directions_run

โครงการครอบครัวรอบรู้ส่งเสริมเด็กปฐมวัยด้านสุขภาพ บ้านควนปอม ตำบลท่าแค อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการครอบครัวรอบรู้ส่งเสริมเด็กปฐมวัยด้านสุขภาพ บ้านควนปอม ตำบลท่าแค อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ
วันที่อนุมัติ 16 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 กุมภาพันธ์ 2566 - 10 ธันวาคม 2566
งบประมาณ 56,300.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอสม. รพ.สต.บ้านปลวกร้อน
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสิริกานต์ ทิพย์เพ็ง
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 065-032-3271
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นายจำรัส รัตนอุบล
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าแค อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 16 ก.พ. 2566 15 มิ.ย. 2566 16 ก.พ. 2566 31 ส.ค. 2566 28,150.00
2 16 มิ.ย. 2566 15 ก.ย. 2566 1 ก.ย. 2566 19 ธ.ค. 2566 22,520.00
3 16 ก.ย. 2566 15 ต.ค. 2566 20 ธ.ค. 2566 20 ธ.ค. 2566 5,630.00
4 0.00
รวมงบประมาณ 56,300.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหา คือ บ้านควนปอม เด็กปฐมวัย จำนวน 128 คน มีปัญหาภาวะโภชนาการ มีน้ำหนักเกิน/อ้วน จำนวน 11 คน ร้อยละ 8.59 และน้ำหนักน้อย/ผอม จำนวน 5 คน ร้อยละ 0.79 จากการตรวจสุขภาพช่องปากและฟันเด็กปฐมวัย พบว่า      เด็กมีฟันผุ จำนวน 60 คน ร้อยละ 46.88 ในชุมชนพบว่ามีเด็กพัฒนาการล่าช้าที่ต้องส่งต่อรพ.พัทลุง ต้องช่วยเหลือ        จำนวน 2 คน ร้อยละ 1.56 และเด็กป่วยด้วยโรคมือเท้าปาก จำนวน 15 คน ร้อยละ 11.72 และว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดได้ จำนวน 10 คน ร้อยละ 7.81
ปัญหาด้านสุขภาพของเด็ก ได้แก่ ปัญหาภาวะโภชนาการ เนื่องจาก การบริโภคอาหารที่ไม่ได้สัดส่วนและปริมาณ ที่เหมาะสมตามวัย ขาดการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง มีตลาดนัดหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และพฤติกรรมการกินของเก  ไม่กินผักและผลไม้ ไม่ดื่มนมทุกวัน กินขนม เครื่องดื่มที่มีรสหวาน ขนมขบเคี้ยว ไม่กินอาหารเช้า ปัญหาสุขภาพช่องปากและฟัน เนื่องจาก เด็กไม่แปรงฟัน ชอบทานลูกอม ขนมหวาน ใช้ขวดนม และไม่ได้ดูแลช่องปากอย่างสม่ำเสมอ ปัญหาเด็กพัฒนาการล่าช้า เนื่องจาก เด็กอยู่กับตายาย ไม่ได้ส่งเสริมพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง พ่อแม่หรือผู้ดูแลทำทุกอย่างให้เด็กหมด ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กปฐมวัย ยังขาดการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้กับเด็กปฐมวัย ปัญหาเด็กป่วยด้วยโรคมือ      เท้าปาก เนื่องจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีเด็กปฐมวัยอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก จำนวน 128 คน ซึ่งพฤติกรรมเด็กที่อยู่ร่วมกันเป็นจำนวนมากในศูนย์เด็กเล็ก เด็กเล่นด้วยกัน การคลุกคลีใช้ของร่วมกัน ปัญหาความปลอดภัย เนื่องจาก การมีแหล่งน้ำใกล้ตัวเด็ก และอยู่ด้านข้างศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ยังไม่มีการฝึกว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดในเด็กปฐมวัย บ้านควนปอม ได้นำปัญหามาร่วมกันคิด ร่วมกันวิเคราะห์ และวางแผนหาแนวทางแก้ไข ระดมทุน ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนมาส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย แต่การดำเนินการที่ผ่านมา ครอบครัวยังมีความรอบรู้ทางสุขภาพน้อย ความสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพปฏิบัติตามคำแนะนำเกี่ยวกับสุขภาพได้อย่างถูกต้อง ยังมีน้อยและยังไม่ได้มีความชัดเจนมากนัก      การส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ป้องกันและควบคุมโรคฟันผุไม่ต่อเนื่อง ส่งผลให้พบเด็กมีฟันผุจำนวนมาก พฤติกรรมเด็กที่อยู่ร่วมกันเป็นจำนวนมากในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาล ส่งผลต่อการแพร่กระจายเชื้อโรค ได้ง่าย เช่น การเล่น          การคลุกคลีใช้ของร่วมกัน ทำให้ปนเปื้อนและแพร่กระจายเชื้อโรคติดต่อสู่กันได้ง่าย เด็กป่วยเป็นโรค การบริโภคอาหาร      ที่ไม่ได้สัดส่วนและปริมาณที่เหมาะสมตามวัย รวมไปถึงขาดการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง การบริโภคอาหารที่ไม่ได้สัดส่วนและปริมาณที่เหมาะสมตามวัย รวมไปถึงขาดการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบปัญหาภาวะโภชนาการ และวัยเด็กปฐมวัยส่งผลกระทบด้านสุขภาพและความปลอดภัยได้ ชมรมอสม. รพ.สต.บ้านปลวกร้อน ได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อครอบครัวบ้านควนปอมมีความรอบรู้ส่งเสริมเด็กปฐมวัยด้านสุขภาพ การดำเนินงานทำให้เกิดประโยชน์ต่อครอบครัวที่มีความรอบรู้ทางสุขภาพ ครอบคลุม 4 ด้าน (4 D) ครอบครัวจะสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพปฏิบัติตามคำแนะนำเกี่ยวกับสุขภาพได้ อย่างถูกต้องเข้าใจปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ สามารถประเมินความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูลด้านสุขภาพที่ได้รับจากสื่อต่างๆ มีความเข้าใจใน ระบบสุขภาพ สามารถซักถามหรือร้องขอข้อมูลทาง ด้านสุขภาพ รู้สึกมั่นใจและมีอำนาจในการตัดสินใจ เกี่ยวกับสุขภาพของเด็กปฐมวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ครอบครัวหรือผู้ดูแลเด็กจึงเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย ดังนั้นการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับครอบครัว เป็นการส่งเสริมให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง สามารถส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยด้วยวิธีการเหมาะสม ชมรมอสม. รพ.สต.บ้านปลวกร้อน เล็งเห็นความสำคัญในการป้องกันและลดปัญหาที่เกิดขึ้น ให้ครอบครัวรอบรู้ส่งเสริมเด็กปฐมวัยด้านสุขภาพ โดยขับเคลื่อนเป้าหมายของจุดเน้นความรอบรู้ทางสุขภาพเด็กปฐมวัย ครอบคลุม 4 ด้าน (4 D) ผลักดันให้เกิดแกนนำครอบครัวที่เข้าใจส่งเสริมเด็กปฐมวัยด้านสุขภาพ และออกแบบกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยได้ ส่งเสริมครอบครัวให้มีความรอบรู้ด้านสุขภาพและมีการขับเคลื่อนตามแผนที่กำหนดไว้ ส่งเสริมแกนนำครอบครัวให้มีความเข้มแข็ง เพื่อให้เด็กปฐมวัยด้านสุขภาพที่ดี และมีการส่งเสริมเด็กปฐมวัยด้านสุขภาพ ยั่งยืนต่อไป

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

ความรอบรู้ส่งเสริมเด็กปฐมวัยด้านสุขภาพ การดำเนินงานทำให้เกิดประโยชน์ต่อครอบครัวที่มีความรอบรู้ทางสุขภาพ ครอบคลุม 4 ด้าน (4 D) ครอบครัวจะสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพปฏิบัติตามคำแนะนำเกี่ยวกับสุขภาพได้ อย่างถูกต้องเข้าใจปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ สามารถประเมินความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูลด้านสุขภาพที่ได้รับจากสื่อต่างๆ มีความเข้าใจใน ระบบสุขภาพ สามารถซักถามหรือร้องขอข้อมูลทาง ด้านสุขภาพ รู้สึกมั่นใจและมีอำนาจในการตัดสินใจ เกี่ยวกับสุขภาพของเด็กปฐมวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เกิดแกนนำครอบครัวที่เข้าใจส่งเสริมเด็กปฐมวัยด้านสุขภาพ และออกแบบกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยได้
  • มีแกนนำครอบครัวที่มีโครงสร้างชัดเจน อย่างน้อย
    30 ครัวเรือน และมีความเข้าใจส่งเสริมเด็กปฐมวัย
    ด้านสุขภาพ และออกแบบกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ เด็กปฐมวัยที่เหมาะสม
  • มีข้อมูลสถานการณ์ปัญหาเด็กปฐมวัย (ภาวะโภชนาการ,  ฟันผุ, พัฒนาการเด็ก และว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด) ที่ครบถ้วนและมีรายงานสรุป
2.00
2 เพื่อให้ครอบครัวมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีความตระหนักในการส่งเสริมเด็กปฐมวัยด้านสุขภาพ และมีการขับเคลื่อนตามแผนที่กำหนดไว้
  • มีข้อตกลงร่วมของครอบครัวในการเข้าร่วมกิจกรรมตามแผนที่แกนนำครอบครัวออกแบบไว้
  • มีครอบครัวแกนนำ อย่างน้อยร้อยละ 80 ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องการส่งเสริมเด็กปฐมวัยด้านสุขภาพ
2.00
3 เพื่อให้แกนนำครอบครัวมีความเข้มแข็ง สามารถทำกิจกรรมได้ตามข้อตกลง และติดตามผลการดำเนินงานโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • มีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม อย่างน้อยร้อยละ 80
    ตามแผนที่กำหนด
  • มีข้อมูลภาวะสุขภาพเด็กปฐมวัยและมีการคืนข้อมูลแก่ครอบครัวเป็นประจำทุก 2 เดือน
2.00
4 เพื่อให้เด็กปฐมวัยมีพฤติกรรมที่ถูกต้อง เหมาะสมกับวัยเพิ่มขี้น
  • ครอบครัว ร้อยละ 80 ของสมาชิกครอบครัวทั้งหมดเข้าร่วมกิจกรรมตามแผนโครงการ
  • ร้อยละ 72 ของเด็กปฐมวัยสูงดีสมส่วน
  • ร้อยละ 90 ของเด็กปฐมวัยที่มีพัฒนาการสมวัย
  • ร้อยละ 50 ของเด็กปฐมวัยปราศจากฟันผุเพิ่มขึ้น
  • ร้อยละ 50 ของเด็กปฐมวัย ( เด็กชั้นอนุบาล 3 ) ว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดได้
5.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 งบดำเนินการร่วมกับโครงการร่วมทุน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 3 0.00 1 360.00
31 ต.ค. 66 ติดตามประเมินผลแบบมีส่วนร่วม(ARE) ครั้งที่2/2566 3 0.00 360.00
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 183 50,000.00 14 47,476.00
25 เม.ย. 66 ถอนคืนเงินเปิดบัญชี 0 0.00 500.00
27 เม.ย. 66 กิจกรรมที่1 จัดประขุมตัวแทนครอบครัว 0 2,800.00 2,800.00
11 พ.ค. 66 กิจกรรมที่ 5 ประชุมสมาชิกแกนนำครอบครัวทุก 2 เดือน ครั้งที่ 1 0 0.00 0.00
12 พ.ค. 66 กิจกรรมที่ 5 ประชุมสมาชิกแกนนำครอบครัวทุก 2 เดือน ครั้งที่ 1 0 4,500.00 0.00
1 มิ.ย. 66 กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้แกนนำครอบครัว 0 8,400.00 8,400.00
21 มิ.ย. 66 กิจกรรมที่3 เก็บข้อมูลสถานการณ์ปัญหาสุขภาพเด็กปฐมวัย 0 900.00 900.00
10 ก.ค. 66 - 17 ก.ย. 66 กิจกรรมที่4 เวทีเรียนรู้การออกแบบกิจกรรมส่งเสริมเด็กปฐมวัยด้านสขภาพ 0 900.00 900.00
25 ก.ค. 66 กิจกรรมที่ 5 ประชุมสมาชิกแกนนำครอบครัวทุก 2 เดือน ครั้งที่ 2 0 0.00 900.00
30 ก.ค. 66 กิจกรรมที่6 อบรมให้ความรอบรู้ด้านสุขภาพในครอบครัว ครั้งที่ 1 0 13,850.00 11,000.00
10 ส.ค. 66 กิจกรรมที่ 6 อบรมให้ความรอบรู้ด้านสุขภาพในครอบครัว ครั้งที่ 2 50 13,850.00 16,700.00
14 ส.ค. 66 กิจกรรมที่ 7 จัดเวทีคืนข้อมูลแผนครอบครัว 50 1,500.00 1,500.00
28 ก.ย. 66 กิจกรรมที่ 8 ประชุมประเมินผลลัพธ์การดำเนินงานและความเข้มแข็งของครอบครัว 30 1,800.00 1,800.00
10 พ.ย. 66 กิจกรรมที่ 9 แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันจากครอบครัวในชุมชนและสรุปบทเรียนการดำเนินการ 50 1,500.00 1,500.00
7 ธ.ค. 66 ประชุมถอดบทเรียนพื้นที่แต่ละโครงการ 3 0.00 576.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • ครอบครัว ร้อยละ 80 ของสมาชิกครอบครัวทั้งหมดเข้าร่วมกิจกรรมตามแผนโครงการ
  • ร้อยละ 72 ของเด็กปฐมวัยสูงดีสมส่วน
  • ร้อยละ 90 ของเด็กปฐมวัยที่มีพัฒนาการสมวัย
  • ร้อยละ 50 ของเด็กปฐมวัยปราศจากฟันผุเพิ่มขึ้น
  • ร้อยละ 50 ของเด็กปฐมวัย ( เด็กชั้นอนุบาล 3 ) ว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดได้
stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2566 21:58 น.