แบบบันทึกการติดตามสนับสนุนโครงการ ครั้งที่ 3

รหัสโครงการ 57-01431
สัญญาเลขที่ 57-00-0744

ชื่อโครงการ บวร ไตรพลังสร้างสุขสู่บ้านนากวดน่าอยู่ (ต่อเนื่อง)
รหัสโครงการ 57-01431 สัญญาเลขที่ 57-00-0744
ระยะเวลาตามสัญญา 20 พฤษภาคม 2014 - 19 มิถุนายน 2015

ส่วนที่ 1 : ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม

1.1 ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 1 นายถาวร ชุมศรี
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 2
วันที่ลงพื้นที่ติดตาม 12 กรกฎาคม 2015
วันที่ส่งรายงานถึง สสส. 12 กรกฎาคม 2015
1.2 ผู้ให้ข้อมูล
ลำดับชื่อ-สกุลผู้ให้ข้อมูลที่อยู่หมายเลขโทรศัพท์

ส่วนที่ 2 : ข้อมูลโครงการและความก้าวหน้าการดำเนินงาน

2.1 วัตถุประสงค์และตัวชี้วัดความสำเร็จโครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1.

เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการหมู่บ้าน คณะกรรมการวัดนาท่อม สภานักเรียนโรงเรียนวัดนาท่อม สู่หลักคิด" บวร ไตรพลังสร้างสุขสู่บ้านนากวดน่าอยู่"

เชิงปริมาณ

  1. คณะกรรมการหมู่บ้าน 15 คน

  2. คณะกรรมการวัด 15 คน

  3. สภานักเรียน 20คน

เชิงคุณภาพ

  1. ทั้ง 3 ฝ่ายเรียกว่าคณะทำงาน บวร ไตรพลัง สร้างสุขสู่บ้านนากวดน่าอยู่

  2. ทั้ง 3 ฝ่ายเรียนรู้ ทบทวนแผนชุมชนบ้านนากวด โดยวิธี -การจัดเก็บข้อมูลโดยเด็กและกรรมการหมู่บ้าน -รวบรวมวิเคราะห์ก่อนจัดทำร่างแผ่นชุมชน -ประชุมเพื่อประชาพิจารณ์ ให้ประชาชนเติมเต็ม -ประชุมเพื่ออนุมัติแผนที่ผ่านประชาพิจารณ์เพื่อนำไปทำแผนชุมชน -จัดทำแผนชุมชนหลังจากได้ผ่านขั้นตอนแยกหมวดหมู่ -ให้ความเห็นชอบรับรองแผน -การประสานแผน -การตรวจสอบและติดตามการดำเนินการ โดยกรรมการหมู่บ้าน กรรมการวัด สภานักเรียน ด้วยการคืนข้อมูลสู่ชุมชน

2.

  1. เพื่อใช้หลัก บวร ไตรพลังสร้างสุขฯเป็นเครือข่าย ร่วมขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชนนากวดอย่างมีคุณภาพ ด้านสังคมเพื่อคุณภาพชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ

  1. คณะ บวร ไตรพลังสร้างสุขสู่นากวดน่าอยู่ เป็นแกนนำเพื่อแก้ไขปัญหาชุมชน จำนวน 50คน
  2. โรงเรียนสร้างและพัฒนาธนาคารขยะเป็นแหล่งเรียนรู้ใน โรงเรียนวัดนาท่อม1 แหล่ง
  3. วัดมีแหล่งเรียนรู้ชุมชนทางด้านศิลป วัฒนธรรมชุมชน 1 แหล่ง
  4. ชุมชนมีกิจกรรมสืบชะตาคลองนาท่อมเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน 1 แหล่ง

เชิงคุณภาพ

1.แหล่งเรียนรู้สืบชะตาคลองนาท่อมในชุมชน โดยใช้เด็กเป็นสื่อในการทำกิจกรรม ใช้กิจกรรมหุ่นเงาเด็กเด็กเล่าเรื่อง หนังตะลุง กลองยาว มโนราห์เด็ก

  1. แหล่งเรียนรู้วัดเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน ใช้ภาพกิจกรรมเล่าเรื่องราว เช่น ภาพในผนังโบสถ์ โดยนายสมัยหมวดมณี

  2. แหล่งเรียนรู้ธนาคารขยะในโรงเรียนโดยมีกิจกรรมทอดผ้าป่าขยะขยะแลกไข่ ตลาดนัดขยะ เป็นระยะโดยใช้สภานักเรียน

4.กลุ่มเด็กและเยาวชน กลุ่มผู้สูงอายุ่ร่วมทำกิจกรรมที่หลากหลายในการขับเคลื่อนกิจกรรมของชุมชน

5.ประชาชนใช้วัดเป็นศูนย์กลางโดยสร้างการมีส่วนร่วมของคน 3 วัยชวนเข้าวัดพัฒนาวัฒนธรรมด้วยกิจกรรม

6.มีการติดตามรายงานความก้าวหน้าของสามแหล่งเรียนรู้โดยคณะกรรมการแต่ละฝ่าย

3.

  1. เพื่อพัฒนากลไก บวร ไตรพลังสร้างสุขสู่บ้่านนากวดน่าอยู่สู่การจัดการตนเอง ด้วยข้อตกลงร่วมกัน กฎกติกาอยู่ร่วมกัน และมีบทบาทหน้าที่แต่ละฝ่าย

เชิงปริมาณ

  1. มีการประชุม 12ครั้ง

  2. แต่ละฝ่ายมีบทบาทหน้าที่ร่วมออกกฎกติกา เช่น ธนาคารขยะจัดการขยะด้วยวิธี 3 R โดยใช้สภานักเรียน, แหล่งเรียนรู้สืบชะตาคลองนาท่อมใช้ สภาเด็กและเยาวชน และครอบครัวจักรยานสานฝันวันอาทิตย์ ในการสื่อสารรณรงค์

เชิงคุณภาพ

  1. ชุมชนบ้านนากวดน่าอยู่อย่างมีกฏกติกาของชุมชนที่ทุกคนในชุมชนเข้าใจ ยอมรับ และปฏิบัติตาม เช่น มีเขตอภัยทานชัด การกำหนดจุดให้อาหารปลา ,จุดทิ้งขยะ

  2. กำหนดประชุมทุกวันที่ 9 ทุกเดือน

3.กฎกติกาเผยแพร่และเป็นข้อปฎิบัติของบุคคลภายนอก เช่นเขตอภัยทานขยะเขตอภัยทานห้ามจับปลาป้ายปฏิญญาของผู้นำ

4.พัฒนาหอกระจายข่าวของชุมชนวัด โรงเรียนสื่อสารกิจกรรมโครงการโดยใช้เด็กเป็นผู้สื่อสาร

  1. ใช้วัดเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชนฝึกให้เด็กเรียนรู้ชุมชน ฝึกเด็กเป็นไกด์นำเสนอ

6.การใช้เด็กและเยาวชนสื่อสารสาธารณะ จำนวน 5 คนสื่อสารผ่านสื่อ

7.สรุปชุดความรู้ถอดบทเรียนไว้เป็นเอกสารเผย

4.

4.การบริหารจัดการและการติดตามประเมินผลตัวชี้วัดเข้าร่วมกับสสส.

จำนวนครั้งที่เข้าร่วมกิจกรรมกับ สสส.และ สจรส.

2.2 ความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ
กลุ่มเป้าหมายงบประมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงปริมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพ/สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ
ที่ตั้งไว้(บาท)เกิดขึ้นจริง(บาท)จำนวนที่ตั้งไว้(คน)จำนวนเกิดขึ้นจริง(คน)

กิจกรรมหลัก : ประชุมเพื่อสร้างและพัฒนาข้อตกลงของชุมชนi

15,000.00 100 ผลผลิต

มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 70 คน ประกอบด้วย ตัวแทนชุมชน สภาแกนนำบ้านนากวด และนักเรียน ประชุมทุกวันที่ 9 ของเดือน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้นำมาสู่การสร้าง กฎ กติกา การอยู่ร่วมกันในชุมชน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  • ได้กำหนดเขตอภัยทานคลองนาท่อม
  • กำหนดเขตอภัยทานขยะในถนนสาธารณะ ในรูปแบบ ถนนสวย หมู่บ้านสะอาด คนนากวดรวมใจไม่ทิ้งขยะในที่สาธารณะ
  • โรงเรียนวัดนาท่อมประกาศเป็นโรงเรียนปลอดขยะ มีกิจกรรมหลัก คือ ธนาคารขยะโดยเด็กนักเรียน

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 10 ครั้ง

กรรมการหมู่บ้าน กรรมการวัด ตัวแทนโรงเรียน

0.00 0.00 30 15 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะกรรรมการหมู่บ้าน วัด และโรงเรียน เข้าใจกรอบการทำงาน หลักบวร ตาม ที่โครงการนำเสนอและออกแบบทำกิจกรรม

สภาแกนนำชุมชนบ้านนากวด

0.00 0.00 15 15 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้แผนปฏิบัติการ ได้ออกแบบกิจกรรม หนังสือเล่มเล็กเด็กเล่าเรื่อง  ได้แก้ เรื่องเรื่อง ตลาดนาท่อม100 ปี  เรื่องประวัติเจ้าอาวาสตาหลวงเหลื่อม  เรื่องกว่าจะเป็นวังมัจฉา เรื่องประวัติโรงเรียนวัดนาท่อม  สถานที่ในการใช้ทำกิจกรรม ได้เป้าหมายเรื่องที่จะให้เด็กได้ศึกษา ได้แกนนำพี่เลี้ยงเด็ก

จำนวนเด็กในชุมชน 30 คน สมาชิกสภาแกนนำพี่เลี้ยงเด็ก 10 คน

0.00 0.00 40 40 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-กิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุกับเด็กและสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน -เด็กได้รู้จักคน รู้จักชุมชน รู้ประวัติความเป็นมาของเรื่องที่เก็บข้อมูล -ชุมชนได้เรื่องเล่าจากการเก็บข้อมูลของเด็ก 4 เรื่อง -เด็กมีจิตสำนึกรักหวงแหน ทรัพยากรในพื้นที่เพิ่มมากขึ้น -ชุมชนได้ทำงานร่วมกับเทศบาลกับเด็กและเยาวชนในช่วงวันหยุดลดปัญหาเด็กใช้เวลาว่างไปในทางที่ผิด

-สภาแกนนำบ้านนากวดและประชาชน 50 คน -นักเรียนโรงเรียนวัดนาท่อม 25 คน -กรรมการวัด และเจ้าอาวาส 5 คน -ผู้นำของชุมชน 10 คน

0.00 0.00 90 90 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-ประชาชนบ้านนากวด  เจ้าอาวาสวัดนาท่อม  และ ผอ โรงเรียนวัดนาท่อม  ทั้ง 3 ภาคส่วนเป็นความร่วมมือการการทำงานร่วมกันที่มีเทศบาลมาช่วยเสริมให้กิจกรรมเห็นผลได้ดียิ่งขึ้น -ประชาชนเข้าใจการดำเนินกิจกรรมโครงการ บวร ไตรพลังฯ กับกิจกรรมที่ทำ คือ การสร้างจิตสำนึกให้กับประชาชน ที่เป็นรูปธรรมในเรื่องการจัดการขยะ ดูแลสิ่งแวดล้อม ได้แก่ในระดับครัวเรือน มีการเรียนรู้เป็นครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะด้วยวิธี 3R  โรงเรียนมีการสร้างจิตสำนึกโดยการมีตั้งเป็นโรงเรียนปลอดขยะ กิจกรรมธนาคารขยะ  วัดนาท่อมการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม โดยเจ้าอาวาสมีการเทศนาในกิจกรรมของวัด
-ขยะในที่สาธารณะ ใช้กิจกรรมรณรงค์อย่างต่อเนื่อง ได้แก้ รวมประชาชนมาร่วมกันเก็บขยะบนถนนสาธารณะ  ศูนย์พัฒนาครอบครัวมีกิจกรรมครอบครัวจักรยานสานฝันวันอาทิตย์รณรงค์การเก็บขยะในกที่สาธารณะ คลองนาท่อมมีเขตอภัยทานปลา  บนถนมีเขตอภัยทานบยะทั้วทั้ง 8 หมู่บ้าน
-ทุกอย่างเกิดจากกระบวนการสร้างจิตสำนึกอย่างต่อเนื่อง ทำจริง ทำบ่อย  ๆ

-สภาแกนนำบ้านนากวด 9  คน -สภานักเรียน  10  คน -เจ้าหน้าที่เทศบาล 1 คน

0.00 0.00 20 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สิ่งที่ได้จากการประชุม -สภาเด็กนักเรียนสามารถอธิบายขั้นต้อนการรับฝาก ถอน ธนาคารขยะได้ -สภาแกนนำที่เป็นพี่เลี้ยงมีความตั้งใจในการสอนและช่วยเหลือเด็กได้อย่างมีความรับผิดชอบ -เด็กที่ได้รับการศึกษาดูงานและมาฝึกทำที่โรงเรียนมีความมั้นใจและอยากเป็นผู้นำเสนอให้เพื่อน ๆ ดู -เด็นนักเรียนสามารถทำธนาคารขยะได้จริง ในวัดนเปิดธนาคาร

สมาชิกสภาแกนนำบ้านนากวด 5  คน สมาชิกสภาวัฒนธรรม 5 คน สมาชิกสภาเทศบาล 3 คน กำนันผู้ใหญ่บ้าน 5 คน เทศบาล  2 คน

0.00 0.00 20 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-ได้เห็นการทำงานของสภาแกนนำบ้านนากวด ในการเตรียม วางแผนกิจกรรมในพื้นที่ -ได้เห็นการประชุม พูดคุยแลกเปลี่ยน ในการสร้างกฏ กติกา ใช้กับการแข่งขันเรือยพาย -เห็นการประสานงานของสภาแกนนำบ้านนากวดได้อย่างมีประสิทธิภาพ -เห็นข้อสรุปจากการประชุมออกมาเป็นแผนงาน

สภาแกนนำและครัวเรือน จำนวน 24 คน กรรมการวัด 6  คน

0.00 0.00 40 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-สภาแกนนำบ้านนากวด และประชาชนมีการประชุมแลกเปลี่ยนเพื่อเตรียมงานและเพื่อจัดกิจกรรม รดน้ำผู้สูงอายุกิจกรรมการจัดการแข่งขันเรือพายประชำปีและประชุมเรื่องทั่วไปของชุมชน -ได้ทำงานร่วมกับ วัด โรงเรียน เทศบาล และวัดในการจัดกิจกรรมซึ่งทุกคน ต่างก็มีบทบาทต่อผู้สูงอายุกันทุกกลุ่มองค์กร

-สมาชิกสภาแกนนำบ้านนากวด 5  คน -เด็กและเยาวชน 20  คน -ผู้สูงอายุ 10 คน -คนทั่วไป 15  คน

0.00 0.00 70 50 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-เป็นการสร้างจิตสำนึกกับทุกคนในชุมชนและคนนอกชุมชนต้องมีความรับผิดชอบขยะ ต้องรักษาสิ่งแวดล้อม โดยเด็ก และครอบครัว -ชุมชนเกิดกฏกติกาขึ้น จำนวนมาก ได้แก่ เขตอภัยทานขยะ,เขตอภัยทานปลา,ปฏิญญาของผู้นำร่วมกันรักษาดูแลปลาและสิ่งแวดล้อมในคลอง, ใช้การประชุมวันที่ 9 ทุกเดือนเป็นการตัดสินใจเรืองต่าง ๆ -กิจกรรมของครอบครัวจักรยานทำการรณรงค์อยา่งต่อเนื่องของเด็กจะทำให้จิตสำนึกเกิดขึ้นได้เร็วและเป็นแนวทางในการพัฒนาต่อ -สิ่งที่คาดหวังเกิดขึ้นคือ การทำงานร่วมกับเทศบาลตำบลนาท่อม ได้ประกาศเขต ถนนสวยหมู่บ้านสะอาด เป็นเขตอภัยทาน ตามกิจกรรมสืบชะตาคลองนาท่อม

-สภาแกนนำบ้านนากวด 10  คน

-ประชาชนจำนวน  25 คน

0.00 0.00 40 35 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-เป็นการประชุมประจำเดือนทุกวันที่ 9  ของเดือน ได้ทราบกิจกรรมของชุมชน รู้ความเคลื่อนไหวของชุมชน
-สภาแกนนำบ้านนากวด ได้เตรียมกิจกรรม ได้หาหรือแลกเปลี่ยนเพื่อทำกิจกรรม ในแต่ละครั้ง -ผลของกิจกรรม กลุ่มผู้สูงอายุส่วยใหญ่ของชุมชนที่ให้ความร่วมมือและทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องในชุมชน -สภาแกนนำบ้านนากวด เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากร่วมดำเนินกิจกรรม บวร ไตรพลังมาระยะเวลา 1 ปี ด้านพฤติกรรมของผู้สูงอายุเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นคือ 1. การรวมตัวออกมาร่วมทำกิจกรรมเพิ่มขึ้น 2. ทุกวันพระ มีผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น 3. กิจกรรมของขุมชนที่มีความหลากหลายกลุ่มผู้สูงอายุจะให้ความร่วมมือจนสำเร็จ
4. กิจกรรมทำพิพิธภัทณ์โดยใช้วัดเป็นศูนย์กลาง จะเห็นได้ชัดกลุ่มผู้สูงอายุให้ความสำคัญต้องการผลักดันให้ทำให้ได้ แต่ละคนมีสิ่งของมาบริจากถ้าทำดี ๆ น่าเชื่อถือ

-สภาแกนนำบ้านนากวดและประชาชน จำนวน 60  คน

-นักเรียน 30  คน

-ผู้นำ 10 คน

15,000.00 15,000.00 100 100 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สิ่งที่ได้จากการดำเนินโครงการ บวรไตรพลัง สร้างสุขสู่บ้านนากวดน่าอยู่ -ชุมชนมีกิจกรรมสืบชะตาคลองนาท่อมที่เด็กและเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น ได้แก่ ธนาคารขยะในโรงเรียนเด็กเป็นผู้ดำเนินการ เดือนละ 2 ครั้ง, ละครหุ่นเงาที่ใช้เด็กนำเสนอเป็นการสื่อสารเรื่องชุมชนโดยเด็ก, เด็กรณรงค์การจัดการสิ่งแวดล้อมในตำบลนาท่อมผ่านกิจกรรมจักรยาน ,  พื้นที่นี้ดีจัง ,หนังสือเล่มเล็กเด็กเล่าเรื่อง, แผนที่ทำมือ,เขตอภัยทานขยะที่ใช้กิจกรรมเด็กเป็นสือ

-โรงเรียนมีธนาคารขยะ ที่มีการจัดการขยะโดยวิธี 3 R เป็นแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน

-วัดมีแหล่งเรียนรู้ชุมชนโดยใช้วัดเป็นฐานในการเรียนรู้โดยใช้อาคารไม้หลังเก่าเป็นที่ตั้งพิพฺิธภัณฑ์เก็บรวบรวมสิ่งเก่า ๆ เช่น ภาพสะท้อนเรื่องในอดีต เช่น ภาพเจ้าอาวาส  ภาพกำนันคนแรก  ภาพผู้ใหญ่แต่ละพื้นที่

-ส่วนกลุ่มจิตอาสาบ้านนากวดก็จะมีกลุ่มที่ให้การช่วยเหลือคนยากจน ด้อยโอกาส ช่วยเหลืองานบุญ งานวัด  เช่น กลุ่มผูกผ้า กลุ่มทำสินค้าทดแทน

 

กิจกรรมหลัก : กิจกรรมหนุนเสริมติดตามการดำเนินการของสจรส.i

7,500.00 3 ผลผลิต

เข้าร่วมประชุมกับ สจรส.จำนวน 4 ครั้ง คือ กิจกรรมปฐมนิเทศ กิจกรรมตรวจรายงานความก้าวหน้า กิจกรรมถอดบทเรียน และกิจกรรมตรวจรายงานฉบับสมบูรณ์


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ผคณะทำงานเข้าใจการจัดทำรายงานส่ง สสส.ได้

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 8 ครั้ง

ผู้เข้าร่วมเป็นเจ้าหน้าที่การเงิน และผู้รายงานโครงการ

800.00 800.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

รายงานข้อมูลในระบบได้ถูกต้อง มีความเข้าใจในการดำเนินงาน  การรายงานมากขึ้น สามรถนำความรู้ไปบริหารจัดการโครงการให้เกิดประสิทธิภาพเป็นไปตาปฏิทินที่กำหนดไว้

คณะทำงานรายงานผลและผู้รับผิดชอบโครงการ

500.00 500.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-ได้เรียนรู้ช่องทางการเผยแพร่ผลงานโครงการ ผ่านช่องทางที่หลากหลาย  กับสังคมออนไลค์ และช่องทางที่คน กลุ่มคน กิจกรรมเป็นสื่อ

เจ้าหน้าที่การเงิน

1,400.00 1,400.00 2 1 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การบัญทีกบัญและรายงานการเงินยังไม่เรียบร้อย ยังไม่สามารถออกรายงานได้

การเงินโครงการ

960.00 0.00 3 1 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-เจ้าหน้าที่การเงินรู้และเข้าใจสามารถบันทีกการเงินและการเขียนใบสำคัญรับเงินได้ถูกต้อง, ผู้รับผิดชอบโครงการไม่ได้เข้าร่วมแจ้งมาติดธุรมอบหมายให้เจ้าหน้าที่การเงินมาแทน

คณะทำงานสภาแกนนำบันทึกข้อมูลการดำเนินงาน

960.00 640.00 2 1 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-ได้รายงานความก้าวหน้าโครงการ บวร ไตรพลังสร้างสุขสู่บ้านนากวดน่าอยู่
-ได้บันทึกการประเมินคุณค่าในระหว่างการทำกิจกรรมโครงการเป็นระยะ -โครงการมีการดำเนินโครงการด้วยกิจกรรมที่หลากหลายแต่การบันทึกยังไม่เป็นปัจจุบัน

สภาแกนนำ บ้านนากวด ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน เทศบาล กลุ่มจิตอาสา

960.00 0.00 3 18 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-สภาแกนนำบ้านนากวดมีการทำงานผ่านกระบวนการประชุม ออกแบบ วางกฏกติกาการทำงานร่วมกับผู้นำทุกภาคส่วนในชุมชน -ใช้การประชุมหาข้อสรุป ในการแก้ปัญหา -คณะทำงานแข่งขันเรือพายที่ประกอบด้วยหลายภาคส่วน มีการทำงานต่อเนื่องทุกปี ของบประมาณจาก ยุทธศาสตร์จังหวัดในการทำกิจกรรม  อบจในการสนับสนุนกิจกรรม

สรุป  เห็นสภาแกนนำบ้านนากวดทำงานร่วมกันได้หลายองค์กร เชื่อมภาคึในระดับชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมได้เป็นอย่างดี

-นักเรียน -กลุ่มผู้สูงอายุ -ประชาชนทั่วไป -เทศบาลตำบลนาท่อม

960.00 0.00 3 57 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-สภานักเรียนโรงเรียนเข้าใจกระบวนการขยะแลกไข่ และสามารถดำเนินการได้เองถ้าเมื่อมีการจัดกิจกรรม -ประชาชนมีส่วนร่วมในการนำขยะมาแลกไข่จำนวน 30  ราย -นักเรียนโรงเรียนวัดโคกแย้มนำขยะมาแลกไข่จำนวนมากและโรงเรียนมีความสนใจ -เด็กยังต้องมีผู้ช่วยในการทำกิจกรรมแต่ละครั้ง เรื่องการประสานงานเรื่องราคา เพราะขยะราคาถูกเมื่อขายกับคนรับซื้อทั่วไป
-กิจกรรมธนาคารขยะ ทางหน่วยงานเทศบาลหรือชุมชนต้องสนับสนุนเด็กด้วยวิธีการเสริมพลังต่าง ๆ ให้เขามีกำลังใจ จะทำให้ขยะในชุมชนลดลงได้

ผู้รับผิดชอบโครงการและการเงิน

960.00 800.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ดำเนินการปิดบัญชีโครงการบวร 

กิจกรรมหลัก : กิจกรรมทำรายงานปิดโครงการและการขยายภาพi

2,000.00 100 ผลผลิต

มีผู้เข้าร่วม 2 คน มาร่วมกิจกรรมจัดทำรายงานที่จัดโดย สจรส.


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

เข้าใจหลักการเขียนหลักฐานการเงิน และการเขียนรายงาน จนสามารถส่ง สสส.ได้

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 2 ครั้ง

-เจ้าอาวาสวัดนาท่อม -ผอ.โรงเรียนวัดนาท่อม -สภาแกนนำบ้านนากวด

1,000.00 1,000.00 15 10 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การดำเนินโครงการบวร ไตรพลังสร้างสรุขสู่บ้านนากวดน่าอยู่ โดยสรุป จากกิจกรรม ที่สามารถนำมาขยายผลต่อได้
-ความรู้ที่ได้จากการดำเนินโครงการ  ความรู้จากการนำเด็กมาให้รูจักกันในชุม ก็จะเกิดกิจกรรมใหม่ตามมาจำนวนมาก  และทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม ทำให้ชุมชนมีส่วนร่วมมากขึ้นประมวลภาพจากกิจกรรม -กลุ่มสภาแกนนำบ้านนากวด  จากการดำเนินงานมา 2 ปีต่อเนื่อง การสร้างและพัฒนาสู่การเป็นสภาแกนนำของชุมชน ผลที่เกิดขึ้น สภาแกนนำเกิดขึ้น แต่เรื่องบทบาทหน้าที่ยังเป็นจุดอ่อนชุมชน คือ ชุมชนสามารถรวมคนมาทำกิจกรรมเฉพาะอย่าง ในระยะเวลาสั้น ๆ แต่ไม่สามารถให้เขารับผิดชอบบทบาทหน้าที่ได้เพราะประชาชนต้องหารายได้ดูแลครอบครัว ไม่ได้ทำงานในชุมชน ยังต้องพัฒนาต่อในด้านสภาแกนนำบ้านนากวด -แผนงานต่าง ๆ ของบ้านนากวด ที่ใช้ บวร ในการจัดการชุมชน ข้อมูลและแผนชุมต้องมีการได้รับการทบทวนอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยปีละ 1 ครั้งที่ใช้เป็นเครื่องมือบริหารของชุมชน -ผลที่ได้จากกิจกรรม อาทิ พฤติกรรม หรือสิ่งที่เกิดขึ้นภายหลังกิจกรรม เช่น การรวมกลุ่มทำกิจกรรมต่อเนื่อง ได้แก่ ครอบครัวจักรยานสานฝันวันอาทิตย์มีกิจกรรมต่อเนื่อง  สภาเด็กและเยาวชน  สภานักเรียนโรงเรียนวัดนาท่อมกับกิจกรรมธนาคารขยะ กฎกติกาชุมชน  เขตอภัยทานคลองนาท่อม  เขตอภัยทานถนนสวยหมู่บ้านสะอาด ป้ายปฏิญญาของผู้นำรักษาสิ่งแวดล้อม

คณะทำงานโครงการ

1,000.00 1,000.00 1 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ค่าถ่ายภาพกิจกรรม

กิจกรรมหลัก : พัฒนาแหล่งเรียนรู้กระบวนการการจัดการธนาคารขยะในโรงเรียนวัดนาท่อมให้เป็นแหล่งเรียนรู้จำนวน 1 แหล่งi

17,500.00 85 ผลผลิต

มีผู้เข้าร่วมจำนวน 102 คน หารือพัฒนาวัดและโรงเรียนวัดนาท่อมให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนด้านการจัดการขยะ


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  • เจ้าอาวาสได้อนุญาติให้พัฒนาวัดนาท่อมเป็นแหล่งเรียนรู้ โดยใช้อาคารไม้เก่าเป็นสถานที่จัดเก็บและรวบรวมชิ้นงาน
  • ได้เปิดธนาคารขยะอย่างเป็นทางการในโรงเรียนวัดนาท่อม ในวันที่ 24 มิ.ย.58 บริหารโดยสภานักเรียน ครู และแกนนำชุมชน

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 5 ครั้ง

สภาแกนนำชุมชนนากวด สภานักเรียน คณะครู เจ้าหน้าที่เทศบาล

17,500.00 17,500.00 85 85 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-สภานักเรียนและคณะครูเข้าใจยินดีเข้าร่วมกิจกรรม โดยการ ให้สมาชิกสภาแกนนำชุมชนร่วมกับเจ้าหน้าที่เทศบาลมาสอนกระบวนการทำธนาคารขยะให้นักเรียน โดยทุกวันพุธ เวลาบ่าย 2 ทางโรงเรียนจะจัดเป็นชั่วโมงกิจกรรม -ทางสภาแกนนำร่วมกับเจ้าหน้าที่ของเทศบาลบางลำดับขั้นตอนไว้ดังนี้ 1. แบ่งกลุ่มนักเรียนเป็น 4  กลุ่ม กลุ่มขยะอินทรีย์  กลุ่มขยะรีไชค์เคิล  กลุ่มขยะทั่วไป  กลุ่มขยะอันตราย และกำหนดการจัดการขยะด้วยวิธี 3R 2. หลังจากการสอนการคัดแยกเสร็จ สู่การเรียนรู้วิธีการจัดการขยะ ทั้ง 4 ประเภท 3. ขยะรีไซด์เคิล เป็นขยะที่ขายได้ มาเรียนรู้การจัดตั้งธนาคารขยะ เตรียมสถานที่  เตรียมคน เตรียมอุปกรณ์ ทดสอบกระบวนการ และรับซื้อขยะจริง 4. ทำการรณรงค์ขยะแลกไข่ และ เปิดดำเนินการธนาคารขยะที่โรงเรียนโดยเด็กนักเรียน

-เจ้าหน้าที่เทศบาลนาท่อม 3 คน -สภาแกนนำชุมชนนากวด 10 คน -นักเรียนและครู 47  คน

0.00 0.00 60 60 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-เด็กนักเรียนรู้และอธิบายเพื่อนได้ ขยะอินทรีย์คืออะไร -เด็กนักเรียนเรียนรู้ขั้นตอน และสวนผสมการทำปุ๋ยหมักแห้งและน้ำหมักชีวภาพได้

-สภาแกนนำ  10 คน -เจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลนาท่อม 5 คน -นักเรียนและครู 35 คน

0.00 0.00 50 50 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-เด็กมีความรู้ จัดแบ่ง หน้าที่และเตรียมความพร้อมการเปิดดำเนินการธนาคารขยะ -เด็กเขาสามารถดำเนินการเองได้ โดยให้ผู้ใหญ่เป็นพี่เลี้ยงก่อนในระยะแรก และขยะก็ต้องเป็นขยะในโรงเรียนก่อน

-สภานักเรียน 13 คน -ครู 1 คน -สภาแกนนำ 6  คน กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม คือ ประชาชนที่มาร่วมงานเทศบาลตำบลนาท่อมพบประชาชน  ส่วนใหญ่เป็นประชาชนหมู่ที่ 2 นำขยะมาแลกไขเป็นจำนวนมากที่สุด รองลงมา นักเรียนโรงเรียนวัดโคกแย้ม

0.00 0.00 20 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-สภาแกนนำบ้านนากวดร่วมมือเป็นพี่เลี้ยงให้สภานักเรียน จนนักเรียนมีความรู้ เข้าใจในกระบวนการสามารถจัดการเองได้ที่โรงเรียน -การบวนการธนาคารขยะในโรงเรียนต้องมีครูพี่เลี้ยงในการดำเนินการ -ครู ผอ.เห็นด้วยและให้ความร่วมมือกับสภาแกนนำบ้านนากวดเป็นอย่างดี เนื่องจากครูสอนเด็กด้วยหลักการทำให้เห็นผล
-การรณรงค์ของงะนาคารขยะต้อง

-นักเรียนโรงเรียนวัดนาท่อม  60  คน -สภาแกนนำบ้านนากวดพี่เลี้ยงเด็ก 8 คน -เจ้าหน้าที่เทศบาล 2 คน

0.00 0.00 85 70 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-เกิดแหล่งเรียนรู้ธนาคารขยะในโรงเรียนวัดนาท่อม 1 แหล่งที่บริหารจัดการโดยสภานักเรียน มีครู เทศบาลและสภาแกนนำบ้านนากวดเป็นพี่เลี้ยง -สภานักเรียนและเด็กนักเรียนได้เรียนรู้กระบวนการธนาคารขยะ และการจัดการขยะโดยวิธี 3 R -โรงเรียนวัดนาท่อมที่มี ผอ.โรงเรียนและครูสนใจเรียนรู้การเป็นโรงเรียนปลอดขยะจากการศึกษาดูงานโรงเรียนบ้านนาทวี จังหวัดสงขลาแล้วนำกลับมาทำในโรงเรียน จนเกิดกิจกรรมธนาคารขยะ การคัดแยกขยะโดยวิธี 3 R
- โรงเรียนที่นำโดยครู ทุกท่านได้เปิดใจรับการเรียนรู้จนเด็กเกิดพฤติกรรมเปลี่ยนไป ทำปุ๋ยหมัก และแห้งได้ , สามารถคัดแยกขยะโดยวิธี 3R
- เด็กและเยาวชนมีการรณรงค์ ร่วมกับศูนย์พัฒนาครอบครัวในตำบลนาท่อม ได้มีครอบครัวจักรยานสานฝันวันอาทิตย์ ได้จัดการรวมเด็กอย่างหลวม ๆ มากกว่า 3 ปี อย่างต่อเนื่อง จัดทำเขตอภัยทานขยะของทุกชุมชน เป็นผลให้เกิดพฤติกรรมของคนในชุมชนและนอกชุมชนได้เรียนรู้การมีกติการ่วมกันเป็นเขตอภัยทานขยะ เหมือ ธรรมนูญุมชนแต่ไม่ลงโทษ

2.3.1 นวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ

(นวัตกรรมคือ การจัดการความคิด กระบวนการ ผลผลิต และ/หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสม มาใช้งานให้เกิดประสิทธิผล และ/หรือประสิทธิภาพมากกว่าเดิมอย่างชัดเจน)

ชื่อนวัตกรรมคุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรมผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์
สภาเด็กและเยาวชน

กระบวนการสร้างจิตสำนึกในการจัดการสิ่งแวดล้อม ด้วยการสร้างกิจกรรม ทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เช่น ปั่นจักรยานทุกวันอาทิตย์ เรียนรู้ชุมชน บำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ หุ่นเงาเด็กสื่อสารการจัดการสิ่งแวดล้อมหนังสือเล่มเล็กเด็กเล่าเรื่องพื้นที่ 3Dแผ่นที่ทำมือ

สภาเด็กและเยาวชนสามารถขับเคลื่อนงานให้เกิดชุมชนเปลี่ยนแปลงเรื่องสิ่งแวดล้อม

2.3.2 โครงการเด่น (Best Practice)

(โครงการเดิ่น คือ โครงการสร้างเสริมสุขภาพให้สัมฤทธิ์ผลที่เป็นรูปธรรมแล้วขยายผลอย่างยั่งยืน โดยแนวคิดกระบวนการ และผลงาน สามารถเป็นตัวอย่างที่จะนำไปขยายผลในชุมชน (Setting) อื่น ๆ ได้ การดำเนินงานมีส่วนร่วมของภาคีที่หลากหลาย มีการบริหารจัดการที่ดี โปร่งใสและตรวจสอบได้)

ชื่อ Best Practiceวิธีการทำให้เกิด Best Practiceผลของ Best Practice / การนำไปใช้ประโยชน์
กระบวนการสร้างจิตสำนึกเด็กและเยาวชน

การใช้กิจกรรมเด็กเป็นสื่อ ในหลายกิจกรรม คิดโดยเด็ก ทำโดยเด็ก ทำกิจกรรมรณรงค์สร้างจิตสำนึกเรื่องสิ่งแวดล้อม

  1. เกิดป้ายรณรงค์ เขตอภัยทานขยะ ทั้ง 8 หมู่บ้าน
  2. ครอบครัวจักรยานปั่นรณรงค์เรียนรู้ชุมชน บำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ เช่นเก็บขยะ ปลูกไม้ ปล่อยปลา
  3. สภาเด็กและเยาวชน ทำหนังสือเล่มเล็ก เด็กเล่าเรื่องชุมชน, พื้นที่ 3D, แผ่นที่เดินดิน, ละครหุ่นเงาเล่าเรื่องสิ่งแวดล้อม,ค้นหาพื้นที่ดี พื้นที่สร้างสรรค์ในชุมชน
2.3.3 เกิดแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการสร้างเสริมสุขภาพในประเด็นต่าง ๆ
ชื่อ-สกุลที่อยู่ติดต่อได้สะดวกคุณสมบัติแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลง
2.3.4 มีสภาพแวดล้อมและปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพ

เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพในชุมชนพื้นที่โครงการดังนี้

สถานที่/พื้นที่ ที่เปลี่ยนแปลงรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

พื่นที่ดี

  1. พื้นที่หน้าวัดนาท่อม และพื้นที่สะพานหูยาน เป็นพื้นที่ดีสำหรับเด็กและเยาวชน
  2. โรงเรียนวัดนาท่อมเป็นสถานที่มีธนาคารขยะ และวัดนาท่อม เป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชน ในสถานที่กุฎิไม้หลังเก่า
  3. ริมถนนสาธารณะมีป้ายรณรงค์ เป็นกติกาชุมชนทั้ง 8 หมู่บ้าน เขตอภัยทาน ถนนสวยหมู่บ้านสะอาด
  • พื้นที่สะพานหูยานและสะพาสริง เป็นพื้นที่สร้างสรรค์ของเด็กและเยาวชนตำบลนาท่อมในการทำกิจกรรม พื้นที่นี้ดีจัง ยิ้มที่ริมคลองนาท่อม ตลาดนัดคนรักษ์สุขภาพ
  • เป็นพื้นที่มีกฎกติกา เช่น เขตอภัยทานของคลองเขตอภัยทานขยะถนนสาธารณะ -โรงเรียนมีธนาคารขยะมีกิจกรรมขยะแลกไข่มีทอดผ้าป่าขยะ -ในวัดมีพิพิธภัณธ์แหล่งเรียนรู้ชุมชน

ส่วนที่ 3 : ปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงาน

3.1 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเด็นปัญหา/อุปสรรคการแก้ไขของผู้รับทุนข้อเสนอแนะ/การแก้ไขปัญหาและการเสริมพลังของผู้ติดตาม

การทำงานต้องผ่านการออกแบบกิจกรรมเพื่อให้สอดคล้องกับเวลา ของ บ้าน วัด โรงเรียน จึงเป็นเรื่องต้องปรับปรุง เช่น บางช่วงโรงเรียนปิดเทอม ช่วงก่อนสอบช่วงสอบ ,บางช่วงวัดมีกิจกรรม, ชุมชนยุ่งเรื่องวิถีชีวิต

การประชุมแลกเปลี่ยนของคณะทำงานและบางครั้งคณะทำงานต้องประสานเฉพาะแต่ละหน่วย

การประสานงานเป็นเรื่องสำคัญ ตัวอย่าง ของโรงเรียนถ้าเราไปทำกิจกรรมโดยไม่เข้าใจ กิจกรรมของโรงเรียนก็จะพบกับความล้มเหลว ดังนั้นเวลาทำกิจกรรมโครงการ บวร เจ้าของแหล่งทุนต้องเข้าใจเรื่องเวลาต้องมีการยึดหยุ่นได้เช่น บางเดือนไ

3.2 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเภทความเสี่ยง / ปัจจัยเสี่ยงระดับความเสี่ยง
(จากมากไปหาน้อย)
ข้อมูล ข้อสังเกตุ และข้อคิดเห็นของผู้ติดตาม
3210
1. ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน (Operational Risks)
1.1 โครงสร้างการดำเนินงาน

โครงการการดำเนินงานมีความชัดเจน ตั้งคนได้ตามความรู้ความสามารถ

1.2 ศักยภาพและทักษะการดำเนินงาน

-ต้องมีการพัฒนาศักยภาพคณะทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาชุมชนได้

1.3 ผลลัพธ์และผลสำเร็จของการดำเนินงาน

กิจกรรมที่เกิดขึ้นสามารถรวมคน เกิดความร่วมมือของชุมชนบรรลุเป้าหมาย

2. ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risks)
2.1 ระบบและกลไกการบริหารจัดการ

 

2.2 การใช้จ่ายเงิน

 

2.3 หลักฐานการเงิน

 

ผลรวม 0 0 0 0
ผลรวมทั้งหมด 0 ระดับความเสี่ยง : ???
เกณฑ์วัดระดับความเสี่ยง ???
สรุปการแก้ไขความเสี่ยง แก้ไขแล้ว ยังไม่ได้แก้ไข

ส่วนที่ 4 : สรุปความเห็นของผู้ติดตาม

ส่วนที่ 4สรุปความเห็นของผู้ติดตาม
4.1 กรณีเบิกเงินงวด/ติดตามเยี่ยมชม มีแนวโน้มสำเร็จตามเป้าหมายโครงการและติดตามปกติ
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

 

มีแนวโน้มเสี่ยง ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจาก
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

 

มีความเสี่ยง ต้องยุติโครงการ เนื่องจาก
4.2 กรณีสรุปปิดโครงการ ดำเนินงานได้ตามแผนปฏิบัติการและสามารถปิดโครงการได้
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

ทีมสภาแกนนำชุมชน มีความตั้งใจในการทำกิจกรรมในโครงการ มีการประสานกับเครือข่ายเพื่อร่วมกันสร้างกลไก ไตรพลังของชุมชนบ้านนากวดให้น่าอยู่มากขึ้น

ไม่เป็นไปตามแผนปฏิบัติการ ให้ดำเนินการจัดระบบการเงิน ระบบรายงานให้ถูกต้องก่อนปิดโครงการ
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

 

ส่วนที่ 5 : สรุปภาพรวมของการติดตามประจำงวด (ข้อสังเกต/สิ่งดีๆ ที่ค้นพบ/ข้อพึงระวัง/บทเรียนที่ได้)

ทีมคณะกรรมการสภาแกนนำชุมชน ได้ดำเนินโครงการครบทุกกิจกรรม และเสร็จในเวลา มีการดึงเครือข่าย โรงเรียน เทศบาล วัด และชุมชน เข้ามาร่วมสร้างไตรพลังของชุมชน ทำให้เกิดการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เช่น การปั่นจักรยาน ถึงแม้ว่าโครงการจะปิดไปแล้ว แต่ยังดำเนินกิจกรรมต่อไป

สร้างรายงานโดย Yuttipong Kaewtong