกาลในชุมชน

2 2. .เพื่อเพิ่มความรู้ ทักษะการประกอบอาชีพ และเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน

1 สมาชิกกลุ่มมีความรู้ สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรได้อย่างน้อย 1 อย่าง

2.รายได้รวมของครัวเรือนเป้าหมายเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 20 ของรายได้เดิม

3 3.เพื่อให้ครัวเรือนเป้าหมายมีความรอบรู้ทางสุขภาพและการเงิน

1ครัวเรือนเป้าหมายมีความรอบรู้ทางสุขภาพและการเงินไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80

2 ครัวเรือนเป้าหมายสามารถนำความรอบรู้ทางสุขภาพและการเงิน ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการจัดการบัญชีครัวเรือน(วิเคราะห์รายรับรายจ่าย การลดเพิ่มรายได้ จัดการหนี้สิน การออมในครอบครัว และนำไปสุ่การต่อยอดการประมาณค่าใช้จ่ายในเรื่องอื่นๆ )

stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 30
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด กลุ่มเปราะบาง ในตำบล 30 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66
1 ประชุมแกนนำโครงการ(1 ก.ย. 2022-31 ส.ค. 2023) 1,200.00                        
2 กิจกรรมร่วมกับหน่วยจัดการและสสส.(2 ต.ค. 2022-2 ต.ค. 2022) 10,000.00                        
3 อบรมการให้ความรู้เกียวกับการแปรรูปอาหารและปลอดภัย(23 ต.ค. 2022-23 ต.ค. 2022) 10,500.00                        
4 อบรมการแปรรูปอาหาร(20 พ.ย. 2022-20 พ.ย. 2022) 37,300.00                        
5 การออกแบบบรรจุภัณฑ์(14 ธ.ค. 2022-14 ธ.ค. 2022) 4,000.00                        
6 ช่องทางการตลาด(26 ธ.ค. 2022-25 ก.พ. 2023) 0.00                        
7 อบรมความรอบรู้ทางการเงินและสุขภาพ(17 ม.ค. 2023-17 ม.ค. 2023) 6,000.00                        
8 เวทีแสดงสรุปผลการดำเนินงานและถอดบทเรียน(9 ก.ค. 2023-9 ก.ค. 2023) 11,000.00                        
รวม 80,000.00
1 ประชุมแกนนำโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 1,200.00 6 1,200.00
9 ต.ค. 65 ประชุมแกนนำโครงการ ครั้งที่ 1 5 400.00 325.00
4 ธ.ค. 65 ประชุมแกนนำโครงการ ครั้งที่ 2 5 200.00 150.00
5 ก.พ. 66 ประชุมแกนนำโครงการ ครั้งที่ 3 5 200.00 250.00
5 เม.ย. 66 ประชุมแกนนำโครงการ ครั้งที่ 4 5 150.00 150.00
4 มิ.ย. 66 ประชุมแกนนำโครงการ ครั้งที่ 5 5 150.00 150.00
28 ส.ค. 66 ประชุมแกนนำครั้งที่ 6 5 100.00 175.00
2 กิจกรรมร่วมกับหน่วยจัดการและสสส. กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 7 10,000.00 4 14,070.00
1 - 2 ต.ค. 65 เวทีปฐมนิเทศ 2 3,000.00 3,180.00
31 ต.ค. 65 วัสดุโครงการ 1 1,000.00 500.00
5 - 6 พ.ย. 65 อบรมความรอบรู้ทางการเงินและสุขภาพ 2 3,000.00 4,170.00
11 - 12 ก.พ. 66 เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงาน 2 3,000.00 6,220.00
3 อบรมการให้ความรู้เกียวกับการแปรรูปอาหารและปลอดภัย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 10,500.00 1 10,419.00
30 ต.ค. 65 อบรมการให้ความรู้เกียวกับการแปรรูปอาหารและปลอดภัย 30 10,500.00 10,419.00
4 อบรมการแปรรูปอาหาร กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 150 37,300.00 5 35,074.00
17 พ.ย. 65 อบรมการแปรรูปอาหารจากสับปะรดและกล้วยน้ำว้า 30 6,700.00 6,700.00
26 ก.พ. 66 แปรรูปแป้งกล้วยเป็นขนมประเภทเบเกอรี่ 30 6,700.00 6,700.00
31 มี.ค. 66 อบรมการแปรรูปแป้งกล้วยเป็นคุ้กกี้เพื่อสุขภาพ 30 6,700.00 6,700.00
14 พ.ค. 66 จัดทำช่องทางการตลาดและรับพรีออเดอร์ ครั้งที่ 1 30 9,700.00 8,279.00
28 พ.ค. 66 ไอศครีมผลไม้และกล้วยหอม 30 7,500.00 6,695.00
5 การออกแบบบรรจุภัณฑ์ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 4,000.00 1 3,980.00
23 เม.ย. 66 การออกแบบบรรจุภัณฑ์ 30 4,000.00 3,980.00
6 ช่องทางการตลาด กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
7 อบรมความรอบรู้ทางการเงินและสุขภาพ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 6,000.00 1 6,000.00
11 มิ.ย. 66 อบรมความรอบรู้ทางการเงินและสุขภาพให้กลุ่มเป้าหมาย 30 6,000.00 6,000.00
8 เวทีแสดงสรุปผลการดำเนินงานและถอดบทเรียน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 11,000.00 1 9,260.00
26 ส.ค. 66 เวทีแสดงสรุปผลการดำเนินงานและถอดบทเรียน 30 11,000.00 9,260.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เกิดการรวมกลุ่มในการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร และมีแหล่งในการจำหน่ายสินค้าของชุมชน
2 กลุ่มเป้าหมายในชุมชนได้รับความรู้ และทักษะในการประกอบอาชีพเพิ่มมากขึ้น และเป็นช่องทางในการเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน 3 ครัวเรือนเป้าหมายมีความรอบรู้ทางสุขภาพและการเงิน สามารถนำมาประยุกต์ใช้และเป็นแนวทางในการจัดการเรื่องบัญชีครัวเรือนได้

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.ย. 2022 07:57 น.