โครงการ"จากโรงเรียนสู่บ้าน สืบสานความพอเพียง" หมู่ 2 ตำบลวัดจันทร์ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา

แบบบันทึกการติดตามสนับสนุนโครงการ ครั้งที่ 1

รหัสโครงการ 55-00991
สัญญาเลขที่ 55-00-0718

ชื่อโครงการ โครงการ"จากโรงเรียนสู่บ้าน สืบสานความพอเพียง" หมู่ 2 ตำบลวัดจันทร์ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
รหัสโครงการ 55-00991 สัญญาเลขที่ 55-00-0718
ระยะเวลาตามสัญญา 20 กรกฎาคม 2012 - 19 กรกฎาคม 2013

ส่วนที่ 1 : ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม

1.1 ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 1 นายสมชาย ละอองพันธุ์
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 2
วันที่ลงพื้นที่ติดตาม 11 มกราคม 2013
วันที่ส่งรายงานถึง สสส.
1.2 ผู้ให้ข้อมูล
ลำดับชื่อ-สกุลผู้ให้ข้อมูลที่อยู่หมายเลขโทรศัพท์
1 นายเจริญ ปิ่นทอง 14/2 หมู่ที่ 1 ตำบล วัดจันทร์ อำเภอ สทิงพระ จังหวัดสงขลา รหัสไปรษณีย์ 90190 089-8792583
2 นางวลี ไพบูลย์ 63 หมู่ที่ 2 ต.วัดจันทร์ อ.สทิงพระ จ.สงขลา รหัสไปรษณีย์ 90190 081-9597385
3 นางอารีย์ เรืองสุข 8/1หมู่ที่ 2 ต.วัดจันทร์ อ.สทิงพระ จ.สงขลา รหัสไปรษณีย์ 90190 074-485118
4 นางกฤษณา แสงสุวรรณ 12/1 หมู่ 2 ต.วัดจันทร์ อ.สทิงพระ จ.สงขลา รหัสไปรษณีย์ 90190 074-485335

ส่วนที่ 2 : ข้อมูลโครงการและความก้าวหน้าการดำเนินงาน

2.1 วัตถุประสงค์และตัวชี้วัดความสำเร็จโครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1.

เพื่อเสริมสร้างทักษะการดำรงชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนในศูนย์เรียนรู้

  1. ร้อยละ 80 ของนักเรียนในศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงได้รับการเสริมสร้างทักษะการดำรงชีวิต เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
  2. ประชาชนในพื้นที่หมู่ 2 บ้านบ่อประดู่ ได้รับการเสริมสร้างทักษะการดำรงชีวิตเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 50 ครัวเรือน
  3. เกิดแกนนำเยาวชนสุขภาวะ

2.

เพื่อขยายแนวคิดการดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงสู่ชุมชนรอบศูนย์เรียนรู้

  1. ประชาชนในพื้นที่หมู่ 2 บ้านบ่อประดู่ ดำเนินชีวิตตามแนววิถีเศรษฐกิจพอเพียงจำนวน 50 ครัวเรือน
  2. เกิดสถานที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ด้านเศรษฐกิจพอเพียงในตลาดนัดชุมชน จำนวน 1 แห่ง
  3. เกิดชุดความรู้เรื่อง แหล่งเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 1 ชุด
  4. เกิดข้อมูลแผนที่สุขภาวะของหมู่บ้าน
  5. เกิดคณะทำงานด้านการขับเคลื่อนสู่ชุมชนสุขภาวะที่มีองค์ประกอบจาก 3 ภาคส่วน คือ ภาคประชาชน หน่วยงานรัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  6. เกิดแผนงานเพื่อการขับเคลื่อนงานของพื้นที่
  7. แผนงานด้านเศรษฐกิจพอเพียง สู่ชุมชนสุขภาวะถูกบรรจุเป็นแผนงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

3.

เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของโครงการ

  1. คณะทำงานโครงการเข้าร่วมการประชุมกับสสส. หรือ สจรส.ม.อ. อย่างน้อยร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งทีจัด
  2. มีป้ายไวนีลสถานที่นี้ปลอดบุหรีจัดตั้งไว้ในชุมชน
  3. มีรายงานความก้าวหน้า และรายงานฉบับสมบูรณ์จัดส่ง สสส.
  4. มีภาพถ่ายทุกกิจกรรมตลอดทั้งโครงการ
2.2 ความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ
กลุ่มเป้าหมายงบประมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงปริมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพ/สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ
ที่ตั้งไว้(บาท)เกิดขึ้นจริง(บาท)จำนวนที่ตั้งไว้(คน)จำนวนเกิดขึ้นจริง(คน)

กิจกรรมย่อย: 1.ประชุมเชิงปฏิบัติการด้านเศรษฐกิจพอเพียงi

1.นักเรียนกลุ่มเสี่ยงที่สมัครเข้าร่วมโครงการ จำนวน 100 คน 2.ประชาชนจากบ้านบ่อประดู่ จำนวน 50 คน 3.คณะทำงาน/หน่วยงานรัฐ/ภาคี จำนวน 10 คน 0.00 0.00 0 0 ผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพที่ตั้งไว้ :

ประชุมเชิงปฏิบัติการโดย อ.ภานุ พิทักษ์เผ่า สมาคมเกษตรอินทรีย์วิถีไท  จำนวน 1 วัน ผลที่เกิดขึ้น คือ 1.ผู้เข้าร่วมประชุมมีความเข้าใจภาพรวมโครงการ/วัตถุประสงค์ 2.นักเรียนกลุ่มเสี่ยงเข้าร่วมโครงการ จำนวน 100 คน 3.มีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ อย่างน้อย 50 ครัวเรือ

ผลการจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง :
  1. ประชุมเชิงปฏิบัติการด้านการดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงโดยมีการถ่ายทอดแนวคิดโดย บังเพาซี ซึ่งเป็นวิทยากรกระบวนการที่มีประสบการณ์ชีวิตในการดำเนินชีวิตที่ผิดพลาดและกลับตัวมาใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง  ณ ห้องประชุม โรงเรียนสทิงพระชนูปถัมภ์ กิจกรรมครั้งนี้ได้รับการเปิดงานจาก นายสมยศ ศักพันธ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวัดจันทร์ ให้เกียรติมาเป็นประธานและมีความชื่นชม การทำกิจกรรมของโรงเรียน
  2. มีการเปิดที่ทำการศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของตำบล
  3. เกษตรอำเภอสทิงพระได้มาร่วมงานและชื่นชมการทำงานของศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอย่างมาก ตลอดจนการดำริให้การสนับสนุนการทำงานของศูนย์ฯ
  4. ชาวบ้านที่มาร่วมโครงการมีความสนใจในการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงเป็นอย่างมาก
  5. การเรียนรู้วิธีการลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน เช่น การทำเตาเผาถ่านชีวมวล ถ่านอัดแท่ง เตาอั้งโล่ประหยัดพลังงาน
สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ :
  1. ประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
  2. ประชาชนผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความสนใจต่อแนวคิดการดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีการถ่ายทอดประสบการณ์จริงจากวิทยากร คือ บังเพา ซี ซึ่งเป็นวิทยากรกระบวนการที่มีประสบการณ์ของชีวิตที่ผิดพลาด แต่ภายหลังกลับมาใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นเครื่องดำรงชีวิต

กิจกรรมย่อย: 2.การศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงภายในจังหวัดสงขลาi

คณะทำงานโครงการ จำนวน 10 คน 0.00 0.00 0 0 ผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพที่ตั้งไว้ :

ไม่มีการวางแผนกิจกรรมไว้ในโครงการตั้งแต่เดิม เนื่องจากคณะทำงานโครงการต่อยอดเป็นชุดใหม่ ส่งผลให้ทางคณะทำงานของความเห็นชอบจากพี่เลี้ยง เพื่อให้การทำกิจกรรมพัฒนาศูนย์เรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง ได้มองเห็นภาพที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น จึงแนะนำว่า ควรไปศึกษาดูงา

ผลการจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง :

คณะทำงานและวิทยากรกระบวนการประจำศูนย์เข้าร่วมการศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้ด้านพลังงานจำนวน 3 แหล่ง ประกอบด้วย

  1. แหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับธนาคารอาหาร ต.ควนรู
  2. แหล่งเรียนรู้ด้านพลังงานทดแทนของศาลาคงจันทร์ และคูหาไต้
  3. แหล่งเรียนรู้เรื่องพลังงานทดแทนของบังหลี ต.ปริก อ.สะเดา

คณะทำงานได้แนวทางการขับเคลื่อนโครงการฯ

สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ :
  1. คณะทำงานโครงการและวิทยากร ครู ก.ซึ่งจะมาต่อยอด มีความรู้และเกิดแนวทางการขับเคลื่อนงานของโครงการในพื้นที่ตนเอง
  2. คณะทำงานหารือต่อเนื่องภายหลังการศึกษาดูงาน พบว่า จะต่อยอดให้จุดที่เป็นแหล่งเรียนรู้กลายเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียงของตำบลอย่างครบวงจร ซึ่งต้องมีการจัดตั้งคณะทำงานของศูนย์ฯ และพัฒนากิจกรรมที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น เช่น การพัฒนานาคารขยะของโรงเรียนและขยายไปในชุมชน การปลูกผักปลอดสารพิษ เป็นต้น

กิจกรรมย่อย: 3.1ปฏิบัติการชุมชนด้านพลังงาน(เตาเผาถ่านชีวมวล 1000 ลิตร) ครั้งที่ 1i

1.นักเรียนกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 100 คน 2.ประชาชนจากบ้านบ่อประดู่ จำนวน 50 คน 0.00 0.00 0 0 ผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพที่ตั้งไว้ :

ร้อยละ 95 ของกลุ่มเป้าหมาย ได้ปฏิบัติการด้านเศรษฐกิจพอเพียงจำนวน 6 ครั้ง  (เดือนละ 1 ครั้ง) โดยครูภูมิปัญญาด้านเศรษฐกิจพอเพียงของคนในพื้นที่

ผลการจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง :
  1. นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมได้รับการบรรยายความรู้เรื่อง วิธีการทำถ่านชีวมวล(เตาชีวมวล 1000 ลิตร)ใช้เองจากทีมวิทยากร
  2. นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติการจริงในการเผาถ่านจากเตาชีวมวล 1000 ลิตร โดยแบ่งหน้าที่กันทำตามทฤษฎีที่ได้รับการอบรมความรู้มา แบ่งกันทำงานกลุ่มละ 4-5 คน
สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ :
  1. นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมทีทักษะการเผาถ่านจากเตาเผาชีวมวลขนาด 1000 ลิตร
  2. นักเรียนรู้จักรับผิดชอบโดยการแบ่งหน้าที่กันทำงานตามกลุ่มของตนเอง
  3. นักเรียนกลุ่มเสี่ยง เช่น เกเร หรือมีโอกาสติดยาเสพติด ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
  4. เกิดความร่วมมือจากหน่วยงานในพื้นที่ คือ อบต.วัดจันทร์ ในการสนับสนุนกิ่งไม้สนที่เหลือจากการตัดแต่งมาทำประโยชน์ให้กับโรงเรียน

กิจกรรมย่อย: 3.2 ปฎิบัติการชุมชนการปลูกผักใจประสานใจ ครั้งที่ 2i

1.นักเรียนกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 100 คน 2.ประชาชนจากบ้านบ่อประดู่ จำนวน 50 คน 0.00 0.00 0 0 ผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพที่ตั้งไว้ :

ร้อยละ 95 ของกลุ่มเป้าหมาย ได้ปฏิบัติการด้านเศรษฐกิจพอเพียงจำนวน 6 ครั้ง  (เดือนละ 1 ครั้ง) โดยครูภูมิปัญญาด้านเศรษฐกิจพอเพียงของคนในพื้นที่

ผลการจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง :
  1. นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมสามารถปฏิบัติการด้วยตนเองเรื่อง การปลูกผักแบบปลอดสารพิษอย่างน้อยคนละ 1 แปลง
  2. นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความรับผิดชอบมากยิ่งขึ้น โดยการปลูกผักจะต้องดูแลเอาใจใส่ในการปลูกผัก รดน้ำผัก
สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ :
  1. นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความรับผิดชอบมากยิ่งขึ้น โดยการปลูกผักจะต้องดูแลเอาใจใส่ในการปลูกผัก รดน้ำผัก
  2. นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความภาคภูมิใจในตนเอง
2.3.1 นวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ

(นวัตกรรมคือ การจัดการความคิด กระบวนการ ผลผลิต และ/หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสม มาใช้งานให้เกิดประสิทธิผล และ/หรือประสิทธิภาพมากกว่าเดิมอย่างชัดเจน)

ชื่อนวัตกรรมคุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรมผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์
ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง หมู่ 2 ต.วัดจันทร์

เป็นจุดที่ทำหน้าที่ฝึกฝนและถ่ายทอดแนวคิดการปรับประยุกต์ใช้ชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย

-  การผลิตถ่านจากเตาชีวมวลขนาด 1000 ลิตร -  การผลิตน้ำส้มควันไม้ไล่แมลง -  การผลิตผักปลอดสารพิษ -  การผลิตเตาอั้งโล่ห์ ประหยัดพลังงาน

วิธีการทำให้เกิด: มีการไปศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้ภายในจังหวัด โดยการนำครู ก. ที่จะมาฝึกหัดทำกิจกรรมด้านพลังงาน หรือกิจกรรมการทำปุ๋ยหมัก จากนั้นมาพัฒนาเป็นคณะทำงานศูนย์ฯ และมีกิจกรรมด้านการถ่ายทอดแนวคิดแก่นักเรียน และผู้ปกครอง

ผลของนวัตกรรม

  1. อบต.วัดจันทร์ สำนักงานเกษตร อ.สทิงพระ ให้ความสำคัญ และจะบรรจุไว้ในแผนสนับสนุนของหน่วยงาน
  2. โรงเรียนสนับสนุนการทำกิจกรรมเนื่องจากสอดคล้องกับนโยบายของโรงเรียนในการพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง
  3. โรงเรียนมีความใกล้ชิดกับประชาชนมากขึ้น เช่น การให้น้ำส้มควันไม้ไล่แมลงแก่ผู้สนใจแบบไม่คิดมูลค่า การเป็นแหล่งฝึกอบรม และการเป็นแหล่งผลิตจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรแบบปลอดสารพิษ

การนำไปใช้ประโยชน์

1.การเป็นแหล่งเรียนรู้ตามแนวคิดการดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนและประชาชนรอบพื้นที่โรงเรัียน 2. การฝึกฝนให้นักเรียนกลุ่มเสี่ยงหรือมีพฤติกรรมเกเร มีความรับผิดชอบมากขึ้น

2.3.2 โครงการเด่น (Best Practice)

(โครงการเดิ่น คือ โครงการสร้างเสริมสุขภาพให้สัมฤทธิ์ผลที่เป็นรูปธรรมแล้วขยายผลอย่างยั่งยืน โดยแนวคิดกระบวนการ และผลงาน สามารถเป็นตัวอย่างที่จะนำไปขยายผลในชุมชน (Setting) อื่น ๆ ได้ การดำเนินงานมีส่วนร่วมของภาคีที่หลากหลาย มีการบริหารจัดการที่ดี โปร่งใสและตรวจสอบได้)

ชื่อ Best Practiceวิธีการทำให้เกิด Best Practiceผลของ Best Practice / การนำไปใช้ประโยชน์
ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง หมู่ 2 ต.วัดจันทร์

วิธีการทำให้เกิด: มีการไปศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้ภายในจังหวัด โดยการนำครู ก. ที่จะมาฝึกหัดทำกิจกรรมด้านพลังงาน หรือกิจกรรมการทำปุ๋ยหมัก จากนั้นมาพัฒนาเป็นคณะทำงานศูนย์ฯ และมีกิจกรรมด้านการถ่ายทอดแนวคิดแก่นักเรียน และผู้ปกครอง มีการประชุมและถอดบทเรียนเป็นระยะๆๆ

ผลของนวัตกรรม

  1. อบต.วัดจันทร์ สำนักงานเกษตร อ.สทิงพระ ให้ความสำคัญ และจะบรรจุไว้ในแผนสนับสนุนของหน่วยงาน
  2. โรงเรียนสนับสนุนการทำกิจกรรมเนื่องจากสอดคล้องกับนโยบายของโรงเรียนในการพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง
  3. โรงเรียนมีความใกล้ชิดกับประชาชนมากขึ้น เช่น การให้น้ำส้มควันไม้ไล่แมลงแก่ผู้สนใจแบบไม่คิดมูลค่า การเป็นแหล่งฝึกอบรม และการเป็นแหล่งผลิตจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรแบบปลอดสารพิษ

การนำไปใช้ประโยชน์

1.การเป็นแหล่งเรียนรู้ตามแนวคิดการดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนและประชาชนรอบพื้นที่โรงเรัียน 2. การฝึกฝนให้นักเรียนกลุ่มเสี่ยงหรือมีพฤติกรรมเกเร มีความรับผิดชอบมากขึ้น

2.3.3 เกิดแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการสร้างเสริมสุขภาพในประเด็นต่าง ๆ
ชื่อ-สกุลที่อยู่ติดต่อได้สะดวกคุณสมบัติแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลง
2.3.4 มีสภาพแวดล้อมและปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพ

เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพในชุมชนพื้นที่โครงการดังนี้

สถานที่/พื้นที่ ที่เปลี่ยนแปลงรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

1.ศูนย์เรียนรู้เรื่องพลังงานทดแทนประเด็น เตาชีวมวล 1000 ลิตร

เป็นการต่อยอดจากการทำโครงการปีที่ 1 คือ โรงเรียนได้รับเงินงบประมาณจากโครงการ เพื่อมาสร้างเตาชีวมวล ขนาด 1000 ลิตรเพื่อผลิตถ่านชีวมวลจากต้นสนที่ล้มหรือยืนต้นตาย ผลผลิตที่ได้ คือ ถ่านชีวมวลคุณภาพดี น้ำส้มควันไม้จากการเผาถ่าน มีการไปแจกกจ่ายให้กับผู้ปกครองของนักเรียนในพื้นที่ โดยไม่คิดมูลค่า  ส่งผลให้โรงเรียนกลับมาเป็นที่เชื่อมั่น เชื่อมโยงกับชุมชนอีกครั้งภายหลังโรงเรียนดังกล่าวถูกลดความสำคัญลง เนื่องจากนโยบาย หนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียน จำนวนนักเรียนหรือ การที่ชาวบ้านจะส่งเด็กมาเรียนต่อที่โรงเรียนก็มีแนวโน้มลดลง

2.จุดเรียนรู้ด้านพลังงานทดแทน ประเด็น ถ่านอัดแท่ง

การเผาถ่านชีวมวล จะมีเศษถ่านผงเหลือออกมาด้วย ทางคณะทำงานได้รวบรวมเศษถ่านผงดังกล่าว และได้ไปศึกษาดูงานเรื่อง การทำถ่านอัดแท่งจากเทศบาล ต.ปริก โดยมีครู ก.และทีมงานไปศึกษากระบวนการทำ และส่วนหนึ่งได้มีการให้นักเรียนค้นหาสูตร สำหรับการทำถ่านแท่งของศูนย์เรียนรู้เอง ภายหลังจากกลับมาจากการดูงาน ทางคณะทำงานได้นำเอาวัสดุเก่า เช่น เหล็กมือสอง และใช้ช่างในพื้นที่ช่วยเชื่อมและประกอบเป็นเครื่องบีบอัดแท่งถ่าน

ผลที่เกิดขึ้น :

  1. เกิดสูตรถ่านอัดแท่งที่เป็นสูตรเฉพาะของศูนย์เรียนรู้
  2. เกิดการต่อยอดจากของเหลือจากกระบวนการเผาถ่านชีวมวล ให้กลายเป็นถ่านอัดแท่งก่อให้เกิดประโยชน์และรายได้
  3. นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีความภาคภูมิใจในการที่สามารถผลิตถ่านอัดแท่งได้

3.จุดเรียนรู้เรื่อง การปลูกผักปลอดสารพิษ

มีการมอบหมายให้นักเรียนได้ร่วมกันปลูกผักโดยการใช้้น้ำหมักชีวภาพ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการไปจำหน่ายที่จุดวางจำหน่ายในตลาดจำหน่ายสินค้าในหมู่บ้าน พร้อมกับการสาธิตการผลิต การใช้น้ำส้มควันไม้ โดยให้นักเรียนฝึกฝนตั้งแต่กระบวนการเตรียมสูตรน้ำหมักชีวภาพ การลงมือทำ

การเปลี่ยนแปลงส่งผลให้นักเรียนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และเกิดความร่วมมือกันระหว่างนักเรียน ฝึกฝนความรับผิดชอบ ส่งผลให้พื้นที่ที่เคยว่างเปล่า รกร้าง เกิดประโยชน์และรายได้

4.การจัดทำจุดจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบริเวณตลาดสดของตำบล(ตลาดหัวถนนวัดจันทร์)

มีการนำเอาสินค้าทึ่ผลิตได้จากศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง มาจำหน่ายในวันพุธ และวันศุกร์ เวลา 07.00-08.00 น. มีการจำหน่ายโดยแกนนำนักเรียนที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปทำหน้าที่ ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่นำไปจำหน่าย ประกอบด้วย ผักปลอดสารพิษ  ถ่านชีวมวล การรับทำเตาอั้งโล่ประหยัดพลังงาน มีการนำเอาไวนิลความรู้การทำน้ำหมักชีวภาพ การผลิตถ่านชีวมวล มาเผยแพร่ด้วย นอกจากนี้มีการนำเอาน้ำส้มควันไม้มาแจกฟรีแก่ชาวบ้านที่มาจับจ่ายในตลาดสด

ผลที่เกิดขึ้น คือ ชาวบ้านที่มาจับจ่ายอาหารที่ตลาดสดของตำบลมีความสนใจในการซื้อผลิตภัณฑ์ การสั่งทำเตาอั้งโล่ เพื่อนำไปใช้ในครัวเรือน เนื่องจากการมีข่าวการจะขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม

ส่วนที่ 3 : ปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงาน

3.1 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเด็นปัญหา/อุปสรรคการแก้ไขของผู้รับทุนข้อเสนอแนะ/การแก้ไขปัญหาและการเสริมพลังของผู้ติดตาม

1.การดำเนินกิจกรรมที่ล่าช้ากว่ากำหนดในสัญญารับทุนกว่า 2 เดือน

  1. ปรับให้กิจกรรมที่สามารถดำเนินการโดยมไม่ต้องใช้งบประมาณจำนวนมากให้มาดำเนินการก่อน
  2. ส่งหนังสือขอขยายเวลาทำกิจกรรมไปยัง สสส.
  1. ให้ปรับกิจกรรมที่ใช้งบประมาณน้อยหรือไม่ใช่มาทำกิจกรรมก่อน
  2. ให้มีหนังสือขอขยายเวลาทำกิจกรรมพร้อมการปรับแผนกิจกรรมให้เหมาะสมต่อไป

2.มีการดำเนินกิจกรรมบางอย่างไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนดในสัญญา

1.ทำหนังสือขอปรับเปลี่ยนแผนกิจกรรมไปยังผู้ให้ทุน

1.ให้มีการปรับเปลี่ยนกิจกรรมได้เนื่องจกาคณะทำงานเป็นชุดใหม่ แต่ต้องไปดูงานแบบเล็กๆเน้นแหล่งเรียนรู้ภายในจังหวัด และขอให้มีหนังสือขอปรับเปลี่ยนแผนงานกิจกรรมไปยังผู้รับทุน

3.2 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเภทความเสี่ยง / ปัจจัยเสี่ยงระดับความเสี่ยง
(จากมากไปหาน้อย)
ข้อมูล ข้อสังเกตุ และข้อคิดเห็นของผู้ติดตาม
3210
1. ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน (Operational Risks)
1.1 โครงสร้างการดำเนินงาน

มีการจัดตั้งคณะทำงานที่มีส่วนร่วมของผู้ที่มีชื่อตามโครงการมีการแบ่งหน้าที่การทำงานที่ชัดเจน และมีการประชุมเพื่อเตรียมงานตลอดจนการทบทวนข้อมูลที่ผ่านมาอย่างสม่ำเสมอ

แต่อย่างไรก็ตามพบว่า ช่วงแรกมีการปรับกิจกรรมไปดูงานแหล่งเรียนรู้ในจังหวัด ประกอบด้วย แหล่งเรียนรู้ด้านอาหารที่หนองเสาธง ต.ควนรู แหล่งเรียนรู้เรื่องพลังงานทดแทนที่คูหาใต้ และต.ปริก (ต้องมีการทำหนังสือขอปรับเปลี่ยนกิจกรรม)

1.2 ศักยภาพและทักษะการดำเนินงาน

มีความตั้งใจทำงานอย่างจริงจัง มองเห็นการมีส่วนร่วมที่มีมากขึ้น ภายใต้การนำของผู้รับผิดชอบโครงการหลัก(อาจารย์ เจริญ ปิ่นทอง) และพบว่าทางคณะทำงานมีกลวิธีให้เจ้าหน้าที่ระดับพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมดีมาก คือ การเชิญมาร่วมเปิดงานมามีส่วนรับรู้กับการทำงานของคณะทำงานโครงการ จน นายก อบต.วัดจันทร์ กล่าวชื่นชมและจะให้การช่วยเหลือ การได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารสถานศึกษา

1.3 ผลลัพธ์และผลสำเร็จของการดำเนินงาน

ผลสำเร็จของกิจกรรมมีบางกิจกรรมที่ยังไม่เป็นไปตามเป้าหมายทั้งปริมาณ เช่น การต้องการให้ชาวบ้านมาร่วมปฏิบัติการชุมชนด้านพลังงานทดแทน แต่ ชาวบ้านมาน้อย ทั้งนี้ส่วนหนึ่งอาจมีสาเหตุจากการที่ชาวบ้านยังขาดความไว้วางใจ แต่จากการพูดคุยกิจกรรมในอนาคตจะได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านมากขึ้น เนื่องจาก ทางศูนย์เรียนรู้ดังกล่าวจะมีการไปเปิดตัวในจุดจำหน่ายและเรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงบริเวณตลาดนัดของชุมชน หรือ การออกนิทรรศการใน อบต.เคลื่อนที่

2. ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risks)
2.1 ระบบและกลไกการบริหารจัดการ

มีการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบที่ชัดเจนทางการเงิน และมีการตรวจสอบการใช้จ่ายว่าเป็นไปตามกำหนดไว้ในโครงการ

2.2 การใช้จ่ายเงิน

มีการใช้จ่ายนอกเหนือที่กำหนดไว้ในโครงการ เช่น การไปศึกษาดูงาน แต่เนื่องจากเป็นสิ่งจำเป็นเนื่องจากเป็นคณะทำงานใหม่เกือบทั้งหมด จึงปรับให้มีการไปศึกษาดูงานในพื้นที่เรียนรู้ภายในจังหวัดสงขลา ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายไม่สูงมาก และพี่เลี้ยงส่งเสริมให้มีการพูดคุยกันอย่างจริงจัง เพื่อทำงานอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการคัดคนที่จะร่วมเดินทางไปศึกษาดูงาน ต้องสามารถกลับมาทำงานต่อไปได้

2.3 หลักฐานการเงิน

มีการเก็บหลักฐานทางการเงินที่ชัดเจนเป็นหมวดหมู่และเป็นระบบ

ผลรวม 0 0 2 0
ผลรวมทั้งหมด 2 ระดับความเสี่ยง : ???
เกณฑ์วัดระดับความเสี่ยง ???
สรุปการแก้ไขความเสี่ยง แก้ไขแล้ว ยังไม่ได้แก้ไข

ส่วนที่ 4 : สรุปความเห็นของผู้ติดตาม

ส่วนที่ 4สรุปความเห็นของผู้ติดตาม
4.1 กรณีเบิกเงินงวด/ติดตามเยี่ยมชม มีแนวโน้มสำเร็จตามเป้าหมายโครงการและติดตามปกติ
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

ในการทำงานในช่วงแรกต้องปรับแนวคิดร่วมกันระหว่างผู้นำโครงการชุดใหม่ และคณะทำงานชุดเก่าจึงต้องใช้เวลาระยะหนึ่งในการค้นหากระบวนการเพื่อใช้ในการปรับความเข้าใจซึ่งกันและกัน จึงมีการตกลงกันว่าประชุมร่วมกัน

มีแนวโน้มเสี่ยง ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจาก
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

 

มีความเสี่ยง ต้องยุติโครงการ เนื่องจาก
4.2 กรณีสรุปปิดโครงการ ดำเนินงานได้ตามแผนปฏิบัติการและสามารถปิดโครงการได้
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

 

ไม่เป็นไปตามแผนปฏิบัติการ ให้ดำเนินการจัดระบบการเงิน ระบบรายงานให้ถูกต้องก่อนปิดโครงการ
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

 

ส่วนที่ 5 : สรุปภาพรวมของการติดตามประจำงวด (ข้อสังเกต/สิ่งดีๆ ที่ค้นพบ/ข้อพึงระวัง/บทเรียนที่ได้)

มีความตั้งใจทำงานของคณะทำงาน และหลายโครงการชุมชนเริ่มให้ความสนใจมากขึ้น เช่น การจัดทำถ่านอัดแท่ง เป็นการนำเอาเศษถ่านที่เหลือจากการเผา มาดัดแปลงแปรรูปเป็นถ่านอัดแท่ง คณะทำงานสามารถเชื่อมประสานกับหน่วยงานในพื้นที่ได้ สามารถพูดคุยกับผู้นำในชุมชนได้ พี่เลี้ยงทำหน้าที่ช่วยประสานงานกับวิทยากรกระบวนการที่ต้องมาช่วยในการให้ความรู้

สร้างรายงานโดย twoseadj