แบบบันทึกการติดตามสนับสนุนโครงการ ครั้งที่ 2

รหัสโครงการ 58-03922
สัญญาเลขที่ 58-00-2023

ชื่อโครงการ ผังฟาร์มลดรายจ่ายที่บ้านทรายขาว
รหัสโครงการ 58-03922 สัญญาเลขที่ 58-00-2023
ระยะเวลาตามสัญญา 15 กันยายน 2015 - 15 ตุลาคม 2016

ส่วนที่ 1 : ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม

1.1 ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 1 นายยงยุทธ สุขพิทักษ์
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 2 นายโชตินันท์ จันทโชติ
วันที่ลงพื้นที่ติดตาม 7 สิงหาคม 2016
วันที่ส่งรายงานถึง สสส. 15 สิงหาคม 2016
1.2 ผู้ให้ข้อมูล
ลำดับชื่อ-สกุลผู้ให้ข้อมูลที่อยู่หมายเลขโทรศัพท์
1 นายสหพัฒน์ สุขอนันต์ 287 หมู่ที่ 1 ต.เขาขาว อ.ทุ่งสง 081-2768044
2 นายประจวบ รักบ้าน 92/1 หมู่ที่ 1 ต.เขาขาว อ.ทุ่งสง 080-6940706
3 นางเยาวภา คำแหง 6/1 หมู่ที่ 1 ต.เขาขาว อ.ทุ่งสง 061-6346986
4 นางวันเพ็ญ รัตนบุรี 71 หมู่ที่ 1 ต.เขาขาว อ.ทุ่งสง 090-8782816
5 นายสำเร็จ สุชาติพงษ์ 147/1 หมู่ที่ 1 ต.เขาขาว อ.ทุ่งสง 086-0500385
6 นางสมพร ถึงพร้อม 284 หมู่ที่ 1 ต.เขาขาว อ.ทุ่งสง 080-6926715
7 น.ส.ปรีทาวรรณ รัตนบุรี 305 หมู่ที่ 1 ต.เขาขาว อ.ทุ่งสง 084-7632848
8 นางลำไย รักษาสัตย์ 338 หมู่ที่ 1 ต.เขาขาว อ.ทุ่งสง 086-1202650
9 นายวิชัย คงสอง 132 หมู่ที่ 1 ต.เขาขาว อ.ทุ่งสง 096-7630498
10 นายปราโมทย์ ประชานุกูล 4/1 หมู่ที่ 1 ต.เขาขาว อ.ทุ่งสง 080-7172199
11 นายกนกพล รัตนบุรี 22/2 หมู่ที่ 1 ต.เขาขาว อ.ทุ่งสง 087-1253911
12 นางจินดา มองมุณี 107 หมู่ที่ 1 ต.เขาขาว อ.ทุ่งสง 093-6451423
13 นายเกษม นาคฤทธิ์ 467 หมู่ที่ 1 ต.เขาขาว อ.ทุ่งสง 086-0710526
14 นางวรรณี ปานอ่อน 24/1 หมู่ที่ 1 ต.เขาขาว อ.ทุ่งสง 082-8186707
15 นางสุนีย์ รักบ้าน 78/1 หมู่ที่ 1 ต.เขาขาว อ.ทุ่งสง 080-1432632

ส่วนที่ 2 : ข้อมูลโครงการและความก้าวหน้าการดำเนินงาน

2.1 วัตถุประสงค์และตัวชี้วัดความสำเร็จโครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1.

มีสภาผู้นำที่เข้มแข็ง

1.สภาผู้นำมีการประชุมทุกเดือน
2.การประชุมสภาผู้นำแต่ละครั้ง มีผู้เข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 3.การประชุมทุกครั้งมีการปรึกษาเรื่องการดำเนินงานโครงการและกิจกรรมพัฒนาหมู่บ้านประเด็นอื่นๆ อย่างน้อย1 ประเด็น

2.

เพื่อให้ครัวเรือนเป้าหมายลดรายจ่าย

1.มีครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรม 40 ครัวเรือน (ทั้งหมด 380 ครัวเรือน) 2.ครัวเรือนเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้ง ร้อยละ 85 3.ครัวเรือนเป้าหมายลดรายจ่าย ครัวเรือนละ 400 บาทต่อเดือน ปีละ 4,800 บาท
(จำนวน 40 ครัว x 400 บาท =16,000 บาทต่อเดือน ปีละ 19,2000 บาท) 4.มีฐานเรียนรู้ด้านเกษตรชีวภาพ 1 แห่ง

3.

เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

  1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด
  2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม
  3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม
  4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด
2.2 ความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ
กลุ่มเป้าหมายงบประมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงปริมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพ/สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ
ที่ตั้งไว้(บาท)เกิดขึ้นจริง(บาท)จำนวนที่ตั้งไว้(คน)จำนวนเกิดขึ้นจริง(คน)

กิจกรรมหลัก : สภาผู้นำบ้านทรายขาวi

10,000.00 30 ผลผลิต

1.เกิดสภาชุมชน 1 ชุด 2.สภาชุมชนมีการประชุมทุกเดือน และมีหลายภาคี 3.มีการกำหนดหน้าทีและมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบชัดเจน 4.มีการพูดคุยแนวทางการพัฒนาหมู่บ้านและกิจกรรมตามโครงการในวันประชุม


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

1.ประชาชนสมัครใจเข้าร่วมกิจกรรมโดยสมัครใจ 2.มีแผน มีแนวทางการพัฒนาหมู่บ้าน และเป็นไปตามทึ่่กำหนดไว้

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 12 ครั้ง

คณะทำงานและผู้นำชุมชน

750.00 750.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1.ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 30คน 2.มีสภาผู้นำและคณะทำงาน 1 ชุด

ผลลัพธ์ 1.คนในชุมชนได้ทราบถึงการจัดทำโครงการ สสส.
2.ได้ทราบถึงการชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการให้คณะทำงานและผู้เข้าร่วมกิจกรรมรับทราบถึงกิจกรรมที่จะทำในโครงการ 3.มีการพบปะพูดคุยกันในชุมชนมีการแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นกันในชุมชนมีการเสนอความคิดเห็นในการเลือกสภาผู้นำ 4.มีการยอมรับมากขึ้นกันในกลุ่มคือการได้ทำกิจกรรมร่วมกัน

ผู้นำชุมชนคณะทำงาน ผู้สูงอายุ ประชาชนวัยทำงาน

750.00 750.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีผู้เข้าร่วมโครงการ30คน
  2. คนในชุมชนได้ทราบถึงการชี้แจงกิจกรรมโครงการและกิจกรรมในโครงการ ที่จะมีกิจกรรมในชุมชน
  3. พี่เลี้ยงได้พบปะประชาชนและชี้แจงกิจกรรมที่จะเกิดของโครงการให้คนในชุมชนได้รับทราบ ถึงกิจกรรมที่จะทำในชุมชน
  4. คนในชุมชนมีความตั้งใจที่จะร่วมกิจกรรมโดยการช่วยในการประชาสัมพันธ์โครงการและชักชวนคนในชุมชนมาเข้าร่วมโครงการ

ผู้ใหญ่บ้าน และคณะกรรมการหมู่บ้าน ประชุมร่วมกับประชาชน

750.00 750.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต

1.มีสมาชิกเข้าร่วม30คน 2.มีการแบ่งกลุ่มลงสำรวจข้อมูลเป็น 5 กลุ่ม

ผลลัพธ์

  1. มีการแบ่งงาน กันโดยการแบ่งเป็นกลุ่มๆในการสำรวจเพื่อความรวดเร็วในการสำรวจข้อมูล
  2. การกำหนดและช่วยกันออกแบบแบบสอบถาม เพื่อสำรวจข้อมูลพื้นฐาน
  3. มีการยอมรับกันมากขึ้นจากการได้ร่วมกันแสดงความเห็นเห็นในเรื่องของข้อมูลที่จะทำการเก็บข้อมูล เพื่อให้ได้ข้อมูลนำมาพัฒนาชุมชน

กลุ่มแกนนำ 30คน

750.00 750.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม30คน
  2. การกำหนดหน้าที่รับผิดชอบในแต่ละคน
  3. ได้กำหนดกิจกรรม 1)การติดตามโครงการจาก สจรส.มอ.และพี่เลี้ยงที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในวันที่7ธันวาคม2558 2)กิจกรรมการวิเคราะห์หนี้ครัวเรือน ครั้งที่ 1ในวันที่ 17ธันวาคม 2558 มติที่ประชุม รับทราบ 3) กิจกรรมการเรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือนครั้งที่ 1ในวันที่23ธันวาคม2558

ประชาชนที่เข้าร่วม ผู่ใหญ่บ้านและคณะกรรมโครงการ

1,250.00 1,250.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 30คน
  2. ติดตามกิจกรรมที่ได้ทำผ่านมา คือ 1)การติดตาม สจรส.มอ.และพี่เลี้ยงที่ ม.วลัยลักษณ์ได้เรียนรู้ การเขียนรายงาน และการเงินการบันทึก รายงานลงโปรแกรม ออนไลน์การประเมินผล คุณภาพกิจกรรมการหักภาษีณที่จ่าย 2)วิเคราะห์หนี้ครัวเรือนครั้งที่ 1 โดยการร่วมกันวิเคาระห์หนี้สินในแต่ละครัวเรือนและร่วมกันแสดงความคิดเห็นในการ่วมกันหาทางเพื่อลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น 3)จัดทำบัญชีครัวเรือน ครั้งที่ 1 โดยมีวิทยากรมาให้ความรู้ในการทำบัญชีครัวเรือนและได้ฝึกหัดการทำบัญชีครัวเรือนและได้ให้กลับไปทำที่บ้าน 4) จัดทำแผนครัวเรือนลดหนี้ ครั้งที่ 1ครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรม โดยครัวเรือนร่วมกันวางแผนว่าครัวเรือนตนเองจะลดหนี้ได้อย่างไร อะไรคือปัญหาความฟุ่มเฟือยในครัวเรือนเพื่อจะได้ลดในสิ่งที่ไม่จำเป็น
  3. การชี้แจงการปิดงบประมาณงวดที่1 ให้แกนนำรับทราบคือจะปิดวงดที่ 1ในวันที่ 13-14ก.พ.2559 ที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมโครงการ และปรชาชนที่เข้าร่วมในโครงการ

650.00 1,250.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 30 คน
  2. การชีแจงการปิดงบประมาณงวดที่1 ให้แกนนำรับทราบคือจะปิดวงดที่ 1ในวันที่ 13-14ก.พ.2559 ที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  3. ได้ชี้แจงกิจกรรมที่ทำต่อไปคือ กิจกรรมพบพี้เลี้ยงเพื่อปิดวงดรายงานที่ 1 ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2559ที่รพ.สต.เขาพระบาท และ 2)กิจกรรมปิดงวดรายงานที่ 1 ร่วมกับสจรส.มอ.และพี่เลี้ยงในวันที่ 13-14กุมภาพันธ์ 2559ที ม.วลัยวลัยลักษณ์
  4. คณะทำงานได้ไปแก้ไขเกี่ยวกับรายงานการเงินที่ยังผิดอยู่และได้บันทึกกิจกรรมและบันทึกภาพเพิ่มเติม

คณะทำงาน  ผู้นำชุมชน 

850.00 850.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต : มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 30 คน

ผลลัพท์ :

  • วาระที่ 1 นายสหพัฒน์ สุขอนั้นต์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่1 ตำบลเขาขาว อำเภอทุ่งสง จังหัวดนครศรีธรรมราช แจ้งให้รู้ข่าวสารของราชการ คุยคุยปรึกษาเรื่องอาบน้ำผู้สุงอายุ วันที่ 13 เมษายน โดยแจกหนังสือให้กับครอบครัวที่มีผู้สูงอายุในชุมชนทราย เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมทำบุญวันสงกรานต์ วางแผนกันหลังทำบุญเสร็จทางศาสนาก้จะเป็นกิจกรรมรดน้ำดำหัวผู้สวูงอายุ ที่วัดนิคมศีรี

  • วาระที่ 2 คุยกันเรื่องดำเนินโครงการ สสส.แจ้งชี้โครงการสสส. ให้หมู้บ้านเริ่มมีการพัฒนามากยิ่งขึ้น ประชาขนในหมู้บ้านเได้มีการพบปพพูดคุยกัน และผู้เข้าร่วมโครงการที่ทำโครงการอยู่ก้สามารถมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำไปปฏิบัติมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งการวางแผนแนนวทางตามเป้าหมายต่อไปเพื่อให้มองเห็นเป็นรูปเป็นร่างมากยิ่ง จากนั้นแจ้งเรื่องทำกิจกรรมการปลูกข่าวไร่ฤดูกาลต้นฝนใหม่ โดยการจัดกิจกรรมครั้งต่อไปนั้นก้ได้สำรวจการทำข้าวไร่ในชุมชน จากนั้นติดต่อหาเมล็ดพันธ์ผู้ที่สนใจจะปกข้าว พร้อมทั้งเรื่องต่างๆในการจัดกิจกรรมทั้งเรื่องสถานที่ อาหารและเวลาการจัดกิจกรรมต่างๆ

  • มีการชี้แจงกิจกรรมในครั้งต่อไปคือเรียนรู้ผังฟาร์มครั้งที่ 3และประชุมสภาผู้นำครั้งที่ 8ในวันที่6 พ.ค.2559

แกนนำชุมชนคณะทำงาน

850.00 850.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต : มีผู้เข้าร่วมโครงการ 30 คน

ผลลัพท์ : วาระที่1 นายสหพัฒน์ สุขอนั้นต์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่1 ตำบลเขาขาว อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมาพูดคุยเรื่องผู้สุงอายุที่ไม่สารถเข้าร่วมกิจกรรมรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุได้นั้นทางผู้ใหญ่ที่ได้มีของที่ระลึกนั้นก้นำไปให้กับผู้สูงอายุที่ไม่สารถมาได้ โดยเป็นการสวัสดีปีใหม่ไทยซึ่งเป็นที่ทราบซึ้งแก่ผู้สูงอายุและลูกๆเป็นอย่างมากจึงได้นำมาบอกกล่าวกันในที่ประชุม

วาระที่ 2 ประชุมคณะทำงาน นางเยาวภา คำแหง ผู้รับผิดชอบโครงการผังฟาร์มลดรายจ่ายที่บ้านทรายขาว ชี้แจงถึงการดำเนินกิจกรรมครั้งที่ผ่านมาพร้อมทั้งปัญหาที่เกิดไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่คนอยากปลูกข้าวไร่แต่ไม่มีที่ดินมาพูดคุยพร้อมหาแนวทางแก้ไขกันว่าจะทำอย่างไร วึ่งถือว่าโดยรวมแล้วผลอบรับเป็นที่น่าพอใจ และพูดการทำกิจกรรมคั้รงต่อไปที่จะเรียนรู้การผสมผสาน ติดต่อผุ้ชำนาญการเกษตร เพื่อมาให้ความรู้ด้านการเกษตร และเตรียมต้นกล้าที่ได้มาจากสถานี่เพาะชำไม้กล้าทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อใช้ในการทำกิจกรรมครั้งต่อไป

แกนนำชุมชนคณะทำงาน 30 คน

850.00 850.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต:1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม30คน

ผลลัพท์:1.ได้มีการชี้แจงกิจกรรมในครั้งต่อไป คือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 1 ได้จัดตั้งกลุ่มขึ้นในชุมชนบ้านทรายขาวเพื่อส่งเสริมอาชีกของแม่บ้าน เพื่อจะทำกิจกรรมเวลาว่างเหลือจากทำงานการเกษตร เพื่อลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ จากนั้นเตรีมพร้อมเพื่อทำกิจกรรมครั้งต่อไปในการนัดหมายมาแลกเปลี่ยน จากนั้นก้ได้พูดคุยเสริมเล้กน้อยในเรื่องของการใช้จ่ายลดหนีสินในการ ให้ของที่มีในชุมชนเพื่อใหห้ลดรายจ่าย การใช้วัตถุดิบในชุมชนให้ได้มากที่สุดเพื่อลดการนำเข้าจากต่างที่ในครั้งต่อไป

ผู้นำชุมชน  คณะทำงาน

850.00 850.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต : มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 30 คน

ผลลัพท์ : ได้มีการชี้แจงกิจกรรมต่อไปคือการประชุมสภาผู้นำบ้านทรายขาว ทั้้งเรื่องข้าวไร่ที่ผู้เข้าร่วมได้ทำ พร้อมทั้งกลุ่มแต่กลุ่มที่จัดตั้งมา และการประสานงานกับกลุ่มอื่นๆที่เป็นหมู่บ้านใกล้เคียงเพื่อหาพันธ์ข้าวใหม่ๆ มาทดลองปลูกข้าวไร่ ทั้งการหาพันธ์ไม้ต่างๆเพื่อมาพัฒนาชุมชนให้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งการพูดแนวทางการเชิญชวนมาว่าทำอย่างไรคนในชุมชนจะเข้ามาร่วมมากยิ่งขึ้นโดยความสมัครใจ 100 % เพื่อเข้ามาเรียนรู้จริงๆนำไปพัฒนาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน และให้ผู้เข้าร่วมสารถทำกิจกรมได้ทุกกิจกรรม เพราะบางคนวันเวลาก็ไม่ได้ตรงกันทุกคน ครั้งนี้เขามาร่วมชุมแต่ครั้งหน้าอาจมีธุระทำให้ไม่สามารถเข้าประชุมได้ ปรึกษาเพื่อให้ผู้ที่เข้าร่วมมาประชุมสม่ำเสมอ

คณะทำงาน 30 คน 

850.00 0.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สภาผู้ประชุมต่างๆ รับรู้การดำเนินงานต่างพร้อมทั้งพูดคุยถึงกิจกรรมต่างๆ ที่ต้องการจะจัดให้เกิดขึ้น ชี้แจงต่างๆที่เกิดขึ้นพร้องทั้งวางแผนดำเนินงานครั้งต่อไป พูดคุยเน้นการทำอาชีพเสริมเพื่อมีรายได้เพิ่ม รู้หลักการทำกิจกรรมการรวมกลุ่ม พุดคุยถึงเรื่องสามัคคีในกลุ่ม และพูดถึงความต้องการอยากให้ชุมชนรวมเป็นรวมที่เข้มแข็งเพื่อได้มีกิจกรรมอื่นๆเข้ามาในชุมชนมากยิ่งขึ้นที่นอกเหนือจากโครงการ สสส. และให้คนในชุมชนได้มีความสุขผู้คนสามมารถพูดคุยกันอย่างเข้าใจ โดยเน้นหลักฌศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงเพราะในชุมชนไม่ได้มีเพียงอาชีพเกษตรกรเท่านั้นยังมีข้าราชการ หรืออาชีพค้าขายต่างๆที่ไม่ได้ทำสวนยางพารา อยากให้รู้ว่าเศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เพียงแค่การปลุกผักเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการใช้ชีวิตที่มีเหตุผล พอประมาท ไม่ประมาทต่างๆ การมีจิตใจเอื้ออารีต่อกัน เกื้อกลูกันในสังคมมากยิ่งขึ้นและการทำกิจกรรมครั้งต่อไปก้อยากให้เรียนรู้ได้้มากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งการจัดเตรียมอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมครั้งต่อไป

ผู้นำชุมชน ผู้เข้าร่วมโครงการ

850.00 0.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต : ผู้เข้าร่วม 30 คน

ผลลัพท์ : ได้ความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมประชุม โดยแจ้งสรุปว่าที่ผ่านมานั้นสามรถมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง ไม่ว่ากิจกรรมต่างๆที่จัดขึ้นเพื่อให้ไม่ได้ทิ้งไปและมีการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ โดยไม่ว่าจะเรื่องการแปรูป สมุนไพรต่างๆ หรือการมีการมีปุ๋ยใช้ในครัวเรือน หรือการที่คนในชุมเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการเป็นอยู่ทั้งการหันมากินผักปลอดสารพิษที่ปลูกเองในชุมชนมากยิ่งขึ้น การหาพืชพันธ์ุไม้มาปลูกเสริมแซมในสวนยางพารา และการดำเนินงานในครั้งต่อไปเพื่อให้ทุกคนที่เข้าร่วมได้มีความรู้และนำไปปฏิบัติใช้ได้ทุกคน

กิจกรรมหลัก : สำรวจข้อมูลครัวเรือนi

22,300.00 60 ผลผลิต

1.มีการกำหนดแบบสอบถามร่วมกัน และสอดคล้องกับข้อมุูลท่ี่ต้องการ 2.มีข้อมูลหนี้สินครัวเรือนและเป็นแนวทางการพัฒนาหมู่บ้าน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

1.ประชาชนในหมู่บ้านได้รับรู้ภาวะการเกิดหนี้สินครัวเรือน 2.ประชาชนได้ร่วมกันกำหนดแนวทางลดหนี้สินครัวเรือน

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

กลุ่มเยาวชน อสม. ผู้สูงอายุ และประชาชนในหมู่บ้าน

22,300.00 22,300.00 150 150 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีการแบ่งกลุ่มสำรวจเป็น 5กลุ่ม
  2. มีฐานข้อมูลในชุมชนเพื่อจะใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาต่อไป
  3. คณะทำงานมีความสามัคคีช่วยเหลือกันในการทำงาน เช่นในเวลาลงสำรวจข้อมูลก็จะช่วยกันสอบถามในแต่ละครัวเรือน
  4. คณะทำงานยังต้องทำความเข้าใจกับชาวถึงการสำรวจข้อมูลจะเกี่ยวข้องอย่างไรกับการลดรายจ่ายแก้ไขโดยต้องทำความเข้าใจประชาชนให้ทราบถึงการสำรวจข้อมูลเพื่อจะได้นำข้อมูลไปสรุปเป็นภาพรวมของหมู่บ้านและก็จะคืนข้อมูลให้ชุมชนทราบต่อไป

กิจกรรมหลัก : จัดทำบัญชีครัวเรือนi

20,000.00 130 ผลผลิต

1.ครัวเรือนเป้าหมายเรียนรุู้การจัดทำบัญชีครัวเรือน 2.มีการวิเคราะห์หนี้สินครัวเรือน 3.ภาคีภายนอกเข้ามาร่วมให้ความรู้บัญชีครัวเรือน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

1.ครัวเรือนเป้าหมาย รับรู้สภาพการเกิดหนี้สินครัวเรือน 2.ครัวเรือนเป้าหมาย เรียนรู้วิธีการลดหนี้ครัวเรือน ด้วยบัญชีครัวเรือน

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

สมาชิกสหกรณ์ ประชาชนที่สนใจการทำบัญชี บัญชีสหกรณ์จังหวัด ผู้ใหญ่บ้าน นักวิชาการเกษตรอำเภอ พนักงานสหกรณ์

20,000.00 20,000.00 80 150 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม150คน
  2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้ถึงประโยชน์ในการทำบัญชีครัวเรือนเพราะจะได้รู้รายรับรายจ่ายของครัวเรือน
  3. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ฝึกหัดการทำบัญชีครัวเรือนของแต่ละบ้าน
  4. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความสนใจที่จะทำบัญชีครัวเรือนเพราะจะได้รู้ การใช้จ่ายเงินในครัวเรือนสิ่งไหนที่ไม่จำเป็นหรือจำเป็นที่จะใช้จ่ายและจะได้มีเงินออมเก็บไว้ด้วย

การทำบัญชีครัวเรือนนั้น ทำให้เรารู้การใช้จ่ายของเราในแต่ละเดือน ช่วยให้สามารถตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นในออกไปได้ทำให้มีเงินเหลือมากขึ้น เช่น ค่าบุหรี่ค่าซื้อหวยค่าโทรศัพท์ เป็นตันและทำให้รู้จักคิดให้รอบคอบก่อนจะใช้จ่ายอะไร จะได้รู้ว่าอะไรที่ไม่จำเป็นหรือจำเป็นที่จะต้องใช้ และจะได้มีเงินเหลือ เก็บไว้เป็นเงินออม เก็บไว้ใช้จ่ายยามจำเป็นอีกด้วย

หลักการทำบัญชีรับ-จ่าย

  • จัดทำแบบฟอร์มบัญชีรับจ่ายอย่างง่าย ให้สะดวกต่อการจดบันทึก - จดบันทึกรายการเรียงลำดับตามเหตุการณ์ที่เป็นจริงที่เกิดขึ้นในแต่ละอย่าง ในแต่ละวัน
  • สรุปยอดเงินรายรับรายจ่าย ประจำวัน เปรียบเทียบผลการดำเนินกิจการประจำวัน
  • ยอดเงินคงเหลือจะได้เป็นเงินออมส่วนหนึ่งเพื่อเก็บไว้ใช้จ่ายในยามจำเป็น

กิจกรรมหลัก : วิเคราะห์หนี้ครัวเรือนi

8,400.00 60 ผลผลิต

1.ครัวเรือนเป้าหมายได้เรียนรู้เส้นทางการเกิดหนี้ชุมชน 2.ครัวเรือนเป้าหมายร่วมกำหนดแนวทางลดหนี้ชุมชน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

1.ประชาชนเข้าใจ รับรู้กระบวนการเกิดหนี้ แะละร่วมกันกำหนดแนวทางที่จะลดหนี้ครัวเรือนและหนี้ชุมชน

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

ผู้นำชุมชนตัวแทนครัวเรือนสมาชิกสหกรณ์ สมาชิกกองทุน

8,400.00 8,400.00 60 80 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลการวิเเคราะห์หนี้ครัวเรือน จากการพูดคุยกับประชาชนถึง สาเหตุสำคัญของการก่อหนี้สินคือ

  1. ความอยากมี อยากได้ เกิดกิเลส รสนิยมสูงเกินกว่ารายได้ คือการก่อหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ กับวัตถุ และค่านิยม กับกระแสทางการตลาดที่คอย ออกผลิตภัณฑ์ สินค้าใหม่ๆ ทำให้เกิดความอยากสุดท้ายต้องก่อหนี้สินเพื่อสนองความต้องการความอยากของตนเอง
  2. อีกสาเหตุคือค่านิยมทางสังคมที่ผิดๆ เข้าทำนองเห็นช้างขี้แล้วอยากขี้ตามบ้าง เห็นคนอื่นเขา ซื้อทรัพย์สินใหม่ๆ ก็อยากซื้อตามเขาโดยไม่ดูตัวเองว่า เขาซื้อเพราะพื้นฐานครอบครัวที่ดี หรือคนรวย สามารถซื้อทรัพย์สินต่างๆได้ด้วยเงินสดไม่ต้องเสียดอกเบี้ย แต่การซื้อตามเขาต้องก่อหนี้สิน กู้ยืมเงินมาซื้อซึ่งต้องมีภาระการจ่ายดอกเบี้ยและผ่อนชำระเป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งกว่าจะหมด
  3. การไม่รู้จักตัวเองรายได้ต่ำ รสนิยมสูง เพราะอยากได้-อยากมีเกินตัวคือ อยากไม่รู้จบ อันนั้นก็อยากมี อันนี้ก็อยากได้วิธีแก้ก็คือ พยายามลดความต้องการ ใช้ความอดทนมากๆ
  4. หลายคนยอมเป็นหนี้เพราะสามารถเห็นโอกาสในอนาคตคือ เมื่อมีการลงทุนแล้วคำนวณ คาดว่าหากขยายกิจการยอมเป็นหนี้ในวันนี้ แต่สามารถคืนเงินได้แน่แล้วที่เหลือก็จะกำไรล้วนๆต่อไปในอนาคต เมื่อเศรษฐกิจไม่ดีทำให้เป็นหนี้เพิ่มเติม
  5. เป็นหนี้ภาคบังคับ เห็นบ่อยและมีเยอะ ในกลุ่มเกษตรกรหรือนักเรียน นักศึกษา รัฐมักจะบังคับให้กู้เงิน เพื่อนำมาลงทุนเวลาเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ เพื่อฟื้นฟู ไร่ นา สวน และทำให้เป็นหนี้ต่อๆ กันไปเรื่อย

วิธีการแก้

  1. ปัญหาความอยากมีอยากได้ และค่านิยมทางสังคมที่ผิดๆ ให้เรียนรู้ความเพียงพอ ทำบัญชีครัวเรือน ลดรายจ่าย
  2. การแก้ภาวะที่ตกอยู่ในปัญหาหนี้สิน วิธีการแก้ไขปัญหาหนี้สินที่ดี คือการป้องกันไม่ให้เกิดหนี้หรือก่อหนี้ โดยหยุดความอยาก มีอยากได้ และหยุดค่านิยมทางสังคมที่ผิดๆ
  3. ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงดีที่สุด

สรุปผลการดำเนินงานตามกิจกรรมโครงการ สรุปว่า

  1. ชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมวิเคราะห์หนี้ 80 คน และได้ร่วมกันสรุปแนวทางการเกิดหนี้ในระดับครัวเรือน
  2. ได้ร่วมกันกำหนดแนวทางการลดหนี้ระดับครัวเรือน
  3. กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรุู้และเข้าใจเส้นทางการเกิดหนี้ครัวเรือน
  4. จากการเชิญครัวเรือนเข้าร่วมโครงการฯ ได้มีการแบ่งกลุ่มแลกเปลี่ยนข้อมูลเหตุของการเกิดหนี้ โดยชาวบ้านให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

กิจกรรมหลัก : จัดทำแผนครัวเรือนลดหนี้i

11,100.00 80 ผลผลิต

1.ครัวเรือนเป้าหมายได้ร่วมกันคิดและวางแผนปลดหนี้ครัวเรือน 2.ครัวเรือนเป้าหมายได้พูดคุย มีความไว้วางใจและมองเห็นปัญหาร่วมกัน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

1.เกิดแนวทางลดหนี้ระดับบุคคล ครัวเรือนของชุมชน 2.ครัวเรือนเป้าหมาย ลดทิฐิและการแข่งขันในเรื่องความรวย ความมั่งมี หันมาเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

กลุ่มแกนนำ/ประชาชนทั่วไป/ผู้เข้าร่วมโครงการ

11,100.00 11,100.00 80 80 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการ80คน
  2. มีการยอมรับกันมากขึ้นเพราะผู้เข้าร่วมกิจกรรม กล้าบอกหนี้สินของตนเอง กล้าเปิดเผยปัญหาซึ่งกันและกัน โดยจะให้คนอื่นร่วมวางแผนในการลดค่าใช้จ่ายที่เกินความจำเป็นที่ฟุ่มเฟือย
  3. มีการร่วมกันแลกเปลี่ยน และหาทางออกในการลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน เช่น ค่าเสื้อผ้า ค่าโทรศัพท์ ค่าบุหรี่ ค่าหวย ก็ให้ลดในการจ่าย เพราะเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นมากเท่าไหร่
  4. มีแนวทางการบริหารจัดการหนี้ระดับครัวเรือน

แนวทางการลดหนี้และบริหารจัดการหนี้ครัวเรือน
จากการพูดคุย ประชาชนให้ความเห็นตรงกัน ว่า เราควรบริหารจัดการหนี้ มีแนวคิดดังนี้

1) หาแหล่งรายได้ที่หลากหลาย เป็นการลดการพึ่งพารายได้เพียงแหล่งเดียว การมีรายได้ที่หลากหลายเป็นการกระจายความเสี่ยงจากการสูญเสียรายได้จากแหล่งใดแหล่งหนึ่ง และทำให้ครัวเรือนยังคงมีความสามารถในการชาระหนี้ได้ดี
2) การลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เป็นการสร้างวินัยทางการเงิน โดยเริ่มต้นจากการทำบัญชีครัวเรือน ซึ่งทำให้สามารถลดทอนค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยและนำเงินส่วนที่เหลือมาชำระหนี้สินของครอบครัวได้
3) การสร้างวินัยในการออม หากครัวเรือนมีการออมและสะสมความมั่งคั่งเพียงพอต่อการใช้จ่ายในยามจำเป็นจะสามารถลดการพึ่งพาการกู้ยืมได้

4) การไตร่ตรองก่อนก่อหนี้ โดยพิจารณาถึงความจำเป็นในการก่อหนี้ และไตร่ตรองให้รอบคอบว่าหนี้ใดก่อให้เกิดประโยชน์ในอนาคต และลำดับความสาคัญของการก่อหนี้ก่อนการกู้ยืม ซึ่งทำให้ครัวเรือนสามารถบริหารหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กิจกรรมหลัก : รวมกลุ่มส่งเสริมอาชีพ แก้ปัญหาหนี้สินi

32,300.00 80 ผลผลิต

1.กลุ่มเป้าหมาย 80 คน เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมอาชีพแก้ปัญหาหนี้ิสิน 2.กลุ่มเป้าหมายเรียนรุ้เรื่องเกษตรผสมผสาน 3.กลุ่มเป้าหมายได้เรียนวิธีการปลูกเพื่อการบริโภคและนำไปขายเป็นรายได้เพื่อเหลือกิน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

1.กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรุ้วิธีการสร้างรายได้จากเกษตรครัวเรือน 2.กลุ่มเป้าหมายได้ประยุกต์ความรุู้ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตประจำวัน 3.กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรุู้การพัฒนาอาชีพและวิธีการสร้างรายได้

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 4 ครั้ง

แกนนำชุมชนคณะทำงานตัวแทนครัวเรือน ประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ 80 คน

12,100.00 12,100.00 80 80 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต : มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 80 คน
ผลลัพท์ : มีผู้เข้าร่วมที่สนใจการปลุกพืชไร้ดินอย่างมากและการนำวัสดุมาประยุกต์เป็นชนะอีกทั้งได้รู้วิธีการทำเชื้อรา

ปัญหาที่พบ :

  1. พืชเสริมบางชนิดที่เรียนรู้มาไม่มีพันธุ์ เช่น กระวาน ดาหลาต้องจัดหาแล้วแบ่งพืชพันธฺ
  2. มีผู้สนใจที่อยากปลูกพืชไร้ดินเป็นจำนวนมากแต่ยังขาดต้นทุนในการเตรียมท่อภาชนะต่างๆ จึงทำให้ผุ้เข้าร่วมไม่สารถทำได้อาจต่อไปภายหน้าให้มีการรวมกองทุนพร้อมทำแปลงสาธิตในการทดลองปลูกก่อน

ผู้นำชุมชน คณะกรรมการ ผู้เข้าร่วมโครงการ

0.00 0.00 80 80 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต : ผู้เข้าร่วมโครงการ 80 คน

ผลลัพท์ : ได้เรียนรู้การผลิตทดแทนหรือแปรรูปผลผลิตก่รเกษตร น้ำมันมะพร้าวและเรียนรู้เองเชื้อเห็ดแบบทำง่ายๆเอาจาวปลวกหรือรังของแม่ปลวก ข้าวสุก น้ำมาหมักรวมกัน 7-10 วัน ก็ทำเห็ดได้ และยังแนะนำเชื้อเห็ดมาเป็นน้ำหมักปุ๋ยดิะร่วนเร็วกว่าน้ำหมักปกติ (สลายเร็ว) ได้เกร็ดความรู้กันหลายอย่าง และเรียนรู้เรื่องดินการมีดินที่เหมาะสมกับพืช และปุ๋ยวัดค่า ph ของดิน การลดต้นทุน ปุ๋ยในดิน การหมักปุ๋ยใส่ดินเพื่อเสริมธาตุอาหารการใช้ปูนขาว การใช้โดโลไมท์ การวัดค่า ผู้เรียนรู้นำดินมาวัดค่า ph ซึ่งทำให้ผู้เข้าร่วมเข้าใจ ปัจจัยสำคัญทำผลผลิตน้อย หรือตาย หรือปาล์มไม่ติดผล

ผู้นำชุมชน คณะกรรมการ ผู้เข้าร่วมโครงการ 113 คน

10,100.00 10,100.00 80 100 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต : ผู้เข้าร่วมโครงการ 80 คน

ผลลัพท์ :

  1. ได้นำไปบริโภคในครัวเรือน
  2. สามารถพัฒนาเป็นอาชีพเสริมได้
  3. เรียนรู้การนำมาดุกมาแปรรูปคือ เป็นกระบวนการที่เปลี่ยนแปลงสภาพของวัตถุดิบ ให้เป็นผลิตภัณฑ์อาหารอยู่ใน สภาพที่เหมาะสม สะดวก และปลอภัยต่อการบริโภค เป็นการถนอมอาหาร เพื่อยืดอายุการเก็บรักษา ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่มีความหลากหลาย เพิ่มทางเลือก และเพิ่มมูลค่าให้กับวัตถุดิบ แปรรูป ปลาดุกรัสเซียเหมาะแก่การนำมาทำปลาใส่อวน หรือ ปลาเค็มเพราะต้องเติมเกลือให้เค็มก่อนแล้วค่อยทำการถนอมเป็นอย่างอื่น ที่เรียกว่าปลาใส่อวนนี้ก็คืออวนในที่นี้คือ การเอาข้าวสารมาคั่วให้เหลืองสุกหอมแล้วปั่นให้ละเอียดแล้วจึงจะนำมาโรงที่ปลาเเล้วเรียกว่า ปลาใส่อวน การทำประเภทนี้เรียกว่าการถนอมอาหารก็ได้เพราะจะได้เก็บไว้กินได้นานๆ เป็นการดอง ซึ่งจะใช้ปลาได้สารพัดปลา

ผู้นำชุมชน คณะกรรมการ ผู้เข้าร่วมโครงการ

10,100.00 10,100.00 80 100 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต : ผู้เข้าร่วม 80 คน

ผลลัพท์ : ได้นำมาใช้ในครัวเรือน และนำไปจำหน่ายสร้างเป็นรายได้ ได้นำสมุนไพรที่ดีต่อสุขภาพมาใช้ในการทำสบู่ยาสระผม

ปัญหาที่พบ : ขาดต้นทุน และคนไม่มั่นใจในผลิตภัณฑ์ ยิดติดกับยี่ห้อสินค้า แก้ไขโดยใหู้ผู้เชียวชาญ หรืเจ้าหน้าที่ดด้านความปลอดภัย หรือ อย. เข้ามาชี้แนะว่าปลดดดภัยไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายสามารถใช้ได้จริง

กิจกรรมหลัก : เรียนรู้ ผังฟาร์มi

39,500.00 100 ผลผลิต

1.กลุ่มเป้าหมาย เรียนรุ้กิจกรรม 100 คน เกี่ยวกับการปลูกพืชเพื่อเป็นรายได้ 2.กลุ่มเป้าหมายเรียนรู้วิธีการใช้พื้นที่ว่างเปล่าให้เกิดประโยชน์


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

1.กลุ่มเป้าหมาย ได้วางผังการปลูกพืชในครัวเรือนได้อย่างเหมาะสม ทำให้เกิดการวิธีการจัดการที่ดี 2.ส่งเสริมให้เกิดรายได้กับกลุ่มเป้าหมาย และรายได้ครัวเรือน
3.เป็นการสร้างความตระหนักและคุณค่าด้านเกษตรผสมผสาน 4.กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้จริงและปฏิบัติจริง

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 3 ครั้ง

แกนนำชุมชนคณะทำงาน ตัวแทนครัวเรือน และประขาชนทั่วไป

14,500.00 14,500.00 100 100 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต :

  1. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 100คน
  2. ปราญช์ชาวบ้านได้มาพูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการจัดทำผังฟาร์มมีการพูดแนะนำถึงข้อดีต่างๆและข้อเสียที่จะเกิดขึ้นแต่ส่วนมากได้รู้ถึงข้อดีมากว่าวึ้งให้ให้ชาวบ้านสนใจมากยิ่งขึ้น

ผลลัพท์ : มีบ้านตัวอย่างในการทำเกษตร ทั้งด้านปศุสัตว์ ด้านการเกษตรผสมผสานต่างๆอยู่แล้วนั้น แต่มีการทำที่เล็กน้อย ทำเรื่อยๆไม่ได้ตั้งใจที่จะเป็นอาชีพเสริมหรือมาลดรายได้แต่อย่างใดเมื่อผู่ที่เข้าร่วมกิจกรรมได้มาฟังทำให้จุดประกายหรือเป็นแนวทางในการที่คิดอยากจะพัในาให้เป้นรุปเป็นร่างที่ดีกว่าเดิม เพื่อสามารถลดรายได้และเป็นอาชีพเสริมได้ดียิ่งขึ้น

ปัญหาที่พบ :

  1. ปัญหาเกิดจากการขาดต้นทุนในการทำถึงแม้บางครอบครัวจะมีการเลี้ยงหรือปลูกผักอยู่บ้างแล้วแต่ยังมีการจัดการที่มีประสิทธิน้อย การดูแลไม่ครบวงจรทำให้ผลผลิตที่ออกมาน้อย วางแนวทางแก้ไขโดยให้ผู้มีควาามรู้และมีประสบการณ์ของการเลี้ยงสัตว์หรือปลูกผักนั้นๆมาแนะนำรายละเอียดพร้อมทั้งให้แม่พันธ์ที่ชาวบ้านสนใจคนละอย่างเพื่อนำไปเพาะขยายพันธ์ต่อไป
  2. ปัญหาที่บ้านชาวส่วนใหญ่ที่ปลุกพืชคือทุกบ้านมีกาารปลูกบ้างไม้ปลูกบ้างเมื่อนำไปจำหน่วยแล้วไม่สามารถไปจำหน่ายได้ดีเม่าที่ควร จึงเกืดในเรื่องของการตลาดที่มีสินค้ามากเกินไป จึงแนะนำให้ผู้ที่ปลูกผักนั้นๆมารวมกลุ่มและมีการปลูกที่ต่อเนื่อง เพื่อได้หาพ่อค้านอกพื้นที่มารับการซื้อ

แกนนำชุมชนคณะทำงานตัวแทนครัวเรือน ประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ

12,500.00 12,500.00 100 100 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 100 คน

ผลลัพธ์ 1.ได้เรียนรู้จากสถานที่จริงซึ่งเป็นบ้านตัวอย่างที่ได้ทำอยู้แล้ว และได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในด้านการกรีดยางพาราทั้งต้นเล้กและต้นที่มีขนาดสูงใหญ่ต้องใช้ไม้ต่อในการกรีกยางไปแลพทำให้ได้มีน้ำยางที่ไหลมากที่สุด 2.ผุ้เข้าร่วมมีความนุกสนามในการทำกิจกรรมครั้งนี้เพราะมีกิจกรรมนันทนาการแต่ก้ใช้วิถีเพื่อบ้านที่ชาวบ้านทั่วไปทำอยู่แล้วนั้นมาแข่งกัน เสริมสร้างความสามัคคีในหมู้คณะและการได้รับประโยชน์ความรู้มากมายจากกล้วยนั้น อีกทั้งการแปรรูปกล้วยที่มีอยู่ในชุมชนนั้น ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของแม้บ้านเป็นอย่างมากได้เรียนรู้เทคนิคการทำขนมหวานจากกล้วย และการทำกล้วยฉาบเพื่อเป็นแนวทางในการทำอาชีพเสริมได้

แกนนำชุมชน  คณะทำงาน  ตัวแทนครัวเรือน ประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ

12,500.00 12,500.00 100 100 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต : มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 100 คน

ผลลัพท์ :

  1. ได้เรียนรู้จากสถานที่จริงซึ่งเป็นบ้านตัวอย่างที่ได้ทำอยู้แล้ว และได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
  2. ได้เรียนรู้จากบ้านตัวอย่างในการทำเกษตรแบบผสมผสาน คือ นายประจวบ รักบ้าน วรรณละภา ไทยเกื้อ นางปรีดา รัตนพันธ์ ปลูกผักผสมผสานนางณัฐชยา รัตนธ์ นางออง รัตบุรี ทำข้าวไร่

กิจกรรมหลัก : กลุ่มเรียนรู้ตามหลักสูตรi

36,000.00 100 ผลผลิต

1.กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม 100 คน เรียนรุู้หลักสูตรวิถีพอเพียง 2.กลุ่มเป้าหมายมีการพูดคุยและสอนแนะกันเองภายในกลุ่ม


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

1.กลุ่มเป้าหมายมีการยอมรับซึ่งกันและกัน
2.ลดความขัดแย้งในกลุ่มเป้าหมาย สร้างสามัคคี 3.มีการเรียนรู้ทุนที่มีอยู่ในชุมชนและนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่นสมุนไพร 4.กลุ่มเป้าหมายเรียนรู้วิธีการลดต้นทุน เช่น ทำปุ๋ยชีวภาพ

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 4 ครั้ง

แกนนำชุมชนคณะทำงานตัวแทนครัวเรือน ประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ

12,000.00 12,000.00 100 100 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต:1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 100คน 2.มีการพูดคุย และเสนอความคิดเห็นในเรื่องที่จะเรียนรู้กัน

ผลลัพท์:1.ได้เสนอกลุ่มต่างๆ คือ กลุ่มสมุนไพร กลุ่มเกษตรผสมผสานนวดแผนไทย แปรรูปอาหาร ทำดอกไม้ประดับ

แกนนำชุมชนคณะทำงาน ตัวแทนครัวเรือน และประขาชนทั่วไป

12,000.00 12,000.00 100 100 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1.มีผู้เข้าร่วมโครงการ100คน

ผลลัพธ์

  1. ผู้ที่เข้าร่วมสามารถเข้าใจหลักการทำงานของจุลทรีย์อย่างคร่าวๆว่าทำไมกองปุ๋ยถึงร้อนขึ้นจะได้ไม่ไปหาวิธีต่างๆทำที่ไปขัดขวางการทำงานของจุลินทีย์เหล่านี้ทำให้ปุ๋ยไม่สามารถเจรืยได้เต็มที่
  2. ได้รู้สูตรต่างๆของการทำปุ๋ยทั้งการนำวัสดุเหลือใช้ต่างๆ หรือมูลสัตว์ มาหมักทำปุ๋ยชีวภาพ ให้ผู้เข้าร่วมได้ใช้ปรโยชน์สูงสุดของวัสดุจากธรรมชาติที่มีอยู่ในชุมชนและเพื่อเป็นการลดการลดต้นทุนลดการใช้สารเคมีที่ส่งผลอันตรายต่อธรรมชาติและผู้บริโภค

ปัญหาที่พบ : ผู้เข้าร่วมโครงการขาดความรู้ในการหมักปุ๋ยเพราะเข้าใจว่าแค่ผสมส่วนต่างๆแล้วทิ้งไว้ไม่นานก้นำไปใช้ได้แต่กลับส่งผลให้พืชพันธ์เน่าเสียเป็นผลมาการการที่ปุ๋ยหมักยังหมักไม่เข้าที่ตัวปุ๋ยมีอุฯหภูมิสูงและยังมีเชื้อโรคต่างๆ เมื่อนำไปใช้เชื้อโรคเหล่านี้ก้ไปลำรายระบบราก หรือตินอ่อนให้เน่าเสียและตายในที่สุดและให้มองว่าการใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพนี้ไม่ได้ประสิทธิภาพ เมื่อผู้เข้าร่วมได้มีความเข้าใจในเรื่องนี้แล้วก้สามารถตรวจเชคเวลาหรืออุณหภูมิของกองปุ๋ยได้และสามารถนำปุ่ยที่ปลอดภัยและมีคุรภาพดีเหล่านี้ไปใช้งานได้จริง

แกนนำชุมชนคณะทำงานตัวแทนครัวเรือน ประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ 113 คน

12,000.00 12,000.00 100 113 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลิตผลิต : มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 100 คน

ผลลัพท์ : มีการเรียนรู้เกี่ยวการทำยาหม่องที่สามารถนำไปให้ได้และการนวดเท้าที่ปวดเมื่อยจากการทำงาน ให้ผ่อนได้เป็นความรู้กันในตอนเช้าเรียนรู้เรื่องเอ็น กระดุก การหมุนเวียนของเลือด การนวดๆเส้นไหนที่สามารถนวดได้และเส้นไหนที่อันตรายพร้อมทั้งสมุนไพรพิ้นบ้านที่สามารถนำมากิน มานวดได้ เป็นการเรียนรู้เบื้องต้น ทั้งการต้ม การทา การกินรักษาเช่น การทำยาหม่อง การเตรียมตำรับยาหม่องไพลประกอบด้วยตัวยา ดังต่อไปนี้

  1. สารที่ช่วยให้ยาหม่องแข็งตัว ได้แก่ วาสลีน (White soft paraffin) พาราฟินแข็ง (Hard paraffin) จะใส่ในอัตราส่วนเท่า ๆกัน ส่วนที่ทำให้ยาหม่องแข็ง จะมีปริมาณ 30% ของตำรับ ถ้าต้องการให้ยาหม่องเหลวมาก ไม่แข็งเกินไป จะใช้วาสลินมากกว่าพาราฟินแข็ง
  2. สารที่ช่วยเพิ่มการดูดซึมผิว ได้แก่ ลาโนลิน(Lanolinพวกนี้จะใช้ในตำรับประมาณ 5% w/w ของตำรับ สารพวกนี้ทำให้ยาหม่องถูกดูดซึมเข้าสู่ผิวได้เร็ว เมื่อทาจะรู้สึกร้อนเร็ว
  3. สารที่ทำให้ร้อน หรือใช้ทาถูนวดให้ร้อนแดง ได้แก่ น้ำมันระกำ เมนทอล การบูร พวกนี้จะใช้รวมกันถึง 70% w/wของตำรับ
  4. สารแต่งกลิ่นในยาหม่อง จะใช้สารที่ช่วยแต่งกลิ่นที่มีกลิ่นคล้ายเมนทอล ได้แก่ น้ำมันสะระแหน่ เป็นต้น
  5. ตัวยาสำคัญ คือ ไพล ใช้ทาถูนวด ถ้าต้องการสมุนไพรชนิดอื่น ก็อาจใช้สมุนไพรเหล่านั้น แช่ในแอลกอฮอล์ 95% แล้วระเหยให้แห้ง หรือสูตรตำรับหมอพื้นบ้าน อาจใช้สมุนไพรหลายชนิด เจียวกับน้ำมันมะพร้าว แล้วเอาน้ำมันมะพร้าว ที่มีส่วนของสมุนไพรนั้น มาทำเป็นยาหม่อง ใช้แทนน้ำมันไพลได้

สูตรตำรับยาหม่องไพล 1. พาราฟินแข็ง วาสลิน 30 กรัม 2.ลาโนลิน 5 กรัม 3.น้ำมันระกำ เมนทอล การบูร 70 กรัม 4.น้ำมันสะระแหน่ 2 กรัม 5.น้ำมันไพล 10%ของตำรับ วิธีทำยาหม่องไพล

  1. นำพาราฟินขาว วาสลินแข็ง มาหลอมละลายให้เป็นเนื้อเดียวกัน
  2. ชั่งเมนทอล 20 กรัม การบูร 20 กรัม น้ำมันระกำ 30 กรัม นำเมนทอลและการบูรผสมรวมกันรอจนละลายเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วนำมาผสมกับน้ำมันระกำที่เตรียมไว้
  3. จากนั้นนำส่วนผสมในข้อที่ 2 ผสมลงไปในส่วนผสมข้อที่ 1 จนเป็นเนื้อเดียวกัน
  4. เติมน้ำมันไพล น้ำมันสะระแหน่ คนให้เข้ากันแล้วเทใส่ขวด สรรพคุณและวิธีใช้ใช้ทาถูวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น แก้เคล็ด ขัดยอก และปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ ลูบเท้า ช่วยลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเท้า ลดอาการเคล็ดขัดยอกข้อนิ้วเท้า ข้อเท้า ส้นเท้า

และสอนการนวดเบื้องต้นให้ผ่อนคลายปบี้ยงต้น โดยสอนวิธีการนวด ให้ผู้ถูกนวดนอนหงายราบกับพื้นหรือที่นอน ใช้หมอนหนุนรองศีรษะ เหยียดขาตรงปล่อยขาตามสบาย หรืออาจจะใช้หมอนรองใต้หัวเข่าเพิ่มก็ได้ ผู้นวดใช้มือทั้งสองประสานกันไว้ โดยให้มือซ้ายอยู่บนปลายนิ้วเท้าด้านบนใกล้ข้อเท้าขวาของผู้ถูกนวด มือขวาอยู่ใต้ปลายนิ้วเท้าด้านล่างใกล้ส้นเท้า ลูบขึ้นไปอย่างช้า ๆ ออกแรงกดและลูบสม่ำเสมอ ลูบจากส้นเท้าและข้อเท้าไล่ขึ้นมาจนถึงปลายนิ้วเท้า ทำสลับไปมาแล้วจึงเปลี่ยนเป็นท่าต่อไป คลึงเท้า ช่วยลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อฝ่าเท้า ลดอาการเคล็ดขัดยอกข้อนิ้วเท้า

วิธีการนวด ให้ผู้ถูกนวดนอนหงายราบกับพื้นหรือที่นอน ใช้หมอนหนุนรองศีรษะ เหยียดขาตรงปล่อยขาตามสบาย หรืออาจจะใช้หมอนรองใต้หัวเข่าเพิ่มก็ได้ ผู้นวดใช้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองลูบไล่ลงมาตามร่องกระดูกเท้าด้านขวาของผู้ถูกนวด ที่อยู่ระหว่างนิ้วก้อยกับนิ้วนางและนิ้วหัวแม่เท้ากับนิ้วชี้ โดยลูบขึ้นไปจนถึงข้อเท้า ออกแรงกดสม่ำเสมอ แล้วให้คลึงกลับลงมาถึงโคนนิ้วเท้า ลูบขึ้นไปแล้วคลึงลงมาใหม่ ทำสลับไปมาแล้วจึงเปลี่ยนเป็นท่าต่อไป คลึงข้อเท้า ช่วยลดอาการเคล็ดขัดยอกข้อเท้า

วิธีการนวด ให้ผู้ถูกนวดนอนหงายราบกับพื้นหรือที่นอน ใช้หมอนหนุนรองศีรษะ เหยียดขาตรงปล่อยขาตามสบาย หรืออาจจะใช้หมอนรองใต้หัวเข่าเพิ่มก็ได้ ผู้นวดใช้นิ้วกลาง นิ้วนางและนิ้วก้อยทั้งสองมือวางไว้ใต้ตาตุ่มเท้าขวาของผู้ถูกนวด ให้มือซ้ายอยู่ที่ตาตุ่มด้านนอก มือขวาอยู่ตาตุ่มด้านใน โดยคลึงรอบ ๆ ตาตุ่มให้ออกแรงคลึงสม่ำเสมอ คลึงสักครู่แล้วจึงเปลี่ยนเป็นท่าต่อไป บิดเท้า ช่วยลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเท้า ลดอาการปวดตึงเอ็นร้อยหวาย

วิธีการนวด ให้ผู้ถูกนวดนอนหงายราบกับพื้นหรือที่นอน ใช้หมอนหนุนรองศีรษะ เหยียดขาตรงปล่อยขาตามสบาย หรืออาจจะใช้หมอนรองใต้หัวเข่าเพิ่มก็ได้ ผู้นวดใช้มือจับที่เท้าขวาของผู้ถูกนวดหมุนข้อเท้าออก ใช้มือซ้ายอ้อมส้นเท้ามาจับที่เอ็นร้อยหวาย มือขวาจับเอ็นร้อยหวายข้างฝ่าเท้า ใช้นิ้วหัวแม่มือซ้ายกดลง นิ้วหัวแม่มือขวาดันขึ้น ดันขึ้นลง แล้วเลื่อนมือบิดไปตลอดแนวของเส้นเอ็น ทำสลับไปมาแล้วจึงเปลี่ยนเป็นท่าต่อไป

ผู้นำชุมชน คณะกรรมการ ผู้เข้าร่วมโครงการ

0.00 0.00 100 100 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต : ผู้เข้าร่วมโครงการ 100 คน

ผลลัพท์ :

  1. ได้เรียนรู้ประโยชน์ของผึ้งว่ามีผึ้งช่วยผสมเกสรดอกไม้ ผลไม้ อีกทั้งไม่ต้งลงทุนสูงมากก็สามารถมีน้ำผึ่งไปขายหรือมาใช้ในครัวเรือนก็สามารถมีรายได้
  2. ได้รู้เทคนิควิธีเมื่อเข้าใกล้ผึ้งว่า ลักษณะนี้ไม่ต่อย หรือลักษณะแบบนี้ต่อยหรือการรักษาการบาดเจ็บ
  3. ได้เรียนรู้เทคนิคการปลูกต้นกล้วยแบบการเพาะเลี้ยงเนื้เยื่อที่แตกต่างจากแบบหน่อทั่วไป

กิจกรรมหลัก : แลกเปลี่ยนเรียนรู้i

11,500.00 50 ผลผลิต

1.กลุ่มเป้าหมาย 50 คน ได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรุ้ระหว่างกัน 2.กลุ่มเป้าหมายได้นำความรู้ไปพัฒนางานตามกิจกรรมโครงการ


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

1.กลุ่มเป้าหมายมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องเกษตรผสมผสานและนำไปใช้จริง 2.กลุ่มเป้าหมายเรียนรู้ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
3.กลุ่มเป้าหมายมีความเห็นอกเห็นใจและเรียนรู้กันมากขึ้น

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 2 ครั้ง

ผู้นำชุมชนคณะทำงานตัวแทนครัวเรือนประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ 53 คน

6,000.00 6,000.00 50 50 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต : มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 50 คน

ผลลัพท์ : ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกิจกรรมต่างที่ผ่านมา โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน เช่น ในเรื่องการทำเกษตรแบบผสมผสานการเลี้ยงปลาการเลี้ยงไก่ และประโยชน์ของสมุนไพร

ปัญหา : เสียดายโอกาสของคนที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการว่าดครงการมีแรงขับเคลื่อนให้ปัญหาที่มีอยู่นั้นลดลงไปโดยการเปิดทัศนะคติให้กว้างขึ้นเพื่อเรียนรู้การพอเพียงพออยู่พอกิน และการเน้นอยู่กับะรรมชาติ โดยแม้ผู้ที่เข้าร่วมโครงการนี้ก็ยังมาอยู่หลายคนที่ไม่สามารถเข้าใจและนำสิ่งที่เรียนรู้นั้นไปปฏับติจิงในครัวเรือน โดยต้องเชิญชวนและลงมือทำให้เป็นผลเป็นรูปธรรมชาวบ้านจึงมีความมั่นใจมากยิ่งขึ้น

ผู้นำชุมชน คณะทำงาน คนเข้าร๋วมโครงการ

5,500.00 5,500.00 50 50 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต : มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 50 คน

ผลลัพท์ : ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความคิดของการรวมกลุ่มสมาชิก และประโยชน์ที่ได้รับจากการเปิดโครงการ ว่าที่ผ่านมาแล้วนั้นเราได้ดำเนินถึงจุดไหนบ้างมีส่วนไหนที่อยากเพิ่มหรือเน้นเรื่องของอะไรบ้าง แล้วรับประทานอาหารจากนั้นมาพูดคุยกันต่อซึ่งในที่ประชุมส่วนใหญ่จะพูดถึงสมุนไพรมากยิ่งขึ้นเพราะช่วงนี้การดูแลสุขภาพกำลังมาแรง ผู้คนให้ความสนใจกับการดูแลสุขภาพมากยิ้งขึ้น ทั้งการบริโภคผักปลอดสารพิษและการรับประทานผักหรือสมุนไพรเหล่านี้ที่มีสรรพคุณเป็นยาทั้งร่างการ การลดความดัน โลหิต ต่างเป็นที่ชื่นชอบของแม่บ้าน คือ การใช้ผักผลไม้พืชสมุนไพรในการเสริมความงาน เช่น การนำมะละกอมาหมักผม การนำว่านหางจระเข้มาลบรอยสิวรอย และ การใช้มะเขือเทศ หอมแดงในการดูแลผิวหน้า ต่างๆที่มีอยู่ในครัวหรือชุมชนมาใช้ดูแลความงามของร่างกาย

กิจกรรมหลัก : การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตามi

10,000.00 2 ผลผลิต

1.ตัวแทนโครงการเข้าร่วมกิจกรรมกับพี่เลี้ยงครบตามเกณฑ์ที่กำหนด 2.ตัวแทนโครงการได้รับการสอนแนะในการจัดทำเอกสาร หลักฐานทางการเงินที่ถูกต้อง 3.ตัวแทนโครงการได้เรียนรู้่วิธีการแก้ปัญหาตนเอง เช่น ระบบออนไลน์ขัดข้อง บันทึกข้อมูลไม่เป็น


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

1.ตัวแทนโครงการมีการพัฒนาตนเอง ตลอดเวลาเพื่อให้ผลการดำเนินงานมีคุณภาพ 2.เป็นการสร้างความรับผิดชอบให้เกิดกับโครงการ 3.การพบพี่เลี้ยงบ่อยขึ้น เป็นการตรวจสอบกิจกรรม เกิดความโปร่งใสในการทำงาน 4.ทำให้แก้ปัญหาที่เกิดขึันระหว่างทำโครงการได้เร็วขึ้น

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 18 ครั้ง

คณะทำงาน 2 คน

1,500.00 1,416.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ได้เรียนรู้วิธีการดำเนินงานตามโครงการในการทำกิจกรรมจะต้องมีการเก็บภาพถ่าย บันทึกกิจกรรมในเว็บไซต์เตรียมเอกสารด้านการเงินให้ถูกต้อง
  2. เรียนรู้วิธีดำเนินกิจกรรมตามโครงการ
  3. ได้วางแผนการดำเนินงานตามโครงการ ในการกำหนดกิจกรรมในปฏิทินโครงการ ว่ากิจกรรมจะทำในวันไหน ช่วงเดือนไหนและได้กำหนดการประชุมสภาผู้นำทุกเดือน
  4. ได้เรียนรู้ความเสี่ยง ต่อการดำเนินงาน อย่างเช่นการเบิกจ่ายเงินต้อง 2 ใน 3 คน ให้เบิกจ่ายตามรายกิจกรรม

ตัวแทนโครงการ 2 คน

0.00 0.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ตัวแทนโครงการ 2 คน เข้าร่วมประชุมตามที่กำหนด 2.กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้การบันทึกเอกสาร การจัดเตรียมเอกสาร 3.กลุ่มเป้าหมายได้ฝึกปฏิบัติบันทึกในเวปไซด์

คณะทำงานและประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมเปิดเวทีโครงการ

0.00 0.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรม ครบตามที่กำหนด 2.ประชาชนได้รับทราบวัตถุประสงค์โครงการ  และเกี่ยวกับผังฟาร์มที่จะมีในการทำโครงการ 3.ประชาชนได้สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม

ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะกรรมโครงการ

1,500.00 1,250.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานตามกิจกรรมโครงการ สรุปว่า ผลผลิต

  1. ตัวแทนโครงการเข้าร่วมกิจกรรม 2 คน
  2. ได้ฝึกการบันทึกลงเวปไซด์ 1 กิจกรรม
  3. ได้ฝึกทำบัญชีเงินสดและการจ่ายภาษี ณ ที่จ่าย 1 ชุด

ผลลัพธ์

  1. มีความรู้และเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับการเขียนผลลัพธ์ ผลผลิตจากการทำกิจกรรม
  2. มึความรู้และเข้าใจเรื่องภาษีและสามารถบันทึกข้อมูลภาษีได้
  3. มีความรู้ความเข้าใจมากขึ้นในการบันทึกกิจกรรมเข้าเว็บไซต์และบันทึกภาพในเว็บไซต์

ตัวแทนโครงการเข้าร่วมประชุม 2 คน

0.00 0.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1.กลุ่มเป้าหมาย 2 คน ได้เรียนรู้การเขียนรายงาน การทำรายงานการเงิน 2.กลุ่มเป้าหมาย ได้เรียนรู้วิธีการเขียนผลลัพธ์และผลผลิต 3.กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้วิธีการเขียนหลักฐานทางการเงิน

ผลลัพธ์ 1.กลุ่มเป้าหมายได้ฝึกการจัดเอกสารและมีการปรับแก้ให้ถูกต้อง
2.กลุ่มเป้าหมายเข้าใจและสามารถสอนทีมงานได้

ตัวแทนโครงการ 2 คน

0.00 0.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.โครงการได้เรียนรู้วิธีการปิดงวดรายงานกิจกรรม 2.โครงการได้เรียนรู้วิธีการปิดงวดรายงานการเงิน
3.โครงการได้เรียนรู้วิธีแก้ปัญหาการแก้ไขข้อมูลออนไลน์  และการโหลดรูปภาพ

ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะกรรมโครงการ

1,500.00 650.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีผู้เข้าร่วมโครงากร 2 คน
  2. ได้ตรวจความพร้อมของเอกสารได้ เข้าใจในการสรุปปิดงวดโครงการคือการได้ตรวจเช็ค เงินในการจ่ายแต่ละกิจกรรมและเอกสารด้านการเงินของแต่ละกิจกรรม
  3. ได้เข้าใจการลงบันทึกบัญชี ได้เข้าใจวิธีการบันทึกข้อมูลออนไลน์
  4. ได้ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารด้านการเงิน และมีความเข้าใจในด้านการเงินมากขึ้น ในการเขียนบิลคือต้องเขียนรายละเอียดให้ครบตามกำหนด

ตัวแทนโครงการ 2 คน

0.00 0.00 2 0 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.โครงการได้เรียนรู้วิธีการปิดงวดรายงานกิจกรรม 2.โครงการได้เรียนรู้วิธีการปิดงวดรายงานการเงิน
3.โครงการได้เรียนรู้วิธีแก้ปัญหาการแก้ไขข้อมูลออนไลน์

ผู้รับผิดชอบโครงการ และเจ้าหน้าที่การเงิน

500.00 680.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 2 คน
  2. ได้รวบรวมกิจกรรมได้ทุกกิจกรรม และได้แก้ไขในบางกิจกรรมได้ เช่น ในเรื่องของรูปภาพและเนื้อหาบางกิจกรรมที่ยังขาดรายละเอียด
  3. ได้เรียนรู้เพิ่มเติมในการบันทึกกิจกรรมเข้าเว็บไซต์ และการบันทึกรายละเอียดให้ชัดเจนเช่นผลลัพธ์ที่ได้รับจากการทำกิจกรรม แต่ละกิจกรรม
  4. เรียนรู้การทำบัญชีทางการเงิน
  5. จัดทำเอกสารการปิดงวดงบประมาณ การจัดเรียงเอกสารสำคัญทางเงิน การจัดเก็บเอกสาร โดยได้รู้ถึงการปิดงวดงบประมาณการทำกิจกรรม ได้รู้ถึงความสำคัญทางการเงินได้รู้ถึงน้ำใจของเพื่อร่วมงาน ความมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความสามัคคีในทีมงาน ในการช่วยกันบันทึกกิจกรรมในเว็บไซต์ และการตรวจสอบเอกสาร ว่ากิจกรรมไหนบ้างที่ครบหรือขาดไป

ตัวแทนโครงการ 2 คน

1,250.00 1,250.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 2 คน
  2. การประชุมจัดทำรายงานงวดที่ 1 กับ สจรส.มอ.และพี่เลี้ยงและคืนเงินเปิดบัญชี 500 บาท
  3. ได้ทราบถึงสิ่งที่ต้องแก้ไขจากการตรวจรายงานและการตรวจเอกสาร ดังนี้
  • ค่าถ่ายเอกสารบิลร้านไม่ถูกต้อง และลงไม่ถูกหมวดแก้ไขโดย ต้องไปขอบิลจากร้านมาใหม่และในการบันทึกให้บันทึกในค่าใช้สอย
  • ขาดใบสำคัญรับเงินของผู้ประสานงานในบางกิจกรรมก้ไขโดยการต้องไปขอใบเสร็จรับเงินมา
  • การเขียนกิจกรรมไม่ตรงกันแก้ไขโดยการไปบันทึกใหม่ และดูกิจกรรมให้สอดคล้องกัน
  • รูปถ่ายกับกิจกรรม ไม่สัมพันธ์ กับจำนวนกิจกรรมเป้าหมายแก้ไข โดยเก็บกิจกรรมเสริม
  • การเขียนผลลัพธ์กว้างเกินไป การเขียนผลลัพธ์ยังไม่สัมพันธ์แก้ไขโดยการบันทึกใหม่

คณะทำงาน

680.00 680.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต:1ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 2 คน
ผลลัพท์1.ได้ทบทวนโครงการว่าได้ทำอะไรไปแล้วบ้าง และจะทำอะไรต่อไปบ้าง 2.ได้กลับไปดูกิจกรรมของตนเองว่า ต้องเพิ่มเติมอะไรอีกบ้างเพราะรายละเอียดกิจกรรมในเวปไซต์ และรูป ยังไม่ครบถ้วน

คณะทำงานตามโครงการและพี่เลี้ยง 10 คน

0.00 0.00 10 10 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สิ่งที่เรียนรู้ 1.การกิจกรรมกลุ่ม เป็ฯการทำกับคน ทีมงานต้องอดทน มีจิตทำงานที่ดีถ้าจิตยอมรับคนก็ยอมรับ
2.การทำงานอาศัยความอดทน การรอคอยถ้าอดทนก็จะเห็นความสำเร็จที่จะเกิดขึ้น 3.คนทำงานจะต้องมีความสุขและความสุขต้องเกิดจากงาน
4.การทำกิจกรรมตามโครงการได้ความสามัคคี

คณะทำงาน 2 คน

750.00 1,500.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต : มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 2 คน

ผลลัพท์ : ได้ตรวจสอบเอกสารแล้วต้องกลับไปแก้ไขในเรื่องของใบเสร็จและให้ไปบันทึกข้อมูลในเวปไซต์ให้เรียบร้อย ก่อนส่งให้พี่เลี้ยงตรวจสอบอีกครั้ง เพื่อดำเนินการปิดโครงการในงวดที่ 2

คณะทำงาน 2 คน

2,320.00 2,996.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ข้อเสนอเพิ่มเติมจากการประชุมห้องย่อย สานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่สู่นโยบายสาธารณะ

  1. การสื่อสารให้เข้าถึงพื้นที่ รู้จัก สสส.
  2. สสส.ควรทำงานร่วมกับโรงเรียนให้มากขึ้น ถ้าเข้าถึง เยาวชนได้มาก เขาจะรู้จัก สสส.ตั้งแต่ยังเล็ก ปลูกฝังความคิด จิตสาธารณะ ตอนนี้ทางโรงเรียนต้องการคนชี้นำสสส.คิดอะไรเพื่อเด็กและเยาวชนหลายอย่าง เขาไม่รุ้ว่าใครทำอย่างไรให้ถึงโรงเรียนและทำให้ได้สมาชิกคนใหม่ และเด็กๆ ที่จะสืบทอด
  3. การลงไปประชาสัมพันธ์ ลงไปยังพื้นที่ องค์กรเชื่อว่าหลายหมู่บ้าน ชุมชน ยังมีความต้องการวันนี้เป็นนิมิตหลายอันดี ที่ สสส.ซึ่งเป็นองค์กรอิสระ และวันนี้สำคัญถ้าเราทำงานเชิงรุก ประชาสัมพันธ์ ทำให้ประชาชนได้รุ้จัก สสส. (การสร้างคนรุ่นใหม่ คนรุ่นเยาว์เป็นการปลูกฝังตั้งแต่เด็ก)
  4. อยากเติมเต็มโครงการ สสส. ทำภายใต้เทคโนโลยี ไอทีหลายหมู่บ้านอยากทำเพราะเป็นโครงการที่ดี เขาทำได้ แต่ปัญหาเขาขาดผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีอาจจะให้เขาได้เข้ามาเสนอ และหาคนรุ่นใหม่ มาอบรม เติมเต็มทางด้านนี้ เพื่อใช้ในการทำเครื่องมือรายงาน การวัดผล

สรุปข้อเสนอเพื่อการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพของภาคใต้ 3 ข้อเสนอจากห้องสานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่สู่นโยบายสาธารณะ

ข้อเสนอ สสส.

  • ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดกลไก ขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาศักยภาพผู้นาชุมชนเพื่อสร้างชุมชนน่าอยู่ เช่น สนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้นาชุมชนและองค์กรในท้องถิ่น ให้สามารถขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่ได้อย่างต่อเนื่อง
  • เพิ่มการสื่อสารและช่องทางการประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนได้เข้าถึงแหล่งทุนให้มากขึ้น - สนับสนุนให้เกิดการสร้างกลไกพี่เลี้ยงเพื่อหนุนเสริมให้ชุมชนมีศักยภาพนาไปสู่การสร้างชุมชนเข้มแข็ง
  • สสส. เป็นองค์กรกลางประสานความร่วมมือระหว่างเครือข่าย เพื่อให้เกิดการขยายผลในระดับนโยบาย เพื่อยกระดับการขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่

สช.

  • เปิดโอกาสให้ชุมชนที่ดาเนินงานชุมชนน่าอยู่ ได้เข้ามาร่วมในกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะ เพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม
  • นาบทเรียนและข้อมูล องค์ความรู้ และคณะทางานจากโครงการชุมชนน่าอยู่ มายกระดับสู่การขับเคลื่อนเชิงนโยบายสาธารณะ ในประเด็นที่สอดคล้องกับการพัฒนาสุขภาวะชุมชน สปสช.
  • ให้กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น จัดสรรงบประมาณให้กับชุมชนที่ดาเนินงานตามแนวทางของชุมชนน่าอยู่เพื่อพัฒนายกระดับจากพื้นที่สู่ตำบล
  • กำหนดสัดส่วนคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นให้มีตัวแทนของผู้นาชุมชนที่ขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่ได้สำเร็จ
  • กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาโครงการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชนให้มีแนวทาง เพื่อพัฒนาและร่วมเป็นภาคีเครือข่ายได้มากขึ้น กระทรวงสาธารณสุข
  • กำหนดให้หน่วยบริการสุขภาพ ดาเนินงานสร้างเสริมสุขภาพร่วมกับชุมชนมากขึ้น โดยกำหนดตัวชี้วัดชุมชนน่าอยู่ในมาตรฐานการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
  • ส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรสาขาสุขภาพมีความเข้าใจ และ มีความร่วมมือกับชุมชน ในการขับเคลื่อนงาน สถานีโทรทัศน์ ไทยพีบีเอส
  • สนับสนุนให้มีการประชาสัมพันธ์ แนวทางการดาเนินงานชุมชนน่าอยู่ให้ทั่วถึงในระดับชุมชนท้องถิ่น
  • นำเสนอบทเรียนพื้นที่ตัวอย่าง ดำเนินงานชุมชนน่าอยู่ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ การพัฒนา กลุ่มผู้นาชุมชนให้มีกลไกการดาเนินงานสร้างชุมชนเข้มแข็ง
  • สนับสนุนให้เกิดช่องทางการสื่อสาร เพื่อประชาสัมพันธ์นวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์ชุมชนน่าอยู่ ให้ถึงทั่วถึงในระดับท้องถิ่น และสื่อสารให้สังคมได้เห็นกระบวนการขับเคลื่อนชุมชนอย่างเป็นระบบ

คณะทำงานและกลุ่มเป้าหมาย พี่เลี้ยงโครงการ 15 คน

0.00 0.00 10 15 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ทำโครงการนี้ หมู่บ้าน เปลี่ยนแปลง คือ -ทำให้เกิดความสามัคคี
-ได้ผลิตอาหารที่ปลอดสารพิษ -ได้ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ครัวเรือน
-ได้แลกเปลี่ยนความรู้ -มีผลิตภัณฑ์จากสุมนไพรชุมชน -คนในครอบครัวมีความสุข ได้กินผักหญ้าที่ปลูก มีกินตลอดเวลา
-มีการแลกเปลี่ยนระหว่างครัวเรือน ระหว่างกลุ่ม ระหว่างชุมชน
-เกิดกลุ่มในหมู่บ้านกลุ่มปุ๋ยกลุ่มสบู่น้ำยาเอนกประสงค์ในชุมชน

2.คนในหมู่บ้านนี้เปลี่ยนแปลง -คนเริ่มเข้ากลุ่มเริ่มสามัคคี มีการรวมกัน -คนมีการปรึกษาพูดคุยกัน
-ได้พบปะ พูดคุยกันมากกว่า
-คนขยันมากว่าเดิม ไม่มีเวลาว่าง -คิดบวก เห็นคุณค่าสิ่งที่มีอยู่ในชุมชน ทุกอย่างนำมาทำน้ำหมักได้
-มีเวลาว่างน้อยลง -การพนันลดน้อยลง
-เมื่อก่อนซื้อของเพื่อน ไม่ค่อยซื้อ
-เข้ามาร่วมงานส่วนร่วมเพิ่มขึ้น
-มีการสร้างกลุ่มขึ้นมา

3.สิ่งแวดล้อมเปลี่ยน
-เดิมมีหญ้า ตอนนี้มีผักขึ้นแทน -ตอนนี้ ไม่มีที่ว่าง ที่ว่างมีการปลูกผัก มะละกอ


4.เกิดความรู้ใหม่ -การทำสบู่ยาสระผม -จากการทำปุ๋ยไม่เป็น ทำเป็น -การทำบัญชีรับ จ่าย -ได้รู้การจัดทำแผนครัวเรือน
-ได้เรียนรู้วิธีการแปรรูปปลาอาหาร

5.เกิดผลผลิตใหม่ -ยาสระผมสมุนไพร ทำจาก ดอกอัญชัน มะกรูด
-สบู่ ทำจากขมิ้น น้ำผึ้ง มะขามเปียก และถ่าน -สบู่กอ้น ทำจาก ขมิ้น น้ำผึ้งมะขาม ฟักข้าว
-ยาตะไคร้ ส่งขาย ในตลาดนัดชุมชน และสร้างรายได้ (ทำเป็นอาหารจานเดี่ยว) อาหารเพื่อสุขภาพ -เมี่ยงคำเป็นการเสริมรายได้ ทำจากสมุนไพรในหมู่บ้าน
-ข้าวหลาม เป็นการรื้อฟื้นเป็นใช้ไม้ไผ่ที่ปลูกเองในชุมชน

6.กลุ่มที่เกิดใหม่
-กลุ่มส่งเสริมอาชีพบ้านทรายขาว เป็นการแปรรูปผลิตภัณฑ์ในหมู่บ้าน
-กลุ่มปุ๋ย

7.เกิดภาคี -เกษตร มาช่วยดูแลเรื่องเกษตร -พัฒนาสหกรณ์จังหวัด มาช่วยเป็นวิทยากร เสริมความรู้ -พัฒนาชุมชน อบต.เขาขาวมาดูกระบวนการจัดทำกลุ่ม -กศน.มาช่วยเรื่องการพัฒนาอาชีพ -สปก.มาช่วยเรื่องเสริมอาชีพ

แกนนำผุ้เข้าร่วมกลุ่มในชุมชน

0.00 0.00 10 10 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประชนชนได้รับความรู้จากการทำกิจกรรมครั้งนี้ และมีการเข้าใจเกี่ยวกับโคงการนี้มากยิ่งขึ้น แต่ปัญหาที่พบ คือ คนในชุมชนยังไม่เข้าใจในส่วนของโครงการนี้ ส่วนคนที่เข้าาร่วมโครงการนี้ยังไม่เข้าใจกระบวนการทำงานเพราะมีความเข้าใจว่าโครงการนี้ที่เข้ามานั้นเพื่อนำเงินหรือสิ่งของต่างๆมาแจกให้ผุ้ที่เข้าร่วมกลุ่ม แต่ตามความเป็นจริงนั้นเป็นการนำความรู้มาให้ แนวทางในการปฏับ้ตต่างๆ  โดยให้ความเข้าใจไปเรื่อยๆ เพื่อเป็นการพัฒนาตนเอง

คณะทำงาน

0.00 678.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต : มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 2 คน

ผลลัพท์ : ได้รายงานผลการดำเนินกิจกรรมบันทึกข้อมูลในเว็บไซต์ เอกสารการเงินถูกต้อง สามารถส่งรายงานให้ สจรส.ม.อ.ได้

คณะทำงาน 4 คน

0.00 0.00 2 4 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1.ตัวแทนคณะทำงานพบพี่เลี้ยง เพื่อตรวจสอบเอกสาร 2 คน 2.มีการปรับปรุงแก้ไขเอกสารและบันทึกออนไลน์

ผลลัพธ์ 1.จัดทำสรุปรายงานตามกิจกรรมและบทคัดย่อ สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ 2.หลักฐานการใช้จ่ายเงินเป็นไปตามกิจกรรมตามที่กำหนด 3.สามารถปิดงวดรายงาน ง.1  ง.2 และ ส.3 ได้

กิจกรรมหลัก : ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ ถ่ายภาพกิจกรรม และจัดทำรายงานi

3,000.00 2 ผลผลิต

1.เป็นการเผยแพร่และรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ ในสถานที่ประชุม 1 แห่ง


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

1.เป็นการกระตุ้นให้ประชาชนในพื้นที่ลด ละ เลิกบุหรี่

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 2 ครั้ง

คณะทำงาน 2คน

1,000.00 1,000.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต

  1. มีป้ายชื่อโครงการ1ป้าย
  2. ป้ายเขตปลอดสุรา1ป้าย
  3. ป้ายเขตปลอดบุหรี่ 1ป้าย

ผลลัพธ์

  1. มีป้ายสำหรับใช้ประชาสัมพันธ์โครงการ
  2. มีป้ายเขตปลอดบุหรี่ และเขตปลอดสุรา เพื่อเป็นการรณรงค์การงดเหล้าและบุหรี่

คณะทำงาน 2 คน

2,000.00 2,000.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 5 คน
  2. มีภาพกิจกรรมเพื่อเป็นสื่อในการเผยแพร่กิจกรรม 1 ชุด
  3. จัดทำรายงานต่างๆที่ดำเนินโครงการที่ผ่านมา เพื่อจัดทำเผยแพร่ต่อไป มีรายงานฉบับสมบูรณ์ 1 เล่ม และสามารถส่งรายงานได้ทันในเวลา
2.3.1 นวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ

(นวัตกรรมคือ การจัดการความคิด กระบวนการ ผลผลิต และ/หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสม มาใช้งานให้เกิดประสิทธิผล และ/หรือประสิทธิภาพมากกว่าเดิมอย่างชัดเจน)

ชื่อนวัตกรรมคุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรมผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์
ข้อมูลชุมชน

1.เป็นการสำรวจข้อมูลที่มาจากความต้องการของชุมชน ร่วมกันคิดข้อคำถามจากชุมชน และออกแบบโดยคนในชุมชนได้ข้อมูลที่ต้องการ และทราบสถานการณ์ปัญหา

1.เป็นข้อมูลและคำถามจากชุมชน และนำไปใช้พัฒนาชุมชนได้ 2.ข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลจริงของคนในชุมชน 3.เป็นฐานข้อมูลชุมชนและนำมาใช้พัฒนาชุมชน

สบู่สมุนไพรและแชมพูดอกอัญชัน

เป็นการนำเอาขมิ้นและ น้ำผึ้งรวง
มะขามที่หาได้ในชุมชน ดอกอัญชันที่ปลูกตามรั้วบ้านและฟักข้าว ที่มีอยู่ตามครัวเรือน นำมาผสมกัน

-ลดสารเคมี
-เพิ่มรายได้
-ทุกคนยอมรับ ลดรายจ่าย
-ผู้บริโภคใช้สินค้าราคาถูก
ใช้สมุนไพร ที่ผลิตในชุมชน เป็นการช่วยเหลือชุมชน

2.3.2 โครงการเด่น (Best Practice)

(โครงการเดิ่น คือ โครงการสร้างเสริมสุขภาพให้สัมฤทธิ์ผลที่เป็นรูปธรรมแล้วขยายผลอย่างยั่งยืน โดยแนวคิดกระบวนการ และผลงาน สามารถเป็นตัวอย่างที่จะนำไปขยายผลในชุมชน (Setting) อื่น ๆ ได้ การดำเนินงานมีส่วนร่วมของภาคีที่หลากหลาย มีการบริหารจัดการที่ดี โปร่งใสและตรวจสอบได้)

ชื่อ Best Practiceวิธีการทำให้เกิด Best Practiceผลของ Best Practice / การนำไปใช้ประโยชน์
บัญชีครัวเรือน

1.นำผู้ที่เป็นสมาชิกของสหกรณ์ มาเรียนรู้การทำบัญสหกรณ์ 2.เจ้าหน้าที่จากสหกรณ์การบัญชี ได้มาสอน ทำให้ประชาชนได้เรียนรู้การทำบัญชี 3.ผู้เข้าเรียนรู้ทำบัญชีได้ ประหยัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นในครัวเรือน

1.ได้เรียนรู้การทำบัญชีที่ถูกต้อง 2.การทำบัญชีสามารถประหยัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นในครัวเรือนได้ 3.ผู้เข้าร่วมเรียนรู้สามารถทำบัญชีได้และมองเห็นประโยชน์ของการทำบัญชี

สิ่งที่เหลือ ใช้จากครัวเรือน

เป็นการนำสิ่งที่เหลือใช้จากครัวเรือนนำมาทำเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพหรือน้ำหมักชีวภาพ เช่น ผักที่เหลือจากทำอาหาร ไม่ต้องทิ้ง แต่ให้ทิ้งลงถังน้ำหมัก

1.ลดรายจ่ายในการปลูกผักเพราะใช้ชีวภาพ 2.ลดขยะครัวเรือน 3.ลดแมลงนำโรค

บ่อปลาข้างบ้าน

เป็นการส่งเสริมการเลี้ยงปลาดุกข้างบ้าน โดยการก่ออิฐไว้กับผนังบ้าน สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน การเลี้ยงปลาดุกใช้ทั้งเศษข้าวที่เหลือและอาหารปลาดุก

1.ใช้พื้นที่เกิดประโยชน์ 2.สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน 3.เป็นแหล่งอาหารชุมชน

2.3.3 เกิดแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการสร้างเสริมสุขภาพในประเด็นต่าง ๆ
ชื่อ-สกุลที่อยู่ติดต่อได้สะดวกคุณสมบัติแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลง
นางเยาวภา คำแหง 6/1 หมู่ที่ 1 ตำบลเขาขาว อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีฯ

1.เป็นบุคคลที่เสียสละ มีความตั้งใจ และเป็นผู้กล้านำการเปล่ี่ยนแปลง

นายประจวบ รักบ้าน 92/1 หมู่ที่ 1 ตำบลเขาขาว อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีฯ

เป็นผู้นำที่มีความสามารถในการประสานงาน และมีความตั้งใจในการพัฒนา

นางสมพร ถึงพร้อม 287 หมู่ที่ 1 ตำบลเขาขาว อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีฯ

เดิมทำอยู่คนเดียว
ตอนนี้ มาทำเป็นกลุ่มนำสิ่งที่หมดอายุ มาทำให้เกิดประโยชน์ ทำปุ๋ย ทำสบู่ เดิมซื้อปุ่ย แต่อตนนี้ทำเอง

นายสำเร็จ สุชาติพงศ์ 147/1 หมู่ที่ 1 ตำบลเขาขาว อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีฯ

ปรับสภาพดิน จากดินเสื่อมทำให้ดินปลูกอะไรก็ง่าย จากเคยซื้อปุ๋ยก็ปรับมาให้

2.3.4 มีสภาพแวดล้อมและปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพ

เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพในชุมชนพื้นที่โครงการดังนี้

สถานที่/พื้นที่ ที่เปลี่ยนแปลงรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

บ้านนางเยาวภา คำแหง

ได้พัฒนาปรับปรุงให้เป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชน โดยมีการจัดทำบัญชีครัวเรือนและแนวทางเกษตรชีวภาพ

บริเวณข้างบ้าน ใต้เสาไฟ

มาปลูกผัก ปลูกสิ่งที่กินได้ ไม่ให้รกร้าง ว่างเปล่า ใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์

ส่วนที่ 3 : ปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงาน

3.1 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเด็นปัญหา/อุปสรรคการแก้ไขของผู้รับทุนข้อเสนอแนะ/การแก้ไขปัญหาและการเสริมพลังของผู้ติดตาม
3.2 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเภทความเสี่ยง / ปัจจัยเสี่ยงระดับความเสี่ยง
(จากมากไปหาน้อย)
ข้อมูล ข้อสังเกตุ และข้อคิดเห็นของผู้ติดตาม
3210
1. ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน (Operational Risks)
1.1 โครงสร้างการดำเนินงาน

มีโครงสร้างการทำงานที่ชัดเจน

1.2 ศักยภาพและทักษะการดำเนินงาน

มีการดำเนินงานไปตามแผนงาน

1.3 ผลลัพธ์และผลสำเร็จของการดำเนินงาน

มีเอกสารการดำเนิงานและบันทึกเวปไซด์

2. ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risks)
2.1 ระบบและกลไกการบริหารจัดการ

มีระบบการบริหารจัดการโครงการ

2.2 การใช้จ่ายเงิน

มีการใช้จ่ายเงินเป็นไปตามแผนงานกิจกรรม

2.3 หลักฐานการเงิน

หลักฐานทางการเงินตรวจสอบได้

ผลรวม 0 0 0 0
ผลรวมทั้งหมด 0 ระดับความเสี่ยง : ???
เกณฑ์วัดระดับความเสี่ยง ???
สรุปการแก้ไขความเสี่ยง แก้ไขแล้ว ยังไม่ได้แก้ไข

ส่วนที่ 4 : สรุปความเห็นของผู้ติดตาม

ส่วนที่ 4สรุปความเห็นของผู้ติดตาม
4.1 กรณีเบิกเงินงวด/ติดตามเยี่ยมชม มีแนวโน้มสำเร็จตามเป้าหมายโครงการและติดตามปกติ
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

การดำเนินงานเป็นไปตามแผนงาน และสามารถปิดโครงการได้

มีแนวโน้มเสี่ยง ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจาก
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

 

มีความเสี่ยง ต้องยุติโครงการ เนื่องจาก
4.2 กรณีสรุปปิดโครงการ ดำเนินงานได้ตามแผนปฏิบัติการและสามารถปิดโครงการได้
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

 

ไม่เป็นไปตามแผนปฏิบัติการ ให้ดำเนินการจัดระบบการเงิน ระบบรายงานให้ถูกต้องก่อนปิดโครงการ
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

 

ส่วนที่ 5 : สรุปภาพรวมของการติดตามประจำงวด (ข้อสังเกต/สิ่งดีๆ ที่ค้นพบ/ข้อพึงระวัง/บทเรียนที่ได้)

สิ่งที่เปลี่ยนไป

  1. ทีมงานได้ความสบายใจ เพราะทำจริง และทำเป็นกลุ่ม
  2. ผู้ใหญ่บ้าน ดีใจ ที่ได้ทำ คนในชุมชน สามัคคี ได้ทำกิจกรรมคนเข้าใจ คุยงานคนเริ่มสามัคคี คนไม่เข้าใจโครงการ ว่าให้เงินมาก่อนแล้ว ค่อยมาทำคิดแบบเดิมๆ กลัวว่าเงินจะหายไปแต่โครงการนี้ เงินยังไม่มาแต่พวกเราทำไปแล้วทำให้เห็นว่า เงินไม่หาย ไม่สูญทีแรกเขาคิดว่าเงินยกมาให้มาเลย ผู้ใหญ่ น่าจะกินหมด แต่โครงการนี้ ต้องทำก่อน เอากิจกรรมมาทำให้เห็น
  3. โชคดีที่ภัยแล้งได้เข้ามาช่วยเหลือ ได้เรียนรู้เพิ่มเติมและได้ทำกิจกรรมควบคู่กันและกิจกรรมเหล่านี้ ทำให้เป้าหมายได้เรียนรู้ ทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ เห็นรายได้ เห็นความชัดเจน เดิมทำคนเดียว ตอนนี้ ทำให้คนเข้าใจมากขึ้น

สิ่งที่เรียนรู้

  1. การทำกับคน ต้องได้จิตที่ดีถ้าจิตยอมรับคนก็ยอมรับ
  2. การทำงานต้องอดทน ถ้าอดทน ความสำเร็จย่อมเกิดขึ้น
  3. คนทำงานมีความสุข เกิดงานเกิดสุข

สร้างรายงานโดย Yuttipong Kaewtong