directions_run

ฟื้นเลด้วยเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำคืนวิถีชุมชนปากประ

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ฟื้นเลด้วยเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำคืนวิถีชุมชนปากประ
ภายใต้โครงการ แผนงานร่วมทุนนับสนุนการสร้างสุขภาวะชุมชนประมงพื้นบ้านใน 5 จังหวัดชายฝั่งทะเล
ภายใต้องค์กร สมาคมรักษ์ทะเลไทย
รหัสโครงการ 021/2566
วันที่อนุมัติ 13 กรกฎาคม 2023
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2023 - 30 เมษายน 2024
งบประมาณ 80,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สมาคมรักษ์ทะเลไทย
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสายัณ รักดำ
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0819906793
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ sayannan3@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวจุฑาธิป ชูสง
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ค. 2023 31 ต.ค. 2023 1 ก.ค. 2023 31 ต.ค. 2023 40,000.00
2 31 ต.ค. 2023 20 มี.ค. 2024 32,000.00
3 21 มี.ค. 2024 20 เม.ย. 2024 8,000.00
รวมงบประมาณ 80,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานปรับสภาพสิ่งแวดล้อม
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ข้อมูลพื้นฐาน     บ้านปากประ หมู่ที่ 8 ตำบลลำปำ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง  เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของปากน้ำคลองปากประ มีอาณาเขตทิศเหนือจดบ้านชายคลอง ม.11 ต.ลำปำ ทิศตะวันออกจดทะเลหลวง ทิศตะวันตก จด ม.2 บ้านอ้ายน้อย ต.ชัยบุรี ทิศใต้จด บ้านเตาปูน ม.3 ต.ลำปำ อ.เมือง จ.พัทลุง เนื้อที่ส่วนใหญ่เป็นป่าพรุ สลับกับบ้านเรือนตามถนนสายลำปำ-ทะเลน้อย มีประชากรรวม 1066 คน แบ่งเป็นเพศหญิง จำนวน 559 คน เพศชายจำนวน 507 คน มีครัวเรือนรวม 374 ครัวเรือน นับถือศาสนาพุทธ มีประเพณีความเชื่อในวิถีคนใต้ เช่นทวดตาขุนดำ สารทเดือนสิบ ชักพระทางเรือฯ การประกอบอาชีพ เป็นเกษตรกรจำนวน 150 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 8.56 ประมงจำนวน 69 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 18.45 รับจ้าง 75 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 20.05 และประกอบอาชีพค้าขาย 32 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 8.56 โดยอาชีพเกษตรกรส่วนใหญ่จะเป็นการปลูกปาล์มน้ำมัน ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 450 ไร่ และอาชีพประมงชายฝั่ง อาชีพเสริมจะเป็นอาชีพประกอบการท่องเที่ยว มีผู้ประกอบการเรือนำเที่ยว 1 ลำ และ มีจุดชมวิวยอยักษ์ มีจุดชมวิวต้นลำพู แหล่งนาริมเล และแหล่งท่องเที่ยวรอบทะเลน้อย ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญและมีชื่อเสียงในลำดับต้นๆของจังหวัดพัทลุง มีผู้ประกอบการที่พัก โรงแรม และรีสอร์ท ที่เป็นของเอกชนหลายแห่งด้านทิศเหนือ และมีธุรกิจโฮมสเตย์ ที่เป็นของคนในท้องถิ่นกระจายตัวกันอยู่ในหม่บ้าน เป็นแหล่งที่มาของรายได้สำคัญของคนในชุมชน     อาชีพประมง มีจำนวน 69 ครัวเรือน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 18.45 ของอาชีพในชุมชน มีเรือหางยาวทำประมงจำนวน 75 ลำ  ใช้วิธีวางกัด(ตาข่าย/อวน) ยอยัก ยอลูกเบร่ ไซ ไซราว แห ทำซั้งกุ้งแม่น้ำ เบ็ดราว  มีสัตว์น้ำที่จับได้ตลอดปี และจะมีมากเป็นพิเศษในช่วงน้ำหลาก (ตุลาคม-มกราคมของทุกปี) ได้แก่ กุ้งแม่น้ำ(กุ้งก้ามกราม/แม่กุ้ง) ปลาแหยง ปลาลูกเบร่ ปลาหัวโหม้ง ปลานิล ปลามิหลัง ปลากด ปลาตะเพียน ปลาดุก ปลาช่อน ปลาชะโด ปลาหมอ ปลาลูกขาว ปลาสวาย ปลาบึก ปลากะพง  โดยเฉพาะปลาลูกเบร่และปลาบึก (ซึ่งเป็นปลาต่างถิ่นที่นำมาปล่อยให้อาศัยอยู่ในเลสาบฯ  แหล่งที่มีการพบโลมาอิรวดี  ซึ่งนับว่าพื้นที่นี้มีความพิเศษที่ไม่เหมือนปากน้ำอื่นรอบทะเลสาบนี้ สัตว์น้ำที่จับได้ส่วนใหญ่นอกเหนือจากใช้บริโภคในครัวเรือนแล้ว ส่วนที่เหลือจะขายในชุมชนหรือขายส่งแก่ผู้ประกอบการร้านอาหารหรือโรงแรม/รีสอร์ท ในพื้นที่ ถือเป็นเมนูอาหารประจำถิ่นที่เป็นที่นิยมและมีชื่อเสียงของถิ่นนี้ การทำนาริมเล โดยการทำนาข้าวในทะเลถือเป็นแห่งเดียวในประเทศไทย และหนึ่งปีจะทำได้เพียงครั้งเดียวที่สำคัญไม่ต้องใส่ปุ๋ย เนื่องจากมีแร่ธาตุอาหารที่สมบูรณ์ให้กับต้นข้าวเจริญเติบโตงอกงามและได้เมล็ดข้าวที่สมบูรณ์เช่นกัน จังหวัดพัทลุง บริเวณแปลงนาริมเลโรงเรียนวัดปากประ หมูที่ 8 ตำบลลำปำ อำเภอเมือง ริมทะเลสาบสงขลาฝั่งจังหวัดพัทลุง จัดกิจกรรมลงแขกดำนา ทำนาริมทะเล เป็นกิจกรรมต่อเนื่องจากการดำเนินโครงการส่งเสริมภูมิปัญญาทำนาริมทะเลเพื่อการท่องเที่ยวและการอนุรักษ์วิถีภูมิปัญญาที่สืบต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ โดยนำนักเรียน และประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรม ร่วมกันลงแขกปักดำต้นข้าว ทำนาริมทะเลกันในวันนี้ซึ่งถือว่าเป็นวันแรกของการเริ่มฤดูกาลทำนาข้าวริมทะเลสาบในปีนี้ และการนำนักเรียนเรียนรู้ประสบการณ์จริงจะได้ถึงภูมิปัญญาทำนาริมทะเล จะช่วยสร้างจิตสำนึกรักษ์ถิ่น พร้อมเป็นการสร้างความสมดุลของระบบนิเวศริมทะเลสาบสงขลาในการทำนาริมทะเลที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นที่บรรพบุรุษได้สร้างไว้ และเป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนทำนาริมทะเลรวมทั้งเป็นการอนุรักษ์สิ่งดีงามที่ทรงคุณค่าสู่คนรุ่นหลังอย่างภาคภูมิและยั่งยืน สำหรับวิถีทำนาในทะเลสาบหนึ่งเดียวของประเทศไทย โดยชาวประมงริมทะเลสาบสงขลาฝั่งจังหวัดพัทลุง ส่วนใหญ่มีอาชีพหลัก คือการออกเรือหาปลา เนื่องจากบ้านเรือนตั้งอยู่ริมทะเลสาบสงขลา คิดค้นหาวิธีการเพาะปลูกพืชในทะเลสาบ หรือริมฝั่งริมทะเลสาบ เพื่อให้มีผลผลิตเลี้ยงครอบครัว มาตั้งแต่บรรพบุรุษของพวกเขา คิดค้นการทำนาข้าวในทะเลสาบโดยใช้พื้นที่ริมชายฝั่งทะเลสาบที่ทอดยาวตามแนวชายฝั่งเกือบ 10 กิโลเมตร มาทำการเพาะปลูกโดยแต่ละปีจะทำนาข้าวลักษณะนี้ ได้เพียงครั้งเดียวตั้งแต่ช่วงเริ่มปักดำต้นเดือนมิถุนายน และเก็บเกี่ยวปลายๆเดือนกันยายนของทุกปี ซึ่งปีนี้เป็นปีที่ท้องทะเลสาบบริเวณดังกล่าวมีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุดในรอบหลายๆ ปีที่ผ่านมา ชาวบ้านจึงได้ทำนาข้าวในทะเลสาบตามแนวชายฝั่งประมาณ 10 กิโลเมตร แต่ละแปลงจะทำนาจากชายฝั่งลงไปในทะเลประมาณเกือบ 40 เมตร เหตุผลที่เลือกทำนาในช่วงเวลานี้ เป็นเพราะน้ำในทะเลสาบจะเป็นน้ำกร่อย และเป็นช่วงน้ำลงมากที่สุด หากเกินช่วงเวลาดังกล่าวจะไม่ได้ผลผลิต เพราะน้ำทะเลจะหนุนสูงท่วมต้นข้าวเสียหาย สำหรับเพาะปลูกข้าวที่นี่ ต้องหาพันธุ์ข้าวที่ลำต้นแข็งแรง มีรากลึก และต้นข้าวเมื่อเจริญเติบโตแล้วต้องมีความสูง และสามารถต้านทานกับสภาพแรงลมและคลื่นขนาดเล็กที่ซัดเข้าหาฝั่งได้ ดังนั้นชาวบ้านจึงนิยมใช้พันธุ์ข้าว กข.55 และพันธุ์ข้าวหอมราชินี ที่สำคัญไม่ต้องใส่ปุ๋ยเนื่องจากมีแร่ธาตุอาหารที่สมบูรณ์ให้กับต้นข้าวเจริญเติบโตงอกงามและได้เมล็ดข้าวที่สมบูรณ์เช่นกัน การทำนาริมเล ถือเป็นบ้านปลาตามฤดูกาล ที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อนสามารถเข้ามาหลบอาศัยในพื้นที่แปลงนาข้าวในช่วงระยะเวลา 3 – 4 เดือนในช่วงฤดูการทำนา ซึ่งจะเห็นสัตว์น้ำวัยอ่อนเข้ามาหลบอาศัยเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะปลานิล และลูกกุ้งก้ามกรามขนาดเล็ก

สภาพปัญหา ชาวประมงชายฝั่งในพื้นที่ประสบปัญหาด้านการลดจำนวนประชากรสัตว์น้ำ ทั้งในด้านจำนวนชนิดและปริมาณ ซึ่งสัตว์น้ำบางชนิดลดลงมาจนอยู่ในเกณฑ์ที่น่ากังวล โดยตลอดระยะเวลาประมาณ 10 ปีที่ผ่านมาชาวประมงในพื้นที่ต้องใช้เวลา และระยะทางที่เพิ่มมากขึ้นในการจับสัตว์น้ำแต่ละวัน ดังนั้นจึงมีการร่วมกันสรุปถึงปัญหาที่เกิดขึ้น แล้วพบว่ามีสาเหตุสำคัญต่าง ๆ มาจากหลายปัจจัย ได้แก่
ปัจจัยจากสภาพแวดล้อมภายนอก ได้แก่ น้ำปนเปื้อนจากการใช้สารเคมีการเกษตร น้ำเสียจากชุมชนขนาดใหญ่ จากฟาร์มปศุสัตว์ ซึ่งปล่อยมาจากต้นน้ำ โดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มน้ำคลองท่าแนะลงสู่ทะเลสาบฯ ส่งผลให้คุณภาพของน้ำเสื่อมลงไม่เหมาะสมกับการใช้ชีวิตของสัตว์น้ำมากขึ้นเรื่อยๆ
ปัจจัยภายในของชุมชน  การทำประมงแบบ overfishing จับสัตว์น้ำในปริมาณที่มากเกินกว่าการกำลังผลิตจากธรรมชาติ ซึ่งมีการจับสัตว์น้ำตั้งแต่วัยอ่อนจนไปถึงพ่อแม่พันธ์ รวมไปถึงการจับสัตว์น้ำด้วยอุปกรณ์ผิดกฎหมายเป็นประเด็นสำคัญที่สุด โดยเฉพาะการใช้อวนล้อมลูกเบร่ (เนื้ออวนตาข่ายตากข้าวสีฟ้า) ทำให้ติดลูกปลาวัยอ่อนชนิดอื่น ๆ ติดมาด้วย  ส่งผลให้ปริมาณปลาอื่นในทะเลแถบนี้ มีจำนวนลดน้อยลง การแก้ไขปัญหานี้ที่ผ่านมา เคยมีการหยิบยกขึ้นมาพิจารณาร่วมกันระหว่างชาวประมงในพื้นที่และหน่วยงานภาคีราชการที่เกี่ยวข้อง ในส่วนของประมงจังหวัดพัทลุง ได้ประกาศห้ามการจับสัตว์น้ำทุกชนิดในช่วงฤดูปลาวางไข่และผสมพันธ์ ในช่วง เดือนตุลาคม – มกราคม ของทุกปี ซึ่งช่วงนี้ตรงกับช่วงน้ำหลาก และเป็นช่วงที่ปลาหลายชนิดที่อาศัยอยู่ในทะเลสาบ จะเข้ามาในลำคลองเพื่อผสมพันธ์และวางไข่ในบริเวณต้นน้ำ ซึ่งจะมีจำนวนมากในรอบปี และเป็นช่วงที่สำคัญต่อการแพร่พันธ์และขยายพันธ์ การจับในฤดูนี้จะส่งผลต่อปริมาณของปลาตลอดทั้งปี ถ้ามีการจับในช่วงนี้มาก จำนวนปลาที่จะจับได้ตลอดทั้งปีจะลดน้อยลง แต่สำหรับชาวประมง ช่วงระยะเวลานี้ถือเป็นโอกาสสำคัญที่จะสร้างรายได้ จึงมีการจับปลาในฤดูนี้อยู่เป็นปกติ นับเป็นความขัดแย้งที่ยังแก้ไขไม่ได้และส่งผลกระทบจนถึงปัจจุบัน จากสถานการณ์ปัญหาดังกล่าวชุมชนมองว่า ทรัพยากรสัตว์น้ำเป็นทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป เมื่อมีความต้องการใช้ทรัพยากรในจำนวนเพิ่มขึ้น ในขณะที่ไม่มีการบริหารจัดการใดๆให้ทรัพยากรเหล่านั้นเพิ่มขึ้นก็จะทำให้ทรัพยากรเหล่านั้นลดลงไม่เพียงพอต่อความต้องการของชุมชน จึงได้มีความเห็นร่วมกันในการปรับปรุง ฟื้นฟูเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ  เพื่อให้มีการบริหารจัดการที่ดี ให้ประชาชน มีความรู้ ความเข้าใจ เห็นความสำคัญของทรัพยากรที่มีความสำคัญต่อการดำรงค์ชีพ ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการดำเนินการทุกขั้นตอน และให้มีระบบนิเวศที่มีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น     เมื่อได้ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ คาดว่าจะทำให้เกิดความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ ของคนในชุมชนมากยิ่งขึ้น เกิดความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์ชายฝั่งในพื้นที่ดำเนินโครงการ และพื้นที่ข้างเคียง สามารถเป็นต้นแบบให้กับชุมชนชายฝั่งอื่นๆ อันจะนำไปสู่การเกิดชุมชนชายฝั่งที่ช่วยกันดูแลรักษา ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำหน้าบ้านของตนเอง เกิดกระบวนการทำงานร่วมกันของชุมชน องค์กร/ภาคี และเครือข่ายชุมชนชายฝั่งที่จะคอยหนุนเสริม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน อันจะส่งผลให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนริมทะเลสาบมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในอนาคต

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้คนในชุมชนเกิดความตระหนักและร่วมกันในการร่วมกันฟื้นฟูทะเลหน้าบ้าน

1.1คนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจถึงปัญหาสถานการณ์ทะเลสาบเลพร้อมร่วมอนุรักษ์เลหน้าบ้านและคุณภาพชีวิตชาวประมงดีขึ้น 1.2 มีข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำและเครื่องมือการจับสัตว์น้ำบริเวณพื้นที่ทะเลสาบตอนบนและมีข้อมูลผลสัตว์น้ำเปรียบเทียบระหว่างก่อนการดำเนินงานตามโครงการกับข้อมูลหลังการดำเนินงานตามโครงการ 1.3 มีกติกาข้อตกลงในการทำประมง การดูแลเขตฯ และมีแผนการดำเนินงานของชุมชน

2 เพื่อสร้างกลไกการทำงานและติดตามประเมินผลร่วมกันในการฟื้นฟูเลหน้าบ้าน

2.1 มีคณะทำงานในการขับเคลื่อนการอนุรักษ์เลหน้าบ้านเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่ต่ำกว่า 15 คน ที่สามารถขับเคลื่อนงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.4 มีการประชุมคณะทำงานเดือนละ 1 ครั้ง 2.2 มีประมงอาสาดูแลเขตฯไม่ต่ำกว่า 15 คน 2.3 มีแผนการทำงานของประมงอาสา

3 เพื่อเพื่อสนับสนุนให้นิเวศเลปากประได้รับการฟื้นฟูและมีทรัพยากรที่สมบูรณ์ขึ้น

3.1 มีป้ายประชาสัมพันธ์กติกาข้อตกลงเรื่องเขตอนุรักษ์ของหมู่บ้าน  และป้ายเขตอนุรักษ์ในพื้นที่ทะเลที่กำหนด 3.2 มีบ้านปลาเพิ่มขึ้น จำนวน 3 จุด 3.3 มีการขยายพื้นที่เขตอนุรักษ์เพิ่มเติม 1 จุด 3.4จำนวนสัตว์น้ำที่จับได้เพิ่มขึ้นในแต่ละฤดูกาล 3.5 จำนวนพันธุ์สัตว์น้ำเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 5 ชนิด 3.6 รายได้จากการขายปลาสดเพิ่มขึ้น 3.7 รายได้จากการแปรรูปสัตว์น้ำเพื่อจำหน่ายเพิ่มขึ้น

4 เพื่อหนุนเสริมให้มีการ บริหารจัดการโครงการ อย่างมีประสิทธิภาพ

4.1 โครงการย่อยสามารถท างานได้ตามที่ก าหนดไว้ในแผน 4.2.โครงการย่อยสามารถ รายงานผลในระบบ ออนไลน์ได้ถูกต้อง ครบถ้วน 4.3โครงการย่อยสามารถ เดินทางร่วมกิจกรรมที่ทาง คณะบริหารแผนงาน กำหนด

stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 169
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายรอง 100 -
กลุ่มเป้าหมายหลัก ครัวเรือนผู้ทำอาชีพประมง 69 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 จัดทำข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ เครื่องมือและรายได้จากการจับสัตว์น้ำ (สำรวจข้อมูล) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 15 4,250.00 1 4,250.00
30 ก.ค. 66 จัดทำข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ เครื่องมือและรายได้จากการจับสัตว์น้ำ 15 4,250.00 4,250.00
2 ประชุมคณะทำงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 15 375.00 1 375.00
5 ส.ค. 66 ประชุมคณะทำงาน 15 375.00 375.00
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 313 72,750.00 12 52,270.00
1 ก.ค. 66 - 20 เม.ย. 67 ค่าเดินทางและค่าที่พักเพื่อเข้าร่วมประชุมกับ สสส. หรือ หน่วยจัดการระดับจังหวัด จำนวน 3 ครั้ง ไม่เกิน 5,000 บาท 5 5,000.00 2,970.00
25 ก.ค. 66 เวทีเปิดโครงการ 40 6,100.00 6,100.00
26 ก.ค. 66 ประชุมคณะทำงาน 15 875.00 875.00
5 ก.ย. 66 ประชุมคณะทำงาน 15 375.00 375.00
5 พ.ย. 66 ประชุมคณะทำงาน 15 375.00 375.00
14 พ.ย. 66 ค่าจัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และป้ายชื่อโครงการ สสส. 1 1,000.00 1,000.00
15 พ.ย. 66 เวทีทบทวนและปรับปรุงกติกาเขตฯ 15 1,800.00 1,800.00
20 พ.ย. 66 ศึกษาดูงานชุมชนบ้านช่องฟืน/บ้านบางขวน 15 7,750.00 7,750.00
22 พ.ย. 66 เวทีพัฒนาศักยภาพประมงอาสา 20 3,000.00 3,000.00
30 พ.ย. 66 การทำบ้านปลา ในพื้นที่เขตอนุรักษ์ฯ 15 24,500.00 24,500.00
6 ธ.ค. 66 รณรงค์สื่อประชาสัมพันธ์ให้คนในชุมชนร่วมกันอนุรักษ์และบริโภคสัตว์น้ำปลอดภัย 40 5,500.00 -
30 ธ.ค. 66 ทำป้ายเขต แสดงพื้นที่อาณาเขตอนุรักษ์ 6 3,150.00 3,150.00
31 ธ.ค. 66 ติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา 20 2,500.00 -
5 ม.ค. 67 ประชุมคณะทำงาน 15 375.00 375.00
15 ก.พ. 67 ติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา 20 2,500.00 -
15 มี.ค. 67 จัดทำข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ เครื่องมือและรายได้จากการจับสัตว์น้ำ(สรุปข้อมูล) 15 2,250.00 -
30 มี.ค. 67 เวทีปิดโครงการ 40 4,700.00 -
15 เม.ย. 67 ค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์ 1 1,000.00 -

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 คนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจถึงปัญหาสถานการณ์ทะเลสาบเลพร้อมร่วมอนุรักษ์เลหน้าบ้านและคุณภาพชีวิตชาวประมงดีขึ้น 2. มีคณะทำงานในการขับเคลื่อนการอนุรักษ์เลหน้าบ้านเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่ต่ำกว่า 15 คน ที่สามารถขับเคลื่อนงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. มีข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำและเครื่องมือการจับสัตว์น้ำบริเวณพื้นที่ทะเลสาบตอนบนและมีข้อมูลผลสัตว์น้ำเปรียบเทียบระหว่างก่อนการดำเนินงานตามโครงการกับข้อมูลหลังการดำเนินงานตามโครงการ 4. มีกติกาข้อตกลงในการทำประมง การดูแลเขตฯ และมีแผนการดำเนินงานของชุมชน 5 มีประมงอาสาดูแลเขตฯไม่ต่ำกว่า 15 คน 6. มีแผนการทำงานของประมงอาสา 7. มีป้ายประชาสัมพันธ์กติกาข้อตกลงเรื่องเขตอนุรักษ์ของหมู่บ้าน และป้ายเขตอนุรักษ์ในพื้นที่ทะเลที่กำหนด 8. มีบ้านปลาเพิ่มขึ้น 3จุด 9. มีการขยายพื้นที่เขตอนุรักษ์เพิ่มเติม 1 จุด 10. จำนวนสัตว์น้ำที่จับได้เพิ่มขึ้นในแต่ละฤดูกาล 11. รายได้จากการขายปลาสด และจากการแปรรูปสัตว์น้ำเพื่อจำหน่ายเพิ่มขึ้น - แกนนำกลุ่มจำนวน 50 คน มีการเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารทะเลและอาหารในชุมชนที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ จากผลผลิตการประมงที่ปลอดภัยและยั่งยืน

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2023 09:31 น.