assignment
บันทึกกิจกรรม
ถอดบทเรียนและจัดทำรายงานสรุป การดำเนินงานโครงการ16 พฤศจิกายน 2016
16
พฤศจิกายน 2016รายงานจากพื้นที่ โดย kannapat janthong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่ออนุรักษ์และพัฒนาสวนป่าชุมชนสู่การเรียนรู้ด้านการทำเกษตรผสมผสาน เกษตรปลอดภัย และส่งเสริมการบริโภคผักพื้นบ้าน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เชิญวิทยากร นางสาวอารีย์ คงแจ่ม จากมูลนิธิสัมมาชีพ และนางสาวเกียววลี มีสิทธิ์ จากกลุ่มยุวชนสร้างสรรค์จังหวัดสุราษฎร์ธานี มาถอดบทเรียนการทำงานโครงการ
  • ระดมความคิดเห็น ข้อเสนอในการดำเนินงานโครงการ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลการถอดบทเรียน พบว่า

  • กิจกรรมที่ดำเนินการภายใต้โครงการคือ
  1. ประชุมคณะทำงาน คณะกรรมการสวนป่าชุมชนบ้านโกงเหลง เพื่อทำความเข้าใจโครงการและออกแบบรายละเอียดกิจกรรมร่วมกัน
  2. สำรวจพันธ์ไม้ในสวนป่าชุมชนผลที่ได้ในการสำรวจพื้นที่ 23ไร่พบพันธ์ไม้ที่สามารถระบุชื่อทางวิทยาศาสตร์ได้ถึง 80 ชนิดและมีบางชนิดที่ชาวบ้านรู้จักและรู้ประโยชน์ของตันไม้แต่ละชนิดแต่ไม่เป็นที่รู้จักของทั่วไป
  3. ทำป้ายชื่อต้นไม้เมื่อพบพันธุ์ไม้และค้นหารายละเอียดต่างๆครบแล้ว มีการทำป้ายรายละเอียดของต้นไม้
  4. อบรมและทดลองการทำปุ๋ยหมักเพื่อนำปุ๋ยหมักมาใช้ในสวนป่าและใช้ในครัวเรือนของประชาชนในชุมชน
  5. สร้างความเข้าใจในชุมชน ผ่านที่ประชุมหมู่บ้านและทำความเข้าใจในการใช้ประโยชน์จากสวนป่าการสร้างกฎ กติการ่วมกัน ก่อให้เกิดจิตสำนึกในการดูแลและความหวงแหนสวนป่า
  6. สร้างกฎ กติกา การใช้ประโยชน์ร่วมกัน เพื่อเป็นข้อตกลงร่วมที่จะนำไปสู่การปฏิบัติได้จริงของคนในชุมชน
  7. ปลูกต้นไม่เพิ่มเติมในสวนป่าทั้งรูปแบบของการปลูกผ่านการจัดกิจกรรมในวันสำคัญและการปลูกตามความสนใจของสมาชิกในหมู่บ้าน
  8. กิจกรรมเมนูอาหารพื้นบ้านร่วมกันคิดเมนูอาหารจากผลผลิตในชุมชนและทดลองทำ จัดประกวดเมนูอาหารพื้นบ้านในชุมชน
  9. การประชุมประจำเดือนเพื่อสรุปการดำเนินกิจกรรมและการวางแผนกิจกรรมในระยะต่อไป
  10. การถอดบทเรียนเพื่อสรุปบทเรียนการดำเนินกิจกรรมและการพัฒนาสวนป่าต่อไป

สิ่งที่ได้จากการทำงาน

1.คณะทำงาน

  • ได้ทำงานร่วมกัน
  • ได้ให้กำลังใจกันและกัน
  • ได้ให้คำชม/คำติ เพื่อพัฒนาการทำงาน
  • เกิดเครือข่ายตามธรรมชาติ
  • ปัญหา อุปสรรค เงื่อนไขของเวลาในการทำงานพร้อมกัน บทบาทหน้าที่ของคณะทำงานในชุมชนมีมากกว่าหนึ่ง
  • ส่ิงที่อยากทำต่อ คือ ต้องการการพัฒนาศักยภาพของคณะทำงานด้านคอมพิวเตอร์

2.สวนป่า

  • ทราบปริมาณพันธุ์ไม้
  • ขยายความรู้ไปสู่เยาวชน
  • สร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันและขยายไปสู่เด็กและเยาวชน
  • เกิดผลผลิตจากต้นไม้ในสวนป่าให้ชุมชนได้ใช้ประโยชน์เป็นแหล่งสมุนไพรในชุมชนในการดูแลสุขภาพ
  • ชุมชนเกิดความหวงแหนในสวนป่า
  • ปัญหา อุปสรรค คือ ปรับระบบการปลูกต้นไม้ให้ตรงตาฤดูกาลเพื่อลดภาระการดูแลและเพิ่มปริมาณการรอดของต้นไม้
  • สิ่งที่อยากทำต่อ คือ

    • ทำข้อมูลองค์ความรู้เกี่ยวกับพันธุ์ไม้เพื่อเผยแพร่สู่สาธารณะ
    • ปัจจุบันสวนป่ามีที่ว่างที่สามารถใช้ปลูกต้นไม้เพิ่มได้ประมาณ 8 ไร่
    • ทำกรอบรูปพระบรมฉายาลักษณ์ในหลวงรัชกาลที่ 9 ประดิษฐานไว้หน้าสวนป่า
    • ปลูกพันธุ์ไม้ที่ใช้ประโยชน์ได้อย่างต่อเนื่อง
    • ปลูกไม้ดอกไม้ประดับเพิ่มเติม
    • จัดประกวดเมนูอาหาร เพื่อรวบรวมเมนูอาหารพื้นบ้านเพื่อเป็นองค์ความรู้ที่เผยแพร่ได้

สิ่งที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรม

  1. ทีมทำงานเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมคนในชุมชนที่มีใจอาสามากยิ่งขึ้น
  2. สวนป่าเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับกลุ่มเยาวชนทั้งในและนอกชุมชน
  3. คณะทำงานร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนสุบรรณ เพื่อจัดรณรงค์ให้คนในชุมชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังผ่านกิจกรรม ประกวดเมนูผักสดประกวดปิ่นโตสุขภาพ
  4. โครงการนวัตกรรมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เพื่อร่วมฝึกอบรมนวัตกร มาให้ความรู้ในชุมชน
  5. กิจกรรมที่ดำเนินการภายใต้โครงการทำให้เกิดความสามัคคีในชุมชน
  6. การได้รับรองมาตรฐานแปลงผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ แปลงผักกูด
  7. ได้รับความร่วมมือของคนทั้งไหนและนอกชุมชน
  8. เชื่อมร้อยเครือข่าย ทั้งในระดับในประเทศและนอกประเทศโดยที่ผ่านมามีหมอจากสหรัฐอเมริการ่วมสมทบทุนสร้างห้องน้ำในสวนป่า
  9. เป็นจุดรวมของคนในชุมชนในการทำกิจกรรมต่างๆ
  10. ขยายองค์ความรู้ในเรื่องด้านสมุนไพรและพันธุ์ไม้ไปสู่ชุมชนอื่นๆ
  11. มีองค์กรภาคีต่างๆมาร่วมดูแลเช่นการไฟฟ้าฝ่ายผลิตเข้ามาสนับสนุนในการสอนทำปุ๋ยหมักให้คนในชุมชนเพื่อนำไปใช้ในครัวเรือน

ปัญหา / อุปสรรค

  1. การใช้เวลาในการดำเนินกิจกรรมของคณะทำงานไม่พร้อมกันบ้าง เนื่องจากคณะทำงานมีภารกิจในบทบาทการทำงานในชุมชนมากกว่าหนึ่งตำแหน่ง
  2. กิจกรรมที่จัดวางไว้มากเกินกำลังในการดำเนินกิจกรรมของคณะทำงาน
  3. ความไม่ชำนาญในด้านการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ของคณะทำงาน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 55 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการ
  • แกนนำชุมชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง / นางสาวอารีย์ คงแจ่ม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

จัดทำรายงานปิดโครงการ16 พฤศจิกายน 2016
16
พฤศจิกายน 2016รายงานจากพื้นที่ โดย kannapat janthong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อจัดทำรายงานปิดโครงการ
  • เพื่อขอรับงบประมาณสนับสนุนโครงการงวดที่ 3
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เข้าพบพี่เลี้ยงโครงการ เพื่อตรวจการเขียนรายงาน ตรวจเอกสารการเงิน
  • จัดพิมพ์รายงานส่ง สจรส.มอ.
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • รายงานผลการจัดกิจกรรม มีการบันทึกเพิ่มเติม เพื่อให้ครบทุกกิจกรรมที่ได้ดำเนินงานไปแล้วตามแผนการดำเนินงานโครงการ โดยพี่เลี้ยงช่วยปรับแก้เนื้อหารายงานให้มีความสมบูรณ์เพิ่มมากขึ้น
  • รายงานการเงิน มีการตรวจสอบเอกสารการเงิน แนะนำการปรับแก้ และลงบันทึกการใช้จ่ายงบประมาณให้ถูกต้อง
  • สามารถพิมพ์เอกสาร ง.1 งวด 2 ง.2 ส.3 และ ส.4 ส่งให้ทาง สจรส.มอ. เพื่อขอนุมัติเบิกงบประมาณโครงการ งวดที่ 3 ได้
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 5 คน
ประกอบด้วย
  • นางวาสนา วงศ์กลาง
  • คณะทำงานโครงการ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

วิเคราะห์ข้อมูล และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดทำบัญชีครัวเรือนกับกลุ่มที่จัดทำบัญชีครัวเรือน ครั้งที่ 210 ตุลาคม 2016
10
ตุลาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายอุดมเกียรติ ไสยรินทร์
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อวิเคราะห์ข้อมูล และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดทำบัญชีครัวเรือนกับกลุ่มที่จัดทำบัญชีครัวเรือน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

10.30น ผู้รับผิดชอบโครงการเปิดงาน

11.00น.ได้เชิญนายสมโชค รังสิมันตุชาติ มาพูดเกี่ยวกับการทำบัญชี รายรับ-รายจ่าย

12.00น. พักกลางวัน

13.00น. ให้ผู้เข้าร่วมประชุมฝึกทำบัญชีในความเข้าใจของตนเอง

14.00น.สมาชิกในหมู่บ้านได้ทำบัญชีครัวเรือนนำบัญชีครัวเรือนของตนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันและทำการวิเคราะห์ข้อมูลบัญชีครัวเรือนของตนเพื่อวิเคราะห์หมวดค่าใช้จ่าย หมวดรายรับ และข้อมูลอื่นๆในตัวบัญชีแต่เป็นแบบชาวบ้านคือ จ่ายอะไรให้จดลง รับอะไรก็จดลง แยกเป็นคนละส่วนกัน ตาม ความเข้าใจของเราเอง

15.00น. ปิดการประชุม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เข้ามาที่ประชุมนายสมโชครังสิมันตุชาติได้พูดคุยกับผู้เข้าร่วมประชุม ว่าการทำบัญชีตามหลักวิชาการนั้นทุกคนมีความเข้าใจมากน้อยอย่างไรวันนี้นายสมโชค รังสิมันตุชาติ ได้สอนให้ชาวบ้านได้ลองทำตามที่เขาแนะนำว่าการทำบัญชีโดยทำตามความเข้าใจของตัวเองว่า รายรับคืออะไร เช่น การขายของ รายจ่ายคืออะไร เช่น ให้เงินลูกไปโรงเรียน เมื่อถึงสิ้นเดือนเราค่อยเอาที่จดนั้นมาวิเคราะห์ว่ารายรับและรายจ่ายของเรานั้นเป็นอย่างไร
  • จากนั้นผู้เข้าประชุม ได้ลองทำตามแบบชาวบ้านดูว่ามันไม่ยาก และทุกคนทุกวัยสามารถทำได้ด้วยตัวเองและวิเคราะห์ด้วยตัวเองได้
  • 15.30 น. ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวปิด
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงาน
  • กลุ่มที่จัดทำบัญชีครัวเรือน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมกรรมการ คณะทำงาน ประจำเดือนตุลาคม7 ตุลาคม 2016
7
ตุลาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายอุดมเกียรติ ไสยรินทร์
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อวางแผนการทำงาน
  • เพื่อเข้าใจการเปลี่ยนแปลงและแจ้งข่าวให้ทราบโดยทั่วกัน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • จัดการประชุมคณะกรรมการหมู่บ้าน คณะดำเนินโครงการ และคณะกรรมการสวนป่า รวมถึงคณะกรรมการอื่นๆ ที่มีอยู่ในหมู่บ้านด้วยทุกเดือน เพื่อวางแผนการทำงาน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลการประชุมประจำเดือน ตุลาคม 2559 ณ ศาลาหมู่บ้าน ม.3 บ้านโกงเหลง ต.ควณสุบรรณ

  • ผู้ใหญ่แจ้งเพื่อทราบ ตอนนี้มีเงินโครงการประชารัฐ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจเข้ามาจำนวน 250,000 บาท ต้องการทำประชาคมกับชาวบ้านเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ชาวบ้านมีมติต้องการต่อเติมศาลาหมู่บ้าน โดยจะสร้างเวทีและทำห้องเก็บของ โดยใช้ช่างคนในพื้นที่ โดยมีการเลือกกรรมการ 9 คน เพื่อดำเนินโครงการในอันดับต่อไป ดังนี้
  1. นายพงค์ศักดิ์ ทองตากรณ์
  2. นายสุธรรม พินิจ
  3. นายเศกสุข นาคขวัญ
  4. นายพีระพงค์ คงทรัพย์
  5. นางวิภารัตน์ สุระกา
  6. นายนพพร เหลี่ยมมงคล
  7. นางนิตยา พัฒนประดิษฐ
  8. นางรัตนา ทองประเทือง
  9. นายสมโชค รังสิมันตุชาติ เพื่อดำเนินโครงการในอันดับต่อไป
  • มีคณะกรรมการผู้รับผิดชอบโครงการดังนี้

กรรมการฝ่ายจัดซื้อ

  1. นายพงค์ศักดิ์ ทองตากรณ์
  2. นายนพพร เหลี่ยมมงคล
  3. นายสุธรรม พินิจ

กรรมการฝ่ายการเงิน

  1. นายสมโชค รังสิมันตุชาติ
  2. นางวิภารัตน์ สุระกา
  3. นางนิตยา พัฒนประดิษฐ

กรรมการฝ่ายตรวจสอบ

  1. นางรัตนา ทองประเทือง
  2. นายพีระพงค์ คงทรัพย์
  3. นายเศกสุข นาคขัวญ
  • นางวาสนา วงค์กลาง และนางวันเพ็ญ ทองดี ได้เล่าเรื่องที่มาที่ไปร่วมงานสร้างสุขภาคใต้ 2559 ที่มหาลัยสงขลานครินทร์และได้เอาหนังสือที่มีโครงการของเราลงตีพิมพ์ด้วย ตอนนี้โครงการของเรากำลังจะปิดโครงการ เราจะมาถอดบทเรียนกันในครั้งต่อไป
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 29 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • วัยทำงาน 20 คน
  • วัยผู้สูงอายุ 9 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

งานสร้างสุขภาคใต้ 25593 ตุลาคม 2016
3
ตุลาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย kannapat janthong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานโครงการร่วมสร้างชุมชนน่าอยู่ภาคใต้กับภาคเครือข่ายการทำงาน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เข้าร่วมงานสร้างสุขภาพภาคใต้ ที่หอประชุมนานาชาติ ม.อ. หาดใหญ่
  • เยี่ยมชมนิทรรศการผลงานเครือข่าย ทั้ง สสส. สปสช. สช.
  • ฟังการเสวนา รายงานผลการดำเนินงานโครงการในห้องย่อย ห้องชุมชนน่าอยู่
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานเข้าร่วม จำนวน 2 คน ร่วมงานสร้างสุขภาคใต้ ร่วมรับฟังปาฐกถา เรื่อง บทบาทของประเทศไทยในการเป็นผู้นำการพัฒนานวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพในภูมิภาคอาเซียน โดย นายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ รับฟังรายงานสุขภาวะคนใต้และสรุปภาพรวมการดำเนินงานสร้างสุขภาคใต้ปีที่ผ่านมาบทบาทศูนย์วิชาการสร้างเสริมสุขภาพ ในการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาคคนใต้ โดย ผศ.ดร.ภก.พงศ์เทพ สุธีรวุฒิ ผู้อำนวยการ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ภาคใต้ ฟังการเสวนาเรื่อง สานพลังชุมชนน่าอยู่สู่นโยบายสาธารณะ โครงการสร้างคนรักษ์สิ่งแวดล้อมที่บ้านทุ่งยาว ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง ฟังเสนอกรณีศึกษา ประเด็นการจัดการขยะโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่บ้านห้วยลึกจัดการขยะชุมชน ตำบลทรายขาว อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่กรณีศึกษา ประเด็นเด็กและเยาวชน โครงการปันตงสร้างสุขบ้านสี่แยกวัดโหนด ตำบลโพธิ์ทอง อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช กรณีศึกษาประเด็น เศรษฐกิจพอเพียง โครงการแหลมยางนาพึ่งพาเศรษฐกิจ ตำบลตะโก อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร กรณีศึกษาประเด็นการจัดการทรัพยากรและการท่องเที่ยวโครงการจัดการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านท่าฉัตรไชย ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต กรณีศึกษา ประเด็นการจัดการสุขภาพและอาหารปลอดภัย โครงการชุมชนหูยานบ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเอง ตำบลนาท่อม อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ผู้ทรงคูณวุฒิให้คำแนะนำการขับเคลื่อนชุมชน สู่ข้อเสนอเชิงนโยบายโดย คุณสุริยา ยีขุน นายกเทศมนตรีตำบลปริก คุณสัมฤทธิ์เลียงประสิทธิ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล นายแพทย์ไพศาล เกื้ออรุณ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกระบี่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน การขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่สู่การยกระดับเชิงนโยบาย โดยคุณ กำไลสมรักษ์ สำนักวิชาการพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ลานปัญญาเสวนา ลานสื่อ นำเสนอผลงานวิชาการของชุมชน เรื่องเล่า เร้าพลัง ลานสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้นวัตกรรมกิจกรรมกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสานพลังเครือข่ายเสวนาเรื่อง การขับเคลื่อนระบบสุขภาพของประเทศไทยสู่การเป็นผู้นำภูมิภาคอาเซี่ยน

  • เห็นกระบวนการทำงานของพื้นที่ต่างๆ ผ่านเวทีเสวนาและการจัดนิทรรศการ

  • ได้รับความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพสุขภาพแบบต่างๆ ผ่านการแสดงของเด็กและเยาวชนที่เข้าร่วม

  • เห็นนวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพแบบต่างๆ ที่เขานำเสนอ

  • ได้ทราบว่าภาคีเครือข่ายการทำงานของ สสส. สจรส.มอ สช. สปสช. ทั้งด้านสุขภาพ ความมั่นคงทางอาหาร ธรรมนูญสุขภาพเด็กและเยาวชน การท่อง เที่ยวชุมชน ระบบสุขภาพตำบล

  • ได้เห็นและได้ความรู้ด้านต่างๆที่หลายพื้นที่เขาตั้งใจทำและได้มีผลงานออกมาเสนอให้ผู้เข้าร่วมได้รับรู้

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • นางวาสนา วงศ์กลาง
  • นางวันเพ็ญ ทองดี
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ทำรายงานงวดที่ 225 กันยายน 2016
25
กันยายน 2016รายงานจากพี่เลี้ยง โดย kannapat janthong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อปรับแก้รายงานกิจกรรม รายงานผลการดำเนินงานโครงการ
  • เพื่อตรวจสอบเอกสารการเงินโครงการ งวดที่ 2
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เข้าพบพี่เลี้ยงโครงการ ที่ ม.อ. สุราษฎร์ธานี
  • ให้พี่เลี้ยงตรวจรายยงาน ตรวจเอกสารการเงิน 
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ทีมงานโครงการ 2 คน นำเอกสารการเงินเข้าพบพี่เลี้ยงโครงการที่ ม.อ. สุราษฎร์ธานี เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง พบว่า รายงานการเงินถูกต้อง มีการปรับแก้ไขเพียงเล็กน้อย เช่น การเซ็นรับ เซ็นจ่ายไม่ครบ บางกิจกรรมขาดใบลงทะเบียน ได้แนะนำให้มีการปรับแก้ไข และนำมาตรวจอีกครั้งก่อนปิดโครงการ 
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • นางวาสนา วงศ์กลาง
  • นางวันเพ็ญ ทองดี
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • เยาวชนที่ช่วยบันทึกข้อมูล ไม่ค่อยมีเวลา ทำให้การบันทึกกิจกรรมล่าช้ากว่างานที่ทำ
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • บันทึกด้วยกระดาษ ปากกาไว้ก่อน เพื่อเป็นการนช่วยเตือนความจำ และมีเนื้อหาให้คนอื่นๆ สามารถทำแทนได้
การจัดทำรายงานงวดที่ 225 กันยายน 2016
25
กันยายน 2016รายงานจากพื้นที่ โดย kannapat janthong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อปรับแก้รายงานกิจกรรม รายงานผลการดำเนินงานโครงการ
  • เพื่อตรวจสอบเอกสารการเงินโครงการ งวดที่ 2
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • พี่เลี้ยงตรวจสอบรายงาน เอกสารการเงิน ปรับแก้ให้ถูกต้อง
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • รายงานการเงินได้รับการตรวจสอบ มีการแนะนำให้มีการปรับแก้ เพื่อให้ถูกต้องตามเงื่อนไข และหลักเกณฑ์การใช้เงิน
  • แนะนำให้มีการเพิ่มเติมเนื้อหารายงานให้สมบูรณ์ โดยต้องเพิ่มรายละเอียดการทำงาน ไม่เขียนผลที่เป็นนามธรรม ผลการดำเนินควรเขียนให้ชัด เขียนแล้วเห็นว่าได้อะไร
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • นางวาสนา วงศกลาง
  • นางวันเพ็ญ ทองดี
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • การลงรายงานกิจกรรม และรายงานการเงินล่าช้า ไม่เป็นปัจจุบัน เนื่องจากเยาวชนที่ช่วยบันทึกข้อมูลไม่ว่าง จึงควรบันทึกด้วยมือก่อนลงในกระดาษ A4 เก็บไว้ก่อน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้นำไปลงรายงานให้วันหลัง
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • บันทึกด้วยมือก่อนลงในกระดาษ A4 เก็บไว้ก่อน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้นำไปลงรายงานให้วันหลัง
ประชุมกรรมการ คณะทำงาน ประจำเดือนกันยายน7 กันยายน 2016
7
กันยายน 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายอุดมเกียรติ ไสยรินทร์
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อเข้าใจการเปลี่ยนแปลงและแจ้งข่าวให้ทราบโดยทั่วกัน- เพื่อขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมชาวบ้าน ตามวาระ คือ

  1. เรื่องผู้ไม่มีเอกสารสิทธที่ดินให้ดำเนินการขึ้นทะเบียน
  2. เรื่องการขึ้นทะเบียนผู้มีรายได้น้อย
  3. การลงทะเบียนในหมู่ผู้สูงอายุผู้ป่วยโรคเอดส์ ผู้พิการ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลการประชุม สามารถสรุปได้ตามวาระ คือ

  • วาระที่ 1 เจ้าหน้าที่เกษตรประจำตำบลควนสุบรรณ ได้เข้ามาให้บริการติดตามชาวบ้านที่ขึ้นทะเบียนเกษตรไว้ให้ชาวบ้านเอาสมุดเล่มเขียวมาเทียบกับเอกสารที่เกษตรอำเภอว่าตรงกันหรือไม่ให้ชาวบ้านปรับเปลี่ยนให้เป็นปัจจุบัน เช่น ถ้าปลูกยางยังกรีดอยู่หรือเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นๆบ้างแล้วและให้ผู้ไม่มเอกสารสิทธเรื่อที่ดินได้ดำเนิน การขึ้นทะเบียนให้เรียบร้อย ภายในวันที่ 30 กย. 59
  • วาระที่ 2 เรื่องขึ้นทะเบียนผู้สูงอายุใหม่ ผู้ที่เกิดปี 2500 ก่อนวันที่ 1 ตค. ผู้พิการ ผู้ป่วยโรคเอดส์
  • วาระที่ 3 เรื่องการขอขึ้นทะเบียนผู้มีรายได้น้อย
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • คณะกรรมการ
  • คณะกรรมการสวนป่า
  • คณะทำงาน
  • คนในชุมชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

พัฒนาเมนูอาหารจากผักพื้นบ้าน/เพิ่มมูลค่าผักพื้นบ้าน ตรั้งที่ 21 กันยายน 2016
1
กันยายน 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายอุดมเกียรติ ไสยรินทร์
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อต้องการเพิ่มมูลค่าผักพื้นบ้าน
  • เพื่อแนะนำเมนูที่ทำจากผักพื้นบ้าน
  • สร้างค่านิยมในการปลูกผักพื้นบ้าน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กำหนดการพัฒนาเมนูอาหารจากผักพื้นบ้าน/เพิ่มมูลค่าผักพื้นบ้าน ครั้งที่ 2

  • 10.00 น. ลงทะเบียน
  • 10.30 น. ประธานกล่าวเปิดงาน
  • 10.40 น. เชิญวิทยากร สอนทำอาหารจากผักพื้นบ้าน
  • 11.30 น. คัดเลือกเมนูอาหาร
  • 12.00 น. พักกลางวัน
  • 13.00 น. เชิญวิทยากร เพิ่มมูลค่าของผักพื้นบ้าน
  • 14.30 น. มอบรางวัล
  • 15.30 น. ปิดการอบรม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลการพัฒนาเมนูอาหารจากผักพื้นบ้าน/เพิ่มมูลค่าผักพื้นบ้าน ครั้งที่ 2

  • 10.00 น. ลงทะเบียน
  • 10.30 น. ประธาน นางนัจรี ไทยเกิด ปลัด อบต. ควนสุบรรณ กล่าวเปิดการอบรม
  • 10.35 น. วิทยากรนางสมศรี พัฒนประดิษฐ วิทยากรได้สาธิตการทำอาหารเมนูผักพื้นบ้าน ทำเมนูยำผักกูด

วิธีกาารทำ

  • เด็ดเอายอดผักกูดลวดตั้งไว้ให้สะเด็ดน้ำ(การลวดผักลวดในน้ำที่เดือดให้พอสุกแล้วตักใส่แล้วตักใส่ลงไปในน้ำเย็น จะทำให้ผักมีสีเขียวและกรอบน่ารับประทาน)
  • หมูสับ ผัดในน้ำมันเล็กน้อย และใส่กระเทียมเจียว ผัดให้หมูแห้งสักหน่อย ใส่น้ำปลาเล็กน้อยในหมูขณะผัดเพื่อเพิ่มรสชาติ

วิธีการทำน้ำยา

  • พริกสด
  • น้ำปลา
  • น้ำตาล
  • หัวหอม
  • น้ำมะนาว

  • หั่นพริกและหัวหอม แล้วใส่น้ำปลา น้ำตาล และน้ำมะนาว แล้วคนให้เข้ากัน เอาผักกูดที่ลวดไว้แล้วใส่ลงไปในภาชนะตักหมูราดผักลงไปตามด้วยน้ำยาที่เราเตรียมไว้ ชิมรสตามใจชอบ การยำแบบนี้เราสามารสดัดแปลงดัดแปลงว่าเราจะใส่หมูหรือใส่ปลาทูน่ากระป๋องใส่หมึก กุ้ง ไก่แม้กระทั่งเนื้อก็สามารถทำได้

  • 11.30 น. ตัดสินเมนูผักพื้นบ้านที่ชาวบ้านนำมา เมนูต่างๆ คัดมา 5 ราย เพื่อรับรางวัล ได้แก่
  1. ผักเขลียงแกงเลียงใส่กะทิ
  2. ยำผักกูดใส่ปลาทูน่า
  3. ผักกูดใส่กุ้ง
  4. ผัดผักเขลียงกับกะปิ
  5. ยำผักเขลียงหมูสับ
  • 15.30น. มอบของที่ระลึก ให้เมนูที่ได้รับคัดเลือก
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 47 คน จากที่ตั้งไว้ 70 คน
ประกอบด้วย
  • คณะกรรมการ
  • คณะกรรมการสวนป่า
  • คณะทำงาน
  • คนในชุมชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

วิเคราะห์ข้อมูล และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดทำบัญชีครัวเรือนกับกลุ่มที่จัดทำบัญชีครัวเรือน ครั้งที่ 123 สิงหาคม 2016
23
สิงหาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายอุดมเกียรติ ไสยรินทร์
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อวิเคราะห์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มผู้ทำบัญชีครัวเรือน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • 13.00 น. ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเข้าร่วมประชุม ที่ โรงเรียนบ้านโกงเหลง เจ้าหน้าที่บัญชีสอบถามความก้าวหน้า วิเคราะห์ตัวเองในการทำบัญชี
  • 15.30 น ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวปิด
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดทำบัญชีครัวเรือนกับกลุ่มที่จัดทำบัญชีครัวเรือน ครั้งที่ 1

  • ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เข้ามาที่ประชุม นางปวริศา ว่ากลาง เจ้าหน้าที่บัญชี ได้สอบถามความก้าวหน้าของการทำบัญชีครัวเรือนว่าเข้าใจมากน้อยแค่ไหน และสามารถบอกได้หรือไม่ว่าที่ทำไปนั้น มีผลอย่างไรตามมาบ้าง เราได้ทราบรายรับ-รายจ่ายว่าเป็นอย่างไรรายได้มากน้อยแค่ไหน รายจ่ายเป็นอย่างไรถ้าเราตอบ2 อย่างได้เราก็สามารถแยกความสำคัญของรายจ่ายได้ว่ารายจ่ายไหนเราต้องลด แล้วรายจ่ายไหนที่เราเอาออกไปได้
  • คนไหนไม่เข้าใจก็ช่วยอธิบายให้เขาเข้าใจเพราะถ้าเขาเข้าใจเขาสามารถวิเคราะห์ตัวเขาเองได้
  • หลังจากนั้นให้ผู้เข้าร่วมวิเคราะห์บัญชีของตัวเองดู
  • 15.30น. ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวปิด
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • วัยทำงาน 20 คน
  • ผู้สูงอายุ 10 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

พัฒนาเมนูอาหารจากผักพื้นบ้าน/เพิ่มมูลค่าผักพื้นบ้าน ครั้งที่ 110 สิงหาคม 2016
10
สิงหาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายอุดมเกียรติ ไสยรินทร์
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อต้องการเพิ่มมูลค่าผักพื้นบ้าน
  • เพื่อแนะนำเมนูที่ทำจากผักพื้นบ้าน
  • สร้างค่านิยมในการปลูกผักพื้นบ้าน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กำหนดพัฒนาเมนูอาหารจากผักพื้นบ้าน/เพิ่มมูลค่าผักพื้นบ้าน ครั้งที่ 1

  • 10.00 น. ลงทะเบียน
  • 10.30 น. ประธานกล่าวเปิดงาน
  • 10.35 น. เชิญวิทยากร สอนทำอาหารจากผักพื้นบ้าน
  • 12.00 น. พักกลางวัน
  • 13.00 น. เชิญวิทยากร หลักการขาย
  • 14.30 น. นัดหมายครั้งต่อไปมีการมอบรางวัลให้คนที่ทำอาหารมาประกวด
  • 15.30 น. ปิดการอบรม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • 10.00 น. ลงทะเบียน
  • 10.30 น. ประธาน นางนัจรี ไทยเกิด ปลัด อบต. ควนสุบรรณ กล่าวเปิดการอบรม
  • 10.35 น. วิทยากรนางสมศรี พัฒนประดิษฐ วิทยากรได้สาธิตการทำอาหารเมนูผักพื้นบ้าน ทำเมนูไตปลากับผักพื้นบ้าน
    ส่วนประกอบ

  • ปลาย่าง

  • มะเขือพวง
  • หน่อข่า
  • หน่อไม้ลวกต้ม
  • ถั่วพู
  • เมล็ดขนุนแห้ง
  • มะเขือ
  • ฝักทอง
  • เครื่องแกง

วิธีการทำ

  1. ใส่ไตปลาในหม้อพร้อมกับน้ำ ประมาณ 2 ถ้วย ตั้งไฟให้ละลาย กรองเอากากออกใส่น้ำพริกแกงละลายลงในหม้อแกง นำไปตั้งไฟจนเดือดทั่ว
  2. ใส่ปลาย่าง
  3. ใส่ส้มแขกหรือมะขามเปียก น้ำตาลปึก ชิมรสถ้ารสอ่อนให้เติมเกลือ เมื่อรสดีแล้วใส่ผักต่างๆและใบมะกรูดพอผักสุกยกลง
  • 12.00 น. พักกลางวัน
  • 13.00 น. นางวันเพ็ญ เกษกล้า ได้พูดเกี่ยวกับทำอย่างไรให้ผักพื้นบ้านเป็นที่นิยมแก่คนทั่วไปโดยเริ่มจากสร้างค่านิยมการกินตามท้องถิ่นให้เป็นที่แพร่หลาย ทุกคนช่วยกันประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่นิยมในการกินผักพื้นบ้านปลอดสารพิษ สามารถนำไปขายออกงานที่ราชการจัดบูธให้
  • 14.30 น. ผู้รับผิดชอบโครงการได้บอกนัดหมายครั้งต่อไปว่ามีการมอบรางวัลให้คนที่ทำอาหารมาประกวด
  • 15.30 น. ปิดการอบรม
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 45 คน จากที่ตั้งไว้ 70 คน
ประกอบด้วย
  • คณะกรรมการ
  • คณะกรรมการสวนป่า
  • คณะทำงาน
  • คนในชุมชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมกรรมการคณะกรรมการ คณะทำงาน ประจำเดือนสิงหาคม6 สิงหาคม 2016
6
สิงหาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายอุดมเกียรติ ไสยรินทร์
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อพัฒนากลไกสภาผู้นำในการทำงานชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เวลา 13.00 น. - 15.30 น. ณ ที่โรงเรียนบ้านโกงเหลง
  • ผู้ใหญ่กล่าวเปิดประชุม
  • ผู้ใหญ่ว่าได้กล่าวในที่ประชุมเริ่มทำกิจกรรมภายในเดือนนี้
  • ผู้ใหญ่กล่าวปิดประชุม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้ใหญ่กล่าวขอความร่วมมือในการเผยแพร่ประชาสัมพันธร่างรัฐธรรมนูญไทยมีการประชาสัมพันธเสียงตามสาย เพื่อให้ทราบทั่วกันว่าการออกเสียงประชามติ จะลงกันในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 เวลา 08.00 น.- 16.00 น. ที่หน่วยเลือกตั้งโรงเรียนบ้านโกงเหลง
  • เดือนนี้เป็นเดือนสิริมงคล วันเฉลิมพระพรรษาของสมเด็จพระราชินีวันที่ 12 สิงหาคม 2559 ให้ชาวบ้านประดับธงชาติ
  • มีการวางแผนการดำเนินงานครั้งต่อไปของโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • คณะกรรมการ
  • คณะกรรมการสวนป่า
  • คณะทำงาน
  • คนในชุมชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

อบรมการจัดทำและการใช้ปุ๋ยอินทรีย์31 กรกฎาคม 2016
31
กรกฎาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายอุดมเกียรติ ไสยรินทร์
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อให้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการทำปุ๋ยเพื่อลดการใช้สารเคมีที่มีราคาแพง
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ลงทะเบียนเวลา 9.30 น.
  • 10.00 น.นายนิรันดร์ วงค์กลาง ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวเปิดการอบรม
  • 10.05 น. ได้เชิญ นายสกลบัวเพชร มาเป็นวิทยากรทำน้ำปุ๋ยหมักอินทรีย์
  • 13.00 น. นายสมโชค รังสิมันตุชาติ วิทยากรคนที่สองได้มาพูดเสริมถึงการใช้ปุ๋ยอินทรีย์มีประโยชน์และประหยัดอย่างไร
  • ปิดการอบรม 15.30 น.
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • นายสกล บัวเพชร มาเป็นวิทยากรทำน้ำปุ๋ยหมักอินทรีย์ได้พูดถึงประโยชน์ปุ๋ยหมักและวิธีการใช้ปู๋ยหมัก และได้เล่าประสบการณ์การใช้ปุ๋ยหมักอินทรีย์ว่าดีอย่างไร สามารถทำจากอะไรได้บ้าง วันนี้วิทยากรได้สาธิตการทำน้ำหมักจากเศษปลาที่ได้จากตลาดนัดซึ่งปกติแล้ววิทยากรได้เก็บเศษปลาจากตลาดนัดทุกนัดมาไว้ที่บ้านมากมาย วัสดุที่ใช้คือ

    • เศษปลา
    • กากน้ำตาล
    • ภด.2
    • น้ำ
  • ใช้ได้กับพืชทุกชนิด อัตราการใช้ 1 : 20 ส่วน โดยจะรดอาทิตย์ละครั้ง

  • ช่วงบ่ายนายสมโชค รังสิมันตุชาติ วิทยากรคนที่สองได้มาพูดเสริมถึงการใช้ปุ๋ยอินทรีย์มีประโยชน์และประหยัดอย่างไรแนะนำการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เปรียบเทียบกับปุ๋ยเคมีว่าอันไหนใช้แล้วเกิดประโยชน์สูงสุดกับพืชของเราหลังจากนั้นผู้เข้ารมได้ซักถาม
  • ผู้เข้าอบรมทราบถึงประโยชน์ของการใช้ปุ๋ยหมัก
  • ผู้เข้าอบรมรู้วิธีการใช้ปุ๋ยหมัก
  • ผู้เข้าอบรมรู้จักสังเกตว่าพีชชนิดไหนควรจะใช้ปุ๋ยหมักในปริมาณเท่าไร
  • ผู้เข้าอบรมทราบว่าส่วนประกอบ และอัตราส่วน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 45 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย
  • วัยเรียน 15 คน
  • วัยทำงาน 30 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ปลูกพันธ์ุไม้ท้องถิ่น สมุนไพร และผักพื้นบ้านในสวนป่าชุมชน ครั้งที่ 226 กรกฎาคม 2016
26
กรกฎาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายอุดมเกียรติ ไสยรินทร์
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อเพิ่มพืชพันธุ์ในสวนป่าให้มีความหลากหลาย และเป็นสถานที่ปลูกพืชผสมผสาน
  • เพื่อซ่อมแซมส่วนของต้นไม้ที่ได้รับความเสียหายจากความแห้งแล้ง
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ณ ที่สวนป่าเฉลิมพระเกียรติ ร.9 เวลา 10.00 น.- 15.30 น.

  • คณะกรรมการสำรวจพื้นที่
  • บอกความเสียหายประมาณการณ์ให้ชาวบ้านที่มาได้ทราบ
  • ชาวบ้านพร้อมทั้งผู้เกี่ยวเตรียมอุปกรณ์ซ่อมแซมส่วนที่เสียหาย
  • พักรับประทานอาหารกลางวัน
  • นำต้นไม้ไปปลูกแทนที่ต้นที่เสียหาย
  • ผู้ใหญ่บ้านกล่าวปิดกิจกรรม และขอบคุณชาวบ้านที่ร่วมงานกันอย่างแข็งขัน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ณ เวลา 13.00 น.คณะกรรมการสวนป่าได้ไปดูพื้นที่ปลูกต้นไม้ ครั้งที่ 1 เห็นว่าพืชที่ปลูกได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก คณะกรรมการสวนป่าบอกกับชาวบ้านบ้านว่ามีความเสียหายมากแค่ไหนชาวบ้านก็พร้อมใจกันซ่อมแซมต้นไม้ ได้เอาหญ้าออกจากโคนต้นไม้ ไ้ด้ขุดต้นที่ตายแล้วออกจากดินได้รดน้ำต้นไม้
  • พักกลางวัน
  • หลังจากพักเที่ยงชาวบ้านได้ช่วยกันเอาพืชลงมาปลูก ซึ่งพืชที่ปลูกซ่อมแซม มีดังนี้

    • ต้นกอ
    • ต้นเลา
    • ผักเขลียง
  • 15.30 น.ผู้ใหญ่บ้านกล่าวปิดประชุมและขอบคุณชาวบ้านที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 110 คน
ประกอบด้วย
  • คณะกรรมการสวนป่า

  • ชาวบ้านในชุมชน

  • ผู้นำท้องถิ่น

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

อบรมการจัดทำบัญชีรายรับ - รายจ่ายครัวเรือน20 กรกฎาคม 2016
20
กรกฎาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายอุดมเกียรติ ไสยรินทร์
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการบัญชีรับ-จ่าย
  • เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถวิเคราะห์รายรับ-รายจ่ายของตัวเองได้ว่าเป็นยังไง
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • แจกหนังสือ
  • เชิญวิทยากรทำบัญชีเน้นเอาคนในพื้นที่ที่มีความรู้ การทำบัญชี สอนวิธีทำต่างๆ ให้กลุ่มนำร่องปลูกผักได้มีความรู้ด้านบัญชี
  • เริ่มลงทะเบียน เวลา 9.30 - 10.00 น.
  • เปิดการอบรมโดยนายนิรันดร์ วงค์กลาง ผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวเปิดการอบรม
  • เวลา 10.10 น. เชิญวิทยากร นางปวริศา ว่ากลาง ที่มีความรู้เรื่องบัญชีได้พูดถึงความสำคัญของการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ในครัวเรือน
  • พักกลางวัน

  • 13.00 วิทยากร นายสมโชค รังสิมันตุชาติได้มาบอกเล่าประสบการณ์ของตัวเองว่าการทำบัญชีดีอย่างไร และได้แนะนำให้ผู้เข้าอบรมว่าเขียนตามความเข้าใจของเรา

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • นายนิรันดร์ วงค์กลาง ผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวเปิดการอบรม ว่าการทำบัญชีครัวเรือนเป็นเรื่องสำคัญถ้าใครสามารถทำได้จะเป็นผลดีต่อครอบครัว
  • วิทยากร นางปวริศาว่ากลางที่มีความรู้เรื่องบัญชีได้พูดถึงความสำคัญของการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ในครัวเรือน ว่าทำไมต้องทำ มีประโยชน์อย่างไรบ้าง
  1. เราได้รู้ว่าเรามีรายจ่ายเดือนละเท่าไร มาจากไหนบ้าง
  2. เราได้รู้ว่าเรามีรายจ่ายเดือนละเท่าไร เราจ่ายอะไรบ้าง อะไรที่เราจำเป็นต้องจ่าย อะไรไม่มีความจำเป็นต้องจ่ายเราตัดรายจ่ายอะไรออกไปได้บ้าง
  3. เราได้รู้ว่าเราจะมีเงินเดิมมากน้อยเพียงใดในแต่ละเดือนหรือเราอาจจะไม่มีเลยเพราะอะไร
  • แรกๆ หลายคนลองถูกบ้างผิดบ้าง วิทยากรได้ช่วยอธิบายให้ฟังถ้าเราลงรายรับ-รายจ่ายทุกวันมันจะง่ายถ้าเราเว้นไว้หลายวันค่อยลงมันอาจทำให้เราลืมไปบ้าง ทำห้เราได้ข้อมูลที่ไม่ตรงความเป็นจริง
  • นายสมโชค รังสิมันตุชาติ ที่มีประสบการณ์การทำบัญชี ได้มาบอกเล่าประสบการณ์ของตัวเองว่าการทำบัญชีดีอย่างไร และได้แนะนำให้ผู้เข้าอบรมว่าเขียนตามความเข้าใจของเรา
  • ชาวบ้านได้รู้เรื่องบัญชีเพิ่มขึ้น
  • ได้เห็นตัวอย่างที่เป็นต้นแบบให้เราสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
  • เราสามารถประหยัดเงินที่ใช้จ่ายในครอบครัวได้มากกว่าเดิม
  • มีความคิดที่วางแผนในการใช้เงิน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • กลุ่มนำร่องปลูกผัก 30 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมกรรมการ คณะทำงาน ประจำเดือนกรกฎาคม7 กรกฎาคม 2016
7
กรกฎาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายอุดมเกียรติ ไสยรินทร์
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อแจ้งความคืบหน้าของโครงการและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ผู้ใหญ่กล่าวเปิดประชุม และแจ้งวาระทางอำเภอ
  • ประธานกองทุนได้แจ้งให้ที่ประชุมและเสนอความคิดเห็น ทำร้านค้าชุมชน
  • ผู้รับผิดชอบโครงการว่าได้กล่าวในที่ประชุมเริ่มทำกิจกรรมทำปุ๋ยภายในเดือนนี้
  • ผู้ใหญ่กล่าวปิดประชุม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้ใหญ่กล่าวเปิดประชุม รายงานวาระการประชุมที่ไปประชุมร่วมกับทางอำเภอที่ยังเน้นเรื่องความแห้งแล้ง เรื่องน้ำกินน้ำใช้ เรื่องงบประชารัฐตำบลละ 1 ล้านบาท แบ่งไปทำโครงการต่างๆ ทางหมู่บ้าน โดยปีนี้หมู่บ้านได้เงิน 490000 บาท สร้างศาลาอเนกประสงค์ที่สวนป่าเฉลิมพระเกียรติ
  • ประธานกองทุนได้แจ้งให้ที่ประชุมและเสนอความคิดเห็น ทำร้านค้าชุมชน โดยเปิดเป็นปั๊มน้ำมันหยอดเหรียญ 2 ตู้ ส่วนเงินที่เหลือจะซื้อเครื่องจักรมาทำเครื่องแกง เพราะหมู่บ้านเรามีผลผลิตที่จะเป็นวัตถุดิบที่จะมาทำเครื่องแกงมาก ทุกคนก็มีความเห็นตรงกันทั้งหมดนี้จะทำโดย งบประชารัฐ 500000 โดยกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
  • ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้กล่าวในที่ประชุมเริ่มทำกิจกรรมทำปุ๋ยภายในเดือนนี้ แล้วจะกำหนดวันทำกิจกรรมอีกครั้งหนึ่ง โดยการทำหนังสือเชิญ และกิจกรรมปลูกต้นไม้ครั้งที่ 2 กำลังคอยผลอยู่ หลังจากนั้นพุดคุยกันตามอัธยาศัยสักพัก ผู้ใหญ่กล่าวปิดประชุม
  • ชาวบ้านได้รู้ความก้าวหน้าของโครงการ ตามที่ผู้รับผิดชอบโครงการได้บอกให้ทราบถึงความก้าวหน้าของโครงการ ว่าตอนนี้ได้เริ่มทำกิจกรรมทำปุ๋ยและกำลังรอการพัฒนาของการปลูกต้นไม้ครั้งที่ 2
  • ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยที่ประชุมได้เสนอความคิดเห็น งบประชารัฐ 500000 นั้น จะนำไปทำอะไรแล้วเกิดประโยชน์ ซึ่งได้ความเห็นว่าจะจัดทำ 2 อย่างด้วยกัน
  1. ปั๊มน้ำมันหยอดเหรียญ
  2. เครื่องจักรทำเครื่องแกง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • คณะกรรมการ
  • คณะกรรมการสวนป่า
  • คณะทำงาน
  • คนในชุมชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมกรรมการ คณะทำงาน ประจำเดือนมิถุนายน7 มิถุนายน 2016
7
มิถุนายน 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายอุดมเกียรติ ไสยรินทร์
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อแจ้งความคืบหน้าของโครงการและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • แจกหนังสือเชิญประชุม ณ โรงเรียนบ้านโกงเหลง ในวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ 2559 ในเวลา 13.00 น ถึง 16.00 น
  • ผู้เกี่ยวข้องได้ทยอยเข้ามาประชุมที่โรงเรียนบ้านโกงเหลง
  • ผู้ใหญ่บ้านกล่าวเปิดประชุมพูดถึงวาระทางอำเภอ
  • ประธาน อสม. ได้แจ้งให้ทราบเรื่องการคัดกรอง เบาหวาน ความดัน
  • ผู้ใหญ่กล่าวปิดประชุม เวลา15.30 น.
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้ใหญ่บ้านกล่าวเปิดประชุมพูดถึงวาระทางอำเภอเน้นเรื่องยาเสพติดให้ช่วยกันสอดส่องดูแลคนในครอบครัว อย่าให้หลงผิดไปเสพยาเสพติด และปัญหาที่สำคัญขณะนี้คือปัญหาหน้าแล้งแล้ว ปีนี้แล้งหนักมาก พืชทางเกษตรเสียหายเป็นจำนวนมาก น้ำในคลองก็แห้งเน้นให้ทุกคนประหยัดน้ำ และให้สำรวจพืชที่ได้รับความเสียหายจากความแห้งแล้ง ตอนนี้มีโครงการประชารัฐ 200000 บาท ได้มีมติให้สร้างที่พักน้ำเพื่อผลิตน้ำประปา
  • สำหรับโครงการสวนป่า สร้างสุขคนโกงเหลง ได้พูดถึงความคืบหน้าของโครงการว่าตอนนี้ได้ชะลอการทำกิจกรรมไปสักพักหนึ่งเนื่องจากปัญหาความแห้งแล้งเพราะรดน้ำในสวนผลไม้กลัวผลผลิตเสียหายถ้าให้น้ำไม่เพียงพอ
  • ประธาน อสม. ได้แจ้งให้ทราบเรื่องการคัดกรอง เบาหวาน ความดัน โดยจะมี อสม. ประจำเขตความรับผิดชอบเข้าไปคัดกรองขอให้ประชาชนให้ร่วมมือด้วย
  • จากการประชุม ทำให้คนในชุมชนได้ทราบความคืบหน้าของโครงการ ข่าวคราวในหมู่บ้าน ได้ทราบทั้งเรื่อง อสม. และการประหยัดน้ำ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 25 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • คณะกรรมการ
  • คณะกรรมการสวนป่า
  • คณะทำงาน
  • คนในชุมชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมกรรมการ คณะทำงาน ประจำเดือนพฤษภาคม7 พฤษภาคม 2016
7
พฤษภาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายอุดมเกียรติ ไสยรินทร์
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อแจ้งความคืบหน้าของโครงการและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • 13.00 น. ผู้ใหญ่กล่าวเปิดประชุม
  • คณะกรรมการสวนป่าได้ปรึกษาหารือกัน
  • ผู้รับรับผิดชอบโครงการได้บอกความคืบหน้าของโครงการ
  • 15.30 น. ผู้ใหญ่กล่าวปิดประชุม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้ใหญ่ได้กล่าวขอบคุณชาวบ้านโกงเหลงที่ให้ความร่วมมือและให้ความสำคัญกับการทำบุญที่เจ้าอาวาสวัดควนสุบรรณได้นำพระและสามเฌรภาคฤดูร้อน จำนวน 84 รูป เข้ามาบิณฑบาตรทั้งข้าวสารอาหารแห้งที่หมู่บ้านเป็นไปด้วยความเรียบร้อย สอบถามเจ้าอาวาสฝากคำชมให้แก่ชาวบ้านเป็นอย่างสูง ทางอำเภอเป็นอย่างสูง วาระประชุมทางอำเภอรอบนี้ถึงโครงการของสวนป่าด้วย
  • ทางคณะทำงานและกรรมการสวนป่าได้ปรึกษากันว่าถ้าเติมรอบ 2 และจะได้ดำเนินต่อไป
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • คณะกรรมการ
  • คณะกรรมการสวนป่า
  • คณะทำงาน
  • คนในชุมชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมกรรมการ คณะทำงาน ประจำเดือนเมษายน7 เมษายน 2016
7
เมษายน 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายอุดมเกียรติ ไสยรินทร์
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อแจ้งความคืบหน้าของโครงการและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เริ่มประชุม เวลา 13.00น.-15.30 น. ณ โรงเรียนบ้านโกงเหลง

  • ผู้ใหญ่ได้กล่าวเปิดประชุม
  • ผู้ใหญ่ได้พูดเกี่ยวกับภัยแล้งที่ร้อนกว่าทุกปี
  • ผู้ใหญ่ได้เตือนให้ชาวบ้านฟังถึงการประหยัดน้ำ
  • นาย นิรันดร์ วงค์กลาง ได้พูดถึงความคืบหน้าของโครงการ
  • ชาวบ้านแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
  • ผู้ใหญ่กล่าวปิดประชุม เวลา 15.30 น.
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้ใหญ่กล่าวเปิดวาระประชุมทางอำเภอ วันที่ 13 เมษายน 2559 เป็นวันสงกรานต์ให้ช่วยกันดูแลลูกหลานที่เล่นน้ำสงกรานต์ให้เหมาะสม และวันสงกรานต์นี้เราได้จัดทรงน้ำพระตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งที่วัดโกงเหลงชาวบ้านสนใจ สามารถเข้าร่วมงานได้ และได้ขอร้องให้ช่วยกันประหยัดน้ำเพราะช่วงนี้ฤดูแห้งแล้ง
  • สำหรับกิจกรรมโครงการสวนป่า สร้างสุขคนโกงเหลงได้ชะลอโครงการเพราะเงินยังไม่ได้เข้า ถ้ามีความคืบหน้ายังไงจะแจ้งให้ทราบต่อไป
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • คณะกรรมการ
  • คณะกรรมการสวนป่า
  • คณะทำงาน
  • คนในชุมชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

พี่เลี้ยงผู้ติดตาม ตรวจเอกสารปิดงวด 119 มีนาคม 2016
19
มีนาคม 2016รายงานจากพี่เลี้ยง โดย Yuttipong Kaewtong
circle
วัตถุประสงค์

พี่เลี้ยงผู้ติดตาม ตรวจเอกสารปิดงวด 1

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

พี่เลี้ยงผู้ติดตาม ตรวจเอกสารปิดงวด 1

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สามารถส่งรายงาน ง.1 งวด 1 และะรายงาน ส.1 ได้
เกิดป่าชุมชนสามารถส่งรายงาน ง.1 งวด 1 และะรายงาน ส.1 ได้

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงาน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

จัดทำรายงานปิดโครงการงวดที่ 119 มีนาคม 2016
19
มีนาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายอุดมเกียรติ ไสยรินทร์
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อจัดทำเอกสารการเงินให้ถูกต้อง
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เดินทางมายัง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี
  • พบพี่เลี้ยงผู้ติดตามโครงการ นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
  • ตรวจสอบเอกสารการเงิน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • สามารถจัดทำรายงานผลการดำเนินงานโครงการได้สมบูรณ์
  • เอกสารการเงินได้รับการตรวจสอบ ปรับแก้จากพี่เลี้ยงจนถูกต้อง
  • สามารถส่งรายงาน ง.1 งวด 1 และะรายงาน ส.1 ได้
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 3 คน จากที่ตั้งไว้ 3 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน จำนวน 3 คน

  1. นายนิรันดร์วงค์กลาง
  2. นางวาสนา วงค์กลาง
  3. นางสาวศรินยา วงศ์กลาง
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่เข้าใจแนวทางการเบิกจ่ายงบประมาณ และการเขียนเอกสาร ต้องให้พี่เลี้ยงช่วยตรวจสอบ
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวอารีย์ คงแจ่ม / นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมกรรมการ คณะทำงาน ประจำเดือนมีนาคม 25597 มีนาคม 2016
7
มีนาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายอุดมเกียรติ ไสยรินทร์
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อแจ้งความคืบหน้าของโครงการและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

แจกหนังสือเชิญประชุม ณ โรงเรียนบ้านโกงเหลง ในวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ 2559 และประชุมในวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ 2559

  • ผู้เกี่ยวข้องได้ทยอยเข้ามาประชุมที่โรงเรียนบ้านโกงเหลง
  • ผู้ใหญ่บ้านได้กล่าวเปิดประชุม
  • ผู้รับผิดชอบโครงการได้บอกให้ทราบถึงความกล่าวหน้าของโครงการ
  • ประธานกองทุนหมู่บ้านได้บอกโครงการเสริมความแข็มแข็งเศรษฐกิจฐานรากตามแนวประชารัฐ
  • ผู้ที่เกี่ยวข้องแลกเปลี่ยนความคิดเห็นว่าจะเสริมหรือจะลดตรงไหนของโครงการต่อไป
  • ผู้ใหญ่บ้านได้กล่าวปิดประชุม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ชาวบ้านได้รู้ความก้าวหน้าของโครงการ ตามที่ผู้รับผิดชอบโครงการได้บอกให้ทราบถึงความก้าวหน้าของโครงการ ว่าตอนนี้ได้สำรวจข้อมูลผักพื้นบ้านในสวนป่าและในชุมชนและได้ทำข้อมูลพันธุ์สวนป่าในชุมชนเสร็จเรียบร้อยแล้วได้กำหนดกฎกติกาการใช้ประโยชน์ป่าชุมชนและได้สร้างนำร่องครัวเรือนปลูกพืชผักผสมผสาน 30 ครัวเรือน
  • ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยที่ประชุมได้เสนอความคิดเห็น ดังนี้
  1. โครงการใหม่เป็นโครงการที่น่าสนใจถ้าชาวบ้านสามารถทำได้
  2. ในที่ประชุมได้ให้ชาวบ้านกลับไปคิดว่าเราจะทำอะไรที่มีประโยชน์กับชาวบ้านมากที่สุด
  • ได้ทราบว่ามีโครงการใหม่เกิดขึ้น ได้แก่ โครงการเสริมความแข็มแข็งเศรษฐกิจฐานรากตามแนวประชารัฐ

    • ประธานกองทุนหมู่บ้านได้บอกโครงการเสริมความแข็มแข็งเศรษฐกิจฐานรากตามแนวประชารัฐเป็นโครงการใหม่และเร่งด่วนรัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณ กฐบ. 500,000 บริหารจัดการในเรื่องต่อไปนี้โครงการมีรายได้จัดสวัสดิการแก่สมาชิกและชาวบ้านแหล่งท้องเที่ยวเชิงนิเวศเป็นต้น
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • คณะกรรมการ
  • คณะกรรมการสวนป่า
  • คณะทำงาน
  • คนในชุมชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวอารีย์ คงแจ่ม / นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

สร้างกลุ่มนำร่องครัวเรือนปลูกพืชผักผสมผสาน 30 ครัวเรือน20 กุมภาพันธ์ 2016
20
กุมภาพันธ์ 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายอุดมเกียรติ ไสยรินทร์
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อขยายการทำเกษตรแบบผสมผสานลงไปในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • แจกหนังสือไปในกลุ่มที่มีผู้สนใจที่จะทำเกษตรแบบผสมผสาน
  • ประธานโครงการเป็นผู้กล่าวเปิดประชุมและทำความเข้าใจ
  • นายจิตต์พันธุ์พฦกษ์ และนางภิญโญ โกงเหลง เป็นผู้พูดให้เป็นแรงบันดานใจให้ทำเกษตรผสมผสานดีอย่างไร ได้เล่าประสบการณ์ของตัวเองได้ปลูกผักเขลียงและผักกูดในสวนยางสร้างรายได้ให้กับตัวเองมากมาย
  • พักรับประทานอาหาร
  • รับสมัครผู้ที่สนใจนำร่องครัวเรือนปลูกผักผสมผสานในสวนปาล์ม สวนยาง สวนผลไม้ โดยวางข้อตกลงกันไว้ว่าต้องปลูกผักผสมผสานอย่างน้อยครัวละ 5 ชนิด
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • นายจิตต์ พันธุ์พฦกษ์ และนางภิญโญ โกงเหลง เป็นผู้พูดให้เป็นแรงบันดานใจให้ทำเกษตรผสมผสาน โดยได้เล่าประสบการณ์ของตัวเองได้ปลูกผักเขลียงและผักกูดในสวนยางสร้างรายได้ให้กับตัวเองมากมาย
  • เกิดครัวเรือนปลูกผักพื้นบ้านปลอดสารปลูกพืชเสริมอย่างน้อย 30 ครัวเรือนนำร่อง และแต่ละครัวเรือนปลูกพืชผักผสมผสานไว้อย่างน้อยครัวเรือนละ 5 ชนิด โดยครัวเรือนนำร่องมีรายชื่อ ดังนี้
  1. นางบุญไสยรินทร์
  2. นางนงนุชเจริญชีพ
  3. นางสุจินต์ บัวเพชร
  4. นางประจีบแก่นทอง
  5. นางนันทยาโกงเหลง
  6. นางเรณูจงเจริญ
  7. นางพวนวงศ์เจริญ
  8. นายสุภาพนิ่มรัตน์
  9. นางรัตนาทองประเทือง
  10. นายจิตต์พันธุ์พฤกษ์
  11. นายสมโชครังสิมันตุชาติ
  12. นางปริศนาพัฒนประดิษฐ์
  13. นางอุไร ศิริพงศ์
  14. นายวิรัชสันติวาที
  15. นางรัชนี สีวีระกุลไกร
  16. นายเกรียงไกรสีรีระกุลไกร
  17. นายจุติโกงเหลง
  18. นางยุพินโกงหลง
  19. นางภิญโญโกงเหลง
  20. นางลำยองแย้มแก้ว
  21. นางวันเพ็ญทองดี
  22. นายสุราษฎ์โสภาคย์
  23. นางฉลวยบัวเพชร
  24. นายสุวรรณบัวแย้ม
  25. นายเสรี ชูช่วง
  26. นางวิภารัตน์ สุระกา
  27. นางอรวรรณปานทอง
  28. นางปรีดาตั้นเคียน
  29. นางอุทิศโกละกะ
  30. นางสมจิตร โกงเหลง

- เกิดการร่วมกลุ่มที่เอาพืชผักมาขายร่วมกัน โดยตกลงจะขายในวันจันทร์ พุธ ศุกร์ ณ บ้านนางภิญโญ โกงเหลง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • เด็กนักเรียนในชุมชน
  • คณะทำงาน
  • ชาวบ้านในชุมชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวอารีย์ คงแจ่ม / นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

เวทีกำหนดกฎ กติกา การใช้ประโยชน์ร่วมกันในสวนป่าชุมชน20 กุมภาพันธ์ 2016
20
กุมภาพันธ์ 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายอุดมเกียรติ ไสยรินทร์
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อวางกฎระเบียบ กติกา การใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ประสานงานผู้เข้าร่วม
  • ประธานกองทนกล่าวเปิดงานงาน
  • นายอุดมเกียรติ ไสยรินทร์ เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ พูดเกี่ยวกับความคืบหน้าของโครงการตอนนี้เราได้ทำข้อมูลพันธุ์ไม้ในสวนป่าและวันนี้เราพูดถึงกฎระเบียบ กติกา ขึ้นมาเพื่อให้ชาวบ้านไปในทางเดียวกัน
  • ให้ชาวบ้านเสนอกฎระเบียบขึ้นมาให้สมาชิกในที่ประชุมยกมือเห็นชอบถ้าข้อไหนไม่มีใครเห็นด้วยตัดไป
  • พักรับประทานอาหาร
  • รวบรวมเพื่อจะทำป้ายประกาศกฎระเบียบในพื้นที่สวนป่าชุมชน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • กฎระเบียบที่มีขึ้นคนในชุมชนกำหนดร่วมกัน โดยมีกฎระเบียบ ดังนี้
  1. ห้ามตัดต้นไม้และโค่นต้นไม้ทุกชนิด
  2. ผลผลิตทุกชนิดเก็บกินได้แต่ห้ามนำไปจำหน่าย
  3. คนในชุมชนต้องช่วยปลูกต้นไม้อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
  4. ต้องช่วยกันผลิตผักพื้นบ้านและต้นไม้เพื่อช่วยเหลือชุมชนอื่น
  5. ห้ามทำกิจกรรมอันหนึ่งอันใด ที่ฝืนมติของกรรมการสวนป่าฯ
  6. ต้องจัดงานถวายราชสักการะในวาระเฉลิมพระชนม์พรรษาทุกปี
  • เกิดการใช้ประโยชน์ร่วมกันที่เป็นธรรมในชุมชน
  • เกิดข้อตกลงกฎระเบียบที่ทุกคนภายในชุมชนยอมรับและปฎิบัติตาม
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 40 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย
  • เด็กนักเรียนในชุมชน
  • คณะกรรมการสวนป่า
  • คณะกรรมการหมู่บ้าน
  • ชาวบ้านในชุมชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวอารีย์ คงแจ่ม / นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

จัดทำข้อมูลพันธุ์พืชพันธุ์ไม้ในสวนป่าชุมชน12 กุมภาพันธ์ 2016
12
กุมภาพันธ์ 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายอุดมเกียรติ ไสยรินทร์
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อรวบรวมชนิดพันธุ์พืชในสวนป่าชุมชนรวมถึงสรรพคุณ และคุณประโยชน์ต่างๆ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • นายอุดมเกียรติ ไสยรินทร์เป็นผู้กล่าวเปิดงาน
  • นายจิตต์ พันธุ์พฦกษ์ และนายประสิทธิ บัวเพชร ได้พูดถึงวิธีการรวบรวมพันธุ์พืชและกล่าวถึงข้อมูล
  • รับประทานอาหารกลางวัน
  • จากการที่สำรวจพันธุ์ไม้ในกิจกรรมที่ 3 ได้ทราบชื่อพันธุ์ไม้ต่างๆ รวมทั้งสรรพคุณและคุณประโยชน์แล้วจึงนำมาจัดทำเป็นแผ่นป้ายชื่อติดตามต้นไม้
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมได้รู้จักชื่อสรรพคุณและคุณประโยชน์ของพันธุ์ไม้ในสวนป่า โดยพันธุ์ไม้ที่มีในป่าชุมชน ได้แก่
  1. ต้นกำจัด จำนวน 2 ตัน
  2. ต้นกำจายจำนวน 2 ต้น
  3. ต้นกระดูกไก่ขาว จำนวน 80 ต้น
  4. ต้นกระโดนจำนวน 6 ต้น
  5. ต้นกระแตไต่ไม้ จำนวน 8 ต้น
  6. ต้นกระทือ จำนวน 25 ต้น
  7. ต้นกระท้อน จำนวน 6 ต้น
  8. ต้นกันเกราจำนวน 5 ต้น
  9. ต้นกระทังจำนวน 22 ต้น
  10. ต้นขนุนจำนวน 8 ต้น
  11. ต้นขมิ้นเครือ จำนวน 150 ต้น
  12. ต้นขี้เหล็ก จำนวน 25 ต้น
  13. ต้นเข็มป่า จำนวน 21 ต้น
  14. ต้นคล้า จำนวน 2 ต้น
  15. ต้นคูน จำนวน 6 ต้น
  16. ต้นงิ้วป่า จำนวน 4 ต้น
  17. ต้นจิกโดนจำนวน 7 ต้น
  18. ต้นจิก จำนวน 8 ต้น
  19. ต้นชะมวง จำนวน 5 ต้น
  20. ต้นตะเคียนจำนวน 23 ต้น
  21. ต้นตะเคียนทอง จำนวน 25 ต้น
  22. ต้นต้อยติ่ง จำนวน 3 ต้น
  23. ต้นตะแบกจำนวน 12 ต้น
  24. ต้นตาเสือ จำนวน 8 ต้น
  25. ต้นตาลโตนดจำนวน 6 ต้น
  26. ต้นตีนเป็ดจำนวน 15 ต้น
  27. ต้นเต่าร้าง จำนวน 10 ต้น
  28. ต้นทองพันชั่งจำนวน 8 ต้น
  29. ต้นเทพธาโรจำนวน7 ต้น
  30. ต้นทำมังจำนวน 6 ต้น
  31. ต้นธรณีสารจำนวน50 ต้น
  32. ต้นนนทรีจำนวน 22 ต้น
  33. ต้นค่างเต้น จำนวน 10 ต้น
  34. ต้นไทรจำนวน 5 ต้น
  35. ต้นนมแมวจำนวน50 ต้น
  36. ต้นปลาไหลเผือก จำนวน 20 ต้น
  37. ต้นเปล้าน้อยจำนวน 15 ต้น
  38. ต้นเปล้าใหญ่ จำนวน 16 ต้น
  39. ต้นไผ่ป่า จำนวน 10 ต้น
  40. ต้นเพกาจำนวน 6 ต้น
  41. ต้นมะกอก จำนวน 3 ต้น
  42. ต้นมะกล่ำจำนวน 5 ต้น
  43. ต้นมะขามป้อมจำนวน27 ต้น
  44. ต้นเดื่อชุมพรจำนวน 6 ต้น
  45. ต้นมะเดื่อดินจำนวน50 ต้น
  46. ต้นมะพร้าวจำนวน 7 ต้น
  47. ต้นมะไฟ จำนวน 12 ต้น
  48. ต้นมะเฟือง จำนวน 2 ต้น
  49. ต้นมะม่วงหิมพานต์ จำนวน 2 ต้น
  50. ต้นมะม่วงจำนวน 20 ต้น
  51. ต้นมะรุมจำนวน3 ต้น
  52. ต้นมะหาด จำนวน20 ต้น
  53. ต้นมังตาลจำนวน 10 ต้น
  54. ต้นม้ากระทือโรงจำนวน 15 ต้น
  55. ต้นราชพฦกษ์ จำนวน 7 ต้น
  56. ต้นเล็บครุฑจำนวน 20 ต้น
  57. ต้นโมก จำนวน 23 ต้น
  58. ต้นโมกหอม จำนวน 5 ต้น
  59. ต้นยอป่า จำนวน 15 ต้น
  60. ต้นยางนา จำนวน 27 ต้น
  61. ต้นย่านาง จำนวน 100 ต้น
  62. ต้นระย่อมจำนวน 57 ต้น
  63. ต้นสะตอ จำนวน 30 ต้น
  64. ต้นสังกรณี จำนวน 25 ต้น
  65. ต้นเสลดพังพอน จำนวน 6 ต้น
  66. ต้นไพลป่าจำนวน 20 ต้น
  67. ต้นไพลดำ จำนวน 7 ต้น
  68. ต้นราชดัดจำนวน 20 ต้น
  69. ต้นโศก จำนวน 2 ต้น
  70. ต้นสะเดาจำนวน 20ต้น
  71. ต้นสาละจำนวน 2 ต้น
  72. ต้นเนียงจำนวน 15 ต้น
  73. ต้นหมากผู้, หมากเมีย จำนวน 7 ต้น
  74. ต้นคอเหี้ย จำนวน 5 ต้น
  75. ต้นเหรียง จำนวน 27 ต้น
  76. ต้นไผ่ตงหวานจำนวน 13 ต้น
  77. ต้นพะยอมจำนวน 20 ต้น
  78. ต้นมะฮอกกานีจำนวน 18 ต้น
  79. ต้นปุด จำนวน 100 ต้น
  80. ต้นฝาง จำนวน 5 ต้น
  81. ต้นกอจำนวน 80 ต้น
  82. ต้นหญ้าดอกเลาจำนวน 100 ต้น
  83. ต้นลูกหงอนไก่ จำนวน 16 ต้น
  • สามารถพัฒนาสวนป่าให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ด้านการปลูกพืชผสมผสานซึ่ง ได้แก่ พันธุ์ไม้ในท้องถิ่น พืชสมุนไพรผักพื้นบ้าน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 33 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • นักเรียน 22 คน
  • วัยทำงาน 10 คน
  • ครู 1 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวอารีย์ คงแจ่ม / นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมกรรมการ คณะทำงาน ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 25597 กุมภาพันธ์ 2016
7
กุมภาพันธ์ 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายอุดมเกียรติ ไสยรินทร์
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อบอกให้ทราบถึงความก้าวหน้าของโครงการ เเละความก้าวหน้า อุปสรรคต่างๆ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

แจงหนังสือเชิญผู้ที่เกี่ยวข้อง วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2559 และวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2559 เป็นวันประชุม เวลา 13.00 น.- 16.00 น.

  • ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทยายกันมาประชุม ณ ที่โรงเรียนบ้านโกงเหลง
  • ผู้ใหญ่บ้านได้กล่าวเปิดประชุม
  • ผู้รับผิดชอบโครงการได้พูดถึงความก้าวหน้าของโครงการ
  • แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • ผู้ใหญ่บ้านกล่าวปิดประชุม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้ที่มาประชุมได้ทราบถึงความคืบหน้าของโครงการ โดยผู้รับผิดชอบโครงการได้พูดถึงความก้าวหน้าของโครงการ ได้พูดถึงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559 คณะทำงานได้เดินทางไปโรงแรมร้อยเกาะเพื่อจัดทำรายงานงวดที่ 1 แต่โครงการเราทำไม่ทันเนื่องจากงบประมาณโครงการมาช้าจึงต้องขยายเวลาไปอีกหนึ่งเดือน
  • ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของแต่ละกลุ่ม โดยมีข้อเสนอ ดังนี้
  1. พันธุ์ไม้ในป่าชุมชนมีมากมาย
  2. เห็นความร่มรื่นของสวนป่าอยากจะทำเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ
  3. อยากเห็นสวนป่ามีที่ออกกำลังกาย
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • คณะกรรมการ
  • คณะกรรมการสวนป่า
  • คณะทำงาน
  • ผู้รับผิดชอบ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวอารีย์ คงแจ่ม / นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

การประชุมเพื่อจัดทำรายงาน งวดที่ 15 กุมภาพันธ์ 2016
5
กุมภาพันธ์ 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายอุดมเกียรติ ไสยรินทร์
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
  • เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการสรุปยอด งวดที่ 1
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • แลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงาน
  • จัดทำรายงานผลการดำเนินงานโครงการ
  • ตรวจสอบเอกสารการเงิน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงานที่เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการเขียนรายงานการเงินที่ถูกต้อง
  • พี่เลี้ยงช่วยสรุปยอดเงินของกิจกรรมที่ผ่านมา
  • ทำปฎิทินการดำเนินงานได้อย่างถูกต้องและเข้าใจ
  • ยังไม่สามารถจัดทำรายงานผลให้สมบูรณ์ ขอกลับไปเพิ่มเติมรายงานที่ชุมชนต่อ และโครงการได้รับงบประมาณล่าช้า ไม่สามารถจัดกิจกรรมตามแผนได้ทั้งหมด จึงขอขยายเวลาในการดำเนินงานโครงการออกไปอีก 1 เดือน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 4 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • นายนิรันดร์ วงค์กลาง ผู้รับชอบโครงการ
  • นางวาสนา วงค์กลาง คณะทำงาน
  • นางวันเพ็ญ ทองดี คณะกรรมการ
  • นายวิเชียร โกละกะ คณะกรรมการ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559 คณะทำงานได้เดินทางไปโรงแรมร้อยเกาะเพื่อจัดทำรายงานงวดที่ 1 แต่โครงการเราทำไม่ทันเนื่องจากงบประมาณโครงการมาช้าจึงต้องขยายเวลาไปอีกหนึ่งเดือน
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวอารีย์ คงแจ่ม / นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

สำรวจรวบรวมข้อมูลพันธุ์ผักพื้นบ้าน พืชสมุนไพรในป่าชุมชน ครั้งที่ 24 กุมภาพันธ์ 2016
4
กุมภาพันธ์ 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายอุดมเกียรติ ไสยรินทร์
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อสำรวจพันธุ์ไม้ในชุมชน
  • เพื่อรวบรวมข้อมูลพันธุ์ไม้ในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • แบ่งเด็กเป็น 2 กลุุ่ม
  • ผู้เชี่ยวชาญเรื่องพันธุ์ คือ นายอุดมเกียรติ ไสยรินทร์, นายจิตต์ พันธุ์พฦกษ์ เป็นผู้บอกชื่อพันธุ์ไม้
  • เดินทางโดยรถยนต์ไปสำรวจพืชผักสมุนไพรในชุมชนว่าแต่ละครัวเรือนมีพืชผักสมุนไพรอะไรบ้าง มากน้อยเพียงใด
  • รวบรวมข้อมูล
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • นายจิตต์ พันธุ์พฦกษ์ ได้ให้ความรู้เรื่องพืชผักพืชสมุนไพรกับเด็กในช่วงเช้า โดยมีเนื้อหาสาระสำคัญ คือ ได้เล่าถึงการปลูกพืชแซมในสวนสามารถสร้างรายได้เอาไว้กินเอาไว้ขายได้ซึ่งการปลูกปลูกไม่ยากลงทุนไม่มากมีที่ว่างตรงไหนเราก็เอาพื้นผักมาใส่ไว้ ซึ่งตัวนายจิตต์เองปลูกผักกูดและผักเขลียงในสวนยาง ตอนนี้ตื่นเช้ามาสามารถเก็บผักกูดเป็นรายได้ทุกวัน
  • ช่วงบ่ายได้นำเด็กออกสำรวจตามเส้นทางในหมู่บ้านไปดูแปลงผักเขลียงในสวนยาง ผักกูดในสวนยาง แปลงกล้วยหอม แปลงหญ้าหวายเลี้ยงวัว แปลงผักมันปู ชะอม และรวบรวมข้อมูล โดยข้อมูลพันธุ์พืชสมุนไพรที่พบ ได้แก่
  1. ผักเขลียงในสวนยาง
  2. ผักกูดในสวนยาง
  3. หญ้าหวายเลี้ยงวัวในสวนปาล์ม
  4. มันปูในสวนเงาะ
  5. ชะอมรอบแปลงหญ้าเลี้ยงวัว
  6. ผักเขลียง ชะอม ขิ้ง ข่า ตะไคร้ กระชาย สะตอ ต้นเนียง ส้มป่อย มะม่วงหิมพานต์ ต้นจิก เล็บรอก ฝักข้าว อัญชัน ขมิ้น มะกรูด มะนาวในสวนเงาะข้างบ้าน
  7. มะขามปลูกเป็นรั้ว
  8. มะแว้งขม
  9. โดยเฉพาะบ้าน คุณอุดมเกียรติ มีผักสมุนไพรมากมาย เช่น เปล้าน้อย ธรณีสาร เทพธาโร รากสามสิบ กำลัเสือโคร่ง ข้าวเย็นเหนือ ข้าวเย็นใต้ มะขามป้อม นมราชสีห์ เจ็ดมูลเพลิง ดอกแดง-ขาว เสลดพังพอน ตัวผู้และตัวเมีย พิลังกาสา พลูคาว หญ้าหนาวแมว ชะเอม เทียมงอก เล็บรอก จิกน้ำ เพกา ว่านสบู่เลือด เนระภูสีไทย ว่านกีบแรด พญาไร้ใบ บอระเพ็ด เล็บครุฑ ตะลิงปิง หว่า อ้อยแดง ปลาไหลเผือก ทำมังว่านชักมดลูก กระชายดำ เปราะ ว่านค้างคาวดำ ส้มป่อย ไพลดำ กระดังงาสขลา เป็นต้น
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 25 คน
ประกอบด้วย
  • นักเรียนและครู
  • คณะกรรมการสวนป่า
  • คณะทำงาน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวอารีย์ คงแจ่ม / นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

สำรวจรวบรวมข้อมูลพันธุ์ผักพื้นบ้าน พืชสมุนไพรในป่าชุมชน ครั้งที่ 13 กุมภาพันธ์ 2016
3
กุมภาพันธ์ 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายอุดมเกียรติ ไสยรินทร์
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อสำรวจและรวบรวมข้อมูลพันธุ์พืชในสวนป่า
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • นายอุดมเกียรติ ไสยรินทร์ ได้กล่าวเปิดงาน
  • ผู้เชี่ยวชาญเรื่องพันธุ์ คือนายจิตต์ พันธุ์พฦกษ์ เป็นผู้บอกชื่อพันธุ์ไม้
  • แบ่งเด็กเป็น 2 กลุุ่ม
  • พักกลางวัน รับประทานอาหาร
  • เดินทางโดยรถยนต์ไปสำรวจ จดชื่อต้นไม้ และหาสรรพคุณ ในสวนป่า
  • รวบรวมข้อมูล
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • นายจิตต์ พันธุ์พฦกษ์ได้พูดเรื่องพันธุ์ไม้ในสวนป่าแนะนำให้เด็กรู้จักชื่อต้นไม้บอกถึงที่มาของพันธุ์ไม้ว่าเป็นมาอย่างไรโดยเล่าตั้งแต่เริ่มปลูกปี 15 ปีที่แล้วปลูกติดต่อกันทุกปีจนถึงทุกวันนี้ทำให้มีพันธุ์ไม้เพิ่มขึ้นมากมายบางต้นก็ขึ้นเองตามธรรมชาติได้รู้ถึงคุณประโยชน์ของต้นไม้ทำให้ยิ่งโตยิ่งร่มรื่น
  • เยาวชนได้ทราบชื่อพันธุ์ไม้ต่างๆ ในสวนป่า โครงการได้ทราบว่าสวนป่ามีพันธุ์ไม้อะไรบ้าง ได้ทราบจำนวนของพันธุ์ ถ้ามีมากก็ไม่ต้องปลูกเพิ่มถ้ามีน้อยหรือไม่มีเลยหามาปลูกเพื่อได้มีพันธุ์ไม้หลากหลาย โดยพันธุ์ไม้ที่มีในป่าชุมชน ได้แก่
  1. ต้นกำจัด จำนวน 2 ตัน
  2. ต้นกำจายจำนวน 2 ต้น
  3. ต้นกระดูกไก่ขาว จำนวน 80 ต้น
  4. ต้นกระโดนจำนวน 6 ต้น
  5. ต้นกระแตไต่ไม้ จำนวน 8 ต้น
  6. ต้นกระทือ จำนวน 25 ต้น
  7. ต้นกระท้อน จำนวน 6 ต้น
  8. ต้นกันเกราจำนวน 5 ต้น
  9. ต้นกระทังจำนวน 22 ต้น
  10. ต้นขนุนจำนวน 8 ต้น
  11. ต้นขมิ้นเครือ จำนวน 150 ต้น
  12. ต้นขี้เหล็ก จำนวน 25 ต้น
  13. ต้นเข็มป่า จำนวน 21 ต้น
  14. ต้นคล้า จำนวน 2 ต้น
  15. ต้นคูน จำนวน 6 ต้น
  16. ต้นงิ้วป่า จำนวน 4 ต้น
  17. ต้นจิกโดนจำนวน 7 ต้น
  18. ต้นจิก จำนวน 8 ต้น
  19. ต้นชะมวง จำนวน 5 ต้น
  20. ต้นตะเคียนจำนวน 23 ต้น
  21. ต้นตะเคียนทอง จำนวน 25 ต้น
  22. ต้นต้อยติ่ง จำนวน 3 ต้น
  23. ต้นตะแบกจำนวน 12 ต้น
  24. ต้นตาเสือ จำนวน 8 ต้น
  25. ต้นตาลโตนดจำนวน 6 ต้น
  26. ต้นตีนเป็ดจำนวน 15 ต้น
  27. ต้นเต่าร้าง จำนวน 10 ต้น
  28. ต้นทองพันชั่งจำนวน 8 ต้น
  29. ต้นเทพธาโรจำนวน7 ต้น
  30. ต้นทำมังจำนวน 6 ต้น
  31. ต้นธรณีสารจำนวน50 ต้น
  32. ต้นนนทรีจำนวน 22 ต้น
  33. ต้นค่างเต้น จำนวน 10 ต้น
  34. ต้นไทรจำนวน 5 ต้น
  35. ต้นนมแมวจำนวน50 ต้น
  36. ต้นปลาไหลเผือก จำนวน 20 ต้น
  37. ต้นเปล้าน้อยจำนวน 15 ต้น
  38. ต้นเปล้าใหญ่ จำนวน 16 ต้น
  39. ต้นไผ่ป่า จำนวน 10 ต้น
  40. ต้นเพกาจำนวน 6 ต้น
  41. ต้นมะกอก จำนวน 3 ต้น
  42. ต้นมะกล่ำจำนวน 5 ต้น
  43. ต้นมะขามป้อมจำนวน27 ต้น
  44. ต้นเดื่อชุมพรจำนวน 6 ต้น
  45. ต้นมะเดื่อดินจำนวน50 ต้น
  46. ต้นมะพร้าวจำนวน 7 ต้น
  47. ต้นมะไฟ จำนวน 12 ต้น
  48. ต้นมะเฟือง จำนวน 2 ต้น
  49. ต้นมะม่วงหิมพานต์ จำนวน 2 ต้น
  50. ต้นมะม่วงจำนวน 20 ต้น
  51. ต้นมะรุมจำนวน3 ต้น
  52. ต้นมะหาด จำนวน20 ต้น
  53. ต้นมังตาลจำนวน 10 ต้น
  54. ต้นม้ากระทือโรงจำนวน 15 ต้น
  55. ต้นราชพฦกษ์ จำนวน 7 ต้น
  56. ต้นเล็บครุฑจำนวน 20 ต้น
  57. ต้นโมก จำนวน 23 ต้น
  58. ต้นโมกหอม จำนวน 5 ต้น
  59. ต้นยอป่า จำนวน 15 ต้น
  60. ต้นยางนา จำนวน 27 ต้น
  61. ต้นย่านาง จำนวน 100 ต้น
  62. ต้นระย่อมจำนวน 57 ต้น
  63. ต้นสะตอ จำนวน 30 ต้น
  64. ต้นสังกรณี จำนวน 25 ต้น
  65. ต้นเสลดพังพอน จำนวน 6 ต้น
  66. ต้นไพลป่าจำนวน 20 ต้น
  67. ต้นไพลดำ จำนวน 7 ต้น
  68. ต้นราชดัดจำนวน 20 ต้น
  69. ต้นโศก จำนวน 2 ต้น
  70. ต้นสะเดาจำนวน 20ต้น
  71. ต้นสาละจำนวน 2 ต้น
  72. ต้นเนียงจำนวน 15 ต้น
  73. ต้นหมากผู้, หมากเมีย จำนวน 7 ต้น
  74. ต้นคอเหี้ย จำนวน 5 ต้น
  75. ต้นเหรียง จำนวน 27 ต้น
  76. ต้นไผ่ตงหวานจำนวน 13 ต้น
  77. ต้นพะยอมจำนวน 20 ต้น
  78. ต้นมะฮอกกานีจำนวน 18 ต้น
  79. ต้นปุด จำนวน 100 ต้น
  80. ต้นฝาง จำนวน 5 ต้น
  81. ต้นกอจำนวน 80 ต้น
  82. ต้นหญ้าดอกเลาจำนวน 100 ต้น
  83. ต้นลูกหงอนไก่ จำนวน 16 ต้น
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 25 คน จากที่ตั้งไว้ 25 คน
ประกอบด้วย
  • นักเรียน
  • คณะกรรมการสวนป่า
  • คณะทำงาน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวอารีย์ คงแจ่ม / นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมกรรมการคณะทำงาน ประจำเดือนมกราคม 2559 (ต้อนรับสื่อ สสส.)8 มกราคม 2016
8
มกราคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายอุดมเกียรติ ไสยรินทร์
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อบอกให้ทราบถึงการดำเนินการของคณะทำงาน และต้อนรับ สสส.
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ทีมงานสื่อ สสส. มาถึงที่ สวนป่าเฉลิมพระเกียรติ ร9 เตรียมความพร้อมสัมภาษณ์ ผู้รับผิดชอบโครงการ และสัมภาษณ์พี่เลี้ยงโครงการ
  • ทีมสื่อเก็บภาพทั่วๆ ไปของสวนป่า
  • ทีมสื่อออกไปเก็บภาพในชุมชน
  • รับประทานอาหาร
  • พูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้
  • ทีมสื่อ สสส. เดินทางกลับ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ทีมงานสื่อ สสส. มาถึงที่ สวนป่าเฉลิมพระเกียรติ ร9 เตรียมความพร้อมสัมภาษณ์ ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอุดม ไสยรินทร์ และคณะทำงาน นางวาสนา วงศ์กลางนางเพียงใจ โสภาคย์ อาจารย์ภักดีขจรศักดิ์ศิริกุล นายก อบต. ชาญชัย ฉันทสุเมธากุล คนที่ปลูกตั้งแต่เริ่มทำสวนป่า นางสาวสุทธิดา ทองตากรณ์ ถาม-ตอบเกี่ยวกับพันธุ์ไม้เกี่ยวกับการช่วยเหลือ การเข้าร่วมเกี่ยวกับสวนป่าให้ประโยชน์ให้ประโยชน์อะไรแก่ชุมชน ความเป็นมาขอสวนป่า และและสัมภาษณ์พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
  • ทีมสื่อ สสส. ได้ข้อมูลรายงานรายละเอียดการดำเนินการทำงานของชุนชนโกงเหลงพร้อมทั้งถ่ายภาพการสัมภาษณ์บุคคล ถ่ายภาพชุมชน และบรรยากาศรอบๆ สวนป่า และในสวนป่า ตามแนวทางการดำเนินงานโครงการสวนป่า สร้างสุขคนโกงเหลง เพื่อนำไปใช้ในการจัดทำวีดีโอเผยแพร่ต่อไป ชุมชนจะได้สื่อที่สามารถนำไปใช้ในการประชาสัมพันธ์โครงการ สร้างแรงจูงใจให้คนในชุมชนหันมาสนใจสวนป่า และมีความคิดที่จะพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นไป
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 40 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงาน จำนวน 6 คน
  • คณะกรรมการสวนป่า จำนวน 10 คน
  • สื่อ สสส.จำนวน 10 คน
  • ชาวบ้านในชุมชน จำนวน 10 คน
  • ผู้นำท้องถิ่น จำยนวน 4 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวอารีย์ คงแจ่ม / นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

สื่อลงพื้นที่ถ่ายทำรายงาน "สุขซินโดรม"8 มกราคม 2016
8
มกราคม 2016รายงานจากพี่เลี้ยง โดย kannapat janthong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อจัดทำสื่อในการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์โครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ให้สัมภาษณ์สื่อเพื่อให้ข้อมูลการทำงานด้านการอนุรักษ์สวนป่าชุมชน
  • นำสื่อลงพื้นที่เก็บภาพรอบหมู่บ้าน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • สื่อจาก สสส. ได้ลงพื้นที่ เพื่อสัมภาษณ์คณะทำงาน แกนนำชุมชน คณะกรรมการสวนป่าชุมชน เพื่อนำไปจัดทำเป็นสื่อในการเผยแพร่การทำงานอย่างมีความสุขของคนในชุมชน
  • มีการนำสื่อลงพื้นที่เก็บภาพรอบๆ หมู่บ้าน เพื่อนำไปใช้ในการทำสื่อ
  • คนในชุมชนให้การต้อนรับทีมสื่อเป็นอย่างดี มีการแบ่งบทบาทในการทำงาน มีการเตรียมอาหาร ของฝากไว้สำหรับการต้อนรับ
  • ทีมสื่อ ได้บทสัมภาษณ์ ภาพถ่าย ที่สามารถนำไปใช้ได้จริง โดยใช้เวลาในการเก็บภาพ ถ่ายทำรายงานกว่า 4 ชั่วโมง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 5 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงาน
  • แกนนำชุมชน
  • คณะกรรมการสวนป่า
  • สื่อจาก สสส.
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ปลูกพันธ์ุไม้ท้องถิ่น สมุนไพร และผักพื้นบ้านในสวนป่าชุมชน ครั้งที่ 119 ธันวาคม 2015
19
ธันวาคม 2015รายงานจากพื้นที่ โดย นายอุดมเกียรติ ไสยรินทร์
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อเพิ่มพืชพันธุ์ในสวนป่าให้มีความหลากหลาย และเป็นสถานที่ปลูกพืชผสมผสาน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • จัดทำหนังสือส่งให้โรงเรียนเพื่อขอเด็กมาเข้าร่วมกิจกรรม
  • ซื้อพืชพันธุ์มาจากเพาะกล้าไม้ห้วยมุด
  • สอบถามความสมัครใจของชาวบ้านในชุมชน และบอกให้เตรียมพืชพันธุ์ที่ครัวเรือนมีอยู่
  • นำอุปกรณ์เครื่องมือการขุด เจาะ
  • ขุดหลุมเตรียมไว้
  • รับประทานอาหารกลางวัน
  • นำต้นไม้มาปลูก
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงานช่วยกันหาพันธุ์กล้าไม้พื้นนำมาปลูกในป่าชุมชน โดยออกเดินทางเข้าป่า ไปช่วยกันขุดกล้าไม้มาเตรียมไว้
  • มีการเตรียมความพร้อมก่อนปลูกป่า คือ ให้คณะทำงานมาช่วยกันขุดหลุม เตรียมต้นกล้าไว้ล่วงหน้า เพื่ออำนวยความสะดวกให้คนที่จะมาร่วมปลูกป่า
  • กิจกรรมปลูกที่สวนป่าฯ ปลูกต้นกอและหญ้าดอกเลา อย่างละ 109 ต้น
  • เกิดตัวอย่างการทำเกษตรเเบบผสมผสานเกิดความหลากหลายของพันธุ์ไม้ในสวนป่าชุมชนเพื่อการศึกษา
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 25 คน จากที่ตั้งไว้ 110 คน
ประกอบด้วย
  • คณะกรรมการสวนป่า
  • ชาวบ้านในชุมชน
  • ผู้นำท้องถิ่น
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวอารีย์ คงแจ่ม / นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประเพณีทำบุญสวนป่าชุมชน5 ธันวาคม 2015
5
ธันวาคม 2015รายงานจากพื้นที่ โดย kannapat janthong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่ออนุรักษ์สวนป่าชุมชนเพิ่มจำนวนต้นไม้ให้มีความหลากหลายของพันธุ์ไม้ในสวนป่า
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ประชาสัมพันธ์ เชิญชวนเข้าร่บมกิจกรรม
  • กำนันเป็นประธานในพิธีเปิด
  • ถวายเพลพระ
  • นายจิตต์ พันธุ์พฤกษ์ พูดคุย แลกเปลี่ยนประสบการณ์
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ชาวบ้านช่วยกันนำปิ่นโตมาถวายเพลพระสงฆ์ จำนวน 5 รูป และนำพันธุ์สมุนไพรมามอบให้สวนป่าชุมชน เช่น ต้นทองพันชั่งต้นธรณีสารต้นไพลดำต้นเสลดพังพอนต้นคล้า
  • สมาชิกในชุมชนได้มาพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการทำเกษตรแบบผสมผสาน ได้เห็นตัวอย่างจากแหล่งเรียนรู้ป่าชุมชน โดยนายจิตย์ พันธ์พฤกษ์ มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์การปลุูกผักในสวนยาง ในสวนยางสามารถนำพืชผักที่ไม่ชอบแดดชอบอยู่ที่ร่ม เช่นผักเขลียงปลูกแซมในสวน รอบๆสวนริมถนนสามารถปลูกชะอมที่ในสวนริมน้ำริมคลองสามารถปลูกผักกูดได้ทำให้ชาวสวนมีผักไว้กินและขายเป็นรายได้เพิ่มเป็นรายได้ประจำวัน
  • ชาวบ้านช่วยกันปลูกต้นไม้ เช่น ต้นตะเคียนทอง ต้นมะขามป้อมต้นยางนาต้นเหรียง ต้นเนียงอย่างละ 20 ต้น
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 100 คน จากที่ตั้งไว้ 120 คน
ประกอบด้วย
  • คณะกรรมการชุมชน
  • คณะกรรมการสวนป่า
  • ชาวบ้าน
  • อสม.
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

เวทีสร้างความเข้าใจโครงการสวนป่าสร้างสุขคนโกงเหลงแก่สภาชุมชน และสมาชิกในชุมชน28 พฤศจิกายน 2015
28
พฤศจิกายน 2015รายงานจากพื้นที่ โดย นายอุดมเกียรติ ไสยรินทร์
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจโครงการสวนป่าสร้างสุขคนโกงเหลง แก่สภาชุมชนและสมาชิกในชุมชน- เพื่ออนุรักษ์และพัฒนาสวนป่าชุมชนสู่การเรียนรู้ด้านการเกษตรผสมผสานเกษตรปลอดภัยและส่งเสริมการบริโภคผักพื้นบ้าน และรับฟังความคิดเห็นจากคนในชุมชนว่าจะมีการวางแผนการทำงานอย่า
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • คณะทำงานประสานงานแกนนำสมาชิกในคณะกรรมการสวนป่าและสมาชิกในชุมชน ผู้นำในชุมชน ครู นักเรียน เข้าร่วมประชุมทำความเข้าใจโครงงานและแผนงานการดำเนินการ
  • ผู้รับผิดชอบโครงการได้เล่าความเป็นมาเกี่ยวกับสวนป่าที่ได้งบประมาณจาก สสส.
  • พี่เลี้ยงและผู้รับผิดชอบและคณะทำงานในพื้นที่ร่วมบอกเล่าชี้แจง ทำความเข้าใจให้พี่น้องในชุมชนได้ทราบ ร่วมกันหาแนวทางในการพัฒนาสวนป่าเป็นแหล่งเรียนรู้เกษตรแบบผสมผสาน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้รับผิดชอบโครงการได้เล่าความเป็นมาเกี่ยวกับสวนป่าที่ได้เงินงบประมาณ 132,025 บาท ให้มาพัฒนาต่อยอด โดยกิจกรรมสำรวจพันธ์ุพืชและรวบรวมพันธุ์พืช ทำป้ายชื่อ รวมถึงสรรพคุณและคุณประโยชน์ของพืชแต่ละชนิด โดยใช้เด็กนักเรียนจากโรงเรียนควนสุบรรณวิทยาและคณะกรรมการสวนป่าเป็นผู้สำรวจและรวบรวม กิจกรรมปลูกต้นไม้ทำบุญสวนป่า ปลูกโดยคนในชุมชนคณะทำงานวางกฎกติกาการใช้ประโยชน์ทุกคนสามารถแสดงความคิดเห็นแต่ละบุคคลเพื่อวางกฎกติกาการใช้ประโยชน์ร่วมกันสร้างกลุ่มนำร่องครัวเรือนผสมผสานโดยใช้คณะกรรมการสวนป่า กรรมการหมู่บ้าน ผู้นำท้องถิ่น นักเรียน และชาวบ้านในชุมชนสร้างกลุ่มนำร่อง ครัวเรือนปลูกพืชผักผสมผสาน 30 ครัวเรือน รวมถึงการทำบัญชีครัวเรือนทำปุ๋ยชีวภาพไว้ใช้เองพัฒนาเมนูอาหารจากผักพื้นบ้าน
  • คณะทำงานประสานงานแกนนำสมาชิกในกลุ่มสวนป่าผู้นำชาวบ้านในชุมชน กลุ่ม อสม. กลุ่มนักเรียน เข้าร่วมทำความเข้าใจโครงการและแผนงานดำเนินการโดยมีพี่เลี้ยงผู้รับผิดชอบ และคณะทำงานในพื้นที่ร่วมบอกเล่าชี้แจงทำความเข้าใจให้พี่น้องในชุมชนได้ทราบ ร่วมกันหาแนวทางในการพัฒนาสวนป่าเป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชน
  • นักเรียนมีความสนใจเกี่ยวกับพันธุ์พืชและสนใจเข้าร่วมกลุ่ม และเข้าใจในกระบวนการ ได้รับรู้ความเป็นมาและเข้าใจความเป็นไปของโครงการ
  • ชาวบ้านเข้าใจความเป็นมาของสวนป่าว่าสร้างชื่อเสียงเป็นศูนย์รวมใจของชุมชน และมีความสนใจเข้าร่วมโครงการเพื่อนำความรู้ความเข้าใจ
  • พี่เลี้ยง สสส. นางสาวอารีย์ คงแจ่ม ได้ให้ความรู้และชี้แจงเกี่ยวกับโครงการสวนป่าสร้างสุขคนโกงเหลง วิธีดำเนินการ ซึ่งช่วยให้ชาวบ้านมีความรู้ความเข้าใจและทราบถึบทบาทหน้าที่ของกลุ่มว่าเป็นโครงการที่นำมาพัฒนาความรู้ และสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนและครัวเรือน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 61 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย
  • นักเรียนจากโรงเรียนควนสุบรรณวิทยา 27 คน
  • คณะกรรมการหมู่บ้าน 4 คน
  • คณะกรรมการสวนป่า 10 คน
  • กลุ่มอสม. 5 คน
  • ครู 2 คน
  • ชาวบ้าน 13 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมกรรมการ คณะทำงาน ประจำเดือนพฤศจิกายน 25587 พฤศจิกายน 2015
7
พฤศจิกายน 2015รายงานจากพื้นที่ โดย นายอุดมเกียรติ ไสยรินทร์
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อพัฒนากลไกสภาผู้นำชุมชน และขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่วิเคราะห์ข้อมูล
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ 2558 แจกหนังสือเชิญประชุมครัวเรือนเป้าหมาย จำนวน 40 ครัวเรือน นัดประชุม วันที่ 7 พฦศจิกายน พ.ศ 2558 เวลา 13.00 น.-16.00 น.

  • พี่น้องชาวบ้านเริ่มทยอยมาลงทะเบียน ณ ที่ประชุม
  • ผู้ใหญ่บ้านกล่าวเปิดประชุม
  • ประธานกองทุนหมู่บ้านเป็นคนกล่าวเปิดโครงการ
  • ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงรายละเอียดโครงการ
  • รับประทานอาหารว่าง
  • แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินโครงการ
  • ผู้ใหญ่บ้านกล่าวปิดประชุม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงรายละเอียดโครงการสวนป่าสร้างสุขคนโกงเหลง ว่าตามที่เราจัดเวทีสร้างความเข้าใจตามโครงการสวนป่าสร้างสุข ทำให้พี่น้องชาวบ้านเข้าใจการทำงานโครงการ สวนป่า สร้างสุขคนโกงเหลง ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ มีความเป็นมาของโครงการ รู้งบประมาณของโครงการ สถานที่ที่ไหน
  • แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินโครงการ โดยมีข้อเสนอแนะจากที่ประชุม ได้แก่
  1. ความต้องการที่จะปลูกพันธุ์ไม้เพิ่มในสวนป่า
  2. หาแนวร่วมการทำงานตามกิจกรรมในโครงการ
  3. ชาวบ้านได้พูดคุยถึงประโยชน์ของต้นไม้ทุกชนิด เช่น เป็นอาหาร ให้ร่มเงา กรองอากาศ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 25 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • คณะกรรมการสวนป่า
  • คณะกรรมการหมู่บ้าน
  • ผู้นำท้องถิ่น
  • อสม.
  • ชาวบ้านในชุมชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวอารีย์ คงแจ่ม / นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่19 ตุลาคม 2015
19
ตุลาคม 2015รายงานจากพื้นที่ โดย นายอุดมเกียรติ ไสยรินทร์
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อจัดทำป้ายรณรงค์โครงการและจัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่ ประชาสัมพันธ์โครงการและสถานที่ให้คนในชุมชนรับรู้เขตปลอดบุหรี่ทราบถึงสัญลักษณ์ต่างๆ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • สั่งทำป้ายไวนิลขนาด 150x300 ซม. จำนวน 2 แผ่นนำมาในที่ประชุม 1 แผ่น และที่สวนป่า 1 แผ่น
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • แสดงป้ายงดการสูบบุหรี่ และป้ายชื่อโครงการ ในที่ประชุมทุกครั้งที่มีการจัดกิจกรรม เพื่อให้สถานที่จัดกิจกรรมเป็นพื้นที่ปลอดบุหรี่
  • ผู้เข้าร่วมประชุมเข้าใจโครงการ และปฎิบัติตามกฎระเบียบที่ตั้งไว้
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 100 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

จัดตั้งกองทุนสวนป่าชุมชน 8000 บาท ใช้งบสนับสนุนของชุมชน (ไม่ได้ใช้งบสสส.)7 ตุลาคม 2015
7
ตุลาคม 2015รายงานจากพื้นที่ โดย นายอุดมเกียรติ ไสยรินทร์
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อจัดตั้งกองทุนสวนป่าชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • จัดตั้งกองทุน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้มีการจัดตั้งกองทุน เพื่อมาใช้ในการบริหารจัดการสวนป่าชุมชนในพื้นที่ให้ดียิ่งขึ้น โดยมีเงินในกองทุนทั้งสิ้น 8000 บาท (เงินนี้ไม่ได้รับจาก สสส.) โดยมีคณะกรรมการกองทุน คือ
  1. ประธาน นายประสิทธิ บัวเพชร
  2. รองประธาน นายอุดมเกียรติ ไสยรินทร์
  3. เลขา อาจารย์ภักดี ขจรศักดิ์สิริกุล
  4. เหรัญญิก นายดำริ เกื้อทอง
  5. ปฎิคม นายวิเชียร โกละกะ นางวันเพ็ญ ทองดี นางเพียงใจ โสภาคย์ และนางสุวรรณี สวัสดี
  6. ประชาสัมพันธ์ นายวิรัช สันติวาที และนายจิตต์ พันธุ์พกฤษ์
  • ได้กำหนดระเบียบในการบริหารจัดการกองทุน ดังนี้
  1. การทำงานแต่ละกิจกรรมต้องผ่านมติชุมชนและกรรมการสวนป่า
  2. เงินที่ได้มาต้องก่อเกิดประโยชน์และความเจริญของสวนป่าอย่างสูงสุด
  3. ถ้าเงินจากกองทุนไม่เพียงจากการจัดกิจกรรมจะขอสนับสนุนจากกองทุนหมู่บ้าน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • คณะกรรมการสวนป่าชุมชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมกรรมการ คณะทำงาน ประจำเดือนตุลาคม 25587 ตุลาคม 2015
7
ตุลาคม 2015รายงานจากพื้นที่ โดย นายอุดมเกียรติ ไสยรินทร์
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อประชุมคณะทำงาน เพื่อวางแผนการทำงาน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ชี้แจงรายละเอียดโครงการ และวางแผนงานสำหรับกิจกรรมที่จะต้องดำเนินการ ให้แก่สมาชิกทราบ โดยมี

  • อ.ภักดี ขจรศักด์ศิริกุล เป็นประธานที่ประชุม เปิดการประชุม
  • นายนิรันดร์ วงศ์กลาง เป็นผู้ดำเนินการโครงการ กล่าวรายงานการประชุม และชี้แจงการประชุม
  • นางเพียงใจ โสภาคย์ เป็นผู้บันทึกการประชุม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ตัวแทนผู้ดำเนินการโครงการ ได้ชี้แจงโครงการที่ได้รับจาก สสส. โดยมีรายละเอียดดังนี้
  1. รายละเอียดต่างๆ ของโครงการ ปฏิทินการดำเนินโครงการ
  2. งบประมาณที่ได้รับจากโครงการ และการจัดสรรงบประมารไปใช้ในส่วนต่างๆ
  3. กิจกรรมต่างๆ ที่จะต้องทำร่วมกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของโครงการ
  • พุดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ ในกิจกรรมต่างๆ ที่จะต้องทำภายในปีนี้ ว่ามีจำนวนกิจกรรมทั้งหมดกี่กิจกรรม มีการนัดหมายการทำกิจกรรมให้สมาชิกได้รับทราบ และแจ้งว่าการประชุมครั้งต่อไปจะมีอีกครั้งภายในวันพฤหัสบดี ที่ 15 ตุลาคม 2558 โดยจะมีเวทีสร้างความเข้าใจโครงการสวนป่าสร้างสุขคนโกงเหลงแก่สภาชุมชน และสมาชิกในชุมชน เกิดขึ้น
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • คณะกรรมการสวนป่า จำนวน  15  คน
  • อสม. จำนวน  5  คน
  • กรรมการหมู่บ้าน  จำนวน  5  คน
  • ผู้สูงอายุ  จำนวน  5  คน 
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • มีปัญหาด้านการบันทึกข้อมูลที่ทำได้ช้า เนื่องจากมีข้อจำกัดด้านอินเตอร์เน็ต แก้ไขโดยการบันทึกในกระดาษก่อนแล้วจึงบันทึกลงในเว็บไซต์คนใต้สร้างสุข
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวอารีย์ คงแจ่ม / นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ปฐมนิเทศโครงการ3 ตุลาคม 2015
3
ตุลาคม 2015รายงานจากพื้นที่ โดย นายอุดมเกียรติ ไสยรินทร์
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อรับทราบการทำรายงานผ่านเว็บไซต์ รายงานการเงิน และเรียนรู้การบันทึกรายงานตามกิจกรรม
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • วันที่ 3 ตุลาคม 2558
    • 12.30 – 13.00 น. โครงการชุมชนน่าอยู่ลงทะเบียน
    • 13.00 – 13.45 น. กระบวนการติดตามสนับสนุนโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ภาคใต้ การทำงานร่วมกันระหว่าง สจรส.ม.อ. ทีมสนับสนุนวิชาการ
      (พี่เลี้ยง) และผู้รับผิดชอบโครงการ โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
    • 13.45 - 14.15 น. การสังเคราะห์ผลของโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ภาคใต้ โดย คุณถนอม ขุนเพ็ชร์
    • 14.15 – 14.30 น. รับประทานอาหารว่าง
    • 14.30 - 16.30 น. การเข้าใช้งานระบบเวบไซต์คนใต้สร้าง www.happynetwork.org โดย คุณภานุมาศ นนทพันธ์ และคุณสุทธิพงษ์ อุสาหพงษ์สิน
    • 16.30 - 18.00 น. ผู้รับผิดชอบโครงการกรอกข้อมูลรายละเอียดโครงการลงในเว็บไซต์ รายละเอียดโครงการ (วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด กิจกรรม และงบประมาณ)
      แผนภาพเชิงระบบโครงการ กำหนดปฏิทินการดำเนินงานใน 1 ปี รายงานผู้รับผิดชอบ
    • 18.00 - 19.00 น. รับประทานอาหารเย็น
    • 19.00 – 20.00 น. ผู้รับผิดชอบโครงการกรอกข้อมูลรายละเอียดโครงการ ลงในเว็บไซต์ รายละเอียดโครงการ (วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด กิจกรรม และงบประมาณ) แผนภาพเชิงระบบโครงการ กำหนดปฏิทินการดำเนินงานใน 1 ปีรายงานผู้รับผิดชอบ
  • วันที่ 4 ตุลาคม 2558
    • 08.30 – 10.00 น. การบริหารจัดการโครงการ การรายงานผลผ่านเว็บไซต์ การทำรายงานโครงการ และ รายงานการเงิน (การเก็บหลักฐาน และเอกสารการเงิน) โดย อ.กำไล สมรักษ์ และนางสุดา ไพศาล
    • 10.00 – 12.00 น. ผู้รับผิดชอบโครงการกรอกข้อมูลรายละเอียดโครงการ ลงในเว็บไซต์ (ต่อ) รายงานผู้รับผิดชอบ
      ทำรายงานบันทึกกิจกรรมประชุมปฐมนิเทศโครงการ
    • 12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
    • 13.00 – 14.00 น. สรุปกิจกรรมและแผนการทำงานร่วมกับ สจรส.ม.อ. และทีมสนับสนุนวิชาการ (พี่เลี้ยง)
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
    ชี้แจงกระบวนการติดตามสนับสนุนโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ภาคใต้ การทำงานร่วมกันระหว่าง สจรส.ม.อ. ทีมสนับสนุนวิชาการ (พี่เลี้ยง) และผู้รับผิดชอบโครงการ

    • มีสาระสำคัญ คือ ภาระกิจของ สสส คือ ชุมชนมีสุขภาพดี มี การเก็บภาษี จากเหล้าและบุหรี่ 100 ละ 2 เปอร์เซ็น มาเป็นกองทุนเพื่อนำมาพัฒนาชุมชน เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของชุมชน ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง จัดการตนเองได้ และพัฒนาสุขภาวะของชุมชน ทำให้ชุมชนน่าอยู่
  • อ.กำไล สมรักษ์ และนางสุดา ไพศาล สอนการบริหารจัดการโครงการ การรายงานผลผ่านเว็บไซต์ การทำรายงานโครงการ และ รายงานการเงิน (การเก็บหลักฐาน และเอกสารการเงิน)

    • มีสาระสำคัญ คือ การอธิบายการส่งข้อมูลเข้าเว็บไซต์ การเข้าสู่ระบบ ของ สสส ขั้นตอนการบันทึกข้อมูลลงเว็บไวต์ ต่างๆ การปรับตัวชี้วัดให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ การบริหารจัดการโครงการให้ประสมความสำเร็จ รายงานการเงิน การจัดทำเอกสารประกอบการเบิกจ่าย ค่าใช้จ่ายในกรณีต่างๆ การเก็บเอกสารใบเสร็จการเงินต่างๆ
  • คุณถนอม ขุนเพ็ชร์ แนะนำการสังเคราะห์ผลของโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ภาคใต้ มีเนื้อหาสำคัญ คือ การบริหารจัดการโครงการสู่ความสำเร็จ

    • ก่อนทำกิจกรรม
    • การเตรียมทีมงาน
    • เตรียมกิจกรรมที่จะทำ
    • การเตรียมภาพถ่ายประกอบ ทุกครั้ง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 4 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  1. นายนิรันดร์ วงศ์กลาง ผู้ดำเนินโครงการ
  2. นางวาสนา วงศ์กลาง คณะทำงาน
  3. นางสาวศรินยา วงศ์กลาง คณะทำงาน
  4. นางสาวสุชลี สวัสดี คณะทำงาน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวอารีย์ คงแจ่ม / นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ต้องการให้ระบบ Internet สะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น