แบบบันทึกการติดตามสนับสนุนโครงการ ครั้งที่ 3

รหัสโครงการ 58-03996
สัญญาเลขที่ 58-00-1910

ชื่อโครงการ ร่วมมือร่วมใจสร้างระบบอาหารปลอดภัยบ้านหนองเพ็ง
รหัสโครงการ 58-03996 สัญญาเลขที่ 58-00-1910
ระยะเวลาตามสัญญา 15 กันยายน 2015 - 15 ตุลาคม 2016

ส่วนที่ 1 : ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม

1.1 ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 1 ถาวร คงศรี
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 2
วันที่ลงพื้นที่ติดตาม 28 กันยายน 2016
วันที่ส่งรายงานถึง สสส. 15 ตุลาคม 2016
1.2 ผู้ให้ข้อมูล
ลำดับชื่อ-สกุลผู้ให้ข้อมูลที่อยู่หมายเลขโทรศัพท์
1 ถาวรคงศรี 135 ม.7 ต.นาท่อม อ.เมือง จ.พัทลุง 0980178131

ส่วนที่ 2 : ข้อมูลโครงการและความก้าวหน้าการดำเนินงาน

2.1 วัตถุประสงค์และตัวชี้วัดความสำเร็จโครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1.

มีสภาผู้นำชุมชนเข้มแข็ง

1 มีสภาผู้นำชุมชนอย่างน้อย 23 คน

2 มีการประชุมอย่างน้อยเดือนละ1 ครั้ง

3 แต่ละครั้งมีผู้เข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าร้อยละ80

4 การประชุมแต่ละครั้งมีการปรึกษาหารือเรื่องโครงการร่วมมือร่วมใจสร้างระบบอาหารปลอดภัยและเรื่องอื่นๆของชุมชนด้วย

2.

1.เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมเรียนรู้การจัดการข้อมูลระบบอาหารปลอดภัยของชุมชน

1.1มีชุดข้อมูลการสำรวจชุมชนอาหารปลอดภัยบ้านหนองเพ็ง จำนวน 1 ชุด

1.2 ผู้แทนครัวเรือนอย่างน้อยร้อยละ 80 รับรู้ข้อมูลจากการสำรวจเรื่องอาหารปลอดภัย

1.3 ครัวเรือนต้นแบบ70 ครัวเรือนได้รับการอบรมเรื่องการผลิตเกษตรอินทรีย์และมาตรฐานอาหารปลอดภัย

1.4 มีมาตรฐานอาหารปลอดภัย 3กลุ่มย่อย ได้แก่ กลุ่มผลิตปุ๋ย กลุ่มปลูกผัก และกลุ่มเลี้ยงสัตว์อินทรีย์

1.5 ชุดความรู้ที่ได้จากการถอดบทเรียนชุมชนบ้านหนองเพ็ง1 ชุดไว้เผยแพร่

3.

2.เพื่อหนุนเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดระบบจัดการการผลิต อาหารปลอดภัยให้เพียงพอกับบ้านหนองเพ็ง

2.1. มีสถานที่จำหน่ายอาหารที่ได้รับการรับรองความปลอดภัยจากมาตรฐานของชุมชนอย่างน้อย 1 ครั้งต่ออาทิตย์

2.2 พัฒนาโรงเรียนบ้านท่าแคเป็นศูนย์เรียนรู์เพื่อผลิตอาหารปลอดภัยเป็นอาหารกลางวันเด็กในโรงเรียน

2.3.มีสื่อมโนราห์เด็กและเยาวชนเพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องอาหารปลอดภัยเป็นสื่อเฝ้าระวังขยายผล งานด้านสุขภาพของชุมชน อย่างน้อย 1 ชุด

2.4. มีการสุ่มตรวจความสะอาด สารปนเปื้อนในร้านค้า ในตลาด อย่างต่อเนื่องทุก 4 เดือน 3 ครั้ง

4.

เพื่อให้คนในชุมชนเรียนรู้กระบวนการผลิตอาหารปลอดภัยในชุมชนบ้านหนองเพ็ง

1.มีครัวเรือนเรียนรู้ผลิตอาหารปลอดภัยเป็นต้นแบบของชุมชนอย่างน้อย 70 คน/ครัวเรือน

2.ครัวเรือนต้นแบบมีความรู้การผลิตอาหารปลอดภัยจากการอบรม 2 หลักสูตรของ สสส. คือ หลักสูตรการผลิตเกษตรอินทรีย์ และหลักสูตรมาตรฐานอาหารปลอดภัย

3.ชุมชนมีการเรียนรู้ทบทวนแผนชุมชนบ้านหนองเพ็ง เพื่อกำหนดแผนการผลิตอาหารปลอดภัยของชุมชนอย่างน้อย 1 ครั้ง

5.

เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

  1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด
  2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม
  3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม
  4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด
2.2 ความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ
กลุ่มเป้าหมายงบประมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงปริมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพ/สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ
ที่ตั้งไว้(บาท)เกิดขึ้นจริง(บาท)จำนวนที่ตั้งไว้(คน)จำนวนเกิดขึ้นจริง(คน)

กิจกรรมหลัก : หนุนเสริมพัฒนาโรงเรียนท่าแคเป็นศูนย์เรียนรู์ เพื่อผลิตอาหารปลอดภัยเป็นอาหารเด็กในโรงเรียนi

10,040.00 32 ผลผลิต

สภาผู้นำหนุนเสริมกิจกรรมเพื่อให้โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ผลิตอาหารปลอดภัยในโรงเรียนบ้านท่าแค และใช้ผลผลิตเป็นอาหารในโรงเรียน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

มีแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ผลิตอาหารปลอดภัยใช้เป็นอาหารกลางวันในโรงเรียน

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

เด็กวัยเรียน 30 คน วัยทำงาน 2 คน

10,040.00 10,040.00 32 32 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้นำชุมชนและตัวแทนสภาผู้นำขับเคลื่อน 2 คน มาสาธิตและให้ความรู้เด็กนัเรียนโรงเรียนบ้านท่าแค (วันครู 2500)  เพื่อสนับสนุนโครงการร่วมมือร่วมใจสร้างอาหารปลอดภัยบ้านหนองเพ็ง 2 กลุ่ม คือ     1.  การสาธิตการทำปุ๋ย และน้ำหมักชีวภาพ     2.  จัดทำแปลงปลูกผักปลอดสารพิษในโรงเรียนบ้านท่าแค(วันครู 2500)
  • ปุ๋ยที่ใช้ในการสาธิตแก่เด็กนักเรียนนั้นใงช้ปุ๋ยที่ได้จากมูลสัตว์ และน้ำหมักชีวภาพที่ได้จากการหมักของเศษพืชผักที่เน่าเสียแล้ว รวมทั้งการนำเชื้อไตรโคเดอร์มามาหมักทำปุ๋ยชีวภาพด้วย
  • พัฒนาให้มีศูนย์เรียนรู้ ตามแนวทางหลักเศรษฐกิจพอเพียง ให้เด็กนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจการทำเกษตรอินทรีย์และมาตราฐานอาหารปลอดภัยในโรงเรียน และพัฒนาโรงเรียนบ้านท่าแค (วันครู 2500) ให้เป็นศูนย์เรียนรู้เพื่อผลิตอาหารปลอดภัย เป็นอาหารของเด็กในโรงเรียน

กิจกรรมหลัก : กิจกรรมรณรงค์ เปิดตลาดอาหารปลอดภัยบ้านหนองเพ็ง เดือนละ 4 ครั้ง/งานรณรงค์สร้างกระแสบริโภคอาหารปลอดภัย 4 เดือน 1 ครั้งจำนวน3ครั้งi

26,360.00 100 ผลผลิต

งานรณรงค์เปิดตลาดอาหารปลอดภัยบ้านหนองเพ็ง เพื่อสร้างกระแสการบริโภคอาหารปลอดภัย โดยสภาผูนำ


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ชุมชนสื่อสารโครงการร่วมมือร่วมใจสร้างระบบอาหารปลอดภัยบ้านหนองเพ็ง ให้กับประชาชนในตำบลท่าแคได้เกิดความตระหนัก โดยมีหลายหน่วยงานเข้าร่วม ได้แก่ เทศบาลตำบลท่าแคเกษตรตำบลท่าแครพสต.บ้านไพ นักเรียนร่วมเรียนรู้ เป็นหน่วยงานเกี่ยวข้องเกึ่ยวกับการจัดการสุขภาพทั้งสิ้น สามารถต่อยอด ขยายผลในระดับนโยบายได้

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 3 ครั้ง

เด็กเล็ก 15 คน
เด็กวัยเรียน 20 คน วัยทำงาน 35 คน ผู้สูงอายุ 30

0.00 0.00 100 100 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีงานรณรงค์เปิดตลาดอาหารปลอดภัยบ้านหนองเพ็ง เพื่อสร้างกระแสการบริโภคอาหารปลอดภัย โดยสภาผูนำ
  • ชาวบ้านชุมชนหมู่ที่ 4 มีอาหารที่ปลอดภัยและยังได้รับความรู้ผ่านสื่อการแสดงมโนราห์เด็กและเยาวชนในการนำเสนอเพื่อขยายผลสนับสนุนโครงการร่วมมือร่วมใจสร้างอาหารปลอดภัยบ้านหนองเพ็ง
  • เจ้าหน้าที่ทั้งจากเทศบาลตำบลท่าแค และ เจ้าหน้าที่จาก รพสต. มาร่วมให้ความรู้สนับสนุนเพิ่มเติมแก่ชาวบ้านชุมชนหมู่ที่ 4 บ้านหนองเพ็ง  ผลที่ได้ชาวชุมชนหมุ่ที่ 4 ให้ความสนใจหันมาดูแลสุขภาพมากยิ่งขึ้น

เด็กวัยเรียน 20 คน วัยทำงาน 35 คน ผู้สูงอายุ 30 คน

19,360.00 19,360.00 100 85 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีงานรณรงค์เปิดตลาดอาหารปลอดภัยบ้านหนองเพ็ง เพื่อสร้างกระแสการบริโภคอาหารปลอดภัย
  • ชาวบ้านชุมชนหมู่ที่ 4 บ้านหนองเพ็งตื่นตัวสร้างอาหารที่ปลอดภัยไว้บริโภค และยังได้รับความรู้ผ่านสื่อการแสดงมโนราห์เด็กและเยาวชนในการนำเสนอเพื่อขยายผลโครงการร่วมมือร่วมใจสร้างอาหารปลอดภัยบ้านหนองเพ็ง
  • เจ้าหน้าที่ทั้งจากเทศบาลตำบลท่าแค และ เจ้าหน้าที่จาก รพสต. มาร่วมให้ความรู้สนับสนุนเพิ่มเติมแก่ชาวบ้านชุมชนหมู่ที่ 4
  • ชาวชุมชนหมุ่ที่ 4 และชุมชนใกล้เคียง ให้ความสนใจหันมาดูแลสุขภาพมากยิ่งขึ้น

เด็กเล็ก 15 คน เด็กนักเรียน 20 คน วัยทำงาน 35 คน ผู้สูงอายุ 30 คน

7,000.00 0.00 100 100 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีงานรณรงค์เปิดตลาดอาหารปลอดภัยบ้านหนองเพ็ง เพื่อสร้างกระแสการบริโภคอาหารปลอดภัย ขึ้น 3 ครั้ง
  • ชาวบ้านชุมชนหมู่ที่ 4 มีอาหารที่ปลอดภัยไว้บริโภค และยังได้รับความรู้ผ่านสื่อการแสดงมโนราห์เด็กและเยาวชนในการนำเสนอเพื่อขยายผลสนับสนุนโครงการร่วมมือร่วมใจสร้างอาหารปลอดภัยบ้านหนองเพ็ง
  • เจ้าหน้าที่ทั้งจากเทศบาลตำบลท่าแค และ เจ้าหน้าที่จาก รพสต. มาร่วมให้ความรู้สนับสนุนเพิ่มเติมแก่ชาวบ้านชุมชนหมู่ที่ 4
  • ชาวชุมชนหมุ่ที่ 4 ให้ความสนใจหันมาดูแลสุขภาพมากยิ่งขึ้น

กิจกรรมหลัก : ประชุมอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้งโดยมีวาระการประชุม จำนวน 12 ครั้งi

10,000.00 70 ผลผลิต

มีการประชุมสภาผู้นำร่วมกับประชุมหมู่บ้านอย่างน้อยเดือนละครั้งต่อเนื่อง


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

สามารถติดตามรายงานผลความก้าวหน้าของการขับเคลื่อนชุมชนได้จากรายงานการประชุม

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 13 ครั้ง

สภาแกนนำ 23 คน

830.00 830.00 23 23 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. สมาชิกสภาแกนนำได้รับรู้หน้าที่ของแต่ละคน
  2. สภาแกนนำมีความเข้าใจเรื่องรายละเอียดของโครงการ
  3. สภาแกนนำทั้ง 23 คน รับรู้ถึงที่มาของงบประมาณโครงการ
  4. สภาแกนนำได้ร่วมทำการกำหนดการนัดประชุมโครงการครั้งต่อไปคือวันที่ 10 พ.ย 2558
  5. ทำให้สภาแกนนำเกิดความตื้นตัวและเห็นความสำคัญของโครงการว่าต้องสร้างประโยชน์แก่ชุมชนอย่างแน่นอน

สภาแกนนำ  23 คน

830.00 830.00 23 23 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สภาแกนนำได้แบ่งกลุ่มเพื่อทำการสำรวจข้อมูลถึงจำนวนและพฤติกรรมการบริโภคของชาวบ้านและปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วในแต่ละครัวเรือนต่างๆ สภาแกนนำได้จัดกลุ่มเพื่อแสดงความคิดเห็นและได้ข้อสรุปถึงปัญหาของอาหารที่ไม่ปลอดภัยของชุมชนและได้รู้ถึงสาเหตุที่มาของปัญหาเหล่านั้น ซึ่งสามารถสรุปได้คือ ชาวบ้านเอาความสะดวกในการผลิตอาหารโดยการนำสารเคมีมาใช้ในขั้นตอนการปลูกผัก และไม่มีความพยายามที่จะใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการปลูกผัก

สภาแกนนำ 23 คน

800.00 800.00 23 23 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ผลสรุปจากกการบริโภคผักในหมู่บ้านและชุมชนประมาณ 123,126กิโลกรัม/ ปี แบ่งเป็น
    • ปลูกพืชผักกินเองในชุมชน 31 เปอร์เซ็น ปลอดสารพิษ ประมาณ 83 เปอร์เซ็นต์ ของพืชที่ปลูก
    • พืชผักที่ซื้อจากตลาด69 เปอร์เซ็นต์
  2. ผลสรุปการบริโภคเนื้อในหมู่บ้านและชุมชนประมาณ 18,469 กิโลกรัม / ปี แบ่งเป็น
    • เลี้ยงกินกินเอง 15 เปอร์เซ็นต์
    • ซื้อจากตลาด 85เปอร์เซ็นต์
  3. ผลสรุปการบริโภคข้าวสารในหมู่บ้านและชุมชนประมาณ 36,938 กิโลกรัม / ปี แบ่งเป็น
    • ปลูกกินเอง 78เปอร็เซ็นต์ปลอดสารพิษปร่ะมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ของข้าวที่ปลูก
    • ซื้อจากตลาดประมาณ 22 เปอร์เซ็นต์
  4. ผลสรุปการบริโภคสัตว์น้ำจืดและอาหารทะเลในหมู่บ้านและชุมชนประมาณ 73,876 กิโลกรัม / ปี แบ่งเป็น
    • เลี้ยงกินเองประมาณ 3 เปร์เซ็นต์
    • หากินเองจากแหล่งธรรมชาติประมาณ 19 เปอร์เซ็นต์
    • ซื้อจากตลาดประมาณ 78 เปอร์เซ็นต์
  • สภาแกนนำ 23 คน ร่วมหาวิธีการแก้ปัญหาและลดพฤติกรรมการบริโภคอาหารประเภทต่างๆ และนัดแนะเวลาในการประชุมครั้งต่อไป

สภาแกนนำ 23 คน

800.00 800.00 23 23 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ประชุมแก้ไขปัญหาที่สำรวจได้จาก 5 กลุ่มบ้านโดยที่ประชุมสรุปวิธีการแก้ไขปัญหาโดยแบ่งแนวทางเป็นประเภทดังนี้
  1. รณรงค์ให้ความรู้ผักแต่ละประเภทว่ามีประโยชน์อย่างไรรวมทั้งรณรงค์ให้มีการปลูกพืชกินเองแทนการซื้อจากท้องตาดครัวเรือนละไม่น้อยกว่า 10 ชนิด
  2. สภาแกนนำได้ทำการประชุมและลงเวรมีการลงมติว่าควรมีการจัดหาพื้นที่สำหรับปลูกผักปลอดสารเคมีเพือเป็นต้นแบบของการปลูกผักปลอดสารเคมี
  3. รณรงค์ให้ความรู้ในการเลี้ยงสัตว์เพื่อการบริโภคเอง เพื่อลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ในการซื้อเนื้อสัตว์ในท้องตลาด และรณรงค์การลดการบริโภคเนื้อสัตว์ในสัดส่วนที่เหมาะสม
  4. รณรงค์ให้มีการปลูกข้าวอินทรีย์เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี
  5. รณรงค์ให้ความรู้ในการเลี้ยงปลาน้ำจืดเพื่อบริโภคเองในครัวเรือนแทนการซื้อจากท้องตลาด
  6. สภาแกนนำและครัวเรือนต้นแบบได้ทำความเข้าใจในกิจกรรมให้ตรงกันเพื่อเป็นแนวทางในการประชุมครั้งต่อไป

สภาแกนนำ 23 คน

60.00 0.00 23 23 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. รายกิจกรรมที่ดำเนินการมาแล้วมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
  2. ได้มีการเตรียมความพร้อมในกิจกรรมครั้งต่อไป

สภาผู้นำชุมชน 23 คน

830.00 830.00 23 23 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอ นายปกร สงทอง และ นางจันญา วงศ์นิ่ม เจ้าหน้าที่เกษตรตำบลท่าแค ได้ทำการประชุมเพื่อเพิ่มความรู้ให้กับสภาผู้นำชุมชนทั้ง 23 คน ทำให้ทราบถึงที่มาของเกษตรสีเขียว คือ การผลิตเกษตรที่ปลอดภัยจากสารเคมี เรียกว่า เกษตรอินทรีย์ซึ่งเกษตรปลอดภัย GAP มี 9 หลักเพื่อลดต้นทุนและสร้างมูลค่าเพิ่มในการผลิตพืชคือ
1. ลดต้นทุนด้านการจัดการดินและเตรียมดิน 2. ลดต้นทุนด้านการจัดการพันธุ์พืช 3. ลดต้นทุนด้านการจัดการปุ๋ย 4. ลดต้นทุนด้านการจัดการศัตรูพืชและสารเคมี 5. ลดต้นทุนด้านแรงงานและเครื่องจักรกล 6. ลดต้นทุนด้านการปลูกพืชผสมผสาน 7. ลดต้นทุนด้านการเพิ่มผลผลิต 8. การสร้างมูลเพิ่ม 9. สร้างความมั่นคงด้วยปรัชญาของเศรษบกิจพอเพียง

เจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอได้ยกตัวอย่างพืชเกษตรของชุมชนบ้านหนองเพ็งที่สำคัญ คือ ข้าว โดยการนำวิธีทั้ง 9 หลักมาใช้และได้แนะจุดเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกับการเพาะปลุกข้าวรวมทั้งได้บอกแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการใช้สารเคมีในการเพาะปลุกข้าว หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอและสภาผู้นำได้ร่วมกันประชุมแต่งตั้งคณะกรรมการเกษตรสีเขียวในชุมชนบ้านหนองเพ็งขึ้นเพือเป็นการหนุนเสริมโครงการสร้างระบบอาหารปลอดภัยบ้านหนองเพ็ง ดังนี้
1. นายสมพงศ์ ชิตน้อยประธานกรรมการเกษตรสีเขียว 2. นายสรชัย หมวดมณีรองประธาน 3. นางหนูเจียม ตำปานรองประธาน 4. นางจิรภรณ์ ชูปาน เหรัญญิก 5. นางการุณ เมืองสงเลขาฯ 6. นายณรงค์ แก้วทองประชาสัมพันธ์ 7. นายคำนึง คงศรี กรรมการที่ปรึกษา 8. นางกัลยา แก้วทอง กรรมการที่ปรึกษา 9. นางจุรีภรณ์ จำนงค์ และสภาผู้นำที่เหลือทั้งหมดเป็น กรรมการ

สภาแกนนำจำนวน 23 คน

830.00 830.00 23 23 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

นายสรชัย หมวดมณี กล่าวเปิดการประชุม โดยในการประชุมครั้งนี้มี คือ นายสัมฤทธิ์ฤทธิ์ชู,นายอรรถสิทธิ์ทองร่วง และ น.สพัชนีกูล บุญแสง นักวิชาการและเจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอมาให้ความรู้และสอนวิธี เรื่องการทำเชื้อไตรโคเดอร์มาแก่ สภาแกนนำทั้ง 23 คน
เชื้อไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราที่สามารถป้องกันโรคของพืชได้ หรือที่นักวิชาการเรียกว่า เชื้อรากลุ่มอารักขาพืชซึ่งในชนุมชนบ้านหนองเพ็งสามารถนำไปใช้ได้กับพืชผักทุกชนิดได้จริง
วิธีการผลิตเชื้อไตรโคเดอร์มา

1.เตรียมอุปกรณ์ในการทำเชื้อ ดังนี้
-หัวเชื้อไตรโคเดอร์มาชนิดน้ำ (ชนิดผงใช้ไม่ได้) -หม้อหุงข้าวไฟฟ้า -ข้าวสาร (ใช้ปลายข้าวก็ได้) -แก้วน้ำิและทัพพีตักข้าว -ถุงพลาสติกใสทนร้อนได้ -ยางวง และเข็มเย็บผ้าหรือเข็มหมุด

2.หุงข้าวอย่าให้สุกเกินไป 1 หม้อ 3.ตักข้าวสุกในขระที่ข้าวยังร้อนใส่ถุงพลาสติก รีดอากาศออกจากถุง แล้วพับปากถุงลง ปล่อยทิ้งไว้จนข้าวอุ่น

4.เหยาะหัวเชื้อไตรโคเดอร์มาลงบนข้าวในถุงประมาณ 2-3 หยด ใช้ยางรัดปากถุงให้แน่น

5.ขย่ำหรือบีบข้าวในถุงเพื่อให้เชื้อกระจายอย่างทั่วถึง (จะเห็นเชื้อสีดำกระจายในข้าว)

6.รวบถุงให้พองลมตรงปากถุงที่รัดไว้ แล้วใช้เข็มแทงตรงรอบๆ ปากถุงที่รัดยางไว้ประมาณ 40 - 50 รู

7.กดข้าวในถุงให้แบนให้มากที่สุดแล้ววางถุงข้าวไว้ในที่อากาศถ่ายเทได้สะดวกอย่าให้ถูกแสงแดดดพราะเชื้อจะตาย

8.วางทิ้งไว้ 2 - 3 วันสังเกตุว่าจะมีสีเขียวๆ ที่ข้าว แสดงว่ามีเชื้อไตรโคเดอร์มาเกิดขึ้นแล้ว

9.ทิ้งไว้อีก 7 วัน ก้สามารถนำไปใช้กับพืชผักได้

  1. เมื่อครบ 7 วัน แลัวหากยังไม่นำไปใช้ให้เก้บแช่ไว้ในตู้เย็น มิฉนั้นเชื้อจะตาย

    วิธีการนำไปใช้

นำเชื้อที่ผลิตได้ไปละลายน้ำ ใช้รดพืชผักที่เราปลูก หรือผสมกับปุ๋ยคอกใช้รองพื้นก้นหลุมก่อนปลูก การใส่เชื้อในพืชผัก ให้ใส่ช่วงเย็นแล้วรดน้ำทันทีจะได้ผลดีที่สุด เพราะเชื้อจะไม่ตาย หลังจากเจ้าาหน้าที่จากเกษตรอำเภอได้ให้ความรู้และสาธิตการทำเชื้อไตรโคเดอร์มาแก่สภาแกนนำทั้ง 23 คน แล้ว ทางผู้ใหญ่บ้านก็ได้ทำการแจกจ่าย เชื้้อที่ทำได้ให้กับสภาแกนนำเพื่อนำไปทดลองใช้กับพืชผักในชุมชนบ้านหนองเพ็งต่อไป

จากนั้น นายสรขัย หมวดมณี ผู้ใหญ่บ้าน ได้กล่าวขอบคุณเจ้าหน้าที่จากเกษตรอำเภอและ กล่าวปิดการประชุม

สภาแกนนำ 23 คน

830.00 830.00 23 23 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

นายสรชัย หมวดมณี ได้เปิดการประชุมกับสภาแกนนำทั้ง 23 คน ในเรื่องดังต่อไปนี้
1.  ร่วมกันปรึกษาหารือเพื่อที่วางแผนให้ครัวเรือนต้นแบบปลูกผักปลอดสารพิษจำนวน 10 ชนิด เป็นอย่างน้อย เพื่อสนับสนุนโครงการศึกษาดูงานการทำปุ๋ยอินทรีย์ที่จุดเรียนรู้งานพัฒนาที่ดิน ส. พ.ข. 12 ที่อำเภอบางแก้ว โดยมีรายละเอียดดังนี้

-  เรืองการเตรียมพื้นที่ในการปลูกผักปลอดสารพิษ ซึ่งในที่ประชุมได้สรุปให้ใช้พื้นที่เดียวกันกับโรงเรียนบ้านท่าแค (วันครู 2500) ในการปลูกจำนวน 2 งาน -  ให้ปลูกพืชผักปลอดสารพิษจำนวน 10 ชนิด เป้นอย่างน้อย โดยให้สภาแกนนำเป็นผู้ดำเนินงาน -  กำหนดให้สมาชิกสภาแกนนำและครัวเรือนต้นแบบ ปลูกพืชผักปลอดสารพิษครัวเรือนละ10 ชนิดเป็นอย่างน้อยที่บ้านของแต่ละคน -  เมล้ดพันธุ์พืชผักที่ปลูกจะได้รับการสนับสนุนจากเกษตรอำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ในโครงการเกษตรสีเขียว -  กำหนดการดำเนินการในเดือน ก.ค 2559

2.  ติดตามผลจากการนำเชื้อไตรโคเดอร์มาที่สภาแกนนำนำไปใช้จริงกับพืชผักในชุมชนบ้านหนองเพ็ง ผลปรกฏว่า มีบางพื้นที่ที่เชื้อใช้ไม่ได้ผลกับพืชผัก ทางผู้นำจึงได้ทำการปรึกษากับเจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอถึงปัญหาที่เกิดขึ้้น จึงสามารถสรุปสาเหตุเบื้องต้นได้ คือ อาจเกิดปัญหาจากการจัดเก็บ เช่น แสงสว่างไม่เพียงพอ มีการขยับถุงเชื้อบ่อยเกินไป วางถุงข้าวในที่ร้อน และมีการเก็บเชื้อนานเกิน 7 วัน โดยไม่ได้เก็บในตู้เย็น เป็นต้น

สภาแกนนำ 23 คน ชาวบ้านหมู่ที่ 4 จำนวน 47 คน

830.00 830.00 70 70 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

นายสรชัย หมวดมณี ได้กล่าวเปิดประชุมแก่สภาแกนนำทั้ง 23 คน เพื่อสอบถามและติดตามผลในการประชุมวาระก่อน ซึ่งทางสภาแกนนำทั้ง 23 คน ได้ไปดำเนินการเรียบร้อยแล้ว ทั้งเรื่องการติดต่อพื้นที่การปลูกพืชปลอดสารพิษในพื้นที่เดียวกันกับโรงเรียนบ้านท่าแแค(วันครู 2500) รวมทั้งการไปประชาสัมพันธ์ให้ครัวเรือนต้นแบบปลูกพืชผักปลอดสารพิษครัวเรือนละ 2 ชนิด เป็นอย่างน้อย

จากนั้น นายสรชัย หมวดมณี ผู้ใหญ่บ้านได้ร่วมกับสภาแกนนำทั้ง 23 คนและชาวบ้านหมู่ที่ 4ปรึกษาหารือเรื่องโครงการต่างๆของหมู่บ้านในปีงบประมาณ 2559เป็นการทบทวนแผนชุมชน ดังนี้

  • ประชุมโครงการ สสส. ในเรื่องที่จะทำต่อไป
  • โครงการในหมู่บ้าน นโยบายประชารัฐของรัฐบาล
  • เรื่องนโยบายประชาคมการทำประชามติรัฐธรรมนูญ
  • การทำโครงการประชารัฐ หมู่บ้านละ 2 แสน ของหมู่บ้าน
  • วางแผนในการทำกิจกรรมครั้งต่อไป (เมื่องบประมาณเข้าแล้ว)

ผลการประชุมโครงการประชารัฐของหมู่บ้านที่ 4 นั้นได้ข้อสรุปว่า

  1. ในส่วนของหมู่ที่ 4 ฝั่งตะวันออกทำโครงการตลาดนัดใต้เลียบ
  2. ในส่วนของหมู่ที่ 4 ฝั่งตะวันตก ทำโครงการวางท่อระบายน้ำ

ซึ่งชาวบ้านได้ลงเสียงประชามติอย่างพร้อมเพียงกัน

วัยทำงาน  40 คน ผู้สูงอายุ 30 คน

830.00 830.00 70 70 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้ใหญ่บ้าน นายสรชัย หมวดมณีได้กล่าวชี้แจ้งรายละเอียดตัวโครงการเพื่อทำความเข้าใจกับชาวบ้านหมู่ที่ 4โดยได้อธิบายทำความเข้าใจในเรื่องการปฏิบัติงานและติดตามผลกิจกรรมต่างๆของโครงการที่ดำเนินไปแล้ว คือ

โครงการหมู่ที่ 4 ฝั่งตะวันออกเป็นโครงการส่งเสริมและปรับปรุงตลาดใต้เลียบ

  • ได้มีการทำความสะอาดในตลาดใต้เลียบใหม่ให้มีความสะอาดมากยิ่งขึ้นพื่อดึงดูดให้ลูกค้ามาซื้อสินค้าในชุมชนมากขึ้น
  • จัดสถานที่ปรับภูมิทัศน์ในการขายสินค้าในชุมชนให้เป็นสัดส่วนมากยิ่งขึ้นเพื่อความสะดวกในการจับจ่ายซื้อของของลูกค้า
  • รณรงค์ให้ชาวบ้านนำสินค้าที่ผลิตเอง เช่น พืชผักที่ปลอดสารพิษ มาจำหน่าย เพื่อสร้างความเชื่ออมั่นในการบริโภคให้กับลูกค้า

โครงการหมู่ที่ 4 ฝั่งตะวันตก เป็นโครงการขุดลอกคูเพื่อวางท่อระบายน้ำแก้ไขปัญหาน้ำท่วม

  • มีการนำรถและเครืองจักรมาทำการขุดลอกท่อเพื่อใช้ในการระบายน้ำในหมู่บ้าน จากนั้นผู้นำชุมชนได้ร่วมกับชาวบ้านหมู่ที่ 4 ปรึกษาหารือเพื่อวางแผนในกิจกรรมที่จะดำเนินในครั้งต่อไป

สภาแกนนำ 23 คน

830.00 830.00 70 23 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • สภาผูนำเทั้ง 23 คน สรุปการจัดกิจกรรมสภาผู้นำขับเคลื่อนชุมชนบ้านหนองเพ็งเพื่อจัดถอดเวทีบทเรียนชุมชนบ้านหนองเพ็งเพื่อผลิตอาหารปลอดภัย โดยในการจัดกิจกรรมนี้ผลที่ได้รับผลตอบรับที่ดีทำให้ชาวบ้านบ้านหนองเพ็งได้ตระหนักถึงการผลิตอาหารปลอดภัยเพื่อไว้บริโภคในชุมชน
  • ผู้นำชุมชนและกับสภาแกนนำร่วมปรึกษาเพื่อวางแผนในการจัดกิจกรรมรณรงค์เปิดตลาดอาหารปลอดภัยบ้านหนองเพ็งที่จะจัดขึ้นในวันที่ 26 สิงหาคม 2559 ซึ่งที่่ประชุมได้ระบุให้ใช้สถานที่ รร. บ้านท่าแค (วันครู 2500) ในการจัดกิจกรรมและใช้สือมโนราห์เด็กในการนำเสนอ

สภาแกนนำ 23 คน

830.00 830.00 23 23 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • สภาผู้นำทั้ง 23 คน สรุปการจัดกิจกรรมสภาผู้นำขับเคลื่อนชุมชนบ้านหนองเพ็งจัดถอดเวทีบทเรียนชุมชนบ้านหนองเพ็งเพื่อผลิตอาหารปลอดภัยบ้านหนองเพ็ง ครั้งที่ 2 โดยในการจัดกิจกรรมนี้ผลที่ได้รับผลตอบรับที่ดีทำให้ชาวบ้านบ้านหนองเพ็งได้เกิดตระหนักถึงการผลิตอาหารปลอดภัยที่เพียงพอเพื่อไว้บริโภคในชุมชน
  • ผู้นำชุมชนและกับสภาแกนนำร่วมปรึกษาเพื่อวางแผนในการจัดกิจกรรมรณรงค์เปิดตลาดอาหารปลอดภัยบ้านหนองเพ็ง ครั้งที่ 3 ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 21 กันยายน 2559 ซึ่งที่่ประชุมได้ระบุให้ใช้สถานที่ รร. บ้านท่าแค (วันครู 2500) ในการจัดกิจกรรมและใช้สือมโนราห์เด็กในการนำเสนอ

สภาแกนนำ 23 คน

870.00 930.00 23 23 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • นายสรชัย หมวดมณีประธานสภาผู้นำทั้ง 23 คน สรุปการจัดกิจกรรมสภาผู้นำขับเคลื่อนชุมชนบ้านหนองเพ็งจัด ก่ารจัดการผลิตอาหารปลอดภัยบ้านหนองเพ็งชาวบ้านบ้านหนองเพ็งได้ตระหนักถึงการผลิตอาหารปลอดภัยเพื่อไว้บริโภคในชุมชน
  • สภาผู้นำร่วมปรึกษาเพื่อวางแผนในการจัดกิจกรรมหนุนเสริมพัฒนา โรงเรียนบ้านท่าแค (วันครู 2500) เป็นศูนย์เรียนรู้ เพื่อผลิตอาหารปลอดภัยเป็นอาหารเด็กในโรงเรียน ในวันที่ 5 ตุลาคม 2559 ซึ่งในที่ประชุมได้กำหนดให้มีการส่งเสริมให้เป็นศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ผลิตอาหารปลอดภัย ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 2 กลุ่ม คือ1. การสาธิตทำปุ๋ยและนำ้หมักชีวภาพ2. จัดทำแปลงปลูกผักปลอดสารพิษในโรงเรียนบ้ารท่าแค (วันครู 2500)

กิจกรรมหลัก : สภาผู้นำขับเคลื่อนชุมชนบ้านหนองเพ็งจัดเวทีถอดบทเรียนชุมชนบ้านหนองเพ็งผลิตอาหารปลอดภัยi

7,375.00 103 ผลผลิต

ถอดบทเรียนจากการการให้ข้อมูลของผู้ใหญ่ ไม่สามารถถอดบทเรียนจากการมีส่วนร่วมของสภาผู้นำโรงเรียน ชุมชน ครัวเรือนต้นแบบ รพสต เทศบาล


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

สภาผู้นำบ้านหนองเพ็งได้สร้างกระแส การสร้างระบบการจัดการอาหารปลอดภัยบ้านหนองเพ็ง โดยสภาผู้นำสร้างครัวเรือนต้นแบบปลูกผักปลอดสารพิษเลี้ยงสัตว์อินทรีย์ ผลิตปุ๋ยอินทรีย์หนุนเสริมโรงเรียนผลิตอาหารปลอดภัยในโรงเรียนพัฒนาตลาดใต้เลียบเป็นตลาดเขียว ที่จำหน่ายอาหารปลอดภัยของชุมชน และมีการสื่อสารรณรงค์อย่างต่อเนื่องด้วยสื่อที่หลายอย่าง เช่น มโนราห์ บูทนิทรรศการ รถแห่

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

เด็กนักเรียน  30 คน วัยทำงาน 43 คน ผู้สูงอายุ 30 คน

7,375.00 0.00 103 103 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

นายวิสุทธิ์ ธรรมเพชร นายก อบจ. พัทลุง ได้มาเป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมงานวันนิยมไทย ซึงโรงเรียนบ้านท่าแค(วันครู2500) ร่วมกับผู้นำชุมชนจัดกิจกรรมขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักให้กับชุมชนบ้านหนองเพ็ง รวมทั้งสรุปโครงการนำเสนอต่อชุมชน
นายสรชัย หมวดมณีร่วมกับสภาแกนนำ ได้รายงานสรุปผลการดำเนินงานและบทเรียนที่ได้จากการดำเนินงานของโครงการร่วมร่วมใจสร้างอาหารปลอดภัยบ้านหนองเพ็ง  โดยรายงานข้อมูลผลการดำเนินงานโครงการของชุมชนบ้านหนองเพ็งผลิตอาหารปลอดภัยไปเผยแพร่ต่อชุมชน ในรูปแบบการจัดกิจกรรม และเวทีแลกเปลี่ยนการแสดงมโนราห์และเยาวชน รวมทั้งจัดนิทรรศการเพื่อความตระหนักถึงการผลิตและการบริโภคอาหารที่ปปลอดภัยของชุมชนบ้านหนองเพ็ง โดยจัดกิจกรรมในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือเป้นอย่างดีจากโรงเรียนบ้านท่าแค(วันครู2500)

กิจกรรมหลัก : สร้างมาตรการตรวจสอบอย่างต่อเนื่องi

13,760.00 73 ผลผลิต
  • ได้สื่อสารรณรงค์ อย่างเดี่ยวไม่ได้สร้างระบบการสตรวจสอบที่มีมาตรฐาน

ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  • ใช้การให้ความรู้จากหน่วยงานที่รับผิดชอบ ได้แก่ เทศบาลรพสต
  • มีเพียงการรณรงค์โดยสภาผู้นำ รถแห่ ป้ายรณรงค์
  • ยังไม่ใช้งบประมาณในการสร้างระบบการตรวจสอบจากความร่วมมือของหน่วยงานรับผิดชอบ การตรวจสอบผ่านเกณฑ์การประเมินแต่ด้านคุณภาพและมาตรฐานยังไม่ได้ต้องปรับ โดยการสร้างเกณฑ์มาตรฐานที่วัดได้และน่าเชื่อถือ

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

วัยทำงาน 43 คน ผู้สูงอายุ 30 คน

13,760.00 0.00 73 73 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้นำชุมชน นายสรชัย หมวดมณี คณะสภาผู้นำขับเคลื่อนบ้านหนองเพ็ง ทั้ง 23 คน ได้ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้สร้างมาตราฐานอาหารปลอดภัยของชุมชนบ้านหนองเพ็ง โดยมีหน่วยงานภาคีร่วมสนับสนุน คือ รพสต. บ้านไพย์เทศบาลตำบลท่าแคให้ความร่วมมีอ ร่วมกันกำหนดตรามาตราฐานให้กับตลาดและร้านค้าที่ผ่านการตรวจสอบ
ซึ่งชุมชนบ้านหนองเพ็งเป็นตลาดสดประเภทที่ 2ผ่านเกณฑ์ตลาดสดน่าซื้อระดับดี - ดีมาก , ร้านค้า/แผงลอยจำหน่ายอาหาร ผ่านเกณฑ์อาหารสะอาด รสชาติอร่อย คณะสภาผู้นำขับเคลื่อนบ้านหนองเพ็งทั้ง 23 คน ร่วมกับเจ้าหน้าที่จากรพสต. บ้านไพย์ ได้ทำการสุ่มตรวจความสะอาดของอาหารในตลาดชุมชนและแหล่งขายอาหารในชุมชนซึ่งตลาดและร้านนค้าในชุมชน ตลาดในชุมชนที่สุ่มตรวจความสะอาด คือ ตลาดใต้เลียบ หมุ่ที่4โดยทางคณะสภาผู้นำร่วมกับเจ้าหน้าที่ รพสต. ได้ออกตรวจสอบความสะอาดของตลาดใต้เลียบโดยรอบ ปรากฏว่าอาหารสะอาดมีความปลอดภัย อาหารสดปลอดภัยจากสารปนเปื้อน 6 ชนิด ได้แก่ 1.สารเเร่งเนื้อแดง2.สารบอแรกซ์3.สารฟอร์มาลีน4.สารฟอกขาว5.สารกันเชื้อรา6.ยาฆ่าแมลง จากการสุ่มตรวจตลาดใต้เลียบและร้านค้า ผ่านเกณฑ์ จึงได้ให้ตรามาตราฐานติดตามร้านค้าในตลาดใต้เลียบเพื่อแสดงว่า ตลาดใต้เลียบและร้านค้าได้รับมาตราฐานให้เป็นตลาดสดและร้านค้าประเภทที่ 1 ให้ผ่านเกณฑ์ตลาดสดน่าซื้อระดับดี - ดีมากหลังจากที่คณะสภาผู้นำและเจ้าหน้าที่่ รพสต. บ้านไพย์ ได้ร่วมกันออกตรวจความสะอาดของร้านค้าและตลาดใต้เลียบในชุมชนแล้วก็ได้นำสิ่งที่ได้จากการออกตรวจมาปรึกษาหารือเพื่อใช้วางแผนและแก้ไขปัญหาในครั้งต่อไปเพื่อที่จะพัฒนาให้เป็นตลาดสดประเภทที่ 1 อย่างต่อเนื่อง

ปัญหา

  • ปัญหาความร่วมมือเจ้าของร้านอาหาร และร้านค้าในตลาดใต้เลียบไม่ค่อยให้ความร่วมมือ แนวทางแก้ไข การให้ความรู้ของเจ้าหน้าที่จาก รพสต. และตัวแทนของคณะสภาผู้นำบ้านหนองเพ็งทำความเข้าใจเพิ่มเติม

กิจกรรมหลัก : การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตามi

10,000.00 2 ผลผลิต
  • สามารถเข้าร่วมประชุมกับ สสส. สจรส.มอ.ได้ทุกครั้ง
  • ให้ความร่วมมือกับทีมพี่เลี่ยงไม่สม่ำเสมอ

ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  • ทำให้การเคลื่อโครงการไปล่าช้า ทำกิจกรรมไม่ครบทุกกิจกรรม ผลงานขาดคุณภาพ

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 10 ครั้ง

ผู้รับผิดชอบโครงการและเจ้าหน้าที่การเงิน

1,000.00 1,588.00 2 0 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้รับความรู้จากการอบรมชี้แจงการบันทึกข้อมูลรายละเอียดเพื่อกำหนดกิจกรรมในปฏิทินโครงการและการบันทึกข้อมูลทางการเงินของโครงการลงบนเวปไซต์ได้อย่างสมบรูณ์

ตัวแทนสภาแกนนำ 3 คน - ประธานโครงการ 1 คน - ฝ่ายการเงิน 1 คน - เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล 1 คน

328.00 328.00 3 0 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ตัวแทนผู้เข้าอบรม 3 คน ได้รับการอบรมจากเจ้าหน้าที่ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม ในเรื่องการเขียนรายงาน,เอกสารการเงิน ,เอกสารการหักภาษี ณ ที่จ่าย , ใบสำคัญรับเงินและวิธีการกรอกข้อมูล ซึ่งผลจากการเข้าอบรมในครั้งนี้ทำให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการเขียนรายงานและเอกสารการเงินมากยิ่งขึ้น สามารถนำไปแก้ไขปรับปรุงกับกิจกรรมของโครงการอื่นๆให้ถูกต้องและดียิ่งขึ้นต่อไป

3 คน หัวหน้าโครงการ 1 คน ฝ่ายการเงิน 1 คน เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล 1คน

628.00 628.00 3 3 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • พี่เลี้ยงผู้ติดตามชี้แจงแนะนำการเพิ่มและแก้ไขการทำโครงการ
  • คณะตัวแทนที่เข้าร่วมประชุมได้ทำรายงารการเงิน พร้อมรับฟังการชี้แนะจากเจ้าหน้าที่
  • คณะตัวแทนที่เข้าร่วมประชุมได้รับรู้แนวทางในการแก้ไขและปรับปรุงการบันทึกข้อมุลโครงการ

ผู้นำโครงการ 1 คน ฝ่ายการเงิน 1 คน

2,000.00 1,600.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะตัวแทนสภาแกนนำของโครงการลงทะเบียนเข้าร่วมประชุมที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวน 2 คน เจ้าหน้าที่ สสส.สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตามตรวจสอบเอกสารทางการเงินและรายงานผลโครงการ คุณ เสนี ให้การบรรยายและแนะนำวิธีการลงบันทึก การกรอกเอกสาร และการเปลี่ยนแปลงปฎิทินของโครงการ เจ้าหน้าที่ สสส.สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตามตรวจสอบเอกสารทางการเงินและรายงานผลโครงการร่วมมือร่วมใจสร้างอาหารปลอดภัยบ้านหนองเพ็ง โดยมีการแนะนำให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรายละเอียดของเนื้อหาของแต่ละกิจกรรมรวมทั้งตรวจสอบเอกสารการลงใบสำคัญรับเงิน คณะตัวแทนสภาแกนนำของโครงการทำการแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลรายงานโครงการให้มีเนื้อหามากยิ่งขึ้นเพื่อเป็นแนวทางและใช้ประกอบในการปฎิบัติจริงของโครงการ

ผู้ใหญ่บ้าน/ผู้ช่วย/ประธานสภาเทศบาทตำบลท่าแค/ข้าราชการเกษียร ที่รวมกันเป็นสภาผู้นำ

0.00 0.00 4 5 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กิจกรรมที่เกิดขึ้น 1. มีสภาผู้นำจำนวน 23  คน 2. มีสมาชิกครัวเรือนต้นแบบ 73 คน
3. หลักสูตรทำปุ๋ยอินทรีย์ที่ใช้กันในชุมชน 4. เกิดครัวเรือนต้นแบบปลูกผัก 5. ตลาดนัดใต้เลียบ ตลาดนัดผักปลอดสารพิษพัฒนาสู่ตลาดนัดสีเขียวของคนรักษ์สุขภาพ

พี่เลี้ยงผู้ติดตามโครงการ 2 คน

2,644.00 0.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • นายถาวร คงศรี พี่เลี้ยงผู้ติดตามโครงการได้ตรวจสอบความถูกต้องของรายละเอียดโครงการร่วมมือร่วมใจสร้างอาหารปลอดภัยบ้านหนองเพ็ง
  • นายสรชัย หมวดมณี ผู้นำชุมชนได้รับการชี้แนะและให้คำปรึกษาจากพี่เลี้ยงผู้ติดตามในการดำเนินโครงการครั้งต่อไป
  • นายสรชัย หมวดมณี ผู้นำชุมชน และ นายถาวร คงศรี พี่เลี้ยงผู้ติดตามร่วมกันวางแผนการดำเนินโครงการครั้งต่อไป

ผู้ใหญ่บ้าน หัวหน้าโครงการและเจ้าหน้าที่การเงิน

0.00 0.00 3 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เกิดสภาผู้นำ จำนวน 23  คน มีการประชุมกันทุกเดือน มีการรณรงค์เรื่องการปลูกผักปลอดสารพิษ เปิดตลาดสีเขียว ชื่อตลาดใต้เลียบ มีการจำหน่ายพืชผักปลอดสารพิษ ผลของการรณรงค์เรื่องอาหารปลอดภัยทำให้อัตราการป่วยเป็นโรคเบาหวาน ความดันลดลง  มีการนำเอามโนราห์ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดมาถึงปัจจุบันดังเดิมกำหนดจากที่นี่และนำมาเป็นสื่อสารการจัดการอาหารปลอดภัย และการรณรงค์ปลูกพลูเป็นพืชเศรษฐกิจ ของตำบลท่าแคมายาวนานปัจจุบันชาวบ้านปลูกไปตำบลอื่นข้างเคียงเพราะราคาดี

ผู้รับผิดชอบโครงการและเจ้าหน้าที่การเงิน

0.00 0.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เจ้าหน้าที่โครงการทั้ง 2 คนไม่มาตามที่นัดหมาย มีเหตุผลติดธุรไม่สามารถมาร่วมได้ เอกสารการเงินไม่สามารถตรวจได้

หัวหน้าโครงการและการเงินโครงการ

3,200.00 3,200.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้รับผิดชอบโครงการและการเงืนโครงการมีความรู้จากการได้เข้าร่วมกิจกรรม 3 วัน นำมาสื่อสารกับสภาผู้นำและที่ประชุมหมู่บ้านถึงประโยชน์ที่ได้รับ

กลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือ ผู้รับผิดชอบโครงการ และการเงินโครงการ

200.00 0.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เอกสารการเงินยังไม่เรียบร้อย ทีมยังขาดความเข้าใจในการจัดเรียงเป็นรายกิจกรรม ทำให้ต้องส่งเอกสารให้พี่เลี้ยงดูก่อน และไม่สามารถส่งรายงานให้ สจรส.ม.อ.ได้ในวันนี้

กิจกรรมหลัก : ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ ถ่ายภาพกิจกรรม และจัดทำรายงานi

3,000.00 2 ผลผลิต

ได้ป้ายประชาสัมพันธ์เขตปลอดบุหรี่ จำนวน 1 ป้าย ติดตั้งที่ศาลาหมู่บ้าน ซึ่งเป็นพื้นที่ใช้ทำกิจกรรม


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ทำให้พื้นที่ศาลาการประชุมบ้านหนองเพ็งเป็นพื้นที่ดีปลอด เหล้า บุหรี่ การพนัน เป็นพื้นที่ใช้ทำกิจกรรมสาธารณะของชุมชนบ้านหนองเพ็ง

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 3 ครั้ง

สภาแกนนำ  และชาวบ้านในพื้นที่

1,000.00 1,000.00 70 120 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้ป้ายประชาสัมพันธ์เขตปลอดบุหรี่ จำนวน 1 ป้าย ติดตั้งที่ศาลาหมู่บ้าน ซึ่งเป็นพื้นที่ใช้ทำกิจกรรม

หัวหน้าโครงการ,การเงิน,คณะทำงาน,พี่เลี้ยง

1,000.00 1,000.00 3 5 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานใหม่ การเงินโครงการ ผู้รับผิดชอบโครงการเข้าใจการเตรียมเอกสารและนัดพี่เลี้ยงมาดูให้ใหม่โดยเร่งด่วนเนื่องจากเวลาโครงการหมดแล้ววันที่ 15 ตุลาคม 2559

ปัญหา ไม่สามารถตรวจเอกสารการเงินได้เนื่องจากคณะทำงานโครงที่บันทึกบัญชีมีการเปลี่ยนคนทำพีี่เลี้ยงต้องสอนการบันทึกใหม่ และปรับปฎิทินกับการเขียนรายงานใหม่ ทำให้ส่งรายงานให้ สจรส.ม.อ.กว่าไป 1 อาทิตย์

ผู้รับผิดชอบโครงการ/การเงิน/ผู้บันทึกรายงานกิจกรรมเว็ปไชต์

1,000.00 1,000.00 3 3 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

รายงานฉบับสมบูรณ์ที่ลงภาพประกอบกิจกรรม ครบสมบูรณ์

2.3.1 นวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ

(นวัตกรรมคือ การจัดการความคิด กระบวนการ ผลผลิต และ/หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสม มาใช้งานให้เกิดประสิทธิผล และ/หรือประสิทธิภาพมากกว่าเดิมอย่างชัดเจน)

ชื่อนวัตกรรมคุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรมผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์
ตลาดใต้เลียบ

เป็นพื้นที่ตลาดเขียวในชุมชน ที่มีการสื่อสาร รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ เรื่องการจัดการอาหารปลอดภัย และให้เป็นแหล่งจำหน่ายอาหารปลอดภัยในชุมชนหรือ ตลาดเขียว ใต้เลียบ

  • ชุมชนมีแหล่งอาหารปลอดภัย
  • เป็นแหล่งรวมผลผลิต จากการรณรงค์ ส่งเสริม สนับสนุนให้ผลิตอาหารปลอดภัยมาจำหน่ายในแหล่งที่ชุมชนจัดไว้
2.3.2 โครงการเด่น (Best Practice)

(โครงการเดิ่น คือ โครงการสร้างเสริมสุขภาพให้สัมฤทธิ์ผลที่เป็นรูปธรรมแล้วขยายผลอย่างยั่งยืน โดยแนวคิดกระบวนการ และผลงาน สามารถเป็นตัวอย่างที่จะนำไปขยายผลในชุมชน (Setting) อื่น ๆ ได้ การดำเนินงานมีส่วนร่วมของภาคีที่หลากหลาย มีการบริหารจัดการที่ดี โปร่งใสและตรวจสอบได้)

ชื่อ Best Practiceวิธีการทำให้เกิด Best Practiceผลของ Best Practice / การนำไปใช้ประโยชน์
2.3.3 เกิดแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการสร้างเสริมสุขภาพในประเด็นต่าง ๆ
ชื่อ-สกุลที่อยู่ติดต่อได้สะดวกคุณสมบัติแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลง
2.3.4 มีสภาพแวดล้อมและปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพ

เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพในชุมชนพื้นที่โครงการดังนี้

สถานที่/พื้นที่ ที่เปลี่ยนแปลงรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

ตลาดนัดชุมชนใต้เลียบ

ตลาดเขียว ใต้เลียบ โดยการสื่อสาร ให้ความรู้ ประชาสัมพันธ์ ต่อเนื่อง ป้าย รถแห่ เพื่อให้เป็นแหล่งซื้อ-ขายแลกเปลี่ยน จัดการระบบอาหารปลอดภัยให้เพียงพอในชุมชน เป้าหมายสุขภาพประชาชน

ส่วนที่ 3 : ปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงาน

3.1 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเด็นปัญหา/อุปสรรคการแก้ไขของผู้รับทุนข้อเสนอแนะ/การแก้ไขปัญหาและการเสริมพลังของผู้ติดตาม

คณะทำงานแกนขับเคลื่อนมีการเปลี่ยนแปลง ไปทำงานนอกพื้นที่/การเงินบัญชีไปเรียน กทม และไม่แจ้งพี่เลี้ยงให้ทราบเมื่อพบอุปสรรค

  • ขอปิดโครงการตามกำหนดสัญญา และคืนเงินส่วนที่เหลือคืนแหล่งทุน
  • ให้พี่เลี่ยงเข้ามาช่วยเหลือเพื่อปิดบัญชี
  • พี่เลี้ยงเรียกประชุมคณะทำงาน ผู้รับผิดชอบโครงการ การเงิน คณะทำงานบางส่วน สรุป พบปัญหาไม่มีคนช่วยขับเคลื่อนโครงการ คนเคยทำไปทำงานต่างจังหวัดและคนเก็บเอกสารรายงานไปเรียนกทม. ทำให้งานค้างสะสม ไม่แจ้งพี่เลี้ยง รู้อีกทีสัญญาหมด จบโครงการ
  • ข้อเสนอแนะ และเน้นย้ำเสมอเรื่อง การสื่อสารกับพี่เลี่ยง ให้ใช้พี่เลี่้ยงเหมือนสภาผู้นำหรือแกนขับเคลื่อนชุมชุมชนคนหนึ่ง จะได้ช่วยออกแบบวางแผน
3.2 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเภทความเสี่ยง / ปัจจัยเสี่ยงระดับความเสี่ยง
(จากมากไปหาน้อย)
ข้อมูล ข้อสังเกตุ และข้อคิดเห็นของผู้ติดตาม
3210
1. ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน (Operational Risks)
1.1 โครงสร้างการดำเนินงาน

ข้อสังเกตุ

  • ผู้นำมีความตั้งใจ แต่ขาดทีมเคลื่อนงานนโยบาย โครงการประชารัฐมาก แต่ละโครงการเร่งด่วน ผู้ใหญ่มีงานมากเงินที่ได้จากโครงการเพื่อมาสร้างทีม สร้างกระบวนการ ทำได้ระดับหนึ่ง
  • เมื่อคณะทำงานเกิดการเปลี่ยนแปลง ย้ายที่ทำงานไปเรียนเสียกระบวนขับเคลื่อนงาน เกิดความล้าช้า เห็นได้จากการติดตามการรายงานผลของพื้นที่ ช้าหลายเดือนกว่าจะรายงานกิจกรรมที่ทำ
  • พี่เลี้ยงเห็นผิดปกติต้องลงติดตามอย่างใกล้ชิดในพื้นที่ เพื่อช่วยแนะนำ
1.2 ศักยภาพและทักษะการดำเนินงาน

ข้อสังเกตู

  • เกิดสภาผู้นำเป็นกลไกของหมู่บ้าน แต่ไม่ปล่อยให้กลไกหมู่บ้านทำงานขับเคลื่อนและ ดำเนินงาน
  • ข้อเสนอแนะ ควรใช้สภาผู้นำเป็นกลไกขับเคลื่อน ช่วยคิด ช่วยทำ โดยหาเครื่องมือ แผนชุมชนมาใช้ทำงาน
1.3 ผลลัพธ์และผลสำเร็จของการดำเนินงาน

ข้อสังเกตุ

-กิจกรรมสำเร็จ ในเชิงปริมาณ ขาดคุณภาพเกิดกลไก แต่ไม่ใช้กลไก เสนอแนะให้พัฒนากลไกสภาผู้นำ

2. ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risks)
2.1 ระบบและกลไกการบริหารจัดการ

ไม่มีความเสี่ยงด้านการเงิน แต่มีความเสี่ยงด้านการบริหาร

2.2 การใช้จ่ายเงิน

ไม่มีความเสี่ยงคือ เมื่อไม่ทำก็ไม่เบิกเงินมาเก็บไว้ที่ตัว

2.3 หลักฐานการเงิน

ข้อสังเกตุ

  • เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงในคณะทำงานหลัก การเก็บเอกสารขาดความเรียบร้อย
ผลรวม 0 0 3 0
ผลรวมทั้งหมด 3 ระดับความเสี่ยง : ???
เกณฑ์วัดระดับความเสี่ยง ???
สรุปการแก้ไขความเสี่ยง แก้ไขแล้ว ยังไม่ได้แก้ไข

ส่วนที่ 4 : สรุปความเห็นของผู้ติดตาม

ส่วนที่ 4สรุปความเห็นของผู้ติดตาม
4.1 กรณีเบิกเงินงวด/ติดตามเยี่ยมชม มีแนวโน้มสำเร็จตามเป้าหมายโครงการและติดตามปกติ
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

 

มีแนวโน้มเสี่ยง ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจาก- การดำเนินงาน การรายงาน ล้าช้า เกิดการเปลี่ยนแปลในคณะทำงานแกนหลัก
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น
  • ผลการดำเนินงานโครงการสร้างและพัฒนากลไกสภาผู้นำขึ้นมา 23คน แต่ไม่ใช้กลไกทำงานให้ชุมชน ดังนั้น การร่วมคิด ร่วมทำ หรือกระบวนการมีส่วนร่วมยังเป็นจุดอ่อนของชุมชนมีข้อเสนอแนะต่อชุมชนต้องให้ความรู้เรื่องกลไกพัฒนาต่อผู้นำเพิ่ม
มีความเสี่ยง ต้องยุติโครงการ เนื่องจาก
4.2 กรณีสรุปปิดโครงการ ดำเนินงานได้ตามแผนปฏิบัติการและสามารถปิดโครงการได้
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

 

ไม่เป็นไปตามแผนปฏิบัติการ ให้ดำเนินการจัดระบบการเงิน ระบบรายงานให้ถูกต้องก่อนปิดโครงการ
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น
  • ให้พื้นที่คืนเงินที่เหลือกลับ แหล่งทุน(สสส.)เนื่องจากกิจกรรมไม่ดำเนินการตามแผน และทำรายงานเพื่อสรุปผลปิดบัญชี ให้ทันตามกำหนดเวลาในสัญญา

ส่วนที่ 5 : สรุปภาพรวมของการติดตามประจำงวด (ข้อสังเกต/สิ่งดีๆ ที่ค้นพบ/ข้อพึงระวัง/บทเรียนที่ได้)

สิ่งดี ๆ ที่พบ

  • การสร้างครัวเรือนต้นแบบ การจัดการอาหารปลอดภัย(กลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ เลี้ยงสัตว์เป็นอาหาร ปุ๋ยอินทรีย์) ส่งเสริมโรงเรียนสร้างระบบอาหารปลอดภัยเพื่ออาหารกลางวันการปรับปรุงตลาดชุมชนให้เป็นตลาดเขียว "ตลาดใต้เลียบ" การใช้สื่อกลอนมโนราห์ เพื่อสร้างจิตสำนึกเรื่อง อาหารปลอดภัย ทีเป็นช่องทางเข้าถึงได้ทุกช่วงวัย

ข้อสังเกต

  • สร้างกลไกสภาผู้นำแต่ไม่ใช้กลไกขับเคลื่อนทำงาน ทำให้งานล่าช้า ทำงานไม่ทัน
  • การรายงานผลล่าช้าของพื้นที่เป็นจุดก่อตัวของปัญหา
  • ขาดความร่วมมือจากพื้นที่กับพื่เลี้ยงเวลานัดพัฒนาศักยภาพ นัดตรวจงานมาไม่ต่อเนื่อง เป็นบ่อเกิดปัญหา คือ ตามกันไม่ทันสะสมปัญหาไว้ค้างการบันทึกรายงาน

บทเรียนที่ได้

  • การขับเคลื่อนสภาผู้นำเป็นกลไกของชุมชน พี่เลี่ยงต้องเป็นส่วนหนึ่งของสภาผู้นำหรือที่ปรึกษาหรือเป็นสมาชิกสภาผู้นำด้วยแล้วงานจะสำเร็จ

สร้างรายงานโดย ฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์