แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ ขยะลอยน้ำบ้านเปี๊ยะหัวเนิน(ต่อยอด) ”

บ้านเปี๊ยะหัวเนิน หมู่ที่ 7 ตำบลคลองน้อย อำเภอปากพนัง

หัวหน้าโครงการ
นางสาวจารุณี ทองแก้ว

ชื่อโครงการ ขยะลอยน้ำบ้านเปี๊ยะหัวเนิน(ต่อยอด)

ที่อยู่ บ้านเปี๊ยะหัวเนิน หมู่ที่ 7 ตำบลคลองน้อย อำเภอปากพนัง จังหวัด นครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ 57-02551 เลขที่ข้อตกลง 58-00-0099

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 ตุลาคม 2014 ถึง 18 พฤศจิกายน 2015


กิตติกรรมประกาศ

"ขยะลอยน้ำบ้านเปี๊ยะหัวเนิน(ต่อยอด) จังหวัดนครศรีธรรมราช" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านเปี๊ยะหัวเนิน หมู่ที่ 7 ตำบลคลองน้อย อำเภอปากพนัง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ขยะลอยน้ำบ้านเปี๊ยะหัวเนิน(ต่อยอด)



บทคัดย่อ

โครงการ " ขยะลอยน้ำบ้านเปี๊ยะหัวเนิน(ต่อยอด) " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านเปี๊ยะหัวเนิน หมู่ที่ 7 ตำบลคลองน้อย อำเภอปากพนัง รหัสโครงการ 57-02551 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 ตุลาคม 2014 - 18 พฤศจิกายน 2015 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 185,900.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 1350 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อจัดการขยะครบวงจรให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่สะอาดปราศจากโรค
  2. เพื่อให้เกิดกลไกในชุมชนกระตุ้นให้มีการเรียนรู้และเกิดการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะอย่างยั่งยืน
  3. เพื่อบริหารจัดการและติดตามผลการดำเนินโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ปฐมนิเทศโครงการ

    วันที่ 30 พฤศจิกายน 2014 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ลงทะเบียน เข้าร่วมการประชุมปฐมนิเทศน์ ผู้รับผิดชอบโครงการ ร่วมสร้างชุมชน และท้องถิ่นน่าอยู่ ปี 2557 รอบ 2 วันที่ 29-30 พ.ย. 2557 ณ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์
    รับฟังข้อชี้แจง กระบวนการและระบบติดตามประเมินผล เพื่อการหนุนเสริมโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถินให้น่าอยู่ พื้นที่ ภาคใต้ โดย ผศ.ดร. พงค์เทพ สุธีรวุฒิ -ความคาดหวังประสบการและแนวทางในการจัดทำรายงานผลและรายงานการเงินโดย คุณปรีดารัตน์ ศรัทธานนท์กุล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) -การบริหารจัดการโครงการและวิธีการจัดการปัญหา โดยคุณ กำไล สมรักษ์ -การบริหารจัดการงบประมาณ การเก็บหลักฐานปละเอกสารการเงิน โดย คุณ สมบูรณ์ ขวัญสง
    -การจัดทำรายงานโครงการและรายงานการเงินโดย คุณ กัญนภัส จันทร์ทอง -จัดทำรายงานทาง เว็บไซต์ คนใต้สร้างสุข www.happynetwork.org โดยพี่เลี้ยงโครงการ -ฝึกปฏิบัติการในหัวข้อการป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการในเว็บไซต์
    -วางแผนการดำเนินงานและป้อนแผนการดำเนินงาน ในปฏิทินโครงการ การรายงานผลการจัดกิจกรรม และรายจ่ายในกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้แผนการทำกิจกรรมตลอดโครงการ พร้อมการลงข้อมูลรายละเอียดโครงการและปฏิทินการทำงานบนเว็บไซต์ฯ
    • คณะทำงาน มีความเข้าใจ ในการจัดทำรายงาน ทุกขั้นตอน

     

    2 2

    2. จัดทำป้ายรณรงค์เขตปลอดบุหรี่

    วันที่ 2 ธันวาคม 2014 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดทำป้ายรณรงค์เขตปลอดบุหรี่ และติดป้าย ณ ศาลาหมู่บ้านในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีป้ายรณรงค์เขตปลอดบุหรี่ ที่ศาลาหมู่บ้านหมู่ที่ 7 บ้านเปี๊ยะหัวเนิน

     

    10 15

    3. ประชุมคณะกรรมการครั้งที่1

    วันที่ 11 ธันวาคม 2014 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เจ้าของโครงการชี้แจงงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจาก สสส และชี้แจงการวางแผนการจัดทำปฏิทินโครงการที่ได้ร่วมกันจัดทำขึ้นในวันปฐมนิเทศ ที่ประชุมเห็นด้วยตามแผนที่วางไว้ และมอบหมายงานพร้อมวางแผนจัดกิจกรรมในครั้งต่อไป มอบหมายให้ทีมงานประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าเข้าร่วมกิจกรรมตามแผนที่วางไว้ และให้เลขาโครงการจัดเตรียมเอกสวารให้พร้อมเช่นใบลงทะเบียน และติดต่อประสานงานจัดเตรียมอาหารในวันจัดกิจกรรมให้เหมาะสม ทุกคนรับทราบภาระกิจและพร้อมจัดกิจกรรมในครั้งต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการเข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงการและรับทราบภาระกิจพร้อมดำเนินกิจกรรมตามแผนที่วางไว้

     

    20 20

    4. ประชุมชี้แจงโครงการ

    วันที่ 24 ธันวาคม 2014 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ลงทะเบียน ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 63 คน ผู้ใหญ่กล่าวต้อนรับและชี้แจงงบประมาณที่ได้รับ สนับสนุนจาก สสส ในปีที่ 2 และแนะนำพี่เลี้ยงโครงการและแจ้งวัตถุประสงค์ในแต่ละกิจกรรมที่จะดำเนินการ พร้อมทั้งแจ้งแผนการจัดกิจกรรมตลอดโครงการว่าระยะไหนต้องร่วมกันทำอะไรบ้างงบประมาณที่ใช่จ่ายเป็นค่าอะไรบ้างในแต่ละกิจกรรม พี่เลี้ยงช่วยเสริมและเน้นย้ำในการดำเนินกิจกรรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ และให้ช่วยกันตรวจสอบการดำเนินกิจกรรมในชุมชนด้วย หลังจากนั้น ให้ที่ประชุมร่วมกันคิดมาตรการการกำจัดขยะ  และหารือการกำหนดจุดนำถังขยะไปวางในชุมตามที่คณะกรรมการได้วางแผนไว้คือ วางในตลาด 4 จุดและในโรงเรียน 1 จุด ในวัดอีก 1 จุด  ถามความเห็นในที่ประชุมว่าเห็นด้วยหรือไม่ ที่ประชุมเห็นด้วยตามที่คณะกรรมการวางแผนไว้แล้ว หลังจากนั้นได้ร่วมรับประทานอาหารด้วยกัน และทีมงานที่มีความรู้ในการกำจัดขยะแต่ละประเภทได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยกันเพื่อให้แต่ละครัวเรือนได้กำจัดขยะได้ถูกต้องและนัดร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้การคัดแยกขยะในครัวเรือน ในวันที่ 26 ธันวาคม 2558 โดยกลุ่มเป้าหมายที่ต้องเข้าร่วมคือสภาผู้นำชุมชน คณะกรรมการและแกนนำครัวเรือน และฝากทุกคนให้ช่วยประชาสัมพันธ์และชักชวนกันมาอีกครั้งในวันที่ 26 ธันวาคม 2558 เวลา 09.00 น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สภาผู้นำ คณะกรรมการ แกนนำกลุ่มบ้านประชาชน และเยาวชนกลุ่มเป้าหมาย ไดรับทราบที่มาของงบประมาณ และวัตถุของโครงการและกิจกรรมที่จะต้องร่วมกันดำเนินกิจกรรมตลอดโครงการว่ามีอะไร ใครรับผิดชอบส่วนไหน และทราบค่าใช้จ่ายในแต่ละกิจกรรมว่ามีค่าอะไรบ้าง และกำหนดจุดวางถังขยะ ใน ตลาด 4 จุด ในโรงเรียน 1 จุดและในวัดอีก 1 จุด และได้มาตรการการกำจัดขยะร่วมกัน

     

    66 63

    5. สอนการคัดแยกขยะในครัวเรือน

    วันที่ 26 ธันวาคม 2014 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ลงทะเบียน ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 101 คนมีสภาผู้นำคณะกรรมการแกนนำกลุ่มบ้านและตัวแทนครัวเรือนที่อยู่ริมน้ำ  คณะกรรมการช่วยกันแบ่งคนเป็นสองส่วน โดยให้ผู้นำสภาคณะกรรมการและแกนนำกลุ่มบ้านจำนวน 50 คนอยู่ส่วนหนึ่งแล้วให้ตัวแทนครัวเรือนไปจับคู่กับสภาผู้นำคณะกรรมการและแกนนำกลุ่มบ้าน คนต่อคน นั่งพูดคุยกันถึงวิธีการคัดแยกขยะแต่ละประเภทซึ่งมีขยะเปียก ขยะแห้ง และขยะพิษ ให้ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และให้ส่งตัวแทน 5 คน ลองนำเสนอความรู้ได้จากการแลกเปลี่ยนกัน โดยในที่ประชุมช่วยกันเสริมหลังจากนัั้นร่วมระบประทานอาหารด้วยกัน ช่วงบ่าย ลองฝึกปฏิบัติการคัดแยกขยะจากขยะที่เก็บร่วมไว้ในชุมชน และให้ทุกครัวเรือนนำไปปฏิบัติที่ครัวเรือนตนเองโดยการแยกขยะเป็น 3 ประเภท คือ ขยะเปียกที่สามารถย่ิยสลายได้ ขยะแห้งที่ไม่สามารถย่อยสลายได้และขยะพิษ ขยะพิษให้ทุกครัวเรือนนำไปทิ้งในหลุ่มขยะพิษที่สร้างไว้ในชุมชนแล้ว 2 หลุ่มซึ่งกำลังดำเนินการสร้างเพิ่มอีก2 หลุ่ม ส่วนขยะแห้งเช่นถุงพลาสติกให้รวมไว้ทางทีมงานจะร่วมกันออกเก็บให้อบต ช่วยอีกแรง ในส่วนของขยะเปียกให้แต่ละครัวใส่หลุ่มที่บ้านตนเองหรือคัดแยกทำน้ำหมัก หรือใส่ค้นต้นไม้แล้วแต่ละครัวจะเลือกวิธีไหนตามที่ได้ร่วมกันเรียนรู้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ตัวแทนครัวเรือนริมน้ำได้ร่วมเรียนรู้การคัดแยกขยะและการกำจัดขยะในแต่ละประเภทกับสภาผู้นำ คณะกรรมการ และแกนนำกลุ่มบ้าน  และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติในครัวเรือนตนเอง โดยมีคณะกรรมการ และแกนนำกลุ่มบ้านออกติดตามดูแลประเมินผลเป็นระยะ

     

    100 101

    6. ประชุมคณะกรรมการครั้งที่2

    วันที่ 10 มกราคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ลงทะเบียน ผู้เข้าร่วมประชุม 20 คน เจ้าของโครงการกล่าวต้อนรับคณะกรรมการ และพูดคุยการจัดกิจกรรมที่จะดำเนินการใน วันที่ 20 มกราคม 2558 คือกิจกรรมการร่วมกันจัดเก็บขยะในสถานที่สาธารณะ เช่น ศาลาหมู่บ้าน วัด โรงเรียน ถนนสายหลักให้ทุกคนช่วยกันประชาสัมพันธื ให้คนในชุมชนออกมาร่วมกันเก็บขยะ และมอบหมายภาระกิจให้คณะกรรมการ ดูแลระับผิดชอบ ในที่ประชุมตกลงกันว่าให้เแบ่งเป็นจุดๆ และให้คณะกรรมการรับผิดชอบจุดละสองถึงสามคนตามความเหมาะสม โดยกำหนดจุดคือ วัด  1 จุด โรงเรียน 1 จุด  ถนนสายหลัก 1 จุด  ศาลาหมู่บ้าน 1 จุด และให้แต่ละจุดเตรียมวัสดุอุปกรณ์และอาหารสำหรับทีมงานในจุดของตนเอง ให้พร้อม  และให้มีผู้รับผิดชอบการลงทะเบียนก่อนโดยนัดพร้อมกันที่ ศาลาหมู่บ้านแล้วค่อยแยกย้ายไปในจุดที่ได้รับมอบหมาย คณะกรรมการแบ่งจุดรับผิดชอบกันเรียบร้อย  หลังจากนั้นเลขาได้สรุปผลการจัดกิจกรรมในครั้งที่ผ่านมาและให้เหรัญหิกรายงานค่าใช้จ่าย ผู้ใหญ่บ้านเน้นย้ำให้คณะกรรมการทุกคนให้ทำงานด้วยความเสียสละและมีความรับผิดชอบ หากมีปัญหาอะไร ให้ช่วยกันหาทางแก้ไข และทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายของทุกคนให้ดีที่สุด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการทราบแผนการจัดกิจกรรมในวันที่ 20 มกราคม 2558 และทราบบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย การจัดกิจกรรมแบ่งเป็น 4 จุด
    1.วัด 2.โรงเรียน 3.ถนนสายหลัก 4.ศาลาหมู่บ้าน ทุกคนต้องมาร่วมตัวลงทะเบียนที่ศาลาหมู่บ้านก่อนแยกย้ายไปตามจุดที่ได้รับมอบหมาย พร้อมนำอุปกรณ์และอาหารไปตามจุด

     

    20 20

    7. ร่วมกันจัดเก็บขยะในที่สาธารณะครั้งที่1

    วันที่ 20 มกราคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    พร้อมกันลงทะเบียนที่ศาลาหมู่บ้าน ผู้ใหญ่บ้านชี้แจงขั้นตอนวิธีการเก็บขยะ โดยให้ทุกคนช่วยกันเก็บขยะ แยกประเภทเป็น 3 ประเภท ขยะเปียกย่อยสลายได้ ขยะแห้งไม่สามารถย่อนสลายได้ ขยะพิษ โดยแยกใส่ถุงที่จัดเตรียมไว้ให้ ขยะพิษนำมามาใส่หลุ่มขยะพิษของชุมชนเช่นกระป่องใส่สารเคมี ขยะเปียกให้นำไปใส่ค้นต้นไม้หรืออุปกรณ์ที่จัดเตรียมไว้ให้เพื่อนำไปทำน้ำหมักต่อไป ส่วนขยะแห้งเช่นถุงพลาสติกให้นำมากองรวมไว้เป็นจุดๆเพื่อนำไปฝาก อบต กำจัดต่อไป และให้ทุกกลุ่ม นำอุปกรณืไปด้วยพร้อมอาหาร และแจ้งผู้ประสานและผู้ดูแลแต่ละกลุ่มให้นำทีมของตนเองไปยังจุดที่รับผิดชอบ และเมื่อทำกิจกรรมเสร็จให้มาร่วมตัวกันพร้อมกันอีกครั้ง เพื่อร่วมกันสรุปผลกิจกรรมที่สอบถามปัญหาอุปสรรคในการจัดกิจกรรมเพื่อจะได้หาทางแก้ไขในครั้งต่อไป  หลังจากเสร็จกิจกรรม เมื่อมาร่วมตัวกันอีกครั้งพบว่าปัญหาการแบ่งกลุ่มไม่สัมพันธ์กับขยะที่มีในแต่ละจุดเช่นในวัดขยะน้อยคนมาก ตามถนนสายหลักต้องถางป่าด้วยครั้งต่อไปต้องใช้กลุ่มผู้ชายหรือวัยรุ่น น้ำบางจุดไม่พอ ครั้งต่อไปควรมีกิจกรรมอื่นๆเสริมเพื่อสร้างความสนุกสนานด้วย ทางทีมงานรับทราบปัญหา และจะประชุมร่วมกันวางแผนอีกครั้งในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สภาผู้นำ คณะกรรมการ ประชาชน ครู นักเรียน ได้ร่วมกันเก็บขยะในที่สาธารณะจำนวน 4 จุด คือ วัด โรงเรียน ถนนสายหลัก และศาลาหมู่บ้าน ทำให้ที่สาธารณะในชุมชน สะอาดสวยงาม ทุกคนร่วมแรงร่วมใจกันเป็นอย่างดี

     

    120 109

    8. ประชุมคณะกรรมการครั้งที่3

    วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ลงทะเบียน  ร่วมพูดคุยหารือการจัดกิจกรรมแลกเ้ปลี่ยนเรียนรู้การจัดการขยะครบวงจรซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2558 ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้าร่วมกิจกรรมในวันดังกล่าวจำนวน 140 คน ประกอบด้วย สภาผู้นำจำนวน 20 คน และผู้นำกลุ่มบ้าน6 กลุ่มกลุ่มละ 20 คน รวมทั้งหมด 140 คน คณะกรรมการจะต้องรับไปประชาสัมพันธ์และประสานกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว แกนนำนำหลักในการจัดกิจกรรมคือสภาผู้นำและคณะกรรมการ จะต้องเป็นผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้กับตัวแทนกลุ่มบ้าน เนื้อหาสาระที่จะพูดคือ การจัดการขยะทุกประเภท อย่างครบวงจร ที่ประชุมตกลงมอบภาระกิจให้เจ้าของโครงการและผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ดำเนินรายการ โดยเรียนรู้ตั้งแต่การจัดเก็บขยะ การลดขยะ การนำขยะไปใช้ประโยชน์พร้อมตั้งการสร้างจิตสึกนึกให้กับกลุ่มที่มาร่วมเรียนรู้ และมอบหมายภาระกิจเรื่องการจัดการอาหาร การลงทะเบียนการจัดสถานที่  ช่วงบ่ายร่วมกันสรุปผลการจัดกิจกรรมร่วมกันเก็บขยะในสถานที่สาธารณะนำปัญหามาวางแผนแก้ไขและวางแผนการในการจัดครั้ง2ต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ร่วมกันวางแผนการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการขยะครบวงจร และสรุปผลการจัดกิจกรรมร่วมกันเก็บขยะในที่สาธารณะครั้งที่ 1 และร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นพร้อมทั้งวางแผนจัดในครั้งที่ 2

     

    20 20

    9. แลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการขยะครบวงจร

    วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ลงทะเบียน ผู้ใหญ่บ้านกล่าวทักทายผู้ร่วมกิจกรรม แนะนำทีมงาน ให้ชาวแบ่งกลุ่มแยกเป็นกลุ่มบ้านกลุ่มละประมาณ 20 คน จำนวน 6 กลุ่ม ให้ สภาผู้นำและคณะกรรมการ 3 คนต่อ 1 กลุ่ม ร่วมกันพูดคุย ตั้งแต่ที่มาของขยะในครัวเรือน การลดขยะในครัวเรือน และวิธีการกำจัดขยะแต่ละประเภท การนำขยะไปใช้ประโยชน์ โดยให้ชาวบ้านเป็นผู้เล่าวิธีการก่อนกลุ่มละ 5 คน แล้วในกลุ่มช่วยกันเสริม จากนั้นสภาผู้นำและกรรมการในแต่ละกลุ่มสรุป และคัดเลือกตัวแทนกลุ่มละ 1 คน ออกนำเสนอในกลุุ่มใหญ่ในช่วงบ่ายร่วมรับประทานอาหารด้วยกัน ช่วงบ่ายขอจิตอาสาออกนำเสนอผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยให้เวลาคนละประมาณ 5-10 นาที ดำเนินรายการโดยผู้ใหญ่บ้านและเจ้าของโครงการ ในที่ประชุมนำเสนอจนครบ 6 กลุ่ม ผู้ใหญ่ให้สมาชิกในกลุ่มช่วยเพิ่มเติม และผู้ใหญ่เป็นคนสรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และมอบหมายให้ทุกครัวเรือนนำไปปฏิบัติ และมอบหมายคณะกรรมการออกติดตาม ตามกลุ่มที่รับผิดชอบในช่วงเช้า

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ครัวเรือนกลุ่มเป้าหมายได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และรับปากว่าจะนำไปปฏิบัติในครัวเรือนตนเอง โดยมีคณะกรรมการคอยติดตามเป็นระยะ และประเมิลผลเป็นระยะ

     

    140 137

    10. จัดทำกติกาตลาดริมน้ำปลอดขยะ

    วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ลงทะเบียน ผู้เข้าร่วมจำนวน 54คน ผู้ใหญ่บ้านนำพูดคุยเรื่องขยะในตลาด และให้ทุกคนร่วมกันคิดกติกา ของตลาดริมน้ำปลอดขยะ แล้วทำเป็นป้ายเตือน ป้ายความรู้ ขยะที่เกิดขึ้นในตลาดมีขยะส่วนใดบ้างที่สามารถนำกลับไปใช้ประโยชน์ได้ ก็ขอให้มีผู้ประสานให้ผู้ใช้ขยะนำขยะไปใช้เช่น ให้ครูและนักเรียนนำไปแปรรูปใช้เป็นอุปกรณ์การเรียน ผู้เลี้ยงสัตว์นำขยะไปให้สัตว์เลี้ยง คณะกรรมการเสนอให้ตั้งจุดแยกขยะเพื่อสะดวกในการนำไปใช้ ที่ประชุมลงมติเห็นด้วยมอบหมายให้คณะกรรมการดำเนินการ และร่วมกันออกแบบป้ายเตือนและป้ายความรู้มอบให้เจ้าของโครงการไปดำเนินการจัดทำป้ายจำนวน 6 ป้าย นำมาติดบริเวณตลาด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กลุ่มเป้าหมายและทีมงานได้กำหนดกติกาของตลาดปลอดขยะ.... และป้ายเตือนบริเวณตลาด ตั้งถังคัดแยกขยะ ในตลาด มอบหมายผู้รับผิดชอบและติดตามผล มอบหมายผู้ประสานการนำขยะไปจัดการ

     

    56 54

    11. ร่วมกันจัดเก็บขยะในที่สาธารณะครั้งที่2

    วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ลงทะเบียนที่ศาลาหมู่บ้าน ผู้ใหญ่บ้านชี้แจงขั้นตอนวิธีการเก็บขยะ โดยให้ทุกคนช่วยกันเก็บขยะ แยกประเภทเป็น 3 ประเภท ขยะเปียกย่อยสลายได้ ขยะแห้งไม่สามารถย่อนสลายได้ ขยะพิษ โดยแยกใส่ถุงที่จัดเตรียมไว้ให้ ขยะพิษนำมามาใส่หลุ่มขยะพิษของชุมชนเช่นกระป่องใส่สารเคมี ขยะเปียกให้นำไปใส่ค้นต้นไม้หรืออุปกรณ์ที่จัดเตรียมไว้ให้เพื่อนำไปทำน้ำหมักต่อไป ส่วนขยะแห้งเช่นถุงพลาสติกให้นำมากองรวมไว้เป็นจุดๆเพื่อนำไปฝาก อบต กำจัดต่อไป และให้ทุกกลุ่ม นำอุปกรณ์ไปด้วยพร้อมอาหาร และแจ้งผู้ประสานและผู้ดูแลแต่ละกลุ่มให้นำทีมของตนเองไปยังจุดที่รับผิดชอบ การแบ่งกลุ่มวัยรุ่นและผู้ชายวันแรงงานให้ไปจุดถนนสายหลัก จุดที่วัดไม่ต้องมากเพราะจุดนั้ันขยะมีน้อย  และเมื่อทำกิจกรรมเสร็จให้มาร่วมตัวกันพร้อมกันอีกครั้ง เพื่อร่วมกันสรุปผลกิจกรรมที่สอบถามปัญหาอุปสรรคในการจัดกิจกรรมเพื่อจะได้หาทางแก้ไขในครั้งต่อไป  หลังจากเสร็จกิจกรรม เมื่อมาร่วมตัวกันอีกครั้งพบว่าการจัดกิจกรรมครั้งนี้ไม่พบปัญหาแต่ยังไม่มีกิจกรรมเพื่อสร้างความสนุกสนานทางคณะทำงานรับทราบจะพยามหากิจกรรมมาเสริมให้ในครั้งต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สภาผู้นำ คณะกรรมการ ประชาชน ครู นักเรียน ได้ร่วมกันเก็บขยะในที่สาธารณะจำนวน 4 จุด คือ วัด โรงเรียน ถนนสายหลัก และศาลาหมู่บ้าน ทำให้ที่สาธารณะในชุมชน สะอาดสวยงาม ทุกคนร่วมแรงร่วมใจกันเป็นอย่างดี ทุกคนมีความสุข

     

    120 112

    12. สร้างสถานที่เก็บขยะมีพิษ

    วันที่ 4 มีนาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการจัดสร้างสถานที่เก็บขยะพิษโดยมีสภาผู้นำคณะกรรมการและชาวบ้านมาช่วยกันสร้างวันละปรมาณ15-20 คน จำนวน 4 วัน ติดต่อกันคือวันที่ 4-7 มีนาคม 2558 ได้สถานที่เก็บขยะพิษในชุมชน 2 จุด 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีที่เก็บขยะพิษในชุมชนเพิ่มขึ้น 2 จุด 

     

    20 20

    13. ประชุมคณะกรรมการครั้งที่4

    วันที่ 10 มีนาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ลงทะเบียน ร่วมประชุมสรุปผลการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา ในการจัดกิจกรรมการร่วมกันจัดเก็บขยะในที่สาธารณะในครั้งที่ 2 มีกลุ่มเป้าหมายเสนอให้มีกิจกรรมอื่นเสริมด้วยเพื่อความสนุกสนาน ให้ครธกรรมการช่วยกันคิกกิจกรรม ที่จะเสริมในครั้งที่ 3 ด้วย ที่ประชุมเสนอให้ดูเวลาและความเหมาะสมด้วย ทางที่ดีควรให้กลุ่มเป้าหมายเสนอมาวาควรเป็นกิจกรรมอะไร และทางทีมสามารถจัดให้ได้หรือไม่ผู้ใหญ่เสนอให้เตรียมเป็นกิจกรรมการแข่งขันกีฬาพื้นบ้านไว้สักอย่างก่อนเช่นชักขเย่อโดยแบ่งทีม ตามกลุ่ม 4 กลุ่มในการจัดเก็บขยะ ที่ประชุมเห็นด้วยมอบหมายให้คณะกรรมการเตรียมอุปกรณ์การชักขเย่อ ไว้ด้วย ในส่วนการสร้างที่เก็บขยะพิษมอบหมายให้เจ้าของโครงการประสานช่าง อบต มาตรวจสอบดูว่าสามารถใช้การได้หรือไม่ และให้คณะกรรมการรายงานการติดตามกิจกรรมต่างๆที่ได้มอบหมาย มีปัญหาบ้างในบางครัวเรือนแต่สามารถแก้ไขได้ ทีมงานหารือปรับแผนการจัดกิจกรรมร่วมกันเก็บขยะครั้งที่ 3 จากวันที่ 24 มีนาคม เป็นจัดในเดือน พฤษภาคม 2558

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ร่วมกันวางแผนทีมอบหมายงานรับทราบบทบาทหน้าที่พร้อมทำกิจกรรมในครั้งต่อไป

     

    20 20

    14. ประชุมคณะกรรมการครั้งที่5

    วันที่ 11 พฤษภาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ร่วมประชุมคณะกรรมการเพื่อวางแผนจัดกิจกรรมโครงการในงวดที่2 ซึ่งในขณะนี้้เงินงวดที่2ยังไม่ได้รับโอนจาก สสส คณะจึงวางแผนหาเงินสำรองจ่ายเพื่อจัดกิจกรรมตามแผนที่วางไว้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการรับทราบว่าเงินโอน2 ยังไม่ได้รับโอน และนัดประชุมอีกครั้ง

     

    20 20

    15. ประชุมคณะกรรมการครั้งที่6

    วันที่ 13 พฤษภาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการร่วมประชุมวางแผนติดตามการปฏิบัติตามกติกานำขยะมาใช้ใหม่โดยคณะกรรมการตัวแทนครัวเรือนเยาวชนในชุมชนมอบหมายภาระกิจการจัดแบ่งกลุ่มออกติดตาม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการรับทราบภาระกิจ

     

    20 20

    16. ติดตามการทำกติกาครั้งที่1

    วันที่ 14 พฤษภาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้นำชุมชนคณะกรรมการ ตัวแทนครัวเรือน เยาวชนในชุมชน ร่วมกันจัดเวที่เพื่อติดตามการปฏิบัติตามกติกานำขยะมาใช้ใหม่ ในโรงเรียน ในตลาดการคัดแยกขยะของแต่ละครัวเรือนโดยแบ่งกลุ่มติดตามแบ่งเขตกตามกลุ่มบ้านจำนวน 6กลุ่ม กลุ่มละ20คนแบ่งบ้านกันเก็บรวมรวบข้อมูลโดยการซักถามตัวแทนครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรม ในแต่ละกลุ่ม โดยซักถามจากตัวแทนครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรม และบันทึกรวบรวมเพื่อรวมกันวิเคราะห์ผล หลังจากการติดตามครบทั้ง สามครั้งลงรายงานผลตามแบบติดตาม จากการติดตามผลในครั้งนี้มีหลายครัวเรือนที่ยังไม่สามารถจัดการขยะในครัวเรือนได้ สอบถามปัญหาอุปสรรคและให้ตัวแทนกลุ่มบ้านช่วยติดตามอย่างใกล้ชิด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ครัวเรือนส่วนใหญ่สามารถจัดการขยะในครัวเรือนตนเองได้ ส่วนในตลาดยังต้องคอยติดตามอย่างต่อเนื่อง

     

    120 120

    17. ร่วมกันจัดเก็บขยะในที่สาธารณะครั้งที่3

    วันที่ 16 พฤษภาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ลงทะเบียนที่ศาลาหมู่บ้าน ผู้ใหญ่บ้านชี้แจงขั้นตอนวิธีการเก็บขยะ โดยให้ทุกคนช่วยกันเก็บขยะ แยกประเภทเป็น 3 ประเภท
    -ขยะเปียกย่อยสลายได้ -ขยะแห้งไม่สามารถย่อนสลายได้ - ขยะพิษ
    โดยแยกใส่ถุงที่จัดเตรียมไว้ให้ ขยะพิษนำมามาใส่หลุ่มขยะพิษของชุมชนเช่นกระป่องใส่สารเคมี ขยะเปียกให้นำไปใส่ค้นต้นไม้หรืออุปกรณ์ที่จัดเตรียมไว้ให้เพื่อนำไปทำน้ำหมักต่อไป ส่วนขยะแห้งเช่นถุงพลาสติกให้นำมากรวมไว้เป็นจุดๆเพื่อนำไปให้ อบต กำจัดต่อไป และให้ทุกกลุ่ม นำอุปกรณ์ไปด้วยพร้อมอาหาร และแจ้งผู้ประสานและผู้ดูแลแต่ละกลุ่มให้นำทีมของตนเองไปยังจุดที่รับผิดชอบ การแบ่งกลุ่มวัยรุ่นและผู้ชายวันแรงงานให้ไปจุดถนนสายหลัก จุดที่วัดไม่ต้องมากเพราะจุดนั้ันขยะมีไม่มาก และเมื่อทำกิจกรรมเสร็จให้มาร่วมตัวพร้อมกันอีกครั้ง เพื่อร่วมกันสรุปผลกิจกรรมและรายงานสอบถามปัญหาอุปสรรคในการจัดกิจกรรมเพื่อจะได้หาทางแก้ไขในครั้งต่อไปหลังจากเสร็จกิจกรรม เมื่อมาร่วมตัวกันอีกครั้งพบว่าการจัดกิจกรรมครั้งนี้ไม่พบปัญหา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สภาผู้นำ คณะกรรมการ ประชาชน ครู นักเรียน ได้ร่วมกันเก็บขยะในที่สาธารณะจำนวน 4 จุด คือ วัด โรงเรียน ถนนสายหลัก และศาลาหมู่บ้าน ทำให้ที่สาธารณะในชุมชน สะอาดสวยงาม ทุกคนร่วมแรงร่วมใจกันเป็นอย่างดี ทุกคนมีความสุข

     

    120 117

    18. ประชุมคณะกรรมการครั้งที่7

    วันที่ 22 พฤษภาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สภาผู้นำชุมชน คณะทำงานร่วมกันประชุมเพื่อวางแผนการจัดกิจกรรม การทำที่ดักขยะ จำนวน 6 จุดในคลองสายหลักของชุมชน รวมกันกำหนดจุดที่จะทำที่ดักขยะ การพัฒนาหมู่บ้าน และร่วมกันเก็บขยะในพื้นที่สาธารณะครั้งที่4 แบ่งเขตพื้นที่ให้คณะทำงานรับผิดชอบควบคุมเป็นแกนนำในการจัดเก็บขยะ มีในบริเวณวัด บริเวณโรงเรียน บริเวณตลาด ถนนสายหลักในหมู่บ้าน ศาลาประจำหมู่บ้าน มอบหมายให้แต่ละทีมจัดเตรียมอุปกรณ์ในการจัดเก็บ และนัดพบกันที่ศาลาหมู่บ้านก่อนแยกย้ายไปทำกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สภาผู้นำชุมชนรับทราบแผนการจัดกิจกรรมและหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบในแต่ละกลุ่ม

     

    20 20

    19. ทำที่ดักเก็บขยะ

    วันที่ 24 พฤษภาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สภาผู้นำชุมชน ตัวแทนครัวเรือนตามกลุ่มบ้าน ลงทะเบียน รวมตัวกันที่ศาลาประจำหมู่บ้าน แบ่งกลุ่มๆละประมาณ10 คนรับวัสดุอุปกรณ์ แยกย้ายไปตามจุดที่กำหนดจัดทำที่ดักขยะในชุมชน จำนวน 6 จุด ร่วมกันจัดทำที่ดักขยะแต่ละจุด โดยสภาผู้นำชุมชนช่วยดูแลควบคุมการจัดทำ จนเสร็จทุกจุด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ตัวแทนครัวเรือนร่วมมือกันจัดทำที่ดักขยะ ได้จำนวน 6 จุด

     

    60 62

    20. ร่วมกันจัดเก็บขยะและพัฒนาหมู่บ้านครั้งที่1

    วันที่ 28 พฤษภาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สภาผู้นำ ชุมชน ตัวแทนครัวเรือน เยาวชน ครู นักเรียน ลงทะเบียนที่ศาลาประจำหมู่บ้าน ผู้ใหญ่บ้านชี้แจงขั้นตอนวิธีการจัดเก็บขยะและพัฒนาหมู่บ้าน แบ่งกลุ่ม โดยเน้นการพัฒนา ถนนสายหลัก ให้แต่ละกลุ่มนำอุปกรณ์จัดเก็บไปด้วย โดยให้ผู้ชายที่แข็งแรงไปร่วมกันถางบริเวณถนนในหมู่บ้านด้วย เมื่อทำกิจกรรมเสร็จให้มาร่วมตัวกันที่ศาลาประจำหมู่บ้านอีกครั้งหนึ่งเพื่อสอบถามปัญหาอุปสรรคในการทำกิจกรรมครั้งนี้เพื่อวางแผนในการจัดการพัฒนาในครั้งที่2 พร้อมทั้งร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการขยะในแต่ละประเภท

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชาชนมีความรักสามัคคีร่วมกันจัดทำกิจกรรม ด้วยความเต็มใจ และมีความสุข ชุมชนสะอาดสวยงามน่าอยู่

     

    80 84

    21. สอนการคัดแยกขยะให้พระสงฆ์และแม่ค้า

    วันที่ 1 มิถุนายน 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สภาผู้นำชุมชน แกนนำกลุ่มบ้าน พระสงฆ์ แม่ค้า ลงทะเบียน ผู้ใหญ่ชี้แจงวัตถุประสงค์ในการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวันนี้เป็นการร่วมกันเรียนรู้การคัดแยกขยะ ในแต่ละประเภท หลังจากนั้นในแกนนำกลุ่มบ้านแ่บ่งกลุ่มช่วยกันแนะนำสอนแนะการคัดแยกขยะแต่ละประเภท พร้อมทั้งการจัดการขยะอย่างครบวงจร ทุกคนสามารถคัดแยกขยะได้อย่างถูกต้อง มีขยะเปียก ขยะแห้ง ขยะพิษ 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    แกนนำกลุ่มบ้านสามารถสอนแนะการค้ดแยกขยะให้กลุ่มเป้าหมายได้ และกลุ่มเป้าหมายสามารถปฏิบัติได้ถูกต้อง

     

    55 57

    22. ร่วมกันเก็บขยะในที่สาธารณะครั้งที่ 4

    วันที่ 6 มิถุนายน 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ลงทะเบียนกลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่เป็นตัวแทนครัวเรือน ผู้ใหญ่บ้านชี้แจงขั้นตอนวิธีการเก็บขยะ โดยให้ทุกคนช่วยกันเก็บขยะ แยกประเภทเป็น 3 ประเภท
    -ขยะเปียกย่อยสลายได้ -ขยะแห้งไม่สามารถย่อนสลายได้ - ขยะพิษ
    โดยแยกใส่ถุงที่จัดเตรียมไว้ให้ ขยะพิษนำมามาใส่หลุ่มขยะพิษของชุมชนเช่นกระป่องใส่สารเคมี ขยะเปียกให้นำไปใส่ค้นต้นไม้หรืออุปกรณ์ที่จัดเตรียมไว้ให้เพื่อนำไปทำน้ำหมักต่อไป ส่วนขยะแห้งเช่นถุงพลาสติกให้นำมารวมไว้เป็นจุดๆเพื่อนำไปให้ อบต กำจัดต่อไป และให้ทุกกลุ่ม นำอุปกรณ์ไปด้วยพร้อมอาหาร และแจ้งผู้ประสานและผู้ดูแลแต่ละกลุ่มให้นำทีมของตนเองไปยังจุดที่รับผิดชอบ การแบ่งกลุ่มเน้นการเก็บขยะบริเวณตลาดและเมื่อทำกิจกรรมเสร็จให้มาร่วมตัวพร้อมกันอีกครั้ง เพื่อร่วมกันสรุปผลกิจกรรมและรายงานสอบถามปัญหาอุปสรรคในการจัดกิจกรรมเพื่อจะได้หาทางแก้ไขในครั้งต่อไปหลังจากเสร็จกิจกรรม เมื่อมาร่วมตัวกันอีกครั้งพบว่าการจัดกิจกรรมครั้งนี้ไม่พบปัญหา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สภาผู้นำ คณะกรรมการ ประชาชน ครู นักเรียน อสมได้ร่วมกันเก็บขยะในที่สาธารณะคือ ตลาดในชุมชน และศาลาหมู่บ้าน ทำให้ที่สาธารณะในชุมชน สะอาดสวยงาม ทุกคนร่วมแรงร่วมใจกันเป็นอย่างดี ทุกคนมีความสุข

     

    120 117

    23. ประชุมคณะกรรมการครั้งที่8

    วันที่ 10 มิถุนายน 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สภาผู้นำชุมชน คณะทำงานร่วมกันประชุมเพื่อวางแผนการจัดกิจกรรม การร่วมกันเก็บขยะในที่สาธารณะ ของชุมชน การนำขยะมาใช้ให้เกิดประโยชน์มอบหมายภาระกิจให้แต่ละคนร่วมกันประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าเข้าร่วมทำกิจกรรมตามวันเวลาที่กำหนด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สภาผู้นำ ชุมชนรับทราบภาระกิจ 

     

    20 20

    24. ร่วมกันจัดเก็บขยะในสถานที่สาธารณะครั้งที่5

    วันที่ 4 กรกฎาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    พร้อมกันลงทะเบียนที่ศาลาหมู่บ้าน ผู้ใหญ่บ้านชี้แจงขั้นตอนวิธีการเก็บขยะ โดยให้ทุกคนช่วยกันเก็บขยะ แยกประเภทเป็น 3 ประเภท ขยะเปียกย่อยสลายได้ ขยะแห้งไม่สามารถย่อยสลายได้ ขยะพิษ โดยแยกใส่ถุงที่จัดเตรียมไว้ให้ ขยะพิษนำมามาใส่หลุมขยะพิษของชุมชนเช่นกระป่องใส่สารเคมี ขยะเปียกให้นำไปใส่ค้นต้นไม้หรืออุปกรณ์ที่จัดเตรียมไว้ให้เพื่อนำไปทำน้ำหมักต่อไป ส่วนขยะแห้งเช่นถุงพลาสติกให้นำมากองรวมไว้เป็นจุดๆเพื่อนำไปฝาก อบต กำจัดต่อไป และให้ทุกกลุ่ม นำอุปกรณ์ไปด้วยพร้อมอาหารว่าง และแจ้งผู้ประสานและผู้ดูแลแต่ละกลุ่มให้นำทีมของตนเองไปยังจุดที่รับผิดชอบ การทำกิจกรรมครั้งนี้กลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่ที่เข่าเป็น ครู นักเรียน และตัวแทนครัวเรือน เน้นการจัดเก็บขยะบริเวณโรงเรียนวัด และถนนบริเวณวัด โรงเรียนและเมื่อทำกิจกรรมเสร็จให้มาร่วมตัวกันพร้อมกันอีกครั้ง เพื่อร่วมกันสรุปผลกิจกรรมที่สอบถามปัญหาอุปสรรคในการจัดกิจกรรมเพื่อจะได้หาทางแก้ไขในครั้งต่อไปหลังจากเสร็จกิจกรรม เมื่อมาร่วมตัวกันอีกครั้งพบว่าปัญหาการแบ่งกลุ่มไม่สัมพันธ์กับขยะที่มีในแต่ละจุดเช่นในวัดขยะน้อยคนมาก ตามถนนสายหลักต้องถางป่าด้วยครั้งต่อไปต้องใช้กลุ่มผู้ชายหรือวัยรุ่น น้ำบางจุดไม่พอทางทีมงานรับทราบปัญหา และจะประชุมร่วมกันวางแผนอีกครั้งในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สภาผู้นำ คณะกรรมการ ประชาชน ครู นักเรียน ได้ร่วมกันเก็บขยะในที่สาธารณะจำนวน 4 จุด คือ วัด โรงเรียน ถนนสายหลัก และศาลาหมู่บ้าน ทำให้ที่สาธารณะในชุมชน สะอาดสวยงาม ทุกคนร่วมแรงร่วมใจกันเป็นอย่างดี ทุกคนมีความสุข

     

    120 122

    25. ประชุมคณะกรรมการครั้งที่9

    วันที่ 10 กรกฎาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สภาผู้นำชุมชน คณะทำงานร่วมกันประชุมเพื่อวางแผนการจัดกิจกรรม การติดตามการปฏิบัติตามกติกา การนำขยะมาใช้ใหม่ ในโรงเรียน ตลาดและการคัดแยกขยะในครัวเรือน พร้อมมอบหมายภารกิจให้แต่ละคน โดยการติดตามและลงรายงานตามแบบการติดตามกลุ่มตัวแทนครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สภาผู้นำรับทราบบทบาทหน้าที่ภารกิจที่ได้รับมอบหมาย พร้อมดำเนินกิจกรรม

     

    20 20

    26. ติดตามการปฏิบัติตามกติกาครั้งที่2

    วันที่ 18 กรกฎาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้นำชุมชนคณะกรรมการ ตัวแทนครัวเรือน เยาวชนในชุมชน ร่วมกันจัดเวทีเพื่อติดตามการปฏิบัติตามกติกานำขยะมาใช้ใหม่ ในโรงเรียน ในตลาดการคัดแยกขยะของแต่ละครัวเรือนโดยแบ่งกลุ่มติดตามแบ่งเขตการติดตามกลุ่มบ้านจำนวน 6กลุ่ม กลุ่มละ20คนแบ่งบ้านกันเก็บรวมรวบข้อมูลโดยการซักถามตัวแทนครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรม ในแต่ละกลุ่ม โดยซักถามจากตัวแทนครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรม และบันทึกรวบรวมตามแบบตืดตาม และเก็บรวบรวมมารวบวิเคราะห์ผล จากการติดตามผลในครั้งนี้ครัวเรือนส่วนใหญ่สามารถจัดการขยะในครัวเรือนได้ สอบถามปัญหาอุปสรรค

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการติดตามผลในครั้งนี้ครัวเรือนส่วนใหญ่สามารถจัดการขยะในครัวเรือนได้ 

     

    120 116

    27. ร่วมกันจัดเก็บขยะในสถานที่สาธารณะครั้งที่6

    วันที่ 8 สิงหาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ลงทะเบียนที่ศาลาหมู่บ้าน ผู้ใหญ่บ้านชี้แจงขั้นตอนวิธีการเก็บขยะ โดยให้ทุกคนช่วยกันเก็บขยะ แยกประเภทเป็น 3 ประเภท -ขยะเปียกย่อยสลายได้-ขยะแห้งไม่สามารถย่อนสลายได้- ขยะพิษ โดยแยกใส่ถุงที่จัดเตรียมไว้ให้ ขยะพิษนำมามาใส่หลุมขยะพิษของชุมชนเช่นกระป่องใส่สารเคมี ขยะเปียกให้นำไปใส่ค้นต้นไม้หรืออุปกรณ์ที่จัดเตรียมไว้ให้เพื่อนำไปทำน้ำหมักต่อไป ส่วนขยะแห้งเช่นถุงพลาสติกให้นำมากรวมไว้เป็นจุดๆเพื่อนำไปให้ อบต กำจัดต่อไป และให้ทุกกลุ่ม นำอุปกรณ์ไปด้วยพร้อมอาหาร และแจ้งผู้ประสานและผู้ดูแลแต่ละกลุ่มให้นำทีมของตนเองไปยังจุดที่รับผิดชอบการเก็บขยะครั้งนี้เน้นบริเวณถนนในชุมชนและคลองในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คนในชุมชน มีความรักสามัคคีร่วมกันทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องด้วยความเต็มใจ ชุมชนสะอาดสวยงามน่าอยู่

     

    120 122

    28. ประชุมคณะกรรมการครั้งที่10

    วันที่ 10 สิงหาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สภาผู้นำชุมชน คณะทำงานร่วมกันประชุมเพื่อวางแผนการจัดกิจกรรม การร่วมกันจัดเก็บขยะและพัฒนาหมู่บ้านในครั้งที่ 2 และสรุปผลการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา พร้อมมอบภารกิจและร่วมพูดคุย ปัญหาต่างๆของชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สภาผู้นำชุมชนรับทราบแนวทางการจัดกิจกรรม 

     

    20 20

    29. ร่วมกันจัดเก็บขยะและพัฒนาหมู่บ้านครั้งที่2

    วันที่ 22 สิงหาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สภาผู้นำ ชุมชน ตัวแทนครัวเรือน เยาวชน ครู กลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่ในครั้งนี้เป็นเด็กนักเรียน ลงทะเบียนที่ศาลาประจำหมู่บ้าน ผู้ใหญ่บ้านชี้แจงขั้นตอนวิธีการจัดเก็บขยะและพัฒนาหมู่บ้าน แบ่งกลุ่ม ไปในโรงเรียน ในวัด ที่ตลาด ถนนสายหลัก ให้แต่ละกลุ่มนำอุปกรณ์จัดเก็บพร้อมอาหารของแต่ละกลุ่มไปด้วย โดยให้ผู้ชายที่แข็งแรงไปร่วมกันถางบริเวณถนนในหมู่บ้านด้วย และให้ทุกคนช่วยกันเก็บขยะ แยกประเภทเป็น 3 ประเภท ขยะเปียกย่อยสลายได้ ขยะแห้งไม่สามารถย่อยสลายได้ ขยะพิษ โดยแยกใส่ถุงที่จัดเตรียมไว้ให้ ขยะพิษนำมามาใส่หลุมขยะพิษของชุมชนเช่นกระป่องใส่สารเคมี ขยะเปียกให้นำไปใส่ค้นต้นไม้หรืออุปกรณ์ที่จัดเตรียมไว้ให้เพื่อนำไปทำน้ำหมักต่อไป ส่วนขยะแห้งเช่นถุงพลาสติกให้นำมากองรวมไว้เป็นจุดๆเพื่อนำไปฝาก อบต กำจัดต่อไปเมื่อทำกิจกรรมเสร็จให้มาร่วมตัวกันที่ศาลาประจำหมู่บ้านอีกครั้งหนึ่งเพื่อสอบถามปัญหาอุปสรรคในการทำกิจกรรมครั้งนี้ จากการจัดกิจกรรมไม่มีปัญหาอุปสรรค

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชาชนมีความรักสามัคคีร่วมกันจัดทำกิจกรรม ด้วยความเต็มใจ และมีความสุข ชุมชนสะอาดสวยงามน่าอยู่

     

    80 83

    30. ร่วมงานคนใต้สร้างสุข

    วันที่ 4 กันยายน 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานจำนวน 2 คนร่วมงานคนใต้สร้างสุข ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเวที่ต่างๆ ที่ทาง สจรส มอ และ สสส จัดขึ้น 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานได้เรียนรู้ กิจกรรมต่างๆของพื้นที่อื่นและสามารถนำมาบอกกล่าวแก่ทีมงานได้และเป็นแนวทางในการดำเนินงานในชุมชนด้วย

     

    2 2

    31. ประชุมคณะกรรมการครั้งที่11

    วันที่ 10 กันยายน 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สภาผู้ร่วมประขุมวางแผนการจัดกิจกรรมร่วมกันเก็บขยะในที่สาธารณะในชุมชน  และมอบหมายภารกิจพร้อมพูดคุยหาแนวทางแก้ไขปัญหาอื่นๆของชุมชน และให้ช่วยกันประชาสัมพันธ์ให้คนในชุมชนทราบและมาร่วมทำกิจกรรมตามแผนที่กำหนดไว้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สภาผู้นำชุมชนรับทราบภารกิจ และแผนการจัดทำกิจกรรม ในครั้งต่อไป 

     

    20 20

    32. ร่วมกันจัดเก็บขยะในสถานที่สาธารณะ ครั้งที่ 7

    วันที่ 12 กันยายน 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    พร้อมกันลงทะเบียนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมส่วนใหญ่เป็นเด็กนักเรียนและตัวแทนครัวเรือนตามลำดับ ผู้ใหญ่บ้านชี้แจงขั้นตอนวิธีการเก็บขยะ โดยให้ทุกคนช่วยกันเก็บขยะ แยกประเภทเป็น 3 ประเภท ขยะเปียกย่อยสลายได้ ขยะแห้งไม่สามารถย่อยสลายได้ ขยะพิษ โดยแยกใส่ถุงที่จัดเตรียมไว้ให้ ขยะพิษนำมามาใส่หลุมขยะพิษของชุมชนเช่นกระป่องใส่สารเคมี ขยะเปียกให้นำไปใส่ค้นต้นไม้หรืออุปกรณ์ที่จัดเตรียมไว้ให้เพื่อนำไปทำน้ำหมักต่อไป ส่วนขยะแห้งเช่นถุงพลาสติกให้นำมากองรวมไว้เป็นจุดๆเพื่อนำไปฝาก อบต กำจัดต่อไป และให้ทุกกลุ่ม นำอุปกรณืไปด้วยพร้อมอาหารว่างของตนเองและแจ้งผู้ประสานและผู้ดูแลแต่ละกลุ่มให้นำทีมของตนเองไปยังจุดที่รับผิดชอบการเก็บขยะครั้งนี้เน้นในบริเวณโรงเรียน บรเวณวัดถนนในชุมชนและเมื่อทำกิจกรรมเสร็จให้มาร่วมตัวกันพร้อมกันอีกครั้ง เพื่อร่วมกันสรุปผลกิจกรรมที่สอบถามปัญหาอุปสรรคในการจัดกิจกรรมเพื่อจะได้หาทางแก้ไขในครั้งต่อไปหลังจากเสร็จกิจกรรม เมื่อมาร่วมตัวกันอีกครั้งพบว่าไม่มีปัญหาเพราะทำกิจกรรมมาหลายครั้งแล้วผู้ใหญ่ขอบคุณทุกคนที่ร่วมมือกันเป็นอย่างดี และตกลงกันว่่าจะทำกิจกรรมนี้อย่างต่อเนื่อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชาชนร่วมกันทำกิจกรรมอย่างมีความสุข ชุมชนสะอาดน่าอยู่ 

     

    120 119

    33. ติดตามการทำกติกาครั้งที่3

    วันที่ 15 กันยายน 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้นำชุมชนคณะกรรมการ ตัวแทนครัวเรือน เยาวชนในชุมชน ร่วมกันจัดเวทีเพื่อติดตามการปฏิบัติตามกติกานำขยะมาใช้ใหม่ ในโรงเรียน ในตลาดการคัดแยกขยะของแต่ละครัวเรือนโดยแบ่งกลุ่มติดตามแบ่งเขตกตามกลุ่มบ้านจำนวน 6กลุ่ม กลุ่มละ20คนแบ่งบ้านกันเก็บรวมรวบข้อมูลโดยการซักถามตัวแทนครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรม ในแต่ละกลุ่ม โดยซักถามจากตัวแทนครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรม และบันทึกตามแบบติดตามรวบรวมเพื่อรวมกันวิเคราะห์ผล หลังจากการติดตามครบทั้ง สามครั้งลงรายงานผลตามแบบติดตาม จากการติดตามผลในครั้งนี้ครัวเรือนสามารถจัดการขยะในครัวเรือนได้ และให้ทุกครัวเรือนดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ครัวเรือนในชุมชสามารถจัดการขยะในครัวเรือนได้

     

    120 115

    34. พี่เลี้ยงตรวจสอบเอกสารหลักฐาน

    วันที่ 19 กันยายน 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เจ้าของโครงการนำเอกสารหลักฐานต่างๆไป ณ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอปากพนังร่วมกันตรวจสอบอกสารหลักฐานพร้อมกับพี่เลี้ยงโครงการ จากการตรวจสอบ เอกสารใบลงทะเบียนในบางกิจกรรมยังไม่สมบรูณ์พี่เลี้ยงแนะนำให้คณะทำงานช่วยกันตรวจสอบอีกครั้งและดำเนินการให้เรียบร้อยทุกกิจกรรมร่วมทั้งกิจกรรมที่ยังไม่ดำเนินการให้รับดำเนินการ เพราะใก้ลถึงเวลาปิดโครงการแล้ว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการตรวจสอบเอกสารร่วมกับพี่เลี้ยงมีเอกสาร ยังไม่สมบรูณ์ในบางกิจกรรมเช่นใบลงทะเบียน คณะทำงานต้องกลับใไดำเนินการให้เรียบร้อยและจัดเก็บไว้เป็นรายกิจกรรมเพื่อสะดวกในการตรวจสอบต่อไป

     

    2 2

    35. ประชุมคณะกรรมการครั้งที่12

    วันที่ 10 ตุลาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สภาผู้นำชุมชน คณะทำงานร่วมกันประชุมเพื่อวางแผนการจัดกิจกรรม ร่วมกันจัดเก็บขยะในสถานที่สาธารณะ และทบทวนความรู้การจัดการขยะ หาแนวทางในการแก้ไขปัญหาในการจัดการขยะ มอบหมายภารกิจ พร้อมพูดคุยปัญหาอื่นๆของชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สภาผู้นำชุมชน รับทราบแผนการจัดกิจกรรมจัดเก็ยขยะ และมีความพร้อมในการทำกิจกรรม

     

    20 21

    36. ร่วมกันจัดเก็บขยะในสถานที่สาธารณะ ครั้งที่ 8

    วันที่ 10 ตุลาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    พร้อมกันลงทะเบียนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมมีทั้งนักเรียน ครู พระ ตัวแทนครัวเรือน ผู้ใหญ่บ้านชี้แจงขั้นตอนวิธีการเก็บขยะ โดยให้ทุกคนช่วยกันเก็บขยะ แยกประเภทเป็น 3 ประเภท ขยะเปียกย่อยสลายได้ ขยะแห้งไม่สามารถย่อยสลายได้ ขยะพิษ โดยแยกใส่ถุงที่จัดเตรียมไว้ให้ ขยะพิษนำมามาใส่หลุมขยะพิษของชุมชนเช่นกระป่องใส่สารเคมี ขยะเปียกให้นำไปใส่ค้นต้นไม้หรืออุปกรณ์ที่จัดเตรียมไว้ให้เพื่อนำไปทำน้ำหมักต่อไป ส่วนขยะแห้งเช่นถุงพลาสติกให้นำมากองรวมไว้เป็นจุดๆเพื่อนำไปฝาก อบต กำจัดต่อไป และให้ทุกกลุ่ม นำอุปกรณืไปด้วยพร้อมอาหารว่างของตนเองและแจ้งผู้ประสานและผู้ดูแลแต่ละกลุ่มให้นำทีมของตนเองไปยังจุดที่รับผิดชอบ การเก็บขยะครั้งนี้เน้นบริเวณวัดและถนนสายหลัก และเมื่อทำกิจกรรมเสร็จให้มาร่วมตัวกันพร้อมกันอีกครั้ง เพื่อร่วมกันสรุปผลกิจกรรมที่สอบถามปัญหาอุปสรรคในการจัดกิจกรรมเพื่อจะได้หาทางแก้ไขในครั้งต่อไปหลังจากเสร็จกิจกรรม เมื่อมาร่วมตัวกันอีกครั้งพบว่าไม่มีปัญหาเพราะทำกิจกรรมมาหลายครั้งแล้วผู้ใหญ่ขอบคุณทุกคนที่ร่วมมือกันเป็นอย่างดี และตกลงกันว่่าจะทำกิจกรรมนี้อย่างต่อเนื่อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สถานที่สาธารณะในชุมชนสะอาด สวยงามน่าอยู่ 

     

    120 123

    37. ถอดบทเรียน โดยสภาผู้นำชุมชน

    วันที่ 12 ตุลาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สภาผู้นำชุมชน ตัวแทนกลุ่มบ้าน ร่วมกันถอดบทเรียน การจัดกิจกรรมทุกกิจกรรมที่เริ่มดำเนินการมาตลอดโครงการ มีสิ่งที่เกิดขึ้นในชุมชนตามวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดที่วางไว้ดังนี้
    วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อจัดการขยะครบวงจรให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่สะอาดปราศจากโรค มีตัวชี้วัดคือ

    1. แกนนำกลุ่ม 6 กลุ่มบ้านเป็นวิทยากรสอนเพื่อนบ้านเพื่อการจัดการขยะได้ ร้อยละ 80 จากการจัดกิจกรรมแกนนำกลุ่ม 6 กลุ่มบ้านเป็นวิทยากรสอนเพื่อนบ้านเพื่อการจัดการขยะได้ ร้อยละ 90
    2. ขยะริมน้ำได้รับการคัดแยกนำมาใช้ประโยชน์ร้อยละ 60หลังจากการจัดกิจกรรมขยะริมน้ำได้รับการคัดแยกนำมาใช้ประโยชน์ร้อยละ 63
    3. ขยะในตลาดนัดได้รับการคัดแยกนำมาใช้ประโยชน์ร้อยละ 60 จากการจัดกิจกรรมขยะในตลาดนัดได้รับการคัดแยกนำมาใช้ประโยชน์ร้อยละ 65
    4. มีจุดเก็บขยะพิษเพิ่มขึ้น 2 จุดในหมู่บ้านจากการจัดกิจกรรมมีจุดเก็บขยะพิษเพิ่มขึ้น 2 จุดในหมู่บ้าน

    วัตถุประสงค์ข้อที่2เพื่อให้เกิดกลไกในชุมชนกระตุ้นให้มีการเรียนรู้และเกิดการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะอย่างยั่งยืน มีตัวชี้วัดคือ

    1. มีการติดตามการปฏิบัติทุกเดือนจากการถอดบทเรียนมีการติดตามการปฏิบัติทุกเดือนอย่างต่อเนื่องโดยแกนนำกลุ่มบ้าน
    2. แกนนำกลุ่มบ้านสามารถกระตุ้นให้แม่ค้าจัดเก็บขยะอย่างถูกต้องและเกิดประโยชน์กับส่วนรวม จากการจัดกิจกรรมแกนนำกลุ่มบ้านสามารถสอนแนะกระตุ้นให้แม่ค้าจัดเก็บขยะอย่างถูกต้องและเกิดประโยชน์กับส่วนรวม
    3. มีป้ายกติกาการจัดการขยะตามชุมชนตามจุดต่างๆอย่างชัดเจนอย่างน้อย 4 จุด หลังจากการกำหนดกติกาในชุมชนมีมีป้ายกติกาการจัดการขยะตามชุมชนตามจุดต่างๆอย่างชัดเจนจำนวน 4 จุด

    พื้นที่ในชุมชนสะอาด สวยงานน่าอยู่ สถานที่สาธารณะสะอาดสวยงาม ขยะในครัวเรือนได้มีการจัดการอย่างถูกต้องครบวงจร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. แกนนำกลุ่ม 6 กลุ่มบ้านเป็นวิทยากรสอนเพื่อนบ้านเพื่อการจัดการขยะได้ ร้อยละ 90
    2. ขยะริมน้ำได้รับการคัดแยกนำมาใช้ประโยชน์ร้อยละ 63
    3. ขยะในตลาดนัดได้รับการคัดแยกนำมาใช้ประโยชน์ร้อยละ 65
    4. มีจุดเก็บขยะพิษเพิ่มขึ้น 2 จุดในหมู่บ้าน
    5. มีการติดตามการปฏิบัติทุกเดือนอย่างต่อเนื่องโดยแกนนำกลุ่มบ้าน
    6. แกนนำกลุ่มบ้านสามารถกระตุ้นให้แม่ค้าจัดเก็บขยะอย่างถูกต้องและเกิดประโยชน์กับส่วนรวม
    7. มีป้ายกติกาการจัดการขยะตามชุมชนตามจุดต่างๆอย่างชัดเจนจำนวน 4 จุด
      8.พื้นที่ในชุมชนสะอาด สวยงานน่าอยู่ สถานที่สาธารณะสะอาดสวยงาม ขยะในครัวเรือนได้มีการจัดการอย่างถูกต้องครบวงจร

     

    80 80

    38. คืนข้อมูลสู่ชุมชนหลังสรุปถอดบทเรียน

    วันที่ 18 ตุลาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้ใหญ่บ้านพร้อมคณะทำงานสภาผู้นำชุมชน ร่วมกันชี้แจงผลการจัดกิจกรรม จากทุกกิจกรรม ให้ตัวแทนครอบครัวแต่ละกลุ่มบ้านได้รับทราบและรายงานผล ที่เกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรม ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ การทำกิจกรรมบรรลุ ตามวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดซึ่งวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดที่วางไว้คือ พื้นที่ในชุมชนสะอาด สวยงานน่าอยู่ สถานที่สาธารณะสะอาดสวยงาม ขยะในครัวเรือนได้มีการจัดการอย่างถูกต้องครบวงจร

    1. แกนนำกลุ่ม 6 กลุ่มบ้านเป็นวิทยากรสอนเพื่อนบ้านเพื่อการจัดการขยะได้ ร้อยละ 90
    2. ขยะริมน้ำได้รับการคัดแยกนำมาใช้ประโยชน์ร้อยละ 63
    3. ขยะในตลาดนัดได้รับการคัดแยกนำมาใช้ประโยชน์ร้อยละ 65
    4. มีจุดเก็บขยะพิษเพิ่มขึ้น 2 จุดในหมู่บ้าน
    5. มีการติดตามการปฏิบัติทุกเดือนอย่างต่อเนื่องโดยแกนนำกลุ่มบ้าน
    6. แกนนำกลุ่มบ้านสามารถกระตุ้นให้แม่ค้าจัดเก็บขยะอย่างถูกต้องและเกิดประโยชน์กับส่วนรวม
    7. มีป้ายกติกาการจัดการขยะตามชุมชนตามจุดต่างๆอย่างชัดเจนจำนวน 4 จุด
      8.พื้นที่ในชุมชนสะอาด สวยงานน่าอยู่ สถานที่สาธารณะสะอาดสวยงาม ขยะในครัวเรือนได้มีการจัดการอย่างถูกต้องครบวงจร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ตัวแทนครัวเรือนในแต่ละกลุ่มบ้ารับทราบผลการจัดกิจกรรม และร่วมกันหาแนวทางการต่อยอดโครงการในปีต่อไปมีแกนนำในชุมชนที่สามารถเป็นวิทยากรให้ครัวเรือนในชุมชนในการจัดการขยะ ในแต่ละกลุ่มบ้าน ผลที่เกิดขึ้นในการดำเนินโครงการ

    1. แกนนำกลุ่ม 6 กลุ่มบ้านเป็นวิทยากรสอนเพื่อนบ้านเพื่อการจัดการขยะได้ ร้อยละ 90
    2. ขยะริมน้ำได้รับการคัดแยกนำมาใช้ประโยชน์ร้อยละ 63
    3. ขยะในตลาดนัดได้รับการคัดแยกนำมาใช้ประโยชน์ร้อยละ 65
    4. มีจุดเก็บขยะพิษเพิ่มขึ้น 2 จุดในหมู่บ้าน
    5. มีการติดตามการปฏิบัติทุกเดือนอย่างต่อเนื่องโดยแกนนำกลุ่มบ้าน
    6. แกนนำกลุ่มบ้านสามารถกระตุ้นให้แม่ค้าจัดเก็บขยะอย่างถูกต้องและเกิดประโยชน์กับส่วนรวม
    7. มีป้ายกติกาการจัดการขยะตามชุมชนตามจุดต่างๆอย่างชัดเจนจำนวน 4 จุด
    8. พื้นที่ในชุมชนสะอาด สวยงานน่าอยู่ สถานที่สาธารณะสะอาดสวยงาม ขยะในครัวเรือนได้มีการจัดการอย่างถูกต้องครบวงจร

     

    35 37

    39. สรุปปิดโครงการ

    วันที่ 24 ตุลาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สภาผูู้นำชุมชน ร่วมกัน สรุปรวบรวมผลจากการจัดกิจกรรม ตลอดโครงการ และตรวจสอบเอกสารหลักฐาน ต่างๆ ทั้งใบลงทะเบียน ใบสำคัญรับเงิน และการลงรายงานในเวป ในแต่ละกิจกรรมและ ช่วยกันรวบรวมจัดเก็บแยกเป็นรายกิจกรรมเพื่อสะดวกในการตรวจสอบ สรุปรวบรวมเอกสารจัดเตรียมทำรูปเล่ม พร้อมทั้งช่วยกันคัดเลือกรูปเพื่อนำไปล้างอัดจัดนิทรรศการไว้ที่ศาลาประจำหมู่บ้านต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เอกสารหลักฐานต่างๆ ครบถ้วน การจัดกิจกรรมครบถ้วนตามแผนที่วางไว้ สามารถ ปิดโครงการได้

     

    20 23

    40. ล้างอัดภาพกิจกรรม

    วันที่ 29 ตุลาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานนำภาพที่ทำกิจกรรมทุกกิจกรรมมาร่วมกันคัดเลือกจากการจัดกิจกรรมทุกกิจกรรม เพื่อล้างอัด ติดไว้ที่ศาลาหมู่บ้านให้ขาวบ้านไดดูกิจกรรมที่ได้ร่วมกันทำ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีภาพถ่ายการจัดกิจกรรมในชุมชนให้ประชาชนได้ดู และเกิดความภาคภูมิใจที่ได้ร่วมกันทำกิจกรรมในชุมชน

     

    2 5

    41. จัดทำรายงานสรุปโครงการ

    วันที่ 30 ตุลาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานตรวจสอบรายงานในเวป ทุกกิจกรรม สรุปการจัดกิจกรรม จัดทำรายงาน ส ๓  ส๔ ตรวจสอบความถูกต้อง ถ่ายเอกสารสมุดบัญชีธนาคาร รับรองสำเนา  ปริ้นเอกสาร และถ่ายเอกสารจัดทำรูปเล่มจำนวน 3เล่ม เพื่อจัดส่ง สสส จำนวน 1 เล่ม ไว้ในชุมชน 1 เล่ม ให้ คณะทำงานเก็บไว้เป็นหลักฐาน1 เล่ม 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    รายงานรูปเล่มเสร็จสมบรูณ์ จัดส่ง สสส ได้

     

    5 10

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อจัดการขยะครบวงจรให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่สะอาดปราศจากโรค
    ตัวชี้วัด : 1. แกนนำกลุ่ม 6 กลุ่มบ้านเป็นวิทยากรสอนเพื่อนบ้านเพื่อการจัดการขยะได้ ร้อยละ 80 2. ขยะริมน้ำได้รับการคัดแยกนำมาใช้ประโยชน์ร้อยละ 60 3. ขยะในตลาดนัดได้รับการคัดแยกนำมาใช้ประโยชน์ร้อยละ 60 4. มีจุดเก็บขยะพิษเพิ่มขึ้น 2 จุดในหมู่บ้าน
    1. แกนนำกลุ่ม 6 กลุ่มบ้านเป็นวิทยากรสอนเพื่อนบ้านเพื่อการจัดการขยะได้ ร้อยละ 90
    2. ขยะริมน้ำได้รับการคัดแยกนำมาใช้ประโยชน์ร้อยละ 63
    3. ขยะในตลาดนัดได้รับการคัดแยกนำมาใช้ประโยชน์ร้อยละ 65
    4. มีจุดเก็บขยะพิษเพิ่มขึ้น 2 จุดในหมู่บ้าน
    2 เพื่อให้เกิดกลไกในชุมชนกระตุ้นให้มีการเรียนรู้และเกิดการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะอย่างยั่งยืน
    ตัวชี้วัด : 1. มีการติดตามการปฏิบัติทุกเดือน 2. แกนนำกลุ่มบ้านสามารถกระตุ้นให้แม่ค้าจัดเก็บขยะอย่างถูกต้องและเกิดประโยชน์กับส่วนรวม 3. มีป้ายกติกาการจัดการขยะตามชุมชนตามจุดต่างๆอย่างชัดเจนอย่างน้อย 4 จุด
    1. มีการติดตามการปฏิบัติทุกเดือนอย่างต่อเนื่องโดยแกนนำกลุ่มบ้าน
    2. แกนนำกลุ่มบ้านสามารถกระตุ้นให้แม่ค้าจัดเก็บขยะอย่างถูกต้องและเกิดประโยชน์กับส่วนรวม
    3. มีป้ายกติกาการจัดการขยะตามชุมชนตามจุดต่างๆอย่างชัดเจนจำนวน 4 จุด
    3 เพื่อบริหารจัดการและติดตามผลการดำเนินโครงการ
    ตัวชี้วัด : 1.จำนวนครั้งที่เข้าร่วมกิจกรรมกับสสส หรือ สจรส.มอไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2.ส่งรายงานสรุปโครงการภายในระยะเวลาที่กำหนดในแต่ละงวด
    1. จำนวนครั้งที่เข้าร่วมกิจกรรมกับสสส หรือ สจรส.มอทุกครั้ง
    2. ส่งรายงานสรุปโครงการภายในระยะเวลาที่กำหนดในแต่ละงวด

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อจัดการขยะครบวงจรให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่สะอาดปราศจากโรค (2) เพื่อให้เกิดกลไกในชุมชนกระตุ้นให้มีการเรียนรู้และเกิดการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะอย่างยั่งยืน (3) เพื่อบริหารจัดการและติดตามผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ ขยะลอยน้ำบ้านเปี๊ยะหัวเนิน(ต่อยอด)

    รหัสโครงการ 57-02551 รหัสสัญญา 58-00-0099 ระยะเวลาโครงการ 15 ตุลาคม 2014 - 18 พฤศจิกายน 2015

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    การจัดการข้อมูล อย่างเป็นระบบเพื่อนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ในการวางแผนแก้ไขปัญหาต่างๆของชุมชน

    การรวบรวมข้อมูลด้านต่างๆของชุมชนเป็นระบบ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ตลอดเวลา

    จัดการข้อมูลของชุมชนทุกระบบให้เป็นปัจจุบันทุกปี

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

    ผลผลิตใหม่ที่เกิดขึ้นในชุมชนเพื่อแก้ไขปัญหาขยะในลำคลองคือการจัดทำที่ดักขยะ ในคลองจำนวน 6 จุดเพื่อความสะดวกในการจัดเก็บและนำขยะมีคัดแยก

    จุดดักขยะในชุมชน 6 จุด

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    ปัญหาที่ชุมชนไม่สามารถแก้ไขได้ สภาผู้นำชุมชนร่วมกันหาแนวร่วม ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมรับผิดชอบเช่น ขยะพิษที่ชุมชนจัดเก็บไว้ในหลุมขยะพิษของชุมชนสภาผู้นำชุมชนเสนอ อบต ช่วยนำไปทำลายให้ถูกวิธีต่อไป

    ข้อตกลงกับ อบต ในการจัดการขยะของชุมชน

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

    ร่วมกันวางแผนก่อนการดำเนินการทุกกิจกรรม และติดตามผลทุกช่วงของกิจกรรมหลังเสร็จกิจกรรมมีการสรุปผลการดำเนินการและร่วมกันวิเคราะห์ผลที่ได้รับพร้อมทั้งปัญหาที่เกิดขึ้นและร่วมวางแผนแก้ไขเป็นระบบโดยสภาผู้นำชุมชน

    บันทึกการประชุม

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    เกิดสภาผู้นำชุมชนเป็นแกนนำในการพัฒนาชุมชนมีการประชุมร่วมกันทุกเดือนเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆของชุมชน

    บันทึกการประขุมสภาผู้นำชุมชน

    จัดเวทีวิเคราะห์ปัญหาของชุมชนร่วมกันและวางแผนแก้ไข นำแผนสู่ อบต

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

    บ้านตัวแทนกลุ่มบ้านที่เป็นแกนหลักและสามารถขับเคลื่อนและถ่ายทอดการจัดการขยะได้ครบวงจร

    ได้รับประกาศนีย์บัตรบ้านตัวอย่างประจำปี

    เป็นแหล่งเรียนรู้และขยายเครือข่ายสู่ครัวเรือนในกลุ่มบ้านในชุมชนให้ทุกครัวเรือนสามารถจัดการขยะได้

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

    การทำกิจกรรมภายในชุมชนทุกครั้ง คนที่ร่วมกิจกรรมไม่สูบบุหรี่ ขณะทำกิจกรรมซึ่งสามารถลดปริมาณการสูบบุหรี่ลงหมู่บ้านสมัครเป็นหมู่บ้านศีลห้า ซื่งสามารถลดอบายมุขไปได้อย่างน้อยทุกวันพระมีการถือศีลห้าและทำกิจกรรมในวัดตลอดระยะเวลาในปี2558

    ไม่มีคนสูบบุหรี่ในบริเวณการทำกิจกรรม

    รณรงค์การลดละเลิก อบายมุขอย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

    ชุมชนเป็นหมู่บ้านศีลห้าในปี2558 มีการจัดกิจกรรมเข้าวัดฟังธรรม ปฏิบัติสมาธิ ตลอดทุกวันพระของเดือน มีการสอนการจัดการอารมย์โดยเจ้าอาวาสวัดศรีสุวรรณาราม ทำให้คนในชุมชนมีวิธีการจัดการกับอารมย์ตนเองได้มากขึ้น

    มีการจัดกิจกรรมทุกวันพระมีคนในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรม

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    แกนนำกลุ่มบ้าน เป็นคนขับเคลื่อนให้ทุกครัวเรือนในชุมชน จัดการขยะในครัวเรือนตนเองและในชุมชน มีการประกวดบ้านตัวอย่าง บ้านสะอาดน่าอยู่ทุกปี มีการมอบประกาศนียบัตรให้แก่ครัวเรือนที่สภาผู้นำลงประเมินติดตามแล้วผ่านเกณฑ์

    ทะเบียนครัวเรือนตัวอย่างการจัดการขยะ ในแต่ละปี

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน
    1. มีการจัดเก็บขยะตามสถานที่สาธารณะในหมู่บ้านทุกเดือนโดยผู้นำกลุ่มบ้านรับผิดชอบกลุ่มบ้านตนเองอุปกรณ์ สภาผู้นำชุมชนเป็นผู้จัดเตรียม
    2. ทุกครัวเรือนไม่ทิ้งขยะตามที่สาธารณะหากฝ่าฝืนจะมีการแจ้งเตือนทางเสียงตามสายของหมู่บ้าน
    3. อบต คลองน้อยเก็บขยะที่รวบรวมไว้ทุกวันที่ 6 ของทุกเดือน เน้นขยะที่ไม่สามารถจัดการได้เช่นถุงพลาสติก
    4. ขยะมีพิษให้ทุกครัวเรือนนำไปรวบรวมที่บ่อขยะพิษคือที่บริเวณศาลาหมู่บ้านและวัดศรีสุวรรณารามเพื่อรอ อบต นำไปจัดการอย่างถูกต้องต่อไป
    5. กลุ่มบ้านรับผิดชอบในการเก็บขยะที่ลอยน้ำ ตามลำคลองในกลุ่มบ้านตนเอง
    6. ร่วมกันรณรงค์เก็บขยะและพัฒนาหมู่บ้านปีละ2 ครั้ง ในวันพ่อและวันแม่
    7. มอบประกาศนียบัตรให้บ้านที่จัดบ้านน่าอยู่และสามารถจัดการขยะได้ ในเดือนมกราคม ของทุกปี

    บันทึกการประชุม ป้ายกติกาของชุมชน ติดในชุมชน จำนวน 4 จุด

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

    สภาผู้นำชุมชน มีการประชุมทุกเดือน เพื่อร่วมกันประเมินปัญหาของชุมชน และผู้ใหญ่บ้านจัดเวที่ประชุมชาวบ้านทุกเดือนเพื่อร่วมเสนอปัญหา และหาข้อมูลจากทุกภาคส่วน บ้าน วัดโรงเรียนรพ สต ในพื้นที่อบตมาวิเคราะห์ และวางแผนการจัดกิจกรรม แก้ไขปัญหาตามลำดับ ความสำคัญ และเป็นไปได้พร้อมร่วมกันประเมินผลหลังการจัดกิจกรรม

    บันทึกการประชุมหมู่บ้านข้อมูลการวิเคราะห์ปัญหา และแผนปฏิบัติการของหมู่บ้าน

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

    มีการใช้ทุนในชุมชน มาใช้ให้เกิดประโยชน์ส่วนใหญ่เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่ในชุมชน ทางสภาผู้ผู้นำชุมได้ประสานดึงบุคลากรจากทุกภาคส่วนมาใช้เช่น ผอ โรงเรียนเจ้าอาวาส เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ และตัวแกนนำกลุ่มบ้าน มาร่วมขับเคลื่อนกิจกรรม ตลอดโครงการอย่างต่อเนื่อง

    ภาพการจัดกิจกรรม บันทึกการประชุม

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

    มีการจัดการขยะในครัวเรือนตนเองและในสถานที่สาธารณะของชุมชนเช่นวัด โรงเรียน ศาลาหมู่บ้านถนนสายหลักของชุมชน มีการรณรงค์เก็บขยะทุกเดือน มีการพัฒนาหมู่บ้านปีละ 2 ในวันสำคัญเช่นวันพ่อ วันแม่

    ข้อตกลง กติกาของชุมชน ภาพการจัดกิจกรรม

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

    แกนนำกลุ่มบ้าน เป็นคนขับเคลื่อน ถ่ายถอดองค์ความรู้ให้กับครัวเรือนในชุมชนและเป็นต้นแบบให้คนในชุมชนมาร่วมเรียนรู้ด้วยกัน มีการจัดเวที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทุกเดือน เพื่อนำปัญหาและแนวทางแก้ไขมาแลกเปลี่ยนกันโดยแกนนำชุมชนแต่ละกลุ่มบ้านเป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนกิจกรรม

    บันทึกการจัดกิจกรรมของชุมชน

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

    การจัดการข้อมูล อย่างเป็นระบบเพื่อนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ในการวางแผนแก้ไขปัญหาต่างๆของชุมชน

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    กลุ่มสภาผู้นำและแกนนำกลุ่มบ้านมีความภาคภูมิใจที่เห็นคนในชุมชนร่วมกันทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและเต็มใจ มีแกนนำในการช่วยขับเคลื่อนกิจกรรม และครัวที่ได้รับประกาศนียบัตร มีความภาคภูมิใจ ที่ครัวเรือนสามารถทำตามกติกาของชุมชนจนได้รับประกาศเกรียติคุณ และประกาศให้ชุมชนรับทราบในวันจัดงานปีใหม่ของชุมชนทุกปีและมีครัวเรือนที่ได้ประกาศเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

    จากภาพการจัดกิจกรรม

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

    ทุกครัวเรือนร่วมรับผิดชอบการจัดการขยะในครัวเรือนตนเอง และในเขต สถานที่สาธารณะของชุมชนและสละเวลาร่วมทำกิจกรรมตลอดโครงการและต่อเนื่อง

    บ้านเรือนสะอาด สถานที่สาธารณะสอะอาดสวยงามน่าอยู่

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

    จากการจัดกิจกรรม ให้คนในชุมชนได้ร่วมทำกิจกรรมทุกเดือน และการเข้าร่วมโครงการหมู่บ้านศีลห้า ทำให้คนในชุมชน มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ดี มีการใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย มีการพึงพาอาศัยกันเอื้ออาทรกัน

    การร่วมกันจัดกิจกรรมของชุมชน

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

    จากการจัดกิจกรรมทุกครั้ง ในการรณรงค์ทำคาวมสะอาด และพัฒนาหมู่บ้าน ตัวแทนครัวเรือนเกือบทุกครัวเรือนเข้าร่วมกิจกรรม และช่วยกันแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม ต่างช่วยกันจัดหาอุปกรณ์ มาร่วมโดยความเต็มใจ เป็นหว่งเป็นใยช่วยกันดูแลเรื่องอาหารการกิน มีการแบ่งทีมทำงานอย่างสนุกสนาน ทุกครั้งที่มีกิจกรรม

    ภาพการจัดกิจกรรม ของชุมชน

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    ขยะลอยน้ำบ้านเปี๊ยะหัวเนิน(ต่อยอด) จังหวัด นครศรีธรรมราช

    รหัสโครงการ 57-02551

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางสาวจารุณี ทองแก้ว )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด