แบบบันทึกการติดตามสนับสนุนโครงการ ครั้งที่ 3

รหัสโครงการ 56-01530
สัญญาเลขที่ 56-00-1050

ชื่อโครงการ ขยะเป็นปุ๋ยเพิ่มผลผลิตลดสารเคมี
รหัสโครงการ 56-01530 สัญญาเลขที่ 56-00-1050
ระยะเวลาตามสัญญา 1 กันยายน 2013 - 30 กันยายน 2014

ส่วนที่ 1 : ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม

1.1 ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 1 นางกำไล สมรักษ์
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 2 นายสมบูรณ์ ขวัญสง
วันที่ลงพื้นที่ติดตาม 3 สิงหาคม 2014
วันที่ส่งรายงานถึง สสส. 10 กันยายน 2014
1.2 ผู้ให้ข้อมูล
ลำดับชื่อ-สกุลผู้ให้ข้อมูลที่อยู่หมายเลขโทรศัพท์
1 นางสุนีย์ นารีพล 40 หมู่ที่ 1 ตำบลโพธิ์เสด็จ อำเภอมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช 0861200034
2 นายวุฒธิศักดิ์ ชัยพัฒน์วงศร นักพัฒนาชุมชน เทศบาลตำบลโพธิ์เสด็จ อำเภอมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช 0813262840
3 นายจำเรียง รอดรัตน์ หมู่ที่ 1 ตำบลโพธิ์เสด็จ อำเภอมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
4 นายประเวศ จิตวิจารย์ หมู่ที่ 1 ตำบลโพธิ์เสด็จ อำเภอมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ส่วนที่ 2 : ข้อมูลโครงการและความก้าวหน้าการดำเนินงาน

2.1 วัตถุประสงค์และตัวชี้วัดความสำเร็จโครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1.

เพื่อให้ชาวบ้านร่วมกันกำจัดขยะจากถุงเห็ด ให้เป็นปุ๋ยหมักมาใส่พืชผักผลไม้เพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนการผลิต ลดสารเคมี

  1. ขยะจากการทำเห็ด กองขยะจากถุงเห็ดลดลงร้อยละ 80
  2. แมลงที่ทำลายสวน ซึ่งเกิดจากกองขยะเห็ดลงลง ไม่กัดกินรากผักผลไม้
  3. สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการลดการใขช้ปุ๋ยเคมีได้ จำนวน 30 ครบครัว

2.

เพื่อให้เกิดฐานเรียนรู้การกำจัดขยะ เพิ่มรายได้ รักษาสิ่งแวดล้อมของหมู่บ้าน จากการมีสัญญาประชาคมการจัดการขยะหมู่บ้าน

  1. มีฐานเรียนรู้การกำจัดขยะ เพิ่มรายได้รักษาสิ่งแวดล้อมของหมู่บ้าน จำนวน 5 ฐาน
  2. มีสัญญาประชาคมการกำจัดขยะหมู่บ้าน
  3. มีชุดความรู้การแปรรูปขยะเป็นปุ๋ยของหมู่บ้าน
2.2 ความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ
กลุ่มเป้าหมายงบประมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงปริมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพ/สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ
ที่ตั้งไว้(บาท)เกิดขึ้นจริง(บาท)จำนวนที่ตั้งไว้(คน)จำนวนเกิดขึ้นจริง(คน)

กิจกรรมหลัก : ประชุมคณะทำงานi

19,200.00 20 ผลผลิต

คณะทำงานมีการประชุมต่อเนื่อง จำนวน 14 ครั้ง ในแต่ละครั้งมีผู้เข้าร่วมเฉลี่ย 12 คน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ได้มีการทบทวนการทำงาน นำเสนอค่าใช้จ่าย และลงมติเพื่อขับเคลื่อนการการทำกิจกรรมในครั้งต่อไป พร้อมมอบหมายงานการจัดกิจกรรมตลอดโครงการ

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 14 ครั้ง

แกนนำสมาชิกในกลุ่ม หมู่ที่1 เทศบาลตำบลโพธิ์เสด็จ อ.เมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

0.00 0.00 20 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สมาชิกมีความสนใจและตื่นเต้นที่ได้รับทราบถึงกิจกรรมที่ทางกลุ่มกำลังจะดำเนินการได้มีการเสนอแนะแนวทางและปัฐหากันอย่างแพร่หลาย

แกนนำกลุ่มสมาชิก จำนวน 20 คน

1,600.00 1,600.00 20 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้รับคำแนะนำจากแกนนำสมาชิกของกลุ่มเรื่องการจัทำปฏิทินแผนการปฏิบัติงานกิจกรรมของกลุ่มโดยทางกลุ่มมีความเป็นพ้องกันว่าต้องใช้เงินทุกบาทที่ทาง สสส.ใก้มาเป็นทุนอย่างคุ้มค่า 

คณะกรรมการ พี่เลี้ยงจากเทศบาลโพธิ์เสด็จ ผู้นำชุมชน

2,000.00 0.00 30 0 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

แกนนำโครงการได้ทำกิจกรรมทำปุ๋ยหมัก โดยนำถุงเห็ดที่ชาวบ้านนำมาทิ้งกลายเป็นกองขยะริมชลประทานมาทำเป็นปุ๋ยหมัก เพื่อลดการใช้สารเคมี และลดมลพิษจากขยะ (ในหมู่บ้านมีโรงเห็ดประมาณ ๔๐ แห่ง มีขยะจากโรงเห็ดคือถุงเห็ดที่หมดเชื้อแล้ว ทิ้งเกลื่อนกลาด) แกนนำโครงการจึงช่วยกันนำถุงเห็ดที่เป็นขยะมาทำเป็นปุ๋ยหมัก

คณะกรรมการประชุมร่วมกันเพื่อดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง

1,600.00 1,600.00 20 50 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประชุมคณะทำงาน ปรึกษาหารือเพื่อนำถุงเห็ดมาทำปุ๋ย มีคนสนใจทำกัน ประมาณ 30 กว่าคน ชาวบ้านที่สนใจมาร่วมเพิ่มมากขึ้น ได้ตกลงวิธีการทำ โดยแบ่งงานกันทำ มีทีมขนถุงเห็ด แกะถุง และนำมาที่ทำ แบ่งเป็น 5 ฝ่าย ฝ่ายละ 6 -10 คน นำอุปกรณ์มารวมที่บ้านนายจำเรียง มีเทคนิค คือต้องใช้จอบสับให้ละเอียดก่อนจึงดึงถูงออก สรุปขั้นตอนชัดเจนแล้ว ได้ไปทำตามหน้าที่ ไปตามบ้าน ตอนแรกเจ้าของบ้านให้หารถไปรับมาเอง ต่อไปคิดวิธีใหม่เพื่อมารวม แทนที่จะมาทิ้งข้างถนนเหมือนเดิม เปลี่ยนใหม่ ให้นำมากองไว้ที่บ้านสมาชิกที่ทำ เพื่อเป็ยปุ่ยแบ่งไปใช้ ทั้งลดขยะได้ และลดการใช้สารเคมี

แกนนำสมาชิกกลุ่มเป้าหมาย

1,600.00 1,600.00 20 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้ทราบถึงปัญหาที่ผ่านมาในการดำเนินกิจกรรมและได้หาแนวทางแก้ไขปัญหา พบว่ามีการทำงานร่วมกันทุกคน ตกลงกันว่าพบกันที่บ้านนายจำเรียง วึ่งมีความรู้เรื่องปุ๋ยหมัก ค้นหาพบหมอดินในตำบลอีก ๑ คน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการไปตามหมอดินมาร่วม ชื่อนายสาคร รัตพฤกษา เป็นชาวบ้านช่วยงาน ได้วิทยากรจากหมู่ ๓ นายสัมพันธ์ มาช่วยเพิ่ม ทุกคนเห็นมังคุดบ้านนายจำเรียงสวยมาก เนื่องจากใช้ปุ๋ยชีวภาพจากขี้ไก่ ขี้หมู รอบบ้านมีดอกสวยมาก ที่ประชุมเห็นด้วยว่าดีมาก เห็นควรใช้ปุ๋ยหมัก ใช้ถุงเห็ดมาทำได้ไม่ติดเชื้อราเพราะผ่านการฆ่าเชื้อราแล้ว นำมาทำปุ๋ยได้ดี ช่วยลดขยะได้อีก ในกลุ่มจึงลงมติไปขนถุงเห็ดมาทำ ทำที่คอดหมูเก่าที่ไม่ใช้แล้ว ใช้ส่วนผสมหลักคือ ถุงเห็ด

แกนนำสมาชิกจำนวน 20 คน

1,600.00 1,600.00 20 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จัดประชุมประจำเดือนแก่แกนนำสมาชิกพร้อมแจกกิ่งมะนาวและได้กำหนดให้สมาชิกว่าใครจะเป็นผู้ที่จะไปแจกกิ่งพันธุ์มะนาวที่เหลือให้กับสมาชิก และคัดสรรครายชื่อสมาชิกที่จะได้รับกิ่งมะนาว ซึ่งสมาชิกที่จะได้รับกิ่งมะนาวต้องเป็นสมาชิกที่มีปล่องซีเมนต์อยู่แล้วพร้อมที่จะสามารถปลูกมะนาวลงปล่องซีเมนต์ได้เลย และต้องมีความรับผิดชอบต่อการดูแลต้นมะนาวได้พอสมควร ส่วนกิ่งมะนาวก็ได้จากการให้แกนนำสามาชิกที่มีต้นมะนาวที่มีขนาดพอเหมาะได้ช่วยกันชำไว้แล้วนำมาแจกให้กับสมาชิกท่านอื่นด้วย แจกกิ่งมะนาวให้แก่แกนนำสมาชิกแล้วเสร็จ

แกนนำสมาชิจำนวน 20 คน

1,600.00 1,600.00 20 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สมาชิกได้แบ่งงานกันทำในการหาวัสดุในพื้นที่ โดยมาสมาชิกได้เสนอถึงให้เน้นวันสดุในพื้นที่เป็นหลักเพื่อให้ได้ถึงปริมาณของน้ำหมักที่จะได้รับให้ได้มากๆ โดยใช้ต้นทุนที่ได้รับการสนับสนุนจาก สสส. ใก้คุ้มค่าที่สุด

แกนนำสมาชิกจำนวน 20 คน

1,600.00 1,600.00 20 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปวันที่จะจัดเวทีแลกเปลี่ยนให้จัดขึ้นในวันที่ 15 พฤษภาคม 2557

สมาชิกในกลุ่มจำนน 30 คน

2,000.00 2,000.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้แบ่งหน้าที่การทำงานเรียบร้อย ได้วางแผนการจัดเตรียมการประชุมร่วมกับพี่เลี้ย สสส. โดยให้นายรัน จัดเตรียมสภานที่กับ นายจำเรียง ที่บ้านนายจำเรียงเนื่องจากเป็นศูนย์กลางของสมาชิก ให้น.ส.ชุติมา จัดเตรียมเรื่องอาหาร ในการจัดประชุมในครั้งนี้ และได้ให้สมาชิกช่วยกันชวนสมาชิกท่านอื่นมาร่วมด้วยเนื่องจากจะได้วางแนวทางในการทำงานต่อไป หรือหากใครมีข้อสงสัยใดก็สามารถที่จะมาถามพี่เลี้ยงในวันนั้นได้เพื่อที่จะให้ชุมชนของเราแข็มแข็งต่อไป

แกนนำสมาชิกจำนวน 20 คน

1,600.00 1,600.00 20 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ชี้แจงผลจากการไปประชุมกับ สสส ว่าทางกลุ่มยังมีความบกพร่องเรื่องการจัดทำเอกสาร ซึ่งยังไม่มีความสมบูรณ์เท่าที่ควร ให้ทางกลุ่มช่วยกันเขียนข้อมูลให้ชัดเจน และให้มีรูปถ่ายที่หลากหลาย และทางพี่เลี้ยงได้จัดให้ แกนนำ หมู่3 และหมู่5 มาช่วยเป็นพี่เลี้ยงในด้านเอกสารอีกด้านด้วย และเมื่อแจงถึงยอดเงินที่ใช้ไปปรากฎว่ามียอดเงินการทำปุ๋ยหมักคงเหลืออยู่เนื่องจากการทำปุ๋ยหมักครั้งที่แล้วได้ลดต้นทุนด้านวิทยากรและกากน้ำตาล เนื่องจากงบที่ได้รับจาก สสส. ในงวดที่ 1 นำมาใช้ไม่พอกับการทำปุ๋ยจึงต้องลดปริมาณการทำปุ๋ยในครังก่อนไป ดังนั้นสมาชิกจึงขอให้มีการทำปุ๋ยอีกครังเพราะจากการทำปุ๋ยครั้งก่อน สมาชิกได้มีความพอใจมากประกอบกับมีชาวบ้านที่ไม่ได้เป็นสมาชิกหลายครัวเรือนประสงค์ที่จะได้เข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนรู้วิธีการทำปุ๋ยหมักชีวภาพเพื่อลดต้นทุนการผลิต และลดต้นทุนการใช้สารเคมีเพื่อสุขภาพของตนเองด้วย แกนนำสามชิกได้เข้าใจถึงการเขียนข้อมูล และวิธีการถ่ายรูปมากขึ้น และได้สรุปถึงการทำปุ๋ยรอบ 2 จากงบประมาณการทำปุ๋ยที่ยังคงเหลืออยู่ ในวันที่ 6 มิถุนายน 2557

แกนนำสมาชิกจำนวน 20 คน

1,600.00 1,600.00 20 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้ประชุมวางแผนการทำงานในการทำปุ๋ยหมักชีวภาพในรอบใหม่เนื่องจากงบประมาณที่ยังคงมีอยู่นั้นหากจะแยกมาเป็นค่าอาหารก็จะทำให้ได้จำนวนปริมาณปุ๋ยลดลง นายจำเรียง จึงเสนอว่าให้สมาชิกแต่ละคนช่วยกันนำอาหามาคนละเล็ก ละน้อย เพื่อที่จะได้มาแบ่งกันรับประทาน และจะได้ทำปุ๋ยในปริมาณที่มากขึ้นด้วย สมาชิกก็ได้ลงความเห็นว่าสมควรทำเช่นนั้น  สมาชิกได้ตกลงร่วมกันว่าจะช่วยกันนำอาหารมาร่มรับประทานในการทำปุ๋ยครั้งนี้

แกนนำสมาชิกจำนวน 20 คน

1,600.00 1,600.00 20 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สมาชิกได้กล่าวถึงปัญหาจากการออกเก็บรวบรวมข้อมูลการติดตามผล การใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ การปลูกมะนาวในปล่องซีเมนต์ และการใช้น้ำหมักไล่แมลง ให้ได้ข้มูลที่ถูกต้องชัดเจน  และมาสมาชิกท่านหนึ่งคือ นายสาคร ได้กล่าวถึงน้ำหมักไล่แมลงสูตรพ่อ สูตรแม่ ว่า มีกลิ่นรุนแรงกว่าสูตรทั่วไปมาก แต่ได้ผลตั้งแต่ครั้งแรกที่ใช้ซึ่งอาจจะเป็นเพราะกลิ่น ทำให้สมาชิกรู้สึกสนุกสนานับการประชุม และนายสาคร ยังได้เสริมอีกว่าน้ำยาไล่แมลงนั้นยังสามารถช่วยบรรเทาอาการคันเนื่องจากโรคผิวหนังบางโรคได้ เช่นโรคหิด

แกนนำสมาชิกจำนวน 20 คน

1,600.00 1,600.00 20 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

นายจำเรียง แจ้งว่าคนน่าจะได้ไม่มากนักเพราะช่วงนี้เป็นน่าเก็บมังคุด อีกทั้งราคามังคุดต่ำมากจึงไม่สามารถจ้างคนเก็บมังคุดได้จึงต้องเก็บกันเอง แต่จะช่วยกันพยายาม นายสาครเสริมว่าน่าจะจัดช่วงเย็นหน่อยประมาณ 6โมงเย็น อาจจะได้คนมากหน่อย นางสุนีย์ จึงได้แจ้งว่าพี่เลี้ยงโครงการมาช่วยถอดบทเรียน รวม 3 หมู่บ้าน จึงไม่มีเวลามากนักจึงต้องนัดเวลาที่แน่นอน และได้ผลสรุปว่าจัดเวทีถอดบทเรียน ในวันที่ 13 กรกฏาคม 2557 เวลา 4 โมงเย็น

แกนนำสามชิกจำนวน 20 คน

1,600.00 1,600.00 20 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้จัดเตียมข้อมูลและเอกสารเสร็จเรียบร้อย

กิจกรรมหลัก : เพื่อชี้แจงโครงการและจัดทำปฏิทินทั้งปี โดยการทำสัญญาประชาคมi

4,500.00 50 ผลผลิต

สมาชิกในหมู่บ้านเข้าร่วม 50 คน รับทราบโครงการ


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ประธานได้ชี้แจงการทำโครงการและขอความร่วมมือให้ช่วยกันในหมู่บ้าน สมาชิกรับทราบและร่วมดำเนินการ

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

ชี้แจงข้อมูลกิจกรรมที่ทางกลุ่มมีความเห็นตรงกันในการทำกิจกรรมให้สมาชิกกลุ่มรับทราบ

4,500.00 4,500.00 50 50 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สมาชิกในกลุ่มได้รับข้อมูลการดำเนินกิจกรรม แนวทางในการปฏิบัติของกลุ่มพื่อให้ได้มาซึ่งประสิทธิภาพของการทำกิจกรรม

กิจกรรมหลัก : อบรม ให้ความรู้เรื่องการทำการเกษตรอินทรีย์ การทำปุ๋ยชีวภาพi

7,500.00 50 ผลผลิต

ผู้เข้าร่วม 50 คน สมาชิกได้รับความรู้จากวิทยากรผู้ชำนาญการในเรื่องประโยชน์จากการใช้ปุ๋ยชีวภาพและวิธีการนำปุ๋ยหมักชีวภาพไปใช้ในปลูกฟืชผักแบบเกษตรอิทรีย์ มาทำข้อตกลงการใช้ปุ๋ย โดยให้ใช้ปุ๋ยหมักในการปลูกผักในครัวเรือน ติดตามผลจากแกนนำคณะกรรมการ โดยให้สมาชิก 50 คน 30 ครัวเรือน ที่มาช่วยกันทำ ให้ไปทำ และเรียนรู้เรื่องประโยชน์ของปุ๋ย มีวิทยากรมาเลบอกให้ฟังเรื่องผลดีของปุ๋ย และบอกวิธีการทำ วิทยากรเป็นหมอดินตำบล หมอดินอาสา หมู่ 3 ของตำบล มาให้ความรู้เรื่องการประบดินให้เหมาะสมสำหรับเกษตร หมอดินทำเห็ดฟางจากทลายปาล์ม ใช้วัสดุท้องถิ่น เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้แนวทางการใช้วัสดุท้องถิ่น เพื่อนำมาเป็นวัสดุทำปุ๋ยดีมาก นอกจากนี้ยังมีสมาชิกคนอื่นๆ นอกกลุ่มที่มาใหม่ มีความสนใจเรื่องนี้ ถามเรื่องโครงการ และเห็นด้วยกับโครงการ ในกลุ่มสมาชิกเองก็มาร่วมดี ผลัดเปลี่ยนกันมาทุกครั้ง อยากมีส่วนร่วม มีความอยากเข้าร่วมเพิ่มมากขึ้น คณะกรรมการได้อธิบายที่มาของโครงการให้ทราบ กลุ่มสมาชิกมีความตั้งใจมาก อยากให้ดำเนินงานได้สำเร็จ ในบ้านใสหนุนเป็นโซนของหมู่ 1 ยังไม่การรวมกลุ่มทำงาน จึงได้สร้างแรงบรรดาลใจให้มาร่วมและเรียนรู้ต่อ เมื่อก่อนมาทำแต่แกนนำได้เสียชีวิต ขาดแกนนำทำต่อ การทำวันนี้ได้ร้างแรงบรรดาลใจให้กลุ่มอื่นๆ ในหมู่บ้านมาร่วมเพิ่มเติม เป็นแบบอย่างให้กลุ่มอื่นๆ ได้ ในโครงการนี้ใช้บ้านนายจำเรียงก่อน เพราะยังไม่มีที่สาธารณะ ต่อไปขยายผลได้


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ชุมชนได้เรียนรู้การใช้วัสดุในท้องถิ่นซึ่งเป็นขยะจากถุงเห็ดที่ทิ้งแล้วมาเปลี่ยนเป็นส่วนประกอบในการทำเป็นปุ๋ยชีวภาพ ทำให้เกิดการเรียนรู้การค้นหาทรัพยากรในพื้นที่มาใช้ประโยชน์ ไม่แสวงหานอกพื้นที่

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

สมาชิกในกลุ่มหมู่ที่ 1 เทศบาลตำบลโพธิ์เสด็จ

7,500.00 7,500.00 50 50 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สมาชิกได้รับความรู้จากวิทยากรผู้ชำนาญการในเรื่องประโยชน์จากการใช้ปุ๋ยชีวภาพและวิธีการนำปุ๋ยหมักชีวภาพไปใช้ในปลูกฟืชผักแบบเกษตรอิทรีย์ มาทำข้อตกลงการใช้ปุ๋ย โดยให้ใช้ปุ๋ยหมักในการปลูกผักในครัวเรือน ติดตามผลจากแกนนำคณะกรรมการ โดยให้สมาชิก 50 คน 30 ครัวเรือน ที่มาช่วยกันทำ ให้ไปทำ และเรียนรู้เรื่องประโยชน์ของปุ๋ย มีวิทยากรมาเลบอกให้ฟังเรื่องผลดีของปุ๋ย และบอกวิธีการทำ วิทยากรเป็นหมอดินตำบล หมอดินอาสา หมู่ 3 ของตำบล มาให้ความรู้เรื่องการประบดินให้เหมาะสมสำหรับเกษตร หมอดินทำเห็ดฟางจากทลายปาล์ม ใช้วัสดุท้องถิ่น เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้แนวทางการใช้วัสดุท้องถิ่น เพื่อนำมาเป็นวัสดุทำปุ๋ยดีมาก นอกจากนี้ยังมีสมาชิกคนอื่นๆ นอกกลุ่มที่มาใหม่ มีความสนใจเรื่องนี้ ถามเรื่องโครงการ และเห็นด้วยกับโครงการ ในกลุ่มสมาชิกเองก็มาร่วมดี ผลัดเปลี่ยนกันมาทุกครั้ง อยากมีส่วนร่วม มีความอยากเข้าร่วมเพิ่มมากขึ้น คณะกรรมการได้อธิบายที่มาของโครงการให้ทราบ กลุ่มสมาชิกมีความตั้งใจมาก อยากให้ดำเนินงานได้สำเร็จ ในบ้านใสหนุนเป็นโซนของหมู่ 1 ยังไม่การรวมกลุ่มทำงาน จึงได้สร้างแรงบรรดาลใจให้มาร่วมและเรียนรู้ต่อ เมื่อก่อนมาทำแต่แกนนำได้เสียชีวิต ขาดแกนนำทำต่อ การทำวันนี้ได้ร้างแรงบรรดาลใจให้กลุ่มอื่นๆ ในหมู่บ้านมาร่วมเพิ่มเติม เป็นแบบอย่างให้กลุ่มอื่นๆ ได้ ในโครงการนี้ใช้บ้านนายจำเรียงก่อน เพราะยังไม่มีที่สาธารณะ ต่อไปขยายผลได้

กิจกรรมหลัก : ปฏิบัติการ การทำปุ๋ยหมักจำนวน 3 วันi

47,400.00 50 ผลผลิต

สมาชิกเข้าร่วม 50 คน สมาชิกได้ร่วมกันทำกิจกิจกรรมปุ๋ยหมักชีวภาพโดยมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญงานในแต่ละด้านเป็นผู้คอยดูแลการทำกิจกรรมตลอด 3 วัน ซึ่งสมาชิกได้เรียนรู้การวิธีการทำปุ่ยหมักและได้รับทราบประโยชน์ของปุ๋ยหมักชีวภาพ ลดต้นทุน ลดสารเคมี ในวันแรกได้ประชุมก่อนทำ ดดยแบ่งจุดทำงาน เป็นชุดละ 10 คน ตามที่มอบหมายไว้แล้ว ดังนั้นให้คนที่ได้รับมอบหมาย ไปขนก้อนเห็ดจากกองขยะ และตามบ้าน มารวมกันที่บ้านนายจำเรียง แบ่งกันแกะถุงเห็ด ทำกันหนึ่งวันจนค่ำ ต่อมาในวันที่ 2 ได้ช่วยกันขนไว้ในโรงทำปุ๋ย แบ่งกันโรงละ 10 คน ทั้งหมด 5 โรง ช่วยกันสับก้อนเห็ดให้ละเอียด เพื่อให้ย่อยสลายได้ง่าย เตรียมวัสดุอื่นๆ ทำจนค่ำ ต่อมา วันที่ 3 นำวัสดุอื่นๆ ได้แก่ ขี้ไก่ กากน้ำตาล อีเอ็ม ปูนขาว นำมาคลุกเล้าในโรง แบ่งกันคลุกเคล้ากันทั้ง 5 โรง หลังจากนั้นรดด้วยน้ำอีเอ็มซ้ำ ให้ชุ่ม คลุกเคล้าจนเข้ากันดี จึงได้ คลุมปิดไว้ ทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ จึงมาเปิดกลับปุ๋ย ทำทุกอาทิตย์ จนครบ 1 เดือน มีการตรวจสอบโดยการใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านว่าปุ๋ยใช้ได้หรือไม่ ถ้ามีอายความร้อนยังใช้ไม่ได้ เมื่อทำสัปดาห์แรกยังไม่ละเอียด มีการคลุกเคล้าทุกสัปดาห์จนละเอียด และไม่มีความร้อน ปุ๋ยเป็นเนื้อเดียวกัน แยกออกไม่ได้ว่าเป็นวัสดุอะไร


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อการนำสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ มาปรับเปลี่ยนให้เกิดประโยชน์ ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ย และลดสารเคมีในการทำการเกษตรได้

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 2 ครั้ง

สมาชิกในกลุ่มหมู่ที่ 1 เทศบาลตำบลโพธิ์เสด็จ

36,200.00 36,200.00 50 50 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สมาชิกได้ร่วมกันทำกิจกิจกรรมปุ๋ยหมักชีวภาพโดยมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญงานในแต่ละด้านเป็นผู้คอยดูแลการทำกิจกรรมตลอด 3 วัน ซึ่งสมาชิกได้เรียนรู้การวิธีการทำปุ่ยหมักและได้รับทราบประโยชน์ของปุ๋ยหมักชีวภาพ ลดต้นทุน ลดสารเคมี ในวันแรกได้ประชุมก่อนทำ ดดยแบ่งจุดทำงาน เป็นชุดละ 10 คน ตามที่มอบหมายไว้แล้ว ดังนั้นให้คนที่ได้รับมอบหมาย ไปขนก้อนเห็ดจากกองขยะ และตามบ้าน มารวมกันที่บ้านนายจำเรียง แบ่งกันแกะถุงเห็ด ทำกันหนึ่งวันจนค่ำ ต่อมาในวันที่ 2 ได้ช่วยกันขนไว้ในโรงทำปุ๋ย แบ่งกันโรงละ 10 คน ทั้งหมด 5 โรง ช่วยกันสับก้อนเห็ดให้ละเอียด เพื่อให้ย่อยสลายได้ง่าย เตรียมวัสดุอื่นๆ ทำจนค่ำ ต่อมา วันที่ 3 นำวัสดุอื่นๆ ได้แก่ ขี้ไก่ กากน้ำตาล อีเอ็ม ปูนขาว นำมาคลุกเล้าในโรง แบ่งกันคลุกเคล้ากันทั้ง 5 โรง หลังจากนั้นรดด้วยน้ำอีเอ็มซ้ำ ให้ชุ่ม คลุกเคล้าจนเข้ากันดี จึงได้ คลุมปิดไว้ ทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ จึงมาเปิดกลับปุ๋ย ทำทุกอาทิตย์ จนครบ 1 เดือน มีการตรวจสอบโดยการใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านว่าปุ๋ยใช้ได้หรือไม่ ถ้ามีอายความร้อนยังใช้ไม่ได้ เมื่อทำสัปดาห์แรกยังไม่ละเอียด มีการคลุกเคล้าทุกสัปดาห์จนละเอียด และไม่มีความร้อน ปุ๋ยเป็นเนื้อเดียวกัน แยกออกไม่ได้ว่าเป็นวัสดุอะไร

สมาชิกเก่า+ใหม่

11,200.00 11,200.00 20 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้ให้ความรู้แก่สมาชิกใหม่ และได้ทำปุ๋ยเสร็จสิ้น พร้อมทั้งได้มอบหมายสมาชิกที่มีหน้าที่ในการกลับปุ๋ย สมาชิกเก่าพร้อมด้วยชาวบ้านที่มีความสนใจที่จะเข้าร่วมมาเป็นสมาชิกและยังไม่ได้ร่วมทำปุ๋ยในรอบแรก โดยมีสมาชิกเก่าที่เคยเข้าร่วมการทำปุ๋ย และมีความเข้าใจในการทำปุ๋ยดีมาช่วยในเป็นวิทยากรในการให้ความรู้ในครั้งนี้ โดยการทำปุ๋ยในครั้งนี้"ด้เพิ่มเติมสูตรจากการศึกษาเพิ่มเติมขิงสมาชิกว่าควรใส่ปูนขาวลงไปด้วยเนื่องจากปูนขาวจะมีส่วนช่วยในการป้องกันเชื้อราให้กับพืชด้วย และการทำปุ๋ยในครั้งนี้ได้แจ้งให้สมาชิกทราบแล้วว่าไม่มีอาหารเลี้ยงเนื่องจากไม่ม่งบประมาณในส่วนนี้ สมาชิกทั้งเก่าและใหม่จึงได้ร่วมมือกันนำกับข้าว และอาหาร มาเองเพื่อมาร่วมกันรับประทานด้วยกัน

กิจกรรมหลัก : เวทีสำรวจข้อมูลก่อนนำปุ๋ยหมักไปใช้i

4,100.00 30 ผลผลิต

สมาชิกมีความพอใจในผลที่ได้จากการใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพและมีความประสงค์ที่จะนำไปทดลองใช้เองโดยปกติสมาชิกในกลุ่มปลูกพืชผัก ผลไม้ ใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ (เคมี) เพราะมีขายตามท้องตลาดและให้ผลผลิตดี แต่ไม่ได้รู้ถึงโทษของปุ๋ยวิทยาสาตร์ (เคมี) จากการทำ กลุ่มได้ จัดตั้งขึ้นมาทำปุ๋ยหักจากขยะถุงเห็ดที่ไม่ได้ใช้ปหระโยชน์แล้ว ซึ่งเป็นขยะที่นำมาทิ้งตามริมถนน ริมคลอง ชลประทาน ซึ่งทำให้ในหมู่บ้านลดปัญหาขยะในที่สาธารณะ และนำมาทำปุ๋ยหมักชีวภาพ โดยใช้ขยะจากถุงเป็ด กากน้ำตาล EM แกลบ ปุ๋ยคอก มาเป็นส่วนผสมในการทำปุ๋ยหมัก จำนวน 2 เดือน ก็สามารถนำมาใช้ได้ โดยแจกจ่ายให้แก่สมาชิกในกลุ่มนำไปใช้ ปรากฎว่า สมาชิกในกลุ่มพอในในปุ๋ยหมักชีวภาพ ซึ่งเมื่อนำไปใช้ใส่ผักเช่น ผักบุ้ง ผักคะน้า ผักกาด พริก แตงกวา ให้ผลผลิตดี ผักมีขนาดกอใหญ่ ใบใหญ่ รสชาดดี และจำดำเนินการทำปุ๋ยหมักใช้กันในครั้งต่อไป


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

เกิดการเรียนรู้เรื่องการใช้ประโยชน์จากขยะ มาเปลี่ยนเป็นปุ๋ยในวงกว้างมาากขึ้น การสำรวจข้อมูลการนำไปใช้นับว่าเป็นการติดตามผลการทำกิจกรรม และเป็นการกระตุ้นการปฏิบัติของกลุ่มชุมชนอย่างต่อเนื่อง เ็นกลไกการติดตามกันเองของชุมชนที่ดีอีกวิธีหนึ่ง

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

สมาชิกในกลุ่มจำนวน 50 คน

4,100.00 4,100.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สมาชิกมีความพอใจในผลที่ได้จากการใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพและมีความประสงค์ที่จะนำไปทดลองใช้เองโดยปกติสมาชิกในกลุ่มปลูกพืชผัก ผลไม้ ใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ (เคมี) เพราะมีขายตามท้องตลาดและให้ผลผลิตดี แต่ไม่ได้รู้ถึงโทษของปุ๋ยวิทยาสาตร์ (เคมี) จากการทำ กลุ่มได้ จัดตั้งขึ้นมาทำปุ๋ยหักจากขยะถุงเห็ดที่ไม่ได้ใช้ปหระโยชน์แล้ว ซึ่งเป็นขยะที่นำมาทิ้งตามริมถนน ริมคลอง ชลประทาน ซึ่งทำให้ในหมู่บ้านลดปัญหาขยะในที่สาธารณะ และนำมาทำปุ๋ยหมักชีวภาพ โดยใช้ขยะจากถุงเป็ด กากน้ำตาล EM แกลบ ปุ๋ยคอก มาเป็นส่วนผสมในการทำปุ๋ยหมัก จำนวน 2 เดือน ก็สามารถนำมาใช้ได้ โดยแจกจ่ายให้แก่สมาชิกในกลุ่มนำไปใช้ ปรากฎว่า สมาชิกในกลุ่มพอในในปุ๋ยหมักชีวภาพ ซึ่งเมื่อนำไปใช้ใส่ผักเช่น ผักบุ้ง ผักคะน้า ผักกาด พริก แตงกวา ให้ผลผลิตดี ผักมีขนาดกอใหญ่ ใบใหญ่ รสชาดดี และจำดำเนินการทำปุ๋ยหมักใช้กันในครั้งต่อไป

กิจกรรมหลัก : ประเมินผลจากการนำปุ๋ยไปใช้i

3,000.00 5 ผลผลิต

จากที่สังเกตุได้ดินมาความสมบูรณ์มากขึ้น ซึ่งสามารถสังเกตุได้จากมีใส้เดือนในดินจากการประเมินผลการใช้ปุ๋ยผลปรากฎว่าดินมีความร่วนซุยและมีความชุ่มชื้นมากขึ้น สังเกตุได้จากมีใส้เดือนในดินมีปริมานมากซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์ของดิน ที่สามารถทำการปลูกพืชผักให้ได้ผลดียิ่งขึ้น และพืชผักมีความสมบูรณ์มากขึ้นเช่นจากที่สังเกตุได้ ลำต้นมีความอ้วนขึ้น ใบมีสีเขียวสดแลขนาดใหญ่ ผลเป็นมันเงา โดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋เคมีจะเห็นได้ว่าตอนแรกจะไม่ค่อยเป็นผลมากนักแต่เมื่อระยะเวลาผ่านไปทำให้เห็นได้ว่าผลผลิตเมื่อเปรียบเทียบแล้วไม่มีความแตกต่างจากการใช้ปุ๋ยเคมมากนัก แต่ค่าใช้จ่ายมีจำนวนน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

เกิดการเรียนรู้เรื่องการใช้ประโยชน์จากขยะ มาเปลี่ยนเป็นปุ๋ยในวงกว้างมาากขึ้น การสำรวจข้อมูลการนำไปใช้นับว่าเป็นการติดตามผลการทำกิจกรรม และเป็นการกระตุ้นการปฏิบัติของกลุ่มชุมชนอย่างต่อเนื่อง เ็นกลไกการติดตามกันเองของชุมชนที่ดีอีกวิธีหนึ่ง

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 4 ครั้ง

สมาชิกที่ได้รับการแจกปุ๋ยหมักไปใช้

750.00 750.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สมาชิกพอใจในการใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ และมีสมาชิกบางคนสนใจในการนำไปผลิตและใช้เองในสวนผลไม้

ครอบครัวสมาชิกที่ได้รับแจกปุ๋ยหมัก

750.00 750.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากที่สังเกตุได้ดินมาความสมบูรณ์มากขึ้น ซึ่งสามารถสังเกตุได้จากมีใส้เดือนในดินจากการประเมินผลการใช้ปุ๋ยผลปรากฎว่าดินมีความร่วนซุยและมีความชุ่มชื้นมากขึ้น สังเกตุได้จากมีใส้เดือนในดินมีปริมานมากซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์ของดิน ที่สามารถทำการปลูกพืชผักให้ได้ผลดียิ่งขึ้น และพืชผักมีความสมบูรณ์มากขึ้นเช่นจากที่สังเกตุได้ ลำต้นมีความอ้วนขึ้น ใบมีสีเขียวสดแลขนาดใหญ่ ผลเป็นมันเงา โดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋เคมีจะเห็นได้ว่าตอนแรกจะไม่ค่อยเป็นผลมากนักแต่เมื่อระยะเวลาผ่านไปทำให้เห็นได้ว่าผลผลิตเมื่อเปรียบเทียบแล้วไม่มีความแตกต่างจากการใช้ปุ๋ยเคมมากนัก แต่ค่าใช้จ่ายมีจำนวนน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด

สมาชิกที่ได้รับการแจกปุ๋ยหมักชีวภาพ

750.00 750.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สิ่งที่ได้จากการใช้ปุ๋ยที่สมาชิกพอใจมากคือ ดินไม่แข็ง มีความชุ่มชื้นในดิน 

สมาชิกที่ได้รับการแจกปุ๋ยหมักชีวภาพจำนวน 30 คน

750.00 750.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สมาชิกได้เริ่มมีการรวมกลุ่มช่วยกันทำปุ๋ยหมักชีวภาพใช้เองในสวนระหว่างกลุ่มพี่น้องด้วยกันเอง และสมาชิกยังได้แจงให้ทราบว่าลดค่าใช้จ่ายจากการใช้ปุ๋ยเคมีลงไปมาก ใช้ได้ดีกับผักสวนครัว หากเป็นต้นไม้ใหญ่คงต้องใช้ปริมาณเยอะ แต่หากคิดให้ดีก็คิดว่าคุ้มทั้งด้านต้นทุนและสุขภาพร่างกายของเกษตรกรเอง

กิจกรรมหลัก : จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสรุปผลการทำปุ๋ยหมักi

6,000.00 50 ผลผลิต

สมาชิกได้รับความรู้เรื่องการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ เสวนาถอดบทเรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักชีวภาพบรรยากาศการเรียนรู้มีความเป็นกันเอง สนุกสนาน ทุคนตั้งใจฟังเรื่องเล่าจากเพื่อน โดยเฉพาะเมื่อผู้รับผิดชอบโครงการ และหมอดินอาสาเล่าเรื่อง และสรุปผลการแลกเปลี่ยน ได้ดังนี้ 1) สูตรการทำหมักชีวภาพ ได้ทำน้ำหมักสูตรพ่อ สูตรแม่ และสตรลูก เพื่อช่วยให้ผลผลิตมังคุดดี บอกเทคนิคและขั้นตอนการใช้คือ สูตรพ่อ 1 ต่อ 10 สูตรแม่ 10 ต่อ 1 สูตรลูก ต้องนำสูตรพ่อและสูตรแม่มาผสมกัน จึงจะเป็นประโยชน์มาก 2) ขณะนี้ได้มีการพัฒนาอาชีพการเลี้ยงผึ่งในสวนมังคุด เป็นสิ่งที่บอกได้ว่าในสวนมังคุดไหนที่มีผึ้งอยู่ แสดงว่าเป็นสวนที่ไม่ใช้สารเคมี ถ้าใช้สารเคมีจะไม่มีผึ้ง เป็นการประเมินผลการใช้ปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ น้ำยาไล่แมลงจากสมุนไพร ว่าชุมชนได้ทำและใช้จริง ถ้าไม่ทำก็ไม่สามารถเลี้ยงผึ้งได้ ตอนนี้มีการเลี้ยงได้ไม่มาก ทุกคนในที่ประชุมเสนอแนะให้มีการพัฒนาต่อจากการจัดการขยะเป็นปุ๋ยชีวภาพ และพัฒนาการเลี้ยงผึ้งเพิ่มเพพื่อให้พื้นที่ได้ปลอดสารเคมีในวงกว้างมากขึ้น 3) ได้ร่วมกันวางแผนกิจกรรมที่เหลือว่าได้ทำไปแล้วเกิดผลดีแล้ว กำหนดทำต่ออีก และทำต่อเนื่องเป็นกิจกรรมประจำของชุมชนเอง ได้แก่ การทำกลุ่มปุ๋ย ตามละแวกบ้าน พื่อขยายผลการลดการใช้สารเคมีให้มากยิ่งขึ้น มีหมอดินอาสาช่วยเป็นพี่เลี้ยงในการทำกิจกรรม


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

เกิดการเรียนรู้การลดการใช้สารเคมีโดยมีการแลกเปลี่ยนในวงกว้างมากขึ้น มีหน่วยงานเข้ามาร่วมเพิ่มเติม ช่วยให้เกิดบรรยากาศการเรียนรู้ที่ดี ชุมชนนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ และเกิดการแลกเปลี่ยนกันในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชนได้อย่างต่อเนื่อง

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 2 ครั้ง

พัฒนาชุมชน อบต หมอดินอาสา ผู้นำกลุ่ม สมาชิกกลุ่ม

6,000.00 0.00 50 36 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

บรรยากาศการเรียนรู้มีความเป็นกันเอง สนุกสนาน ทุคนตั้งใจฟังเรื่องเล่าจากเพื่อน โดยเฉพาะเมื่อผู้รับผิดชอบโครงการ และหมอดินอาสาเล่าเรื่อง และสรุปผลการแลกเปลี่ยน ได้ดังนี้ 1) สูตรการทำหมักชีวภาพ ได้ทำน้ำหมักสูตรพ่อ สูตรแม่ และสตรลูก เพื่อช่วยให้ผลผลิตมังคุดดี บอกเทคนิคและขั้นตอนการใช้คือ สูตรพ่อ 1 ต่อ 10 สูตรแม่ 10 ต่อ 1 สูตรลูก ต้องนำสูตรพ่อและสูตรแม่มาผสมกัน จึงจะเป็ฯประโยชน์มาก 2) ขณะนี้ได้มีการพัฒนาอาชีพการเลี้ยงผึ่งในสวนมังคุด เป็นสิ่งที่บอกได้ว่าในสวนมังคุดไหนที่มีผึ้งอยู่ แสดงว่าเป็นสวนที่ไม่ใช้สารเคมี ถ้าใช้สารเคมีจะไม่มีผึ้ง เป็นการประเมินผลการใช้ปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ น้ำยาไล่แมลงจากสมุนไพร ว่าชุมชนได้ทำและใช้จริง ถ้าไม่ทำก็ไม่สามารถเลี้ยงผึ้งได้ ตอนนี้มีการเลี้ยงได้ไม่มาก ทุกคนในที่ประชุมเสนอแนะให้มีการพัฒนาต่อจากการจัดการขยะเป็นปุ๋ยชีวภาพ และพัฒนาการเลี้ยงผึ้งเพิ่มเพพื่อให้พื้นที่ได้ปลอดสารเคมีในวงกว้างมากขึ้น 3) ได้ร่วมกันวางแผนกิจกรรมที่เหลือว่าได้ทำไปแล้วเกิดผลดีแล้ว กำหนดทำต่ออีก และทำต่อเนื่องเป็นกิจกรรมประจำของชุมชนเอง ได้แก่ การทำกลุ่มปุ๋ย ตามละแวกบ้าน พื่อขยายผลการลดการใช้สารเคมีให้มากยิ่งขึ้น มีหมอดินอาสาช่วยเป็นพี่เลี้ยงในการทำกิจกรรม

สามชิก จำนวน 50 คน

6,000.00 6,000.00 50 50 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สมาชิกได้รับความรู้เรื่องการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ เสวนาถอดบทเรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักชีวภาพบรรยากาศการเรียนรู้มีความเป็นกันเอง สนุกสนาน ทุคนตั้งใจฟังเรื่องเล่าจากเพื่อน โดยเฉพาะเมื่อผู้รับผิดชอบโครงการ และหมอดินอาสาเล่าเรื่อง และสรุปผลการแลกเปลี่ยน ได้ดังนี้ 1) สูตรการทำหมักชีวภาพ ได้ทำน้ำหมักสูตรพ่อ สูตรแม่ และสตรลูก เพื่อช่วยให้ผลผลิตมังคุดดี บอกเทคนิคและขั้นตอนการใช้คือ สูตรพ่อ 1 ต่อ 10 สูตรแม่ 10 ต่อ 1 สูตรลูก ต้องนำสูตรพ่อและสูตรแม่มาผสมกัน จึงจะเป็นประโยชน์มาก 2) ขณะนี้ได้มีการพัฒนาอาชีพการเลี้ยงผึ่งในสวนมังคุด เป็นสิ่งที่บอกได้ว่าในสวนมังคุดไหนที่มีผึ้งอยู่ แสดงว่าเป็นสวนที่ไม่ใช้สารเคมี ถ้าใช้สารเคมีจะไม่มีผึ้ง เป็นการประเมินผลการใช้ปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ น้ำยาไล่แมลงจากสมุนไพร ว่าชุมชนได้ทำและใช้จริง ถ้าไม่ทำก็ไม่สามารถเลี้ยงผึ้งได้ ตอนนี้มีการเลี้ยงได้ไม่มาก ทุกคนในที่ประชุมเสนอแนะให้มีการพัฒนาต่อจากการจัดการขยะเป็นปุ๋ยชีวภาพ และพัฒนาการเลี้ยงผึ้งเพิ่มเพพื่อให้พื้นที่ได้ปลอดสารเคมีในวงกว้างมากขึ้น 3) ได้ร่วมกันวางแผนกิจกรรมที่เหลือว่าได้ทำไปแล้วเกิดผลดีแล้ว กำหนดทำต่ออีก และทำต่อเนื่องเป็นกิจกรรมประจำของชุมชนเอง ได้แก่ การทำกลุ่มปุ๋ย ตามละแวกบ้าน พื่อขยายผลการลดการใช้สารเคมีให้มากยิ่งขึ้น มีหมอดินอาสาช่วยเป็นพี่เลี้ยงในการทำกิจกรรม

กิจกรรมหลัก : ทำน้ำหมักไล่แมลงi

2,400.00 30 ผลผลิต

ได้จัดทำน้ำหมักไล่แมลงตามสูตรดั้งเดิม (สูตรพ่อ สูตรแม่) โดยสมาชิกในกลุ่มร่วมกันทำน้ำหมักไล่แมลง สมาชิกแต่ละคนได้นำวัสดุที่ใช้ประกอบในการผลิตน้ำหมักไล่แมลง โดยได้ใช้วัดสดุในท้องถิ่น เช่น หัวกรอย ว่านหางเหลน ดีปลี สะเดา เมื่อสมาชิกนำวัสดุมาพร้อมแล้วสมาชิกก็ได้ร่วมกันช่วยทำน้ำหมักไล่แมลงโดยมีผู้มีความรู้ในพื้นที่ที่มีความรู้มาช่วยในการแนะนำ โดยสมาชิกมีความพร้อมเพรียงในการฝานวัดสดุ และผสมกากน้ำตาล และ EM


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

กลุ่มคนได้เรียนรู้การทำน้ำหมักไล่แมลง เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยลดสารเคมีในการทำการเกษตร ลดการใช้ยาฆ่าแมลง ลดมลพิษจากสิ่งแวดล้อม และเกิดผลดีต่อสุขภาพคนในหมู่บ้าน

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

สมาชิกในกลุ่มจำนวน 30 คน

2,400.00 2,400.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้จัดทำน้ำหมักไล่แมลงตามสูตรดั้งเดิม (สูตรพ่อ สูตรแม่) โดยสมาชิกในกลุ่มร่วมกันทำน้ำหมักไล่แมลง สมาชิกแต่ละคนได้นำวัสดุที่ใช้ประกอบในการผลิตน้ำหมักไล่แมลง โดยได้ใช้วัดสดุในท้องถิ่น เช่น หัวกรอย ว่านหางเหลน ดีปลี สะเดา เมื่อสมาชิกนำวัสดุมาพร้อมแล้วสมาชิกก็ได้ร่วมกันช่วยทำน้ำหมักไล่แมลงโดยมีผู้มีความรู้ในพื้นที่ที่มีความรู้มาช่วยในการแนะนำ โดยสมาชิกมีความพร้อมเพรียงในการฝานวัดสดุ และผสมกากน้ำตาล และ EM

กิจกรรมหลัก : ติดตามผลการใช้น้ำหมักไล่แมลงi

3,000.00 5 ผลผลิต

สมาชิก 30 คน ช่วยกันติดตามการใช้น้ำหมักไล่แมลง


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

สมาชิกได้เรียนรู้ผลการใช้น้ำหมักไล่แมลง สามารถนำไปบอกต่อเพื่อนคนอื่นได้ อีกทั้งในระหว่างการติดตาม ได้แลกเปลี่ยนเรื่องอื่น ที่เกิดประโยชน์ต่อการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ และได้เกิดกลไกการประเมินผลกันเองในชุมชน

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 4 ครั้ง

สมาชิกที่ได้รับการแจกน้ำหมักใล่แมลง

750.00 750.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สมาชิกมีความพอใจในการใช้น้ำหมักไล่แมลงมากแต่มีข้อเสียตรงกลิ่นรุนแรงมาก ซึ่งเป็นสูตรพ่อ สูตรแม่ไม่เหมือนกับสูตรทั่วไป

สมาชิกที่ได้รับการแจกน้ำหมักไล่แมลง

750.00 750.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการใช้น้ำหมักไล่แมลงจะเห็นได้ว่า มดและแมลงบางชนิดหายไป แต่ถ้าหากดูแล้วมีแมลงในปริมาณที่มากขึ้น และมีการกัดกินใบจากแมลงบ้างแต่ไม่มาก ส่วนผลจะต้องใช้วิธีการห่อเพิ่มด้วย แต่สิ่งที่ได้คือความมั่นใจในการรัปประทาน ทำให้สมาชิกรู้สึกสบายใจพร้อมทั้งสุขภาพร่างกายของสมาชิกก็มีสุขภาพดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เพราะพืชผักต่างๆ นั้น ส่วนใหญ่สมาชิกจะปลูกกินกันในครัวเรือนเท่านั้น สมาชิกได้ให้ความเห็นว่าการใช้น้ำยาไล่แมลง ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีแมลง แต่ทำให้ลดการกัดกินของแมลงเท่านั้น

สมาชิกที่ได้รับแจกน้ำหมักไล่แมลงจำนวน 30 คน

750.00 750.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการสอบถามสมาชิกมีความพอใจในน้ำยาใล่แมลงมากและได้ข้อเสนอแนะในการใช้น้ำหมักใล่แมลงด้วย ลุงลายได้เสนอแนะว่าในน้ำหมักไล่แมลงใส่เมล็ดน้อยหน่าสดโขลกละเอียดแช่น้ำนาน 2 วัน ใช้น้ำมาผสม สามารถฉีดพ่นใล่เพลี้ยและหนอนได้ ส่วน ข่าแก่โขลกละเอียดแช่น้ำนาน 1 วัน ผสมน้ำหมักใล่แมลงฉีดพ่นถัว ช่วยลดเรื่องโรงฝักและเมล็ดเน่า , นางสายันต์ ได้พอใจในน้ำหมักไล่แมลงมากและได้ชี้แจงว่าในความคิดส่วนตัวแล้วน้ำหมักไล่แมลงที่ได้รับแจกมานี้ไม่ได้มีกลิ่นเหม็นมากเพียงแต่กลิ่นแรงหน่อยเท่านั้นเอง แต่พอใช้แล้วได้ผลดีแต่ใช้ไม่ได้กับจำพวกแมลงปีกแข็ง

แกนนำสมาชิกจำนวน 30 คน

750.00 750.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สมาชิกพอใจและมีหลายครัวเรือนที่ได้ดัดแปลงส่วนผสมเพื่อให้สามารถใช้ได้หลากหลายยิ่งขึ้น ลุงเวทได้เล่าให้ฟังว่าน้ำหมักไล่แมลงที่ได้รับมาทดลองใช้นี้ดีมากเพราะว่าเมื่อฉีดพ่นแล้วนอกจากจะสามารถไล่แมลงได้แล้วนั้น ยังเปรียบเสมือนปุ๋ยที่สามารถทำให้ใบของพืชมีสีเขียวสด และดินก็มีความชุ่มชื้นดีด้วย ซึ่ง ลุงเวทให้ข้อสังเกตุว่าที่จริงอาจจะมีผลมาจาก กากน้ำตาน หรือ Em ก็เป็นได้

กิจกรรมหลัก : ฝึกปฏิบัติแก่สมาชิก เรื่องการปลูกพืชผักแบบเกษตรอินทรีย์และมะนาวปล่องi

4,600.00 30 ผลผลิต

สมาชิกได้รับความรู้จากวิทยากร ในการปลูกผักโดยใช้สารอินทรีย์ หลังจากได้ปุ๋ยแล้วนำไปปลูกผัก คะน้า ผักบุ้ง แตงกวา ตะไคร้ พริกขี้หนู้ พริกไทย รวม ๓๐ บ้าน ผลตอบรับดีมาก สามามารถใช้แทยปุ๋ยเคมีได้ดี ได้ไปทุกคน เมื่อทุกคนเห็นว่าดี ครั้งต่อไปให้บริหารจัดการแบบกองทุน คือ มาร่วมลงทุนทำ และแบ่งกันไปใช้ใช้ และมาแลกเปลี่ยนกันอย่างสม่ำเสมอ


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

เกษตรกรได้ทดลองใช้ปุ๋ยหมัก เพื่อลดการใช้สารเคมีในการเกษตร เช่นการนำไปใส่ผักสวนครัว ช่วยให้เกิดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาอาชีพ และลดการใช้ปุ๋ยเคมีอีกทางหนึ่ง และยังเกิดการพัฒนาต่อเนื่องโดยการระดมทุนของชุมชนมาแลกเปลี่ยนกันในครั้งต่อไป

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

กลุ่มสมาชิกใน หมู่ 1 เทศบาลตำบลโพธิ์เสด็จ

4,200.00 4,200.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สมาชิกได้รับความรู้จากวิทยากร ในการปลูกผักโดยใช้สารอินทรีย์ หลังจากได้ปุ๋ยแล้วนำไปปลูกผัก คะน้า ผักบุ้ง แตงกวา ตะไคร้ พริกขี้หนู้ พริกไทย รวม ๓๐ บ้าน ผลตอบรับดีมาก สามามารถใช้แทยปุ๋ยเคมีได้ดี ได้ไปทุกคน เมื่อทุกคนเห็นว่าดี ครั้งต่อไปให้บริหารจัดการแบบกองทุน คือ มาร่วมลงทุนทำ และแบ่งกันไปใช้ใช้ และมาแลกเปลี่ยนกันอย่างสม่ำเสมอ

กิจกรรมหลัก : ประชุมและติดตามผลการปลูกผักเกษตรอินทรีย์และมะนาวในปล่องซิเมนต์i

2,400.00 30 ผลผลิต

สอบถามติดตามเรื่องการปลูกมะนาวในปล่องซีเมนต์ จากสมาชิกที่ได้รับกิ่งพันธุ์มะนาว ว่าได้มีปัญหาหรืออุปสรรคอย่างไรบ้างมีการตายเกิดขึ้งบ้างหรือไม่ และหากตายตายด้วยสาเหตุอะไร และได้ทำการปลูกหมดเรียบร้อยหรือไม่ ปรากฎว่ามีสมาชิกบางคนยังไม่ได้ปลูกจึงกำหนดให้สมาชิกกลับไปปลูกภายในวันนั้น โดยการกำหนดให้แกนนำสมาชิกท่านอื่นได้ตามไปกำกับดูแลการปลูกหลังจากเลิกประชุม และแจ้งว่าถ้าหากยังไม่ทำการปลูกก็จะทำการยึงกิ่งพันธุ์มะนาวมาให้สมาชิกท่านอื่นปลูกต่อไป หลังจากปลูกแล้วไม่มีกิ่งที่ตายเลย ส่วนที่ยังไม่ได้ปลูกได้ให้ คุณ จำเรียง รอดรัตน์ เป็นผู้ติดตามไปดูแลหลังเลิกประชุม


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

เกิดกลไกการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการเกษตร ลดการใช้สารเคมี ส่งผลดีต่อสุขภาพ และเกิดผู้นำในการขับเคลื่อนที่ชัดเจนในหมู่บ้าน เช่น นายจำเรียง

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

แกนนำและสมาชิกที่ได้รับกิ่งพันธุ์มะนาว

2,400.00 2,400.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สอบถามติดตามเรื่องการปลูกมะนาวในปล่องซีเมนต์ จากสมาชิกที่ได้รับกิ่งพันธุ์มะนาว ว่าได้มีปัญหาหรืออุปสรรคอย่างไรบ้างมีการตายเกิดขึ้งบ้างหรือไม่ และหากตายตายด้วยสาเหตุอะไร และได้ทำการปลูกหมดเรียบร้อยหรือไม่ ปรากฎว่ามีสมาชิกบางคนยังไม่ได้ปลูกจึงกำหนดให้สมาชิกกลับไปปลูกภายในวันนั้น โดยการกำหนดให้แกนนำสมาชิกท่านอื่นได้ตามไปกำกับดูแลการปลูกหลังจากเลิกประชุม และแจ้งว่าถ้าหากยังไม่ทำการปลูกก็จะทำการยึงกิ่งพันธุ์มะนาวมาให้สมาชิกท่านอื่นปลูกต่อไป หลังจากปลูกแล้วไม่มีกิ่งที่ตายเลย ส่วนที่ยังไม่ได้ปลูกได้ให้ คุณ จำเรียง รอดรัตน์ เป็นผู้ติดตามไปดูแลหลังเลิกประชุม

กิจกรรมหลัก : ติดตามประเมินครัวตัวอย่างการปลูกผักเกษตรอินทรีย์และมะนาวปล่องซิเมนต์i

3,000.00 5 ผลผลิต

การปลูกมะนาวไปปลูกในปล่องซีเมนต์ สมาชิกที่ได้รับกิ่งพันธุ์ไปปลูก ได้ให้ความเห็นว่าการปลูกมะนาวในปล่องซีเมนต์มีผลดีคือทำให้สามารถดูแลได้ง่ายขึ้น เช่น การรดน้ำ ใส่ปุ๋ย และการดูแลต่าง ๆ เนื่องจากว่าเมื่อมะนาวได้ปลูกในพื้นที่จำกัดในปล่องซีเมนต์ เมื่อรดน้ำก็ใช้น้ำในปริมาณไม่เยอะมาก การใส่ปุ๋ยก็ใช้ประมาณน้อยลงและต้นมะนาวได้ใช้ประโยชน์จากปุ๋ยอย่างเต็มที่ การพรวนดินหรือขจัดวัชพืชก็สมามารถทำได้ง่ายและรวดเร็วขึ้นด้วย จึงทำให้มีสมาชิกบางส่วนมีความคิดที่จำนำพืชผักครัวเรือนอื่นๆ มาปลูกในปล่องซีเมนต์ด้วยเพื่อให้สามารภเพิ่มผลผลิตได้ด้วย


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

การปลูกมะนาวในปล่องซีเมนต์ ก่อให้เกิดผลดี คือ ดูแลรักษาง่าย มะนาวสามารถนำปุ๋ยไปใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ โดยไม่เสียประโยชน์ไปกับวัชพืชข้างเคียง กรณีเปรียบเทียบกับการปลูกในแปลง ซึ่งเกษตรกรหลายราย ได้แนวความคิดใหม่ และเปรียบเทียบกับการเกษตรของพืชบางชนิดที่ครัวเรือนทำอยู่ คือน่าจะทดลองปลูกพืชในปล่องซีเมนต์เพื่อลดต้นทุนและเพื่อเพิ่มผลผลิตขึ้นด้วย

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 4 ครั้ง

สมาชิกที่ได้รับแจกกิ่งพันธุ์มะนาว

750.00 750.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สมาชิกได้คิดต่อยอดในการปลูกพืชผักสวนครัวในปล่องซีเมนต์เพิ่มด้วย สมาชิกที่ได้รับกิ่งพันธุ์มะนาวไปปลูกในปล่องซีเมนต์ ได้ให้ความเห็นว่าการปลูกมะนาวในปล่องซีเมนต์มีผลดีคือทำให้สามารถดูแลได้ง่ายขึ้น เช่น การรดน้ำ ใส่ปุ๋ย และการดูแลต่าง ๆ เนื่องจากว่าเมื่อมะนาวได้ปลูกในพื้นที่จำกัดในปล่องซีเมนต์ เมื่อรดน้ำก็ใช้น้ำในปริมาณไม่เยอะมาก การใส่ปุ๋ยก็ใช้ประมาณน้อยลงและต้นมะนาวได้ใช้ประโยชน์จากปุ๋ยอย่างเต็มที่ การพรวนดินหรือขจัดวัชพืชก็สมามารถทำได้ง่ายและรวดเร็วขึ้นด้วย จึงทำให้มีสมาชิกบางส่วนมีความคิดที่จำนำพืชผักครัวเรือนอื่นๆ มาปลูกในปล่องซีเมนต์ด้วยเพื่อให้สามารภเพิ่มผลผลิตได้ด้วย เช่น พริก มะกรูด ขมิ้น ฯลฯ

สมาชิที่ได้รับการแจกกิ่งพันธุ์มะนาว

750.00 750.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

2 เดือนที่ผ่านมา ไม่มีกิ่งพันธุ์มะนาวที่แจกให้กับสมาชิกที่ไปปลูกในปล่องซีเมนต์ ตายเลยแม้แต่ต้นเดียว

ครอบครัวสมาชิกที่ได้รับการแจกกิ่งพันธุ์มะนาว

750.00 750.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีการปลูกพืชผักเกษตรอินทรีย์ในปล่องซีเมนต์เพิ่มมาขึ้นในหลายครัวเรือน

สมาชิกที่ได้รับแจกกิ่งพันธุ์มะนาว

750.00 750.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สมาชิกพอใจในการปลูกมะนาวในปล่องซีเมนต์มากและทำให้ได้มีแนวความคิดริเริ่มในการปลูกพืชต่างๆ เพื่อเป็นประโยชน์ในการใช้บริโภคในครัวเรือนด้วย 

กิจกรรมหลัก : ประชุมสภาผู้นำเพื่อรายงานผลงานและพัฒนาเป็นฐานเรียนรู้i

12,500.00 100 ผลผลิต

การมาประชุมครั้งนี้มี ผ.อ. รพ.สต. ท่านนายกเทศมนตรีตำบลโพธิเสด็จ พัฒนาชุมชนสมาชิก อสม. และสมาชิกในกลุ่มที่ร่วมทำโครงการ มาร่วมประชุมด้วย ท่านนายกเทศมนตรีตำบลโพธิเสด็จได้กล่าวว่า เป็นโครงการที่ดีมาก มีการนำวัดสถุเหลือใช้ที่เป็นขยะในชุมชนมาแประรูปให้มีประโยชน์แก่ชุมชนได้ และท่านนายกฯ ได้สนับสนุนให้มีโครงการต่อยอดโดยได้มอบหมายให้ฝ่ายพัฒนาชุมชนของเทศบาลตำบลโพธิ์เสด็จเป็นผู้รับผิดชอบในการช่วยเหลือและสนับสนุนการต่อยอดโครงการต่อไป และยังได้สนับสนุนให้มีการทำโครงการในทุกหมู่บ้านด้วย คุณหมอ เฉลิมชัย กล่าวข้อดีของปุ๋ยหมัก และน้ำหมักชีวภาพ และได้กล่าวถึงขอเสียจากการใช้สารเคมี ว่าการใช้ปุ๋ยหมัก และน้ำหมักชีวภาพ นั้นไม่ได้ทำให้ได้ผลผลิตที่ดีขึ้นมากไปกว่าการใช้สารเคมีต่างๆ และผลที่ได้นั้นคือผลผลิตที่จะได้เทียบเท่ากับการใช้สารเคมี และจะช่วยในเรื่องสุขภาพของผู้ใช้ และผู้บริโภค รวมถึง สภาวะ ดิน และ น้ำ จะมีสภาพที่ดีขึ้นเรื่อยๆ หากเราปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง รวมถึงข้อดีของผักปลอดสารพิษ ว่ามีประโยชน์ต่อร่างกาย ชาวบ้านเข้าใน และสนใจเรื่องปุ๋ยหมัก และน้ำหมักมากขึ้น และสนในจะนำไปทำเพื่อใช้ขึ้นเองมากขึ้น


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ในการประชุมเพื่อหาข้อสรุปของโครงการ ทางแกนนำได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และปราชญ์ชุมชนหลาย ๆ ท่านมาให้ความรู้และให้ข้อคิดในการทำการเกษตรอินทรี์เป็นอย่างมาก ทำหใ้การประชุมมีการกลั่นกรองแนวความคิดทมี่ตกผลึก เพื่อช่วยให้ชุมชนสามารถอยู่ได้ เดินได้ และสามารถขับเคลื่อนได้อย่างมั่นคง

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

อสม. เจ้าหน้าที่ รพ.สต. ผู้นำท้องถิ่น และสมาชิกร่วมโครงการ จำนวน 100 คน

12,500.00 12,500.00 100 100 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

แกนนำเชิญคุณหมอ เฉลิมชัย กล่าวข้อดีของปุ๋ยหมัก และน้ำหมักชีวภาพ และได้กล่าวถึงขอเสียจากการใช้สารเคมี ว่าการใช้ปุ๋ยหมัก และน้ำหมักชีวภาพ นั้นไม่ได้ทำให้ได้ผลผลิตที่ดีขึ้นมากไปกว่าการใช้สารเคมีต่างๆ และผลที่ได้นั้นคือผลผลิตที่จะได้เทียบเท่ากับการใช้สารเคมี และจะช่วยในเรื่องสุขภาพของผู้ใช้ และผู้บริโภค รวมถึง สภาวะ ดิน และ น้ำ จะมีสภาพที่ดีขึ้นเรื่อยๆ หากเราปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง รวมถึงข้อดีของผักปลอดสารพิษ ว่ามีประโยชน์ต่อร่างกาย ชาวบ้านเข้าใน และสนใจเรื่องปุ๋ยหมัก และน้ำหมักมากขึ้น และสนในจะนำไปทำเพื่อใช้ขึ้นเองมากขึ้น การมาประชุมครั้งนี้มี ผ.อ. รพ.สต. ท่านนายกเทศมนตรีตำบลโพธิเสด็จ พัฒนาชุมชนสมาชิก อสม. และสมาชิกในกลุ่มที่ร่วมทำโครงการ มาร่วมประชุมด้วย ท่านนายกเทศมนตรีตำบลโพธิเสด็จได้กล่าวว่า เป็นโครงการที่ดีมาก มีการนำวัดสถุเหลือใช้ที่เป็นขยะในชุมชนมาแประรูปให้มีประโยชน์แก่ชุมชนได้ และท่านนายกฯ ได้สนับสนุนให้มีโครงการต่อยอดโดยได้มอบหมายให้ฝ่ายพัฒนาชุมชนของเทศบาลตำบลโพธิ์เสด็จเป็นผู้รับผิดชอบในการช่วยเหลือและสนับสนุนการต่อยอดโครงการต่อไป และยังได้สนับสนุนให้มีการทำโครงการในทุกหมู่บ้านด้วย บรรยากาศการประชุม นายสมโภช ได้เสนอว่าหลังจากได้ใช้ปุ๋ยและน้ำหมักชีวภาพนั้นได้สังเกตุเห็นว่าในสวนผลไม้ในหมู่บ้านเริ่มมีแมลงเช่น ผึ้ง ตัวต่อ มีมาจำนวนมาก จึงได้เสนอว่าในชุมชนของเราน่าจะมีการศึกษาเรื่องการเลี้ยงผึ้ง สมาชิกมีความเห็นด้วยและจะได้มีการศึกษาหาข้อมูลต่อไป ส่วนนายแวว ได้่แสดงความคิดเห็นเรื่องความแตกต่างการปลูกมะนาวในปล่องซีเมนต์ กับปลูกในพื้นดิน ว่ามะนาวในปล่องซีเมนต์ จะมีอายุสั้น ลำต้นเล็ก และโซมเร็ว เพราะขาดแร่ธาตุ ทางด้านนาง ศรีสุดา ได้เสริมว่าข้อดีของการปลูกมะนาวในปล่องซีเมนต์คือ ต้นเล็กสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ง่าย ส่วนการดูแลรักษาต้องหมั่นใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพ และน้ำหมักชีภาพ จะทำให้ลำต้นแข็งแรง เพราะปุ๋ยและน้ำหมักชีวภาพนั้นสามารถใช้ได้บ่อย ไม่เป็นอันตรายต่อพืช และผู้ใช้ทำให้ดินมีสภาพดี และง่ายต่อการกำจัดวัชพืช เพราะพื้นที่ที่วัชพืชขึ้นมีน้อย สามารถถอนได้ง่าย ส่วนการปลูกมะนาวในดินนั้น ลำต้นใหญ่แข็งแรง และจึงทำให้มีผลมากกว่าการปลูกในปล่องซีเมนต์ แต่ลำบากสำหรับการกำจัดวัชพืชมาก ส่วนนางสายันต์ น้ำหมักชีวภาพเมื่อนำไปรดลงดิน ทำให้ผักมีสีเขียวสดหวานกรอบ ทำให้ดินร่วนดินซุย และสามารถรับประทานได้สนิดใจ ไม่ต้องกังวลเรื่องสารเคมี และช่วงหลังทำให้รู้สึกว่าหายใจได้โล่งขึ้นเมื่อไม่ได้ใช้สารเคมีในการปลูกพืชผัก และได้มอบหมายให้กลุ่มสมาชิกไปคิดเสริมเรื่องที่จะทำการต่อยอดโครงการโดยจะมีการเข้าไปปรึกษากับเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนต่อไป

กิจกรรมหลัก : จัดเวทีถอดบทเรียนi

6,000.00 50 ผลผลิต

น้ำหมักน้ำพ่อน้ำแม่ บางคนนำไปใช้ไม่ถูกต้อง จึงทำให้ได้ผลไม่เต็มที่ เช่น น้ำแม่ใช้เร่งการเจริญเติบโต น้ำพ่อเร่งผล แต่นำไปใช้สลับกันจึงมาหาว่าไม่ได้ผล ทั้งที่ได้มีเอกสารให้ไปแล้วแต่ไม่ได้ดู นางสายัญ เสริมว่าคนที่มาทำน้ำหมักแล้วกัยแจกไปนั้น บางครั้งไม่ได้เป็นคนนำไปใช้เอง พอคนที่บ้านนำไปใช้จึงไม่ได้ผลเท่าที่ควร นายจำเรียง เสริมต่อไปว่ากิ่งพันธ์มะนาวที่สมาชิกได้รับแจกไปนั้นเราน่าจะต่อยอดโดยการขยายกิ่งพันธ์มะนาวต่อไปเพื่อให้คนในชุมชนไม่มีกิ่งพันธ์มะนาวกันทุกครัวเรือน เพื่อให้ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน เพื่อให้ได้มีพืชผักสวนครัวใว้เก็บกินในครัวเรือน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

การถอดบทเรียนในการทำกิจกรรมต่าง ๆของชุมชน สามารถระดมความคิดจากทั้งของสมาชิกเอง ของปราชญ์ชุมชน มาเพื่อเป็นความรู้ในการนำไปพัฒนาได้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในเรื่องเทคนิคและวิธีการเพาะปลูก การใส่ปุ๋ย และการดูแลรักษา ที่คนรุ่นใหม่มักจะละเลย และไม่ใส่ใจมากนัก ซึ่งผู้รู้ได้ย้ำให้ทราบถึงความสำคัญของผลผลิตแต่ละตัวแล้ว ขอให้ใส่ใจ เพื่อผลที่นำไปใช้จะเกิดผลสูงสุด

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

แกนนำและสมาชิก จำนวน 50 คน

6,000.00 6,000.00 50 50 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

นายสาคร เล่าว่าน้ำหมักน้ำพ่อน้ำแม่ บางคนนำไปใช้ไม่ถูกต้อง จึงทำให้ได้ผลไม่เต็มที่ เช่น น้ำแม่ใช้เร่งการเจริญเติบโต น้ำพ่อเร่งผล แต่นำไปใช้สลับกันจึงมาหาว่าไม่ได้ผล ทั้งที่ได้มีเอกสารให้ไปแล้วแต่ไม่ได้ดู นางสายัญ เสริมว่าคนที่มาทำน้ำหมักแล้วกัยแจกไปนั้น บางครั้งไม่ได้เป็นคนนำไปใช้เอง พอคนที่บ้านนำไปใช้จึงไม่ได้ผลเท่าที่ควร นายจำเรียง เสริมต่อไปว่ากิ่งพันธ์มะนาวที่สมาชิกได้รับแจกไปนั้นเราน่าจะต่อยอดโดยการขยายกิ่งพันธ์มะนาวต่อไปเพื่อให้คนในชุมชนไม่มีกิ่งพันธ์มะนาวกันทุกครัวเรือน เพื่อให้ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน เพื่อให้ได้มีพืชผักสวนครัวใว้เก็บกินในครัวเรือน เพราะมะนาวมีอายุยืนหากดูแลดีสามารถเก็บได้ตลอดและบางช่วงมะนาวแพงมากเมื่อถึงน่าร้อน แต่การปลูกในปล่องซีเมนต์ ช่วยลดปัญหาตรงนี้ได้ และเนื่องจากวันนี้มีเวลาไม่มากนักจึงคิดว่าจะมีการนัดประชุมกันใหม่อีกครั้งเพื่อให้ได้แนวทางการต่อยอดกิจกรรมโครงการที่ชัดเจน สมาชิกมีความเห็นให้ต่อยอดกิจกรรมโครงการโดยจะมีการนัดประชุมอีกครั้ง

กิจกรรมหลัก : จัดทำเอกสารองค์ความรู้เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ การทำปุ๋ยชีวภาพi

7,400.00 20 ผลผลิต

กรรมการได้ช่วยกันจัดทำเอกสาร และนำไปให้เทศบาลตำบลโพธิ์เสด็จจัดพิมพืเพื่อเผยแพร่ให้คนในหมู่บ้าน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

เกิดเครือข่ายการทำงานด้านวิชาการระหว่างชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ช่วยเสริมแรงให้เกิดการพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่ได้ดียยิ่งขึ้น

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

แกนนำสมาชิกจำนวน 20 คน

7,400.00 7,400.00 20 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้จัดเตรียมข้อมูลเรียบร้อยเพื่อเตรียมจัดจ้างต่อไป

กิจกรรมหลัก : รวบรวมเอกสารจัดทำเอกสารฉบับสมบูรณ์ ปิดงวดi

2,400.00 20 ผลผลิต

ได้ร่วมกันแก้ปัญหาเรื่องการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการเพื่อจัดทำรายงาน เนื่องจากมีผู้มาช่วยจัดทำรายงานน้อย พี่เลี้ยงได้ชี้แจงให้ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้ข้อมูลไปพร้อมๆ กัน และลงมติให้มีผู้จัดทำรายงาน และการบริหารโครงการเพิ่มเติมมากขึ้น โดยคณะกรรมการจะนำมติไปประชุมคณะทำงานหมู่บ้าน ในการประชุมหมู่บ้านอีกครั้ง


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ได้มีการกำหนดตัวบุคคลและทีมงานในการจัดทำรายงานปิดงวด เพื่อความชัดเจน และให้มีผลเพื่อจะได้เป็นรายงานที่สมบูรณื เพื่อรอนำส่ง สสส. โดยการรวบรวมและสรุปข้อมูลจากการถอดบทเรียนของการทำกิจกรรมที่ผ่าน ๆ มาตลอดทั้งปี

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 2 ครั้ง

คณะกรรมการ บ้านต้นแบบ หมอดินอาสา ปราชญ์ชาวบ้าน พี่เลี้ยงโครงการ สมาชิกกลุ่ม

0.00 0.00 20 28 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ผลที่เกิดขึ้นจากโครงการคือ คนต้นแบบ และปราชญ์ในชุมชน หมอดินอาสา ได้ร่วมกันทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง จนเกิดกลุ่มจัดการเรื่องปุ๋ยชีวภาพได้นำขยะจากถุงเห็ดมาแปรรูป ลดการใช้ปุ๋ยเคมี ลดการใช้ยาฆ่าแมลง เกษตรกรได้ร่วมทำและใช้ปุ๋ยชีวภาพ น้ำยาสมุนไพรไล่แมลง น้ำหมักชีวภาพเร่งดอกและเร่งใบ (น้ำพ่อ น้ำแม่) จนเกิดผลให้ลดการใช้สารเคมีในวงกว้าง จนเกิดการพัฒนาเป็นการเลี้ยงผึ้งในสวนมังคุดได้ ถ้าสวนไหนที่ไม่ใช่สารเคมีก้สามารถเลี้ยงผึ้งได้ เพราะผึ้งจะอยู่ในสวนที่ไม่ใช้สารเคมี จึงเป็นสิ่งที่บอกว่าได้ลดการใช้สารเคมีกันแล้ว   2. ได้ร่วมกันแก้ปัญหาเรื่องการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการเพื่อจัดทำรายงาน เนื่องจากมีผู้มาช่วยจัดทำรายงานน้อย พี่เลี้ยงได้ชี้แจงให้ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้ข้อมูลไปพร้อมๆ กัน และลงมติให้มีผู้จัดทำรายงาน และการบริหารโครงการเพิ่มเติมมากขึ้น โดยคณะกรรมการจะนำมติไปประชุมคณะทำงานหมู่บ้าน ในการประชุมหมู่บ้านอีกครั้ง และติดต่อพี่เลี้ยงเพื่อมาสรุปโครงการอีกครั้ง

แกนนำสมาชิกจำนวน 20 คน

2,400.00 2,400.00 20 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้จัดทำเอกสารปิดโครงการ และนายจำเรียงได้พูดถึงว่าตอนนี้จากการทำกิจกรรมและได้ทดลองทำมาตลอดทั้งปีนั้นจะเห็นได้ว่าสภาพอากาศตอนนี้มีความสดชื่นมาก ใบไม้เขียวชะอุ่ม ดินมีความชื้นดี ถึงแม้ว่าบางช่วงจะมีภาวะแห้แล้งก็ตาม  และจะสังเกตุเห็นว่าตอนนี้มีแมลงในพื้นที่ รวมทังผึ้งเยอะมาก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสภาพแวดล้อมดีมาก 

กิจกรรมหลัก : อื่นๆ จาก สสสi

13,000.00 5 ผลผลิต

การประชุม เพื่อเตรียมความพร้อมและการศึกษาวิธีการดำเนินกิจกรรมของโครงการ ตามข้อกำหนดของ สสส. ในหลาย ๆ ครั้ง ทางแกนนำที่รับผิดชอบโครงการ ได้เดินทางไปรับรู้ข้อมูลทั้งที่ มอ. วลัยลักษณ์ โรงแรมต่าง ๆ ที่ทาง สจรส. จัดขึ้น แกนนำก็ได้นำมาปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ต่อโครงการเป็นอย่างมาก


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ทางผู้รับผิดชอบโครงการได้พยายามอย่างเต็มที่ ในการเรียนรู้กระบวนการทำงานที่เป็นแบบแผน ซึ่งตนเองไม่คุ้นเคย เนื่องจากผู้รับผิดขชอบโครงการ คุณลมัย มารับผิดชอบต่อจากผู้รับผิดชอบเดิมที่ลาออกไป จึงทำให้ขาดการปะติดปะต่อ ในข้อมูลและความเข้าใจในตัวโครงการมาตั้งแต่แรก แต่ได้พยายามอย่างเต็มความสามารถในการดำเนินโครงการต่อให้สำเร็จ

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 2 ครั้ง

เข้าประชุมกับ สสส

13,000.00 13,000.00 3 3 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประชุมกับ สสส

แกนนำที่รับผิดชอบโครงการ นัดหมายกันมาทำรายงานเพื่อปิดโครงการประจำปี ที่ ศูนย์ สช. นครศรีธรรมราช 

0.00 500.00 3 5 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

แกนนำสามรถจัดทำรายงาน เพื่อนำเสนอปิดโครงการประจำปีได้ 

2.3.1 นวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ

(นวัตกรรมคือ การจัดการความคิด กระบวนการ ผลผลิต และ/หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสม มาใช้งานให้เกิดประสิทธิผล และ/หรือประสิทธิภาพมากกว่าเดิมอย่างชัดเจน)

ชื่อนวัตกรรมคุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรมผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์
2.3.2 โครงการเด่น (Best Practice)

(โครงการเดิ่น คือ โครงการสร้างเสริมสุขภาพให้สัมฤทธิ์ผลที่เป็นรูปธรรมแล้วขยายผลอย่างยั่งยืน โดยแนวคิดกระบวนการ และผลงาน สามารถเป็นตัวอย่างที่จะนำไปขยายผลในชุมชน (Setting) อื่น ๆ ได้ การดำเนินงานมีส่วนร่วมของภาคีที่หลากหลาย มีการบริหารจัดการที่ดี โปร่งใสและตรวจสอบได้)

ชื่อ Best Practiceวิธีการทำให้เกิด Best Practiceผลของ Best Practice / การนำไปใช้ประโยชน์
2.3.3 เกิดแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการสร้างเสริมสุขภาพในประเด็นต่าง ๆ
ชื่อ-สกุลที่อยู่ติดต่อได้สะดวกคุณสมบัติแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลง
2.3.4 มีสภาพแวดล้อมและปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพ

เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพในชุมชนพื้นที่โครงการดังนี้

สถานที่/พื้นที่ ที่เปลี่ยนแปลงรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

ส่วนที่ 3 : ปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงาน

3.1 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเด็นปัญหา/อุปสรรคการแก้ไขของผู้รับทุนข้อเสนอแนะ/การแก้ไขปัญหาและการเสริมพลังของผู้ติดตาม
3.2 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเภทความเสี่ยง / ปัจจัยเสี่ยงระดับความเสี่ยง
(จากมากไปหาน้อย)
ข้อมูล ข้อสังเกตุ และข้อคิดเห็นของผู้ติดตาม
3210
1. ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน (Operational Risks)
1.1 โครงสร้างการดำเนินงาน

 

1.2 ศักยภาพและทักษะการดำเนินงาน

 

1.3 ผลลัพธ์และผลสำเร็จของการดำเนินงาน

 

2. ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risks)
2.1 ระบบและกลไกการบริหารจัดการ

 

2.2 การใช้จ่ายเงิน

 

2.3 หลักฐานการเงิน

 

ผลรวม 0 0 0 0
ผลรวมทั้งหมด 0 ระดับความเสี่ยง : ???
เกณฑ์วัดระดับความเสี่ยง ???
สรุปการแก้ไขความเสี่ยง แก้ไขแล้ว ยังไม่ได้แก้ไข

ส่วนที่ 4 : สรุปความเห็นของผู้ติดตาม

ส่วนที่ 4สรุปความเห็นของผู้ติดตาม
4.1 กรณีเบิกเงินงวด/ติดตามเยี่ยมชม มีแนวโน้มสำเร็จตามเป้าหมายโครงการและติดตามปกติ
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

 

มีแนวโน้มเสี่ยง ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจาก
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

 

มีความเสี่ยง ต้องยุติโครงการ เนื่องจาก
4.2 กรณีสรุปปิดโครงการ ดำเนินงานได้ตามแผนปฏิบัติการและสามารถปิดโครงการได้
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

โครงการสามารถดำเนินโครงการมาได้เป็นอย่างดี ตลอดทั้งปี ทั้งนี้ โดยความร่วมมือร่วมแรง ร่วมใจของแกนนำ สมาชิกกลุ่มเป้าหมาย เทศบาลที่ให้ความช่วยเหลือ และชาวบ้านที่สนใจเข้ามามีส่วนร่วมเพิ่มขึ้นตามลำดับ ทั้งคนในหมู่บ้านเอง และต่างหมู่บ้าน ต่างมาสังเกตการณ์ในการทำกิจกรรมแต่ละครั้ง และนำความรู้ที่ได้รับไปใช้กับครอบครัว การจัดการทางการเงิน อยู่ในเกณฑ์ที่ดี แม้จะเกิดความผิดพลาดจากความไม่รู้ และไม่เข้าใจอยู่บ้าง แต่เมื่อทางพี่เลี้ยงอธิบายให้ฟัง ก็สมารถนำไปแก้ไขได้ แกนนำมีความพร้อมและตั้งใจในการรับฟังคำแนะนำ ติชมจากพี่เลี้ยงเป็นอย่างดี เนื่องจากผู้รับผิดชอบโครงการ ไม่ได้มีพื้นฐานความรู้ทางการจัดการการเงินมาก่อน ซึ่งต่อมาได้พยายามในการเรียนรู้จากการบอกกล่าวของโครงการเพื่อนบ้าน และพี่เลี้ยง จนสามารถดำเนินโครงการได้แล้วเสร็จ

ไม่เป็นไปตามแผนปฏิบัติการ ให้ดำเนินการจัดระบบการเงิน ระบบรายงานให้ถูกต้องก่อนปิดโครงการ
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

 

ส่วนที่ 5 : สรุปภาพรวมของการติดตามประจำงวด (ข้อสังเกต/สิ่งดีๆ ที่ค้นพบ/ข้อพึงระวัง/บทเรียนที่ได้)

  1. แกนนำมีความมุ่งมั่นในการทำงานเป็นอย่างดี มีการพัฒนาศักยภาพในการทำงานมาโดยตลอด จากชาวบ้านที่ไม่มีความรู้เชิงวิชาการ และการทำงานที่เป็นแบบแผนมาก่อน แต่ก็สามารถดำเนินโครงการได้เป็นอย่างดี
  2. การช่วยเหลือและร่วมแรงร่วมใจกันของคนในชุมชน ถือว่า สามารถเป็นแบบอย่างของชุมชนอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี
  3. มีแรงขับเคลื่อน และสนับสนุนจากทาง อปท. ในพื้นที่เป็นอย่างดี สนับสนุนในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น บุคลากร เครื่องมือ ห้องประชุม สถานที่ ฯลฯ

สร้างรายงานโดย Nongluk_R