directions_run

ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรชายฝั่งทะเลและเสริมสร้างรายได้แก่ชุมชนบ้านหลอมปืนอย่างสมดุลยั่งยืน

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรชายฝั่งทะเลและเสริมสร้างรายได้แก่ชุมชนบ้านหลอมปืนอย่างสมดุลยั่งยืน
ภายใต้โครงการ แผนงานร่วมทุนนับสนุนการสร้างสุขภาวะชุมชนประมงพื้นบ้านใน 5 จังหวัดชายฝั่งทะเล
ภายใต้องค์กร สมาคมรักษ์ทะเลไทย
รหัสโครงการ L-006
วันที่อนุมัติ 13 กรกฎาคม 2023
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2023 - 31 มีนาคม 2024
งบประมาณ 179,100.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มท่องเที่ยวชุมชนบ้านหลอมปืน
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายจักรกริช ติงหวัง
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0980168026
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ tingwang123@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวฮาสานะห์ เกะมาซอ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ค. 2023 30 ต.ค. 2023 1 ก.ค. 2023 30 ต.ค. 2023 89,550.00
2 31 ต.ค. 2023 20 มี.ค. 2024 71,640.00
3 21 มี.ค. 2024 20 เม.ย. 2024 17,910.00
รวมงบประมาณ 179,100.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเศรษฐกิจ , แผนงานปรับสภาพสิ่งแวดล้อม
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ชุมชนบ้านหลอมปืน ตั้งอยู่หมู่ที่ 14 ตำบลละงู จังหวัดหวัดสตูล มีเนื้อที่ประมาณ 1,500 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มและเนินสูงทอดตัวไปยังทิศเหนือและทิศใต้ ลักษณะอยู่ติดกับชายฝั่งทะเล เป็นดินนา ชุมชนบ้านหลอมปืนจึงมีวิถีชีวิตในการประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน ประกอบอาชีพเกษตรกร ประกอบอาชีพค้าขาย การท่องเที่ยว ทรัพยากรที่สำคัญของชุมชนคือป่าชายเลน โดยเรียก “อ่าวทุ่งนุ้ย” ซึ่งมีเนื้อที่ทั้งหมด 85 ไร่  มีลักษณะเป็นพื้นที่อ่าวติดกับชายฝั่งทะเลหาดทรายและเป็นป่าชายเลนที่มีลำคลองสองฝั่งเป็นป่าชายเลนเป็นที่พักจอดเรือของชาวประมงเพื่อประกอบอาชีพด้วยวิถีพื้นบ้านบริเวณอ่าวทุ่งนุ้ยมีความสำคัญต่อระบบนิเวศมีป่าชายเลนหลากหลายพันธุ์มีสัตว์น้ำทะเลที่เป็นแหล่งอนุบาลธรรมชาติเป็นอย่างดีมีนกหลากหลายสายพันธุ์ได้อยู่อาศัยการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเลป่าชายเลนเป็นการสร้างกระบวนการเรียนรู้นิเวศป่าชายเลนที่มีพื้นที่อ่าวทุ่งนุ้ยเป็นที่รวมของกลุ่ม คน ปัจจุบันนี้พบว่าบริเวณอ่าวทุ่งนุ้ยมีการบริหารจัดการที่ไม่ต่อเนื่องเนื่องจากมีการเปลี่ยนผ่านของคณะทำงานหรือคณะกรรมการหมู่บ้านทำให้พื้นที่ดังกล่าวถูกทิ้งร้างไม่มีการจัดการดูแลขาดการฟื้นฟูทรัพยากรในป่าชายเลน มีการลักลอบตัดไม้ในป่ายชายเลน มีการเข้ามามั่วสุ่มของเด็กเยาวชนในพื้นที่ตำบลละงูและเยาวชนจากพื้นที่อื่นๆ เป็นแหล่งอบายมุขต่างๆทำให้คนในชุมชนไม่กล้าเข้าไปทำประโยชน์หรือทำกิจกรรมที่บริเวณอ่าวทุ่งนุ้ยจากที่เคยเป็นพื้นที่ที่ทำกิจกรรมต่างๆกิจกรรมสันทนาการหรือสถานที่จัดค่ายนักเรียนนักศึกษานอกจากนี้บริเวณอ่าวทุ่งนุ้ยรวมไปถึงบริเวณทะเลหน้าบ้านบ้านหลอมปืนและบริเวณทะเลตำบลละงูซึ่งเป็นพื้นที่รอยต่อกับตำบลปากน้ำ มีปัญหาเรื่องสัตว์น้ำลดลงด้วย ไม่มีการกิจกรรมฟื้นฟูอนุรักษ์ทรัพยากร เช่น การวางซั้งกอ สร้างบ้านปลา การปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ เป็นต้น ทำให้มีปัญหาสัตว์น้ำลดน้อยลง สัตว์น้ำบางชนิดได้สูญพันธุ์จากพื้นที่ดังกล่าว เช่น หอยแครง ซึ่งสมัยก่อน บริเวณอ่าวทุ่งนุ้ย เป็นบริเวณที่เป็นดินโคลน เป็นแหล่งของหอยแครง ในอำเภอละงู  สิ่งที่ทำให้สัตว์น้ำลดลงบริเวณทะเลบ้านหลอมปืน อันเนื่องมาจากมีการทำประมงแบบทำลายล้าง มีการใช้อวนลากเล็ก ทำประมงจับสัตว์น้ำบริเวณชายฝั่ง ซึ่งเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ มีการลากสัตว์น้ำเล็กใหญ่ไปหมด อีกทั้งพื้นที่อ่าวทุ่งนุ้ยและบริเวณชายฝั่งทะเลตำบลละงู ไม่มีการจัดทำระเบียบ กติกา การใช้ประโยชน์ ที่ชัดเจนด้วย
นอกจากนี้ ปัญหาสัตว์น้ำลดลงหรือสัตว์น้ำทะเลสูญพันธุ์ ส่งผลต่อชาวประมงพื้นบ้าน ทำให้ชาวประมงพื้นบ้านต้องออกไปทำประมงไกลจากฝั่งมากขึ้น ทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เช่น ค่าน้ำมันเรือ ค่าใช้จ่ายอื่นๆ เป็นต้น เมื่อได้สัตว์น้ำมาแล้ว ราคาสัตว์น้ำในปัจจุบันตกต่ำด้วย บางคนโดนกดราคาจากแพในชุมชน ทำให้ไม่คุ้มกับการออกทำประมง ส่งผลทำให้ค่าใช้จ่ายในครัวเรือนไม่เพียงพอ รายจ่ายมากกว่ารายรับ อีกทั้ง แม่บ้านชาวประมงพื้นบ้านบ้านหลอมปืน ไม่รู้วิธีการจัดการผลผลิตสัตว์น้ำ ไม่มีทักษะการแปรรูป หรือ การเพิ่มมูลค่าสัตว์น้ำ จึงจำเป็นที่จะต้องนำผลผลิตหรือสัตว์น้ำที่ชาวประมงพื้นบ้านจับมาได้ไปขายยังแพต่างๆในชุมชน
อีกด้านหนึ่งชุมชนบ้านหลอมปืนมีศักยภาพในเรื่องการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนซึ่งทางชุมชนบ้านหลอมปืนมีการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนร่วมกับเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนอ่าวปากบารา ซึ่งมีทั้งหมด 14 วิสาหกิจชุมชนเป็นกิจกรรมพานักท่องเที่ยวชมสถานที่ท่องเที่ยวในบริเวณอ่าวทุ่งนุ้ยเกาะลิดีปราสาทหินพันยอดรวมไปถึงเกาะบุโหลนดอนและบุโหลนเลการท่องเที่ยวของชุมชนหลอมปืนมีโปรแกรมหรือทริปการท่องเที่ยวที่ค่อนข้างสมบูรณ์ มีการใช้เรือนำเที่ยวจากเรือชาวประมงพื้นบ้านบ้านหลอมปืน ใช้เยาวชนเป็นไกด์ หรือสตาฟนำเที่ยว แต่พื้นที่ยังขาดศักยภาพการเป็นไกด์ชุมชนที่ดีการเป็นนักเล่าเรื่องหรือนักสื่อความหมายที่สามารถเล่าเรื่องราวแล้วนักท่องเที่ยวรู้สึกอินตามจึงจำเป็นที่จะต้องพัฒนาศักยภาพเยาวชนในชุมชนบ้านหลอมปืนให้มีความรู้เรื่องทรัพยากรใน ชุมชน ความเป็นมาของชุมชน หรือการดูแลนักท่องเที่ยวเบื้องต้น เพื่อนำไปสู่นักสื่อความหมายหรือไกด์ชุมชนได้ดียิ่งขึ้น
ขณะนี้การบริหารจัดการพื้นที่อ่าวทุ่งนุ้ยเป็นเขตพื้นที่ฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรประมงของชุมชนบ้านหลอมปืนโดยมีกติกาชุมชน1.ละเว้นการใช้เครื่องมืดอวนล้อมจับน้ำตื้น,อวนทับตลิ่ง,อวนกระทุ้งน้ำ2.ละเว้นการใช้เครื่องมืดคราดทำการคราดหอย3.ห้ามใช้เครื่องมือลอบปูที่มีขนาดช่องตาอวนโดยรอบเล็กว่า2.5นิ้วและ4.ห้ามใช้เครื่องมือประมงที่ผิดกฏมายโดยมีกลไกการทำงานที่มีเยาวชนชาวประมงพื้นบ้านและแม่บ้านประมงพื้นบ้านในชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการ ซึ่งบุคคลเหล่านี้ ล้วนใช้ประโยชน์จากอ่าวทุ่งนุ้ยและบริเวณทะเลชายฝั่ง
จึงได้เสนอโครงการ“ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรชายฝั่งทะเลและเสริมสร้างสร้างรายได้แก่ชุมชนบ้านหลอมปืนอย่างสมดุลยั่งยืน”เพื่อสร้างกลไกการทำงานที่เข้มแข็งเพื่อจัดการอ่าวทุ่งนุ้ยโดยการฟื้นฟูทรัพยากรในบริเวณอ่าวทุ่งนุ้ยให้กลับมาอยู่ในสภาพเดิมให้สมบูรณที่สุดมีการปลูกป่าชายเลนเพิ่มเพื่อทดแทนป่าที่ถูกทำลายการสร้างจิตสำนึกให้เยาวชนเกิดการเรียนรู้ทรัพยากรชายฝั่งชุมชนของตนเองการออกแบบการจัดการทรัพยากรฯ สร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือในการดูแลทรัพยากรการสื่อสารการจัดการทรัพยากรชายฝั่งและให้เยาวชนสามารถใช้ประโยชน์จากการจัดการทรัพยากรชายฝั่งมาเป็นการสร้างรายได้เสริมให้กับตนเองได้อีกทั้งการส่งเสริมกลุ่มแปรรูปสัตว์น้ำในชุมชนให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำจากประมงพื้นบ้านเพื่อเพิ่มมูลค่าสัตว์น้ำโดยการแปรรูปสัตว์น้ำที่จับมาได้และการหาช่องทางการตลาดที่ทันสมัยมากขึ้น

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้เกิดกลไกการทำงานที่เข้มแข็งในการจัดการอ่าวทุ่งนุ้ยและความยั่งยืนในการดูแลทรัพยากรทางทะเลชายฝั่ง

1.มีกลไกการบริหารจัดการอ่าวทุ่งนุ้ยที่เข้มแข็ง ประกอบด้วย เยาวชน ชาวประมงพื้นบ้าน และ แม่บ้านประมงพื้นบ้าน
2. มีนักสื่อความหมายชุมชน หรือ ไกด์ชุมชน จำนวน 5 คน 3. จดทะเบียนสมาคมชาวประมงพื้นบ้านตำบลละงู และการจดแจ้งองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น
4. เกิดกลุ่มการจัดการผลผลิตสัตว์น้ำ โครงสร้างการบริหารจัดการกลุ่มให้เป็นปัจจุบัน
5. จดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนด้านการแปรรูปสัตว์น้ำของชุมชน 1 กลุ่ม

2 2.เพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูทรัพยากรและสร้างกติกาการใช้ทรัพยากรร่วมกัน

1.เกิดกติกา การจัดการทรัพยากรและฟื้นฟูทรัพยากร อ่าวทุ่งนุ้ยและบริเวณบ้านปลาชุมชน 2. มีบ้านปลาชุมชนหน้าตำบลละงู จำนวน 1 จุด
3. การปลูกป่าชายเลนในอ่าวทุ่งนุ้ย จำนวน 1 แปลง 4. เกิดการขับเคลื่อนแนวเขตอนุรักษ์  2 หมู่บ้าน(บ้านตะโละใส และ บ้านหลอมปืน )
5. มีข้อเสนอแนวทางการจัดการพื้นที่ต่อ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา องค์การบริหารส่วนตำบลละงู องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ

3 3.เพื่อยกระดับสัตว์น้ำจากชาวประมงพื้นบ้านให้มีมูลค่ามากขึ้น
  1. มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ อาหารทะเลแปรรูป หรือ ของฝากจากชุมชนหลอมปืน อย่างน้อย 4 ผลิตภัณฑ์
  2. กลุ่มมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการตลาดขายสินค้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์ (เปิดเพจขายผลิตภัณฑ์)
  3. แกนนำมีการเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารทะเล ปลอดภัย อย่างน้อย30 คน
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 160
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายรอง ได้แก่ กลุ่มเยาวชน 20 -
กลุ่มเป้าหมายรอง ได้แก่ กลุ่มแม่บ้านประมงพื้นบ้าน 20 -
กลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ ชาวประมงพื้นบ้านบ้านหลอม 20 -
ชาวประมงพื้นบ้านในพื้นที่ 100 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66ต.ค. 66พ.ย. 66ธ.ค. 66ม.ค. 67ก.พ. 67มี.ค. 67
1 กิจกรรมประชุมคณะทำงานโครงการ จำนวน 5 ครั้ง(1 ก.ค. 2023-29 ก.พ. 2024) 20,750.00                  
2 บริหารจัดการโครงการ(1 ก.ค. 2023-21 มี.ค. 2024) 7,000.00                  
3 กิจกรรมประชุมเพื่อหารือการจดทะเบียนสมาคมฯและวิสาหกิจชุมชนแปรรูป(2 ก.ย. 2023-2 ก.ย. 2023) 12,000.00                  
4 กิจกรรมอบรมเพิ่มทักษะการแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์(18 ก.ย. 2023-19 ก.ย. 2023) 33,400.00                  
5 กิจกรรมเวทีออกแบบการจัดการอ่าวทุ่งนุ้ยและทบทวนกลไกการจัดการอ่าวทุ่งนุ้ย(13 ต.ค. 2023-13 ต.ค. 2023) 10,700.00                  
6 กิจกรรมเวทีถอดบทเรียนและปิดโครงการ ARE 2 ครั้ง(30 ต.ค. 2023-21 ก.พ. 2024) 16,200.00                  
7 กิจกรรมอบรมนักสื่อความหมายชุมชน(2 พ.ย. 2023-2 พ.ย. 2023) 8,900.00                  
8 กิจกรรมเวทีออกแบบกติกาการใช้ประโยชน์ในเขตอนุรักษ์และอ่าวทุ่งนุ้ย(1 ธ.ค. 2023-1 ธ.ค. 2023) 10,100.00                  
9 กิจกรรมปฏิบัติการกิจกรรมฟื้นฟู(สร้างบ้านปลา ปลูกต้นจาก)(10 ธ.ค. 2023-10 ธ.ค. 2023) 41,650.00                  
10 กิจกรรมประชุมความร่วมมือการขับเคลื่อนแนวเขตอนุรักษ์ 2 หมู่บ้าน (บ้านหลอมปืน บ้านตะโละใส )(10 ม.ค. 2024-10 ม.ค. 2024) 16,000.00                  
รวม 176,700.00
1 กิจกรรมประชุมคณะทำงานโครงการ จำนวน 5 ครั้ง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 100 20,750.00 5 20,750.00
30 ก.ค. 66 ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 1 20 4,150.00 4,150.00
31 ก.ค. 66 ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่2 20 4,150.00 4,150.00
26 ต.ค. 66 ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 3 20 4,150.00 4,150.00
20 ธ.ค. 66 ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 4 20 4,150.00 4,150.00
16 ก.พ. 67 ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 5 20 4,150.00 4,150.00
2 บริหารจัดการโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 3 7,000.00 1 1,314.00
13 ก.ค. 66 บริหารจัดการโครงการ (ไวนิล อินเตอร์เนต ฯลฯ) 3 7,000.00 1,314.00
3 กิจกรรมประชุมเพื่อหารือการจดทะเบียนสมาคมฯและวิสาหกิจชุมชนแปรรูป กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 12,000.00 2 13,600.00
2 ก.ย. 66 กิจกรรมประชุมเพื่อหารือการจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนรักษ์เลหลอมปืน 25 6,000.00 6,000.00
6 ก.ย. 66 กิจกรรมประชุมเพื่อหารือการจดทะเบียนสมาคมชาวประมงพื้นบ้านตำบลละงู 25 6,000.00 7,600.00
4 กิจกรรมอบรมเพิ่มทักษะการแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 25 33,400.00 1 19,603.00
18 - 19 ก.ย. 66 กิจกรรมอบรมเพิ่มทักษะการแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์ 25 33,400.00 19,603.00
5 กิจกรรมเวทีออกแบบการจัดการอ่าวทุ่งนุ้ยและทบทวนกลไกการจัดการอ่าวทุ่งนุ้ย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 45 10,700.00 1 10,700.00
12 ม.ค. 67 กิจกรรมเวทีออกแบบการจัดการอ่าวทุ่งนุ้ยและทบทวนกลไกการจัดการอ่าวทุ่งนุ้ย 45 10,700.00 10,700.00
6 กิจกรรมเวทีถอดบทเรียนและปิดโครงการ ARE 2 ครั้ง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 60 16,200.00 2 12,600.00
30 พ.ย. 66 กิจกรรมเวทีถอดบทเรียน ARE ครั้งที่ 1 30 8,100.00 4,500.00
12 พ.ค. 67 กิจกรรมเวทีถอดบทเรียนและปิดโครงการ ( ARE ) ครั้งที่ 2 ปิดโครงการ 30 8,100.00 8,100.00
7 กิจกรรมอบรมนักสื่อความหมายชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 20 8,900.00 1 8,900.00
6 - 9 ส.ค. 66 กิจกรรมอบรมนักสื่อความหมายชุมชน 20 8,900.00 8,900.00
8 กิจกรรมเวทีออกแบบกติกาการใช้ประโยชน์ในเขตอนุรักษ์และอ่าวทุ่งนุ้ย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 10,100.00 1 10,100.00
1 ธ.ค. 66 กิจกรรมเวทีออกแบบกติกาการใช้ประโยชน์ในเขตอนุรักษ์และอ่าวทุ่งนุ้ย 30 10,100.00 10,100.00
9 กิจกรรมปฏิบัติการกิจกรรมฟื้นฟู(สร้างบ้านปลา ปลูกต้นจาก) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 40 41,650.00 1 41,650.00
10 ธ.ค. 66 กิจกรรมปฏิบัติการกิจกรรมฟื้นฟู(สร้างบ้านปลา ปลูกต้นจาก) 40 41,650.00 41,650.00
10 กิจกรรมประชุมความร่วมมือการขับเคลื่อนแนวเขตอนุรักษ์ 2 หมู่บ้าน (บ้านหลอมปืน บ้านตะโละใส ) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 16,000.00 1 16,000.00
10 ม.ค. 67 กิจกรรมประชุมความร่วมมือการขับเคลื่อนแนวเขตอนุรักษ์ 2 หมู่บ้าน (บ้านหลอมปืน บ้านตะโละใส ) 50 16,000.00 16,000.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.1.มีกลไกการบริหารจัดการอ่าวทุ่งนุ้ยที่เข้มแข็ง ประกอบด้วย เยาวชน ชาวประมงพื้นบ้าน และ แม่บ้านประมงพื้นบ้าน
1.2. มีนักสื่อความหมายชุมชน หรือ ไกด์ชุมชน จำนวน 5 คน 1.3. จดทะเบียนสมาคมชาวประมงพื้นบ้านตำบลละงู และการจดแจ้งองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น
1.4. เกิดกลุ่มการจัดการผลผลิตสัตว์น้ำ โครงสร้างการบริหารจัดการกลุ่มให้เป็นปัจจุบัน
1.5. จดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนด้านการแปรรูปสัตว์น้ำของชุมชน 1 กลุ่ม

2.1.เกิดกติกา การจัดการทรัพยากรและฟื้นฟูทรัพยากร อ่าวทุ่งนุ้ยและบริเวณบ้านปลาชุมชน 2.2. มีบ้านปลาชุมชนหน้าตำบลละงู จำนวน 1 จุด
2.3. การปลูกป่าชายเลนในอ่าวทุ่งนุ้ย จำนวน 1 แปลง 2.4. เกิดการขับเคลื่อนแนวเขตอนุรักษ์  2 หมู่บ้าน(บ้านตะโละใส และ บ้านหลอมปืน )
2.5. มีข้อเสนอแนวทางการจัดการพื้นที่ต่อ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา องค์การบริหารส่วนตำบลละงู องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ

3.1. มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ อาหารทะเลแปรรูป หรือ ของฝากจากชุมชนหลอมปืน อย่างน้อย 4 ผลิตภัณฑ์ 3.2. กลุ่มมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการตลาดขายสินค้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์ (เปิดเพจขายผลิตภัณฑ์)
3.3. แกนนำมีการเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารทะเล ปลอดภัย อย่างน้อย30 คน

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2023 09:46 น.