โครงการ"จากโรงเรียนสู่บ้าน สืบสานความพอเพียง" หมู่ 2 ตำบลวัดจันทร์ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา

แบบบันทึกการติดตามสนับสนุนโครงการ ครั้งที่ 2

รหัสโครงการ 55-00991
สัญญาเลขที่ 55-00-0718

ชื่อโครงการ โครงการ"จากโรงเรียนสู่บ้าน สืบสานความพอเพียง" หมู่ 2 ตำบลวัดจันทร์ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
รหัสโครงการ 55-00991 สัญญาเลขที่ 55-00-0718
ระยะเวลาตามสัญญา 20 กรกฎาคม 2012 - 19 กรกฎาคม 2013

ส่วนที่ 1 : ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม

1.1 ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 1 นายสมชาย ละอองพันธุ์
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 2
วันที่ลงพื้นที่ติดตาม 8 สิงหาคม 2013
วันที่ส่งรายงานถึง สสส.
1.2 ผู้ให้ข้อมูล
ลำดับชื่อ-สกุลผู้ให้ข้อมูลที่อยู่หมายเลขโทรศัพท์
1 นายเจริญ ปิ่นทอง 14/2 หมู่ที่ 1 ตำบล วัดจันทร์ อำเภอ สทิงพระ จังหวัดสงขลา รหัสไปรษณีย์ 90190 089-8792583
2 นางวลี ไพบูลย์ 63 หมู่ที่ 2 ต.วัดจันทร์ อ.สทิงพระ จ.สงขลา รหัสไปรษณีย์ 90190 081-9597385
3 นางอารีย์ เรืองสุข 8/1หมู่ที่ 2 ต.วัดจันทร์ อ.สทิงพระ จ.สงขลา รหัสไปรษณีย์ 90190 074-485118
4 นางกฤษณา แสงสุวรรณ 12/1 หมู่ 2 ต.วัดจันทร์ อ.สทิงพระ จ.สงขลา รหัสไปรษณีย์ 90190 074-485335

ส่วนที่ 2 : ข้อมูลโครงการและความก้าวหน้าการดำเนินงาน

2.1 วัตถุประสงค์และตัวชี้วัดความสำเร็จโครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1.

เพื่อเสริมสร้างทักษะการดำรงชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนในศูนย์เรียนรู้

  1. ร้อยละ 80 ของนักเรียนในศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงได้รับการเสริมสร้างทักษะการดำรงชีวิต เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
  2. ประชาชนในพื้นที่หมู่ 2 บ้านบ่อประดู่ ได้รับการเสริมสร้างทักษะการดำรงชีวิตเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 50 ครัวเรือน
  3. เกิดแกนนำเยาวชนสุขภาวะ

2.

เพื่อขยายแนวคิดการดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงสู่ชุมชนรอบศูนย์เรียนรู้

  1. ประชาชนในพื้นที่หมู่ 2 บ้านบ่อประดู่ ดำเนินชีวิตตามแนววิถีเศรษฐกิจพอเพียงจำนวน 50 ครัวเรือน
  2. เกิดสถานที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ด้านเศรษฐกิจพอเพียงในตลาดนัดชุมชน จำนวน 1 แห่ง
  3. เกิดชุดความรู้เรื่อง แหล่งเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 1 ชุด
  4. เกิดข้อมูลแผนที่สุขภาวะของหมู่บ้าน
  5. เกิดคณะทำงานด้านการขับเคลื่อนสู่ชุมชนสุขภาวะที่มีองค์ประกอบจาก 3 ภาคส่วน คือ ภาคประชาชน หน่วยงานรัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  6. เกิดแผนงานเพื่อการขับเคลื่อนงานของพื้นที่
  7. แผนงานด้านเศรษฐกิจพอเพียง สู่ชุมชนสุขภาวะถูกบรรจุเป็นแผนงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

3.

เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของโครงการ

  1. คณะทำงานโครงการเข้าร่วมการประชุมกับสสส. หรือ สจรส.ม.อ. อย่างน้อยร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งทีจัด
  2. มีป้ายไวนีลสถานที่นี้ปลอดบุหรีจัดตั้งไว้ในชุมชน
  3. มีรายงานความก้าวหน้า และรายงานฉบับสมบูรณ์จัดส่ง สสส.
  4. มีภาพถ่ายทุกกิจกรรมตลอดทั้งโครงการ
2.2 ความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ
กลุ่มเป้าหมายงบประมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงปริมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพ/สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ
ที่ตั้งไว้(บาท)เกิดขึ้นจริง(บาท)จำนวนที่ตั้งไว้(คน)จำนวนเกิดขึ้นจริง(คน)

กิจกรรมย่อย: i

1. คณะทำงานโครงการ จำนวน 5 คน 2. นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผักปลอดสารพิษ จำนวน 10 คน 0.00 0.00 0 0 ผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพที่ตั้งไว้ :
  1. เกิดแนวทางการจัดตั้งจุดจำหน่ายสินค้าและผลผลิตจากศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของตำบลวัดจันทร์
  2. เกิดคณะทำงานและแกนนำนักเรียนเพื่อทำกิจกรรมจัดจำหน่ายผลผลิตจากศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ต.วัดจันทร์
ผลการจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง :
  1. คณะทำงานและแกนนำนักเรียนเข้าชมงานการจัดบูทของหน่วยงานต่างๆของส่วนราชการจังหวัดสงขลาเกิดแนวคิดและเรียนรู้กระบวนการจัดตั้งจุดจำหน่ายผลิตภัณฑ์สินค้าจากโครงการเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง

  2. คณะทำงาน ชาวบ้าน และแกนนำนักเรียนได้รับเอกสารและร่องรอยประกอบการเยี่ยมชมงาน ชมการสาธิตการใช้เครื่องมือเกษตร การผลิตเชื้อราขาว ราเขียว ปุ่ยหมักชีวภาพ เตาชีวภาพฯ.

  3. คณะทำงานระดมความคิดเห็นร่วมกันภายหลังการศึกษาดูงานโดยเห็นว่าการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ควรเน้นการประชาสัมพันธ์กิจกรรมและการจำหน่ายในเชิงการให้ผู้ซื้อมาเรียนรู้การทำกิจกรรมบางอย่างที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ :
  1. คณะทำงาน ประกอบด้วย ชาวบ้าน และนักเรียนเกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการจัดช่องทางจำหน่ายผลผลิตจากศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
  2. นักเรียนแกนนำมีความภาคภูมิใจในการเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินกิจกรรมที่เป็นประโยชน์กับชุมชน

กิจกรรมย่อย: i

1. คณะทำงานโครงการ จำนวน 5 คน 2. แกนนำนักเรียน จำนวน 7 คน 0.00 0.00 0 0 ผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพที่ตั้งไว้ :
  1. คณะกรรมการโครงการและคณะทำงานได้แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับผลการจัดตลาดนัดเพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์นักเรียนชุมชนในชุมชน
  2. เพื่อวางแผนเตรียมการจัดตลาดนัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์นักเรียนชุมชนครั้งต่อไป
ผลการจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง :
  1. คณะกรรมการโครงการและคณะทำงานได้ร่วมกันสรุปผลการจัดตลาดนัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์นักเรียนชุมชน โดยมีการนำเสนอประเด็นผักปลอดสารพิษมีจำนวนน้อยขายหมดเร็วเกินไปเพราะมีแม่ค้ามารับเหมาจนหมดเนื่องจากเห็นว่าเป็นผักปลอดสารพิษและเป็นผลงานของนักเรียน
  2. ประชุมวางแผนเตรียมการตลาดนัดชุมชนเพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์นักเรียน ชุมชนในครั้งต่อไป
สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ :
  1. นักเรียนและคณะทำงานโครงการได้เกิดการเรียนรู้ผลการจัดกิจกรรมจัดจำหน่ายผักปลอดสารพิษที่ผานมา
  2. คณะทำงานและนักเรียนแกนนำเกิดทักษะการคิดวิเคราะห์ ตลอดจนการเห็นคุณค่าการสร้างสุขภาพแก่ชาวบ้าน

กิจกรรมย่อย: i

1. คณะทำงานโครงการ จำนวน 5 คน 2. แกนนำนักเรียน จำนวน 7 คน 3. ชาวบ้านในตำบลวัดจันทร์ที่มาจับจ่ายตลาดหัวถนนวัดจันทร์ 0.00 0.00 0 0 ผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพที่ตั้งไว้ :

เกิดสถานที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์นักเรียนในตลาดของชุมชนวัดจันทร์

ผลการจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง :

เกิดสถานที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์นักเรียนในตลาดของชุมชนวัดจันทร์

สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ :
  1. ชาวบ้านในตำบลวัดจันทร์ที่มาจับจ่ายตลาดหัวถนนวัดจันทร์มีความสนใจในการซื้อผลิตภัณฑ์ปลอดสารพิษของนักเรียน
  2. นักเรียนแกนนำมีความรู้และทักษะของการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผักปลอดสารพิษ สังเกตจากนักเรียนหลายคนทำหน้าที่สื่อสารกิจกรรมแก่ชาวบ้านที่มาจับจ่ายผักผลอดสารพิษ

กิจกรรมย่อย: i

1. คณะทำงานโครงการ จำนวน 5 คน 2. นักเรียนแกนนำธนาคารขยะ จำนวน 10 คน 0.00 0.00 0 0 ผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพที่ตั้งไว้ :

คณะทำงานจำนวน15คนศึกษาดูงานธนาคารขยะที่ชุมชนป้อมหก อ.หาดใหญ่ จ. สงขลา เพื่อให้คณะทำงานได้เห็นและวิธีปฏิบัติจริงของกิจกรรมที่ชุมชนป้อมหกได้ทำเพื่อจะได้นำเอาแนวทางขั้นตอนที่ประสบผลสำเร็จเพื่อจะนำมาปรับปรุงใช้

ผลการจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง :
  1. คณะทำงาน จำนวน15คนศึกษาดูงานธนาคารขยะที่ชุมชนป้อมหก อ.หาดใหญ่ จ. สงขลา
  2. คณะทำงานได้เห็นและวิธีปฏิบัติจริงของกิจกรรมที่ชุมชนป้อมหกได้ทำและจะนำเอาแนวทาง ขั้นตอนที่ประสบผลสำเร็จของการดำเนินกิจกรรมธนาคารขยะของชุมชนป้อมหก มาปรับประยุกต์ใช้ในการดำเนินกิจกรรมธนาคารขยะของ
สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ :
  1. คณะทำงานได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนแนวทางการจัดตั้งธนาคารขยะ และปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการจัดตั้งธนาคารขยะในพื้นที่
  2. คณะทำงานเกิดการทำงานแลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินโครงการชุมชนเข้มแข็งระหว่าง ชุมชนป้อมหก และ ตำบลวัดจันทร์ ม. 2
2.3.1 นวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ

(นวัตกรรมคือ การจัดการความคิด กระบวนการ ผลผลิต และ/หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสม มาใช้งานให้เกิดประสิทธิผล และ/หรือประสิทธิภาพมากกว่าเดิมอย่างชัดเจน)

ชื่อนวัตกรรมคุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรมผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์
1. แปลผักใจประสานใจ

สถานที่ปลูกบริเวณแปลงเกษตรรอบศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง

มีการมอบหมายให้นักเรียนรับผิดชอบการปลูกผักในพื้นที่ตนเองรับผิดชอบ นักเรียนเจ้าของแปลงทำหน้าที่ดูแลรดน้ำ พรวนดิน ผักที่ปลูก ซึ่งปุ๋ยที่ใช้ในการบำรุงพืชผักที่ปลูกจะเกิดจากการหมักเองของนักเรียน หากมีแมลงศัตรูพืชทางนักเรียนที่รับผิดชอบแปลงผักจะใช้ สารสกัดน้ำส้มควันไม้ มาใช้ในการแก้ไขปัญหาเมื่อได้ผลผลิตจะนำไปจำหน่ายยังตลาดของตำบลโดยแกนนำนักเรียน และนำเงินรายได้มาคืนให้นักเรียน

  1. นักเรียนมีความรับผิดชอบผ่านกิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษ
  2. สร้างรายได้แก่นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ
  3. เป็นการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาพ
2. ธนาคารขยะทองคำ หรือธนาคารขยะรีไซเคิล

มีการจัดตั้งธนาคารขยะรีไซเคิลขึ้นบริเวณอาคารที่เคยเป็นคอกแพะเดิม ปรับให้มีคอกเก็บขยะทำจากตะแกรงโลหะ เพื่อแยกขยะตามแต่ละประเภทหรือชนิดที่สามารถนำไปขายเพื่อรีไซเคิลได้ กล่าวคือ กระดาษขาว กระดาษลัง กระดาษหนังสือพิมพ์ พลาสติกใส พลาสติกขุ่น โลหะ กระป๋อง

จัดโครงสร้างการบริหารจัดการธนาคารขยะในรูปแบบของคณะทำงานของธนาคารขยะที่มีผู้อำนวยการ ร.ร.และ ชาวบ้านร่วมเป็นที่ปรึกษา มีนักเรียนร่วมเป็นคณะทำงานของธนาคารขยะ

ระบบการบริหารจัดการ คือ

  1. ชาวบ้านและนักเรียนจะต้องสมัครสมาชิกและเปิดสมุดฝาก-ถอนกับทางธนาคาร พร้อมกับการชำระค่าธรรมเนียมราคา 30 บาท
  2. นักเรียนและชาวบ้านที่สมัครเป็นสมาชิกธนาคารขยะต้องนำสมุดมาฝากกับธนาคารทุกครั้งที่มีการฝากขยะ
  3. ธนาคารขยะจะเปิดทำการทุกวันระหว่างเวลา 12.00-13.00 น.
  4. ราคาของขยะแต่ละประเภทจะมีราคาที่แตกต่างกันขึ้นลงตามราคาของตลาด ซึ่งธนาคารจะมีการแสดงราคาขยะแต่ละประเภทไว้ที่ป้ายราคาขยะ
  5. สมาชิกสามารถถอนเงินฝากหรือการถอนเป็นการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคในร้านค้าศูนย์ บาท
  6. สมาชิกธนาคารขยะจะถอนเงินฝากได้ปีละ 1 ครั้ง
  1. ชาวบ้านและนักเรียนสามารถแยกขยะถูกต้องตามประเภทของขยะ
  2. นักเรียนและชาวบ้านตระหนักถึงคุณค่าของขยะที่เกิดขึ้นจากการดำรงชีวิตประจำวัน
  3. สามารถสร้างรายได้แก่ชาวบ้านและนักเรียนจากการขายขยะ
  4. เป็นการฝึกฝนการบริหารจัดการเกี่ยวกับธนาคารขยะของคณะทำงาน
  5. ชาวบ้านเข้าไปรู้จักและเห็นความสำคัญของการจัดตั้งธนาคารขยะในโรงเรียนสทิงพระชนูปถัมภ์
2.3.2 โครงการเด่น (Best Practice)

(โครงการเดิ่น คือ โครงการสร้างเสริมสุขภาพให้สัมฤทธิ์ผลที่เป็นรูปธรรมแล้วขยายผลอย่างยั่งยืน โดยแนวคิดกระบวนการ และผลงาน สามารถเป็นตัวอย่างที่จะนำไปขยายผลในชุมชน (Setting) อื่น ๆ ได้ การดำเนินงานมีส่วนร่วมของภาคีที่หลากหลาย มีการบริหารจัดการที่ดี โปร่งใสและตรวจสอบได้)

ชื่อ Best Practiceวิธีการทำให้เกิด Best Practiceผลของ Best Practice / การนำไปใช้ประโยชน์
1. ธนาคารขยะรีไซเคิล ต.วัดจันทร์

มีการจัดตั้งธนาคารขยะรีไซเคิลขึ้นบริเวณอาคารที่เคยเป็นคอกแพะเดิม ปรับให้มีคอกเก็บขยะทำจากตะแกรงโลหะ เพื่อแยกขยะตามแต่ละประเภทหรือชนิดที่สามารถนำไปขายเพื่อรีไซเคิลได้ กล่าวคือ กระดาษขาว กระดาษลัง กระดาษหนังสือพิมพ์ พลาสติกใส พลาสติกขุ่น โลหะ กระป๋อง

จัดโครงสร้างการบริหารจัดการธนาคารขยะในรูปแบบของคณะทำงานของธนาคารขยะที่มีผู้อำนวยการ ร.ร.และ ชาวบ้านร่วมเป็นที่ปรึกษา มีนักเรียนร่วมเป็นคณะทำงานของธนาคารขยะ

ระบบการบริหารจัดการ คือ

  1. ชาวบ้านและนักเรียนจะต้องสมัครสมาชิกและเปิดสมุดฝาก-ถอนกับทางธนาคาร พร้อมกับการชำระค่าธรรมเนียมราคา 30 บาท
  2. นักเรียนและชาวบ้านที่สมัครเป็นสมาชิกธนาคารขยะต้องนำสมุดมาฝากกับธนาคารทุกครั้งที่มีการฝากขยะ
  3. ธนาคารขยะจะเปิดทำการทุกวันระหว่างเวลา 12.00-13.00 น.
  4. ราคาของขยะแต่ละประเภทจะมีราคาที่แตกต่างกันขึ้นลงตามราคาของตลาด ซึ่งธนาคารจะมีการแสดงราคาขยะแต่ละประเภทไว้ที่ป้ายราคาขยะ
  5. สมาชิกสามารถถอนเงินฝากหรือการถอนเป็นการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคในร้านค้าศูนย์ บาท
  6. สมาชิกธนาคารขยะจะถอนเงินฝากได้ปีละ 1 ครั้ง
  1. ชาวบ้านและนักเรียนสามารถแยกขยะถูกต้องตามประเภทของขยะ
  2. นักเรียนและชาวบ้านตระหนักถึงคุณค่าของขยะที่เกิดขึ้นจากการดำรงชีวิตประจำวัน
  3. สามารถสร้างรายได้แก่ชาวบ้านและนักเรียนจากการขายขยะ
  4. เป็นการฝึกฝนการบริหารจัดการเกี่ยวกับธนาคารขยะของคณะทำงาน
  5. ชาวบ้านเข้าไปรู้จักและเห็นความสำคัญของการจัดตั้งธนาคารขยะในโรงเรียนสทิงพระชนูปถัมภ์
2.3.3 เกิดแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการสร้างเสริมสุขภาพในประเด็นต่าง ๆ
ชื่อ-สกุลที่อยู่ติดต่อได้สะดวกคุณสมบัติแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลง
2.3.4 มีสภาพแวดล้อมและปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพ

เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพในชุมชนพื้นที่โครงการดังนี้

สถานที่/พื้นที่ ที่เปลี่ยนแปลงรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
  1. ธนาคารขยะรีไซเคิล ต.วัดจันทร์
  1. ชาวบ้านและนักเรียนสามารถแยกขยะถูกต้องตามประเภทของขยะ
  2. นักเรียนและชาวบ้านตระหนักถึงคุณค่าของขยะที่เกิดขึ้นจากการดำรงชีวิตประจำวัน
  3. สามารถสร้างรายได้แก่ชาวบ้านและนักเรียนจากการขายขยะ
  4. เป็นการฝึกฝนการบริหารจัดการเกี่ยวกับธนาคารขยะของคณะทำงาน
  5. ชาวบ้านเข้าไปรู้จักและเห็นความสำคัญของการจัดตั้งธนาคารขยะในโรงเรียนสทิงพระชนูปถัมภ์
  1. การมีสถานที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ผักปลอดสารพิษ และผลิตภัณฑ์จากศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
  1. ชาวบ้านตำบลวัดจันทร์มีผักปลอดสารพิษไว้บริโภค ทำให้สุขภาพดีแข็งแรงปลอดภัยจากสารเคมี
  2. เกิดแหล่งถ่ายทอดความรู้และแสดงเกี่ยวกับผลผลิตจากศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ต.วัดจันทร์
  3. นักเรียนและชาวบ้านเกิดการทำงานเป็นทีม นักเรียนได้รับการฝึกทักษะการวางแผนจำหน่ายผักปลอดสารพิษ
  4. ชาวบ้านมีความสนใจและไว้วางใจต่อการดำเนินกิจกรรมของชุมชนมากยิ่งขึ้น โครงการเป็นที่รู้จักของชาวบ้าน

ส่วนที่ 3 : ปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงาน

3.1 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเด็นปัญหา/อุปสรรคการแก้ไขของผู้รับทุนข้อเสนอแนะ/การแก้ไขปัญหาและการเสริมพลังของผู้ติดตาม
3.2 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเภทความเสี่ยง / ปัจจัยเสี่ยงระดับความเสี่ยง
(จากมากไปหาน้อย)
ข้อมูล ข้อสังเกตุ และข้อคิดเห็นของผู้ติดตาม
3210
1. ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน (Operational Risks)
1.1 โครงสร้างการดำเนินงาน

โครงการนี้ มีการเปลี่ยนแปลงชุดทำงานโดยในปีที่ 2 นี้ มีการมอบหมายให้ อาจารย์เจริญ ปิ่นทอง และก็มีการดึงคณะทำงานชุดเดิมที่ขาดทักษะและศักยภาพในการบริหารจัดการโครงการน้อย ซึ่งในปีที่ 2 มุ่งเน้นใช้จุดของ โรงเรียนมัธยมศึกษา ประจำตำบลมาเป็นฐานการทำงานร่วมกับชุมชน อาศัยความไว้วางใจของชุมชนที่มีต่อ อ.เจริญ ปิ่นทอง ส่งผลให้โครงการนี้ได้รับความสนใจจากชาวบ้านมากขึ้น

การบริหารจัดการในรูปคณะทำงาน ประกอบด้วย ชาวบ้าน และนักเรียน แต่อย่างไรก็ตาม พบว่า ผู้นำชุมชนยังขาดความพร้อม(ขาดการมีส่วนร่วม) กล่าวคือ คณะทำงานเคยเชิญผู้นำชุมชนในพื้นที่เข้าร่วม แต่เนื่องจากมีความขัดแย้งภายในส่งผลให้ผู้นำหลายคนไม่กล้าไปร่วม

1.2 ศักยภาพและทักษะการดำเนินงาน

ดีขึ้นกว่า การทำงานในงวดแรก ปีที่ 2 และปี 1 เนื่องจากมีการปรับโครงสร้างการทำงานใหม่ มีการดึงเยาวชนและคณะทำงานที่มีความสามรถด้านการใช้computer มาช่วยในการดำเนินกิจกรรม ที่ผ่านมาอาจมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับระเบียบการบริหารงบประมาณและโครงการ ส่งผลให้บางครั้งการดำเนินกิจกรรมบางอย่างอาจแตกต่างไปจากที่เขียนไว้ในโครงการ แต่ในงวดที่ 2 ของปีที่ 2 คณะทำงานมีการวางแผนงานอย่างละเอียด ส่งผลให้การทำงานดีขึ้น

1.3 ผลลัพธ์และผลสำเร็จของการดำเนินงาน

บางกิจกรรมมีการปรับเปลี่ยนกิจกรรมใหม่ เนื่องจากไม่เหมาะสมกับพื้นที่ เช่น การทำนาอินทรีย์(ยังไม่ถึงฤดูกาลทำนา) จึงมีการปรับใหม่ ผลผลิตที่เกิดขึ้นที่น่าสนใจ ประกอบด้วย ธนาคารขยะรีไซเคิล เตาเผาถ่านชีวมวลขนาด 1,000 ลิตร การแปรรูปถ่านผงเป็นถ่านอัดแท่ง จำหน่ายเป็นที่ระลึก การจัดตั้งศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง การจัดทำแปลงผักใจประสานใจ การทำก๊าชชีวภาพ เป็นต้น

2. ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risks)
2.1 ระบบและกลไกการบริหารจัดการ

มีการมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบด้านการเงินแก่คณะทำงานที่มีความรู้เรื่องการเงิน การบริหารจัดการจะมีการแจ้งผลการใช้เงินในแต่ละกิจกรรมในที่ประชุมของโครงการ

2.2 การใช้จ่ายเงิน

ใช้จ่ายตามที่เขียนไว้ในแผนงานกิจกรรมโครงการ

2.3 หลักฐานการเงิน

มีการรวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่

ผลรวม 0 0 1 0
ผลรวมทั้งหมด 1 ระดับความเสี่ยง : ???
เกณฑ์วัดระดับความเสี่ยง ???
สรุปการแก้ไขความเสี่ยง แก้ไขแล้ว ยังไม่ได้แก้ไข

ส่วนที่ 4 : สรุปความเห็นของผู้ติดตาม

ส่วนที่ 4สรุปความเห็นของผู้ติดตาม
4.1 กรณีเบิกเงินงวด/ติดตามเยี่ยมชม มีแนวโน้มสำเร็จตามเป้าหมายโครงการและติดตามปกติ
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

เนื่องจากการโอนเงินงวด 2 ช้าไป 2 เดือน(ตามแผนงานเดิม) พี่เลี้ยงได้แนะนำให้ทำหนังสือขยายเวลาดำเนินกิจกรรมไป 2 เดือน กล่าวคือ จะปิดโครงการ ประมาณ ปลายเดือน ตุลาคม 2556 ซึ่งคาดว่าจะสามารถปิดโครงการตามที่ขอขยายเวลาไว้

มีแนวโน้มเสี่ยง ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจาก
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

 

มีความเสี่ยง ต้องยุติโครงการ เนื่องจาก
4.2 กรณีสรุปปิดโครงการ ดำเนินงานได้ตามแผนปฏิบัติการและสามารถปิดโครงการได้
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

สามารถปิดโครงการได้ตามเวลาที่ขอขยายไว้กับ สสส. คือ ปิดประมาณเดือน ตุลาคม 2556 บางกิจกรรมจะมีการจัดร่วมกับชุมชนอื่นในจังหวัดสงขลา เช่น กิจกรรมการถอดบทเรียนจะจัดร่วมกับ ชุมชนป้อมหกปลายเดือน กันยายน 2556 เพื่อความสะดวกและสามารถลดค่าใช้จ่ายได้

ไม่เป็นไปตามแผนปฏิบัติการ ให้ดำเนินการจัดระบบการเงิน ระบบรายงานให้ถูกต้องก่อนปิดโครงการ
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

 

ส่วนที่ 5 : สรุปภาพรวมของการติดตามประจำงวด (ข้อสังเกต/สิ่งดีๆ ที่ค้นพบ/ข้อพึงระวัง/บทเรียนที่ได้)

เป็นโครงการที่มีความตั้งใจตามศักยภาพของคณะทำงานที่มีอย่างจำกัด และสภาพแวดล้อมในพื้นที่่บางครั้งไม่ได้เอื้ออำนวยมากนัก เกิดผลผลิตที่น่าพอใจ เช่น ศูนย์เรียนรู้เศษฐกิจพอเพียง ต.วัดจันทร์ ผลผลิตถ่านอัดแท่งและถ่านไม้สนชีงมวลจากการเผา สามารถพัฒนาไปเป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ แต่ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน เช่น การพัฒนาบรรจุภัณฑ์จากหน่วยงาน เป็นต้น

มองเห็นมิติของการสร้างสุขภาวะทางปัญญา เช่น นักเรียนที่เคยเกเร ก็เอาเวลามานั่งเฝ้าเตาถ่านหรือ บรรจุถ่านลงถุง อย่างน้อยนักเรียนเหล่านั้นก็มีเวลาที่ใช้ไปในทางที่ก่อให้เกิดประโยชน์กับตนเอง ความไว้วางใจจากชาวบ้านในการเข้ามารับบริการ เช่น การร่วมฝากในธนาคารขยะ การขอรับสนับสนุนน้ำส้มควันไม้แบบให้เปล่า

ต้องการให้คณะทำงานของ สสส.ลงมาดูข้อเท็จจริงในโครงการบ้าง

สร้างรายงานโดย twoseadj