directions_run

การจัดการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลด้วยกลไกชุมชนบ้านแหลมคูลา

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ การจัดการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลด้วยกลไกชุมชนบ้านแหลมคูลา
ภายใต้โครงการ แผนงานร่วมทุนนับสนุนการสร้างสุขภาวะชุมชนประมงพื้นบ้านใน 5 จังหวัดชายฝั่งทะเล
ภายใต้องค์กร สมาคมรักษ์ทะเลไทย
รหัสโครงการ S-027/2566
วันที่อนุมัติ 13 มีนาคม 2023
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2023 - 31 มีนาคม 2024
งบประมาณ 80,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มฟื้นฟูทะเลสาบสงขลาและอนุรักษ์โลมาอิระวดี
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประจวบ สุขทอง
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 084 8567341
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ -
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวเจตวรรณ กรูตรนิยม
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2023 31 ต.ค. 2023 1 มิ.ย. 2023 31 ต.ค. 2023 40,000.00
2 1 พ.ย. 2023 31 มี.ค. 2024 40,000.00
รวมงบประมาณ 80,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานปรับสภาพสิ่งแวดล้อม
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ชุมชนบ้านแหลมคูลา ตำบลเกาะใหญ่ อำเภอกระแสสินธุ์ ตั้งอยู่ในพื้นที่ทะเลสาบสงขลาตอนบน มีประชากร 115 ครัวเรือน และมีการทำประมงควบคู่อับอาชีพอื่นประมาณ 50% อาชีพหลักของคนในพื้นที่ คือเกษตร (ทำสวน เช่น สวนยาง) และการประมง ส่วนอาชีพเสริม คือ เลี้ยงปลาและเลี้ยงสัตว์ มีเรือประมงจำนวน 50 ลำ ขึ้นทะเบียนกับกรมประมงเป็นที่เรียบร้อย เครื่องมือประมงประกอบด้วย แห ไซ อวน จำนวนอวนที่มีประจำเรือแต่ละลำกจะแตกต่างกันไป โดยเฉลี่ยจะมีอวนประมาณ 10 หัวต่อเรือหนึ่งลำ รายได้ของชาวประมงมีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดและจำนวนเครื่องมือประมงที่ใช้ เช่น พี่พจน์จะมีรายได้ประมาณ 40,000 บาทต่อเดือน น้าดำมีรายได้ประมาณเดือนละ 28,000 บาท โดยทั่วไปเฉลี่ยวันละประมาณ 500 บาท ทั้งนี้ รายได้จะขึ้นอยู่กับช่วงฤดูกาลอีกด้วย สัตว์น้ำตามฤดูกาลจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ระหว่างเดือนตุลาคม- พฤศจิกายนเป็นช่วงที่มีกุ้งก้ามกรามชุกชุม เดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์จะมีกุ้งหัวมันชุกชุม ส่วนปลาจะมีตลอดทั้งปี ส่วนใหญ่จะเป็นปลานิลและปลากดหัวโม่งเป็นปลาชนิดเด่น ปลาที่หามาได้ จะมีแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ บริโภคในครัวเรือนและขายสด อัตราส่วนที่ใช้บริโภคในครัวเรือนประมาณ 5% ชุมชนได้มีการประชุมร่วมกันเพื่อดำเนินการวางแผนงาน ปี 2561 แกนนำชุมชนได้มีการร่วมกลุ่มแกนนำในการดำเนินการจัดทำแนวเขตอนุรักษ์ปลาวางไข่บริเวณหน้าบ้านชายฝั่งทะเลสาบโดยชุมชนได้ร่วมกันทำซั้งบ้านปลา ลักษณะกิจกรรมมีการกำหนดพื้นที่จากฝั่งออกไปในทะเล 200เมตร ความยาว 1,000เมตร ภายในเขตมีการทำซั้งบ้านปลาโดยใช้วัสดุธรรมชาติปักเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านเท่าขนาด 4x4เมตร ทำเสาด้วยท่อ PVCและนำทางมะพร้าว ทางปาล์มน้ำมันปักในคอกสี่เหลี่ยม จำนวน 20-25คอก ทำอย่างต่อเนื่องในทุกๆปีพร้อมทั้งมีการกำหนดกฏกติกาเป็นข้อตกลงร่วมของชุมชนเพื่อไม่ให้คนในชุมชนใช้เครื่องมือจับปลาภายในเขตที่ร่วมกันกำหนด นอกจากนั้นทางสมาชิกกลุ่มได้มีการเข้าร่วมพัฒนาศักยภาพและสร้างเครือข่ายกับชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ เช่น ประมงอำเภอ สำนักงานทรัพยาการและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยทักษิณ เป็นต้น ได้มีการจัดทำโรงเพาะฟักกุ้งก้ามกรามขึ้น ขนาด 6x8 เมตร โดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีทักษะและความเชี่ยวชาญที่ได้รับการพัฒนาและเสียสละในการรับผิดชอบดูแลสามารถที่จะเพาะฟักกุ้งตัวอ่อนโดยการรับซื้อแม่พันธุ์จากชาวประมงในชุมชนและเมื่อแม่กุ้งสลัดไข่แล้วก็นำแม่กุ้งจำหน่ายเป็นรายได้ของกลุ่มได้และกุ้งตัวอน่อนก็ปล่อยลงสู่ทะเลสาบได้อย่างต่อเนื่องและปัจจุบันพบว่ามีหน่วยงานและชุมชนติดต่อเข้าเพื่อขอรับพันธุ์กุ้งตัวอ่อนนำไปปล่อยแต่ทางกลุ่มยังผลิตได้ไม่เพียงพอด้วยมีข้อจำกัดเกี่ยวกับปริมาณบ่อที่น้อย โดยเฉพาะปี 2565 ประสบกับแม่พันธุ์กุ้งมีจำนวนมากทำให้ไม่สามารถนำมาเพาะได้หมด



ภาพ การทำบ้านปลาของชุมชนบ้านแหลมคูลา ต.เกาะใหญ่ อ.กระแสสินธ์ จ.สงขลา
ภาพ การประเมินผลการทำบ้านปลาและเขตอนุรักษ์ของชุมชนบ้านแหลมคูลา ต.เกาะใหญ่ อ.กระแสสินธ์ จ.สงขลา ผลการดำเนินการจัดทำอนุรักษ์ ฟื้นฟูทะเลสาบจากปี 2561 ถึงปัจจุบันจากการเก็บข้อมูลการจับสัตว์น้ำและสัมภาษณ์คนทำประมงเบื้องต้นพบว่าปริมาณสัตว์น้ำเพิ่มน้ำเมื่อเปรียบเทียบจากปี 2561 กับปี 2565 1)การเดินทางด้วยเรือจากเดิมจะไปหาในพื้นที่ไกลถึงตำบลลำปำ จังหวัดพัทลุง ใช้น้ำมัน 2-3ลิตร แต่ปัจจุบันไม่ต้องเดินทางไปไกล น้ำมันใช้เพียง 1-2ลิตร 2) ปริมาณสัตว์ที่สร้างรายได้ มีการเปลี่ยนแปลงของรายได้ รายได้ก่อนจะมีการกิจกรราการอนุรักษ์ ประมาณ 200-300 บาท ปัจจุบันรายได้เพิ่มขึ้น กลุ่มที่มีรายได้น้อยสุด เป็นกลุ่มผู้สูงอายุหรือไม่ใช้เรือในการทำประมง จะมีรายได้ประมาณ 200 บาท กลุ่มทีมีรายได้ปานกลาง ประมาณ 800-1000 บาท และกลุ่มที่มีรายได้สูง มีรายได้ประมาณ 1000-5000 บาท ทั้งนี้ รายๆก็จะขึ้นอยู่กับเครื่องมือประมง ระยะเวลาที่ทำการประมงและฤดูกาล3)จำนวนผู้หาสัตว์น้ำในทะเลเดิม จำนวน 10ราย ปัจจุบัน จำนวน 46 ลำ ด้วยปริมาณสัตว์น้ำที่เพิ่มขึ้นทำให้ชุมชนกลับมาทำการประมงเพิ่มขึ้นทั้งเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม
แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้ปริมาณสัตว์น้ำจะเพิ่มขึ้นจากสภาพสถานการณ์อดีตถึงปัจจุบันทางกลุ่มก็ยังประสบปัญหาเกี่ยวกับการคุกคามการหาโดยเฉพาะคนนอกชุมชนที่ใช้วิธีการและเครื่องมือหาปลาที่ผิดวิธี เช่นการเคาะให้เกิดเสียงในน้ำตอนหาปลาเพื่อให้ปลาในเขตอนุรักษ์หนีออกนอกเขต การใช้ไซหนอน เป็นต้น อีกประเด็นปัญหาการทำบ่อฟักกุ้งก้ามกรามพบว่าในบางปีบางช่วงโดยเฉพาะปี 2565 พบว่าปริมาณบ่อเพาะฟักที่มีไม่เพียงพอ ทำให้สูญเสียปริมาณตัวอ่อน เมื่อปล่อยตัวอ่อนสัตว์น้ำแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำพบว่ามีเฉพาะชายฝั่งในบางจุด และซั้งบ้านปลาซึ่งพบว่าการรอดของสัตว์น้ำบางส่วนสูญเสียด้วยแหล่งที่อาศัยไม่เพียงพอ นอกจากนั้นการจัดการของกลุ่มจำเป็นจะต้องมีเงินทุนหมุนเวียนในการจัดฟื้นฟู ซึ่งบางส่วนได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงาน การจำหน่ายแม่พันธุ์กุ้ง และเงินของหมู่บ้านที่จัดสรรปันส่วนไว้เพื่อการอนุรักษ์แต่ยังขาดการจัดการอย่างเป็นระบบและวางรูปแบบถึงการจัดการสนับสนุนให้กับคนที่เสียสละในการเลี้ยงหรือตัวแทนกลุ่มที่เสียสละในการเข้าร่วมประชุมหรืออบรมต่างๆ ดังนั้นเพื่อความยั่งยืนจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาสร้างจัดการกองทุนการอนุรักษ์อย่างมีรูปแบบกลไกอย่างเป็นระบบโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการนี้ทางกลุ่มและชุมชนจึงได้มีแนวคิดในการพัฒนาการจัดการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลชายฝั่ง 1)การเพิ่มจำนวนซั้งบ้านปลา จำนวน 20 คอกเพื่อให้สัตว์น้ำได้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและวางไข่เพิ่มมากขึ้น 2) กลุ่มจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องการเพิ่มปริมาณบ่อเพาะฟัก เพื่อให้เพียงพอกับปริมาณแม่พันธุ์กุ้งก้ามกรามและนอกจากนี้ด้วยแหล่งเพาะฟักของกลุ่มยังเป็นจุดเพาะที่พื้นที่เครือข่ายต่างๆรับตัวอ่อนกุ้งนำไปปล่อยสู่ทะเลสาบสงขลาเพื่อช่วยกันฟื้นฟู อนุรักษ์ และเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำอย่างต่อเนื่อง 3)การสร้างแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำในธรรมชาติโดยการปลูกพืชน้ำริมชายฝั่ง 4)การร่วมพัฒนาระบบกลไกกองทุนหมุนในการจัดการอนุรักษ์ของชุมชน

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้เกิดกลไกการมีส่วนร่วมการขับเคลื่อนงานที่มีความเข้มแข็งในการจัดการทรัพยากรทางทะเลของชุมชน

1.1 มีคณะทำงานอย่างน้อยจำนวน 15 คนมีซึ่งมีบทบาทการทำงานชัดเจนและมีศักยภาพ สามารถขับเคลื่อนงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1.2 มีแผนการดำเนินงานการจัดการทรัพยากรทางทะเลที่สอดคล้องกับโครงการ 1.3 มีข้อมูลทรัพยากร ข้อมูลอาชีพ  รายได้ความเป็นอยู่ วิถีชิวิตของชุมชน

2 2.เพื่อการจัดการทรัพยากรทางทะเลในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูการทำบ้านปลาในเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

2.1มีเขตอนุรักษ์สัตว์น้ำอย่างน้อย1แห่ง จำนวน 116 ไร่ 2.2มีกติกาการจัดการทรัพยากรทะเลของชุมชน 2.3มีบ้านปลาอย่างน้อย  7 คอก 2.4มีข้อมูลปริมาณและชนิดพันธุ์สัตว์น้ำก่อนและหลังการจัดการทำบ้านปลา 2.5เกิดประมงอาสาดูแลเขตฯมีความรู้การดูแลรักษาทรัพยากรทะเลของชุมชน อย่างน้อย 15 คน

3 3.เพื่อพัฒนาเพิ่มบ่อเพาะฟักลูกกุ้งและศักยภาพในการดูแลเพาะฟักพันธุ์กุ้ง

3.1 แกนนำชุมชนมีความรู้ ทักษะในการปฏิบัติการบ่อเพาะฟักลูกกุ้งชุมชนบ้านแหลมคูลา อย่างน้อย 15 คน 3.2 เกิดการเพิ่มบ่อเพาะฟักลูกกุ้ง  จำนวน 2 ลูกที่เหมาะสมในการเพาะฟัก 3.3 เกิดต้นแบบการจัดการธนาคารกุ้งของชุมชน

4 4.เพื่อหนุนเสริมให้มีการ บริหารจัดการโครงการ อย่างมีประสิทธิภาพ

4.1. โครงการย่อยสามารถทำงานได้ตามที่กำหนดไว้ในแผน 4.2.โครงการย่อยสามารถ รายงานผลในระบบ ออนไลน์ได้ถูกต้อง ครบถ้วน 4.3โครงการย่อยสามารถ เดินทางร่วมกิจกรรมที่ทาง คณะบริหารแผนงานกำหนด

stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 80
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายหลัก ชาวประมงในชุมชนบ้านแหลมคูลา 80 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66ต.ค. 66พ.ย. 66ธ.ค. 66ม.ค. 67ก.พ. 67มี.ค. 67
1 วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เพื่อให้เกิดกลไกการมีส่วนร่วมการขับเคลื่อนงานที่มีประสิทธิภาพในการเคลื่อนงานการดูแลทรัพยากรทางทะเลของชุมชน(1 มิ.ย. 2023-31 ต.ค. 2023) 13,000.00                    
2 วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 เพื่อการจัดการทรัพยากรทางทะเลในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูการทำบ้านปลาในเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน(1 มิ.ย. 2023-30 ต.ค. 2023) 34,150.00                    
3 วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 เพื่อพัฒนาเพิ่มบ่อเพาะฟักลูกกุ้งและศักยภาพในการดูแลเพาะฟักพันธุ์กุ้ง(1 มิ.ย. 2023-30 พ.ย. 2023) 25,850.00                    
4 วัตถุประสงค์ที่ 4 เพื่อหนุนเสริมให้มีการบริหารจัดการโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ(1 มิ.ย. 2023-31 มี.ค. 2024) 7,000.00                    
รวม 80,000.00
1 วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เพื่อให้เกิดกลไกการมีส่วนร่วมการขับเคลื่อนงานที่มีประสิทธิภาพในการเคลื่อนงานการดูแลทรัพยากรทางทะเลของชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 165 13,000.00 11 13,000.00
6 มิ.ย. 66 กิจกรรมที่ 1.1 เวทีประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 1 15 650.00 650.00
18 ก.ค. 66 กิจกรรมที่ 1.2 เวทีประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2 15 650.00 650.00
6 ส.ค. 66 กิจกรรมที่ 1.3 เวทีประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3 15 650.00 650.00
19 ส.ค. 66 กิจกรรมที่ 2 จัดเก็บข้อมูลทรัพยากรทางทะเล 15 6,500.00 6,500.00
6 ก.ย. 66 กิจกรรมที่ 1.4 เวทีประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 4 15 650.00 650.00
25 ต.ค. 66 กิจกรรมที่ 1.5 เวทีประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 5 15 650.00 650.00
6 พ.ย. 66 กิจกรรมที่ 1.6 เวทีประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 6 15 650.00 650.00
6 ธ.ค. 66 กิจกรรมที่ 1.7 เวทีประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 7 15 650.00 650.00
6 ม.ค. 67 กิจกรรมที่ 1.9 เวทีประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 9 15 650.00 650.00
6 ก.พ. 67 กิจกรรมที่ 1.8 เวทีประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 8 15 650.00 650.00
6 มี.ค. 67 กิจกรรมที่ 1.10 เวทีประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 10 15 650.00 650.00
2 วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 เพื่อการจัดการทรัพยากรทางทะเลในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูการทำบ้านปลาในเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 15 34,150.00 4 28,150.00
9 ก.ย. 66 กิจกรรมที่ 3 การจัดการทำเขตอนุรักษ์สัตว์น้ำของชุมชน 15 3,950.00 3,950.00
30 ต.ค. 66 กิจกรรมที่ 4 เวทีทบทวนและปรับปรุงกติกา 0 4,600.00 4,600.00
7 พ.ย. 66 - 6 เม.ย. 67 กิจกรรมที่ 5 จัดทำบ้านปลา 0 16,700.00 16,700.00
8 พ.ย. 66 - 31 ธ.ค. 66 กิจกรรมที่ 6 การสำรวจและเก็บตัวอย่างสัตว์น้ำก่อน-หลัง การทำบ้านปลา 0 6,000.00 -
8 พ.ย. 66 - 31 ม.ค. 67 กิจกรรมที่ 7 การร่วมกำหนดกลไกการเฝ้าระวังและติดตามประเมินผลของประมงอาสา 0 2,900.00 2,900.00
3 วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 เพื่อพัฒนาเพิ่มบ่อเพาะฟักลูกกุ้งและศักยภาพในการดูแลเพาะฟักพันธุ์กุ้ง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 25,850.00 2 23,050.00
19 ส.ค. 66 กิจกรรมที่ 9 การดำเนินการพัฒนาเพิ่มถังและวัสดุอุปกรณ์เพาะฟักลูกกุ้ง จำนวน 2 ลูกที่เหมาะสมในการเพาะฟักลูกกุ้ง 15 14,450.00 14,450.00
16 ต.ค. 66 กิจกรรมที่ 8 การศึกษาดูงานเพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการและประมงอาสาในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและทักษะการปฏิบัติการถังเพาะฟักลูกกุ้ง 15 8,600.00 8,600.00
8 พ.ย. 66 - 31 มี.ค. 67 กิจกรรมที่ 10 เวทีคืนข้อมูลปิดโครงการ 0 2,800.00 -
4 วัตถุประสงค์ที่ 4 เพื่อหนุนเสริมให้มีการบริหารจัดการโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 7,000.00 3 632.00
1 มิ.ย. 66 - 31 มี.ค. 67 กิจกรรมที่ 11 การเข้าร่วมกิจกรรม สสส. กิจกรรมบริหารจัดการโครงการ 0 2,050.00 -
13 ก.ค. 66 กิจกรรมที่ 11 การเข้าร่วมกิจกรรม สสส. กิจกรรมบริหารจัดการโครงการ ครั้งที่ 1 0 1,650.00 632.00
28 พ.ย. 66 กิจกรรมที่ 11 การเข้าร่วมกิจกรรม สสส. กิจกรรมบริหารจัดการโครงการ ครั้งที่ 2 ARE 0 1,650.00 0.00
1 ธ.ค. 66 - 31 มี.ค. 67 กิจกรรมที่ 11 การเข้าร่วมกิจกรรม สสส. กิจกรรมบริหารจัดการโครงการ ครั้งที่ 3 0 1,650.00 0.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลไกการมีส่วนร่วมการขับเคลื่อนงานที่มีความเข้มแข็ง 2.ความรู้และความตระหนักร่วมกันในการดูแลรักษาทรัพยากรทะเล 3.การปรับสภาพแวดล้อมชุมชนที่เอื้อต่อการดูแลรักษาทรัพยากรทางทะเลของชุมชน 4.ทะเลมีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้น

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2023 09:14 น.