แบบบันทึกการติดตามสนับสนุนโครงการ ครั้งที่ 1

รหัสโครงการ 57-02600
สัญญาเลขที่ 58-00-0125

ชื่อโครงการ พันธมิตรพิชิตขยะ บ้านบางหละจัดการตนเอง
รหัสโครงการ 57-02600 สัญญาเลขที่ 58-00-0125
ระยะเวลาตามสัญญา 20 ตุลาคม 2014 - 20 พฤศจิกายน 2015

ส่วนที่ 1 : ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม

1.1 ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 1 นายศักดิ์ชาย เรืองศรี
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 2
วันที่ลงพื้นที่ติดตาม 7 ธันวาคม 2014
วันที่ส่งรายงานถึง สสส.
1.2 ผู้ให้ข้อมูล
ลำดับชื่อ-สกุลผู้ให้ข้อมูลที่อยู่หมายเลขโทรศัพท์
1 นางสาวรุ่งนภา ตุลา 0852459502

ส่วนที่ 2 : ข้อมูลโครงการและความก้าวหน้าการดำเนินงาน

2.1 วัตถุประสงค์และตัวชี้วัดความสำเร็จโครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1.

เพื่อให้เกิดกระบวนการจัดการขยะอย่างเป็นระบบ

  1. จัดตั้งคณะทำงานเพื่อจัดการขยะ อย่างน้อย 1 ชุด
  2. มีมาตรการทางสังคมและกฏกติกา ทางสังคมอย่างถูกต้อง
  3. ครัวเรือนมีการจัดการขยะอย่างถูกต้อง
  4. ปริมาณขยะลดลง อย่างน้อยร้อยละ 20

2.

เพื่อส่งเสริมการสร้างงานสร้างรายได้

  1. มีการจัดตั้งกองทุนขยะและสิ่งแวดล้อม 1 กองทุน
  2. มีการนำขยะมาทำปุ๋ยใช้ในชมชน

3.

เพื่อสนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมเพื่อลดการบริโภคสุราและบุหรี่

  1. สมาชิกในครัวเรือนและชุมชนลดการดื่มสุราและสูบบุหรี่ ร้อยละ 10

4.

เพื่อประชุมติดตามโครงการอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องเป็นสภาชุมชน

  1. คณะทำงานและเครือข่ายในชุมชนมีการประชุมวิเคราะห์และร่วมกันขับเคลื่อนโครงการตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดร่วมกันอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องเป็นสภาชุมชน

5.

ติดตามสนับสนุนจาก สสส. สจรส.และพี่เลี้ยง

  1. จัดทำรายงานประจำงวด
  2. ประชุมชี้แจงโครงการ
  3. จัดทำรายงานประจำงวดส่ง
2.2 ความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ
กลุ่มเป้าหมายงบประมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงปริมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพ/สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ
ที่ตั้งไว้(บาท)เกิดขึ้นจริง(บาท)จำนวนที่ตั้งไว้(คน)จำนวนเกิดขึ้นจริง(คน)

กิจกรรมหลัก : ประชุมคณะกรรมการจัดการขยะ 10 ครั้งi

10,000.00 20 ผลผลิต

มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 30 คน และได้รับการคัดเลือกเสนอให้เป็นคณะกรรมการจัดการขยะ  จำนวน 20 คน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

คณะกรรมการจัดการขยะมีความเข้าใจและต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการขยะ โดยมีการแบ่งหน้าที่และโซนพื้นที่รับผิดชอบ  จำนวน 4 โซน คือ โซนเอ ซอยท่าสุเหร่น  โซนบี หน้ามัสยิด  โซนซี ชุมชนบางหละ โซนดี ชุมชนบ่อกุ้ง

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 13 ครั้ง

มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 30 คน ประกอบด้วย

  • ผู้นำชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน
  • ผู้นำศาสนา
  • อสม.
  • ตัวแทนกลุ่มอาชีพ
  • แกนนำเยาวชน
1,000.00 1,000.00 20 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมครบตามเป้าหมาย เกิดคณะกรรมการจัดการขยะ 1 กลุ่ม ในการมีส่วนร่วมดำเนินงานและเป็๋นแกนนำในการทำความเข้าใจกับคนในชุมชน โดยคณะกรรมการจัดการขยะ มีโครงสร้างของคณะกรรมการที่ชัดเจนขึ้น และแบ่งบทบาทหน้าที่กัน ดังนี้
  1. นายสมชาย  บุญเทียม      ผู้ใหญ่บ้าน            ตำแหน่ง  ประธาน
  2. นายอาหรีด  ดำเชื้อ        ตัวแทนผู้นำศาสนา    ตำแหน่ง  รองประธาน
  3. นายเรวัติ  บัวสหมัด        ส.อบต.          ตำแหน่ง  รองประธาน
  4. นางสาวรุ่งนภา ตุลา        ตัวแทนอสม.      ตำแหน่ง  เหรัญญิก
  5. นางไกรวัน  บุญทวี          ตัวแทนอสม.    ตำแหน่ง  เลขา
  6. นายยะมีน  บิลลาเต๊ะ        ผูู้ช่วยฯ          ตำแหน่ง  คณะกรรมการ
  7. นางสุวรรณี  โต๊ะเซ็น        อสม.          ตำแหน่ง  คณะกรรมการ
  8. นางสาวอังคณา บัวสหมัด  อสม.            ตำแหน่ง  คณะกรรมการ
  9. นางพัชรี  ม่วงสีทอง          อสม.        ตำแหน่ง  คณะกรรมการ
  10. นางนิตยา  บุญเทียม        อสม.  ตำแหน่ง  คณะกรรมการ
  11. นางรัตนา  บุญเทียม        แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว ตำแหน่ง คณะกรรมการ
  12. นางจริยา  วิเชียรสร้าง      แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว ตำแหน่ง คณะกรรมการ
  13. นางสารีน่า  บุญเทียม        แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว ตำแหน่ง คณะกรรมการ
  14. นางสมจิตร บิลเต๊ะ          แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว  ตำแหน่ง คณะกรรมการ
  15. นางสุนิสา หมัดแสล้        แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว  ตำแหน่ง คณะกรรมการ
  16. เด็กหญิงอรวรรณ กาหลง    ตัวแทนเยาวชนต้นกล้า        ตำแหน่ง  คณะกรรมการ
  17. เด็กหญิงมายาวี  โต๊ะเซ็น    ตัวแทนเยาวชนต้นกล้า        ตำแหน่ง  คณะกรรมการ
  18. เด็กหญิงนลนี    สวนแก้ว    ตัวแทนเยาวชนต้นกล้า      ตำแหน่ง  คณะกรรมการ
  19. เด็กหญิงเอวลิน บิลฮาดับ  ตัวแทนเยาวชนต้นกล้า        ตำแหน่ง  คณะกรรมการ
  20. เด็กชายธนรัฐ  วิเชียรสร้าง ตัวแทนเยาวชนต้นกล้า          ตำแหน่ง  คณะกรรมการ
  21. นายศักดิ์ชาย  เรืองศรี ตัวแทนเจ้าหน้าที่สาธารณสุข  ร่วมเป็นคณะกรรมการที่ปรึกษา

พี่เลี้ยงติดตามในพื้นที่

0.00 0.00 1 1 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เกิดการจัดตั้งสภาผู้นำชุมชนเป็นคณะกรรมการและดำเนินการประชุมต่อเนื่องทุกเดือน เพื่อจัดการขยะอย่างเป็นระบบ 

พี่เลี้ยงติดตามในพื้นที่  ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงาน

0.00 0.00 1 1 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เกิดเวทีเพื่อข้อมูลข้อมูลขยะมาวิเคราะห์หาแนวทางในการจัดการอย่างเป็นระบบ และเกิดมาตรการทางสังคม 

  • ผู้ใหญ่บ้านผู้นำชุมชน
  • ผู้นำศาสนา
  • อสม.
  • แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว
  • แกนนำเยาวชน
800.00 750.00 20 25 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • รายงานผลการดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดการขยะ โดยเลขา คุณไกรวัน บุญทวี โดยมีเนื้อหา คือ แจ้งการดำเนินงานของคณะกรรมการจัดการขยะที่ผ่านมา ได้นำเด็กต้นกล้า ตาวิเศษ ไปสำรวจเส้นทางขยะ พาไปดูประวัติศาสตร์ชุมชนของหมู่บ้านและสมุนไพรที่ควรรู้

  • ขอความร่วมมือในการประชาสัมพันธ์ เสียงตามสาย และประสานงานเพื่อให้ชาวบ้านเข้าร่วมประชุม และแจ้งเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมในวันอาทิตย์ที่ 18  มกราคม 2558 เวลา 08.30 เป็นต้นไป จะมีการอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการจัดการขยะอย่างเป็นระบบในชุมชน เพื่อให้คนในชุมชนได้มีความรู้ ความเข้าใจ โดยมีเป้าหมายเป็นเด็กเยาวชนต้นกล้าตาวิเศษ กลุ่มแกนนำแม่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน เข้าร่วม และให้ไปช่วยประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับมาตรการ ทั้ง 9 ข้อ  โดยในกิจกรรมครั้งต่อไป จะให้ห่อปิ่นโตเพื่อสุขภาพ ลดการสร้างขยะ และรณรงค์ให้ใช้ถุงผ้าหรือตะกร้าจ่ายหลาด มาร่วมด้วย ซึ่งในชุมชนมีกลุ่มทำตะกร้าทำจากเส้นพลาสติก และมีขั้นตอนเกี่ยวกับการหาวัตถุดิบและการรณรงค์รักษาความสะอาดในวันศุกร์ เมื่อทุกคนรับทราบและรับฟังข้อคิดเห็น

  • ร่วมกันกำหนดมาตรการทางสังคมและลงมติเห็นชอบในมาตรการที่ทำร่วมกันและประกาศใช้ในชุมชน

พี่เลี้ยงติดตามในพื้นที่ ผู้รับผิดชอบโครงการ

0.00 0.00 1 1 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่มาจากปัญหาขยะ 

  1. ตัวแทนแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว 10 คน
  2. แกนนำ อสม. 6 คน
  3. ผู้นำชุมชน/ผู้นำท้องถิ่น 4 คน
800.00 750.00 20 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการประชุมคณะกรรมการจัดการขยะ ผลสรุปมีดังนี้

  1. การแบ่งบทบาทหน้าที่ รับผิดชอบในแต่ละฝ่ายของกรรมการ เช่น ประธาน รองประธาน เลขา  ฝ่ายประสานงาน เป็นต้น
  2. การติดตามผลกิจกรรม วางแผนงาน การลงมือปฏิบัติ การตรวจสอบและติดตามการทำงาน และการแก้ไขปรับปรุุง
  3. ให้คำเสนอแนะเกี่ยวกับเรื่องสถานที่ การประสานงาน ให้คณะกรรมการมาให้พร้อมเพรียงกัน
  4. ให้มีการประชุมต่อเนื่องกันทุกเดือน เพื่อรับทราบและวางแผนงานในการดำเนินงานการจัดการขยะอย่างต่อเนื่องเป็นระบบ
  • ตัวแทนแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว 10 คน
  • แกนนำ อสม. 6 คน
  • ผู้นำชุมชน/ผู้นำท้องถิ่น 4 คน
  • แกนนำเยาวชน 2 คน

รวมเป็น 22 คน

1,000.00 750.00 20 22 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการประชุมคณะกรรมการจัดการขยะ ผลสรุปมีดังนี้

  • การแบ่งบทบาทหน้าที่ รับผิดชอบในแต่ละฝ่ายของกรรมการ เช่น ประธาน รองประธาน เลขาฝ่ายประสานงาน เป็นต้น
  • การติดตามผลกิจกรรม วางแผนงาน การลงมือปฏิบัติ การตรวจสอบและติดตามการทำงาน และการแก้ไขปรับปรุุง
  • ให้คำเสนอแนะเกี่ยวกับเรื่องสถานที่ การประสานงาน ให้คณะกรรมการมาให้พร้อมเพรียงกัน
  • ให้มีการประชุมต่อเนื่องกันทุกเดือน เพื่อรับทราบและวางแผนงานในการดำเนินงานการจัดการขยะอย่างต่อเนื่องเป็นระบบ
  • คณะกรรมการจัดการขยะตัวแทนแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว 10 คน
  • แกนนำ อสม. 6 คน
  • ผู้นำชุมชน/ผู้นำท้องถิ่น 4 คน
1,000.00 750.00 20 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการประชุมคณะกรรมการจัดการขยะ ผลสรุปมีดังนี้

  • การแบ่งบทบาทหน้าที่ รับผิดชอบในแต่ละฝ่ายของกรรมการ เช่น ประธาน รองประธาน เลขาฝ่ายประสานงาน เป็นต้น
  • การติดตามผลกิจกรรม วางแผนงาน การลงมือปฏิบัติ การตรวจสอบและติดตามการทำงาน และการแก้ไขปรับปรุุง
  • ให้คำเสนอแนะเกี่ยวกับเรื่องสถานที่ การประสานงาน ให้คณะกรรมการมาให้พร้อมเพรียงกัน
  • ให้มีการประชุมต่อเนื่องกันทุกเดือน เพื่อรับทราบและวางแผนงานในการดำเนินงานการจัดการขยะอย่างต่อเนื่องเป็นระบบ
  • ตัวแทนแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว 10 คน
  • แกนนำ อสม. 6 คน
  • ผู้นำชุมชน/ผู้นำท้องถิ่น 4 คน
  • ชาวบ้านที่มาอบรมจริยธรรมอิสลาม 9 คน รวมจำนวน29คน
1,000.00 750.00 20 29 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เนื่องจากวันนี้ เป็นวันศุกร์ที่มีการอบรมจริยธรรมศาสนาอิสลาม และมีกลุ่มชาวบ้าน แม่บ้าน มาร่วมประชุมด้วย และมีการประชุมหารือกัน เพื่อติดตามผลการดำเนินงานด้านการจัดการขยะ การแบ่งบทบาทหน้าที่ โดยมีประธาน คือ ผู้ใหญ่สมชาย บุญเทียม เป็นผู้ดูแลและให้การสนับสนุนเลขาโดย คุณไกรวัน บุญทวี บันทึกวาระการประชุม และรายงานผลงานที่ผ่านมาในแต่ละกิจกรรมและแผนงานในกิจกรรมต่อไป และให้ประชาสัมพันธ์ในวันประชุมประจำเดือนทุกเดือนด้วย
  • จากการประชุมคณะกรรมการจัดการขยะ ในครั้งนี้ เพื่อให้ทุกคนที่มีส่วนร่วมช่วยกันวางแผนการดำเนินงาน เนื่องจากยังไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ สสส.ของงวดที่ 2 และให้มีการประชุมต่อเนื่องกันทุกเดือน เพื่อรับทราบและวางแผนงานในการดำเนินงานการจัดการขยะต่อไป

-ในการร่วมอบรมจริยธรรมในวันนี้ คือ หัวข้อการปฏิบัติตามหลักปฏิบัติของอิสลาม หลักปฏิบัติ (อิสลาม)  ผู้นับถืออิสลามทุกคนจะต้องถือเป็นหน้าที่และกิจวัตรจะขาดไม่ได้ การปฏิบัติเบื้องต้นอันเป็นพื้นฐานแรกนั้นแบ่งออกได้เป็นห้าประการคือ

  ปฏิญาณตน  การปฏิญาณตนเข้ารับนับถืออิสลามนั้นให้ปฏิญาณในความเชื่อที่มีต่อพระเจ้าและต่อนบี โดยกล่าวออกมาเป็นวาจาจากความเชื่อมั่น และพร้อมที่จะปฏิบัติตามคำสอน ข้อความที่กล่าวคือ

"ข้าพเจ้าขอปฏิญาณตนว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลเลาะฮ์ และข้าพเจ้าปฏิญาณตนว่า นบีมูฮำมัดเป็นศาสนทูตแห่งอัลเลาะฮ์"

  เมื่อผู้ใดกล่าวด้วยสำนึกอันจริงใจและด้วยความศรัทธาอันมั่นคงและพร้อมที่จะปฏิบัติตามบทบัญญัติอิสลาม ก็ถือว่าเป็นมุสลิมแล้ว จากนั้นก็จะต้องปฏิบัติตามข้อบังคับอื่น ๆ เช่น การขลิบปลายผิวหนังส่วนนอกที่หุ้มปลายอวัยวะเพศ การทำความสะอาด การทำนมัสการ การบริจาคทาน และอื่น ๆ

        ผู้เข้าอิสลามบางคนที่เข้าโดยเงื่อนไขของการแต่งงานกับมุสลิม มักเข้าใจว่า การกล่าวข้อความปฏิญาณเป็นเพียงเงื่อนไขในการแต่งงาน จึงคิดว่าเมื่อผ่านพิธีปฏิญาณแล้วก็แล้วกัน ตนไม่ต้องสนใจคำสอนอิสลามแล้ว ปล่อยตัวตามสภาพเดิม การกระทำดังกล่าวไม่เรียกว่าเป็นมุสลิม

  • ปิดประชุม 12.00 น.  เพื่อกลับไปรับประทานอาหารและไปละหมาด                    
  • ตัวแทนแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว 10 คน
  • แกนนำ อสม. 6 คน
  • ผู้นำชุมชน/ผู้นำท้องถิ่น 4 คน
1,000.00 750.00 20 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • จากการประชุมคณะกรรมการจัดการขยะ ในครั้งนี้ เพื่อให้ทุกคนที่มีส่วนร่วมช่วยกันวางแผนการดำเนินงาน เนื่องจากยังไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ สสส.ของงวดที่ 2 และให้มีการประชุมต่อเนื่องกันทุกเดือน เพื่อรับทราบและวางแผนงานในการดำเนินงานการจัดการขยะต่อไป

  • ในการประชุมครั้งนี้ ให้นำเข้าสู่วาระของหมู่บ้านเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านไปขึ้นทะเบียนเรือประมง

  • ให้คณะกรรมการที่มีส่วนเกี่ยวข้องเรื่องกองทุนแม่ของแผ่นดิน เข้ารับเงินพระราชทานขวัญถุง ในวันที่ 3 สิงหาคม 2558

  • มีการประสานงานเกี่ยวกับการดูแลเยียวยาผู้ประสบภัยจากลมพายุ ที่ผ่านมา ให้แจ้งที่ผุ้ใหญ่บ้านหรือผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน

  • เรื่องอื่นๆ

  • ตัวแทนแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว 10 คน
  • แกนนำ อสม. 6 คน
  • ผู้นำชุมชน/ผู้นำท้องถิ่น 4 คน
1,000.00 750.00 20 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • จากการประชุมคณะกรรมการจัดการขยะ ในครั้งนี้ เพื่อให้ทุกคนที่มีส่วนร่วมช่วยกันวางแผนการดำเนินงาน เนื่องจากยังไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณสสส.ของงวดที่ 2 และให้มีการประชุมต่อเนื่องกันทุกเดือน เพื่อรับทราบและวางแผนงานในการดำเนินงานการจัดการขยะต่อไป โดยที่ประชุมได้มีแนวทางในการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติเนื่องในวันแม่แห่งชาติ 12 สิงหาคม 2558 ด้วยการร่วมกันกับชาวบ้านและเด็กนักเรียนปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกียรติ 83 พรรษา 83 ต้น ซึ่งเป็นต้นเทียนทอง เป็นแนวรั้วในพื้นที่สาธารณะเพื่อความสวยงามและร่มรื่น นอกจากนี้ กรรมการทีเป็นคณะกรรมการหมู่บ้านให้เข้าร่วมจัดทำซุ้มเฉลิมพระเกียรติฯและการเดินเทิดพระเกียรติในวันที่ 12 สิงหา ร่วมกันทั้งอำเภอ
  • ตัวแทนแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว 10 คน
  • แกนนำ อสม. 6 คน
  • ผู้นำชุมชน/ผู้นำท้องถิ่น 4 คน
1,300.00 2,000.00 20 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. จากการประชุมคณะกรรมการจัดการขยะ ในครั้งนี้ เพื่อให้ทุกคนที่มีส่วนร่วมช่วยกันวางแผนการดำเนินงาน และคณะกรรมการบริหารโครงการโดยนางรุ่งนภาตุลา ได้แจ้งในที่ประชุมเรื่องกำหนดการจัดกิจกรรม " จัดทำจุดคัดแยกขยะป้อมยามซึ่งเป็นศูนย์กลางในชุมชน มัสยิด โรงเรียนสันติธรรมและที่พักริมทาง 1 แห่งปรับสถานที่และจุดคัดแยกขยะข้างป้อมยาม ปรับภูมิทัศน์ เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์สาธิตการจัดการขยะอย่างเป็นระบบ บอร์ดความรู้การจัดการขยะอยางถูกวิธี ป้ายขยะแยกประเภทแปลงผักสาธิต และปลูกต้นไม้เพื่อความร่มรื่น จัดทำแผงลวดตาข่าย คัดแยกขยะประเภทต่างๆ บริเวณข้างป้อมยาม
  2. ผลสรุปที่สำคัญคือ เกิดการมีส่วนร่วม ทั้งของชุมชน โรงเรียนและกรรมการหมู่บ้านฝ้ายต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมและร่วมกันสร้างพื้นที่สีเขียว สร้างชุมชนให้น่าอยู่ โดยเฉพาะการร่วมแรงร่วมใจในการทำแปลงผักและการปลูกมะนาวในท่อซีเมนต์ พันธ์ุแป้นพิจิตรซึ่งเป็นพันธุ้ไม่มีเมล็ด สามารถผลิดลูกได้มาก มีน้ำมาก ออกนอกฤดู เหมาะสำหรับชุมชนที่มีพื้นที่ค่อนข้างจำกัด และสะดวกในการดูแล และยังสามารถนำปุ๋ยที่ชาวบ้านได้จากการประกอบอาชีพ มาใส่เช่นเปลือกปู และน้ำปุ๋ยหมักชีวภาพมารดได้ เป็นการลดการสร้างขยะ แปรรูปขยะ และนำมาใช้ในชุมชนได้เป็นอย่างดี
  • ตัวแทนแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว 10 คน
  • แกนนำ อสม. 6 คน
  • ผู้นำชุมชน/ผู้นำท้องถิ่น 4 คน รวมจำนวน  20  คน
1,100.00 1,750.00 20 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากผลการประชุมของคณะกรรมการจัดการขยะ ครั้งที่ 10 ซึ่งเป็นครั้งหลังสุดและงวดสุดท้ายก่อนปิดโครงการ ผลสรุปที่ได้คือ

  1. มีการแจ้งสรุปผลโครงการที่ผ่านมาตั้งแต่เริ่มโครงการการคัดแยกขยะและการปลูกผักไว้กินในครัวเรือน
  2. ครัวเรือนสามารถทำปุ๋ยหมักไว้ใช้เองและเพื่อลดต้นทุนการใช้จ่ายในครัวเรือนได้
  3. ชาวบ้านและคณะกรรมการหมู่บ้านทุกครัวเรือนได้รู้จักการคัดแยกขยะมากขึ้น
  4. คณะกรรมการหมู่บ้านและชาวบ้านได้มีส่วนร่วมในการเป็นสมาชิกกองทุนขยะและสิงแวดล้อม

ข้อเสนอแนะ

  • อยากให้มีการสนับสนุนงบประมาณอย่างต่อเนื่อง เพราะคณะกรรมการและชาวบ้านเริ่มมีความเข้าใจและให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมดี

กิจกรรมหลัก : จัดเวทีแลกเปลี่ยนทำความเข้าใจโครงการi

12,000.00 150 ผลผลิต

มีผู้เข้าร่วมรับฟังการชี้แจงโครงการ จำนวน 153 คน ประกอบด้วย ผู้รับผิดชอบโครงการ คณะกรรมการจัดการขยะ ตัวแทนผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา แม่บ้าน เยาวชน และองค์กรภาครัฐ


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ชุมชนเกิดความเข้าใจในการดำเนินโครงการกิจกรรม มีแผนงานที่ชัดเจนมากขึ้น มีกลุ่มต่างๆ เข้าร่วมมากขึ้น เยาวชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

  • แกนนำสุขภาพครอบครัว 120  คน
  • แกนนำ อสม. 14 คน
  • ผู้นำชุมชน 6 คน
  • ผู้นำท้องถิ่น 1  คน
  • ผุ้นำศาสนา 2 คน
  • เยาวชน  5 คน
  • ประชาชนทั่วไป 3 คน (หมู่บ้านใกล้เคียง)
  • ภาคีสนับสนุน ได้แก่ พัฒนากรอำเภอคุระบุรี 1 คน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 1 คน
12,000.00 13,000.00 150 153 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คนในชุมชนเกิดความเข้าใจในการดำเนินโครงการกิจกรรม โดยคณะทำงาน คือ นางสาวรุ่งนภา ตุลา ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของโครงการ และวิธีการดำเนินงานโครงการที่ได้รับการสนับสนุนงบจาก สสส. จำนวน 199,420.00 บาท โดยโครงการชื่อ "พันธมิตรพิชิตขยะ บ้านบางหละจัดการตนเอง" มีวัตถุประสงค์เพื่อ
  1. ให้ชุมชนรู้จักการคัดแยะขยะ
  2. เพื่อให้เกิดการจัดการขยะอย่างเป็นระบบ

ซึ่งมีกิจกรรมที่สำคัญ เช่น การรณรงค์คัดแยกขยะ การสำรวจข้อมูลขยะ การให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะ และการประกวดบ้านน่ามอง เป็นต้น

  • มีแผนงานที่ชัดเจนมากขึ้น โดยมีแผนการดำเนินงานโครงการ ดังนี้
  1. มีแบบประเมินการสำรวจเส้นทางขยะของชุมชน
  2. ทำแผนอบรมคณะกรรมการทำงานเครือข่าย
  • มีกลุ่มต่างๆ เข้าร่วมมากขึ้น โดยกลุ่มที่เข้าร่วมกิจกรรม ได้แก่
  1. เยาวชน
  2. กลุ่มแม่บ้าน
  • เยาวชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ ด้วยการพัฒนาต่อเนื่องทุกวันศุกร์และวันประชุมหมู่บ้าน ทุกวันที่7 ของทุกเดือน

กิจกรรมหลัก : สำรวจข้อมูลเส้นทางขยะในชุมชนi

16,270.00 60 ผลผลิต

เยาวชนต้นกล้า"ตาวิเศษ" แกนนำชุมชนและปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 60 คน ได้ร่วมกันสำราจข้อมูลขยะในชุมชน เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์แก้ปัญหาต่อไป


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

มีข้อมูลจากการสำรวจข้อมูลขยะในครัวเรือน โดยใช้แบบสำรวจ/สัมภาษณ์ จำนวน  230 ครัวเรือน มีตัวแทนกลุ่มเยาวชนต้นกล้า ในแต่ละโซน ซึ่งแบ่งเป็น 4 Zone  คือ

1.โซน A เริ่มต้นจากซอยท่าสุเหร่าถึงคลองสุเหร่า จำนวน 61 ครัวเรือน 2.โซน B เริ่มต้นจากหน้ากูโบร์ถึงควนโต๊ะโจ๊ะ จำนวน 68 ครัวเรือน 3.โซน C เริ่มต้นจากควนโต๊ะเฉ็มถึงสุดเขตบ้านบางหละ จำนวน 74 ครัวเรือน 4.โซน D เริ่มต้นจากบ่อกุ้งถึงโค้งอันตราย จำนวน 27 ครัวเรือน

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

  1. เยาวชนต้นกล้าตาวิเศษ จำนวน 50 คน
  2. อสม.พี่เลี้ยงจำนวน  8 คน
  3. ปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 2 คน

รวม 60 คน

16,270.00 16,135.00 60 60 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีข้อมูลจากการสำรวจข้อมูลขยะในครัวเรือน โดยใช้แบบสำรวจ/สัมภาษณ์ จำนวน  230 ครัวเรือน โดยตัวแทนกลุ่มเยาวชนต้นกล้า ในแต่ละโซน ซึ่งแบ่งเป็น 4 Zone  คือ
  1. โซน A เริ่มต้นจากซอยท่าสุเหร่าถึงคลองสุเหร่า จำนวน 61 ครัวเรือน
  2. โซน B เริ่มต้นจากหน้ากูโบร์ถึงควนโต๊ะโจ๊ะ จำนวน 68 ครัวเรือน
  3. โซน C เริ่มต้นจากควนโต๊ะเฉ็มถึงสุดเขตบ้านบางหละ จำนวน 74 ครัวเรือน
  4. โซน D เริ่มต้นจากบ่อกุ้งถึงโค้งอันตราย จำนวน 27 ครัวเรือน
  • พี่เลี้ยง อสม. คอยให้คำแนะนำเรื่องการสัมภาษณ์และลงบันทึกแบบสำรวจให้ถูกต้อง เพื่อประโยชน์ในการนำมารวบรวมข้อมูลด้านขยะในครัวเรือน เกี่ยวกับวิธีการ เช่น ปริมาณ สาเหตุ และการจัดการขยะในครัวเรือน แล้วนำมาบันทึกลงในคอมพิวเตอร์ เพื่อจะได้นำเข้าไปสู่เวทีรวบรวมข้อมูลได้สะดวกขึ้น
  • ประสานงานด้านรถ เรือ วัสดุอุปกรณ์ พี่เลี้ยง อสม. ปราชญ์ชุมชน  ครูสอนศาสนาโรงเรียนสันติธรรมวิทยา การขออนุญาตออกนอกสถานที่ และการทำข้อตกลงในการเดินทางเรื่องความเป็นระเบียบเรียบร้อย เจอขยะที่ไหน เก็บที่นั่น สังเกตุ สำรวจและให้บันทึกลงในสมุดบันทึกต้นกล้าตาวิเศษ เกี่ยวกับข้อมูลขยะสิ่งแวดล้อม สิ่งที่พบเห้น ศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชน เป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชน ได้แก่ เหมืองสุทัศน์ (เหมืองแร่ดีบุก)  เส้นทางคลองสุเหร่าจนถึงแพปลาคุระบุรี  คลองบางหละและมัสยิดบางหละ และจัดเก็บขยะ เพื่อสำรวจเส้นทางขยะ (ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ) และบันทึกลงสมุดทุกครั้ง
  • อสม. พี่เลี้ยง และ ปราชญ์ชุมชน  แบ่งการทำงานเป็น 5 ทีม ต้องมีพี่เลี้ยงอย่างน้อย 2 คนต่อทีม เพื่อคอยดูแลเด็กๆ และตอบข้อซักถาม โดยมีผู้ใหญ่บ้าน สมชาย บุญเทียม คอยดูแลและอำนวยความสะดวกให้ และทีมผู้ช่วยผุ้ใหญ่บ้านนายธีระยุทธ  บุญพิา สนับสนุนเรือหัวโทงในการสำรวจ 1 ลำ เพื่อนำเด็กๆ เยาวชน สำรวจลำคลองสุเหร่า จนถึงปากทางหัวถนน แพปลาคุระบุรี (การทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วมในชุมชน)
  • นำต้นกล้าตาวิเศษไปยังแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ทั้ง 3 จุด คือ มัสยิดบ้านบางหละ คลองบางหละ หมู่ที่10 เหมืองแร่ และคลองสุเหร่า และบันทึกความรู้ที่ได้รับลงสมุดบันทึก และจัดเก็บขยะ ทำให้เยาชนต้นกล้าตาวิเศษ มีความสนุกสนานและตื่นเต้น เพราะไม่เคยทราบประวัติศาสตร์ที่มาของชุมชนของตัวเองมาก่อน ได้เรียนรู้นอกสถานที่ที่ไม่ใช่ห้องเรียนเพียงอย่างเดียว เกิดกระบวนการเรียนรู้ สร้างสำนึกรักชุมชนขนาด 25 ตัวกง

กิจกรรมหลัก : จัดเวทีการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้านขยะและสิ่งแวดล้อมi

9,000.00 100 ผลผลิต

1.มีแผนที่เส้นทางขยะ ที่มาของขยะ แหล่งของขยะที่พบเห็น
2.มีการกำหนดมาตรการทางสังคม หรือกติกาทางสังคม


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

1.มีความเข้าใจประวัติศาสตร์ชุมชน คือ 1.ประวัติความเป็นมา 2. ที่มาของชื่อหมู่บ้าน 3.แหล่งเรียนรู้ในชุมชน เช่นเหมืองแร่ เตาถ่าน คลองสุเหร่า คลองบางหละ และเส้นทางป่าชายเลน 2.ที่มาของขยะ คือ 1.จากครัวเรือน 2.จากการประกอบอาชีพประมง(เศษอวน เศษปู เศษหอย) 3.ปัญหาอุปสรรค คือ 1.ไม่มีการคัดแยกขยะก่อนทิ้้ง 2.การจัดเก็บล่าช้าของ อบต. ทำให้ขยะตกค้างส่งกลิ่นเหม็น 3. การทิ้งขยะไม่เป็นที่ 4.แนวทางการแก้ไขปัญหา คือ 1.จัดอบรมให้ความรู้การคัดแยกขยะก่อนทิ้ง 2.ประสานงานไปยังอบต. ให้จัดเก็บให้ทันตรงตามเวลา 3.ประชาสัมพันธ์และกำหนดกติกา ปรับผู้ทิ้งขยะไม่เป็นที่ ทั้งภาษาไทยและภาษาพม่า 5.มาตรการเกี่ยวกับการจัดการขยะ 9 มาตรการ ได้แก่ 1.ลดการใช้ถุงพลาสติก ให้ใช้ถุงผ้าแทน 2.ให้คัดแยกขยะในครัวเรือนก่อนทิ้ง 3.ลดการใช้กล่องโฟมบรรจุอาหาร ให้ใช้ปิ่นโตแทน 4.ทิ้งขยะลงถัง 5.ห้ามทิ้งขยะในที่สาธารณะ 6.ช่วยกันพัฒนา ทุกวันศุกร์ 7.มีธนาคารขยะเกิดขึ้นในชุมชน 8.ใช้ถุงผ้าและตะกร้าจ่ายตลาด 9.ทิ้งขยะ 1 ชิ้น ต้องเก็บขยะ 50 ชิ้น

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

  1. ตัวแทนแม่บ้าน 20 คน
  2. อสม.พี่เลี้ยง 5 คน
  3. เยาวชนต้นกล้าตาวิเศษ 68 คน
  4. คณะกรรมการหมู่บ้าน 10 คน
  5. ตัวแทนผู้สูงอายุ 5 คน
  6. ครู 1 คน
  7. ตัวแทนกลุ่มประมง  2 คน
  8. ตัวแทนกลุ่มอาชีพ 3 คน
  9. ผุ้ประกอบการ  1 คน

รวม 115 คน

9,000.00 8,000.00 100 115 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. จัดเตรียมสถานที่โดยฝ่ายปฏิคม คือ นางสุวรรณี โต๊ะเซ้น และเพื่อนๆ ทีมงาน อสม.มาช่วยอีก 2-3 คน  ซึ่งได้ขออนุญาตจากโรงเรียนบ้านหินลาด โดยใช้ห้องประชุมใหญ่ของโรงเรียน และนักเรียนกลุ่มเป้าหมายเพิ่มขึ้นอีก 20 คน จากเยาวชนต้นกล้า 50 คน รวมเป็น 70 คน (การมีส่วนร่วมของโรงเรียน/ครู/นักเรียนร่วมกับชุมชน) โดยเริ่มละทะเบียน โดยมีนางนิตยา บุญเทียม (เลขาโครงการ) และทีมงาน รับลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม เวลาประมาณ 08.30 น.
  2. เตรียมพร้อมทีมงานและเตรียมเครืองเสียง วัสดุอุปกรณ์ ปากกาสี เคมี ฟลิปชาร์ท การตีเส้นตารางการจัดทำข้อมูลสำรวจ เพื่อใช้ในเวทีถอดบทเรียน และรวบรวมข้อมูล เครืองคิดเลข คอมพิวเตอร์โน็ตบุ้ค ฯลฯ
  3. พิธีกร โดยนางไกรวัน บุญทวี และนางสาวรุ่งนภา ตุลา (ผู้รับผิดชอบโครงการ) ได้อธิบายกำหนดกิจกรรมอย่างคร่าวๆ ก่อนถึงเวลา และพูดคุยกับเยาวชนนักเรียน เพื่อสร้างความเป็นกันเอง เพราะเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้การรวบรวม ต้องใช้เวลามาก และทำให้น่าเบือได้ จึงสลับกับการทำสันทนาการ เพื่อให้ผ่อนคลาย
  4. คุณครูวุฒิชัย ปุณณมี ได้เข้ามาพบปะและกล่าวชี้แนะให้เด็กๆ เข้าร่วมกิจกรรมด้วยดี ไม่ส่งเสียงดัง ตั้งใจเข้าเรียนรู้กิจกรรม และขออนุญาตไปสอนนักเรียนชั้นอื่นก่อน เนืองจาก คุณครูประจำวิชาติดภารกิจหลายท่าน แล้วจะมาพบปะอีกครั้ง
  5. เริ่มกระบวนการโดยการนำข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ชุมชน สิ่งแวดล้อมรอบชุมชน และให้เยาวชนที่ไปสำรวจมาเล่าให้ฟัง ทำให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ชุมชนไปพร้อมๆ กัน จา่กนั้นวิทยากร โดย นางสาวอุสนา เจ๊ะแว ได้แนะนำตัวเอง และใช้ตารางการสรุปผลการสำรวจข้อมูลด้านการจัดการขยะในครัวเรือนที่ไปสำรวจมา โดยนำข้อมูลสุ่มจาก Zone A มาประเมิน จำนวน 21 ชุด  เนื่องจากเห็นว่า หากทำทั้ง Zone  71 ชุด จะทำให้หมดเวลาก่อน อาจไม่เหมาะสมจึงปรับเปลี่ยน และมีการแบ่งการวางแผนแบบก้างปลา โดยกำหนดให้มี คุณโฆษก ด.ญ.นลณีย์  สวนแก้ว เป็นผู้อ่านแบบสำรวจ  คุณลิขิตมือ 1 ด.ช.ธนาวัฒน์  บุญเทียม  บันทึกลงแบบสรุปในกระดาษฟลิบชาร์ท  คุณลิขิต 2 ด.ญ.นัสมี  อารีย์  และคุณลิขิตคอมพิวเตอร์ โดย ด.ช.รามินทร์  โต๊ะนาย โดยมีทีมพี่เลี้ยงคอยช่วยเหลือและให้คำแนะนำทำความเข้าใจในกระบวนการ  เมื่อสิ้นสุดกระบวนการ ได้นำข้อมูล Zone B C และ D (ที่ทำเสร็จเแล้ว) มาบันทึก และวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ในแต่ละ Zone และ ภาพรวมทั้งชมุชน รวมถึงผลกระทบของขยะต่อสิ่งแวดล้อมในชุมชน
  6. เขียนแผนที่เส้นทางขยะ ที่มาของขยะ แหล่งของขยะที่พบเห็น มาวิเคราะห์ วิธีการ ปัญหาอุปสรรค และแนวทางการแก้ไขปัญหา และข้อเสนอแนะจากแบบประเมินและวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิทยากร คุณสมใจ บุญมาเลิศ ประธาน อสม. รพ.สต.เตรียม และทีมงาน ร่วมถอดบทเรียน เส้นทางขยะ และการกำหนดมาตรการทางสังคม หรือกติกาทางสังคม ที่เหมาะสมกับแต่ละชุมชน โดยสร้างบรรยากาศให้เด็กๆ ได้มีส่วนร่วมในการนำเสนอมาตรการที่คิดว่าน่าจะดีหรือเหมาะสมกับชุมชน และเสนอ เพื่อให้ที่ประชุมได้พิจารณา ซึ่งมีทั้งหมด 9 มาตรการ เกี่ยวกับการจัดการขยะ และต้องนำเสนอผู้นำชุมชน หรือประชาคมหมู่บ้าน ในวันประชุมประจำเดือนและประชาสัมพันธ์ในชุมชน

สรุปผลการรวบรวมข้อมูลและแนวทางการดำเนินงาน ได้ข้อมูลสถานการณ์ขยะในชุมชน ดังนี้

  • ข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ชุมชน คือ 1.ประวัติความเป็นมา 2. ที่มาของชื่อหมู่บ้าน 3.แหล่งเรียนรู้ในชุมชน เช่นเหมืองแร่ เตาถ่าน คลองสุเหร่า คลองบางหละ และเส้นทางป่าชายเลน
  • ที่มาของขยะ คือ 1.จากครัวเรือน 2.จากการประกอบอาชีพประมง(เศษอวน เศษปู เศษหอย)
  • แหล่งของขยะที่พบเห็น
  • แผนที่เส้นทางขยะ
  • ปัญหาอุปสรรค คือ 1.ไม่มีการคัดแยกขยะก่อนทิ้้ง 2.การจัดเก็บล่าช้าของ อบต. ทำให้ขยะตกค้างส่งกลิ่นเหม็น 3. การทิ้งขยะไม่เป็นที่
  • แนวทางการแก้ไขปัญหา คือ 1.จัดอบรมให้ความรู้การคัดแยกขยะก่อนทิ้ง 2.ประสานงานไปยังอบต. ให้จัดเก็บให้ทันตรงตามเวลา 3.ประชาสัมพันธ์และกำหนดกติกา ปรับผู้ทิ้งขยะไม่เป็นที่ ทั้งภาษาไทยและภาษาพม่า
  • ข้อเสนอแนะจากแบบประเมิน  คือ 1.ปลูกดอกไม้ประดับหน้าบ้านให้สวยงาม 2.มีมาตราการที่เข้มแข็งและต่อเนื่อง 3.ปลูกฝังเยาวชนสำนึกรักษ์บ้านเกิดและรักษาสิ่งแวดล้อม
  • มาตรการเกี่ยวกับการจัดการขยะ 9 มาตรการ ได้แก่
  1. ลดการใช้ถุงพลาสติก ให้ใช้ถุงผ้าแทน
  2. ให้คัดแยกขยะในครัวเรือนก่อนทิ้ง
  3. ลดการใช้กล่องโฟมบรรจุอาหาร ให้ใช้ปิ่นโตแทน
  4. ทิ้งขยะลงถัง
  5. ห้ามทิ้งขยะในที่สาธารณะ
  6. ช่วยกันพัฒนา ทุกวันศุกร์
  7. มีธนาคารขยะเกิดขึ้นในชุมชน
  8. ใช้ถุงผ้าและตะกร้าจ่ายตลาด
  9. ทิ้งขยะ 1 ชิ้น ต้องเก็บขยะ 50 ชิ้น

กิจกรรมหลัก : อบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวขยะและสิ่งแวดล้อม และผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อชุมชนและโลกและการจัดการขยะอย่างเป็นระบบi

32,800.00 124 ผลผลิต

มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 125 คน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

1.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้และสามารถคัดแยกขยะได้ถูกต้อง 2.มีการนำปิ่นโตเพื่อสุขภาพมาใช้เพื่อเป็นการลดสร้างขยะในชุมชน 3.มีการนำขยะในชุมชนมาใช้ทำปุ๋ยนำ้หมักชีวภาพ

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

  • แกนนำแม่บ้าน 50 คน
  • เด็กเยาวชน 45 คน
  • แกนนำอสม. 15 คน
  • อสม.พันธมิตรหมู่ 3 จำนวน  5 คน
  • ผู้นำศาสนา 3 คน
  • กรรมการหมู่บ้าน 6 คน
  • ครู 1 คน
32,800.00 32,800.00 120 125 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีการจัดเตรียมสถานที่ ทำความสะอาด ติดตั้งป้ายโครงการ ป้ายเขตปลอดบุหรี่ โดยฝ่ายปฏิคมและผุ้รับผิดชอบโครงการ และเริ่มลงทะเบียนเวลา 08.30 น. โดยนางนิตยา บุญเทียมและทีมงาน ซึ่งจะเห็นว่าชาวบ้านทยอยกันมาถือปิ่นโตอาหารเพื่อสุขภาพ มาเข้าร่วมประชุมกันเรื่อยๆ ด้วยสีหน้ายิ้มแย้ม เพราะเป็นเรื่องแปลกใหม่ที่ต้องห่อข้าวปิ่นโตมาประชุม หลังจากที่วัฒนธรรมนี้ห่างหายไปจากวิถีชีวิตของชาวบ้านมานาน เพื่อรณรงค์การลดการใช้โฟมและถุงพลาสติก และมาเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน เด็กๆ เยาวชนต้นกล้ารออยู่ในห้องประชุม
  • คุณไกรวัน  บุญทวี และคุณรุ่งนภา ตุลา ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้กล่าวชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการ และขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมในครั้งนี้ให้ทุกคนรับทราบ และให้ทำแบบประเมินความรู้ (Pretest) เรื่องการจัดการขยะอย่างเป็นระบบ
  • วิทยากร คือ ท่านนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางวัน นายทรงวุฒิ อินทรสวัสดิ์ และปราชญ์ชุมชน นายวิรัช พืชชน มาร่วมทักทาย และให้ความรู้เรื่องปัญหา ประเภท ผลกระทบของขยะต่อสิ่งแวดล้อม และหลักการคัดแยกขยะอย่างถูกต้อง เช่น หลักการ 3R, Reduce Reuse Recycle และนำผลิตภัณฑ์ชุมชน ซึ่งเป็นตะกร้าสานของกลุ่มอาชีพมาสาธิต และชื่นชมการทำงานของโครงการที่นำวัสดุในชุมชนมาประยุกต์ใช้ และยกตัวอย่างวัสดุที่มีในชุมชนเช่น การใช้ถุงผ้า การทำดอกไม้จากเศษถุงน้ำยาปรับผ้านุ่ม ถุงน้ำยารีดผ้า ฯลฯ ซึ่งสอดแทรกแนวคิดในการจัดการขยะในพื้นที่ตัวอย่าง คือ อบต.บางวัน ให้ชาวบ้านได้เห็นภาพมากขึ้น เช่น เรื่องมาตรการทางสังคมใน อบต.บางวัน ห้ามนำกล่องโฟมใส่อาหารเข้ามาในสำนักงาน หรือห้ามทิิ้งขยะในพื้นที่เขต อบต.บางวัน เพราะมีนโยบายไม่มีรถขนขยะ ไม่มีถังขยะ จัดการขยะด้วยตนเองได้  ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุด คือ ให้ชาวบ้านได้รับทราบข้อมูล ตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จ หรือจุดประกายความคิดให้กับชาวบ้านได้มีแนวคิดในการจัดการขยะอย่างเป็นระบบ
  • พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่มสมุนไพร น้ำกระเจี้ยบและน้ำมะตูม แก้กระหายคลายร้อน
  • กระบวนการระดมความคิดการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะในชุมชน โดยใช้คำถามปลายเปิดและร่วมกันแสดงข้อคิดเห็น เขียนเป็นแผนที่ความคิด (Mindmap) โดยเยาวชนต้นกล้าตาวิเศษ ซึ่งในเวทีมีการถามโต้ตอบกันและประเมินผลความรู้ความเข้าใจหลังการอบรมร่วมกัน  ทำให้ได้รับความรู้ใหม่ๆ และหลายอย่างที่ชาวบ้าน หรือแม้แต่ผู้รับผิดชอบโครงการก็ไม่เคยได้รับรู้มาก่อน ซึ่งทุกคนก็ทำได้ดี โดยที่ประชุมมีความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ คือ
  • พักรับประทานอาหารปิ่นโตสุขภาพร่วมกันอย่างเอร็ดอร่อย เพราะมีเมนูหลากหลายไม่น้อยกว่า 60-70 เมนู
  • ปราชญ์ชุมชนโดยนายวิรัช  พืชชน ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะในครัวเรือน เช่น เศษอาหาร เศษผักผลไม้ ปู ปลา เปลือกหอย ฯลฯ ซึ่งล้วนแล้วแต่สามารถนำมาทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยน้ำชีวภาพ ได้หลายอย่าง ซึ่งสามารถทำเองได้ง่ายๆ ในครัวเรือน รวมถึงให้ความรู้เกี่ยวกับการทำปุ๋ยหมัก จากใบไม้ หน่อกล้วย ซึ่งมีปริมาณของธาตุอาหารสูง โดยต่อมาจึงสาธิตการทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ จากเศษอาหาร เปลือกหอยเปลือกปู จำนวน 5 ถัง อีก 1 ถังเพื่อรองน้ำและจะทำเพิ่มในวันถัดไป

  • กิจกรรมนี้ประสบผลสำเร็จเกินเป้าหมาย ซึ่งมีปัจจัยสนับสนุุน คือ

  1. กลุ่มเป้าหมายมาครบและมีเครือข่ายพันธมิตรในหมู่่บ้านมาร่วม ได้แก่ ม.3 บ้านหินลาด และนักเรียนโรงเรียนสันติธรรมวิทยา
  2. ชาวบ้านได้รับการประชาสัมพันธ์ข่าวสาร และเข้าร่วมกิจกรรม ปฏิบัติตามมาตรการทางสังคมที่ได้ประกาศไว้ 9 ข้อ เช่น การนำปิ่นโตอาหารแทนกล่องโฟม หรือการใช้ตะกร้าและถุงผ้าแทนถุงพลาสติก
  3. ได้รับความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงปัญหาขยะที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในชุมชน
  4. ได้แสดงความคิดเห็นร่วมกันและกำหนดแนวทางในการจัดการขยะอย่างเป็นระบบในบทบาทหน้าที่ของตนเอง
  5. สามารถคัดแยกขยะในครัวเรือน และนำมาทำปุ๋ยหมักชีวภาพได้
  6. เยาวชนได้เห็นตัวอย่างการดำเนินงานและมีส่วนร่วมในการจัดการขยะในชุมชน
  7. ครัวเรือนมีการจัดการขยะอย่างถูกต้อง

กิจกรรมหลัก : จัดทำจุดคัดแยกขยะข้างป้อมยามเป็นศูนย์กลางที่ใกล้ชุมชนมัสยิด โรงเรียนและที่พักริมทาง 1 แห่งi

17,900.00 40 ผลผลิต

มีจุดคัดแยกขยะ จำนวน 1 แห่ง


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

1.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเข้าใจกรรมวิธีทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ 2.ชุมชนสามารถนำขยะจากครัวเรือนและการประกอบอาชีพมาใช้ประโยชน์โดยการทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ 3.จุดคัดแยกขยะสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชนได้

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 2 ครั้ง

-

12,700.00 12,700.00 40 0 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีการร่วมกันปรับพื้นที่ ตัดหญ้า ตกแต่งสถานที่ จัดบอร์ด ทำป้าย ทำแปลงผัก ปลูกต้นไม้และร่วมกันดูแลความสะอาด ในจุดคัดแยกขยะ ให้ความรู้กับเด็กๆ และผู้ที่ผ่านไปมา ได้เห็นความสำคัญของการคัดแยกขยะ

ผู้เข้าร่วม

  1. อสม. จำนวน 16 คน
  2. ผู้นำศาสนา จำนวน 3 คน
  3. ผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 1 คน
  4. กรรมการหมูบ้าน (ชรบ.) จำนวน 7 คน
  5. แม่บ้านจำนวน 9 คน

รวม 46 คน

5,200.00 5,200.00 40 46 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลสรุปทีเ่กิดขึ้นในกิจกรรมทั้ง 2 วันนี้ ได้แก่

  1. มีการร่วมกันปรับพื้นที่ ตัดหญ้า ตกแต่งสถานที่ จัดบอร์ด ทำป้าย ทำแปลงผัก ปลูกต้นไม้และร่วมกันดูแลความสะอาด ในจุดคัดแยกขยะ
  2. การให้ความรู้กับเด็กๆ และผู้ที่ผ่านไปมา ได้เห็นความสำคัญของการคัดแยกขยะ
  3. มีแปลงผักสาธิตและสถานที่เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะ
  4. สร้างแกนนำรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นเยาวชนมาช่วยในกิจกรรม มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมในชุมชน

กิจกรรมหลัก : จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่i

1,000.00 2 ผลผลิต

มีป้ายเขตปลอดบุหรี่ จำนวน 1 ป้าย ติดไว้บริเวณศาลาหมู่บ้านสถานที่จัดกิจกรรมของโครงการ


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

1.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมในโครงการทุกคนไม่สูบบุหรี่ในบริเวณสถานที่จัดกิจกรรม 2.เกิดกระแสการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ในสถานที่สาธารณะ

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

  • ผู้รับผิดชอบโครงการ เหรัญญิก และคณะทำงาน
1,000.00 1,000.00 2 3 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ออกแบบและจัดทำป้ายโครงการ และป้าย "พื้นที่นี้ปลอดบุหรี่" เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินงานโครงการ และติดตั้งในวันที่ 4 ธันวาคม 2557
  • นำป้ายที่ได้มาติดทุกครั้งที่มีการจัดกิจกรรม เพื่อกำหนดให้พื้นที่จัดกิจกรรมเป็นพื้นที่ปลอดบุหรี่ และรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ในที่สาธารณะ
2.3.1 นวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ

(นวัตกรรมคือ การจัดการความคิด กระบวนการ ผลผลิต และ/หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสม มาใช้งานให้เกิดประสิทธิผล และ/หรือประสิทธิภาพมากกว่าเดิมอย่างชัดเจน)

ชื่อนวัตกรรมคุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรมผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์
ปิ่นโตเพื่อสุขภาพ

สร้างกระแสการลดการสร้างขยะในชุมชนโดยการรณรงค์ให้มาใช้ปิ่นโตแทนข้าวกล่องในงานเลี้ยง งานอบรม

ลดขยะจากการอบรม เช่น กล่องโฟม พลาสติก และภาชนะที่ใส่อาหาร

2.3.2 โครงการเด่น (Best Practice)

(โครงการเดิ่น คือ โครงการสร้างเสริมสุขภาพให้สัมฤทธิ์ผลที่เป็นรูปธรรมแล้วขยายผลอย่างยั่งยืน โดยแนวคิดกระบวนการ และผลงาน สามารถเป็นตัวอย่างที่จะนำไปขยายผลในชุมชน (Setting) อื่น ๆ ได้ การดำเนินงานมีส่วนร่วมของภาคีที่หลากหลาย มีการบริหารจัดการที่ดี โปร่งใสและตรวจสอบได้)

ชื่อ Best Practiceวิธีการทำให้เกิด Best Practiceผลของ Best Practice / การนำไปใช้ประโยชน์
2.3.3 เกิดแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการสร้างเสริมสุขภาพในประเด็นต่าง ๆ
ชื่อ-สกุลที่อยู่ติดต่อได้สะดวกคุณสมบัติแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลง
2.3.4 มีสภาพแวดล้อมและปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพ

เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพในชุมชนพื้นที่โครงการดังนี้

สถานที่/พื้นที่ ที่เปลี่ยนแปลงรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

ส่วนที่ 3 : ปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงาน

3.1 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเด็นปัญหา/อุปสรรคการแก้ไขของผู้รับทุนข้อเสนอแนะ/การแก้ไขปัญหาและการเสริมพลังของผู้ติดตาม
3.2 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเภทความเสี่ยง / ปัจจัยเสี่ยงระดับความเสี่ยง
(จากมากไปหาน้อย)
ข้อมูล ข้อสังเกตุ และข้อคิดเห็นของผู้ติดตาม
3210
1. ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน (Operational Risks)
1.1 โครงสร้างการดำเนินงาน

โครงสร้างของคณะกรรมการจัดการขยะประกอบด้วยตัวแทนของทุกภาคส่วน

1.2 ศักยภาพและทักษะการดำเนินงาน

 

1.3 ผลลัพธ์และผลสำเร็จของการดำเนินงาน

มีคณะกรรมการจัดการขยะที่ประกอบด้วยตัวแทนจากชุมชน  มีความเข้าใจและเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการดำเนินงานโครงการ

2. ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risks)
2.1 ระบบและกลไกการบริหารจัดการ

ผู้รับผิดชอบโครงการยังไม่ค่อยเข้าใจและประสบการณ์เกี่ยวกับระบบการบริหารจัดการโครงการ ต้องอาศัยพี่เลี้ยงและการเรียนรู้

2.2 การใช้จ่ายเงิน

 

2.3 หลักฐานการเงิน

ผู้รับผิดชอบโครงการยังไม่ค่อยเข้าใจและประสบการณ์เกี่ยวกับระเบียบการเงินและการบัญชี

ผลรวม 0 0 4 0
ผลรวมทั้งหมด 4 ระดับความเสี่ยง : ???
เกณฑ์วัดระดับความเสี่ยง ???
สรุปการแก้ไขความเสี่ยง แก้ไขแล้ว ยังไม่ได้แก้ไข

ส่วนที่ 4 : สรุปความเห็นของผู้ติดตาม

ส่วนที่ 4สรุปความเห็นของผู้ติดตาม
4.1 กรณีเบิกเงินงวด/ติดตามเยี่ยมชม มีแนวโน้มสำเร็จตามเป้าหมายโครงการและติดตามปกติ
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

มีการแบ่งผู้รับผิดชอบดูแลการเงินและบัญชีชัดเจน โดยมีนางไกรวัน บุญทวี เป็นเหัญญิก และเบิกจ่ายเงินตามแผนกิจกรรม

มีแนวโน้มเสี่ยง ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจาก
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

 

มีความเสี่ยง ต้องยุติโครงการ เนื่องจาก
4.2 กรณีสรุปปิดโครงการ ดำเนินงานได้ตามแผนปฏิบัติการและสามารถปิดโครงการได้
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

 

ไม่เป็นไปตามแผนปฏิบัติการ ให้ดำเนินการจัดระบบการเงิน ระบบรายงานให้ถูกต้องก่อนปิดโครงการ
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

 

ส่วนที่ 5 : สรุปภาพรวมของการติดตามประจำงวด (ข้อสังเกต/สิ่งดีๆ ที่ค้นพบ/ข้อพึงระวัง/บทเรียนที่ได้)

เกิดกระแสตื่นตัวที่จะเข้ามามีส่วมในการจัดการขยะของชุมชน เกิดเครือข่ายพันธมิตรเป็นแนวร่วมที่เข้มแข็ง

สร้างรายงานโดย ศักดิ์ชาย เรืองศรี