ส่งเสริมพัฒนาอาชีพบ้านหินเภาพัฒนาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง (ต่อเนื่อง)

แบบบันทึกการติดตามสนับสนุนโครงการ ครั้งที่ 3

รหัสโครงการ 57-01497
สัญญาเลขที่ 57-00-0943

ชื่อโครงการ ส่งเสริมพัฒนาอาชีพบ้านหินเภาพัฒนาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง (ต่อเนื่อง)
รหัสโครงการ 57-01497 สัญญาเลขที่ 57-00-0943
ระยะเวลาตามสัญญา 1 มิถุนายน 2014 - 30 มิถุนายน 2015

ส่วนที่ 1 : ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม

1.1 ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 1 นาสมใจ ด้วงพิบูลย์
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 2 -
วันที่ลงพื้นที่ติดตาม 7 มีนาคม 2015
วันที่ส่งรายงานถึง สสส. 4 กรกฎาคม 2015
1.2 ผู้ให้ข้อมูล
ลำดับชื่อ-สกุลผู้ให้ข้อมูลที่อยู่หมายเลขโทรศัพท์
1 นาง จุฑารัตน์ โสเสมอ 1894/1หมู่ที่ 17 ตรอก/ซอย - ถนน - ตำบล/แขวง รับร่อ อำเภอ/เขต ท่าแซะ จังหวัด ชุมพร 087 2810484
2 นาง สุทิศา พรมชัยศรี 823หมู่ที่ 17 ตรอก/ซอย - ถนน - ตำบล/แขวง รับร่อ อำเภอ/เขต ท่าแซะ จังหวัด ชุมพร 0987280436
3 นาย บุญสม ประเสริฐ 1967/1หมู่ที่ 17 ตรอก/ซอย - ถนน - ตำบล/แขวง รับร่อ อำเภอ/เขต ท่าแซะ จังหวัด ชุมพร 080-6977405
4 นาง สมเสียน แสงสุด 2027/1หมู่ที่ 17 ตรอก/ซอย - ถนน - ตำบล/แขวง รับร่อ อำเภอ/เขต ท่าแซะ จังหวัด ชุมพร
5 นาย กมล แซ่เฮง 2007หมู่ที่ 17 ตรอก/ซอย - ถนน - ตำบล/แขวง รับร่อ อำเภอ/เขต ท่าแซะ จังหวัด ชุมพร

ส่วนที่ 2 : ข้อมูลโครงการและความก้าวหน้าการดำเนินงาน

2.1 วัตถุประสงค์และตัวชี้วัดความสำเร็จโครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1.

เพื่อลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมีเพราะใช้ปุ๋ยที่ผลิตเอง มีผลผลิตเพิ่มขึ้น สร้างแกนนำเพิ่มเพื่อเผยแพร่สู่กลุ่มอื่น

1.1 เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการกลุ่ม

1.2 เกิดสภาแกนนำอาชีพบ้านหินเภา

1.3 ประชาชนสามารถลดภาระหนี้สินได้ 50%

2.

เพื่อบริหารติดตามผลการดำเนินงาน

จำนวนครั้งในการเข้าร่วมกิจกรรมกับ สสส. หรือ สจรส.

2.2 ความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ
กลุ่มเป้าหมายงบประมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงปริมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพ/สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ
ที่ตั้งไว้(บาท)เกิดขึ้นจริง(บาท)จำนวนที่ตั้งไว้(คน)จำนวนเกิดขึ้นจริง(คน)

กิจกรรมหลัก : เข้าร่วมประชุมกับสสส.i

10,000.00 2 ผลผลิต

ผู้รับผิดชอบโครงการและทีมงานมีความรู้ความเข้าใจในการจัดทำรายงานทั้งรายงานการเงิน การลงรายงานทางอินเตอร์เน็ต พร้อมทั้งนำรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่จัดขึ้นภายใต้ความหลากหลายวัฒนธรรมของชุมชน มีนวัตกรรมการแปรรูปมีประโยชน์หลายด้าน เช่น หญ้าหวานทำเป็นชาชงใบกระท่อมมาเลย์ลดความดัน/เบาหวาน เป็นต้น รวมทั้งมีการกำหนดกติกาในการมีส่วนร่วมทำกิจกรรมโดยเฉพาะการหารายได้เสริม รวมทั้งมีการบริหารจัดการเงินทุนที่มีอยู่เดิมจากการรวมค่าบริหารจัดการกลุ่มและจะหาเพิ่มเติมจากการขายผลิตภัณฑ์ชุมชนต่อไป และมีการประสานการตลาดกับพัฒนาการอำเภอท่าแซะที่จะนำผลผลิตไปจำหน่ายเป็นสินค้าOTOP จากการตรวจสอบรายงานพบว่ามีการใช้เงินในกิจกรรมฝึกอบรมสมาชิกใหม่ตามกิจกรรม4ครั้งในการ1)อบรมทำปุ๋ย25,500บาท2)เลี้ยงไก่13,700บาท3)ปลูกผัก13,000บาท4)แปรรูปน้ำมันมะพร้าว 15,650บาทรวมจำนวน 67,850บาทตามที่โครงการเบิกมาจริงแต่ทางสสส.กำหนดให้60,050บาททำให้ต้องดึงเงินจากหมวดอื่น ๆมาใช้ และการประชุมคณะกรรมการตั้งไว้ 11 ครั้งใช้เงิน 18,200บาทแต่มีการลงรายงาน 7 ครั้งใช้เงินไป13,200บาทเนื่องจาก4ครั้ง (เดือนกรกฎาคม,สิงหาคม,กันยายนและตุลาคม57ประชุมร่วมกับการทำกิจกรรมอื่น ๆ)เงินที่เหลือจึงนำไปสนับสนุนกิจกรรมอื่น ๆที่ใช้งบประมาณมากกว่าที่กำหนดไว้


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ทีมผู้รับผิดชอบโครงการมีความเข้าใจและสามารถนำความรู้ในการเขียนโครงการไปปรับใช้กับงบประมาณจากหน่วยงานอื่นๆ ที่ให้การสนับสนุนต่อเนื่อง และได้นำผลิตภัณฑ์ที่ทำขึ้นไปจำหน่ายกับประชาชนทั่วไป รวมทั้งการอนุรักษ์และจัดการกับพื้นที่ป่าต้นน้ำอีกด้วย

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 5 ครั้ง

สมาชิกที่เสนอโครงการผ่านเข้าร่วมอบรมหลายจังหวัด

10,000.00 5,140.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้รับผิดชอบโครงการมีความเข้าใจในการบันทึกโครงการมากขึ้นเนื่องจากในปีนี้มีการจัดทำหนังสือขั้นตอนการเข้าทำงานในการนำเสนอโครงการที่ถูกต้องมากขึ้น

ผู้รับผิดชอบโครงการและทีมงาน

0.00 1,500.00 3 3 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการจัดรายงานตามผลของกิจกรรมและตรวจสอบรายงานการเงินและบัญชี พร้อมทั้งคืนเงินเปิดบัญชี 

ผู้รับผิดชอบโครงการนางจุฑารัตน์  โสเสมอและนายสุนทร  ทิพภัคดี

1,000.00 1,000.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ทีมงานได้เล่าเรื่องที่มาจากชุมชนเป็นชุมชนแบบหลากหลายวัฒนธรรมที่อยู่ร่วมกันแต่สามารถพัฒนาชุมชนได้โดยการมีทีมนำชุมชนที่เข้มแข็ง มีการประชุมหมู่บ้านทุกเดือนมีผู้ใหญ่บ้านเป็นคนจังหวัดสงขลา ผู้ช่วยผู้ใหญ่จากจังหวัดศรีสะเกษ  อบต.จังหวัดนครศรีธรรมราช และนายกอบต.เป็นคนชุมพร เป็นต้น มีพื้นที่สาธารณะที่ทุกคนมีส่วนร่วมกันพัฒนาและหวงแหน มีนำ้ตกทรายอ่อนที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่งดงาม มีวัดและสำนักสงฆ์เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจคน 2 แห่ง เป็นต้น ประกอบกับประชาชนรวมตัวกันได้เมื่อมีกิจกรรมต่างๆ เป็นอย่างดี มีการคิดค้นนำพืชผักในชุมชนแปรรูป เช่น หญ้าหวานทำเป็นชาชง  ใบกระท่อมมาเลย์ลดความดัน/เบาหวาน เป็นต้น

ประชาชน แกนนำ และผู้รับผิดชอบโครงการ

0.00 0.00 100 90 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ทีมผู้รับผิดชอบโครงการได้เข้าร่วมกิจกรรมการทำผลิตภัณฑ์ใช้ในครัวเรือนเพื่อลดค่าใช้จ่ายด้วยการทำสบู่ที่มีส่วนผสมจากมะพร้าวสกัดเย็น  นำ้ยาล้างจาน และยาสระผม เสร็จแล้วมีการแจกจ่ายให้กับสมาชิกกลุ่ม และเหลือเก็บไว้จำหน่ายในชุมชน และผลจากการประชุมทีมผู้รับผิดชอบโครงการและแกนนำชุมชน สรุปได้ว่าชุมชนต้องกำหนดกติกาในการมีส่วนร่วมทำกิจกรรมโโยเฉพาะการหารายได้เสริม รวมทั้งมีการบริหารจัดการเงินทุนที่มีอยู่เดิมจากการรวมค่าบริหารจัดการกลุ่มและจะหารเพิ่มเติมจากการขายผลิตภัณฑ์ชุมชนต่อไป และมีการประสานการตลาดกับพัฒนาการอำเภอท่าแซะที่จะนำผลผลิตไปจำหน่ายเป็นสินค้าOTOP

พี่เลี้ยงโครงการฯ  ผู้รับผิดชอบโครงการ  รวมจำนวนทั้งหมด 3 คน

500.00 500.00 3 3 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

พี่เลี้ยงให้คำแนะนำถึงการสรุปกิจกรรม การต่อยอดโครงการครั้งต่อไป  และการวางแผนการดำเนินงาน  การแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละกลุ่มรับผิดชอบ การกำหนดการส่งกิจกรรม และการสรุปกิจกรรม

กิจกรรมหลัก : การจัดทำรายงานส่ง สจรส.ภาพถ่ายและป้ายเขตปลอดบุหรี่i

3,000.00 2 ผลผลิต

มีการจัดทำรายงานได้ระดับหนึ่ง ต้องปรับปรุงแก้ไขให้พร้อมที่จะตรวจสอบต่อไป


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

รายงานมึความถูกต้องพร้อมที่จะประเมินคุณค่าได้

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

คณะกรรมการและทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการ

3,000.00 3,900.00 5 5 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้รับผิดชอบโครงการและทีมงานสรุปผลการดำเนินงานทั้งหมด ติดตามดูแปลงกล้วยและมะละกอ ถ่ายภาพกิจกรรม การจัดทำรายงานการเงินและบัญชี พร้อมทั้งการรายงานทางเว็บไซด์คนใต้สร้างสุข พร้อมทั้งมอบหมายให้ทีมงานตรวจสอบ นำเสนอพี่เลี้ยงโครงการตรวจสอบ เพื่อที่จัดทำรายงานเป็นฉบับสมบูรณ์ส่งสจรส.มอ.ต่อไป

กิจกรรมหลัก : อบรมให้ความรู้สมาชิกใหม่จาก 3กลุ่มพื้นที่i

60,050.00 150 ผลผลิต

สมาชิกได้นำความรู้และผลิตภัณฑ์ที่ได้ไปใช้ในครัวเรือน ที่เหลือจำหน่ายเพื่อนำเงินเข้ากลุ่มเป็นการสร้างได้และส่งเสริมเป็นอาชีพต่อไป


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ชุมชนรู้จักแบ่งปัน เป็นการลดรายจ่ายครัวเรือนและรายได้ที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งสามารถนำไปลดหนี้ได้

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 4 ครั้ง

แกนนำสมาชิก

25,500.00 25,500.00 3 3 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สามารถเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ได้ครบถ้วน มีรายการดังนี้ 1)มะละกอฮอแลนด์  1000บาท 2)หน่อกล้วย  7500 บาท 3)ค่าน้ำมัน    2000 บาท 4)ถังหมัก      7500 บาท 5)กากน้ำตาล  1500 บาท 6)พันธ์พริก      1000 บาท 7)พืชสมุนไพร  4000 บาท และทีมงานได้ประสานปราชญ์ชาวบ้านเพื่อจัดเตรียมต้นกล้าไว้สำหรับสมาชิกในวันประชุมจริง

สมาชิกจากพื้นที่ต่างๆส่งตัวแทนมาจากกลุ่มที่เป็นพ่อแม่และใช้วิธีไปกระจายข่าวต่อๆๆ จำนวนที่เข้าร่วม 130 คน

13,700.00 13,700.00 150 130 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีวิทยากร2ท่านมาให้ความรู้เรื่อง 1.การทำปุ๋ยหมักใช้เอง 2.การทำนำหมักจากพืชที่เรามีอยู่ในบ้านใข้ในบ้านเราเอง 3.การเตรียมตัววางแผการดูแลการปลูกกล้วยหอมทองเป็นอาขีพสร้างรายได้แบบปลอดสารส่งประเทศญี่ปุ่นโดยวิทยากรจากสหกรณ์นิคมท่าแซะมาให้ความรู้และแนวทาง

สมาชิกจากกลุ่มคลองพละ  กลุ่มคลองน้ำแดง และกลุ่มโป่งเงาะ

13,000.00 13,000.00 150 150 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สมาชิกมีความเข้าใจในการปลูกพืชผักให้ปลอดสารพิษ และใช้ปุ๋ยชีวภาพและปุ๋ยหมักที่ทำกันเองในท้องถิ่น การแปรรูปมะละกอและกล้วยหอมทอง รวมทั้งการประสานการตลาดกับวิทยาลัยเกษตรตะโกในการตลาดสิ่งแปรรูป สมาชิกมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้ไปใช้และจะทำให้ตนเองมีรายได้ไร่ละ 3ล้านจากการปลูกมะละกอ (วิทยากรบอก) เพื่อได้ปลดหนี้ครัวเรือนของตนเองได้ พร้อมทั้งได้รับต้นมะละกอไปคนละ 150 ต้น

กลุ่มใหม่จากกลุ่มคลองพละ กลุ่มคลองน้ำแดง กลุ่มโป่งเงาะ จำนวน 150 คน

15,650.00 15,650.00 150 150 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สมาชิกได้นำความรู้และผลิตภัณฑ์ที่ได้ไปใช้ในครัวเรือน และจัดจำหน่ายเพื่อสร้างได้ต่อไป

กิจกรรมหลัก : จัดประชุมคณะกรรมการกลุ่มที่จัดตั้งไว้เพื่อวางแผนการดำเนินงานi

18,200.00 250 ผลผลิต

คณะกรรมการได้ร่วมกันดำเนินการแก้ไขกิจกรรมโครงการ ประชาชนได้รับความรู้จากทีมวิทยากรที่ต้องเป็นไปโดยธรรมชาติได้มีการจัดทำแผนการตลาดกับเครือข่ายอื่นๆ


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ประชาชนได้รบความรู้และสามารถในการจัดกิจกรรมต่อเนื่องที่บ้านได้โดยการปลูกพีชผักสวนครัวรั้วกินได้ที่ปลอดภัย และปรุงอาหารเอง รวมทั้งการแปรรูปผลิตภัณฑ์ มีการออมเพิ่มมากขึ้น

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 8 ครั้ง

ผู้รับผิดชอบโครงการ คณะทำงาน วิทยากรและประชาชนทั่วไป

0.00 0.00 50 50 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะกรรมการโครงการร่วมกันกำหนดแนวทางการดำเนินกิจกรรมให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชนโดยขอปรับกิจกรรมให้สามารถเสร็จสิ้นภายในระยะเวลาที่มีภายในหนึ่งวันโดยมีการอบรมให้ความรู้เรื่องการปลูกพืชเสริมรายได้ สาธิตวิธีการแปรรูปมะละกอ และกล้วยหอมโดยวิทยากรจากวิทยาลัยเกษตรชุมพร และการทำน้ำหมักชีวภาพ/การทำปุ๋ยหมักชีวภาพโดยปราชญ์ชาวบ้าน มีการประสานการจัดการตลาดกับเครือข่ายจังหวัดนครศรีธรรมราชและประเทศมาเลเซียเพื่อรองรับผลผลิต

คณะกรรมการกลุ่ม คณะกรรมการโครงการและแกนนำชุมชน

1,200.00 1,200.00 15 17 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สมาชิกกลุ่มได้รับต้นอ่อนมะละกอฮอร์แลนด์คนละ100 ต้น และกล้วยหอมทอง50ต้น นำไปปลูกในพื้นที่ของตนเอง และมีการฟื้นฟูแปลงพิชผักสมุนไพร ผักสวนครัวและผลไม้ของครอบครัวตนเอง มีทีมงานรับผิดชอบติดตามความก้าวหน้าต่อไป

คณะกรรมการกลุ่มและผู้รับผิดชอบโครงการ

1,200.00 1,200.00 15 50 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีการปลูกต้นมะละกอและกล้วยหอมทองในแปลงพื้นที่ของวัดบริเวณเชิงเขา ทุกคนร่วมกันพัฒนาวัดมีการถางป่าและตัดหญ้า เก็บขยะ และเตรียมพื้นที่สำหรับการจัดพิธีวันพ่อแห่งชาติในวันที่ 5 ธันวาคม 

คณะกรรมการกลุ่มและผู้รับผิดชอบโครงการ

1,200.00 1,200.00 15 15 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีการมอบหมายให้คณะกรรมการติดตามผลจำนวน 3 คนที่เป็นปราชญ์ชาวบ้าน ประกอบด้วยลุงฉิ่ง ป้าบล และน้องเล็กทำหน้าที่ให้คำแนะนำ อำนวยความสะดวก สนับสนุนสมาชิกกลุ่มและจัดทำพื้นที่ของตนเองให้เป็นต้นแบบในการปลูกพืชปลอดสารพิษและเกษตรอินทรีย์แบบผสมผสานภูมิปัญญาไทย

คณะกรรมการและคณะทำงาน

1,200.00 2,400.00 15 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีการจัดทำร่างกติกากลุ่มด้วยการกำหนดว่าสมาชิกกลุ่มทุกคนต้องมีการออมกับชุมชนทุกเดือน ๆ 100 บาทในกองทุนที่มีอยู่อย่างสมำ่เสมอ (ดูตามสมุดเงินฝาก) ร่วมกิจกรรมทุกครั้งที่ดำเนินการและสามารถส่งตัวแทนเข้าร่วมกิจกรรมได้ การปลูกพืชผักสวนครัวรั้วกินได้และพืชสมุนไพรอย่างน้อยห้าชนิดต่อครัวเรือน และมีการใช้เกษตรอินทรีย์ ตลอดจนบุคคลในครัวเรือนต้องเข้าร่วมกิจกรรมลด-ละ-เลิกบุหรีได้

แกนนำกลุ่มสมาชิกที่ได้รับการคัดเลือก จำนวน 15 คน และแกนนำชุมชน 20 คน

1,200.00 2,800.00 15 35 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สมาชิกกลุ่มมีการจัดกิจกรรมในพื้นที่อย่างต่อเนื่องทั้ง 3 กลุ่มในการทำกิจกรรมตั้งแต่การเลี้ยงไก่ไข่พร้อมทั้งการขยายพันธ์ุให้ได้จำนวนเพิ่มมากขึ้นให้เพียงพอกับการบริโภคในครัวเรือนลดการซื้อจากภายนอก  การทำปุ๋ยหมักจากพืชผักที่ถูกคัดเกรด มูลสัตว์และขยะครัวเรือน แล้วนำไปใช้กับแปลงผักและพืชสวน การเตรียมความพร้อมในการทำนำ้ยาอเนกประสงค์ใช้เองเพื่อลดต้นทุนครัวเรือน พร้อมทั้งหาแนวทางการลงแรงกันเมื่อทำงานและสวนเพื่อลดต้นทุน การเก็บออมแต่ละครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ เป็นต้น โดยประสานการประชาสัมพันธ์ทุกวันที่มีการประชุมประจำเดือนของหมู่บ้าน

คณะกรรมการหมู่บ้านและผู้รับผิดชอบโครงการ  สมาชิกเครือข่ายกลุ่มองค์กรในชุมชน 

1,200.00 2,400.00 15 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้รับมอบหมายงานทุกกลุ่มนำผลการดำเนินงานมาสรุป นำผลการคัดเลือกผลงานของแต่ละกลุ่มรวบรวมเป็นรายงานเพื่อนำเสนอเป็นฉบับร่างให้คณะกรรมการโครงการทั้งหมดและผู้บริหารทราบเพื่อที่จะนำเข้าชี้แจงในวันที่ปิดโครงการประกอบด้วยกลุ่มพืชผักปลอดสารพิษ มะพร้าวสกัดเย็นที่ทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องเป็นสบู่ ยาสระผมและนำ้ยาล้างจาน และกลุ่มเลี้ยงไก่ไข่ มีการนำผลิตภัณฑ์ออกจำหน่าย เป็นต้น

คณะกรรมการหมู่บ้าน กรรมการกลุ่ม และผู้รับผิดชอบโครงการ

1,200.00 2,000.00 15 25 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้รับผิดชอบโครงการมีการสรุปผลการดำเนินงานโครงการทั้งหมด ตั้งแต่ การจัดตั้งกลุ่มไก่ไข่ที่มีการขยายพันธ์ไก่ให้กับชุมชน ครอบครัวได้กินไข่มากขึ้น ไม่ต้องซื้อทำให้ลดค่าใช้จ่ายครัวเรือน  กลุ่มทำปุ๋ยมีการรวมกลุ่มซื้อส่วนผสมของการทำปุ๋ยได้ราคาถูกลงและนำกากอาหาร/ขี้หมู/ขี้ไก่มาเป็นส่วนผสมโดยไม่ต้องซื้อและมีการทำนำ้หมักชีวภาพใช้ในสวนผลไม้ของตนเอง มีการปลูกพืชผักสวนครัว/สมุนไพรที่ใช้ในครัวเรือน และพืชเศรษฐกิจ เช่นพริก มะละกอ /กล้วยหอมทองไว้ใช้เองและขายได้  พร้อมทั้งมีการประสานกลุ่มเครือข่ายเพื่อขายกล้วยหอมและมะละกอให้กับกลุ่มผู้รับซื้อแล้วเพื่อเตรียมส่งประเทศไต้หวันและจัดตั้งคณะทำงานผู้รับผิดชอบในกลุ่มเพื่อการส่งออก โดยมีนางจฑารัตน์  โสเสมอ  เป็นหัวหน้า นางสุทิศา พรมชัยศรี เป็นเหรัญญิกและนายสุนทร  ทิพภัคดี เป็นฝ่ายการตลาด และมีทีมงานอีก 4 คน

กิจกรรมหลัก : จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของสมาชิกกลุ่ม แกนนำชุมชนและประชาชนที่สนใจi

25,000.00 300 ผลผลิต

ประชาชนได้รับความรู้ในการอยู่อย่างพอเพียงถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้อื่นและกลุ่มอื่นได้ มีการปลูกพืชผักสวนครัวไว้ประกอบอาหารในครัวเรือนเอง การช่วยเหลือกันด้วยการลงแรงในการทำสวนแกนนำชุมชนทำครัวเรือนตนเองให้เป็นต้นแบบกับชุมชนได้ 12 ครัวเรือน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

สมาชิกกลุ่มสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดกับชุมชนได้และแกนนำทำตนเองให้เป็นแบบอย่างในการประหยัด การออม การช่วยเหลือกันซึ่งกันและกันและรู้จักแบ่งปัน

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

สมาชิกเครือข่ายกลุ่มในชุมชนและประชาชนผู้สนใจ จำนวน 300 คน

25,000.00 25,000.00 300 300 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สมาชิกมีความรู้ในการอยู่อย่างพอเพียงกินทุกอย่างที่ปลูก/ปลูกทุกอย่างที่กิน การประหยัด การออม การช่วยเหลือกันด้วยการลงแรงในการทำสวน และสามารถนำความรู้ไปถ่ายทอดให้กับผู้อื่น และกลุ่มอื่นได้ แกนนำชุมชนทำครัวเรือนตนเองให้เป็นต้นแบบกับชุมชนได้ 12 ครัวเรือน

กิจกรรมหลัก : ประชุมสรุปบทเรียน และผลการดำเนินงานโครงการให้ประชาชนและผู้เกี่ยวข้องในชุมชนทราบi

24,500.00 30 ผลผลิต

เกิดกองทุนวันละบาท มีคณะกรรมการบริหารจัดการกองทุน กำหนดระเบียบขึ้นและนำเงินที่ได้ไปใช้ประโยชนืกัครัวเรือนสมาชิกกลุ่ม เช่น เป็นทุนการศึกษาเล่าเรียนให้กับบุตรหลานของสมาชิกและมีสภาแกนนำอาชีพบ้านหินเภาเพื่อพัฒนาอาชีพต่อไป


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ชุมชนรู้จักบริหารจัดการตนเองสร้างนิสัยการออม การรอคอยและแบ่งปันให้ผู้อื่นบ้างตามความจำเป็นที่ต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีการประสานเครือข่าย และแกนนำกลุ่มสามารถทำครัวเรือนตนเองให้เป็นศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 2 ครั้ง

คณะกรรมการหมู่บ้านและผู้รับผิดชอบเครือข่ายกลุ่มในชุมชนและประชาชนผู้สนใจ รวมทั้งหมด 250คน

24,500.00 24,500.00 300 250 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สมาชิกทุกคนรับทราบ และเห็นด้วยกับกิจกรรมกองทุนวันละบาท  ทำให้ประชาชนมีชีวิตที่ดีขึ้นมีเงินทุนพอหมุนเวียนได้ในชุมชนเพื่อเป็นทุนการศึกษาเล่าเรียนให้กับบุตรหลานของสมาชิก พร้อมทั้งสร้างนิสัยการออมให้กับคนในชุมชน ประชาชนร่วมกันเลือกตัวแทนจาก 3 กลุ่มบ้านเข้าร่วมสภาแกนนำอาชีพบ้านหินเภาที่มีนางจุฑารัตน์ โสเสมอเป็นประธาน  นางสุทิศา  พรมชัยศรีเป็นเหรัญญิก(เดิมมี 15 คน)และมีตัวแทนกลุ่ม3 กลุ่มบ้าน(กลุ่มคลองพละ/คลองนำ้แดง/โป่งเงาะ)กลุ่มละ 2 คนรวมทั้งหมด 21 คน ปฏิบัติตนตามที่ได้ดำเนินการไปแล้ว และอยากจะต่อยอดโครงการต่อไป

แกนนำชุมชน อสม. กลุ่มแม่บ้านและประชาชน

0.00 0.00 100 70 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประชาชนที่เป็นสมาชิกกลุ่มมีความรู้ความเข้าใจและมีส่วมร่วมในกิจกรรมโครงการที่ต่อเนื่องจากปี1ตั้งแต่การเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่ม ได้แก่กลุ่มเลี้ยงไก่ไข่ กลุ่มทำปุ๋ยและกลุ่มแปรรูปผลผลิตจากมะพร้าวและพืชผักปลอดสารพิษ แต่ละกลุ่มต้องมีเงินออมวันละบาทโดยมีเงินออมอยู่18,631บาท มีการจัดตั้งสภาแกนนำอาชีพที่มีการตั้งระเบียบของกลุ่ม มีการประสานกับพัฒนาชุมชนเพื่อนำผลิตภัณฑ์ชุมชนออกจำหน่ายโดยประสานกับสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลอำเภอทุ่งตะโกในการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพืชผักปลอดสารพิษชุมชนในเรื่องชาชงหญ้าหวาน  ซอสพริกจากมะละกอ และกล้วยหอมแปรรูป  พร้อมกันนี้มีการแปรรูปผลผลิตจากมะพร้าวด้วยการทำสบู่ ยาสระผม และนำ้ยาล้างจานใช้เองในครัวเรือน เหลือแล้วขายให้ประชาชนทั่วไปอีกด้วยซึ่งนำเงินที่ได้ไว้ซื้ออุปกรณ์ในการผลิตครั้งต่อไป สิ่งที่ได้จากการลงพื้นที่จะเห็นได้ว่าแกนนำชุมชนสามารถจัดทำบริเวณบ้านของตนเองให้เป็นศูนย์เรียนรู้ได้หลายรูปแบบทั้งในด้านเกษตรอินทรีย์ที่นำขี้หมูผสมกับEM ใส่ในแปลงพืชผักและผลไม้ของตนจนได้รับผลผลิตดี และสามารถเป็นครูก.ให้กับชุมชนได้ จำนวน 3 ครัวเรือน เป็นต้น

2.3.1 นวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ

(นวัตกรรมคือ การจัดการความคิด กระบวนการ ผลผลิต และ/หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสม มาใช้งานให้เกิดประสิทธิผล และ/หรือประสิทธิภาพมากกว่าเดิมอย่างชัดเจน)

ชื่อนวัตกรรมคุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรมผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์
สมุนไพรรักษาโรค

นำใบหญ้าหวานที่ปลูกไว้ในครัวเรือนต้นแบบผสมกับใบเตยหอม หั่นแล้วนำไปอบแห้ง นำไปชงเป็นน้ำชาดื่มได้

ช่วยในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานและช่วยบำรุงหัวใจ

2.3.2 โครงการเด่น (Best Practice)

(โครงการเดิ่น คือ โครงการสร้างเสริมสุขภาพให้สัมฤทธิ์ผลที่เป็นรูปธรรมแล้วขยายผลอย่างยั่งยืน โดยแนวคิดกระบวนการ และผลงาน สามารถเป็นตัวอย่างที่จะนำไปขยายผลในชุมชน (Setting) อื่น ๆ ได้ การดำเนินงานมีส่วนร่วมของภาคีที่หลากหลาย มีการบริหารจัดการที่ดี โปร่งใสและตรวจสอบได้)

ชื่อ Best Practiceวิธีการทำให้เกิด Best Practiceผลของ Best Practice / การนำไปใช้ประโยชน์
ไม่มีชื่อ

การนำวัฒนธรรมพื้นบ้านที่มีความหลากหลายของชุมชนเป็นจุดรวมของประชาชน มีผู้นำดี ประชาชนมีความสามัคคี ช่วยเหลือกัน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเองภายในชุมชนเกิดกลุ่มสภาอาชีพชุมชน

มีระเบียบกลุ่มที่กำหนดให้ทุกคนที่เป็นสมาชิกต้องมีการออม สามารถนำเงินที่ได้ไปใช้ตามกติกาที่กำหนด มีคณะกรรมการบริหารจัดการที่เกิดจากการเลือกตั้ง

2.3.3 เกิดแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการสร้างเสริมสุขภาพในประเด็นต่าง ๆ
ชื่อ-สกุลที่อยู่ติดต่อได้สะดวกคุณสมบัติแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลง
นายสุนทรทิพภัคดี หมู่ที่ 17 ตรอก/ซอย - ถนน - ตำบล/แขวง รับร่อ อำเภอ/เขต ท่าแซะ จังหวัด ชุมพร โทรศัพท์

เป็นผู้มีความรู้ด้านการเกษตรอินทรีย์ มีความคิดสร้างสรรค์ และมนุษส้มพันธ์ดี สามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้อื่นได้ เป็นต้นแบบของความพอเพียง

2.3.4 มีสภาพแวดล้อมและปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพ

เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพในชุมชนพื้นที่โครงการดังนี้

สถานที่/พื้นที่ ที่เปลี่ยนแปลงรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

บ้านหินเภา หมู่ที่ 17 ตรอก/ซอย - ถนน - ตำบล/แขวง รับร่อ อำเภอ/เขต ท่าแซะ จังหวัด ชุมพร

มีการใช้พื้นที่สาธารณะที่มีอยู่(วัด)ให้เกิดประโยชน์ ด้วยการปลูกกล้วยหอมทอง มะละกอ และพืชสมุนไพร แบ่งพื้นที่กันรับผิดชอบดูแลและบำรุงรักษา โดยมีปราชญ์ชาวบ้านเป็นผู้ให้ความรู้ จะนำผลผลิตที่ได้ส่งออกเพื่อรายได้ชุมชน

ส่วนที่ 3 : ปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงาน

3.1 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเด็นปัญหา/อุปสรรคการแก้ไขของผู้รับทุนข้อเสนอแนะ/การแก้ไขปัญหาและการเสริมพลังของผู้ติดตาม

ไม่มี

ไม่มี

ไม่มี

3.2 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเภทความเสี่ยง / ปัจจัยเสี่ยงระดับความเสี่ยง
(จากมากไปหาน้อย)
ข้อมูล ข้อสังเกตุ และข้อคิดเห็นของผู้ติดตาม
3210
1. ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน (Operational Risks)
1.1 โครงสร้างการดำเนินงาน

 

1.2 ศักยภาพและทักษะการดำเนินงาน

 

1.3 ผลลัพธ์และผลสำเร็จของการดำเนินงาน

 

2. ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risks)
2.1 ระบบและกลไกการบริหารจัดการ

 

2.2 การใช้จ่ายเงิน

 

2.3 หลักฐานการเงิน

 

ผลรวม 0 0 0 0
ผลรวมทั้งหมด 0 ระดับความเสี่ยง : ???
เกณฑ์วัดระดับความเสี่ยง ???
สรุปการแก้ไขความเสี่ยง แก้ไขแล้ว ยังไม่ได้แก้ไข

ส่วนที่ 4 : สรุปความเห็นของผู้ติดตาม

ส่วนที่ 4สรุปความเห็นของผู้ติดตาม
4.1 กรณีเบิกเงินงวด/ติดตามเยี่ยมชม มีแนวโน้มสำเร็จตามเป้าหมายโครงการและติดตามปกติ
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

 

มีแนวโน้มเสี่ยง ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจาก
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

 

มีความเสี่ยง ต้องยุติโครงการ เนื่องจาก
4.2 กรณีสรุปปิดโครงการ ดำเนินงานได้ตามแผนปฏิบัติการและสามารถปิดโครงการได้
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

โครงการได้ดำเนินการเสร็จสิ้นตามแผนที่กำหนดแต่กล้วยและมะละกอยังไม่ออกผลที่จะประเมินเป็นราคาได้

ไม่เป็นไปตามแผนปฏิบัติการ ให้ดำเนินการจัดระบบการเงิน ระบบรายงานให้ถูกต้องก่อนปิดโครงการ
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

 

ส่วนที่ 5 : สรุปภาพรวมของการติดตามประจำงวด (ข้อสังเกต/สิ่งดีๆ ที่ค้นพบ/ข้อพึงระวัง/บทเรียนที่ได้)

การมีผู้นำดี ที่เสียสละ ทั้งที่เป็นทางการ(นายกอบต./ผู้ใหญ่บ้าน) และไม่เป็นทางการ (นางจุฑารัตน์ โสเสมอ) สามารถเป็นต้นแบบให้กับชุมชน ทำให้งานสามารถบรรลุผลตามที่ต้องการได้

สร้างรายงานโดย Yuttipong Kaewtong