assignment
บันทึกกิจกรรม
ถอดบทเรียนโครงการร่วมกับคณะทำงานและพื้นที่15 พฤษภาคม 2556
15
พฤษภาคม 2556รายงานจากพื้นที่ โดย aree
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ถอดบทเรียนในคณะทำงานและตัวแทนจากพื้นที่ ซึ่งประกอบด้วย คณะทำงานจากโรงพยาบาลทุ่งสง เทศบาลตำบลชะมาย ห้างสรระสินค้าสหไทย ตัวแทนจากชุมชนและหมอดินอาสา

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลการดำเนินงาน
1. เกิดการคัดแยกขยะที่เกิดขึ้นจริงและต่อเนื่องที่ห้างสรรพสินค้าสหไทย ทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการจัดเก็บ ลดเวลาการทำงาน
2. มีการเชื่อมโยงเครือข่ายที่หลากหลายภารกิจมาทำงานร่วมกัน เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมในชุมชน  มีการร่วมคิดร่วมทำระหว่างห้างสหไทย เทศบาล  และโรงพยาบาล มีส่วนร่วมกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมแบ่งบทบาทหน้าที่กัน
3.ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้จากการจัดการขยะ ได้แก่ ห้างสหไทยลดค่าใช้จ่ายในการจ้างเทศบาลมาจัดเก็บขยะ เทศบาลนำขยะที่แยกแล้วไปทำปุ๋ยหมักซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าของขยะ
4. มีกฎ กติกา  โดยเทศบาลกำหนดเป็นเทศบัญญัติให้ครัวเรือน/องค์กรที่เข้าร่วมจะได้ลดค่าบริการจัดเก็บขยะและได้ใช้ปุ๋ยหมักจากขยะในราคาถูก
5. มีบุคคลต้นแบบและปราญช์ชุมชนเกิดขึ้น  มีหมอดินคิดสูตรปุ๋ยอินทรีย์ลดต้นทุนการผลิตและลดโลกร้อนจากการแปรสภาพเศษขยะต่างๆ มาเป็นปุ๋ย
6. เกิดความรู้ใหม่มีการคิดค้นการใช้เชื้อจุลินทรีย์จากยาคูลแทนหัวเชื้อ

ถอดบทเรียนโครงการร่วมกับคณะทำงานและพื้นที่15 พฤษภาคม 2556
15
พฤษภาคม 2556รายงานจากพี่เลี้ยง โดย กำไล
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คณะกรรมการโครงการและตัวแทนผู้เกี่ยวข้องทุกภาคีเข้าร่วมถอดบทเรียนโครงการ ได้แก่ ห้างสหไทย เทศบาลตำบลชะมาย รพ.ทุ่งสง หมอดินอาสา เป็นต้น

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คนมีการเปลี่ยนพฤติกรรมที่เห็นชัดเจนมากก็คือบุคลากรในห้างสหไทย เมื่อก่อนไม่มีการจัดการขยะ ตอนนี้ทำได้ทุกคน เนื่องจากมีกติกาจากห้างเรื่องการจัดการขยะ ถ้าไปปฏิบัติจะมีผลกับการปฏิบัติงาน มีหัวหน้าฝ่ายงานของห้างคอยดูแลใกล้ชิด มีการรับซื้อขยะรีไซเคิลในห้งเพิ่มรายได้ด้วย สิ่งแวดล้อมในห้งเปลี่ยนไปมาก สะอาด เป็นระเบียบ สัตว์นำโรคลดลง ส่วนในชุมชนชะมายเกิดการพัฒนาความรู้โดยหมอดินพัฒนาสูตรน้ำหนัก และปุ๋ยหมักโดยใช้วัสดุท้องถิ่น พัฒนาจนสามารถสอนเพื่อนได้ กำลังพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้จากขยะแปลงเป็นปุ๋ยได้อีกที่หนึ่ง ส่วนโรงพยาบาลทุ่งสงก็มีประสบการณ์เรื่องการประสานงานเชื่อมร้อยเครือข่ายในพื้นที่มาร่วมพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ได้มากขึ้น

ถอดบทเรียนโครงการ(ร่วมกับสสส. ,สจรส.,ชุมชนท้องถิ่นภาคใต้)13 พฤษภาคม 2556
13
พฤษภาคม 2556รายงานจากพื้นที่ โดย aree
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งโครงการเก่าและโครงการนำเสนอใหม่

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับโครงการท้องถิ่นภาคใต้ ได้รับข้อเสนอแนะจากพี่เลี้ยงโครงการ และ สจรส.
  2. สะท้อนคุณค่าของคณะผู้จัดทำโครงการที่มีความตั้งใจและใส่ใจ ได้เรียนรู้วิธีการทำงานในชุมชนแบบมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างแท้จริง
อบรมเชิงปฏิบัติการการจัดทำปุ๋ยหมักจากขยะ26 เมษายน 2556
26
เมษายน 2556รายงานจากพื้นที่ โดย aree
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • การคัดแยกขยะและการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพ
  • สาธิตการผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพ โดยวิทยากรชุมชน
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คนในชุมชนเกิดการเรียนรู้ถึงวิธีการทำปุ๋ยหมักใช้เองในครัวเรือน  โดยมีบุคคลต้นแบบในชุมชนเป็นวิทยากรและจิตอาสาสนับสนุนด้านวิชาการ  มีการสนับสนุนจากเทศบาลในด้านวัสดุอุปกรณ์บางส่วนและการจัดการเพื่อให้เกิดความยั่งยืน

มหกรรมลดโลกร้อน ห้างสรรพสินค้าสหไทย13 กุมภาพันธ์ 2556
13
กุมภาพันธ์ 2556รายงานจากพื้นที่ โดย aree
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • จัดมหกรรม "ลดโลกร้อน ลดโลกเอดส์" เพื่อรณรงค์ลดการใช้ถุงพลาสติกในห้างสรรพสินค้าสหไทย ทุ่งสง
  • รณรงค์การใช้ถุงยางอนามัยเนื่องในเทศกาลวันวาเลนไทน์  เพื่อให้ทุกคนมีรักที่ปลอดภัย
  • มอบรางวัลการประกวดสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้และคำขวัญลดขยะ ลดโลกร้อน
  • มอบโลห์ประกาศเกียรติคุณแก่หน่วยงานที่มีส่วนร่วมในกิจกรรม
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.  เกิดเครือข่ายภายในชุมชนชะมายและกระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะและมีการจัดกิจกรรมดีๆ เพื่อร่วมลดโลกร้อนเกิดขึ้นในชุมชน
2.  มีการเรียนรู้ร่วมกันในกระบวนการทำงานตามความสามารถและความรับผิดชอบต่อชุมชนของแต่ละองค์กรที่มีส่วนร่วม

3.  ได้สร้างความคุ้นเคยระหว่าคณะทำงานและหน่วยงานที่มีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกันในบรรยากาศที่สร้างสรรค์

ประกวดสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้และคำขวัญลดขยะ ลดโลกร้อน29 มกราคม 2556
29
มกราคม 2556รายงานจากพื้นที่ โดย aree
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประกวดสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้
  2. ประกวดคำขวัญลดขยะ ลดโลกร้อน
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

โรงเรียนได้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมลดโลกร้อนและเป็นการกระตุ้นให้เยาวชนได้เห็นรูปแบบของการประดิษฐ์วัสดุเหลือใช้และการคิดคำขวัญเพื่อเป็นการเตือนใจในการลดการเกิดขยะลดโลกร้อน และเป็นการสร้างเครือข่ายการดำเนินงานการจัดการขยะภายในโรงเรียน

ประชุมติดตามกลุ่มจังหวัดนครศรีธรรมราช20 มกราคม 2556
20
มกราคม 2556รายงานจากพื้นที่ โดย aree
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดการประชุมติดตาม และสนับสนุนโครงการ ร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่พื้นที่ภาคใต้ ปี 2555  กลุ่มจังหวัดนครศรีธรรมราช

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

แผนงานได้รับการทบทวนและตรวจสอบความถูกต้อง

ประชาสัมพันธ์โครงการและประสานการจัดกิจกรรมประกวดสิ่งประดิษฐ์และคำขวัญลดโลกร้อน14 มกราคม 2556
14
มกราคม 2556รายงานจากพื้นที่ โดย aree
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประชาสัมพันธ์ทางรายการวิทยุ สวท.ทุ่งสง
  2. เสียงตามสายในโรงเรียน/ห้าสรรพสินค้า/ในชุมชน
  3. อาสาสมัครประชาสัมพันธ์ในหมู่บ้านวังหีบ
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สามารถประชาสัมพันธ์ได้ครบตามเป้าหมาย  ขาดในส่วนย่อยบางส่วน เช่น เสียงตามสายของเทศบาลไม่ได้จัด  แต่ใช้เป็นการมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่ในเทศบาลเข้าร่วมกิจกรรมจริง

ติดตามการจัดมหกรรมลดโลกร้อน ลดโลกเอดส์ การจัดตั้งธนาคารขยะ8 มกราคม 2556
8
มกราคม 2556รายงานจากพื้นที่ โดย aree
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

  ติดตามเรื่องการประกวดคำขวัญ ลดขยะ  ลดโลกร้อน  และประกวดการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้
ประสานเรื่องการคัดแยกขยะกับห้างสหไทย
ประสานเรื่องการศึกษาดูงานของโรงเรียนบ้านวังหีบ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีผู้ร่วมรับการติดตาม 8 คน มีการนัดหมายการส่งผลงาน  การการมอบหมายหน้าที่ผู้รับผิดชอบประสานงานในกิจกรรมตามต่างๆ ตามแผนท่ีกำหนดไว้

พี่่เลี้ยงติดตามการดำเนินงานและสรุปรายงานงวดทีี่ 1 ส่ง สสส.13 ธันวาคม 2555
13
ธันวาคม 2555รายงานจากพื้นที่ โดย aree
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
พี่่เลี้ยงติดตามการดำเนินงานและสรุปรายงานงวดทีี่ 1 ส่ง สสส.13 ธันวาคม 2555
13
ธันวาคม 2555รายงานจากพี่เลี้ยง โดย กำไล
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการ และพี่เลี้ยงร่วมกันทบทวนการดำเนินงาน พี่เลี้ยงติดตามผลงานและความถูกต้องของการทำรายงาน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีการดำเนินงานบรรลุเป้าหมายในระยะแรก สามารถส่งรายงานงวดได้ ควรพัฒนาเรื่องการจัดกิจกรรมเพิ่มเติมให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายให้มากขึ้น เน้นให้ชวนภาคีสนับสนุนมาเพิ่ม และติดตามการใช้จ่ายงบประมาณให้เหมาะสมเป็นไปตามในสัญญา

ประชุมติดตามโครงการโดยคณะทำงาน26 พฤศจิกายน 2555
26
พฤศจิกายน 2555รายงานจากพื้นที่ โดย aree
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมคณะะทำงานวิเคราะห์ผลการดำเนินงานรายกิจกรรมทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กิจกรรมที่ดำเนินการผ่านมา 8 กิจกรรม บรรลุตามเป้าหมายทั้งหมด

พี่เลี้ยงติดตามสนับสนุนโครงการ23 พฤศจิกายน 2555
23
พฤศจิกายน 2555รายงานจากพี่เลี้ยง โดย กำไล
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ถอดบทเรียนการดำเนินงาน และวางแผนการดำเนินงานต่อเนื่อง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีเครือข่ายร่วมดำเนินงานที่เข้มแข็ง โดยเฉพาะ อบต.ชะมาย ดำเนินการต่อยอดกิจกรรมถึงชุมชนอื่นได้ดีมาก ภาคีร่วมที่เห็นผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านคน สิ่งแวดล้อม และกลไก คือ ห้างสหไทย คนร่วมจัดการขยะ สิ่งแวดล้อมสะอาดเป็นระเบียบขึ้น เกิดกลไก การส่งขยะให้ อบต. จัดการในราคาถูก

พี่เลี้ยงติดตามสนับสนุนโครงการ23 พฤศจิกายน 2555
23
พฤศจิกายน 2555รายงานจากพื้นที่ โดย กำไล
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

มีผู้เข้าร่วม ๑๓ คน มีองค์กรหลายหลายมาร่วมพูดคุยเพื่อถอดบทเรียนการทำงาน พี่เลี้ยงสอนการบันทึกข้อมูลในเวปคนใต้สร้างสุข 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีผู้เข้าร่วม 11 คน จากเทศบาลตำบลชะมาย และจากโรงพยาบาลทุ่งสง

มีผลการดำเนินงานบรรลุมากกว่าเป้าหมาย มีการพัฒนาต่อโดยเชื่อมเครือข่ายการดำเนินงานกับชุมชนโดย อบต. เป็นผู้รับผิดชอบในการทำแผนแก้ปัญหาเรื่องขยะ มีเครือข่ายมาช่วยเพิ่มขึ้น ได้แก่ คลินิกในห้างสหไทย โรงเรียน องค์กรชุมชน เป็นต้น

ประชุมการคัดแยกขยะในห้า่งสรรพสินค้า16 ตุลาคม 2555
16
ตุลาคม 2555รายงานจากพื้นที่ โดย aree
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

บรรยายเรื่อง  ประเภทของขยะและการคัดแยก และสนทนากลุ่มในเรื่องข้อตกลงของร้านค้าย่อยในห้างกับผู้บริหาร และเทศบาลตำบลชะมาย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลการประชุมเชิงปฏิบัติการมีมติตกลงกันในที่ประชุมดังนี้ 1. ให้ร้านค้าย่อยแยกขยะ 2 ถัง คือ ขยะอินทรีย์  ขยะทั่วไป
2. ให้เทศบาลตำบลชะมายมารับขยะอินทรีย์ทุกวัน
3. เทศบาลตำบลชะมายมีแนวโน้มที่จะเรียกเก็บค่าบริการขนขยะของห้างในราคาที่สูงขึ้น เนื่องจากปริมาณขยะเพิ่มมากขึ้น  แต่หากมีกิจกรรมการคัดแยกขยะภายในห้าง ขยะอินทรีย์จะถูกนำไปทำปุ๋ยอินทรีย์สาธิตซึ่งทางเทศบาลจะไม่คิดค่าใช้จ่าย  และหากปริมาณขยะทั่วไปลดลงโดยใช้ข้อมูลเชิงปริมาณเป็นเกณฑ์วัดค่าบริการขนขยะก็จะลดลง
4. ขยะอินทรีย์ที่ทางเทศบาลขนไปจะนำมาทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์สาธิตในพื้นที่ ม. 5 ต.ชะมาย และอาจมีการนำมาแจกในงานมหกรรมลดโลกร้อน
5. ข้อกำหนดของทางห้างที่ให้ร้านค้าปฏบัติดังนี้
    - งานแม่บ้านแจ้งร้านค้าทุกร้านห้ามโยนขยะ
    - ถุงขยะให้เว้นปากถุงไว้ หนึ่งในสี่ส่วน จากปากถุง แล้วมัดโดยใช้ถุงมัดกันเอง เพื่อป้องกันขยะล้นถุง
    - ให้ล้างพื้นที่และกวาดพื้นที่วางขยะให้แห้งทุกวัน
6. เทศบาลขอเวลาเคลียร์พื้นที่ 1 สัปดาห์ แล้วจะเริ่มจัดเก็บขยะให้ทันที
7. เทศบาลแจ้งให้ทางคลินิก 2 แห่ง  ได้แก่ นิติพนและวุฒิศักดิ์แยกขยะติดเชื้อส่งกำจัดกับทางโรงพยาบาลทุ่งสง  โดยให้เทศบาลเป็นผู้ทำหนังสือประสานความร่วมมือ
8. กำหนดจากจัดมหกรรมลดโลกร้อน ลดโลกเอดส์ วันที่ 13-14 กุมภาพันธ์ 2556

ประชุมเชิงปฏิบัติการ "การจัดการขยะแบบบูรณาการในชุมชนบ้านวังหีบ"7 กันยายน 2555
7
กันยายน 2555รายงานจากพื้นที่ โดย aree
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • กิจกรรมสันทนาการ
  • ความรู้ในการจัดการขยะแบบบูรณาการ
  • แบ่งกลุ่มและสนทนากลุ่มในประเด็น
      * ขยะที่พบในชุมชนเรามีอะไรบ้าง
      * ปัญหาของการเกิดขยะในชุมชนหรือแนวโน้มของปัญหามีอะไรบ้าง 
      * แนวทางในการจัดการขยะของชุมชนเรา
  • นำเสนอแนวทางการจัดการขยะของชุมชน/สรุปข้อตกลงของชุมชน
  • แลกเปลี่ยนเรียนรู้และปรับกิจกรรมตามบริบทของพื้นที่
  • สรุปกิจกรรมที่ต้องดำเนินการร่วมกันและกำหนดนัดหมายการดำเนินงาน
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ 1. ข้อมูลทั่วไป มีจำนวนผู้เข้าร่วมประชุม  101  คน  แบ่งเป็น
 โรงเรียนวัดวังหีบ  ชุมชนบ้านวังหีบ  เทศบาลตำบลชะมาย  โรงพยาบาลทุ่งสง 2. ผลของการประชุมกลุ่มซึ่งแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม สรุปได้ดังนี้ 1. ประเภทของขยะที่มีในชุมชน  ขยะอินทรีย์  ขยะรีไซเคิล o พลาสติก o แก้ว o โลหะ o กระดาษ  ขาว-ดำ  ลัง  หนังสือพิมพ์-วารสาร  อื่นๆ  ขยะอันตราย  ขยะทั่วไป 2. ปัญหาของขยะที่เกิดขึ้นในชุมชน. แบ่งเป็น 2 ส่วน  โรงเรียน และละแวกบ้าน+ชุมชน ปัญหาขยะในโรงเรียน o ขยะเยอะ  ไม่มีการคัดแยกขยะ  เกิดโรค  ปนเปื้อนในดิน ส่งกลิ่นรบกวน
ปัญหาขยะในละแวกบ้าน+ชุมชน o เป็นที่พฤติกรรมของคน เช่น ทิ้งขยะไม่เป็นที่  ไม่แยกขยะ  เป็นแหล่งที่อยู่ของสัตว์นำโรค  แหล่งเพาะพันธ์ยุง  น้ำเน่าเสีย  ทัศนียภาพไม่สวยงาม
o คัดแยกขยะในครัวเรือนแล้ว...ไม่มีคนรับซื้อ (มันน้อยไม่คุ้มการขนส่ง)

  1. แนวทาง o คัดแยกขยะในแต่ละครัวเรือนเพื่อนำไปขาย o ฝังกลบทำปุ๋ย หรือน้ำหมักชีวภาพ o รณรงค์ลดการใช้ถุงพลาสติก o สร้างจิตสำนึกในแต่ละคน o สร้างธนาคารขยะ สรุปประเด็น...อาจารย์เสนอให้ทุกคนร่วมกันปลูกต้นจิตสำนึกจากดวงจิตของทุกคน
  2. ข้อสรุปที่ได้จากการร่วมคิดของชุมชน o ขยะอินทรีย์  เทศบาลตำบลชะมายขอนำไปจัดทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์เพื่อเป็นการสาธิต o ขยะอันตราย  ทางเทศบาลตำบลชะมายรับผิดชอบรับมาดำเนินการ o ขยะรีไชเคิล ให้นำมาฝากขายที่ธนาคารขยะ  โดยจัดตั้งธนาคารขยะที่โรงเรียน o แต่ละบ้านควรแยกขยะเก็บไว้ที่บ้านและนำมาฝากที่ธนาคารขยะ (ที่โรงเรียน)
    o ขอตัวแทนจากชุมชนมาช่วยงานธนาคารขยะในวันเปิดดำเนินการ  ซึ่งกำหนดไว้เป็นวันศุกร์ o นัดประชุมคณะทำงานธนาคารขยะวันที่ 21 กันยายน 2555
ศึกษาดูงานและจัดกิจกรรมแรลลี่ลดโลกร้อน21 สิงหาคม 2555
21
สิงหาคม 2555รายงานจากพื้นที่ โดย aree
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คณะนักเรียนโรงเรียนตันติวัตรศึกษาดูงานและเข้าร่วมกิจกรรมแรลลี่ลดโลกร้อนที่สถานีลดโลกร้อนชุมทางทุ่งสง จำนวน 202 คน/1 วัน (จำนวนผู้ศึกษาดูงานเกินจำนวนที่กำหนดไว้แต่ยังขาดกลุ่มเป้าหมายอีก 1 โรงเรียน)

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีผู้เข้าร่วม 224 คน โดยแบ่งเป็น คณะทำงาน 24 คน นักเรียน 180 คน และครู 20 คน

  1. ข้อมูลนักเรียนที่ร่วมศึกษาดูงาน  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 180 คน  คุณครูประจำชั้นและคณะทำงานโครงการรวม 20 คน
  2. ข้อมูลการศึกษาดูงานและแรลลี่ลดโลกร้อน
     ออกเดินทางจากโรงเรียนถึงสถานีลดโลกร้อนเวลา 08.40 น. แบ่งกลุ่มออกเป็น 5 กลุ่ม  ประกอบด้วย สีเหลือง  สีแดง  สีชมพู  สีฟ้า  สีเขียว
     แบ่งการแรลลี่ไปตามฐานต่างๆ  5 ฐาน ประกอบด้วย
    1 . ห้องละร้อน ดูวีดีโอการเกิดโลกร้อน  การเกิดกาซเรือนกระจก  รอยเท้านิเวศน์  คำคมโลกร้อน  วัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์
    2.  มห้ศจรรย์แห่งต้นไม้
    3.  5 R เยียวยาโลก
    4.  ปาเป้ากำจัด CO 2
    5.  ฐานบันไดงูพลังงาน
  3. ข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสังเกตและสอบถาม
     นักเรียนให้ความสนใจและเพลิดเพลินกับกิจกรรม
     ความรู้จากแต่ละฐานที่ทางสถานีจัดให้เป็นความรู้ที่น่าสนใจและเป็นเชิงลึกในแต่ละฐาน  ส่วนใหญ่เป็นสิ่งใหม่ๆ  ที่เด็กๆ ไม่เคยทราบมาก่อน  และไม่มีในห้องเรียน
สำรวจพื้นที่เตรียมความพร้อมชุมชนและโรงเรียน17 สิงหาคม 2555
17
สิงหาคม 2555รายงานจากพื้นที่ โดย aree
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ลงพื้นที่เพื่อสำรวจและเตรียมความพร้อมที่โรงเรียนบ้านยวังหีบ/ชุมชนวังหีบ ในเรื่องปัญหาขยะและการจัดการขยะที่ดำเนินอยู่และในสิ่งที่ต้องการดำเนินการ ประสานความร่วมมือร่วมกัน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลสำรวจพื้นที่เตรียมความพร้อมชุมชนและข้อมูลเกี่ยวกับสภาพปัญหาขยะและการจัดการขยะ 1. ข้อมูลทั่วไปของโรงเรียนบ้านวังหีบ
 นักเรียน 128 คน
2. ข้อมูลการจัดการขยะโรงเรียนบ้านวังหีบ
 นักเรียนแบ่งเขตเป็นโซนรับผิดชอบเรื่องขยะและความสะอาด 4 โชน  ขยะมีการขุดหลุมฝัง  ขยะจากเศษอาหารทำเป็นอาหารสัตว์  ขยะ recycle เก็บขายยังไม่มีสถานที่เก็บที่ชัดเจน  มีโรงเรือนที่วางแผนไว้ว่าจะจัดทำเป็นที่พักขยะ recycle
3. ข้อมูลการจัดการขยะบ้านวังหีบ ม. 5 ตำบลชะมาย
 มีเทศบาลตำบลชะมายรับดำเนินการ เสียค่าบริการครัวเรือนละ 40 บาท
4. กิจกรรมที่ชุมชนต้องการสนับสนุน
 ประสานงานเทศบาลตำบลชะมาย  ในเรื่องการจัดการขยะอันตราย
5. สิ่งที่โครงการดำเนินการให้
 จัดประชุมวันที่ 7 กันยายน 2555 เรื่อง “ การจัดการขยะแบบบูรณาการในชุมชน” ที่ศาลาเอนกประสงค์ชุมชนบ้านวังหีบ กลุ่มเป้าหมาย 100 คน  กำหนดหลักสูตร 1 วัน
 รองผอ. ขอให้จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะในนักเรียนโรงเรียนบ้านวังหีบ โดยใช้เวลา 1-2 ชั่วโมง
 กิจกรรมศึกษาดูงานและแรลลี่ลดโลกร้อน กำหนดเป็นนักเรียนชั้น ป. 4 –ม. 3 จำนวน 65 คน รอทางโรงเรียนกำหนดวัน  เพื่อแจ้งสถานีชุมทางลดโลกร้อนต่อไป

สำรวจพื้นที่เตรียมความพร้อมชุมชนและโรงเรียน31 กรกฎาคม 2555
31
กรกฎาคม 2555รายงานจากพื้นที่ โดย aree
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ลงพื้นที่เพื่อสำรวจและเตรียมความพร้อมที่ห้างสรรพสินค้าสหไทย ในเรื่องปัญหาขยะและการจัดการขยะที่ดำเนินอยู่และในสิ่งที่ต้องการดำเนินการ ประสานความร่วมมือร่วมกัน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีผู้เข้าร่วมจำนวน 11 คนจากหลายหน่วยงาน ประกอบด้วย รพ.ทุ่งสง เทศบาลตำบลชะมาย ห้างสหไทย โรงเรียนตันติวัตร โรงเรียนบ้านวังหีบ

ผลสำรวจพื้นที่เตรียมความพร้อมชุมชนและข้อมูลเกี่ยวกับสภาพปัญหาขยะและการจัดการขยะ

  1. ข้อมูลการจัดการขยะของห้างสหไทย  การคัดแยกขยะแบ่งเป็นขยะ 3 ประเภท
  2. ขยะทั่วไปแบ่งเป็น  ขยะเปียก  ขยะแห้ง
  3. ขยะติดเชื้อ ยังไม่มีการแยก
  4. ขยะอันตราย ยังไม่มีการแยก
     ส่วนที่เป็นขยะทั่วไปเกิดจากผู้ประกอบการภายในห้างและลูกค้า  โดยส่วนที่เป็นขยะ recycle ได้  มีการคัดแยกและมีห้องเก็บรวมรวมและส่งขาย  การคัดแยกขยะอินทรีย์มีการแยกอยู่แล้วมีบ่อดักไขมัน ส่วนที่เป็นเศษอาหารเก็บเป็นอาหารสัตว์
     ขยะอันตราย  เคยจัดกิจกรรมร่วมกับกรีนพลีส  ในเรื่องการคัดแยกขยะ
  5. การขนถ่ายและการกำจัด
     มีเทศบาลตำบลชะมายรับดำเนินการ เสียค่าบริการเดือนละ 3,500 บาท
  6. ปัญหาที่พบในการจัดเก็บและขนถ่าย
     ถุงขยะแตกรั่ว เลอะเทอะ
  7. กิจกรรมที่ห้างสรรพสินค้าต้องการสนับสนุน
     การให้ความรู้ผู้ประกอบการภายในห้างในเรื่องการจัดการขยะ  ข้อตกลงเบื้องต้น  โครงการจะสนับสนุนวิทยากรให้ โดยให้ทางห้างเป็นผู้นัดหมาย
     ประสานงานเทศบาลตำบลชะมาย  ในเรื่องการจัดการขยะอันตราย
  8. สิ่งที่โครงการดำเนินการให้
     จัดกิจกรรม event กำหนดประมาณวันที่ 22-23 ตุลาคม 55  รูปแบบกิจกรรมจะกำหนดรายละเอียดอีกครั้ง
     จัดอบรมให้ความรู้ในเรื่องการคัดแยกขยะ  รอทางห้างพร้อม
สำรวจพื้นที่เตรียมความพร้อมชุมชนและโรงเรียน30 กรกฎาคม 2555
30
กรกฎาคม 2555รายงานจากพื้นที่ โดย aree
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ลงพื้นที่เพื่อสำรวจและเตรียมความพร้อมที่โรงเรียนตันติวัตร ในเรื่องปัญหาขยะและการจัดการขยะที่ดำเนินอยู่และในสิ่งที่ต้องการดำเนินการ ประสานความร่วมมือร่วมกัน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีผู้เข้าร่วมจำนวน 11 คนจากหลายหน่วยงาน ประกอบด้วย รพ.ทุ่งสง เทศบาลตำบลชะมาย ห้างสหไทย โรงเรียนตันติวัตร โรงเรียนบ้านวังหีบ

ผลสำรวจพื้นที่เตรียมความพร้อมชุมชนและข้อมูลเกี่ยวกับสภาพปัญหาขยะและการจัดการขยะ

  1. ข้อมูลทั่วไปของโรงเรียนตันติวัตร
     มีนักเรียนอนุบาล 1-3 และระดับประถมศึกษา 1-6 จำนวน  1,860 คน

  2. การจัดการมูลฝอย/ขยะโรงเรียน
     มีขยะทั่วไป  จัดเก็บโดยเทศบาลชะมาย ค่าบริการเดือนละ 2,000 บาท  มีการแบ่งความรับผิดชอบให้นักเรียนดูแลความสะอาดเป็นเขตพื้นที่เป็นระดับชั้น  แต่ละห้องจะคัดแยกขยะฝากไว้กับธนาคารขยะโรงเรียนขายเดือนละครั้งโดยมีร้านเข้ามารับซื้อ ส่วนใหญ่จะเป็นประเภทกระดาษ, ลังกระดาษ,
     เศษใบไม้  ขุดหลุมฝังเป็นปุ๋ยจากขยะอินทรีย์  กำลังอยู่ในช่วงทำแปลงผักในพื้นที่โรงเรียน
     ขยะอันตราย ทำลายเองโดยใช้หลุมฝังกลบที่หนองเสม็ด

  3. กิจกรรมที่โรงเรียนต้องการสนับสนุน
     มีโครงการเดิมอยู่แล้ว  ต้องการดำเนินการต่อ  โดยให้โครงการสนับสนุนบางส่วน  เช่นการจัดการขยะ/การคัดแยกขยะ การทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ  (มีในรายละเอียดกิจกรรมโครงการแล้ว)

  4. สิ่งที่โครงการดำเนินการให้
     จัดกิจกรรมแรลลี่ลดโลกร้อนในนักเรียนชั้น ป. 4 จำนวน  180 คน  วันที่ 21 สิงหาคม 2555  จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ การจัดการขยะแบบบูรณาการ  วันที่ 7 กันยายน 2555 โดยมีตัวแทนจากโรงเรียนเข้าร่วมกิจกรรม  การจัดกิจกรรมประกวดสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ในโรงเรียน  รอจัดพร้อมกับวันสำคัญของโรงเรียน
ประชุมชี้แจงโครงการแก่พื้นที่เป้าหมายเพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานร่วมกัน2 กรกฎาคม 2555
2
กรกฎาคม 2555รายงานจากพื้นที่ โดย aree
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. มีตัวแทนเข้าร่วมประชุมครบทุกหน่วยงานที่กำหนดไว้
  2. มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน/คน
  3. มีการสรุปผลการประชุมและกิจกรรมที่จะดำเนินการร่วมกัน
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีผู้เข้าร่วมประชุม 16 คน และมีกลุ่มเป้าหมายมาประชุมเพิ่มอีก 2 หน่วยงานคือ เทศบาลตำบลชะมาย และ การศึกษานอกโรงเรียนทุ่งสง สรุปผลการประชุมชี้แจงโครงการเพื่อกำหนดบทบาทหน้าที่และกำหนดกิจกรรมร่วมกัน กิจกรรมที่ต้องดำเนินการ 1. โรงเรียนบ้านวังหีบ โรงเรียนตันวัตร
 สำรวจพื้นที่โรงเรียน ตันติวัตร  30 กรกฎาคม 2555  โรงเรียนบ้านวังหีบ วันที่ 17 สิงหาคม 2555
 ศึกษาดูงานสถานีลดโลกร้อน สวนพฤกษาสิรินธร แก่นักเรียนชั้น ป. 4 โรงเรียนตันติวัตร วันที่ 21 สิงหาคม 2555  โรงเรียนบ้านวังหีบกำหนดเป็นเดือนกันยายน
 จัดกิจกรรม “จัดประกวดสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้”  ใช้พื้นที่ โรงเรียนตันติวัตร
 อบรมการคัดแยกขยะ  จัดตั้งธนาคารขยะ
2. ห้างสรรพสินค้าสหไทย
 สำรวจพื้นที่ วันที่ 31 กรกฎาคม 2555
 มหกรรมลดการใช้ถุงพลาสติก  วันที่ 22-23 ตุลาคม 2555
 อบรมการจัดการขยะให้กับผู้ค้าย่อยในห้างสรรพสินค้า
3. ชุมชนบ้านวังหีบ ม.5 ต.ชะมาย
 สำรวจพื้นที่
 อบรมเชิงปฏิบัติการการคัดแยกขยะ
 อบรมเชิงปฏิบัติการการทำปุ๋ย/น้ำหมักชีวภาพ
4. กำหนดนัดหมายสำรวจชุมชน  วันที่ 30 กรกฎาคม- 31 กรกฎาคม , 17 สิงหาคม 2555