โครงการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยวบ้านนางกำ

แบบบันทึกการติดตามสนับสนุนโครงการ ครั้งที่ 1

รหัสโครงการ 55-01904
สัญญาเลขที่ 55-00-1008

ชื่อโครงการ โครงการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยวบ้านนางกำ
รหัสโครงการ 55-01904 สัญญาเลขที่ 55-00-1008
ระยะเวลาตามสัญญา 1 ตุลาคม 2012 - 31 ตุลาคม 2013

ส่วนที่ 1 : ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม

1.1 ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 1 นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 2
วันที่ลงพื้นที่ติดตาม 25 ตุลาคม 2012
วันที่ส่งรายงานถึง สสส. 28 กุมภาพันธ์ 2013
1.2 ผู้ให้ข้อมูล
ลำดับชื่อ-สกุลผู้ให้ข้อมูลที่อยู่หมายเลขโทรศัพท์
1 นางสาวอิทธิยา สังข์ธรรม ชุมชนบ้านนางกำ 081-5363691
2 นายวุฒิชัย ขนอม ชุมชนบ้านนางกำ 081-4777765

ส่วนที่ 2 : ข้อมูลโครงการและความก้าวหน้าการดำเนินงาน

2.1 วัตถุประสงค์และตัวชี้วัดความสำเร็จโครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1.

เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วมของคนชุมชน

  • สภาพแวดล้อมดีขึ้น ทรัพยากรธรรมชาติมีความสมบูรณ์มากขึ้น  ป่าชายเลนสมบูรณ์  ชายหาดสะอาด  ชุมชนสะอาด ปราศจากขยะ
  • ความสัมพันธ์ของคนในชุมชนดีขึ้น  คนในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมมากขึ้น

2.

เพื่ออนุรักษ์แหล่งเรียนรู้โลมาในชุมชน

  • เขตอนุรักษ์โลมาในชุมชน
  • กติกาชุมชนในการจัดการพื้นที่เพื่ออนุรักษ์โลมา
  • กลุ่มคน เครือข่ายในการอนุรักษ์โลมา
2.2 ความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ
กลุ่มเป้าหมายงบประมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงปริมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพ/สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ
ที่ตั้งไว้(บาท)เกิดขึ้นจริง(บาท)จำนวนที่ตั้งไว้(คน)จำนวนเกิดขึ้นจริง(คน)

กิจกรรมย่อย: ศึกษาดูงานการจัดการท่องเที่ยวชุมชนi

- คณะทำงาน แกนนำชุมชน จำนวน 40 คน 0.00 0.00 0 0 ผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพที่ตั้งไว้ :
  • ศึกษาดูงานการจัดการท่องเที่ยวชุมชนบ้านบางใบไม้ การท่องเที่ยวชุมชนบ้านถ้ำผึ้ง เพื่อมาเป็นแบบอย่างในการจัดการท่องเที่ยวชุมชนบ้านนางกำ
ผลการจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง :
  • เดินทางไปศึกษาดูงานการท่องเที่ยวชุมชนบ้านบางใบไม้และบ้านถ้ำผึ้ง ว้นที่ 25 - 26 ตุลาคม 2555 เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานและเสริมสร้างความรู้ให้กับคณะทำงาน
  • ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้ประสบการณ์การทำงานด้านการจัดการท่องเที่ยวชุมชนจากชุมชนบางใบไม้ และชุมชนบ้านถ้ำผึ้ง ซึ่วสามารถนำมาเป็นแนวทางในการปรับใช้เพื่อจัดการการท่องเที่ยวชุมชนบ้านนางกำได้เป็นอย่างดี
  • ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการศึกษาดูงานการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนจาก มอ. สุราษฎร์ธานี เพื่อนำแบบอย่างมาใช้ในการจัดการท่องเที่ยวชุมชนบ้านนางกำ
สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ :
  • คณะทำงานชุมชนบ้านนางกำ ทั้งกลุ่มคนรักษ์นางกำและคนทั่วไป ได้แนวคิด แรงบันดาลใจ และแบบอย่างของการจัดการท่องเที่ยวชุมชนมาใช้ในการจัดการท่องเที่ยวชุมชนบ้านนางกำได้

กิจกรรมย่อย: กิจกรรมคนนางกำรักษ์สิ่งแวดล้อมi

- ชาวบ้านชุมชนบ้านนางกำ จำนวน 150 ครัวเรือน กลุ่มเยาวชนบ้านนางกำ จำนวน 50 คน 0.00 0.00 0 0 ผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพที่ตั้งไว้ :
  • สร้างความรู้ความเข้าใจและความตระหนักในเรื่องสิ่งแวดล้อม / สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการทำกิจกรรมร่วมกัน
ผลการจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง :
  • จัดกิจกรรมในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2555 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมประมาณ 250 คน
  • ได้รับการสนับสนุนการทำกิจกรรมสันทนาการสร้างความสัมพันธ์ของคนในพื้นที่จากฐานทัพเรือสงขลา
  • กิจกรรมที่จัดเน้นทั้งวิชาการ ความรู้และความสนุกสนาน ทำให้คนในชุมชนได้มีส่วนร่วมในการทำงาน
สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ :
  • คนในชุมชนเกิดความตื่นตัว หนะหนักถึงความสำคัญของการจัดการสิ่งแวดล้อมในพื้นที่
  • กิจกรรมคนนางกำรักษืสิ่งแวดล้อมใช้งบประมาณร่วมกับกิจกรรมส่งเสริมการเพิ่มพูนทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน เพราะจัดกิจกรรมในวันเดียวกัน ต่อเนื่องกัน

กิจกรรมย่อย: กิจกรรมเยาวชนรักษ์สิ่งแวดล้อมi

- เยาวชนบ้านนางกำ จำนวน 50 คน 0.00 0.00 0 0 ผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพที่ตั้งไว้ :
  • กลุ่มเยาวชนเดินรณรงค์การจัดการขยะมูลฝอย ด้วยกระบวนกลองยาวร่วมกับคนในชุมชน / เก็บขยะรอบชุมชน / รณรงค์เชิญชวนให้คนในชุมชนร่วมกันรักษาความสะอาดของชุมชน
ผลการจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง :
  • จัดกิจกรรมวันที่ 18 พฤศจิกายน 2555 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 200 คน
  • เด็กได้จัดทำคำขวัญที่ผ่านการประกวดและได้รับรางวัลมาเขียนลงบนฟิวเจอร์บอร์ด แล้วใช้เดินขบวนพาเหรดไปตามถนน เพื่อรณรงค์ให้คนในชุมชนหันมาสนใจปัญหาสิ่งแวดล้อม และช่วยกันรักษาความสะอาดในชุมชน
  • มีการช่วยเก็บขยะรอบชุมชน
สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ :
  • คนในชุมชนทั้เด็ก ผู้ใหญ่ ได้มีโอกาสทำกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและดูแลรักษาสิ่งอวดล้อมของชุมชนร่วมกัน ทำให้เกิดความรัก ความสามัคคีกันมากขึ้น
  • คนในชุมชนทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เกิดความตื่นตัวในเรื่องสิ่งแวดล้อม

กิจกรรมย่อย: ส่งเสริมการเพิ่มพูนทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน (กิจกรรมอนุรักษ์ป่าชายเลน)i

- เยาวชน คนนางกำ จำนวน 50 คน 0.00 0.00 0 0 ผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพที่ตั้งไว้ :
  • มีการให้ความรู้เรื่องประโยชน์ของป่าชายเลนและแนวทางการอนุรักษ์ / ลงพื้นที่ปลูกป่าโกงกางเพิ่มในเนื้อที่ 3 ไร่ จำนวน 500 ต้น จำนวน 2 ครั้ง
ผลการจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง :
  • จัดกิจกรรมวันที่ 18 พฤศจิกายน 2555 มีผู้เขาร่วมกิจกรรมกว่า 200 คน
  • การจัดกิจกรรมหลังจากการเดินรณรงค์ให้มีการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมแล้ว โดยการเชิญวิทยากรจากอนุรักษ์ป่าชายเลนมาให้ความรู้เรื่องความสำคัญของป่าชายเลนและการดูแลรักษา โดยการนั่งฟังบรรยายแบบสบายๆ ริมหาดนางกำ ทำให้คนในชุมชนสามารถย้อนคิดถึงนางกำในอดีต เห็นภาพนางกำปัจจุบัน และวาดภาพนางกำในอนาคตได้อย่างชัดเจน
  • ไม่สามารถจัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลนได้ เนื่องจากเป็นช่วงน้ำทะเลหนุนสูง จึงต้องเลื่อนการปลูกป่าโกงกางไปจัดในช่วงเวลาที่เหมาะสม
สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ :
  • คนในชุมชนเกิดกระแสการตื่นตัวในเรื่องการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น อยากเห็นนางกำที่พัฒนา และอยากมีส่วนร่วมในการพัฒนาบ้านนางกำให้น่าอยู่

กิจกรรมย่อย: ประชาสัมพันธ์โครงการi

- คนในชุมชน จำนวน 100 คน 0.00 0.00 0 0 ผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพที่ตั้งไว้ :
  • ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของโครงการผ่านเสียงตามสาย จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ และจัดทำเส้นทางศึกาาระบบนิเวศ
ผลการจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง :
  • มีการจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์โครงการ จำนวน 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 ใช้วิธีการจัดทำเส้นทางศึกษาระบบนิเวศชุมชนบ้านนางกำ วันที่ 14 - 16 พฤสจิกายน 2555 และครั้งที่ 2 ใช้วิธีการเดินสายประชาสัมพันธ์กิจกรรมโครงการถึงบ้านแบเคาะประตูบ้าน เพื่อให้คนในชุมชนรับทราบข้อมูลข่าวสาร และเข้าร่วมกิจกรรมที่ทางโครงการจัดทำขึ้นอย่างพร้อมเพรียง
สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ :
  • การประชาสัมพันธ์โครงการแบบเคาะประตูบ้าน ได้ผลดีมาก จะเห็นได้จากจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งต่อมา ที่มีมากกว่าเป้าหมายที่วางไว้ เพราะการบอกเล่าแบบปากต่อปาก ทำให้คนในชุมชนเห็นภาพกิจกรรมชัดเจน และได้สอบถามเรื่องราวด้วยตัวเอง ทำให้อยากเข้าร่วมกิจกรรมมากขึ้น

กิจกรรมย่อย: เวทีจัดทำกติกาชุมชนด้านการดูแลและการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชน (เวทีรับฟังความคิดเห็นจากชุมชนเกี่ยวกับการทำกติกาชุมชน)i

คนนางกำ จำนวน 50 คน 0.00 0.00 0 0 ผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพที่ตั้งไว้ :
  • จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากชุมชนเกี่ยวกับการจัดทำกติกาชุมชน
ผลการจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง :
  • วันที่ 8 มกราคม 2556 มีการจัดเวทีจัดทำกติกาชุมชน โดยครั้งแรกเป็นการประชุมชาวบ้านเพื่อแจ้งการจัดทำกติกาชุมชน โดยให้คนในชุมชนร่วมกันจัดทำร่างกติกาชุมชนก่อน เพื่อที่จะได้นำไปรับฟังความคิดเห็นเพื่อการปรับใช้ต่อไป
สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ :
  • คนในชุมชนมีส่วนร่วมรับรู้ และร่วมกันร่างกติการชุมชนที่จะจำมาจัีดใช้ในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชนของตัวเอง

กิจกรรมย่อย: เวทีจัดทำกติกาชุมชน (ประชุมแกนนำและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจัดทำร่างกติกาชุมชน)i

คนนางกำ จำนวน 50 คน 0.00 0.00 0 0 ผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพที่ตั้งไว้ :
  • ประชุมแกนนำและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจัดทำร่างกติกาชุมชนด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาิตและสิ่งแวดล้อมบ้านนางกำ
ผลการจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง :
  • วันที่ 15 มกราคม 2556 จัดประชุมแกนนำโครงการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจัดทำร่างกติการชุมชนด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดช้อมชุมชนบ้านนางกำ มีผู็้เข้าร่วมประชุมประมาณ 30 คน
สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ :
  • ได้่ร่างกติกาชุมชนที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ที่ได้รับการแก้ไขปรับปรุงให้สอดคล้องกับบริบทและความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง

กิจกรรมย่อย: เวทีจัดทำกติกาชุมชน (เวทีรับฟังความคิดเห็นต่อร่างกติกาชุมชน)i

คนนางกำ จำนวน 50 คน 0.00 0.00 0 0 ผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพที่ตั้งไว้ :
  • จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อกติกาชุมชน
ผลการจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง :
  • วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556 จัดประชุมคณะกรรมการและมีมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งคนใในชุมชนเพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อร่างกติกาชุมชน เพื่อที่จะได้นำข้อมูล ความคิดเห็น ข้อสเนอแนะมาใช้ในการปรับปรุงแก้ไขอีกครั้งก่อนการนำไปประกาศใช้
สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ :
  • ได้ร่างกติกาชุมชนที่มีความสมบูรณ์มากขึ้น

กิจกรรมย่อย: เวทีจัดทำกติกาชุมชน (ปรับปรุงกติกาและการบังคับใช้กติกาชุมชน)i

คนนางกำ จำนวน 50 คน 0.00 0.00 0 0 ผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพที่ตั้งไว้ :
  • ปรับปรุงกติกาและการบังคับใช้กติกาชุมชน
ผลการจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง :
  • กำลังดำเนินกิจกรรมในงวดที่ 2
สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ :

 

กิจกรรมย่อย: กิจกรรมนักสืบโลมาน้อยi

เยาวชน จำนวน 30 คน 0.00 0.00 0 0 ผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพที่ตั้งไว้ :
  • กลุ่มรักษ์นางกำและกลุ่มเรือท่องเที่ยวร่วมกับกลุ่มเยาวชนทำการสำรวจ จัดทำปฏิทิน แผนที่การเดินทางของโลมา เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการทำแหล่งท่องเที่ยวโลมาของชุมชน จำนวน 2 ครั้ง
ผลการจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง :
  • กิจกรรมในงวดที่ 2
สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ :

 

กิจกรรมย่อย: ประชุมคณะทำงานi

- คณะทำงาน 15 คน 0.00 0.00 0 0 ผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพที่ตั้งไว้ :
  • คณะทำงาน แกนนำชุมชน ประชุมเพื่อสรุปการทำงาน และวางแผนการทำงานเป็นระยะตามความสำคัญของงาน
ผลการจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง :
  • มีการประชุมเป็นระยะเพื่อสรุปผลการดำเนินงานและวางแผนการจัดกิจกรรมที่มีความสำคัญและต้องใช้การมีส่วนร่วมมา
  • มีการประชุมคณะทำงานทั้งหมด 3 ครั้ง และประชุมชาวบ้าน 1 ครั้ง เพื่อชี้แจงการทำงาน
สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ :
  • การประชุมคณะทำงานอย่างสม่ำเสมอ ทำให้คณะทำงานเข้าใจแนวทางการดำเนินงานโครงการที่ตรงกัน และเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมในการทำงานให้กับคนทำงานอย่างแท้จริง

กิจกรรมย่อย: ประชุมโครงการร่วมกับ สสส.i

- คณะทำงาน 2 -3 คน 0.00 0.00 0 0 ผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพที่ตั้งไว้ :
  • เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ / เสริมทักษะเรื่องการทำรายงานความก้าวหน้าโครงการ
ผลการจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง :
  • ครั้งที่ 1 วันที่ 5 - 6 พฤศจิกายน 2555 ปฐมนิเทศผู้รับทุนโครงการร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่
  • ครั้งที่ 2 วันที่ 15 มกราคม 2556 ติดตามความก้าวหน้าโครงการ จัดทำรายงานกิจกรรม ตรวจสอบเอกสารทางการเงิน
สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ :
  • ชุมชนเกิดความรู้ความเข้าใจ
  • ชุมชนสามารถจัดทำรายงานความก้าวหน้าโครงการ รายงานการเงินโครงการได้อย่างถูกต้อง สมบูรณ์
2.3.1 นวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ

(นวัตกรรมคือ การจัดการความคิด กระบวนการ ผลผลิต และ/หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสม มาใช้งานให้เกิดประสิทธิผล และ/หรือประสิทธิภาพมากกว่าเดิมอย่างชัดเจน)

ชื่อนวัตกรรมคุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรมผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์
- กระบวนการสันทนาการแบบสะท้อนคิดสร้างการเรียนรู้
  • การจัดกิจกรรมสันทนาการที่ผสมผสานระหว่างความสนุกสนาน การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน และการสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่ผ่านการคิด การแสดงออกของคนในชุมชนที่สื่อสารออกมาด้วยละครที่เน้นด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชุมชน
  • เห็นกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ตั้งแต่กระบวนการคิด การแสดงออกทางความคิด การร่วมแรง ร่วมใจกันของคนทุกเพศทุกวัย
- การนำเทคโนโลยี สื่อ อุปกรณ์ที่มีในชุมชน มาใช้อย่างเกิดประโยชน์ คุ้มค่า
  • การนำกลองยาวมาผสมผสานเพื่อสร้างความสนุกสนาน ดึงดูดความสนใจ และสร้างการมีส่วนร่ีวมของคนในชุมชน / การประชาสัมพันธ์โครงการผ่านกิจกรรมเดินรณรงค์รอบหมุ๋บ้าน และการขยายความคิดโดยการใช้รถขยายเสียงเคลื่อนที่ในการบอกเล่าความคิด และประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อสร้าง
  • ชุมชนเกิดความสนใจ สามารถสื่อสารให้คนที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมของโครงการ สามารถเข้าใจและรับรู้ข้อมูลข่าวสารอย่างทั่วถึง
2.3.2 โครงการเด่น (Best Practice)

(โครงการเดิ่น คือ โครงการสร้างเสริมสุขภาพให้สัมฤทธิ์ผลที่เป็นรูปธรรมแล้วขยายผลอย่างยั่งยืน โดยแนวคิดกระบวนการ และผลงาน สามารถเป็นตัวอย่างที่จะนำไปขยายผลในชุมชน (Setting) อื่น ๆ ได้ การดำเนินงานมีส่วนร่วมของภาคีที่หลากหลาย มีการบริหารจัดการที่ดี โปร่งใสและตรวจสอบได้)

ชื่อ Best Practiceวิธีการทำให้เกิด Best Practiceผลของ Best Practice / การนำไปใช้ประโยชน์
กระบวนการมีส่วนร่วม
  • การนำองค์กรจากภายนอกมาหนุนเสริมการจัดกิจกรรม
  • การสร้างกิจกรรมเชิงสาระผนวกกับกิจกรรมนันทนาการ เพื่อดึงดูดความสนใจ
  • มีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมมากกว่าเป้าหมายที่วางไว้
  • สร้างการตื่นตัวและรับรู้ให้คนในชุมชนอย่างกว้างขวาง
  • ชุมชนอยากร่วมกิจกรรมแบบนี้อีก
2.3.3 เกิดแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการสร้างเสริมสุขภาพในประเด็นต่าง ๆ
ชื่อ-สกุลที่อยู่ติดต่อได้สะดวกคุณสมบัติแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลง
นางอิทธิยา สังข์ธรรม 73 ม.10 ต.ดอนสัก อ.ดอนสัก จ.สุราศฎร์ธานี
  • แกนประสานงานภาคเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกชุมชนในการดำเนินกิจกรรม
นายวุฒิชัย ขนอม 71 ม.10 ต.ดอนสัก อ.ดอนสัก จ.สุราษฎร์านี
  • ประสานงานกิจกรรม
นายพิงค์พงค์ วิชัยดิษฐ์ 47 ม.10 ต.ดอนสัก อ.ดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี
  • ประสานเครือข่ายในชุมชน
  • แกนนำการจัดกิจกรรมด้านการอนุรักษ์ในชุมชน
2.3.4 มีสภาพแวดล้อมและปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพ

เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพในชุมชนพื้นที่โครงการดังนี้

สถานที่/พื้นที่ ที่เปลี่ยนแปลงรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
  • หาดนางกำ
  • เป็นสถานที่ในการท่องเที่ยว
  • ท้องทะเลบ้านนางกำ
  • กำลังดำเนินงานเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ปลาโลมา
  • เส้นทางศึกษาระบบนิเวศชุมชน
  • เป็นแหล่งศึกษาระบบนิเวศ เรียนรู้ธรรมชาติป่าบ้านนางกำให้คนในพื้นที่และนอกพื้นที่ใช้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้
  • เป็นพื้นที่อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน

ส่วนที่ 3 : ปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงาน

3.1 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเด็นปัญหา/อุปสรรคการแก้ไขของผู้รับทุนข้อเสนอแนะ/การแก้ไขปัญหาและการเสริมพลังของผู้ติดตาม
  • แกนนำโครงการมีภาระงานเชิงธุรกิจ การประกอบอาชีพ ทำให้ต้องแบ่งเวลาในจัดการภาระกิจส่วนตัวด้วย
  • ช่วยกันทำงานตามบทบาทหน้าที่
  • กระจายงานตามบทบาทหน้าที่ ให้ทุกคนได้ทำงานตามศักยภาพของตนเอง และสร้างทีมงานเพิ่มขึ้นจากกลุ่มที่มีอยู่ โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนในชุมชน

 

 

 

3.2 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเภทความเสี่ยง / ปัจจัยเสี่ยงระดับความเสี่ยง
(จากมากไปหาน้อย)
ข้อมูล ข้อสังเกตุ และข้อคิดเห็นของผู้ติดตาม
3210
1. ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน (Operational Risks)
1.1 โครงสร้างการดำเนินงาน
  • คณะทำงานแต่ละคนต่างก็มีภาระงาน มีธุรกิจกที่ต้องดูแล ทำให้ไม่สามารถช่วยเหลืองานกันได้เต็มที่ อาศัยเพียงผู้ประสานงาน
1.2 ศักยภาพและทักษะการดำเนินงาน
  • ต้องเสริมทักษะให้คนทำงาน โดยเฉพาะเรื่องการเขียนรายงาน
1.3 ผลลัพธ์และผลสำเร็จของการดำเนินงาน
  • เป็นไปตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์
2. ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risks)
2.1 ระบบและกลไกการบริหารจัดการ

 

2.2 การใช้จ่ายเงิน

 

2.3 หลักฐานการเงิน
  • หลักฐานการเงินไม่สมบูุรณ์ ต้องปรับแก้
ผลรวม 0 0 3 0
ผลรวมทั้งหมด 3 ระดับความเสี่ยง : ???
เกณฑ์วัดระดับความเสี่ยง ???
สรุปการแก้ไขความเสี่ยง แก้ไขแล้ว ยังไม่ได้แก้ไข

ส่วนที่ 4 : สรุปความเห็นของผู้ติดตาม

ส่วนที่ 4สรุปความเห็นของผู้ติดตาม
4.1 กรณีเบิกเงินงวด/ติดตามเยี่ยมชม มีแนวโน้มสำเร็จตามเป้าหมายโครงการและติดตามปกติ
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น
  • คณะทำงานสามารถดำเนินงานโครงการได้ตามวัตถุประสงค์ และมีเครือข่ายหนุนเสริมการทำงาน คือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ทำให้สามารถดำเนินงานโครงการต่อได้
มีแนวโน้มเสี่ยง ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจาก
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

 

มีความเสี่ยง ต้องยุติโครงการ เนื่องจาก
4.2 กรณีสรุปปิดโครงการ ดำเนินงานได้ตามแผนปฏิบัติการและสามารถปิดโครงการได้
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

 

ไม่เป็นไปตามแผนปฏิบัติการ ให้ดำเนินการจัดระบบการเงิน ระบบรายงานให้ถูกต้องก่อนปิดโครงการ
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

 

ส่วนที่ 5 : สรุปภาพรวมของการติดตามประจำงวด (ข้อสังเกต/สิ่งดีๆ ที่ค้นพบ/ข้อพึงระวัง/บทเรียนที่ได้)

  • ควรจัดแผนการทำงานให้ชัดเจน สอดคล้องกับบริบทชุมชน
  • กิจกรรมที่ดำเนินงานต้องตรงตามแผนนงาน และสามารถตอบวัตถุประสงค์ได้จริง

สร้างรายงานโดย kannapat janthong