directions_run

อนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำทะเลอ่าวไทย ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ อนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำทะเลอ่าวไทย ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
ภายใต้โครงการ แผนงานร่วมทุนนับสนุนการสร้างสุขภาวะชุมชนประมงพื้นบ้านใน 5 จังหวัดชายฝั่งทะเล
ภายใต้องค์กร สมาคมรักษ์ทะเลไทย
รหัสโครงการ S-001
วันที่อนุมัติ 13 กรกฎาคม 2023
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 13 กรกฎาคม 2023 - 13 เมษายน 2024
งบประมาณ 80,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สมาคมส่งเสริมการตกปลาเชิงอนุรักษ์จังหวัดสงขลา
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวิชัย เยาว์ธานี
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0887904594
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ sudta_ekkathat@hotmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ นายจำรัส หวังมณีย์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.179402,100.594611place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ค. 2023 31 ต.ค. 2023 1 ก.ค. 2023 31 ต.ค. 2023 40,000.00
2 31 ต.ค. 2023 20 มี.ค. 2024 32,000.00
3 21 มี.ค. 2024 20 เม.ย. 2024 8,000.00
รวมงบประมาณ 80,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานปรับสภาพสิ่งแวดล้อม
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 สถานการณ์สัตว์น้ำทะเลอ่าวไทย ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ย้อนกลับไปประมาณ 50-60 ปี มีความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำมากกว่า 70 ชนิด ออกทำประมงห่างจากฝั่ง 1-3 กิโลเมตร (บริเวณเกาะ เกาะแมว) ใช้เครื่องมือขนาดตาอวนไม่จับสัตว์น้ำวัยอ่อน จำนวนอวน 1-3 ผื
16.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ซึ่งสถานการณ์สัตว์น้ำทะเลอ่าวไทย ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ย้อนกลับไปประมาณ 50-60 ปี มีความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำมากกว่า 70 ชนิด ออกทำประมงห่างจากฝั่ง 1-3 กิโลเมตร (บริเวณเกาะ เกาะแมว) ใรดำรงชีวิตอยู่ของมนุษย์ ประชาคมโลกได้ให้ความสำคัญของอาหาร ที่มีส่วนสำคัญส่งผลต่อการพัฒนานำไปสู่การมีสุขภาพดี คุณภาพชีวิตที่ดี โดยเฉพาะอาหารทะเล เป็นแหล่งโปรตีที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง
  ปัญหาการลดลงของทรัพยากรสัตว์น้ำลดลงอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง พื้นที่ทะเลอ่าวไทย ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา อดีตถึงปัจจุบัน ภายใต้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2504-2509) ที่รัฐบาลได้ส่งเสริมให้มีการเครื่องมือประมงอวนลาก ขนาดตาถี่ การใช้เครื่องมือจับสัตว์น้ำที่ทันสมัยมากขึ้น โดยที่ส่วนใหญ่เป็นสัตว์น้ำวัยอ่อนประมาณ 60-70 % ซึ่งส่วนใหญ่นำไปทำเป็นอาหารสัตว์ การทำประมงแบบมือใครยาวสาวได้สาวเอา พฤติกรรมกาใช้ รทำประมงขาดความรับผิดชอบ เกิดความขัดแย้งการทำประมงจับสัตว์น้ำพื้นที่อนุรักษ์ฟื้นฟูฯ ไม่เคารพกติกา ข้อบังคับทางกฎหมาย ส่งผลให้เกิดการทำลายระบบห่วงโซ่อาหารท้องทะเลไทย สัตว์น้ำวัยอ่อนถูกทำลายอย่างสิ้นเชิง สัตว์น้ำลดลงอย่างรวดเร็ว
ปัญหาความขัดแย้งกรณีการเข้าไปจับสัตว์น้ำในพื้นที่ซั้งกอ (บ้านปลา) ระหว่างนักตกปลา กับชาวประมง สาเหตุจากนักตกปลา ที่มีอยู่จำนวนมาก มาจากหลากหลายพื้นที่ เข้าไปตกปลาบริเวณซั้งกอของชาวประมง ซึ่งนักตกปลาคิดไปเองว่าซั้งกอในทะเล ใครๆก็เข้าไปจับสัตว์น้ำได้ แต่ความเป็นจริงซั้งกอเหล่านั้นที่ชาวประมงระดมทุน ลงมือทำกันเอง เป็นซั้งกอของบุคคลบ้าง เป็นของกลุ่มชาวประมงบ้าง (ซั้งกอมีเจ้าของ) ปัญหาดังกล่าวหากไม่ได้ให้ทั้งสองกลุ่มได้พูดคุยทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน และไม่มีกติกาการจับสัตว์น้ำแล้ว ปัญหาดังกล่าวก็ยังไม่หมดไป สมาคมส่งเสริมการตกปลาเชิงอนุรักษ์จังหวัดสงขลา ปัจจุบันมีสมาชิก จำนวน 30 คน ตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบจากการลดลงของสัตว์น้ำเป็นอย่างมาก ซึ่งเกิดผลกระทบโดยตรงต่อการดำรงชีวิต อาชีพรายได้ ของชาวประมง นักตกปลา และอันจะก่อให้เกิดส่งผลกระทบต่อความมั่นคงด้านอาหารในอนาคต สมาคมฯเห็นว่าการอนุรักษ์ฟื้นฟูสัตว์น้ำมาอย่างต่อเนื่อง ภาคีร่วมกับชาวประมง นักตกปลา องค์กรหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน โดยการทำซั้งกอ (บ้านปลา) ในพื้นที่นิเวศทะเลอ่าวไทย ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา การกำหนดแนวเขตอนุรักษ์ห่างจากฝั่งออกไป 5 - 6 กิโลเมตร บริเวณเกาะหนู เกาะแมว ตำแหน่งพิกัด เหนือ 14 ตะวันออก 36 สร้างความร่วมมือทำซั้งกอ อย่างต่อเนื่อง ตระหนักถึงการใช้ประโยชน์ร่วมกัน ร่วมกันกำหนดกติกา มีกลไกเฝ้าระวัง การจับสัตว์น้ำปฏิบัติตามกฎกติกาและการเข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูร่วมกัน ซึ่งสามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งการจับสัตว์น้ำในพื้นที่อนุรักษ์ของนักตกปลากับชาวประมงที่ผ่านมาได้กระบวนการทั้งหมดนี้จะเป็นจุดเริ่มสำคัญในการสร้างการมีส่วนร่วม เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรสัตว์น้ำ สามารถสร้างอาชีพ รายได้ ตลอดจนสามารถสร้างความมั่นคงด้านอาหารทะเลของคนทั้งประเทศ

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อเกิดกลไกคณะทำงานร่วมระหว่างสมาคมตกปลาเชิงอนุรักษ์กับชาวประมงในการอนุรักษ์ฟื้นฟูทะเลในพื้นที่ตำบลบ่อยาง 2.เพื่อให้เกิดการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการอนุรักษ์ฟื้นฟูสัตว์น้ำ 3. เพื่อให้ทะเลในพื้นที่ตำบลบ่อยางมีความอุดมสมบูรณ์ขึ้น 4.เพื่อหนุนเสริมให้มีการ บริหารจัดการโครงการ อย่างมีประสิทธิภาพ

เกิดกลไก คณะทำงาน การขับเคลื่อนการดำเนินโครงการ และที่ปรึกษา จำนวน 14 คน เกิดการอนุรักษ์ฟื้นฟูสัตว์น้ำ กิจกรรมวางซั้งกอ จำนวน 5 กอ พิกัด 14/36 38/40 ในทะเลอ่าวไทย ต.บ่อยาง จ.สงขลา
เกิดการเพิ่มขึ้นของสัตว์น้ำ จับสัตว์น้ำได้ มีรายได้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การจับควบคู่การอนุรักษ์ การทำประมงอย่างรับผิดชอบ บริโภคอาหารทะเลปลอดภัย สุขภาวะที่ดี
เกิดการดำเนินงาน ที่มีคณะทำงานส่วนของประชาชน และหน่วยงานเกี่ยวข้อง การดำเนินงานอย่างเป็นระบบ มีแผน วิธีการ เพื่อสำเร็จตามเป้าหมายร่วมกัน

stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 273 87,000.00 9 77,200.00
13 ก.ค. 66 ปฐมนิเทศแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะชุมชนประมงพื้นบ้าน 80 5,000.00 600.00
31 ก.ค. 66 - 13 เม.ย. 67 รายงานระบบออนไลน์ 2 1,000.00 -
15 - 17 ส.ค. 66 จัดทำป้ายโลโก้ สสส. ลดละเลิก เหล้า บุหรี่ 40 1,000.00 1,000.00
19 ส.ค. 66 ประชุมทำความเข้าใจที่มาและวัตถุประสงค์โครงการฯ 40 12,600.00 12,600.00
1 ก.ย. 66 ประชุมคณะทำงานฯ 20 7,100.00 7,100.00
19 ก.ย. 66 ประชุมคณะทำงานร่วมกับหน่วยงานกำหนดกติกาการอนุรักษ์ฟื้นฟูฯ(วางซั้งกอ) 21 8,900.00 8,900.00
28 พ.ย. 66 เวทีประชุมสรุปผลการดำเนินงานเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) 0 0.00 2,900.00
29 ม.ค. 67 ประชุมสรุปติดตามการดำเนินงานและการเรียนรู้ (ARE)ร่วมกับสมาคมรักษ์ทะเลไทยและสสส. 0 0.00 1,000.00
9 เม.ย. 67 ปฏิบัติการวางซั้งกอ 30 35,500.00 35,500.00
11 - 24 เม.ย. 67 ลงพื้นที่ติดตามการปฏิบัติตามกติกาและการเก็บข้อมูลสัตว์น้ำฯ 10 7,600.00 7,600.00
30 เม.ย. 67 สรุปผลการดำเนินโครงการ 30 8,300.00 -

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เกิดคณะทำงานจำนวน 10 คน คณะทำงานมีองค์ประกอบมาทั้งจากสมาคม ชาวประมง และภาคีในพื้นที่ มีแผนการทำงานที่ชัดเจน 2เกิดซั้งกอ จำนวน 5 กอ พื้นที่อนุรักษ์ฟื้นฟูสัตว์น้ำทะเลอ่าวไทยตำบลบ่อยาง 3.สัตว์น้ำจากการอนุรักษ์ฟื้นฟู รายได้ดีขึ้น 4.ผู้่ร่วมดำเนินโครงการเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดละเลิกแอลกอฮอร์ และบริโภคอาหารที่ปลอดภัย เพื่อเกิดสุขภาวะที่ดี .

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2023 09:10 น.