directions_run

โครงการฟื้นฟูส่งเสริมอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและพัฒนาอาหารทะเลแปรรูปบ้านนาทับ ที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะต่อผู้บริโภค

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการฟื้นฟูส่งเสริมอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและพัฒนาอาหารทะเลแปรรูปบ้านนาทับ ที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะต่อผู้บริโภค
ภายใต้โครงการ แผนงานร่วมทุนนับสนุนการสร้างสุขภาวะชุมชนประมงพื้นบ้านใน 5 จังหวัดชายฝั่งทะเล
ภายใต้องค์กร สมาคมรักษ์ทะเลไทย
รหัสโครงการ M-024
วันที่อนุมัติ 13 กรกฎาคม 2023
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2023 - 30 เมษายน 2024
งบประมาณ 98,960.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มสตรีแปรรูปอาหารทะเลบ้านนาทับ
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาว บี้เย๊าะ อำพันนิยม
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 087-4753109
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ -
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวเจตวรรณ กรุตรนิยม
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ค. 2023 30 ต.ค. 2023 1 ก.ค. 2023 30 ต.ค. 2023 49,480.00
2 31 ต.ค. 2023 20 ก.ย. 2023 39,584.00
3 21 มี.ค. 2024 20 เม.ย. 2024 9,896.00
4 0.00
รวมงบประมาณ 98,960.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานปรับสภาพสิ่งแวดล้อม
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

พื้นที่ จังหวัดสงขลา เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีพื้นที่ติดทะเลชายฝั่งอ่าวไทยและมีอาชีพการทำประมงพื้นบ้านมาอย่างยาวนานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การบริโภคสัตว์น้ำที่หาได้จากการออกทำอาชีพประชีพประมงนอกจากไว้ขายแล้วส่วนหนึ่งก็เก็บไว้บริโภคในครัวเรือนเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการซื้ออาหาร และยังมีการถนอมอาหารโดยการแปรรูปในรูปแบบต่างๆ ไว้บริโภคเมื่อมีสัตว์น้ำในฤดูกาลนั้นๆ จำนวนมาก
ชุมชนบ้านปากบางนาทับ หมู่ 2 เป็น 1 ใน 14 หมู่บ้าน อยู่ในพื้นที่ตำบลนาทับ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา อยู่ห่างจากตัวเมืองอำเภอจะนะ ระยะทาง 17 กิโลเมตร ห่างจากตัวเมืองจังหวัดสงขลา ระยะทาง 19 กิโลเมตร มีจำนวนครัวเรือน 381 ครัวเรือน จำนวนประชากร 1,431 คน ชาย 745 คน หญิง 689 คน ร้อยละ 99 นับถือศาสนาอิสลาม อาณาเขตชุมชนหมู่ ๒ บ้านปากบางนาทับ ทิศเหนือ ติดกับ หมู่ 10 บ้านปึก ตำบลนาทับ ทิศใต้ ติดกับ หมู่ 13 บ้านทำนบ ตำบลนาทับ ทิศตะวันออก ติดกับ หมู่ 1 บ้านคลองข่า ตำบลนาทับ ทิศตะวันออก ติดกับ ทะเลอ่าวไทย ด้านอาชีพ – รายได้ เนื่องจากบ้านปากบางนาทับมีสภาพพื้นที่ตั้งของชุมชนลาดยาวไปกับชายฝั่งอ่าวไทย ส่งผลให้ประชากรของหมูบ้าน 80% ประกอบอาชีพประมงเป็นหลักควบคู่กับการค้าขาย 10% รับจ้างในโรงงานแปรรูปอาหารทะเล และอีก 10% ประกอบอาชีพเกษตร เลี้ยงสัตว์และเพาะเลี้ยงปลากะพง การทำเกษตรที่ส่งผลต่อรายได้ของชุมชนบ้านปากบางนาทับทั้งที่ทำในหมู่บ้านตัวเองและไปเช่าพื้นที่นอกชุมชนอื่น คือ การปลูกแตงโมปีละ 2-3 ครั้ง รายได้เฉลี่ยครั้งละ 200,000-300,000 บาท ในส่วนของการทำอาชีพประมง ซึ่งเป็นอาชีพหลักและรายได้หลักของประชากรส่วนใหญ่ของชุมชนบ้านนาทับ จะใช้เครื่องมือประมงพื้นบ้านขนาดต่ำกว่า 10 ตันกรอส มีจำนวนเรือ 160 ลำมีความยาวของเรือ ขนาด 5 เมตร กว้างขนาด 2 เมตร มีครัวเรือน 200 ครัวเรือน ทำอาชีพประมง 300 ครัวเรือน ทำการประมง 15 วัน/เดือน เฉลี่ยมีรายได้ครัวละ 2,500-3,000 บาท/ครั้ง สัตว์น้ำเศรษฐกิจที่จับได้ ได้แก่ ปลาหลังเขียว ปลาทู ปูม้า กุ้งแชบ๊วย กุ้งกุลาดำ ปลาเก๋า ปลาจะละเม็ด ปลาอินทรีย์ ปลาโทง ฯลฯ ชุมชนบ้านปากบางนาทับ มีกลุ่มกิจกรรมที่สำคัญที่เชื่อมโยงให้เห็นถึงวิถีการทำมาหากินของคนส่วนใหญ่ในชุมชน คือกลุ่มที่ทำกิจกรรมในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่ง กลุ่มเลี้ยงแพะ กลุ่มเลี้ยงปลากะพง และกลุ่มสตรีแปรรูปอาหารทะเลบ้านนาทับ เป็นการรวมกลุ่มของสมาชิกในชุมชนโดยมีลักษณะเป็นการลงหุ้นเพื่อแปรรูป หุ้นละ 100 บาท ไม่เกิน 50 หุ้น เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มเสริมรายได้ให้กับสมาชิกในชุมชน มีการก่อตั้งเมื่อปี 2563 โดยมีนางสาวบีเย๊าะ อำพันนิยม เป็นประธานกลุ่ม มีสมาชิกจำนวน 41 คน มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของสมาชิกและชุมชนในการพัฒนาอาชีพเสริมรายได้ทางด้านอาหารทะเล เพื่อพัฒนาและสร้างกลุ่มธุรกิจชุมชนโดยการรวมหุ้น และเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงการฟื้นฟูทรัพยากรกับการทำธุรกิจชุมชน มีการปันผลประโยชน์
    • จำนวน 60 % เป็นกองทุนหมุนเวียนสมาคมเรือประมงชายฝั่งคลองนาทับ เพื่อเป็นเงินทุนในการบริหารจัดการภายในร้าน เช่น ซื้อสัตว์น้ำ ค่าแรงงาน ค่าน้ำ ค่าไฟ เป็นต้น
    • จำนวน ๓๐ % ปันผลจากกำไรการจำหน่ายอาหารทะเลของกลุ่มให้แก่สมาชิกกลุ่มสตรีประมงพื้นบ้านแปรรูปสัตว์น้ำคลองนาทับ
    • จำนวน 10 % ปันผลสนับสนุนการทำงานเรื่องงานอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ เช่น การทำเขตอนุรักษ์ การทำธนาคารปูม้า การปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ มีโครงสร้าง ประกอบด้วย ๒ ฝ่าย คือ
    1. ฝ่ายงานบริหาร จะประกอบด้วย ประธาน รองประธาน เลขานุการ เหรัญญิก ประชาสัมพันธ์ ประสานงาน นายทะเบียน และ กรรมการ     2. ฝ่ายงานจัดการ จะประกอบด้วย ฝ่ายหาตลาด ฝ่ายรับคำสั่งซื้อ ฝ่ายสินค้า ฝ่ายแปรรูป ฝ่ายบรรจุสินค้าและจัดเก็บสินค้า ฝ่ายจัดส่งสินค้า และฝ่ายการเงินและบัญชี กลุ่มดำเนินกิจกรรมแปรรูปสัตว์น้ำในรูปแบบต่างๆ ตามชนิดพันธุ์สัตว์น้ำที่ได้มาจากการออกทะเลหาปลาที่มีตลอดทั้งปี เช่น ปลาอินทรีย์เค็ม ปลาหลังเขียวหวาน-เค็ม ปลาเกล็ดขาวอบกรอบปรุงรส ข้าวเกรียบกือโป๊ะ และกะปิแท้ 100% สูตรดั้งเดิมของนาทับที่หายสาบสูญไปนาน และมีสัตว์น้ำจำนวนชนิดพันธุ์ต่างๆ ที่มีมากตามฤดูกาลมาทดลองแปรรูป มาจำหน่ายเพื่อเป็นช่องทางหนึ่งในการเสริมรายได้ให้กับสมาชิกในกลุ่ม และยังเป็นการถนอมอาหารไว้สำหรับบริโภคในครัวเรือนในฤดูมรสุมอีกด้วย โดยใช้ความรู้เดิมที่สืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณในการผลิต และความรู้ใหม่ๆ ทางวิชาการ โภชนาการที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานมาตลอด ทั้งจากภาครัฐ เอกชนรวมทั้งหน่วยงานสถานศึกษาในพื้นที่ ทางกลุ่มจึงใส่ใจต่อความ สด สะอาดและความปลอดภัยในทุกกระบวนการผลิตของอาหารเพื่อให้ปลอดภัยต่อผู้บริโภคมากที่สุด อีกทั้งยังคำนึงถึงการทำประมงอย่างถูกกฎหมาย ไม่ใช้เครื่องมือทำลายล้างและไม่จับสัตว์น้ำวัยอ่อนมาบริโภคหรือแปรรูปทุกรูปแบบ นอกจากนี้ทางกลุ่มยังดำเนินกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งและสัตว์น้ำ มีการวางซั้งกอทุกปีอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำขนาดเล็กเพื่อจะได้เติบโตและขยายพันธุ์ต่อไปไว้ให้ลูกหลานในอนาคต ปัจจุบันกิจกรรมการแปรรูปสัตว์น้ำยังคงดำเนินมาอย่างต่อเนื่องและได้รับการสนับสนุนทั้งด้านงบประมาณ และองค์ความรู้มาพัฒนากลุ่มเพื่อแก้ไขและปรับจุดบกพร่องต่างๆ ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ และมหาวิทยาลัยในพื้นที่ ที่เข้ามาสนับสนุน เช่น ด้านมาตรฐานรสชาติของสินค้าที่ยังไม่คงที่ บรรจุภัณฑ์ที่ยังไม่ตอบโจทย์ด้านการตลาด ด้านการยืดอายุของผลิตภัณฑ์เนื่องจากทางกลุ่มเน้นอาหารปลอดภัยต่อผู้บริโภคจึงไม่ใส่สารกันเสีย ฯลฯ ส่วนในด้านการตลาดยังคงกระจายสินค้าได้ในวงไม่กว้างขวางมากนัก เนื่องจากยังติดมาตรฐานต่างๆ ในการผลิตดังที่กล่าวมาข้างต้น จึงทำได้เพียงขายกันเองในกลุ่มคนรู้จัก ในชุมชน และมีการติดต่อรับไปเป็นของฝากหรือของที่ระลึกในงานประชุมต่างๆ เช่น กะปิแท้นาทับ เนื่องจากเป็นของดีของเด่นของบ้านนาทับ จึงจัดทำโครงการนี้เพื่อแก้ไขปัญหา และพัฒนาศักยภาพในการผลิตและการตลาด ต่อไป

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนากลไกการทำงานอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลบ้านนาทับ จ.สงขลา
  1. มีคณะทำงานในการขับเคลื่อนงานโครงการไม่ต่ำกว่า 15 คน
  2. มีแผนการทำงานที่ชัดเจน
  3. มีบทบาทหน้าที่และข้อตกลงในการทำงาน
  4. มีการประชุมคณะทำงานเดือนละ 1 ครั้ง
2 เพื่อให้เกิดการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล
  1. มีซั้งกอ 6 กอ
  2. มีมาตรการในการเฝ้าระวังเขตซั้งกอ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
3 เพื่อพัฒนาศักยภาพให้กลุ่มมีการจัดการผลผลิต/แปรรูปที่เข้มแข็ง ครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้น จากการจัดการผลผลิต
  1. เกิดผลผลิตภัณฑ์ได้มาตรฐานไม่ต่ำกว่า 3 ชนิด
  2. มีบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม และดึงดูดความสนใจไม่ต่ำกว่า 3 ชนิด
  3. มีผลิตภัณฑ์ที่มีอายุในการเก็บที่ยาวนานขึ้น 3 ชนิด
  4. มีช่องทางในทางการตลาดที่หลากหลายมากขึ้น ทั้งในรูปแบบ On site และ On line
  5. ครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สินค้าแปรรูป ไม่น้อยกว่า 1,000/เดือน
4 เพื่อหนุนเสริมให้มีการบริหารจัดการโครงการย่อยอย่างมีประสิทธิภาพ
  1. โครงการย่อยสามารถทำงานได้ตามที่กำหนดไว้ในแผน
  2. โครงการย่อยสามารถรายงานผลในระบบออนไลน์ได้ถูกต้อง ครบถ้วน
  3. โครงการย่อยสามารถเดินทางร่วมกิจกรรมที่ทางคณะบริหารแผนงานกำหนด
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 60
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
สมาชิกกลุ่มสตรีแปรรูปอาหารทะเลบ้านนาทับ 41 -
สมาชิกในชุมชนและชุมชนใกล้เคียงที่มีความสนใจ 19 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66ต.ค. 66พ.ย. 66ธ.ค. 66ม.ค. 67ก.พ. 67มี.ค. 67เม.ย. 67
1 เวทีพูดคุยสร้างความรู้ความเข้าใจ โครงการฟื้นฟูส่งเสริมอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและพัฒนาอาหารทะเลแปรรูปบ้านนาทับ จ.สงขลา (เปิดโครงการ)(1 ก.ค. 2023-31 ก.ค. 2023) 10,676.00                    
2 ประชุมคณะทำงานโครงการ และผู้เกี่ยวข้อง เดือนละ 1ครั้ง และจัดทำข้อมูลผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทะเลในชุมชน(1 ก.ค. 2023-30 เม.ย. 2024) 8,960.00                    
3 เวทีประเมินเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE)(1 ก.ค. 2023-30 เม.ย. 2024) 1,700.00                    
4 เวทีทบทวนกติกาและมาตรการเฝ้าระวังเขตซั้งกอ(1 ก.ย. 2023-30 ก.ย. 2023) 2,450.00                    
5 ศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนประสบการณ์แปรรูปผลผลิตที่ ร้านคนจับปลา จ.พัทลุง(1 ก.ย. 2023-30 ก.ย. 2023) 12,900.00                    
6 ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การแปรรูปผลผลิตภายใต้มาตรฐาน อย. ,การออกแบบบรรจุภัณฑ์ และช่องทางการตลาด (จำนวน 2 วัน)(1 ต.ค. 2023-31 ต.ค. 2023) 19,800.00                    
7 กิจกรรมบริหารจัดการโครงการอย่างมีประสิทธิภาพกับ สสส.(25 พ.ย. 2023-25 พ.ย. 2023) 4,550.00                    
8 ทำซั้งกอ สร้างบ้านให้ปลา(1 ม.ค. 2024-29 ก.พ. 2024) 20,000.00                    
9 เวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู้ (ARE)(1 มี.ค. 2024-31 มี.ค. 2024) 1,700.00                    
10 เวทีนำเสนอผลิตภัณฑ์ชุมชน (เวทีสรุปผลการดำเนินงาน ปิดโครงการ)(1 เม.ย. 2024-30 เม.ย. 2024) 10,200.00                    
รวม 92,936.00
1 เวทีพูดคุยสร้างความรู้ความเข้าใจ โครงการฟื้นฟูส่งเสริมอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและพัฒนาอาหารทะเลแปรรูปบ้านนาทับ จ.สงขลา (เปิดโครงการ) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 160 10,676.00 2 9,683.00
13 ก.ค. 66 เวทีปฐมนิเทศโครงการ 100 176.00 176.00
11 ส.ค. 66 เวทีพูดคุยสร้างความรู้ความเข้าใจ โครงการฟื้นฟูส่งเสริมอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและพัฒนาอาหารทะเลแปรรูปบ้านนาทับ จ.สงขลา และจัดตั้งกลไกคณะทำงาน บทบาทหน้าที่การดำเนินงาน ละออกแบบแผนงาน (เปิดโครงการ) 60 10,500.00 9,507.00
2 ประชุมคณะทำงานโครงการ และผู้เกี่ยวข้อง เดือนละ 1ครั้ง และจัดทำข้อมูลผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทะเลในชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 105 8,960.00 7 8,744.00
31 ก.ค. 66 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 1 15 750.00 749.00
24 ส.ค. 66 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2 15 750.00 747.00
19 ก.ย. 66 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3 15 750.00 749.00
27 ต.ค. 66 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 4 15 750.00 749.00
20 พ.ย. 66 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 5 15 750.00 750.00
8 ธ.ค. 66 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 6 15 4,460.00 4,250.00
4 ม.ค. 67 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 7 15 750.00 750.00
3 เวทีประเมินเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 20 1,700.00 1 1,700.00
22 พ.ย. 66 เวทีประเมินเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE) 20 1,700.00 1,700.00
4 เวทีทบทวนกติกาและมาตรการเฝ้าระวังเขตซั้งกอ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 15 2,450.00 0 0.00
8 ม.ค. 67 เวทีทบกวนกติกาชุมชนและมาตรการเฝ้าระวังเขตอนุรักษ์ 15 2,450.00 -
5 ศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนประสบการณ์แปรรูปผลผลิตที่ ร้านคนจับปลา จ.พัทลุง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 20 12,900.00 1 12,900.00
11 ต.ค. 66 ศึกษาดูงานมาตรฐานการผลิตอาหารทะเลแปรรูปที่ปลอดภัย 20 12,900.00 12,900.00
6 ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การแปรรูปผลผลิตภายใต้มาตรฐาน อย. ,การออกแบบบรรจุภัณฑ์ และช่องทางการตลาด (จำนวน 2 วัน) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 45 19,800.00 0 0.00
1 ก.พ. 67 อบรมเพื่อพัฒนาเทคนิคการแปรรูปสัตว์น้ำภายใต้อาหารปลอดภัยต่อผู้บริโภค 45 19,800.00 -
7 กิจกรรมบริหารจัดการโครงการอย่างมีประสิทธิภาพกับ สสส. กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 27 4,550.00 3 4,030.00
29 ก.ค. 66 จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และป้ายชื่อโครงการ สสส. 0 1,000.00 480.00
28 พ.ย. 66 เวทีประเมินเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE) ระดับรวมโครงการจังหวัดสงขลา 27 2,550.00 2,550.00
10 ธ.ค. 66 จัดทำรายงานความก้าวหน้า 0 1,000.00 1,000.00
8 ทำซั้งกอ สร้างบ้านให้ปลา กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 10 20,000.00 0 0.00
8 มี.ค. 67 ทำซั้งกอในเขตอนุรักษ์ 10 20,000.00 -
9 เวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู้ (ARE) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 20 1,700.00 0 0.00
12 มี.ค. 67 เวทีประเมินเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE) 20 1,700.00 -
10 เวทีนำเสนอผลิตภัณฑ์ชุมชน (เวทีสรุปผลการดำเนินงาน ปิดโครงการ) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 10,200.00 0 0.00
15 มี.ค. 67 เวทีสรุปโครงการ (ปิดดครงการ) และนำเสนอสินค้าชุมชน 50 10,200.00 -

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.มีอาหารที่มีรสชาติอาหารและความปลอดภัยได้มาตรฐาน 2.มีบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม ถูกสุขลักษณะ และดึงดูดความสนใจไม่ต่ำกว่า 3 ชนิด 3.มีผลิตภัณฑ์ที่มีอายุในการเก็บที่ยาวนานขึ้น 3 ชนิด 4.มีช่องทางในทางการตลาดที่หลากหลายมากขึ้น ทั้งในรูปแบบ on site และ on line 5.ครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สินค้าแปรรูป ไม่น้อยกว่า 1,000 บาท/ เดือน

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2023 09:41 น.