แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ ดับบ้าน ดับคน กับวิถีชุมชนคนไทรงาม ”

บ้านไทรงาม หมู่ที่ 11 ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

หัวหน้าโครงการ
นางยุภา ธนนิมิตร โทร. 080-5406827

ชื่อโครงการ ดับบ้าน ดับคน กับวิถีชุมชนคนไทรงาม

ที่อยู่ บ้านไทรงาม หมู่ที่ 11 ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 57-01418 เลขที่ข้อตกลง 57-00-1170

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2014 ถึง 31 กรกฎาคม 2015


กิตติกรรมประกาศ

"ดับบ้าน ดับคน กับวิถีชุมชนคนไทรงาม จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านไทรงาม หมู่ที่ 11 ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ดับบ้าน ดับคน กับวิถีชุมชนคนไทรงาม



บทคัดย่อ

โครงการ " ดับบ้าน ดับคน กับวิถีชุมชนคนไทรงาม " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านไทรงาม หมู่ที่ 11 ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง รหัสโครงการ 57-01418 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 กรกฎาคม 2014 - 31 กรกฎาคม 2015 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 210,320.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 183 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1.เพื่ิอให้คนในชุมชนมีความตระหนักและเห็นความสำคัญวิถีชุมชนต่อการมีสุขภาวะที่ดี
  2. เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีกิจกรรมที่สร้างสรรค์ ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และสามารถ สืบทอดวิถีวัฒนธรรมของชุมชนได้
  3. เพื่อเสริมสร้างความเข็มแข็งในการจัดการบริหารชุมชนโดยมีขั้นตอน
  4. เพื่อการบริหารจัดการและการติดตามประเมินผลโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ปฐมนิเทศน์โครงการ

    วันที่ 15 มิถุนายน 2014 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ทำความเข้าใจในการดำเนินงานโครงการ
    2. อบรมระบบการจัดทำรายงานผ่านเว๊บไซต์
    3. ทำความเข้าใจการจัดทำเอกสารการเงิน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

      ผู้รับผิดโครงการและคณะทำงานมีความเข้าใจการดำเนินงานโครงการ การจัดทำเอกสารการเงินและระบบรายงานผ่านเว๊ปไซค์ได้

     

    2 2

    2. ประชุมคณะทำงานครั้ง 1

    วันที่ 6 กรกฎาคม 2014 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมปรึกษาหารือ และวางแผนงานดำเนินโครงการแต่ละกิจกรรมให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เกิดวงคุย ปรึกษาหารือของคณะกรรมการบริหารชุมชนอย่างสม่ำเสมอ

     

    30 15

    3. ประชุมสร้างความเข้าใจการดำเนินการโครงการ

    วันที่ 21 กรกฎาคม 2014 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -ประชุมเพื่อทำความเข้าใจการดำเนินงานโครงการให้กับคนในชุมชน/เด็กเยาวชนได้รับทราบและรวมกันกำหนดแผนงานในการปฏิบัติ -รับสมัครคณะทำงานโครงการฯเพิ่มพร้อมเด็กเยาวชนที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการฯ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คนในชุมชน /เด็กเยาวชนและผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการดำเนินงานของโครงการของ สสส.

     

    188 145

    4. จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่

    วันที่ 21 กรกฎาคม 2014 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทำให้คนในชุมชนไม่สูบบุหรี่ในสถานที่สาธารณะ

     

    1 0

    5. ถอนเงินคืนบัญชี

    วันที่ 25 กรกฎาคม 2014 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการถอนเงินคืนค่าเปิดบัญชี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คืนเงินค่าเปิดบัญชี

     

    0 0

    6. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2

    วันที่ 6 สิงหาคม 2014 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมเสนอแนะปัญหาอุปสรรคในการดำเนินกิจกรรม รายงานการเงินให้คณะทำงานได้รับทราบร่วมกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานโครงการมีการพูดคุยเสนอแนะเพื่อวางแผนการดำเนินงานกันมากขึ้น

     

    30 30

    7. พัฒนาศักยภาพและติดตามรายงานผลการดำเนินโครงการร่วมกับพี่เลี้ยง

    วันที่ 7 สิงหาคม 2014 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ทบทวนระบบการจัดทำรายงาน
    2. ปรับปฏิทินแผนงานโครงการ
    3. รายงานผลการดำเนินงานและจัดทำเอกสารการเงิน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้รับผิดชอบและคณะทำงานโครงการสามารถจัดทำรายงานผลการดำเนินงานและรายงานการเงินได้

     

    2 2

    8. ประชุมแกนนำกลุ่มองค์กรฯ

    วันที่ 15 สิงหาคม 2014 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -ประชุมแกนนำเพื่อหาข้อมูลปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชนเพื่อนำสู่กระบวนการแก้ไขปัญหาร่วมกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คนในชุมชนมีภาวะเป็นโรคเบาหวานจำนวน 27 คน อยู่ในกลุ่มเสี่ยง 49 คนและความดันโลหิดสูงจำวน 66 คน อยู่ในภาวะเสี่ยง 96 คนจากการสุ่มตรวจ 286 คนทำให้มีแนวคิดในการทำแผนสุขภาพ ปรับพฤติกรรมการกินโดยการบริโภคอาหารปลอดสารพิษ ปลูกเอง ทำเอง ตรวจอาหารในเลือดให้กับกลุ่มเสี่ยง สนับสนุนการเข้าวัดฟังธรรมในวันพระ งานเทศกาลต่าง ๆ วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น วันมาฆบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา สงกรานต์ วันสารทเดือนสิบ เน้นให้ครูสอนเด็ก อยากเห็นเด็กเรียนเก่ง เป็นคนดี ซึงทั้งชุมชน วัด โรงเรียนต้องทำงานร่วมกัน

     

    33 30

    9. ประชุมคณะทำงานครั้ง 3

    วันที่ 6 กันยายน 2014 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • วางแผนการดำเนินงานโครงการ
    • กำหนดปฏิทินการจัดกิจกรรมโครงการให้สอดคล้องกับชุมชน
    • วิเคราะห์ภาพรวมการดำเนินงานโครงการผลที่เกิดขึ้นจริงและปัญหาอุปสรรค

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.เกิดวงคุยปรึกษาหารือของคณะกรรมการบริหารชุมชนอย่างสม่ำเสมอ 2.เกิดวงคุยของสภาผู้นำเพื่อการขับเคลื่อนชุมชนอย่างเป็นระบบ

     

    30 26

    10. ศึกษาดูงานหมู่บ้านต้นแบบการบริหารจัดการหมู่บ้านอย่างเป็นระบบ

    วันที่ 14 กันยายน 2014 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมเตรียมความพร้อม
    2. ศึกษาดูงานพื้นที่รูปธรรมความสำเร็จ บ้านควนกุฏ หมู่ที่ 15 ตำบลควนมะพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ด้านการบริหารจัดการชุมชน การดำเนินชีวิตแบบพอเพียง มีการปลูกผักปลอดสารพิษ เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ไว้บริโภคเองในครัวเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • รับรู้ถึงวิธีการกระบวนการลดรายจ่ายในครัวเรือนโดยใช้เครื่องมือแผนชุมชนโดยการให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมตามขั้นตอน

     

    30 41

    11. จัดกิจกรรมสานสัมพันธ์ฉันท์เครือญาติ วัยใสใส่ใจชุมชน เรียนรู้ตำนานวันสารถเดือนสิบ เรียนรู้การทำขนมเดือนสิบ การจัดหมรับ

    วันที่ 21 กันยายน 2014 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดกิจกรรมทำขนมเดือนสิบ ได้แก่ ขนมพอง ขนมลา ขนมเทียน ขนมเบซัม วิธีการจัดหมรับขนมเดือนสิบ เรียนรู้พิธีทางศาสนา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เด็กและเยาวชนในหมู่บ้านสามารถเรียนรู้และจัดทำขนมเดือนสิบได้ มีความรู้ในการจัดหมรับให้สวยงามสร้างความรักความสามัคคีให้เกิดขึ้นในชุมชน

     

    130 96

    12. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 4

    วันที่ 6 ตุลาคม 2014 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมคณะทำงานเพื่อปรึกษาหารือร่วมกันในการดำเนินกิจกรรมให้เป็นไปตามแผนงานที่วางไว้
    • กำหนดปฏิทินกิจกรรมครั้งต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะทำงานโครงการและตัวแทนสภาผู้นำหมู่บ้านมีความเข้าใจการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชนไปในทิศทางเดียวกัน ร่วมกันเสนอแนะปัญหา อุปสรรคในการทำงาน รวมไปถึงวิธีการแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างเป็นระบบ

     

    30 22

    13. จัดเวทีเสวนาสืบโยดสาวย่านวิถีชุมชนบ้านไทรงาม

    วันที่ 25 ตุลาคม 2014 เวลา 09:00 - 15.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วิทยาการตั้งโจทก์ร่วมวงพูดคุยกับปราชญ์ผู้รู้โดยการบอกเล่าความเป็นมา ประวัติศาสตร์ชุมชนในสมัยก่อนตั้งแต่การมาตั้งรกรากในชุมชน สกุลเงินต่าง ๆ การดำรงชีวิต เงินตราที่ใช้จ่าย การประกอบอาชีพ การสัญจรไปมา การละเล่นของคนสมัยก่อน การรักษาไข้ การตั้งวัด ตั้งโรงเรียน ทำให้เด็กเยาวชนและคณะทำงานโครงการได้รู้ถึงโยดถึงย่านในสมัยก่อน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานโครงการ / เด็กเยาวชนและผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีความรู้ในเรื่องการสืบโยดสาวย่าน ประวัติศาสตร์ชุมชน ได้รับรู้ถึงการดำเนินชีวิตประจำวันของคนในสมัยก่อน เพราะสมัยก่อนไม่มีเทคโนโลยีใช้ การสัญจรไปมาหากันก็เดินเท้า เดินเรือ ประเพณีในสมัยก่อนบางอย่างก็ไม่ได้รับการอนุรักษ์จนเกือบจะสูญหายไป จากการจัดกิจกรรมดังกล่าวทำให้คนในชุมชนเกิดความรู้หวงแหนและอยากรักษาไว้ซึ่งประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามให้คงอยู่กับลูกหลานและสังคมตลอดไป

     

    100 73

    14. ประชุมออกแบบสำรวจข้อมูลฯ

    วันที่ 26 ตุลาคม 2014 เวลา 13.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วิทยากรตั้งโจทก์ร่วมกันพูดคุยโดยการจัดทำขั้นตอนการออกแบบสำรวจข้อมูลเริ่มจากมีการแบ่งกลุ่มบ้าน / แบ่งสายถนน / แบ่งกลุ่มเด็ก มีการจัดทำผังครัวเรือนของแต่ละครัวเรือนให้เด็กเยาวชน / คณะทำงานโครงการนำเสนอข้อมูลที่ต้องการจะทราบและจัดเก็บ ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลชื่อเจ้าบ้าน จำนวนผู้อาศัย อาชีพ ลักษณะเด่นของหมู่บ้าน / ครัวเรือน ข้อมูลด้านสุขภาพ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ความดัน ไขมัน เบาหวาน และข้อมูลด้านเศรษฐกิจ รายรับ รายจ่าย หนี้สิน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานโครงการ / ตัวแทนกลุ่มองค์กรและเด็กเยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจในแบบสำรวจข้อมูล รวมไปถึงขั้นตอนในการจัดเก็บ มีการแบ่งกลุ่มบ้าน แบ่งกลุ่มเด็ก พี่เลี้ยงในการลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลแต่ละครัวเรือน จำนวน 138 ครัวเรือน โดยการใช้แบบสำรวจข้อมูลในการจัดเก็บ

     

    28 37

    15. หนุนเสริมติดตามการดำเนินงานในพื้นที่ ครั้งที่ 2

    วันที่ 5 พฤศจิกายน 2014 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ตรวจสอบเอกสารการเงิน
    • ตรวจสอบบัญชี
    • ตรวจสอบรายงานในระบบเว็บไซต์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ทางโครงการสามารถจัดทำรายงาน ส.1 ส.2 ง.1 เพื่อปิดงวดที่ 1 ได้อย่างสมบูรณ์และเอกสารหลักฐานการเงินสมบูรณ์แต่มีบางรายการต้องปรับแก้เล็กน้อย-

     

    2 2

    16. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 5

    วันที่ 7 พฤศจิกายน 2014 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานโครงการและตัวแทนกลุ่มอาชีพเข้าร่วมประชุมเพือสรุปผลการดำเนินงานกิจกรรมของโครงการที่ผ่านมาและร่วมกันวางแผนการดำเนินงานกิจกรรมในการขับเคลื่อนโครงการต่อไปโดยมีการแบ่งบทหน้าที่การทำงานอย่างชัดเจน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการที่คณะทำงานโครงการและตัวแทนกลุ่มอาชีพได้มีการประชุมร่วมกันทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนรู้ผลการทำงาน ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นระหว่างทำกิจกรรม เพื่อได้นำไปปรับใช้ในการทำงานครั้งต่อไป

     

    30 24

    17. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 6

    วันที่ 6 ธันวาคม 2014 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มวงคุยประชุมประจำเดือนของคณะทำงานโครงการฯในเวลา 13.00 น.โดยมีคณะทำงานโครงการฯรับลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 24 คนประกอบด้วยคณะทำงานโครงการฯเป็นหลักจำนวน 21 คนและมี ตัวแทน อสม.เข้าร่วมประชุมด้วยจำนวน 3 คน ซึึ่งมีนางยุภาธนนิมิตร ผู้รับผิดชอบโครงการ(ผู้ใหญ่บ้าน) นำคุยในประเด็นเนื้อหาการพูดคุยประจำเดือนนี้ว่าด้วย

    1. เรื่องแจ้งเพื่อทราบ...ผลการดำเนินงานกิจกรรมตามโครงการประจำงวดที่ 1 ที่ผ่านมาและรายงานการเงินประจำงวดที่ 1
    2. เรื่องพิจารณา....การจัดกิจกรรลานเรียนรู้ภูมิปัญญา
    3. เรื่องอื่นๆ .....บทบาทหน้าที่คณะทำงานโครงการในการจัดกิจกรรม

    โดยกำหนดเวลาในการแลกเปลี่ยนการพูดคุยกันจนครบทุกประเด็น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานรับทราบผลการดำเนินงานกิจกรรมของโครงการที่ผ่านมาและร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อการจัดกิจกรรมโครงการในครั้งต่อไปว่า กิจกรรมที่เน้นการนำเสนอหรือเน้นการแสดงออกทางคณะทำงานต้องเปิดโอกาสให้เด็กเยาวชนมีบทบาทในการทำงานด้วยไม่ว่าจะเป็นการจัดทำเอกสาร การนำเวทีในการเสนอผลงาน การละเล่นชวนคุย ทางคณะทำงานต้องเป็นที่ปรีกษาและคอยให้คำแนะนำ คณะทำงานโครงการเห็นด้วยจึงมีแนวทางในการให้บทบาทเด็กเยาวชนในการจัดกิจกรรมลานเรียนรู้ภูมิปัญญาชุมชน และอีกทั้งในการวางแผนการจัดกิจกรรมในครั้งต่อไปต้องมีเด็กเยาวชนร่วมวางแผนด้วย ทางคณะทำงานจึงกำหนดวันประชุมเตรียมการจัดกิจกรรมลานเรียนรู้ภูมิปัญญาชุมชนครั้งต่อไปในวันที่ 23 ธ.ค.นี้ เวลา 17.00 น. ณ ศาลาเอนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน เพื่อติดตามผลการเตรียมการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป

     

    30 24

    18. จัดลานเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น

    วันที่ 31 ธันวาคม 2014 เวลา 09:00 - 17.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กิจกรรมที่จัดมีทั้งภาคกลางวันและภาคกลางคืน ในภาคกลางวันมีพิธีพระเวลา 09.30 น. เวลา 13.00 น.เริ่มกิจกรรมการละเล่นกีฬาพื้นบ้านของเด็กเยาวชนร่วมกับผู้ปกครอง เช่น ซัดป๋อง การทำว่าว การทำฉับโผลง เก้าอี้ดนตรีโป้งแตก กาหวงไข่ ทูนถาด กอล์ปคนจน ปิดตาตีหม้อ แตะปี๊ป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน มีการเชื่อมความสัมพันธ์อันดีต่อกันระหว่าง พ่อ แม่ ลูก อนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมให้คงอยู่กับชุมชน

     

    130 100

    19. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 7

    วันที่ 6 มกราคม 2015 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดประชุมคณะทำงานโครงการฯเปิดวงคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ในด้านปัญหาอุปสรรคในการจัดกิจกรรม รวมไปถึงร่วมกันนำเสนอปัญหาท่ีเกิดขึ้นเพื่อนำสู่กระบวนแก้ปัญหาร่วมกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานโครงการฯและแกนนำกลุ่มองค์กรสามารถร่วมกันดำเนินกิจกรรมไปตามแผนที่วางไว้ทุกขั้นตอน

     

    30 25

    20. ประชุมทำความเข้าใจแบบสำรวจข้อมูลแผ่นที่เดินดิน/ผังเครือญาติ

    วันที่ 25 มกราคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการมอบหมายหน้าที่ให้คณะทำงานประสานงานกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยคณะทำงานโครงการ เด็กเยาวชน และตัวแทนแกนนำในชุมชน ร่วมประชุมทำความเข้าใจแบบสำรวจข้อมูลชุมชนและแบบจัดทำผังเครือญาติ การลงพื้นที่สำรวจแผ่นที่เดินดิน เพื่อให้เข้าใจตรงกันและสามารถลงมือทำได้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานโครงการและแกนนำเด็กเยาวชนจำนวน 20 คน ที่ได้รับมอบหมายหน้าที่ เข้าใจแบบสำรวจข้อมูล การลงพื้นที่สำรวจข้อมูลแผ่นที่เดินดิน การจัดทำผังเครือญาติของแต่ละครัวเรือนที่ได้รับหมอบหมายอย่างเข้าใจ สามารถลงมือทำได้อย่างละเอียด

     

    28 31

    21. สำรวจข้อมูลแผนที่เดินดินและผังเครือญาติ

    วันที่ 27 มกราคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เด็กเยาวชนพร้อมด้วยคณะทำงานที่ได้รับมอบหมายให้เป็นพี่เลี้ยงลงพื้นที่จัดเก็บ สำรวจข้อมูล เส้นทางพื้นที่ภายในชุมชน จำนวน 20 วัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เด็กเยาวชนและคณะทำงานโครงการ ได้เรียนรู้เส้นทางจำนวน 6 เส้นทางหลักภายในหมู่บ้าน ได้ข้อมูลชุมชน ข้อมูลครัวเรือน สถานที่สำคัญ บ้านบุคคลสำคัญ ที่อยู่ในชุมชนบ้านไทรงามที่ได้จากการลงพื้นที่จริง ๆ จากการเดินสำรวจอย่างละเอียด ซึ่งทำให้เด็กเยาวชนสนุกและอยากเรียนรู้ข้อมูลชุมชน สถานที่สำคัญและคนสำคัญในหมู่บ้านต่อไป

     

    26 30

    22. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 8

    วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2015 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดประชุมคณะทำงานร่วมกับแกนนำกลุ่มองค์กร และคณะกรรมการหมู่บ้านพูดคุยสรุผผลการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานโครงการฯและแกนนำกลุ่มองค์กรชุมชนสามารถดำเนินงานกิจกรรมได้

     

    30 24

    23. หนุนเสริมติดตามการดำเนินงานในพื้นที่ ครั้งที่ 3

    วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จากการนัดหมายเวลา 09.00 น .พี่เลี้ยงจังหวัดพัทลุง นำโดยพี่เสณี จ่าวิสูตร และพี่เลี้ยงจังหวัดพัทลุงทุกท่านร่วมกับทีมงานจากสจรส.มอ. และตัวแทนพื้นที่รับทุนโครงการฯปี 57/1จังหวัดพัทลุงและนครศรีธรรมราช รวมจำนวน 50 คน พร้อมกันณ ห้องประชุม วิทยาลัยภูมิปัญญาชุมชน ม.ทักษิณ จังหวัดพัทลุง
    เริ่มเข้าสู่กระบวนการเนื้อหาเวทีเวลา 10.00 น. เริ่มด้วยการทักทายของพี่เลี้ยงจังหวัดพัทลุงนำโดยพี่เสณี จ่าวิสูตร เริ่มเรียกขานตัวแทนพื้นที่รับทุนที่เดินทางเข้าร่วม
    เวลา 10.30 น. ทีมงาน สจรส.มอ. ชี้แจงวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมประชุมเพื่อให้ตัวแทนพื้นที่ได้เข้าใจและสามารถกรอกข้อมูลได้ อีกทั้งพี่เลี้ยงทุกท่านคอยเป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำ ทางตัวแทนพื้นที่ฯทั้งจังหวัดพัทลุงและนครศรีฯที่เข้าร่วมประชุมได้ทบทวนผลการดำเนินงานกิจกรรมตามโครงการของแต่ะละโครงการ แล้วสรุปผลการดำเนินงานกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริงในระยะการทำงานในงวดที่ 1 เพื่อนำผลที่ได้จากการขับเคลื่อนกิจกรรมกรอกข้อมูลในแบบประเมินคุณค่า 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ตัวแทนพื้นที่รับทุนจังหวัดพัทลุงและนครศรีธรรมราช จำนวน 25 พื้นที่เข้าร่วมประชุมร่วมกับพี่เลี้ยงจังหวัดและสจรส.มอ. เพื่อทำความเข้าใจและทบทวนผลการดำเนินกิจกรรมตามโครงการฯในระยะที่ 1 เพื่อนำข้อมูลมากรอกในแบบประเมินคุณค่าเพื่อให้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงจากการดำเนินงานในชุดโครงการร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นให้น่าอยู่ ปี 57  ทางตัวแทนพื้นที่เข้าใจและสามารถกรอกข้อมูลดังกล่าวได้ในระยะแรก ซึ่งการดำเนินกิจกรรมตามโครงการยังไม่สิ่นสุดการดำเนินงานจึงทำให้กรอกข้อมูลได้บางส่วนในส่วนที่เกิดขึ้ินจริงและเห็นผล

     

    2 3

    24. รวบรวมและเรียบเรียงข้อมูลชุมชน

    วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการประสานงานเด็กเยาวชนล่วงหน้า 1 วัน เพื่อให้เด็กเยาวชนได้เตรียมตัว เตรียมเอกสารที่ได้จากการลงพื้นที่จัดเก็บให้พร้อมและนำมาในวันจัดกิจกรรมด้วย

    วันที่ 19 ก.พ.58 เวลา 09.00 น. วันนัดหมาย ทางคณะทำงานได้ประชาสัมพันธ์เชิญชวนกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยเด็กเยาวชน คณะทำงานโครงการ จำนวน 30 คน เข้าร่วมกิจกรรมตามที่ได้นัดหมายไว้
    เวลา 10.10 น. เด็กเยาวชน คณะทำงานพร้อมกันที่ประชุมและนำเอกสารที่ได้จากการเก็บข้อมูลมารวมกันและได้มีการทบทวนของแต่ละคน แต่ละเส้นทางที่ได้ลงพื้นที่ไปสำรวจจริง เพื่อเติมเต็ม และวางแผนจัดทำแผ่นที่เดินดินอย่างเต็มรูปแบบ
    เวลา 11.30 น. เด็กเยาวชน จำนวน 10 คนและคณะทำงานโครงการฯ ลงมือจัดทำแผ่นที่ชุมชนอย่างเต็มรูปแบบ โดยมีพี่เลี้ยงโครงการและคณะทำงานคอยเป็นพี่เลี้ยงในการเติมเต็มข้อมูล เวลา 12.20 น. พักร่วมรับประทานอาหารพร้อมกัน... เวลา 13.30 น.ถึง 16.30 น.  เด็กเยาวชนลงมือจัดทำแผ่นที่ชุมชนต่อจนเสร็จสมบูรณ์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เด็กเยาวชนได้เรียนรู้ข้อมูลชุมชนจากการลงมือทำจริงโดยผ่านการจัดทำแผ่นที่ชุมชน ซึ่งทำให้เด็กเยาวชนได้เรียนรู้สถานที่สำคัญในชุมชน บ้านบุคคลสำคัญ พื้นที่่ทำการเกษตรที่เป็นอาชีพหลักของคนในชุมชนเอง อีกทั้งเส้นทางการคมนาคม ในหมู่บ้าน ่จากการถ่ายทอดออกมาเป็นแผ่นที่ทำให้เด็กฯเองได้รู้ ได้เห็น ได้สังเกตุ โดยตัวเขาเอง ทางคณะทำงานโครงการฯจึงได้จัดทำแผ่นที่ชุมชนที่มีความละเอียดสมบูรณ์ ดูง่าย เข้าใจ ไว้จำนวน 1 แผ่น ขนาด...กว้าง 2 เมตร ยาว 2.5 เมตร เพื่อติดไว้ ณ ศาลาเอนกประสงค์ประจำหมู่บ้านไว้ให้คนในชุมชนได้เรียนรู้อีกด้วยและทางคณะทำงานโครงการมีความภาคภูมิใจในชิ้นงานของเด็กเยาวชนที่ให้ความร่วมมือในการทำงานกิจกรรมนี้เป็นอย่างมาก

     

    26 30

    25. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 9

    วันที่ 6 มีนาคม 2015 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมคณะทำงานและตัวแทนกลุ่มอาชีพ เพื่อกำหนดปฎิทินกิจกรรมโครงการให้สอดคล้องกับชุมชน วิเคราะห์ภาพรวมการดำเนินงานโครงการฯ,ผลที่เกิดขึ้นจริงและปัญหาอุปสรรค พร้อมทั้งติดตามประเมินผลการทำงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานและตัวแทนกลุ่มอาชีพ ตระหนักถึงการที่จะร่วมมือในการแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น ในแต่ละกิจกรรมที่ผ่านมา เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขให้กิจกรรมต่อไปเดินไปได้โดยไม่มีอุปสรรค หรือมีก็ให้มีน้อยที่สุด

     

    30 24

    26. เดินปั่น สำรวจชุมชนครั้งที่ 1

    วันที่ 7 มีนาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงานประชุมเพื่อแบ่งบทบาทหน้าที่ แบ่งเส้นทางการเดินในหมู่บ้านโดยมีเด็กเยาวชนเป็นแกนหลัก ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชุด คือ

    ชุดที่ 1 ลงพื้นที่สำรวจเส้นทางแผนที่ชุมชนในหมู่บ้านจำนวน 89 ครัวเรือน โดยแบ่งเป็น 3โซนตามกลุ่มบ้านและมีทีมรับผิดชอบหลักโซนละ5-6 คนดังนี้

    • โซนใต้จันทร์จำนวน 27 ครัวเรือน
    • โซนกลางบ้าน จำนวน 32 ครัวเรือน
    • โซนบ้านออกจำนวน 30 ครัวเรือน

    ชุดที่ 2 ลงพื้นที่สำรวจเส้นทางแผนที่ชุมชนโดยมีจำนวน 61 ครัวเรือน โดยแบ่งเป็น 3 โซนกลุ่มบ้านและมีทีมรับผิดชอบหลักโซนละ 6 คนดังนี้

    • โซนบ้านตีน มีจำนวน 28 ครัวเรือน
    • โซนบ้านหัวหรั่ง มีจำนวน 24 ครัวเรือน
    • โซนบ้านเขานุ้ย จำนวน 9 ครัวเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการที่เด็กเยาวชนและคณะทำงานชุดที่ 1 ได้ลงพื้นที่สำรวจเส้นทางแผนที่ชุมชนในหมุ่บ้าน จำนวน 89 ครัวเรือน โดยแบ่งเป็น 3โซนตาามกลุ่มบ้านและมีทีมรับผิดชอบหลักโซนละ5-6 คนดังนี้

    • โซนที่1 โซนใต้จันทร์ จำนวน 27 ครัวเรือนพบว่าจำนวนทั้ง27ครัวเรือนเป็นครัวเรือนอาศัยและมีสถานที่สำคัญ คือ วัดหนึ่งแห่ง,โรงเรียนอีกหนึ่งแห่ง และระหว่างเส้นทางพบว่าเป็นพื้นที่สวนยางพาราประมาณ20%ของพื้นที่สวนยางพาราทั้งหมด
    • โซนที่2 โซนกลางบ้าน จำนวน32 ครัวเรือน พบว่ามีบ้านบุคคลสำคัญจำนวน4 ครัวเรือนคือ บ้านผู้ใหญ่บ้าน บ้านหมอพื้นบ้าน บ้านอสม. บ้านหมอรักษาโรคเริมและมีสถานที่สำคัญ คือ ศาลาเอนกประสงค์หมู่บ้านหนึ่งแห่ง,ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านหนึ่งแห่ง ที่ทำการกลุ่มออมทรัพย์จำนวนสองแห่ง และระหว่างเส้นทางพบว่าเป็นพื้นที่สวนยางพาราประมาณ40%ของพื้นที่สวนยางพาราทั้งหมด
    • โซนที่3 โซนบ้านออก จำนวน 30 ครัวเรือน พบว่ามีบ้านบุคคลสำคัญจำนวน4 ครัวเรือนคือ บ้านผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน. บ้านอสม. บ้านพิธีกรทางศาสนา และมีสถานที่สำคัญคือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพนางตุง และระหว่างเส้นทางพบว่าเป็นพื้นที่สวนยางพาราประมาณ40%ของพื้นที่สวนยางพาราทั้งหมด

     

    35 35

    27. เดินปั่น สำรวจชุมชนครั้งที่ 2

    วันที่ 8 มีนาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เด็กเยาวชนและคณะทำงานชุดที่ 2 ลงพื้นที่สำรวจเส้นทางแผนที่ชุมชนในหมู่บ้านจำนวน 61 ครัวเรือน โดยแบ่งเป็น 3 โซนกลุ่มบ้านและมีทีมรับผิดชอบหลักโซนละ 6 คนดังนี้

    • โซนบ้านตีน มีจำนวน 28 ครัวเรือน
    • โซนบ้านหัวหรั่ง มีจำนวน 24 ครัวเรือน
    • โซนบ้านเขานุ้ย จำนวน 9 ครัวเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการที่เด็กเยาวชนและคณะทำงานชุดที่ 2 ได้ลงพื้นที่ สำรวจเส้นทางแผนที่ชุมชนในหมู่บ้านจำนวน3โซนกลุ่มบ้านประกอบด้วย

    • โซนที่1 โซนบ้านตีน มีจำนวน 28 ครัวเรือ ผลจากลงพื้นที่สำรวจพบว่ามีจำนวน6ครัวเรือน เป็นครัวเรือนบุคคลสำคัญ คือบ้านประธานอสม.,อสม.,ผช.ผญ.,หมอบีบคลายเส้น ที่เหลืออีก22ครัวเรือนเป็นครัวเรือนอาศัย
    • โซนที่2โซนบ้านหัวหรั่ง มีจำนวน 24 ครัวเรือน ผลจากการลงพื้นที่สำรวจพบว่ามีจำนวน4ครัวเรือนเป็นครัวเรือนบุคคลสำคัญ คือบ้านอสม.,ผช.ผญ.,ประธานชมรมผู้สูงอายุ ที่เหลืออีก20ครัวเรือนเป็นครัวเรือนอาศัย
    • โซนที่3 โซนบ้านเขานุ้ย จำนวน 9 ครัวเรือน ผลจากการลงพื้นที่สำรวจพบว่าทั้ง9ครัวเรือนป็นครัวเรือนอาศัยและพบว่าเนื้อที่ระหว่างเส้นทางเป็นพื้นที่ทำการเกษตรเสีย

     

    35 35

    28. เดินปั่น สำรวจชุมชนครั้งที่ 3

    วันที่ 14 มีนาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เด็กเยาวชนและคณะทำงานโครงการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลบ้านบุคคลสำคัญ/ผู้นำหมู่บ้าน/แกนนำหมู่บ้าน/ปราชญ์ชาวบ้าน ดังนี้

    • ผู้ใหญ่บ้าน นางยุภา  ธนนิมิตร อยู่บ้านเลขที่ 17/1
    • ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง นายนราพงษ์  สุขใส  อยู่บ้านเลขที่ 184 ,นางลำใย  สุขคง อยู่บ้านเลขที่ 42
    • ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ นายสมคิด  มีเอียด อยู่บ้านเลขที่ 53
    • อสม.จำนวน 11 คน นางผ่อง  นุ่นแก้ว  นางยุภา  ธนนิมิตร  นางอัจฉราวรรณ  สุขคง นางปราณี  สุขใส นางกัลยา  หนูนุ่ม นางจิรพร  อรุณรัตน์ นางยกลั่น  ชูขาว นางอารี  ขุนฤทธิ์สง นายทวี  ฉีดอิ่ม นายห้วน  นุ่นด้วง นายหนูกลับ  มีเอียด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการที่เด็กเยาวชนและคณะทำงานโครงการได้ลงพื้นที่เยี่ยมบ้าน เรียนรู้ หลักการดำเนินชีวิตของกลุ่มผู้นำในชุมชนพบว่าผู้นำในหมู่บ้านยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงในการดำรงชีวิตประจำวัน ได้รู้จักบ้านของผู้นำทุกๆ คน สามารถนำไปเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตของตนเองได้

     

    35 35

    29. เดินปั่น สำรวจชุมชนครั้งที่ 4

    วันที่ 15 มีนาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เด็กเยาวชนและคณะทำงานโครงการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลบ้านบุคคลสำคัญ/แกนนำหมู่บ้าน/ปราชญ์ชาวบ้าน เช่น

    • ประธานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการเกษตรนายหนูกลับมีเอียด
    • ประธานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตรนายทวีผลสุขคง
    • ประธานกองทุนหมู่บ้าน นางยุภาธนนิมิตร
    • ประธานกรรมการหมู่บ้าน นางยุภาธนนิมิตร
    • ประธานโครงการ กขคจ. นางยุภาธนนิมิตร
    • ประธานชมรมผู้สูงอายุนายขบวน จันทร์สุขศรี
    • หมอพื้นบ้านแพทย์แผนไทย นายเลี่ยมสุขคง
    • หมอบีบนวด/คลายเส้น นายฉ้วนสุขใส
    • หมอพื้นบ้านรักษาโรคเริม นางเปลื้องสุขคง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เยาวชนรู้และมีจิตสำนึกในวิถีวัฒนธรรมของชุมชน จากการได้เรียนรู้และมีส่วนร่วมของเยาวชนเอง
    • สืบสานประเพณีวัฒนธรรมของชุมชนสู่คนรุ่นใหม่
    • เกิดการทำงานที่มีส่วนร่วมระหว่าง บ้าน วัด โรงเรียน

     

    35 35

    30. เดินปั่น สำรวจชุมชนครั้งที่ 5

    วันที่ 21 มีนาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เด็กเยาวชนและคณะทำงานโครงการลงพื้นที่เยี่ยมบ้านหมอยาสมุนไพร นายเลี่ยมสุขคง อายุ 83 ปี เกิดเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2475 อยู่บ้านเลขที่ 17 หมู่ที่ 11 ต.พนางตุง อ.ควนขนุน จ.พัทลุง จบการศึกษาชั้นป. 4 เป็นศิษย์อาจารย์ช่วย วัดปากสระ ศึกษาเรียนรู้ตำรายาเรื่อยมาจนอายุ 17 ปี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการลงพื้นที่เรียนรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นหมอยาสมุนไพร(แพทย์แผนไทย)คุณหมอเลี่ยม  สุขคง ซึ่งมีความรู้ความสามารถในการด้านรักษาโรคต่าง ๆ ด้วยยาสมุนไพรพื้นบ้าน เริ่มทำงานรักษาโรคต่างๆด้วยยาสมุนไพร เมื่อตอนอายุ 17 ปีโรคส่วนมากที่พบและมารักษามากที่สุดคือโรค มะเร็ง/ไขมัน/ความดัน/เบาหวาน/เส้นทับกระดูก/ริดสีดวง/ภูมิแพ้หอบหืด/เลือดทำพิษ/โรคเก๊าซ์ มีผู้ให้ความสนใจมารักษาโรคต่าง ๆ วันละ 100-120 คนต่อวัน อาทิตย์หนึ่งรักษาคนจำนวน 5 วัน หยุดวันจันทร์กับวันพุธนอกจากมีเชี่ยวชาญในการรักษาโรคด้วยยาสมุนไพรแล้ว ยังมีความสามารถในการตั้งศาลพระภูมิเจ้าที่ วางเสาฤกษ์บ้าน ทำพิธีมงคลสมรสให้คู่บ่าวสาว เด็กๆและเยาวชน ได้รับรู้ความเป็นมาเรื่องการใช้สมุนไพรที่หาได้ตามบ้านมาเป็นตัวยาที่ใช้ในการรักษาโรคต่างๆ เรียกว่าใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านล้วนๆ

     

    35 35

    31. เดินปั่น สำรวจชุมชนครั้งที่ 6

    วันที่ 22 มีนาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เด็กเยาวชนและคณะทำงานโครงการลงพื้นที่เยี่ยมบ้านนายฉ้วน สุขใส อายุ 74 ปี อยู่บ้านเลขที่ 184 หมู่ที่ 11 ต. พนางตุง อ. ควนขนุน จ. พัทลุง จบการศึกษาชั้น ป. 4

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการที่เด็กเยาวชนและคณะทำงานโครงการลงพื้นที่เยี่ยมบ้านนายฉ้วน สุขใส ซึ่งมีความรู้ความสามารถด้านหมอบีบนวดคลายเส้น ได้เล่าให้ฟังถึงความเป็นมาเรื่องการบีบนวดคลายเส้นว่าร่ำเรียนวิชามาจากไหนก็เริ่มรักษามาตั้งแต่อายุ 19 ปีโดยเรียนวิชามาอีกทีหนึ่งวิธีการรักษาโดยการบีบนวดโดยใช้น้ำมันที่ผ่านการเขี้ยวและผ่านการปลุกเสกมา ซึ่งผู้ที่มารักษาส่วนใหญ่ก็หายจากอาการที่ปวดพื้นที่เรียนรู้ด้านการบีบนวด/คลายเส้น/เอ็นเคล็ด,เอ็นช่อ โดยใช้วิธีการจับเส้นและใช้น้ำมันที่ผ่านพิธีการปลุกเสก บีบนวดประมาณ 3 มื้อ ในทุกครั้งที่มีการรักษาหมอไม่ได้เรียกเก็บค่ารักษาแต่อย่างใด เมื่อหายให้เอาเพียงกล้วยน้ำว้า 1 หวีมาให้หมอ เพื่อเอาไปใส่บาตรและนึกถึงครูบาอาจารย์ที่ได้ร่ำเรียนวิชามา

     

    35 35

    32. เดินปั่น สำรวจชุมชนครั้งที่ 7

    วันที่ 28 มีนาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานและเด็กเยาวชนลงพื้นที่เรียนรู้ด้า่นการรักษาโรคเริม จากนางเปลื้อง สุขคง อายุ 77  ปี เกิดเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2481 อยู่บ้านเลขที่ 41 หมู่ที่ 11 ต.พนางตุง อ.ควนขนุน จ. พัทลุง จบการศึกษาชั้น ป.4

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการลงพื้นที่เรียนรู้วิธีการรักษาโรคเริม ซึ่งมีนางเปลื้อง สุขคง มีความรู้ความสามารถในการรักษาโรคเริม เป็นคนให้ความรู้ความเข้าใจและได้เล่าประวัติความเป็นมาในการรักษา ซึ่งเริ่มรักษามา 22 ปีแล้ว สมุนไพรที่ใช้ในการรักษา ประกอบด้วยหมาก พลู ปูน ใบสะท้อน โดยนำมาเคี้ยวรวมกันให้ละเอียดแล้วพ่นกับปากลงไปที่แผลช่วงเวลาในการรักษา เวลา 16.00 น. แต่ละคนต้องรักษาต่อเนื่อง 3 ครั้ง เรียนรู้วิธีการรักษามาจากพ่อ ถ่ายทอดมาจากครอบครัว เรียนรู้ด้วยตัวเอง มีผู้มารักษาเดือนหนึ่งประมาณ 3-5 คน ไม่มีการเรียกร้องค่ารักษา เวลาผู้มารักษาหายจะซื้อกล้วยน้ำว้า และของสมนาคุณไปให้กับคุณหมอเอง 

     

    35 35

    33. เดินปั่น สำรวจชุมชนครั้งที่ 8

    วันที่ 29 มีนาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ลงพื้นที่เรียนรู้ด้านพิธีกรทางศาสนาบ้านนายห่วง ทองหวาน อายุ 73 ปี เกิดเมื่อวันที่ 23 กุมภาาพันธ์ พ.ศ. 2485  อยู่บ้านเลขที่ 105 ม.11 ต.พนางตุง อ. ควนขนุน จ.พัทลุง จบการศึกษาชั้นป. 4 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการที่คณะทำงานโครงการและเด็กเยาวชนได้ลงพื้นที่เรียนรู้วิธีการทำหน้าที่เป็นพิธีกรทางศาสนาของนายห่วง ทองหวาน  ซึ่งเป็นไวยาวัชกรของวัดไทรงามและเป็นบุคคลที่คนในหมู่บ้านให้ความเคารพนับถือ สามารถเอาแบบอย่างในการดำเนินชีวิตอยู่ในชุมชนได้เป็นอย่างดี มีความสามารถในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาในงานต่าง ๆ  โดยนายห่วง ทองหวานได้เริ่มทำพิธีกรทางศาสนาตั้งแต่อายุ 40 ปี ศึกษาเรียนรู้มาจากสำนักพระพุทธศาสนา มีความรู้ความสามารถในการเป็นพิธีกรงานทอดผ้าป่า ทอดกฐิน งานฌาปนกิจศพ และงานทำบุญต่าง ๆ ในชุมชน และนอกชุมชนโดยไม่มีการเรียกร้องค่าตอบแทน ซึ่งเหตุผลที่มาทำหน้าที่เป็นพิธีกรทางศาสนาเพื่อต้องการจะเสริมกุศลให้กับตัวเอง ช่วยเหลือคนในหมู่บ้านในชุมชน ประกอบกับนายห่วง ทองหวาน เป็นคนชอบทำบุญ ชอบไปวัดฟังเทศก์ ฟังธรรมอยู่แล้ว

     

    35 35

    34. เดินปั่น สำรวจชุมชนครั้งที่ 9

    วันที่ 4 เมษายน 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ลงพื้นที่เรียนรู้ในด้านหมอพิธีกรรมบ้านนายประเสริฐ สุขชู อายุ 76 ปี เกิดเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2482 อยู่บ้าน เลขที่ 8 หมู่ที่ 11 บ้านไทรงาม ต.พนางตุง อ. ควนขนุน จ. พัทลุง จบการศึกษาชั้น ป.4 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการที่คณะทำงานโครงการและเด็กเยาวชนได้ลงพื้นที่ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านหมอพิธีกรรมต่างๆ กับคุณตาประเสริฐ สุขชู มีความรู้ความสามารถในการทำพิธีทางศาสนา ซึ่งทำหน้าที่พิธีกรรมทางศาสนามาตั้งแต่อายุ 40 ปี โดยได้ฝึกฝนมาจากคุณตาล่อง เดชสุข  สามารถทำพิธีงานมงคลสมรส งานขึ้นบ้านใหม่ และงานประเพณีต่างๆ ในหมู่บ้านและชุมชนใกล้เคียง ไม่มีการเรียกร้องค่าตอบแทนจากเจ้างานแล้วแต่จะให้ ซึ่งเหตุผลที่คุณตาประเสริฐ สุขชู ชอบทำงานนี้เนื่องจากท่านเป็นคนชอบเข้าวัด ทำบุญ และอยากจะช่วยเหลือสังคมและคนในชุมชน

     

    35 35

    35. เดินปั่น สำรวจชุมชนครั้งที่ 10

    วันที่ 5 เมษายน 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานโครงการและเด็กเยาวชนร่วมกันลงเพื้นที่เยี่ยมบ้านของผู้นำในหมู่บ้าน ดังนี้

    • ผู้ใหญ่บ้าน นางยุภา ธนนิมิตร อายุ 42 ปี เกิดวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2516 จบการศึกษาปริญญาตรี
    • ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน นายนราพงษ์ สุขใส อายุ 32 ปี เกิดวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2526 จบการศึกษาปริญญาตรี
    • ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน นายสมคิด มีเอียดอายุ 49 ปี เกิดวันที่ 21 กรกฎาคมพ.ศ. 2509จบการศึกษาชั้น ป. 6
    • ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน นางลำใยสุขคง อายุ 51 ปี เกิดวันที่ 10 มิถุนายนพ.ศ. 2507 จบการศึกษาม.ศ. 3
    • ประธานอสม. นางผ่อง นุ่นแก้วอายุ54ปีเกิดวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2504 จบการศึกษาชั้น ป. 7
    • รองประธานกรรมการหมู่บ้าน นายทวีผล สุขคงอายุ 53 ปี เกิดวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2505จบการศึกษาชั้น ป.4
      • ประธานชมรมผู้สูงอายุ นายขบวน จันทร์สุขศรี อายุ 75 ปี เกิดวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ.2483 จบการศึกษาชั้น ป.4
      • นายหนูกลับ มีเอียด อายุ 67 ปี เกิดวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2491 จบการศึกษาชั้น ป.4

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการที่คณะทำงานโครงการและเด็กเยาวชนได้ร่วมกันลงพื้นที่เยี่ยมบ้านผู้นำของหมู่บ้าน ทำให้เด็กเยาวชนได้รู้จักบ้านของผู้นำและเรียนรู้วิธีการดำเนินชีวิตของผู้นำหมู่บ้านแต่ละคนได้เป็นอย่างดีสามารถนำไปเป็นแบบอย่างในการดำรงตนอยู่ในสังคมของตนเองได้ เช่นบ้านของผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ประธานอสม. และคณะกรรมการหมู่บ้าน มีการดำเนินชีวิตแบบยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง มีการปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษไว้บริโภคเองในครัวเรือน มีการเลี้ยงสัตว์ เช่น ไก่ไว้บริโภคเอง ที่เหลือจากการบริโภคก็นำไปขายให้กับคนในชุมชน

     

    35 0

    36. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 10

    วันที่ 6 เมษายน 2015 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมคณะทำงานโครงการพร้อมด้วยตัวแทนกลุ่มอาชีพ จำนวน 23 คนพูดคุยแลกเปลี่ยนเสนอแนะปัญหาอุปสรรคในการทำงานแต่ละกิจกรรม 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชุมคณะทำงานโครงการพร้อมด้วยตัวแทนกลุ่มอาชีพ จำนวน 23 คนพูดคุยแลกเปลี่ยนเสนอแนะปัญหาอุปสรรคในการทำงานแต่ละกิจกรรม ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงรายละเอียดผลการดำเนินกิจกรรมที่ทำไปแล้ว และกิจกรรมที่ยังไม่ทำทีซึ่งเหลืออีก 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมเชื่อมร้อยสายใย ผูกใจสัมพันธ์ห่วงใยใส่ใจสุขภาพคนในชุมชน / กิจกรรมรวบรวมเรียบเรียงและจัดทำสื่อ (ละคร) และกิจกรรมประชุมสรุปผลการดำเนินงาน
    ซึ่งกิจกรรมเชื่อมร้อยสายใย ผูกใจสัมพันธ์ห่วงใยใส่ใจสุขภาพคนในชุมชน ทางคณะทำงานร่วมกันกำหนดจะจัดกิจกรรมวันที่ 12 เมษายน 2558 อีกทั้งคณะทำงานโครงการและตัวแทนกลุ่มอาชีพมีส่วนร่วมในการเสนอแนะปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ มีแผนงานในการดำเนินกิจกรรมครั้งต่อไป

     

    30 23

    37. จัดทำแผ่นที่ชุมชน/แผนผังเครือญาติ

    วันที่ 8 เมษายน 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณทำงานโครงการร่วมกับเด็กเยาวชนประชุมออกแบบ จัดทำและทำความเข้าใจแบบสำรวจ โดยมีเด็กและเยาวชนร่วมเรียนรู้ในกระบวนการออกแบบ ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลแผนที่เดินดินตามโซนหมู่บ้าน จำนวน 6 โซน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการจัดกิจกรรมคณะทำงานและเด็กเยาวชนมีความรู้ความเข้าใจในแบบสำรวจ สามารถลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลได้ตามเป้าที่วางไว้ ชุมชนมีแผนที่เดินดินไว้ประกอบการวางแผนงานของชุมชน และมีผังเครือญาติไว้สำหรับการเรียนรู้ของคนในชุมชน สร้างความรู้สึกผูกพันกันในชุมชน เด็กเยาวชนได้รู้จักชุมชน รู้จักบ้านของผู้นำชุมชน รู้จักคุณค่า รู้จักรากเหง้าของตนเองนำสู่การรักบ้านรักถิ่นฐาน

     

    28 28

    38. จัดกิจกรรมห่วงใยใส่ใจสุขภาพคนในชุมชน

    วันที่ 12 เมษายน 2015 เวลา 09:00 - 16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เวลา 09.00 น. คณะทำงานโครงการ / ตัวแทนกลุ่มอาชีพ / ตัวแทนครัวเรือน /ผู้สูงอายุ / เด็กเยาวชนและพี่เลี้ยงพร้อมกัน ณ ลานจัดกิจกรรม
    • เวลา 10.00น. พิธีกรรมทางศาสนา
    • เวลา 11.00น. รดน้ำขอพรผู้สูงอายุ
    • เวลา 11.30น. วิทยากรให้ความรู้ในเรื่องการผลิตอาหารสุขภาพที่เหมาะสมกับผู้สูงวัย
    • เวลา 12.00น. ประกวดปิ่นโตสุขภาพ / ประกวดสุขภาพผู้สูงอายุ / ประกวดชุดแต่งกายย้อนยุค / ประกวดวัยรุ่นย้อนวัย และรับประทานอาหารร่วมกัน
    • เวลา 13.00น. เป็นต้นไป แกนนำเด็กเยาวชนนำเสนอผลงาน นิทรรศการแผนที่หมู่บ้าน ข้อมูลผู้สูงอายุ ให้ผู้ร่วมกิจกรรมทราบและร่วมเป็นกรรมการตัดสินการประกวดร่วมกับคณะทำงานและพี่เลี้ยง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการจัดกิจกรรมนี้ ทางคณะทำงานโครงการเห็นการมีส่วนร่วมของคนในและนอกชุมชนให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งเห็นได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมของผู้เข้าร่วมจะประกอบด้วย..

    • ตัวแทนครัวเรือน
    • กลุ่มผู้สูงอายุ
    • เด็กเยาวชน
    • พี่เลี้ยง / วิทยากร
    • กำนันตำบลพนางตุง
    • ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพนางตุง
    • ผู้กำกับสถานีตำรวจภูธรทะเลน้อย
    • ข้าราชการครู
      อีกทั้งประกอบกับการประชาสัมพันธ์ของคณะทำงานให้คนในชุมชนเห็นความสำคัญ เน้นมีส่วนร่วมมากที่สุด จากผู้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้แต่ละคนนำปิ่นโตมารวมกันถึงจำนวน 52 สาย แต่ละสายเน้นอาหารสุขภาพ เมนูอาหารสุขภาพ ซึ่งเห็นได้จากผลการประกวดโดยปิ่นโตที่ชนะการประกวดผู้ได้รับรางวัลมีการใช้ข้าวสังข์หยด ข้าวพื้นเมือง และผักพื้นบ้านที่ปลูกกันเองในชุมชนมาใช้ในการการประกอบอาหาร

    จากรางวัลการประกวดอาหารสุขภาพ จำนวน 5 รางวัล ดังนี้

    • รางวัลที่ 1 ข้าวสังข์หยด แกงเลียงขี้เหล็ก แกงเลียงสายบัว ยำพะโหมผักพื้นบ้านที่ปลูกกันเองในชุมชนมาใช้ในการการประกอบอาหาร
    • รางวัลที่ 2 ข้าว แกงพุงปลา แกงเลียง ผลไม้ ผักเหนาะ
    • รางวัลที่ 3 ข้าวสังข์หยดแกงเลียง ปลาทอด
    • รางวัลที่ 4 ข้าวพื้นเมือง แกงคั่วหอยชะพลู ปลาช่อนแดดเดียวทอด แกงเลียง
    • รางวัลที่ 5 ข้าวยำข้าวสังข์หยด ต้มส้มลูกปลา ขนมโค

     

    130 128

    39. หนุนเสริมติดตามการดำเนินงานในพื้นที่ ครั้งที่ 4

    วันที่ 21 พฤษภาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. จัดทำรายงานผลการดำเนินกิจกรรมในพื้นที่
    2. จัดทำรายงานการเงิน
    3. ตรวจเอกสารรายงานการเงิน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีความรู้ความเข้าใจในการจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน และเอกสารรายงานการเงินอย่างถูกต้อง

     

    2 3

    40. สรุปผลการดำเนินงานปิดโครงการ

    วันที่ 8 กรกฎาคม 2015 เวลา 09.00 - 16.00 น น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ช่วงเช้าตั้งแต่เวลา 09.00 - 12.00 น. ลานเรียนรู้วิถีชุมชนคนไทรงาม โดยจัดซุ้มนิทรรศการจำนวน 9 ชุดประกอบด้วย
    - ชุดที่่ 1 เรื่องประวัติศาสตร์ชุมชน  จำนวน 1 ชุด - ชุดที่ 2 เรื่องผังเครือญาติ จำนวน 1 ชุด - ชุดที่ 3 เรื่องแผนที่ชุมชน จำนวน 1 ชุด - ชุดที่ 4 เรื่องวิถีการทำอาหารและขนมพื้นบ้าน จำนวน 6 ชุด ช่วงบ่ายตั้งแต่เวลา 13.00 - 16.00 น. จัดเวทีลานเสวนาสรุปผลการดำเนินงานเพื่อคืนข้อมูลการดำเนินงานโครงการให้กับคนในชุมชนแล้วร่วมกันวิเคราะห์จุดเด่นของกิจกรรมโครงการ ปัญหาอุปสรรคและกำหนดแนวทางการแก้ปัญหาร่วมกันเพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานต่อ พร้อมกับจัดทำสรุปผลการดำเนินงานเป็นรูปเล่มพร้อมกับแผนงานการขับเคลื่อนชุมชนในระยะต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานโครงการ / เด็กเยาวชน / ตัวแทนครู / ตัวแทนรพสต.พนางตุง / ตัวแทนกลุ่มอาชีพและตัวแทนครัวเรือน / พี่เลี้ยง / วิทยากร พร้อมกัน ณ สถา่นที่จัดกิจกรรมที่ ศาลาเอนกประสงค์บ้านไทรงาม จากนั้นทางผู้รับผิดชอบโครงการ คือ นางยุภาธนนิมิตร ได้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม เล่าที่มาของโครงการและนำเสนอภาพรวมการทำกิจกรรมทั้งหมดของโครงการ ซึ่งการจัดกิจกรรมมีดังนี้..

    • ช่วงเช้าตั้งแต่เวลา 09.00 - 12.00 น. ลานเรียนรู้วิถีชุมชนคนไทรงาม โดยจัดซุ้มนิทรรศการจำนวน 9 ชุด ประกอบด้วย
      • ชุดที่่ 1 เรื่องประวัติศาสตร์ชุมชนจำนวน 1 ชุด เด็กเยาวชนได้รู้ถึงรากเหง้าของตนเอง ประวัติของหมู่บ้าน การดำเนินชีวิตของคนในชุมชน
      • ชุดที่ 2 เรื่องผังเครือญาติ จำนวน 1 ชุดซึ่งแสดงถึงสายสกุลหลัก 5 สกุล และสายสกุลรอง 3 สกุล
      • ชุดที่ 3 เรื่องแผนที่ชุมชน จำนวน 1 ชุด ซึ่งแสดงถึงสถานที่สำคัญของหมู่บ้าน รวมไปถึงจำนวนครัวเรือน148 ครัวเรือน บ้านบุคคลสำคัญและบ้านแกนนำของคนในหมู่บ้าน
    • ช่วงบ่ายตั้งแต่เวลา 13.00 - 16.00 น. จัดเวทีลานเสวนาสรุปผลการดำเนินงานเพื่อคืนข้อมูลการดำเนินงานโครงการให้กับคนในชุมชนแล้วร่วมกันวิเคราะห์จุดเด่นของกิจกรรมโครงการ ปัญหาอุปสรรคและกำหนดแนวทางการแก้ปัญหาร่วมกันเพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานต่อ พร้อมกับจัดทำสรุปผลการดำเนินงานเป็นรูปเล่มพร้อมกับแผนงานการขับเคลื่อนชุมชนในระยะต่อไป โดยมีวิทยากรจัดกระบวนการคือ นายเสณี จ่าวิสูตรและนายไพฑูรย์ ทองสม เป็นวิทยากรหลัก นำพูดคุยในประเด็นการทำงานของคณะทำงาน และผลการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมากิจกรรม ซึ่งมีกิจกรรม ศึกษาดูงาน วันสารทเดือนสิบ งานปีใหม่ รดน้ำขอพรผู้สูงอายุ เวทีลานเสวนาสืบโยดสาวย่านประวัติศาสตร์ชุมชน สำรวจข้อมูลแผนที่เดินดิน และผังเครือญาติ มีการจัดเก็บข้อมูลครัวเรือนรายรับ รายจ่าย ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ ผลที่เกิดขึ้นดังนี้ -คนในชุมชน เห็นความสำคัญกับกิจกรรมวิถีชุมชน มีส่วนร่วมในการเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการ -ทีมงาน มีความพร้อม มีความรับผิดชอบในบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
      -เด็กเยาวชนมีความพร้อม มีความตั้งใจและสนใจในการทำกิจกรรมร่วมกับคณะทำงานโครงการ -งบประมาณ มีการบริหารจัดการเบิกจ่ายเงินตามกิจกรรม และใช้จ่ายตามแผนงานที่ตั้งไว้ -กิจกรรม มีการทำกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ในเรื่อง คน สภาพแวดล้อม และกลไก และตอบชี้วัดที่ตั้งไว้ของโครงการ
    • จุดอ่อนการบริหารจัดการโครงการ คือ คณะทำงานขาดประสบการณ์ในการออกแบบกระบวนการ ประสบการณ์การเป็นวิทยากรกระบวนการดำเนินกิจกรรม
    • อีกทั้งยังมีการร่วมกันกำหนดแนวทางการบริหารจัดการและพัฒนาชุมชนโดยนำข้อมูลครัวเรือนที่ได้จากการจัดเก็บในปีนี้มากำหนดทิศทางเพื่อนำเสนอและพัฒนาโครงการต่อในปีที่ 2 โดยเน้นเรื่องเศรษฐกิจของคนในชุมชนเป็นหลัก ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้กับคนในชุมชน

     

    188 125

    41. นำเสนอข้อมูลชุมชนผ่านละครย้อนยุคโดยแกนนำเด็กเยาวชน

    วันที่ 8 กรกฎาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานโครงการและเด็กเยาวชนรวบรวมนำเสนอข้อมูลแก่ชุมชนผ่านละครย้อนยุคโดยแกนนำเด็กและเยาวชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการที่คณะทำงานโครงการและเด็กเยาวชนได้จัดทำกิจกรรมศึกษาข้อมูลเพื่อนำมารวบรวมเป็นสื่อนำเสนอผ่านละครย้อนยุค ทำให้เด็กเยาวชนได้รู้จักชุมชนมากขึ้น รู้จักคุณค่า รู้จักคน รู้จักรากเหง้าของตนเองนำสู่การรักบ้านรักถิ่นฐานของตัวเองเด็กเยาวชนได้รู้ถึงสกุลดั้งเดิมของคนแต่แรกรู้ว่าหมู่บ้านของตนเองมีหลายสกุลหลัก ๆ ได้แก่ สกุลสุขคง สกุลมีเอียด สกุลทองเกลี้ยง สกุลแก้วกลับ สกุลชูส่งแสง สกุลขุนฤทธิ์สง สกุลคงดำ สกุลฉีดอิ่ม โดยใช้ผังเครือญาติและแผนผังชุมชนที่แสดงถึงครัวเรือนทุกครัวเรือนในหมู่บ้าน สถานที่สำคัญในชุมชน ประกอบด้วย วัด โรงเรียน รพสต. ศาลาหมู่บ้าน ที่ทำการกลุ่มออมทรัพย์  ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน รวมไปถึงบ้านบุคคลสำคัญ เช่น บ้านหมอพื้นบ้านที่มีความรู้เรื่องการรักษาโรคด้วยยาสมุนไพร การนวดคลายเส้น การรักษาโรคเริม และหมอพิธีกรรมทางศาสนา แล้วนำเครื่องมือที่ทางชุมชนผลิตขึ้นมานำเสนอผ่านเวทีวงเสวนาและเล่ากันฟังถึงเรื่องราวต่างๆที่ได้ไปศึกษาเรียนรู้มา

     

    28 32

    42. จัดทำภาพถ่ายกิจกรรมโครงการแนบรายงานปิดโครงการ

    วันที่ 11 กรกฎาคม 2015 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดลำดับภาพถ่ายกิจกรรมตามโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จัดลำดับภาพถ่ายกิจกรรมตามโครงการ

     

    2 2

    43. จัดทำรายงานสรุปปิดโครงการ

    วันที่ 11 กรกฎาคม 2015 เวลา 15:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดทำรายงานสรุปปิดโครงการ จัดทำรายงานผลการดำเนินกิจกรรมแต่ละกิจกรรม จัดทำแบบประเมินคุณค่า แบบรายงาน ส.4

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จัดทำรายงานสรุปปิดโครงการ มีการตรวจสอบเอกสารหลักฐานการจ่ายเงินในแต่ละกิจกรรมซึ่งเสร็จเรียบร้อยสมบูรณ์ตามแผนงาน 

     

    2 2

    44. ติดตามผลการดำเนินงานปิดโครงการร่วมกับพี่เลี้ยงและสจรส.มอ.

    วันที่ 11 กรกฎาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมร่วมกับพี่เลี้ยงและสจรส.มอ.เพื่อจัดทำรายงานปิดโครงการตรวจสอบเอกสารการเงินและตรวจสอบรายงานผลการดำเนินงานกิจกรรมของโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชุมร่วมกับพี่เลี้ยงและสจรส.มอ.เพื่อจัดทำรายงานปิดโครงการตรวจสอบเอกสารการเงินและตรวจสอบรายงานผลการดำเนินงานกิจกรรมของโครงการ

     

    2 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 1.เพื่ิอให้คนในชุมชนมีความตระหนักและเห็นความสำคัญวิถีชุมชนต่อการมีสุขภาวะที่ดี
    ตัวชี้วัด : 1. คนในชุมชนร้อยละ 100 ของครัวเรือนทั้งหมด 148 ครัวเรือนเข้ามามีส่วนร่วมในสร้างความตระหนักให้เห็นความสำคัญของวิถีชุมชน และร่วมกระบวนการคิด วางแผน บริหารจัดการชุมชนและมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานชุมชน 2. เด็กและเยาวชนจำนวน 20 คนมีส่วนร่วมในการคิด วิเคราะห์และแก้ปัญหาของชุมชน 3. มีแผนผังชุมชน จำนวน 1 ผัง 4. มีผังเครือญาติ จำนวน 1 ผัง 5. มีชุดข้อมูลเรื่องสุขภาวะชุมชน จำนวน 1 ชุด 6. มีการถ่ายทอดข้อมูลชุมชน จำนวน 3 ครั้งคนในชุมชนร้อยละ 100 เข้ามามีส่วนร่วมในสร้างความตระหนักให้เห็นความสำคัญของวิถีชุมชน และร่วมกระบวนการคิด วางแผน บริหารจัดการชุมชนและร่วมกับขับ
    1. มีตัวแทนครัวเรือนเข้าร่วมประมาณ 80% จากที่ตั้งไว้ร้อยเปอร์เซ็นต์นื่องจากมีบางส่วนของตัวแทนครัวเรือนเดินทางออกไปทำงานนอกพื้นที่ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ใช้แรงงานซึ่งส่วนใหญ่ของกลุ่มนี้จะเป็นช่างมีฝีมือทางช่าง
    2. มีเด็กและเยาวชนเข้าร่วมจริงตลอดโครงการจำนวน 14 คน เนื่องจากส่วนที่เหลือเป็นเด็กที่ยังเล็กเกินไป ยังไม่เข้าใจในงานกระบวนของโครงการได้
    3. มีแผนที่ชุมชนจำนวน 1 แผน ที่เกิดจากการร่วมกันทำจากแผนที่เดินดินของกลุ่มเด็กและเยาวชน
    4. มีผังเครือญาติจำนวน 1 ผังแสดงถึงการเชื่อมโยงกันของคนในชุมชน
    5. มีข้อมูลสุขภาพของคนในชุมชนจำนวน 1 ชุด
    6. มีกิจกรรมในการคืนข้อมูลผ่านการประชุมหมู่บ้าน จำนวน 3 ครั้ง
    2 เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีกิจกรรมที่สร้างสรรค์ ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และสามารถ สืบทอดวิถีวัฒนธรรมของชุมชนได้
    ตัวชี้วัด : 1. มีกิจกรรมสร้างสรรค์สานสัมพันธ์ที่คนในชุมชน เด็กเยาวชนสามารถเรียนรู้และมีส่วนร่วมในการลงมือทำด้วยกัน จำนวน 3 กิจกรรม 2. มีกิจกรรมผูกสัมพันธ์"บ้านเธอบ้านฉัน"ในการดูแลสุขภาวะชุมชนด้านสุขภาพกาย สุขภาพใจ สังคมและวัฒนธรรม เดือนละ 1 ครั้ง 3. เกิดแกนนำเด็กและเยาวชนจำนวน 10 คนที่สามารถถ่ายทอดเรื่องราว ภูมิปัญญา ของดีชุมชนผ่านสื่อต่างๆได้
    1. มีกิจกรรมการจัดงานวันปีใหม่/งานรดน้ำขอพรผู้สูงอายุในวันสงกรานต์/งานวันสารทเดือน 10
    2. มีการเยี่ยมบ้านสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันระหว่างบ้านของเด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการ
    3. มีเด็กและเยาวชนจำนวน 14 คนที่สามารถถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆของหมู่บ้านผ่านเวทีประชุมหมู่บ้าน เวทีงานกิจกรรมตามโครงการ
    3 เพื่อเสริมสร้างความเข็มแข็งในการจัดการบริหารชุมชนโดยมีขั้นตอน
    ตัวชี้วัด : 1. มีโครงสร้างคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ จำนวน 15 คนที่มาจาก... - ผู้นำทางการ ผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วย จำนวน 4 คน - ตัวแทนกรรมการหมู่บ้าน จำนวน 3 คน - อสม. จำนวน 2 คน - เด็กเยาวชน จำนวน 3 คน - ตัวแทนกลุ่มองค์กร จำนวน 3 คน 2. เกิดสภาผู้นำในการขับเคลื่อนชุมชน จำนวน 1 ชุดโดยมีสมาชิกสภาผู้นำจำนวน 35 คนมาจากการแต่งตั้งจำนวน 17 คนและจำนวน 18 คนมาจากการสมัครใจ 3. เกิดวงคุย ปรึกษาหารือ วางแผนการทำงาน ประจำทุกเดิอนจำนวน 10 ครั้ง 4. เกิดวงคุย เพื่อวางแผน ทบทวน ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการ
    1. มีคณะทำงานครบตามจำนวนที่กำหนดไว้ในตัวชี้วัด
    2. มีโครงสร้างสภาหมู่บ้านมีจำนวนรวม 35 คน มีที่มาจากการแต่งตั้ง 17 คนและมาจากการสมัครใจ จำนวน 18 คน
    3. มีการประชุมประจำเดือนหมู่บ้านทุกเดือน
    4. มีการประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผน ทบทวน ติดตามประเมินผลทุกเดือน
    4 เพื่อการบริหารจัดการและการติดตามประเมินผลโครงการ
    ตัวชี้วัด : จำนวนครั้งในการเข้าร่วมกิจกรรมกับ สสส.และสจรส.

    เข้าร่วมกิจกรรมกับสสส.และสจรส.ครบทุกครั้งที่มีการจัดขึ้นรวม 6 ครั้ง

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1.เพื่ิอให้คนในชุมชนมีความตระหนักและเห็นความสำคัญวิถีชุมชนต่อการมีสุขภาวะที่ดี (2) เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีกิจกรรมที่สร้างสรรค์ ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และสามารถ

    สืบทอดวิถีวัฒนธรรมของชุมชนได้ (3) เพื่อเสริมสร้างความเข็มแข็งในการจัดการบริหารชุมชนโดยมีขั้นตอน (4) เพื่อการบริหารจัดการและการติดตามประเมินผลโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ ดับบ้าน ดับคน กับวิถีชุมชนคนไทรงาม

    รหัสโครงการ 57-01418 รหัสสัญญา 57-00-1170 ระยะเวลาโครงการ 1 กรกฎาคม 2014 - 31 กรกฎาคม 2015

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    ความรู้ในการทำผังเครือญาติและความรู้ในการทำแผนที่เดินดิน

    แผนที่หมู่บ้านที่เกิดจากการทำผ่านแผนที่เดินดินและแผนผังเครือญาติที่จัดแสดงไว้ในศาลาหมู่บ้าน

    ขยายผลเป็นผังสุขภาพของคนในชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

    ไม่มี

    ไม่มี

    ไม่มี

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    การดึงเด็กและเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามโครงการ

    ภาพการดำเนินกิจกรรม ใบลงทะเบียน

    ขยายแผนงานให้เด็กเยาวชนได้มีส่วนร่วมในการประเมินและติดตามผลในครั้งต่อไป

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

    การบังคับใช้กฎกติกาของหมู่บ้าน

    บันทึกการประชุมประจำเดือนของหมู่บ้าน

    ออกกฏกติกาเป็่นลายลักษณ์อักษรให้คนในชุมชนได้ยึดถือกฏกติกาของหมู่บ้านอย่างเคร่งครัด

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    กลุ่มเด็กเยาวชน

    รายชื่อการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการ

    ค้นหาแนวร่วมในการทำงานร่วมกัน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

    ไม่มี

    ไม่มี

    ไม่มี

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

    ไม่มี

    ไม่มี

    ไม่มี

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

    ไม่มี

    ไม่มี

    ไม่มี

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

    ไม่มี

    ไม่มี

    ไม่มี

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

    ไม่มี

    ไม่มี

    ไม่มี

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

    มีการรณรงค์ การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

    มีป้ายรณรงค์เขตปลอดบุหรี่ติดไว้ที่ศาลาหมู่บ้าน และป้ายห้ามเล่นการพนัน ห้ามจำหน่ายเหล้า บุหรี่ ติดไว้ตามสถานที่ราชการ

    จัดทำแบบประเมินติดตามพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

    เด็กและเยาวชนมีกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ทำอย่างต่อเนื่อง ทำให้ลดความเสี่ยงในพฤติกรรมไม่พึงประสงค์อื่นๆ

    รายงานผลการร่วมกิจกรรมของเด็กและเยาวชน

    หมู่บ้านต้องจัดกิจกรรมแนวนี้อย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

    การเข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการอย่างต่อเนื่องทำให้ผู้เข้าร่วมมีความสนุกสนานไม่เครียด

    รายงานและภาพถ่ายกิจกรรม

    จัดิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

    มีการใช้สมุนไพรในท้องถิ่นโดยมีหมอพื้นบ้านเป็นผู้ทำการรักษา

    ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านหมอพื้นบ้านโดยมีภาพถ่ายประกอบกิจกรรม

    รณรงค์ให้มีการปลูกพืชยาสมุนไพรในชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

    มีคณะทำงานที่เข้ามาช่วยกันจัดกิจกรมเพิ่มขึ้น เป็นเครื่องแสดงว่าคนเริ่มมองเห็นความสำคัญของงานส่วนรวมมากขึ้น

    ใบลงทะเบียน/และรายชื่อกรรมการที่เพิ่มขึ้น

    ไม่มี

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

    ไม่มี

    ไม่มี

    ไม่มี

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    ไม่มี

    ไม่มี

    ไม่มี

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

    มีการจัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ที่เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างคน 3 วัย เช่นงานปีใหม่ งานรดน้ำผู้สูงอายุ งานสารทเดือนสิบฯ

    ภาพถ่านกิจกรรม/รายงานเว็บไซส์

    ไม่มี

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

    ไม่มี

    ไม่มี

    ไม่มี

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

    ไม่มี

    ไม่มี

    ไม่มี

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    ไม่มี

    บันทึกการประชุมหมู่บ้าน

    ไม่มี

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

    ผู้ไม่เข้าร่วมประชุมหมู่บ้านโดยไม่มเหตุผลอันสมควร จะถูกตัดสิทธ์ในการได้รับการพิจารณาของกลุ่มออมทรัพย์และกองทุนหมู่บ้านและสวัสดิการของชุมชน

    บันทึกการประชุมหมู่บ้าน

    ไม่มี

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

    ไม่มี

    ไม่มี

    ไม่มี

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

    ไม่มี

    ไม่มี

    ไม่มี

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    มีการทำงานร่วมกันระหว่างชุมชน วัด โรงเรียน และรพ.สต.

    ภาพถ่ายการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการฯ

    ขยายผลการทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

    มีการวิเคราะห์ข้อมูลมีการวางแผนมีการปฎิบัติตามแผนในโครงการดับบ้านดับคน กับวิถีชุมชนคนไทรงาม

    รายละเอียดจากโครงการฯ

    เสริมสร้างและปลูกฝังให้เด็กเยาวชนได้รู้จักการมีส่วนร่วมในการทำงานและรู้จักการวางแผนการทำงาน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

    มีการเข้าร่วมทั้งเด็กเยาวชนและมีแหล่งเงินทุนจากภายนอกร่วมสนับสนุน

    ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเงินทุนสนับสนุนจากทางเทศบาล และรายชื่อการลงทะเบียนในแต่ละกิจกรรม

    หาแหล่งหนุนเสริมทั้งภาคประชาชนและแหล่งเงินทุนเพิ่มในโครงการต่อไป

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

    มีการรวมกลุ่มและมีการวางแผนการทำงานอย่างต่อเนื่อง

    สรุปและประเมินกิจกรรมทุกครั้งหลังจากเสร็จกิจกรรม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

    เด็กและเยาวชนได้รู้จักการมีส่วนร่วมและมีองค์ความรู้ประกอบพร้อมทั้งเสริมสร้างการมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี

    การทำงานกันเป็นกลุ่มและรู้จักการแบ่งงานโดยดุได้จากกิจกรรมโครงการ

    ขับเคลื่อนให้เด็กเยาวชนคนอื่นๆได้เข้าร่วมและเพิ่มศักยภาพการทำงานให้ดีขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

    รู้จักการวางแผนการทำงาน และแบ่งงานกันทำได้อย่างเป็นระบบ

    กิจกรรมโครงการแต่ละกิจกรรมสามารถลุล่วงไปได้ด้วยดีและถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์

    มุ่งเน้นหาความรู้เพิ่มเติมในการวางแผนการทำงานอย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

    ไม่มี

    ไม่มี

    ไม่มี

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    คนในชุมชนเห็นความสำคัญการทำงานแบบมีส่วนร่วมมากขึ้น ให้ความร่วมมือและเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชนเป็นอย่างดี

    การเข้าร่วมกิจกรรมของคนในชุมชนและการให้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

    อยากเห็นความร่วมมือจากคนในชุมชนในส่วนที่ยังขาดหายไปให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

    รู้จักการแบ่งเวลาการทำงาน การแบ่งเวลาให้กับครอบครัว

    เข้าร่วมกิจกรรมตามโอกาสและตามความเหมาะสม

    สามารถทำงานร่วมกันได้โดยไม่มีผลกระทบกับส่วนรวมและครอบครัว

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

    คนในชุมชนมีการดำรงชีวิตแบบพอเพียง ปลูกผักบริโภคเองในชุมชน

    คนในชุมชนมีสุขภาพแข็งแรงเนื่องจากบริโภคอาหารที่ปลอดสารพิษ

    รณรงค์ให้คนในชุมชนปลูกผักบริโภคเองในครัวเรือนและชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

    คนในชุมชนมีการพึ่งพาอาศัยต่อกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

    คนในชุมชนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมโครงการ จากภาพถ่ายประกอบ

    มุ่งเน้นให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้สามารถนำไปปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดี

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

    ไม่มี

    ไม่มี

    ไม่มี

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

    ไม่มี

    ไม่มี

    ไม่มี

    ดับบ้าน ดับคน กับวิถีชุมชนคนไทรงาม จังหวัด พัทลุง

    รหัสโครงการ 57-01418

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางยุภา ธนนิมิตร โทร. 080-5406827 )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด