directions_run

โครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะด้านการประกอบอาชีพของคนในชุมชน หมู่ 6 ตำบลฉลอง จังหวัดภูเก็ต

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะด้านการประกอบอาชีพของคนในชุมชน หมู่ 6 ตำบลฉลอง จังหวัดภูเก็ต
ภายใต้โครงการ โครงการการฟื้นฟูคุณภาพชีวิต และพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากแก่ผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะจังหวัดภาคใต้
ภายใต้องค์กร Node โควิค ภาคใต้
รหัสโครงการ 65-10018-27
วันที่อนุมัติ 1 กันยายน 2022
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2022 - 31 สิงหาคม 2023
งบประมาณ 80,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายปรีชา นาคดำ
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ นายปรีชา นาคดำ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ preecha08052510@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวจินดา สวัสดิ์ทวี
พื้นที่ดำเนินการ ม.6 ตำบลฉลอง อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
ละติจูด-ลองจิจูด 7.847057,98.336906place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ย. 2022 28 ก.พ. 2023 1 ก.ย. 2022 28 ก.พ. 2023 50,000.00
2 1 มี.ค. 2023 31 ก.ค. 2023 1 มี.ค. 2023 31 ส.ค. 2023 25,000.00
3 1 ส.ค. 2023 31 ส.ค. 2023 5,000.00
รวมงบประมาณ 80,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

.     ปัจจุบันการให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพเป็นที่ได้รับการยอมรับและให้ความสนใจเป็นอย่างมาก และคนทุกกลุ่มวัยได้หันมาให้ความสนใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพทั้งในด้านการออกกำลังกาย การกินอาหารให้ถูกสุขลักษณะ นอกจากนี้ยังมีการรณรงค์ให้ประชาชนในชุมชนหันมาบริโภคผักมากขึ้น โดยเฉพาะผักปลอดสารพิษ เพื่อลดปัญหาหรือผลกระทบที่ได้จากการบริโภคมากยิ่งขึ้น จังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดหนึ่งที่ให้ความสนใจและให้ความสำคัญกับการดูแลและรักษาสุขภาพของคนในชุมชน ดังนั้น จึงพยายามผลักดันและความรู้เกี่ยวกับการบริโภคผักปลอดสารพิษมากขึ้น โดยให้คนในชุมชนหันมาสนใจและให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้น โดยการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริโภค การงดเว้นการใช้สารเคมีในการปลูกผักปลอดสารเคมี เพื่อนำไปสู่การบริโภคผักที่สะอาดและปลอดภัยมากขึ้น
    ชุมชนบ้านฉลอง หมู่ 6 เป็นชุมชนหนึ่งในจังหวัดภูเก็ตที่ให้ความสนใจด้านการปลูกผักปลอดภัย และเกิดการรวมกลุ่ม จากกลุ่มเล็กๆ แล้วขยายออกไปเป็นวงกว้างในชุมชนและท้องถิ่น เพื่อให้คนในชุมชนเห็นคุณค่าและความสำคัญของการบริโภคปลอดสารเคมี และนำไปสู่การสร้างรายได้ให้กับชุมชน ซึ่งชุมชนบ้านฉลอง มีครัวเรือน ที่ปลูกผักไว้บริโภคเอง จํานวน 74 ครัวเรือน ซึ่งเป็นการปลูกผักไว้บริโภคเองโดยไม่ใช้สารเคมีใดๆ โดยผักที่ในแต่ละครัวเรือนนิยมปลูกมากที่สุดคือ มะเขือเปราะม่วง มะเขือยาวม่วง กะเพรา พริกขี้หนู โดยปลูกจํานวนอย่างละ 1 ต้น/ครัวเรือน แต่เมื่อพิจารณาถึงรายได้ของครัวเรือนพบว่า ในจำนวน 74 ครัวเรือน ที่ปลูกผักไว้บริโภค ก็ยังมีปัญหาในเรื่องรายได้ หนี้สิน เนื่องจากไม่มีรายได้จากช่องทางอื่น อันสืบเนื่องมาจากสถานการณ์โควิด 19 ทำให้ในบางครัวเรือนที่ปลูกผักไว้บริโภค ถูกเลิกจ้าง ถูกเลิกอาชีพ และนำไปสู่การเกิดภาวะการว่างงานในชุมชน

    ก่อนเริ่มโครงการได้เริ่มต้นจากแกนนำโครงการ 6 คน ได้ชักชวนกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลกระทบ มาวิเคราะห์และหาแนวทางในการแก้ปัญหาด้านรายได้ รายจ่ายในครัวเรือน รวมถึงการพัฒนากิจกรรมส่งเสริมอาชีพให้กับคนในกลุ่มเป้าหมาย โดยการรวบรวมกลุ่มเพื่อให้ได้กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 30 ครัวเรือน เพื่อทบทวนปัญหาที่เกิดขึ้นในครัวเรือน หลังจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 19 นั่นคือ ทำให้บางครัวเรือนมีปัญหารายได้ไม่พอรายจ่าย มีการวิเคราะห์ค้นหาสาเหตุของการที่มีรายได้ไม่พอรายจ่าย เช่น การถูกเลิกจ้างเนื่องจากโรงแรมหรือสถานประกอบการปิดกิจการ เป็นต้น ดังนั้น การพัฒนาหรือการต่อยอดอาชีพให้กับคนในกลุ่มเป้าหมาาย โดยการให้ความรุ้ในการต่อยอดอาชีพ การแนะแนวทางในการพัฒนาอาชีพ หรือช่องทางในการหารายได้ให้กับกลุ่มเป้าหมาย รวมไปถึงการเพิ่มความรู้ทางด้านการจัดการหนี้สินและการออมหรือรายได้ ที่ได้จากการประกอบอาชีพ เพื่อวางแผนในการเพิ่มรายได้ ด้วยการสร้างหาแหล่งขายสินค้าของชุมชน หาพื้นที่ในการขายสินค้าและผลิตภัณฑ์ในชุมชน รวมถึงการแนะนำหรือการพัฒนาอาชีพใหม่ๆ ให้กลุ่มเป้าหมาย ได้สามารถนำความรู้ ทักษะต่าง ๆ ไปใช้ในการพัฒนาสินค้า พัฒนาแหล่งจำหน่ายสินค้าและแนวทางในการต่อยอดอาชีพในอนาคต นอกจากนี้จะต้องสามารถ จัดการด้านบัญชีของกลุ่มและตนเอง ทำการตลาดด้วยตนเองได้ มีความรอบรู้ทางสุขภาพและการเงิน เพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง สามารถขยายการทำงานไปสู่ครัวเรือนอื่นได้ต่อไปในอนาคต

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

-

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเกิดการรวมกลุ่มพัฒนาทักษะด้านการประกอบอาชีพของคนในชุมชน หมู่ที่ 6 ตำบลฉลอง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต
  1. เกิดกลุ่มวิสาหกิจและคณะทำงานของกลุ่มการประกอบอาชีพของคนในชุมชน โดยมีแกนนำกลุ่มจำนวน 6 คน ที่ได้จากการเห็นชอบจากสมาชิกกลุ่มเป้าหมาย
  2. เกิดการกำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะทำงาน
  3. มีแผนการปฏิบัติงาน มีการติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและนำข้อมูลมาประเมินและปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่อง และมีการสรุปผลการดำเนินงาน
  4. เกิดช่องทางการจำหน่ายสินค้าชุมชน
1.00
2 เพื่อเพิ่มความรอบรู้ความรู้ ทักษะการประกอบอาชีพ และเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน

1.สมาชิกกลุ่มเป้าหมายมีความรอบรู้ความสามารถทักษะการประกอบอาชีพ และเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน

2.รายได้รวมของครัวเรือนเป้าหมายเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 20 ของรายได้เดิม

1.00
3 เพื่อให้ครัวเรือนเป้าหมายมีความรอบรู้ทางสุขภาพ การเงินและการออมทรัพย์

1.กลุ่มครัวเรือนเป้าหมายมีความรอบรู้ทางสุขภาพ การเงินและการออมทรัพย์ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80

2.ครัวเรือนเป้าหมายมีความรอบรู้ทางสุขภาพ การเงินและการออมทรัพย์ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ (วิเคราะห์รายรับ-รายจ่าย จากการทำบัญชีครัวเรือน )

1.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 30 30
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากโควิดในชุมชนบ้านฉลอง ม.6 30 30
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66
1 เวทีร่วมหน่วยจัดการสสส(1 ต.ค. 2022-2 ต.ค. 2022) 13,840.00                        
2 ประชุมคณะทำงานแกนนำโครงการ(2 ต.ค. 2022-2 ต.ค. 2022) 2,652.00                        
3 ประชุมกลุ่มเครือข่ายโครงการเลี้ยงไก่พื้นบ้านและปลูกผัก(10 มี.ค. 2023-10 มี.ค. 2023) 17,668.00                        
4 ประชุมติดตามโครงการกลุ่มเป้าหมาย(13 มี.ค. 2023-13 มี.ค. 2023) 15,795.00                        
5 กลุ่มออมทรัพย์(13 มี.ค. 2023-13 มี.ค. 2023) 6,060.00                        
6 กลุ่มวิสาหกิจชุมชน (กลุ่มวิสาหกิจชุมชนอ่างกระทะ ตำบลฉลอง )(13 มี.ค. 2023-13 มี.ค. 2023) 985.00                        
7 กิจกรรมการอบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมาย(16 มี.ค. 2023-16 มี.ค. 2023) 17,680.00                        
8 เวทีสรุปผลการดำเนินงานและถอดบทเรียน(16 มี.ค. 2023-16 มี.ค. 2023) 5,320.00                        
9 ถอนเงินเปิดบัญชี(28 ส.ค. 2023-28 ส.ค. 2023) 500.00                        
รวม 80,500.00
1 เวทีร่วมหน่วยจัดการสสส กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 6 13,840.00 3 13,840.00
1 - 2 ต.ค. 65 เวทีปฐมนิเทศโครงการ 2 3,260.00 3,260.00
5 - 6 พ.ย. 65 อบรมความรอบรู้ด้านการสุขภาพและการเงิน 2 4,260.00 4,260.00
11 - 12 ก.พ. 66 เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์และเวทีการดำเนินงานโครงการสร้างเสริมสุขภาวะด้วยแนวคิดเศรษฐกิจฐานราก 2 6,320.00 6,320.00
2 ประชุมคณะทำงานแกนนำโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 38 2,652.00 5 2,652.00
2 พ.ย. 65 ประชุมคณะการทำงานแกนนำโครงการ ครั้งที่ 1 9 315.00 315.00
7 ม.ค. 66 ประชุมคณะการทำงานแกนนำโครงการ ครั้งที่ 2 6 210.00 210.00
23 ก.พ. 66 ประชุมคณะการทำงานแกนนำโครงการ ครั้งที่ 3 6 924.00 924.00
7 พ.ค. 66 ประชุมคณะการทำงานแกนนำโครงการ ครั้งที่ 4 9 315.00 315.00
26 ส.ค. 66 ประชุมคณะการทำงานแกนนำโครงการ ครั้งที่ 5 (สรุปผลและรายงานโครงการ) 8 888.00 888.00
3 ประชุมกลุ่มเครือข่ายโครงการเลี้ยงไก่พื้นบ้านและปลูกผัก กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 60 17,668.00 2 17,668.00
13 พ.ย. 65 ประชุมกลุ่มเครือข่ายโครงการเลี้ยงไก่พื้นบ้านและปลูกผัก 30 7,778.00 7,778.00
24 มิ.ย. 66 ประชุมกลุ่มเครือข่ายโครงการเลี้ยงไก่พื้นบ้านและปลูกผัก 30 9,890.00 9,890.00
4 ประชุมติดตามโครงการกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 130 15,795.00 5 15,795.00
17 ธ.ค. 65 ประชุมติดตามโครงการกลุ่มเป้าหมาย ครั้งที่ 1 20 6,700.00 6,700.00
21 ม.ค. 66 ประชุมติดตามโครงการกลุ่มเป้าหมาย ครั้งที่ 2 20 700.00 700.00
19 พ.ค. 66 ประชุมติดตามโครงการกลุ่มเป้าหมาย ครั้งที่ 3 30 1,050.00 1,050.00
30 มิ.ย. 66 ประชุมติดตามโครงการกลุ่มเป้าหมาย ครั้งที่ 4 30 1,050.00 1,050.00
5 ส.ค. 66 ประชุมติดตามโครงการกลุ่มเป้าหมาย ครั้งที่ 5 (ถอดบทเรียนและสรุปผลโครงการ) 30 6,295.00 6,295.00
5 กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 20 6,060.00 1 6,060.00
27 พ.ย. 65 ประชุมจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ 20 6,060.00 6,060.00
6 กลุ่มวิสาหกิจชุมชน (กลุ่มวิสาหกิจชุมชนอ่างกระทะ ตำบลฉลอง ) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 11 985.00 1 985.00
29 ม.ค. 66 ประชุมจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 11 985.00 985.00
7 กิจกรรมการอบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 80 17,680.00 3 17,680.00
23 เม.ย. 66 อบรมความรอบรู้ทางการเงินและสุขภาพ 20 4,500.00 4,500.00
12 พ.ค. 66 อบรมการจัดทำบัญชีครัวเรือน 30 5,700.00 5,700.00
20 มิ.ย. 66 อบรมให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงไก่ 30 7,480.00 7,480.00
8 เวทีสรุปผลการดำเนินงานและถอดบทเรียน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 2 5,320.00 1 5,320.00
15 - 16 ก.ค. 66 เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงาน 2 5,320.00 5,320.00
9 ถอนเงินเปิดบัญชี กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 500.00 1 500.00
28 ส.ค. 66 ถอนเงินปิดบัญชี 0 500.00 500.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

9.1 ผลลัพธ์ ด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
1. สมาชิกกลุ่มเป้าหมายมีความรับผิดชอบในหน้าที่การทำงานของตนเองมากขึ้น 2. สมาชิกกลุ่มเป้าหมายใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ 3. สมาชิกกลุ่มเป้าหมายมีวินัยในการจดบันทึกบัญชีครัวเรือนและมีการวางแผนในการใช้เงินมากขึ้น

9.2 ผลลัพธ์ ด้านการปรับเปลี่ยนเกิดกลไก กลุ่มเครือข่าย 1. เกิดการรวมกลุ่มสร้างผลผลิตทางการเกษตรและมีแหล่งในการจำหน่ายสินค้าของชุมชน โดยมีการเลี้ยงไก่และปลูกผัก จำนวน 30 ครัวเรือน
2. กลุ่มเป้าหมายในชุมชนได้รับความรู้ ทักษะ และเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการประกอบอาชีพเพิ่มมากขึ้นเป็นช่องทางในการเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน 3. ครัวเรือนเป้าหมายมีความรอบรู้ทางอาชีพการเกษตรที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ต่อยอดสร้างเป็นอาชีพในครัวเรือนได้ และมีการนำเอาผลิตผลที่เกิดจากการเลี้ยงไก่และปลูกผักมาจัดจำหน่าย หรือบริโภคในครัวเรือน โดยไก่ 1 กิโลกรัมมีราคา 180 บาท ไข่ไก่ ฟองละ 6-8 บาท ผักเหมียงมีราคา กิโลละ 100 บาท

9.3 ผลลัพธ์ ด้านการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม (สภาพแวดล้อมทางกายภาพและทางสังคม) 1.สมาชิกกลุ่มเป้าหมายหันมาใช้ปุ๋ยหมักจากมูลไก่ แทนปุ๋ยเคมี
2.สมาชิกกลุ่มเป้าหมายมีการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมการเตรียมความพร้อมในการเลี้ยงไก่ และปลูกผัก จัดเตรียมบริเวณพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม 3.สมาชิกกลุ่มเป้าหมายมีการลดขยะเปียกและเศษอาหารโดยนำเศษพืชผักมาเป็นอาหารเลี้ยงไก่
4.สมาชิกกลุ่มเป้าหมายหันมาทำน้ำหมักชีวภาพเพื่อใช้รดพืชผักสวนครัวแทนการใช้ปุ๋ยเคมี ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้

9.4 ผลลัพธ์ ด้านการเพิ่มรายได้ หรือ ลดรายจ่าย 1.สมาชิกกลุ่มเป้าหมายมีการวางแผนการทำบัญชีราย-รายจ่ายภายในครัวเรือน 2.สมาชิกกลุ่มเป้าหมายมีใช้เศษอาหาร เศษพืชผักมาเป็นอาหารเลี้ยงไก่ ลดค่าใช้จ่ายในการซื้ออาหารไก่
3.สมาชิกกลุ่มเป้าหมายทำน้ำหมักชีวภาพเพื่อใช้รดพืชผักสวนครัวแทนการใช้ปุ๋ยเคมี ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้

9.5 ผลลัพธ์ จากการนำความรอบรู้ด้านสุขภาพและการเงินไปใช้ 1.ด้านลดความเครียดทางการเงิน สมาชิกกลุ่มเป้าหมายสามารถรับมือและจัดการกับความเครียดทางการเงินที่เกิดขึ้นได้ เพื่อไม่ให้ความเครียดทางด้านการเงินกระทบกับเรื่องในชีวิตประจำวัน 2.ด้านภาระหนี้สิน สมาชิกกลุ่มเป้าหมายสามารถวางแผนจัดการภาะหนี้สินได้ เช่น การผ่อนบ้านระยะยาว 30 ปี แต่มีการวางแผนจัดทำบัญชีรายรับ รายจ่าย ในแต่ละเดือนทำให้รู้ว่าถึงความสามารถในการผ่อนบ้านไหวในราคากี่บาท 3.ด้านรายได้ สมาชิกกลุ่มเป้าหมายมีรายได้เพียงพอที่จะสามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุขและสามารถเข้าถึงปัจจัยพื้นฐานที่ดีได้ 4.มีเงินสำรอง สมาชิกกลุ่มเป้าหมายมีการวางแผนการเงินให้สามารถจัดการกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้และไม่กระทบกับรายได้หลัก เช่น ตกงานกระทันหัน หรือ เจ็บป่วยต้องเข้าโรงพยาบาล 5.ความรู้ในการวางแผนทางการเงิน สมาชิกกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ทางการเงินที่จะทำให้เราสามารถนำไปปฎิบัติและมุ่งสู่เป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรื่องบัญชีครัวเรือนที่ ขยายผลการจัดการด้านการเงินในครัวเรือนไปยังกลุ่มอื่นๆ

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.ย. 2022 07:57 น.