directions_run

โครงการส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารทะเลสู่การสร้างรายได้พัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนเกาะลิบง

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารทะเลสู่การสร้างรายได้พัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนเกาะลิบง
ภายใต้โครงการ โครงการการฟื้นฟูคุณภาพชีวิต และพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากแก่ผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะจังหวัดภาคใต้
ภายใต้องค์กร Node โควิค ภาคใต้
รหัสโครงการ 65-10018-08
วันที่อนุมัติ 7 กันยายน 2022
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2022 - 31 สิงหาคม 2023
งบประมาณ 80,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชุมชนเกาะลิบง
ผู้รับผิดชอบโครงการ รมิดา สารสิทธิ์
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0993879721
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ sarasitramida@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ ว่าที่ ร.ต. อรุณ หวังหมัด
พื้นที่ดำเนินการ ชุมชนเกาะลิบง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.227075,99.395283place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ย. 2022 28 ก.พ. 2023 1 ก.ย. 2022 28 ก.พ. 2023 50,000.00
2 1 มี.ค. 2023 30 มิ.ย. 2023 1 มี.ค. 2023 31 ส.ค. 2023 25,000.00
3 1 ก.ค. 2023 31 ส.ค. 2023 5,000.00
รวมงบประมาณ 80,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามที่กระทรวงสาธารณสุข ได้แจ้งสถานการณ์ทั่วโลกใน ทุกประเทศทั่วโลก พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อจนถึงปัจจุบัน จำนวนมาก เสียชีวิตนับล้านราย สำหรับประเทศไทยพบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อจำนวน นับแสนราย เสียชีวิตนับหมื่นคน ซึ่งจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตทั่วโลกและประเทศไทยมีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำเป็นต้องมีการดำเนินการให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับประชาชนใน เขตพื้นที่จังหวัดตรัง รวมถึงการสร้างความเข้าใจ การลดความตื่นตระหนก การลดข่าวที่ไม่เป็นจริงให้กับประชาชน จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งรวมถึงความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ ของทุกส่วนราชการและประชาชนทุกคนจำเป็นจะต้องดำเนินการอย่างมีขั้นตอน มีเป้าหมายในการดำเนินการตามมาตรการแก้ไขสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้ทันต่อเหตุการณ์ทันต่อช่วงเวลา เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)  ในประเทศไทยและจังหวัดตรังได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นอย่างสูง อันสืบเนื่องมาจากมาตรการต่างๆ ทั้งของรัฐบาลและของจังหวัดตรัง แม้ว่าปัจจุบันเมื่อเข้าสู่ช่วงของการผ่อนปรนเพื่อเตรียมการเข้าสู่ภาวะปกติ และการเข้าสู่ช่วงของการเปิดเมือง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีมาตรการที่แสดงให้เห็นว่าจังหวัดตรัง มีความปลอดภัยในการใช้ชีวิตของประชาชน สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติหรือแม้กระทั่งการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยว นั่นหมายถึงจะต้อง มีแผนงาน มีการดำเนินการเพื่อให้เกิดมาตรฐานความปลอดภัยอย่างแท้จริง มีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวและใช้จ่ายจากกลุ่มคนในประเทศที่สามารถทำให้เศรษฐกิจชุมชนสามารถขับเคลื่อนเพื่อเข้าสู่การดำเนินการเพื่อฟื้นฟูด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว รวมถึงกิจการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวให้สามารถดำเนินกิจการต่อได้ อย่างมีคุณภาพและเป้าหมาย นั่นคือการสร้างงานกิจกรรมเพื่อเป็นสื่อให้เกิดความสนใจในการท่องเที่ยว เกาะลิบงเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดตรัง ตั้งอยู่ในพื้นที่ ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง สำหรับพื้นที่ตำบลเกาะลิบงประกอบด้วยชุมชนจำนวน 8 หมู่บ้าน อยู่บนแผ่นดินใหญ่ 3 หมู่บ้าน ซึ่งได้แก่บ้านเจ้าไหม บ้านสุไหงปาตู และบ้านมดตะนอย โดยมีบ้านเกาะมุกด์ที่แยกเป็นอิสระเป็น 1 หมู่บ้าน อยู่บนเกาะมุกด์ ส่วนที่เหลือจำนวน 4 หมู่บ้าน ตั้งอยู่บนเกาะลิบง ได้แก่ บ้านโคกกระท้อน หมู่ที่ 1 บ้านบาตูปูเต๊ะ หมู่ที่ 4 บ้านหลังเขา หมู่ที่ 5 บ้านทรายแก้ว หมู่ที่ 7 เมื่อเอ่ยถึงเกาะลิบงก็จะเป็นที่รู้ดีของคนทั่วไป เนื่องจากเกาะลิบงมีเสน่ห์และสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรทั้งประเภททรัพยาการที่มีคุณค่า สร้างรายได้ให้กับชาวประมงพื้นบ้านมาอย่างยาวนาน เป็นแหล่งหญ้าทะเลที่สมบูรณ์มากที่สุดของประเทศไทย มีพยูนฝูงสุดท้ายที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย นอกจากสิ่งที่โดดเด่นมาแล้วนั้น เกาะลิบงยังคงเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ มีการบันทึกเรื่องราวนับ 200 ปี มีประชากรจำนวน 800 ครัวเรือน เป็นพื้นทีหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ โควิด-19 มีการย้ายถิ่นกลับมาจากประเทศมาเลเซีย และจังหวัดต่างๆก่อให้เกิดปัญหาหลายๆด้านตามมาสถานะความเป็นอยู่ก็ลำบากมากขึ้น จึงทำให้เกิดการรวมกลุ่มสตรีประมงพื้นบ้านโครงการส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารทะเล สู่การสร้างรายได้เพื่อเป็นการพัฒนาคุณชีวิตชุมชนเกาะลิบง ซึ่งเป็นโครงการหนึ่งที่ช่วยฟื้นฟูชีวิต ความเป็นอยู่ของชาวประมงพื้นบ้าน ด้วยการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ในตำบลเกาะลิบง รวมถึงหมู่บ้านใกล้เคียง ที่จะต้องร่วมกันพัฒนาความมั่นคงทางด้านอาหาร
นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนประมงพื้นบ้านเป็นต้นแบบเพื่อขยายผลไปยังพื้นที่จังหวัดอื่นๆที่มีพื้นที่ติดชายทะเล ทั้งนี้การพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารทะเลยังมีความสำคัญต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ และสร้างความมั่นคงด้านอาหารทะเลได้ในอนาคต

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.สามารถเพิ่มผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนของตำบลเกาะลิบง

1.เชิงปริมาณ สามารถเพิ่มผลิตภัณฑ์ชุมชน อย่างน้อย 1 ชิ้น 2.เชิงคุณภาพ กลุ่มตลาดชุมชนสามารถจำหน่ายสินค้าได้อย่างยั่งยืน

1.00
2 2.เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนเป้าหมาย ที่เป็นสมาชิกกลุ่ม ท่องเที่ยวชุมชน/กลุ่มเปราะบาง/ กลุ่มอนุรักษ์พยูน/ กลุ่มสตรีประมงพื้นบ้าน

2.ครัวเรือนเป้าหมายมีรายได้เพิ่มขึ้น จากการรวมกลุ่ม จากการพัฒนาอาชีพ

30.00
3 3.เพื่อให้ครัวเรือนเป้าหมายมีความรอบรู้ทางสุขภาพและการเงิน

3.ครัวเรือนเป้าหมายมีความรู้ทางสุขภาพและการเงิน และมีความรู้ด้านการออมทรัพย์และมีระบบการจัดสวัสดิการชุมชน

30.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 30
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
- กลุ่มกะปิ 5 -
- กลุ่มท่องเที่ยว 5 -
- กลุ่มสตรีประมงพื้นบ้าน 5 -
- กลุ่มอนุรักษ์ปลาพยูน 5 -
- กลุ่มเปราะบาง ไม่มีบัตร 5 -
- กลุ่มเลี้ยงปลา 5 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66
1 กิจกรรมร่วมกับหน่วยจัดการและสสส.(17 ก.ย. 2022-17 ก.ย. 2022) 10,000.00                        
2 กลุ่มประชุมคณะทำงาน(18 ก.ย. 2022-18 ก.ย. 2022) 5,300.00                        
3 ประชุมเชิงปฏิบัติการและฝึกอบรม(18 ก.ย. 2022-18 ก.ย. 2022) 83,100.00                        
รวม 98,400.00
1 กิจกรรมร่วมกับหน่วยจัดการและสสส. กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 10,000.00 6 15,070.00
11 ก.ย. 65 ถอนเงินจากธ.กรุงไทย สาขาโรบินสันตรัง 0 0.00 1,500.00
18 ก.ย. 65 ร่วมกับหน่วยจัดการ 0 10,000.00 5,270.00
5 - 6 พ.ย. 65 กิจกรรมอบรมความรอบรู้ทางสุขภาพ และการเงิน 0 0.00 3,030.00
23 พ.ย. 65 ถอนเงินทำกิจกรรมโครงการฯ จาก ธ.กรุงไทย 0 0.00 1,500.00
17 ธ.ค. 65 กิจกรรมทำไวนิลและตรายาง 0 0.00 500.00
11 - 12 ก.พ. 66 เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงาน 0 0.00 3,270.00
2 กลุ่มประชุมคณะทำงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 5,300.00 2 5,600.00
19 ต.ค. 65 กิจกรรมประชุมชี้แจงคณะทำงาน โดย นายอรุณ หวังหมัด 0 0.00 400.00
24 ต.ค. 65 เวทีชี้แจงโครงการ และจัดตั้งคณะทำงาน 30 5,300.00 5,200.00
3 ประชุมเชิงปฏิบัติการและฝึกอบรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 260 83,100.00 8 73,910.00
15 พ.ย. 65 การอบรมทักษะการเงิน บัญชีครัวเรือน สุขภาพสังคม 40 9,800.00 8,800.00
23 ธ.ค. 65 จัดทำเอกสาร พร้อมเข้าเล่ม คู่มือการทำบัญชีครัวเรือน 0 0.00 1,568.00
25 ธ.ค. 65 อบรมทักษะการเงิน บัญชีครัวเรือน สุขภาพสังคม 0 0.00 8,800.00
15 ก.พ. 66 การประชุมเชิงปฏิบัติการและฝึกอบรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารทะเล 40 18,400.00 18,400.00
15 ก.พ. 66 จัดอบรมทักษะการแปรรูปอาหารสดจากทะเลและการถนอมอาหารทะเล 40 12,390.00 12,432.00
25 ก.พ. 66 การประชุมเชิงปฏิบัติการและฝึกอบรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารทะเล 30 18,400.00 -
17 เม.ย. 66 การประชุมเชิงปฏิบัติการ และฝึกอบรมถ่ายภาพเพื่อโฆษณาสินค้า/ประชุมครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ 40 7,700.00 7,700.00
3 มิ.ย. 66 การจัดการเรียนรู้ชุมชน/ศึกษาดูงาน 20 7,710.00 7,710.00
20 ก.ค. 66 ประชุมถอดบทเรียน 50 8,700.00 8,500.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เกิดการขยายผลิตภัณฑ์ชุมชนที่สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง 2.ครัวเรือนเป้าหมายมีรายได้เพิ่มขึ้น จากการรวมกลุ่ม จากการพัฒนาอาชีพ 3.ครัวเรือนเป้าหมายมีความรู้ทางสุขภาพและการเงิน และมีความรู้ด้านการออมทรัพย์และมีระบบการจัดสวัสดิการชุมชน

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.ย. 2022 09:09 น.