แบบบันทึกการติดตามสนับสนุนโครงการ ครั้งที่ 3

รหัสโครงการ 57-01438
สัญญาเลขที่ 57-00-0951

ชื่อโครงการ ป่าฟื้น คนฟื้น ที่บ้านทุ่งยูง
รหัสโครงการ 57-01438 สัญญาเลขที่ 57-00-0951
ระยะเวลาตามสัญญา 1 มิถุนายน 2014 - 30 มิถุนายน 2015

ส่วนที่ 1 : ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม

1.1 ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 1 นายเสณี จ่าวิสูตร
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 2
วันที่ลงพื้นที่ติดตาม 22 กรกฎาคม 2015
วันที่ส่งรายงานถึง สสส. 16 กรกฎาคม 2015
1.2 ผู้ให้ข้อมูล
ลำดับชื่อ-สกุลผู้ให้ข้อมูลที่อยู่หมายเลขโทรศัพท์
1 นายสมศักดิ์ สุขยูง 72 ม.4 ต.เขาปู่ อ.ศรีบรรพต จ.พัทลุง 93190 0872906164

ส่วนที่ 2 : ข้อมูลโครงการและความก้าวหน้าการดำเนินงาน

2.1 วัตถุประสงค์และตัวชี้วัดความสำเร็จโครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1.

  1. เพื่อสร้างฐานข้อมูลสิ่งมีคุณค่าในป่าต้นน้ำ คลองเพลี๊ยะและคืนข้อมูลให้คนในชุมชนได้เรียนรู้และร่วมกันจัดทำแผนการจัดการป่า

1.1มีชุดข้อมูลเรื่องทรัพยากรป่าต้นน้ำคลองเพลี๊ยะ 1ชุด 1.2คนในชุมชนมีความรู้เรื่องฐานทรัพยากรป่าต้นน้ำคลองเพลี๊ยะ จำนวน 250 คน 1.3มีแผนปฏิบัติการในการจัดการป่าฯจำนวน 1แผน 1.1 มีข้อมูลเรื่องชนิดปริมาณและคุณค่าของพืช สัตว์ แหล่งน้ำที่มีคุณค่าต่อชุมชน 1.2 คนในชุมชนเห็นความสำคัญและมีความตระหนักในการร่วมกันจัดการป่าฯ ผลจากการเรียนรู้ข้อมูลฯ 1.3 มีแผนการจัดการป่าฯที่มีแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ร่วมกันกำหนดและเกิดจากข้อมูลข้อเท็จจริงที่เกิดจากการเรียนรู้ร่วมกัน และละเอียดสามารถทำตามได้อย่างชัดเจน

2.

เพื่อร่วมกันจัดการให้มีการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้

มีฝายชะลอน้ำ จำนวน 3 จุด -มีพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมได้รับการฟื้นฟู จำนวน15ไร่มีพันธ์ไม้ใช้สอยเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 1,500 ต้น -มีชุดลาดตระเวณเพื่อดูแลพันธ์ไม้และเฝ้าระวังการทำลายป่า จำนวน 7 คนเดินลาดตระเวณเดือนละครั้ง -มีสื่อประชาสัมพันธ์/สื่อรณรงค์/ป้ายแสดงกฏกติกา ไม่ต่ำกว่า 10 ชิ้น -มีกฏกติกาของชุมชนในการดูแลรักษาป่า

3.

เพื่อพัฒนากลุ่มและองค์กรในชุมชนให้สามารถร่วมกันบริหารและจัดการทรัพยากรป่าไม้

มีคณะทำงานที่ร่วมกันรับผิดชอบการดำเนินงานตามโครงการ จำนวน 15 คน -มีกลไกในการบริหารจัดการชุมชนโดยรูปแบบสภาชุมชนผ่านการประชุมหมู่บ้าน

4.

เพื่อการบริหารจัดการและกาารติดตามประเมินผลโครงการ

ำนวนครั้งในการเข้าร่วมกิจกรรมกับ สสส. และ สจรส.

2.2 ความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ
กลุ่มเป้าหมายงบประมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงปริมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพ/สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ
ที่ตั้งไว้(บาท)เกิดขึ้นจริง(บาท)จำนวนที่ตั้งไว้(คน)จำนวนเกิดขึ้นจริง(คน)

กิจกรรมหลัก : เวทีเรียนรู้สภาพป่าในอดีตจากผู้เฒ่าเล่าให้ฟัง 7.1 กิจกรรมค่ายศิลปะสร้างป่า โดยมีทีมวิทยากรจากอุทยานแห่งชาติเขาปู่เขาย่า เป็นผู้จัดกระบวนการให้กับกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนโรงเรียนชุณหะวัณจำนวน 10 คนและเยาวชนในหมู่บ้าน จำนวน 10 คน -ร่วมวิเคราะห์สิ่งดีมีคุณi

18,040.00 37 ผลผลิต

จัดกิจกรรมค่ายศิลปะโดยใช้สถานที่คือในป่าเขตอุทยานแห่งชาติเขาปู่เขาย่า และมีทีมวิทยากรเป็นเจ้าหน้าที่อุทยาน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

เด็กๆสนุกสนานกันมากที่มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมในค่ายนี้ ได้ถ่ายทอดจินตนาการผ่านภาพวาด ได้ฟังเรื่องราวของความสมบูรณ์ในอดีตของป่าแถบนี้จากคนรุ่นแรกๆ ได้เรียนรู้ถึงพัฒนาการการตั้งถิ่นฐานของชุมชนละแวกนี้ สร้างความรู้สึกผูกพัน และภูมิใจในถิ่นเกิด

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 2 ครั้ง

ปราชญ์ชาวบ้านที่มีความรู้ในอดีตเกี่ยวกับชุมชน จำนวน 2 คน -คณะทำงานจำนวน15 คน -เด็กและเยาวชนจำนวน 26  คน

18,040.00 9,440.00 37 43 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จัดเวทีเสวนาเรียนรู้สภาพป่าในอดีตจากผู้เฒ่าเล่าให้ฟัง  ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน  ประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่นในอดีต  วิถีชีวิตของคนในชุมชนที่เกี่ยวของกับป่าไม้ ร่วมวิเคราะห์สิ่งดีมีคุณค่า สิ่งที่สูญหายไปจากป่าและใกล้สูญพันธ์

คณะทำงาน 9 คน วิทยากร 1 คน เด็กและเยาวชน 22 คน

8,200.00 8,200.00 30 32 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เด็กและเยาวชนสนใจ และชื่นชอบ สนุกกับการทำกิจกรรมศิลปะ เป็นอย่างมาก

กิจกรรมหลัก : วันปลูกพืชป่า/คืนธรรมชาติสู่ป่า -เนื้อที่ 15 ไร่ -จำนวน 1,500 ต้น -จำนวน 5 ชนิด จำนวน 3 ครั้งi

36,000.00 150 ผลผลิต

สามารถปลูกป่าคืนธรรมชาติได้ครบตามที่กำหนดไว้ แม้จะไม่ครบในบริเววณพื้นที่ป่ด้านบน เนื่องจากติดช่วงที่ฝนหนักไม่สามารถเดินทางเข้าไปได้ แต่สามารถปลูกในป่าบริเวณริมอ่างเก็บน้ำได้เนื้อที่เท่ากัน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

แม้จะไม่ครบในบริเววณพื้นที่ป่าด้านบน เนื่องจากติดช่วงที่ฝนหนักไม่สามารถเดินทางเข้าไปได้ แต่สามารถปลูกในป่าบริเวณริมอ่างเก็บน้ำได้เนื้อที่เท่ากัน แต่ผลพลอยได้ที่สำคัญเด็กและเยาวชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการปลูกทำใหคิดว่านี้เป็นต้นไม้ของเขา ป่าของเขา มันเกิดเองโดยธรรมชาติ เด็กมักรบเร้าทีมงานให้ช่วยพาเข้าไปดูต้นไม้ที่เขาร่วมกันปลูก แม้จะไม่ใช่ช่วงซึ่งกำหนดไว้ในตารางงานก็ตาม

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 3 ครั้ง

คณะทำงาน  15  คน สมาชิก  54  คน

12,000.00 12,000.00 135 69 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ปลูกป่า  ประมาณ  300  ต้น  บริเวณป่าต้นน้ำปลายเพลี๊ยะ

คณะทำงาน 15  คน สมาชิก  120  คน

12,000.00 12,000.00 135 135 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เด็กและเยาวชนเกิดความสามัคคีในการปลูกไม้ได้ทุกขั้นตอน ปลูกไม้ยืนต้น  214  ต้น

คณะทำงาน  15  คน สมาชิก  120  คน

12,000.00 12,000.00 135 135 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ปรับเปลี่ยนการปลูกป่าบริเวณป่าต้นน้ำปลายเพรี๊ยะ  มาปลูกบริเวณริมอ่างเก็บน้ำป่าพะยอม  เนื่องจากเกรงอันตรายจากฝนตกหนัก  โดยปลูกต้นพะยูงและต้นตะเคียนทอง จำนวนประมาณ  680  ต้น  ได้รับความร่วมมือจากคณะทำงาน สมาชิก และบุคคลทั่วไปเป็นอย่างดี  และใช้โอกาสนี้ปลูกป่าเนื่องในโอกาสวันพ่อแห่งชาติด้วย  นอกจากปลูกต้นไม้แล้ว ผู้เข้าร่วมกิจกรรมยังได้ร่วมกันตกแต่งต้นไม้ที่มีอยู่เดิม  โดยการตัดแต่งวัชพืช ตัดแต่งกิ่งที่ไม่เหมาะสมออกไป  ต้นไม้ท้องถิ่นที่มีอยู่เดิมเช่น ชับพรา  เขม้า  กระโดน  แต้ว ฯลฯ ได้รับการดูแลอย่างที่กล่าวข้างต้น  จากการสังเกต  ผู้เข้าร่วมโครงการ ทำกิจกรรมด้วยความสนุกสนาน  โดยแบ่งหน้าที่กันทำ ผู้ใหญ่ขุดหลุ่ม เด็กๆ ช่วยการปลูก  ผู้หญิงลำเลียงพันธุ์ไม้ให้เด็กๆ และให้คำแนะนำในการปลูก  คนที่มีรถยนต์ ทำหน้าที่บรรทุกพันธุ์ไม้จากในหมู่บ้าน  ดูแล้วพวกเขาทำกันด้วยความสุข สนุกสนาน น่าจะเป็นนิมิตหมายว่า ต้นไม่เหล่านี้ จะป็นประโยชน์ต่อเขาในภายภาคหน้า

กิจกรรมหลัก : กิจกรรมเฝ้าระวัง/ดูแลพันธ์ไม้โดยชุดลาดตระเวน เดือนละครั้ง จำนวน 12 ครั้งi

18,000.00 10 ผลผลิต

จัดกิจกรรมการลาดตระเวณระวังป่ารวม 4 ครั้งในงวดนี้


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

เป็นกิจกรรมที่สามารถป้องกันการบุกรุกทำลายป่าได้ดี ทั้งจากคนภายนอกที่เข้ามาหาพันธ์ไม้สมุนไพร ล่าสัตว์ เบื่อปลา ไม่ปรากฏว่ามีการกระทำเหล่านี้ในช่วงปีที่ผ่านมา ผลพลอยได้อีกทางคือสามารถตรวจสอบดูแลและปลูกซ่อมพันธ์ไม้ที่ปลูกไว้ว่ามีอัตรารอดอย่างไร ในพื้ที่ไหนประกอบการปลูกซ่อมปลูกแซม

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 12 ครั้ง

คณะทำงานเด็กและเยาวชน จำนวน  10  คน

1,500.00 1,200.00 10 10 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ดูแลต้นไม้ที่ได้ปลูกไว้ บริเวณป่าต้นน้ำปลายเพรี๊ยะพบว่า บางส่วนตายไปแล้ว

คณะทำงาน -เด็กและเยาวชน ชุดละ 10 คน

1,500.00 1,500.00 10 10 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เด็กและเยาวชน ชุดละ 10 คน เฝ้าระวัง/ดูแลพันธ์ไม้ที่ปลูก พบว่า ต้นไม้ที่ไม่ตาย เจริญงอกงามดี

คณะทำงาน -เด็กและเยาวชน ชุดละ 10 คน

1,500.00 1,500.00 10 10 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เด็กและเยาวชน ชุดละ 10 คน  ตรวจตรา ดูแลพันธุ์ไม้ที่ปลูกและที่ขึ้นตามธรรมชาติ  รวมถึงสัตว์ป่าขนาดเล็กต่างๆ

คณะทำงาน -เด็กและเยาวชน  10 คน

1,500.00 1,500.00 10 10 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เด็กและเยาวชนสังเกตการเจริญเติบโตของพันธุ์ไม้  และตั้งสมมุติฐานว่า ส่วนที่ตายไปนั้น เกิดจากสาเหตุ 2 ประการ คือ เถาวัลย์ปกคลุม และพันธุ์ไม้ที่ปลูกมีขนาดเล็กเกินไป

คณะทำงาน ชุดลาดตระเวณ -เด็กและเยาวชน ชุดละ 10 คน

1,500.00 1,500.00 10 10 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ลาดตระเวณพื้นที่ตามที่ได้แบ่งเขตไว้แล้วจากที่ประชุม  ครั้งนี้ชุดลาดตระเวณได้ลาดตะเวณพื้นที่ด้านเหนือของคลองเพรี๊ยะ  จากการลาดตระเวณพบว่า ต้นไม้ส่วนใหญ่เจริญเติบโตได้ดี แต่มีบางส่วนที่ตายไป อันเนื่องมาจากพันธุ์ไม้ที่ปลูก มีขนาดเล็กเกินไป  ส่วนต้นไม้เดิมที่มีขาดเล็ก มีบางส่วนโค่นล้ม เนื่องจากการกพังทะลายของดินที่เกิดจากการกัดเซาะของน้ำฝน

คณะทำงาน -เด็กและเยาวชน ชุดละ 10 คน - ผู้สังเกตการณ์  จำนวน 1  คน

1,500.00 1,600.00 10 11 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ชุดลาดตระเวณซึ่งบประกอบด้วยเด็กและเยาวชน จำนวน  10  คน และผู้สังเกตการณ์  1  คน  ลาดตระเวณเพื่อเฝ้าระวังการตัดไม้ทำลายป่า  และการบุกรุกป่า  โดยลาดตระเวณเขตพื้นที่ป่าด้านใต้ของคลองเพรี๊ยะ  ไม่พบการบุกรุกและการตัดไม้ทำลายป่าแต่อย่างใด  ส่วนของต้นไม้ที่ปลูกใหม่พบว่า ส่วนใหญ่เจริญเติบโตได้ดีตามธรรมชาติ  บางส่วนถูกปกคลุมด้วยเถาวัลย์ ชุดลาดตระเวณได้ดูและโดยการตัดแต่งเถาวัลย์

คณะทำงาน  เด็กและเยาวชน ชุดละ 10 คน

1,500.00 1,500.00 10 10 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เดินเท้า เฝ้าระวัง ดูแลต้นไม้ที่ปลูกและที่มีอยูตามธรรมชาติทางด้านทิศใต้ของคลองเพรี๊ยะพบว่าบางส่วนเสียไป เนื่องจากการพังทะลายของดิน และเกิดการปกคลุมของเถาวัลย์ชุดลาดตระเวณได้ทำการตกแต่งเถาวัลย์ที่ปกคลุมต้นไม้ที่ปลูกใหม่เป็นที่เรียบร้อย

คณะทำงาน -เด็กและเยาวชน ชุดละ 10 คน

1,500.00 1,500.00 10 10 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เฝ้าระวัง/ดูแลพันธ์ไม้บริเวณป่าต้นน้ำปลายเพรี๊ยะ โดยชุดลาดตระเวนริเวณ  ประกอบด้วย คณะทำงาน  เด็กและเยาวชน ชุดละ 10 คน พบว่าต้นไม้เจริญเติบโตตามธรรมชาติ เป็นที่น่าพอใจ

คณะทำงาน  6  คน -เด็กและเยาวชน ชุดละ 6 คน

1,500.00 1,500.00 10 12 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ชุดลาดตระเวณเดินเท้าลากตระเวณบริเวณป่าต้นน้ำด้านทิศใต้ของคลองเพรี๊ยะ ไม่พบความผิดปกติใดๆ  พบผู้คนหาของป่าและสัตว์น้ำเพื่อดำรงชีพบ้างเล็กน้อย ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติของชุมชนที่นี่  ของป่าที่กล่าวถึงนี้บางชนิดจำเป็นต่อการดำรงชีพของผู้คนในท้องถิ่น  เช่น ดอกยง นำไปทำไม้กวาดดอกหญ้า ใช้ในครัวเรือน  หวายกำพวน ทำด้ามไม้กวาด  หวาย ใช้ทำเป็นเชือกผูกไม้กวาด  ส่วนสัตว์น้ำ นำไปประกอบอาหาร เช่น ปลาซิว  หอยโหล๊ะ (ภาษาถิ่น) กุ้งฝอย ปลาโสด (ปลากระสูบ) สัตว์น้ำเหล่านี้ ล้วนแต่มีอยู่ตามธรรมชาติ  ผู้คนก็หาปลาด้วยเครื่องมือที่ไม่ผิดกฎหมาย เป็นเครื่องมือหากินแบบดั้งเดิม เช่น ไซ  นาง  แห  อีมุ้ม  ชุดลาดตระเวณ ได้ให้คำแนะนำการหาสัตว์ดังกล่าวให้หากินแบบอนุรักษ์  ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี

ติดตาม เฝ้าระวังดูแบพันธุ์ไม้ที่ปลูกใหม่และไม้ทั่วไป

1,500.00 1,500.00 10 15 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เดินเท้าลาดตระเวณป่าบริเวณด้านเหนือของคลองเพรี๊ยะ พันธุ์ไม้ที่ปลูกใหม่ส่วนใหญ่เจริญเติบโตดี ไม่พบการแผ้วถางหรือบุกรุกป่า ซึ่งพอจะบอกความหมายได้ว่า ประชุาชนเริ่มเห็นความสำคัญของป่าต้นน้ำคลองเพรี๊ยะ อย่างไรก็ตาม ในส่วนที่เป็นที่ทำกันอยู่ก่อนนั้น ก็เป็นปัญหาก้ำกึ่งกับเขาอุทยานแห่งชาติอยู่ ปัญหานี้หมักหมมอยู่นานหลายปี เกิดปัญหาว่้า ไม่ทราบเขตที่แน่นอน ราษฎรทำกินในที่ดินเดิมของบรรพบุรุษ แต่กลายเป็นการบุกรุกป่า เป็นปัญหาเรื่อยมา

คณะทำงาน 8 คน เด็กและเยาวชน 7 คน

1.00 1,500.00 10 15 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ชุดลาดตระเวณเดินเท้า เพื่อเฝ้าระวังป่าต้นน้ำคลองเพรี๊ยะ พบว่า ช่วงนี้เป็นหน้าแล้ง  สภาพป่าขาดความชุ่มชื้น  แต่ก็ไม่ส่งผลกระทบกับกับไม้ที่ปลูกกใหม่มากนัก  น้ำในคลองเพรี๊ยะลดระดับลงมาก ซึ่งเป็นเรื่องปกติทุกปี  แต่บริเวณหน้าฝายชะลอน้ำ ยังมีน้ำในปริมาณพอสมควร สัตว์น้ำต่างๆ มาอาศัยอยู่บริเวณหน้าฝายชะลอน้ำมากกว่าช่วงที่ผ่านมา

คณะทำงาน 7 คน -เด็กและเยาวชน ชุดละ 6 คน

1,500.00 1,500.00 10 13 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ชุดลาดตระเวณเดินเท่าลาดตระเวณบริเวณป่าด้านทิศใต้ของคลองเพรี๊ยะ และบริเวณฝายชะลอน้ำทั้ง 3 จุด  สภาพป่าชุมชื่นขึ้น เนื่องจากมีฝนตกทำให้เกิดความชุมชื่้น  สภาพป่าโดยทั่วไปปกติ  ส่วนบริเวณฝายชะลอน้ำ มีเศษไม้ ใบไม้ ทับถมหน้าฝายชะลอน้ำ ชุดลาดตระเวณได้ดำเนินการเก็บเศษไม้ ใบไม้เหล่านั้นออกไป  และกระอบทรายบางส่วนขาดผุพังไป เนื่องจากใช้กระกอบเก่า  สังเกตสัตว์น้ำบริเวณหน้าฝายชะลอน้ำ  คะเนด้วยสายตา พบว่ามีปริมาณเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

กิจกรรมหลัก : กิจกรรมงาน "บวชป่าบูชารุกขเทวดา" -ปรัปสภาพพื้นที่ -พิธีพระ/ประกาศเขตป่าอนุรักษ์ของชุมชน -ประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือในการทำกิจกรรม บวชป่าบูชารุกขเทวดาi

24,880.00 124 ผลผลิต

จัดงานบวชป่าฯ ในวันที่ 6 เมย. 58


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

มีการเชิญนายอำเภอศรีบรรพต/ตัวแทนเขตห้ามล่าฯเทือกเขาบรรทัด/ตัวแทนอุทยานเขาปู่เขาย่า/กำนัน ผู้ใหญ่บ้านหมู่บ้านอื่นในตำบล ตัวแทนอบต.เขาปู่ ตัวแทนเครือข่ายรักษ์เทือกเขาบรรทัด(เครือข่ายภาคประชาชน)ฯเข้าร่วมกิจกรรม สามารถสร้างความสนใจและอยากเข้าร่วมโครงการนี้จากหมู่บ้านอื่นๆ และเป็นการสร้างผลงานขยายแนวคิดการดำเนินงานในการจัดการป่าต้นน้ำแก่พี่น้องโซนเขาได้อย่างดี และสามารถเชื่อมต่อการหนุนเสริมกับหน่วยงานภาครัฐได้บางส่วน

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

คณะทำงานจำนวน 15 คน -นักเรียนโรงเรียนชุณหะวัณและเยาวชนจำนวน 20 คน -ประชาชน/พลังมวลชนจำนวน 75 คน

24,880.00 24,890.00 124 124 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากมติที่ประชุมคณะทำงาน  ทุกฝ่ายทำหน้าที่ได้ดีมากๆ  ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมากพอสมควร  รวมทั้ง  นายอำเภอศรีบรรพต  นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาปู่  ตัวแทนจากอุทยานแห่งชาติเขาปู่เขาย่า ในช่วงเช้าทำพิธีทางศาสนา โดยใช้สถานที่ศาลาประจำหมู่บ้าน  ทำพิธีทางศาสนาตามขั้นตอน เสร็จแล้วถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์จำนวน 5 รูป  หลังจากนั้น รับประทานอาหารร่วมกัน  ช่วงบ่ายทำพิธีบวชป่า โดยนิมนต์พระคุณเจ้าไปทำพิธีบวชป่าบริเวณป่าต้นน้ำคลองเพรี๊ยะ ร่วมกับประชุมชนทั่วไป  นำผ้าแพรสีเหลือง ไปพันไว้กับต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่พอสมควร  เพื่อเป็นเครื่องหมายเตือนใจว่า ป่าบริเวณนี้ เป็นป่าหวงห้าม  ตัดไม้ทำลายป่าไม่ได้  กิจกรรมนี้ ได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายเป็นอย่างดี

กิจกรรมหลัก : ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผน เตรียมการจัดกิจกรรม ติดตามประเมินผล สรุปผลรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการฯ จำนวน 10 ครั้งi

14,850.00 15 ผลผลิต

จัดประชุมคณะทำงาน 15 คน รวม 4 ครั้ง


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

จัดประชุมคณะทำงาน 4 ครั้งตั้งแต่เดือนเมย.- กค.58 เพื่อเตรียมการจัดกิจกรรม/จัดกิจกรรม/สรุปและรายงานผล การจัดกิจกรรมบวชป่าฯ/การจัดค่ายศิลปะเด็กและเยาวชน/การเดินลาดตระเวณ/และรายงานผลต่อที่ประชุมหมู่บ้าน

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 9 ครั้ง

คณะทำงาน 15  คน

1,485.00 1,725.00 15 15 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประชุมคณะทำงาน  จำนวน  15  คน  สรุปผลการทำกิจกรรมครั้งที่ผ่านมาและวางแผนการดำเนินกิจกรรมครั้งต่อไป

คณะทำงาน  15  คน

1,485.00 1,725.00 15 15 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประชุมคณะทำงาน ดำเนินการติดตามประเมินผล สรุปผลรายงานผลการดำเนินงานกิจกรรมที่ผ่านมา  ปรากฏว่า บางกิจกรรมดำเนินงานช้ากว่ากำหนด

คณะทำงาน 15 คน

1,485.00 1,425.00 15 13 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วางแผน เตรียมการจัดกิจกรรม ติดตามประเมินผล สรุปผลรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ

คณะทำงาน  15  คน

1,485.00 1,425.00 15 15 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ดำเนินกิจกรรมปลูกป่าครั้งที่ 3 โดยเปลี่ยนจากบริเวณป่าต้นน้ำปลายเพรี๊ยะ มาปลูกบริเวณริมอ่างเก็บน้ำป่าพะยอม  เนื่องจากเกรงอันตรายจากฝนตก  ปลูกต้นไม้ ได้ประมาณ  680 ต้น  เป็นไม้พะยูงและไม้ตะเคียนทองทั้งหมด  นอกจากนั้นคณะทำงานตกลงแบ่งชุดลาดตระเวณและแบ่งพื้นที่รับผิดชอบ ตามข้อเสนอแนะจากที่ประชุมประจำเดือน

คณะทำงาน 15  คน

1.00 1,425.00 15 15 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มอบหมายงานชุดลาดตระเวณ ติดตาม ดูแลต้นไม้ บริเวณป่าต้นน้ำปลายเพรี๊ยะ  โดยใช้คณะทำงาน  5 คน  สมาชิก จำนวน  10  คน  โดยแบ่งพื้นที่ลาดตระเวณออกเป็นโซน ๒ โซนด้วยกัน โดยใช้คลองเพรี๊ยะ เป็นเขตในการแบ่ง และผลัดพื้นที่ในการลาดตระเวณ

คณะทำงาน  15  คน

1,485.00 1,425.00 15 15 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มอบหมายงานเฝ้าระวัง/ดูแลพันธุ์ไม้ ให้กับชุดลาดตระเวณ  และวางแผนกิจกรรมสำรวจป่าต้นน้ำปลายเพรี๊ยะ

คณะทำงาน  จำนวน  15  คน

1,485.00 1,425.00 15 15 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานรับมอบงานเพื่อดำเนินกิจกรรมครั้งต่อไป

คณะทำงาน  15  คน

1,485.00 1,425.00 15 15 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผน เตรียมการจัดกิจกรรมบชป่า  โดยแบ่งคณะทำงานให้รับผิดชอบเป็นฝ่ายๆ ไป เช่น - จัดสถานที่สำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม  สถานที่สำหรับประกอบพิธีสงฆ์  เครื่องขยายเสียง - ฝ่ายพิธีสงฆ์  นิมนต์พระคุณเจ้า จำนวน 5 รูป พร้อมรับ ส่ง พระคุณเจ้า  จัดหาพิธีกรทางศาสนา และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับศาสนพิธี
- ฝ่ายพิธีทางพราหมณ์ - ฝ่ายอาหาร จัดหาอาหารสำหรับพระภิกษุสงฆ์ และผู้เข้าร่วยมกิจกรรมทั่วไป  มีมติให้ประชาสัมพันธ์ ให้ชาวบ้านทั่วไป นำอาหารมาถวายพระภิกษุสงฆ์ และบุคคลทั่วไป ฯลฯ คณะทำงาน ประชุมตกลงกันในกิจกรรมค่ายศิลปะ  โดยกำหนดจัดกิจกรรม ค่ายศิลปะ ในวันที่ 8 เมษายน 2558  ณ  บริเวณอุทยานแห่งชาติเขาปู่เขาย่า  โดยแบ่งงานกันทำ ได้ดังนี้ - ประสานงานกับเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขาปู่เขาย่า  นายสมศักดิ์  สุขยูง - รับ ส่งเด็กและเยาวชน  นายเอกธวัช  ดำจวนลม - ดูแลเด็กและเยาวชน ขณะทำกิจกรรม  คณะทำงานทุกคน - การเงิน เตรียมอุปกรณ์  นางรมณ  เพชรนาค ผลการประชุม คณะทำงานมีมติเห็นชอบกระบวนการดังกล่าว

คณะทำงาน  15  คน

1.00 1,425.00 15 15 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการติดตามผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการนั้น  คณะทำงานพอสรุปได้ว่า  ผลงานที่ปรากฏเป็นที่น่าพอใจ  และเป็นที่ชื่นชมของบุคคลทั่วไป

กิจกรรมหลัก : ประชุมหมู่บ้านประจำเดือนเพื่อสร้างความเข้าใจและระดมความร่วมมือการจัดกิจกรรม ร่วมวางแผนตัดสินใจ รับฟังการรายงานผลการดำเนินงานโครงการฯ จำนวน 6 ครั้งi

10,000.00 140 ผลผลิต

จัดประชุมหมู่บ้านสองครั้งเมื่อเดือนเมย.และเดือน พ.ค.58


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ประชุมหมู่บ้่านเพื่อเตรียมการจัดกิจกรรมการบวชป่า/การจัดค่ายศิลปะเด็ก ติดตามผลการดำเนินงานที่ผ่านมา/และสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 6 ครั้ง

ประชาชน  120  คน คณะทำงาน  15  คน

1,660.00 1,660.00 135 135 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ชี้แจงการวางกรอบ ระยะเวลาการดำเนินกิจกรรมของโครงการฯ

คณะทำงานจำนวน15 คน เด็กและเยาวชนจำนวน20 คน ประชาชนจำนวน85 คน ประชุมประจำเดือนของหมู่บ้านเพื่อรับทราบความก้าวหน้าของโครงการ

1,660.00 1,660.00 120 120 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ที่ประชุมรับทราบความก้าวหน้าของโครงการ และคณะทำงานรับทราบการดำเนินงานกิจกรรมครั้งต่อไป

คณะทำงาน 15 คน ประชาชนทั่วไป จำนวน 49 คน

1,660.00 1,600.00 120 64 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประชุมประจำเดิอนตามปกติ และเชื่อมโยงไปถึงการดำเนินกิจกรรมของโครงการฯ  ที่ประชุมส่วนใหญ่มีความเห็นว่า ควรดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง  มีแนวโน้มว่า ประชาชนให้ความสำคัญของป่าไม้ และทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้น  สังเกตได้จากการสอบถามถึง วัน เวลา ในการดำเนินกิจกรรมครั้งต่อไปของโครงการฯ

คณะทำงานจำนวน15 คน/เด็กและเยาวชนจำนวน20 คน/ประชาชนจำนวน  83 คน

1,660.00 1,660.00 120 118 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประชุมประจำเดือนของหมู่บ้าน แจ้งความเคลื่อนไหวของทางราชการ และสอดแทรกรายงานผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการฯ ให้ที่ประชุมรับทราบเกี่ยวกับการดูแลป่าต้นน้ำคลองเพรี๊ยะ  โดยใช้ตัวแทนของชุดลาดตระเวณเป็นผู้รายงานความต่อเนื่อง และสภาพป่าตามที่ได้พบเห็น ที่ประชุมรับทราบและให้ข้อเสนอแนะว่า ควรดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

คณะทำงาน  5  คน เด็กและเยาวชนจำนวน 11 คน/ประชาชนจำนวน 64 คน

1,660.00 2,000.00 120 80 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประชุมหมู่บ้านประจำเดือน  รายงานความก้าหน้าโครงการ  รับฟังข้อเสนอแนะจากที่ประชุม  พอสรุปได้ว่า ที่ประชุมส่วนใหญ่่เป็นควรให้ดำเนินโครงการต่อไป

คณะทำงาน  เด็กและเยาวชน  ประชาชนในหมู่บ้าน  รวม 82  คน

1,700.00 1,600.00 120 82 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประชุมประจำเดือนของหมู่บ้าน  เพื่อแจ้งข้อราชการ มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน  82 คน รับฟังการสรุปผลการดำเนินงานกิจกรรมต่างๆของโครงการ อาทิ ทำฝายชะลอน้ำ 3 จุด  ผลการสำรวจข้อมูลสัตว์น้ำบริเวณคลองเพรี๊ยะ  กิจกรรมค่ายศิลปะ  กิจกรรมบวชป่า  ที่ประชุมรับทราบ

กิจกรรมหลัก : หนุนเสริมติดตามการดำเนินโครงการในพื้นที่i

7,900.00 15 ผลผลิต

เข้าร่วมกิจกรรมในการบวชป่าฯเมื่อวันที่ 6 เม.ย. 58


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ร่วมกิจกรรมและขยายผลการดำเนินงานแก่หมู่บ้านอื่นๆที่เข้าร่วมงาน

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 9 ครั้ง

ผู้รับผิดชอบโครงการ 1  คน ผู้รายงานผลโครงการ  1  คน

1,000.00 1,000.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประชุมกิจกรรมพัฒนาศักยภาพและติดตามรายงานผลโครงการร่วมกับพี่เลี้ยง

ตัวแทนคณะทำงาน 2 คน

500.00 500.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ทำความเข้าใจการจัดทำสื่อเผยแพร่โครงการ

ผู้รับผิดชอบโครงการ และคณะทำงาน 3 คน

1,500.00 1,500.00 3 3 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประชุมสรุปและรายงานผลการดำเนินกิจกรรมโครงการ  ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารการเงินและเอกสารที่เกี่ยวข้อง  การรายงานผลตามแบบรายงานต่างๆ  ระยะเวลาดำเนินการ  2  วัน และสามารถรายงาน ปิดงวดแรกของโครงการได้

ผู้รับผิดชอบโครงการ/การเงิน/ผู้จัดทำรายงาน

0.00 0.00 3 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

พบว่าพื้นที่นี้สามารถดำเนินงานได้ครบและทันตามที่กำหนดไว้ในโครงการ และสามารถจัดได้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ มีการจัดการประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมการ วางแผน จัดกิจกรรม ตามที่กำหนดไว้ในการแบ่งงาน สามารถจัดทำรายงานผลทางเว็บไซส์ได้ถูกต้องแม้จะรายงานล่าช้ากว่าที่กำหนดไว้บ้าง  ทางพี่เลี้ยงก็ได้ให้คำแนะนำ เพื่อให้สามารถปิดงวดแรกโครงการได้

ผู้มีอานาจเบิกถอนเงิน 2 คน

300.00 300.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ถอนเงินเปิดบัญชีใหม่ จำนวน 300 บาท

ตัวแทนคณะทำงาน 2  คน

2,000.00 1,500.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

นำเสนอการประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

คณะทำงานผู้รับผิดชอบโครงการและผู้รับผิดชอบการเงิน ผู้รับผิดชอบการทำรายงาน

0.00 0.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีการปรับปฏิทินและปรับเพิ่มเติมรายงานผลให้ถูกต้องสมบูรณ์

คณะทำงานจำนวน 15 คน -นักเรียนโรงเรียนชุณหะวัณและเยาวชนจำนวน 20 คน -ประชาชน/พลังมวลชนจำนวน 75 คน

0.00 0.00 124 124 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้รับความร่วมมืออย่างดี จากชาวบ้านในพื้นที่และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง มีนายอำเภอมาร่วมเป็นประธาน เชิญพระสงฆ์มาผูกผ้าเหลืองตามต้นไม้ใหญ่ เกิดการอนุรักษ์ป่าไม้ของชุมชนร่วมกัน

ผู้รับผิดชอบโครงการ  1  คน คณะทำงาน  1  คน การเงิน  1  คน

2,000.00 1,500.00 3 3 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ติดตามผลการดำเนินงานร่วมกับพี่เลี้ยง  ที่ วิทยาลัยภูมิปัญญาชุมชน

กิจกรรมหลัก : การจัดทำรายงานสรุปปิดโครงการi

1,000.00 10 ผลผลิต

จัดทำรายงานสรุปเพื่อปิดโครงการเมื่อวันที่ 11-12 ก.ค. 2558 ณ สจรส.มอ.


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

สามารถจัดทำรายงานสรุปเพื่อปิดโครงการเมื่อวันที่ 11-12 ก.ค. 2558 ณ สจรส.มอ.ได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

ผู้รับผิดชอบโครงการ  1  คน ผู้รายงาน  1  คน การเงิน  1  คน

2,300.00 2,100.00 3 3 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จัดทำรายงานสรุปปิดโครงการ ป้าฟื้น คนฟื้นที่บ้านทุ่งยูง    รวมทั้งจัดทำ ตรวจสอบ เอกสารหลักฐานด้านการเงิน

2.3.1 นวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ

(นวัตกรรมคือ การจัดการความคิด กระบวนการ ผลผลิต และ/หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสม มาใช้งานให้เกิดประสิทธิผล และ/หรือประสิทธิภาพมากกว่าเดิมอย่างชัดเจน)

ชื่อนวัตกรรมคุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรมผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์
2.3.2 โครงการเด่น (Best Practice)

(โครงการเดิ่น คือ โครงการสร้างเสริมสุขภาพให้สัมฤทธิ์ผลที่เป็นรูปธรรมแล้วขยายผลอย่างยั่งยืน โดยแนวคิดกระบวนการ และผลงาน สามารถเป็นตัวอย่างที่จะนำไปขยายผลในชุมชน (Setting) อื่น ๆ ได้ การดำเนินงานมีส่วนร่วมของภาคีที่หลากหลาย มีการบริหารจัดการที่ดี โปร่งใสและตรวจสอบได้)

ชื่อ Best Practiceวิธีการทำให้เกิด Best Practiceผลของ Best Practice / การนำไปใช้ประโยชน์
กิจกรรมการบวชป่าบูชาเทวดา

มีการเชิญนอภ.ศรีบรรพต/ตัวแทนเขตห้ามล่าฯเทือกเขาบรรทัด/ตัวแทนอุทยานเขาปู่เขาย่า/กำนัน ผู้ใหญ่บ้านหมู่บ้านอื่นในตำบล ตัวแทนอบต.เขาปู่ ตัวแทนเครือข่ายรักษ์เทือกเขาบรรทัด(เครือข่ายภาคประชาชน)ฯเข้าร่วมกิจกรรม

ในส่วนของภายในหมู่บ้านการบวชป่าเหมือนกับเป็นการประกาศว่าป่าผืนนี้เป็นป่าของชุมชนที่ทุกคนต้องช่วยกันรักาษดูแล ในส่วนของภายนอกสามารถสร้างความสนใจและอยากเข้าร่วมโครงการนี้จากหมู่บ้านอื่นๆ และเป็นการสร้างผลงานขยายแนวคิดการดำเนินงานในการจัดการป่าต้นน้ำแก่พี่น้องโซนเขาได้อย่างดี และสามารถเชื่อมต่อการหนุนเสริมกับหน่วยงานภาครัฐได้บางส่วน

กิจกรรมค่ายศิลปะเด็กรักษ์ป่า

จัดกิจกรรมค่ายศิลปะโดยใช้สถานที่คือในป่าเขตอุทยานแห่งชาติเขาปู่เขาย่า และมีทีมวิทยากรเป็นเจ้าหน้าที่อุทยาน

เด็กๆสนุกสนานกันมากที่มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมในค่ายนี้ ได้ถ่ายทอดจินตนาการผ่านภาพวาด ได้ฟังเรื่องราวของความสมบูรณ์ในอดีตของป่าแถบนี้จากคนรุ่นแรกๆ ได้เรียนรู้ถึงพัฒนาการการตั้งถิ่นฐานของชุมชนละแวกนี้ สร้างความรู้สึกผูกพัน และภูมิใจในถิ่นเกิด

2.3.3 เกิดแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการสร้างเสริมสุขภาพในประเด็นต่าง ๆ
ชื่อ-สกุลที่อยู่ติดต่อได้สะดวกคุณสมบัติแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลง
2.3.4 มีสภาพแวดล้อมและปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพ

เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพในชุมชนพื้นที่โครงการดังนี้

สถานที่/พื้นที่ ที่เปลี่ยนแปลงรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

ส่วนที่ 3 : ปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงาน

3.1 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเด็นปัญหา/อุปสรรคการแก้ไขของผู้รับทุนข้อเสนอแนะ/การแก้ไขปัญหาและการเสริมพลังของผู้ติดตาม
3.2 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเภทความเสี่ยง / ปัจจัยเสี่ยงระดับความเสี่ยง
(จากมากไปหาน้อย)
ข้อมูล ข้อสังเกตุ และข้อคิดเห็นของผู้ติดตาม
3210
1. ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน (Operational Risks)
1.1 โครงสร้างการดำเนินงาน

ทำงานโดยแบ่งหน้าที่กันทำตามที่กำหนดไว้ในการแบ่งงานกันทำ

1.2 ศักยภาพและทักษะการดำเนินงาน

เรียนรู้และพัฒนาทักษะในการทำงานสร้างกระบวนการแก่เด็กและเยาวชนผ่านการร่วมกับ จนท.ป่าไม้

1.3 ผลลัพธ์และผลสำเร็จของการดำเนินงาน

เกณฑ์ความสำเร็จตามตัวชี้วัดอยู่ในเกณฑ์น่าพอใจ

2. ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risks)
2.1 ระบบและกลไกการบริหารจัดการ

การจัดแบ่งหน้าที่กันยังมีความชัดเจนเหมือนเดิม

2.2 การใช้จ่ายเงิน

ถูกต้องครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในแผนงาน

2.3 หลักฐานการเงิน

มีบกพร่องบ้างบางรายการแต่ก็สามารถแก้ไขได้ถูกต้องตามคำแนะนำของพี่เลี้ยง

ผลรวม 0 0 0 0
ผลรวมทั้งหมด 0 ระดับความเสี่ยง : ???
เกณฑ์วัดระดับความเสี่ยง ???
สรุปการแก้ไขความเสี่ยง แก้ไขแล้ว ยังไม่ได้แก้ไข

ส่วนที่ 4 : สรุปความเห็นของผู้ติดตาม

ส่วนที่ 4สรุปความเห็นของผู้ติดตาม
4.1 กรณีเบิกเงินงวด/ติดตามเยี่ยมชม มีแนวโน้มสำเร็จตามเป้าหมายโครงการและติดตามปกติ
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

 

มีแนวโน้มเสี่ยง ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจาก
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

 

มีความเสี่ยง ต้องยุติโครงการ เนื่องจาก
4.2 กรณีสรุปปิดโครงการ ดำเนินงานได้ตามแผนปฏิบัติการและสามารถปิดโครงการได้
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

สามารถปิดโครงการได้ตามระยะเวลาที่กำหนด

ไม่เป็นไปตามแผนปฏิบัติการ ให้ดำเนินการจัดระบบการเงิน ระบบรายงานให้ถูกต้องก่อนปิดโครงการ
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

 

ส่วนที่ 5 : สรุปภาพรวมของการติดตามประจำงวด (ข้อสังเกต/สิ่งดีๆ ที่ค้นพบ/ข้อพึงระวัง/บทเรียนที่ได้)

สรุปภาพรวมของงวดนี้ เรื่องทีมงานการทำงานเป็นทีม การแบ่งหน้าที่กันในประเด็นหลักยังทำได้ดี ทั้งการเตรียมการ การจัดกิจกรรม การติดตามประเมินผลการทำงาน การรายงานผลทั้งต่อที่ประชุมหมู่บ้านและรายงานผ่านเว็บไซศ์ และช่วยเหลือกันดีในการจัดกิจกรรมสามารถผลักดันการทำงานได้ครบและทันตามแผนการที่วางไว้ การใช้จ่ายเงินก็มีการแบ่งหน้าที่กันดี ทีมเบิกจ่าย คนจ่าย คนรับชัดเจน รายงานผลการใช้จ่ายต่อที่ประชุมทีมงานและต่อที่ประชุมหมู่บ้าน สามารถปิดงวดได้ตามที่กำหนดไว้ และเห็นควรได้รับการสนับสนุนให้ทำโครงการอย่างต่อเนื่องในปีต่อไป

สร้างรายงานโดย Yuttipong Kaewtong