แบบบันทึกการติดตามสนับสนุนโครงการ ครั้งที่ 2

รหัสโครงการ 57-02600
สัญญาเลขที่ 58-00-0125

ชื่อโครงการ พันธมิตรพิชิตขยะ บ้านบางหละจัดการตนเอง
รหัสโครงการ 57-02600 สัญญาเลขที่ 58-00-0125
ระยะเวลาตามสัญญา 20 ตุลาคม 2014 - 20 พฤศจิกายน 2015

ส่วนที่ 1 : ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม

1.1 ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 1 นายศักดิ์ชาย เรืองศรี
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 2
วันที่ลงพื้นที่ติดตาม 18 พฤศจิกายน 2015
วันที่ส่งรายงานถึง สสส. 18 พฤศจิกายน 2015
1.2 ผู้ให้ข้อมูล
ลำดับชื่อ-สกุลผู้ให้ข้อมูลที่อยู่หมายเลขโทรศัพท์
1 นางนิตยาบุญเทียม 100/2ม.10 093-7954503

ส่วนที่ 2 : ข้อมูลโครงการและความก้าวหน้าการดำเนินงาน

2.1 วัตถุประสงค์และตัวชี้วัดความสำเร็จโครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1.

เพื่อให้เกิดกระบวนการจัดการขยะอย่างเป็นระบบ

  1. จัดตั้งคณะทำงานเพื่อจัดการขยะ อย่างน้อย 1 ชุด
  2. มีมาตรการทางสังคมและกฏกติกา ทางสังคมอย่างถูกต้อง
  3. ครัวเรือนมีการจัดการขยะอย่างถูกต้อง
  4. ปริมาณขยะลดลง อย่างน้อยร้อยละ 20

2.

เพื่อส่งเสริมการสร้างงานสร้างรายได้

  1. มีการจัดตั้งกองทุนขยะและสิ่งแวดล้อม 1 กองทุน
  2. มีการนำขยะมาทำปุ๋ยใช้ในชมชน

3.

เพื่อสนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมเพื่อลดการบริโภคสุราและบุหรี่

  1. สมาชิกในครัวเรือนและชุมชนลดการดื่มสุราและสูบบุหรี่ ร้อยละ 10

4.

เพื่อประชุมติดตามโครงการอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องเป็นสภาชุมชน

  1. คณะทำงานและเครือข่ายในชุมชนมีการประชุมวิเคราะห์และร่วมกันขับเคลื่อนโครงการตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดร่วมกันอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องเป็นสภาชุมชน

5.

ติดตามสนับสนุนจาก สสส. สจรส.และพี่เลี้ยง

  1. จัดทำรายงานประจำงวด
  2. ประชุมชี้แจงโครงการ
  3. จัดทำรายงานประจำงวดส่ง
2.2 ความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ
กลุ่มเป้าหมายงบประมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงปริมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพ/สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ
ที่ตั้งไว้(บาท)เกิดขึ้นจริง(บาท)จำนวนที่ตั้งไว้(คน)จำนวนเกิดขึ้นจริง(คน)

กิจกรรมหลัก : ประชุมคณะกรรมการจัดการขยะ 10 ครั้งi

10,000.00 20 ผลผลิต

มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 30 คน และได้รับการคัดเลือกเสนอให้เป็นคณะกรรมการจัดการขยะจำนวน 20 คน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

คณะกรรมการจัดการขยะมีความเข้าใจและต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการขยะ โดยมีการแบ่งหน้าที่และโซนพื้นที่รับผิดชอบจำนวน 4 โซน คือ โซนเอ ซอยท่าสุเหร่นโซนบี หน้ามัสยิดโซนซี ชุมชนบางหละ โซนดี ชุมชนบ่อกุ้ง

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 13 ครั้ง

มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 30 คน ประกอบด้วย

  • ผู้นำชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน
  • ผู้นำศาสนา
  • อสม.
  • ตัวแทนกลุ่มอาชีพ
  • แกนนำเยาวชน
1,000.00 1,000.00 20 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมครบตามเป้าหมาย เกิดคณะกรรมการจัดการขยะ 1 กลุ่ม ในการมีส่วนร่วมดำเนินงานและเป็๋นแกนนำในการทำความเข้าใจกับคนในชุมชน โดยคณะกรรมการจัดการขยะ มีโครงสร้างของคณะกรรมการที่ชัดเจนขึ้น และแบ่งบทบาทหน้าที่กัน ดังนี้
  1. นายสมชาย  บุญเทียม      ผู้ใหญ่บ้าน            ตำแหน่ง  ประธาน
  2. นายอาหรีด  ดำเชื้อ        ตัวแทนผู้นำศาสนา    ตำแหน่ง  รองประธาน
  3. นายเรวัติ  บัวสหมัด        ส.อบต.          ตำแหน่ง  รองประธาน
  4. นางสาวรุ่งนภา ตุลา        ตัวแทนอสม.      ตำแหน่ง  เหรัญญิก
  5. นางไกรวัน  บุญทวี          ตัวแทนอสม.    ตำแหน่ง  เลขา
  6. นายยะมีน  บิลลาเต๊ะ        ผูู้ช่วยฯ          ตำแหน่ง  คณะกรรมการ
  7. นางสุวรรณี  โต๊ะเซ็น        อสม.          ตำแหน่ง  คณะกรรมการ
  8. นางสาวอังคณา บัวสหมัด  อสม.            ตำแหน่ง  คณะกรรมการ
  9. นางพัชรี  ม่วงสีทอง          อสม.        ตำแหน่ง  คณะกรรมการ
  10. นางนิตยา  บุญเทียม        อสม.  ตำแหน่ง  คณะกรรมการ
  11. นางรัตนา  บุญเทียม        แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว ตำแหน่ง คณะกรรมการ
  12. นางจริยา  วิเชียรสร้าง      แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว ตำแหน่ง คณะกรรมการ
  13. นางสารีน่า  บุญเทียม        แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว ตำแหน่ง คณะกรรมการ
  14. นางสมจิตร บิลเต๊ะ          แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว  ตำแหน่ง คณะกรรมการ
  15. นางสุนิสา หมัดแสล้        แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว  ตำแหน่ง คณะกรรมการ
  16. เด็กหญิงอรวรรณ กาหลง    ตัวแทนเยาวชนต้นกล้า        ตำแหน่ง  คณะกรรมการ
  17. เด็กหญิงมายาวี  โต๊ะเซ็น    ตัวแทนเยาวชนต้นกล้า        ตำแหน่ง  คณะกรรมการ
  18. เด็กหญิงนลนี    สวนแก้ว    ตัวแทนเยาวชนต้นกล้า      ตำแหน่ง  คณะกรรมการ
  19. เด็กหญิงเอวลิน บิลฮาดับ  ตัวแทนเยาวชนต้นกล้า        ตำแหน่ง  คณะกรรมการ
  20. เด็กชายธนรัฐ  วิเชียรสร้าง ตัวแทนเยาวชนต้นกล้า          ตำแหน่ง  คณะกรรมการ
  21. นายศักดิ์ชาย  เรืองศรี ตัวแทนเจ้าหน้าที่สาธารณสุข  ร่วมเป็นคณะกรรมการที่ปรึกษา

พี่เลี้ยงติดตามในพื้นที่

0.00 0.00 1 1 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เกิดการจัดตั้งสภาผู้นำชุมชนเป็นคณะกรรมการและดำเนินการประชุมต่อเนื่องทุกเดือน เพื่อจัดการขยะอย่างเป็นระบบ 

พี่เลี้ยงติดตามในพื้นที่  ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงาน

0.00 0.00 1 1 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เกิดเวทีเพื่อข้อมูลข้อมูลขยะมาวิเคราะห์หาแนวทางในการจัดการอย่างเป็นระบบ และเกิดมาตรการทางสังคม 

  • ผู้ใหญ่บ้านผู้นำชุมชน
  • ผู้นำศาสนา
  • อสม.
  • แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว
  • แกนนำเยาวชน
800.00 750.00 20 25 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • รายงานผลการดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดการขยะ โดยเลขา คุณไกรวัน บุญทวี โดยมีเนื้อหา คือ แจ้งการดำเนินงานของคณะกรรมการจัดการขยะที่ผ่านมา ได้นำเด็กต้นกล้า ตาวิเศษ ไปสำรวจเส้นทางขยะ พาไปดูประวัติศาสตร์ชุมชนของหมู่บ้านและสมุนไพรที่ควรรู้

  • ขอความร่วมมือในการประชาสัมพันธ์ เสียงตามสาย และประสานงานเพื่อให้ชาวบ้านเข้าร่วมประชุม และแจ้งเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมในวันอาทิตย์ที่ 18  มกราคม 2558 เวลา 08.30 เป็นต้นไป จะมีการอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการจัดการขยะอย่างเป็นระบบในชุมชน เพื่อให้คนในชุมชนได้มีความรู้ ความเข้าใจ โดยมีเป้าหมายเป็นเด็กเยาวชนต้นกล้าตาวิเศษ กลุ่มแกนนำแม่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน เข้าร่วม และให้ไปช่วยประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับมาตรการ ทั้ง 9 ข้อ  โดยในกิจกรรมครั้งต่อไป จะให้ห่อปิ่นโตเพื่อสุขภาพ ลดการสร้างขยะ และรณรงค์ให้ใช้ถุงผ้าหรือตะกร้าจ่ายหลาด มาร่วมด้วย ซึ่งในชุมชนมีกลุ่มทำตะกร้าทำจากเส้นพลาสติก และมีขั้นตอนเกี่ยวกับการหาวัตถุดิบและการรณรงค์รักษาความสะอาดในวันศุกร์ เมื่อทุกคนรับทราบและรับฟังข้อคิดเห็น

  • ร่วมกันกำหนดมาตรการทางสังคมและลงมติเห็นชอบในมาตรการที่ทำร่วมกันและประกาศใช้ในชุมชน

พี่เลี้ยงติดตามในพื้นที่ ผู้รับผิดชอบโครงการ

0.00 0.00 1 1 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่มาจากปัญหาขยะ 

  1. ตัวแทนแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว 10 คน
  2. แกนนำ อสม. 6 คน
  3. ผู้นำชุมชน/ผู้นำท้องถิ่น 4 คน
800.00 750.00 20 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการประชุมคณะกรรมการจัดการขยะ ผลสรุปมีดังนี้

  1. การแบ่งบทบาทหน้าที่ รับผิดชอบในแต่ละฝ่ายของกรรมการ เช่น ประธาน รองประธาน เลขา  ฝ่ายประสานงาน เป็นต้น
  2. การติดตามผลกิจกรรม วางแผนงาน การลงมือปฏิบัติ การตรวจสอบและติดตามการทำงาน และการแก้ไขปรับปรุุง
  3. ให้คำเสนอแนะเกี่ยวกับเรื่องสถานที่ การประสานงาน ให้คณะกรรมการมาให้พร้อมเพรียงกัน
  4. ให้มีการประชุมต่อเนื่องกันทุกเดือน เพื่อรับทราบและวางแผนงานในการดำเนินงานการจัดการขยะอย่างต่อเนื่องเป็นระบบ
  • ตัวแทนแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว 10 คน
  • แกนนำ อสม. 6 คน
  • ผู้นำชุมชน/ผู้นำท้องถิ่น 4 คน
  • แกนนำเยาวชน 2 คน

รวมเป็น 22 คน

1,000.00 750.00 20 22 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการประชุมคณะกรรมการจัดการขยะ ผลสรุปมีดังนี้

  • การแบ่งบทบาทหน้าที่ รับผิดชอบในแต่ละฝ่ายของกรรมการ เช่น ประธาน รองประธาน เลขาฝ่ายประสานงาน เป็นต้น
  • การติดตามผลกิจกรรม วางแผนงาน การลงมือปฏิบัติ การตรวจสอบและติดตามการทำงาน และการแก้ไขปรับปรุุง
  • ให้คำเสนอแนะเกี่ยวกับเรื่องสถานที่ การประสานงาน ให้คณะกรรมการมาให้พร้อมเพรียงกัน
  • ให้มีการประชุมต่อเนื่องกันทุกเดือน เพื่อรับทราบและวางแผนงานในการดำเนินงานการจัดการขยะอย่างต่อเนื่องเป็นระบบ
  • คณะกรรมการจัดการขยะตัวแทนแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว 10 คน
  • แกนนำ อสม. 6 คน
  • ผู้นำชุมชน/ผู้นำท้องถิ่น 4 คน
1,000.00 750.00 20 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการประชุมคณะกรรมการจัดการขยะ ผลสรุปมีดังนี้

  • การแบ่งบทบาทหน้าที่ รับผิดชอบในแต่ละฝ่ายของกรรมการ เช่น ประธาน รองประธาน เลขาฝ่ายประสานงาน เป็นต้น
  • การติดตามผลกิจกรรม วางแผนงาน การลงมือปฏิบัติ การตรวจสอบและติดตามการทำงาน และการแก้ไขปรับปรุุง
  • ให้คำเสนอแนะเกี่ยวกับเรื่องสถานที่ การประสานงาน ให้คณะกรรมการมาให้พร้อมเพรียงกัน
  • ให้มีการประชุมต่อเนื่องกันทุกเดือน เพื่อรับทราบและวางแผนงานในการดำเนินงานการจัดการขยะอย่างต่อเนื่องเป็นระบบ
  • ตัวแทนแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว 10 คน
  • แกนนำ อสม. 6 คน
  • ผู้นำชุมชน/ผู้นำท้องถิ่น 4 คน
  • ชาวบ้านที่มาอบรมจริยธรรมอิสลาม 9 คน รวมจำนวน29คน
1,000.00 750.00 20 29 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เนื่องจากวันนี้ เป็นวันศุกร์ที่มีการอบรมจริยธรรมศาสนาอิสลาม และมีกลุ่มชาวบ้าน แม่บ้าน มาร่วมประชุมด้วย และมีการประชุมหารือกัน เพื่อติดตามผลการดำเนินงานด้านการจัดการขยะ การแบ่งบทบาทหน้าที่ โดยมีประธาน คือ ผู้ใหญ่สมชาย บุญเทียม เป็นผู้ดูแลและให้การสนับสนุนเลขาโดย คุณไกรวัน บุญทวี บันทึกวาระการประชุม และรายงานผลงานที่ผ่านมาในแต่ละกิจกรรมและแผนงานในกิจกรรมต่อไป และให้ประชาสัมพันธ์ในวันประชุมประจำเดือนทุกเดือนด้วย
  • จากการประชุมคณะกรรมการจัดการขยะ ในครั้งนี้ เพื่อให้ทุกคนที่มีส่วนร่วมช่วยกันวางแผนการดำเนินงาน เนื่องจากยังไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ สสส.ของงวดที่ 2 และให้มีการประชุมต่อเนื่องกันทุกเดือน เพื่อรับทราบและวางแผนงานในการดำเนินงานการจัดการขยะต่อไป

-ในการร่วมอบรมจริยธรรมในวันนี้ คือ หัวข้อการปฏิบัติตามหลักปฏิบัติของอิสลาม หลักปฏิบัติ (อิสลาม)  ผู้นับถืออิสลามทุกคนจะต้องถือเป็นหน้าที่และกิจวัตรจะขาดไม่ได้ การปฏิบัติเบื้องต้นอันเป็นพื้นฐานแรกนั้นแบ่งออกได้เป็นห้าประการคือ

  ปฏิญาณตน  การปฏิญาณตนเข้ารับนับถืออิสลามนั้นให้ปฏิญาณในความเชื่อที่มีต่อพระเจ้าและต่อนบี โดยกล่าวออกมาเป็นวาจาจากความเชื่อมั่น และพร้อมที่จะปฏิบัติตามคำสอน ข้อความที่กล่าวคือ

"ข้าพเจ้าขอปฏิญาณตนว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลเลาะฮ์ และข้าพเจ้าปฏิญาณตนว่า นบีมูฮำมัดเป็นศาสนทูตแห่งอัลเลาะฮ์"

  เมื่อผู้ใดกล่าวด้วยสำนึกอันจริงใจและด้วยความศรัทธาอันมั่นคงและพร้อมที่จะปฏิบัติตามบทบัญญัติอิสลาม ก็ถือว่าเป็นมุสลิมแล้ว จากนั้นก็จะต้องปฏิบัติตามข้อบังคับอื่น ๆ เช่น การขลิบปลายผิวหนังส่วนนอกที่หุ้มปลายอวัยวะเพศ การทำความสะอาด การทำนมัสการ การบริจาคทาน และอื่น ๆ

        ผู้เข้าอิสลามบางคนที่เข้าโดยเงื่อนไขของการแต่งงานกับมุสลิม มักเข้าใจว่า การกล่าวข้อความปฏิญาณเป็นเพียงเงื่อนไขในการแต่งงาน จึงคิดว่าเมื่อผ่านพิธีปฏิญาณแล้วก็แล้วกัน ตนไม่ต้องสนใจคำสอนอิสลามแล้ว ปล่อยตัวตามสภาพเดิม การกระทำดังกล่าวไม่เรียกว่าเป็นมุสลิม

  • ปิดประชุม 12.00 น.  เพื่อกลับไปรับประทานอาหารและไปละหมาด                    
  • ตัวแทนแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว 10 คน
  • แกนนำ อสม. 6 คน
  • ผู้นำชุมชน/ผู้นำท้องถิ่น 4 คน
1,000.00 750.00 20 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • จากการประชุมคณะกรรมการจัดการขยะ ในครั้งนี้ เพื่อให้ทุกคนที่มีส่วนร่วมช่วยกันวางแผนการดำเนินงาน เนื่องจากยังไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ สสส.ของงวดที่ 2 และให้มีการประชุมต่อเนื่องกันทุกเดือน เพื่อรับทราบและวางแผนงานในการดำเนินงานการจัดการขยะต่อไป

  • ในการประชุมครั้งนี้ ให้นำเข้าสู่วาระของหมู่บ้านเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านไปขึ้นทะเบียนเรือประมง

  • ให้คณะกรรมการที่มีส่วนเกี่ยวข้องเรื่องกองทุนแม่ของแผ่นดิน เข้ารับเงินพระราชทานขวัญถุง ในวันที่ 3 สิงหาคม 2558

  • มีการประสานงานเกี่ยวกับการดูแลเยียวยาผู้ประสบภัยจากลมพายุ ที่ผ่านมา ให้แจ้งที่ผุ้ใหญ่บ้านหรือผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน

  • เรื่องอื่นๆ

  • ตัวแทนแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว 10 คน
  • แกนนำ อสม. 6 คน
  • ผู้นำชุมชน/ผู้นำท้องถิ่น 4 คน
1,000.00 750.00 20 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • จากการประชุมคณะกรรมการจัดการขยะ ในครั้งนี้ เพื่อให้ทุกคนที่มีส่วนร่วมช่วยกันวางแผนการดำเนินงาน เนื่องจากยังไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณสสส.ของงวดที่ 2 และให้มีการประชุมต่อเนื่องกันทุกเดือน เพื่อรับทราบและวางแผนงานในการดำเนินงานการจัดการขยะต่อไป โดยที่ประชุมได้มีแนวทางในการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติเนื่องในวันแม่แห่งชาติ 12 สิงหาคม 2558 ด้วยการร่วมกันกับชาวบ้านและเด็กนักเรียนปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกียรติ 83 พรรษา 83 ต้น ซึ่งเป็นต้นเทียนทอง เป็นแนวรั้วในพื้นที่สาธารณะเพื่อความสวยงามและร่มรื่น นอกจากนี้ กรรมการทีเป็นคณะกรรมการหมู่บ้านให้เข้าร่วมจัดทำซุ้มเฉลิมพระเกียรติฯและการเดินเทิดพระเกียรติในวันที่ 12 สิงหา ร่วมกันทั้งอำเภอ
  • ตัวแทนแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว 10 คน
  • แกนนำ อสม. 6 คน
  • ผู้นำชุมชน/ผู้นำท้องถิ่น 4 คน
1,300.00 2,000.00 20 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. จากการประชุมคณะกรรมการจัดการขยะ ในครั้งนี้ เพื่อให้ทุกคนที่มีส่วนร่วมช่วยกันวางแผนการดำเนินงาน และคณะกรรมการบริหารโครงการโดยนางรุ่งนภาตุลา ได้แจ้งในที่ประชุมเรื่องกำหนดการจัดกิจกรรม " จัดทำจุดคัดแยกขยะป้อมยามซึ่งเป็นศูนย์กลางในชุมชน มัสยิด โรงเรียนสันติธรรมและที่พักริมทาง 1 แห่งปรับสถานที่และจุดคัดแยกขยะข้างป้อมยาม ปรับภูมิทัศน์ เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์สาธิตการจัดการขยะอย่างเป็นระบบ บอร์ดความรู้การจัดการขยะอยางถูกวิธี ป้ายขยะแยกประเภทแปลงผักสาธิต และปลูกต้นไม้เพื่อความร่มรื่น จัดทำแผงลวดตาข่าย คัดแยกขยะประเภทต่างๆ บริเวณข้างป้อมยาม
  2. ผลสรุปที่สำคัญคือ เกิดการมีส่วนร่วม ทั้งของชุมชน โรงเรียนและกรรมการหมู่บ้านฝ้ายต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมและร่วมกันสร้างพื้นที่สีเขียว สร้างชุมชนให้น่าอยู่ โดยเฉพาะการร่วมแรงร่วมใจในการทำแปลงผักและการปลูกมะนาวในท่อซีเมนต์ พันธ์ุแป้นพิจิตรซึ่งเป็นพันธุ้ไม่มีเมล็ด สามารถผลิดลูกได้มาก มีน้ำมาก ออกนอกฤดู เหมาะสำหรับชุมชนที่มีพื้นที่ค่อนข้างจำกัด และสะดวกในการดูแล และยังสามารถนำปุ๋ยที่ชาวบ้านได้จากการประกอบอาชีพ มาใส่เช่นเปลือกปู และน้ำปุ๋ยหมักชีวภาพมารดได้ เป็นการลดการสร้างขยะ แปรรูปขยะ และนำมาใช้ในชุมชนได้เป็นอย่างดี
  • ตัวแทนแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว 10 คน
  • แกนนำ อสม. 6 คน
  • ผู้นำชุมชน/ผู้นำท้องถิ่น 4 คน รวมจำนวน  20  คน
1,100.00 1,750.00 20 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากผลการประชุมของคณะกรรมการจัดการขยะ ครั้งที่ 10 ซึ่งเป็นครั้งหลังสุดและงวดสุดท้ายก่อนปิดโครงการ ผลสรุปที่ได้คือ

  1. มีการแจ้งสรุปผลโครงการที่ผ่านมาตั้งแต่เริ่มโครงการการคัดแยกขยะและการปลูกผักไว้กินในครัวเรือน
  2. ครัวเรือนสามารถทำปุ๋ยหมักไว้ใช้เองและเพื่อลดต้นทุนการใช้จ่ายในครัวเรือนได้
  3. ชาวบ้านและคณะกรรมการหมู่บ้านทุกครัวเรือนได้รู้จักการคัดแยกขยะมากขึ้น
  4. คณะกรรมการหมู่บ้านและชาวบ้านได้มีส่วนร่วมในการเป็นสมาชิกกองทุนขยะและสิงแวดล้อม

ข้อเสนอแนะ

  • อยากให้มีการสนับสนุนงบประมาณอย่างต่อเนื่อง เพราะคณะกรรมการและชาวบ้านเริ่มมีความเข้าใจและให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมดี

กิจกรรมหลัก : จัดเวทีแลกเปลี่ยนทำความเข้าใจโครงการi

12,000.00 150 ผลผลิต

มีผู้เข้าร่วมรับฟังการชี้แจงโครงการ จำนวน 153 คน ประกอบด้วย ผู้รับผิดชอบโครงการ คณะกรรมการจัดการขยะ ตัวแทนผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา แม่บ้าน เยาวชน และองค์กรภาครัฐ


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ชุมชนเกิดความเข้าใจในการดำเนินโครงการกิจกรรม มีแผนงานที่ชัดเจนมากขึ้น มีกลุ่มต่างๆ เข้าร่วมมากขึ้น เยาวชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

  • แกนนำสุขภาพครอบครัว 120  คน
  • แกนนำ อสม. 14 คน
  • ผู้นำชุมชน 6 คน
  • ผู้นำท้องถิ่น 1  คน
  • ผุ้นำศาสนา 2 คน
  • เยาวชน  5 คน
  • ประชาชนทั่วไป 3 คน (หมู่บ้านใกล้เคียง)
  • ภาคีสนับสนุน ได้แก่ พัฒนากรอำเภอคุระบุรี 1 คน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 1 คน
12,000.00 13,000.00 150 153 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คนในชุมชนเกิดความเข้าใจในการดำเนินโครงการกิจกรรม โดยคณะทำงาน คือ นางสาวรุ่งนภา ตุลา ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของโครงการ และวิธีการดำเนินงานโครงการที่ได้รับการสนับสนุนงบจาก สสส. จำนวน 199,420.00 บาท โดยโครงการชื่อ "พันธมิตรพิชิตขยะ บ้านบางหละจัดการตนเอง" มีวัตถุประสงค์เพื่อ
  1. ให้ชุมชนรู้จักการคัดแยะขยะ
  2. เพื่อให้เกิดการจัดการขยะอย่างเป็นระบบ

ซึ่งมีกิจกรรมที่สำคัญ เช่น การรณรงค์คัดแยกขยะ การสำรวจข้อมูลขยะ การให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะ และการประกวดบ้านน่ามอง เป็นต้น

  • มีแผนงานที่ชัดเจนมากขึ้น โดยมีแผนการดำเนินงานโครงการ ดังนี้
  1. มีแบบประเมินการสำรวจเส้นทางขยะของชุมชน
  2. ทำแผนอบรมคณะกรรมการทำงานเครือข่าย
  • มีกลุ่มต่างๆ เข้าร่วมมากขึ้น โดยกลุ่มที่เข้าร่วมกิจกรรม ได้แก่
  1. เยาวชน
  2. กลุ่มแม่บ้าน
  • เยาวชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ ด้วยการพัฒนาต่อเนื่องทุกวันศุกร์และวันประชุมหมู่บ้าน ทุกวันที่7 ของทุกเดือน

กิจกรรมหลัก : สำรวจข้อมูลเส้นทางขยะในชุมชนi

16,270.00 60 ผลผลิต

เยาวชนต้นกล้า"ตาวิเศษ" แกนนำชุมชนและปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 60 คน ได้ร่วมกันสำราจข้อมูลขยะในชุมชน เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์แก้ปัญหาต่อไป


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

มีข้อมูลจากการสำรวจข้อมูลขยะในครัวเรือน โดยใช้แบบสำรวจ/สัมภาษณ์ จำนวน230 ครัวเรือน มีตัวแทนกลุ่มเยาวชนต้นกล้า ในแต่ละโซน ซึ่งแบ่งเป็น 4 Zoneคือ

1.โซน A เริ่มต้นจากซอยท่าสุเหร่าถึงคลองสุเหร่า จำนวน 61 ครัวเรือน

2.โซน B เริ่มต้นจากหน้ากูโบร์ถึงควนโต๊ะโจ๊ะ จำนวน 68 ครัวเรือน

3.โซน C เริ่มต้นจากควนโต๊ะเฉ็มถึงสุดเขตบ้านบางหละ จำนวน 74 ครัวเรือน

4.โซน D เริ่มต้นจากบ่อกุ้งถึงโค้งอันตราย จำนวน 27 ครัวเรือน

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

  1. เยาวชนต้นกล้าตาวิเศษ จำนวน 50 คน
  2. อสม.พี่เลี้ยงจำนวน  8 คน
  3. ปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 2 คน

รวม 60 คน

16,270.00 16,135.00 60 60 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีข้อมูลจากการสำรวจข้อมูลขยะในครัวเรือน โดยใช้แบบสำรวจ/สัมภาษณ์ จำนวน  230 ครัวเรือน โดยตัวแทนกลุ่มเยาวชนต้นกล้า ในแต่ละโซน ซึ่งแบ่งเป็น 4 Zone  คือ
  1. โซน A เริ่มต้นจากซอยท่าสุเหร่าถึงคลองสุเหร่า จำนวน 61 ครัวเรือน
  2. โซน B เริ่มต้นจากหน้ากูโบร์ถึงควนโต๊ะโจ๊ะ จำนวน 68 ครัวเรือน
  3. โซน C เริ่มต้นจากควนโต๊ะเฉ็มถึงสุดเขตบ้านบางหละ จำนวน 74 ครัวเรือน
  4. โซน D เริ่มต้นจากบ่อกุ้งถึงโค้งอันตราย จำนวน 27 ครัวเรือน
  • พี่เลี้ยง อสม. คอยให้คำแนะนำเรื่องการสัมภาษณ์และลงบันทึกแบบสำรวจให้ถูกต้อง เพื่อประโยชน์ในการนำมารวบรวมข้อมูลด้านขยะในครัวเรือน เกี่ยวกับวิธีการ เช่น ปริมาณ สาเหตุ และการจัดการขยะในครัวเรือน แล้วนำมาบันทึกลงในคอมพิวเตอร์ เพื่อจะได้นำเข้าไปสู่เวทีรวบรวมข้อมูลได้สะดวกขึ้น
  • ประสานงานด้านรถ เรือ วัสดุอุปกรณ์ พี่เลี้ยง อสม. ปราชญ์ชุมชน  ครูสอนศาสนาโรงเรียนสันติธรรมวิทยา การขออนุญาตออกนอกสถานที่ และการทำข้อตกลงในการเดินทางเรื่องความเป็นระเบียบเรียบร้อย เจอขยะที่ไหน เก็บที่นั่น สังเกตุ สำรวจและให้บันทึกลงในสมุดบันทึกต้นกล้าตาวิเศษ เกี่ยวกับข้อมูลขยะสิ่งแวดล้อม สิ่งที่พบเห้น ศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชน เป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชน ได้แก่ เหมืองสุทัศน์ (เหมืองแร่ดีบุก)  เส้นทางคลองสุเหร่าจนถึงแพปลาคุระบุรี  คลองบางหละและมัสยิดบางหละ และจัดเก็บขยะ เพื่อสำรวจเส้นทางขยะ (ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ) และบันทึกลงสมุดทุกครั้ง
  • อสม. พี่เลี้ยง และ ปราชญ์ชุมชน  แบ่งการทำงานเป็น 5 ทีม ต้องมีพี่เลี้ยงอย่างน้อย 2 คนต่อทีม เพื่อคอยดูแลเด็กๆ และตอบข้อซักถาม โดยมีผู้ใหญ่บ้าน สมชาย บุญเทียม คอยดูแลและอำนวยความสะดวกให้ และทีมผู้ช่วยผุ้ใหญ่บ้านนายธีระยุทธ  บุญพิา สนับสนุนเรือหัวโทงในการสำรวจ 1 ลำ เพื่อนำเด็กๆ เยาวชน สำรวจลำคลองสุเหร่า จนถึงปากทางหัวถนน แพปลาคุระบุรี (การทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วมในชุมชน)
  • นำต้นกล้าตาวิเศษไปยังแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ทั้ง 3 จุด คือ มัสยิดบ้านบางหละ คลองบางหละ หมู่ที่10 เหมืองแร่ และคลองสุเหร่า และบันทึกความรู้ที่ได้รับลงสมุดบันทึก และจัดเก็บขยะ ทำให้เยาชนต้นกล้าตาวิเศษ มีความสนุกสนานและตื่นเต้น เพราะไม่เคยทราบประวัติศาสตร์ที่มาของชุมชนของตัวเองมาก่อน ได้เรียนรู้นอกสถานที่ที่ไม่ใช่ห้องเรียนเพียงอย่างเดียว เกิดกระบวนการเรียนรู้ สร้างสำนึกรักชุมชนขนาด 25 ตัวกง

กิจกรรมหลัก : จัดเวทีการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้านขยะและสิ่งแวดล้อมi

9,000.00 100 ผลผลิต

มีการจัดเวทีรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้านขยะและสิ่งแวดล้อม จำนวน 1 ครั้ง


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

1.มีความเข้าใจประวัติศาสตร์ชุมชน คือ 1.ประวัติความเป็นมา 2. ที่มาของชื่อหมู่บ้าน 3.แหล่งเรียนรู้ในชุมชน เช่นเหมืองแร่ เตาถ่าน คลองสุเหร่า คลองบางหละ และเส้นทางป่าชายเลน 2.ที่มาของขยะ คือ 1.จากครัวเรือน 2.จากการประกอบอาชีพประมง(เศษอวน เศษปู เศษหอย) 3.ปัญหาอุปสรรค คือ 1.ไม่มีการคัดแยกขยะก่อนทิ้้ง 2.การจัดเก็บล่าช้าของ อบต. ทำให้ขยะตกค้างส่งกลิ่นเหม็น 3. การทิ้งขยะไม่เป็นที่ 4.แนวทางการแก้ไขปัญหา คือ 1.จัดอบรมให้ความรู้การคัดแยกขยะก่อนทิ้ง 2.ประสานงานไปยังอบต. ให้จัดเก็บให้ทันตรงตามเวลา 3.ประชาสัมพันธ์และกำหนดกติกา ปรับผู้ทิ้งขยะไม่เป็นที่ ทั้งภาษาไทยและภาษาพม่า 5.มาตรการเกี่ยวกับการจัดการขยะ 9 มาตรการ ได้แก่ 1.ลดการใช้ถุงพลาสติก ให้ใช้ถุงผ้าแทน 2.ให้คัดแยกขยะในครัวเรือนก่อนทิ้ง 3.ลดการใช้กล่องโฟมบรรจุอาหาร ให้ใช้ปิ่นโตแทน 4.ทิ้งขยะลงถัง 5.ห้ามทิ้งขยะในที่สาธารณะ 6.ช่วยกันพัฒนา ทุกวันศุกร์ 7.มีธนาคารขยะเกิดขึ้นในชุมชน 8.ใช้ถุงผ้าและตะกร้าจ่ายตลาด 9.ทิ้งขยะ 1 ชิ้น ต้องเก็บขยะ 50 ชิ้น

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

  1. ตัวแทนแม่บ้าน 20 คน
  2. อสม.พี่เลี้ยง 5 คน
  3. เยาวชนต้นกล้าตาวิเศษ 68 คน
  4. คณะกรรมการหมู่บ้าน 10 คน
  5. ตัวแทนผู้สูงอายุ 5 คน
  6. ครู 1 คน
  7. ตัวแทนกลุ่มประมง  2 คน
  8. ตัวแทนกลุ่มอาชีพ 3 คน
  9. ผุ้ประกอบการ  1 คน

รวม 115 คน

9,000.00 8,000.00 100 115 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. จัดเตรียมสถานที่โดยฝ่ายปฏิคม คือ นางสุวรรณี โต๊ะเซ้น และเพื่อนๆ ทีมงาน อสม.มาช่วยอีก 2-3 คน  ซึ่งได้ขออนุญาตจากโรงเรียนบ้านหินลาด โดยใช้ห้องประชุมใหญ่ของโรงเรียน และนักเรียนกลุ่มเป้าหมายเพิ่มขึ้นอีก 20 คน จากเยาวชนต้นกล้า 50 คน รวมเป็น 70 คน (การมีส่วนร่วมของโรงเรียน/ครู/นักเรียนร่วมกับชุมชน) โดยเริ่มละทะเบียน โดยมีนางนิตยา บุญเทียม (เลขาโครงการ) และทีมงาน รับลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม เวลาประมาณ 08.30 น.
  2. เตรียมพร้อมทีมงานและเตรียมเครืองเสียง วัสดุอุปกรณ์ ปากกาสี เคมี ฟลิปชาร์ท การตีเส้นตารางการจัดทำข้อมูลสำรวจ เพื่อใช้ในเวทีถอดบทเรียน และรวบรวมข้อมูล เครืองคิดเลข คอมพิวเตอร์โน็ตบุ้ค ฯลฯ
  3. พิธีกร โดยนางไกรวัน บุญทวี และนางสาวรุ่งนภา ตุลา (ผู้รับผิดชอบโครงการ) ได้อธิบายกำหนดกิจกรรมอย่างคร่าวๆ ก่อนถึงเวลา และพูดคุยกับเยาวชนนักเรียน เพื่อสร้างความเป็นกันเอง เพราะเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้การรวบรวม ต้องใช้เวลามาก และทำให้น่าเบือได้ จึงสลับกับการทำสันทนาการ เพื่อให้ผ่อนคลาย
  4. คุณครูวุฒิชัย ปุณณมี ได้เข้ามาพบปะและกล่าวชี้แนะให้เด็กๆ เข้าร่วมกิจกรรมด้วยดี ไม่ส่งเสียงดัง ตั้งใจเข้าเรียนรู้กิจกรรม และขออนุญาตไปสอนนักเรียนชั้นอื่นก่อน เนืองจาก คุณครูประจำวิชาติดภารกิจหลายท่าน แล้วจะมาพบปะอีกครั้ง
  5. เริ่มกระบวนการโดยการนำข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ชุมชน สิ่งแวดล้อมรอบชุมชน และให้เยาวชนที่ไปสำรวจมาเล่าให้ฟัง ทำให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ชุมชนไปพร้อมๆ กัน จา่กนั้นวิทยากร โดย นางสาวอุสนา เจ๊ะแว ได้แนะนำตัวเอง และใช้ตารางการสรุปผลการสำรวจข้อมูลด้านการจัดการขยะในครัวเรือนที่ไปสำรวจมา โดยนำข้อมูลสุ่มจาก Zone A มาประเมิน จำนวน 21 ชุด  เนื่องจากเห็นว่า หากทำทั้ง Zone  71 ชุด จะทำให้หมดเวลาก่อน อาจไม่เหมาะสมจึงปรับเปลี่ยน และมีการแบ่งการวางแผนแบบก้างปลา โดยกำหนดให้มี คุณโฆษก ด.ญ.นลณีย์  สวนแก้ว เป็นผู้อ่านแบบสำรวจ  คุณลิขิตมือ 1 ด.ช.ธนาวัฒน์  บุญเทียม  บันทึกลงแบบสรุปในกระดาษฟลิบชาร์ท  คุณลิขิต 2 ด.ญ.นัสมี  อารีย์  และคุณลิขิตคอมพิวเตอร์ โดย ด.ช.รามินทร์  โต๊ะนาย โดยมีทีมพี่เลี้ยงคอยช่วยเหลือและให้คำแนะนำทำความเข้าใจในกระบวนการ  เมื่อสิ้นสุดกระบวนการ ได้นำข้อมูล Zone B C และ D (ที่ทำเสร็จเแล้ว) มาบันทึก และวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ในแต่ละ Zone และ ภาพรวมทั้งชมุชน รวมถึงผลกระทบของขยะต่อสิ่งแวดล้อมในชุมชน
  6. เขียนแผนที่เส้นทางขยะ ที่มาของขยะ แหล่งของขยะที่พบเห็น มาวิเคราะห์ วิธีการ ปัญหาอุปสรรค และแนวทางการแก้ไขปัญหา และข้อเสนอแนะจากแบบประเมินและวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิทยากร คุณสมใจ บุญมาเลิศ ประธาน อสม. รพ.สต.เตรียม และทีมงาน ร่วมถอดบทเรียน เส้นทางขยะ และการกำหนดมาตรการทางสังคม หรือกติกาทางสังคม ที่เหมาะสมกับแต่ละชุมชน โดยสร้างบรรยากาศให้เด็กๆ ได้มีส่วนร่วมในการนำเสนอมาตรการที่คิดว่าน่าจะดีหรือเหมาะสมกับชุมชน และเสนอ เพื่อให้ที่ประชุมได้พิจารณา ซึ่งมีทั้งหมด 9 มาตรการ เกี่ยวกับการจัดการขยะ และต้องนำเสนอผู้นำชุมชน หรือประชาคมหมู่บ้าน ในวันประชุมประจำเดือนและประชาสัมพันธ์ในชุมชน

สรุปผลการรวบรวมข้อมูลและแนวทางการดำเนินงาน ได้ข้อมูลสถานการณ์ขยะในชุมชน ดังนี้

  • ข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ชุมชน คือ 1.ประวัติความเป็นมา 2. ที่มาของชื่อหมู่บ้าน 3.แหล่งเรียนรู้ในชุมชน เช่นเหมืองแร่ เตาถ่าน คลองสุเหร่า คลองบางหละ และเส้นทางป่าชายเลน
  • ที่มาของขยะ คือ 1.จากครัวเรือน 2.จากการประกอบอาชีพประมง(เศษอวน เศษปู เศษหอย)
  • แหล่งของขยะที่พบเห็น
  • แผนที่เส้นทางขยะ
  • ปัญหาอุปสรรค คือ 1.ไม่มีการคัดแยกขยะก่อนทิ้้ง 2.การจัดเก็บล่าช้าของ อบต. ทำให้ขยะตกค้างส่งกลิ่นเหม็น 3. การทิ้งขยะไม่เป็นที่
  • แนวทางการแก้ไขปัญหา คือ 1.จัดอบรมให้ความรู้การคัดแยกขยะก่อนทิ้ง 2.ประสานงานไปยังอบต. ให้จัดเก็บให้ทันตรงตามเวลา 3.ประชาสัมพันธ์และกำหนดกติกา ปรับผู้ทิ้งขยะไม่เป็นที่ ทั้งภาษาไทยและภาษาพม่า
  • ข้อเสนอแนะจากแบบประเมิน  คือ 1.ปลูกดอกไม้ประดับหน้าบ้านให้สวยงาม 2.มีมาตราการที่เข้มแข็งและต่อเนื่อง 3.ปลูกฝังเยาวชนสำนึกรักษ์บ้านเกิดและรักษาสิ่งแวดล้อม
  • มาตรการเกี่ยวกับการจัดการขยะ 9 มาตรการ ได้แก่
  1. ลดการใช้ถุงพลาสติก ให้ใช้ถุงผ้าแทน
  2. ให้คัดแยกขยะในครัวเรือนก่อนทิ้ง
  3. ลดการใช้กล่องโฟมบรรจุอาหาร ให้ใช้ปิ่นโตแทน
  4. ทิ้งขยะลงถัง
  5. ห้ามทิ้งขยะในที่สาธารณะ
  6. ช่วยกันพัฒนา ทุกวันศุกร์
  7. มีธนาคารขยะเกิดขึ้นในชุมชน
  8. ใช้ถุงผ้าและตะกร้าจ่ายตลาด
  9. ทิ้งขยะ 1 ชิ้น ต้องเก็บขยะ 50 ชิ้น

กิจกรรมหลัก : อบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวขยะและสิ่งแวดล้อม และผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อชุมชนและโลกและการจัดการขยะอย่างเป็นระบบi

32,800.00 124 ผลผลิต

มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 125 คน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

1.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้และสามารถคัดแยกขยะได้ถูกต้อง

2.มีการนำปิ่นโตเพื่อสุขภาพมาใช้เพื่อเป็นการลดสร้างขยะในชุมชน

3.มีการนำขยะในชุมชนมาใช้ทำปุ๋ยนำ้หมักชีวภาพ

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

  • แกนนำแม่บ้าน 50 คน
  • เด็กเยาวชน 45 คน
  • แกนนำอสม. 15 คน
  • อสม.พันธมิตรหมู่ 3 จำนวน  5 คน
  • ผู้นำศาสนา 3 คน
  • กรรมการหมู่บ้าน 6 คน
  • ครู 1 คน
32,800.00 32,800.00 120 125 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีการจัดเตรียมสถานที่ ทำความสะอาด ติดตั้งป้ายโครงการ ป้ายเขตปลอดบุหรี่ โดยฝ่ายปฏิคมและผุ้รับผิดชอบโครงการ และเริ่มลงทะเบียนเวลา 08.30 น. โดยนางนิตยา บุญเทียมและทีมงาน ซึ่งจะเห็นว่าชาวบ้านทยอยกันมาถือปิ่นโตอาหารเพื่อสุขภาพ มาเข้าร่วมประชุมกันเรื่อยๆ ด้วยสีหน้ายิ้มแย้ม เพราะเป็นเรื่องแปลกใหม่ที่ต้องห่อข้าวปิ่นโตมาประชุม หลังจากที่วัฒนธรรมนี้ห่างหายไปจากวิถีชีวิตของชาวบ้านมานาน เพื่อรณรงค์การลดการใช้โฟมและถุงพลาสติก และมาเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน เด็กๆ เยาวชนต้นกล้ารออยู่ในห้องประชุม
  • คุณไกรวัน  บุญทวี และคุณรุ่งนภา ตุลา ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้กล่าวชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการ และขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมในครั้งนี้ให้ทุกคนรับทราบ และให้ทำแบบประเมินความรู้ (Pretest) เรื่องการจัดการขยะอย่างเป็นระบบ
  • วิทยากร คือ ท่านนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางวัน นายทรงวุฒิ อินทรสวัสดิ์ และปราชญ์ชุมชน นายวิรัช พืชชน มาร่วมทักทาย และให้ความรู้เรื่องปัญหา ประเภท ผลกระทบของขยะต่อสิ่งแวดล้อม และหลักการคัดแยกขยะอย่างถูกต้อง เช่น หลักการ 3R, Reduce Reuse Recycle และนำผลิตภัณฑ์ชุมชน ซึ่งเป็นตะกร้าสานของกลุ่มอาชีพมาสาธิต และชื่นชมการทำงานของโครงการที่นำวัสดุในชุมชนมาประยุกต์ใช้ และยกตัวอย่างวัสดุที่มีในชุมชนเช่น การใช้ถุงผ้า การทำดอกไม้จากเศษถุงน้ำยาปรับผ้านุ่ม ถุงน้ำยารีดผ้า ฯลฯ ซึ่งสอดแทรกแนวคิดในการจัดการขยะในพื้นที่ตัวอย่าง คือ อบต.บางวัน ให้ชาวบ้านได้เห็นภาพมากขึ้น เช่น เรื่องมาตรการทางสังคมใน อบต.บางวัน ห้ามนำกล่องโฟมใส่อาหารเข้ามาในสำนักงาน หรือห้ามทิิ้งขยะในพื้นที่เขต อบต.บางวัน เพราะมีนโยบายไม่มีรถขนขยะ ไม่มีถังขยะ จัดการขยะด้วยตนเองได้  ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุด คือ ให้ชาวบ้านได้รับทราบข้อมูล ตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จ หรือจุดประกายความคิดให้กับชาวบ้านได้มีแนวคิดในการจัดการขยะอย่างเป็นระบบ
  • พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่มสมุนไพร น้ำกระเจี้ยบและน้ำมะตูม แก้กระหายคลายร้อน
  • กระบวนการระดมความคิดการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะในชุมชน โดยใช้คำถามปลายเปิดและร่วมกันแสดงข้อคิดเห็น เขียนเป็นแผนที่ความคิด (Mindmap) โดยเยาวชนต้นกล้าตาวิเศษ ซึ่งในเวทีมีการถามโต้ตอบกันและประเมินผลความรู้ความเข้าใจหลังการอบรมร่วมกัน  ทำให้ได้รับความรู้ใหม่ๆ และหลายอย่างที่ชาวบ้าน หรือแม้แต่ผู้รับผิดชอบโครงการก็ไม่เคยได้รับรู้มาก่อน ซึ่งทุกคนก็ทำได้ดี โดยที่ประชุมมีความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ คือ
  • พักรับประทานอาหารปิ่นโตสุขภาพร่วมกันอย่างเอร็ดอร่อย เพราะมีเมนูหลากหลายไม่น้อยกว่า 60-70 เมนู
  • ปราชญ์ชุมชนโดยนายวิรัช  พืชชน ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะในครัวเรือน เช่น เศษอาหาร เศษผักผลไม้ ปู ปลา เปลือกหอย ฯลฯ ซึ่งล้วนแล้วแต่สามารถนำมาทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยน้ำชีวภาพ ได้หลายอย่าง ซึ่งสามารถทำเองได้ง่ายๆ ในครัวเรือน รวมถึงให้ความรู้เกี่ยวกับการทำปุ๋ยหมัก จากใบไม้ หน่อกล้วย ซึ่งมีปริมาณของธาตุอาหารสูง โดยต่อมาจึงสาธิตการทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ จากเศษอาหาร เปลือกหอยเปลือกปู จำนวน 5 ถัง อีก 1 ถังเพื่อรองน้ำและจะทำเพิ่มในวันถัดไป

  • กิจกรรมนี้ประสบผลสำเร็จเกินเป้าหมาย ซึ่งมีปัจจัยสนับสนุุน คือ

  1. กลุ่มเป้าหมายมาครบและมีเครือข่ายพันธมิตรในหมู่่บ้านมาร่วม ได้แก่ ม.3 บ้านหินลาด และนักเรียนโรงเรียนสันติธรรมวิทยา
  2. ชาวบ้านได้รับการประชาสัมพันธ์ข่าวสาร และเข้าร่วมกิจกรรม ปฏิบัติตามมาตรการทางสังคมที่ได้ประกาศไว้ 9 ข้อ เช่น การนำปิ่นโตอาหารแทนกล่องโฟม หรือการใช้ตะกร้าและถุงผ้าแทนถุงพลาสติก
  3. ได้รับความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงปัญหาขยะที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในชุมชน
  4. ได้แสดงความคิดเห็นร่วมกันและกำหนดแนวทางในการจัดการขยะอย่างเป็นระบบในบทบาทหน้าที่ของตนเอง
  5. สามารถคัดแยกขยะในครัวเรือน และนำมาทำปุ๋ยหมักชีวภาพได้
  6. เยาวชนได้เห็นตัวอย่างการดำเนินงานและมีส่วนร่วมในการจัดการขยะในชุมชน
  7. ครัวเรือนมีการจัดการขยะอย่างถูกต้อง

กิจกรรมหลัก : จัดทำจุดคัดแยกขยะข้างป้อมยามเป็นศูนย์กลางที่ใกล้ชุมชนมัสยิด โรงเรียนและที่พักริมทาง 1 แห่งi

17,900.00 40 ผลผลิต

มีจุดคัดแยกขยะ จำนวน 1 แห่ง


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

1.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเข้าใจกรรมวิธีทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ
2.ชุมชนสามารถนำขยะจากครัวเรือนและการประกอบอาชีพมาใช้ประโยชน์โดยการทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ
3.จุดคัดแยกขยะสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชนได้

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 2 ครั้ง

-

12,700.00 12,700.00 40 0 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีการร่วมกันปรับพื้นที่ ตัดหญ้า ตกแต่งสถานที่ จัดบอร์ด ทำป้าย ทำแปลงผัก ปลูกต้นไม้และร่วมกันดูแลความสะอาด ในจุดคัดแยกขยะ ให้ความรู้กับเด็กๆ และผู้ที่ผ่านไปมา ได้เห็นความสำคัญของการคัดแยกขยะ

ผู้เข้าร่วม

  1. อสม. จำนวน 16 คน
  2. ผู้นำศาสนา จำนวน 3 คน
  3. ผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 1 คน
  4. กรรมการหมูบ้าน (ชรบ.) จำนวน 7 คน
  5. แม่บ้านจำนวน 9 คน

รวม 46 คน

5,200.00 5,200.00 40 46 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลสรุปทีเ่กิดขึ้นในกิจกรรมทั้ง 2 วันนี้ ได้แก่

  1. มีการร่วมกันปรับพื้นที่ ตัดหญ้า ตกแต่งสถานที่ จัดบอร์ด ทำป้าย ทำแปลงผัก ปลูกต้นไม้และร่วมกันดูแลความสะอาด ในจุดคัดแยกขยะ
  2. การให้ความรู้กับเด็กๆ และผู้ที่ผ่านไปมา ได้เห็นความสำคัญของการคัดแยกขยะ
  3. มีแปลงผักสาธิตและสถานที่เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะ
  4. สร้างแกนนำรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นเยาวชนมาช่วยในกิจกรรม มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมในชุมชน

กิจกรรมหลัก : จัดรณรงค์ Big Cleaning Day ต้อนรับประเพณีถือศีลอด ปิดถนนสายฮาร้าล บ้านบางหละน่าอยู่ ร่วมกับพันธมิตรพิชิตขยะi

34,700.00 190 ผลผลิต

มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม Big Cleaning Day จำนวน 205 คน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ชุมชนตื่นตัวและให้ความร่วมมือเข้าร่วมกิจกรรมกันอย่างพร้อมเพรียงกัน และได้ร่วมสนับสนุนงบประมาณสมทบกิจกรรมอีก จำนวน 2,000 บาท เพื่อใช้ในกิจกรรมปิดถนนสายฮาลาล บ้านบางหละน่าอยู่ BigCleaningDay ร่วมกับภาคีเครือข่ายพันธมิตรพิชิตขยะ ได้แก่ ครูและนักเรียนจากโรงเรียนบ้านหินลาดอสม.รพ.สต.เตรียมพัฒนาชุมชนอำเภอคุระบุรี สอ.บต. กรรมการหมู่บ้าน และเจ้าหน้าที่จาก รพ.สต.เตรียม และการคัดแยกขยะที่สามารถนำมาขายได้ ไปขายท่ี่กองทุนขยะและสิ่งแวดล้อม (ธนาคารขยะรีไซเคิล)ในชุมชน

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

  • อสม.
  • ผู้นำศาสนา
  • แม่บ้าน
  • กรรมการหมู่บ้าน
  • ชรบ.หมู่บ้าน
  • สอบต.
  • ครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านหินลาด
  • พัฒนาชุมชนอำเภอคุระบุรี และเจ้าหน้าที่จำนวน2คน
  • เจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน 3คน

รวมจำนวน 205 คน

34,700.00 35,200.00 190 205 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม โดย นางสุวรรรณี โต๊ะเซ็น และทีม อสม.
  2. ชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการ โดย นางรุ่งนภา ตุลา ผู้รับผิดชอบโครงการ
  3. กล่าวรายงาน โดย นางนิตยา บุญเทียม และเปิดงานโดย ผู้ใหญ่บ้านสมชาย บุญเทียม และกิจกรรมการแสดง ของเยาวชนลิเกฮูลู จำนวน 15 คน
  4. มอบเกียรติบัตรและรางวัลให้กับเจ้าของบ้านที่ผ่านเกณฑ์ประเมินบ้านน่าอยู่ จำนวน 19 รางวัล
  • รางวัลที่ 1 นางเรขา บุญทวี
  • รางวัลที่ 2 นางไหม จอนเอียด
  • รางวัลที่ 3 นางสมใจ ดอหล้า
  • รางวัลที่ 4 นางสารีน่า ยะเล
  • รางวัลชมเชย 15 รางวัล ได้แก่

    • นางรอฮาหนี วิเชียรสร้าง
    • นางจริยา วิเชียรสร้าง
    • นายหมูด บุญทวี
    • นางเรณู บ่อม่วง
    • นางนภาพร บุญพรม
    • นางเตือนใจ พิกุล
    • นางแสงระวี ยะเล
    • นายชนะ บุญเทียม
    • นางเรณู บุญทวี
    • นางมอริย๊ะ อินทร์โอภาส
    • นางอารียา สุขดี
    • นางสุวรรณี โต๊ะเซ็น
    • นางพัชรี ม่วงสีทอง
    • นางวัน หญ้าปรัง
    • นางวรรณี บุญเทียม
  • รวมของรางวัลทั้งสิ้น 19 รางวัลเป็นเงิน 5,000 บาท ใช้งบของ สสส. 3,000 บาท และได้รับสนับสนุนจากชุมชน อีก 2,000 บาท

5.กิจกรรมปิดถนนสายฮาลาล บ้านบางหละน่าอยู่ BigCleaningDay ร่วมกับภาคีเครือข่ายพันธมิตรพิชิตขยะ ได้แก่ ครูและนักเรียนจากโรงเรียนบ้านหินลาดอสม.รพ.สต.เตรียมพัฒนาชุมชนอำเภอคุระบุรี สอ.บต. กรรมการหมู่บ้าน และเจ้าหน้าที่จาก รพ.สต.เตรียม และการคัดแยกขยะที่สามารถนำมาขายได้ ไปขายท่ี่กองทุนขยะและสิ่งแวดล้อม (ธนาคารขยะรีไซเคิล)ในชุมชน

กิจกรรมหลัก : ประชุมและจัดตั้งคณะกรรมการบริหารกองทุนขยะและสิ่งแวดล้อมi

10,500.00 20 ผลผลิต

มีคณะกรรมการบริหารกองทุนขยะและสิ่งแวดล้อมจำนวน 20 คนซึ่งประกอบด้วยผู้นำชุมชนแกนนำ อสม.และ แกนนำครอบครัวโดยมีผู้ใหญ่สมชายบุญเทียม เป็นประธานคณะกรรมการ


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

เกิดการมีส่วนร่วม ทั้งของชุมชน โรงเรียนและกรรมการหมู่บ้านฝ้ายต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมและร่วมกันสร้างพื้นที่สีเขียว สร้างชุมชนให้น่าอยู่ โดยเฉพาะการร่วมแรงร่วมใจในการทำแปลงผักและการปลูกมะนาวในท่อซีเมนต์ พันธ์ุแป้นพิจิตรซึ่งเป็นพันธุ้ไม่มีเมล็ด สามารถผลิดลูกได้มาก มีน้ำมาก ออกนอกฤดู เหมาะสำหรับชุมชนที่มีพื้นที่ค่อนข้างจำกัด และสะดวกในการดูแล และยังสามารถนำปุ๋ยที่ชาวบ้านได้จากการประกอบอาชีพ มาใส่เช่นเปลือกปู และน้ำปุ๋ยหมักชีวภาพมารดได้ เป็นการลดการสร้างขยะ แปรรูปขยะ และนำมาใช้ในชุมชนได้เป็นอย่างดี

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

  • ผู้นำศาสนา 2 คน
  • อสม. 8 คน
  • เด็กเยาวชนต้นกล้า 20 คน
10,500.00 10,500.00 20 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลสรุปที่ได้จากการทำกิจกรรมครั้งนี้ ได้แก่

  1. เกิดการมีส่วนร่วมของเด็กๆ ครู อสม. และผู้ประกอบการในการทำกิจกรรมร่วมกัน
  2. เกิดธนาคารขยะรีไซเคิลในกองทุนขยะและสิ่งแวดล้อมชุมชน และหนูน้อยนักธนาคารที่มาจาก เยาวชนต้นกล้าตาวิเศษ
  3. ฝึกทักษะการคัดแยกขยะมาจำหน่ายและการบริหารจัดการทีมงานในการทำงานธนาคารขยะรีไซเคิล การแบ่งหน้าที่เป็นฝ่ายต่างๆเช่น ฝ่ายคัดแยกฝ่ายการเงินฝ่ายบัญชี เป็นต้น
  4. ใช้เวลาว่างก่อนเข้าเรียนและหลังเลิกเรียนให้เกิดประโยชน์ สร้างงาน สร้างรายได้ และกำไรหมุนเวียนให้กับสมาชิก
  5. มีคณะกรรมการกองทุนขยะและสิ่งแวดล้อมชุมชน นอกจากนี้ ซึ่งมีเด็กๆ อาสาต้นกล้าตาวเิเศษ มาร่วมเป็นคณะทำงาน จำนวน 20คน แบ่งเป็น 4 กลุ่มๆ ละ 5 คน ได้แก่

กลุ่มที่ 1 (รับผิดชอบสัปดาห์ที่ 1 ของเดือน)

  1. ด.ญ.อัคลีมี นิยมเดชา ประธาน
  2. ด.ญ.นภัสสร ยีสมัน ฝ่ายบัญชี
  3. ด.ญ.เกษรา ตนคลัง ฝ่ายการเงิน
  4. ด.ญ.มนัสยา ยะเล ฝ่ายคัดแยก
  5. ด.ญ. เกวรินทร์ สันทัด ฝ่ายคัดแยก

กลุ่มที่ 2 (รับผิดชอบสัปดาห์ที่ 2 ของเดือน)

  1. ด.ญ.ฮุษณี ผดุงชาติ ประธาน
  2. ด.ญ.สุทาศินี เจ๊ะหวาง ฝ่ายบัญชี
  3. ด.ญ.นุศรา โต๊ะหมีนฝ่ายการเงิน
  4. ด.ญ.ซาฟีนะห์ จำปีพันธ์ ฝ่ายคัดแยก
  5. ด.ญ.สุวัจณี บ่อม่วง ฝ่ายคัดแยก

กลุ่มที่ 3 (รับผิดชอบสัปดาห์ที่ 3 ของเดือน)

  1. ด.ญ.นาตาลี บุญเทียม ประธาน
  2. ด.ญ.ธานทอง บุญทวี ฝ่ายการเงิน
  3. ด.ญ.อารียา บุญเทียม ฝ่ายบัญชี
  4. ด.ญ.กัญญารัตน์ โต๊ะเตบ ฝ่ายคัดแยก
  5. ด.ญ.นาตาชา บุญเทียม ฝ่ายคัดแยก

กลุ่มที่ 4 (รับผิดชอบสัปดาห์ที่ 4 ของเดือน)

  1. ด.ญ.เอวาลิน บิลฮะดับ ประธาน
  2. ด.ญ.มายาวี โต๊ะเซ็น ฝ่ายการเงิน
  3. ด.ญ.อรวรรณ กาหลง ฝ่ายบัญชี
  4. ด.ญ.ชไมพร แก้วประเสริฐ ฝ่ายคัดแยก
  5. ด.ญ.นันทกานต์ สุขสุวรรณ ฝ่ายคัดแยก

กิจกรรมหลัก : นำเศษอาหารเศษผัก เศษปูและปลาที่เหลือใช้ในครัวเรือน ชุมชนมาทำปุ๋ยน้ำหรือปุ๋ยหมักไว้ในในชุมชนi

0.00 150 ผลผลิต

มีครัวเรือนที่อยู่ในชุมชน และชุมชนพันธมิตรบ้านหินลาดที่อยู่ในซอยเดียวกัน เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 180 คน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

1.ช่วยสร้างความสามัคคีและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีน้ำใจต่อกัน ลดปัญหาขยะและสิ่งแวดล้อมในชุมชน
2.มีกองทุนขยะและสิ่งแวดล้อมที่จัดตั้งขึ้น ให้สมาชิกที่สนใจทำนวัตกรรมจากเศษวัสดุเหลือใช้จากการประกอบอาชีพประมง คือ ทุ่น เชือก ขวดพลาสติกคือ เชือกอวนสายใยรัก ซึ่งเป็นวัสดุที่มีในชุมชนและเป็นการต่อยอดเพื่อจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนในราคาชุดละ 100 บาท 3.ชาวบ้านและชุมชนมีการสร้างงานสร้างรายได้จากทำปุ๋ย หรือการคัดแยกขยะและการประดิษฐ์วัสดุเหลือใช้ให้เกิดประโยชน์

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

ครัวเรือนที่อยู่ในชุมชน และชุมชนพันธมิตรบ้านหินลาดที่อยู่ในซอยเดียวกัน

  1. ตัวแทนครัวเรือนหมู่ที่ 10 บ.บางหละจำนวน160 หลังคาเรือน
  2. ตัวแทนครัวเรือนหมู่ที่ 3 บ.หินลาดจำนวน20 หลังคาเรือน
0.00 0.00 150 180 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการทำกิจกรรมในการทำปุ๋ยน้ำหรือปุ๋ยหมัก โดยการนำเศษอาหารเศษผัก เศษปูและปลาที่เหลือใช้ในครัวเรือน มาทำปุ๋ยน้ำหรือปุ๋ยหมักได้ผลสรุปดังนี้คือ

  1. มีการทำปุ๋ยน้ำและปุ๋ยหมักในครัวเรือน จำนวน 160 หลังคาเรือน คิดเป็นร้อยละ 70.48 ของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชน
  2. ชุมชนพันธมิตร มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม และเข้าร่วมกิจกรรมทำปุ๋ยจำนวน20 ครัวเรือน
  3. ได้รับการสนับสนุนซื้อน้ำปุ๋ยหมักจำนวน 2 ถัง เพื่อนำไปรดสวนปาล์มจำนวน 2 ถัง เป็นเงิน1,000 บาทเพือสมทบเข้ากองทุนขยะและสิ่งแวดล้อมชุมชน
  4. มีการรวมกลุ่มทำปุ๋ยน้ำ เพราะบางครัวเรือนไม่มีพื้นที่สำหรับทำปุ๋ย แต่สามารถมีปุ๋ยไว้ใช้รดผัก หรือนำไปใส่แปลงผักที่ปลูกและเข้าร่วมกิจกรรมปลูกมะนาวในท่อซีเมนต์ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของหมู่บ้าน
  5. สร้างความสามัคคีและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีน้ำใจต่อกัน ลดปัญหาขยะและสิ่งแวดล้อมในชุมชน
  6. กองทุนขยะและสิ่งแวดล้อมที่จัดตั้งขึ้น ให้สมาชิกที่สนใจทำนวัตกรรมจากเศษวัสดุเหลือใช้จากการประกอบอาชีพประมง คือ ทุ่น เชือก ขวดพลาสติกคือ เชือกอวนสายใยรัก ซึ่งเป็นวัสดุที่มีในชุมชนและเป็นการต่อยอดเพื่อจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนในราคาชุดละ 100 บาท
  7. ชาวบ้านและชุมชนมีการสร้างงงานสร้างรายได้จากทำปุ๋ย หรือการคัดแยกขยะและการประดิษฐ์วัสดุเหลือใช้ให้เกิดประโยชน์

กิจกรรมหลัก : กำหนดมาตรการทางสังคมและกฏกติกาชุมชน ห้ามดื่มสุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน ห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะi

0.00 100 ผลผลิต

มีกฎกติกาชุมชนเกี่ยวกับข้อห้ามสูบบุหรี่ สุรา และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  1. ชุมชนได้มีกติกาในชุมชน เรื่อง การประกาศห้ามสูบบุหรี่ สุรา และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน

  2. เสริมสร้างความดีในการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ตลอดเดือนรอมฏอน เพื่อเป็นการถือศีลอดและเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเยาวชน

  3. มีกฎกติกาในชุมชน

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 2 ครั้ง

  • ประชาชนทั่วไป จำนวน80 คน
0.00 0.00 100 80 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ชุมชนได้มีกติกาในชุมชน เรื่อง การประกาศห้ามสูบบุหรี่ สุรา และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน
  2. เสริมสร้างความดีในการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ตลอดเดือนรอมฏอน เพื่อเป็นการถือศีลอดและเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเยาวชน
  3. มีกฎกติกาในชุมชน
  • ประชาชนทั่วไป และผู้ที่ทำพิธีละหมาดวันศุกร์ที่มัสยิด 100 คน
0.00 0.00 100 500 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ชุมชนมีกติการ่วมกัน กำหนดกติกาชุมชน ห้ามสูบบุหรี่ สุรา และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน ตลอดเดือนรอมฏอน

กิจกรรมหลัก : การประชุมติดตามโครงการร่วมกับ สสส. สจรส. มอ.i

10,000.00 2 ผลผลิต

มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมโครงการ เป็นผู้รับผิดชอบโครงการในพื้นที่ จำนวน 2 คน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากพื้นที่เก่าที่ทำมาก่อนในการออกบูธนิทรรศการ และนวัตกรรมที่เกิดขึ้น ตลอดจนได้ศึกษาเกี่ยวกับแนวคิดการดำเนินงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ของ สสส./ สจรส./ และสปสช. ในการสร้างเสริมสุขภาพของประชาชน เพือ่ให้ประชาชนมีสุขภาวะที่ดี

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 3 ครั้ง

พี่เล้ยงติดตามในพื้นที่

0.00 0.00 1 1 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

พี่เลี้ยงติดตามในพื้นที่และผู้รับผิดชอบโครงการมีความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ การจัดทำรายงานผลและรายงานการเงิน

  1. นางสาวรุ่งนภา  ตลา ผู้รับผิดชอบโครงการ 1 คน
  2. นางไกรวัน บุญทวี เหรัญญิกโครงการ 1 คน
10,000.00 4,900.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ทราบแนวทางในการจัดทำรายงานผล และรายงานการเงิน โดยการทำรายงานการเงินแยกรายกิจกรรม/ครั้ง ดังนี้  

  • ใบลงทะเบียนต้องมีรายชื่อผู้ร่วมกิจกรรม  
  • บันทึกการประชุม วาระการประชุม เอกสารประกอบการประชุมพร้อมภาพถ่ายกิจกรรม  
  • กรณีมีค่าอาหาร ต้องมีหลักฐานทางการเงิน ได้แก่ใบสำคัญรับเงินหรือใบบิลเงินสด  (ถ้าเกิน 5000 บาท ต้องแนบสำเนาบัตรประชาชนทุกครั้ง)  
  • กรณีจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ (ค่าวัสดุ คือ ค่าใช้จ่ายเพื่อวัสดุสิ้นเปลืองในการทำกิจกรรม ได้แก่ วัสดุเครื่องเขียน วัสดุสำนักงาน วัสดุโฆษณาและเผยแพร่) ต้องมีหลักฐานทางการเงิน ได้แก่ใบสำคัญรับเงิน/บิลเงินสด โดยออกจากร้านมีชื่อที่อยู่ของร้านชัดเจน มีเลขกำกับภาษี/เลขบัตรประชาชน ของเจ้าของร้าน 
  • ค่าใช้สอย ได้แก่ ค่าพาหนะ ค่าที่พัก ค่าถ่ายเอกสาร ค่าอาหารและเครื่องดื่ม    
  • ค่าตอบแทน ได้แก่ ค่าตอบแทนวิทยากร  กรณีเป็นรายชั่วโมง ต้องมีความรู้ความชำนาญ  กรณีเป็นปราญชชาวบ้าน หรือ เจ้าหน้าที่ รพ.สต. คิดเป็นรายชั่วโมง 600 บาท,กรณีเป็นคนต่างพื้นที่ สามารถเบิกได้ 1000 บาท/วัน    
  • ใบสำคัญรับเงินจะต้องไม่มีรอยลบ รอยขูดหรือรอยขีดเขียน  **ห้ามใช้ใบส่งของแทนบิลเงินสดหรือใบสำคัญรับเงิน
  • รายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม จะต้องมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อย มากกว่า หรือเท่ากับ 5-10 % ของเป้าหมายที่วางไว้

2.รับรู้การบริหารจัดการโครงการ (ทีมงาน/ชุมชน) และวิธีการจัดการปัญหา การทำรายงานโครงการ และ รายงานการเงิน  การป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการในเว็บไซต์  

  • ทุกกิจกรรมจะต้องมีการบันทึกรายละเอียดกิจกรรมและรายละเอียดทางการเงิน ในเว็ปไซต์ www.happynetwork.org

3.สามารถรับรู้ถึงกระบวนการและระบบการติดตามประเมินผล เพื่อการหนุนเสริมโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่พื้นที่ภาคใต้

4.ทบทวนและออกแบบเชิงระบบของโครงการ การวางแผนการดำเนินงาน และการป้อนแผนการดำเนินงานในปฏิทินโครงการ

  • การรายงานผลการจัดกิจกรรม และรายจ่ายในกิจกรรมและการจัดทำรายงาน

ผู้รับผิดชอบโครงการ 2 คน

  • นางนิตยาบุญเทียม
  • นางสุวรรณีโต๊ะเซ็น
0.00 5,100.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ในเข้าร่วมประชุมในวันที่ 4- 6 กันยายน 2558สรุปได้ดังนี้

วันที่ 4 กันยายน 2558

  • พิธีเปิด แสดงพลังเครือข่ายสุขภาพภาคใต้
  • ฟังการเสวนา เรื่องพลังเครือข่ายสุขภาพภาคใต้ เรื่อง บทบาทเครือข่ายสุขภาพต่อการทำให้ชุมชนภาคใต้เข้มแข็ง ในการแก้วิกฤติและพัฒนาภาคใต้
  • สัมมนาเชิงวิชาการ แบ่งห้องย่อย4 ห้อง 1.1 ห้องย่อยที่ 1ความมั่นคงด้านสุขภาพ 1.2 ห้องย่อยที่ 2ความมั่นคงของมนุษย์ 1.3 ห้องย่อยที่ 3 ความมั่นคงทางด้านอาหาร 1.4 ห้องย่อยที่ 4ความมั่นคงด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม -แลกเปลี่ยนรู้ นวัตกรรม ข้ามกลุ่ม ข้ามประเด็น

วันที่ 5 กันยายน 2558 -ลานสร้างสุขและเสวนาห้องย่อย 6 ห้อง

วันที่ 6 กันยายน 2558

  • ลานสร้างสุข

  • ข้อคิดเห็นเพื่อเสริมพลัง

  • สานงานเสริมพลังอย่างสร้างสรรค์

สรุปผลที่เกิดขึ้น คือ ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากพื้นที่เก่าที่ทำมาก่อนในการออกบูธนิทรรศการ และนวัตกรรมที่เกิดขึ้น ตลอดจนได้ศึกษาเกี่ยวกับแนวคิดการดำเนินงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ของ สสส./ สจรส./ และสปสช. ในการสร้างเสริมสุขภาพของประชาชน เพือ่ให้ประชาชนมีสุขภาวะที่ดี

กิจกรรมหลัก : จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่i

1,000.00 2 ผลผลิต

มีป้ายเขตปลอดบุหรี่ติดไว้บริเวณศาลาจัดกิจกรรมโครงการของหมู่บ้าน จำนวน 1 ป้าย


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ชุมชนให้ความร่วมมือ ไม่ผู้สูบบุหรี่ หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงที่จัดกิจกรรมโครงการ

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

  • ผู้รับผิดชอบโครงการ เหรัญญิก และคณะทำงาน
1,000.00 1,000.00 2 3 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ออกแบบและจัดทำป้ายโครงการ และป้าย "พื้นที่นี้ปลอดบุหรี่" เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินงานโครงการ และติดตั้งในวันที่ 4 ธันวาคม 2557
  • นำป้ายที่ได้มาติดทุกครั้งที่มีการจัดกิจกรรม เพื่อกำหนดให้พื้นที่จัดกิจกรรมเป็นพื้นที่ปลอดบุหรี่ และรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ในที่สาธารณะ

กิจกรรมหลัก : ภาพถ่ายโครงการi

1,000.00 2 ผลผลิต

1.มีไวนิลรวบรวมภาพกิจกรรมตลอดโครงการ

2.มีบอร์ดโครงการ


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

มีการสรุปประเด็นหัวข้อกิจกรรม เรียบเรียง และประเมินผลงานจัดบอร์ดและติดตั้งป้ายเพื่อประชาสัมพันธ์และจัดกิจกรรมคืนข้อมูลในเวทีสรุปโครงการ

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

ผู้รับผิดชอบโครงการ

  1. นางสาวรุ่งนภาตุลา
  2. นางนิตยาบุญเทียม
  3. นางไกรวันบุญทวี
1,000.00 1,000.00 2 3 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีการคัดเลือกภาพกิจกรรมที่น่าสนใจ เพื่อจัดทำป้ายและบอร์ดประชาสัมพันธ์
  2. มีป้ายไวนิลประมวลภาพกิจกรรมทั้งหมดของโครงการ
  3. มีการสรุปประเด็นหัวข้อกิจกรรม เรียบเรียง และประเมินผลงาน
  4. จัดบอร์ดและติดตั้งป้ายเพื่อประชาสัมพันธ์และจัดกิจกรรมคืนข้อมูลในเวทีสรุปโครงการในวันที่ 7พฤศจิกายน2558 ซึ่งเป็นวันประชุมประจำเดือนของหมู่บ้าน

กิจกรรมหลัก : จัดทำรายงานสรุปโครงการi

1,000.00 0 ผลผลิต

มีรายงานสรุปโครงการ


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

เอกสารรายงาน ตรวจสอบความถูกต้อง

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 2 ครั้ง

  • ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรุ่งนภา ตุลา
  • เหรัญญิกโครงการ นางไกรวัน  บุญทวี
  • พี่เลี้ยงโครงการ นายศักดิ์ชาย  เรืองศรี
  • พี่เลี้ยง สสส. นางสาวกัญนภัส  จันทร์ทอง
0.00 0.00 3 4 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การประชุมในครั้งนี้จึงเป็นการสรุปเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ได้แก่

  1. สัญญาโครงการ
  2. เอกสารการเงิน ใบเสร็จ ค่าใช้จ่ายต่างๆ, ใบลงทะเบียนแต่ละกิจกรรม
  3. ส.2 แบบติดตามการสนับสนุนโครงการ เซ็นรับรองมี 1 จุด
  4. ง.1 งวด 1 รายงานการเงินโครงการ เซ็นรับรองมี 3 จุด
  5. สมุดบัญชีธนาคาร ต้องอัปเดทปรับสมุดให้เป็นปัจจุบัน และถ่ายสำเนาทุกหน้าและเซ็นรับรองทุกหน้า
  6. ส.1 รายงานความก้าวหน้าโครงการ

ผู้รับผิดชอบโครงการ

  1. นางสาวรุ่งนภา ตุลา
  2. นางนิตยา บุญเทียม
1,000.00 1,000.00 3 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการรวบรวม ตรวจสอบรายละเอียดของกิจกรรมโครงการตลอดโครงการของโครงการพันธมิตรพิชิตขยะ บ้านบางหละจัดการตนเอง ได้สรุปเป็นข้อดังนี้

  1. มีการรวบรวมเอกสารรายงาน ตรวจสอบความถูกต้อง
  2. ตรวจสอบรายละเอียดขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมตลอดโครงการ มีเอกสารที่ผิดพลาด และต้องแก้ไข จำนวน3 ฉบับ และได้แก้ไขให้ถูกต้องแล้ว
  3. สรุปผลการดำเนินโครงการเพื่อรายงานใน ง.2
  4. เตรียมข้อมูลเอกสาร หลักฐานการเงิน ใบสำคัญรับเงินใบลงชื่อเข้าร่วมกิจกรรม รวบรวมภาพถ่ายและรายงานให้พี่เลี้ยงทราบเพื่อให้พี่เลี้ยงตรวจสอบอีกครั้ง
  5. จัดทำรายงานส่ง สสส. เพื่อขออนุมัติงบประมาณส่วนที่เหลือ
  6. เตรียมรายละเอียดข้อมูลภาพรวมกิจกรรมโครงการ เพื่อประชาสัมพันธ์ เมื่อสิ่นสุดโครงการและการคืนข้อมูลให้ชุมชน ในเวทีคราวต่อไปในหมู่บ้าน

กิจกรรมหลัก : ประชุมคณะทำงานและเครือข่ายในการบริหารโครงการ 10 ครั้งi

17,000.00 30 ผลผลิต

มีการประชุมคณะทำงานและเครือข่ายในการบริหารโครงการ จำนวน 10 ครั้ง


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

คณะทำงานและเครือข่ายในการบริหารโครงการ สามารถบริหารจัดการโครงการได้

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 10 ครั้ง

  1. คณะกรรมการบริหารโครงการ 6 คน
  2. ตัวแทนจากท้องถิ้น 1 คน
  3. อสม.หมู่ 10 จำนวน  8 คน
  4. ตัวแทนกลุ่มแม่บ้าน 6 คน
  5. ตัวแทนกลุ่มอาชีพประมง  2 คน
  6. ผู้นำศาสนา  2 คน
  7. ตัวแทนจากเยาวชน  5 คน

รวม 30 คน

1,550.00 1,650.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีการประชุมและวางแผนงาน รวมถึงเขียนปฏิทินการดำเนินงานให้กับคณะกรรมการ โดยใช้กระบวนการบริหาร PDCA  โดยผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรุ่งนภา ตุลา และทีมงาน และเครือข่าย เริ่มตั้งแต่การวางแผนเริ่มจาก Plan การวางแผนงาน Do การลงมือปฏบัติ Check การตรวจสอบประเมินผล  Act การแก้ไขปรับปรุงให้เหมาะสม เพือให้ตรงตามวัตถุประสงค์ และเพิ่มเติมข้อเสนอแนะ นำไปสู่การจัดการความรู้ และถ่ายทอดบทเรียนไปสู่ชุมชน และเผยแพร่ไปยังชุมชนใกล้เคียง และเชื่อมโยงเครือข่ายในการดำเนินงานอย่างเป็นระบบเพื่อให้ทราบกำหนดช่วงกิจกรรม ตามวันเวลาที่เหมาะสม ซึ่งหากไม่ตรงหรือมีการปรับเปลี่ยน ก็สามารถทำได้ ทำให้แผนเกิดความยืดหยุ่นและเข้ากับบริบทในชุมชน ซึ่งในครั้งหน้าอาจเปลี่ยนแปลงที่ประชุม เช่น ในหมู่บ้าน บ้านผู้นำชุมชน หรืออื่นๆ ได้ตามเหมาะสม และได้จัดตั้งทีมประเมินติดตามผลทั้งก่อนและหลังโครงการ เพื่อนำมาปรับปรุงให้เหมาะสมต่อไป

  1. คณะกรรมการบริหารโครงการ 6 คน
  2. ตัวแทนจากท้องถิ้น 1 คน
  3. อสม.หมู่ 10 จำนวน  8 คน
  4. ตัวแทนกลุ่มแม่บ้าน 6 คน
  5. ตัวแทนกลุ่มอาชีพประมง  2 คน
  6. ผู้นำศาสนา  2 คน
  7. ตัวแทนจากเยาวชน  5 คน
1,550.00 1,400.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมครบต่ามจำนวน และได้มีการประชุมและวางแผนงาน รวมถึงเขียนปฏิทินการดำเนินงานให้กับคณะกรรมการเพื่อให้ทราบกำหนดช่วงกิจกรรม ตามวันเวลาที่เหมาะสม ซึ่งหากไม่ตรงหรือมีการปรับเปลี่ยน ก็สามารถทำได้ ทำให้แผนเกิดความยืดหยุ่นและเข้ากับบริบทในชุมชน ซึ่งในครั้งหน้าอาจเปลี่ยนแปลงที่ประชุม เช่น ในหมู่บ้าน บ้านผู้นำชุมชน หรืออื่นๆ ได้ตามเหมาะสม และได้จัดตั้งทีมประเมินติดตามผลทั้งก่อนและหลังโครงการ เพื่อนำมาปรับปรุงให้เหมาะสมต่อไป โดยทีมประเมิน ได้แก่
  1. นายศักดิ์ชาย  เรืองศรี
  2. นายอาหรีด  ดำเชื้อ
  3. นางสมชาย  บุญเทียม
  4. นางสาวรุ่งนภา  ตุลา
  5. นางนิตยา  บุญเทียม
  6. นางไกรวัน  บุญทวี
  7. นายวุฒิชัย  ปุณณมี -สูตรการทำปุ๋ยหมัก คือ ละลาย พด.2 ในน้ำ 10 ลิตร กวนให้เข้ากัน พักไว้ 5 นาที ใส่เศษผัก เศษปูและเศษอาหารที่คัดแยกจากครัวเรือนลงในถัง เติมน้ำเปล่ากวนให้เข้ากัน ตามด้วยน้ำ พด.2 ที่ละลายไว้ลงในถังกวนให้เข้ากันประมาณ 100 ลิตร เติมกากน้ำตาลกวนอีกครั้งให้เข้ากัน สังเกตจากปริมาณน้ำไม่เกิน 150ลิตร/ถัง (สามารถเพิ่มได้ภายหลังอีก) แต่ต้องกวนทุกวัน ปิดฝาหรือผ้ายางรัดไว้ แต่ไม่ควรแน่นจนเกินไป ประมาณ 15 วัน ใช้การได้ -ข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมประชุม คือ ถ้าไม่มีถังทำปุ๋ยหมักมีวิธีทำอย่างไร? วิทยากรเสนอให้ทำปุ๋ยหมักแห้ง โดยนำท่อซีเมนต์เจาะข้างๆ 4 ด้าน ให้ติดดิน นำใบไม้ เศษขยะที่ย่อยสลาย ขยะอินทรีย์ใส่ให้เต็มป้อมบ่อและเคล้าให้ทั่ว พร้อมใส่ พด.1 กากน้ำตาลกวนให้เข้ากัน และปิดฝาไว้ ประมาณ 3 วัน ดูว่ามีน้ำซึมออกมาหรือไม่และพลิกทุก 3 วันทิ้งไว้ 15 วัน ถึงจะใช้การได้

คณะทำงานและเครือข่ายในการบริหารโครงการ

  1. คณะกรรมการบริหารโครงการ 6 คน
  2. ตัวแทนจากท้องถิ้น 1 คน
  3. อสม.หมู่ 10 จำนวน  8 คน
  4. ตัวแทนกลุ่มแม่บ้าน 6 คน
  5. ตัวแทนกลุ่มอาชีพประมง  2 คน
  6. ผู้นำศาสนา  2 คน
  7. ตัวแทนจากเยาวชน  5 คน

รวม 30 คน

1,550.00 1,400.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุมและการบริหารโครงการ ครั้งที่ 3 โดยมีผู้ใหญ่สมชาย  บุญเทียมเป็นผู้เปิดประชุม ซึ่งในครั้งนี้ มี กม.หมู่บ้านมาร่วมด้วยหลายคน ซึ่งในการประชุมการมีการนำเรื่องของการพัฒนาหมู่บ้าน เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ในปีนี้ และนอกจากนี้ ยังมีวาระที่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดินทำกิน โดยภาคประชาชนจัดตั้งกองทุน (คปสม.อ.คุระบุรี) เพื่อผลักดันให้คณะอนุกรรมการพิจารณาช่วยเหลือการแก้ไขปัญหาด้านที่อยู่อาศัยและทำกินเพราะส่วนใหญ่พื้นที่ติดป่าชายเลน และอีกโซนติดกับเขตอนุรักษ์ป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งประกาศทับซ้อนกัน ซึ่งเป็นปัญหาที่เรื้อรังมานานแล้ว และที่ประชุมได้คัดเลือกตัวแทนไปเข้าพบท่านรัฐมนตรี ในวันอาทิตย์ที่ 22 ก.พ. นี้ ซึ่งได้ประกาศให้คณะกรรมการทั้่งในส่วนของหมู่บ้าน และกรรมการโครงการ สสส. (ซึ่งก็คือทีมเดียวๆกันนี่แหล่ะ) เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องที่จำเป็นเร่งด่วน และส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของชาวบ้าน ในการจัดการปัญหาต่างๆชุมชน
  • นางนิตยา บุญเทียม ได้ชี้แจงผลการดำเนินงานของโครงการที่ผ่านมาให้คณะกรรมการฟังและแจ้งแนวทางการดำเนินกิจกรรมในครั้งต่อไป อย่างคร่าวๆ เพื่อให้คณะกรรมการและเครือข่ายได้รับทราบและเตรียมตัว เตรียมคน และร่วมกันวางแผนว่าควรจะจัดเป็นวันไหน อย่างไร ใครเป็นผู้รับผิดชอบ เช่น การปรับปรุงภูมิทัศน์ ข้างป้อมยาม เพื่อจัดทำจุดคัดแยกขยะ  การประชาสัมพันธ์กิจกรรมการประกวดบ้านน่าอยู่ กิจกรรม Big Cleaning Day ในการปิดถนน สายฮาร้าล ก่อนเดือนรอมฏอน กิจกรรมการแสดงลิเกฮุลู ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจะจัดขึ้น ในช่วงการขออนุมัติงบประมาณโครงการงวดที่ 2  ในเดือนมีนาคม 2558 นี้  และในงวดที่ 1 นี้ จะสิ้นสุดภายในวันที่ 20 มีนาคม 2558 จึงต้องให้คณะกรรมการช่วยกันเสนอแนวทางและดำเเนินการสรุปปิดบัญชีโครงการงวดที่ 1 ให้แล้วเสร็จให้ทันเวลา ทำให้ได้รับความรู้ ความเข้าใจเรื่องการแก้ปัญหาในชุมชน ทั้งเรื่องขยะสภาพแวดล้อม ปัญหาที่ดินทำกิน ยาเสพติด ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนและเสนอแนวคิดและแนวทางการแก้ไขปัญหาโดยภาคประชาชน
  • ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรุ่งนภา ตุลา ได้เสนอเรื่องการกำหนดหลักเกณฑ์ในการประกวดบ้าน และคณะกรรมการควรจะเป็นใครบ้าง ซึ่งควรให้สอดคล้องกับเรื่องของการจัดการขยะ ความสะอาด และการปลูกผักสวนครัว ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้วย
  • นางไกรวัน  บุญทวี ได้สรุปผลการประชุมและเสนอให้ผู้เข้าร่วมประชุมท่านอื่นๆ ได้ เสนอแนวทางในการจัดกิจกรรม ซึ่่งส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่า จะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และชาวบ้านก็ให้ความสนใจดี จึงควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึง
  • ผลจากการจัดกิจกรรม พบว่า ได้รับความร่วมมือจากกรรมการหมู่บ้าน และเครือข่ายเป็นอย่างดี สร้างการมีส่วนร่วม ซึ่งการจัดการชุมชนในการแก้ไขปัญหาไปพร้อมๆ กันอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
  • คณะกรรมการบริหารโครงการ 6 คน
  • ตัวแทนจากท้องถิ้น 1 คน
  • อสม.หมู่ 10 จำนวน 8 คน
  • ตัวแทนกลุ่มแม่บ้าน 6 คน
  • ตัวแทนกลุ่มอาชีพประมง 2 คน
  • ผู้นำศาสนา 2 คน
  • ตัวแทนจากเยาวชน 5 คน

รวม 30 คน

2,350.00 2,750.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุมและการบริหารโครงการ ครั้งที่ 4 โดยมีผู้ใหญ่สมชายบุญเทียมเป็นผู้เปิดประชุม ซึ่งในครั้งนี้ มีการเข้าร่วมประชุมของคณะกรรมการและเครือข่ายในการบริหารโครงการ เพื่อให้ทราบความก้าวหน้าของโครงการและปัญหาอุปสรรค
  • นางนิตยา บุญเทียม ได้ชี้แจงผลการดำเนินงานของโครงการที่ผ่านมาให้คณะกรรมการฟังและแจ้งแนวทางการดำเนินกิจกรรมในครั้งต่อไป อย่างคร่าวๆ เพื่อให้คณะกรรมการและเครือข่ายได้รับทราบและเตรียมตัว เตรียมคน และร่วมกันวางแผนว่าควรจะจัดเป็นวันไหน อย่างไร ใครเป็นผู้รับผิดชอบ เช่น การปรับปรุงภูมิทัศน์ ข้างป้อมยาม เพื่อจัดทำจุดคัดแยกขยะการประชาสัมพันธ์กิจกรรมการประกวดบ้านน่าอยู่ และการประชุมให้ต่อเนื่องในระหว่างรออนุมัติงบประมาณของ สสส.งวดที่ 2 และให้เลื่อนปฏิทินโครงการให้เหมาะสมกับระยะเวลา
  • ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรุ่งนภา ตุลา ได้เสนอเรื่องการกำหนดหลักเกณฑ์ในการประกวดบ้าน และคณะกรรมการควรจะเป็นใครบ้าง ซึ่งควรให้สอดคล้องกับเรื่องของการจัดการขยะ ความสะอาด และการปลูกผักสวนครัว ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้วย
  • นางไกรวันบุญทวี ได้สรุปผลการประชุมและเสนอให้ผู้เข้าร่วมประชุมท่านอื่นๆ ได้ เสนอแนวทางในการจัดกิจกรรม ซึ่่งส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่า จะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และชาวบ้านก็ให้ความสนใจดี จึงควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึงต่อเนื่อง
  • คณะกรรมการบริหารโครงการ 6 คน
  • ตัวแทนจากท้องถิ้น 1 คน
  • อสม.หมู่ 10 จำนวน8 คน
  • ตัวแทนกลุ่มแม่บ้าน 6 คน
  • ตัวแทนกลุ่มอาชีพประมง2 คน
  • ผู้นำศาสนา2 คน
  • ตัวแทนจากเยาวชน 5 คน

รวม 30 คน

1,700.00 1,700.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุมและการบริหารโครงการ ครั้งที่ 5 โดยมีผู้ใหญ่สมชายบุญเทียมเป็นผู้เปิดประชุม ซึ่งในครั้งนี้ มีการเข้าร่วมประชุมของคณะกรรมการและเครือข่ายในการบริหารโครงการ เพื่อให้ทราบความก้าวหน้าของโครงการและปัญหาอุปสรรคและขอบคุณสำหรับการเข้าร่วมกิจกรรมตลอดจนการประชาสัมพันธ์ รณรงค์ห้ามสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตลอดเดือนรอมฎอน และเห็นว่าเป็นเรื่องที่ดี และมีคนได้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมาก เพราะอยุ่ในช่วงเดือนอันประเสริฐคือการถือศีลอด
  • นางสาวรุ่งนภา ตุลา ได้ชี้แจงผลการดำเนินงานของโครงการที่ผ่านมาให้คณะกรรมการฟังและแจ้งแนวทางการดำเนินกิจกรรมในครั้งต่อไป เพื่อให้คณะกรรมการและเครือข่ายได้รับทราบ และการประชุมให้ต่อเนื่องในระหว่างรออนุมัติงบประมาณของ สสส.งวดที่ 2 และให้เลื่อนปฏิทินโครงการให้เหมาะสมกับระยะเวลา และจะนัดประชุมอีกครั้ง โดยจะประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย หรือ แจ้งวันประชุมประจำเดือน
  • คณะทำงานและเครือข่ายคณะกรรมการบริหารโครงการ 6 คน
  • ตัวแทนจากท้องถิ้น 1 คน
  • อสม.หมู่ 10 จำนวน 8 คน
  • ตัวแทนกลุ่มแม่บ้าน 6 คน
  • ตัวแทนกลุ่มอาชีพประมง 2 คน
1,700.00 1,700.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • 14.00 น. ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุมและการบริหารโครงการ ครั้งที่ 7 โดยมีผู้ใหญ่สมชาย บุญเทียมเป็นผู้เปิดประชุม
  • นางนิตยา บุญเทียม ได้ชี้แจงผลการดำเนินงานของโครงการที่ผ่านมาให้คณะกรรมการฟังและแจ้งแนวทางการดำเนินกิจกรรมในครั้งต่อไป และวาระอื่นในหมู่บ้าน เช่น โครงการเด็กดีมีเงินออม น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง ซ่ึ่งเป็นการเชื่อมโยงการทำงานของเด็กเยาวชนต้นกล้ากับการออมทรัพย์ในโครงการ ซึ่งหากสามารถมาทำร่วมกันในกิจกรรมกองทุนขยะก็จะสามารถทำงานได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะสรุปกันอีกครั้งเมื่อโครงการผ่านการอนุมัติงวด 2 และมีการดำเนินการถึงขั้นตอนนี้
  • 15.00 น.ปิดการประชุม โดยผู้ใหญ่สมชาย บุญเทียม
  • คณะทำงานและเครือข่ายคณะกรรมการบริหารโครงการ 6 คน
  • ตัวแทนจากท้องถิ้น 1 คน
  • อสม.หมู่ 10 จำนวน8 คน
  • ตัวแทนกลุ่มแม่บ้าน 6 คน
  • ตัวแทนกลุ่มอาชีพประมง2 คน
  • ผู้นำศาสนา2 คน
  • ตัวแทนจากเยาวชน 5 คน

รวม 30 คน

1,700.00 2,000.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • 13.00 น. ผู้รับผิดชอบโครงการ โดยนางสาวรุ่งนภา ตุลา ได้กล่าวชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุมและเครือข่ายในการบริหารโครงการ ครั้งที่ 7 และผู้ใหญ่สมชาย บุญเทียมเป็นผู้เปิดประชุม และกล่าวขอบคุณคณะกรรมการและชาวบ้านที่เข้าร่วมกิจกรรม ปลูกต้นไม้วันแม่ และจัดทำจุดคัดแยกขยะข้างป้อมยาม ปรับภูมิทัศน์ ปลูกผักในแปลงสาธิต ตัดหญ้าตลอดแนวถนน และสุสาน (กุโบร) ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี
  • 14.00 น. นางนิตยา บุญเทียม ได้ชี้แจงผลการดำเนินงานของโครงการที่ผ่านมาให้คณะกรรมการฟังและแจ้งแนวทางการดำเนินกิจกรรมในครั้งต่อไป โดยร่วมกันกำหนดกิจกรรมการประกวดบ้านน่าอยู่ ซึ่งจะให้คณะกรรมการชุดที่ 1 ออกประเมินภายในวันที่ 25 สิงหาคมนี้   เพื่อให้คณะกรรมการได้เตรียมทีมประเมินและจัดเวลาในการออกประเมินบ้านที่เข้าประกวด และร่วมกันประชาสัมพันธ์บ้านที่จะเข้าร่วมเพิ่มเติมได้ ก่อนวันที่ 25 สิงหาคม และให้แจ้งมายังผู้รับผิดชอบโครงการคือ นางสาวรุ่งนภา  และให้แจ้งในที่ประชุมเกี่ยวกับการจัดประชุม   เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารกองทุนขยะและสิ่งแวดล้อมชุมชน ซึ่งจะมีขึ้นภายในเดือนนี้ ให้แจ้งคุณครูประจำชั้น เพื่อขออนุญาตเด็ก เยาวชนต้นกล้าตาวิเศษเข้าร่วมประชุม เพื่อกำหนดแนวทางจัดตั้งกองทุนฯ ต่อไป
  • 15.00 น.ปิดการประชุม โดยผู้ใหญ่สมชายบุญเทียม
  • คณะทำงานและเครือข่ายคณะกรรมการบริหารโครงการ 6 คน
  • ตัวแทนจากท้องถิ้น 1 คน
  • อสม.หมู่ 10 จำนวน 8 คน
  • ตัวแทนกลุ่มแม่บ้าน 6 คน
  • ตัวแทนกลุ่มอาชีพประมง 2 คน
1,700.00 1,700.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • 13.00 น. เริ่มประชุมคณะทำงานและเครือข่าย ครั้งที่ 8 โดยผู้ใหญ่บ้าน นายสมชาย บุญเทียม
  • 14.00 น. ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุมและการบริหารโครงการ ครั้งที่ 8 นางนิตยา บุญเทียม ได้ชี้แจงผลการดำเนินงานของโครงการที่ผ่านมาและแจ้งแนวทางการดำเนินกิจกรรมในครั้งต่อไปโดยเฉพาะกิจกรรมที่จะดำเนินการในวันที่ 22กันยายน 2558 นี้ ซึ่งปรับเปลี่ยนเป็นกิจกรรม ปิดถนนสายฮาลาล บ้านบางหละน่าอยู่ ต้อนรับวันอีดิ้ลอัฎฮา "วันปีใหม่อิสลาม" เพื่อวันอันประเสริฐ ในการรักษาความสะอาดในบ้านเรือน และชุมชน รวมถึงสถานที่สาธารณะ เช่น กุโบร (สุสาน)
  • นอกจากนี้ ผลการดำเนินงานของธนาคารขยะรีไซเคิล (กองทุนขยะและสิ่งแวดล้อมชุมชน) ซึ่งมีเด็กๆ อาสาต้นกล้าตาวเิเศษ มาร่วมเป็นคณะทำงาน จำนวน 20คนและแบ่งกันมาทำงานเป็นกลุ่มสัปดาห์ละ 2 วันซึ่งก็มีการประชาสัมพันธ์ในทุกสัปดาห์ และมีการสมัครเข้าเป็นสมาชิกทุกสัปดาห์ โดยมี อสม.เป็นพี่เลี้ยง และเมื่อเยาวชนสามารถดำเนินกิจกรรมเองได้ ก็จะให้เยาวชนที่เป็นคณะกรรมการดำเนินกิจกรรมเองต่อไป
  • วาระอื่นๆ แจ้งให้ทุกฝ่ายร่วมกันประสานงานและประชาสัมพันธ์กิจกรรมวัน Big Cleaning Day เพราะช่วงนี้มีฝนตกหนัก อาจทำให้กิจกรรมมีปัญหาอุปสรรค จึงต้องมีความพร้อมให้มากยิ่งขึ้น
  • 15.00 น.ปิดการประชุม โดยผู้ใหญ่สมชาย บุญเทียม
  • คณะทำงานและเครือข่ายคณะกรรมการบริหารโครงการ 6 คน
  • อสม.หมู่ 10 จำนวน 7 คน
  • ตัวแทนกลุ่มแม่บ้าน 6 คน
  • แกนนำเยาวชน 7 คน
    รวม จำนวน 26 คน
1,500.00 1,510.00 30 26 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. เปิดประชุมโดยผู้ใหญ่บ้าน นายสมชาย บุญเทียม เกี่ยวกับเรื่องโครงการและขอขอบคุณคณะกรรมการและชาวบ้าน โดยเฉพาะ อสม.และเด็กนักเรียนเยาวชนต้นกล้าตาวิเศษ และคณะครูผู้ดูแลที่ให้ความร่วมมือมาร่วมในกิจกรรม Big Cleaning Day ในวันที่ 22 กันยายน 2558 ที่ผ่านมา ทำให้โครงการได้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี และเห็นควรว่าต้องจัดให้ต่อเนื่องประจำทุกปี เพื่อสร้างความร่วมมือร่วมใจทุกๆผ่าย
  2. นางนิตยา บุญเทียม ผู้รับผิดชอบโครงการ รายงานผลการดำเนินงานของโครงการที่ผ่านมาเกี่ยวกับการดำเนินงานและแผนการดำเนินโครงการในเดือนหน้า ซึ่งจะปิดโครงการภายในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2558 ว่ายังมีกิจกรรมที่ยังไม่ได้ทำคือ การประชุมของคณะกรรมการและการสรุปผลการดำเนินโครงการ และรายงานปิดโครงการ ซึ่งจะนัดมาจัดทำรายงานอีกครั้งในวันที่ 28 เดือนตุลาคม 2558 และรายงานผลให้พี่เลี้ยงทราบ
  3. นางสาวรุ่งนภาตุลาผู้รับผิดชอบโครงการ รายงานผลการดำเนินงานเกี่ยวกับงบประมาณที่จัดเมื่อครั้งที่แล้ว ต้องสำรองจ่ายไปก่อนและจะดำเนินการส่งงวดงานและปิดโครงการเพื่อขอเสนออนุมัติงบประมาณในงวดที่ 3 อีกจำนวน 19 ,940 บาท ซึ่งในส่วนที่เกิน ผู้ใหญ่บ้านจะสำรองจ่ายให้ไปก่อนและหากได้รับสนับสนุนงบประมาณส่วนที่เหลือจะจ่ายคืนให้ภายหลังต่อไป
  4. วาระอื่นๆ
  • เรื่องที่ประชุมหมู่บ้าน เกี่ยวกับโครงการกองทุนหมู่บ้าน ได้รับการประเมินระดับเกรด A ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดี และทำใ้หเห็นว่าหมู่บ้านมีการบริหารงานเข้มแข็ง มีประสิทธิภาพ ขอให้สมาชิกทุกคน ปฏิบัติตามระเบียบ ยึดเรื่องของสัจจะ การออมทรัพย์ และการดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  • เกษตรกรที่ไม่มีเอกสารสิทธิที่ดินทำกิน ที่ยังไม่สามารถขึ้นทะเบียนเกษตรกร ให้นำหลักฐานมายื่นและดำเนินการขอขึ้นทะเบียนเกษตรกรที่เกษตรอำเภอคุระบุรี
  • ปิดประชุม เวลา15.30 น.
  • คณะทำงานและเครือข่ายคณะกรรมการบริหารโครงการ 6 คน
  • อสม.หมู่ 10 จำนวน 7 คน
  • ตัวแทนกลุ่มแม่บ้าน 6 คน
  • ตัวแทนเยาวชน จำนวน 5 คน รวม จำนวน 24  คน
1,700.00 1,190.00 30 24 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เริ่มประชุมเวลา 10.00 น. รายงานผลการดำเนินงาน โดยนางนิตยาบุญเทียม และให้คณะกรรมการร่วมกันเสนอข้อคิดเห็น ปัญหาอุปสรรค ตามขั้นตอนกระบวนการ PDCAโดยเริ่มวิเคราะห์ตั้งแต่เริ่มทำโครงการ วัตถุประสงค์ กระบวนการที่เกิดขึ้น ผลที่ได้รับ และสรุปภาพรวมกิจกรรมทั้งหมด ซึ่งที่ประชุมได้สรุปเป็นหัวข้อใหญ่ๆ ได้ดังนี้

  1. การดำเนินกิจกรรมโครงการเป็นไปตามวัตถุประสงค์
  2. ชาวบ้านทุกกลุ่มวัยเข้าร่วมกิจกรรม และให้ความสำคัญของโครงการนี้
  3. มีมติให้ดำเนินการจัดทำโครงการให้ต่อเนื่องเพื่อพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่ และสร้างความตื่นตัวในชุมชน
  4. ดึงกลุ่มคนที่ยังไม่ได้เข้าร่วม ให้เข้ามาเป็นคณะกรรมการด้วย เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และช่วยกันแก้ปัญหาขยะและปัญหาอื้่นๆ ได้ถูกต้อง ถูกคน ถูกที่
  5. วาระประชุมอื่นๆเกี่ยวข้องกับคณะกรรมการที่ไม่ได้เข้าประชุม
  • ผุ้ใหญ่บ้าน นายสมชายบุญเทียม และคณะผู้นำชุมชน ประมาณ30คน ซึ่งต้องเดินทาง ไปตามหาบิดาของเด็กชายธนาวัฒน์ บุญเทียม ซึ่งเป็นคณะกรรมการของโครงการด้วยเนื่องมาจากสาเหตุ ออกทะเลไปหาปลาและหายตัวไป เป็นเวลา10 วันแล้วยังค้นหาไม่เจอ และประสานงานไปยังหน่วยงานกู้ภัยทางทะเล ฐานทัพเรือทับละมุ สภากาชาดไทย ให้ร่วมกันค้นหาตลอดแนวฝั่งทะเลในและนอกและขอสนับสนุนเฮลิคอปเตอร์ในการค้นหา 2 ลำ แต่ยังไม่พบ
  • ร่วมกันขอดุอาห์ เพื่อให้พระเจ้าทรงคุ้มครองและขอให้รอดชีวิตกลับมา
  • จากเหตุการณ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตที่ต้องออกไปหากินในท้องทะเลซึ่งมีความเสี่ยง เช่นอาชีพประมง ทำให้เห็นว่าสิ่งที่ไม่คาดคิดอาจเกิดขึ้นได้เสมอ และครอบครัวของเด็กชายธนาวัฒน์บุญเทียม ซึ่งค่อนข้างยากจน ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ช้น ม.4ซึ่งหากมีอะไรเกิดขึ้น ครอบครัวของธนาวัฒน์ คงจะลำบากมาก ซึ่งเรื่องนี้ในที่ประชุมก็นำมาพูดคุยและแสดงความคิดเห็นพอสมควร
  • ปิดประชุม เวลา12.00 น.

กิจกรรมหลัก : มอบเกียรติบัตรโครงการให้กับเยาวชนต้นกล้าตาวิเศษ บ้านที่ชนะเลิศการประกวดบ้านน่าอยู่และบ้านที่ผ่านเกณฑ์ประเมินi

13,250.00 70 ผลผลิต

1.เยาวชนต้นกล้าตาวิเศษจำนวน 50 คน 2.บ้านผ่านเกณฑ์จำนวน 19 หลัง


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  1. เด็กและเยาวชนได้มีส่วนร่วมในการจัดการขยะในชุมชนตลอดโครงการ
  2. เป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติและนำไปสู่ครอบครัว ชุมชน และสังคมต่อไป
  3. สร้างเยาวชนต้นกล้าตาวิเศษ ให้สามารถนำความรู้ ประสบการณ์ที่ได้รับ ต่อยอดการพัฒนาในชุมชนต่อไปได้

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 2 ครั้ง

  • เยาวชนต้นกล้าตาวิเศษ จำนวน  50 คน
  • เยาวชนอาสาต้นกล้า    จำนวน  20 คน   รวมจำนวน  70 คน
13,250.00 13,250.00 70 70 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีการมอบเกียรติบัตรเพื่อให้เป็นขวัญกำลังใจและเป็นตัวอย่างที่ดี ให้กับเยาวชนต้นกล้าตาวิเศษ และเยาวชนอาสาต้นกล้าตาวิเศษ ทำให้เกิดกระแสตื่นตัว และมีเด็กๆ คนอื่นที่ไม่ได้เป็นอยากจะเข้าร่วมเพิ่มขึ้น

  2. บ้านที่เข้าร่วมและผ่านเกณฑ์การประเมินบ้านน่าอยู่ จะมอบเกียรติบัตรให้วันที่ 22 กันยายน 2558 ซึ่งเป็นวันที่จัดกิจกรรม รณรงค์Big Cleaning Day ปิดถนนสายฮาลาล บ้านบางหละน่าอยู่ เพื่อต้อนรับวันอิดิ้ลอัฎฮา (วันปีใหม่อิสลาม) เพื่อเป็นเกียรติและขวัญกำลังใจให้กับชาวบ้านที่เข้าร่วม

  • เยาวชนอาสาต้นกล้าตาวิเศษ จำนวน20คน
  • เจ้าของบ้านที่ผ่านเกณฑ์ประกวดบ้าน19 คน

รวม39 คน

0.00 0.00 40 39 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. เด็กและเยาวชนได้มีส่วนร่วมในการจัดการขยะในชุมชนตลอดโครงการ
  2. เป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติและนำไปสู่ครอบครัว ชุมชน และสังคมต่อไป
  3. สร้างเยาวชนต้นกล้าตาวิเศษ ให้สามารถนำความรู้ ประสบการณ์ที่ได้รับ ต่อยอดการพัฒนาในชุมชนต่อไปได้

กิจกรรมหลัก : สรุปผลโครงการและถอดบทเรียน ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ปัญหาอุปสรรค และคืนข้อมูลให้กับชุมชนเมื่อสิ้นสุดโครงการi

0.00 0 ผลผลิต

ประชุมเพื่อสรุปผลโครงการ และถอดบทเรียน ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และปัญหาอุปสรรคมีผู้เข้ากิจกรรม จำนวน 77 คน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

สิ่งที่ได้รับจากการทำโครงการทั้งหมด ทำให้ชุมชนมีส่วนร่วมและสร้างกระแสการแก่ไขปีญหาต่างๆ ในชุมชน โดยการจัดการชุมชนของตนเองเพื่อให้สามารถช่วยเหลือกัน และสร้างแกนนำเยาวชนต้นกล้า เพื่อพัฒนาชุมชนในด้านต่างๆ ต่อไป อย่างยั่งยืน

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

  • คณะทำงานและกรรมการบริหารโครงการ จำนวน 3 คน
  • ตัวแทนกลุ่มแม่บ้าน 50 คน
  • อสม. จำนวน 10 คน
  • ตัวแทนกลุ่มประมง 4 คน
  • ผู้นำชุมชน/ผู้นำศาสนา จำนวน 5 คน
  • ผู้นำท้องถิ่น 2 คน
  • คณะเจ้าหน้าที่ อบต.คุระ 3 คน

รวมจำนวน 77 คน

0.00 0.00 70 77 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลสรุปของกิจกรรมการประชุมเพื่อสรุปโครงการและคืนข้อมูลให้ชุมชนในครั้งนี้

  1. ผู้ใหญ่บ้านโดย นายสมชาย บุญเทียม กล่าวเปิดประชุม และกล่าวชื่นชมโครงการและขอบคุณชาวบ้านที่ให้ความร่วมมือ
  2. นางนิตยา บุญเทียม รายงานผลการดำเนินโครงการและสรุปประเด็นหัวข้อในแต่ละกิจกรรม ผลที่ได้รับ ความสำเร็จ ปัญหาอุปสรรค และ รายงานภาพกิจกรรม
  3. นางไกรวัน บุญทวี และนางสาวรุ่งนภา ตุลา กล่าวขอบคุณชาวบ้านที่ให้ความร่วมมือมาด้วยดีมาตลอด และให้ชาวบ้านในชุมชนแสดงความคิดเห็น โดยที่ประชุมส่วนใหญ่ เห็นควรให้มีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อความยั่งยืนและเห็นประโยชน์ของโครงการที่ทำให้ชุมชนน่าอยู่ เพราะทำให้เด็กๆ มีกิจกรรมที่สร้างสรรค์และมีผู้นำที่ตั้งใจทำงานให้กับชุมชน ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง
  4. นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคุระ และทีมงาน กล่าวชื่นชม และเห็นด้วยที่มีโครงการนี้เกิดขึ้นเห็นพลังการขับเคลื่อนการจัดการตนเองด้านสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมในชุมชน เป็นเรื่องที่ดีมาก และพร้อมจะสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องในส่วนที่สามารถสนับสนุนได้
  5. วาระอื่นๆ ในการประชุมหมู่บ้าน
  • การสนับสนุนของรางวัลให้กับสมาชิกที่ออมเงินสม่ำเสมอของเด็กในโครงการ มูลนิธิศุภนิมิตรแห่งประเทศไทย ADP คุระบุรี
  • การรับจดแจ้งขึ้นทะเบียนผู้สูงอายุ ในบุคคลที่มีอายุ 59 ปีขึ้นไป เพื่อเตรียมหลักฐานขอรับค่าเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เมื่อครบ 60 ปี โดย อบต.คุระ
  • ร่วมแสดงความยินดีกับครอบครัวของคณะกรรมการ เด็กชายธนาวัฒน์ บุญเทียม ที่พบบิดาที่หายไปจากการออกทะเลหาปลาและถูกปล้นเรือ ไม่สามารถกลับได้รวมระยะเวลา 12 วัน 12 คืน และเรือไทยไปพบและให้การช่วยเหลือประสานงาน จนกระทั่งกลับมาอย่างปลอดภัย

6.แจ้งให้ อสม.ติดตามเยี่ยมบ้านนายยุโซป บุญเทียม (ที่ติดเกาะ 12 วัน) เพื่อให้บริการตรวจสุขภาพ และให้กำลังใจ ประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย

7.สิ่งที่ได้รับจากการทำโครงการทั้งหมด ทำให้ชุมชนมีส่วนร่วมและสร้างกระแสการแก่ไขปีญหาต่างๆ ในชุมชน โดยการจัดการชุมชนของตนเองเพื่อให้สามารถช่วยเหลือกัน และสร้างแกนนำเยาวชนต้นกล้า เพื่อพัฒนาชุมชนในด้านต่างๆ ต่อไป อย่างยั่งยืน

กิจกรรมหลัก : จัดกิจกรรมประกวดบ้านน่าอยู่ - ประชาสัมพันธ์เสียงตามสายหรือวันศุกร์โดยครูสอนศาสนา ร่วมกับอสม.และเยาวชนi

13,000.00 150 ผลผลิต

1.จัดกิจกรรมประกวดบ้านน่าอยู่ และประชาสัมพันธ์เสียงตามสายเดือนละ1 ครั้ง

2.มีแบบตอบรับเข้าร่วมกิจกรรมประกวดบ้าน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

สามารถสร้างกระแสให้ชุมชนมีการตื่นตัว ในการเข้าร่วมกิจกรรมประกวดบ้านน่าอยู่

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 5 ครั้ง

  • แกนนำครัวเรือน จำนวน 100 คน
0.00 0.00 150 100 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • แกนนำครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรมวันศุกร์ (อบรมจริยธรรม) จำนวน 100 คน มาเข้าร่วมรับฟังการบรรยายธรรมของผู้นำศาสนา (โต๊ะอิหม่ามยูโสบ  ดารากัย) โดยมีผู้ใหญ่บ้าน นายสมชาย บุญเทียม ช่วยอำนวยความสะดวกและชี้แจงโครงการ โดยเนื้อหาสาระสำคัญของการบรรยายธรรม ได้แก่
  1. เรื่องมุสลิมกับการรักษาความสะอาดสอดคล้องกับหลักการอิสลาม
  2. การปฏิบัติตัวต่อบิดามารดา
  3. การมีส่วนร่วมช่วยเหลือมุสลิมด้วยกัน และการส่งเสริมดูแลมัสยิด
  • มีการประชาสัมพันธ์โครงการและประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้ทุกครัวเรือนเข้ากิจกรรมประกวดบ้านน่าอยู่ โดยการประกาศในวันศุกร์ และวันประชุมของเดือน ในเดือนมีนาคม 2558  ซึ่งเป็นการประกาศประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย โดยนายเกษม  บัวสหมัด ซึ่งเป็นโฆษกประจำหมู่บ้าน และกรรมการชุมชนช่วยประกาศให้ สามารถสร้างกระแสให้ชุมชนมีการตื่นตัว ในการเข้าร่วมกิจกรรมประกวดบ้านน่าอยู่
  • นัดทีมงานในการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้เข้าร่วมในครั้งต่อไป เพื่อให้ทราบโดยทั่วกันทั้งหมู่บ้าน และแจ้งให้เยาวชนต้นกล้าตาวิเศษ ไปช่วยประชาสัมพันธ์อีกครั้ง ทำให้เกิดการประสานงานระหว่างชุมชน ผู้นำศาสนา กรรมการชุมชน แกนนำครัวเรือน และเยาวชนต้นกล้าตาวิเศษ ในการจัดกิจกรรม
  1. อสม.จำนวน 7 คน
  2. ผู้นำศาสนาจำนวน1 คน
  3. ครูโรงเรียนบ้านหินลาด จำนวน1 คน
  4. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจำนวน 1 คน

รวม 10 คน

4,000.00 4,000.00 6 10 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรมมีการปรับเกณฑ์การประกวดให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น ซึ่งใช้เครื่องมือแบบประเมินบ้านน่าอยู่ จะแบ่งระดับการให้คะแนน เป็น 0-5-10 และข้อ 9 เป็น 20 คะแนน
รวมเป็นคะแนนเต็ม 100 คะแนน โดยรอบแรก คณะกรรมการซึ่งเป็นอสม.ในหมู่บ้านคู่พันธมิตรได้เป็นคณะกรรมการประเมินรอบที่ 1 ได้แก่

  1. นางสมใจบุญมาเลิศประธานชมรม อสม.รพ.สต.เตรียม เป็นประธานกรรมการชุดที่ 1
  2. นางอรุณศรีแสงประธานอสม.หมู่ที่ 12 บ้านสวนใหม่เป็นกรรมการชุดที่ 1
  3. นางสายใจวิเชียรสร้าง รองประธานอสม.หมู่ที่ 3 บ้านหินลาดเป็นกรรมการชุดที่ 1

และกรรมการประเมินชุดที่ 2 ได้แก่

  1. นายวุฒิชัยปุณณมีครูโรงเรียนบ้านหินลาดประธานกรรมการชุดที่ 2
  2. นายสันติโต๊ะหมีด ครูสอนศาสนาอิสลาม โรงเรียนสันติธรรมวิทยา เป็นกรรมการชุดที่ 2
  3. นายศักดิ์ชายเรืองศรีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเตรียม เป็นกรรมการชุดที่ 2


    ตัวอย่าง แบบประเมินบ้านน่าอยู่ “โครงการพันธมิตรพิชิตขยะ บ้านบางหละจัดการตนเอง” ปี 2558

รอบที่.......วันที่...เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2558

ชื่อเจ้าของบ้าน............บ้านเลขที่....หมู่ที่..ตำบลคุระ อำเภอคุระบุรี จ.พังงา

เกณฑ์การประเมิน
1.การกำจัดขยะมูลฝอยในบริเวณบ้าน

  • ไม่มีการกำจัดขยะมีขยะรกรุงรังทั้งในและนอกบ้าน 0 คะแนน
  • มีการกำจัดขยะ คัดแยกขยะ แต่ไม่มีถังขยะประจำบ้าน 5 คะแนน
  • มีการกำจัดขยะ คัดแยกขยะ และมีถังขยะที่มีฝาปิดเรียบร้อย 10 คะแนน
  • วิธีการ: ตรวจดูบริเวณภายในและนอกบ้าน

2.การกำจัดน้ำเสียจากบ้านเรือน

  • ไม่มีการกำจัดน้ำเสียมีน้ำไหลเฉอะแฉะส่งกลิ่นเน่าเหม็น 0 คะแนน
  • ไม่มีการกำจัดน้ำเสียแต่ไม่มีน้ำเฉอะแฉะ ส่งกลิ่นเน่าเหม็น 5 คะแนน
  • มีระบบการกำจัดน้ำเสียที่ดีไม่ทิ้งน้ำลงในแหล่งน้ำสาธารณะ10 คะแนน
  • วิธีการ:ตรวจดูการระบายน้ำเสียจากห้องน้ำและห้องครัว

3.การกำจัดมูลสัตว์

  • ไม่มีการแยกคอกสัตว์จากตัวบ้านมีมูลสัตว์ส่งกลิ่นเหม็น 0 คะแนน
  • มีการแยกคอกสัตว์จากตัวบ้านแต่ยังมีมูลสัตว์ในบริเวณบ้าน 5 คะแนน
  • มีการแยกคอกสัตว์ และไม่มีมูลสัตว์ในบริเวณบ้าน 10 คะแนน
  • วิธีการ: ตรวจจากคอกสัตว์และการกำจัดมูลสัตว์

4.การกำจัดสิ่งปฏิกูล

  • ไม่มีส้วมประจำบ้าน0 คะแนน
  • มีส้วมประจำบ้านแต่ไม่สะอาดไม่เพียงพอ และไม่ปลอดภัย 5 คะแนน
  • มีส้วมประจำบ้านสะอาดเพียงพอ และปลอดภัย 10 คะแนน
  • วิธีการ: ตรวจดูห้องส้วมสะอาด และปลอดภัยไม่ลงในแหล่งน้ำสาธารณะ

5.การสุขาภิบาลอาหาร

  • ห้องครัวไม่เป็นระเบียบปรุงอาหารไม่สะอาดใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มี อย. 0 คะแนน
  • ห้องครัวเป็นระเบียบ ปรุงอาหารสะอาดแต่ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีอย.5 คะแนน
  • ห้องครัวเป็นระเบียบ ปรุงอาหารสะอาดและใช้ผลิตภัณฑ์ที่มี อย. 10 คะแนน
  • วิธีการ: ตรวจดูการจัดห้องครัวให้สะอาดเป็นระเบียบใช้ผลิตภัณฑ์ อย. เก็บช้อน/ภาชนะถูกต้อง

6.การป้องกันและควบคุมโรค

  • ไม่มีการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อพบลูกน้ำ แมลงวัน หนู แมลงสาบ 0 คะแนน
  • มีการป้องกันและควบคุมโรคแต่ยังพบลูกน้ำ หรือสัตว์นำโรค5 คะแนน
  • มีการป้องกันและควบคุมโรคไม่พบลูกน้ำและสัตว์นำโรคเลย 10 คะแนน
  • วิธีการ:ตรวจดูแหล่งรังโรคทั้งภายในและบริเวณนอกบ้านไม่พบลูกน้ำแมลงวัน/แมลงสาบ

7.การจัดหายาและสมุนไพรที่จำเป็นไว้ใช้ประจำบ้าน

  • ไม่มีการปลูกสมุนไพรหลัก 5 ชนิดและไม่มีตู้ยาสามัญประจำบ้าน 0 คะแนน
  • มีการปลูกสมุนไพรหลัก 5 ชนิดหรือตู้ยาสามัญประจำบ้านเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง 5 คะแนน
  • มีการปลูกสมุนไพรหลัก 5 ชนิดและมีตู้ยาสามัญประจำบ้าน 10 คะแนน
  • วิธีการ:มีสมุนไพรหลัก 5 ชนิด ฟ้าทะลายโจร/ชุมเห็ดเทศ/ขมิ้นชัน/ว่านหางจระเข้/เสลดพังพอน

8.การส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

  • ไม่มีการปลูกผักสวนครัวและเลี้ยงสัตว์ไว้บริโภค0คะแนน
  • มีการปลูกผักสวนครัว หรือเลี้ยงสัตว์ไว้บริโภคเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง 5 คะแนน
  • มีการปลูกผักสวนครัว/เลี้ยงสัตว์/การออม/ลดรายจ่าย/เพิ่มรายได้ ฯลฯ 10คะแนน
  • วิธีการ: ตรวจดูการปลูกผักสวนครัวและการเลี้ยงสัตว์ไว้บริโภค

9.การปรับภูมิทัศน์ที่พักอาศัย

  • ไม่มีการตกแต่งบริเวณบ้านให้ดูสวยงาม 0 คะแนน
  • มีการตกแต่งบริเวณบ้านให้เป็นระเบียบดูสวยงาม 5 คะแนน
  • มีการตกแต่งบริเวณบ้านให้เป็นระเบียบดูสวยงามและมีรั้วบ้าน 10 คะแนน
  • มีการตกแต่งบริเวณบ้านให้เป็นระเบียบดูสวยงาม มีรั้วบ้านและมีป้ายชื่อหน้าบ้าน 15 คะแนน
  • มีการตกแต่งบริเวณบ้านสวยงาม/มีรั้ว/ป้ายชื่อและมีการประดับธงสัญลักษณ์ 20 คะแนน
  • วิธีการ : ตรวจดูบริเวณบ้านให้สะอาดเป็นระเบียบดูสวยงาม มีรั้วบ้าน ป้ายชื่อหน้าบ้าน และมีการประดับประดาธงชาติและธงสัญลักษณ์หน้าบ้านอย่างเหมาะสม

สรุปผลการประเมิน (รวมคะแนน) 100

หมายเหตุ

  • ประเมินรอบที่ 1 ในช่วงเดือน สิงหาคม 2558 บ้านที่ผ่านการประเมินรอบที่ 1 จะได้รับธงสีเขียวสัญญลักษณ์บ้านน่าอยู่และบ้านที่ได้
  • คะแนนประเมินสูงสุด 10 อันดับแรกจะส่งเข้าประเมินในรอบที่สอง เพื่อมอบของรางวัลและเกียรติบัตรให้แก่เจ้าของบ้านในเดือนกันยายน 2558

มีคณะกรรมการประเมินบ้านน่าอยู่ ชุดที่ 1

  1. นางสมใจบุญมาเลิศ ประธานอสม.รพ.สต.เตรียม
  2. นางอรุณลดาพรศรีแสง ประธาน อสม.หมู้ที่ 12 บ้านสวนใหม่
  3. นางสายใจวิเชียรสร้าง อสม.หมู่ที่ 3 บ้านหินลาด
3,000.00 3,000.00 3 175 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากผลการจัดกิจกรรมประกวดบ้านน่าอยู่ โดยมีคณะกรรมการชุดที่ 1 ประเมิน พบว่า มีบ้านที่เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 165 หลัง คิดเป็นร้อยละ 70.48 ของจำนวนบ้านทั้งหมด 227 หลังโดยมีหมู่บ้านคู่พันธมิตรคือ บ้านหินลาด ซึ่งเป็ู่นหมู่บ้านที่อยู่ติดกันซอยเดียวกันเข้าร่วมจำนวน 10 หลังคาเรือน และมีการมอบธงสีเขียวให้กับบ้านที่เข้าร่วมกิจกรรมบ้านน่าอยู่

  1. บ้านที่ผ่านเกณฑ์ประเมิน ตั้งแต่ 70 คะแนนขึ้นไป จำนวน 70 หลัง คิดเป็นร้อยละ 42.42 ในรอบที่ 1และ รอบที่ 2 เหลือ 19 หลัง เพื่อตัดสินในรอบสุดท้าย

  2. เกิดกระแสการตกแต่งบ้าน จัดทำกระบอกไม้ไผ่ ออมสิน และการประยุกต์วัสดุเหลือใช้มารีไซเคิลให้เกิดประโยชน์
    ในชุมชน

  3. มีสภาพแวดล้อมที่ดีและสะอาดมากยิ่งขึ้น

คณะกรรมการประเมินการประกวดบ้าน

  1. ครูโรงเรียนบ้านหินลาด 1 คน
  2. ผู้นำศาสนา 1 คน
  3. เจ้าหน้าที่สาธารณสุข1 คน

รวม 3 คน

3,000.00 3,000.00 3 3 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลสรุปจากการจัดกิจกรรมประกวดบ้านน่าอยู่

  1. บ้านที่ผ่านเกณฑ์ประเมิน รอบสุดท้าย ตั้งแต่ 75 คะแนน ขึ้นไป จำนวน 19 หลังคาเรือน

  2. คัดเลือกและจัดลำดับบ้านที่ได้รับรางวัล ซึ่งปรับมูลค่าของรางวัลให้มี 15 รางวัล และมีการสนับสนุนเพิ่มของรางวัลใหญ่ให้กับบ้านที่เข้ารอบชิง จำนวน4 รางวัล โดยได้รับการสนับสนุนจาก

  • นายสมชาย บุญเทียม ผู้่ใหญ่บ้านสนับสนุนของรางวัล 500 บาท
  • นายศักดิ์ชาย เรืองศรี เจ้าหน้าที่สาธารณสุข สนับสนุนของรางวัล 500 บาท
  • นางฉวีวรรณ์ ครองวิธี ประธาน อสม. รพ.สต.เตรียม สนับสนุนของรางวัล 500 บาท
  • นางนาซีเราะห์ มะและ ครูสอนศาสนาอิสลามโรงเรียนสันติธรรมวิทยา สนับสนุนของรางวัล 500 บาท รวมเป็นเงิน 2,000 บาท เพื่อจัดสรรเป็นรางวัลที่ 1-4
  • คณะกรรมการประเมินบ้าน รอบที่ 2
  • ผู้รับผิดชอบโครงการ 3 คน
3,000.00 3,000.00 6 6 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีการร่วมกันประเมินและตัดสินบ้านที่ชนะการประกวดบ้านน่่าอยู่และการนัดมอบเกียรติบัตรและของรางวัลในกิจกรรมครั้งต่อไป เพื่อให้ผู้ใหญ่บ้านได้มอบของรางวัลและเกียรติบัตร
2.3.1 นวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ

(นวัตกรรมคือ การจัดการความคิด กระบวนการ ผลผลิต และ/หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสม มาใช้งานให้เกิดประสิทธิผล และ/หรือประสิทธิภาพมากกว่าเดิมอย่างชัดเจน)

ชื่อนวัตกรรมคุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรมผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์
กองทุน 3R ต้นกล้าตาวิเศษ

สร้างกระบวนการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม โดยใช้แกนนำเยาวชนตาวิเศษ

เกิดการจัดการขยะอย่างเป็นระบบ

2.3.2 โครงการเด่น (Best Practice)

(โครงการเดิ่น คือ โครงการสร้างเสริมสุขภาพให้สัมฤทธิ์ผลที่เป็นรูปธรรมแล้วขยายผลอย่างยั่งยืน โดยแนวคิดกระบวนการ และผลงาน สามารถเป็นตัวอย่างที่จะนำไปขยายผลในชุมชน (Setting) อื่น ๆ ได้ การดำเนินงานมีส่วนร่วมของภาคีที่หลากหลาย มีการบริหารจัดการที่ดี โปร่งใสและตรวจสอบได้)

ชื่อ Best Practiceวิธีการทำให้เกิด Best Practiceผลของ Best Practice / การนำไปใช้ประโยชน์
2.3.3 เกิดแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการสร้างเสริมสุขภาพในประเด็นต่าง ๆ
ชื่อ-สกุลที่อยู่ติดต่อได้สะดวกคุณสมบัติแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลง
2.3.4 มีสภาพแวดล้อมและปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพ

เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพในชุมชนพื้นที่โครงการดังนี้

สถานที่/พื้นที่ ที่เปลี่ยนแปลงรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

ส่วนที่ 3 : ปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงาน

3.1 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเด็นปัญหา/อุปสรรคการแก้ไขของผู้รับทุนข้อเสนอแนะ/การแก้ไขปัญหาและการเสริมพลังของผู้ติดตาม
3.2 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเภทความเสี่ยง / ปัจจัยเสี่ยงระดับความเสี่ยง
(จากมากไปหาน้อย)
ข้อมูล ข้อสังเกตุ และข้อคิดเห็นของผู้ติดตาม
3210
1. ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน (Operational Risks)
1.1 โครงสร้างการดำเนินงาน

มีโครงสร้างการดำเนินงานที่ชัดเจน

1.2 ศักยภาพและทักษะการดำเนินงาน

ขาดประสบการณ์

1.3 ผลลัพธ์และผลสำเร็จของการดำเนินงาน

มีคณะกรรมการจัดการขยะที่ประกอบด้วยตัวแทนจากชุมชนมีความเข้าใจและเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการดำเนินงานโครงการ

2. ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risks)
2.1 ระบบและกลไกการบริหารจัดการ

ผู้รับผิดชอบโครงการยังไม่ค่อยเข้าใจและประสบการณ์เกี่ยวกับระบบการบริหารจัดการโครงการ ต้องอาศัยพี่เลี้ยงและการเรียนรู้

2.2 การใช้จ่ายเงิน

ใช้จ่ายจริงตามโครงการ

2.3 หลักฐานการเงิน

ผู้รับผิดชอบโครงการยังไม่ค่อยเข้าใจและประสบการณ์เกี่ยวกับระเบียบการเงินและการบัญชี

ผลรวม 0 0 3 0
ผลรวมทั้งหมด 3 ระดับความเสี่ยง : ???
เกณฑ์วัดระดับความเสี่ยง ???
สรุปการแก้ไขความเสี่ยง แก้ไขแล้ว ยังไม่ได้แก้ไข

ส่วนที่ 4 : สรุปความเห็นของผู้ติดตาม

ส่วนที่ 4สรุปความเห็นของผู้ติดตาม
4.1 กรณีเบิกเงินงวด/ติดตามเยี่ยมชม มีแนวโน้มสำเร็จตามเป้าหมายโครงการและติดตามปกติ
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

มีแนวโน้มสำเร็จตามเป้าหมายโครงการ

มีแนวโน้มเสี่ยง ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจาก
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

 

มีความเสี่ยง ต้องยุติโครงการ เนื่องจาก
4.2 กรณีสรุปปิดโครงการ ดำเนินงานได้ตามแผนปฏิบัติการและสามารถปิดโครงการได้
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

ดำเนินงานได้ตามแผนและสามารถปิดโครงการได้

ไม่เป็นไปตามแผนปฏิบัติการ ให้ดำเนินการจัดระบบการเงิน ระบบรายงานให้ถูกต้องก่อนปิดโครงการ
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

 

ส่วนที่ 5 : สรุปภาพรวมของการติดตามประจำงวด (ข้อสังเกต/สิ่งดีๆ ที่ค้นพบ/ข้อพึงระวัง/บทเรียนที่ได้)

ชุมชนตื่นตัวที่จะเข้าร่วมกิจกรรม ดำเนินกิจกรรมได้ตามแผน

สร้างรายงานโดย ศักดิ์ชาย เรืองศรี