directions_run

แนวทางร่วมสร้างชุมชนป้อมหกให้น่าอยู่ปีที่ 2 : ป้อมหก Eco planet ปฎิบัติการชุมชนรักษ์โลก(ต่อเนื่อง)

assignment
บันทึกกิจกรรม
ประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อปิดโครงการร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่27 มิถุนายน 2558
27
มิถุนายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามการทำโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

พี่เลี้ยงนัดติดตามการทำบัญชีโครงการ และ  เอกสาร เตรียมปิดโครงการ  รายงานสรุปเมื่อสิ้นสุดโครงการ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

พี่เลี้ยงนัดติดตามการทำบัญชีโครงการ และ  เอกสาร เตรียมปิดโครงการ  รายงานสรุปเมื่อสิ้นสุดโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

เจ้าหน้าที่โครงการ สจรส
พี่เลี้ยง โครงการ คุณ สมพร จันทวงศ์ คุณ คณิชญา ผอมเอียด

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
คุณ อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ร่วมกิจกรรมถอดบทเรียนโครงการร่วมสร้างชุมชนป้อมหกฯ28 เมษายน 2558
28
เมษายน 2558รายงานจากพี่เลี้ยง โดย อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อทบทวนการดำเนินงานโครงการร่วมสร้างชุมชนป้อมหกฯ ในระยะที่ผ่านมามีผลสัมฤทธิ์เป็นอย่างไร 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.วิเคราะห์สถานการณ์การดำเนินโครงการฯ ในระยะที่ผ่านมา

-ปัญหาที่ยังคงพบอยู่ในพื้นที่ เช่น  ขยะที่ยังมีตกค้างในท่อระบายนำ้ ,ยุงลาย,การปลูกผักในครัวเรือน ยังมีน้อย ,ขยะบริเวณริมทางรถไฟ (เนื่องจากไกล้ถึงสถานี ทำให้ผู้โดยสารรถไฟ มักจะทิ้งขยะที่ติดตัวมา เช่น ถุงขนม กล่องอาหาร เป็นต้น )

-ก้าวต่อไปของชุมชน เช่น การสร้างอาชีพเสริมให้กับคนในชุมชน เช่น การจัดกระเช้าสุขภาพโดยเฉพาะการใช้ผักที่ปลูกในชุมชน ,การว่างงานของผู้สูงอายุ ,พัฒนาศักยภาพเยาวชนในด้านภาษาอาเซียน ,การหาทีมในการช่วยกันทำงานเพิ่มจากเดิมที่มีอยู่

2.สะท้อนผลลัพธ์ที่ได้จากการดำเนินกิจกรรม

-เด็ก เยาวชน เกิดการเรียนรู้การคัดแยกขยะ และการจัดการสิ่งแวดล้อมทั้งที่บ้านและชุมชน เช่น ปลูกผัก ปลูกต้นไม้

-เกิดรายได้จากขยะ ให้กับคนในชุมชน

-ขยะพิษ มีการจัดการที่เหมาะสม โดยกองทุนขยะสร้างสุขเก็บรวมและส่งต่อไปให้กับเทศบาลหาดใหญ่  โดยที่คนในชุมชนนำมาแลกไข่ไก่ นำไปบริโภคในครัวเรือน จึงช่วยลดการทิ้งขยะพิษในพื้นที่ชุมชนที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชน

3.การกำหนดยุทธศาสตร์ชุมชนป้อมหกในอนาคต

-ชุมชนแห่งความสะอาด เช่น กฎกติกา มาตรการ,การคัดแยกขยะครอบคลุมทุกครัวเรือน,การร่วมกันทำความสะอาดชุมชน สัปดาห์ละครั้ง,การทำความหน้าบ้านของตนเอง

-ชุมชมแห่งความปลอดภัย เช่น การขับรถในพื้นที่ชุมชนอย่างระมัดระวัง ไม่เร็วเกินไป,มีความรู้การดับเพลิงในกรณีที่มีไฟไหม้,การประชาสัมพันธ์ ข่วสารในชุมชน เช่น ตู้แดงแจ้งเหตุ ,อส.ชุมชน,ไฟฟ้าแสงสว่าง

-เยาวชนก้าวไกล เช่น ความรู้ ทักษะชีวิต,จิตอาสา,การศึกษา

-ผู้สูงวัยอนามัยดี เชู่น ออกกำลังกาย ปลูกต้นไม้ สวดมนต์

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.แกนนำชุมชน  และเด็ก เยาวชน ได้สะท้อนเรื่องราวของชุมชนตนเอง ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต  ทำให้เกิดแผนปฏิบัติที่จะพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่

2.ทำให้เกิดการอยู่ร่วมกันของคนในชุมชน ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจ การเรียนรู้ระหว่างคนสองวัย เกิดความรัก ความสามัคคีของคนในชุมชน

3.เห็นแกนนำเด็ก เยาวชนที่จะเข้ามาช่วยทำงานในทีมผู้ใหญ่

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 148 คน จากที่ตั้งไว้ 145 คน
ประกอบด้วย

คณะที่ปรึกษาโครงการแนวทางร่วมสร้างชุมชนป้อมหกให้น่าอยู่ปีที่สอง

คณะกรรมการชุมชนป้อมหก/คณะกรรมการโครงการ หน่วยงานและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น  สสส.  สจรส.มอ.,/กศน./กลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อมเทศบาลนครหาดใหญ่,กองสวัสดิการสังคม กองช่าง เทศบาลนครหาดใหญ่/วงษ์พาณิชคลอแห

เยาวชน Eco kids ชุมชนป้อมหก

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ถอดบทเรียนเยาชนและทีมงาน27 เมษายน 2558
27
เมษายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์

1 . เพื่อสะท้อนผลการดำเนินงานตลอดระยะการทำงานโครงการ 1 ปีที่ผ่านมา    2. ร่วมร่างแผนชุมชนก้าวต่อไปของชุมชนป้อมหก เพื่อพัฒนาชุมชน อย่างต่อเนื่อง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.หารือทีมงานเพื่อเตรียมกระบวนการถอดบทเรียน

2.ติดต่อวิทยากร ถอดบทเรียนจาก วพส

3.เช็คสถานที่ เพื่อเลือกสถานที่ ที่เหมาะสม

4.จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ สื่อต่างๆ

5.ทำหนังสือ เชิญวิทยากร หนังสือเชิญผู้เข้าร่วมกิจกรรม หนังสือขออนุญาตผู้ปกครอง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันจันทร์ 27 เมษายน 2558

เวลา 08.30 น  กลุ่มเป้าหมายรวมตัวกันที่หน้าแพปลาตามที่ได้นัดหมายกันไว้  น้องๆเยาวชน และพี่ๆทีมงาน ช่วยกันหอบหิ้วอุปกรณ์ เพื่อเตรียมขึ้นรถ เวลา 09.45 น. ได้เวลาออกเดินทาง ทางโครงการได้รับการสนับสนุนรถจาก สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม  เทศบาลนครหาดใหญ่  เดินทางมุ่งสู่ แพ ต้น โฮมสเตย์ เกาะยอ จังหวัดสงขลา โดยมี ผู้ร่วมเดินทาง จำนวน 42 คน ประกอบด้วย อาจารย์วัลภา ฐาน์กาญจน์และ คุณ อาณัติ หวังกุหลำ  ที่ปรึกษาโครงการ  / คุณ นิพนธ์ รัตนาคม และ คุณ  จิราพร อาวะภาค วิทยากร จากสถาบันวิจัย และ พัฒนาสุขภาพภาคใต้ /คุณตูแวซะ นิแม  พี่เลี้ยงบัณฑิตอาสา พร้อมด้วยบัณฑิตอาสาพื้นที่ป้อมหก และ พื้นที่เครือข่ายอีกสองท่าน  พร้อมหน้าพร้อมตาด้วย ทีมงานโครงการและ บรรดาสมาชิก Eco kids จำนวน กว่า 35 ชีวิตที่เดินทางรวมภารกิจในครั้งนี้
  เมื่อถึงที่พัก  คุณ ครู มะ ประธานบัณฑิตอาสา รุ่นที่สิบ  เริ่มนำน้องๆและทีมงานละลาย พฤติกรรม กระชับมิตร ให้เด็กๆทำความคุ้นเคยกับการมาอยู่ร่วมกันด้วยบรรยากาศที่สนุกสนาน ต่อด้วยคุณ นิพนธ์ ได้ทำการถอดบทเรียนน้องๆ ชุมชนป้อมหกและทีมงานด้วยการใช้ ภาพย้อนรอยอดีต เรื่องเล่าชาวป้อมหก โดยแบ่งกลุ่มน้องๆและพี่ป้าน้าอาทีมงานป้อมหกร่วมกัน โดยแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรก ชื่อป้อมหก ซิตี้  กลุ่มที่สอง พม่าซิตี้  ภาพบรรยายกลุ่มเป็นไปอย่างสร้างสรรค์ เพราะผู้ใหญ่และเด็กๆพากันย้อนอดีตเล่าเรื่องป้อมหกสมัยที่มี ขยะมากมาย ให้เด็กๆฟัง เด็กๆก็วาดภาพ ลงบนแผนที่ กันอย่างเอาจริงเอาจัง ช่างเป็นภาพที่น่าจดจำยิ่ง  เวลาเดินทางผ่านไปเรื่อยๆวิทยากรนำน้องๆเข้าสู้ขั้นตอนการออกมานำเสนอ เรื่องราวของกลุ่มของตนว่ากลุ่มพม่าซิตี้เล่าว่า เมื่อก่อน ชุมชนเราเต็มไปด้วยกองขยะ แม้แต่บนถนนก็มีกองขยะมากมาย บริเวณบ้านรกร้างก็เป็นแหล่งมั่วสุม มีขยะมากมาย ลานว่างต่างๆ ก็เต็มไปด้่วยกองขยะ ผู้คนนำขยะไปเผาบนรางรถไฟรางที่ 1  บางบริเวณเป็นแหล่งน้ำขัง ลูกน้ำยุงลายเต็มไปหมด แต่ไปจับลูกน้ำมาเลี้ยงปลากัด  มีหนองผักบุ้งที่บ่อยครั้งจะพบสัตว์ร้ายอย่างงูเลื้อยออกมาจากแปลงผักบุ้ง  ส่วนกลุ่มป้อมหกซิติ้เล่าว่า เมื่อก่อนมองไปทางไหนก็เจอแต่กองขยะ ป้าไพเสริม ว่า เมื่อก่อนเดินๆนิ้วเท้าเกี่ยวถุงพลาสติกล้มก็มี เด็กๆเล่าว่ากองขยะเต็มไปหมดมีคนติดยา มี หนู แมลงวันเยอะแยะ คูน้ำเต็มไปด้วยขยะมีกลิ่นเน่าเหม็น บรรยากาศการบรรยายเต็มไปด้วยสีสัน และสนุกสนาน ทำให้ที่ประชุมได้รู้เรื่องราวเกี่ยวภาพเก่าๆของ ป้อมหกได้อย่างชัดเจนขึ้น  หลังจากนั้นได้พักรับประทานอาหาร ร่วมกันโดยมีน้อยเบียร์ เป็นผู้นำรำลึกถึงพระคุณชาวนา หลังจากนั้นก็ได้รับประทานอาหารร่วมกันอิ่ม อร่อย มีความสุข

    13.30 น. กิจกรรมที่เยาวชนเข้าร่วมในชุมชนมีกิจกรรมอะไรบ้าง

น้องๆแต่ละกลุ่มเขียนลงบนกระดาษ หนึ่งหน้ากระดาษโดยประมวลได้ดังนี้  กิจกรรม พี่สอนน้อง เรียนทำขนมโค สอนเล่นเกมส์ สอนทำอาหาร เพื่อให้น้องน้องได้ทำเป็น ได้รับความรู้เกิดความสามัคคี กิจกรรมเก็บขยะปรับภูมิทัศน์  ช่วยให้ชุมชนสะอาดขึ้นสวยขึ้่น  กิจกรรม การทำอาหาร เรียนรู้การปรุงอาหารและ ประหยัดค่าใช้จ่าย  สวนผักหรรษา ได้ปลูกผัก ได้เรียนรูวิธีปลูกและปรุงอาหารเอง
กิจกรรมร่วม  เป็นกิจกรรมร่วมกันทำน้ำยาล้างจาน ทำน้ำหมักชีวภาพ ประกวดระบายสีวันสุนทรภู่ ทัศนศึกษาในที่ต่างๆ เดินพาเหรด ทอดผ้าป่า  ทาสีล้อรถเพื่อทำกระถางต้นไม้ ทำให้เกิดความภาคภูมิประหยัดค่าใช้จ่าย นำไปใช้ในครัวเรื่อน กิจกรรม บำเพ็ญประโยชน์  ประกอบด้วย กิจกรรมคัดแยกขยะ ปลูกผัก ปลูกดอกไม้ รักษาสิ่งแวดล้อม ประโยชน์ที่ได้ คือ ขยะลดลง เราสามารถคัดแยกขยะได้ สร้างรายได้แก่ครัวเรือน สร้างความสวยงามแก่ชุมชน สร้างชินงาน เช่นกระปุกออมสิน

พี่ตั้มในน้องๆและทีมงานช่วยกันมองปัญหาที่พบในชุมชนป้อมหกและวิธีแก้ไขปัญหาได้อย่างไร  พบว่าน้องและทีมงานสะท้อนมา 12  ประเด็น ดังนี้

  1. คนในชุมชนมีเวลาไม่ตรงกัน

วิธีการแก้ไข ต้องมีการจัดคิว สำรวจเวลาว่างของคนในชุมชน ชี้แจงรายละเอียดผ่าน เสียงตามสาย และ ใบปลิว

  1. ลูกน้ำยุงลาย

วิธีการแก้ไข  เทน้ำทิ้ง ปิดฝาภาชนะ ทรายฆ่ายุง
3. ขยะทางรถไฟ

วิธีการแก้ไข เก็บขยะสัปดาห์ละครั้ง ปิดป้ายประกาศ โดยประสานกับการทางรถไฟแห่งประเทศไทยให้ออกกฎระเบียบห้ามทิ้งขยะนอกขบวนรถไฟ

  1. สุนัขในชุมชนเยอะ

วิธีการแก้ไข ฉีดยาคุม ทำหมัน ให้เทศบาลมาจับ

  1. งบค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหา

วิธีการแก้ไข ร่วมกันบริจาคเงิน เก็ยขยะขายเข้ากองทุนชุมชน ปลูกผักขาย กำไรเข้าชุมชน  หรือ จัดกิจกรรมจัดหาทุน

  1. เยาวชนไม่ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

วิธีการแก้ไข ชักชวนเพื่อนเข้าร่วมกิจกรรม

  1. สถานที่ในการจัดกิจกรรม มีน้อย  แต่จริงๆแล้วพอมีบ้างแต่ต้องหากิจกรรมมาอย่างต่อเนื่อง อาทิ หน้าแพ ลานเปลือกหอย บ้านป้าพร

  2. ขยะเต็มถนน กลิ่นเหม็น แยกขยะ ขยะในท่อระบายน้ำ ทิ้งไม่เป็นที่

วิธีการแก้ไข  สร้างจิตสำนึก ปรับเปลี่ยนตัวเอง ทิ้งขยะลงถัง

  1. การจราจรลำบาก

วิธีการแก้ไข  จัดระเบียบหน้าบ้าน จอดรถให้เป็นระเบียบไม่ขวางทางจราจร

  1. ต้นไม้ในชุมชนน้อย ปลูกผักกินเองในชุมชน

วิธีการแก้ไข  ปลูกต้นไม้หน้าบ้าน หลังบ้านในล้อยาง กล่อง ขวด

  1. ถนนมีฝุ่น ถนนลุกลัง รถขับเร็ว

วิธีการแก้ไข ปรับเปลี่ยนนิสัย บอกเพื่อนๆ ขับรถเร็ว

12.อยากให้ชุมชนมีความสามัคคี

วิธีการแก้ไขปัญหา ทุกคนเชื่อฟังแกนนำชุมชน เป็นตัวอย่างในชุมชน

  เวลา 15.00 น  อาจารย์ วัลภา ฐาน์กาญจน์ ที่ปรึกษาโครงการได้เดินทางมาร่วมกิจกรรม ครั้งนี้ได้เชิญกลุ่มทีมงาน ผู้ใหญ่เข้ามาพูดคุยถอดบทเรียน ก้าวต่อไปของชุมชนป้อมหก อยากเห็นอะไรในชุมชน สรุปใจความสำคัญดังนี้

สิ่งที่ทีมงานอยากเห็นใจ ประเด็นที่ 1 อาชีพ อาทิ ปลูกผักพืช ในกระถางไว้ขาย ต้นทุนต่ำ  ทำขนมเพื่อสุขภาพ
                  ประเด็นที่ 2 การเลี้ยงดูเด็ก ต้องคุยกันเพิ่มมากขึ้น ปรึกษาหารือร่วมกัน หาแผนต่อไปในการทำงาน พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กต้องเข้าร่วมกิจกรรมด้วย ต้ออาศัยผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญนักจิตวิทยาอบรมเด็กพิเศษ ประศานครูในระบบสำหรักนักเรียนที่ขาดเรียน ประสานมูลนิธิ สำหรับเด็กยากไร้ มีการติดตามเด็ก เมื่อเด็กได้รับทุน

                    ประเด็นที่ 3 สอนภาษาอาเซียน ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ภาษา พม่า เขมร มาลายู หากไม่รู้ภาษาทำให้เราเสียเปรียบในการต่อรองราคา ในการสนทนา

                    ประเด็นที่ 4 สิ่งที่ต้องทำ คือ การสร้างทีมงานเพิ่ม  จัดกิจกรรมเติมวิตามิน เอ ให้ทีมงาน


หลังจากสรุปก้าวต่อไปของทีมงานป้อมหก แล้ว อาจารย์วัลภา ฐาน์กาญจน์ ที่ปรึกษาโครงการแนวทางร่วมสร้างชุมชนป้อมหกให้น่าอยู่ก็ได้ให้โอวาท และกล่าวชื่นชมทีมงานในการเสียสละเวลามาร่วมกิจกรรม ขอให้ตั้งใจทำสิ่งดีๆนี้ต่อไปด้วยความอดทน จากนั้นจึงเดินทางกลับอย่างปลอดภัย  ส่วนทีมงานและ เด็ก เยาวชน ยังอยู่ที่นั่นเพื่อรับประทานอาหารร่วมกันและ ทำกิจกรรมสันทนาการต่อไป

  วันที่ 28  เมษายน  2558
เวลา 09.00 น  เช้านี้เริ่มด้วยเชิญผู้เข้าร่วมถอดบทเรียนโดยการร่วมสันทนาการกันก่อน ต่อจากนั้นก็ได้แจกใบไม้ ในขณะที่ครูซาร่าเป็นผู้จับประเด็น  พี่บี เป็นผู้โยนประเด็นคำถาม

กิจกรรม แรก  เปิดเวที เตรียมความพร้อมสู่ปีที่สอง

1 ได้รับความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ จะให้ชาวบ้านทำต่อที่บ้าน 2 สอนให้ชาวบ้านสามารถแยกขยะ  มีการให้บริการดูแลตรวจสุขภาพวัดความดัน  ดูแล ฉีดวัคซีน สุนัข สืนสานวัฒนธรรมภาคใต้
3 ได้รับความสุขและความรู้ที่น่าสนใจ
4 ได้รับความรู้การคัดแยกขยะ ทำให้ชุมชนสะอาดขึ้น
5 ได้ชม มโนราห์

กิจกรรมที่สอง  นักสืบน้อยตามรอยขยะ

1 ได้รับความรู้ด้านการจัดการขยะ 2 ได้ออกไปพบเพื่อนๆ ร่วม สนุก เล่นเกมส์  แยกขยะ  ขยะอันตรายแลกไข่  สนุก

กิจกรรมที่สาม Eco kids  ภารกิจเยาวชน อันประกอบด้วยกิจกรรม

อบรมเยาวชน ป้อมหกและเครือข่าย / เสียงตามสาย /สื่อ ต่างๆ  ได้รับเสียงสะท้อนดังนี้ 1 ได้ประโยชน์จากการไปดูงานว่าเราต้องช่วยกันลดปริมาณขยะ และช่วยให้เด็กๆมีส่วนร่วมในการลดภาวะโลกร้อน 2 ได้ความรู้เรื่องการเก็บ การคัดแยก และวิธีการรีไซเคิลขยะ
3 ดูโรงไฟฟ้าพลังงานขยะมีประโยชน์มาก
4ชอบตอนไปโรงเรียนเทศบาลหนึ่งสนุกมาก เพราะได้สันทนการเล่นเกมส์ ดูละคร เพื่อการเปลี่ยนแปลง คัดแยกขยะ
5 ทุกกิจกรรมสนุกมาก

กิจกรรมที่ สี่ กองทุนขยะสร้างสุข 1. ได้รายได้เสริม  ได้รู้จักการคัดแยกขยะดีขึ้นประหยัดค่าใช้จ่าย ชุมชนเราสะอาดยิ่งขึ้น 2. ขยะที่แยกไปขาย ขยะอันตรายแลกไข่ เช่นหลอดไฟฟ้า ถ่านไฟฉาย กระป๋องสเปรย์ แลกไข่มากิน 3. ได้รับประโยชน์  ประหยัดค่าใช้จ่าย มีเงินปันผล 4. โครงการดี พอใจมาก 5. เก็บของที่ไม่ใช้แล้วมามาขายเก็บเงินไว้ใช้  ประหยัด 6. ได้คัดแยกขยะมีความสุขมาก 7. กองทุนขยะสร้างสุข มีประโยชน์เอาหลอดไฟฟ้าแลกไข่และเอาพลาสติกไปสมัครสมาชิก  สมาชิกได้ประโยชน์ หากเสียชีวิตจะได้รับเงินมาช่วยจัดการศพ 8. เป็นสมาชิกกองทุนขยะสร้างสุขได้เอาหลอดไฟไปแลกไข่และได้รวมกันทำน้ำหมักชีวภาพ น้ำยาอเนกประสงค์ น้ำยาล้างจาน ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ลดขยะให้น้อยลง
9. ส่งเสริมให้มีรายได้จากการขายขยะหรือนำขยะที่ไม่ใช้แล้วเปลี่ยนเป็นเงินช่วยให้ลดขยะในชุมชน และทำให้คนในชุมชนมีรายได้จากส่วนนี้ อีกด้วย 10. ได้รับประโยชน์ ได้ทำงาน ได้เบี้ยเลี้ยง  ได้กินขนม
11. ได้รับความรู้จากการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง แยกแล้วมีรายได้เพิ่ม

กิจกรรมที่ ห้า  ร้านค้าสร้างสุข 1. นำของเก่าไปแลกของใหม่ได้ประหยัดค่าใช้จ่าย 2. ขยะเอาไปขายบางทีก็เอาเป็นของใช้บางอย่าง ของกิน เช่นปลากระป๋อง ผงซักฟอกเอาไปซักผ้า 3. พอใจคะ มีประโยชน์ต่อคนในชุมชนคะ 4. ได้มีของกินของใช้ ต่างๆไว้ใช้ 5. ได้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้ของกิน 6. แลกขนมกิน หรือ เก็บออมเงิน 7. ประหยัดค่าใช้จ่าย มีของใช้ ชุมชนสะอาด 8. มีเงินเก็บ ได้ประโยชน์กับเรา 9. ได้รับผลประโยชน์จากการแยกขยะรีไซเคิล เอาขยะไปขายแลกไข่ได้น้ำปลา และสิ่งของ 10. ร้านค้าแลกขยะที่เป็นอาหารเช่น ปลากระป๋อง น้ำปลา สบู่และของใช้ในครัวเรือนทุกอย่างมีที่ร้านค้ากองทุนขยะชุมชน 11. ร้านค้ากองทุนสร้างสุขเอาของไปแลกกับสบู่ แป้ง มาม่า น้ำมัน ขนมแล้วแต่จะเลือก

กิจกรรมที่หก ทอดผ้าป่าสามัคคีขยะรีไซเคิล 1. ได้ความสนุกสนานจากการทำบุญโรงพยาบาล 2. ทอดผ้าป่ารีไซเคิลช่วยเหลือพระสงฆ์ที่อาพาธที่ โรงพยาบาล จังหวัดสงขลา 3. มีความสุขมาก รู้เรื่องธรรมะ  เรื่องความสามัคคี และความร่วมมือ 4. ได้ทำเพื่อการกุศล 5. ได้บุญ มีความสุข ดีใจที่เราได้รับเกียรติบัตร 6. สร้างความสนุกสนานสามัคคีร่วมกันในชุมชน และได้ร่วมกันทำบุญด้วย 7. ทอดผ้าป่าสามัคคีรีไซเคิลโรงพยาบาลสงขลาได้ร่วมมือกับโรงเรียนเทศบาล 1 ร่วมเดินขวนพาเหรดคณะโยธวาทิต 8. ได้ทำบุญและทำให้สังคมหันมาทำบุญมากขึ้น 9. กระตุ้นให้คนในชุมชนและคนภายนอกนำขยะมาบริจาคเพื่อที่จะนำเงินที่ได้ร่วมกันทำบุญให้กับพระสงฆ์อาพาธในโรงพยาบาลสงขลา 10. ดีใจได้ร่วมแสดงลิเกฮูลู 11. ได้สนุกสนานร่วมทำบุญ 12. ได้ทำบุญ ประหยัดเงิน มีความสามัคคี สนุกสนาน มีความสุข เป็นที่รักของทุกคน 13. กิจกรรมทอดผ้าป่าสามัคคีที่โรงพยาบาลสงขลาเป็นกองทุนพระสงฆ์อาพาธ ชุมชน ทอดผ้าป่านำเงินไปมอบเรียบร้อยแล้ว 14. พอใจที่ได้ทอดผ้าป่าร่วมกัน  ทำดีได้ดี 15. มีความสุขมากที่ได้ไปทอดผ้าป่าได้ความรู้พร้อมมีความสนุกสนานมากๆเลยคะ มีเกมส์ให้ร่วมสนุก

กิจกรรมที่ เจ็ด  หน้าบ้านน่ามอง เปลี่ยนพื้นที่ขยะเป็นพื้นที่สีเขียว  สู่ความพอเพียง 1. ทำให้หน้าบ้านสะอาด ตกแต่งด้วยวัสดุรีไซเคิลและไม่ต้องซื้อวัสดุแพงๆ มาตกแต่ง และทำให้น่าดู 2. หน้าบ้าน น่ามอง ปลูกผักหน้าบ้าน เศษอาหารเอามาหมัก รดน้ำต้นไม้ ปลูกผักกินเอง ปลูกผักสวนครัว
3. ได้ทาสีล้อยางรถยนต์ ได้เก็บขยะด้วยคะ กวาดขยะ
4. การปลูกพืชผักสวนครัวที่จำเป็นไว้ใช้ในครัวเรือนและใช้เป็นไม้ประดับหน้าบ้านให้สวยงามน่ามองยิ่งขึ้น 5. ต้นไม้เพิ่มขึ้น  ภาคภูมิใจ สามัคคี ประหยัด สนุกสนาน 6. เราปลูกต้นไม้หน้าบ้านหลายชนิดมีไม้ดอก และต้นไม้ที่กินได้ไว้ประดับหน้าบ้านให้สวยงาม 7. เราช่วยกันปลูกต้นไม้ให้หน้าบ้านน่ามอง และชุมชนเราจะแจ่มใส สวยงาม มากๆ เราต้องช่วยกันคนละไม้คนละมือชุมชนของเราจะแจ่มใส 8. ได้ทาสียางล้อรถยนต์และได้ทาสีกระถางต้นไม้ 9. ทำให้ชุมชนเป็นสีเขียวร่มเย็นสบายไม่ร้อน
10. ช่วยกันปลูกดอกไม้ทำความสะอาดหน้าบ้านและผักปลอดสารพิษเช่น หอม กะเพราะ สาระแหน่ ดอกบานไม่รู้โรย เก็บไว้บูชาพระไม่ต้องไปซื้อที่ตลาด 11. นำขยะรีไซเคิลมาทำกระเป๋า กระถางรีไซเคิล ยางรถยนต์
12. ทำความสะอาดหน้าบ้านให้น่ามองปลูกต้นไม้ พืช ผัก สวนครัว และต้นไม้ที่มีประโยชน์ต่อครอบครัวและสิ่งที่มีประโยชน์ต่อชุมชนเรา 13. มีการประดิษฐ์วัสดุอุปกรณ์จากขยะรีไซเคิลทำให้สวยงาม

กิจกรรมที่แปด พลังทดแทน 1. พลังงานทดแทนมีแผ่นโซล่าเซลล์ทำความร้อนจากเป็นพลังงานไฟฟ้า ทำให้ได้ประโยชน์ นำมาหุงข้าวและทำไฟให้สว่าง ใช้ประโยชน์มากมาย และมีแก๊สชีวภาพเพื่อใช้ในครัวเรือน 2. ไม่ใช้ไฟฟ้า ลดโลกร้อย ประหยัดค่าใช้จ่าย มีใช้ในภายหลัง เป็นที่รักของทุกคน 3. ได้ใช้แผ่นโซล่าเซลล์มาใช้รับพลังงานแสงอาทิตย์ มาเปลี่ยนเป็นไฟฟ้าใช้ในกองทุนขยะ 4. ตอนนี้ทางชุมชนได้มีพลังงานไฟฟ้าทดแทนจากแสงอาทิตย์มาเป็นไฟฟ้าใช้ในกองทุนขยะ มีโซล่าเซลล์ และ แก๊สชีวภาพ 5. ประหยัดไฟฟ้าเพราะเราหันมาใช้พลังงานทดแทน 6. ทำให้มีไฟฟ้ามากขึ้นและยังมีโซล่าเซลล์และแก๊สชีภาพ 7. สามารถนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์ นำขยะ สดเช่นผัก ผลไม้มาหมักเพื่อใช้ทำปุ๋ย


กิจกรรมที่ เก้า ถอดบทเรียนแกนนำ ทีมงาน เด็ก และ เยาวชน
ผ่านกิจกรรมบทเรียนที่แสนดี กับหนึ่งปีที่ป้อมหก ได้ใช้วิธีการให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประเมินความพึงพอใจผ่านชาร์ตประเมิน โดยครั้งนี้ประเมินในเวลา 11.20 น มีผู้เข้าร่วมประเมิน  36 คน ดังนี้ ประเด็นที่หนึ่ง สถานที่
มีผู้เข้าร่วมถอดบทเรียน พึงพอใจสถานที่ถอดบทเรียนในระดับพึงพอใจมาก    29 คน  พึงพอใจปานกลาง 7 คน  พึงพอใจน้อย  ไม่มี ประเด็นที่สอง  ระยะเวลา
มีผู้เข้าร่วมถอดบทเรียน พึงพอใจเรื่องระยะเวลานาการถอดบทเรียนครั้งนี้ในระดับพึงพอใจมาก  18  คน  พึงพอใจปานกลาง 14 คน  พึงพอใจน้อย  3 คน ประเด็นที่สาม อาหาร มีผู้เข้าร่วมถอดบทเรียน พึงพอใจเรื่องอาหารถอดบทเรียนในระดับพึงพอใจมาก 21  คน  พึงพอใจปานกลาง 15 คน  พึงพอใจน้อย  ไม่มี ประเด็นที่สี่  เนื้อหา มีผู้เข้าร่วมถอดบทเรียน พึงพอใจเรื่องเนื้อหาที่ใช้ ถอดบทเรียนในระดับพึงพอใจมาก  24 คน  พึงพอใจปานกลาง 9 คน  พึงพอใจน้อย  1 คน ประเด็นที่ห้า ภาพรวมของกิจกรรม มีผู้เข้าร่วมถอดบทเรียน พึงพอใจภาพรวมของกิจกรรม ถอดบทเรียนในระดับพึงพอใจมาก    21  คน  พึงพอใจปานกลาง 13  คน  พึงพอใจน้อย  2 คน

ถือว่ากิจกรรมนี้เป็นการให้ผู้เข้าถอดบทเรียนมีบทบาทสำคัญในการแสดงความคิดเห็นซึ่งผลที่ออกมาอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ผู้เข้าร่วมกิจกรรมให้ความร่วมมือได้เป็นอย่างดีตลอดกิจกรรม

  หลังจากนี้เป็นเวลาพักผ่อนรับประทานอาหารกลางวัน ในขณะที่พี่เลี้ยง คุณ อารีย์  สุวรรณชาตรี  มาร่วมสังเกตุการณ์และ พูดคุยกับผู้ร่วมถอดบทเรียนตั้งแต่เวลา 10.30 น จึงได้โอกาสรับประทานอาหารร่วมกัน  เพื่อเข้าสู่กิจกรรมช่วงบ่าย  ก้าวต่อไปด้วยเชิงรุก กับ กลยุทธ์ สี่ด้าน ของป้อมหก

          เวลา 13.30 น  เริ่มด้วย การมองอนาคตของผู้ร่วมถอดบทเรียน โดยเอายุทธศาสตร์ เป็นตัวตั้งแล้วร่วมเสนอความคิดเห็น
ยุทธศาสตร์ที่ หนึ่ง  ชุมชนแห่งความสะอาด
ได้ร่วมเสนอความคิดเห็นว่า
1. ต้องมีการ พัฒนาชุมชนร่วมกัน เดือนละสองครั้ง 2. คัดแยกขยะทุกครัวเรือน 3. ดูแลหน้าบ้านให้น่ามอง
4. วางถังเป็นจุดๆ ยุทธศาสตร์ที่ สอง ราษฎรปลอดภัย
ได้ร่วมเสนอความคิดเห็นว่า 1. มีการอบรม และจัดหาถังดับเพลิง 2. มีตู้แดงแจ้งเหตุ 3. ช่วยกันเป็นหูเป็นตา 4. ติดกล้องวงจรปิด 5. ไฟฟ้าต้องสว่างตลอด 6. อย่าวิ่งชนรถ /ดูแลตัวเอง

      ยุทธศาสตร์ที่ สาม เยาวชนก้าวไกล         ได้ร่วมเสนอความคิดเห็นว่า 1. เยาวชนต้องมีความรู้ 2. ห่างไกลยาเสพติด ไม่ทะเลาะวิวาท 3. มีจิตอาสา (เป็นคนดี ) ยิ้มแย้มแจ่มใส

ยุทธศาสตร์ที่ สี่ ผู้สูงวัยอนามัยดี ได้ร่วมเสนอความคิดเห็นว่า 1. รักษาสุขภาพ 2. กินอาหารถูกสุขอนามัย 3. ออกกำลังกายเป็นประจำ  อาทิ รำมวยจีน เดิน  แกว่งแขน
4. ทำจิตใจให้เบิกบาน นั่งสมาธิ  ยึดหลักธรรมเหมาะสม  ปลูกต้นไม้ 5. หากิจกรรมให้ผู้สูงวัยทำ 6. นั่งคุยปรึกษากัน
7. ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

จากกิจกรรมถอดบทเรียนครั้งนี้ทำให้ผู้เข้าร่วมถอดบทเรียน และผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้เห็นภาพการพัฒนาของชุมชนป้อมหกชัดเจนขึ้น เนื่องจากได้ทำการถอดบทเรียนเรื่องเล่าจากอดีต สู่กิจกรรมปัจจุบัน รวมถึงการร่วมกันมองอนาคตร่วมกัน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ทางทีมงานเห็นว่า เป็นโอกาสที่ดียิ่งที่ได้นำคนหลายกลุ่มวัยมาร่วมกันคิด ร่วมกันมอง สู่การปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง สู่ชุมชนที่น่าอยู่นั่นเอง

        จากนั้นน้องๆขอพี่ๆทีมงานลงเล่นน้ำ พี่ๆอนุญาตเพราะระดับน้ำประมาณ 50 -70 เซนติเมตร น้องๆเล่นน้ำอย่างสนุกสนานท่ามกลางพี่ๆ โตๆคอยดูอยู่ไม่ขาด ส่วนพี่ๆ ป้าๆ ทีมงานได้เตรียมตัวเก็บอุปกรณ์ ข้าวของ เพื่อเตรียมตัวเดินทางกลับ  ถอดบทเรียนครั้งนี้ ถือว่า เราทีมงานและเยาวชน เข้าใจกันมากขึ้นเนื่องจาก การหลุดออกมาจากที่ที่เคยอยู่ก็จะได้เห็นสิ่งต่างๆ ระหว่างกันมากขึ้น  รู้สึกดีใจที่งานสำเร็จทุกคนปลอดภัย  และ ทำกิจกรรมร่วมกัน อย่างมีความสุข  หลังจากนั้น เวลา 16.30 น ออกจากที่พัก เดินทางกลับหาดใหญ่อย่างสวัสดิภาพ  สวัสดีป้อมหกปีสอง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 148 คน จากที่ตั้งไว้ 145 คน
ประกอบด้วย

คณะที่ปรึกษาโครงการแนวทางร่วมสร้างชุมชนป้อมหกให้น่าอยู่ปีที่สอง

คณะกรรมการชุมชนป้อมหก/คณะกรรมการโครงการ หน่วยงานและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น  สสส.  สจรส.มอ.,/กศน./กลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อมเทศบาลนครหาดใหญ่,กองสวัสดิการสังคม กองช่าง เทศบาลนครหาดใหญ่/วงษ์พาณิชคลอแห

เยาวชน Eco kids ชุมชนป้อมหก

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
คุณ อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

เปิดกองทุนขยะสร้างสุข17 เมษายน 2558
17
เมษายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อส่งเสริมการคัดแยกขยะรีไซเคิล และ เพื่อให้เกิดสวัสดิการชุมชนผ่านการจัดการขยะ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เช็คราคาจากโรงงาน
ประกาศแจ้งชาวบ้าน
รับขยะ  ที่ กองทุนขยะ
โรงงาน วงษ์พานิช รับขยะรีไซเคิล

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

    วันนี้ ฝนฟ้าไม่ค่อยอำนวย จะเป็นหน้าร้อน แต่มีฝนปลอยๆ  ทำให้ทีมงานรอ สมาชิกเกือบ สอง ชั่วโมง  ต้องรีบหาผ้ามาคลุม ขยะรีไซเคิลประเภท กระดาษลัง กระดาษหนังสือ พิมพ์  เบียร์  ต้องขน มาไว้ในห้องประชุม สร้างสุข  เพราะ ไม่โดนฝน  พอฝนแล้ง  ก็สมาชิกก็เริ่มทยอย นำขยะมาร่วมเข้ากองทุน เรื่อยๆ  แต่ไม่ได้มากเหมือนครั้งอื่นๆ

รายการขยะรีไซเคิล วันนี้ มีดังนี้

ขวดแก้ว  121.4x1= 121.1

เครื่องใช้ไฟฟ้า 8x5= 40

กระดาษสี 7x2=14

กระป๋องนม9.2x3 =28.8

พลาสติกรวม 7.8x8 = 62.4

กระดาษลัง ุ6.4 x 4 = 25.6

เบียร์ 1 ลัง  9

พลาสติกใส  12.9 x 11 = 141.9

กระป๋องเบียร์  1.4 x 40 =56

พลาสติกขุ่น  4 x 22 = 88

สังกะสี  10 x 3 = 30

อลูมิเนียม 0.6 x 40 = 24

ทองเหลือ 0.4 x 110=44

แบต 1.4 x 20 = 28

ทองแดง 0.5 x 160 =80

ปี๊บ  5 x 3 = 15

น้ำมัน  4.65 กิโลกรัม x 10 = 465 บาท

รวม  1411

สิ่งดีดี ที่กองทุนขยะ สร้างสุข

วันนี้ป้าผักนำร่มมาขาย  แต่ป้าไพขอซื้อต่อ ป้าบอกว่า ยังซ่อมได้อีก  นี่คือ อีกมุมหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนว่า คนชุมชนป้อมหกเห็นคุณค่าของขยะมากขึ้นแล้ว

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานกองทุน สมาชิก และผู้ใช้บริการกองทุนขยะป้อมหก เจ้าหน้าที่วงษ์พานิช

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ฝนตก สองชั่วโมง  วิธีแก้ปัญหา  คือ ใช้ผ้าคลุมขยะพวกกระดาษ 

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ทอดผ้าป่าสามัคคีรีไซเคิล9 เมษายน 2558
9
เมษายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสมทบเข้ากองทุนพระสงฆ์อาพาธโรงพยาบาลสงขลา

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กำหนดการ กิจกรรม ทอดผ้าป่าสามัคคีขยะรีไซเคิล ระหว่างวันที่ 16-17 เมษายน 2558   ณ  แพปลาเย็น  ชุมชนป้อมหก  เทศบาลนครหาดใหญ่       โครงการแนวทางร่วมสร้างชุมชนป้อมหกให้น่าอยู่ปีที่2 ป้อมหก Eco planet ปฏิบัติการชุมชนรักษ์โลก วันพฤหัสบดี ที 16 เมษายน 2558 เวลา กิจกรรม 08.00 - 09.00 น. ลงทะเบียน กิจกรรม รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ 09.00 – 11.30น. ทำพิธีทางศาสนา ถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์/ รดน้ำ ขอพร ผู้ใหญ่
11.30 -  12.30 เลี้ยงอาหาร ผู้สูงอายุ

13.00 เป็นต้นไป รับขยะรีไซเคิล ณ ทางเข้าชุมชนป้อมหก 16.00 – 16.30 น ตั้งขบวน กองผ้าป่าขยะรีไซเคิลบริเวณหน้าหอนาฬิกา เทศบาลนครหาดใหญ่ 17.00 – 18.30 น ออกเดินจาก หน้าหอนาฬิกาเทศบาลนครหาดใหญ่ ถึงชุมชนป้อมหก
19.00  - 19.30 น พิธีมอบประกาศนียบัตร
ผู้ร่วมเข้าร่วมโครงการ / เยาวชน Eco kids / คนดีศรีป้อมหก/ ตัวแทนชุมชนเครือข่าย / องค์กรผู้สนับสนุนโครงการ

19.30 – 19.45 น. การแสดงเด็กและ เยาวชน ลิเกกูลู เครือข่าย Eco kids 19.45 – 22.00 น. กิจกรรม รำวงย้อนยุค
21.30 – 22.00 น. นัดโรงงานวงษ์พาณิช รับขยะรีไซเคิล
วันศุกร์ ที 17 เมษายน 2558 เวลา กิจกรรม 09.00 - 09.20 น. นัดพบ ณ ทางเข้าชุมชนป้อมหก หน้าแพปลา ลมเย็น 09.30 – 10.10น. เดินทางสู่โรงพยาบาลสงขลา 10.20 – 11.30 น. พิธีถวายปัจจัย เพื่อ สมทบกองทุน พระสงฆ์อาพาธ โรงพยาบาล สงขลา 12.30 - 13.00 น. เดินทางกลับหาดใหญ่โดยสวัสดิภาพ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

        เวลา 9.00 น  กิจกรรมรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ตามประเพณีชุมชนได้เริ่มขึ้น โดยท่าน รองประธานสภาเทศบาลนครหาดใหญ่ให้เกียรติเป็นประธานจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย พิธีกรรมทางศาสานาได้เริ่มต้นขึ้นท่ามกลางผู้สูงอายุ คณะกรรมการชุมชน คณะกรรมการชุมชน และ บรรดาแขกผู้มีเกียรติ เครือข่ายชุมชนใกล้เคียง  ขณะที่ตอนเช้าก็เริ่มรับบริจาคขยะรีไซเคิล มีผู้นำขยะมาบริจาคกันเรื่อยๆ  เมื่อเวลา 11.00น ทำพิธีทางศาสนาเสร็จจึงได้ทำการรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ เพื่อแสดงความกตัญญูต่อผู้อาวุโสในชุมชน

        เวลา 16.30 น รวมตัวกันที่หน้าหอฬิกา เพื่อแห่ขบวนพาเหรดกิจกรรมทอดผ้าป่าสามัคคีรีไซเคิล ร่วมกับ วงโยทวาธิตโรงเรียนเทศบาล1 (เอ็งเสียงสามัคคี) กลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อมเทศบาลนครหาดใหญ่  ชาวชุมชนป้อมหก และ นักศึกษาจิตอาสาจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ร่วมขบวนด้วย  ตลอดเส้นทางเต็มไปด้วยความสนใจจากผู้สัญจรไปมา
        เวลา 18.30 น คุณสัมฤทธิ์ บุญรัตน์ รองนายกเทศบาลนครหาดใหญ่ เป็นเกียรติมอบเกียติบัตรให้กับ เยาวชนอีโค้คิดส์  คนดีศรีป้อมหก คณะกรรมการชุมชน
และกล่าวให้โอวาท เป็นขวัญกำลังใจเพื่อดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
        เวลา 19.00- 22.30 น การแสดงเยาวชน ชุด ลิเกฮูลู ชุมชนป้อมหก และ เครือข่าย ชุมชนมุสลิม อีกการแสดงที่เป็นที่สนใจจากชาวชุมชน คือ รำวงเวียนโอ่ง
ซึ่งนางรำวงวันนี้ เป็นพี่ๆ ป้าๆ ในชุมชนป้อมหกของเรา  ต่างเรียกเสียงหัวเราะและรอยยิ้มได้เป็นอย่างดี

วันที่ 17 เมษายน 2558 ได้นำปัจจัยไปสมทบที่โรงพยาบาลสงขลา กองทุนสงฆ์อาพาธ  ได้รับการต้อนรับอย่างดีจาก รองผู้อำนวยการโรงพยาบาล ให้เกียรติต้อนรับคณะชุมชนป้อมหก และรับเงินสมทบเข้ากองทุนครั้งนี้เป็นอย่างยิ่ง ยอดเงินที่ผ่านกิจกรรมทอดผ้าป่ารีไซเคิล รวมเป็นเงิน 8,200 บาท (แปดพันสองร้อยบาทถ้วน)

  ขอขอบพระคุณสสส  เป็นอย่างยิ่งที่ทำให้ชุมชนเล็กๆอย่างเรา มีโอกาสได้สร้างสรรค์สิ่งดีดีสู่สังคม

       

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 140 คน จากที่ตั้งไว้ 70 คน
ประกอบด้วย

ผู้สูงอายุในชุมชน จำนวน 40 คน
เจ้าหน้าที่จากเทศบาลนครหาดใหญ่ 10 คน เยาวชนป้อมหก 30 คน
เยาวชนเครือข่าย 30 คน
วงโยธวาธิต  40 คน ชุมชนเครือข่าย 20 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

โรงงานวงษ์พานิช คลองแห ปิดไม่สามารถมารับของได้ วิธีแก้ปัญหา คุณสิทธิ์ เจ้าของกิจการ ได้ให้เงินประกันราคาไว้ล่วงหน้า และมารับวันจันทร์ ที่ 20 เมษายน 2558 

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

จดหมายข่าวฉบับที่สอง7 เมษายน 2558
7
เมษายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเผยแพร่ข่าวสารแก่ชาวป้อมหกและผู้ที่สนใจ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

หาประเด็นที่สนใจ
ลำดับประเด็น ข่าว
ออกแบบฝ่านโปรแกรม microsoft word รวมรวบข้อมูล พิมพ์และจัดเรียง ส่งตีพิมพ์

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

        จดหมายข่าวฉบับที่สองนี้ได้นำเสนอ กิจกรรมและเรื่องราวที่น่าสนใจที่เกิดขึ้นใน เดือน มกราคม 2558 ถึง เดือน พฤษภาคม 2558 โดยจำนวน 8 หน้า
หน้าแรก เป็นการรวบรวมหัวข้อที่นำเสนอ ที่น่าสนใจ

หน้าที่สอง    เป็นบทสัมภาษณ์ ของครูซาร่า บัณฑิตอาสา รุ่นสิน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่ลงพื้นที่อยู่กับน้องๆ เป็นเวลาหนึ่งปีเต็ม

หน้าที่ สาม เรื่องราวเกี่ยวกับเคล็ดลับของการรักษาจิตใจ เด็กและเยาวชน ชุมชนป้อมหก  กับ  กอดสื่อรัก หน้าที่สี่ Eco kids ภารกิจเยาวชน

หน้าที่ สี่  E-co kids  ภารกิจเยาวชน

หน้าที่ ห้า โซล่าเซลล์ กับกองทุนขยะสร้างสุข

หน้าที่ หก  สิ่งดีดี ของของทุนขยะหรรษา

หน้าที่เจ็ด  ยินดีต้อนรับผู้มาเยือนชุมชนป้อมหก

หน้าที่ แปด  ประมวลภาพประทับใจ หกเดือนที่ผ่านมา หน้าบ้าน น่ามอง


    หลังจากตีพิมพ์เรียบร้อยแล้ว จะนำเสนอข่าว แก่ชาวป้อมหก ทั้งสมาชิกกองทุนและ ผู้ปกครองเยาวชนป้อมหก  อีกทั้ง เครือข่ายและผู้สนใจอีกด้วย

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย

บัณฑิตอาสา 2 คน ทีมงาน 5  คน เยาวชน 8 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

เปิดกองทุนขยะสร้างสุข3 เมษายน 2558
3
เมษายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อส่งเสริมการคัดแยกขยะรีไซเคิล และ เพื่อให้เกิดสวัสดิการชุมชนผ่านการจัดการขยะ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1 ประกาศแจ้งชาวบ้านเรื่อง เปิดบริการกองทุนและแจ้งราคา 2 เช็คราคากับโรงงาน
3 รับขยะรีไซเคิล
4 โรงงาน มา รับขยะรีไซเคิล

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

      เวลา 14.00 น  ทีมงานรวมตัวกันที่กองทุนเพื่อเตรียมความพร้อมการทำกิจกรรม รับขยะรีไซเคิลของกองทุนขยะรีไซเคิล  บรรยากาศวันนี้ ค่อยข้างสนุกสนาน มีภาพของเด็ก และเยาวชน นำขยะมาขาย  สมาชิกทั้งไทย และ พม่า มารวมกันที่กองทุน

สรุป รายการรับซื้อขยะรีไซเคิล  ในวันนี้

ขวดแล้วบรรจุลัง
ยี่ห้อ ลิโอ      9  ลัง  ลังละ  9 บาท เป็นเงิน  81       ไฮเนเก้น  2                  9                    18       สิงห์      3                  11                  33 ขวดแก้ว        555.7 กิโลกรัม กก  ละ 1 บาท  555.7
กระป๋องนม    14.8 x3 =44.4 พลาสติกใส    37x11 = 407 พลาสติกรวม  58x8  = 464 พลาสติกขุ่น    6.2x22=136.4 กระป๋องอลูมิเนียม 5.4x40=216 เหล็กรวม  38.6x6 = 231.6
ทีวี  2 เครื่อง  200 กระดาษสี  26.6x2 =53.2 กระดาษลัง 140.2x4=560.8 กระดาษหนังสือพิมพ์ 33x4 =132 เหล็กหล่อ 10.6x9 =95.4 


รวม 3249.5  บาท


ข้อคิดดีดี จากกองทุนขยะสร้างสุขวันนี้

ข้อผิดพลาดเพียงน้อยนิด  เมื่อคนผิดยอมกล่าวคำขอโทษอย่างจริงใจ  และเมื่อผู้ที่ถูกยอมกล่าวคำว่า ไม่เป็นไร  มิตรภาพและรอยยิ้มจะแน่นแฟ้นกว่าเดิม

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 32 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

ทีมงานกองทุน 8 คน สมาชิกกองทุน และ ผู้ใช้บริการ 15-20 คน เจ้าหน้าที่จากโรงงานวงษ์พานิช  3-5  คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

มีการลงบันทึกผิดพลาด ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งต้องกลับมาทักท้วง  แต่เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจเช็คอีกครั้งก็พบว่า ทางกองทุนผิดจริง เจ้าหน้าที่กล่าวคำขอโทษ และ แก้ไขให้ถูกต้อง  เรื่องราวจึงจบลงด้วยคำว่าไม่เป็นไร แต่ทีมงามได้เรียนรู้เรื่องการทำงานอย่างรอบคอบขึ้นเพื่อ สร้างความไว้วางใจแก่สมาชิกและผู้เข้ามาใช้บริการที่กองทุน

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประมวลผลการประเมินการคัดกแยกขยะและการกำจัดขยะในครัวเรือน ชุมชน มุสลิม19 มีนาคม 2558
19
มีนาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประเมินผล ข้อมูลจากการ เข้ามาเยี่ยมชมการจัดการขยะชุมชนป้อมหก

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

นำแบบประเมินการคัดแยกขยะ ตรวจสอบ
นำข้อมูลมาประมวลผล นำผลจากการประมวลมาวิเคราะห์
สรุปผลการวิเคราะห์
คืนข้อมูล

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากข้อมูลแบบประเมินการคัดแยกขยะ และการจัดการขยะในครัวเรือน โดย สัมภาษณ์ ชาวชุมชน มุสลิม  จำนวน 20 ชุดข้อมูล  ดังนี้

1 .กระป๋องอลูมิเนียม    มีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 13 ครัวเรือนที่คัดแยก และ จัดการกับขยะประเภทอลูมินียมอย่างถูกต้อง คือ ใช้วิธีคัดแยก เพื่อนำมาขายเป็นขยะรีไซเคิลรวบรวมไว้เมื่อได้ปริมาณพอสมควรจึงขาย กับโครงการร้านชำของเทศบาลที่มาจัดกิจกรรม เดือนละ 1 ครั้ง ส่วนอีก 7  ครัวเรือนไม่คัดแยก  ทิ้งรวมกับขยะทั่วไป

2 หนังสือ  มีจำนวน 16 ครัวเรือนที่คัดแยกหนังสือ เพื่อ นำกลับมาใช้ใหม่ อาทิ ห่อของ หรือแยกชั่งกิโลขาย  บางบ้าน ซ่อม และใช้ต่อ  บางครัวเรือน  บริจาคให้กับห้องสมุด และเพื่อนบ้านข้างเคียง  อีก 4 ครอบครัว ไม่คัดแยก

3 กล่องกระดาษ  มีจำนวน 14 ครัวเรือน คัดแยกเพื่อขาย และใช้งานต่อ อีก ครัวเรือน ไม่คัดแยก
4 กล่องนม    มีจำนวน 13 ครัวเรือน คัดแยก ก่อนทิ้ง  แต่ 7 ครัวเรือนทิ้งรวมกับขยะ ทั่วไปเพราะไม่เข้าใจว่า จะแยกเพื่อนำไปใช้ต่ออย่างไร

5 เสื้อผ้า    มีผู้คัดแยกเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ 17 ครัวเรือน อาทิ ซ่อมแซมแล้วใช้ใหม่ หรือ บริจาค หรือ เก็บใส่กล่องไว้
            อีก 3 ครัวเรือน ทิ้งรวมกับ ขยะทั่วไป

6 ขวดน้ำ    มีครอบครัวที่คัดแยกขวดแก้วออกจากขยะประเภทอื่นๆ จำนวน 18 ครัวเรือน เพื่อนำไปขาย อีก 2 สองครัวเรือนทิ้งรวมกัน

7 ขวดแก้ว เศษแก้ว  มีผู้ตอบสอบถามเข้าใจดีว่าว่าไม่ควรทิ้งขวดแก้วรวมกับขยะชนิดอื่นจำนวน 13 ครัวเรือน แต่เศษแก้ว ยังทิ้งรวมกับขยะประเภทอื่น ๆบ้างบางครั้ง คัดแยกเพื่อ ขายสร้างรายได้เสริม ส่วนอีก 7 ครัวเรือน ไม่คัดแยก ทิ้งรวมกับขยะประเภทอื่นๆ

8 กระป๋องสเปรย์    มีผู้ตอบแบบสอบถามตระหนักและเข้าใจดีว่า เป็นขยะอันตรายควรแยกออกจากขยะทั่วไป 11 ครัวเรือน นอกจากนี้วันที่ 5 มีนาคม 2558 มีน้องๆ นำกระป๋องสเปรย์ มาแลกไข่สี่ราย  และจากการตอบแบบสอบถามพบว่า มีครัวเรือนที่ ไม่เข้าใจและทิ้งขยะอันตรายพวกกระป๋องสเปรย์รวมกับขยะประเภทอื่นๆ มีจำนวน 9 ครัวเรือน
9 เศษอาหารเศษผัก ผู้คัดแยกขยะจำพวกเศษ อาหารเศษผักออกจากขยะอื่นๆ จำนวน 11 คน แยกเพื่อเป็นอาหารสัตว์ อีก 9 ครัวเรือนทิ้งรวมกันกับขยะอื่น

10 เปลือกผลไม้    ผู้คัดแยกเปลือกผลไม้มี 9 ครัวเรือน  คัดแยก เพื่อ เป็นอาหารสัตว์ อีก 11 ครัวเรือนไม่คัดแยก

11  พลาสติก    มีผู้คัดแยก พลาสติก เป็นจำนวน 13 ครัวเรือน เพื่อนำมารีไซเคิล หรือ ขายกับโครงการ ร้านชำแลกขยะ ของเทศบาล อีก 7 ครัวเรือน ไม่คัดแยก
12 หลอดไฟ      มีผู้คัดแยกหลอดไฟ จำนวน 15 ครัวเรือน เนื่องจากตระหนักดีว่า ในหลอดไฟมีอันตรายต่อ ร่างกาย  มีผู้ไม่คัดแยกหลอดไฟออกจากขยะทั่วไป จำนวน 5 ครัวเรือน

13 เศษไม้ ต่างๆ กะลา  มีผู้คัดแยกเศษไม้ เศษกะลาออกจาก ขยะทั่วไปก่อนทิ้งจำนวน 13 ครัวเรือน เพื่อนำไปจำหน่ายให้กับพ่อค้าที่นำไปเปลี่ยนเป็นเชื้อเพลิง ในการหุงต้มเช่น ร้านทำเส้นขนมจีนจะมีพ่อค้ามารับซื้อในชุมชน นำกะลา และไม้ไปทำถ่าน  ส่วนอีก9 ครัวเรือน ทิ้งรวมไปกับขยะอื่น
14  เศษกระดาษ    มีจำนวน 15 ครัวเรือน ที่ คัดแยกเศษกระดาษก่อนทิ้งเพื่อขายให้กับซาเล้ง หรือร่วมกิจกรรมกับ ร้านชำแลกขยะ อีก 5 ครัวเรือน ทิ้งรวมก้บขยะทั่วไป

15 แบตเตอร์รี่ ถ่านไฟฉาย มีผู้คัดแยกก่อนทิ้งจำนวน 17 ครัวเรือน และทิ้งในที่ถูกต้อง ถูกวิธี คือ รวมกันแล้วรอเทศบาลมาเก็บ  อีก 3 ครัวเรือน ทิ้งในถังเทศบาลรวมกันกับขยะประเภทอื่น

16  ขวดใส่น้ำยาสุขภัณฑ์    ครอบครัวที่แยกก่อนทิ้งจำนวน 13 ครัวเรือน เพื่อทิ้งเป็นขยะอันตราย อีก 7  ครัวเรือนทิ้งรวมกัน

17 เครื่องใช้ไฟฟ้า 18 ครัวเรือน เก็บไว้ชั่งกิโลขาย  ร่วมกิจกรรมกับร้านชำแลกไข่  ส่วน สองครัวเรือนนำไปซ่อม เพื่อกลับมาใช้ใหม่
18  เศษผ้า          17 ครัวเรือนนำมา ใช้ซำ้ เช่น เป็นผ้าเช็ดโต๊ะ หรือ ทำเครื่องใช้ในครัวเรื่อนก่อนทิ้ง  ส่วนอีก 3 ครัวเรือนทิ้งรวมกัน กับขยะอื่นๆ

19 ยางรถชนิดต่างๆ  15 ครัวเรือน กล่าวว่า ยางล้อรถ ถ้ามีจะแยก ทำเชื้อเพลิง ปลูกต้นไม้ ก่อนทิ้ง อีก 5 ครัวเรือน ไม่มีขยะประเภทนี้ ในครัวเรือน


    ทั้งหมดคือ ข้อมูลที่ได้รับจากการสอบถามที่ประเมิน จากชุมชน มุสลิม ผ่าน กิจกรรม นักสืบน้อยตามรอยขยะ 


สรุปอีกครั้งได้ว่า ครัวเรือนทั้งหมด 20  ครัวเรือน เข้าใจเรื่องการจัดการขยะ รีไซเคิล สามารถจัดการได้อย่างถูกต้อง แต่เรื่องขยะอันตราย นี้ ควรมีการรณรงค์ส่งเสริม ใช้คนในพื้นที่หาจุดรวม  เพื่อนำขยะอันตรายมาทิ้งรวมกันจะได้ไม่ทิ้งรวมกับขยะอื่นๆ  จากการเข้าไปทำกิจกรรมครั้งนี้ ทำให้ ชาวชุมชนและเยาวชน ได้ รับการเรียนรู้และทบทวน อีกครั้งเพื่อปฎิบัติการด้านการจัดการขยะได้อย่างถูกต้อง และสำหรับชุมชนนี้เนื่องจากเป็นวิธีมุสลิม มีการพบปะกันบ่อยครั้งนี่คือจุดแข็งสำหรับการร่วมหารือ ทั้งกลุ่มเด็กและ ผู้ใหญ่ หากมีการพูดคุยกันอย่างจริงจัง ชุมชนนี้จะทำได้ดีมาก เพราะจากการสังเกตุการให้ความร่วมมือต่างๆ ทั้งเด็กและ ผู้ให้ญ่ให้ความร่วมมือกันเป็นอย่างดี

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 18 คน จากที่ตั้งไว้ 18 คน
ประกอบด้วย

ครูบัณฑิตอาสา 2 คน ทีมงาม โครงการ  5 คน เยาวชน 11 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

เปิดกองทุนขยะสร้างสุขและร้านค้าสร้างสุข13 มีนาคม 2558
13
มีนาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อส่งเสริมการคัดแยกขยะรีไซเคิล และ เพื่อให้เกิดสวัสดิการชุมชนผ่านการจัดการขยะ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.นัดหมาย ทีมงาน สมาชิก

2.เช้าโทรเช็คราคาขยะรีไซเคิลกับโรงงาน

3.ประกาศแจ้งสมาชิกและ ชาวบ้าน  นำขยะมาฝาก ถอน กับกองทุน  พร้อมนำขยะอันตรายมาแลก ไข่ไก่

4.ให้บริการสมาชิกกองทุน  พร้อมให้ความรู้ด้านการคัดแยกขยะ โดยทีมงาน

5.เวลา15.00 น รถโรงงานมาพร้อม ทีมงาน มารับขยะรีไซเคิล

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

        วันนี้ แบ่งหน้าที่กันระหว่างทีมงานกองทุนที่เปิดบริการและอีกส่วนดูแลการปรับพื้นที่สวนผักเยาวชน เพราะอยู่ในช่วงเวลาเดียวกันพอดี แต่ทีมงานก็ช่วยกันจนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

  รายงานสรุปการรับซื้อขยะรีไซเคิลประจำวัน ที่ 13 มีนาคม 2558

กระดาษสี             102

กระดาษลัง             152

กระดาษขาวดำ         20.5

พ รวม                   33.7

พ ใส                     36.5

พ ขุ่น                       5.8

อลูมิเนียม กระป๋องโค๊ก     1

ขวดแก้ว                 300

เหล็กรวม               42

เครื่องใช้ไฟฟ้า         10

อลูมิเนียม บาง            0.6

กระป๋องนม            110

ทีวี                       1

ทองแดง               1.2

เรื่องดีดีที่กองทุนขยะสร้างสุขวันนี้

อิ่มใจ เมื่อเห็นสมาชิกและชาวบ้าน อิ่มท้อง มีความหวัง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

สมาชิกกองทุนขยะสร้างสุข ทีมงานกองทุนขยะสร้างสุข

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

คณะสงฆ์มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ ราชวิทยาลัย(จ.กาญจนบุรี)12 มีนาคม 2558
12
มีนาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเข้ามาเยี่ยมชมการจัดการขยะชุมชนป้อมหก

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.เทศบาลแจ้งทีมงานโครงการเรื่องการเข้ามาเยี่ยมการจัดการจัดการขยะชุมชนป้อมหก 2.ประชุมคณะทีมงาน 3.จัดเตรียมสถานที่
4.ต้อนรับคณะ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

    เวลา 14.30 น คณะสงฆ์เดินทางเข้ามาเยี่ยมการจัดการขยะชุมชนป้อมหก ซึ่งคณะทีมงานชุมชน ให้ข้อมูลเป็นภาษาไทย และอาจารย์จากมหาวิทยาลัยสงขลานคริทร์ คณะการจัดการ อาจารย์ เอ เป็นวิทยาการบรรยายเป็นภาษาอังกฤษเนื่องจากคณะสงฆ์ที่เข้ามาเยียนมาจากหลายประเทศ อาทิ เนปาล อินเดีย จีน และอื่นๆ ดังนั้นจึงต้องใช้สองภาษา ทางชุมชนได้เล่าเรื่องราวตลอดแนวการเดินทางจนถึงกองทุนขยะสร้างสุข และ โรงเรียนบ้านป้าพร คณะให้ความสนใจเป็นอย่างมากมีการแลกเปลี่ยนพูดคุย และที่ประทับใจอย่างยิ่งคือคณะสงฆ์ได้ให้พรแด่ทีมงาน ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าปิติยินดียิ่ง 

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 60 คน จากที่ตั้งไว้ 60 คน
ประกอบด้วย

คณะสงฆ์ 30 รูป เจ้าหน้าที่เทศบาล และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 15 คน ทีมงาน 15 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

หน้าบ้าน น่ามอง ข้างถนนกินได้ ระยะที่ 311 มีนาคม 2558
11
มีนาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเรียนรู้การเลี้ยงไส้เดือนดิน เพื่อปรับปรุงดิน 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ศึกษาดูงานจากชุมชนเครือข่ายในการเลี้ยงไส้เดือน นำมาศึกษาความเป็นไปได้ในพื้นที่ชุมชน ติดต่อซื้อแม่พันธุ์ พ่อพันธ์ุจากชุมชนเครือข่าย ปรับพื้นที่  เตรียมอุปกรณ์
นำพ่อพันธุ์แม่พันธ์ฺ  ลงท่อ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ศึกษาดูงานจากชุมชนเครือข่ายในการเลี้ยงไส้เดือน นำมาศึกษาความเป็นไปได้ในพื้นที่ชุมชน ติดต่อซื้อแม่พันธุ์ พ่อพันธ์ุจากชุมชนเครือข่าย ปรับพื้นที่  เตรียมอุปกรณ์
นำพ่อพันธุ์แม่พันธ์ฺ  ลงท่อ

การเลี้ยงไส้เดือนดิน แบบศึกษาตัวเองและทดลองผ่าน คู่มือการเลี้ยงไส้เดือนของ เทศบาลนครรังสิต

ความเป็นมา

    การเจริญเติบโตของชุมชนเมืองและการเพิ่มจำนวนประชากรส่งผลให้มีปริมาณมูลฝอยจากชุมชนที่ต้องนำไปกำจัดเพิ่มมากขึ้น การกำจัดมูลฝอยส่วนใหญ่ในประเทศไทยในอดีตที่ผ่านมาดำเนินการโดยวิธีการเทกองกลางแจ้ง ซึ่งไม่ถูกหลักสุขาภิบาลและก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและประชาชนที่อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงได้มาก ในช่วงประมาณ 10-15 ปี ที่ผ่านมา ได้มีการดำเนินการปรับปรุงระบบการจัดการมูลฝอยในชุมชนต่างๆ โดยการก่อสร้างระบบกำจัดมูลฝอยด้วยใช้วิธีการฝังกลบแบบถูกหลักสุขาภิบาล เพื่อรองรับปริมาณมูลฝอยจากชุมชนที่เพิ่มมากขึ้นและลดผลกระทบที่เกิดจากการกำจัดมูลฝอยอย่างไม่ถูกหลักสุขาภิบาล อย่างไรก็ตาม ผลกระทบประการหนึ่งที่เกิดขึ้นจากการกำจัดมูลฝอยด้วยวิธีการย่อยสลายทางชีวภาพ ไม่ว่าดำเนินการด้วยวิธีการฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาลหรือการเทกองกลางแจ้งคือ การแพร่ระบายของก๊าซชีวภาพที่เกิดขึ้นจากการย่อยสลายสารอินทรีย์ในมูลฝอยโดยจุลินทรีย์ ก๊าซชีวภาพดังกล่าวมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นก๊าซมีเทนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งจัดเป็นก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases)

ที่เป็นสาเหตุที่สำคัญในการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิบรรยากาศโลก พื้นที่กำจัดมูลฝอยเหล่านี้จัดเป็นแหล่งกำเนิดของก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมของมนุษย์ที่สำคัญแหล่งหนึ่ง โดยเฉพาะการเกิดก๊าซมีเทนซึ่งมีศักยภาพในการเพิ่มอุณหภูมิของบรรยากาศโลกได้มากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 20 เท่า     ดร.เดชา กลิ่นกุสุม รองนายกเทศมนตรีนครรังสิต ได้ศึกษาการใช้ไส้เดือนกำจัดมูลฝอยอินทรีย์จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ท่านได้ใช้บ้านพักส่วนตัวเป็นแหล่งเรียนรู้ ทดลอง ศึกษาการกินมูลฝอยอินทรีย์ของไส้เดือน ต่อมาเทศบาลนครรังสิตได้จัดอบรมชุมชนนำร่องในเขตเทศบาลที่ใช้ไส้เดือนกำจัดมูลฝอยอินทรีย์ ปรากฏว่าไส้เดือนสายพันธุ์ขี้ตาแร่สามารถกำจัดมูลฝอยที่เป็นสารอินทรีย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยตลอดเวลาสองปีที่ผ่านมา ท่านได้พัฒนาการเลี้ยง การดูแล การให้อาหารจนเกิดเป็นภูมิปัญญาของการใช้ธรรมชาติบำบัดธรรมชาติ ฝ่ายรักษาความสะอาดได้รวบรวมภูมิปัญญา ภูมิความรู้จัดทำเป็นคู่มือการเลี้ยงไส้เดือนกำจัดมูลฝอยอินทรีย์ เพื่อให้ประชาชนใช้เป็นแนวทางการเลี้ยงอย่างง่าย ซึ่งเป็นทางเลือกของการลดมูลฝอยจากแหล่งกำเนิดที่มีประสิทธิผล โดยหากประชาชนร่วมใจกันกำจัดมูลฝอยอินทรีย์ลดการนำไปฝังกลบย่อมส่งผลต่อการลดก๊าซมีเทนที่เป็นสาเหตุของโลกร้อน


  1. การเตรียมบ้านไส้เดือนดิน

    ในการเลี้ยงไส้เดือนดิน อันดับแรกจะต้องเตรียมบ้านให้ไส้เดือนดินก่อน ซึ่งจะใช้ภาชนะที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่น ถังพลาสติก กะละมังพลาสติก ลิ้นชักพลาสติก หรือบ่อซีเมนต์ เป็นต้น


การเตรียมบ้านให้ไส้เดือนดินนั้น ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่

ส่วนที่ 1 ใช้สำหรับรวบรวมน้ำหมักมูลไส้เดือน ไม่ต้องเจาะรูก้นภาชนะ

ส่วนที่ 2 ใช้สำหรับเลี้ยงไส้เดือน เจาะรูที่ก้นภาชนะหรือ ต่อก๊อกน้ำเพื่อให้น้ำหมักมูลไส้เดือนไหลผ่านได้ ถ้าเป็นถังพลาสติก หรือกะละมังพลาสติก ภาชนะส่วนนี้จะมีขนาดใหญ่กว่าภาชนะส่วนแรกเล็กน้อยเพื่อให้สามารถวางซ้อนได้

    2. การสร้างบ้านไส้เดือน

    นำภาชนะส่วนที่ 1 ไว้ล่างสุดเพื่อเป็นที่รวบรวมน้ำหมักมูลไส้เดือนดิน จากนั้นนำภาชนะส่วนที่ 2 ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าส่วนที่ 1 มาวางซ้อนเพื่อเป็นที่สำหรับเลี้ยงไส้เดือนดิน ซึ่งสามารถซ้อนได้ 2-3 ชั้น หรือตามความเหมาะสม การเจาะรูที่ก้นภาชนะช่วยให้น้ำหมักไหลรวมอยู่ที่ภาชนะส่วนที่ 1

    3. การเตรียมที่อยู่ไส้เดือนดิน

    การเตรียมที่อยู่ไส้เดือนดิน หรือการเตรียมส่วนผสมเพื่อใช้รองพื้นสำหรับเลี้ยงไส้เดือนดินนั้น ประกอบด้วย -ดินร่วน 4 ส่วน
-มูลวัว 1 ส่วน
-ขุยมะพร้าว 2 ส่วน
    นำส่วนผสมเพื่อใช้รองพื้นสำหรับเลี้ยงไส้เดือนมาผสมตามอัตราส่วนข้างต้นให้เข้ากัน และรดน้ำพอชุ่ม


    นำดินที่ผสมแล้วใส่ภาชนะที่จะเลี้ยงสูงประมาณ 3-5 นิ้ว (ตามความเหมาะสมของภาชนะ) ตั้งทิ้งไว้ในที่ร่ม ประมาณ 20 วัน เพื่อลดความเป็นกรดของดินให้เหมาะสม จากนั้นนำไส้เดือนมาเลี้ยงในอัตราส่วน 50-100 ตัว ต่อ 0.1 ตร.เมตร ต้องหมั่นตรวจเช็คบริเวณผิวดิน หากแห้งเกินไปต้องใช้กระบอกฉีดน้ำพรมผิวดินให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ

    4. การให้อาหารไส้เดือน

    อาหารสำหรับเลี้ยงไส้เดือนดิน ได้แก่ มูลฝอยอินทรีย์ต่างๆ เช่น เศษผัก เศษผลไม้ หรือเศษอาหารต่างๆ เป็นต้น

    วิธีการให้อาหารไส้เดือนดิน ควรให้อาหารทีละน้อยและใช้วิธีขุดหลุมฝังเศษอาหารโดยเวียนเป็นวงกลม ดังนั้น จึงต้องทำสัญลักษณ์ไว้ว่าฝังเศษอาหารลงตรงไหนไปแล้ว เพราะไส้เดือน จะปล่อยเมือกใส่อาหาร เพื่อให้กรดอมิโนที่หลั่งออกมากับเมือกของไส้เดือนย่อยเศษอาหาร โดยใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน แล้วจึงค่อยกินอาหารดังกล่าว

    5. สภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อไส้เดือน

    1. อุณหภูมิที่หมาะสมในการเพาะเลี้ยงไส้เดือนอยู่ระหว่าง 12-25 oC ถ้าอุณหภูมิต่ำหรือสูงกว่านี้ไส้เดือนจะไม่ขยายพันธุ์ หรือไม่เพิ่มจำนวน     2. ไส้เดือนดินเป็นสัตว์ที่ไม่ชอบแสงแดด จึงจำเป็นต้องมีภาชนะทึบปิดกันแสง     3. ไส้เดือนดินต้องการความชื้นอย่างเพียงพอสำหรับการเจริญเติบโต ไม่ควรให้แฉะเกินไปหรือมีน้ำขังมากเกินไป     4. ไส้เดือนดินชอบอาศัยอยู่บริเวณที่มีการถ่ายเทของอากาศได้สะดวก แต่ในบางครั้งสามารถอยู่ในสภาพที่มีออกซิเจนต่ำ คาร์บอนไดออกไซด์สูงได้     5. ไส้เดือนดินสามารถเจริญได้ดีในดินที่มีสภาพ เป็นกลาง


สาระน่ารู้...     ถ้านำไส้เดือนดินพันธุ์ขี้ตาแร่ น้ำหนัก 1 ก.ก. (ประมาณ 1,200 ตัว) มากินมูลฝอยจะสามารถกินได้ประมาณ 120-150 กรัมต่อวัน แล้วถ้า 1 ปี จะสามารถกินมูลฝอยได้ถึง 55 ก.ก. นั่นหมายความว่าจะสามารถช่วยลดปริมาณมูลฝอยที่นำไปฝังกลบได้ถึง 55 ก.ก.ต่อปี เป็นการช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 3.38 ก.ก. (ยังมิได้รวมการขยายพันธุ์)     ข้อมูล การฝังกลบก่อให้เกิดก๊าซมีเทนประมาณ 61.5 ก.ก. ต่อปริมาณมูลฝอยที่ฝังกลบ 1 ตัน

    6. ศัตรูของไส้เดือนดิน

    ศัตรูของไส้เดือนดิน เช่น ไรแดง มด หนู นก กบ กิ้งกือ ตะเข็บ หอย งู ตัวอ่อนแมลงปีกแข็ง จิ้งจก ตุ๊กแก แมงกระชอน จิ้งหรีด ดังนั้น ในการเลี้ยงจึงจำเป็นต้องมีตาข่ายป้องกันแมลงและสัตว์ต่างๆ เข้าไปกินไส้เดือน

    7. การคัดแยกไส้เดือนดิน


1. เตรียม ถังพลาสติก ตะกร้าพลาสติกที่วางพอดีกับถังพลาสติก ถุงดำ และกระบอกฉีดน้ำ


2. นำถุงดำมาวางบนถังพลาสติกและฉีดน้ำให้ทั่วจนชุ่ม


3. วางตะกร้าบนถุงดำที่ฉีดน้ำจนชุ่มและตักไส้เดือนที่จะคัดออกจากปุ๋ยหมักใส่ตะกร้า


4. นำไปตากแดด ประมาณ 5-10 นาที


5. ยกตะกร้าขึ้นจะได้ไส้เดือนดินที่รวมตัวอยู่บนถุงดำ 6. สามารถนำไส้เดือนดินที่คัดแยกมาใช้ประโยชน์ เช่น นำไปจำหน่าย หรือขยายพันธุ์ต่อไป


      8. วิธีการใช้ประโยชน์


1.มูลไส้เดือนดินที่คัดแยกไส้เดือน ออกแล้ว นำมาผึ่งลมให้แห้ง และนำไปใช้โรยตามโคนต้นไม้ เพื่อใช้เป็นปุ๋ยบำรุงดินตามต้องการ


2. นำน้ำหมักมูลไส้เดือนดินที่รวบรวมได้มาเติมอากาศเพื่อช่วยในการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์
จากนั้นนำน้ำหมักมูลไส้เดือน 1 ส่วน ผสมน้ำ 20 ส่วน ใช้รด พืชผัก ไม้ผล ไม้ดอกเพื่อช่วย ในการเจริญเติบโต


3. นำน้ำหมักมูลไส้เดือนเข้มข้น ใช้ราดพื้น หรือท่อระบายน้ำเพื่อบำบัดกลิ่นตามห้องน้ำ หรือพื้นที่ ที่มีกลิ่นเหม็น 4. ตัวไส้เดือน สามารถคัดแยกเพื่อขยายพันธุ์หรือนำไปจำหน่ายต่อไปได้


      9. สาเหตุของปัญหาและการแก้ไขปัญหาจากการเลี้ยงไส้เดือนดิน

9.1 กลิ่นเหม็น สาเหตุ ที่อยู่เปียกเกินไป  เติมที่อยู่แห้งลงไปเพื่อดูดซับ  


9.2 ไส้เดือนหายจากที่เลี้ยง

สาเหตุ  อาหารไม่พอ ที่อยู่หมด ที่เลี้ยงร้อน

วิธีแก้  ปรับที่อยู่ให้เหมาะสม ไม่ให้แน่จนเกินไป 


9.3 ที่อยู่แห้ง

แก้ไขโดย  ใช้กระบอกน้ำฉีดให้ชุมชื้นเสมอ


9.4 ไส้เดือนมีขนาดเล็ก


สาเหตุ เนื่องจากไส้เดือนอยู่กันอย่างหนาแน่น  ที่อยู่ น้อยเกินไป

วิธีแก้  ขยายที่อยู่  นำไส้เดือนออกจากที่อยู่เดิม เติม พื้นหรื่อที่อยู่เพิ่ม

จาก ข้างต้นคือ  คู่มือ บทเรียนรู้ที่ทีมงานนำมาศึกษา เพื่อให้ เข้าใจ ปฎิบัติ และ ถ่ายทอด กับเยาวชน และชาวบ้านได้ อย่างดี

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย

ศึกษาดูงานจากชุมชนเครือข่ายในการเลี้ยงไส้เดือน นำมาศึกษาความเป็นไปได้ในพื้นที่ชุมชน ติดต่อซื้อแม่พันธุ์ พ่อพันธ์ุจากชุมชนเครือข่าย ปรับพื้นที่  เตรียมอุปกรณ์
นำพ่อพันธุ์แม่พันธ์ฺ  ลงท่อ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ตลาดนัดขยะ รีไซเคิล และเปิดบริการร้านค้าศูนย์บาท ประจำเดือนมีนาคม 2558 ทุกวันศุกร์6 มีนาคม 2558
6
มีนาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อส่งเสริมการคัดแยกขยะรีไซเคิล และ เพื่อให้เกิดสวัสดิการชุมชนผ่านการจัดการขยะ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.นัดหมาย ทีมงาน สมาชิก

2.เช้าโทรเช็คราคาขยะรีไซเคิลกับโรงงาน

3.ประกาศแจ้งสมาชิกและ ชาวบ้าน  นำขยะมาฝาก ถอน กับกองทุน  พร้อมนำขยะอันตรายมาแลก ไข่ไก่

4.ให้บริการสมาชิกกองทุน  พร้อมให้ความรู้ด้านการคัดแยกขยะ โดยทีมงาน

5.เวลา15.00 น รถโรงงานมาพร้อม ทีมงาน มารับขยะรีไซเคิล

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันนี้กองทุนขยะเปิดบริการด้วยรอยยิ้ม แม้แดดจะร้อนเพียงใดก็ไม่หวั่น รายการขยะรีไซเคิลประจำวันที่ 06 มีนาคม 2558

กระดาษสี          81.6

กระดาษลัง         240

กระดาษขาวดำ       2 พ รวม               57.8 พ ใส               101.4 พ ขุ่น                   9.4

ขวดแก้ว               472.7

ขวดเหล้าลัง               1

เบียร์ลังสิงห์             6

เหล็กรวม             46.4

เครื่องใช้ไฟฟ้า     1.8

อลูมิเนียม บาง  4.4

กระป๋องนม       45.7

ทีวี               4

พ.กรอบ     0.3

พ.ดำ       2.8 สิ่งดีที่ที่กองทุนขยะป้อมหกวันนี้

การแบ่งหน้าที่และทำหน้าที่ ที่ได้รับของตนเองให้ดีที่สุด นั่นก็ถือว่า เราทำหน้าที่ทีมงานได้สำเร็จ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

ทีมงานกองทุนขยะสร้างสุข สมาชิกกองทุนขยะสร้างสุขและ ชาวชุมชนป้อมหก

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

นักสืบน้อย ตามรอยขยะ ติดตามประเมินผลครั้งที่ 3 ชุมชนมุสลิม5 มีนาคม 2558
5
มีนาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามการทำงานของกลุ่มเยาวชนเครือข่าย 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เยาวชนป้อมหกเข้าเยี่ยมชุมชนเครือข่ายเพื่อ ประชาสัมพันธ์ เล่นเกมส์ ติดตามผลการจัดการขยะ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

    เวลา 16.00 น เดินทางไปยัง ชุมชนมุสลิม อำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลา  พร้อมอุปกรณ์สื่อ คู่มือ การคัดแยกขยะที่ได้รับการอนุเคราะห์จากกลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อม ป้ายรณรงค์  กิจกรรมขยะอันตรายแลกไข่ไก่ ติดตาม การคัดแยกขยะของเยาวชน ในครั้งนี้ คณะนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เข้าร่วมกิจกรรมด้วย เยาวชนชุมชนมุสลิมมีความพร้อมในระดับดีมาก พอทีมงานมาถึงน้องๆก็มารอรับช่วยจัดอุปกรณ์ ผู้นำชุมชนก็มาสังเกตุการณ์และร่วมกิจกรรมตลอด การทำกิจกรรม
น้องๆจิตอาสาประจำโต๊ะ เมื่อพร้อม พี่บีและEco kids ป้อมหก ก็ช่วยกันทบทวนบรรยายการคัดแยกขยะ และการจัดการขยะด้วยวิธีการ สาม อาร์  พอสังเขป น้องๆเยาวชนพากันแย่งกันตอบ แต่น้องเล็กๆ บางครั้งยังสับสน  จึงนำน้องๆมาเล่นเกมส์คัดแยกขยะรีไซเคิลเพื่อให้น้องๆ ได้ปฏิบัติได้จริง เมื่อน้องๆคัดแยกขยะถูกต้องก็ได้รับของขวัญเล็กๆน้อยๆเพื่อ เป็นรางวัล
    ส่วนน้องๆอีโคคิดป้อมหก ได้เดินประชาสัมพันธ์ชาวบ้าน แจกคู่มือการคัดแยกขยะตามบ้าน เป็นภาพที่น่าประทับใจมาก ในส่วนของ ครูบัณฑิตอาสามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ จิตอาสาจากกองกิจการนักศึกษามอ.  ได้ชวนน้องๆติดตามผลผ่านแบบสอบถาม  บางส่วนกลับบ้านเพื่อนำขยะอันตรายแลกไข่ไก่

สรุปการเข้าติดตามผลเยาวชนeco kids ชุมชนมุสลิม วันนี้ น้องๆค่อนข้างเข้าใจและปฏิบัติได้อยู่ในเกณฑ์ดี

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 25 คน
ประกอบด้วย

เยาวชนป้อมหกเข้าเยี่ยมชุมชนเครือข่ายเพื่อ ประชาสัมพันธ์ เล่นเกมส์ ติดตามผลการจัดการขยะ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ิองค์การบริหารก๊าซเรือนกระจกเยี่ยมการจัดการขยะชุมชนป้อมหก5 มีนาคม 2558
5
มีนาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเข้ามาเยี่ยมชมการจัดการขยะชุมชนป้อมหก

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.เทศบาลนครหาดใหญ่ติดต่อเจ้าหน้าที่โครงการ เรื่องการเข้ามาเยี่ยมของคณะบริหารอบก. 2.ประชุมหารือทีมงาน 3.เตรียมการต้อนรับ 4.รับคณะ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

  เวลา 14.00 น คณะ อบก เดินทางเข้ามาเยี่ยมการจัดการขณะชุมชนป้อมหก ซึ่งถือเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้ต้อนรับ บรรยากาศ เต็มไปด้วยการเรียนรู้ ทางโครงการได้เล่าเรื่องราวความเป็นมาให้กับทางคณะฟัง ตลอดเส้นทาง ได้เล่าเรื่องราวแก๊สชีภาพ  / สี่แยกใส่ใจ /การเพิ่มพื้นที่สีเขียว การประดิษฐ์และปรับภูมิทัศน์ชุมชน การปลูกต้นพุทธรักษาเพื่อการบำบัดน้ำเสีย การคัดแยกขยะประเภทต่างๆจากระดับครัวเรือน การนำน้ำหมักชีวภาพมาใช้ประโยชน์ พื้นที่พักผ่อน ลานสุขใจ  กองทุนขยะสร้างสุขและกระบวนการทำงานของกองทุนและร้านค้าสร้างสุข  เรื่องราวของโซล่าเซลล์ ศูนย์บ่มเพาะเยาวชนโรงเรียนบ้านป้าพร  และได้เปิดโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตอ่บข้อสักถาม  พร้อมการให้กำลังใจทีมงาน 

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

ทีมงานโครงการ 15 คน บอ มอ 2 คน เจ้าหน้าที่จากเทศบาลนครหาดใหญ่  13 คน คณะผู้บริหารองค์กรบริหารก๊าซเรือนกระจก 20 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

  -

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

เปิดกองทุนขยะสร้างสุขและร้านค้าสร้างสุข27 กุมภาพันธ์ 2558
27
กุมภาพันธ์ 2558รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อส่งเสริมการคัดแยกขยะรีไซเคิล และ เพื่อให้เกิดสวัสดิการชุมชนผ่านการจัดการขยะ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.นัดหมาย ทีมงาน สมาชิก

2.เช้าโทรเช็คราคาขยะรีไซเคิลกับโรงงาน

3.ประกาศแจ้งสมาชิกและ ชาวบ้าน  นำขยะมาฝาก ถอน กับกองทุน  พร้อมนำขยะอันตรายมาแลก ไข่ไก่

4.ให้บริการสมาชิกกองทุน  พร้อมให้ความรู้ด้านการคัดแยกขยะ โดยทีมงาน

5.เวลา15.00 น รถโรงงานมาพร้อม ทีมงาน มารับขยะรีไซเคิล 

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

    กองทุนขยะสร้างสุข เปิดบริการแล้วจ้า ทันทีที่เสียงตามสายจบลงทำให้พ่อแม่พี่น้องชาวสมาชิกกองทุนขยะสร้างสุขได้นำขยะรีไซเคิลและหลอดไฟ เพื่อเข้ารับบริการกับกองทุนขยะสร้างสุข  วันนี้เด็กๆ มาเรียนรู้และรับการถ่ายทอดความ ความรู้จากกองทุนอย่าง สนุกสนาน

รายงานปริมาณขยะรีไซเคิลในวันนี้

20 กพ 58    27 กพ 58

กระดาษสี         60.8

กระดาษลัง   224.9

กระดาษขาวดำ   29.4

พ รวม   47.4

พ ใส   47.2

พ ขุ่น   6.4

อลูมิเนียม กระป๋องโค๊ก   0

pvc 1

ขวดแก้ว   328.9

ขวดเหล้าลัง 1

เบียร์ลังสิงห์ 6

เบียร์ลังลีโอ   18

เหล็กหนา 28.6

เหล็กรวม   5.5

อลูมิเนียม บาง  5.8

อลูมิเนียม ฉาก 0.2 0

กระป๋องนม     43

พ.กรอบ  0.8 0

สิ่งดีดีที่ได้จากกองทุนขยะสร้างสุข

คิดอย่างเด็ก  บางครั้งการมองเพียงว่า เด็กควรวิ่งเล่น หรือทำอะไรที่เป็นเรื่องของเด็ก  หากมองกลับกัน การที่มอบหมายงานให้เด็กแล้วเราเป็นพี่เลี้ยงคอยมองดูชี้แนะ เด็กได้เรียนรู้ ความรับผิดชอบที่มอบหมาย และแก้ปัญหาได้ง่ายๆจนบางที่เราผู้ใหญ่ต้องหัดมองเด็กเสียใหม่


circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

สมาชิกกองทุน ทีมทำงานกองทุน เยาวชนป้อมหก

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

จัดบอร์ดประจำเดือน กุมภาพันธ์ 255825 กุมภาพันธ์ 2558
25
กุมภาพันธ์ 2558รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประชาสัมพันธ์รณรงค์ เรื่องการประหยัดพลังงานด้วยวิธีการง่ายๆ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เลือกหัวข้อเรื่องร่วมกับ เยาวชน ครูอาสา

หาข้อมูล ออกแบบ ขอข้อมูลจาก การไฟฟ้า

ส่งร้านไวนิล  รับแผ่นปลิวจาก การไฟฟ้าภูมิภาค

นำมาประชาสัมพันธ์ 

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

                    เยาวชนและครูอาสา ใช้เวลาหลังเลิกเรียนวันนี้นัดพบกันที่โรงเรียนบ้านป้าพร  เพื่อจัดบอร์ด และ เดินแจกแผ่นความรู้ใบปลิว เรื่องการประหยัดพลังงานที่ได้จาก การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เพื่อ ร่วมใจกันประหยัด การใช้ไฟฟ้า และ ด้านความปลอดภัยเรื่อง การใช้ไฟฟ้าในบ้าน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 60 คน จากที่ตั้งไว้ 60 คน
ประกอบด้วย

ชาวบ้านชุมชนป้อมหก จำนวน 50 ครัวเรือน

บัณฑิตอาสา 2 คน

ทีมงาน 5 คน

เยาวชน 15 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

หน้าบ้านน่ามอง ระยะที่ สอง ตอน น้ำหมักชีวภาพและน้ำยาอเนกประสงค์25 กุมภาพันธ์ 2558
25
กุมภาพันธ์ 2558รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อขยะอินทรีย์มาใช้ให้เกิดประโยชน์

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ติดต่อซื้อกากน้ำตาล
  2. เตรียมอุปกรณ์ และสถานที่
  3. เก็บเศษอาหารในชุมชน และ หัวปลาและสับปะรดจากแม่ค้าในตลาด
  4. ปฎิบ้ติการ ทำน้ำหมัก และ กวนน้ำยาอเนกประสงค์ จากน้ำหมักสับปะรด
  5. นำไปใช้ประโยชน์ รดคูน้ำ รดพืชผัก และ หมักของใหม่ใช้ของเก่า
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

  เวลาบ่ายสองโมง มีนัดกันกับกิจกรรมเล็กๆเพื่อการเรียนรู้ โดยตอนเช้า ขอเก็บขยะอินทรีย์ จากถังที่ชาวชุมชนได้แยกไว้ รวมทั้งไปขอเปลือกสับปะรดที่ ตลาด เพื่อนำมาหมักทดแทนน้ำหมักสับปะรดที่จะนำมาใช้เป็นน้ำยาอเนกประสงค์  เมื่อมาถึงก็จัดเตรียมอุปกรณ์ โดยกากน้ำตาลได้ฝากกับพี่กลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อมจัดหามาให้ จากนั้นก็ได้เริ่มกระบวนการเคลียของเก่าถังไหนสามารถใช้งานได้ก็ได้นำมาใช้ ส่วนที่ทำใหม่นี้ ได้ทำตามกระบวนการตามวิธีเดิมที่เคยได้ทำแต่ครั้งนี้ใช้กากน้ำตาลแทน เพราะคราวก่อนใช้น้ำตาลทรายแดง นอกจากนี้ ครูซาร่ายังได้ชวนเด็กๆมากวนน้ำยาอเนกประสงค์อีกด้วย ผลผลิตที่ได้ครั้งนี้ 45 ขวด ได้แบ่งให้น้องๆได้นำกลับไปใช้ที่บ้านและฝากคนบ้านใกล้เรือนเคียง อีกด้วย

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย

ทีมงาน 7 คน บอมอ 2 คน
เยาวชน 6 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

น้ำยาอเนกประสงค์ดูเหลว สาเหตุใส่น้ำเกิน สองลิตร แต่สามารถใช้งานได้

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

เปิดกองทุนขยะสร้างสุขและร้านค้าสร้างสุข20 กุมภาพันธ์ 2558
20
กุมภาพันธ์ 2558รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อส่งเสริมการคัดแยกขยะรีไซเคิล และ เพื่อให้เกิดสวัสดิการชุมชนผ่านการจัดการขยะ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.นัดหมาย ทีมงาน สมาชิก เปิดบริการวันพุธเนื่องจาก wwl เข้ามาถ่ายวีดีโอ

2.เช้าโทรเช็คราคาขยะรีไซเคิลกับโรงงาน

3.ประกาศแจ้งสมาชิกและ ชาวบ้าน  นำขยะมาฝาก ถอน กับกองทุน  พร้อมนำขยะอันตรายมาแลก ไข่ไก่

4.ให้บริการสมาชิกกองทุน  พร้อมให้ความรู้ด้านการคัดแยกขยะ โดยทีมงาน

5.เวลา15.00 น รถโรงงานมาพร้อม ทีมงาน มารับขยะรีไซเคิล

6.ทีมงานเช็คความเรียบร้อยของสมุด บันทึกลงรายรับ จ่าย กองทุน

7.ทบทวนปัญหาและอุปสรรค์จากการทำงาน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

บ่ายสองโมง เริ่มดำเนินกิจกรรม กองทุนขยะสร้างสุขอย่างเช่นที่เป็นมา รายงานปริมาณขยะในวันนี้

20 กพ 58

กระดาษสี     102.8kg กระดาษลัง   139.5 กระดาษขาวดำ 115 พ รวม     23 พ ใส      12 พ ขุ่น    1.5 อลูมิเนียม กระป๋องโค๊ก 3.2 pvc       11 ขวดแก้ว 126 เบียร์ลังลีโอ 1 เหล็กหนา 21 เหล็กรวม 32 เครื่องใช้ไฟฟ้า 5 อลูมิเนียม บาง 1.8 อลูมิเนียม ฉาก 0.2 กระป๋องนม 42 พ.กรอบ 0.8 ราคาช่วงนี้ยังทรงตัว เหล็ก ยังคงราคาเดิม แต่ก็ยังรับได้

สิ่งดีดีที่กองทุนขยะสร้างสุข วันนี้
ในกองขยะยังมีความรู้อันล้ำค่าซ่อนอยู่ คือ คู่มือชีวิต หนังสือธรรมะ หนังสือ ติวสอบ หนังสือ การ์ตูน และอื่นๆอีกมากมายที่ ถูกนำมาขาย เพื่อนำเงินไปเลี้ยงชีพ แต่ สำคัญ และล้ำค่ากับอีกหลายคน หนังสือเหล่านั้นถูกวางไว้ให้อ่านที่ ลานสุขใจ และ โรงเรียนบ้านป้าพร แหล่งเรียนรู้สำหรับชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

ทีมทำงานโครงการ สมาชิกกองทุนและ ชาวป้อมหก ร่วมกับกลุ่มเยาวชนอีโคคิด

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

เปิดกองทุนขยะและร้านค้าสร้างสุข13 กุมภาพันธ์ 2558
13
กุมภาพันธ์ 2558รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อส่งเสริมการคัดแยกขยะรีไซเคิล และ เพื่อให้เกิดสวัสดิการชุมชนผ่านการจัดการขยะ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.นัดหมาย ทีมงาน สมาชิก เปิดบริการวันพุธเนื่องจาก wwl เข้ามาถ่ายวีดีโอ

2.เช้าโทรเช็คราคาขยะรีไซเคิลกับโรงงาน

3.ประกาศแจ้งสมาชิกและ ชาวบ้าน  นำขยะมาฝาก ถอน กับกองทุน  พร้อมนำขยะอันตรายมาแลก ไข่ไก่

4.ให้บริการสมาชิกกองทุน  พร้อมให้ความรู้ด้านการคัดแยกขยะ โดยทีมงาน

5.เวลา15.00 น รถโรงงานมาพร้อม ทีมงาน มารับขยะรีไซเคิล

6.ทีมงานเช็คความเรียบร้อยของสมุด บันทึกลงรายรับ จ่าย กองทุน

7.ทบทวนปัญหาและอุปสรรค์จากการทำงาน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

        วันนี้ ภาวะกองทุนเข้าสู่ภาวะปกติ  เปิดบริการตรงตามวัน  ปริมาณขยะมากพอสมควร  รอยยิ้มของเรายังคงเหมือนเดิม แต่ราคาสินค้าบางอย่างก็ปรับลดลงตามกลไกตลาด  กระดาษลังลดราคาลง 0.20 สตางค์ อลูมิเนียมลด 2 บาท แต่ถือว่าไม่มีปัญหาต่อกิจกรรม สมาชิกเข้าใจดี ว่ามันต้องมีขึ้นๆลงได้ดีกว่าเสียค่าน้ำมันลดไปขายที่อื่น  ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีที่เราได้ตอบโจทย์ความต้องการของชุมชนได้

สรุปรายการรับซื้อ ดังนี้

เบียร์ 1 ลัง  8 บาท

พลาสติก กรอบ 1.5 x 3 = 4.5

พลาสติกรวม 34x8=272

พลาสติกใส  19.7x9=177.3

ขวด 432.5x1=432.5

พลาสติกขุ่น  2.8 x 20=56

กระป๋องโค๊ก 2.8x38  =106.4

กระดาษลัง 70x4.2=319.2

กระดาษสี44.5x2=89

กระดาษขาว-ดำ=6.5x10=65

พลาสติกกรอบ 13x2=26

กระป๋องนม 21.5x3=64.5

พีวีซีขาว2x2.2=4.4

เหล็กหลอม 12.50x7=82.55

อลูมิเนียมบาง 1.2x40=48

เหล็กหนา 51x6=306

ไฟฟ้า 3.5x 5 = 27.5

ก้นกะทะ 1x30=30

แกนกระดาษ 43x2 =86

รวม 2,350 บาท

สิ่งดีดีที่ได้จากกองทุนขยะสร้างสุข  วันนี้

การคิดเอื้อเฟื้อ  เป็นบุญตั้งแต่คิดแล้ว

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

ทีมงานกองทุนขยะสร้างสุข สมาชิกกองทุนขยะสร้างสุข

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประมวลผล วิเคราะห์ข้อมูลจากการลงพื้นที่ ชุมชน โชคสมาน11 กุมภาพันธ์ 2558
11
กุมภาพันธ์ 2558รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประเมินผล ข้อมูลจากการ เข้ามาเยี่ยมชมการจัดการขยะชุมชนป้อมหก

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

รวบรวมข้อมูล จำนวน 15 ชุด  จากการลงพื้นที่เยี่ยมเยาวชนชุมชน โชคสมาน
นำข้อมูลประมวลผลลงโปรแกรม Excell
อ่านค่า จากผลประเมิน
สรุปผลประเมิน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากข้อมูลแบบประเมินการคัดแยกขยะ และการจัดการขยะในครัวเรือน โดย สัมภาษณ์ ชาวชุมชน โชคสมาน  จำนวน 15 ชุดข้อมูล  ดังนี้

1 .กระป๋องอลูมิเนียม    มีผู้คัดแยก 12 ครัวเรือน  และไม่คัดแยก 3  ครัวเรือน  ครัวเรือนที่คัดแยก อย่างถูกต้องได้รวบรวมกระป๋องอลูมิเนียมเพื่อขาย
                              ส่วนอีก 3 ครอบครัวที่ไม่คัดแยก กล่าวว่า  บางครั้งมีปริมาณน้อย จึงทิ้งรวมกับขยะทั่วไป

2 หนังสือ                  มีผู้คัดแยก หนังสือ  12  ครัวเรือน  กล่าวว่า  แยก เพื่อจำหน่าย  และ บริจาค  บางท่านให้ข้อมูลว่า คัดแยกให้ได้ราคา
                                ผู้ที่ไม่คัดแยก  3 ครัวเรือน กล่าว่า เก็บไว้ ไม่ทิ้งเสียดาย เพราะชอบหนังสือ หนึ่งราย  อีกรายกล่าวว่า  ทิ้งรวมไปให้เทศบาลเก็บเอาไปขาย

3 กล่องกระดาษ        มีครัวเรือนที่คัดแยกกล่องกระดาษอย่างถูกต้อง จำนวน  8  ครัวเรือน  อีก 7 ครัวเรือนไม่มีการคัดแยกอย่างถูกต้อง

4 กล่องนม                มี 6 ครัวเรือน ที่คัดแยกกล่องนมออกจากขยะชนิดอื่น ซึ่งบางครั้งแยกเพื่อ นำกลับมาใช้ประโยชน์ ใหม่ อาทิร่วมบริจาคตามห้าง  บางครัวเรือนให้
                              ข้อมูลว่าคัดแยกเพราะ ให้บุตรหลานทำงานฝีมือ  ส่วนอีก8 ครัวเรือนไม่คัดแยก  กล่าวว่า โรงงาน หรือซาเล้งไม่รับซื้อ จึงทิ้งรวมกับขยะทั่วไป                              หากโรงงานรับก็จะคัดแยก

5 เสื้อผ้า                  มีครัวเรือนที่ คัดแยกขยะประเภทเสื้อผ้า จำนวน 9 ครัวเรือน ไม่คัดแยก จำนวน 6 ครัวเรือน ครัวเรือนที่คัดแยกและเข้าใจการจัดการมี 10 ครัว  เรือนซึ่งกล่าวว่า แยกเพื่อ บริจาค  ซ่อม  และ จำหน่าย ส่วน อีก 5 ครัวเรือน กล่าวว่า ทิ้งรวมกับขยะอื่นๆ  หรือ เผารวมกับขยะอื่น

6 ขวดน้ำ                มีครัวเรือนที่คัดแยกขวดน้ำ จำนวน 13 ครัวเรือน เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่  และ นำไปขาย สร้างรายได้แก่ครัวเรือน

7 ขวดแก้ว เศษแก้ว    มีครัวเรือนที่คัดแยกขวดแก้ว เศษแก้ว จำนวน 10 ครัวเรือน เพื่อขาย แต่มี 5 ครัวเรือนทิ้งรวม  เนื่องจากมีปริมาณน้อย

8 กระป๋องสเปรย์        มีครัวเรือน ที่คัดแยก กระป๋องสเปรย์ ออกจากขยะทั่วไป 9 ครัวเรือน คัดแยกเพราะตระหนักถึงความอันตราย ของขยะ วิธีการจัดการโดยทิ้งในตู้ทิ้งขยะอันตราย หรือ ที่ทิ้งที่กำหนด อีก 5 ครัวเรือน  ทิ้งรวมกับขยะทั่วไป

9 เศษอาหารเศษผัก มีครัวเรือนที่คัดแยกเศษอาหาร เศษผักออกจากขยะทั่วไป มีจำนวน  7 ครัวเรือน  เพื่อ เลี้ยงสัตว์โดยตรง 3 ครัวเรือน แยกเพื่อส่ง ส่งต่อให้เป็นอาหารสัตว์  อีก 4 ครัวเรือน อีก 8 ครัวเรือน เทปนไปกับขยะประเภทอื่น

10 เปลือกผลไม้  มี 8  ครัวเรือนคัดแยกเปลือกผลไม้ เพื่อ เป็นอาหาร สัตว์ แพะ วัว  ใส่ใต้ต้นไม้  อีก 7 ครัวเรือน ไม่คัดแยก ไม่ว่าง  ไม่มีพื้นที่  ไม่เข้าใจ จึงทิ้งรวมกับขยะทั่วไป

11  พลาสติก  ถุงพลาสติก มีครัวเรือนคัดแยก อย่างเข้าใจ จำนวน 11 ครัวเรือนคัดแยกเพื่อ จัดจำหน่ายกับซาแล้ง  หรือ โรงงาน เพื่อเพิ่มรายได้แก่ครัวเรือน                                     มี สี่ครัวเรือน ไม่คัดแยก

12 หลอดไฟ        มี 7 ครัวเรือนคัดแยกอย่างเข้าใจว่าขยะอันตรายให้โทษ  ทิ้งอย่างถูกต้องในที่จัดให้ หรือ รวมกันแล้วทิ้งเมื่อเจ้าหน้าที่มาเก็บ  อีก 8 ครัวเรือน ทิ้ง  รวมกับขยะประเภทอื่น

13 เศษไม้ ต่างๆ กะลา  มี 8 ครัวเรือน  ที่คัดแยกขยะประเภทเศษไม้ และ กะลาออกจาก ขยะอื่นๆ เพื่อเป็นเชื้อเพลิง และ นำมาประดิษฐ์ ก่อนทิ้ง ส่วนอีก 7 ครัวเรือน ไม่มีพื้นที่เก็บจึง ทิ้งรวม กับขยะอื่นๆ

14  เศษกระดาษ    มี 6 ครัวเรือน ที่ คัดแยก เพื่อ ขาย และใช้ใหม่  อีก 9 ครัวเรือนไม่คัดแยก  เผา  และทิ้งรวมกับขยะอื่นๆ

15 แบตเตอร์รี่ ถ่านไฟฉาย มี 6 ครัวเรือนเข้าใจว่าขยะประเภทนี้เป็นขยะ อันตราย ทิ้ง รวมขยะอื่นๆไม่ได้ แต่อีก 9 ครัวเรือนไม่คิดเช่นนั้น อาทิ ไม่มีจุดทิ้งจุดรวม ไม่เข้าใจถึงอันตราย จึงทิ้งรวมกันกับขยะอื่นๆ

16  ขวดใส่น้ำยาสุขภัณฑ์  ยาฆ่าแมลง  มี 10 ครัวเรือนคัดแยกและทิ้งแยกจากขยะทั่วไป  อีก 5 ครัวเรือน รู้วาเป็นขยะอันตราย แต่ไม่รู้ว่าควรทิ้งที่ไหนจึงทิ้งรวมกับขยะอื่น  บางครัวเรือนใช้วิธี เผา รวมกับขยะอย่างอื่นเนื่องจากขาดความเข้าใจ

17 เครื่องใช้ไฟฟ้า ซากอิเลคทรอนิค มี 8 ครัวเรือน แยกเพื่อจำหน่าย  และ 7 ครัวเรือน ทิ้งรวมกันกับขยะประเภทอื่นๆ

18  เศษผ้า      มี 9 ครัวเรือน นำเศษผ้ามาใช้ประโยชน์ ต่อ อาทิ บริจาค ขาย หรือ ผ้าเช็ดมือ  6 ครัวเรือน ทิ้งรวมกับขยะประเภทอื่น และบางครัวเรือนใช้วิธีการเผา

19 ยางรถชนิดต่างๆ  มี 3 ครัวเรือนนำกลับมาใช้ใหม่ เป็นเชื้อเพลิง  บางครัวเรือน นำมาเป็นกระถางปลูกพืช  แต่อีก 12 ครัวเรือน วางทิ้งไว้ในที่ว่างๆ หรือทิ้งรวมกับขยะอื่นๆ


    ทั้งหมดคือ ข้อมูลที่ได้รับจากการสอบถามที่ประเมิน จากชุมชน โชคสมานผ่าน กิจกรรม นักสืบน้อยตามรอยขยะ 


สรุปอีกครั้งได้ว่า ครัวเรือนทั้งหมด 15 ครัวเรือน เข้าใจเรื่องการจัดการขยะ รีไซเคิล สามารถจัดการได้อย่างถูกต้อง แต่เรื่องขยะอันตราย นี้ ควรมีการรณรงค์ส่งเสริม ใช้คนในพื้นที่หาจุดรวม  เพื่อนำขยะอันตรายมาทิ้งรวมกันจะได้ไม่ทิ้งรวมกับขยะอื่นๆ  จากการเข้าไปทำกิจกรรมครั้งนี้ ทำให้ ชาวชุมชนและเยาวชน ได้ รับการเรียนรู้และทบทวน อีกครั้งเพื่อปฎิบัติการด้านการจัดการขยะได้อย่างถูกต้อง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย

บัณฑิตอาสา 2 คน
ทีมงาน 5 คน
เด็กและเยาวชน  8  คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

นักสืบน้อยตามรอยขยะ ติดตามประเมินผล ครั้งที่ 26 กุมภาพันธ์ 2558
6
กุมภาพันธ์ 2558รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเยาวชนประชาสัมพันธ์ ด้านการจัดขยะกับชุมชนเครือข่าย

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.หารือร่วม ระหว่าง ทีมงาน บัณฑิตอาสา เยาวชน  จากแผนโครงการ    เพื่อ นัดวันลงพื้นที่ ชุมชน
2. ฝึกวิทยากรน้อย
3. จัดอุปกรณ์
4. ลงพื้นที่
5. สรุปข้อมูล

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เย็นวันศุกร์ ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2558 นัดพบกันที่ ศูนย์บ่มเพาะเยาวชนโรงเรียนบ้านป้าพร  เวลาดีๆ ที่ เยาวชน และทีมงานรอคอยก็มาถึง ดูเหมือนจะตื่นเต้นทั้งครูทั้งทีมงาน เพราะ นี่คือการแสดงผลการฝึกวิทยากรน้อย  น้องแพรวา บอกว่า "พี่บี ถ้าแพรไม่พร้อมทำไงอะ"  พี่บี ครูซามองแพรพร้อมกันแล้วบอกว่า  "ใจเย็น น้องแพรทำได้อยู่แล้ว"  ทีมงานช่วยกันนำรถพ่วงชุม ขนอุปกรณ์ สำหรับอุปกรณ์ได้รับการสนับสนุนจาก คุณพรรณี บัวจีน หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครหาดใหญ่ อาทิ เครื่องเสียงขนาดเล็ก  สื่อการจัดการขยะ ไวนิล คู่มือการจัดการขยะ

      เวลา 17.45 น เวลาช่างเหมาะมาก เด็กเลิกเรียนมาเล่นบ้านลม(สวนสนุก)พอดี  ทีมงาน น้าดี ป้าพร ครูซาร่า ครูเดีย ครูฉ๊ะ  ได้ทำการติดตั้งอุปกรณ์  ท่ามกลางน้องๆ และชาวบ้านที่จ้องมอง อย่างงง  ว่า พวกนี้มาทำไรกัน  พอทุกอย่างพร้อม " อ้าว  แพรวา หายไปไหนนิ"  พี่บีถามน้องจอย  จอย พูดว่า "แพรมันไปทำใจพี่บี  บนรางรพไฟพี่บี "  "เอ้ามาเร็วพร้อมแล้ว" พี่บีเรียกแพรวา  สักพักแพรวาก็เดินมา พร้อมความมั่นใจ
แต่ดูทีท่าว่ามีอุปสรรค์อะไรบางอย่าง ลำโพงแบตไม่พอ ใส่ถ่านแล้วก็ ยังดับ  พอดีน้องนายมา ลองเช็คดู นายบอกว่า ไม่ต้องใช้ไมล์แล้วพี่บี ผมเอง  แล้วนายก็โชว์ความเป็น Eco kid  ขุดวิชาที่เคยเรียนมา ตะโกนเรียกเด็กๆ ที่จ้องๆมองๆ ข้างๆ เข้ามา  แล้วก็ได้่ทำการแสดง  ได้ทีของนายแล้ว

      นายอธิบาย การคัดแยกขยะสี่ประเภท พร้อมสาธิต แล้วชวนน้องเล่นเกมส์คัดแยกขยะ แพรวา ก็ได้ช่วยเป็นกรรมการให้ ส่วนน้องจอย เป็นผู้เชิญรางวัล บรรยากาศเต็มไปด้วยความสนุกน่ารัก  ส่วนอีกมุม ครู ซาร่า กำลังให้น้องๆ ตอบแบบประเมินการคัดแยกขยะในครัวเรือน พร้อมกับครูฉ๊ะที่อยู่มุมอิสระ ได้ให้น้องที่เล่นร่วมกิจกรรมแล้ว  มาช่วยเขียนแสดงความคิดเห็นหรือ ความรู้สึก ต่อกิจกรรม ระบายอารมณ์บนผืนกระดาษได้อย่างเต็มที
      ย้ายมาดูยังมุมนี้ก็คึกคักไม่น้อยกับขยะอันตรายแลกไข่ ป้าพร ครูเดียร์ ประจำตัวแหน่ง  ช่วยกันอธิบาย เรื่องขยะอันตราย ขณะที่มีผู้สนใจหลายช่วงวัย  ทั้งเด็กและผู้ปกครอง รีบกลับบ้านไปเอาหลอดไฟ มาแลกกับไข่ไก่ อย่างคึกคัก  วันนี้เตรียมมาสี่แผง  คาดว่าน่าจะหมด  และแล้วก็หมดจริงๆ เหนือสิ่งอื่นใด น้องๆหลายคน  ได้รับความรู้จากวิทยากรน้อยของเราสามารถ เล่นเกมส์คัดแยกขยะ ได้อย่างถูกต้อง บางคน แยกไม่ถูกต้อง  นายและ แพรจะนำมาที่ สื่อ แล้วอธิบายให้ฟังอีกรอบ พอน้องเริ่มเข้าใจก็กลับมาเล่นเกมส์อีกรอบ ก็ได้รางวัล ไปครอง

        บรรยากาศดีๆแบบคงไม่เกิดขึ้นหากเราไม่มีโครงการนี้ ตอนเสร็จกิจกรรม น้องๆทีมงานไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อยเลย รู้สึกสนุกสนานมีกำลังใจไปที่อื่นต่อ ยอดเยี่ยมมาก

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 45 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

บอ มอ 3 ท่าน ทีมงาน 5 คน
เยาวชนชุมชนป้อมหก 8 คน เยาวชน และ ชาวชุมชนหน้าสถานีสอง 26

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

  -

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

พี่เลี้ยงลงพื้นที่ และ เทศบาลคาร์บอนต่ำเยี่ยมพื้นที่ป้อมหก5 กุมภาพันธ์ 2558
5
กุมภาพันธ์ 2558รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามการทำงานของโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1 พี่เลี้ยงแจ้งทางโครงการ 2 โครงการหารือร่วมกับทีมงานเพื่อ เข้าพูดคุย ปรึกษาปัญหาและนำเสนอ การทำโครงการ 3 เทศบาลโทรแจ้งจะลงพื้นที่เพื่อเยี่ยมชมและบันทึกเทปชุมชน 4 พี่เลี้ยงลงเยี่ยมการทำงานและชี้แนะโครงการ 5 เทศบาลลงพื้นที่

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

            วันนี้พี่เลี้ยงได้นัดลงพื้นที่เพื่อพบทีมงานและเยี่ยมพื้นที่ เพื่อติดตามการทำโครงการและแนะนำเทคนิคต่างๆ เป็นวันเดียวกับการเข้ามาเยี่ยมของเทศบาลนครหาดใหญ่โครงการเทศบาลคาร์บอนต่ำที่จะเข้ามาบันทึกภาพชุมชน ดูเหมือนว่า จะได้เห็นภาพการทำงานอย่างชัดเจนเพราะมีการเปิดกองทุนขยะสร้างสุข และจัดนิทรรศการ เพื่อเป็นการต้อนรับทั้งสองทีมที่เข้าเยี่ยมป้อมหกในครั้งนี้ด้วย  ดังนั้น พี่เลี้ยงก็ได้เห็นภาพการทำงานของทำงาน และการจัดการกองทุนขยะสร้างสุขอย่างแท้จริงโดยไม่ต้องจินตนา  นอกจากนี้ยังเข้าเยี่ยมชม อาณาจักรสวนผักหรรษา ที่ เตรียมพื้นที่เพื่อการปลูกพืชผักของ เยาวชนอีกด้วย 

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

พี่เลี้ยงสจรส. 1 ท่าน เจ้าหน้าที่กลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อม 6 ท่าน เจ้าหน้าที่กองช่าง เทศบาลนครหาดใหญ่ 5 ท่าน ทีมงาน จากโครงการ เทศบาล คาร์บอนต่ำ 6 ท่าน ทีมงานโครงการ 12 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
คุณ อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ตลาดนัดขยะรีไซเคิล และเปิดบริการร้านค้า ศูนย์บาท ประจำเดือนกุมภาพันธ์ ทุกวันศุกร์5 กุมภาพันธ์ 2558
5
กุมภาพันธ์ 2558รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อส่งเสริมการคัดแยกขยะรีไซเคิล และ เพื่อให้เกิดสวัสดิการชุมชนผ่านการจัดการขยะ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.นัดหมาย ทีมงาน สมาชิก เปิดบริการวันพุธเนื่องจาก wwl เข้ามาถ่ายวีดีโอ

2.เช้าโทรเช็คราคาขยะรีไซเคิลกับโรงงาน

3.ประกาศแจ้งสมาชิกและ ชาวบ้าน  นำขยะมาฝาก ถอน กับกองทุน  พร้อมนำขยะอันตรายมาแลก ไข่ไก่

4.ให้บริการสมาชิกกองทุน  พร้อมให้ความรู้ด้านการคัดแยกขยะ โดยทีมงาน

5.เวลา15.00 น รถโรงงานมาพร้อม ทีมงาน มารับขยะรีไซเคิล

6.ทีมงานเช็คความเรียบร้อยของสมุด บันทึกลงรายรับ จ่าย กองทุน

7.ทบทวนปัญหาและอุปสรรค์จากการทำงาน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

        กองทุนขยะวันนี้ขอเลื่อนจากวันศุกร์เป็นวันพฤหัสบดี เนื่องจากการเข้ามาถ่ายทำวีดีโอ โดยกองช่างเทศบาลนครหาดใหญ่ (เทศบาล คาร์บอนต่ำ)

ขอเข้ามาดูการทำงานของกองทุนขยะสร้างสุข จึงเปิดบริการ ได้ปริมาณขยะ ดังนี้

      พลาสติกใส                39x9=35.1

      เหล็ก                      16.4x5=81

        ขวด                        31.2x1=31.2

      พลาสติกรวม              8x8=64

      พลาสติกขุ่น                1.2x20=24

        กระดาษสี                  32.6x2=65.2

        กระดาษลัง                15.4x4.5=69.3

        กระป๋อง                      4x3=12

        อลูมิเนียม                  0.4 x 38=15.2

        พีวีซี                        0.4x7=2.8

        ลังเบียร์                      3x9=27

        กระดาษหนังสือพิมพ์      5x4=20                                                                       รวม 446.8 บาท

สิ่งดีดี ที่กองที่ทุนขยะสร้างสุข การทำกิจกรรมต่างๆ จนเป็นวิถีชีวิต  จะขีดการเรียนรู้ของผู้ทำกิจกรรมนั้นๆให้พัฒนาดีขึ้น ดีขึ้น โดยอัตโนมัติ

         

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

ทีมงานกองทุนขยะสร้างสุข 12 คน สมาชิก จำนวน 18 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ลงพื้นที่ชุมชนป้อมหกเยี่ยมชมกองทุนขยะสร้างสุข5 กุมภาพันธ์ 2558
5
กุมภาพันธ์ 2558รายงานจากพี่เลี้ยง โดย อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเยี่ยมชมชุมชนป้อมหก

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-ลงเยี่ยมชุมชน ซึ่งทางผู้รับผิดชอบโครงการ ได้พาเดินชมชุมชน เช่น กองทุนขยะ ,ที่ดินของคนในชุมชนที่ให้ในการทำเกษตร ปลูกพืช ,สภาพพื้นที่ของชุมชน ,โรงเรียนบ้านป้าพร -จากความร่วมมือของชุมชนป้อมหกในการจัดการขยะ และเกิดผลสำเร็จ ทำให้ชุมชนเป็นพื้นที่เรียนรู้ให้กับชุมชนอื่นๆ ตลอดจนมีสื่อต่างๆทั้งในท้องถิ่น และtv  ทำข่าวเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ สิ่งดีๆ ที่ชุมชนได้ร่วมกันทำ 

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-เห็นบรรยากาศของชุมชนในการเข้ามาร่วมกิจกรรมกับกองทุนขยะของชุมชน เพื่อแก้ปัญหาขยะในชุมชน -สื่อ เข้ามาทำข่าว และสัมภาษณ์ผู้รับผิดชอบโครงการ เกี่ยวกับการดำเนินโครงการ การจัดการขยะของชุมชนป้อมหก ในการเผยแพร่สู่สาธารณะได้รับรู้ และสามารถนำมาปรับใช้กับชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

ชุมชนป้อมหก

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อถอดบทเรี่ยนโครงการร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นให้น่าอยู่2 กุมภาพันธ์ 2558
2
กุมภาพันธ์ 2558รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อถอดบทเรียนโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1 พี่เลี้ยงนัดหมายพื้นที่ 2 พื้นที่เข้าร่วมถอดบทเรียน โดย การทำแบบประเมิน  และ ถอดบทเรียนโครงการ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

      9.00 น คุณ สมพร  จันทร์วงศ์  และ คุณ คณิชญา ผอมเอียด  เดินทางเข้าร่วม ถอดบทเรียน ที่ สจรส. มอ. โดย วิทยากร คุณ ถนอม ขุนเพ็ชร นักเขียนชื่อดัง

วันนี้ได้เชิญให้ป้อมหกเข้าถอดบทเรียนบนเวที  ท่ามกลาง สมาชิก ผู้รับทุนภาคใต้ ได้เล่าให้วิทยากรฟังเรื่อง ปีหนึ่ง และ ปีสอง ของโครงการแนวทางร่วมสร้างชุมชนป้อมหกให้น่าอยู่ การพัฒนาการด้านต่างๆ ทั้งปฎิบัติการ ของชาวบ้านและเยาวชน  หลังจากนั้นได้ ทำแบบประเมิน ความก้าวหน้า เพื่อทบทวน ด้าน นวัตกรรมและ สิ่งต่างๆที่ ได้จากการทำโครงการในระยะ เวลา 9 เดือนที่ ผ่านมา นั้นเอง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คุณ สมพร จันทร์วงศ์ คุณ คณิชญา  ผอมเอียด

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อทอดบทเรียนโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ ภาคใต้ ปี 2557 รุ่น1 (ทีมสมจรส.มอ.กับทีมสังเคราะห์ลงพื้นที่สังเคราะห์คุณค่าโครงการร่วมกับ ผู้รับผิดชอบโครงการและพี่เลี้ยง2 กุมภาพันธ์ 2558
2
กุมภาพันธ์ 2558รายงานจากพี่เลี้ยง โดย อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสังเคราะห์ บทเรียน การดำเนินกิจกรรมของโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-รายงานผลการดำเนินกิจกรรม การสังเคราะห์ความรู้ คุณค่าที่ได้จากกิจกรรม ในแบบประเมินคุณค่า -วิทยากร คุณถนอม สัมภาษณ์ สังเคราะห์ความรู้จากการดำเนินกิจกรรม โดยให้ผู้รับผิดชอบโครงการเล่าความเป็นมาของการดำเนินโครงการ ตลอดจนผลสัมฤทธิ์ที่ได้ -แลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานในพื้นที่ กับชุมชนในพื้นที่ 3 จังหวัด

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-จากการดำเนินโครงการทำให้เห็นพัฒนาการของชุมชน เช่น เกิดทีมในการทำงาน , คนในชุมชนมีปฎิสัมพันธ์กันมากขึ้น และมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม ชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมที่เป็นชุมชนที่เต็มไปด้วยขยะ แต่หลังจากทำโครงการ เกิดกองทุนขยะ คนในชุมชนเห็นคุณค่าขยะ ขยะสามารถเปลี่ยนชีวิตของคนในชุมชน ชุมชนมีความเรียบร้อย สะอาด

-แกนนำชุมชนมีความตั้งใจในการพัฒนาชุมชนตนเอง ให้เป็นชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่  โดยใช้กิจกรรมโครงการในการทำให้คนในชุมชน มีความรู้ และเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในจัดการขยะ 

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

กลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครหาดใหญ่ เก็บขยะอันตราย ที่กองทุนขยะป้อมหก29 มกราคม 2558
29
มกราคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อส่งเสริมการคัดแยกขยะรีไซเคิล และ เพื่อให้เกิดสวัสดิการชุมชนผ่านการจัดการขยะ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ทุกวันศุกร์ทางชุมชนเปิดกองทุนขยะสร้างสุข จะเปิดรับหลอดไฟแลก ไข่ไก่

เมื่อได้ปริมาณมากจึงแจ้งให้กลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อม เข้ามา รับไปส่งโรงกำจัด ขยะของเสียอันตราย 

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ขยะอันตราย วันนี้

หลอดไฟ ยาว  53 หลอด

ซากอิเล็คทรอนิค 5 กก

ถ่านไฟฉาย 3 กก

หลอดไฟสป็อตไลท์  จำนวน 35 หลอด กระป๋อง สเปรย  45 ใบ

เจ้าหน้าที่ได้ทำการเก็บไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 7 คน จากที่ตั้งไว้ 7 คน
ประกอบด้วย

เจ้าหน้าที่กลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครหาดใหญ่ 5 คน

เจ้าหน้าที่กองทุน 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

we love Hatyai เข้าอัดวีดีโอ ชุมชนป้อมหก ชุมชนต้นแบบ28 มกราคม 2558
28
มกราคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อถ่ายวีดีโอ การจัดการขยะและพื้นที่ป้อมหก

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1 ทีมงานได้รับการติดต่อมาจากทางกลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครหาดใหญ่เรื่องการเข้ามาอัดรายการ we love Hat yai ในวันที่ 28 มกราคม 2558 2 วางแผนร่วมกับทีมงาน
3 ต้อนรับคณะผู้มาเยือน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

      วันที่ 28 มกราคม 2558 เวลา 09.00 น ทีมงานพร้อมที่กองทุนขยะสร้างสุขที่จัดเตรียมเจ้าหน้าที่ เรียบร้อย พร้อมกบการเข้าเยี่ยมชม ทีมงานเดินมาถึง ก็เริ่มถ่ายทำ บรรยากาศโดยรอบของชุมชน ต่อมา สัมภาษณ์ ความเป็นมาของชุมชนกับการทำโครงการที่ผ่านมาจนถึงวันนี้ เริมได้อย่างไร จัดกิจกรรมอะไรมาบ้าง และ ปัจจุบันมีกิจกรรมใดบ้าง และขับเคลื่อนต่ออย่างไร  หลังจากนั้น จึงได้ถ่ายทำการทำกิจกรรมในกองทุนขยะสร้างสุข และ กระบวนการทำงานของกองทุนขยะ

  การทำงานของโซล่าเซลล์  แก๊สชีวภาพ และ การแลก ขยะอันตรายกับไข่ไก่ คุณ พรรณี  บัวจีน ได้ กล่าวชื่นชมและให้กำลังใจแก่ทีมงานและได้รับประทานอาหารร่วมกัน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 40 คน จากที่ตั้งไว้ 25 คน
ประกอบด้วย

ทีมงาน we love หาดใหญ่  15  คน ผู้บริหาร กองช่าง เทศบาลนครหาดใหญ่ หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อม เจ้าหน้าที่กลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อม ทีมงานป้อมหก ชาวป้อมหก สมาชิกกองทุนขยะสร้างสุข

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

เปิดกองทุนขยะสร้างสุข28 มกราคม 2558
28
มกราคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อส่งเสริมการคัดแยกขยะรีไซเคิล และ เพื่อให้เกิดสวัสดิการชุมชนผ่านการจัดการขยะ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. นัดหมาย ทีมงาน สมาชิก เปิดบริการวันพุธเนื่องจาก wwl เข้ามาถ่ายวีดีโอ

2.  เช้าโทรเช็คราคาขยะรีไซเคิลกับโรงงาน

3.ประกาศแจ้งสมาชิกและ ชาวบ้าน  นำขยะมาฝาก ถอน กับกองทุน  พร้อมนำขยะอันตรายมาแลก ไข่ไก่

4.ให้บริการสมาชิกกองทุน  พร้อมให้ความรู้ด้านการคัดแยกขยะ โดยทีมงาน

5.15.00 น รถโรงงานมาพร้อม ทีมงาน มารับขยะรีไซเคิล

  1. ทีมงานเช็คความเรียบร้อยของสมุด บันทึกลงรายรับ จ่าย กองทุน

7.ทบทวนปัญหาและอุปสรรค์จากการทำงาน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

    เนื่องจากทางโครงการได้ทราบข่าวจากเจ้าหน้าที่กลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครหาดใหญ่ในเรื่อง การเข้ามาถ่าย รายการ we love Hatyai  ในชุมชนป้อมหกซิ่ง อยากให้ชุมชนได้นำเสนอ เรื่องราวความเป็นชุมชน ด้านต่างๆ เกี่ยวกับการทำโครงการจัดการขยะโดยชุมชน รวมถึงกองทุนขยะสร้างสุขด้วย  ทางทีมงานก็ยินดีจึงจัดมินิคลีนนิ่งเล็กๆ และ ประกาศให้ชาวบ้านทราบเรื่อง การเข้ามาของคณะดังกล่าว และการเปิดให้บริการกองทุนขยะสร้างสุขเป็นวันพุธ ที่ 28 มกราคม 2558 ขึ้น เมื่อถึงวันและเวลาจริง ทีมงานรู้สึกประหม่าว่า ชาวบ้านจะ หลงวัน หรือ จะมีขยะมาเข้ากองทุนรึป่าว ปรากฎว่าเมื่อชาวบ้านรับทราบข้อมูลก็ได้นำขยะมาตามเวลาที่นัดหมาย เป็นภาพที่ทีมงานปราบปลื้มมาก  ที่ได้รับความร่วมมือจากชาวบ้าน นอกจากนี้วันนี้เรายังมีการจัดระบบ ระเบียบขั้นตอนการทำงาน ของกองทุนขยะสร้างสุขอีกด้วย โดยรับขยะด้านขวามือของกองทุนแบ่งโซนรับผิดชอบ รับสมาชิก 1 คน  แผนกชั่งบันทึก 1 คน เมื่อชั่งเสร็จก็ให้บิลกับลูกค้าเข้ามาในกองทุน ภายในกองทุนวันนี้มีพัดลมพลังงานแสงอาทิตย์ คอยบริการลูกค้า นั่งรอบนเก้าอี้ สบาย ๆ อย่างกับในธนาคาร ทั่วไป เจ้าหน้าที่มีป้ายแสดงราคาให้ลูกค้ามองเห็นเด่นชัด  บริการด้วยรอยยิ้มและไมตรี แม้ราคาสินค้าจะลดลงบ้างบางรายการก็ไม่ใช่อุปสรรค์ ป้าหวิน กล่าวว่า รู้อย่างนี้มาฝากกับที่นี่ตั้งนานแล้ว มัวแต่มองๆด้วยความสงสัย ไม่ได้เข้ามาจนของเต็มบ้านไปหมด น้ำมัน วันนี้ หลายกิโลเอาออกมาขายหมดแล้ว เพราะราคาดี นี่คือภาพที่ฝันไว้ถึงกองทุนขยะสร้างสุขของป้อมหก เมื่อ ปีที่แล้วหลังจากธนาคารขยะของเราถูกขอคืน ตั้งปฎิญานว่า จะต้อง ทำธนาคารขยะระบบใหม่ให้ดีให้ได้ เข้าไปแล้วมีความรู้สึกสบายใจ สุขใจ เป็นที่ยอมรับและไว้ใจได้จากชาวบ้าน วันนี้ความฝันเริ่มแจ่มชัดขึ้นมาบ้างแล้ว  ทางwwl ที่มาถ่ายทำวีดีโอ ก็กล่าวชื่นชอบการทำงานของกองทุน ว่า เข้ามานอกจากไม่เสียเที่ยวแล้วยังมีอะไร มากมายที่ประทับใจกลับไปอีกด้วย  เมื่อ ทางทีมงานเดินทางกลับ ชาวบ้านเรายังอยู่ก็ยังคงซื้อขายฝากถอนกันเรื่อยๆ อีกประการขยะอันตราย ที่แลกไข่วันนี้ก็เปิดให้บริการกันอย่างเต็มที วันนี้ทีมงานทุกคนถึงจะเหนื่อยแต่ก็ยังรู้สึกสนุกกับงาน และ สิ่งดีดี ที่เกิดขึ้น ตอนกลางวันได้รับประทานอาหารร่วมกัน กับพี่ๆกลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อม เพื่อสานสัมพันธ์น้องพี่ ที่ทำงานกันมาตลอด เวลา 15.00 น ถึง 17.00 น ได้นัดโรงงานมารับขยะรีไซเคิล  ซิ่งได้ปริมาณขยะ ดังนี้

กระดาษสี  31.2 kg กระดาษลัง 104  kg ขวดนมใส  12.2 kg กระป๋องนม  16.5 kg
กระป๋องอลูมิเนียม  6.2 kg อลูมิเนียมบาง  6.2  kg เหล็ก    12.5 kg พลาสติกรวม  46.8  kg พลาสติกใส    18.1 kg พลาสติกขุ่น  2.5 kg ปี๊บ    12.8 kg เหล็ก      12.6 kg ขวด      112.8 kg สังกะสี  7    kg มุ้งลวด  0.4  kg

ยอดเงินที่ได้รับจากโรงงาน  เท่ากับ 2,127 บาท รายได้จากการขายน้ำมันกับเทศบาล เท่ากับ 486 บาท

สิ่งดีๆที่ได้จากกองทุนขยะสร้างสุข วันนี้ คือ

แม้อดีตเราเคยถูกทำร้ายมามากเพียง ขอเพียงเรากล้าฝันและทำมันให้ดีที่สุด วันแห่งความฝันก็เป็นวันแห่งความจริง

อธิบาย  ความรู้สึกที่เราตั้งใจทำธนาคารขยะ ให้ดี แล้ว ถูกขอคืนอย่างกระทันหัน มันทำให้เรารู้สึกเสียกำลังใจ จนวาดฝันถึง ธนาคารขยะ แห่งใหม่ที่มีการจัดการที่ดี แม้วันนั้นเป็นเรื่อ่งของความฝัน แต่วันนี้เป็นความจริงแล้ว  ดีใจจัง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 49 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

คณะกองช่าง เทศบาลนครหาดใหญ่ และ wwl จำนวน 15 คน เจ้าหน้าที่กลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อม จำนวน 5 คน ทีมงาน 10 คน สมาชิกกองทุนขยะสร้างสุข จำนวน  15 คน
เจ้าหน้าที่จากวงษ์พานิช 4 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

กองทุนขยะสร้างสุขมอบเงินช่วยเหลือแด่สมาชิกผู้ล่วงลับ27 มกราคม 2558
27
มกราคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อส่งเสริมการคัดแยกขยะรีไซเคิล และ เพื่อให้เกิดสวัสดิการชุมชนผ่านการจัดการขยะ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

สิทธิประโยชน์ของสมาชิกกองทุนขยะสร้างสุข เมื่อสมาชิกเสียชีวิตกองทุนขยะสร้างสุข ร่วมช่วยเหลือ 3000 บาท

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

    เมื่อจันทร์ ที่ 26 มกราคม 2558 ทางกองทุนขยะสร้างสุขได้ทราบข่าวถึงอาการป่วยซึ่งไม่ค่อยจะสู้ดีของสมาชิกกองทุน ซึงรักษาตัวอยู่ที่ โรงพยาบาลหาดใหญ่  เวลาประมาณ 20.00 น ทางเจ้าหน้าที่กองทุนได้เข้าไปเยี่ยม และพบว่า เธออาการทรุดหนักมาก หายใจแผ้วๆ ท่ามกลางบัณฑิตอาสาที่คอยอ่าน คำภีร์ให้เธอฟังข้างๆหู รอบๆเตียงของเธอเต็มไปด้วยญาติและคนที่รักเธอและคนที่เธอรัก คู่ชีวิตของเธอคอยให้กำลังใจไม่ห่างแม้สิ้นหวังเต็มที ฉันยืนมองภาพสามีที่ปรนนิบัติภรรยา ด้วยความหวัง สิ้นหวัง น้ำตาอาบน้องหน้า อย่างซึ้งใจ กลั้นน้ำตาไม่ให้ไหลออกมาไม่ได้ เพียงสิ้นเสียงการอ่านคำภีร์ไม่นาน เธอก็หยุดหายใจ ใช่ เธอได้จากไปแล้วอย่างไม่มีวันหวนกลับ  ฉันไม่รู้จะช่วยเธอได้อย่างไร  หันไปดูเด็กสองคนที่วิ่งเข้ามากอดแม่ด้วยน้ำตาหลั่งเป็นสายแล้วเศร้า พยายามกลั้นน้ำตาไว้แล้วแต่ก็คงไหลออกมาอย่างอัตโนมัติ ฉันนึกถึงวันที่เด็กสองคนนี้ขาดแม่ผู้เป็นที่รักยิ่งไม่ออก ถ้าเป็นฉันคงทำใจรับได้ยากแน่  ขณะนั้นพยาบาลเข้ามาแจ้งข่าวร้ายแก่เรา ฉันต้องเดินออกไปเช็ดน้ำตา นอกห้อง แว๊บหนึ่งที่เกิดขื้นในสมอง คือ พี่เค้าเป็นสมาชิกกองทุนขยะสร้างสุข สิ่งนี้แหละอาจเป็นบางสิ่งที่ฉันช่วยเด็กๆ ทั้งสองได้  ฉันตั้งสติทบทวน แล้วโทรมาแจ้งป้าไพ ผู้ดูแลเรื่องบัญชีกองทุนขยะสร้างสุข ป้าจัดเตรียมเงินไว้ให้ด้วยความเต็มใจ แม้ไม่อยากให้เหตุการณ์นี้เกิดขิ้นก็ตาม แต่เมื่อเกิดแล้ว ก็ต้องทำตามสิทธิที่ได้ร่วมร่างกันไว้แต่ต้น

    เช้าวันอังคาร ที่  27 มกราคม 2558 ทีมงานไม่รอช้ารีบมาเพื่อแจ้งให้ญาติทราบและรับสิทธิ์  3000 บาท อย่างน้อย เงินที่มาจากการร่วมลงสมาชิกกองทุนขยะสร้างสุขได้ทำหน้าที่อย่างงดงาม เป็นประโยชน์ ในความเศร้าที่มีอยู่ แต่ก็รู้สึกภาคภูมิใจ ที่เราได้ร่วมกลุ่มกัน เพื่อช่วยเหลือ กัน เป็นเรื่องที่ดีมากของขยะที่หลายคนอาจมองว่ามันไร้ค่า  แต่วันนี้ เราทุกคนเชื่อว่า ขยะ มี คุณค่าในตัวเอง เมื่อตกอยู่กับบุคคลผู้เห็นคุณค่า นั่นเอง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 10 คน จากที่ตั้งไว้ 10 คน
ประกอบด้วย

ญาติของผู้สมัครกองทุนขยะสร้างสุข

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

จัดบอร์ดประจำเดือน มกราคม 255825 มกราคม 2558
25
มกราคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประชาสัมพันธ์ภาพกิจกรรมของเยาวชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1 .กำหนดวันจัดบอร์ด
2 .ออกแบบ เตรียมอุปกรณ์
3 .ลงมือทำ และติดประชาสัมพันธ์

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

      ณ ศูนย์บ่มเพาะโรงเรียนบ้านป้าพร  เยาวชนมารวมตัวกัน เวลา 17.00 น.  พร้อมอุปกรณ์อย่างง่ายที่ได้่รับมอบหมาย อาทิ เชือกฟาง กระดาษลัง ส่วนภาพถ่าย ได้ทำการเลือกภาพกิจกรรมต่างๆที่ได้ทำร่วมกันไว้  การจัดบอร์ดครั้งนี้ได้นำมาติดประชาสัมพันธ์ ไว้ในกองทุนขยะสร้างสุข เพื่อ เป็นการประชาสัมพันธ์ให้ผู้เข้ามานใช้บริการกองทุนได้เห็นภาพ กิจกรรมของบุตรหลานที่ได้ร่วมทำกิจกรรมต่างๆที่ผ่านมาในชุมชน ซึ่งขณะที่น้องๆทำได้สังเกตุเห็นน้องๆ แต่ละคนมีความแตกต่างกัน บางคน พูดตลอดการทำงาน  บางคนเงียบ ตลอดการทำงาน บางคน สมาธิน้อยทำอะไรได้ไม่นาน แต่หลายคนมีความคิดสร้างสรร จากการสังเกตุคำพูด เอาแบบนี้ดีมั้ยครู  แบบนี้สวยมั้ย  ถามครู ถามเพื่อน  สำหรับกิจกรรมน่าสิ่งที่ได้เรียนรู้ และสังเกตุจากเยาวชนคือ  การมีสมาธิในการทำงาน  การทำงานเป็นกลุ่มเป็นทีม  การแบ่งงานกันทำงาน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ทำให้ครูอาสา ได้ประเมินเพื่อวิเคราะห์ คนให้เหมาะกับหน้าที่ซึ่ง ได้จัดทำผังองค์กรเยาวชน ตาม ความถนัดความสามารถของน้องๆ ส่วน การจัดบอร์ดคือ เครื่องมือ หรือ กิจกรรมหนึ่งที่ทำให้เกิดการรวมตัวนั่นเอง เด็กๆ ช่วยนำกันนำรูปภาพมาติดบนกระดาษลง นำเชือกฟางมาติดเป็นโบว์ ดอกไม้ น่ารักมาก  เมื่อเสร็จแล้วก็นำมาติดไว้ที่ กองทุนขยะสร้างสุข เมื่อสมาชิกหรือผู้มาเยือนเข้ามา ก็จะได้เห็นร่องรอยการทำกิจกรรมของน้องๆเยาวชนป้อมหกจาก บอร์ดเล็กๆ ที่น้องๆ ทำขึ้นมานี่เอง 

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 24 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

ทีมงาน 6 คน

ครู บอ มอ 3 คน

เยาวชน 15 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

สสส สำนัก 7 ลงพื้นที่ เยี่ยมป้อมหก19 มกราคม 2558
19
มกราคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเข้าเยี่ยมชุมชนและ ประเมินโครงการบัณฑิตอาสา

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. สถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้ แจ้งการเข้าเยี่ยมป้อมหก และ ประเมินโครงการบัณฑิตอาสา
  2. ประชุมหารือ บอมอ  วพส
  3. หารือร่วม ทีมงาน เยาวชน ทีมทำงาน
  4. ออกแบบกิจกรรม
  5. เตรียมพื้นที่ ในชุมชน
  6. ออกหนังสือยืมอุปกรณ์ อาทิ โปรเจคเตอร์ จอ ไมล์ 
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

      วันนี้ทีมงานและบัณฑิตค่อนข้างตื่นเต้นเนื่องจาก สสส สำนัก 7 เข้ามาเยี่ยมทางป้อมหกรู้สึกว่าเป็นเกียรติอันยิ่งใหญ่ที่ต้องต้อนรับเป็นอย่างดี  อีกทั้งทีมบัณฑิตอาสาก็ ตื่นเต้นไม่ใช่น้อย  เมื่อคุณอาณัติ  หวังกุหลำ โทรมาแจ้งทีมงานว่า ตอนนี้ถึง บิ๊กซีหาดใหญ่แล้ว ทีมงานประชาสัมพันธ์สมัครเล่นเลย สติกระเจิดกระเจิง ต้องทำการรวบรวมสมาธิตั้งสติ เป็นการใหญ่ พอรถตู้มาจอดหน้าทางเข้าชุมชน
คุณ ณรงค์ชัย  ชูเรืองสุข กล่าวต้อนรับทุกท่านผู้มาเยือน ด้วยความอบอุ่น คุณเปรมวดี ผอมเอียด วันนี้ขออนุญาติเป็นผู้แนะนำชุมชนในระหว่างเดินทางจากทางเข้าไปสู่โรงเรียนบ้านป้าพร  ผ่านบอร์ด ก็เล่าเรื่องการประชาสัมพันธ์ ผ่านแก๊สก็อธิบายการดำเนินการกับแก๊สชีวภาพ ขั้นต้น ผ่านต้นไม้ของเยาวชนก็เรามาเรื่อยๆ อากาศค่อนข้างร้อนแต่ทุกท่านดูเหมือนจะไม่ได้สนใจเรื่องความร้อนของแดดแม้แต่น้อย  มาถึงช่วงที่เด็กๆได้ ประดิษฐ์กะลา กระป๋องเพื่อปลูกต้นไม้ก็เล่าให้ฟัง จนถึง กองทุนขยะสร้างสุขก็ได้เล่ากระบวนการทำงานของกองทุนให้ฟัง รวมพลังงานจากแสงอาทิตย์ที่ได้นำมาใช้เพื่อเป็นประโยชน์แก่สมาชิก และเป็นแหล่งเรียนรู้แก่ชาวชุมชนป้อมหก และ ผู้ที่สนใจ  ตรงกลางของกองทุนมีขยะรีไซเคิลที่ครูซาและเด็กๆช่วยกันประดิษฐ์ มาแสดงให้ท่านผู้ทรงได้ชม ใช้เวลาในกองทุนประมาณ 10 นาที ก็เดินเข้ามานำเสนอพัฒนาการของชุมชนป้อมหก โดยเริมรายงานจาก ความเป็นมาต่างๆของชุมชน ก่อน แล้ว เล่าถึงพัฒนาการของชุมชนหลังจากบัณฑิตอาสาเอามาทำงานจนถึงปัจจุบัน  ต่อด้วยบัณฑิตอาสา เล่าถึง กิจกรรมระหว่างบัณฑิตอาสากับ เยาวชน ในชุมชนป้อมหก และ
ความคิดเห็นจากเทศบาลด้านการพัฒนาของชุมชนและการช่วยเหลือของเทศบาลที่มีต่อชุมชน  หลังจากนั้นจึงได้แลกเปลี่ยนแนวความคิดพูดคุยซักถามกันระยะหนึ่ง  ทางสสส สำนัก 7 ได้ให้ข้อคิดเกี่ยวกับบัณฑิตอาสาว่า ต้องเป็นแสงแดด แสงแดดและเผาให้น้ำระเหย แล้วตกลงมาเป็นสายฝน แม้น้ำนั้นจะเป็นน้ำที่เน่าเสีย หรือ น้ำดีก็ต้องพยามทำน้ำนั้นให้ระเหยเป็นหยดน้ำฝนที่สะอาดใส ตกลงมายังพื้นดินให้ได้

                หลังจากนั้นจึงลา เพื่อเดินทางกลับ ระหว่างทางก็ได้พูดคุย กันจนถึงรถตู้  การเข้ามาเยียนครั้งนี้ทำให้ทีมงานเตรียมความพร้อมอย่างมีประสิทธิภาพขึ้น วางแผนได้ดีขึ้น และแล้วทุกอย่างก็สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 45 คน จากที่ตั้งไว้ 35 คน
ประกอบด้วย
  1. คณะผู้ทรงคุณวุฒิ สสส สำนัก 7  15 ท่าน
  2. คณะผู้ติดตาม 7 ท่าน
  3. คณะสถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้ 5 ท่าน
  4. บัณฑิตอาสา รุ่นสิบ 1 ท่าน 5.คณะกลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อม 5 ท่าน 6.ทีมงานโครงการ 8 คน 7.เจ้าหน้าที่จากกองกิจการนักศึกษา มอ 1 ท่าน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

พระอาทิตย์ยิ้มหวานที่ป้อมหก17 มกราคม 2558
17
มกราคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้ชาวชุมชนป้อมหกได้เรียนรู้ พลังงานทดแทน ด้าน พลังงานแสงอาทิตย์

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

12 พฤศจิกายน 2557    ปรึกษาอาจารย์ดร.สมพร  ช่วยเจริญ
10 ธันวาคม 2557        อาจารย์ ลงสำรวจพื้นที่พบปะ ทีมงาน
16 ธันวาคม  2557        ซื้อแผ่น โซลาเซลล์ที่ อมร สื่อสาร บิ๊กซี หาดใหญ่ 17 ธันวาคม 2557        อาจารย์  ลงพื้นที่เพื่อติดตั้งโซลาเซลล์ ณ  กองทุนขยะ สร้างสุข

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

      วันนี้อากาศดีท้องฟ้าแจ่มใส  เหมือรู้ว่าชุมชนป้อมหกจะใช้พลังของท่านพระอาทิตย์  ขณะที่ อาจารย์ สมพร อาจารย์ วิไลลักษณ์ เดินทางมาพร้อมมาถึง พร้อมอุปกรณ์ หลายชนิด ขณะทีทีมงานรออยู่ที่กองทุนขยะสร้างสุข ก็พากันสนทนาปราศัยกันประมาณ 15 นาที ท่านจะเริ่มติดตั้ง โดยอบรมไปพร้อมกับการติดตั้งนั้นๆ  ด้วยความไม่เคยหยิบจับอุปกรณ์เหล่านี้จึงทำให้รู้สึก กล้าๆ กลัวๆ  อาจารย์ บอกว่าไม่ต้องกลัวเพราะตอนนี้กระแสไปยังไม่เข้า  ให้เราดูขั้วบวก ขั้วลบ เป็นก็ใ่ช้ได้ ต่อให้ตรงกับขั้ว การติดตั้งแผงบนหลังคา พี่สัญญา ทีมงาน ก็ได้ไปเตรียมเหล็กฉากมายึดหลังคา โดย ทีมช่างชุมชน หลังจากนั้นช่วยกันดึงสายไฟ ยึดติดไว้กับคาน ติดกิ๊ฟตรึงไว้กันหลุด ต่อสายหนึ่งเข้าตรงกับหลอดไฟ ติดตั้งหลอดไฟเสร็จก็ส่งสายไปมาต่อยังเครื่องรับกระแสไฟฟ้าแสงอาทิตย์ ต่อมายังตัวอ่านค่า แล้วส่งมายังแบตเตอรี่ เพื่อเป็นตัวเก็บสะสมไฟ อีกสายเข้าสวิตซ์เปิดปิดไฟฟ้า  อีกสายเข้ากับตัวแปลงไฟฟ้าจากไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เป็น ไฟฟ้ากระแสสลับเพื่อใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าตามปกติ  ยังมีอุปกรณ์สำหรับชาร์ตมือถืออีกชิ้นด้วย  อาจารย์ได้ทำสอบให้ดู  ทีมงานยิ้มแก้มปริ เพราะจะได้ลดค่าใช้จ่ายเรื่องค่าไฟได้อย่างดี  อีกประการ ถือว่า เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการนำพลังงานมาใช้ประโยชน์ แก่เด็กเยาวชน เด็กเยาวชน และ ชุมชนใกล้เคียง ได้เป็นอย่างดี


สาระเกี่ยวกับพลังงานแสงอาทิตย์เซลล์แสงอาทิตย์

กระบวนการของเซลล์แสงอาทิตย์คือการผลิตไฟฟ้าจากแสง ความลับของกระบวนการนี้คือการใช้สารกึ่งตัวนำที่สามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมเพื่อปล่อยประจุไฟฟ้า ซึ่งเป็นอนุภาคที่ถูกชาร์จที่ขั้วลบ สิ่งนี้เป็นพื้นฐานของไฟฟ้า

สารกึ่งตัวนำที่ใช้กันมากที่สุดในเซลล์แสงอาทิตย์คือซิลิกอน ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่พบโดยทั่วไปในทราย เซลล์แสงอาทิตย์ทุกชิ้นมีสารกึ่งตัวนำดังกล่าว 2 ชั้น ชั้นหนึ่งถูกชาร์จที่ขั้วบวก อีกชั้นหนึ่งถูกชาร์จที่ขั้วลบ เมื่อแสงส่องมายังสารกึ่งตัวนำ สนามไฟฟ้าที่แล่นผ่านส่วนที่ 2 ชั้นนี้ตัดกันทำให้ไฟฟ้าลื่นไหล ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าสลับ ยิ่งแสงส่องแรงมากเท่าใด ไฟฟ้าก็ลื่นไหลมากขึ้นเท่านั้น

ดังนั้นระบบเซลล์แสงอาทิตย์จึงไม่ต้องการแสงอาทิตย์ที่สว่างในการปฏิบัติงาน นอกจากนี้ยังผลิตไฟฟ้าในวันเมฆมากได้ด้วยเนื่องจากผลิตไฟฟ้าได้สัดส่วนกับความหนาแน่นของเมฆ นอกจากนี้ วันที่มีเมฆน้อยยังผลิตพลังงานได้สูงขึ้นกว่าวันที่ท้องฟ้าแจ่มใสปราศจากเมฆ เนื่องจากแสงอาทิตย์สะท้อนมาจากเมฆ

เป็นเรื่องปกติในปัจจุบันที่จะใช้เซลล์แสงอาทิตย์ขนาดเล็กมากให้พลังงานให้กับอุปกรณ์ขนาดเล็ก เช่น เครื่องคิดเลข นอกจากนี้เซลล์แสงอาทิตย์ยังใช้เพื่อผลิตไฟฟ้าในพื้นที่ที่ไม่มีสายส่งไฟฟ้า เราได้พัฒนาตู้เย็นที่เรียกว่าความเย็นจากแสงอาทิตย์ (Solar Chill) ที่สามารถปฏิบัติงานโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ หลังจากทดสอบแล้วจะถูกนำไปใช้ในองค์กรสิทธิมนุษยชนเพื่อช่วยให้บริการวัคซีนในพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้า และจะถูกนำไปใช้โดยผู้ที่ไม่ต้องการพึ่งพาสายส่งไฟฟ้าเพื่อรักษาความเย็นของอาหาร

นอกจากนี้ สถาปนิกยังใช้เซลล์แสงอาทิตย์เพิ่มมากขึ้นโดยใช้เป็นคุณลักษณะสำคัญของการออกแบบ ตัวอย่างเช่น หลังคากระเบื้องหรือหินชนวนติดเซลล์แสงอาทิตย์สามารถใช้แทนวัสดุทำหลังคาที่ใช้กันทั่วไป ฟิล์มแบบบางที่ยืดหยุ่นสามารถนำไปประกอบเข้ากับหลังคารูปโค้งได้ ในขณะที่ฟิล์มกึ่งโปร่งแสงทำให้เกิดการผสมผสานแสงเงาเข้ากับแสงในตอนกลางวัน นอกจากนี้เซลล์แสงอาทิตย์ยังสามารถผลิตพลังงานสูงสุดให้กับอาคารในวันอากาศร้อนในฤดูร้อนเมื่อระบบปรับอากาศต้องใช้พลังงานมากที่สุด ดังนั้นจึงช่วยลดภาวะไฟฟ้าเพิ่มปริมาณขึ้นสูงสุด

เซลล์แสงอาทิตย์ทั้งขนาดใหญ่และเล็กสามารถผลิตพลังงานให้กับสายส่งไฟฟ้า หรือทำงานได้ด้วยตัวของมันเอง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 16 คน จากที่ตั้งไว้ 16 คน
ประกอบด้วย

อาจารย์ดร. สมพร ช่วยอารีย์  วิทยากร

อาจารย์ วิไลลักษณ์              วิทยากร

ทีมงาน 12 คน

บอ มอ 2 ท่าน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

หน้าบ้าน น่ามอง ข้างถนนกินได้ ปรับเปลี่ยนชุมชนขยะ เป็นชุมชนสีเขียว16 มกราคม 2558
16
มกราคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อปรับภูมิทัศน์ชุมชนให้สะอาดงามตา

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

หารือร่วม ทีมงาน เจ้าที่เทศบาลนครหาดใหญ่  กลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อม บัณฑิตอาสา มอ กำหนดจัดกิจกรรมต่างๆ บิ๊กคลีนนิ่ง ฉบับเยาวชน พลังเล็กๆที่ยิ่งใหญ่ ส่งหนังสือขอความอนุเคราะห์อุปกรณ์ อาทิ จอบ พร้า ไม้กวาด ที่โกย ถุงดำ ลงมือปฎิบัติงาน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

    เวลา 9.00 กลุ่มเยาวชนร่วมตัวกันแล้วเริ่มลงมือพัฒนาให้หน้าบ้านน่ามอง เป็นกิจกรรมเล็กๆต่อเนื่องจากกิจกรรมการปรับภูมิทัศน์ ซึ่งทำติดต่อกันทั้งสัปดาห์ ซึ่งเป็นวันทีทีมงานและ เยาวชนได้มีโอกาสทำความดี เพื่อบ้านเกิดของเรา  เด็กๆ อาจจะซนบ้าง แต่ก็เป็นเรื่องน่าประทับใจเป็นอย่างยิ่ง  ที่เกิดการรวมพลัง ทำไปด้วยสนุกไปด้วย  บ้านเราก็สะอาด งามตาและก็มีความสุข  มองเห็นแล้วว่าเด็กๆกับไอศรีมเป็นของคู่กันจริงๆคะ รถไอติมผ่านมาพอดี กองทัพจิ๋วต้องหยุดกินไอติมเพิ่มพลังกันก่อน ภาพบรรยากาศเต็มไปด้วยความประทับใจ เพื่อนบ้านเห็นก็ออกมาช่วยปัดๆกวาดๆ หน้าบ้าน  แค่เราเริ่ม ก็ถือว่าดี เมื่อชาวบ้านช่วยด้วย ถือว่าดีมาก

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

เยาวชน 15-20 คน ทีมงาน 7 คน บอ มอ ชาวป้อมหก ครัวเรือน เกษตรอำเภอหาดใหญ่ สถาบันวิจ้ยและพัฒนาสุขภาพภาตใต้ สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม กลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครหาดใหญ่

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

เปิดกองทุนขยะรีไซเคิลและร้านค้าสร้างสุข16 มกราคม 2558
16
มกราคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อส่งเสริมการคัดแยกขยะรีไซเคิล และ เพื่อให้เกิดสวัสดิการชุมชนผ่านการจัดการขยะ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. เมื่อถึงวันศุกร์ บ่ายโมง  โทรเช็คราคาขยะรีไซเคิลกับโรงงาน

3.ประกาศแจ้งสมาชิกและ ชาวบ้าน  นำขยะมาฝาก ถอน กับกองทุน  พร้อมนำขยะอันตรายมาแลก ไข่ไก่

4.ให้บริการสมาชิกกองทุน  พร้อมให้ความรู้ด้านการคัดแยกขยะ โดยทีมงาน

5.18.00 น รถโรงงานมาพร้อม ทีมงาน มารับขยะรีไซเคิล
6. ทีมงานเช็คความเรียบร้อยของสมุด บันทึกลงรายรับ จ่าย กองทุน

7.ทบทวนปัญหาและอุปสรรค์จากการทำงาน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

        วันนี้ เปิดทำการกองทุนขยะสร้างสุข เวลาเดิม แต่ราคาของบางอย่างที่ลดลง พลาสติกขุ่น ใส พากันลดราคา แต่กระดาษลังยังทรงตัวอยู่ที่ 4.5 บาท แต่ก็ยังมีสมาชิกกองทุนไม่น้อยที่มาร่วมกิจกรรมครั้งนี้ สรุปรายการขายในครั้งนี้

กระดาษลัง    38.4  kg

ขวด  159.7  kg

เหล็กรวม  39.4  kg

กระดาษ ขาวดำ  2  kg

อลูมิเนียม    1 kg

สังกะสี    24.8  kg

พลาสติกกรอบ  2.5  kg

พลาสติกใส  33.1  kg

กระป๋องนม  9.8  kg

กระป๋องเบียร์  1 kg

ขุ่น    7.3  kg

เหล็ก      4  kg

พลาสติกรวม    49  kg

แผงวงจร    2.2  kg

ลังเบียร์      6  kg

กระดาษสี    108.2  kg

สายไฟ      2.2  kg

สังกะสี      5.4  kg

เครื่องใช้ไฟฟ้า  1.8 kg

รับเงินจากโรงงาน 1993.02  บาท


สิ่งดีดีที่ได้จากกองทุนขยะสร้างสุขในวันนี้

ในความเหนื่อยล้าและปัญหามากมายในชีวิต  ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

ทำให้เราปลงและอยู่กับปัจจุบัน หากวันนี้ยังไม่ใช่วันของเรา การทำกิจกรรมกองทุนขยะสร้างสุขเพียง ไม่กี่่ชั่วโมงต่อกันก็ทำให้เราลืมความทุกข์ ความเศร้าใจไปได้ขณะหนึ่ง เพราะเราได้มาพบปะ เพื่อนฝูง ทีมงาน เด็กๆ สมาชิก  กองทุน อย่างน้อยก็ทำให้เราจิตเราอยู่กับปัจจุบันชั่วครู่หนึ่ง

    สัจจะธรรม จากขยะสร้างสุข


circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

ทีมงาน 5 ถึง 8 คน

สมาชิก 15 คน

บอ มอ 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

เทศบาลส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาปรับพื้นที่ถนน ให้ป้อมหกน่ามอง15 มกราคม 2558
15
มกราคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์

ปรับภูมิทัศน์ชุมชนให้น่าอยู่

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ส่งหนังสือขอความอนุเคราะห์ หินคลุก เจ้าหน้าที่
เจ้าหน้าที่ลงสำรวจพื้นที่ เจ้าหน้าที่ลงปฎิบัตการ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการเข้าหารือเพื่อ ขอความอนุเคราะห์ หินคลุก เพื่อ ปรับภูมิทัศน์ ถนน ป้อมหกดินแดง ก็ได้รับการช่วยเหลือที่ดีจากกองช่าง เทศบาลนครหาดใหญ่ ซึ่งในวันนี้ได้ส่งช่างเข้ามาดำเนินการ ท่ามกลางแสงแดดแผดเผาพี่ๆก็ทำงานอย่างมุ่งมั่นไม่ย่อท้อ ขอชื่นชมเป็นอย่างยิ่งคะ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 12 คน จากที่ตั้งไว้ 12 คน
ประกอบด้วย

เจ้าหน้าที่กองช่าง 12 ท่าน

ทีมงาน 7 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

--

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ปรับพื้นที่ขยะ เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้ชุมชน12 มกราคม 2558
12
มกราคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อปรับพื้นที่ขยะ ให้เป็นพื้นที่ สะอาด มีความสวยงาม 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 12 มกราคม 2558 ไปขอล้อรถ และ จานครอบรถบริษัทรถ ข้างบิ๊กซีหาดใหญ่ วันที่ 13 มกราคม 2558  เรียงล้อรถตามจุดต่างๆที่กำหนดได้ ทาสีให้สวยงาม
วันที่ 14 มกราคม 2558  ไปรับต้นไม้ที่ขอความอนุเคราะห์จากสวนสาธารณะเทศบาลนครหาดใหญ่ วันที่ 15 มกราคม 2558  ปลูกต้นไม้ ตกแต่งให้สวยงาม  ปรับพื้นที่ขยะ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

      วันที่ 12 มกราคม 2558 ไปขอล้อรถ และ จานครอบรถบริษัทรถ ข้างบิ๊กซีหาดใหญ่  เริ่มจากเห็นว่าที่นี่มีล้อวางอยู่เต็มไปหมดข้างร้านจึงเดินเข้าไปถามเจ้าของร้าน  เค้ายินดีที่จะให้มากเลย ให้นำรถมาบรรทุก เลยให้คุณสัญญา  คงมา ไปบรรทุก พี่ๆที่ร้านช่วยขนกันเต็มที่
เมื่อนำมาถึงชุมชน ก็ได้จัดเรียง วางตามจุดที่กำหนดไว้ ด้วยพลังของเจ้าตัวน้อย

      วันที่ 13 มกราคม 2558  เรียงล้อรถตามจุดต่างๆที่กำหนดได้ ทาสีให้สวยงาม บางล้อสามารถ ปรุงดินแล้วใส่พักลงไปในล้อได้เลย แต่บางล้อที่สียังไม่แห้งก็ต้องรอ วันรุ่งขึ้น เด็กชอบระบายสี แต่ออกยากสักนิด เลอะ แบบรักษ์โลก ก็สนุกอีกแบบ

    วันที่ 14 มกราคม 2558  ไปรับต้นไม้ที่ขอความอนุเคราะห์จากสวนสาธารณะเทศบาลนครหาดใหญ่ เราสามารถเลือกตามใจชอบเลย กี่ต้นก็ได้แต่ทั้งนีัขอพอประมาณก่อน พอปลูกได้ ทั้งหมด 60 ต้น ตอนเย็นน้องเลิกเรียนแล้วก็มาช่วยกันปรุงดินบ้าง ปลูกบ้าง ช่วยกันรดน้ำ บ้าง

วันที่ 15 มกราคม 2558  ปลูกต้นไม้ ตกแต่งให้สวยงาม  ปรับพื้นที่ขยะ โดยการเปลี่ยนตะแกรงเหล็กสีเขียวซึ่งช่างชุมชนเป็นคนซ่อมแซม ทาสีใหม่ ทำกลอน เพื่อเปิดได้สะดวก

            สี่วันที่ผ่านมานี้ ทุกวันช่างมีความหมายเหลือเกิน ส่งผ่านความปราถนาดี หลั่งไหลมาที่นี่ ป้อมหก สลัม น้อยๆ แต่เป็น สวรรค์สำหรับเรา 

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 45 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

ทีมงานโครงการ 5 คน ครู บอมอ 3 เยาวชนป้อมหก จำนวน 12 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ปรับภูมิทัศน์ชุมชนโดยเยาวชน รอบที่ 19 มกราคม 2558
9
มกราคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเปลี่ยนพื้นที่ขยะให้เป็นพื้นที่สีเขียว

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 16 ธันวาคม 2557  ประชุมออกแบบ การปรับภูมิเทศน์ กับ เยาวชน ครูอาสา และทีมงาน วันที่ 20 ธันวาคม 2557  เตรียม อุปกรณ์  ขัดกะลา ร้อยตะแกรง
วันที 21 ธันวาคม 2557  ทาสีกะลา และกระป๋อง
วันที่ 22 ธันวาคม 2557  ปรุงดิน หมักดินจาก 22- 27 วันที่ 27 ธันวาคม 2557  ปลูกต้นไม้ปรับภูมิทัศน์
วันที่ 08 มกราคม 2558  ถ่ายภาพติดตามผลงาน วันที 09 มกราคม 2557  รายงานผลการดำเนินกิจกรรมปรับภูมิทัศน์รอบที่ 1

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันที่ 16 ธันวาคม 2557  ประชุมเยาวชนเพื่อออกแบบกิจกรรม อุปกรณ์ ปัญหาพื้นที่ ที่ต้องการปรับภูมิทัศน์  รวมถึงรูปแบบที่จัดวาง ภายใต้กรอบความคิด น่ารัก ดูดี รีไซเคิล  จึงตกลงกันว่า เด็กๆชอบ ทาสี นั่นคือทุนอย่างหนึ่ง  อีกประการ ในตลาด ที่ร้านขายมะพร้าว เขายินดีบริจาค กะลาให้ ฟรี ส่วนที่ ร้านขายน้ำชา ก็มีกระป๋องให้เอามาใช้ได้ ฟรีเช่นกัน  ส่วนตะแกรงหน้ากากพัดลม ก็ได้จากกองทุนขยะสร้างสุขที่ชาวบ้านนำมาขายก็ไม่ได้ปล่อยให้โรงงาน  แต่ทางโรงงานรู้ว่าเราใช้ทำประโยชน์ ก็นำหน้ากากพัดลมมาบริจาค ให้จำนวน 20 อันฟรี  นี่คือน้ำใจที่หลังไหลมาพร้อมกับความตั้งใจที่เราทำอย่างมุ่งมั่นตั้งใจ นั่นเอง

                    วันที่ 20 ธันวาคม 2557  เตรียมอุปกรณ์ ขัดกะลามะพร้าว เด็กๆและ ครูซามาช่วยกันใช้กระดาษทราย ขัด ให้พอเงา ใช้สว่านเจาะรู ได้ช่างไม้ชุมชนมาช่วยกัน  ล้างกระป๋องและคราบนม

                    วันที่ 21 ธันวาคม 2557 วันนี้เลอะสักหน่อยเพราะต้องใช้สีน้ำมัน ระบายลงภาชนะปลูก แต่น้องๆก็รู้สึกสนุกสนานกับกิจกรรมดีมาก เหมือนที่กล่าวว่า ยิ่งเลอะ ยิ่งเยอะ ประสบการณ์ แต่ละแบบ แต่ละลาย แปลก ใหม่  ป้อมหก only แท้  พอสีแห้งก็นำมาร้อย เพื่อใส่ดินสำหรับปลูก ต้นไม้น้อยๆ

                    วันที่ 22  ธันวาคม 2557 น้าดี จิตอาสาชาวพม่าเป็น หัวแรงใหญ่ ในการปรุงดิน ประกอบด้วย ดินลำดวน ปุ๋ยคอกมูลวัว  น้ำหมักชีวภาพ  ขุยมะพร้าว ใบไม้แห้งในอัตราส่วน 1:1:1:1 แล้วหมักทิ้งไว้ 5 วัน

                    วันที่ 27 ธันวาคม 2557 เริ่มปรับภูมิทัศน์ช่วง เช้า 10.00น. น้องๆมาพร้อมกันที่รร บ้านป้าพร
แล้วออกมาปฎิบัติการณ์รักษ์โลกกัน  แบ่งกันเป็นกลุ่ม เอ และ กลุ่ม บี แข่งขันกัน ก็เป็นบรรยากาศที่สนุกสนานดี ได้ทั้งความรู้ ความสามัคคีในทีม เกิดความคิดสร้างสรรค์ ความสนุกสนาน และ เพิ่มพื้นที่สวยงามให้ชุมชนเรานั่นเอง

                    วันที่ 8 มกราคม 2558 ได้ทำการประเมินผลอัตราการรอดของต้นไม้ที่ปลูก รอด เจ็ดสิบเปอร์เซ็นต์ของการปลูก  ส่วนบางส่วนที่ตายเนื่องจาก ไก่จิก แต่ได้ทำการซ่อมแซมแล้ว เรียบร้อย

                      วันที่ 9 มกราคม 2558  รายงานกิจกรรมและร่วมชื่นชนผลสำเร็จกับเด็กๆ ทีมงาน และ ครูอาสา


          จากกิจกรรม ปรับภูมิทัศน์ รอบที่หนึ่งนี้ นอกจากได้ลดปริมาณขยะแล้ว ได้นำขยะมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์ แล้ว ยังได้เรียนรู้การปรุงดิน อย่างมีประสิทธิภาพ  การปลูกอย่างไรให้ได้ผลดี ซึ่งครั้งนี้ ได้ปลูก วอเตอร์ เคลส ขึ้นฉ้าย ต้นหอม สาระเหน่ และ ผักบุ้ง นอกจากนั้นก็เป็นไม้ประดับที่ให้ความรู้สึกสดชื่น กายใจ นั่นเอง ซึ่งเราได้ครูผู้สอนการปลูกคือ ครูดี  หรือ น้าดีทีมงานชาวพม่าของเรานั่นเอง  ยอดเยี่ยมมากคะ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 28 คน จากที่ตั้งไว้ 25 คน
ประกอบด้วย

ครูบอ มอ 1 ท่าน ทีมงาน    5  คน เยาวชน    15  คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมหารือเพื่อปรับพื้นที่ชุมชนให้น่ามอง8 มกราคม 2558
8
มกราคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อปรับสภาพภูมิทัศน์ชุมชนให้น่าอยู่

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่  4  มกราคม 2558 ออกจดหมายเชิญเข้าร่วมประชุม หารือ ส่งจดหมายยังเทศบาลนครหาดใหญ่ วันที่  8  มกราคม 2558  ประชุม ณ ห้องประชุมสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

      เวลา 13.00 น พร้อมกันที่เทศบาลนครหาดใหญ่ห้องประชุมสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ซึ่งครั้งนี้ชุมชนป้อมหกมีเรื่องเรียนที่ประชุม สอง วาระ ก็คือ


เรื่องปรับภูมิทัศน์ ชุมชนป้อมหก เนื่องจาก หน้าฝนที่ผ่านมา ถนนป้อมหกดินแดง เป็นหลุมลึก คมนาคม ลำบากเกิดอุบัติเหตุบ่อย เมื่อฝนตกอีก ก็เป็นแหล่งน้ำขัง

จึงเรียนให้ท่าน ผอ.ฝ่ายโยธา ทราบ ท่านรับหนังสือแล้วโทรแจ้งเจ้าหน้าที่ลงสำรวจพื้นที่ ในวันที่ 14 มกราคม 2558 และ ลงปรับพื้นที่ ในวันที่ 15 มกราคม 2558

  เรื่องการขอรถเก็บขน เล็ก ในวันที่ 19 มกราคม 2558 เช้า เพื่อเก็บขนขยะประเภท เฟอร์นิเจอร์ ตู้เตียง

  เรื่องแจ้งงานสวนสาธารณะ ขอความอนุเคราะห์ ต้นไม้เพื่อปรับภูมิทัศน์ โดยเยาวชน รอบที่สอง

วาระที่สอง  เรื่องการเข้าประกวดโครงการซีโรเวส ปีที่สาม โดย คุณพรรณี บัวจีน

จบการประชุมเวลา 15.00 น

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย

ผู้อำนวยการกองช่าง เทศบาลนครหาดใหญ่

คุณพรรณี บัวจีน และ เจ้าหน้าที่กลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อม  2 ท่าน

คุณ ณัฐชัย เพ็ชรทองมา  หัวหน้าฝ่ายสวัสดิการสังคม

ตัวแทนทีมงาน  7 ท่าน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

เติมพลังใจให้ทีมงาน26 ธันวาคม 2557
26
ธันวาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้สร้างกำลังใจทีมทำงาน โครงการและ ทีมงานกองทุนขยะสร้างสุข

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 20 ธันวาคม 2558  เดินทางไปปรึกษา วพส

วันที่ 21 ธันวาคม 2558 ออกหนังสือเชิญ เจ้าหน้าที่กลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อมเทศบาลนครหาดใหญ่  บัณฑิตอาสา  ทีมงาน

วันที่  24 ธันวาคม 2558 ประกาศเสียงตามสาย แจ้งทีมงาน

วันที่ 26  ธันวาคม 2558 จัดกิจกรรมตามแผน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เมื่อทีมงานป้อมหกเดินทางมากันพร้อมหน้า ประจวบกับทางอาจารย์วัลภา ฐาน์กาญจน์ ได้เดินทางมาถึง ที่ รร บ้านป้าพรก็ครึกครื้น ได้มีโอกาสพูดคุยกันถึงสารทุกข์สุขดิบ ก่อนเริ่มโครงการ  ด้าน บอ มอ ทั้งสามท่านกำลังเตรียมอุปกรณ์ เพื่อเติมพลังใจ  ในครั้งนี้ ท่านอาจารย์วัลภา  ฐาน์กาญจน์  เสนอ การเติมพลังใจ ด้วยการเติม วิตามิน เอ  คือ การมองตัวเองในด้านดีดี  โดยการย้อนมองตัวเอง ว่า แต่ละคนมีจุดเด่นที่ดีๆ อะไรบ้าง  ขณะที่ ครูซาร่า บอมอ ก็ได้แจกการ์ดภาพคน ให้ทุกคน คนละ 1 ใบ ให้เราเติมสีที่ชอบ แต่งหน้าตุ๊กตานั้นให้เหมือนตัวเองพร้อมเขียนว่า เรามีข้อดีอย่างไรบ้าง ทีมงานและพี่ๆ ส่งเสริมสิ่งแวดล้อมได้สนุกกับการทำกิจกรรมดังกล่าว มาก จนอาจารย์วัลภาได้กล่าวชื่นชมว่า ทุกคนวาดรูปได้ยอดเยี่ยมและ ระบายสีได้อย่างสวยงาม อาทิ เช่น พี่นุ้ย เขียนว่าข้อดีของตนเอง ยิ้มแย้มแจ่มใส เสียสละบ้างในบางเวลา ชอบช่วยเหลือผู้อื่น  เป็นคนชอบวางแผน มีความรอบคอบ และจริงใจ เพือนเติมให้ ว่า ชอบช่วยเหลือ ขยัน นิสัยดี รักสึขภาพ กล้าแสดงออก มีความรับผิดชอบ ต่องตนเองและครอบครัว หน้าตาดี ใจบุญ จิตใจงาม ทำความดีเพื่อชุมชน แล้วเขียนปีที่ เข้าร่วม ทำงาน คือ 2555 พอเขียนข้อดีของตัวเองเสร็จแล้ว ก็ได้ส่งต่อให้เพื่อนๆ เขียนข้อดีของเราอีกด้วย  บรรยากาศกำลังสนุกสนาน  หลังจากนั้นครูซาร่าก็ได้แจกรูปหัวใจให้ทุกคนโดยให้เขียนการเปลียนแปลงกับตัวเองและ สิ่งดีๆที่เกิดกับชุมชน  ต่างคนต่างตั้งหน้าตั้งตาเขียนอย่างตังใจ พร้อมทั้งระบายสี  ยกตัวอย่างเช่นของ ป้าพร สมพร จันทวงศ์ ท่านเขียนว่า รู้สึกดีมากและประทับใจมากกับการทำชุมชนและทีมงานก็มีความพร้อมและเราทำชุมชน ก็เป็นผลดีแก่ชุมชน ได้ทำชื่อเสียง ให้กับเทศบาลหาดใหญ่ให้มีชื่อเสียงเพราะเรารักเทศบาลนครหาดใหญ่  ทุกคนกล่าวถึงการพัฒนาจากการเกิดโครงการต่างๆ ที่ส่งพบกระทบในด้านที่ดีต่อชุมชนและตนเองออกมาได้อย่างน่าประทับใจ  ต่อด้วยครูซาร่าได้แจกการ์ด รูปดอกไม้ พร้อมอาจารย์ วัลภา ได้อธิบายถึงสิ่งที่เขียนเข้าไป นั่นคือ หลังจากเราเข้าร่วมพัฒนา ตนเอง คนในชุมชน และ สภาพแวดล้อม เปลี่ยนแปลงอย่างไร ตัวอย่างของพี่สัญญา คงมา เขียนมาว่าชุมชนมีความสะอาดเพิ่มขึ้น เป็นพื้นที่สีเขียวทุกคนในชุมชนขอบ ได้เพื่อนใหม่ในชุมชน หลายคนถ่ายทอดออกมาได้ดี

คุณอานัติ หวังกุหลำ ได้สรุป กิจกรรม  ว่า จากภาพ time line แสดงให้เห็นว่า พี่พี่หลายคนเริ่มทำงานตั้งแต่ปี 2550 และมีอาสาสมัครหรือทีมงานเข้ามาเพิ่มในปี 2554  ส่วนการพัฒนาส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างดีเยี่ยมในปี 2554  เพราะตอนนั้นทางชุมชนได้ทำโครงการแนวทางร่วมสร้างชุมชนป้อมหกให้น่าอยู่ปีที่ 1 ทำให้เกิดทีมงาน เกิดความรู้แก่คนในชุมชน เกิดการพัฒนาชุมชนด้านสิ่งแวดล้อม  คนมีสุขภาพดีขึ้น เกิดพื้นที่สำหรับพบปะพูดคุยมากขึ้น ความสำเร็จต่างๆ เกิดขิ้นเรื่อยๆ  จนถึงปัจจุบัน

นอกจากนี้ยังมีการ คุยเรื่องลักษณะของผู้นำ แบบต่างๆโดยทายจากนิสัย ของทีมงาน เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจยิ่ง

โอกาสต่อไปจะเติมพลังใจให้ทีมงานด้วยการเติมวิตามิน บี  จะเป็นอย่างไรนั้น จะรายงานให้ทราบกันคะ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 25 คน จากที่ตั้งไว้ 25 คน
ประกอบด้วย

อาจารย์ วัลภา ฐาน์กาญจ์น์ ผู้จัดการโครงการบัณฑิตอาสา

คุณ อาณัต  หวังกุหลำ      ที่ปรึกษาโครงการแนวทางร่วมสร้างชุมชนป้อมหกให้น่าอยู่

บัณฑิต  อาสา มอ  3 ท่าน

เจ้าหน้าที่กลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อม 4  ท่าน

ทีมงานโครงการ 9 ท่าน

พี่เลี้ยงโครงการบัณฑิตอาสา  มอ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

จดหมายข่าว ฉบับที่ 116 ธันวาคม 2557
16
ธันวาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์

แจ้งข่าวสาร และสาระประโยชน์ให้ชาวชุมชนป้อมหก ทราบ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ขั้นตอนเตรียมข้อมูล

1 ทีมงานป้อมหกคัดเลือกหัวข้อที่น่าสนใจ 2 ครูพี่เลี้ยงและเยาวชนร่วม เลือกรูปภาพและเพิ่มข้อมูล

ขั้นตอนปฎิบัติการ

  1. แบ่งเนื้อหากับเป็นส่วนๆ เพื่อให้เยาวชน ค้นหาทางอินเตอร์เน็ต อาทิ ข้อมูล เรื่อง พุทธรักษา  เป็นต้น

  2. แบ่งเนื้อหากันพิมพ์

  3. รวบรวมและเรียบเรียงข้อมูลโดย ทีมงานและ ครูพี่เลี้ยง บอ.มอ.

  4. ตีพิมพ์ โดย ร้านเอกอุดมพริ้นติ้ง

ขั้นตอนการกระจายข่าวสาร

แจกชาวบ้านในงานกิจกรรมเยาวชน รื่นเริงสุขใจส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ วันที่ 29 ธันวาคม 2557

และ ส่งให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ  กศน  เทศบาลนครหาดใหญ่  วพส มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  พี่เลี้ยงและเจ้าหน้าที่ สสส
และผู้เข้ามาเยี่ยมชมชุมชน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการทำกิจกรรมจดหมายข่าวครั้งที่หนึ่งฉบับนี้ ถือเป็นการแบ่งงานกันอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ตั้งแต่การจัดเนื้อหาที่น่าสนใจ ทั้งเรื่องราวในโครงการเองและ เรื่องราวที่หน่วยงานต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้องในชุมชน อาทิ เรื่องราวของ ไทยพีบีเอส ที่เข้ามาถ่ายทำ เรื่อง อีโค คิดส์ ของป้อมหก ซึ่งได้ออกอากาศไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว  ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2557 สร้างความภาคภูมิใจอย่างยิ่งแก่ทีมงาน เยาวชน ชาวป้อมหกทุกคน  โดยเฉพาะผู้ปกครองของเยาวชนที่ส่งลูกมาร่วมทำกิจกรรมกับทางศูนย์บ่มเพาะเยาวชนโรงเรียนบ้านป้าพร  นอกจากนี้ยังมีเรื่องราวความเป็นห่วงเป็นใยด้านสุขภาพของชาวชุมชน อาทิ เรื่องการใช้โฟม นอกจากสร้างขยะ ยังก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บแก่ผูบริโภคอีกด้วย

                เรื่องราวที่น่าสนใจ อีกเรื่องที่สร้างการเปลี่ยนแปลงให้ภูมิทัศน์ของชุมชน คือ การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในชุมชน ประเด็นที่1 เรื่องพุทธรักษา ต้นไม้ที่ประกอบไปด้วยสรรพคุณที่ดีงาม  ซึ่งทาง เทศบาลนครหาดใหญ่ คุณ ณัฐชัย เพ็ชรทองมา ผู้อำนวยการกองพัฒนาสังคม ได้ชื่นชมการปรับภูมิทัศน์ของป้อมหกด้วยต้นพุทธรักษา และ ใช้พุทธรักษาเพื่อบำบัดน้ำเสีย  จึงยกให้ต้นพุทธรักษาเป็นต้นไม้ประจำชุมชนป้อมหก

                  อีกเรื่องราวที่น่าสนใจเรื่องพื้นที่สีเขียวคือ การนำความรู้เรื่องเกร็ดความรู้ด้านการปลูกพืชอย่างประหยัดพื้นที่ของชุมชนเมือง นั่นคือ เรื่องราวที่ครูซาร่าซึ่งได้เดินทางไปอบรมเรื่องสวนผักคนเมืองที่ ศูนย์เรียนรู้ ออแกนิค เวย์ ได้พบเทคนิดถังมหัศจรรย์

                    ทางทีมงาน ครูพี่เลี้ยง คาดว่า จดหมายข่าวฉบับนี้ จะเกิดประโยชน์แก่ผู้รับสื่อจะได้รับประโยชน์และบริโภคข้อมูลได้อย่างหลากหลาย

และจดหมายข่าวจะเป็นการพัฒนาด้านทักษะการคิด การออกแบบ การอ่าน การเขียน และการทำงานเป็นกลุ่ม ของ เยาวชน ครู และทีมงานอีกด้วย

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 26 คน จากที่ตั้งไว้ 22 คน
ประกอบด้วย
  1. ครูพี่เลี้ยงบัณฑิต จำนวน 3 ท่าน
  2. เยาวชน ชุมชนป้อมหก จำนวน 18 คน
  3. ทีมงาน จำนวน 5 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

กองทุนขยะสร้างสุข12 ธันวาคม 2557
12
ธันวาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อส่งเสริมการคัดแยกขยะรีไซเคิล และ เพื่อให้เกิดสวัสดิการชุมชนผ่านการจัดการขยะ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันศุกร์ ที่ 12 ธันวาคม 2557  พี่บี และครูซาร่าทำหน้าที่โทรเช็คราคาขยะ วันนี้ราคา เหล็ก ลดลง แต่กระดาษลังกลับได้ราคาเพิ่มขี้น อีก เป็น 4.50 บาท สร้างแรงจูงใจให้สมาชิก

ด้านอลูมิเนียมกระป๋องโค๊ก  ราคา พุ่ง  40 บาท  น่าสนใจอย่างยิ่ง  วันนี้กองทุนขยะคึกคักกันเป็นพิเศษ เนื่องจาก ได้ประกาศนำขยะอันตรายแลกไข่ไก่  ชาวบ้านกระตือรือร้นที่จะนำมาแลกที่กองทุนเนื่องจากหากพลาดโอกาสวันนี้ต้องรองแลกอีกที วันที่ 26 ธันวาคม 2557  เมื่อชาวบ้านทยอยกันนำมาฝากบ้าง  ขายบ้าง  การเงินวันนี้สะพัดมาก  แต่สิ่งที่ได้เห็นพฤติกรรมชาวบ้านวันนี้ คือ ขวดเริ่มเป็นขุมทรัพย์ทองคำของแต่ละครัวเรือน  คือ ขวดน้ำปลา น้ำส้มจากเคยทิ้งเกลื่อนกลาด แทบเป็นของหายาก เพราะ ตั้งแต่ประกาศจากโรงงานกิโลละบาท ถึงกับตาลุกตาวาว เป็นคุณค่ากันที่เดียว  วันนี้ พี่พร ได้กากเพชรมาจาก บ้านผู้กอง  รองเท้าใหม่ผู้กองให้  กระเป๋าแบรนด์เนม ที่คุณนายใช้เบื่อ มีให้เห็นจากบ้านผู้กอง  ที่พี่พรพูด ไม่ใช่ตำรวจที่ไหน แต่แกหมายถึง กองขยะที่พี่พรไปหามานั่งเอง  ตอนนี้พี่พรบอกว่า พี่มีเงินเก็บแล้ว จากที่ เคยเวียนหัวหน้ามืดตาลายกับการเลี้ยงลูกวัยซนเพียงลำพังสองคน อาการลมชัก คือ ชักหน้าไม่ถึงหลัง ที่เคยบ่นดูเหมือนโรคนี้กำลังหายไป  ด้วย วิธีการขยะบำบัด ของกองทุนขยะป้อมหกนี่เอง พี่พรมีเงินฝากกับกองทุน ไม่ต่ำกว่า 1,450 บาท ณ ปัจจุบัน นี่เบิกไปใช้จ่ายบ้างแล้ว ประมาณ 700 บาท ไม่หน้าเชื่อแต่ต้องเชื่อ สองทุ่มเศษ พี่พร กับโบ๊ต  พาสามล้อพ่วงไปแป๊บเดียวเท่านั้น  กลับมาเต็มรถเลย  น่าชื่นชม ส่วนป้าพร  บ่น  เราฝากเบี้ยนะ วันนี้ ขยะบ้านเราไม่มีเลย  ทีมงานหัวเราะ  แล้วไม่มีก็ดีแสดงว่าเราไม่สร้างขยะเลยน่าสนใจ ต้องเรียนรู้กันบ้างแล้วว่าป้าพรใช้ชีวิตอย่างไร ขยะถึงเหลือศูนย์

รายงานปริมาณขยะรีไซเคิลวันนี้
    รายการ                                                ราคา          ปริมาณ              รวมเป็นเงิน

ขวดแก้ว                                                      1                349.4                  349.4

พลาสติกใส                                                  13                25.4                  330.2

พลาสติกรวม                                                  8                  50.3                  402.4

กระป๋องเบียร์                                                40                  7.6                    304

กระป๋องเหล็ก                                              4.5                19.1                    85.95

ขวดเบียร์บรรจุลัง                                            9                  14                        126

เหล็ก                                                          6.5                  90.1                  585.65

เครื่องใช้ไฟฟ้า                                              5                      6.6                      33

จักรยาน                                                      6.5                      7.2                      46.8

พลาสติกขุ่น                                                  22                      4.2                    92.4

สังกะสี                                                        4.50                    22.6                    101.7

กระดาษสี                                                        2                        44.7                    89.4

กระดาษ ขาว ดำ                                            6.5                          5                        32.5

กระดาษ ลัง                                                    4.50                      79                    355.5

อลูมิเนียมบาง                                                    43                      0.6                      25.8

ท่อ พีวีซี                                                            9                        2.2                    19.8

รวม                                                                                                                      3,329.9  รับ  3,330.- บาท


สิ่งดีดีที่ได้จากขยะวันนี้

รอบยิ้ม แววตา แห่งความหวัง

ป้าเนียน แววตาของป้าเศร้า  ป้านั่งเศร้าทุกวันเหมือนอมทุกข์ หรือตกอยู่ในภาวะความเครียด

ป้ารื้อของในบ้านที่ป้าพอจะหาได้  สังกะสี พลาสติกรวม  กระป๋อง ขวดน้ำพลาสติก  แววตาป้าเริ่มมีความหวังเมื่อเข็มกระดิก ดูป้าลุ้นๆ ตอนพี่บีเขียนรายการให้ สายตาแง้มๆ ดูราคาต่อกิโล

แต่ป้ากลับยิ้มอย่างมีความสุข เมื่อ กิจกรรมเสร็จสิ้น  วันนี้ของเหลือๆ ที่ป้าหามาได้จากในครัวเรือน มันทำให้ป้ายิ้มได้  ทีมงานก็ยิ้ม  ยิ้มดีใจยิ่งกว่าเมื่อป้าเดินไปตลาด  แล้วบอกทีมงานว่า

ได้แล้ว กับข้าว สองสามมื้อ  ขยะ แก้ปัญหาชีวิตได้  ขยะ สร้างยิ้ม  กองทุนขยะ สร้างสุข ให้ชุมชนป้อมหกได้อย่างแท้จริง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันศุกร์ ที่ 12 ธันวาคม 2557  พี่บี และครูซาร่าทำหน้าที่โทรเช็คราคาขยะ วันนี้ราคา เหล็ก ลดลง แต่กระดาษลังกลับได้ราคาเพิ่มขี้น อีก เป็น 4.50 บาท สร้างแรงจูงใจให้สมาชิก

ด้านอลูมิเนียมกระป๋องโค๊ก  ราคา พุ่ง  40 บาท  น่าสนใจอย่างยิ่ง  วันนี้กองทุนขยะคึกคักกันเป็นพิเศษ เนื่องจาก ได้ประกาศนำขยะอันตรายแลกไข่ไก่  ชาวบ้านกระตือรือร้นที่จะนำมาแลกที่กองทุนเนื่องจากหากพลาดโอกาสวันนี้ต้องรองแลกอีกที วันที่ 26 ธันวาคม 2557  เมื่อชาวบ้านทยอยกันนำมาฝากบ้าง  ขายบ้าง  การเงินวันนี้สะพัดมาก  แต่สิ่งที่ได้เห็นพฤติกรรมชาวบ้านวันนี้ คือ ขวดเริ่มเป็นขุมทรัพย์ทองคำของแต่ละครัวเรือน  คือ ขวดน้ำปลา น้ำส้มจากเคยทิ้งเกลื่อนกลาด แทบเป็นของหายาก เพราะ ตั้งแต่ประกาศจากโรงงานกิโลละบาท ถึงกับตาลุกตาวาว เป็นคุณค่ากันที่เดียว  วันนี้ พี่พร ได้กากเพชรมาจาก บ้านผู้กอง  รองเท้าใหม่ผู้กองให้  กระเป๋าแบรนด์เนม ที่คุณนายใช้เบื่อ มีให้เห็นจากบ้านผู้กอง  ที่พี่พรพูด ไม่ใช่ตำรวจที่ไหน แต่แกหมายถึง กองขยะที่พี่พรไปหามานั่งเอง  ตอนนี้พี่พรบอกว่า พี่มีเงินเก็บแล้ว จากที่ เคยเวียนหัวหน้ามืดตาลายกับการเลี้ยงลูกวัยซนเพียงลำพังสองคน อาการลมชัก คือ ชักหน้าไม่ถึงหลัง ที่เคยบ่นดูเหมือนโรคนี้กำลังหายไป  ด้วย วิธีการขยะบำบัด ของกองทุนขยะป้อมหกนี่เอง พี่พรมีเงินฝากกับกองทุน ไม่ต่ำกว่า 1,450 บาท ณ ปัจจุบัน นี่เบิกไปใช้จ่ายบ้างแล้ว ประมาณ 700 บาท ไม่หน้าเชื่อแต่ต้องเชื่อ สองทุ่มเศษ พี่พร กับโบ๊ต  พาสามล้อพ่วงไปแป๊บเดียวเท่านั้น  กลับมาเต็มรถเลย  น่าชื่นชม ส่วนป้าพร  บ่น  เราฝากเบี้ยนะ วันนี้ ขยะบ้านเราไม่มีเลย  ทีมงานหัวเราะ  แล้วไม่มีก็ดีแสดงว่าเราไม่สร้างขยะเลยน่าสนใจ ต้องเรียนรู้กันบ้างแล้วว่าป้าพรใช้ชีวิตอย่างไร ขยะถึงเหลือศูนย์

รายงานปริมาณขยะรีไซเคิลวันนี้
    รายการ                                                ราคา          ปริมาณ              รวมเป็นเงิน

ขวดแก้ว                                                      1                349.4                  349.4

พลาสติกใส                                                  13                25.4                  330.2

พลาสติกรวม                                                  8                  50.3                  402.4

กระป๋องเบียร์                                                40                  7.6                    304

กระป๋องเหล็ก                                              4.5                19.1                    85.95

ขวดเบียร์บรรจุลัง                                            9                  14                        126

เหล็ก                                                          6.5                  90.1                  585.65

เครื่องใช้ไฟฟ้า                                              5                      6.6                      33

จักรยาน                                                      6.5                      7.2                      46.8

พลาสติกขุ่น                                                  22                      4.2                    92.4

สังกะสี                                                        4.50                    22.6                    101.7

กระดาษสี                                                        2                        44.7                    89.4

กระดาษ ขาว ดำ                                            6.5                          5                        32.5

กระดาษ ลัง                                                    4.50                      79                    355.5

อลูมิเนียมบาง                                                    43                      0.6                      25.8

ท่อ พีวีซี                                                            9                        2.2                    19.8

รวม                                                                                                                      3,329.9  รับ  3,330.- บาท


สิ่งดีดีที่ได้จากขยะวันนี้

รอบยิ้ม แววตา แห่งความหวัง

ป้าเนียน แววตาของป้าเศร้า  ป้านั่งเศร้าทุกวันเหมือนอมทุกข์ หรือตกอยู่ในภาวะความเครียด

ป้ารื้อของในบ้านที่ป้าพอจะหาได้  สังกะสี พลาสติกรวม  กระป๋อง ขวดน้ำพลาสติก  แววตาป้าเริ่มมีความหวังเมื่อเข็มกระดิก ดูป้าลุ้นๆ ตอนพี่บีเขียนรายการให้ สายตาแง้มๆ ดูราคาต่อกิโล

แต่ป้ากลับยิ้มอย่างมีความสุข เมื่อ กิจกรรมเสร็จสิ้น  วันนี้ของเหลือๆ ที่ป้าหามาได้จากในครัวเรือน มันทำให้ป้ายิ้มได้  ทีมงานก็ยิ้ม  ยิ้มดีใจยิ่งกว่าเมื่อป้าเดินไปตลาด  แล้วบอกทีมงานว่า

ได้แล้ว กับข้าว สองสามมื้อ  ขยะ แก้ปัญหาชีวิตได้  ขยะ สร้างยิ้ม  กองทุนขยะ สร้างสุข ให้ชุมชนป้อมหกได้อย่างแท้จริง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 28 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

วันศุกร์ ที่ 12 ธันวาคม 2557  พี่บี และครูซาร่าทำหน้าที่โทรเช็คราคาขยะ วันนี้ราคา เหล็ก ลดลง แต่กระดาษลังกลับได้ราคาเพิ่มขี้น อีก เป็น 4.50 บาท สร้างแรงจูงใจให้สมาชิก

ด้านอลูมิเนียมกระป๋องโค๊ก  ราคา พุ่ง  40 บาท  น่าสนใจอย่างยิ่ง  วันนี้กองทุนขยะคึกคักกันเป็นพิเศษ เนื่องจาก ได้ประกาศนำขยะอันตรายแลกไข่ไก่  ชาวบ้านกระตือรือร้นที่จะนำมาแลกที่กองทุนเนื่องจากหากพลาดโอกาสวันนี้ต้องรองแลกอีกที วันที่ 26 ธันวาคม 2557  เมื่อชาวบ้านทยอยกันนำมาฝากบ้าง  ขายบ้าง  การเงินวันนี้สะพัดมาก  แต่สิ่งที่ได้เห็นพฤติกรรมชาวบ้านวันนี้ คือ ขวดเริ่มเป็นขุมทรัพย์ทองคำของแต่ละครัวเรือน  คือ ขวดน้ำปลา น้ำส้มจากเคยทิ้งเกลื่อนกลาด แทบเป็นของหายาก เพราะ ตั้งแต่ประกาศจากโรงงานกิโลละบาท ถึงกับตาลุกตาวาว เป็นคุณค่ากันที่เดียว  วันนี้ พี่พร ได้กากเพชรมาจาก บ้านผู้กอง  รองเท้าใหม่ผู้กองให้  กระเป๋าแบรนด์เนม ที่คุณนายใช้เบื่อ มีให้เห็นจากบ้านผู้กอง  ที่พี่พรพูด ไม่ใช่ตำรวจที่ไหน แต่แกหมายถึง กองขยะที่พี่พรไปหามานั่งเอง  ตอนนี้พี่พรบอกว่า พี่มีเงินเก็บแล้ว จากที่ เคยเวียนหัวหน้ามืดตาลายกับการเลี้ยงลูกวัยซนเพียงลำพังสองคน อาการลมชัก คือ ชักหน้าไม่ถึงหลัง ที่เคยบ่นดูเหมือนโรคนี้กำลังหายไป  ด้วย วิธีการขยะบำบัด ของกองทุนขยะป้อมหกนี่เอง พี่พรมีเงินฝากกับกองทุน ไม่ต่ำกว่า 1,450 บาท ณ ปัจจุบัน นี่เบิกไปใช้จ่ายบ้างแล้ว ประมาณ 700 บาท ไม่หน้าเชื่อแต่ต้องเชื่อ สองทุ่มเศษ พี่พร กับโบ๊ต  พาสามล้อพ่วงไปแป๊บเดียวเท่านั้น  กลับมาเต็มรถเลย  น่าชื่นชม ส่วนป้าพร  บ่น  เราฝากเบี้ยนะ วันนี้ ขยะบ้านเราไม่มีเลย  ทีมงานหัวเราะ  แล้วไม่มีก็ดีแสดงว่าเราไม่สร้างขยะเลยน่าสนใจ ต้องเรียนรู้กันบ้างแล้วว่าป้าพรใช้ชีวิตอย่างไร ขยะถึงเหลือศูนย์

รายงานปริมาณขยะรีไซเคิลวันนี้
    รายการ                                                ราคา          ปริมาณ              รวมเป็นเงิน

ขวดแก้ว                                                      1                349.4                  349.4

พลาสติกใส                                                  13                25.4                  330.2

พลาสติกรวม                                                  8                  50.3                  402.4

กระป๋องเบียร์                                                40                  7.6                    304

กระป๋องเหล็ก                                              4.5                19.1                    85.95

ขวดเบียร์บรรจุลัง                                            9                  14                        126

เหล็ก                                                          6.5                  90.1                  585.65

เครื่องใช้ไฟฟ้า                                              5                      6.6                      33

จักรยาน                                                      6.5                      7.2                      46.8

พลาสติกขุ่น                                                  22                      4.2                    92.4

สังกะสี                                                        4.50                    22.6                    101.7

กระดาษสี                                                        2                        44.7                    89.4

กระดาษ ขาว ดำ                                            6.5                          5                        32.5

กระดาษ ลัง                                                    4.50                      79                    355.5

อลูมิเนียมบาง                                                    43                      0.6                      25.8

ท่อ พีวีซี                                                            9                        2.2                    19.8

รวม                                                                                                                      3,329.9  รับ  3,330.- บาท


สิ่งดีดีที่ได้จากขยะวันนี้

รอบยิ้ม แววตา แห่งความหวัง

ป้าเนียน แววตาของป้าเศร้า  ป้านั่งเศร้าทุกวันเหมือนอมทุกข์ หรือตกอยู่ในภาวะความเครียด

ป้ารื้อของในบ้านที่ป้าพอจะหาได้  สังกะสี พลาสติกรวม  กระป๋อง ขวดน้ำพลาสติก  แววตาป้าเริ่มมีความหวังเมื่อเข็มกระดิก ดูป้าลุ้นๆ ตอนพี่บีเขียนรายการให้ สายตาแง้มๆ ดูราคาต่อกิโล

แต่ป้ากลับยิ้มอย่างมีความสุข เมื่อ กิจกรรมเสร็จสิ้น  วันนี้ของเหลือๆ ที่ป้าหามาได้จากในครัวเรือน มันทำให้ป้ายิ้มได้  ทีมงานก็ยิ้ม  ยิ้มดีใจยิ่งกว่าเมื่อป้าเดินไปตลาด  แล้วบอกทีมงานว่า

ได้แล้ว กับข้าว สองสามมื้อ  ขยะ แก้ปัญหาชีวิตได้  ขยะ สร้างยิ้ม  กองทุนขยะ สร้างสุข ให้ชุมชนป้อมหกได้อย่างแท้จริง

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

พลังงานทดแทนสู่ความพอเพียง8 ธันวาคม 2557
8
ธันวาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์

1.เพื่อการนำขยะอินทรีย์มาใช้ประโยชน์ด้านพลังงาน      2.เพื่อเรียนรู้เรื่องพลังงานทดแทนจากพลังงานแสงอาทิตย์  3.เพื่อเกิดการเรียนรู้เรื่องพลังงานจากเตาชีวมวล

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

พลังงานทดแทน สู่ความพอเพียง
1. ทีมงานเข้าหารือกับเจ้าหน้าที่พลังงานจังหวัดสงขลา  ร่วมกับ หน่วยงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อมเทศบาลนครหาดใหญ่ในการจัดเก็บ น้ำมันพืชเหลือใช้ น้ำมันจากการเปิดกิจการซ่อมรถ และ การทำแก็สชีวภาพ และใช้อย่างปลอดภัย ในชุมชนแออัด
2. การสำรวจความต้องการและสถานที่ เพือออกแบบวางแผนการทำแก็สชีวภาพแก่ครัวเรือนต้นแบบ  พลังงานแสงอาทิตย์ และ เตาชีวมวล 3. อบรม ให้ความรู้ ติดตั้ง อุปกรณ์ แก็สชีวภาพแก่ครัวเรือนต้นแบบ  ติดตั้งแผงโซลาเซลล์และอุปกรณ์ ณ กองทุนขยะสร้างสุข และสาธิตการทำเตาชีวมวลแก่ครัวเรือนต้นแบบ 4.ใช้ขยะอินทรีย์ (เศษอาหาร ) แยกจากครัวเรือน ใส่ลงถึงหมัก ทุกวันเพื่อ สร้างการเกิดแก๊ส เพื่อใช้ประกอบอาหารในครัวเรือน
4. ติดตามและประเมินผล โดยใช้บัญชีครัวเรือนเป็นเครื่องมือ
5.จัดนิทรรศการพลังงานให้ความรู้ชุมชน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันที่ 8 ธันวาคม 2557  สำนักงานพลังงานจังหวัดสงขลา  พร้อมทีมงานอีก สองท่าน เดินทางมายังชุมชนป้อมหก วิทยากรชำนาญการในวันนี้ มาจากตำบล ปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา คือ คุณซาการียา หมัดเลียด พร้อมชุดอุปกรณ์ ทำก๊าซชีวภาพจำนวน หนึงชุด  ขณะที่ กลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อมและ ชาวชุมชนป้อมหก ได้เดินทางมาเรียนรู้ร่วมกัน  ที่กองทุนขยะสร้างสุข ชุมชนป้อมหก  เริ่มจากการลงทะเบียน  และเปิดประเด็น จาก
คุณตั้ม เจ้าหน้าที่จากสำนักงานพลังงานจังหวัดสงขลาได้กล่าวทักทาย ผู้เข้าอบรมคร้้งนี้ กล่าวชื่นชมชุมชนป้อมหกที่มีความเข้มแข็ง จนได้รับการคัดเลือกทางพลังงานจังหวัดในการทำโครงการร่วม และสนับสนุน เกิดการอบรมในครั้งนี้  เนื่องจากตอนที่มาสำรวจครั้งแรกพบว่า พื้นที่เป็นของการรถไฟ แต่ คนในชุมชน มีการคัดแยกขยะและแกนนำให้ความสนใจและตั้งใจจริงเรื่องการเรียนรู้เรื่องพลังงาน จึงได้มาทำการอบรมให้ในวันนี้
ต่อจากนั้นจึงเป็นการบรรยาย จาก คุณ ซาการียา หมัดเลียด ได้อธิบายโดยใช้วิธีการวาดภาพ และอธิบาย  ดังนี้

อุปกรณ์  ที่สำคัญของการทำก๊าซชีวภาพ
1.ถังขนาด 1 ลูกบาศก์เมตร 1 ใบ ใส่ท่อพีวีซี ที่มีรอยบาก ใช้กาวสองตัน ยาแนวรอบรอยต่อระหว่างพีวีซีกับถังใส่หมัก
2.ท่อพีวีซี บรรจุนำ้ปูนขาวเพื่อลดการเกิดกลิ่น 1 ท่อ เชื่อมต่อกับสายยาง ส่งต่อ กับซึ่งต่อท่อที่พีวีซีอีกท่อซึ่งใส่ฝอยเหล็ก  เพื่อกรอง
3.ต่อสายยางมาสู่ ถังสองร้อยลิตร ใบใหญ่และ ถัง หนึ่งร้อยห้าสิบลิตรคว่ำ  บรรจุน้ำ สามส่วนสี่ของถัง ทำเช่นนี้ทั้งหมด สี่ ถัง
4.เชื่อมต่อด้วยสายยางลากเข้าสู่ครัว ต่อสายยางสู่หัวเตา

กระบวนการเกิดก๊าซชีวภาพ 1.ใช้มูลวัวสด 1 ส่วน
2.น้ำ 2 ส่วน
3.เหลือพื้นที่อีก 1 ส่วน
4.พักทิ้งไว้ประมาณ 20-30 วัน เติมเศษอาหาร อาทิ เศษผัก เศษผลไม้ หรือมูลสัตว์ทุกวัน วันละไม่เกิน สอง ลิตร เศษอาหารที่ยกเว้น คือ เปลือกมังคุด ทุเรียน เพราะ ย่อยสลายยาก และ ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว  หรือ อาหารจำพวก กระดูกสัตว์

5.เมื่อเกิดแก๊สชีวภาพ ถังเก็บสองร้อยลิตร จะลอยขึ้นพ้นระดับน้ำ (หากจุดไฟไม่ติด ให้ปล่อยทิ้ง และรอแก๊สรอบใหม่) 6.เปิดวาล์ลแก๊สเมื่อต้องการใช้ก๊าซปรุงอาหาร 7. เมื่อเกิดกากตะกอนมากขึ้น จนไม่สามารถเติมของเสียได้อีก เปิดวาล์วระบายตะกอนและน้ำหมัก นำไปผสมดินเพื่อทำปุ๋ย

แก๊สสาธิตวันนี้ชุดนี้เมื่อเกิดก๊าซแล้วสามารถ ใช้งานได้ครั้งละ 1 ชั่วโมง  สามารถ ประหยัดค่าใช้จ่ายได้ครัวเรือนได้

ประโยชน์ของก๊าซชีวภาพ ข้อที่ 1 กำจัดขยะอินทรีย์ในครัวเรือน ประโยชน์ของก๊าซชีวภาพ  ข้อที่ 2 ได้ก๊าซหุงต้ม  เพราะก๊าซชีวภาพ ประกอบด้วย  ก๊าซมีเทน และคาร์บอนไดออกไซต์ เป็นส่วนใหญ่ โดยมี แก๊ซอื่นๆ เช่น ไฮโดรเจนซัลไฟด์ และ ไนโตรเจนอีกเล็กน้อย  ก๊าซมีเทน ในก๊าซชีวภาพ ที่จุดไฟได้ สามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงปรุงอาหารได้
ประโยชน์ของก๊าซชีวภาพ  ข้อที่ 3 เป็นปุ๋ยชีวภาพ  ทั้งผสมดิน และ น้ำหมักชีวภาพ

ข้อควรระวัง

1.  อย่าใจร้อน ต้องปฏิบัติตามขั้นตอน และไม่เติมของเสียเข้าสู่ถังหมักเกินปริมาณที่กำหนด 2.  มูลสัตว์  ที่ใช้ในการเริ่มต้นระบบไม่ควรใช้มูลสัตว์ที่กินรำหยาบและใช้น้ำยาเคมีล้างคอก หรือผ่านการชะล้างน้ำแล้ว 3.  รักษาความเป็นกรด ด่าง ph ในถังให้อยู่ในช่วง 6.0 ถึง 7.5 สังเกตจากกลิ่นของน้ำล้นออกจากถังหากมีกลิ่นเปรี้ยวต้องหยุดเติมของเสียทันที รอจนกลิ่นเปรี้ยวหมดไป แล้วจึงเติมมูลสัตว์เหมือนตอนเริ่มต้นระบบ 4.  ป้องกันไม่ให้สารเคมีหรือสารยับยั้งจุลินทรีย์เข้าสู่ถังหมัก เช่น น้ำยาล้างจาน น้ำยาล้างห้องน้ำ เป็นต้น


          หลังจาก วิทยากรอธิบายจบก็ได้ นำอุปกรณ์ไปติดตั้งและ สาธิตการใช้งาน  และแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการติดตั้ง และได้ซักถามเรื่อง ประสบการณ์ต่างๆจากวิทยากร  เมื่อติดตั้งเสร็จสิ้นจึงเดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ


รอการติดตั้งโซลาเซล์จาก อาจารย์ สมพร จัดนิทรรศการพลังงาน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 100 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

ครัวเรือนนำร่อง100 คน
เยาวชน 20 - 30 คน ทีมงาน 12-15 คน
สำนักงานพลังงานจังหวัดสงขลา
กลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครหาดใหญ่
บอ มอ สถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้ เครือข่ายชุมชนจัดการขยะ 5  ชุมชน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

เตรียมมูลวัวไม่เพียงพอต่อการหมัก  ต้องเพิ่มอีก 5 กระสอบ

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

--

นักสืบน้อยตามรอยขยะ ออกติดตามประเมินผล ครั้งที่ 18 ธันวาคม 2557
8
ธันวาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสภาพแวดล้อมของชุมชนสะอาด เรียบร้อย น่าอยู่ อาศัย

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 4 ธันวาคม 2557  นัดเยาวชนที่ รร บ้านป้าพร  เพื่ออธิบายแผนกิจกรรมติดตามผลของเยาวชน วันที่ 8 ธันวาคม 2557  กิจกรรมติดตามผล ณโรงเรียนบ้านป้าพร วันที่ 29 ธันวาคม 2557 รายงานผลการติดตาม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

        ครูซาร่า แบ่งกลุ่มเยาวชน ออกเป็น 5 กลุ่ม แต่งตั้งประธาน และ เลขาเพื่อช่วยให้การทำงานเป็นระบบยิ่งขึ้น แล้วแจกใบประเมิน  พี่บี เปรมวดี  อธิบายถึงรายละเอียด วัตถุประสงค์  ของการติดตามผลการดำเนินการของเยาวชน และ อธิบาย รายละเอียดในใบประเมินของเยาวชน ครั้งนี้ให้น้องออกประเมินชาวบ้าน จำนวนกลุ่มละ 12 ชุด รวมทั้งสิน 60ชุดข้อมูล และ ประเมินตนเอง อีก  คนละหนึ่งชุด บวกเพิ่มอีก 22 รวมเป็น 82 ชุด  อีก 18 ชุด ได้ประเมิน ทีมงานโครงการ 15 คน และ อสม อีก 3 ท่าน  รวม ทั้งหมด 100 ชุด รายงานผลในวันที่ 29 ธันวาคม 2557 

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 26 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

ครูพี่เลี้ยง บอ มอ 2 คน คุณ ณัฐวุฒิ คงสุข  ครูกศน ทีมงาน  3  คน เยาวชน  22 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

เวลา สองชั่วโมง สั้นไปสำหรับการทำกิจกรรมนี้ จึง ปรึกษากับ ครูอาสา ว่าควรนัดน้องๆ ทำเพิ่ม อีก ในวันอาทิตย์ ที่ 12 ธันวาคม 2557

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

นำขยะเข้ากองทุนขยะสร้างสุขและเปิดร้านค้าสร้างสุข28 พฤศจิกายน 2557
28
พฤศจิกายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์

ลดปริมาณขยะ และ สร้างเสริมสวัสดิการชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เวลา  08.00 น.และ 12.00 น.ประชาสัมพันธ์ ผ่านเสียงตามสาย ให้สมาชิกเข้ามารับบริการฝากขยะรีไซเคิล
2. เวลา  12.00 น. จัดเตรียมสถานที่  โทรเช็คราคาขยะรีไซเคิลกับวงษ์พานิชคลองแห 3. เวลา  13.00 น. เปิดให้บริการรับฝากขยะรีไซเคิล 4. เวลา  18.00 น. วงษ์พานิชคลองแห มารับขยะรีไซเคิลที่กองทุนขยะสร้างสุข

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

        หลังจากการประกาศเสียงตามสายจบลงในเวลา 13.00 น ทางสมาชิกได้ทยอยนำขยะรีไซเคิลมาทำการฝาก กับ โครงการ เรื่อยๆ  ชาวบ้านบางคนถือ หลอดไฟ ถ่านไฟฉายติดมือมาด้วย เพื่อแลกไข่  แต่รอบนี้ไม่ได้แลกไข่  เพราะ ทางทีมงานตกลงกันว่า รับ อาทิตย์  เว้นอาทิตย์ เดือนละ สองครั้งนั้นเอง แต่ทีมงานรับไว้แล้วบันทึกไว้เพื่อ  รับไข่ครั้งต่อไป  และ มีแผนการจัดระเบียบ เพิ่มเติมเรื่องการจัดการด้านข้อมูล สถิติ ป้ายราคา ให้ชัดเจนขึ้น ข้อมูล ภาพโครงสร้างองค์กร  ให้ดูน่าเชื่อถือ และ จัดระบบ การให้บริการ ที่สะดวกมากขึ้น วันนี้ทางโรงงานนำใบเสนอราคาขยะ ใหม่มาให้ ทำเอาชาวป้อมหก แก้มปริ  อาทิ กระดาษลัง  4 บาท ต่อกิโลกรัม เรื่องราวขำๆ ที่มาการเปิดกองทุนขยะ  ก็เมื่อก่อน ตามหน้าบ้าน ข้างถนน และบริเวณต่างๆของชุมชนดูเหมือน เต็มไปด้วยขวด แก้วทั้งสีแดง สีขาวเต็มไปหมด  ตั้งแต่กองทุนขยะสร้างสุขป้อมหก ร่วมกับ โรงงานวงษ์พานิช คลองแห  รับซื้อ กิโล ละ บาท แทบจะไม่มีวางเกลื่อนกลาดให้เห็นเลย จากเมื่อก่อน มองไปในตะแกรง ที่รับบริจาคขวดแก้ว ก็ช่างเหงาเศร้า ไม่มีใคร นำขวดแก้วมาบริจาคเลย แต่ก็เป็นการดีที่คนรู้จักคุณค่าของขยะ  อีกเรื่องที่สร้างคุณค่าในวันนื้ ครูซาร่า มายืนมองๆ ขยะที่เรารับจากสมาชิก  แล้ว เล็งๆอยู่นาน  จึงเอื้อนเอ่ยกับทีมงานว่า  ซ่าจองชิ้นนั้น

นี่ซา จอง  ครูจับจองขยะไปหลายชิ้น  มีสิ่งหนึ่งที่ มองแล้วไม่น่าจะใช้การได้ นั่นคือ สมุดแค๊ตตาล็อก ผ้าม่าน พรม กระเบื้องยาง ซึ่งถ้าขายกับกองทุนก็ไม่รับ ขายโรงงาน  โรงงาน ก็ไม่รับ  แต่มีทางเดียวคือ ให้แกะสินค้าตัวอย่างออกถึงจะได้ เป็นกระดาษสี  ครูซาร่า  พี่ศิริพร ตั้งใจแกะ  ป้าพรช่วยด้วย  พี่บีก็ช่วย
ประ มาณ ยี่สิบเล่มได้  ครูซาร่า  ว่า  ซาขอให้เด็กๆ ทำงานประดิษฐ์    พี่บีก็ยังนึกไม่ออกว่า จะประดิษฐ์  อะไร  แต่พอ เด็กๆมาเห็น  ก็  เกิด สิ่งนี้  ขยะมหัศจรรย์  น่ารักมากคะ  เด็ก  มานั่งประดิษฐ์ ประดอย เป็นกรอบรูป  ออกมาสวยงาม  น่าชื่นชมอย่างยิ่งคะ

สรุปรายการ พลาสติกใส            11.5x 13  =  42.9

พลาสติกขุุ่น            1.5 x  22 =  33

พลาสติกรวม            10.5x8 =    84

พลาสติก กรอบ                2x3=  6

ท่อพีวีซี                        2x9 = 18

ขวดแก้ว                      155  x 5 = 155

เหล็กรวม                      13x7.2=93.6

กระป๋องนม                      4x4=16

เครื่องใช้ไฟฟ้า            9.5x5    =47.5

อลูมิเนียม กระป๋อง เบียร์  1x38  = 38

อลูมิเนียม หนา  11.5x8.2  =184.5

กระดาษสี          61.5x2=138

อลูมิเนียมบาง      0.5 x 43  =  21.5

กระดาษลัง            ุ63.5  x  4  =  254


รวม  1133  บาท

                                              สิ่งดีดีที่ได้จาก ขยะ

        ขยะ สิ่งเหลือทิ้ง ธรรมดา  กลับ  เป็นสื่อสร้างกระบวนการคิดของเยาวชน
                                เป็นส่วนหนึ่งของความคิดสร้างสรรค์
                            เป็นส่วนสำคัญของการสร้าง สมาธิ ศิลปะ
                                        จาก ศิลปิน ตัวน้อย

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 45 คน
ประกอบด้วย

1 .สมาชิกกองทุนขยะสร้างสุข

  1. ทีมงาน

  2. บัณฑิตอาสา

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

จัดบอร์ดประจำเดือน พฤศจิกายน25 พฤศจิกายน 2557
25
พฤศจิกายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.คุยกับเยาวชนเรื่องประเด็ดและข่าวสารสำคัญ
2.ค้นหารูปภาพ และ ทำแบบ ส่งงาน 3.ส่งงานให้เอกอุดม พริ้น ภาพ
4.น้องๆ ร่วมนำภาพมาติดที่บอร์ด

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

            เนื่องจากต้นเดือน ธันวาคม นี้เป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ครูซาร่านำน้องพูดคุยถึงเรื่องความสำคัญและพากันค้นหารูปภาพ  เพื่อส่งข้อมูลไปปริ้นที่ เอกอุดมพริ้นติ้ง  รับงานวันพุธ  จะได้นำมาจัดบอร์ดให้สวยงาม

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 22 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

กศน. 1 คน เยาวชน  15 คน ทีมงาน  5 คน ครูอาสา บอ,มอ.  2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

อบรมเชิงปฎิบัติการ สวนผักสร้างสุข21 พฤศจิกายน 2557
21
พฤศจิกายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสภาพแวดล้อมของชุมชนสะอาด เรียบร้อย น่าอยู่ อาศัย

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ึ7 พย  2557 เวลา 10.00 น ถึง 12.00 น  ประชุมทีมงาน เพื่อออกแบบกิจกรรม สวนผักสร้างสุข  และ ติดต่อวิทยากร

14 พย  2557  เวลา 10.00 น ถึง 12.30 น ออกเดินประชาสัมพันธ์ และสอบถามความต้องการเข้าอบรม และเข้าร่วม กิจกรรมสวนผักสร้างสุข

20 พย  2557  เวลา  14.00 น เดินทางไปรับก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า ณ ดวงดาว ฟาร์มเห็ด  บ้านพรุ จังหวัดสงขลา
21 พย 2557  เวลา 10.00 น  ถึง 12.00 น  อบรม สวนผักสร้างสุข

นัดพบครั้งต่อไป  วันศุกร์ที่ 12 พย 2557    เรื่องติดตามผลการดำเนินงาน และ อบรมการทำน้ำยาอเนกประสงค์จากน้ำหมักสับปะรด และ การเก็บน้ำมันพืชจากครัวเรือน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการเดินสำรวจในพื้นที่ชุมชน บริเวณ ณ ถัดอุทิศ ในวันที่ 14  พย 2557 พบว่า  ชาวบ้านที่อาศัยอยู่บ้านช่วงเวลา 10.00 น ถึง  12.30 น ส่วนใหญ่คือ ผู้สูงอายุ  แม่บ้าน  ผู้ป่วย  ผู้ ประกอบกิจการในครัวเรือน  ทางทีมงาน และบัณฑิตอาสาจึงเข้าไปทำการประชาสัมพันธ์และสอบถามข้อมูลการปลูกพืชสวนครัวในครัวเรือน พบว่า ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ ปลูกผักสวนครัวเล็กๆไว้บางส่วนของบ้าน เนื่องจาก สีเขียวทำให้รู้สึก สบายตา สบายใจ และ ได้เป็นอาหาร  หลายครัวเรือน ให้ข้อมูลว่า ชอบปลูกต้นไม้แต่ยังไม่กล้าปลูกผัก กินเองเพราะ ไม่ถนัด  เมื่อทางทีมงานสอบถามว่า สนใจเพาะต้นอ่อนทานตะวัน ถั่วงอก  เห็ดนางฟ้า และ ผักสวนครัวบ้างมั้ย โดยมีวิทยากรมาให้ความรู้ก่อน และ กลับไปปลูก หลังจากนั้นมานัด กันคุย และเล่าว่า ที่เราได้ปลูกนั้น มีผลอย่างไรบ้าง  เมื่อชาวบ้านได้ทราบว่ามีการสอนก่อนทำ และติดตามผล  ก็เริ่มสนใจ  และ ได้สั่งอุปกรณ์การปลูก
          หลังจากเก็บข้อมูลเรียบร้อย ทีมงานได้นำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อหาความสนใจของแต่ละครัวเรือน เพื่อให้ครัวเรือนนั้นๆ เป็นต้นแบบ ครัวเรือนของการปลูกสวนครัว ชนิดต่างๆ  เมื่อวันอบรมมาถึง  เวลา 10.05 นาที  เห็นครัวเรือนตัวเองเดินทางเข้ามาใกล้กองทุนขยะสร้างสุข  ทีมงานก็รู้สึกใจชื้นขึ้นมาทันที

            วิทยากรเดินทางมาถึง พร้อมอุปกรณ์สาธิต  คุณ เปรมวดี  ผอมเอียด ได้กล่าวทักทายผู้เข้าอบรม และแจ้งถึงวัตถุประสงค์ให้ทราบ และแนะนำวิทยากรให้กับที่ประชุมรู้จัก หลังจากนั้นก็ได้เรียนรู้ด้วยบรรยากาศที่เป็นกันเอง  เริ่มจาก  การเพาะถั่วงอกในขวด เรื่องง่ายๆ และเชื่อมโยงกับการจัดการขยะ  ในที่อบรม เต็มไปด้วยความอยากรู้ อยากเรียน และ เป็นคนต่างวัยก็ตาม บ้างก็เล่าประสบการณ์ที่สำเร็จ  บ้างก็ถามถึงสาเหตุของการความล้มเหลวที่ผ่านมา วิทยากรได้ขยายความและให้คำตอบจนหายข้องใจ  ต่อมาเรื่องการเพาะเห็ด  ซึ่ง อาจารย์ อุไรวรรณ โชติทอง ท่านเป็นข้าราชการเกษียรณ์ ครั้งนี้่ท่านได้สนใจ เข้าร่วมอบรมด้วยท่านสนใจเพาะเห็ดนางฟ้ามาก อยากทอลองเพาะเลี้ยง  ท่านมีบ้านไว้เป็นที่จอดรถ มีบริเวณ ครัว ที่ว่างมากพอที่จะจุเห็ด สอง สามร้อยก้อนแต่ท่าน อยากทำ 30 ก้อนนี้ให้เห็นผลก่อน เมื่อมีประสบการณ์ดีพอ ก็สามารถขยายเพิ่มได้ อีกท่านคือ ช่างพล  เป็นช่างซ่อมรถมอเตอร์ไซต์ อาศัยในซอยถัดอุทิศ  ไม่ค่อยว่างมาอบรม แต่ ก็นำล้อยางรถมอเตอร์ไซต์มากลับด้านแล้วใส่ดินปลูก ตะไคร้ไว้หน้าบ้าน  ก็ดูเขียวสดชื่นสบายตา  อีกแบบ  กลับมาที่การเพาะต้นอ่อนทานตะวัน  ทีมงานได้แบ่งให้แต่ละท่านที่เข้าอบรมไปลองเพาะดู โดยวิทยากรให้ความรู้จนเห็นภาพ และจากแววตาของผู้เข้าอบรม น่าจะทำได้  สอบถาม แลกเปลี่ยนพูดคุยสักระยะ หนึ่งก็ ได้ทำการนัดวันดูผลงาน และ อบรมเรื่องการเก็บน้ำมันจากครัวเรือน การทำน้ำยาอเนกประสงค์ ในครั้งต่อไป วันศุกร์ ที่ 12 ธันวาคม 2557  สำหรับครั้งนี้ กลับบ้านไปอย่างมีไฟ  พร้อมที่จะเพาะ และ ปลูก ร่วมสร้างหน้าบ้านให้น่าอยู่ด้วยการเพิ่มสีเขียวที่กินได้ให้หน้าบ้านตัวเอง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 25 คน จากที่ตั้งไว้ 25 คน
ประกอบด้วย

คุณครูจิ๋ม ศิริภรณ์ เหมมณี    นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร  อำเภอ หาดใหญ่

ครูซาร่า  นางสาว พารีซา ปาเซเลาะ  บัณฑิตอาสา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คุณ โสภา เพ็ชรรัตน์  ประธานกลุ่มสตรีชุมชนป้อมหก

คุณ สุภาพร ศุภารัตน์  อสม ชุมชนป้อมหก

คุณ ดี  กัมพูชา  จิตอาสาชาวต่างชาติในชุมชนป้อมหก

ทีมงานโครงการ  6 ท่าน

ผู้เข้าอบรม 18 ท่าน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

นำขยะเข้ากองทุนและเปิดร้านค้าสร้างสุข21 พฤศจิกายน 2557
21
พฤศจิกายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อส่งเสริมการคัดแยกขยะรีไซเคิล และ เพื่อให้เกิดสวัสดิการชุมชนผ่านการจัดการขยะ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เวลา  08.00 น.และ 12.00 น.ประชาสัมพันธ์ ผ่านเสียงตามสาย ให้สมาชิกเข้ามารับบริการฝากขยะรีไซเคิล
2. เวลา  12.00 น. จัดเตรียมสถานที่  โทรเช็คราคาขยะรีไซเคิลกับวงษ์พานิชคลองแห 3. เวลา  13.00 น. เปิดให้บริการรับฝากขยะรีไซเคิล 4. เวลา  18.00 น. วงษ์พานิชคลองแห มารับขยะรีไซเคิลที่กองทุนขยะสร้างสุข

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

              ทีมงานได้รับการแจ้งข่าวจาก ทีมงานของวงษ์พานิชในวันนี้ว่า จะเข้ามารับขยะรีไซเคิลล่าช้าเนื่องจากติดรายการอีกหนึ่งที่จะเข้ามารับของกองทุนขยะสร้างสุขเมื่อ
เวลา 18.00-18.30 น.  ทำให้ทีมงานและบัณฑิตอาสา  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้คุยกันว่าในวันนี้จะให้เยาวชนได้นำขยะมาเข้ากองทุนด้วยเนื่องจาก กว่ารถจะมารับก็เป็นเวลาที่เยาวชนป้อมหกเลิกเรียนแล้ว  จึงได้ออกแบบว่า  ควรให้เยาวชนเป็นสมาชิกเพื่อรับสวัสดิการชุมชนเหมือนกับผู้ใหญ่ด้วย

            13.00 น เปิดรับขยะรีไซเคิลตามปกติ วันนี้พิเศษ คือ ทางร้านค้าสร้างสุขชุมชนป้อมหก  จัดรายการ นัดพบขยะอันตราย  วันนี้  มีกิจกรรม ขยะอันตรายแลกไข่ไก่  มีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมและนำขยะอันตราย มา ณ กองทุนขยะควบคู่ ไปกับ การนำขยะรีไซเคิลมาเพื่อการออม  บรรยากาศเต็มไปด้วยความสนุกสนาน เบิกบานใจอย่างต่อเนื่อง    เนื่องจากช่วงเช้าอบรมสวนผักสร้างสุข สมาชิกกองทุนและผู้สนใจเข้ามาร่วมอบรม  พอตอนบ่าย ดูเหมือนว่าดินแดนแห่งนี้ ขยะ ทุกสิ่งทุกอย่างมันช่างมีความหมายเหลือเกินแม้แต่ขยะที่ไม่ควรไว้ในบ้านก็ยังนำมาแลกเป็นอาหารมื้อเย็นได้  ทำไมดินแดนนี้ช่างแสนสุขเหลือเกิน  พอตกเย็น เวลา 16.30 น น้องๆ เลิกเรียนก็ได้มาพบกันที่ศูนย์บ่มเพาะเยาวชนบ้านป้าพร  ครูซาร่าได้แจ้งน้องๆว่าให้ไปดูว่าที่บ้านของตัวเองนั้นมีขยะรีไซเคิลบ้างหรือไม่ เพื่อนำมาเปิดบัญชีกับกองทุนขยะสร้างสุข และรับสวัสดิการชุมชนร่วมกัน มีน้อง สามคนที่พร้อมจะนำขยะรีไซเคิลมาเปิดบัญชี  ส่วนคนอื่นๆ แจ้งครูว่า จะนำมาในวันศุกร์หน้า วันนี้ลองให้น้องจอยเข้ามามีบทบาทในการทำงานร่วมกับทีมงานหลัก  เพราะมองว่าวันหนึ่งเยาวชนเหล่านี้จะมีโอกาสมาทำหน้าที่แทนหรือ เปิดกลุ่มเล็กๆขึ้นบริหารจัดการกันเองตามแบบฉบับของเยาวชน

สรุปรายการ

พลาสติกใส                      12.8x13                                                    166.4

พลาสติกรวม                    13.4x8                                                    107.2

พลาสติกขุ่น                      5x22                                                        110.0

กระดาษสี                        18.7x2                                                        37.4

กระดาษลัง                        24.5x3.70                                                  88.8

เหล็ก                                9.6 x7                                                        16.6

เครื่องใช้ไฟฟ้า                      3x5                                                          15.0

อลูมิเนียม                          0.8x38                                                        30.4

กระป๋องเบียร์                      0.4x38                                                          15.2

ขวดบรรจุลัง                        1x9                                                              9.0

สังกะสี                                4.4 x4                                                          17.6

ขวดแก้ว                            120                                                              120

รวม                                                                                                    759.50


สิ่งดีๆ ที่ได้จากขยะวันนี้

                      ขยะ สอนให้เรารู้จักทำงานอย่างเป็นระบบ

ขยะสอนให้เรา คิดสิ่งที่สร้างสรรค์  ทำอะไรได้แปลกใหม่ โดยไม่ต้องสนใจว่า เราจะได้กำไรหรือ ขาดทุน

              เพราะเพียงแค่คิดและลงทำสิ่งดีๆ  นั่นก็คือ กำไร มหาศาล
เมื่อเยาวชนได้ทำกิจกรรมบ่อยๆ  ก็ย่อมห่างไกลจากสิ่งยั่วยุจากสังคมภายนอกนั่นเอง

            ทั้งหมดนี้เกิดจาก  คุณค่าของขยะ เพราะเชื่อว่า ขยะ คือสิ่งมหัศจรรย์

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 35 คน จากที่ตั้งไว้ 45 คน
ประกอบด้วย

ปิดตลาดนัดในพื้นที่ริมทางรถไฟ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อรับขยะจากชุมชนทั้งในรูปแบบซื้อจากสมาชิกในชุมชนผ่านธนาคารขยะและการขอบริจาคขยะจากสมาชิกในชุมชนป้อมหก,โรงพยาบาลหาดใหญ่,ตลาดสดเทศบาลนครหาดใหญ่และชุมชนใกล้เคียง เพื่อเข้าเป็นกองทุนขยะชุมชนป้อมหก เพื่อนำไปสู่สวัสดิการชุมชน เช่น ร้านค้าศูนย์บาท,ขยะแลกปุ๋ย,ขยะแลกผัก,ขยะแลกพันธุ์ไม้ ฯ

ทีมงาน  5 คน บัณฑิตอาสา  5 คน ทีมงานจากโรงงานวงษ์พานิช  คลองแห  6  คน สมาชิก กองทุนขยะสร้างสุข 22 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

นำขยะรีไซเคิลเข้ากองทุน14 พฤศจิกายน 2557
14
พฤศจิกายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อส่งเสริมการคัดแยกขยะรีไซเคิล และ เพื่อให้เกิดสวัสดิการชุมชนผ่านการจัดการขยะ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. เวลา  08.00 น.และ 12.00 น.ประชาสัมพันธ์ ผ่านเสียงตามสาย ให้สมาชิกเข้ามารับบริการฝากขยะรีไซเคิล
  2. เวลา  12.00 น. จัดเตรียมสถานที่  โทรเช็คราคาขยะรีไซเคิลกับวงษ์พานิชคลองแห
  3. เวลา  13.00 น. เปิดให้บริการรับฝากขยะรีไซเคิล
  4. เวลา  18.00 น. วงษ์พานิชคลองแห มารับขยะรีไซเคิลที่กองทุนขยะสร้างสุข
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เมื่อสมาชิกได้ยินเสียงประชาสัมพันธ์ ก็ทำการเตรียมคัดแยกใส่ถุงย่อยๆตามประเภทขยะเพื่อเพิ่มมูลค่าของขยะรีไซเคิล  เมื่อเวลา 13.00 น  ก็ได้ทยอยกันมายังกองทุนขยะสร้างสุข ซึ่งมีทีมงานรอให้บริการอยู่แล้ว การเรียนรู้การคัดแยกอย่างละเอียดเกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อ มาถึงกองทุนขยะ  เพราะทีมงานได้แยกอีกครั้งและพูดอธิบายให้สมาชิกได้ฟังว่า  แยกอย่างไรถึงจะได้ราคาดี และ ประหยัดพื้นที่ของสมาชิก ถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างสมาชิกและ ทีมงาน  บรรยากาศนี้นอกจากเป็นภาพที่สะท้อนออกมาของเรื่องราวของขยะแล้ว  ยังเป็นช่วงเวลาดีๆที่คนเมือง ได้มีโอกาสได้กระชับมิตร  ได้ออกมาพบปะแลกเปลี่ยนพูดคุยกัน  ขยะนี่ก็เป็นเรื่องมหัศจรรย์  เพราะทำให้คนที่ไม่เคยรู้จักกัน ได้มาคุยกัน  และทำให้คนที่รู้จักกันแล้ว ได้มาสร้างรอยยิ้มให้กัน  แม้มูลค่าของขยะในวันนี้อาจเพียงเล็กๆน้อยๆ  ไม่กี่สิบบาท  แต่สิ่งที่ได้กลับไปมากกว่าเงินที่ได้  อย่างน้อย ก็การพบปะในวันนี้ก็เกิดจากการคัดแยก ถือเป็นการจัดการขยะที่ต้นทาง ส่งผลมาสู่การออมของสมาชิกเอง อีกทั้งเป็นวงสนาเล็กๆที่ได้มาสร้างมิตรแลกเปลี่ยนพูดคุยกัน ที่สำคัญ เกิดการลดความเครียด และสร้างความสุขแก่ชุมชน

สรุปยอดวันนี้  สมาชิกเกิดการออมร่วมกัน 1,317 .60บาท  ซึ่งประกอบด้วย การฝากขยะของสมาชิกกองทุนขยะสร้างสุข 989.60 บาท  และเกิดจากการจำหน่ายขวดแก้วที่ขอรับบริจาคจากชาวบ้านเพื่อสนับสนุนกิจกรรม eco kids จำนวน 328 .0 บาท  รวม 1,317.60 บาท ซิ่งยอดรวมการออม จากวันเปิดถึงวันนี้  มียอดรวม เท่ากับ 5,745.85 บาท
สรุปยอดรายการขยะที่รับวันนี้

รายการ                          จำนวนกิโลกรัม                                    จำนวนเงิน  บาท

พลาสติกใส                      12.1x13                                                    157.3

พลาสติกรวม                    12.6x8                                                    100.8

พลาสติกขุ่น                      3.6x22                                                      79.2

กระดาษสี                        38.4x2                                                        76.8

กระดาษลัง                        45.4x4                                                      181.6

pvc                                  5.4x9                                                        48.6

เหล็ก                                38x7                                                        266.0

เครื่องใช้ไฟฟ้า                      3x5                                                          15.0

อลูมิเนียม                          0.4x43                                                        17.2

กระป๋องเบียร์                      0.8x38                                                          30.4

ขวดบรรจุลัง                        1x9                                                              9.0

สังกะสี                              8.5x4                                                            34.0

รวม                                                                                                    1317.6


                          สิ่งดีๆ ที่ได้จากขยะวันนี้

                      ขยะสามารถ เอื้อประโยชน์ให้กับผู้เห็นคุณค่า  นั่นคือ

ขยะที่สมาชิกคัดแยก จะส่งผลต่อการออม การสร้างรายได้และ ลดรายจ่ายของครัวเรือน

ส่วนผู้ที่บริจาคขยะก็จะได้ความสุขใจที่ ได้เห็นเยาวชน ลูกหลานของชุมชน ได้ทำกิจกรรมต่างๆอย่างมีความสุข

เมื่อเยาวชนได้ทำกิจกรรมบ่อยๆ  ก็ย่อมห่างไกลจากสิ่งยั่วยุจากสังคมภายนอกนั่นเอง

            ทั้งหมดนี้เกิดจาก  คุณค่าของขยะ เพราะเชื่อว่า ขยะ คือสิ่งมหัศจรรย์

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 35 คน จากที่ตั้งไว้ 45 คน
ประกอบด้วย

เปิดตลาดนัดในพื้นที่ริมทางรถไฟ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อรับขยะจากชุมชนทั้งในรูปแบบซื้อจากสมาชิกในชุมชนผ่านธนาคารขยะและการขอบริจาคขยะจากสมาชิกในชุมชนป้อมหก,โรงพยาบาลหาดใหญ่,ตลาดสดเทศบาลนครหาดใหญ่และชุมชนใกล้เคียง เพื่อเข้าเป็นกองทุนขยะชุมชนป้อมหก เพื่อนำไปสู่สวัสดิการชุมชน เช่น ร้านค้าศูนย์บาท,ขยะแลกปุ๋ย,ขยะแลกผัก,ขยะแลกพันธุ์ไม้ ฯ

ทีมงาน  5 คน บัณฑิตอาสา  5 คน ทีมงานจากโรงงานวงษ์พานิช  คลองแห  6  คน สมาชิก กองทุนขยะสร้างสุข 22 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ตลาดนัดขยะรีไซเคิล และ เปิดบริการร้านค้าศูนย์บาทประจำเดือนพฤศจิกายน12 พฤศจิกายน 2557
12
พฤศจิกายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อส่งเสริมการคัดแยกขยะรีไซเคิล และ เพื่อให้เกิดสวัสดิการชุมชนผ่านการจัดการขยะ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. เวลา  08.00 น.และ 13.00น.ประชาสัมพันธ์ ผ่านเสียงตามสาย ให้สมาชิกเข้ามารับบริการฝากขยะรีไซเคิล
  2. เวลา  12.00 น. จัดเตรียมสถานที่  โทรเช็คราคาขยะรีไซเคิลกับวงษ์พานิชคลองแห
  3. เวลา  13.00 น. เปิดให้บริการรับฝากขยะรีไซเคิล
  4. เวลา  18.00 น. วงษ์พานิชคลองแห มารับขยะรีไซเคิลที่กองทุนขยะสร้างสุข
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันนี้เนื่องจากช่วงเช้ามีกิจกรรมการลงสำรวจพื้นที่ชุมชมเพื่อการอบรม สวนผักสร้างสุขในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2557 ทำให้เปิดกองทุนขยะล่าช้าไป 1 ชั่วโมง แต่ทางทีมงานได้ประกาศผ่านเสียงตามสายให้สมาชิกทราบแล้ว  เมื่อเวลา 14.00 น. จึงได้เปิดดำเนินการปกติ

  สรุปยอดวันนี้  สมาชิกเกิดการออมร่วมกัน 674 บาท  ซึ่งประกอบด้วย
สรุปยอดรายการขยะที่รับวันนี้

รายการ                          จำนวนกิโลกรัม                                    จำนวนเงิน  บาท

พลาสติกใส                      16.7x13                                                    217.1

พลาสติกรวม                    16.1x8                                                    128.8

พลาสติกขุ่น                      4.2x22                                                      92.4

กระดาษสี                        2.6x2                                                          5.2

กระดาษลัง                      8x3.70                                                        29.6

เหล็ก                                12.8x7                                                        96.0

อลูมิเนียม                          2.2x35                                                        77.0

กระป๋อง                          0.8x4                                                              3.2

ขวดบรรจุลัง                        1x9                                                              9.0


รวม                                                                                                    674.6


                          สิ่งดีๆ ที่ได้จากขยะวันนี้

              ขยะ นำพาคนมาทำสิ่งดีๆร่วมกัน  นั่นคือ

      ตั้งแต่เราทำโครงการขยะ เราใช้ขยะเป็นเครื่องมือสู่การรวมกลุ่มคน
  ซึ่งการรวมกลุ่มคนในเมืองไม่ใช่เรื่องง่าย  แต่เราได้เริ่ม และค่อยๆทำมันให้เกิดขึ้น

                      เพราะเชื่อว่า ขยะ คือสิ่งมหัศจรรย์

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 35 คน จากที่ตั้งไว้ 45 คน
ประกอบด้วย

ทีมงาน  5 คน บัณฑิตอาสา  5 คน ทีมงานจากโรงงานวงษ์พานิช  คลองแห  6  คน สมาชิก กองทุนขยะสร้างสุข 22 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และจัดทำรายงานปิดงวด1 โครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ ภาคใต้ปี 2557 รุ่น1(ภาคใต้ตอนล่าง 7 จังหวัด ได้แก่ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลา พัทลุง สตูล และตรัง1 พฤศจิกายน 2557
1
พฤศจิกายน 2557รายงานจากพี่เลี้ยง โดย อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อจัดทำรายงานปิดโครงการ งวด 1

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-จัดทำรายงานปิดงวด 1 เช่น ดูความถูกต้องรายงาน ง1 ,ส1,ส2
-ตรวจสอบหลักฐานการเงิน บิลค่าใช้จ่าย -การบันทึกกิจกรรมในเว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้รับผิดชอบโครงการ มีความเข้าใจในการจัดทำรายงาน เนื่องจากเป็นโครงการในปีที่ 2 จึงมีความคล่องแคล่วในการใช้ระบบฐานข้อมูลในเว้ปไวต์ คนใต้สร้างสุข

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 5 คน จากที่ตั้งไว้ 5 คน
ประกอบด้วย

-ผู้รับผิดชอบโครงการ

-เจ้าหน้าที่ สจรส.มอ.

-พี่เลี้ยงติดตามโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และจัดทำรายงานปิดงวด1 โครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ ภาคใต้ปี 2557 รุ่น1(ภาคใต้ตอนล่าง 7 จังหวัด ได้แก่ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลา พัทลุง สตูล และตรัง1 พฤศจิกายน 2557
1
พฤศจิกายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อจัดทำรายงานปิดงวด 1 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

นายณรงค์ ชูเรืองสุข ผู้รับผิดชอบโครงการเข้าร่วมและจัดทำเอกสารรายงานปิดงวด 1

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สามารถจัดทำรายงาน และนำส่งรายงานปิดงวด 1 ได้ครบถ้วน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 1 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการ 

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นส.อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

อบรมการทำบัญชีครัวเรือน29 ตุลาคม 2557
29
ตุลาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการรู้จักการบันทึกรายรับ รายจ่าย และจัดทำบ้ญชีในครัวเรือน
2.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการรู้จักการวางแผนใช้จ่ายซึ่งจะช่วยให้สถานการณ์ทางการเงินดีขึ้น

3.เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-10 ตุลาคม 2557 ทางทีมงานส่งหนังสือเชิญวิทยากร โดยส่งแฟกซ์  เพื่อฝึกอบรมกลุ่มชาวบ้านนำร่องชุมชนป้อมหกในวันที่ 17 ตุลาคม 2557

-16 ตุลาคม 2557 วิทยากรแจ้งขอเลื่อนการอบรมการทำบัญชีครัวเรือนออกไปเป็นวันพุธที่ 29 ตุลาคม 2557

-24 ตุลาคม 2557 ทีมงานได้ขอความอนุเคราะห์ใช้ห้องประชุมสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครหาดใหญ่ผ่าน คุณพรรณี บัวจีน  หัวหน้ากลุ่มงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

-25-29 ตุลาคม 2557 ทีมงานได้เชิญชวนชาวชุมชนป้อมหกและเครือข่ายมาอบรมการทำบัญชีครัวเรือน ผ่านสื่อต่างๆ อาทิ  ใบปลิว  เสียงตามสาย และ สถานีวิทยุ มอ 88

-29 ตุลาคม 2557  อบรมเรื่องการทำบัญชีครัวเรือน ณ ห้องประชุม สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครหาดใหญ่

29 กุมภาพันธ์ 2558 นัดติดตามผล

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

      เมื่อเวลา 09.00 น ทีมงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อมและพี่ๆ ทีมงานได้ทยอยกันมารอที่หอประชุม ด้วยความใจดีของป้าต้อย ป้าต้อยได้เตรียมอุปกรณ์ต่างๆมาพร้อมไม่ว่าจะเป็นจานช้อน กระติกน้ำร้อน พร้อมบริการ เมื่อทีมงานเดินทางมาถึงก็ได้ ช่วยกันบริการผู้ที่เข้ารับการอบรมในครั้งนี้ วิทยากรเดินทางมาถึงห้องประชุมในเวลาที่นัดหมาย ก็ได้เก็บข้อมูลเบื้องต้นของผู้เข้าอบรมในวันนี้  ทุกคนลุ้นกันอยู่ว่า  การทำบัญชีน่าจะเป็นเรื่องยากสำหรับเรา เพราะขณะนี้เรายังไม่มีความเข้าใจ  มีแต่ความกลัว กลัวจะทำไม่ได้ ต่อมาวิทยากรได้เริ่มแจก หนังสือมาหนึ่งเล่ม พร้อมกระดาษมาอีก 2-3 แผ่น  แล้วค่อยๆเริ่มอธิบาย ความสำคัญของการทำบัญชีครัวเรือน แล้วค่อยๆ อธิบายแบบฟอร์ม  อย่างค่อยเป็นค่อยไป  สีหน้าอาการผู้เรียนดูเหมือนยังคงวิตกกังวล แต่เมื่อวิทยากรบอกว่า ไม่ต้องมองในสมุดบันทึกก่อนให้ดูที่สไลด์ก่อนจะได้เข้าใจแล้วจะมีโจทย์ตัวอย่างให้ฝึกหลังจากดูสไลด์นี้เสร็จ  ทุกคนทิ้งความกังวลไว้ที่สมุดบันทึกแล้วหันไปมองที่กระดาน ตอบคำถามบ้าง บางคนลืมแว่นตาต้องยายมุมมาใกล้ๆ จอ  ก็ส่วนใหญ่เพราะไม่บ่อยนักที่เราจะจัดกิจกรรมแบบเชิงวิชาการอย่างนี้ แต่ทุกคนก็ดุเริ่มจะสนใจมากขึ้น ฟังจากการตอบคำถาม ที่เริ่มดังขึ้น ดังขึ้น ไม่ขาดสาย  เมื่อวิทยากรบรรยายในส่วนของสไลด์จบก็ได้ให้ทุกคนได้ทดลองทำตามโจทย์และลงแบบฟอร์ม โดยวิทยากรทั้งสามท่านคอยให้การติดตาม เป็นคนต่อคน  เลย เป็นสิ่งที่ดีมากเลย  รู้สึกได้ถึงการเอาใจใส่และผู้อบรมก็สามารถสอบถามข้อกังวลใจได้อย่างใกล้ชิด อีกบรรยากาศหนึ่งที่เห็นแล้วยิ่งประทับใจนั่นคือ ภาพของเพื่อนแนะนำเพื่อน พี่แนะนำน้อง หรือ คนข้างๆช่วยดูช่วยแนะ  เห็นแล้วนึกถึงสมัยเรียนหนังสือไม่ได้  อาจารย์ กับลูกสิทธิ์ เพื่อนติวเพื่อนประมาณนี้  กำแพงความคิดเรื่องบัญชีค่อยๆถูกทะลายลงที่ละนิด ทีละนิดแล้ว เปลี่ยนเป็นความเข้าใจเพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้น มีเสียงหัวเราะกันบ้าง หาที่ลบคำผิดบ้าง หรือไม่ก็ เรียกหาเครื่องคิดเลขบ้าง  เป็นภาพของการทำบัญชีที่มีความสุข  นอกจากวิทยากรจะสอนอย่างเข้าใจง่ายและชาวบ้านอย่างเรา สามารถทำได้จริง แล้ว ก็ยังคงมีการทำบัญชีต้นทุน ซึ่งเหมาะกับผู้เข้าร่วมประชุมที่ประกอบอาชีพค้าขายอีกด้วย วิทยากรกล่าวชื่นชมผู้เรียนว่าส่วนใหญ่สามารถเรียนรู้ได้เร็ว และ ให้ข้อคิดดีๆจากการทำบัญชีครัวเรือนว่านอกจากจะได้รู้ว่าเราใช้จ่ายอะไรไปบ้างแล้วนั้น ยังเป็นเครื่องเตือนความจำอีกด้วยเนื่องจากการบันทึกจะช่วยให้เราวิเคราะห์เหตุุการณ์ต่างๆ และ จะได้รู้คุณค่าของการใช้จ่ายเงิน และการหาวิธีเพิ่มรายได้  นั่นคงจะ หมายความถึง การลดรายจ่ายเพื่อ เพิ่มรายได้แก่ครัวเรือน นั่นเอง ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  คือ หลักเศรษฐกิจพอเพียง นั่นเอง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 58 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

-วิทยากรและเจ้าหน้าที่ 4 คน

-ทีมงาน 10 คน

-กลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อม  6 คน

-ชาวชุมชนป้อมหก  30 คน

-ชุมชนเครือข่าย 8 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

  -

จัดบอร์ด ประจำเดือน ตุลาคม25 ตุลาคม 2557
25
ตุลาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์

1 .เพื่อให้ฝิกการทำสื่อของเยาวชน 2. เพื่อประชาสัมพันธ์ข่าวสารแก่ชาวชุมชนในด้านสิ่งแวดล้อมและข่าวสารอื่นๆ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมหารือ ระหว่าง เยาวชน  ครูอาสา และทีมงานเรื่องข่าวที่น่าสนใจด้านสิ่งแวดล้อม แล้วนำมาจัดบอร์ดความรู้ให้ชาวบ้านได้รับทราบข่าวสาร

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันที่ 20 ตุลาคม 2557 ทีมงานและเยาวชนได้ทำการหารือว่า เราจะได้ข่าวสารที่น่าสนใจผ่านสื่อใดได้บ้าง น้องๆบอกว่าไม่ค่อยได้ดูทีวีแต่เรามีโทรศัพท์หรือ เฟส ที่เราเปิดดูทุกวัน  เอาข่าวจากเฟสได้หรือป่าว คำตอบคือได้  แต่ข่าวสารนั้นต้องเชื่อถือได้และ เกี่ยวข้องกับ การจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม  น้องๆจึงได้ช่วยกันหาข่าว แต่อย่างไรก็ตาม พี่บี และครูซาร่าก็ดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อให้คำแนะนำในการบริโภคสื่อ  น้องๆได้ช่วยกันวิเคราะห์ว่า เราจะ นำมาจัดบอร์ดได้อย่างไร ถ้าพริ้นข่าวแล้วจัดในช่วงนี้น่าจะ เสียหายเนื่องจากเป็นหน้าฝน แม้ใช้พลาสติกคลุมก็เอาไม่อยู่ จึงให้คำแนะนำว่า เราใช้ไวนิลดีหรือไม่ แต่น้องๆต้องช่วยกันออกแบบไวนิลนะ

เรื่องแรกที่น่าสนใจ คือ กรมอนามัยเตือนภัย การใช้โฟมบรรจุอาหารเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม  แหล่งข่าวจาก คอลัมป์สุขภาพของสำนักข่าว เดอะเนชั่น

เรื่องทีสอง ระยะเวลากับการย่่อยสลายของขยะประเภทต่างๆ  จาก มูลนิธิการจัดการทรัพยากร อย่างยั่งยืน

เรื่องที่สาม เป็นเรื่อง เกี่ยวกับการความสุขจากการร่วมแรงร่วมใจจากชุมชน  แหล่งข่าวจาก หนังสือ sook creative happiness issue no.23 / october 2014

สามเรื่องของเดือนตุลาคมนี้น่าสนใจมาก ขณะนี้กำลังรอพี่ๆที่เอกอุดมปริ้นไวนิลมาให้จะกลับมาลงภาพใหม่อีกครั้ง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

-เยาวชนป้อมหก 15 คน

-ทีมงาน 3 คน

-ครูอาสาจาก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

เปิดกองทุนขยะสร้างสุข ชุมชนป้อมหก24 ตุลาคม 2557
24
ตุลาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์

1.เพื่อส่งเสริมการคัดแยกขยะรีไซเคิล

2.เพื่อให้เกิดสวัสดิการชุมชนผ่านการจัดการขยะ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วิธีการ เปิดตลาดนัดในพื้นที่ริมทางรถไฟ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อรับขยะจากชุมชนทั้งในรูปแบบซื้อจากสมาชิกในชุมชนผ่านธนาคารขยะและการขอบริจาคขยะจากสมาชิกในชุมชนป้อมหก,โรงพยาบาลหาดใหญ่,ตลาดสดเทศบาลนครหาดใหญ่และชุมชนใกล้เคียง เพื่อเข้าเป็นกองทุนขยะชุมชนป้อมหก เพื่อนำไปสู่สวัสดิการชุมชน เช่น ร้านค้าศูนย์บาท,ขยะแลกปุ๋ย,ขยะแลกผัก,ขยะแลกพันธุ์ไม้ ฯ

กระบวนการ

1.รับสมัครสมาชิกกองทุนขยะ

2.แจ้งข้อตกลงร่วมกัน โดยข้อตกลงมีดังนี้

-สมาชิกจะต้องเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนป้อมหกเท่านั้น

-สมาชิกจะต้องคัดแยกขยะจากครัวเรือนก่อนนำมาฝากธนาคารขยะหรือบริจาคให้กองทุนขยะชุมชนป้อมหก

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

หลังสิ้นเสียงประชาสัมพันธ์จากทีมงานโครงการ สมาชิกกองทุนขยะสร้างสุขก็ทยอยนำขยะรีไซเคิลที่คัดแยกจากครัวเรือนออกมายังที่ทำการกองทุนขยะสร้างสุขตามเวลาที่นัดหมายกันไว้ นั่นคือ 13.00 น ที่บ้านใกล้ก็หอบหิ้วกันมา ที่บ้านไกลก็ได้ใช้บริการรถพ่วงชุมชนขนขยะรีไซเคิลกันมาไม่ขาดสาย  เมื่อมาถึงยังที่ทำการ สมาชิกก็ได้ยื่นหนังสือกองทุนขยะสร้างสุขให้กับเจ้าหน้าที่เพื่อบันทึก  ทีมงานกองทุน ก็คอยอำนวยความสะดวกเรื่องการคัดแยกอีกครั้งก่อนขึ้นตราชั่งเพื่อให้ได้เงินสะสมได้มากที่สุด  ทั้งทีมงานและสมาชิกคัดแยกไปด้วย อธิบายไปด้วย ส่วนเรื่องการเทียบราคาวันนี้ก่อนเริ่มกองทุนทีมงานได้ประสานเช็คราคา กับ ร้าน วงศ์พานิชคลองแห เป็นที่เรียบร้อยแล้ว  ส่วนน้ำมันพืชใช้แล้วยังคงอยู่ที่ ราคา 14 บาทเช่นเดิม  ระหว่างที่ชั่งขยะไป ทีมงานก็ให้ความรู้สวัสดิการกองทุนไปด้วย  มีคำถามหรือข่าวสารต่างๆ ก็นำมาแลกเปลี่ยนพูดคุยกัน  นี่เป็นอีกช่องทางหนื่งที่ทำให้คนเมืองได้มีโอกาสพูดคุยกันบ้าง เพราะคนเมืองส่วนให้มักจะไปทำงาน กลับมาก็เข้าบ้านเปิดทีวี บางทีบ้านใกล้เรือนเคียงกันแต่ไม่เคยได้ทักทายพูดจาปราศัยกัน  แต่สำหรับที่นี่ นี่เป็นช่องหลังสำคัญที่ค่อย จูนคนเมืองให้ได้คุยกันมากขื้น แลกเปลี่ยนรอยยิ้ม กันมากขึ้น  ขยะนี่ก็มหัศจรรย์เป็นยารักษาโรคได้หลายอย่าง
แก้โรค อด  ลดโรคเครียด  สร้างสังคมเล็กๆให้มาเป็นมิตร  และ เพิ่มพื้นที่บ้านให้กว้างขึ้นเมื่อนำขยะไปเข้ากองทุน  สมาชิกหลายคนบอกว่า ดีเหมือนกันนะ  ได้เครียบ้านสัปดาห์ละครั้ง  แต่ทีมงานโครงการกลับบอกว่าดีได้เครียขยะออกจากชุมชน
ส่วนเด็กๆ ก็เดินเวียนเดินวนอยู่กับลังขนม  อยากกินหรอ  ไปเอาขยะมาแลกซิ  เพียงไม่ถึงห้านาที เดินกลับมาแล้วพร้อมถุงขยะรีไซเคิล 1 ถุง  ตามกำลังที่น้องพอจะถือมาได้  ทีมงานยิ้ม บางคนได้พลาสติกใสมา 1 กิโลกรัม ได้ สิบสี่บาท พอกับขนมสัก ห่อสองห่อ  แต่ตัวเล็กที่ถือมามีขวดน้ำพลาสติกใสมาสัก 7-8 ใบ ชั่งได้ 1 ขีด นี่สิ ทีมงานอมยิ้มแต่ต้องให้ขนมห่อเล็ก ราคา ห้า บาทไป  เพราะเห็นแก่ความตั้งใจของน้องๆไม่ได้  บางคนหอบหิ้วกระสอบกระเตงกันมาพะรุงพะรัง  พอมาถึง ได้ดื่มน้ำดื่มท่าพอสดชื่นก็เข้ามาคิดมาชั่งกัน  เป็นภาพประทับใจที่ทีมงานกองทุนอยากเห็นเป็นอย่างยิ่ง  จนเวลาล่วงเลยมาถึง  15.30 น  คุณสิทธิ์ วงษ์พานิชคลองแห ขับรถกระบะมาถึงพอดี  ก็ได้ทำคัดเทใส่กระสอบใหญ่ ขึ้นชั่ง  การทำงานแบบววันเดียวเบ็ดเสร็จแบบดี มีผลดีต่อทีมงาน คือ เช็คราคาวันต่อวัน  ไม่เปลืองสถานที่ ไม่เสี่ยงต่อการขึ้นลงของราคา สร้างความน่าเชื่อถือแก่สมาชิกอีกด้วย  คุณสิทธิและทีมงานอีกสองคน  แนะนำทีมงานไปด้วย ชั่งขยะไปด้วย  บอกกับทีมงานว่าหากต้องการให้มาอบรมเรื่องการเพิ่มมูลค่าให้ขยะรีไซเคิลก็ให้แจ้งมาได้ ทางทีมงานและคุณสิทธิ์  ยินดีให้ข้อมูล  ก่อนจากกันไปคุณสิทธิ์หันไปดูตะแกรงรับบริจาคขวดเพื่อสมทบ กิจกรรม Eco kids  ถึงกับกล่าวชื่นชม เพราะ ไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน  แล้วรับปากว่า สัปดาห์หน้าจะมารับขวดไปให้เพราะเห็นว่ามันเต็มแล้วนั่นเอง    หลังจากนั้นทีมงานคุณสิทธิ์ก็เดินทางกลับ  ส่วนทีมงานเครียพื้นที่ก็ได้นั่งคุยกันเรื่องกองทุนขยะวันนี้ดีอย่างไร อะไรบ้างควรปรับปรุง  และ สรุปยอดฝากเข้ากองทุนของสมาชิก  ดังนี้

หมายเลขสมาชิก รายชื่อสมาชิก ยอดส่งขยะเข้ากองทุน   24/ตค/2557
001 คุณ วิชัย ลวงค์เพียร   ขาด
002 คุณ ชุน(ชลดา)กูกือ  พลพิโรจน์ 56
003 คุณ SAROEURT  ROEURN       ขาด
004 คุณ เปรมวดี ผอมเอียด           62.4
005 คุณ อำไพ  ทวีทอง           116.5
006 คุณ ยุพา  หมัดโส๊ะ               ขาด
007 คุณ รัตนาวดี  ทวีทอง        71
008 คุณ สุชาติ    ทวีทอง       229.35
009 คุณ ดวงเพ็ญ  ทองเจือ     44.3
010 คุณ ประไพ    มากพงษ์     31
011 คุณ สายใจ    นวลแก้ว       64.5
012 คุณ สมพร    จันทวงศ์       36.5
013 คุณ กานต์สินี  คงมา       221.8
014 คุณ ติเหมาะ  อิตกี           86
015 คุณ เกสร      อิสโร         30
016 คุณ จันตนา    ธรรมจง    84.6
017 คุณ ระเบียบ    คงมา      228.2
018 คุณ ศิริพร    ลักษณะกะชา 247.6
019 คุณ วรรณา  หนูแดง         281.2

รวมยอดเงินเข้ากองทุนขยะสร้างสุข วันนี้ เท่ากับ  1,890.95 บาท    ยอดสมัครสมาชิก  1,900 บาท  รวม 3790.95 บาท  ในวันพุธ ที่ 29 ตุลาคม 2557 นี้ คณะกรรมการกองทุนจะต้องเปืดบัญชีนำเงินจำนวนนี้ฝากไว้เพื่อความสร้างความเชื่อมั่นแก่กองทุนและ เพื่อความสบายใจของทีมงานทุกคนนั้นเอง

"  สำหรับกิจกรรมวันนี้ถือว่าเป็นกิจกรรมดีๆที่หน้าภาคภูมิใจของ โครงการอย่างดียิ่ง  ตามคติพจน์ของร้านค้าและกองทุนสร้างสุข ที่ว่า " เพราะขยะ สามารถแก้ปัญหาชีวิตได้" นั่นเอง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 35 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

-เจ้าหน้าที่กองทุนขยะสร้างสุข  4 คน

-สมาชิกกองทุนขยะสร้างสุข จำนวน 19 คน

-เจ้าหน้าที่จากวงษ์พานิช คลองแห  3 คน

-เจ้าหน้าที่กลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครหาดใหญ่ 4 คน

-เด็กและเยาวชน 5 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ร่วมกิจกรรม นักสืบน้อยตามรอยขยะ อีกสามวันฉันจะเปลี่ยนโลก20 ตุลาคม 2557
20
ตุลาคม 2557รายงานจากพี่เลี้ยง โดย อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อร่วมเรียนรู้การจัดการขยะชุมชน 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-ร่วมเรียนรู้พันธุ์พืชท้องถิ่น  วิทยาการให้ความรู้เกี่ยวกับกล้วย ซึ่งเป็นพืชท้องถิ่น ปลูกง่าย และสามารถนำมาใช้ประโยชน์อย่างหลากหลาย  กล้วยหนึ่งต้นสามารถนำมาใช้ประโยชน์ เช่น ใบ ใช้ในการห่อขนมและอาหาร, ลำต้นอ่อน ใช้แกง ,ลำต้นแก่ใช้ทำกระทง ในประเพณีลอยกระทง,ก้านกล้วย ใช้เป็นของเด็กเล่น เช่น ม้าก้านกล้วย

-ร่วมเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของเมืองหาดใหญ่ และงานศิลป์

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เด็ก เยาวชน และแกนนำชุมชน ได้เรียนรู้เกี่ยวกับพืชในท้องถิ่น และเยี่ยมชมอุทยานกล้วยในพื้นที่สวนสาธารณะเทศบาลนครหาดใหญ่  ทำให้เด็ก มีความเข้าใจในพืชท้องถิ่น  และสามารถนำความรู้ที่ได้มาใช้ในชุมชน เช่น ด้านสิ่งแวดล้อม ,ศก.พอเพียง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 1 คน จากที่ตั้งไว้ 1 คน
ประกอบด้วย

พี่เลี้ยงโครงการ นส.อารีย์ สุวรรณชาตรี

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

นักสืบน้อยตามรอยขยะ ตอน อีกสามวันฉันจะเปลี่ยนโลก20 ตุลาคม 2557
20
ตุลาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อให้เยาวชนเกิดความรู้เรื่องการจัดการขยะ
  2. เพื่อให้เกิดกลุ่มเครือข่ายเยาวชนหัวใจสีเขียว
  3. เพื่อเกิดกลุ่มเยาวชนจิตอาสาพัฒนาชุมชนป้อมหก 1 กลุ่ม
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมค่าย เยาวชน 3 days camp อีก สามวัน ฉันจะเปลี่ยนโลก

-วันที่หนึ่ง เยี่ยมชมและสำรวจข้อมูล ปริมาณขยะในไซต์ขยะ ของเทศบาลนครหาดใหญ่

-วันที่สอง เรียนรู้การจัดการขยะที่ถูกต้อง ทำแผนการจัดการขยะในแบบฉบับชุมชนตนเอง เช่น ชุมชนป้อมหก จะต้องมีมุมคัดแยกขยะของครัวเรือนนำร่อง ที่เรียกว่า กิจกรรม สี่แยก ใส่ใจ โดยมีแกนนำเด็กเยาวชนและ ทีมทำงานธนาคารขยะ ร่วมวิเคราะห์และสรุปผลการจัดการขยะในครัวเรือนที่ได้จากแบบประเมิน คู่มือจัดการขยะ โดยการประชุมติดตามผล เดือนละครั้ง  ซึ่งเยาวชนจะติดตามเก็บข้อมูลปริมาณขยะในครัวเรือนและประเมินความรู้การแยกขยะอย่างถูกต้อง โดยใช้แบบประเมิน คู่มือการจัดการขยะที่ออกแบบโดยกลุ่ม เยาวชน เดือน ละ สองครั้ง พร้อม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันระหว่างชุมชน และเครือข่าย ร่วมเยี่ยมชมการจัดการขยะชุมชนเครือข่าย โดยการปั่นจักรยาน หรือ เดินเท้า ไปมาหาสู่กัน

-กิจกรรมเวทีคืนข้อมูลชุมชน เป็นการคืนข้อมูลปริมาณขยะทั้งในครัวเรือน และชุมชนที่ได้จากการสำรวจ และการใช้แบบประเมินคู่มือการจัดการขยะ ให้ชุมชนรับรู้ ชี้ให้เห็นที่มาของขยะและการจัดการขยะของครัวเรือนและชุมชนในระยะยาว

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากแผนเดิมของโครงการคือการเข้าค่ายของเยาวชน จำนวน สามวัน เมื่อนำเรื่องนี้นำเสนอต่อที่ประชุม โดยกลุ่มงานส่งเสริมส่งแวดล้อม เทศบาลนครหาดใหญ่เข้าร่วมหารือด้วย จึงเสนอให้เพิ่มวันทำกิจกรรมอีก 1 วัน โดยทางเทศบาสนับสนุนงบประมาณในส่วนวันที่ เพิ่ม เพื่อให้เยาวชนเกิดความผูกพันและเรียนรู้เรื่องการจัดการขยะในชุมชนอย่างคุ้มค่าและให้เวลาว่างในช่วงปิดเทอมนี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั่นเอง

กิจกรรมวันแรก  ตะลุยภูเขาขยะ และ พักใจที่ ทุ่งขมิ้น
                น้องๆเยาวชนรวมตัวกันที่ห้องประชุมสปสช,  ณ เทศบาลนครหาดใหญ่ โดย คุณอุดมศักดิ์ โป๊ะบุญชื่น ประธานกล่าวเปิดกิจกรรม  ท่ามกลางเยาวชน,ผู้ติดตาม และ เจ้าหน้าที่กลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อม เมื่อท่านผู้อำนวยการสำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมกล่าวเปิดกิจกรรม เสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยก็ได้เวลา ของ ทีมงานกลุ่มป้อมหกและ กลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อม นำน้องๆ แบ่งกลุ่มเพื่อจัดตั้งทีมผู้นำและแนะนำการทำงานผ่านใบงาน ใช้เวลาประมาณ 20 นาที จึงพากันออกเดินทาง  สถานีเรียนรู้สถานีแรกสำหรับวันนี้ ก็คือ ไซต์ขยะของเทศบาลนครหาดใหญ่ ระหว่างเดินทางน้องๆก็ได้ทำใบงานไปด้วย นั้่นคือการทำความรู้จักสมาชิกกลุ่ม ประธานกลุ่ม รองประธานกลุ่ม  สำหรับ การเดินทางครั้งนี้ยังประกอบด้วย อสม ชุมชนป้อมหก อีก สองท่านเพื่อให้การดูแลน้องๆ ตลอดการทำกิจกรรมนั่นเอง  เวลาประมาณ 10.30 น ก็ถึงไซต์ขยะเทศบาลนครหาดใหญ่ ทุกคนถึงกับตะลึงในความสูงใหญ่ดุจภูเขา  ที่เห็นตรงหน้านี่คือ ขยะหรือนี่นึกว่าฝันไป
น้องๆ ต่างเก็บภาพบ้าง ดูอย่างตะลึงบ้าง  สะกิดเพือนให้ดูบ้าง  บ้างก็สงสัยสักถาม อย่างไม่หยุด  บริเวณดังกล่าว ยังมีกลุ่มผู้คัดแยกขยะอาศัยอยู่ บริเวณดังกล่าว มีการแบ่งเป็นโซนขยะเก่า ขยะใหม่  รถได้ขับตรงมายังสถานที่หมักปุ๋ยหมักชีวภาพ วิทยากรได้บรรยายให้เยาวชนได้ฟังเรื่องขั้นตอนการทำปุ๋ยตั้งแต่เริ่มจากเศษอาหารและผลไม้จากตลาด  ครัวเรือน ถูกส่งมายังที่นี่ ทางเจ้าหน้าที่คอยคัดแยกอีกครั้งก่อนนำเข้ากระบวนการทำปุ๋ยน้ำและผสมเป็นปุ๋ยดิน  น้องๆก็ให้ความสนใจแต่ต้องเอามือปิดจมูกนิดหน่อยเพราะกินแรงพอสมควร อีกประการน้องๆยังไม่เคยชินกับกลิ่นเหล่านี้ หากได้เรียนรู้ในวงการนี้บ่อยๆ ก็จะเป็นเรื่องธรรมดาก็เป็นได้ ขณะที่อีกฐานวิทยากรหน้าตาดีก็รอน้องๆอยู่แล้ว ท่าทางเหมือนวิศวกร ประมาณนั้น แต่ตัวรัดกุมสวมหมวกกันน๊อค นิรภัยด้วย  เมื่อน้องๆมาถึง ก็ตั้งแถมบ้าง เดินดูด้วยความสงสัยบ้าง กับ โรงงานขนาดใหญ่มีสายพาน มีการทำงานที่ดูไม่ธรรมดาเลย ทิ้งความสงสัยไว้ก่อน  เพราะวิทยากรกำลังดำเนินการเล่าให้น้องๆได้ฟัง เรื่องโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังขยะ เป็นโครงการใหญ่ยักษ์ที่ทางเทศบาลนครหาดใหญ่ได้สร้างเพื่อจัดการปัญหาขยะล้นเมือง ถือเป็นนวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่จริงๆ น้องๆอยากเข้าไปดูข้างในแต่ไม่สามารถเข้าไปได้ยังไม่อนุญาตให้เข้าชม ภายใน แต่ได้มีข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือพิมพ์เนชั่นที่รายงานข่าวเรื่องโรงไฟฟ้าพลังงานขยะไว้ดังนี้
              "ไม่มีใครอยากให้ขยะมาอยู่ใกล้บ้าน" !! คือข้อเท็จจริงและปมปัญหาขยะล้นเมืองในสังคมปัจจุบัน "บ่อขยะหาดใหญ่" ถือเป็นหนึ่งในเจ้าปัญหาที่ยื้ดเยื้อที่รอการแก้ไขมาอย่างยาวนาน ในที่สุดก็ได้ข้อสรุปเป็นรูปธรรม นั่นก็คือการเดินเครื่องเตาเผาขยะพลังงานไฟฟ้ามูลค่า 800 ล้านบาท ของเทศบาลนครหาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ที่สร้างเสร็จแล้ว 100% แต่กลับเปิดใช้งานไม่ได้ ตราบใดที่ยังไม่เคลียร์กันให้ชัดเจนเกี่ยวกับเงื่อนไขและผลประโยชน์ต่างๆ กับเจ้าของพื้นที่ตัวจริงคือ "เทศบาลเมืองควนลัง" ในฐานะเจ้าของบ้านที่รองรับขยะมูลฝอยมานานร่วม 50 ปี

                        ความหวังการขับเคลื่อนและผลักดันให้ จ.สงขลา เป็นโมเดลนำร่องแห่งแรกของประเทศไทยในการใช้เทคโนโลยีแปลงพลังการเผาขยะให้เป็นพลังงานไฟฟ้าต้นแบบเริ่มเป็นจริงมากขึ้น ซึ่งจุดชนวนความสำเร็จครั้งนี้ต้องยกเครดิตให้กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เผยแพร่ข้อมูลสถานการณ์สิ่งแวดล้อมในรอบปี 2556 โดยระบุว่า จ.สงขลา มีปริมาณขยะสะสมจำนวน 2.4 ล้านตัน มากที่สุดเป็นอับดับ 1 ของประเทศไทย จากข้อมูลดังกล่าวทำให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนั่งไม่ติด ออกโรงแจงรายละเอียดไม่จริงอย่างที่เป็นข่าว แต่ภาพลักษณ์ที่เสียไปแล้วจึงต้องทบทวนกันใหม่ กลายเป็นแรงกระตุ้นกดดันให้ทุกฝ่ายต้องหันหน้าเข้ามาคุยกัน

                        "ไพร พัฒโน" นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ บอกว่า ปัญหาโรงไฟฟ้าพลังงานขยะหาดใหญ่ขณะนี้อยู่ระหว่างการร่างบันทึกข้อตกลง (เอ็มโอยู) ร่วมกันระหว่างเทศบาลนครหาดใหญ่กับเทศบาลเมืองควนลัง เจ้าของพื้นที่ โดยคาดว่าประมาณเดือนสิงหาคมปีนี้ จะสามารถเซ็นเอ็มโอยูได้ จากนั้นเดือนกันยายน ก็จะเริ่มต้นเปิดเดินเครื่องโรงงานเตาเผาขยะได้ทันที หลังจากมีการพูดคุยและตกลงเงื่อนไขร่วมกันจนเป็นที่ยอมรับด้วยกันของทั้งสองฝ่ายแล้ว
                        ทั้งนี้ยอมรับว่า ปัญหาขยะเป็นเรื่องที่ยื้ดเยื้อมานาน เนื่องจากเทศบาลนครหาดใหญ่ซื้อที่ดินจำนวนกว่า 130 ไร่ เพื่อเป็นพื้นที่ฝังกลบขยะมานานร่วม 5 ทศวรรษ กระทั่งมีการแบ่งเขตพื้นที่ ปรากฏว่าพื้นที่บ่อขยะตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองควนลัง จึงเกิดปัญหาเรื่อยมา แม้ทุกฝ่ายจะพยายามแก้ปัญหามาโดยตลอด แต่ก็ไม่ง่ายนัก เพราะนอกจากปัญหาเฉพาะหน้าที่ต้องแก้กันรายวันเกี่ยวกับขยะแล้ว ยังมีเงื่อนไขทางการเมืองที่เข้าหนุนทำให้งานไม่สานต่อ เข้าทำนองเปลี่ยนนายกเทศมนตรีครั้งหนึ่งก็มีการเปลี่ยนนโยบายไปด้วย จนทำให้การแก้ไขปัญหาไม่คืบหน้าเท่าที่ควร

                        "ข้อสรุปเบื้องต้นที่กำหนดไว้ในเงื่อนไขสำคัญที่ต้องบันทึกไว้ในเอ็มโอยูมี 3 ประเด็น ประเด็นที่ 1 เทศบาลนครหาดใหญ่ต้องอนุมัติงบประมาณ 300 ล้านบาท เพื่อกำจัดขยะเก่าในบ่อมาทำลายให้เสร็จภายใน 5 ปี เพื่อปรับคืนพื้นที่สีเขียวหรือสวนสาธารณะให้แก่ชาวควนลัง ประเด็นที่ 2 เทศบาลเมืองควนลังจะได้สิทธิกำจัดขยะประมาณวันละ 40 ตันฟรี และประเด็นที่ 3 การจ่ายเงินอุดหนุนและชดเชยให้เทศบาลเมืองควนลังจากเดิม 10% เป็น 20% โดยคิดจากรายได้จากการขายไฟฟ้า" นายไพร กล่าว
                        โดยทันทีที่ข้อตกลงนี้ผ่านมติสภาเทศบาลเมืองควนลังเมื่อใดก็พร้อมเปิดเตาเผาขยะพลังงานไฟฟ้าได้ทันที ภายใต้เงื่อนไขที่บันทึกเป็นข้อตกลงร่วมกันทุกประการของสองเทศบาล เพื่อเยียวยาจิตใจและคืนพื้นที่ให้ชาวควนลังได้ใช้ประโยชน์

                        อีกฟากหนึ่ง "สมบูรณ์ ปัญญาธนกร" นายกเทศมนตรีเมืองควนลัง กล่าวว่า ที่ผ่านมาสองเทศบาลมีการหารือร่วมกันหลายครั้ง แต่ก็ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน ทางเทศบาลเมืองควนลังในฐานะผู้เดือดร้อนที่ต้องทนแบกรับสภาพพื้นที่บ่อขยะมานานร่วม 50 ปี ที่นับวันจะส่งผลกระทบในทุกๆ ด้าน ทั้งเรื่องกลิ่นเหม็นกระจายทั่วพื้นที่ น้ำเสียไหลลงพื้นที่สาธารณะ และการจัดเก็บที่ไม่เป็นระเบียบ จึงไม่สามารถจะอนุญาตให้มีการดำเนินการใดๆ ในพื้นที่เด็ดขาด หากเทศบาลนครหาดใหญ่ยังไม่มีการคุยกับเทศบาลเมืองควนลังให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน
                        "สิ่งที่เทศบาลเมืองควนลังเรียกร้องไม่ได้มากมายเมื่อเทียบกับสิ่งที่ชาวบ้านในพื้นที่ต้องถูกย่ำยีจากปัญหาต่างๆ นานาที่เกิดจากภูเขาขยะกองมหึมา หากวันนี้ทางเทศบาลนครหาดใหญ่ยอมรับเงื่อนไขและแสดงความจริงจังในการแก้ไขปัญหาขยะอย่างจริงจัง โดยไม่เอารัดเอาเปรียบชาวเทศบาลเมืองควนลังเหมือนที่ผ่านมา เราก็พร้อมให้โอกาสแก้ตัวอีกครั้ง ภายใต้เงื่อนไขที่จะต้องทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันอย่างเป็นทางการ" นายสมบูรณ์ กล่าว
                        อย่างไรก็ตามทั้งหมดที่กล่าวมายังเป็นเพียงแค่ความหวังที่ต้องมาลุ้นกันว่า ศักยภาพของเตาเผาขยะดังกล่าวจะสามารถกำจัดขยะได้ถึง 300 ตันต่อวันจริงหรือไม่ หากคำนวณให้ดีปัจจุบันขยะเทศบาลนครหาดใหญ่มีประมาณวันละ 180 ตัน รวมกับขยะของเทศบาลเมืองควนลังอีก 40 ตันต่อวัน รวมเป็น 220 ตันต่อวันเท่านั้น ดังนั้นจึงเหลือพื้นที่เพียงพอที่จะขุดขยะเก่ามาเผาให้หมดภายในระยะเวลา 5 ปี เพื่อคืนพื้นที่สาธารณะให้แก่ชาวควนลังได้ตามข้อตกลง
                        เมื่อกลับไปย้อนดูโครงการเตาเผาขยะพลังงานไฟฟ้าหรือโรงไฟฟ้าพลังงานขยะของเทศบาลนครหาดใหญ่ มีบริษัท จีเดค จำกัด ซึ่งเป็นธุรกิจที่ร่วมทุนกับบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือเอ็กโก กรุ๊ป เป็นผู้ดำเนินการลงทุน 100 เปอร์เซ็นต์เต็ม โดยมีมูลค่าการลงทุนกว่า 800 ล้านบาท เพื่อกำจัดขยะด้วยการเผาขยะและเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยี Ash melting Gasification ในการเผาไหม้ระยะเวลาสัมปทาน 30 ปี คาดว่าจะมีรายได้ปีละ 175 ล้านบาท และใช้เวลาประมาณ 12 ปี ก็จะถึงจุดคุ้มทุน ตามที่กลุ่มผู้ลงทุนได้คาดหมายเอาไว้ (โรงไฟฟ้าพลังงานขยะหาดใหญ่ แก้ปัญหาขยะล้นเมือง-หย่าศึกท้องถิ่น : สุพิชฌาย์ รัตนะ ... รายงาน)

นี่คือข้อมูลเพิ่มเติมที่นอกเหนือจากการดูงานครั้งนี้ แต่สิ่งที่เยาวได้เห็นในมุมมองของเขาคือ ขยะที่เราใช้ เราทิ้ง ทุกวันนั้น มันไปอยู่ที่ไหนบ้าง  วันนี้ตอบโจทย์ปัญหาของเขาแล้ว ว่าขยะที่เขาทำให้เกิดนั้น สุดท้ายมาอยู่ที่นี่และตอนนี้คือปัญหาระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับโลก ดังนี้วิธีการง่ายๆที่เริ่มจากตัวเราและเยาวชนเองก็สามารถที่จะทำให้กองขยะนี้ไม่เพิ่มไปกว่าเดิม หรือ ลดปริมาณขณะให้น้อยลงนั่นก็คือ การคัดแยก ตั้งแต่ต้นทางนั่นเอง ช่วงเช้าวันเป็นเรื่องราวค่อนข้างหนักหนาสาหัส กับน้องๆ แต่ทางโครงการไม่ได้หวังว่าน้องๆจะต้องมากำจัดขยะ ทื่นี่ให้หมดไป  แต่ น้องจะมีวิธีจัดการขยะที่บ้านของเราอย่างไร นั่นคือประเด็นที่ทิ้งไว้ให้น้องได้คิดในช่วงเช้านี้เอง  หลังจากทำความขอบคุณวิทยากรเรียบร้อยแล้ว พากันขึ้นรถ ทันทีที่ขึ้นรถก็ได้ใช้เวลาบนรถช่วยกันสรุปกิจกรรมการดูงานที่่นี่  เป็นภาพที่โครงการอยากเห็นนั่นคือ ต่างคนต่างที่ ต่างชุมชนแต่มาร่วมกันคิดร่วมกันทำนั่นเอง

                        สถานีต่อไป    ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเทศบาลนครหาดใหญ่  ณ ทุ่งขมิ้น อำเภอนาหม่อม      พอถึงก็ได้เวลาพักพอดี  ทีมงานป้อมหก และทีมงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครหาดใหญ่  ได้เตรียมอาหารพร้อมบริการแล้ว น้องๆรับข้าวอย่างเป็นระเบียบ เราให้สัญญาใจกันแล้วว่า ทุกกิจกรรมของเรา  เราจะไม่ใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นโฟม  จึงได้เห็นภาพน้องๆ รับประทานอาหารโดยใช้จานที่สามารถล้างได้  และ ล้างได้ด้วยตัวเอง ซิ่งน่าชื่นชมมาก  ขยะก็ถูกแยกเป็นส่วนๆ  และภาพน้องๆเข้าแถวล้างจานตัวเองเป็นภาพที่น่าประทับใจอย่างยิ่ง

                        ต่อไปกิจกรรมยามบ่าย  น้องๆได้มีโอกาสได้สำรวจพืชผักในศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงแห่งนี้ที่ได้รับการการันตี จากพี่ๆวิทยากรกลุ่มแต่ละกลุ่มว่า  ปลอดสารเคมี เพราะใช้ปุ๋ยคอก  เป็นส่วนผสม ให้พืชผักเจริญงอกงาม  น้องๆได้มีโอกาสชมการสาธิต การปลูกพืชลงแปลง  วันนี้พี่ๆได้สอนการเตรียมดิน การหยอดเมล็ดพืช การใส่ปุ๋ย การรดน้ำ และการเก็บเกี่ยวผลผลิตอีกด้วย

                        ครู่ใหญ่กับการเรียนรู้เรื่องการลงแปลงปลูกผัก  หลังจากน้ำก็ได้นำต้นมะเขือเป็นที่ระลึก กลับบ้านคนละต้น ก่อนกลับได้นัดแนะถึงกิจกรรมเข้าฐานที่ป้อมหกให้เช้าวันพรุ่งนี้เพื่อความพร้อมเพรียงกันนั่นเอง


  กิจกรรมวันที่สอง ฐานเรียนรู้การจัดการขยะที่ชุมชนป้อมหก
                      7.00 น  ดินแดนแห่งนีจะกลายเป็นแหล่งเรียนรู้ของเยาวชน หรือนี่ไม่น่าเชื่อเลย  ว่าอดีด  พื้นที่ภูเขาขยะ จะกลายมาเป็นที่รองรับกองทัพเด็กซนได้ในวันนี้  ทีมงานคิดสิ่งเหล่านี้ในใจ อย่างวยงง  แต่ก็จัดฐานเรียนรู้ต้อนรับน้องๆอย่างเต็มที่ ฐานที่หนื่ง  สี่แยกใส่ใจ  โดย คุณ ระเบียบ  คงมา และ คุณ สุกัญญา  วัฒนพรหม
              ฐานที่สอง  พลังจิ๋ว  สร้างโลกสีเขียว    กับป้าอำไพ  ทวีทอง  และ ป้าพี่กลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อม

              ฐานที่สาม  ขยะแปลงกาย  กับ เรื่องราวความคิดสร้างสรรค์ ครูพี่อ้อย พี่โม  พี่อ้อ  นำขยะรีไซเคิลมาประดิษฐ์เป็นของใช้ในชีวิตประจำวัน

              ฐานที่สี่      ขยะหอม    กับ ป้ายุพา  หมัดโส๊ะ    และ พี่วิมล  พี่ไก่  พี่ปลา  กลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อม

      8.00 นะ  ทุกฐาน พร้อมสำหรับการเรียนรู้ของน้องๆ  แต่จะเข้ารับการอบรม เมื่อเวลา 09.00 น    เวลานี้ 08.30  วิทยากรเดินทางมาถึง  พอดี ละลายพฤติกรรมกันพอเกิดความคึกคัก เร้าใจ พอเห็นรอยยิ้มน้องๆ พี่ๆ ทีมงานก็หายประหม่า เพราะเราไม่ค่อยได้เป็นวิทยากรประจำฐานอย่างเป็นทางการอย่างนี้มาก่อน  ครั้งนี้แหละที่ต้องเป็นเรื่องเป็นราว เป็นจริงเป็นจัง
      09.00 มาถึง พี่บีก็ได้ส่งแผนเดินทางเข้าฐานเรียนรู้ให้พี่เลี้ยงแต่ละกลุ่มได้พาน้องๆไปยังฐานเรียนรู้ตามแผนของกลุ่ม  วันนี้ที่ปรึกษาโครงการ อาจารย์ วัลภา ฐาน์กาญจน์ และ คุณ อาณัติ หวังกุหลำ ได้มาเยี่ยมกิจกรรมของเยาวชนด้วย อีกทั้งครูอาสา หรือ บัณฑิตอาสา มาด้วย ก็เลยชวยบัณฑิตเข้ามาร่วมกิจกรรมครั้งนี้่ด้วยเลย  ส่วนพี่ ไก่และพี่สัญญา ในวันนี้คือเจ้าหน้าที่ฝ่ายสถานที่ พอน้องเดินทางเข้าฐาน ที่รวมพลแห่งนี้ก็เปลี่ยนเป็นโต๊ะอาหาร พี่ศิริพร  ลักษณะกะชา ก็ทำอาหารมื้ออร่อยให้น้อง รับประทานอย่างปราณีต  พี่บี ทำหน้าที่ป ประสานตามฐานเรียนรู้ต่าง ๆ วันนี้เดินประสานงาน จนฝุ่นตลบ ขณะที่บรรยากาศของทุกฐานเป็นไปอย่างคึกคัก  บทบาทของวิทยากรประจำฐาน ของทีมงานวันนี้  ทำให้ที่ปรึกษา ยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ และกล่าวชื่นชม ว่า ทุกกลุ่มตั้งใจถ่ายทอดประสบการณ์จากปีที่ หนึ่งออกมาได้ดีเยี่ยม นี่ขณะที่ยืนฟังอยู่ไม่คิดเลยว่าจะเป็นชาวบ้าน คิดจ้างวิทยากรมาจากที่ไหน  แท้จริงนี่ทีมงานเราเองนี่น่า  ทำให้ทีมงานมีกำลังใจขื้นมาก  น้องๆ สนุกกับทุกๆฐานที่เข้ารับการฝึก ทั้งการคัดแยกขยะ ทั้งสี่ประเภท ทั้งการเพาะถั่วงอกในขวดพลาสติก หรือปลูกผักในกระป๋องนม หรือ การทำงานประดิษฐ์ อย่างสร้างสรรค์ และ ฐานทำน้ำหมักชีวภาพ  ที่น่าสนใจ  ขนาดแดดแรง กล้าไม่ท้อไม่ถอย จนเวลาล่วงมาถึง เวลาพัก  ก็ได้มาร่วมรับประทานอาหารกันอย่างอร่อย เป็นกลุ่ม  ได้เล่าสู่กันฟัง อย่างสนุกสนาน รับประทานอาหารเสร็จแล้วเช่นเดิม  ล้างจานใคร จานคนนั้น  น่ารักมากเยาวชนเรา

      13.00 น สันทนาการย่อยกันอย่างเพลิดเพลิน  ออกท่าทางกันบ้าง  ร้องเล่นเต้นรำ กันพอกระชับมิตร ก่อนจะโยนโจทย์ไปให้น้องๆ ด้วยคำถามที่ว่า  เราจะกลับไปทำกิจกรรมอะไรบ้างในชุมชน  ให้น้องออกมานำเสนอ ในขณะที่น้องๆ ต้องแยกกลับมาประจำกลุ่มชุมชนตัวเอง น้องๆระดมความคิดกันอย่างตั้งใจ ในขณะที่พี่อ้อยกำลังบันทึกการให้ความร่วมมือ ของน้องๆ
      14.30 น  น้องๆ ได้ออกมานำเสนอผลงานของชุมชนตัวเองได้อย่างดีเยี่ยมทุกทีม เราได้เห็น ความกล้าหาญ การเป็นผู้นำของเยาวชนได้อย่างดี พอสรุปประเด็นที่อย่างทำใหญ่ๆ มี สามประเด็น คือ  จะกลับไปคัดแยกขยะที่บ้านเรือน และ ปลูกผักสวนครัวที่บ้านตนเองก่อน อยากให้ชุมชนสะอาดน่าอยู่  อยากพบเจอกับเครือข่ายบ่อย ๆ เพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน

      15.30 น สันทนาการต่อและนัดแนะเจอกันวันพรุ่งนี้ที่ห้องประชุมโรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี)  เวลา 09.00 น ก่อนแยกกันกลับชุมชนพร้อมพี่เลี้ยง ในเวลา 16.00 น


                        หลังจากนั้นทีมงาน และกลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อมก็ได้มานั่งถอดบทเรียนกิจกรรมสองวันที่ผ่านมาว่ามีปัญหาใดบ้างอุปสรรค์ที่พบ และกำหนดการกิจกรรมภาพรวมในวัน พรุ่งนี้  หารือกันประมาณ ครึ่งชั่งโมงเศษ ก็พากันเก็บอุปกรณ์ประจำฐานต่างๆ และ แยกย้ายกันไปพักผ่อนเพื่อรับเช้าวันใหม่พรุ่งนี้

กิจกรรม วันที่สาม Eco kids Eco camp ณ โรงเรียนเทศบาลหนื่งเอ็งเสียงสามัคคี

                        ทีมงานค่อนข้างตื่นเต้นกับกิจกรรมวันนี้ เพราะ ทีมจัดรายการ สารคดีสองกำลังสือ ของไทพีบีเอส ได้เข้ามาสังเกตุการณ์ ปฏิบัติการเยาวชน ในวันนี้ เพราะตามกำหนดการจะเป็นการเข้ากลุ่มเพื่อ ทำสื่อ อาทิ การวาดภาพ  การแสดงละครตามโจทย์ที่ได้ แต่ก็ยังไม่บอกให้เยาวชนรู้ตัวก่อน

                    เวลา 09.00 น พี่หมิว น้องจอย และปุ๊กกี้ ทำหน้าที่รับลงทะเบียบ  อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง  เพื่อนๆจากชุมชนเครือข่ายก็เดินทางมาร่วมตามเวลาที่นัดแนะ

        กล่าวทักทายกันโดยพี่บีและครูหน่อยจากศูนย์เด็กเล็กชุมชน มัจยาเมาะ ด้วยการออกกำลังกาย เบา เบา ยืดเส้นยืดสาย  ตามด้วยวิทยากรจาก ตำรวจตระเวนชายแดน สามท่าน ดังนี้
1.  ร้อยตำรวจตรี ปรีชา สุขไกร

2.  ดาบตำรวจ สุชาติ นุ่นเหว่า

3.  ดาบตำรวจประจวบ กุลประสิทธิ์

            เดินทางมาทำกิจกรรมสันทนาการกับน้องๆ น้องๆเองเริ่มสนิทสนมกันขึ้นเนื่องจากกิจกรรมร่วมกันมาสองวันวันนี้เป็นวันที่สามแล้ว  เริ่มกระชับสัมพันธ์โดยการร้องเล่น เต้นระบำ วันนี้ทางวิทยากรได้นำเครื่องดนตรีมากำกับจังหวะเพิ่มความสนุกสนานให้น้องๆมากยิ่งขึ้น ทั้งทีมงาน เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสิ่งแวดล้อมและน้องๆ ได้ร่วมสนุกกันอย่างเต็มที่ ให้สมองๆน้องโล่งพอที่จะนำน้องๆสู่กิจกรรมละครเพื่อการเปลี่ยนแปลง สื่อสร้างสรรค์  และ กิจกรรมติดตามผล ขณะที่ ทีม พี่ๆ ไทพีบีเอส ก็ได้แฝงตัวอยู่กับน้องๆ คอยบันทึกภาพกิจกรรม อยู่เรื่อยๆ

                    เวลา 12.00 น ได้เวลารับประทานอาหารกลางวัน วันนี้เป็นอาหารกล่อง ซึ่งกล่องที่ให้นี้เป็นกล่องที่สามารถล้างแล้วกลับมาใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้อีก แทนการ ใช้โฟม นั่นเอง น้องๆรับประทานอาหารตามอัธยาศัย วันนี้ทีมงานจะสังเกตุพฤติกรรมหลังจากได้รับการอบรมของน้องๆแล้วว่า น้องๆ สามารถใช้สิ่งที่อบรม ได้อย่างถูกต้องอีกด้วย เพียงแต่เซ็ทอุปกรณ์ไว้ให้และเขียนป้ายบ่งชี้ข้างถุงว่า เป็นขยะประเภทใด  ให้พี่เลี้ยงกลุ่มถือปากกาเคมีไว้ หนึ่งด้ามเมื่อให้เขียนชื่อบนกล้องข้าวว่าเป็นของใคร  เวลารับประทานเสร็จให้นำกล่องมาวางเรียงกันและเมื่อเลิกกิจกรรมให้นำกลับบ้าน  น้องๆหลายคนเทข้าวทิ้งในถุงอย่างถูกต้อง แต่บางคนกลับบอกว่าตอนช่วงอาหารว่างบ่าย หรือว่าตอนกลับบ้านจะได้กินอีก กล่องมีชื่อแล้ว ไม่ต้องกลัวหลง แสดงว่าสิ่งที่อบรมนอกจากขยะทั้งสี่ประเภทที่ต้องคัดแยก เรายังได้ เรื่อง หลัก สาม อาร์ สะท้อนกับมาให้เราเห็นอีกด้วย ต้องให้ได้อย่างนี้สิเยาวชน  พันธ์ุ eco  ทีมงานยิ้มพอใจที่น้องๆ ส่วนใหญ่ทำได้ดี  มาก  ขวดน้ำก็มีชื่อไว้เติมน้ำอีกด้วย ต้องกดไลค์ให้เลย
                    เวลา 13.00 น ทีมวิทยากรตำรวจตระเวนชายแดนได้เรียกน้องๆเข้ากลุ่มตามเดิม นำน้องร้องเพลง เพื่อนำเข้าสู่การทำละครเพื่อการเปลี่ยนแปลง 7 กลุ่ม 7 เรื่อง พร้อมพี่เลี้ยงกลุ่มละ 1 ท่าน
ด้วยประเด็น ต่างๆ ดังนี้่

  1. ทำความดีถวายพ่อหลวง

  2. มาปลูกต้นไม้กันเถอะ

  3. การคัดแยกขยะสี่ประเภท

  4. ภาวะโลกร้อน

  5. ขยะรีไซเคิลสร้างคุณค่า

  6. ขยะอินทรีย์มีประโยชน์

  7. การจัดการขยะอันตราย

            น้องๆเข้ากลุ่ม อุปกรณ์ กลุ่มละ 1 ชุด ประกอบด้วย กระดาษ บรู๊ฟ  ปากกาเคมี  สีเทียน  ใช้เวลาคิดร่วมกับพี่เลี้ยง กลุ่มละ 20 นาที  ทุกกลุ่ม ระดมความคิดกันอย่างออกรส บางกลุ่มแสดงละคร  บางกลุ่มใช้วิธีวาดภาพแล้วอธิบาย  บางกลุ่ม ใช้หลังการมายแมพปิ้ง  ตามข้อตกลงของกลุ่ม เวลาเดินทางมาถึง ยี่สิบนาที วิทยากรแจ้ง หมด เวลา  ก่อนนำเสนอของแต่ละทีม ขอเชิญ กลุ่มเยาวชนชุมชนป้อมหก ออกมาแสดงละครเพื่อการเปลี่ยนแปลงให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ โดยชุมชนให้เพื่อนๆได้ชม ขณะที่ทีมงาน สองกำลังสื่อ ไทพีบีเอส ได้เตรียมอุปกรณ์พร้อมอัดวีดีโอแล้ว  น้องๆ ก็ได้แสดงตามที่ได้ซักซ้อมเพื่อให้เพื่อนๆเรียนรู้เรื่องการคัดแยกขยะ แต่ดูวันนี้พวกเธอจะเขินๆ กัน  ไม่เป็นไร คนกันเองทั้งนั้น แค่คนประเทศเรา ทั้งประเทศ เอง  หลัง จากที่น้องๆป้อมหก แสดงเสร็จ  ตามด้วย กลุ่มต่างๆ ๆออกไปแสดงความคิดเห็นอธิบายสื่อที่ทำให้เพื่อนๆ ได้ดู  รวมถึงการแสดงละครเรื่องมาปลุกต้นไม้กันเถอะที่สะท้อนถึงปัญหาของการตัดต้นไม้ทำลายป่า โดยคิดว่าค่าจ้างงามๆ เพื่อจะได้เป็นค่าเทอมลูก แต่เมื่อป่ามาทำลายบ้านเรือนจนสูญเสีย บ้าน ที่อยู่อาศัย ที่ทำกินและอาหาร ลูกจึงบอกกับพ่อผู้ทำลายป่าให้หยุดและหันมาปลูกพืชผักผลไม้ กินและขาย พ่อก็หันมาปลูกผักผลไม้ เสี่ยใหญ่แทนที่จะสั่งให้ตัดไม้ก็เป็นนายหน้าส่งผักผลไม้ไปขายในเมืองแทน เด็กๆสะท้อนออกมาอย่างน่ารักมาก น่าสนใจ ชวนคิด

เมื่อสะท้อนครบทุกกลุ่ม ทางทีมงานได้อธิบายเรื่องการติดตามประเมินผลเยาวชนเรื่องการจัดการขยะในบ้านของสมาชิกที่เข้าอบรม ตามนัดหมาย และได้นัดแนะ กิจกรรมพิเศษอีกหนึ่งวันเพื่อศึกษาระบบนิเวศน์ ในพื้นที่ใกล้เคียงอย่างสวนสาธารณะหาดใหญ่  พบกันพรุ่งนี้ 09.00 น ล้อหมุนนะคะ


กิจกรรมวันที่ สี่ เยี่ยมสวนสาธารณะ ปอดของคนหาดใหญ่  กับ อุทยานกล้วย  หอศิลป์เฉลิมพระเกียรติ และ หอดูดาวเทศบาลนครหาดใหญ่

              เวลา 09.00 น ได้เวลาเดินทางของเยาวชนหัวใจสีเขียวแล้ว  เพียงแค่25 นาทีก็ถึงแหล่งเรียนรู้ใกล้ที่ไม่บ่อยนักที่จะได้เข้ามาเยี่ยม นั่นคือ สวนสาธารณะเทศบาลนครหาดใหญ่  เป็นที่พักผ่อนหย่อยใจในวันหยุด  แต่ที่เราไม่เคยได้เข้าไปสัมผัสธรรมชาติอย่างแท้จริงเลย  ครั้งนี้หลายคนคือครั้งแรก รวมทั้ง่ทีมงานด้วยถือว่า เป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องระบบนิเวศน์ที่ดีที่น่าสนใจกับเยาวชน รถพาเราเข้ามาที่เรือนเพาะชำ ได้ยินเสียงเรียกเชิญชวน มาทางนี้ เข้ามาทางนี้ จากสุมทุมพุุ่มไม้  ถึงบางอ้อ  วิทยากร ได้รอเราแล้ว วันนี้เตรียมอุปกรณ์ที่ดูเหมือนเรารู้จักดีแต่จริงแล้วแทบไม่รู้จักคุณสมบัติหรือคุณประโยชน์ของมันเลย  วิทยากรตัดต้นกล้วยมาให้หนึ่งต้น  ให้เด็กๆได้เรียนรู้ ประโยชน์และส่วนต่างๆของต้นกล้วยไร่ตั้งแต่ราก ลำต้น กิ่ง ก้าน ใบปลี และผลกล้วย  นอกจากนี้ยังพาเราเดินขึ้นไปดูกล้วยนานาพันธุ์ บนอุทยานกล้วย ที่ไม่ง่ายเลยที่จะขื้นไปหากไม่มีวิทยากรพาไป  น้องๆได้ใบงานเพื่อจดบันทึก เรื่องราวที่ได้เรียนรู้ ทุกกลุ่มบันทึก อย่างตั้งใจ  เมื่อศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับกล้วยที่ไม่กล้วยแล้ว    ได้ขึ้นรถไปเยี่่ยมหอศิลป์เฉลิมพระเกียติ วิทยากรประจำฐาน

ได้ให้ข้อคิดต่างๆที่น่าประทับใจยิ่ง  เยาวชน เชื่อฟังพี่วิทยากรมา ทุกคนอยู่ในความเงียบขณะที่พี่ให้การอบรม พี่สร้างแรงบันดาลใจให้น้องๆ รักพ่อแม่ ตั้งใจเรียน ไม่มีหน่วยงานใดที่ต้องการคนไม่เก่งเข้าทำงาน ไม่มีที่ได้รับคนที่เกเรเข้าทำงานเพราะฉะนั้นขอให้น้องๆ ตั้งใจเรียนเพื่อจะได้เป็นคนดี เรียนดี ทำงานที่ดี  นั่นเอง นอกจากนี้มีคำสอนใจน้องๆอีกมากมายจนพี่ทีมงานแปลกใจดั่งต้องมนต์สะกด น้องฟังกันเงียบ เรียบร้อย ใช้เวลาบรรยายราว 30 นาที น้องๆ แทบไม่กระดิกตัวเลย ถือว่าพีใช้วิธีการพูดที่น่าฟังน่าศึกษาจากพี่บ้างมาใช้กับน้องๆ ของเรา  จากนั้นก็ได้เดินดูรูปภาพและทำงานตามใบงาน น้องๆทำงานกันอย่างเรียบร่้อย    อาจมีเล่นกันบ้างก็ไม่ถือว่าก่อความวุ่นวาย  เวลาใกล้เที่ยง จึงพาน้องๆลาพี่วิทยากรหอศิลป์ เพื่อพาน้องมารับประทานอาหารกลางวัน ใช้วิธีเดิมคือใช้กล่อง เขียนชือ พากล่องกลับบ้าน

                      เวลา13.00 น  ได้เวลาขึ้นไปยังหอดูดาวแล้ว น้องๆอยากรู้ว่ามีอะไรบ้าง พี่ก็อยากรู้เช่นกัน  อย่างไรก็ตามทุกคนก็ลุ้นกันเต็มที่ เนื่องจากเส้นทางค่อนข้างชันพอสมควร แต่ ปลอดภัยทุกคน  ถึงหอดูดาวแล้ว พี่วิทยากรได้พาขึ้นไปให้ความรู้เรื่องประเภทของกล้องดูดาว และเรื่องราว จักรวาล  ดาวเคราะห์ ต่างๆ  แล้วให้น้องๆได้ดูพระอาทิตย์ผ่านกล้องโทรทรรศ์  น้องๆตื่นเต้นที่ได้ดูพระอาทิตย์ดวงใหญ่พี่วิทยากรบอกว่าเราจะได้เห็นส่วนที่เป็นจุดดับของดวงอาทิตย์ด้วย น่าสนใจมาก ถือเป็นการเปิดประสบการณ์นอกห้องเรียนที่ดีมาก วันหนึ่งเลย หลังจากนั้นก็ได้นำน้องๆเข้าห้องเธียรเตอร์ ที่เหมือนกับโรงหนัง  เจ้าหน้าที่เปิดเรื่อง ดาวนายพราย ให้ดู และ ดาวลูกไก่ ทำเอาพี่ๆทีมงานและน้องๆน้ำตาคลอเบ้าไปตามๆกัน  อีกเรื่องคือ ดาวเคราะห์ ที่น้องๆให้ความสนใจยังชมกันนิ่ง  จนจบ  พี่ๆก็พาน้องไปดูห้องนิทรรศการกลุ่มดาวต่าง อาทิ ดาวหาง ดาวกฤษ์ ดาวเคราะห์ และ สิ่งที่น่าสนใจที่เราไม่เคยรู้จักอีกมากมาย หลังจากนั้นจึงลาเจ้าหน้าที่เพื่อถอดบทเรียน ด้านล่าง หน้าหอศิลป์ ก่อนลงจากเข้าจึงให้น้องๆมุสลิม รออยู่ครู่หนึ่งประมาณ สิบห้านาที พาน้องๆศาสนาพุทธไปนมัสการพระพุทธมงคลมหาราชเพื่อเป็นศิริมงคล  หลังจากนั้นจึงได้ลงมาคุยกันถึงกิจกรรมตั้งแต่วันแรกถึงนาทีนี้  น้องๆถ่ายทอดออกมาได้ดี บางคนอยากกลับบ้าน บางคนอยากให้มีกิจกรรมบ่อยๆ  และได้ย้ำน้องถึงการเข้าประเมินผลที่ชุมชนแต่ละชุมชนหลังจากนี้ไป    ใกล้ถึงเวลาที่เราต้องจากกันแล้วสินะอีโค่ คิดส์  ขอบคุณทุกเรื่องราวที่ทำให้เราได้เจอกันในวันนี้  ขอบคุณทุกความร่วมมืออันดีของทุกคน ทุกฝ่าย สัญญาจะเก็บรักษาความรู้สึกดีดีนี้ตลอดไป  และก่อนจากได้ฝากเพลงนี้แทนใจกัน  ก่อนจากกันขอสัญญา................................................................ทุกคนร่วมร้องด้วยความอบอุ่นใจ บางคนน้ำตาได้ไหลพรั่งพรูออกมาอย่างกั้นไม่อยู่  แล้วพบกันวันประเมินนะ เยาวชนของฉัน

Eco kids Eco camp สัญญานะ ว่า กลับไป เราจะไปเปลี่ยนโลกให้น่าอยู่กว่าเดิม  สัญญานะสัญญา


circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 105 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

-ทีมงานโครงการ 15 คน

-กลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อม 8 คน

-ที่ปรึกษาโครงการ 2 คน

-วิทยากร 12 คน

-เยาวชนป้อมหก 25 คน

-เยาวชนเครือข่าย 40 คน

-ผู้ติดตาม 10 คน

-บัณฑิตอาสา 2 ท่าน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
คุณ อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ปฐมนิเทศน์ ข้างถนนกินได้ปรับเปลี่ยนชุมชนขยะเป็นชุมชนสีเขียว18 ตุลาคม 2557
18
ตุลาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์

1.ให้ความเบื้องต้นและสร้างแรงบันดาลใจในการปลูกผักแก่เยาวชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.ประชาสัมพันธ์ให้สมาชิกโครงการรับทราบ ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจและร่วมเตรียมพื้นที่ตามความเหมาะสมกับครัวเรือนและพื้นที่ชุมชนในการปลูกพืช สวนผักคนเมือง

2.ประชุมให้ความรู้ถึงวิธีการปลูกพืชสวนผักคนเมือง สวนครัวข้างบ้าน ในภาชนะต่างๆ โดยปลูกพืชไม่น้อยกว่า 15 ชนิดทั้งในครัวเรือนและพื้นที่ชุมชน (มีการประเมินความรู้ก่อนและหลังการประชุม )

3.สนับสนุนต้นพันธ์ุพืชและอุปกรณ์เพื่อการปลูก (มีการติดตามและตรวจสอบในพื้นที่

4.ประชุมให้ความรู้ภาคทฤษฎีและปฎิบัติในการทำปุ๋ย,น้ำหมักชีวภาพ,และสารไล่แมลงศัตรูพืช
(มีการประเมินความรู้ก่อนและหลังการประชุม)
วิธีการ เปลี่ยนขยะเป็นปุ๋ย รูปแบบครัวเรือนทำเอง และในรุปแบบรวมบ้าน (2-3 หลัง รวมกัน) ร่วมกันทำพร้อมแจกจ่ายให้กับสมาชิกในการนำไปใช้ เพื่อบำรุงพืชผัก ,การบำบัดน้ำเสียในชุมชน

5.ติดตามผล และให้กำลังใจในการสร้างสรรค์ผลงานสวนผักคนเมือง สวนครัวข้างบ้าน และร่วมถอดบทเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้สมาชิกในโครงการ

6.ฝึกการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ของครัวเรือน (ผู้เข้าร่วมโครงการต้องทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ซึ่ง วพส.สนับสนุนให้ความรู้ เพื่อให้ทราบว่ารายได้เพิ่มลดอย่างไร)

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

  เวลา 13.00น  น้องทยอยกันเข้ามารอวิทยากรที่กองทุนขยะสร้างสุข ไม่นาน วิทยากรก็เดินทางมาถึง วันนี้ คุณ ศิรินธร เหมมณี ให้เกียรติมาเป็นวิทยากรให้กับทางชุมชน  เห็นน้องๆ พร้อมหน้า  จึงเริ่มทำการอบรมให้ความรู้แก่เยาวชนเรื่อง

ความรู้ทั่วไปกับการปลูกพืชในเมือง  ปัจจัยที่มีต่อการเจริญเติบโตของพืช  วัสดุเหลือใช้ที่สามารถนำมาปลูกพืช  และ เดินสำรวจพื้นที่สำหรับการปลูกพืช

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 52 คน จากที่ตั้งไว้ 52 คน
ประกอบด้วย

1.วิทยากรจากเกตรอำเภอ  1  ท่าน

2.เยาวชนป้อมหก และเครือข่ายจำนวน 40 คน

3.กลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อม 6 คน

4.ทีมงานโครงการ จำนวน  15 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่สามารถ  เบิกค่าอุปกรณ์สำหรับการปลูกได้เนื่องจาก งบประมาณไม่เพียงพอในงวดนี้ ต้อรองบงวดที่สอง  แต่วิทยากรแจ้งว่า น่าจะทำเป็นตารางเพื่อการเรียนรู้ เพื่อเหมาะสมกับการเพาะปลูกพืช ในฤดูกาลต่างๆ
วิทยากรจะเข้ามาอบรมและติดตามผลเป็นระยะทั้ง ผู้เรียนระดับเยาวชนและระดับชุมชนและเครือข่าย

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

จัดตั้งร้านค้าศูนย์บาทประจำชุมชน สู่ความพอเพียง17 ตุลาคม 2557
17
ตุลาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเปิดร้านค้าสร้างสุข ร่วมกับการเปิดกองทุนขยะสร้างสุขเพื่อสวัสดิการชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.ประชุมทีมงาน

2.ออกหนังสือ เชิญ ประชาสัมพันธ์กิจกรรม

3.นิมนต์ พระสงฆ์

4.จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ ประจำร้านค้าสร้างสุข

5.จัดสถานที่

6.ประชาสัมพันธ์ผ่านเสียงตามสาย

7.จัดกิจกรรมทำบุุญเปิดร้านค้าสร้างสุข และ ตลาดนัดขยะรีไซเคิล หรือ กองทุนขยะสร้างสุข

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กิจกรรมดำเนินการขึ้นท่ามกลางความมืดฟ้ามัวดิน  ฝนกำลังใกล้จะตกเต็มที ขณะที่เวลาเดินทางมาถึงกำหนดการ อย่างไรก็ตามจะเลื่อนเสียไม่ได้เนื่องจากข้าวปลาอาหาร ภัตตาหาร สถานที่ และ กำหนดการต่างๆ ถูกกำหนดขึ้นแล้ว นี่เป็นข้อกังวลใจของผู้ทำโครงการ ค่อนข้างเครียดว่า ชาวบ้านจะมาร่วมกิจกรรมได้หรือไม่ หากเกิดฝนตก  และ ทางสสส จะเข้าใจทางโครงการหรือไม่ที่เราได้เบิกจ่ายค่าให้จ่ายในการเตรียมการ อาหาร สถานที่ เรียบร้อยแล้วแต่ หากฝนตกลงมาจำนวนคนคงไม่ตรงเป้าที่วางไว้    ขณะที่ฟ้ามือมัวอยู่นั้น พี่สัญญาก็ได้เดินทางไปรับพระสงฆ์ เพื่อทำพิธีเปิด  ขณะที่ชาวบ้านได้เริ่มนำปิ่นโต และร่วมทำบุญกันอย่างไม่ขาดสาย  ป้าสมพร  จันทวงศ์ กล่าวว่า  ที่ทำการกองทุนนี้ดีนะ ที่ทนายอนุเคราะห์ให้ใช้ และไม่ดีตรงที่ฝนสาดนี่สิ  หากฝนตก เราจะทำต่อได้หรือป่าว  พิธีทางศาสนา เริ่มต้นขื้น อย่างเข้มขลัง ชาวบ้านตั้งใจสวดมนต์ ขอพรจากพระ  ขณะที่กำลังตั้งใจกรวดน้ำนี่เอง สายฝนก็ได้ไหลรินมาราวกับฟ้าให้พร  แต่ทุกอย่างก็ดำเนินต่อไปอย่างปกติ จะดูคนบางตาไปบ้าง ก็พยายามทำความเข้าใจ  เราห้ามสภาพอากาศไม่ให้แปรปรวนไม่ได้ หลังจากนั้นชาวบ้านก็ตั้งใจถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์  และทำพิธีทางศาสนาเสร็จเรียบร้อยก็ได้มานั่งคุยกันเรื่อง การเปิดกองทุนขยะสร้างสุข คุณ อำไพ  ทวีทอง  ได้อธิบายความเกี่ยวข้องระหว่าง ร้านค้าสร้างสุข  กับ  กองทุนขยะสร้างสุข แก่ชาวบ้านฟัง  บ้างคนสงสัย ก็ได้ซักถามข้อสงสัย พี่ไพ ป้าพร เปรมวดี ได้ค่อยๆ อธิบายให้ฟัง พร้อมแสดงคู่มือกองทุนให้ดูเป็นตัวอย่าง  สร้างความเข้าใจมากยิ่งขื้น  ชาวบ้านบางคนถามว่า ถ้าไม่ได้สมัครสมาชิก สามารถร่วมนำขยะมาแลกร้านค้าได้หรือไม่  ตอบคือ ได้  แต่เปรมวดีได้อธิบายว่า การเป็นสมาชิกมันมีสวัสดิการแก่สมาชิก คุณระเบียบเสริมว่า หากไม่มีเงินค่าธรรมเนียมตอนนี้ก็ฝากเป็นขยะให้ครบร้อยบาทแล้วให้กองทุนตัดออก ก็ได้ชาวบ้านเริ่มเข้าใจและได้นัดแนะว่า ร้านค้าสร้างสุขและ กองทุนจะต้องเปิดบริการให้พี่น้องชาวป้อมหกพร้อมกัน คือ เวลา 13.00 น ถึง 16.00 น ทุกวันศุกร์ ให้พี่น้องนำขยะมาฝากกันได้และแลสินค้าอุปโภค บริโภคไปใช้ได้ ในราคาประหยัด  นี่แหละดังคำกล่าวที่ว่า  เพราะขยะ เป็นทางออกของชีวิต    ชาวบ้านเดินดู สินค้าของร้านค้่าสร้างสุขพร้อมสอบถาม  เมื่อพระฉันท์ ภัตตาหารเสร็จพี่สัญญาจึงได้นิมนต์พระกลับวัด ชาวบ้านก็ได้ร่วมรับประทานอาหาร ร่วมกัน อย่างเบิกบานใจ ถือเป็น โอกาสมงคลของการเริ่ม ร้านค้าสร้างสุข ขอให้การทำกิจกรรมนี้ประสบความสำเร็จไปได้ด้วยดีเทอญ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 85 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

-พระสงฆ์ จำนวน 5 รูป

-ชาวบ้าน  50 คน

-ทีมงาน 15 คน

-เยาวชน 15คน

-เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสิ่งแวดล้อม  5 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ฝนตก

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

1.ฝนตก ส่งผลทำให้ชาวบ้านร่วมกิจกรรมไม่ตรงตามเป้าที่วางไว้ ในขณะที่ งบประมาณถูกจัดสรรไปในค่าอาหาร และ บริการ เรียบร้อยแล้ว โครงการจะถูกปิดหรือไม่อย่างไร

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
big cleaning day by eco kids16 ตุลาคม 2557
16
ตุลาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้ชุมชนสะอาดน่าอยู่2.เพื่อเกิดการพัฒนาชุมชนร่วมกัน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.นัดหมาย เยาวชน พี่เลี้ยง และ ทีมงาน

2.ออกหนังสือเชิญ นักวิชาการและเจ้าหน้าที่กลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อมเทศบาลนครหาดใหญ่

3.ออกหนังสือ ขอยืมอุปกรณ์ จากเทศบาลนครหาดใหญ่

4.ประกาศ กิจกรรมผ่านสื่อเสียงตามสาย

5.เยาวชนเดินรณรงค์ชาวบ้านร่วมกิจกรรม

6.ปฎิบัติการ รักษ์โลก กับ กิจกรรม big cleaning day by eco kids

7.ให้สัมภาษณ์ ไทยพีบีเอส

8.จัดเตรียมสถานที่จัดกิจกรรมต่อไป

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เช้าวันที่ 16 ตุลาคม 2557  เวลา 8.30 น.  น้องแพรวา เยาวชนโรงเรียนบ้านป้าพร แะครูซาร่า ได้มาถึงก่อน เพราะวันนี้เป็นตารางของแพรวาในการประกาศเสียงตามสาย  แพรวา ได้ใช้กระดาษแผ่นเล็ก เขียนข้อความที่เธอต้องการประชาสัมพันธ์ให้กับชาวชุมชนและเพื่อนๆทราบ  ท่าท่างเธอตื่นเต้น แต่ เมื่อถึงเวลาต้องประกาศจริง เธอทำได้ดีทีเดียว  เธอประกาศ ว่าวันนี้่วันที่ 16 ตุลาคม 2557  กิจกรรม ดีดีของชุมชนในวันนี้คือ การพัฒนาชุมชนของเราให้สะอาด ขอเชิญชวนพ่อแม่พี่น้องและเพื่อนๆมาทำให้หน้าบ้าน ของเราน่ามอง กันนะคะ    สิ้นเสียงประชาสัมพันธ์ของแพรวา เยาวชน และทีมงานก็ทยอยมา พร้อมนั่งวางแผนประมาณ 10 - 15 นาที เรื่องการใช้อุปกรณ์ และการแบ่งโซนกันพัฒนา  หลังจากนั้นก็ได้ทำการเบิกอุปกรณ์ ซึ่งอุปกรณ์ที่นำมาใช้ในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนโดย งานรักษาความสะอาด เทศบาลนครหาดใหญ่ โดยพี่สัญญาเป็นคนเบิกอุปกรณ์ มาให้เยาวชนได้ใช้ในวันนี้  เมื่อเด็กๆ เดินไปต้นซอยใกล้ตลาดก็ได้ยินเสียงทักทายจากชาวบ้าน  หลายๆ ออกมาช่วย แม้ไม่ได้ช่วยทำหมดทั้งวันแต่ก็ช่วยกวาดดูแลบริเวณ หน้าบ้านของตัวเองให้สะอาดน่ามอง  น้องเริ่มลงมือจากต้นซอย พร้องครูพี่เลี้ยงและทีมงาน ทำมาเรื่อยๆ  พี่ๆกลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อมก็เดินทางเข้ามาพอดี จึงได้ผนึกกำลังกัน ทำให้งานเดินไว ขึ้น ช่วงนี้ต้นพุทธรักษาเติบโตเร็วมาจนต้องรื้อถอนออกบ้าง บางส่วน พี่พร สมพร จันทวงค์ และป้าเล็ก  อาสา จัดการโซนใกล้โรงเรียน จากนั้น พี่อ้อย พี่อ้อ พี่ปลา พี่วิ กลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อม ก็ได้เข้ามาช่วยกัน ส่วนนักศึกษาฝึกงาน อีกสองคนมาช่วยน้องๆพัฒนากันเป็นการใหญ่ ระหว่างพัฒนา ครูซาร่าก้อได้สอนน้องเรื่องการคัดแยกขยะไปด้วย พร้อมทั้งคัดแยกกันจริงๆ  แดงค่อนข้างร้อนแต่ก็ไม่เป็นอุปสรรค์  กลับกันเมื่อมองไปยังท้ายซอย กลับเห็นชาวบ้านเป็นระยะ ที่ช่วยกันพัฒนา หน้าบ้านบ้าง ริมคูระบายน้ำบ้าง  วัยรุ่น สามถึงสี่คนกำลัง ถอนพุุทธรักษา บ้างก็ตัดแต่งกิ่งใบที่รกร้ำคูน้ำช่างเป็นภาพที่น่ารักที่อีกภาพหนื่ง นี่คงจะตรงกับชื่อโคร่งการที่ว่า  ปฎิบัติการชุมชนรักษ์โลก  จริงๆแล้ว  เวลาพ้นผ่านไปถึงเที่ยง พี่บีประกาศเชิญชวนชาวบ้านมาร่วมรับประทานอาหารกลางวันร่วมกับเยาวชน เมนูวันนี้เป็น ขนมจีน น้ำยาเขียวหวานเผ็ดน้อย และ แกงไตปลา อีกหนึ่งหม้อเล็กๆ  มีน้ำหวานสับปะรด เพิ่มพลังความสดชื่นอีกหนึ่งหม้อ  พี่เลี้ยง ทีมงาน รับประทานอยากเอร็ดอร่อย และพักตามอัธยาศัย  จนกระทั่ง เวลา 13.30 น  ได้ร่วมกันปฏิบัติการ รักษ์โลกอีกครั้ง  ทันใดนั่นเอง  ก็เหลือบไปเห็นรถเก๋งสีบรอน ไม่ค่อยคุ้น  แต่มีเสียงประสานกับพี่บีทางโทรศัพท์ว่าตอนนี้มาถึงแล้วนคะ  นั้นคือสัญญาน ที่ดีจากสังคมนั้นเอง  ไทยพีบีเอส เดินทางมาถึงดินแดนรักษ์โลกแห่งนี้แล้ว  มีเจ้าหน้าที่มา สามคน  คือ คุณนะ  คุณซี และ คุณต้า  บอกกับ น้องๆว่าจะมาถ่ายทำวีดีโอ เพื่อออกออากาศในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2557 นี้ น้องๆ ออกอาการเขินๆ แต่ก็ต้องกวาดๆ โกยๆ  อยู่  ปล่อยให้พี่ๆ ไทย พีบีเอส เก็บภาพ ตามอัธยาศัย  จนเวลา 15.00 น  พี่บีเดินดูการทำงานของ พี่น้องที่ช่วยกันพัฒนา ก็ได้กล่าวชื่นชมและขอบคุณที่ได้ทำสิ่งดีๆร่วมกับเยาวชน  แล้วเดินกลับมายังโรงเรียนบ้านป้าพร เพื่อพูดคุยกับ พี่ๆนักข่าว ไทยพีบีเอส จนกระทั้ง 17.00 น น้องๆและ พี่ไทยพีบีเอสเดินทางกลับที่พัก  ทางทีมงานโครงการก็ได้จัดเตรียมสถานที่ต่อเพื่อ จัดกิจกรรรมทำบุญเปิดร้านค้าสร้างสุขและ รับสมัคร กองทุนขยะสร้างสุขในวันพรุ่งนี้

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 45 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

1.บัณฑิตอาสา จำนวน 2 คน

2.ทีมงานโครงการ จำนวน 7 คน

3.นักวิชาการและเจ้าหน้าที่กลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อม จำนวน 6 คน

4.เยาวชนจำนวน  15 คน

5.ผู้สื่อข่าวจาก ไทย พีบีเอส  3 คน

6.ชาวบ้านจิตอาสา

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

อบรมเสียงตามสาย9 ตุลาคม 2557
9
ตุลาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อส่งเสริมการพัฒนาชุมชนด้านการจัดการขยะ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประชุมทีมงานโครงการ                  วันศุกร์    ที่ 3 ตุลาคม 2557
  2. นัดช่างติดตั้งเสียงตามสาย              วันจันทร์  ที่ 6 ตุลาคม 2557
  3. นัดเยาวชน ณ โรงเรียนบ้านป้าพร ใน  วันศุกร์    ที่ 3 ตุลาคม 2557 เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมเยาวชนเสียงตามสาย ในวันที่ 9 - 10 ตุลาคม 2557
  4. ทำหนังสือเชิญวิทยากร ถึง สถานีวิทยุมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  มอ.88 ในวัน พุธ ที่ 8 ตุลาคม 2557 เวลา 9.30 น.
  5. เยาวชนและบัณฑิตอาสา ออกเดินแจกใบประชาสัมพันธ์  วันพุธ ที่ 8 ตุลาคม 2557 เวลา 16.00 น.
  6. จัดกิจกรรมเสียงตามสาย ในวันพฤหัสบดี ที่ 9 และ วันศุกร์ ที่ 10 ตุลาคม 2557
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันพฤหัสบดี ที่ 9 ตุลาคม 2557  เวลา 15.00 น.

      เยาวชนเริ่มทยอยมายังศูนย์การเรียนรู้โรงเรียนบ้านป้าพรชุมชนป้อมหก น้องๆรู้สึกเบิกบานใจที่วันนี้จะได้มาเจอกันอีกครั้งกับเรื่องใหม่ๆ ที่ท้าทาย  พร้อมกับคุณครูคนใหม่ที่ไม่ค่อยคุ้นเคย  เมื่อคุณแมน บัญชร วิเชียรศรี  เดินทางมาถึง ก็ทำให้เด็กๆ ออกอาการเขินๆ  วันนี้น้องเฟิร์สเป็นผู้นำกล่าวทำความเคารพ  คุณครูพี่แมนทักทายน้องๆอย่างเป็นกันเอง และ ชื่นชมว่าประทับใจก้าวแรกที่ก้าวเข้ามาที่นี่คือ  รองเท้าของน้อง เป็นระเบียบมาก  ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะกฎ ระเบียบที่วางกันไว้ของครูซาร่า ครูนาเดียร์ และป้าพร ที่ตกลงกันก่อนเข้าเรียนนั่นเอง  ต่อมา ทางพี่บีได้แจ้งว่าวันนี้อาจเกิดอุปสรรค ด้านเทคนิคเรื่องการขึ้นติดตั้งเครื่่องเสียงอาจยังไม่ได้ใช้เสียงตามสายในวันนิ้ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ติดตั้งติดงานด่วน จึงไม่สามารถติดตั้งได้

    แต่คุณบัญชรกลับกล่าวว่า ไม่ได้เป็นปัญหาในการเรียนรู้ใดๆ เพราะวันนี้ตั้งใจจะให้น้องๆ ฝิกทักษะการอ่าน และ การพูดก่อน  จึงได้ให้น้องๆ เริ่มแนะนำตัว  จากการสังเกตุวิทยาการจะพูดเสียงเบาๆ  ทำให้เด็กๆ ต้องตั้งใจฟังและลดการพูดคุยลงเปลี่ยนเป็นฟังอย่างตั้งใจ น้องๆ เมื่อน้องแนะนำตัวเองครบทุกคนแล้ว พี่แมนก็เล่าเรื่อง การเป็นดีเจให้ฟังด้วยคำถามว่า  น้องๆทราบรึป่าว ว่า ดีเจ ทำอะไร  และใครอยากเป็นผู้จัดรายการหรือ ดีเจ  บ้าง  น้องๆ แย่กันตอบ  บางคนตอบว่า สนใจ รู้จัก อยากเป็นแต่ไม่กล้าพูด  บางคนเคยอ่านข่าวหน้าชั้นเรียนแต่ไม่เคยได้อ่าน ผ่านไมค์หรือเครื่องเสียงตามสาย  บางคนกล่าวว่า เคยรายงานจากการจัดกิจกรรมของชุมชน ปีที่แล้ว  หลากหลาย คำตอบที่ถ่ายทอดออกมา น่าสนใจอย่างยิ่ง  แต่พี่แมนได้เล่าให้น้องๆฟังเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ ว่า ผู้จัดการการวิทยุ มีรายได้ดีมาก ทำงานสองชั่วโมงมีรายได้ 500 ถึง 800 บาท ตามแต่ประสบการณ์  และ นักจัดรายการเหล่านั้น ทุกคนล้วนแล้วต้องฝิกฝนเหมือนน้องๆในวันนี้่ทั้งนั้น  ดังนั้น ไม่ต้องกลัวว่าเราจะทำไม่ได้ หรือไม่ต้องกลัวว่าจะไม่พูดไม่เก่ง เราทุกคนมีศักยภาพในตัวเองทุกคน ดึงมาใช้เกิดประโยชน์ แล้วพี่แมนก็ให้น้องๆ ลองอ่านบทความจาก บัตรคำ เรื่องผักพื้นบ้าน คนแรก น้องเฟิร์ส เด็กชายอายุราว 13 ปี  น้องตั้งใจอ่านแต่ดูขัดเขินนิดๆ  แต่ก็น่ารักสมวัย ดี  น้อง บีม เด็กผู้หญิงอายุ ราว 14 ปี  ภาพของเธอที่เห็นจนชินตา คือ เธอมักจะร่ายรำอยู่บนเวที แต่วันนี้ เธอยืนอ่าน ออกเสียงให้เพื่อนๆ ฟัง  เธอสายตาสั้น แต่พยายามจ้องมองตัวอักษรแล้วเปล่งเสียงอ่านออกมา อย่างรวดเร็ว  พี่แมน กล่าวชื่นชมที่เธอคล่อง แต่ อ่านเร็วไป ต้องช้ากว่านี้ เพื่อให้ผู้ฟังสามารถ จ้บใจความสำคัญของข้อมูลข่าวสารที่ถ่ายทอดออกมาได้ แพรวา เป็นเด็กหญิงตัวเล็ก ที่เก่งพอสมควร กล้าพูด กล้าแสดงออก  เธอทำได้ดีทีเดียวสำหรับ การอ่านในครั้งนี้  แต่บ่อยครั้งที่ พี่บีเห็นแพรวา จับไมค์ บ่อยๆ เธอจึงไม่เก้อเขิน กลับสนุกและฟังเพื่อนอย่างตั้งใจ  พี่แม่นกล่าวชื่นชมและบอกว่า เธอมีพรสวรรค์ ให้ฝึกพูดบ่อยๆ  แพรวาน่าจะทำหน้าที่ผู้สื่อข่าวแก่ชุมชนได้ดี     หลังจากนั้นยังมีน้องๆ หลายๆคน ได้อ่านให้พี่แมนฟังและแสดงความคิดเห็น ให้ฝึกทักษะด้านต่างๆ เพิ่มเติม  และให้การบ้านต่อสำหรับพรุ่งนี้คือ ให้น้องๆ นำข้อมูลอาจเป็นข่าวสารจากสื่อต่างๆ หรือ เรื่องราวที่น่าสนใจ อ่านและสรุปใจความสำคัญมา  แล้วอ่านหน้าชั้นเรียนให้ครูพี่แมนและเพื่อนๆ  ได้ ฟัง  นอกจากนั้นได้นัดแนะเวลา เพื่อเรียนรู้ต่อในวันพรุ่งนี้  ต่อจากนั้นก็ได้รับประทานอาหารค่ำร่วมกัน อย่างเพลิดเพลิน

          19.00 น. วิทยากร เยาวชน และ ทีมงาน ต่างพากันเดินทางกลับบ้าน โดยสวัสดิภาพ

            วันศุกร์ ที่ 10 ตุลาคม 2557  เวลา 11.30 น ทีมช่าง  เดินทางมาที่โรงเรียนบ้านป้าพร เช็คอุปกรณ์ และ เตรียมสายไฟ พร้อมขึ้นเสาเสียงตามสาย วันนี้อากาศร้อนมากทำเอาพี่ช่างเหงื่อตกเสื้อเปียกไปตามกัน  คุณณรงค์ชัยชูเรืองสุข  และคุณ สมพร  จันทวงศ์ ยืนเป็นกำลังใจให้อยู่ข้างล่าง  ลุ้นว่าถึงความปลอดภัยต่างๆ ที่จะเกิดขื้น แต่ช่างมืออาชีพ ก็สามารถสานฝันของน้องๆเยาวชนได้สำเร็จได้ด้วยดี  ทันท่วงที
พอถึงเวลา 14.00 น  วิทยากร และน้องๆ ก็พร้อมเพรียงกันแล้วที่ บ้านป้าพร วันนี้ใครทำการบ้านมาส่งครูบ้างเอ่ย  ประเด็นแรกที่ครูพี่แมนถามน้องๆ ในวันนี้  เด็กดีสามคนที่ทำการบ้านมาแล้ว ได้แก่ น้องมุข  น้อมแบม และน้องบีม  คุณครูเรียกน้องขื้นมาอ่านที่หน้าชั้นเรียน น้องแบมคนแรก เธออ่านเรื่อง สมุยหอม เธอถ่ายทอดออกมาด้วยอาการอายๆ  แต่ อย่างไรก็ตามถือว่าเธอก็เป็นเด็กดีที่มีความรับผิดชอบที่ดีคนหนึ่งสำหรับชั้นเรียนนี้่ทีเดียว อีกอย่างมาเรียนเป็นคนแรกทั้งสองวัน ถือว่าน้องแบมตั้งใจมากเลย ส่วนน้องอีกสองคนมีทักษะ การอ่าน การเขียนที่คล่องพอสมควร  ทันใดนั่นเองช่าง ก็เข้ามาต่อไมค์ในห้องเรียนและให้เช็คเสียงประมาณ 10 นาที น้องๆลุ้นอย่างตั้งใจที่จะได้ลองอ่านออกเสียง ผ่านเครื่องเสียงตามสาย เมื่อทุกอย่างพร้อม พี่แมนและพี่บีก็ได้กล่าว บทนำ นั่นเป็นการกระจายข่าวให้ทราบว่าที่มาที่ไปของโครงการมาได้อย่างไรและขณะนี้เยาวชนกำลังทำอะไร ผ่านเสียงตามสายนี้  ใช้เวลาประมาณ 8 นาที ต่อจากนั้นก็ได้แนะนำ ครูพี่เลี้ยง ทั้งสองท่านทั้งคุณซาร่า และ ครูฟาเดีย ให้ชาวบ้าน ได้ยินเสียงผ่านสื่อ หลังจากนั้นก็ถึงบทบาทสำคัญของน้องๆ เยาวชนคนเก่งของป้อมหกกันบ้างแล้ว น้อง บีม คือ เยาวชนคนแรกที่อาสาก่อนใคร เธอได้เล่าสาระน่ารู้ผ่านเสียงตามสายให้ชาวบ้านได้ฟัง เสียงน้องอาจจะแข็งไปนิดแต่นี่คือครั้งแรกของเธอ เชื่อมั่นอย่างยิ่งว่าเธอจะต้องเป็นผู้สื่อข่าวชุมชนที่เก่งและดีคนหนื่ง ทีเดียว  ต่อมาคือ น้องมุก มุกทำได้ดีมากเธอเล่าข่าวนักท่องเที่ยวประสบอุบัติเหตุที่สุราษฎร์ธานี  ท่าทางเธอมีความสุขมากเวลาเธอจับไมค์ดูเธอน่ารักสมวัย  คนนี้น่าจะมีแวว พี่แมนกล่าวชื่นชมเธอและยิ้มให้กำลังใจน้องมุก พร้อมบอกให้เธอฝึกฝนบ่อยๆจะได้เก่งขึ้น ึคนต่อมา น้องเฟิร์ส ดูท่าทางเขินอาย แต่เอาเข้าจริงๆ น้องก็ทำได้ดีทีเดียว  น่าสนใจเช่นกันสำหรับน้องเฟิร์ส  ขณะที่เพื่อนๆอีกหลายคนออกมายืนด้านหน้าของที่ทำการกองทุนขยะสร้างสุขเพื่อฟังเพื่อนๆของตนจัดรายการ  ดูอาการของเด็กๆวันนี้ ช่างมีความสุข ทีมงานและ วิทยากรก็มีความสุขเช่นกัน  หลังจากปิดรายการแล้ว น้องๆ ทีมงานและวิทยากรก็มานั่งพูดคุยถึงการจัดรายการให้น่าสนใจ จากผู้ฟัง พี่แมนแนะนำว่าหลังจากนี้เด็กน่าจะทำสปอตเพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการเข้ารายการ และ การจัดตารางการกระจายข่าวของเยาวชน และทีมงาน  เมื่อเสร็จสิ้นการ อบรม ทั้่งวิทยากร ทีมงาน ครูพี่เลี้ยง น้องๆ ก็ได้รับประทานอาหารว่างร่วมกันอย่างสนุกสนาน  ทันใดนั้นที่ปรึกษาโครงการ ท่านอาจารย์วัลภา ฐาน์กาญจน์ ก็ได้เดินทางถึงศูนย์บ่มเพาะเยาวชนพอดี เด็กๆดีใจ ทีมงานก็ดีใจมากที่ได้พบกับอาจารย์ในเวลานี้ที่ทุกคนก็ต่างๆมีความสุข  ท่านได้เข้ามาแสดงความยินดีกับชุมชนที่ได้ก้าวมาอีกก้าวหนึ่งของความสำเร็จ และชื่นชมเยาวชนที่ได้มีบทบาทสำคัญในการให้การช่วยเหลือและพัฒนาชุมชน ในด้านต่างๆ  เป็นอย่างดี  ทุกคนได้นั่งคุยกันต่ออย่างไม่มีใครอยากกลับ พอดีใกล้ถึงเวลาที่พี่แมนจะต้องจัดรายการต่อ จึงขอตัวกลับก่อน น้องๆ ก็ทยอยกลับบ้าน เหลือทีมงาน พี่เลี้ยงและ อาจารย์วัลภา กับพี่เลี้ยงบัณฑิตอาสา ยังคงนั่งปรึกษากันเรื่องการจัดตารางกิจกรรมอื่นๆที่ล่าช้าให้ทัน งวดที่ 1 และเรื่องอื่นๆที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทีมงาน พร้อมให้กำลังทีมงานให้ทำอย่างเต็มที เพื่อเป้าหมายเดียวกัน
18.30 น  เดินทางกลับบ้านอย่างสวัสดิภาพทุกท่าน  ระหว่างทาง พี่บีก็ได้สอบถามชาวบ้านว่า เสียงเป็นอย่างไรบ้าง อยากฟังเรื่องอะไรบ้างจากเยาวชน ชาวบ้านก็ยิ้มบ้าง  บอกกล่าวบ้าง  พี่หญิงเล่าให้ฟังว่า มีคนถามว่า เขาทำอะไรกัน พี่หญิงตอบ ก็เด็กๆ อ่านข่าว ป้อมหกแม่ลำโพงแล้ว  คนที่ฟังพี่หญิงตอบ  ยิ้ม  อย่างชื่นชม  แล้วตอบว่า ก็ดีนะ ข่าวจะได้ทั่วถึง  พี่บีได้ยินพี่หญิง เล่าให้ฟังอย่างนั้นก็รู้สึกดีใจ มีกำลังใจขึ้น  ใช่นี่มันอีกก้าวหนื่งของ คนสลัมอย่างเราจริงๆ  น่าภูมิใจนะ  สู้นะต้องสู้ท้อไม่ได้พวกเราเดินมาไกลเกินจะหยุดหรือ จะถอยแล้ว  ก้าวช้าหน่อยแต่สัญญา เราจะก้าวต่ออย่างแน่นอน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 28 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

คุณ บัญชร วิเชียรศรี  ผู้สื่อข่าวจากสถานีวิทยุ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  มอ.88

คุณ ณัฐวุฒิ  คงสุข    การศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย อำเภอหาดใหญ่

คุณ นูรอ  อีซอ      บัณฑิตอาสา มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์

คุณ พารีซา ปาเซเลาะ  บัณฑิตอาสา มหาวิทยาลัย สงขลานคริทร์

ทีมงานโครงการ  6 คน

เยาวชน  21  คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่สามารถติดตั้งเครื่องเสียงได้ตามกำหนด เนื่องจาก ช่างติดงานด่วน

วิธีการแก้ปัญหา  คือ ติดตั้งวันรุ่งขึ้น เวลา 11.00 น ก่อนอบรมเวลา 14.00 น.

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ติดตามและประเมินผลโครงการ1 ตุลาคม 2557
1
ตุลาคม 2557รายงานจากพี่เลี้ยง โดย อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการไม่สามารถเดินทางมาร่วมกิจกรรมได้ แต่ให้ทางทีมงาน นส.เปรมวดี ผอมเอียด ซึ่งเป็นคนลงบันทึกข้อมูลมาร่วมกิจกรรม โดยโครงการฯ เป็นโครงการที่ดำเนินงานงานในปีที่ 2 จึงมีความเข้าใจในการดำเนินกิจกรรม และการลงบันทึกข้อมูลในเว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข  ซึ่งก็ได้ให้คำแนะนำในบางกรอบคำถามที่ทางโครงการมีการใส่ข้อมูลที่คลาดเคลื่อนอยู่ เช่น ผู้เข้าร่วมกิจกรรมตามแผน กับผู้เข้าร่วมปฎิบัติจริง ตลอดจนรายละเอียดอื่นๆ ที่เว้ปไวต์มีการปรับข้อมูล ทั้งนี้เพื่อให้การรายงานกิจกรรมในเว้ปไซต์ มีความครบถ้วนสมบรูณ์

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-มีความเข้าใจสามารถลงข้อมูล ในเว้ปไซต์ได้
-จัดทำเอกสารการเงินมีความเรียบร้อย

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 1 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมร่วมกับพี่เลี้ยงเพื่อ ติดตามโครงการ1 ตุลาคม 2557
1
ตุลาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์

รายงานการดำเนินงานระยะที่ 1

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ทีมงานขอคำปรึกษาด้านการรายงานทางการเงิน  และ ปัญหาอุปสรรค์ต่างๆที่เกิดจากการดำเนินงานในงวดที่ 1

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ทีมงานได้รับคำแนะนำจากพี่เลี้ยงโครงการ ด้านต่างๆ

อาทิ การรายงานผลการดำเนินกิจกรรม       การรายงานด้านการเงิน สำหรับงวดที่ 1       การเขียนรายงานผลการดำเนินงาน       การรณรงค์ พื้นงดสูบบุหรี่

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 1 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

นางสาว เปรมวดี ผอมเอียด ทีมงานโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นส.อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

เปิดเวทีเตรียมความพร้อมสู่การปรับเปลี่ยนการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชนปีที่ 226 กันยายน 2557
26
กันยายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อให้ชาวชุมชนป้อมหกร่วม ปฏิญานตน เรื่อง การจัดการขยะ และสิ่งแวดล้อมในชุมชน
  2. เพื่อชี้แจงโครงการปีที่สองให้ชาวชุมชนป้อมหกทราบ  3. เปิดรับสมัคร กองทุนขยะสร้างสุข
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.ประชุมทีมงาน

2.ประชุมกลุ่มย่อย 5 ครั้ง

3.ออกแบบกิจกรรม เปิดโครงการ  รูปแบบ ที่ตั้ง  กิจกรรม กำหนดการ  กระบวนการ  วิเคราะห์ปัญหา และอุปสรรค์  วิธีการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค์

4.ออกหนังสือ ผู้ที่เกี่ยวข้อง  ออกแผ่นประชาสัมพันธ์ชาวบ้าน

5.จัดเตรียมเวที พื้นที่ อาหาร กิจกรรม ตามแผนที่วางไว้

6.ประชาสัมพันธ์อีกครั้ง ก่อน เริ่มกิจกรรม 2 ชั่วโมง ด้วย วิธี ขับรถสามล้อพ่วงประกาศ ทั่วชุมชน

ึ7.ดำเนินกิจกรรมตามแผนกิจกรรม เปิดโครงการแนวทางร่วมสร้างชุมชนป้อมหกให้น่าอยู่ปีที่ 2

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กำหนดการ

กิจกรรม เปิดเวทีชี้แจงโครงการแนวทางร่วมสร้างชุมชนป้อมหกให้น่าอยู่ปีที่ 2:

ป้อมหก Eco  planet ปฏิบัติการชุมชนรักษ์โลก

วัน พฤหัสบดี ที่ 25 กันยายน 2557

ณ  ทางเข้าชุมชนป้อมหก (ใกล้แพปลาลมเย็น)  อำเภอ หาดใหญ่ จังหวัด สงขลา


………………………………………………………………………………………………………

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อชี้แจงภาพรวมโครงการปีที่ สอง

  2. เพื่อทำความเข้าใจกติกาชุมชนด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม

  3. เพื่อจัดตั้งกองทุนขยะสร้างสุขชุมชนป้อมหก

กลุ่มเป้าหมาย

  1. นายกเทศมนตรีเทศบาลนครหาดใหญ่

  2. สมาชิกสภาเทศบาลนครหาดใหญ่  เขต 1

  3. ผู้อำนวยการสำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

  4. ที่ปรึกษาโครงการ  4    ท่าน

  5. คุณ พรรณี  บัวจีน    หัวหน้าส่วน ส่งเสริมสิ่งแวดล้อม

  6. คุณ อารีย์ สุวรรณชาตรี  พี่เลี้ยงโครงการแนวทางร่วมสร้างชุมชนป้อมหกให้น่าอยู่ ปีที่ 2

  7. คณะทำงานโครงการ  12 ท่าน

  8. คณะที่ปรึกษาและคณะกรรมการชุมชน  15  ท่าน

  9. อสม. ชุมชนป้อมหก

  10. ประชาชนชาวป้อมหก ทุกครัวเรือน

  11. เยาวชนชุมชนป้อมหกและเครือข่ายชุมชนสีเขียว


เวลา กิจกรรม

17.00 น. -  18.30 น. ลงทะเบียน รับของที่ระลึก

                เข้ารับการบริการจาก หน่วยงานต่างๆ

                1 . เปิดรับสมัครกองทุนขยะสร้างสุขโดยชุมชนป้อมหก

                2. ตรวจสุขภาพโดย อสม. ชุมชนป้อมหก

                3.ฉีดวัคซีน สุนัข  แมวโดย เทศบาลนครหาดใหญ่

                4.สอยดาว&nbsp; มหาสนุก<br />

                5.รับประทานอาหาร

18.30 น.     การแสดงมโนราห์

18.50 น.       การกล่าวรายงานผ่านวีดีโอ จากใจปี 1 สู่ปี 2

ชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ และ ละครเพื่อการเปลี่ยนแปลง

                แนะนำโครงการปีสอง
  • กฎ กติกา ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน

  • ทางเดินขยะชุมชนป้อมหก

  • กองทุนขยะสร้างสุข

  • ร้านค้า สร้างสุข

  • ภาพรวมกิจกรรมปีที่ สอง

19.30น. -  20.00 น. เปิดโครงการแนวทางร่วมสร้างชุมชนป้อมหก ให้น่าอยู่ปีที่ 2

                ป้อมหก Eco planet ปฏิบัติการชุมชนรักษ์โลก


-วีดีโอ รูปที่มีทุกบ้าน

                    - กล่าว คำปฏิญาณ ตน

-ประธานกล่าวเปิดงานโดยเป็นต้นแบบในการคัดแยกขยะผ่านสี่ แยกใส่ใจ  และรดน้ำต้นไม้

-ประธานกล่าวให้โอวาท

20.00 น. -  20.20น. แนะนำ บุคคลสำคัญของโครงการ

  • คณะที่ปรึกษาโครงการ

  • พี่เลี้ยงโครงการ

  • ทีมทำงานโครงการ

20.30 น. -การแสดงต้นไม้ของพ่อ โดย เยาวชน ชุมชนป้อมหก

20.40 น. -ร่วมร้องเพลง ศรัทธา ร่วมกัน

21.00 น.     เสร็จสิ้นการเปิดกิจกรรมโครงการแนวทางร่วมสร้างชุมชนป้อมหกให้น่าอยู่ปีที่ 2


          จากข้อมูลเบื้องต้น คือ กำนหดการตามแผน ซึ่งทีมงานก็ดำเนินการตามแผนที่ตั้งไว้


โดย เวลา 14.00 น.ฝ่ายสถานที่ ได้ลงพื้นที่เตรียมความพร้อมด้านสถานที่ ติดป้ายต่าง ปัญหาและอุปสรรค์ที่พบในช่วงนี้ก็คือ ฝนตกหนักมาก  นาน กว่า ชั่วโมง จนไม่สามารถ จัดโต๊ะ และซุ้มต่างๆ ได้


ทำให้ทีมงานเริ่มหนักใจว่า หากฝนตกไม่หยุด จะทำให้งานไม่ประสบผลสำเร็จตามแผนที่วางไว้ แต่เมื่อฝนเริ่มซาก็ทำให้ทีมงานใจชื้นขึ้น การจัดเตรียมพื้นที่ดำเนินการต่อทุกอย่างด้านสถานที่พร้อมการใช้


งาน หลังจากนี้ ซุ้มต่างๆ ก็ได้เข้ามาจัดเตรียมความพร้อม อาทิ ซุ้มลงทะเบียน ที่ แจกฟรีน้ำยาล้างจานสูตรมะนาวที่ ทำเองโดยทีมงานและน้องทราย ชาวชุมชนป้อมหก  โต๊ะบริการตรวจวัดความดันจาก


อสม ชุมชนป้อมหก  ซุ้มฉีดวัคซีน สุนัก แมว จาก หมอ นก งานป้องกัน จากเทศบาลนครหาดใหญ่  กองทุนขยะสร้างสุข ที่คอยให้บริการคำแนะนำ ด้านการรับสมัครกองทุน  อีกทั้งยังมีซุ้มสอยดาว และ


ซุ้มอาหาร ที่ บริการความหรรษา และอิ่มอร่อย ให้พี่น้อย ก็เตรียมความพร้อมรอรับพี่น้อง 


            ทีมงานอีกส่วนที่เป็นฝ่ายประชาสัมพันธ์ ได้นำซาเล้ง สามล้อพ่วงข้าง ได้ทำการประชาสัมพันธ์ทั่วชุมชน ให้ชาวบ้านได้เตรียมความพร้อมร่วมกิจกรรม ตามกำหนดการ วันนี้


17.30 น. ชาวชุมชนได้ทยอยเข้ามาลงทะเบียบและเข้ารับการบริการจากซุ้มต่างๆ  อย่างคึกคัก โดยเฉพาะสอยดาวมหาสนุก ได้รับความสนใจอย่างยิ่งจาก ชาวชุมชน  รวมภาพบรรยากาศการฉีดวัคซีน


สุนัข แมว วันนี้ เป็นไปอย่างคึกคัก  18.45 น  การแสดงชุดแรกมโนราห์ของนักเรียนสมานคุณ และ รำรีวิวประกอบเพลง คือหัตถาครองพิภพ ถูกใจท่านผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นอย่างยิ่ง


            19.00น นายกเทศบาลนครหาดใหญ่ได้มอบหมายให้ คุณ สัมฤทธิ์  บุญรัตน์ รองนายกเทศมนตรีเทศบาลนครหาดใหญ่ได้ ให้เกียรติเป็นประธาน เปิดโครงการแนวทางร่วมสร้างชุมชนป้อมหกให้


น่าอยู่ปีที่ สอง  โดยได้ร่วมชมวีดีทัศน์ จากใจปี 1 ถึง ปี สอง  และ พิธีกล่าวคำปฏิญานตนของชาวชุมชน ป้อมหก รวมถึงได้ให้เกียรติมอบทุนการศึกษาแก่เยาวชนต้นแบบ  ซึ่งทุนการศึกษาครั้งนี้ได้จากการ


จัดกิจกรรม ธนาคารขยะรีไซเคิล และตลาดนัด รีไซเคิล ได้มอบให้น้องตาล หรือ นายสถาพร ซึ่งเป็นเยาวชนที่ ทำงานส่งตนเองเรียน กศน และดูแลน้องสองคนที่อยู่ในวัยเรียน มีความกตัญญูต่อมารดา


และช่วยงานชุมชน ตามโอกาส  จากนั้นเป็นพิธีเปืดโครงการปีที่ 2 โดยท่านรองนายกได้ทำการสาธิตการคัดแยกขยะ กับ ชุด นวัตกรรม สี่แยกใส่ใจ และ ร่วมปลูกและรดน้ำต้นไม้


          หลังจากนั้นได้ให้โอวาทแก่โครงการ ท่านกล่าวขอบคุณชุมชนที่ได้ทำกิจกรรมดีๆ เพื่อเทศบาลนครหาดใหญ่ และชื่นชมที่ได้ทำอย่างต่อเนื่อง จนคิดริเริ่มจัดตั้งกองทุนเพื่อให้เกิดเป็นสวัสดิการแก่


คนในชุมชน  หลังจากให้โอวาทเสร็จ ได้ร่วมบันทึกภาพร่วมกับทีมงานโครงการบนเวที เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้ทีมงานโครงการ

            ต่อมาการแสดงที่เยาวชนและชาวบ้านรอคอย ได้เริ่มขึ้น น้องๆ ได้แสดงจินตลีลาชุด ต้นไม้ของพ่อ  ได้อย่างงดงามสมกับการรอคอยเป็นอย่างยิ่ง  พ่อแม่ผู้ปกครองของเยาวชนที่มาชม ยิ้มด้วย

ความอิ่มใจที่บุตรหลานจอมซนของตนเมื่อถึงเวลาทำอะไรดีๆ  ก็สามารถ แสดงพลังออกมาได้อย่างดี

            เปรมวดี  ผอมเอียด ได้นำทุกท่านสู่กิจกรรมต่างๆในปีที่ สอง  ทุกคนนั่งฟังอย่างตั้งใจ บรรยากาศค่อนข้างเป็นกันเอง คุยแบบคนกันเอง กระเซ้าเย้าแหย่กันบ้างตามประสาคนบ้านใกล้เรือนเคียง

  หลายท่านได้คุ้นเคยกับเนื้อหาสาระของโครงการเพราะได้รับฟังในเวทีย่อย และ จากการทำงานเชิงรุกที่คณะทำงานได้เดินไปพบปะพูดคุยกันแล้วก่อนหน้านี้ วันนี้เป็นการสรุปสิ่งต่างๆจากเวทีย่อยมา

ทำความเข้าใจ รับรู้กันอีกครั้งนั้นเอง

            วันนี้บริษัท ดีเทค ได้มาแนะนำสิ่งดีๆ กิจกรรมดีๆ แก่สังคม ด้วยการมาแนะนำการใช้งานโทรศัพท์มือถือ ใน บริเวณงานด้วย สร้างสีสัน เพิ่มเติมให้ชาวป้อมหกอีกทางหนึ่ง

      กิจกรรมเสร็จสิ้นด้วยดี  ก่อนลากันไปได้ร่วมร้องเพลงด้วยกัน กับบทเพลง ศรัทธา เสียงร้องของเยาวชน และ พี่ๆที่ร้องได้ช่วยกันร้องเพลงอย่างสุดเสียง  เป็นกำลังใจให้ทีมงาน และ ชาวบ้านทุกคนเริ่ม

ต้นกันอีกครั้งในการ จัดการสิ่งแวดล้อมของเรา ด้วยหัวใจที่เปี่ยมด้วยความศรัทธาในความดี นั่นเอง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 115 คน จากที่ตั้งไว้ 130 คน
ประกอบด้วย

1.คุณ สัมฤทธิ์  บุญรัตน์        รองนายกเทศมนตรีเทศบาลนคร หาดใหญ่

2.คุณ ไพศาล    ทองชูช่วย    พัฒนาชุมชน เขต 1

3.คุณ  ณัฐนันทร์  สังหันฤษี  สำนักการศึกษา  เทศบาลนครหาดใหญ่

4.คุณ อาณัติ หวังกุหลำ ที่ปรึกษาโครงการ

5.เจ้าหน้าที่ กลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อม  เทศบาลนครหาดใหญ่  5 ท่าน

6.นักศึกษาฝึกงาน มหาวิทยาลัย วลัยลักษณ์  2 ท่าน

7.เจ้าหน้าที่ กลุ่มงานป้องกัน  (หมอ นก) ฉีดวัคซีนสุนัขและแมว เทศบาลนครหาดใหญ่

8.นักศึกษาฝึกงาน 2 ท่าน

9.บัณฑิตอาสา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

10. อสม.ชุมชน ป้อมหก  จำนวน 4 ท่าน

  1. ทีมงาน 12 ท่าน

  2. เยาวชน 35 คน

  3. ชาวชุมชนป้อมหก  78  คน

  4. เครือข่ายชุมชนสีเขียว 3 ท่าน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

หน้าฝน  ฝนตกหนัก

วิธีแก้ปัญหา

  1. ฝ่ายสถานที่ปรับเปลี่ยน ใช้เต็นท์โค้ง และ จัดให้เวทีในเต้นท์

ผล สามารถดำเนินกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่องตามแผนแต่ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ป้ายเขตปลอดบุหรี่25 กันยายน 2557
25
กันยายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อรณรงค์ลดการสูบบุหรี่ในพื้นที่ดำเนินกิจกรรม

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ป้ายเขตปลอดบุหรี่ จำนวน 1 ป้าย

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 1 คน จากที่ตั้งไว้ 1 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

หารือกลุ่มย่อย ครั้งที่ 519 กันยายน 2557
19
กันยายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเปิดเวทีใหญ่  2. สรุปการดำเนินกิจกรรมประจำเดือน 3.รับสมัครสมาชิกกองทุนขยะสร้างสุขรอบที่ 1
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 5 กันยายน 2557  ได้นัดหมายหลังจากประชุมรอบผู้นำ เชิญร่วมประชุมเตรียมความพร้อม ในวันที่ 19 กันยายนเพื่อเตรียมความพร้อม

วันที่ 11,12,18,19 กันยายน รอบประชาชน  ได้นัดหมาย  วันเปิดรับสมัครกองทุนขยะสร้างสุข  สองรอบ รอบแรก วันที่ 19 กันยายน 2557 เวลา 09.30 น - 12.00 น และประชุมผู้นำเวลา 13.00 น - 16.00 น ณ ห้องประชุมสร้างสุข และ โรงเรียนบ้านป้าพร  ตามลำดับ

วันที่ 18 กันยายน 2557 ประชาสัมพันธ์ การรับสมัครกองทุนขยะสร้างสุข  ผ่านใบปลิว

วันที่ 19 กันยายน 2557 เวลา 09.30 น. - 12.00 น  เปิดรับสมัครกองทุนขยะ สร้างสุข

                                      13.00 -16.00น ประชุมเตรียมความพร้อมแบ่งความรับผิดชอบ แก่คณะทำงาน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เวลา 09.30  เป็นเวลาเริ่มต้นของการเปิดรับสมัครกองทุนขยะสร้างสุข  วันแรก ครั้งแรก ชาวชุมชนป้อมหกทยอยกันออกมาสมัครกองทุนขยะ กันอยู่เรื่อยๆ  รอบแรกดูเหมือนบางตา  ชาวบ้านที่มาต่างเตรียมเอกสาร สำคัญ มาแนบใบสมัคร  กองทุนขยะสร้างสุข      พร้อมเงินค่าธรรมเนียม 100 บาท  เมื่อมาถึงก็จะได้รับการแนะนำจากทีมงานเรื่องใบสมัคร สิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากกองทุน ให้ผู้สมัครฟัง ร่วมกับเจ้าหน้าที่ งานส่งเสริมสิงเวดล้อมมาร่วมกิจกรรม ณ ห้องประชุมสร้างสุข ผู้เข้าร่วมที่สนใจมีทั้งคน ไทย และ เขมร
ขั้นตอนของการให้บริการด้านเอกสารการรับสมัครในวันนี้

1 สมาชิกกรอกใบสมัคร สมาชิกกองทุนขยะสร้างสุข เพื่อร่วมสร้างสวัสดิการชุมชน

2 แนบสำเนา ทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประชาชน อย่างละ 1 แผ่น เซ็นต์สำเนาถูกต้อง    ในขั้นตอนนี้ ชาวบ้านหลายท่านยัง เซ็นต์สำเนาถูกต้องไม่ถูก ทางทีมงานได้แนะนำวิธีการขีดคล่อมที่ถูกวิธี เพื่อ ให้ชาวบ้านมีความรู้ และ ป้องกันการถูกหลอกและลวงฉ้อโกง  ได้ ในบางครั้งแม้เป็นเพียงบทเรียนรู้เพียงเล็กน้อย แต่ต้องเน้นย้ำและทำความเข้าใจให้ชาวบ้านของเราได้รับทราบ เพราะเราคือ คนบ้านเดียวกัน  ต้องช่วยกันดูแล

3  การชำระค่าธรรมเนียมรายปี  สมาชิกทุกท่านจะต้องชำระค่าธรรมเนียมรายปี ปีละ 100.- บาท เพื่อเข้ากองทุนในเฉลี่ยความเสี่ยงเพื่อเป็นเงินฌาปณกิจ เมื่อเสียชีวิตรับจากกองทุน 3000 บาท  ดังนั้น  การชำระค่าธรรมเนียมของสมาชิกในครั้งนี้ จะต้องได้รับใบเสร็จรับเงินจาก เจ้าหน้าที่กองทุน เพื่อเป็นหลักฐานสำคัญ ด้วย อีกทั้ง ให้สมาชิกนำใบเสร็จที่ได้ซึ่งทีมงานได้แนบใบเสร็จรับเงินนี้พร้อมหนังสือเชิญเข้าร่วมกิจกรรม่ เปิดเวที  เพื่อรับคู่มือและ แบบบันทึก รายรับทางบัญชีในการนำขยะเข้ากองทุน

    เวลา 13.00 น. อากาศร้อนมาก ห้องประชุมสร้างสุข ยังไม่ได้ติดตั้งระบบไฟฟ้า จึงย้ายเข้าไปประชุมที่ศูนย์บ่มเพาะโรงเรียนบ้านป้าพร  อากาศที่เย็นลง ทำให้บรรกาศการประชุม เต็มไปด้วยรอยยิ้ม สนุกสนาน และสร้างสรรค์  เปรมวดี ผอมเอียด ฝ่ายประสานงานโครงการ  ได้นำชวนคิดชวนคุย ในประเด็นการเตรียมการเปิดเวทีวันที่ 25 นี้  ได้แบ่งหน้าที่กันในเรื่องต่างๆ ดังนี้ 1 ฝ่ายลงทะเบียน  คุณมยุรา  คงมา  และ คุณ สุภาพร ศุภารัตน์

2 ฝ่ายอาหาร        คุณ ศิริพร  ลักษณะกะชา

3 ฝ่าย สถานที่่      คุณ  สัญญา  คงมา

4 ฝ่าย ต้อนรับ      คุณ สมพร  จันทวงศ์  คุณ ยุพา  หมัดโส๊ะ  คุณ อำไพ  ทวีทอง

5 ฝ่าย ประสานงาน  คุณ เปรมวดี  ผอมเอียด

ุ 6  ฝ่าย จัดแสดงและรับสมาชิก กองทุนขยะสร้างสุข  คุณ ระเบียบ  คงมา  และ  คุณ อารมณ์  ชูแก้ว

7  ฝ่าย  จัดแสดงซุ้ม สันทนา  พี่เพ็ญ  กับ น้อง ดาว

8 ฝ่าย อุปกรณ์ และ ฝ่าย เทคนิค  คุณ เชาวลี  ทองมา  เจ้าหน้าหน้าที่ งานส่งเสริมสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครหาดใหญ่

  นอกจากนี้ทางชุมชน ได้เชิญ อสม ชุมชน  เปิด ให้บริการ วัดตรวจสุขภาพ และ งานป้องกันของสาธารณสุขให้ความรู้ ฉีดวัคซีนสัตว์เลี้ยง  สุนัขและ แมว
ด้านชาวชุมชนที่เข้าร่วมหารือด้วย อยากเห็นกิจกรรมนี้ มีความครึกครื้น  จึงเสนอ ทำต้นสอยดาว  ร่วมกองทุนครั้งนี้่ด้วย


ึึ        จากภาพบรรยากาศการประชุมเตรียมการ ครั้งนี้ ทำให้ผู้ดำเนินการประชุม มีความรู้สึกอิ่มใจ สุขใจ ที่ได้เห็นการประชุมเป็นไปอย่างสร้างสรรค์ ไม่เคร่งเครียด  เห็นวิธีการร่วมคิดร่วมทำกันชัดเจนมากยิ่งขึ้น  รอยยิ้ม เสียงหัวเราะ  พลัง เกิดขึ้นมาอีกครั้ง  เหมือนเป็นคำมั่นสัญญา ว่า  เรา จะ ก้าว ไป พร้อมกัน อีกครั้ง


  เวลา  16.00 น . เสร็จสิ้นการประชุม

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 45 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

ชาวชุมชนป้อมหกที่เข้าร่วมการสมัครกองทุนขยะสร้างสุข รอบแรก  18  คน

ทีมงานโครงการ    10  คน

นักวิชาการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม  1  คน

ทีมงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อม  4 คน

บัณฑิตอาสา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 1 คน

อสม ชุมชนป้อมหก 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

เสวนากลุ่มย่อย ครั้งที่ 418 กันยายน 2557
18
กันยายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้กลุ่มเยาวชนได้รับทราบกิจกรรมต่างๆของโครงการ ปีที่ 2

2.เพื่อให้เยาวชนร่วมแสดงคิดเห็นด้านสวัสดิการจากกองทุนขยะที่เกี่ยวข้องกับเยาวชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. หารือร่วมระหว่าง บัณฑิตอาสา  ทีมงานโครงการ

  2. เตรียมอุปกรณ์  นัดวันประชุมกับเยาวชน เมื่อวันที่ 12  กันยายน 2557  ผ่าน โรงเรียนบ้านป้าพร

  3. จัดประชุมกลุ่มเยาวชน ณ ศูนย์บ่มเพาะเยาวชน โรงเรียน บ้านป้าพร

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

  ณ ศูนย์บ่มเพาะเยาวชน โรงเรียนบ้านป้าพร  เวลา 16.00 น  ป้าพร คุณ สมพร  จันทวงศ์  เตรียมพื้นที่ประชุม พร้อมทำกิจกรรม พื้นที่สะอาด สะอ้าน ขณะที่ ทีมงานท่านอื่นๆ รับผิดชอบเรื่องอาหาร และเครื่องดื่มสำหรับน้องๆ ก็ทยอย เข้ามา

ในช่วงเวลานี้ น้องๆเยาวชน เพิ่งกลับจากโรงเรียน  เนื่องจาก เรียนโรงเรียนคนละที่จึงมาไม่พร้อมกัน  ขณะที่รอคอยการมาประชุมของเยาวชน  ทีมงานก็ได้มีโอกาสนั่งถอดบทเรียน ของกองทุนขยะสร้างสุขคร่าวๆ  ครูซ่าร่า กล่าวชื่นชมเด็กๆ ว่า

เด็กๆที่นี่ ชอบทำกิจกรรมมาก ไม่ว่าจะทำกิจกรรมอะไร  ก็ให้ความร่วมมือแต่ต้องรอเพราะเด็กๆ เรียนชั้น มัธยม สอง สาม มักมาช้ากว่าน้องๆ ประถมเพื่อ เรียนติวบ้าง  วงโยทวาทิตย์  และกิจกรรมจากโรงเรียนบ้าง  ส่วนกิจกรรมที่เด็กๆ สนใจคือ

การได้ปลูกผักระยะสั้นอาทิ  ถั่วงอก ต้นหอม ตอนนี้ครูซาร่า และครูนาเดีย  กำลังฝึกให้น้อง เพาะถั่วงอก  ต้นหอม  และ ได้สอนน้องๆทำขนมโค  สีม่วงจากอัญชัน และ สีเขียวจากใบเตย ที่หาได้ในชุมชน  น้องๆทำขนมโคอย่างสนุกสนาน และได้

ขนมโครับประทานและแจกให้กับชาวบ้านที่อยู่ใกล้ๆ โรงเรียนบ้านป้าพร

              เวลา 17.00 น.  น้องๆ ทยอยมาพร้อมกัน พี่บีและ  ครูซาร่า เริ่มการประชุม  โดยอธิบายถึงโครงการปีที่สอง  และ กิจกรรมที่น่าสนใจ ของเยาวชน

กิจกรรมที่หนึ่ง  เยาวชนอยากมีส่วนร่วมเรื่องการแสดง  ได้ระดมความคิดเห็นกันว่าจะแสดงอะไรดี  น้องแพรกแกนนำเสนอว่าให้ชาวบ้านได้ชมการแสดงวีดีโอเพื่อการเปลี่ยนแปลง เรื่อง เยาวชนรักษ์สิ่งแวดล้อม    ครูซาร่า รู้สึกดีใจที่น้องๆคิดขึ้นมา

เองได้ โดยไม่ต้องชี้นำ  น้องๆอีกหลายคนอยากเต้นโชว์  ครูนาเดียร์ ถามว่าน้องๆคนไหนร้องเพลงต้นไม้ของพ่อได้บ้าง น้องๆ เกิดอาการ งำเงา หำเพลง แต่ร้องไม่จบ  น้องฝ้าย แสดงความคิดเห็นว่า  เธอเคยเห็นที่โรงเรียนใช้เพลงนี้เปิดพิธี

กีฬาสี เมื่อเดือนที่แล้ว ก็พอจะจำภาพได้บ้าง  ครูนาเดียร์ก้อนัดซ้อม วันพรุ่งนี้ เวลา 18.00น  หลังจากเรียนติวเสร็จ  น้องๆ ผู้ชาย แสดงความคิดเห็นต่อ  แล้วผู้ชายจะเต้นหรอ  คงไม่ถนัด บีบอยเต้นได้หรือไม่

ครูซาถามน้องๆ ว่า ถ้าผู้ชายร้องเพลงดีมั้ย  น้องๆ ดูท่าเขินๆ  แล้วพยักหน้า  ยิ้มๆ  ทีมงานโครงการเงียบ หันหน้ามองกัน  แต่ไม่พูดอะไรให้เด็กๆ คิดกันเอง


พี่บี เปรมวดี  ผอมเอียด  ได้ อธิบายให้น้องฟังเรื่อง กิจกรรม เยาชนเสียงตามสาย ที่น้องๆต้องเป็นผู้สื่อข่าวเอง  น้องๆ ดีใจ  แต่ น้องมุกต์ บอกว่า เธอไม่เก่ง  ไม่เอา  ไม่กล้า อาย  แต่จริงๆแล้วน้องมุกต์  ทำได้  เพราะเธอตั้งใจเรียน  พี่บีให้กำลัง

ใจ ไม่ต้องกลัวนะคะ  ฝึกได้  มีวิทยากรจาก มอ. 88  ฝึกให้ นอกจากนี้ กิจกรรม จัดบอร์ด จดหมายข่าว  เยาวชนก็ยังต้อง ทำในปีนี้  และปีดเทอมนี้  น้องๆ  จะมีกิจกรรมร่วมกับชุมชนเครือข่าย ชุมชนสีเขียว กับกิจกรรม นักสืบน้อยตามรอยขยะ

น้องๆดีใจที่จะได้พบกับเยาวชนเครือข่าย  นอกจากนี้ได้พูดคุยเรื่องๆอื่น เพื่อสานความสัมพันธ์กับเยาวชน วันนี้ได้กินขนม กับน้ำหวานฝีมือ ทีมงาน พี่ฝ้าย  พี่ พร  อร่อย และสนุก คุยกันอย่างออกรส

ในขณะที่ครูซาร่า  ค้นหาเพลงจากยูทูป เพลง ต้นไม้ของพ่อ น้องๆ ได้ฟังเพลงและออกท่าทาง ตามเพลง  ครูพี่เลี้ยง และทีมงาน ต้องหลบมาหัวเราะ เด็กๆ    คาดว่าพรุ่งนี้น้องๆ จะมาซ้อมและ ออกท่าทางกันน่ารักสมวัยอย่างนี้อีก


                18. 45  น. จบการประชุมแต่ น้องๆ ยังอยู่ซ้อมเพลง ซ้อมเต้นก่อน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 23 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

1 . บัณฑิตอาสา 3 คน

2 . ทีมงาน  5  คน

3 . เยาวชน  15 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

หารือกลุ่มย่อย ครั้งที่ 312 กันยายน 2557
12
กันยายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้ทีมงานรับทราบภาพรวมของโครงการ  2. ร่วมสร้างกติกาชุมชนด้านสิ่งแวดล้อม      3. เพื่อร่วมแสดงความคิดเห็น เรื่องสวัสดิการ กองทุนขยะสร้างสุข

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1 ส่งจดหมายเชิญ  โดยการเคาะประตูบ้าน และ เดินประชาสัมพันธ์

2.จัดเตรียมสถานที่ อุปกรณ์ เพื่อ สร้างกระบวนการ

3.จัดประชุม ณ ลานสุข  ห้องประชุม  สร้างสุข

4.รวบรวมข้อมูลจากการประชุม

5.จัดประชุม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การประชุม รอบนี้เป็นการประชุมที่มีกลุ่มผู้เข้าประชุมอยากหลากหลาย  เนื่องจาก บริเวณดังกล่าวของชุมชนประกอบไปด้วยกลุ่มคนชาวไทย ที่ประกอบอาชีพค้าขายในตลาด  ชาวเขมร และ พม่า ที่เข้ามาใช้แรงงาน  ดังนั้น  ตัวแทนครัวเรือนที่ส่งเข้ามาประชุุมกันอย่างหลากหลาย

ความสามารถด้านภาษาของผู้นำเสนอข้อมูลอาจไม่ดีแต่  พยายามสื่อสารให้ เข้าใจ อย่างช้าๆ  ซึ่งในเวลา 13.30 น  ชาวบ้านที่ได้รับหนังสือเชิญได้ทยอยเข้ามาร่วมกิจกรรม แต่สิ่งที่เห็นในวันนี้ คือ คุณ สมพร  จันทวงศ์  ได้เดินถือ เครืองเสียงขนาดเล็ก  และไมโครโฟน  เดิน ประชาสัมพันธ์  เรียกชาวบ้าน เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ ซื่งปรกติ  ป้าพร  ไม่ค่อย ชอบพูดออกทางไมโครโฟนสักเท่าใดนัก  แต่ป้าบอกกับทีมงานว่า  ค่อยฝึกทีละนิด น่าจะดีเอง  วันนี้การใช้วิธีนี้เห็นทีว่า  จะดี และน่าสนใจทีเดียว  ตัวแทนชุมชนและชาวบ้านให้ความสนใจกันมากขี้น  เมื่อทุกคนพร้อมกันที่ ห้องประชุมสร้างสุข แล้ว  ก็ได้เริ่มในการนำเสนอ ข้อมูลเพื่อแลกเปลี่ยน  กัน  ทั้งด้านการจัดการขยะในปีที่ผ่านมา  อุปสรรค์ ปัญหาและสิ่งที่ต้องการ  การแก้ไข  จนกระทั้งนำคิดนำคุยสู่การสร้างกติการชุมชนด้านสิ่งแวดล้อม  นางจำเนียร  อินเรน หนื่งในผู้เข้าร่วมประชุม กล่าวว่า  ต้องค่อยเป็น ค่อยไป  จะทำทีเดียวให้สำเร็จไม่ได้ต้องอาศัยเวลา เพราะชาวบ้าน แต่ละบ้านมีพฤติกรรมการรับรู้ที่แตกต่างกัน    บางคนทำได้ทันที  บางบ้าน ทำมาหากินเช้าค่ำ  ก็ค่อยๆ ปรับกันไป  บางบ้านมีผู้สูงอายุ อยู่ลำพัง  ลำบากในการยกขยะเข้าออกตามเวลา  ต้องรอลูกหลาน  ทางทีมงานชี้แจงถึงเรื่อง  กองทุนขยะ  หากต้องนำส่งขยะรีไซเคิล บ้านที่มีคนชรา  คนป่วย หรือ หญิงมีครรภ์ ในวันสมัคร หากให้ทีมรับด้วยรถซาเล้งพ่วงข้างขอให้แจ้ง  ทางทีมงานไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ บริการฟรี แต่สำหรับการจัดเก็บขยะทั้วไปนั้น ให้ชาวบ้านทิ้งในวันเวลาที่กำหนด  ซึ้่งทุกครัวเรือนต้องค้ดแยกขยะ  ก่อนทิ้งทุกครั้ง  และ ใส่ถุง มัดปากถุง และทิ้งในวันจันทร์ ห้าโมงเย็น  วันศุกร์ บ่าย สองโมง  อีกประการหนื่งที่กล่าวในประเด็น  กติกาสิ่งแวดล้อม คือ ห้ามทุกครีวเรือนเผาขยะเด็ดขาด เนื่องจาก  มีบังคับด้วยกฎเทศบัญญัติ  ห้ามเผาขยะในชุมชน  ฝ่าฝืน จับปรับตามกฎ

        เข้าสู้เรื่องที่สองในการประชุมกลุ่มนี้คือ กองทุนขยะสร้างสุข  ทีมงานได้ให้แนวทางและขอข้อเสนอแนะจากที่ประชุม จากสิทธิประโยชน์ที่กองทุนเสนอในฉบับร่าง ทำให้ผู้เข้าร่วมประชุม รับทราบและแลกเปลื่ยนความคิดเห็นกันอย่างน่าสนใจ  ตัวแทนชาวพม่า ท่านหนึ่งที่พอจะสื่อสารภาษาไทยได้บ้าง  ได้ถามที่ประชุมว่า  พม่าทำได้หรือไม่  ทีมงานได้ตอบว่า  สามารถทำได้ เพราะกองทุนนี้เกิดขื้นโดยผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อดูแลคนในชุมชนด้วยกัน  ดังนั้น  สัญชาติ จึ่งไม่เกี่ยวข้อง หากพักอาศัยหลับนอนอยู่ในชุมชนนี้่ ไม่ว่าไทย พม่า เขมร  สามารถ ร่วมกิจกรรม กับทางกองทุนได้ทั้งสิ้น 


        ทีมงานได้เล่าแจ้งตารางการทำกิจกรรมชุมชนให้ที่ประชุมได้ทราบเพื่อจะได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆร่วมกัน  และนัดวัน เปิด กองทุนขยะสร้างสุขเพื่อ รับสมัคร สมาชิกในวันศุกร์  ที่ 19 ตุลาคม  2557  เวลา 09.30น  ณ ลานสุขใจ ห้องประชุม สร้างสุข  โดยพร้อมเพรียงกัน


circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 24 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

-ทีมงาน  4  คน
-ตัวแทนครัวเรือน  / จำนวน  20  ครัวเรือน

-บัณฑิตอาสา มอ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

การประชาสัมพันธ์

การใช้หนังสือเชิญ อย่างเดียวยังไม่เพียงพอกันคนป้อมหก ต้องเดินเคาะประตูบ้านด้วยเมื่อใกล้ถึงเวลาประชุม เพื่อกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวในการเข้าร่วมการประชุม

วิธีแก้ไข  คุุณสมพร  จันทวงศ์  ใช้เครื่องเสียงแบบเคลื่อนที่  เดินประกาศตามครัวเรือนกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเรียกเข้าประชุมพร้อมเพรียงกัน

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

การเสนากลุ่มย่อย ครั้งที่ 211 กันยายน 2557
11
กันยายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์

1.ร่วมร่างกติกาชุมชน
2.ร่างสวัสดิการกองทุนขยะสร้างสุข
3.ชี้แจง- รับทราบ กิจกรรมต่างๆ ตลอดระยะเวลาโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. หารือ ออกแบบกิจกรรม กับบัณฑิตอาสาและทีมงาน
  2. ออกเอกสารประชาสัมพันธ์ กองทุนขยะสร้างสุข
  3. เดินประชาสัมพันธ์ แบบเชิงรุกเคาะประตูบ้านพร้อมทั้ง ขอข้อคิดเห็นประเด็น กติกาชุมชน กองทุนขยะสร้างสุข อธิบายตารางกิจกรรม 4.ค้นหาครัวเรือนต้นแบบพลังงานทดแทน  เพื่อ หารือต่อในรอบบ่าย
  4. หารือกับครัวเรือนต้นแบบพลังงานทด แทน 3-4 หลังคาเรือน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

    เนื่องจากถนนถัดอุทิศ เป็นย่านค้าขาย หอพัก และ ตลาด การนัดประชุมเพือ่รวมตัวกันนั้นค่อนข้างเป็นเรื่องไม่ง่ายสำหรับทีมงาน จึงใช้วิธีการขอความคิดเห็นจากประชาชน โดยการเข้าประชาสัมพันธ์แบบเคาะประตู - เล่าสู่กันฟัง  ซื่งจากการเข้าเยี่ยมบ้านเรือนที่อาศัยอยู่ในถนน ถัดอุทิศ พบว่า  ผู้ที่อยู่ในบ้านคือ ผู้สูงอายุเป็นจำมาก ทีมงานและบัณฑิตอาสาจึงเข้าอธิบายให้ชาวบ้านฟังถึงกองทุนขยะสร้างสุข  ซึ่งได้ผลตอบรับค่อนข้างดีพอสมควร น้าเขียวซื่งเป็นชาวบ้านได้กล่าวชื่นชน ว่า เป็นโครงการที่ดี ส่วนมากขยะถูกในบ้านหากเป็นขยะรีไซเคิลมักจะทิ้งรวมกันกับขยะอื่นๆ เพราะคิดว่า น้อยชิ้น หากเก็บไม่ก็เกะกะเนื่องจากบ้านไม่มีพื้นที่มากนัก  หากพอมีบ้างเล็กน้อยก็ยกให้คนที่เค้าเก็บขายไป  จะขายก็ไม่น่าจะได้เงินมากมายอะไร  แต่ก็ไม่เคยมีที่ไหน ที่รับขยะไว้สะสม แล้วมีสวัสดิการต่างๆให้กับเรา  น่าสนใจพอสมควร  จากคำกล่าวของน้าเขียวทำให้ทีมงานและ บัณฑิตอาสามีกำลังใจในการทำงานในวันนี้และมุ่งมั่นตั้งใจจะทำกองทุนขยะอย่างเต็มที่ เพื่อบริการชาวบ้านของเรา  นอกจากนี้ ป้ารัตน์ ซึ่งมีอาชีพ ขายเครื่องดื่มหน้าโรงเรียนแต่พักอาศัยอยู่ในชุมชน กล่าวว่า ขวดที่ขายน้ำมีมากแต่ละวัน ไม่ตำกว่าสิบใบ  อยากรู้เหมือนกันว่า หากเข้ากองทุนจะเป็นเงินเท่าไหร  ก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจ  เพราะปรกติก็มีคนขายน้ำอ้อยมาซื้อขวดบ้าง ฝาบ้าง  แต่ป้าให้ซะมากกว่า  เห็นว่ามันเบาๆ  ไม่มาก  แต่ถ้ามันทำให้เกิดการออม มีเงินสะสม และสวัสดิการ ก็น่าจะส่งเข้ากองทุนดีกว่า  ส่วนน้าภูมิขายปลาเค็มในตลาด กล่าวว่า มีอะไรขอให้มาบอก น้าอาจไม่ได้เค้าร่วมประชุมด้วยแต่อะไรช่วยได้จะช่วย  เมื่อกล่าวถึงกองทุน  น้าภูมิสนใจ  ก็เห็นแต่กองทุนที่ส่งเงินสะสม นี่ส่งขยะ  ก็แปลกดีนะ  ไม่เคยพบที่ไหน ช่างคิดช่างทำนะ ดีเหมือนกันร้านจะได้ไม่รก  ทีมงานก็ได้เล่ารายละเอียดให้ฟังเพิ่มเติม ก็ได้กำลังใจกลับมา

การเดินสำรวจครั้งนี้พบว่าหลายๆ บ้านก็ปิด รอเวลาเปิดขายสินค้าในตอนบ่ายสองโมงซึ่ง ถนนจะถูกเปลื่ยนเป็นตลาด  ทีมงานจึงเร่งสำรวจให้เสร็จสิ้นก่อนเวลาตลาด  รวมถึงชวนคิดชวนคุยในประเด็น อื่นๆ  ที่น่าสนใจด้วย ซึ่งประเด็นที่ต้องสำรวจพร้อมๆ กันคือ เรื่องพลังงานทดแทน  ได้ครัวเรือนต้นแบบ สามถึงสี่ครัวเรือนจึงนัด คุย ในรอบบ่ายโมง ครึ่งในวันเดียวกัน


        ป้าเถียร  กล่าวว่าที่บ้านสนใจที่จะทำพลังงานทดแทนเรื่องแก็สชีวภาพ  เพราะพอจะมีพื้นที่ หลังบ้านที่กว้างพอจะวางถังหมักได้อีกอย่าง ร้านอาหารใกล้เคียงมักให้เศษอาหารมาเสมอ หมักทำน้ำหมักก็มาก  แต่ช่วงนี้แก็สมีราคาแพง จึงอยากทดลองทำแก็สชีวภาพ น่าสนใจ ลดค่าใช้จ่าย

        ป้ายุพา  หมัดโส๊ะ  กล่าวว่า  อยากเป็นครัวเรือนต้นแบบด้านพลังงานทดแทนเหมือนกัน เพราะลูกสาวมีร้านอาหารตามสั่งมีเศษอาหารทุกวัน น่าจะดีถ้านำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ที่มากกว่าส่งให้เทศบาลจัดเก็บไป อีกอย่างหลังบ้านก็ว่างพอจะวางถังได้  เอามาวางไว้ได้เลย เด็กๆจะได้เข้าไปดูตัวอย่างนี้


การเดินทางสำรวจครั้งนี้ ทำให้ทีมงานรู้สึกอิ่มใจมากที่ได้ใกล้ชิด พูดคุยกันแลกเปลืยนสิ่งดีๆ ต่อกัน  การทำงานเช่นนี้ก็ทำให้เข้าใจคำว่า  เข้าใจ  เข้าถึง พัฒนา  ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเราชัดเจนขึ้นนั่นเอง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 120 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

ชาวบ้านที่อาศัยบนถนน ถัดอุทิศ ชุมชนป้อมหก อำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลา

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

บ้านบางส่วนไม่มีคนอยู่
วิธีการแก้ปัญหา

ไปเดินเยี่ยมใหม่วันหน้า แนบเอกสารไว้ในตู้จดหมาย

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

หารือกลุ่มย่อย ครั้งที่ 15 กันยายน 2557
5
กันยายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อให้ทีมงานรับทราบภาพรวมของโครงการ
  2. ร่วมสร้างกติกาชุมชนด้านสิ่งแวดล้อม
  3. เพื่อร่วมแสดงความคิดเห็น เรื่องสวัสดิการ กองทุนขยะสร้างสุข
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1 ส่งจดหมายเชิญ  โทรแจ้ง  แกนนำ อสม ทีมงานโครงการ คณะกรรมการชุมชน  และ กลุ่มสตรี ชุมชนป้อมหก

2.จัดเตรียมสถานที่ อุปกรณ์ เพื่อ สร้างกระบวนการ

3.จัดประชุม ณ ลานสุข  ห้องประชุม  สร้างสุข

4.รวบรวมข้อมูลจากการประชุม

5.  รายงานกิจกรรม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เวลา 13.30 น. ณ ลานสุขใจชุมชนป้อมหก  ทีมงาน  คณะกรรมการชุมชน อสม กลุ่มสตรี  ทยอยเข้าสู่ห้องประชุม สร้างสุข กันพร้อมหน้า
เปรมวดี ได้นำคิดนำคุยในประเด็นต่างๆ ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ สาม ประเด็น ดังนี้

1.กติกาชุมชนด้านสิ่งแวดล้อม

2.สวัสดิการกองทุนขยะสร้างสุข

3.ภาพรวม โครงการปีสอง

สรุปเนื้อหาสาระที่ได้จากการหารือกลุ่มผู้นำเรื่อง กติกาชุมชน  ให้ความเข้มข้นกับการจัดการสิ่งแวดล้อมขึ้น  ทั้งด้านค้ดแยกจากจริงจัง และมีการประเมินจากภายในและภายนอก

ด้านการจัดสวัสดิการชุมชน ได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็น ดังนี้
สมาชิกต้องจ่ายค่าธรรมเนียม ปีละ 100 บาท และนำขยะมาเข้ากองทุน  ทุกวันศุกร์ อย่างน้อยเดือนละ สามสิบบาท  ครบ สองเดือน สามรถเบิกถอนกับกองทุนได้ และสามารถร่วมรายการกับร้านค้าสร้างสุข เพื่อแลกเป็นสินค้า อุปโภค บริโภค ได้ โดยไม่ต้องใช้เงินใช้คูปอง ที่เบิกถอนจากกองทุนสร้างสุขแทนได้ สมาชิกที่ส่งขยะครบ หกเดือนจะได้รับสิทธิเงิน ฌาปณกิจศพ รายละ 3000 บาท นอกเหนือจากนี้ ทุกศุกร์แรกของสัปดาห์สมาชิกจะได้รับการตรวจสุขภาพ วัดความดัน และ คำแนะนำด้านสุขภาพจาก อสม  ฟรี  หลังจากนำขยะเข้ากองทุน เวลาเปิดบริการ  13.00 น ถึง 16.00 น.ในทุกวันศุกร์ตั้งแต่ตุลาคม เป็นต้นไป

      นอกจากนี้ยังได้มีการเลือกคณะกรรมการกองทุนขยะสร้างสุข  ดังนี้

คุณ ณรงค์ชัย  ชูเรืองสุข    ประธานกองทุน คุณ สัญญา    คงมา        รองประธานกองทุน คุณ การนต์สินี  คงมา      เลขานุการกองทุน คุณ สุกัญญา    วัฒนพรหม  ฝ่ายบัญชี
ร่วมกับคณะทำงานโครงการอีก 9 ท่าน ร่วมเป็นคณะกรรมการ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 25 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม รอบผู้นำดังนี้

1.คุณ พรรณี บัวจีน  นักวิชาการสุขาภิบาล 8 ว.

2.เจ้าหน้าที่กลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อม  4  คน

3.บัณฑิตอาสา มหาวิทยาลัย  2 คน

4.คุณ ณรงค์ชัย  ชูเรืองสุข  ประธานชุมชนป้อมหก

5.ทีมงานโครงการ      จำนวน 7 คน

6.คณะกรรมการชุมชน  จำนวน  7 คน

7.อสม                      จำนวน 3  คน

8.กลุ่มสตรี                  จำนวน  3 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมปฐมนิเทศโครงการชุมชนท้องถิ่นนาอยู่ 255714 มิถุนายน 2557
14
มิถุนายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อทำความเข้าใจโครงการชุมชนท้องถิ่นให้น่าอยู่ ปี 2557

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมทำความเข้าใจการดำเนินโครงการชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ปี 2557  ดังนี้

-การใช้ระบบฐานข้อมูลเว็บไซต์ คนใต้สร้างสุข

-การจัดทำเอกสารรายงานการเงินโครงการ ง.1 ,ง.2,การจัดทำรายงานงวด ส.1, ส.2, ส.3

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ทีมงานได้ร่วม ประชุมทำความเข้าใจการดำเนินโครงการชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ปี 2557  ดังนี้

-การใช้ระบบฐานข้อมูลเว็บไซต์ คนใต้สร้างสุข

-การจัดทำเอกสารรายงานการเงินโครงการ ง.1 ,ง.2,การจัดทำรายงานงวด ส.1, ส.2, ส.3

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

-นายสัญญา คงมา

-นาย ณรงค์ชัย  ชูเรือ่งสุข

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นส.อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมปฐมนิเทศโครงการชุมชนท้องถิ่นนาอยู่ 255714 มิถุนายน 2557
14
มิถุนายน 2557รายงานจากพี่เลี้ยง โดย อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจในการดำเนินงานชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่แก่คณะทำงานโครงการฯ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการ และคณะทำงานโครงการ เข้าร่วมปฐมนิเทศชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่พื้นที่ภาคใต้ ปี 2557 จำนวน 3 คน โดยมีสถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้(สจรส.มอ.)ได้ให้คำแนะนำการดำเนินโครงการชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ เช่น การใช้ระบบฐานข้อมูลเว้ปไวร์ คนใต้สร้างสุข ,การจัดทำเอกสารการเงิน,การจัดทำข้อตกลง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้รับผิดชอบโครงการได้ลองฝึกการบันทึกข้อมูลลงในเว้ปไซร์คนใต้สร้างสุข เช่น การลงปฎิทินการทำงาน,การลงรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการ และแผนภาพ ซึ่งทางผู้รับผิดชอบโครงการสามารถปฎิบัติได้

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการ 1 คน และบัณฑิตอาสา จำนวน 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ทางพื้นที่โครงการมีการทำงานร่วมกับบัณฑิตอาสา ดังนั้นการเปิดโอกาสให้บัณฑิตอาสาเข้ามาร่วมกิจกรรมโครงการและร่วมกิจกรรมกับ สจรส.มอ. จะช่วยให้บัณฑิตอาสาเข้าใจบริบททางสังคมมากขึ้น และจะแรงขับเคลื่อนในการพัฒนาชุมชนในอนาคต