assignment
บันทึกกิจกรรม
จัดทำรูปเล่มภาพถ่ายการดำเนินกิจกรรมทั้งโครงการ31 พฤษภาคม 2014
31
พฤษภาคม 2014รายงานจากพื้นที่ โดย Churee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อนำภาพถ่ายมาประกอบรายงานฉบับสมบูรณ์

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดทำภาพถ่ายเพื่อประมวลภาพการดำเนินงานตามโครงการ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การดำเนินงานตามโครงการแต่ละกิจกรรมมีภาพถ่ายเป็นหลักฐานในการดำเนินงานตามโครงการจริง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวจุรีย์ หนูผุด
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

จัดทำรายงานผลการดำเนินงานโครงการเพื่อปิดโครงการ31 พฤษภาคม 2014
31
พฤษภาคม 2014รายงานจากพื้นที่ โดย Churee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ส่ง สสส.

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดทำรายงาน ส.1 ส.2 ส.3 ส.4 ง.1 และ ง.2  ฉบับสมบูรณ์เพื่อปิดโครงการและจัดส่ง สจรส.มอ.และสสส.

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้รับผิดชอบโครงการได้จัดทำรายงานได้เสร็จสมบูรณ์

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 3 คน จากที่ตั้งไว้ 3 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการ เจ้าหน้าที่การเงิน และพี่เลี้ยงจังหวัด

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวจุรีย์ หนูผุด
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปผลการดำเนินงานโครงการร่วมกับพี่เลี้ยง31 พฤษภาคม 2014
31
พฤษภาคม 2014รายงานจากพื้นที่ โดย Churee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสรุปผลการดำเนินงานโครงการฉบับสมบูรณ์

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปผลการดำเนินงานโครงการแล้วจัดทำรายงานปิดโครงการ แบบประเมินคุณค่า

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้รับผิดชอบโครงการ คณะทำงานโครงการ ได้สรุปผลการดำเนินงานโครงการร่วมกับพี่เลี้ยง ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นจริงกับชุมชน ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานและร่วมกันประเมินคุณค่าการทำงานตามแบบฟอร์ม

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 6 คน จากที่ตั้งไว้ 10 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการ เจ้าหน้าที่การเงิน หัวหน้าโครงการ ที่ปรึกษาโครงการ และพี่เลี้ยงจังหวัด

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวจุรีย์ หนูผุด
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

จัดทำป้ายสถานที่นี้ปลอดบุหรีฯ31 พฤษภาคม 2014
31
พฤษภาคม 2014รายงานจากพื้นที่ โดย Churee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อรณรงค์และประชาสัมพันธ์การดำเนินงานโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดทำป้ายสถานที่นี้ปลอดบุหรี่และนำมาติดไว้บริเวณที่ชุมชนจัดกิจกรรมโครงการ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้เข้าร่วมประชุมมีพฤติกรรมเคารพสถานที่ประชุมปฏิบัติตามข้อตกลง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวจุรีย์ หนูผุด
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

3.1 เปิดตลาดเขียว(ตลาดชุมชน)ทุกวันอาทิตย์ พื้นที่คนรักษ์สุขภาพของชุมชน31 พฤษภาคม 2014
31
พฤษภาคม 2014รายงานจากพื้นที่ โดย thawonr kongsri
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสื่อสารรณรงค์การบริโภคอาหารที่ปลอดภัยจาก การเลิกการใช้สารเคมี ในการปลูกพืชไว้กินเอง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เปิดตลาดนัดชุมชนใช้ชื่อ  ตลาดนัดคนรักษ์สุขภาพ (หูยานสะพานคนเดิน) เป็นการจัดกิจกรรมร่วมกับ สสย.(สร้างเสริมสุขภาวะเด็กและเยาวชน,เป็นการจัดงานเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ให้เด็กและเยาวชนร่วมกันจัดเป็นพื้นที่กิจกรรม นำกิจกรรมมาทำร่วมกับคณะทำงานโครงการชุมชนหูยานบ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเอง เปิดตลาดเขียว พื้นที่คนรักษ์สุขภาพ นำผลิตภัณฑ์จากชุมชน ที่มีตรามาตรฐานรับรองผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัย ที่ส่งเสริม รณรงค์ให้ชุมชนบ้านหูยานร่วมกัน ลด ละ เลิก การใช้ใช้เคมีทุกชนิด หันผมาปลูกกินเอง ที่เหลือรวมตัวตั้งกลุ่มมาจำหน่วย  โดย สภาแกนนำร่วมกับตัวครัวเรือนได้กำหนด ให้วันเสาร์สุดท้ายของเดือนจะมีตลาดทุกเดือน ขั้นตอนกระบวนการ - การรวมคนโดยสร้างกิจกรรมฟุตซอลเด็กอายุ ไม่เกิน 12 ปี ได้จำนวน  5  ทีมแข่งขันจบในวันเดืยวประกาศผ่านวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย(รายการหนูหนุ้ย) โดยทีมผู้นำ ประกอบด้วยฝ่ายอำนวยการโดยมีกำนันอนุชา เฉลาชัย,นายกเทศมนตรี นายพีรพงค์  บาลทิพย์,นางวิภา  พรหมแท่น และผู้ใหญ่ทุกหมู่บ้าน ระดมเด็กมาร่วมกิจกรรมโครงการสืบชะตาคลองนาท่อม - สภาเด็กและเยาวชน ตำบลนาท่อม ร่วมกับ สสย. เสริมสร้างสุขภาวะเด็กและเยาวชน จัดกิจกรรมพื้นที่นี้ดีจัง ภายใต้ชื่อ  ยิ้ม  ที่ริมคลองนาท่อม เป็นการเปิดกิจกรรมในพื้นที่ริมคลองให้เด็กได้รัก หวงแหน คลองให้สะอาดและมีปลาจำนวนมาให้ชม ให้คนอื่นมาเที่ยว ให้ตัวเองได้มีพื้นที่ดี ๆ ทำกิจกรรม - เยาวชนกลุ่มครอบครัวจักรยานต์สานฝันวันอาทิตย์มาร่วมช่วยกันสร้างสรรค์กิจกรรมโครงการสืบชะตาคลองนาท่อม -กลุ่มสวนผักชุมชนคนหูยานบ้านน่าอยู่สู่สุขภาวะ ครัวเรือนนำผลผลิตจากการเหลือกินมาร่วมกันซื้อขายแลกเปลี่ยนโดยรวบรวมแล้วมาจัดเป็นถุงเพื่อนำไปขายให้กับผู้มาชมงานโดยสินค้ามีตรงรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน -เวทีมีการพูดคุยแบบสบาย ๆ ให้กับผู้ปกครองเด็กและคนมาเที่ยวตลาดนัดรักษ์สุขภาพ ถึงเรื่อง กินอย่างไรให้ให้ปลอดภัย โดยหมอ สมนึก  นุ่นด้วง รพสต.นาท่อม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ตลาดเขียว (เป็นตลาดนัดคนรักษ์สุขภาพ ที่เกิดจากการรวมกลุ่มรวมสินค้าที่เหลือจากการบริโภคในครัวเรือน โดยกลุ่มสวนผัก นำผักที่ปลูกโดยไม่ใช้สารเคมี มาแลกกเปลี่ยนซื้อขายกัน) -เป็นกิจกรรมที่ทำร่วมกันของหลายองค์กร
  -เทศบาลนำโดย นายพีรพงค์  บาลทิพย์นายกเทศมนตรี ใช้กิจกรรมสืบชะตาคลองนาท่อม โดยรวมเด็กทำกิจกรรมฟุตซอล เชิญเด็กจากต่างตำบลมาร่วม   -สภาเด็กและเยาวชน ร่วมกิจกรรม พื้นที่นี้ดีจัง  ยิ้ม...ริมคลองนาท่อม   -โครงการหูยานบ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเอง เวทีดนตรีเรียกคน  พูดคุยให้ความรู้ กินอย่างไรให้ปลอดภัย   -ตลาดสินค้าปลอดภัย มีการรวมกลุ่ม หาสมาชิก  ตลาดมีตรารับรองมาตรฐานรับรอง   -การระดม กลุ่มองค์กร ต่าง ๆ ที่มีในชุมชนเข้ามาร่วมกิจกรรม โดย สภาแกนนำและคณะทำงานโครงการ   -กิจกรรมที่ใช้เด็กเป็นสื่อสาร กิจกรรม เมื่อเด็กมา  ผู้ปกครองมา  คนทั่วไปก็มาหลากหลายที่ได้รับข้อมูลจากเครือข่าย ผ่านเว็ปไซด์   -กิจกรรมตลาดเขียว พื้นที่ของคนรักษ์สุขภาพ ห่วงใย ช่วยเหลือดูแลกันและกัน เกิดขึ้นในชุมชน เป็นการเหมาะสมแล้วเพราะแต่พื้นที่ชุมชนหูยาน สมาชิกตัวแทนจากครัวเรือนผลิด หรือปลูกพืชเพื่อกินเอง ไม่ได้มุ่งเน้นปลูกเพื่อขาย ดังนั้นสินค้าที่นำมาขายในตลาดนี้เป็นการรวบรวมจากกลุ่มมาแปรรูปและมีตรารับรองเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับคนชื้อ กลุ่มสวนผักทำกิจกรรมเพื่อสุขภาพ สินค้าได้มาจากการรณรงค์ ลด ละ เลิกการใช้สารเคมี สิ้นค้าที่นำมาจำหน่ายประกอบด้วย ผักพื้นบ้านหลากหลาย  ผึ้งที่เกิดจากการ ที่ชุมชนรณรงค์การลด ละ เลิกการใช้สารเคมี ทำให้มีผึ้งจำนวนมาก ชุมชนมีสินค้าทดแทนจากการรวมตัวกัน เช่นนำ้ยาเอนกประสงค์  เครืองแกง  อื่น ๆ   -ฝ่ายอำนวยการ ทีมีบทบาทหน้าที่ในการประสานงานกับหน่วยงาน  กลุ่มองค์กรในพื้นที่ได้ทำหน้าทีประสานงานจนผู้เข้าร่วมงานมีจำนวนมาก   -เทศบาลนำโดยนายกเทศมนตรี เจ้าหน้าที่ใช้กิจกรรมโครงการสืบชะตาคลองนาท่อม โดยมีการปล่อยปลา ปลูกต้นไม้ เก็บขยะ ร่วมกับ ทำให้มีผู้เข้าร่วมจำนวนมาก   - สภาแกนนำของบ้านหูยาน เป็นผู้ประสานงานให้เด็ก เยาวชน และสมาชิกของกลุ่มเข้าร่วมงานจำนวนมาก   -เมื่อสังคมของชุมชนตื่น พลังชุมชนเกิด ทิศทางอยู่ที่สภาแกนนำชุมชนหูยาน
สรุป  กิจกรรมตลาดเขียว(หูยาน สะพานคนเดิน)  พื้นที่คนรักษ์สุขภาพ
  1. เป็นการรณรงค์การ เลิกการใช้สารเคมีทุกชนิด ผลิดอาหารปลอดภัยในชุมชน เป้าหมายสุงสุด คือ การลดสารปนเปื้อนเข้าสู่ร่างกายผู้บริโภค ลดการเป็นโรค
  2. ดูแล รักษ์สิ่งแวดล้อม คลองนาท่อม ด้วยการมีกติการ่วม  เขตอภัยทานปลาในคลอง  ไม่ทิ้งขยะในคลอง รณรงค์ปลูกต้นไม้ กำหนดจัด วันเสาร์สุดท้ายทุกเดือน
  3. เพื่อรวมเด็กทำกิจกรรมด้านสุขภาพ  สิ่งแวดล้อมของชุมชน  โดยใช้กิจกรรมเด็กสื่อสาร

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 350 คน จากที่ตั้งไว้ 45 คน
ประกอบด้วย

กลุ่มเด็กและเยาวชน 200 คน กลุ่มคนทั่วไป 100 คน กลุ่มสภาแกนนำ,ตัวแทนครัวเรือน และกลุ่มผู้นำ 50 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-ฝนตกหนัก ทำให้กีฬาฟุตบอลต้องขยายเวลาเสร็จ 4 โมงเย็นทำให้เด็กเหนื่อย วิธีแก้ไข  จัดโปรแกรมใหม่ วันละ 1-2  คู่ -หลายกลุ่ม องค์กร การจัดลำดับกิจกรรมของแต่ละกลุ่มต้องมีความสอดคล้องกัน วิธีแก้ไข ต้องออกแบบกิจกรรมทุกครั้ง -ปัญหาเรื่องงบประมาณกับกลุ่ม องค์กรในชุมชน เขาไม่มีงบประมาณแต่เขามีกิจกรรมดี ๆ  วิธีแก้ นำเอากิจกรรมเขามาสื่อสารเพื่อเรียกผู้เข้ามาร่วมงานได้เป็นอย่างดี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวจุรีย์ หนูผุด
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไมีมี

3.4 สรุปถอดบทเรียน24 พฤษภาคม 2014
24
พฤษภาคม 2014รายงานจากพื้นที่ โดย thawonr kongsri
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสรุปผลการดำเนินงานโครงการหูยานบ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเอง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-วิทยากร นายสมนึก  นุ่นด้วง นักวิชาการสาธารณสุข รพสต.อนามัยบ้านนาท่อม เป็นวิทยากร ดำเนินการ -นายถาวร  คงศรี  ผู้รับผิดชอบโครงการ,และนายอนุชาเฉลาชัย ผู้จัดการโครงการ,สมาชิกสภาแกนนำหรือกรรมการหมู่บ้าน,สมาชิกครัวเรือนต้นแบบ -เริ่มต้นด้วยนายถาวร และนายอนุชา  สรุปวัตถุประสงค์และเป้าหมายโครงการ ชุมชนหูยานบ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเอง โดยลำดับให้ผู้เข้าร่วมได้ทราบอีกครั้งเพื่อให้เห็นกระบวนการดำเนินโครงการและผลที่เกิดขึ้นว่าสอดคล้องกับโครงการ ตัวชี้วัดหรือไม่ โดยวิธีการรับฟังจากทุกคนที่ร่วมกันมองสะท้อนออกมา

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ข้อสรุปจากผลการรดำเนเินโครงการชุมชนหูยานบ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเอง - ด้านพัฒนาสภาแกนนำหรือกรรมการหมู่บ้าน เพื่อ ร่วมกันเรียนรู้การกำหนดบทบาทหน้าที่และโครงสร้าง       1.ได้เรียนรู้กระบวนการจัดทำแผนพัฒนาชุมชนจาก หัวหน้าสำนักงานปลัดเทศบาลตำบลนาท่อมจนรู้และเข้าใจจนสามารถร่วมกันกำหนดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ให้กับชุมชน เช่น ชักชวนสมาชิกครัวเรือนทำบัญชครัวเรือนเพื่่อเรียนรู้ตนเอง ผลที่เกิดขึ้นสมาชิคสภาแกนนำและครัวเรือนฝึกทำบัญชีอย่างต่อเนื่อง จำนวน 50  ครัวเรือนและร่วมกันรณรงค์ให้ออมทรัพย์สวัสดิการเดือนละ 30 บาทเพื่อเป็นสวัสดิการแก่สมาชิกครัวเรือนต้นแบบ       2. สมาชิกสภาแกนนำเรียนรู้โครงสร้างกรรมการหมู่บ้านและบทบาทหน้าที่ จากปลัดจริญา  จันทร์ดำ ผลของการเรียนรู้ส่งให้การจัดกระบวนการชุมชน ให้สภาแกนนำเป็นกรรมการหมูบ้าน ที่มีโครงสร้างและแต่ละคนแต่ละฝ่ายให้มีบทบาทหน้า  ผลที่เกิดขึ้น  หัวหน้าชุมชนหรือกำนันได้รับการประเมินหมู่บ้านที่บริหารโดยคณะกรรมการหมู่บ้าน ไ้ด้รับรางวัล กำนันแหนบทอง และมีผลงานต่อเนื่อง เป็นคณะทำงานกับผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผลลัพธ์จากการพัฒนาศักยภาพแกนนำ - ด้านการตั้งแหล่งเรียนรู้เป็นโรงเรียนผึ้งและมีหลักสูตรพัฒนาเป็นหลักสูตรชุมชนเรียนรู้ขยายผล ผลที่เกิดขึ้น จำนวนคนที่ขยายผลการเลี้ยงผึ้งเพิ่มขึ้นภายในชุมชน ครัวเรือนต้นแบบขยายผล มากกว่า 25  คน ภายนอกชุมชนจำนวนมากหลายพื้นที่ สื่อเนื่องจากการประชาสื่อประชาสัมพันธ์ ทางวิทยุ,หนังสือพิ่มย์ไทยรัฐ จำนวน 2 ครั้ง,วารสารจังหวัด,การออกบูทแสดงในงานของจังหวัด จำนวนหลายครั้ง ผลผลิต เกิดหลักสูตร ผึ้งภูมิปัญญา ฟื้นชุมชนให้น่าอยู่ ใชักับแหล่งเรียนรู้โรงเรียนผึ้ง โดยนางบุญเรื่อง  แสงจันทร์เป็นวิทยากรและนายมานพ  แสงจันทร์ ผลผลิตเป็นกลุ่มรวมกันขาย - ด้านการพัฒนาตลาดเขียวพื้นที่คนรักษ์สุขภาพให้มีตรารับรองมาตรฐาน สิ่งที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาพื้นที่คนรักษ์สุขภาพหรือตลาดเขียว
      1. มีตรารับรองมาตรฐานสินค้า ที่มาจากจาก คณะกรรมการคุมครองผู้บริโคภ ร่วมกันกำหนดขึ้น จากเทศบาลนาท่อม  อานามัยนาท่อม และคณะทำงานภาคประชาชนร่วมกันกำหนดมาตรฐานอาหารปลดภัย       2. ชุมชนมีความรู้และความตระหนักเพิ่มขึ้น จนครัวเรือนปลูกกินเองมากขึ้นและนำมาขายผ่านร้านค้าของชำในชุมชนและร้านขนมจีนจำนวนมากในชุมชนทำให้สินค้าผลิตไม่พอต่อความต้องการ เป้าหมายที่วางไว้จะเปิดเป็นตลาดนัดมีสินค้าไม่พอ เป็นช่องทางการเพิ่มรายได้แต่โครงการนี้มุ่งเน้นสุขภาพมาเป็นลำดับสำคัญ สำหรับการสื่อสาร เน้นจากหอกระจายข่าว,กิจกรรมในชุมชน,งานออกบูทในสถานที่ต่าง ๆ,ในร้านค้าชุมชนเป็นการขยายผล,มีแม่ค้าเข้ามารับจนไม่พอจำหน่าย ข้อสรุปทีได้ คือ ตลาดนัดคนรักษ์สุขภาพไม่สามารถขายได้ทุกวันพุทธ เนื่อจากผลผลิตไม่พอ เน้นการปลูกไว้กินเอก และแบ่งปัน ส่วนที่เหลือขายในร้านค้าชุมชน คนได้กินของดี ส่วนตลาดไม่มีสินค้าขาย ถึงมีก็ไม่คุ้มค่า

สรุปภาพรวมสิ่งที่ได้รับจากการดำเนินการโครงการ ชุมชนหูยานบ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเอง         ชุมชนหูยาน หมู่ที่ 8  ตำบลนาท่อม อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง เป็นชุมชนน่าอยู่เนื่องจาก ชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมหลายเรื่องเกิดขึ้น เช่น กรรมการหมู่บ้านที่เป็นสภาแกนนำจำนวน 21 คน มีการประชุม  พูดคุยกันอย่างสมำเสมอในการให้ความรู้กับชุมชน มีการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานข้างนอกเพื่อนำกิจกรรมมาสู่ชุมชน จัดระบบชุมชนแบบมีโครงสร้าง แบ่งบทบาทหน้าที่จนแต่ละฝ่ายมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง จนผู้นำ คือ นายอนุชา  เฉลาชัยที่เป็นผู้จัดการโครงการ เป็นกำนัน จนได้รับรางวัล กำนันแหนบทอง ในการดำเนินโครงการนี้จากการประเมินผู้นำท้องถิ่นดีเด่น , ด้านเศรษฐกิจ ที่มีนางบุญเรือง  แสงจันทร์ ได้รับการแต่งตั้งจาก ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง นายเสรี  ศรีหไตร เป็น คณะทำงาน ครม น้อย เพื่อขับเคลือนขยายผล การเลี้ยงผึ้งเพื่อเพิ่มรายได้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง  และฟื้นสิ่งแวดล้อม ไม่ใช้สารเคมี เพิ่มผลผลิตทางการเกษตรจากการที่มีผึ้งเพิ่มขึ้น ดีต่อสุขภาพ และเป็นประชาสัมพันธ์ในหมู่บ้านในการ ใช้สื่อหอกระจายข่าวในการสื่อสารโครงการ จนได้รับไว้วางใจให้ไปจัดแปลงสวนผักชุมชน ในจวนผู้ว่าเพื่อเป็นโมเดล, ด้านการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ได้มีกลุ่มสวนผัก และกลุ่มสินค้าทดแทน ในการร่วมกันรณรงค์การปลูกผักกินเอง สร้างแปลงผักครัวเรือน เพิ่มขึ้นมากกว่า 70 ครัว และขยายไปยังชุมชนไกล้เคียงจากการมาเป็นสมาชิกตลาดเขียวของกลุ่มสวนผักชุมชนคนหูยานฯ สำหรับการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ เกิดขึ้นจริงมีรูปธรรม 3 แหล่งเรียนรู้ที่เป้าหมายเดียวกัน  คือ สิ่งแวดล้อมเรื่องสุขภาพของคน คือ แหล่งเรียนรู้เรื่องสวนผักชุมชน  ผลลัพธ์เกิดผึ้งจำนวนมากขึ้น  เพราะชุมชนไม่ใช้สารเคมี  ส่งผลให้เกิดกลุ่มผึ้งมากขึ้น  ผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มมากขึ้น รายได้เกษตรกรมากขึ้น  แก้ปัญหาเศรษฐกิจรายได้น้อยกว่ารายจ่าย และกลุ่มสินค้าทดแทน ที่ผลิตจากผลผลิตในชุมชนเพื่อลดรายจ่ายครัวเรือน สมาชิกครัวเรือนต้นแบบเรียนรู้และทำบัญชีครัวเรือน 50 คนทุกคนเข้าเป็นสมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชนเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตเป็นเงื่อนไขหนี่งในการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่         จากการขับเคลื่อนโครงการมาระยะหนึ่ง ผู้นำได้เห็นความสำคัญกับแผนชุมชน ที่ใช้เป็นกระบวนการพัฒนา จึงได้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ตำบลร่วมกับเทศบาล และทบทวนแผนชุมชนบ้านหูยาน ตลอดจนเชื่อต่อหน่วยงานภาครัฐ เช่น สหกรณืการเกษตรและสหกรณ์จังหวัดพัทลุงในการหนุนเสริมกิจกรรมของชุมชนอย่างต่อเนื่องปีที่ 2 โดยการหนุนเสริมกิจกรรมอาชีพ เช่น เมล็ดพันธุ์พืช,ปลา,การพัฒนากลุ่มเป็นต้น  หน่วยงานพัฒนาชุมชนมาต่อให้กลุ่มกิจกรรมไปแสดงสินค้า ในเมืองเมื่อมีงาน  อนามัยบ้านนาท่อม มาหนุนเสริมการให้ความรู้กับชุมชนให้เป็นตัวอย่างหมู่บ้านเปลี่ยนพฤติกรรม  สปสช. ตำบลนาท่อม ให้การหนุ่นเสริมกิจกรรมโดยนำกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้เป็นระยะ ส่วนหน่วยงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษ ร่วมให้การสนับสนุนดโครงการสืบชะตาคลองนาท่อม สนับสนุนการทำกิจกรรม เก็บขยะ ปลูกไม้ ปล่อยปลา ขยายเขต และผู้นำชุมชนนำกิจกรรมกรรมหลากหลายเข้ามาร่วมเนื่องจากคนในชุมชนมีส่วนร่วมมากขึ้น อย่าง เช่น ตลาดหูยาน สะพานคนเดิน เป็นการรวบรวมผลผลิตจากชุมชนมาขายทุกวันเสาร์สุดท้ายของเดือน มีการจัดกิจกรรมของสภาเด็กและเยาวชนในกิจกรรม ยิ้ม  ริมคลองนาท่อม เป็นการรณรงค์ให้ใช้พื้นที่ดี ๆ ในชุมชน ให้เด็กได้ร่วมกันเก็บขยะ  ปล่อยปลาในคลองเป็นการอนุรักษ์  จัดพื้นที่ให้เป็นลานศิลป, ลานเล่น, ลานกินอาหารเพื่อสุขภาพ ,มีเวทีให้ความรู้เรื่องอาหารกับสุขภาพ  สิ่งต่าง ๆ เล่านี้เกิดขึ้นในพื้นที่ชุมชนบ้านหูยานอย่างต่อเนื่องมาตลอดท้้งปี จากการดำเนินงานมา 2 ปี ชุมชนสามารเป็นชุมชนต้นแบบเรื่องการดูแลระบบสิ่งแวดล้อมของชุมชนเพื่อสุขภาพ ตอบตัวชี้วัดความสุข ความน่าอยู่ คือ คัวเลขสารปนเปื้อนในร่างกาย จาก 97 % ลดต่ำกว่า 97%  ซึ่งตัววัดที่เป็นรูปธรรม เช่น ผึ้งเพิ่มมากขึ้น ครัวเรือนมีแปลผักมากกว่า 70 ครัว สะท้อนให้เห็นชุมชนไม่ใช้สารเคมี

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

สมาชิกสภาแกนนำ ๅ16  คน สมาชิกครัวเรือนต้นแบบ  14คน ผู้นำรับเชิญ  1 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-บทบาทหน้าที่ของสภาแกนนำหรือกรรมการหมู่บ้าน คือ เมื่อมีโครงสร้างแล้วบทบาทหน้าที่ต้องเรียนรู้ในเชิงลึก ประชาชนธรรมดาที่ทำงานให้ชุมชนมีความหลากหลาย ต้องใช้เวลาในการอธิบายเพราะเขาเป็นจิตอาสาเข้ามาร่วมงานชุมชนไม่ไช่เป็นผู้นำที่ผ่านการเลื่อกตั้ง,ไม่ได้มีผลตอบแทนได ๆ เขาเป็นสมาชิกแกนนำของกลุ่มบ้านที่มาร่วมงานเป้าหมายหลักคือ เป็นคนสื่อสารกับกลุ่มบ้านเท่านั้น  แนวทางการแก้ปัญหา ต้องทำอย่างต่อเนื่องและใช้เวทีประชุมทุกเดือนเป็นตัวช่วยเรื่่องนี้ -โครงการจัดการตนเอง การดำเนินงานมุ่งสร้างความเข้าใจเป็นหลัก  สร้างกระบวนการ  เพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นชุมชนที่มีเงื่อนไข คือ  การร่วมสร้างกฏกติกาให้คนในและภายนอกร่วมกันปฏิบัติ ต้องค่อย ๆ  ทำอย่างต่อเนื่อง

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ทำหลักสูตรผึ้งฉบับสมบูรณ์(ครั้งที่ 2)23 พฤษภาคม 2014
23
พฤษภาคม 2014รายงานจากพื้นที่ โดย thawonr kongsri
circle
วัตถุประสงค์

เพือทำหลักสูตรผึ้ง..ภูมิปัญญาฟื้นชุมชน ฉบับสมบูรณ์

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ร่วมกันพิจารณาเนื้อหาลักสูตรเพื่อรับเป็นหลักสูตรชุมชน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้หลักสูตรผึ้งเป็นหลักสูตร ชุมชนฉบับสมบูรณ์ที่ผ่านคณะกรรมการร่วมคิด

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

การทำหลักสูตรผึ้ง  ภูมิปัญญาฟื้นชุมชน ในระยะเวลาสั้น และภูมปัญญาที่พื้นที่ หูยานนำมาพัฒนาต่อยอดขยายผล เพื่อ รณรงค์ให้ชุมชนเลี้ยงเพื่อฟื้นสิ่งแวดล้อม ด้วยการไม่ใช้สารเคมีและผึ้งมากขึ้น  ผลผลิตมากขึ้น รายได้คนดีขึ้น ซึ่งใช้อธิบายในชุมชนบ้านหูยานเท่านั้น  ส่วนการเลี้ยงผึ้งที่อื่นก็เหมาะสมไปตามสภาพพื้นที่

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวจุรีย์ หนูผุด
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่ไม่

ฝึกการนำเสนอวิทยากรแหล่งเรียนรู้โรงเรียนผึ้งครั้งที่ 322 พฤษภาคม 2014
22
พฤษภาคม 2014รายงานจากพื้นที่ โดย thawonr kongsri
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อฝึกเป็นวิทยากรแหล่งเรียนรู้จากผู้ศึกษาดูงานอย่างเป็นระบบและมีกระบวนการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-ฝึกการจัดกระบวนการต้อนรับการเข้ามาศึกษาดูงานจากภายนอก -การนำผลผลิตของกลุ่มผึ้ง,ผัก,และการบริการให้กับกลุ่มที่มาศึกษาดูงานประทับใจต้องมีความเอื้อเฟื้อต่อกันในชุมชน -การทำศูนย์ประสานงานในพื้นที่เพื่อต้อนรับผู้เข้ามาศึกษาดูงาน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-สมาชิกในกลุ่มผึ้งและกลุ่มสวนผักได้เรียนรู้และเข้าใจหลักคิดการเลี้ยงผึ้งเพื่อสุขภาพ  สิ่งแวดล้อม อย่างเป็นระบบ -สมาชิกแกนนำและกลุ่มที่เลี้ยงผึ้งสามารถถ่ายทอดหลักคิดการเลี้ยงผึ้งของชุมชน -นางบุญเรือง แสงจันทร์เป็นวิทยากรถ่ายทอดได้อย่างเป็นระบบ คือ มีแนวคิด  แนวปฎิบัติ  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 25 คน จากที่ตั้งไว้ 35 คน
ประกอบด้วย

-เจ้าหน้าที่เทศบาล -สมาชิกผู้เลี้ยงผึ้ง,กลุ่มสวนผักชุมชน -ผู้นำในพื้นที่

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมสภาแกนนำครั้งที่ 1110 พฤษภาคม 2014
10
พฤษภาคม 2014รายงานจากพื้นที่ โดย thawonr kongsri
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อทบทวน สร้างความเข้าใจและรายงานความก้าวหน้า

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-รายงานความก้าวหน้า ทบทวนบทบาทหน้าที่ของสภาแกนนำหรือกรรมการหมู่บ้านแต่ละฝ่ายว่าบทบาทหน้าที่ทำอย่างไรให้มีร่องรอยดำเนินการ เพื่อประโยชน์ในการรายงานผลงาน -สภาแกนนำหรือกรรมการหมู่บ้านที่มีนายอนุชา เฉลาชัย เป็นหัวหน้าหรืออำนวยการ ได้มีการร่วมคิด กันในการจะดำเนินการทำป้ายชื่อซอยทุกซอย,แผนที่ชุมชน,ชื่อคุ้มบ้าน เพื่อให้คนที่มาเยี่ยมได้รู้จักและมาท่องเที่ยวดูกิจกรรมในชุมชนได้

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-สภาแกนนำหรือกรรมการหมู่บ้านได้ตระหนักเห็นความสำคัญของการบันทึกกิจกรรมที่ร่วมทำกันเพื่อสร้างร่องรอยแห่งการดำเนินงานของกลุ่ม -สภาแกนนำหรือกรรมการหมู่่บ้านได้ร่วมกันกำหนดชื่อ คุ้มบ้าน,แหล่งเรียนรู้.และชื่อซอยถนนในหมู่บ้าน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

-สภาแกนนำหรือกรรมการหมู่บ้าน -สมาชิกครัวเรือน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
ไมมี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สือสารประชาสัมพันธ์โครงการ ครั้งที่ 430 เมษายน 2014
30
เมษายน 2014รายงานจากพื้นที่ โดย thawonr kongsri
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสื่อสารประชาสัมพันธ์โครการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ได้รับเชิญจากเทศบาลให้นำเกิจกรรมของโครงการเข้าร่วมแสดงสินค้า โดยการจัดบูท นิทรรศการ แสดงสินค้า นำผลผลิตมานำเสนอขาย ทั้งผึ้ง,ผัก,และสินค้าทดแทน และร่วมกิจกรรมกับทางเทศบาลเพื่อดำเนินงานที่สอดคล้องกันในประเด็นการทำเกษตรอินทรีย์

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กลุ่มต่างได้ร่วมกันรงณรงค์ให้ประชาชนหันมาสนใจสุขภาพ,รณรงค์ให้เลี้ยงผึ้งเพื่อสุขภาพ,เพื่อสิ่งแวดล้อมและเพื่อรายได้, ได้มีการแปรรูปผลืตภัณฑ์สินค้าทดแทนที่ขายดี,ได้ประชาสัมพันธ์โครงการให้ประชาชนที่ร่วมงานได้มีความมั่นใจในผลิตภันฑ์ -เห็นประชาชนประชาชนที่ร่วมกลุ่มคิด และร่วมทำจนเพื่องตนเองอย่างเห็นได้ชัดจากการร่วมทำอย่างไม่เด็ดเหนือย

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวจุรีย์ หนูผุด
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชาสัมพันธ์โครงการครั้งที่ 313 เมษายน 2014
13
เมษายน 2014รายงานจากพื้นที่ โดย thawonr kongsri
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสื่อสารกิจกรรมโครงการชุมชนหูยานสู่การจัดการตนเอง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กลุ่มผึ้ง,กลุ่มสวนผัก,กลุ่มสินค้าทดแทน เปิดตลาดเขียว หรือรณรงค์พื้นที่สุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ในการนำผลผลิตที่กลุ่มนำมาเสนอ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ชุมชนได้รวมผลผลิตในชุมชนมานำเสนอในงาน ทำให้ผู้ร่วมงานได้รู้จักนาท่อม ได้รู้จักพื้นที่สุขภาพเพิ่มขึ้นจากงานรณรงค์

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 300 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

ประชาชนทั่วไปในชุมชนที่มาชนกิจกรรมงานแข่งขั้นเรือนพาย

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มีปัญหา

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวจุรีย์ หนูผุด
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมแลกเปลี่ยนครั้งที่ 1010 เมษายน 2014
10
เมษายน 2014รายงานจากพื้นที่ โดย thawonr kongsri
circle
วัตถุประสงค์

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประจำเดือนเมษายน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-ประชุมรายงานติดตามผลความก้าวหน้าและรายงานเรื่องที่อำนวยการแจ้งให้ทราบจากการประชุมจากอำเภอและสุดท้ายรับฝังเสียงสะท้อนจากประชาชนกับนายกเทศมนตรี นายพีรพงศ์  บาลทิพย์

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-การรายงานผลการดำเนินงานจากฝ้ายแผนและด้านเศรษฐกิจ ให้ที่ประชุมทราบถึงกิจกรรมที่กลุ่มผึ้งได้ดำเนินการ ของนางบุญเรือง  แสงจันทร์  หลังจากที่ได้รับตำแหน่งเป็นโฆษก ในครมน้อย ได้ประชาสัมพันธ์โครงการให้ได้รับชื่อเสียงมีประชาชนมาดูงานจำนวนมาก -นายพีรพงศ์ บาลทิพย์ นายกเทศมนตรี ได้รับฟังและร่วมแลกเปลี่ยนกับประชาชนในชุมชนถึงเรื่องโดยทั่วไป เพื่อต้องการรับฟังเสียงสะท้อนจากชุมชน ผลที่เกิดขึ้น ได้สะท้อนให้เห็นว่ามีคนเก่งและมีความสามารถเพิ่มขึ้นในหมู่ที่ 8 และประชาชนมีความพร้อม,ให้ความร่วมมือมากกว่าหมู่อื่น ๆ ในการประชุมแต่และครั้งหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ,แกนนำมีความกล้าแสดงออก  เช่น นางบุญเรื่องมีการสื่อสารหอกระจายข่าวหมู่บ้านเพราะเป็นโฆษกหมู่บ้าน เป็นเจ้าของแหล่งเรียนรู้ -กำนันอนุชา  เฉลาชัย เป็นกำนันแนบทองจากโครงการนี้  ได้สรุปโดยการคุยให้ชุมชนเข้าใจ  ที่ได้จัดกระบวนการปรับสภาแกนนำให้สอดคล้องกับคณะกรรมการหมู่บ้าน และจัดโครงสร้างการบริหารจัดการเป็นระบบ ได้รายงานและทบทวนให้ประชาชนเข้าใจยิ่งขึ้น ผลที่ได้รับ  เป็นการคุยย้ำ ทำซ้ำ จนสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ และยั้งยืน -นายถาวร  คงศรี ผู้รับผิดชอบโครงการและที่ปรึกษาอำนวยการ ได้นำชวนคุย ในการเตรียมความพร้อมของชุมชน ในการร่วมจัดงาน  ร่วมนำกิจกรรมของเราไปนำเสนอ ออกนิทรรศการ เตรียมของไปนำเสนอขายผ่านกลุ่มต่าง ๆ ในชุมชน เช่น กลุ่มผึ้ง,กลุ่มวผัก,กลุ่่มสินค้าทดแทน และการแปรรูปต่าง ๆ
-นางสุมาลี ศรีโดน หัวหน้ากลุ่มสวนผักแล้ว ยังเป็นผู้ดูแลเรีืองกองทุนสวัสดิการให้กับสมาชิกนำเงินมาฝากและเป็นแกนการทำบัญชีครัวเรือนที่กลุ่มต้องดำเนินการ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 37 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

-สมาชิกครัวเรือน -สมาชิกสภาแกนนำหรือกรรมการหมู่บ้าน -กำนันประธานอำนวยการ -นายกเทศมนตรีที่ปรึกษาอำนวยการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวจุรีย์ หนูผุด
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

การรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ 3 กลุ่ม ครั้งที่ 227 มีนาคม 2014
27
มีนาคม 2014รายงานจากพื้นที่ โดย thawonr kongsri
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเก็บข้อมูลปัญด้านเกษตรท่ี่ส่งผลกระทบกับผลผลิตทางการเษตร

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-ติดต่อประสานงานนักวิจัยจากวิทยาลัยราชภัฏหาดใหญ่มาทำการศึกษา ปัญหาอุปสรรค์ของการผลิต ผลผลิต -สร้างความเข้าใจกับสมาชิกผู้เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อเก็บข้อมูลในกระบวนการทำการเกษตรเพื่อนำข้อมูลไปวิเคราะห์และคืนข้อมูลให้ภายหลัง -แบ่ง 3 กลุ่มเพื่อทำการเก็บข้อมูลนำไปสู่การวิเคราะห์ระบบการผลิตและคุณภาพผลผลิตจากการผลิต -กลุ่มที่ 1 กลุ่มนาข้าว  กลุ่มที่ 2 กลุ่มผัก  กลุ่มที่ 3  กลุ่มขนมหรือกลุ่มผลผลิตจากข้าว -ร่วมและเปลี่ยนเรียนรู้กับสมาชิกในกลุ่ม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-ได้ภาคีที่เป็นสถานที่ศึกษาและมีอาจารย์ นักศึกษาช่วยเหลือในการวิเคราะห์ปัญหา -กลุ่มทั้ง 3 ของชุมชนได้เรียนรู้การทำเกษตรในปัจจุบันมีปัญหามาก การรู้จักเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ นำมาสู่่การแก้ปัญหาให้ตัวเองโดยใช้มหาวิทยาลัยช่วยเป็นกิจกรรมที่น่าจะหนุนเสริม

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 39 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

-สมาชิกครัวเรือนต้นแบบ30  คน -สมาชิกสภาแกนนำหรือกรรมการหมู่บ้าน  9 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มั่นใจในความต่อเนื่องของหน่วยงานภายนอกที่เข้ามากำกิจกรรมเพื่อกิจกรรมซึ่งชุมชนไม่ได้อะไร

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวจุรีย์ หนูผุด
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

3.3 ประชาสัมพันธ์โครงการครั้งที่ 223 มีนาคม 2014
23
มีนาคม 2014รายงานจากพื้นที่ โดย thawonr kongsri
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสื่อสารโครงการต่อสาธารณะชน,เพื่อสร้างความรู้ความตระหนักเรื่องชุมชนหูยานจัดการตนเอง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ตกแต่งขบวนพาเหรดประชาสัมพันธ์โครงการ,ใช้เด็ก,ผู้สูงอายุ,กลุ่มสวนผัก,กลุ่มผึ้ง,กลุ่มสินค้าทดแทน,และการมีส่วนร่วมของชุมชน  ได้รับรางวัลขบวนพาเหรดที่ 2 เนื่องจากความพร้อมจำนวนคนมาก,มีสื่อกิจกรรมจำนวนมาก

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-ชุมชนหูยานมีความตื่นตัวและให้ความร่วมมือเป็นจำนวนมาก -คิดกิจกรรมนำเสนอให้คนรู้จักได้ด้วยวิธีการร่วมคิด  ร่วมทำ สิ่งที่นำเสนอเป็นรูปธรรมทั้งสิ้น  เช่น ขบวนพาเหรดผัก, ขบวนพาเหรดผู้สูงอายุสุขภาพดีและลดขยะ,ขบวนพาเหรดเด็กนำขยะมารีไซคเคิล ฯลฯ -ชุมชนอื่น รู้และเข้าใจโครงการหูยานจัดการตนเองเพิ่มมากขึ้นเมื่อกำนันอนุชา  เฉลาชัยได้รับรางวัล กำนันแหนบทองคำ และมีโรงเรียนผึ้ง ที่เกิดจากโครงการนี้ ทำให้มีคนมาดูงานจำนวนมาก จนต้องบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้โดยการกำหนดวันมาดู

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

กลุ่มคน 3 วัย -แกนนำ  21  คน -ครัวเรือนต้นแบบ -ประชาชนทั่วไป หมู่ที่ 1-8 -เทศบาลตำบลนาท่อม

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมสภาแกนนำครั้งที่ 910 มีนาคม 2014
10
มีนาคม 2014รายงานจากพื้นที่ โดย thawonr kongsri
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อรายงานความก้าวหน้าของกิจกรรมโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-นายวิเชียร  สุวรรณจินดา สารวัตกำนัน แกนนำกลุ่มบ้านทำหน้าที่แทนกำนันอนุชา เฉลาชัย  หัวหน้าโครงการ  เปิดการประชุม แจ้งข้อมูลข่าวสารทางราชการให้ที่ประชุมทราบ และให้นางบุญเรือง  แสงจันทร์ วิทยาการแหล่งเรียนรู้ผึ้งแสงจันทร์ ที่มีตำแหน่งเป็นประชาสัมพันธ์ของหมู่บ้าน ตอนช่วงเช้าจะมีการรายงานข่าว หรือคุยให้ประชาชนในชุมชนได้รู้ข่าวสารเป็นผู้รายงานความก้าวหน้าของโครงการให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้ทราบ , นางสุมาลี  ศรีโดน แจ้งรายงานความก้าวหน้ากลุ่มสวนผักทราบถึง หน่วยงานราชการเกษตรสหกรการเกษตรเข้ามาช่วยเหลือในการอบรม เพื่มกิจกรรมให้กลุ่ม หนุนเสริมด้านความรู้เพิ่มกับกลุ่ม ช่วยมาวิเคราะห์ุชุมชนให้กับกลุ่มเพิ่ม,สำหรับนางจริญา  ฮั่นพิพัฒ ครัวเรือนต้นแบบและเป็นประธานบทสตรีได้รายงานความก้าวหน้าบทบาทของตนเองต่อที่ประชุม หลังจากนั้นก็มีการปรึกษาหาหร์อเรื่องทั่วไป

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-ชุมชนหูยานจัดการตนเองสามารถดำเนินการเปิดประชุมได้เองตามบาทที่ได้รับจากชุมชน -กลุ่มสวนผัก โดยการประสานงานของคุณสุมาลี  ศรีโดน มีหน่วนงานราชการ เกษตรสหกรณ์การเกษตร เข้ามาช่วยหนุนเสริมกิจกรรม โดยเข้ามาสำรวจด้านอาชีพเสริม(เลี้ยงไก่,ปลาดุ) เสริมให้กลุ่มสวนผัก -กลุ่มผึ้ง โดยคุณบุญเรื่อง  แสงจันทร์ ประธาน ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประชาสัมพันธ์จังหวัด คอยประชาสัมพันธ์และสื่อสารให้ชุมชนเกิดความรู้เข้าใจกิจกรรมโครงการอยู่สมำ่เสมอ -นางจริญา  ฮั่นพิพัฒน์ แกนนำกลุ่ม เป็นประธานบทบาทสตรัตำบลนาท่อม มีกิจกรรมเข้ามาช่วยเสริมหนุนให้ชุมชนมีกิจกรรมเพิ่มขึ้น เพื่อร่วมกันสร้างชุมชนน่าอยู่ได้ประชาสัมพันธ์กิจกรรมให้กลุ่มเข้าร่วม -นายวิเชียร  สุวรรณจินดา แกนนำกลุ่มบ้าน ทำหน้าที่แทนหัวหน้าโครงการเิปิดการประชุมและรายงานความก้าวหน้าและบอกกิจกรรมข้างหน้าให้ประชาชนเตรียมร่วมขายของงานกิฬา

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 38 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

-กลุ่มสมาชิกแกนนำ ที่มาจากกลุ่มบ้านที่มีบทบาทหน้าที่ในการสื่อสารให้สมาชิกที่ไม่ได้มาร่วมประชุมทราบ เป็นการสื่อสารในระดับกลุ่ม -ครัวเรือนต้นแบบ ต้องเข้าร่วมประชุม ร่วมแลกเปลี่ยนรับรู้ข้อมูลข่าวสารใหม่ และสะท้อนปัญหาอุปสรรค์จากการดำเนินงาน เช่น การทำบัญชีครัวเรือน  การมาจ่ายเงินสวัสดิการ,มาร่วมแลกเปลี่ยน -หัวหน้ากลุ่มผึ้ง,สินค้าทดแทน,กลุ่มผัก,อสม,บทบาทสตรี แต่ละกลุ่มเตรียมข้อมูลนำเสนอ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

การเข้าร่วมกิจกรรมสืบเนื่องจากชุมชนมีงาน บวช,งานแต่งาน มากทำให้การเข้าร่วมลดลง แนวทางแก้ปัญหา ทางชุมชนหูยานให้แกนนำในพื้นที่กลุ่มบ้าน,หอกระจายข่าว,การแบ่งปันที่เป็นกติกากลุ่ม คือ การเท่าเีทียมกัน

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมสภาแกนนำครั้งที่ 810 กุมภาพันธ์ 2014
10
กุมภาพันธ์ 2014รายงานจากพื้นที่ โดย thawonr kongsri
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อรายงานกิจกรรมที่เกิดขึ้นในระหว่างเดือน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-กำนันหัวหน้าโครงการ รายงานการประชุมแจ้งที่ประชุมจากการประชุมอำเภอ -นายถาวร  คงศรีรายงานความก้าวหน้าโครงการ ได้นำสภาเด็กและเยาวชนตำบลนาท่อมร่วมงาน บ้านนักเขียน กนกพงค์ เพื่อแสดงหุ่นเงา เรื่องคืนข้ามปีที่นาท่อม เพื่อนำผลงานของสภาเด็กและเยาวชน ตำบลนาท่อม เช่น ผลงานโครงการครอบครัวจักรยานสานฝันวันอาทิตย์  ละครหุ่นเงาเด็กของสภาเด็กฯ กิจกรรมถนนเด็กเดินที่ทำร่วมกับพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กิจกรรมเหล่านี้เป็นการรวมเด็กเยาวชนของตำบลนาท่อมผ่านความหลากหลายกิจกรรมย่อยเพื่อนำเด็กมาทำกิจกรรมช่วงปิดเทอม ให้เด็กมารู้จักกันและทำกิจกรรม โดยเด็กร่วมคิดกับผู้ใหญ่ ส่วนผู้ใหญ่สนับสนุนกิจกรรมเด็ก

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-การรวมกลุ่มทำกิจกรรมของชุมชนอย่างสม่ำเสมอส่งผลต่อการรวมเด็กที่ไปเรียนในเมืองช่วงปิดภาคเรียนมาทำกิจกรรม ทำให้เกิดกิจกรรมใหม่ ๆ ขึ้นในชุมชน ผลที่เกิดขึ้น เด็กเข้ามาร่วมทำกิจกรรมมากขึ้นจำนวน กว่า 20-50 คน สม่ำเสมอ -เห็นชุมชนให้ความร่วมมือทำกิจกรรมเพิ่มขึ้น ชุมชนไว้วางใจกัน  เด็ก ผู้ใหญ ผู้สูงอายุ  ให้ความสำคัญกับกิจกรรมของชุมชน  ผลที่เกิดขึ้น  ชุมชนมีความพร้อมและได้รับการถูกเชิญชวนเข้าร่วมกิจกรรมหรือเขาเข้ามาดูกิจกรรมของชุมชนเพิ่มขึ้น

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 36 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

สมาชิกแกนนำ,สมาชิกครัวเรือน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-จำนวนผู้นำที่นำกิจกรรมใหม่ ๆ เข้ามายังมีน้อยส่วนใหญ่รอคอมากกว่า แนวทางแก้  ผู้นำที่เป็นงานอยู่แล้วยังต้องเป็นพี่เลี้ยงและสอนคนใหม่เพิ่ม -งบประมาณส่วนนี้ชุมชนสนับสนุน

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

3.2 กำหนดตรามาตรฐานอาหารปลอภัยของชุมชน2 กุมภาพันธ์ 2014
2
กุมภาพันธ์ 2014รายงานจากพื้นที่ โดย thawonr kongsri
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อกำหนดคุุณภาพและมาตรฐานสินค้าปลอดภัย

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

สร้างความเข้าใจและให้ความรู้กับผู้ร่วมในการออกแบกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนโดยคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคตำบลนาท่อม -คุณหมอสมนึก นุ่นด้วง  ตัวแทนของอนามัย คณะกรรมการคุมครองผู้บริโภค ให้ความรู้ถึงการกำหนดมาตรฐานและการมีตรารับรองว่าต้องทำอย่างไร -คุณวิภา  พรหมแทน ตัวแทนเทตบาลตำบลนาท่อม เป็นหน่วยงานภาครัฐที่ร่วมกันดูแลคุ้มครองผู้บริโภคประชาชนตำบลนาท่อม -คุณ อนุชา  เฉลาชัย กำนันตำบลซึ่งเป็นคณะกรรมการฝ่ายครองก็ให้ความรู้ในการกำหนดหลักเกณฑ์และมาตรฐานผลิตภัณฑ์

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-ที่ประชุมได้ร่วมกันกำหนดตราคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่เป็น เอกลักษณ์ที่ใช้ได้ทั้งตำบลถ้าผ่านการรับรอง และผ่านหลักเกณฑ์ จากคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคตำบลนาท่อม -การดำเนินการตลาดนัดสีเขียวต้องทำเป็นกลุ่มเครื่อข่ายขยายสมาชิกด้วยเครื่อข่ายผู้ผลิตที่ต้องผ่านการรับรองผลิตภัณฑ์,มีสถานที่ขายคือ ตลาดโคกม่วง , และร้านค้าในชุมชน,ออกร้านนอกสถานที่ตามความเหมาะสม -ไต้ตรงรับรองมาตรฐานรับรองผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัย

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 37 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

-ตัวเทนเทศบาล -ตัวแทนอนามัย -ตัวแทนกำนันผู้ใหญ่ -ตัวแทนกลุ่มปลูกผักล -ตัวแทนฝ่ายผู้บริโภค

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

เทศบาลนาท่อมยังไม่มีกรรมการคุ้มครองได้แจ้งให้ทำหนังสือรับรองให้ย้อนหลัง

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
จุรีย์ หนูผุด
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

มาร่วมเป็นวิทยากรหรือเป็นกำลังใจในวันเปิดตลาดเขียว

3.3 สื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมทั้งโครงการ ครั้งที่ 122 มกราคม 2014
22
มกราคม 2014รายงานจากพื้นที่ โดย thawonr kongsri
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อรณรงค์สือสารโครงการในงานประเมินกำนันดีเด่นระดับจังหวัด

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-งานประเมินกรรมการหมู่บ้านที่ได้ปรับจากสภาแกนนำเป็นคณะกรรมการหมู่บ้านเพื่อประเมินกำนัน อนุชา เฉลาชัน เป็นกำนันดีเด่นหรือกำนันแนบทอง โดยแบ่งสภาแกนนำเป็น 7 ด้าน ปรับให้สอดคล้องกับการบริหารหมู่บ้าน หูยานจัดการตนเอง โดยมีกลุ่มที่เกิดจากการพัฒนาของโครงการในปี ที่ 1,2 นำเสนอผลงานเด่น คือ กลุ่มผึ้ง ฟื้นสิ่งแวดล้อม, กลุ่มสินค้าท่ดแทน ลดรายจ่ายครัวเรือน ,กลุ่มผักปลูกผักปลอดสารพิษทานเอง ลดรายจ่าย ดูแลสิ่งแวดล้อม ดูแลสุขภาพ จากการ ลด ละ เลิกการใช้สารเคมีทุกชนิด แต่ละกลุ่มนำผลงานมาแสดงในการรณรงค์และสื่อสารให้ผู้ร่วมงานได้ชม ได้เลือกชื้อ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-กำนันได้รับการคัดเลือกให้เป็นกำนันดีเด่น มีผลงานเด่น จากโครงการ คือ การบริหารจัดการชุมชนที่ใช้สภาแกนนำหรือกรรมการหมู่บ้านขับเคลื่อน
-ผลงานจากการรวมคนจากกลุ่มบ้าน เป็นแกนในการสื่อสารงานชุมชน ทำให้เกิดการบริหารที่มีประสิทธิภาพเกิดการสื่อสารได้ครอบคลุม มีคนมาร่วมงานในครั้งนี้อย่ามากจากการประสานงานของสมาชิกแกนนำหรือกรรมการหมู่บ้าน -ได้รับการยอมรับจากสังคมภายนอกจากการจัดการ หรือการรวมคนร่วมทำกิจกรรมที่ประสบความสำเร็จ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 300 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

-นักเรียนโรงเรียนวัดนาท่อม ป3-ป6 -ประชาชนทั่วไป ม1-8 -รพสต -หัวหน้าส่วนราชการที่มาทำการประเมินกำนันดีเด่นแนบทอง -ผู้นำตำบลนาท่อมทุกภาคส่วน ทั้ง ผู้ใหญ่,ผู้ช่วย,สมาชิกสภาเทศบาล -กลุ่มองค์กรที่เป็นเครื่อขายนำผลิตภัณฑ์ของตนเองมานำเสนอ
-กลุ่มสวนผัก,กลุ่มผึ้ง,กลุ่มสินค้าทดแทน,กลุ่มเด็กเยาวชนโครงการครอบครัวจักรยานสานฝันวันอาทิตย์

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

สภาแกนนำหรือกรรมการหมู่บ้านบางคนยังไม้กล้าแสดงออกเนื่องจากยังขาดความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเองเวลากรรมการถาม ต้องปรับปรุงการรายงานความความหน้าในบทบาทหน้าที่ของตนเองในวันประชุมประจำเดือน

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
จุรีย์ หนูผุด
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

จัดทำโครงสร้างสภาแกนนำเพื่อออกแบบการบริหารชุมชน, สมาชิกแกนนำขยายผลหาสมาชิกเลี้ยงผึ้งเพิ่ม 25 คน,เรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือน,วางแผนเพื่อพัฒนาอาชีพ10 มกราคม 2014
10
มกราคม 2014รายงานจากพื้นที่ โดย thawonr kongsri
circle
วัตถุประสงค์

จัดทำโครงสร้างสภาแกนนำเพื่อออกแบบการบริหารชุมชน, สมาชิกแกนนำขยายผลหาสมาชิกเลี้ยงผึ้งเพิ่ม 25 คน,เรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือน,วางแผนเพื่อพัฒนาอาชีพ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ชี้แจงทำความเข้าใจและออกแบบกิจกรรมเพื่อให้ทุกคนเข้าใจร่วมกันในการจัดทำโครงสร้างสภาแกนนำเพื่อง่านต่อการทำงาน หาคนรับผิดชอบ
  2. กำหนดให้สภาแกนนำหาสมาชิกสภาแกนนำหาสมาชิกคนเลี้ยงผึ้ง จำนวน 25  คน
  3. แจกแบบการลงบัญชีครัวเรือนและบัญชีกลุ่ม อธิบายให้เห็นความสำคัญการทำบัญชี การวิเคราะห์ข้อมูลรายรับรายจ่าย และการลงบัญชี
  4. การทำแผนอาชีพของกลุ่มทั้ง 3  กลุ่ม สมาชิกของกลุ่มต้องร่วมกันทำข้อมูลเพื่อสะท้อนปัญหาความต้องการของกลุ่ม วิเคราะห์ออกมาแล้วนำเสนอเป็นแผนเพื่อให้กลุ่มทำกิจกรรมร่วมกันหรือหาแหล่งสนับนุนที่กลุ่มทำเองไม่ได้
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.สมาชิกสภาแกนนำ เข้าใจบทบาทของตัวเองและแบ่งการทำงานออกเป็น 7 ฝ่ายพร้อมร่วมคิดบทบาทหน้าที่ร่วมกัน

2.ได้ข้อสรุปร่วมกันในการทำแผนจะทำร่วมกับเทศบาลพร้อนำเสนอแผนเพื่อของเงินอุดหนุนกิจกรรมในช่วงทำประชาคมหมู่บ้านประมาณเดือนมิถุนายนโดยใช้ฐานความต้องการของกลุ่ม ทั้ง 3 ในการเสนอ

  1. สมาชิกสภาแกนนำได้แบ่่งกันหาสมาชิกผู้เลี้ยงผึ้ง ซึ่งที่ประชุมได้สรุป ได้มีจำนวนคนทั้งในและนอกชุมชนสนใจการเลี้ยงผึ้งจำนวนมาก ตั้งแต่นางบุญเรืองแสงจันทร์ได้ นำเสนอต่อผู้ว่า ราชการจังหวัดพัทลุงและทางผู้ว่าได้นำไปคุยความสำคัญของการเลี้ยงผึ้งผ่ายรายการวิทยุ ทำให้ผู้ฟังสนใจเข้ามาศึกษาดูงานบ้านนางบุญเรืองจำนวนมาก และมีผู้สนใจเข้ามาซื้อกล่องและเรียนรู้จำนวนมาก ทั้งทีวี ช่อง 3 ,5,7 เข้ามาทำรายการและหนังสือพิมพ์ไืทยรัฐลงให้ทำให้มีผลการขยายไปในหลายอำเภอของจังหวัดพัทลุง

4.การทำบัญชีครัวเรือน บัญชีกลุ่ม ใช้ตามแนวทางของ ธนาคาร ธกส. ซึ่งประชาชนเป็นสมาชิกอยู่แล้วและง่ายต่อการลงบัญชีและทำความเข้าใจด้วย 5.ที่ประชุมตกลงกันจะใช้เวทีการประชุมทุกวันที่ 9 ของเดือนมาแลกเปลี่ยนกันถ้ามีปัญหา

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 49 คน จากที่ตั้งไว้ 65 คน
ประกอบด้วย

-สมาชิกสภาแกนนำ  -สมาชิกครัวเรือนต้นแบบ ผู้นำชุมชน และประชาชนทั่วไปที่สนใจมาเรียนรู้

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-โครงการทำงานเป็นระบบและงานวิชาการมากขึ้นประชาชนยากต่อความเข้าใจในส่ิงที่ทำ -แนวทางแก้ไข  ต้องพูดคุยและทำกิจกรรมมากขึ้นแล้วสรุปให้เห็นเป็นเรื่อง ๆ

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวจจุรีย์ หนูผุด
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมสภาแกนนำครั้งที่ 79 มกราคม 2014
9
มกราคม 2014รายงานจากพื้นที่ โดย thawonr kongsri
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเตรียมความพร้อมในการส่งประกวดกำนันดีเด่น

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-นายอนุชา เฉลาชัย กำนันตำบลนาท่อมหัวหน้าโครงการดำเนินการประชุม ชี้แจงข้อมูลข่าวสารทางราชการและชี้แจงเตรียมงานการประเมินกำนันดีเด่นที่ใช้โครงการหูยานสู่การจัดการตนเองเข้าประเมิน โดยทบทวนบทบาทของคณะกรรมการชุดต่าง ๆ สร้างความเข้าใจและนำกิจกรรมกลุ่มมาต้อนรับผู้เข้าร่วมในวันประเมิน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กิจกรรมที่เข้าร่วมประเมิน -กลุ่มผึ้ง -กลุ่มสินค้าทดแทน -กลุุ่่มสวนผัก -ฝ่ายต่าง ๆ ของชุมชนเป็นตัวแทนในการนำเสนอตนเอง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

-แกนนำกลุ่มบ้านและครัวเรือนต้นแบบ -กลุ่มทั้วไปเข้าร่วมรับฟัง

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวจุรีย์ หนูผุด
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

2.1 ประชุมเก็บข้อมูลผึ้งพัฒนาการเลี้ยงผึ้งเป็นหลักสูตรชุมชน ครั้งที่ 15 มกราคม 2014
5
มกราคม 2014รายงานจากพื้นที่ โดย thawonr kongsri
circle
วัตถุประสงค์

ประชุมคณะทำงานทำหลักสูตรผึ้งเป้นหลักสูตรท้องถิ่นครั้งที่ 1

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-คุยกรอบเนื้อหาของหลักสูตรท้องถิ่น  ชื่อหลักสูตร “ ผึ้ง ภูมิปัญญาฟื้นชุมชน”
-วิธีดำเนิน ดำเนินการมากว่า 3 ครั้ง 1.ตั้งคณะทำงานและสร้างความเข้าใจ 2.กำหนดตารางทำงาน ถอดบทเรียน ทำชุดความรู้  ทำกรอบหลักสูตร เสนอให้อาจารย์ผู้มีความชำนวนช่วยเติมเต็มเพื่อให้หลักสูตรใช้งานได้

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปโครงสร้างการเขียนหลักสูตรผึ้งเป็นหลักสูตรท้องถิ่น 1. ชื่อหลักสูตร “ ผึ้ง ภูมิปัญญาฟื้นชุมชน” 2. ความสำคัญ 3. จุดมุ่งหมาย 4. วัตถุประสงค์ 1. การเรียนรู้เพื่อสร้างองค์ความรู้ 2. การเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในปฏิบัติจริง 3. การเรียนรู้เพื่อการอยู่ร่วมกัน 4. การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาศักยภาพ 5. เนื้อหาหลักสูตร 1. มีกี่ชนิด 2. สภาพแวดล้อมบริบท 3. รังผึ้ง(อุปกรณ์การเลี้ยงผึ้ง) 4. การเลี้ยงดูการดูแล  การวาง ทิศทางการวางรัง
5. การเก็บน้ำผึ้ง (ผลิตภัทฑ์) 6. ประโยชน์ที่เกิดขึ้น(ความ 7. ผลกระทบเชิงบวก(ทำเรื่องเดี่ยวที่ได้หลายเรื่อง 8. สิ่งรบกวน 9. ผึ้งกับภูมิปัญญา 10. ผึ้งกับสิ่งแวดล้อม 11. ผึ้งกับเศรษฐกิจ 12. ผึ้งกับ 13. การดูแล 14. การเก็บ 6. เวลาเรียน 7. แหล่งเรียนรู้ และสื่อประกอบการเรียน 8. การวัดและประเมินผลการเรียน 9. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 10. โครงสร้างเนื้อหาของหลักสูตร คณะผู้เสนอจัดทำหลักสูตร
1. นายถาวร  คงศรี  นักวิชาการตำบลนาท่อม ผู้รับผิดชอบ 2. นางบุญเรือง  แสงจันทร์ เจ้าของแหล่งเรียนรู้ การเลี้ยงผึ้ง คณะทำงาน 3. นายสมนึก  นุ่นด้วง  นักวิชาการตำบลนาท่อม คณะทำงาน 4. นายอนุชา  เฉลาชัย  กำนันตำบลนาท่อม คณะทำงาน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 17 คน จากที่ตั้งไว้ 35 คน
ประกอบด้วย

-กลุ่มเลี้ยงผึ็งบ้านหูยาน จำนวน 10 คน -อาจารย์ผู้มีความรู้เรื่องผึ้ง  2 คน -นางบุญเรือง  แสงจันทร์ วิทยากร  1 คน -ผู้สนใจเรื่องเลี้ยงผึ้ง 4 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

การทำหลักสูตรต้องใช้นักวิชาการและต้องถอดบทเรียนก่อนดังนั้งมีปัญหาเรื่องงบประมาณ  วิธีแก้ ของบประมาณเพิ่มจากโครงการสร้างสุขสู่เมืองลุงน่าอยู่จำนวน  20,000 บาทเพื่อทำให้หลักสูตรใช้งานได้กับชุมชน กับโรงเรียนวัดนาท่อม

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวจุรีย์ หนูผุด
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

2.2 รวมกลุ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์ 3 กลุ่ม4 มกราคม 2014
4
มกราคม 2014รายงานจากพื้นที่ โดย thawonr kongsri
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อ ให้สภาแกนนำตั้งกลุ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์ 3 กลุ่ม กลุ่มเลี้ยงผึ้ง  กลุ่มสวนผักชุมชนฯ  กลุ่มสินค้าทดแทน -เพื่อการทำงานเป็นทีมด้วยการมีกฏกติกาของกลุ่ม

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

นายถาวร  คงศรี และนายอนุชา  เฉลาชัย สร้างความเข้าใจกับกลุ่มเป้าหมาย ทั้ง 3 กลุ่มให้เข้าใจตรงกันในการตั้งกลุ่ม เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์  เพื่อกำหนดกฎเกณฑ์อยู่ร่วมกัน  กำหนดแผนงานเพื่อพัฒนาขยายผล โดยการให้แต่ละกลุ่มประชุมกลุ่ม กำหนดแนวทางให้แต่ละกลุ่มกำหนดโครงสร้างการดำเนินงาน ทำแผ่นพับ  ไวนิล  นำเสนอ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-กลุ่มเลี้ยงผึ้ง  นางบุญเรื่อง  แสงจันทร์  เป็นหัวหน้ากลุ่ม  กำหนดเนื้อหาทำแผ่นพับไว้นำเสนอ,มีการรวบรวมสมาชิก,มีการจัดสถานที่ไว้ต้อนรับคนมาดูงานที่มาบ่อยขึ้นหลังจากที่ได้ประชาสัมพันธ์ผ่านวิทยุ,และเข้าร่วมเป็นคณะทำงานกับผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง ใน ครมน.น้อย ได้นำความรู้มาพัฒนากับกลุ่มมากขึ้น

-กลุ่มสวนผักชุมชนฯ ได้มีการพัฒนาขยายผลสมาชิกเพิ่มมากขึ้น จนหน่วยงานราชการเกษตรและสหกรณ์ช่วยเข้ามานำวิทยากรอบรมเพิ่มให้,หนุนเสริมวัสดุ,พาไปดูงาน สร้างความเข็มแข็งของกลุ่มเพื่อเดินต่อเนื่องได้ ส่วนกลุ่มเองก็มีการพัฒนาตลาดเขียวให้มีความมาตรฐานสินค้าต่อไปเพื่อสร้างความมั่นใจกับผู้บริโภค

-กลุ่มสินค้าทดแทน มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์มากขึ้น นอกจากใช้เองแล้ว สถานที่เช่น โรงเรียน วัด หรืองานต่าง ๆ สั่งชื่อเพิ่มขึ้นเป็นการสร้างกลุ่มย่อย ๆ ได้มากขึ้นอย่างน้อยคนในชุมชนได้ลดรายจ่ายครัวเรือนเป็นหลัก มีการรวมกลุ่มมีโครงการทำงาน มีแผนในการดำเนินงาน ให้เกิดกลุ่มย่อยในกลุ่มบ้าน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

-กลุ่มผึ้ง โดยนางบุญเรือง  แสงจันทร์เป็นหัวหน้ากลุ่ม -กลุ่มสินค้าทดแทน โดยนางประคอง  จันทร์เพ็ง หัวหน้ากลุ่ม -กลุ่มผัก โดยนางสุมาลี  ศรีโดน เป็นหัวหน้ากลุ่ม

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

กลุ่มสินค้าทดแทนยังต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เป็นเพราะความสนใจในผลิตภัณฑ์ยังมีน้อย /แนวทางแก้ไข ต้องสร้างความเข้าใจเพิ่มขึ้น สินค้าทดแทน เป็นสินค้าทดแทนที่ผลิตเองได้ และมีต้นทุนต่ำกว่า ลดรายจ่ายครัวเรือน การผลิดต้องเหมาะสมและสอดคล้องกับพื้นที่ วัตถุดิบที่มีในขณะนั้น และต้องเพิ่มกิจกรรมให้กลุ่มนี้อยู่ได้ โดยการร่วมคิด ร่วมทำ ของสมาชิกในกลุ่ม

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวจุรีย์ หนูผุด
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมสภาแกนนำครั้งที่ 622 ธันวาคม 2013
22
ธันวาคม 2013รายงานจากพื้นที่ โดย thawonr kongsri
circle
วัตถุประสงค์

ประชุมประจำเดือนเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมเรื่องทั่วไปเกี่ยวกับชุมชนและทางหน่วยงานราชการอำเภอที่ได้ไปประชุมนำมารายงานให้ประชาชนทราบ,รายงานความก้าวหน้าโครงการหูยานจัดการตนเองให้กับที่ประชุมทราบและเตรียมในการอบรมการจัดตั้งกลุ่ม 3 กลุ่ม คือ  กลุ่มการเลี้ยงผึ้งเพื่อสุขภาพ และเพิ่มรายได้  กลุ่มปลูกผักปลอดสารเพื่อไว้บริโภคที่เหลือนำมาขายเพิ่มรายได้,กลุ่มสินค้าทดแทนเพื่อลดรายจ่ายครัวเรือน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ตวามตั้งใจและการพัฒนากิจกรรมอย่างต่อเนื่องจนเป็นกลุ่ม  กิจกรรมและผลผลิตมีผลต่อสุขภาพของประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น ผึ้งทำให้ชุมชนปลอดสารเคมี ได้ผลผลิตเพื่อสุขภาพทั้งคนและสิ่งแวดล้อม ,ผํกที่ปลอดสารพิษทำให้สุขภาพลดสารปนเปื้อนเข้าสู่ร่างการ ทั้งคนปลูกและคนกิน ส่วนสินค้าทดแทนคือ การลดรายจ่ายให้ครัวเรือนและยังมีรายได้จากการขายด้วย

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 35 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

สมาชิกสภาแกนนำและสมาชิกครัวเรือน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวจุรีย์ หนูผุด
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมแกนนำครั้งที่ 510 ธันวาคม 2013
10
ธันวาคม 2013รายงานจากพื้นที่ โดย thawonr kongsri
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประจำเดือน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-ประชุมประจำเดือนเรื่องจากอำเภอกำนันนำมาแจ้งให้ที่ประชุมทราบหรือประชุมตามวาระการประชุมของอำเภอ โดยนายอนุชา เฉลาช้ย -แจ้งความก้าวหน้าโครงการ ชุมชนหูยานบ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเองเรื่องการการทำหลักสูตรผึ้ง ภูมิปัญญาฟื้นชุมชนน่าอยู่ โดยนายถาวร  คงศรี ผู้รับผิดชอบโครงการและนายอนุชา  เฉลาช้ย หัวหน้าโครงการ -ร่วมแลกเปลี่ยนเรื่องอื่น ๆและทำกิจกรรมอื่น ๆ ในวันอาทิตย์ อย่างตอนเช้าวันอาทิตย์ กำนันอนุชา  หัวหน้าโครงการได้พาเด็กเยาวชนปั่นจักรยานไปร่วมรับประทานอาหารเช้ากับผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-ได้มีการพูดคุยและเปลี่ยนสร้างความสัมพันธ์กันทุกเดือน -ได้พาเด็ก ๆ เยาวชน ออกกำลังกายช่วงเช้าวันอาทิตย์ เพื่อสร้างความอบอุ่นของครอบครัว -ได้รายงานความก้าวหน้าโครงการและมีการสอบถามปัญหาอุปสรรค์ ผลตามมาได้ข้อเสนอและการคุยกันเพิ่มขึ้น

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 35 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

-สภาแกนนำหรือกรรมการหมู่บ้าน  15 คน -สมาชิกครัวเรือนต้นแบบ 17 คน -ทั่วไป 3  คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวจุรีย์ หนูผุด
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

2.3 พัฒนาบ้านผึ้งเป็นโรงเรียนผึ้งโดยมีหลักสูตรผึ้ง8 ธันวาคม 2013
8
ธันวาคม 2013รายงานจากพื้นที่ โดย thawonr kongsri
circle
วัตถุประสงค์

พัฒนากลุ่มเลี้ยงผึ้งให้เป็นแหล่งเรียนรู้โรงเรียนผึ้ง ที่มีหลักสูตรในการเรียนการสอน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-จัดสถานที่ให้เหมาะสมกับการเป็นแหล่งเรียนรู้โรงเรียนผึ้ง สถานที่สำหรับคนมาเยี่ยมชมหรือมาศึกษา -สถานที่สำหรับการเรียนการสอน ดูงาน  การดูการสาธิต -เวลาที่เหมาะสมโดยการแบ่งสัดส่วนของเวลาอย่าให้คนมาดูเบื่อ แบ่งสัดส่่วนเวลา 20:60:20 -จัดสื่อการเรียนการสอน อุปกรณ์สาธิต ที่ใช้ประกอบเป็นสื่อการเรียนรู้ -ถอดองค์ความรู้เป็นชุดความรู้เพื่อนำไปทำแผ่นพับนำเสนอกับผู้มาเยี่ยมชมและเรียนรู้

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-ได้กำหนดเนื่อหา  เป็น  20:60:20 คือ 20= แนะนำภาคทฤษฏี: 60= เย่ี่ยมชมภาคปฏิบัติ: 20= แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนา -กำหนดการใช้สื่อนำเสนอตอนสาธิต  ประกอบด้วย กล่องหรือหีบผึ้ง,ชุดเก็บนำ้ผึ้ง,ไวนิลนำเสนอ,แผ่นพับ,และอุปกรณ์อื่นที่เกี่ยวข้อง -ได้กำหนดวิทยากรประจำศูนย์ 2 ท่าน คือ นางบุญเรือง  แสงจันทร์และนายมานพ  แสงจันทร์ -สถานที่ดู สามารถดูได้จากสมาชิกกลุ่มเลี้ยงผึ้งคนอื่นนอกจากนี้

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 19 คน จากที่ตั้งไว้ 10 คน
ประกอบด้วย

-กลุ่มของสภาแกนนำหรือกรรมการหมู่บ้าน,สมาชิกกลุ่มสวนผัก,และกลุ่มผู้นำที่สนใจเข้าร่วม

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ยังไม่สามารถทำ vcd 

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวจุรีย์ หนูุผุด
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ศึกษาดูงานเพิ่มของกลุ่มสวนผัก16 พฤศจิกายน 2013
16
พฤศจิกายน 2013รายงานจากพื้นที่ โดย thawonr kongsri
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อพัฒนาสมาชิกในกลุ่มให้กลับมาดำเนินการแปรรูปพัฒนาผลิตภัณฑ์กลุ่มได้

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ศีกษาดูงานในจังหวัดพัทลุง อ.บางแก้ว, ดูงานร่วมกับหมู่ที่ 5 หนองปริง ,กลุ่มสวนผักดูการบริหารจัดการกลุ่ม โดย เกษตรอำเภอบางแก้ว นายสมชาติ  นาควิโรจน์ ,ดูการจัดการกลุ่มบ้านเกษตรสมบูรณ์ มีการแปรรูปผลผลิตไปขายในตลาดนัดบางแก้วที่เปิดอย่างต่อเนื่อง ทำให้ชุมชนสร้างงาน สร้างรายได้ จากการรวมกลุ่ม บริหารกลุ่ม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-สมาชิกกลุ่มที่เข้าร่วม เห็นการบริหารจัดการกลุ่ม และสามารถนำมาจัดการกับกลุ่มตนเองได้ -เป็นการรวมผักของสมาชิก คือ กลุ่มรับชื้อผักจากสมาชิกรายย่อย นำมาแปรรูปเป็นชุด รวมผัก หลายชนิด เปลี่ยนภาชะ ให้น่าสนใจ
-เป็นการจัดการพื้นที่เพาะปลูกที่ไม่ใช้สารเคมี,เห็นการทำปุ๋ยหมัก ที่ได้จากทะเล คือ ขี้เล ซึ่งเป็นวัตถุดิจากท้องที่ และมีราคาถูกนำมาใส่พืชได้ผลผลิตคุณภาพสูง ลดต้นทุน,เห็นการสร้างกลุ่มย่อย ๆ ที่เติบโตขึ้นเป็นลำดับ -ผลที่ได้เรียนรู้สามารถนำมาปรับใช้กับกลุ่มได้หลายเรื่อง เช่น การรวมกลุ่มย่อย ในการรวมผักมาแปรรูป ไม่ตัองหลายคนแต่ละกลุ่ม คนทำเป็นกลุ่มบ้านและมารวมที่กลุ่มใหญ่ในการนำไปจำหน่าย

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 6 คน จากที่ตั้งไว้ 6 คน
ประกอบด้วย

หัวหน้ากลุ่มสวนผักฯ และคณะทำงาน หมู่ 8 ไปดูงานร่วมกับชุมชนอื่น ม.5 ตำบลนาท่อม เพื่อนำความรู้มาพัฒนากลุ่มสวนผัก

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-การพัฒนากลุ่ม ควร ทำอย่างต่อเนื่องและต้องมีการดูงานให้ตรงกับงานที่เกี่ยวข้องจะได้นำมาพัฒนากลุ่มตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวจุรีย์ หนูผุด
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมสภาแกนนำ ครั้งที่ 410 พฤศจิกายน 2013
10
พฤศจิกายน 2013รายงานจากพื้นที่ โดย thawonr kongsri
circle
วัตถุประสงค์

ประชุมประจำเดือน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-ช่วงเช้านายอนุชา เฉลาชัย นำเด็กและเยาวชนออกกำลังกายปั่นจักรยานไปเย่ี่ยมเทศบาล -เป็นการประชุมรายงานความก้าวหน้าโครงการและการประชุมประจำเดือนที่มีการฝากเงินสวัสดิการวันละบาท,

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-แจ้งที่ประชุมหยุดดำเนินกิจกรรม 1 เดือนเนื่องจากเป็นช่วงการหาเลียงเลือกตั้ง  ผู้บริหารตำบลนาท่อม
-รวมเด็กเยาวชนทำกิจกรรมเข้าร่วมกับกลุ่มครอบครัวจักรยานสานฝันวันอาทิตย์ร่วมรณรงค์ทำกิจกรรมในชมชนวันอาทิตย์

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 35 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

-สมาชิกสภาแกนนำหรือกรรมการหมู่บ้าน -สมาชิกครัวเรือน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

มีปัญหาการเมืองในพื้นที่ /งดเว้น 1 เดือน

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวจุรีย์ หนูผุด
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

2.1.1 ทดสอบแหล่งเรียนรู้ ฝึกการนำเสนอให้นางบุญเรือง แสงจันทร์ เป็นวิทยากร ครั้งที่ 19 พฤศจิกายน 2013
9
พฤศจิกายน 2013รายงานจากพื้นที่ โดย thawonr kongsri
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อฝึกเป็นวิทยากรแหล่งเรียนรู้จากผู้ศึกษาดูงานอย่างเป็นระบบและมีกระบวนการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เชิงปริมาณ
-สมาชิกแกนนำ 10 คน -ตัวแทนครัวเรือน  15  คน -กลุ่มบทบาทสตรีอำเภอตะโหมดศึกษาดูการเลี้ยงผึ้ง 20    คน เชิงคุณภาพ -นางบุญเรือง  แสงจันทร์เป็นวิทยากรแหล่งเรียนรู้ได้บรรยายความเป็นมาหลักคิดการเลี้ยงผึ้งให้กับกลุ่มสตรีและกลุ่มวุฒิอาสาธนาคารสมองของ โดยการนำของนายเริ่ม  เพ็ชรศรีได้มาศึกษาดูงานและเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มเลี้ยงผึ้ง  กลุ่มสวนผักชุมชนหูยาน ขั้นตอนการบรรยายแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ตามที่กำหนดไว้ คือ 20 % เป็นการนำเสนอความเป็นมา หลักคิดทฤษฎีหรือความสำคัญของการเลี้ยงผึ้งที่สอดคล้องกับบริบทชุมชนหูยานและประโยชน์ในการเลี้ยง  60% เป็นการให้ดูภาคปฎิบัติของการเลี้ยงผึ้ง การทำกล่ิอง การดูแล รักษา การแก้ปัญหา ดูปฏิบัิติการจริง 20 %  ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้ร่วมดูงาน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลที่เกิดขึ้นจริง นางบุญเรือง  แสงจันทร์เป็นผู้ที่สามารถถ่ายทอดความรู้เรื่องการเลี้ยงผึ้งให้ผู้เข้าร่วมดูงานแลกเปลี่ยนได้เป็นระบบตามที่ออกแบบและนายมานพ แสงจันทร์ ซึ่งเป็นสามีสามารถเป็นวิทยากรควบคู่ได้เป็นอย่างดี
-ผลที่เกิดขึ้นตามมา ได้รับความสนใจจากผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นอย่างดีมีมีผู้สนใจมาศึกษาเพิ่มขึ้นจากการสื่อสารทางวิทยุ -เปลี่ยนแหล่งเรียนรู้ที่ที่มีวิทยากรการนำเสนอได้ทั้ง 2 คน ลูกสาวก็มีความรู้สามารถนำเสนอได้เช่นเดียวกัน -กลุ่มผู้เลี้ยงผึ้งมาให้การต้อนรับผู้มาศึกษาดูงานเป็นอย่างดี  สะท้อนให้เห็นความตื่นตัวต้อนรับ เห็นความสำคัญของคนมาท่องเที่ยวในชุมชนบ่อยขึ้น -จากการมาเยี่ยม,ดูงาน หลายครั้งที่ผ่านมา ทำให้ทางกลุ่มเลี้ยงผึ้งบ้านหูยาน น้ำผึ้งมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ,ผลผลิตของประชาชน เช่น ผัก ผลไม้ ให้บริการจนเป็นที่พอใจของผู้มาดู
-การเข้ามาดูการเลี้ยงผึ้ง ทำให้ประชาชนขาย สินค้าได้มากขึ้นและมีการปรับตัวเป็นผู้ให้บริการได้ดีขึ้นจากเดิมไม่เคยมีต้องนำสินค้าไปขายให้แม่ค้าคนกลาง ปัจจุบันขายตรงมากขึ้น

-วิทยากรของแหล่งเรียนรู้โรงเรียนผึ้ง  มีความรู้และถ่ายทอดได้อย่างรอบรู้และเข้าใจของผู้มาดูงาน โดยที่มีกำนันอนุชา เฉลาชัยและนางสุมาลี  ศรีโดนได้ฝึกถ่ายทอดอย่างเป็นกระบวนการและนำชมกิจกรรมของกลุ่ม ผึ้ง สวนผัก ,สินค้าทดแทน จนเป็นที่พอใจของกลุ่มผู้นำบทบาทสตรี

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 25 คน จากที่ตั้งไว้ 35 คน
ประกอบด้วย

-ตัวแทนครัวเรือน -สมาชิกแกนนำ -กลุ่มบทบาทสตรี

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-ปรับเนื่อหาการนำเสนอให้กระซับกับเวลา -ปรับเนื้อหาให้เป็นหลักสูตรเพื่อนำเป็นหลักสูตรการเรียนในท้องถิ่น -การเข้ามาเรียนรู้และศึกษาดูงานของบุคคลภายนอกไม่เป็นเวลา แนวทางแก้ไข ประชุมกลุ่มจะต้องร่วมกำหนดกติกาชุมชนให้ตรงกัน คือ ต้องมีศูนย์ประสานงาน และกำหนดให้การต้อนรับผู้มาดูงานวันไหนบ้าง เพราะถ้าไม่กำหนดจะกระทบกับวิถีชีวิตของคนหูยาน(อยู่ในช่วงปรึกษาหารือร่วมกันอยู่)

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวจุรีย์ หนูผุด
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

1.จากสิ่งที่เปลี่ยนแปลงต้องการพัฒนาให้มีศูนย์ประสานงานที่มีระบบการบริหารจัดการ 2.ต้องการทำสื่อองค์ความรู้ให้คนภายนอกได้เรียนรู้ ทั้งหนังสือ,vcd 

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมเชิงปฎิบัติการร่วมคิด ร่วมทำ สู่แผนชุมพึ่งตนเอง3 พฤศจิกายน 2013
3
พฤศจิกายน 2013รายงานจากพื้นที่ โดย thawonr kongsri
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อจัดทำโครงสร้างการดำเนินงานของสภาแกนนำชุมชนบ้านหูยาน-เพื่อออกแบบการบริหารงานด้านต่าง ๆ ของชุมชนหูยาน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-ประชุมเชิงปฎิบัิติการ เชิญวิทยากร 3    คน -วิทยากร ปลัดอำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง โดย นางจริยา  จันทร์ดำ  มาให้ความรู้กับสภาแกนนำของชุมชนในการร่วมคิด ร่วมออกแบบชุมชน ให้สอดคล้องกับหน่วยงานราชการ กับหมู่บ้านที่มีการบริหารโดยกรรมการหมู่บ้าน ซึ่งแบ่งได้เป็น 7 ด้าน โดยมีบทบาทหน้าที่ ต่างกันแต่ทำงานร่วมกัน ,
-วิทยากรจากเทศบาลตำบลนาท่อม หัวหน้าสำนักปลัด โดย นางวิภา  พรหมแท่น ให้ความรู้กระบวนการทำแผนชุมชน ทบทวนแผน  การผลักดันแผนสู่การปฏิบัติ การติดตามแผน -กำนันอนุชา เฉลาชัย เป็นวิทยากร แบ่งบทบาทหน้าที่กรรมการแต่ละด้าน ทั้ง 7 ด้านที่สอดคล้องกับ หมู่บ้าน ที่มีกรรมการหมู่บ้าน  หรือ หมู่บ้าน กม.

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-การออกแบบการบริหารแต่ละด้าน 7 ด้านสอดคล้องกับหน่วยงานราชการ เป็นหมู่บ้าน(กม) แบ่งคณะทำงานเป็น 7 คณะ ด้านอำนวยการ ด้านการปกครอบและความสงบเรียบร้อย ด้านแผนพัฒนาหมู่บ้าน ด้านส่งเสริมเศรษฐกิจ ด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและสาธารณะสุข  ด้านการศึกษาและวัฒนธรรม และด้านกีฬา
-ด้านสมาชิกแกนนำ กิจกรรมที่ต้องดำนินการคือ ด้านการทำบัญชีครัวเรือน ด้านอาชีพปลูกผัก  ทำสินค้าทดแทน  การเลี้ยงผึ้งและการทำแผนพัฒนาอาชีพ -นายอนุชา เฉลาชัยพร้อมกับกรรมการหมู่บ้าน 21  คน รู้และเข้าใจในโครงสร้างและบทบาทหน้าที่การเป็นกรรมการหมู่บ้าน พร้อมทั้งส่งคณะทำงานเข้ารับการประเมินเป็นผู้นำดีเด่นประจำปี 2557  โดยใช้ประเด็นเด่น คือ เป็นการจัดกระบวนการพัฒนาศักยภาพสภาแกนนำหรือกรรมการหมู่บ้าน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 62 คน จากที่ตั้งไว้ 55 คน
ประกอบด้วย

-สภาแกนนำ -สมาชิกกลุ่มครัวเรือนต้นแบบ -ประชาชนทั่วไป

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

สมภาแกนนำเป็นแกนนำกลุ่มบ้านไม่ใช่ผู้นำแท้จริงการจัดระบบเป็นเรื่องยากสำหรับบางคน ต้องมีการพูดคุยหรือประชุมทบทวนกันสมำ่เสมอเนื่องจากเป็นเรื่องใหม่

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวจุรีย์ หนูผุด
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมสภาแกนนำครั้งที่ 3/12 พฤศจิกายน 2013
2
พฤศจิกายน 2013รายงานจากพื้นที่ โดย thawonr kongsri
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อจัดเตรียมการประชุมเชิงปฎิบัติการสู่การทำแผนชุมชนพึ่งตนเองฉบับคนหูยาน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-สร้างความเข้าใจ,แบ่งบทบาทหน้าที่, -เรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือนเพื่อนำไปถ่ายทอดให้กับครัวเรือนสมาชิกในกลุ่มบ้านแกนนำ -รายงานสถานการณ์ทั้วไปจากการประชุมจากอำเภอให้ชุมชนทราบ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-สมาชิกสภาแกนนำหรือกรรมการหมู่บ้านรู้และเข้าใจบทบาทหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมาย

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 26 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

-สภาแกนนำหรือกรรมการหมู่บ้าน 15 คน -ตัวแทนครัวเรือน  11 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวจุรีย์ หนูผุด
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมทบทวนกิจกรรมดูงาน13 ตุลาคม 2013
13
ตุลาคม 2013รายงานจากพื้นที่ โดย thawonr kongsri
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อศึกษาสรุปบทเรียนจากการดูงาน จากคีรีวงศ์ จ.นครศรีธรรมราช

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ลักษณะกิจกรรม -สรุป ให้เห็นการบริหารจัดการ  การจัดระบบ  การแบ่งบทบาทหน้าที่ การทำศูนย์ประสานงาน การทำโฮสเตย์


-ผู้เข้าร่วมสมาชิกสภาแกนนำ  15 คน -สมาชิกครัวเรือน 8 คน คุณภาพ -เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันของสมาชิกสภาแกนนำ แสดงความเห็นและมุมมองที่เห็นจากการดูงานในเรืองการทำศูนย์ประสานงาน เช่นเรื่อง   -การให้บริการของศูนย์บริการนักท่องเที่ยว   -การบริหารจัดการบ้านพักโฮมเสตย์,การบริการ,   -การจัดการแหล่งเรียนรู้แต่ละแห่ง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-สมาชิกสภาแกนนำได้แสดงความเห็นจากการดูงานที่คีรีวงแต่ละคนมีความคิดมุมมองที่เหมือนและต่างกัน เช่น
-เห็นการให้บริการของศูนย์บริการการท่องเที่ยว,การต้อนรับของเจ้าหน้าที่,ความรู้ของเจ้าหน้าทีบริการศูนย์นักท่องเที่ยว,เห็นกฎกติกาของชุมชนที่ประชาชนร่วมกันคิด ร่วมทำ
-เห็นแหล่งท่องเที่ยว แหล่งเรียนรู้ที่พร้อมให้บริการ ทั้งความรู้ ความตั้งใจ และผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในศูนย์สินค้าบริการนักท่องเที่ยว -เห็นการเอื้อกันของแหล่งเรียนรู้แต่ละสถานที่ มีการแนะนำนักท่องเที่ยวให้ไปดู ชม ในสถานที่ของคนอื่นด้วยไม่ไส่ร้าย แถมยังแนะนำ -การบริหารการท่องเที่ยวแบบศูนย์ประสานงานที่มีประสิทธิภาพเพราะนักท่องเที่ยวประทับใจ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 22 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

-สมาชิกสภาแกนนำ ทีร่วมศึกษาดูงาน -สมาชิกกลุ่มสวนผัก

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวจุรีย์ หนูผุด
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมประจำเ้ดือนของชุมชนหูยาน ครั้งที่ 310 ตุลาคม 2013
10
ตุลาคม 2013รายงานจากพื้นที่ โดย thawonr kongsri
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อชี้แจงการหยุดทำกิจกรรม 1 เดือน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ลักษณะกิจกรรม -ผู้ร่วมเข้าประชุม  40 คน เชิงคุณภาพ -ประชาชนและแกนนำรู้และเข้าใจในช่วงเวลา 1 เดือนไม่ดำเนินงานโครงการด้วยเหตุผลทางการเมือง งดงานจัดเลี้ยงทุกประเภทในช่วงหาเสียงเลื่อกตั้งของผู้สมัคร

-แจ้งกำหนดการทำกิจกรรมต่อหลังเลื่อกตั้ง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-ประชาชน,สมาชิกสภาแกนนำเข้าใจ -แกนนำทราบกิจกรรมต่อไปคือ การประชุมเพื่อกำหนดทิศทางทำแผนชุมชนหูยานสู่การจัดการตนเอง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 35 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

-สมาชิกสภาแกนนำ -สมาชิกครัวเรือนต้นแบบ -ประชาชนทั่วไป

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไมมี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวจุรีย์ หนูผุด
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

งานสร้างสุขภาคใต้28 กันยายน 2013
28
กันยายน 2013รายงานจากพื้นที่ โดย thawonr kongsri
circle
วัตถุประสงค์

ร่วมเงินแสดงนิศการงานสร้างสุขภาคใต้

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ลักษณะกิจกรรม เชิงปริมาณ -ผู้ร่วมงาน 2 ท่าน เชิงคุณภาพ -ผู้ร่วมเสวนา นำเสนอ อภิปรายแลกเปลี่ยนห้องย่อยและเสวนาการขยับปฏิบัติการระดับพื้นที่เพื่อไปสู่การแสวงหาพื้นที่ ประเด็นเกษตรอาหารเศรษฐกิจพอเพียง โดยนายนิกร  พรหมแท่น
-ชมกิจกรรมนิิทรรศการ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-นายนิกร พรหมแท่น เป็นผู้ร่วมเสวนาแลกเปลี่ยน -ได้เรียนรู้พื้นที่อื่นด้วยการแลกเปลี่ยน,นิทรรศการ,ได้เครือข่ายพื้นที่เชิงประเด็นเพิ่มขึ้น

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่ม่

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
จุรีย์ หนูผุด
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

เห็นด้วยกับการจัดงานให้ชุมชนท้องถิ่นได้พบกันปีละ 1 ครั้ง

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

น่าจะมีการอบรมพัฒนาศักยภาพแกนนำของโครงการให้แกนนำในพื้นที่ได้แสดงออก

ติดตามงานสจรส มอ30 สิงหาคม 2013
30
สิงหาคม 2013รายงานจากพื้นที่ โดย thawonr kongsri
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อรายงานพี่เลี้ยงและขอคำแนะนำปัญหาอุปสรรค์ที่เกิดขึ้น

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ทบทวนการลกกิจกรรมในปฎิทินปรับรายการในรายการให้สมบูรณ์
-ลงรายงานผ่านเว็บไซค์ให้สิ้นสุดณวันที่รายงานสจรส -คณะทำงาน สจรส มีเพียงพอต่อการให้บริการดูแลโครงการทั่วถึง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ระบบติดตามมีระบบรัดกุมมากขึ้น,พี่เลี้ยงมีความตั้งใจให้คำแนะนำอย่างดี.สร้างความเข้าใจให้คณะทำงานโครงการได้เพิ่มขี้น

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
จุรีย์ หนูผุดและทีมงาน
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ศึกษาดูงานชุมชนพึ่งตนเองบ้านคีรีวงศ์ จ.นครศรีธรรมราช24 สิงหาคม 2013
24
สิงหาคม 2013รายงานจากพื้นที่ โดย thawonr kongsri
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อนำผลการดูงานมาออกแบบชุมชนหูยานโดยคณะสมาชิกสภาแกนนำ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-จำนวนผู้เข้าร่วม 30 คนเป็นสมาชิกสภาแกนนำและครอบครัวต้นแบบได้ศึกษาศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยว การจัดกระบวนการให้บริการผู้มาท่องเที่ยว โดยกระบวนการเรียนรู้เริ่มต้นที่ -การประสานงานของชุมชนหูยาน -การให้การต้อนรับของศูนย์ประสานงาน -การบริหารกระบวนการของศูนย์บริการ -การจัดโปรแกรมการชมแหล่งเรียนรู้แต่ละพื้นที่ -การให้บริการของบ้านพักโฮมเสตย์ -การสรุปงานภาพรวมให้ผู้เข้าเรียนรู้เห็นภาพการบริหารจัดการชุมชนแบบพึ่งตนเอง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลที่เกิดขึ้นเกินความคาดหมาย -การพักโฮมเสตย์ของสมาชิกสภาแกนนำ -การได้เห็นการจัดกระบวนการบริหารจัดการชุมชนโดยชุมชนแบบการจัดการตนเอง เช่น เก็บขยะกันเอง ทำถนนกันเอง ส่งเสริมอาชีพกันเอง เป็นต้นแบบชุมชนมีการจัดการตนเอง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 25 คน
ประกอบด้วย
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
จุรีย์ หนูผุด และคุณเสนีย์ จ่าวิสูตร
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมสภาแกนนำประจำเดือน ครั้งที่ 2/ เกษตรสหกรณ์การเกษตรติดตามการหนุนเสริม7 สิงหาคม 2013
7
สิงหาคม 2013รายงานจากพื้นที่ โดย thawonr kongsri
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างความเข้าใจในการไปศึกษาดูงานในพื้นที่ชุมชนต้นแบบการจัดการตนเองบ้านคีรีวงค์ จ.นครศรีธรรมราช -เพื่อการติดตามการสนับสนุนงานต่อยอดของชุมชนหูยาน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-มีผู้เข้าร่วม 30 คนประกอบด้วยสมาชิกสภาแกนนำ และเด็กเยาวชน -เรียนรู้การประสานงานงานของศูนย์บริหารนักท่องเที่ยว -ศึกษาการจัดกระบวนการของศูนย์บริหารการนักท่องเที่ยว -ศึกษาการจัดการแหล่งเรียนรู้และอาชีพพึ่งตนเอง -ศึกษาการบริหารบ้านพักโฮมเสตย์ การให้บริการของประชาชนที่ได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบจากศูนย์บริหารนักท่องเที่ยว

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-แกนนำรู้และเข้าใจสามารถนำมาออกแบบกับชุมชนหูยานได้ -หัวหน้าสวนราชการจำนวน มาก มาให้การสนใจกิจกรรมที่ชุมชนหูยานทำทั้งชุมชนโดยสนใจมากเรื่องการมีความตะหนักทำกันทั้งชุมชน และจะให้การสนับสนุนใหม่ในงบประมาณหน้า

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
จุรีย์ หนูผุด
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมทั้งโครงการ25 กรกฎาคม 2013
25
กรกฎาคม 2013รายงานจากพื้นที่ โดย thawonr kongsri
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดบูธแสดงสินค้าของของกลุ่มที่เกิดจากโครงการสวนผักชุมชนคนหูยานฯและต่อยอดปีที่ 2 เพื่อพัฒนาศักยภาพกลุ่ม -จำนวนกลุ่มที่เข้าร่วมประชาสัมพันธ์ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผัก  กลุ่มผึ้ง และกลุ่มสินค้าทดแทน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-ได้ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านสื่อวิทยุท้องถิ่น หอกระจายข่าว แสดงสินค้า -กลุ่มทั้ง 3 ได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ในงานทั้ง 2 วัน -สมาชิกแกนนำมีความรู้และกล้านำเสนอผลผลิตของตนเอง -เทศบาลตำบลนาท่อมหนุนเสริมค่าสถานที่ไม่มีค่าใช้จ่ายของโครงการเป็นการทำงานร่วมกับหลายภาคี

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 600 คน จากที่ตั้งไว้ 0 คน
ประกอบด้วย
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
จูรีย์ หนูผุด
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เปิดโครงการ ประชุมสร้างความเข้าใจชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการ เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน เพื่อแบ่งบทบาทหน้าที่ ของสมาชิกสภาแกนนำ6 กรกฎาคม 2013
6
กรกฎาคม 2013รายงานจากพื้นที่ โดย thawonr kongsri
circle
วัตถุประสงค์

-เพื่อสร้างความเข้าใจโครงการกับผู้เข้าร่วมกิจกรรม -เพื่ออธิบายผังความคิดโครงการและวิธีการดำเนินโครงการให้สมาชิกได้เข้าใจที่มาของโครงการตัวชี้วัดของโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ 82 คนประกอบด้วย   - พระ 5 รูป   -เด็ก  18 คน   -ผู้สูงอายุ  21 คน   -ประชาชนทั่วไป  38 คน คุณภาพ -ประชุมสร้างความเข้าใจของประชาชนในชุมชนกับการเปิดโครงการอธิบายให้เข้าใจของผังความคิดโครงการว่าจะทำอะไร เพื่อบรรลุวัตุประสงค์ โดยหลักการร่วมคิด ร่วมทำ เป้าหมายโครงการ เป็นชุมชนหูยานสู่การจัดการตนเอง 

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-ประชาชนรู้และเข้าใจโครงการ ชุมชนหูยานสู่การจัดการตนเอง และวิธีดำเนินการ -ประชาชนนำปิ่นโตมาร่วมรับประทานอาหารร่วมกัน โดยนิมนพระ 5 รูปมาฉันเพล -ชุมชนมาร่วมโดยมีเด็ก ผู้สูงอายุ ประชาชนทั่วไป มาร่วมกิจกรรมเปิดโครงการ ร่วมทำกิจกรรมในวัด เป็นการร่วม คิด ร่วมทำ เพื่อให้โครงการ ชุมชนหูยานสู่การจัดการตนเอง ได้ให้ทุกคน ทุกวัยได้รู้เข้าใจกิจกรรมที่ทำ รวมทั้งเป็นการฝึกให้ประชาชนฝึกการต้อนรับ และบริการคนอื่นที่เข้ามาเยี่ยมชุมชนต่อไปด้วยการเลี้ยงอาหารด้วยปิ่นโต โดยจะเรียกว่า ปิ่นโตสร้างสุข -เห็นความร่วมมือของประชาชนนำปิ่นโตมาร่วม 50 สาย จากการประสานงานของหัวหน้ากลุ่มสวนผักฯเดิม -เห็นการทำงานของสมาชิกสภาแกนนำของบ้านหูยานมีประสิทธิภาพ -เห็นการจัดการตนเองเบีื้องตนโดยที่คณะทำงานโครงการให้คำแนะนำเบื้องต้น -เห็นการทำงานของชุมชนต่อจากโครงการเดิมเป็นรูปธรรมมากขึ้น

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 82 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-คณะทำงานเห็นว่า ปิ่นโตสร้างสุข น่าจะทำให้ชุมชนมีความสามัคคี ทำกิจกรรมร่วมกันเพิ่มขึ้น เพราะเป็นกิจกรรมที่มีทั้ง พระ ผู้หลักผู้ใหญ่ เด็ก คนทั่วไปร่วมกัน
-การทำกิจกรรมครั้งต่อน่าจะนำประเพณี วัฒนธรรม มาเสริม ร่วมกับกิจกรรมของโครงการ เพื่อจะฟื้นให้เป็นชุมชนต้นแบบ เป็นชุมชนจัดการตนเอง -การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ จำนวนผู้เข้าร่วมน้อยกว่าเป้าหมาย 18 คน เนื่องจากในชุมชนมีผู้สูงอายุเสียชีวิตและมีการรดน้ำศพ ทำให้ประชาชนส่วนหนึ่งไปอยู่งานศพ

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
--จุรีย์ หนูผุด -เสนีย์ จ่าวิสูตร
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี-

ประชุมสภาแกนนำ ครั้งที่ 124 มิถุนายน 2013
24
มิถุนายน 2013รายงานจากพื้นที่ โดย thawonr kongsri
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างความเข้าใจกับสภาแกนนำ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-ผู้เข้าร่วมเป็นสภาแกนนำจำนวน 13 คน -ภาคี รพสต 1 คน เทศบาล 1 คน -อธิบายผังความคิดโครงการชุมชนหูยานบ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเอง -คุยแลกเปลี่ยนเพื่อกำหนดกิจกรรมทีทำ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-สมาชิกสภาแกนนำเข้าใจผังความคิดโครงการ -สมาชิกร่วมกำหนดหนดออกแบบกิจกรรมวันเปิดโดยการให้ประชาชนเอาปินโตมาร่วมกัน รับประทานอาหารร่วมกัน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ปฐมนิเทศ19 มิถุนายน 2013
19
มิถุนายน 2013รายงานจากพื้นที่ โดย thawonr kongsri
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้รับผิดชอบโครงการและระบบติดตามรายงานผล

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-ประชุมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

-บันทึกข้อมูลโครงการผ่านระบบรายงานผล

-ทำปฏิทินกิจกรรมโครงการ

-เรียนรู้ระบบการรายงานผล และการรายงานทางการเงินโครงการ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-รู้และเข้าใจสามารถดำเนินการได้

-เข้าใจสามารถนำมาถ่ายทอดให้คณะทำงานคนอื่นทำได้ใช้เป็น

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 3 คน
ประกอบด้วย
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-จุรีย์ หนูผุด
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-