directions_run

ผังนิคมเข้มแข็ง เสริมสร้างสุขภาพเด็กเยาวชนอย่างยั่งยืน

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ ผังนิคมเข้มแข็ง เสริมสร้างสุขภาพเด็กเยาวชนอย่างยั่งยืน ”

บ้านผัง 16,17,19,20 หมู่ที่ 8 ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล

หัวหน้าโครงการ
นาย สุรชัย เกื้อหน่วย

ชื่อโครงการ ผังนิคมเข้มแข็ง เสริมสร้างสุขภาพเด็กเยาวชนอย่างยั่งยืน

ที่อยู่ บ้านผัง 16,17,19,20 หมู่ที่ 8 ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 58-03941 เลขที่ข้อตกลง 58-00-1986

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2015 ถึง 15 ตุลาคม 2016


กิตติกรรมประกาศ

"ผังนิคมเข้มแข็ง เสริมสร้างสุขภาพเด็กเยาวชนอย่างยั่งยืน จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านผัง 16,17,19,20 หมู่ที่ 8 ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ผังนิคมเข้มแข็ง เสริมสร้างสุขภาพเด็กเยาวชนอย่างยั่งยืน



บทคัดย่อ

โครงการ " ผังนิคมเข้มแข็ง เสริมสร้างสุขภาพเด็กเยาวชนอย่างยั่งยืน " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านผัง 16,17,19,20 หมู่ที่ 8 ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล รหัสโครงการ 58-03941 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 กันยายน 2015 - 15 ตุลาคม 2016 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 213,000.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 180 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมและกลไกลชุมชนเข้มแข็ง
  2. เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของเด็กเยาวชน ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้และการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
  3. เพื่อให้เกิดพื้นที่สาธารณในการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชนโดยเยาวชน
  4. เพื่อให้เกิดกติกาของเยาวชนในการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่า
  5. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ขับเคลื่อนสภาผู้นำชุมชน เพื่อพัฒนากลไกลชุมชน(ครั้งที่1)

    วันที่ 25 กันยายน 2015 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีการประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมร่วมกันในหมู่บ้าน โดยชี้แจงให้คณะทำงานเข้าใจในขั้นตอนการทำงาน ว่ามีการดำเนินการอย่างไร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานมีการประชุมร่วมกันเพื่อวางแผนการดำเนินงานโดยการกำหนดกิจกรรม และวางแผนขั้นตอนในการทำงานต่างๆร่วมกัน
    การนำเสนอโครงการเพื่อขอรับงบประมาณสนับสนุนเพื่อจัดกิจกรรม เกี่ยวกับเด็กและเยาวชน ในหมู่บ้าน โดยทางผู้นำ ผู้ใหญ่บ้าน คณะทำงานและบัณฑิตอาสาฯ ได้นำเสนอโครงการเพื่อรอรับการอนุมัติจากสำนักงานสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งรอโครงการอนุมัติอยู่แต่หมู่บ้านสามารถเตรียมจัดกิจกรรมต่างๆเพื่อเตรียมรอรับงบประมาณจากโครงการได้ และขอให้มีการประชาสัมพันธ์ให้ทราบต่อๆกันด้วยว่าหมู่บ้านจะมีการดำเนินงานตามโครงการต่อไปและจะแจ้งให้ทราบอีกครั้งในการจัดกิจกรรม

     

    30 30

    2. ปฐมนิเทศ

    วันที่ 7 ตุลาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เข้าร่วมการปฐมนิเทศในการให้ความรู้ในการลงบันทึกหน้าเว็บ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีการทดสอบการบันทึกกิจกรรมเพื่อสามารถลงข้อมูลรายละเอียดต่างๆได้อย่างถูกต้อง คณะทำงาน จำนวน 2 คน ผู้รับผิดชอบโครงการเข้ารับการปฐมนิเทศ โครงการผู้รับทุนจาก สสส . ภาคใต้ตอนกลาง กระบี่ พังงา ภูเก็ต ตรังพัทลุง สตูลโดยทีมวิทยากรพี่เลี้ยงจาก สจรส.มอ. หาดใหญ่เพื่อรับคำแนะนำการทำบัญชี และการบันทึกรายงานกิจกรรม การเก็บเอกสารใบเสร็จรับเงินโดยมีตัวแทนคณะกรรมการโครงการ คณะกรรมการฝ่าย ไอที และผู้รับผิดชอบโครงการจำนวนโครงการละ 2 ท่าน เพื่อทุกโครงการจะได้เรียนรู้และทำความเข้าใจการทำกิจกรรมให้เป็นไปตามข้อสัญญาร่วมทั้งการรายงานผลกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นต่อไปเพื่อขับเคลื่อนโครงการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) สามารถนำโครงการไปทำกิจกรรมร่วมกับประชาชนและเยาวชนในหมู่บ้าน ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นกว่าเดิม โดยได้รับฟังการอบรมในการเขียนโครงการ การคีย์ข้อมูลหน้าเว็บ สามารถเข้าใจหลักการรายงานผลกิจกรรมที่จัดขึ้นสามารถลงเวลาการทำงานหรือกิจกรรมตามความเหมาะสมของแต่ละกิจกรรมตลอดเวลา 1 ปี โครงการตามสัญญา รู้จักการเก็บเอกสารการเงินและเอกสารการรายงานอย่างถูกต้อง

     

    2 2

    3. ปฐมนิเทศ

    วันที่ 8 ตุลาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีการเข้าร่วมรับฟังการปฐมนิเทศเพื่อรับฟังความรู้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สามารถเรียนรู้เข้าคีย์ข้อมูลเข้าระบบได้อย่างถูกต้องตามขั้นตอน

     

    2 2

    4. ขับเคลื่อนสภาผู้นำชุมชน เพื่อพัฒนากลไกลชุมชน(ครั้งที่2)

    วันที่ 10 ตุลาคม 2015 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีการประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนในการดำเนินโครงการเพื่อคัดเลือกแกนนำหลักเยาวชน และช่วยกันประสานงานในการดำเนินกิจกรรมร่วมกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สามารถวางแผนการทำงานโดยการ นัดวันประชุมและเปิดโครงการดพื่อดำเนินการในการดำเนินกิจกรรมร่วมกัน มีการแจ้งให้เด็ก เยาวชน และผู้ปกครองเข้าร่วมในการดำเนินร่วมกัน ทุกกิจกรรมในการดำเนินงาน โดยคณะทำงานมีความเข้าใจและสามารถแจ้งรายละเอียดต่างๆให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการและประชาชนในหมู่บ้านได้ การวางแผนเพื่อเตรียมความพร้อมในการเปิดโครงการสสส. ทางหมู่บ้านได้แจ้งที่ประชุมไปแล้วเมื่อเดือนที่แล้วว่ามีการนำเสนอของบประมาณจากสำนักงานสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งขณะนี้โครงการได้รับการอนุมัติแล้ว และจะมีการเปิดโครงการ ในวันที่ 15 ตุลาคม 2558 ดังนั้นขอให้ทุกๆคน ช่วยกันประชาสัมพันธ์ ให้ชาวบ้านร่วมกิจกรรมในการเปิดโครงการด้วย โดยในการเปิดโครงการจะมีการชี้แจงรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับการดำเนินโครงการ และต้องการผู้ที่สมัครเข้าร่วมในการดำเนินโครงการร่วมกัน โดยเน้นเด็กและเยาวชนในพื้นที่เพื่อให้เกิดการปลูกจิตสำนึกให้กับเด็กและเยาวชนทำกิจกรรมร่วมกันในหมู่บ้าน ก่อให้เกิด ความรักสามัคคี ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ สามารถสร้างงานและอาชีพได้ ขอให้ช่วยกันประชาสัมพันธ์ต่อๆกันด้วย

     

    30 30

    5. เปิดโครงการพร้อมคัดเลือกเยาวชนเพื่อเข้าร่วมโครงการ

    วันที่ 15 ตุลาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีการดำเนินการเปิดโครงการโดยการประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย ในหมู่บ้านเพื่อให้ประชาชนและเด็กนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมในการเปิดโครงการพร้อมชี้แจงรายละเอียดขั้นตอนการดำเนินโครงการ พร้อมคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 30คน โดยมีเด็กนักเรียน ในโรงเรียนนิคมพัฒนาผัง 20 จำนวน 20 คนและเด็กเยาวชนที่ไม่ได้เรียน ว่างงาน จำนวน 10 คน และคณะทำงาน 20 คน ได้แก่ ผู้นำในหมู่บ้าน ผู้ใหญ่ ผู้ช่วย สมาชิกอบต. และคณะกรรมการหมู่บ้านร่วมในการดำเนินการขับเคลื่อนกิจกรรมร่วมกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทำให้ได้ แกนนำหลักเด็กและเยาวชน จำนวน 30 คน และคณะทำงานอีก 20 คน ในการขับเคลื่อนกิจกรรมร่วมกัน โดยเน้นกิจกรรมการมีส่วนร่วมในทุกหน่วยงานและทุกองค์กรในหมู่บ้าน เปิดโครงการพร้อมคัดเลือกเยาวชนเพื่อเข้าร่วมโครงการ 15 ต.ค. 2558 ณ ศูนย์เรียนรู้ บ้านผัง19 หมู่ที่ 8 ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ประกอบด้วย คณะทำงาน 20 คน ผู้ใหญ่ ผู้ช่วย สมาชิกอบต. อสม. กลุ่มสตรี เด็กนักเรียน จำนวน 50 คน และประชาชนทั่วไป วัยทำงาน จำนวน 30 คน เวลา 09.00 – 12.00 น. ชี้แจงทำความเข้าใจ ประชาสัมพันธ์โครงการซักถาม ข้อสงสัยปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนินโครงการ ทั้งหมด มีการพูดคุย โดย ผญบ. อบต. และเจ้าหน้าที่อบต.ผู้ เพื่อช่วยกันขับเคลื่อนตามโครงการ เวลา 13.00 – 16.00 น. คัดเลือกครัวเรือนต้นแบบ จำนวน 30 ครัวเรือน ครัวเรือนต้นแบบมีการนำเสนอกิจกรรมต่างๆเพื่อดำเนินกิจกรรมร่วมกัน มีการดำเนินการเปิดโครงการ ในหมู่บ้านเพื่อให้ประชาชนและเด็กนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมในการเปิดโครงการพร้อมชี้แจงรายละเอียดขั้นตอนการดำเนินโครงการ พร้อมคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 30คน โดยมีเด็กนักเรียน ในโรงเรียนนิคมพัฒนาผัง 20 จำนวน 20 คนและเด็กเยาวชนที่ไม่ได้เรียน ว่างงาน จำนวน 10 คน และคณะทำงาน 20 คน ได้แก่ ผู้นำในหมู่บ้าน ผู้ใหญ่ ผู้ช่วย สมาชิกอบต. และคณะกรรมการหมู่บ้านร่วมในการดำเนินการขับเคลื่อนกิจกรรมร่วมกัน ทำให้ได้ แกนนำหลักเด็กและเยาวชน จำนวน 30 คน และคณะทำงานอีก 20 คน ในการขับเคลื่อนกิจกรรมร่วมกัน โดยเน้นกิจกรรมการมีส่วนร่วมในทุกหน่วยงานและทุกองค์กรในหมู่บ้าน มีแผนในการดำเนินงานดังนี้ 1 ขับเคลื่อนสภาผู้นำชุมชน เพื่อพัฒนากลไกลชุมชน
    25 ก.ย. 58 ขับเคลื่อนสภาผู้นำชุมชน เพื่อพัฒนากลไกลชุมชน(ครั้งที่1)
    10 ต.ค. 58 ขับเคลื่อนสภาผู้นำชุมชน เพื่อพัฒนากลไกลชุมชน(ครั้งที่2)
    9 พ.ย. 58 ขับเคลื่อนสภาผู้นำชุมชน เพื่อพัฒนากลไกลชุมชน(ครั้งที่3)
    9 ธ.ค. 58 ขับเคลื่อนสภาผู้นำชุมชน เพื่อพัฒนากลไกลชุมชน(ครั้งที่4)
    8 ม.ค. 59 ขับเคลื่อนสภาผู้นำชุมชน เพื่อพัฒนากลไกลชุมชน(ครั้งที่5)
    5 ก.พ. 59 ขับเคลื่อนสภาผู้นำชุมชน เพื่อพัฒนากลไกลชุมชน(ครั้งที่6)
    9 มี.ค. 59 ขับเคลื่อนสภาผู้นำชุมชน เพื่อพัฒนากลไกลชุมชน(ครั้งที่7)
    8 เม.ย. 59 ขับเคลื่อนสภาผู้นำชุมชน เพื่อพัฒนากลไกลชุมชน(ครั้งที่8)
    9 พ.ค. 59 ขับเคลื่อนสภาผู้นำชุมชน เพื่อพัฒนากลไกลชุมชน(ครั้งที่9)
    10 มิ.ย. 59 ขับเคลื่อนสภาผู้นำชุมชน เพื่อพัฒนากลไกลชุมชน(ครั้งที่10)
    11 ก.ค. 59 ขับเคลื่อนสภาผู้นำชุมชน เพื่อพัฒนากลไกลชุมชน(ครั้งที่11)
    9 ส.ค. 59 ขับเคลื่อนสภาผู้นำชุมชน เพื่อพัฒนากลไกลชุมชน(ครั้งที่12)
    2 เปิดโครงการ สรรหาเยาวชน
    15 ต.ค. 58 เปิดโครงการพร้อมคัดเลือกเยาวชนเพื่อเข้าร่วมโครงการ
    3 แกนนำเยาวชน ร่วมกันสร้างชุมชน
    25 ต.ค. 58 ประชุมแกนนำเยาวชน
    31 ต.ค. 58 แกนนำเยาวชน เก็บข้อมูลรายได้ รายจ่ายในครัวเรือน
    20 พ.ย. 58 แกนนำเยาวชนจัดกิจกรรมส่งเสริมอาชีพการรวมกลุ่ม
    24 พ.ย. 58 แกนนำเยาวชน ร่วมกันใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
    28 พ.ย. 58 แกนนำเยาวชน จัดกิจกรรมสาธารณประโยชน์
    4 เยาวชน เข้าใจเศรษฐกิจพอเพียง
    10 ธ.ค. 58 อบรมเด็กและเยาวชนการสร้างอาชีพและรายได้
    16 ธ.ค. 58 เยาวชน เข้าใจเศรษฐกิจพอเพียง
    5 อบรมในการจัดทำบัญชีครัวรือน และการจัดตั้งกลุ่มกองทุนในชุมชน
    23 ธ.ค. 58 อบรมในการจัดทำบัญชีครัวรือน และการจัดตั้งกลุ่มกองทุนในชุมชน
    6 เยาวชนนำความพอเพียง
    20 ม.ค. 59 อบรมการปลูกผักปลอดสารพิษ
    15 ก.พ. 59 อบรมการเพาะเห็ดและลงมือปฏิบัติ
    7 ร่วมกันรักษาทรัพยากรธรรมชาติ
    12 ก.พ. 59 อบรมการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ
    8 คืนความร่มรื่นลำคลองสะอาดสู่ชุมชน
    22 ก.พ. 59 ร่วมกันพัฒนาแหล่งน้ำ
    16 มี.ค. 59 ร่วมกันพัฒนาแหล่งน้ำ
    26 เม.ย. 59 ร่วมกันพัฒนาแหล่งน้ำ
    9 สร้างความรู้สู่ครอบครัวอบอุ่น
    14 มี.ค. 59 จัดกิจกรรมการแข่งขันกีฬาครอบครัว
    10 สานสัมพันธ์ครอบครัว สานสร้างพื้นที่ให้เยาวชน
    20 เม.ย. 59 จัดกิจกรรมสานสัมพันธ์ในครอบครัว
    11 เยาวชนยุคใหม่ ดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่า
    24 มี.ค. 59 ร่วมกันสร้างกฎกติกาของเยาวชน ในชุมชน
    12 กิจกรรมสรุปบทเรียน
    1 ก.ย. 59 ร่วมกันสรุปกิจกรรมทั้งหมด
    13 การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม
    7 ต.ค. 58 ปฐมนิเทศ
    4 ธ.ค. 58 อบรมการเขียนรายงาน
    11 ก.พ. 59 โครงการปิดงวด ที่ 1
    4 มิ.ย. 59 งานสร้างสุข
    26 ส.ค. 59 แลกเปลี่ยนเรียนรู้และสังเกตโครงการปิดงวด2
    14 ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ ถ่ายภาพกิจกรรม และจัดทำรายงาน
    27 ส.ค. 59 จัดทำรูปถ่าย
    10 ก.ย. 59 จัดทำรายงาน
    24 ต.ค. 59 ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่

     

    100 100

    6. ประชุมแกนนำเยาวชน

    วันที่ 25 ตุลาคม 2015 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีการประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน ของเยาวชน และคณะทำงานเพื่อการดำเนินงานเป็นไปในแนวทางเดียวกัน โดยมีการวางแผนในการดำเนินกิจกรรมแรกคือ ให้ผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 40 คนสำรวจ เก็บข้อมูล รายได้ รายจ่าย ในครัวเรือน จะมีการประชุมวางแผนรายละอียดในกิจกรรมอีกครัง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เยาวชนและคณะทำงานรู้และเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตัวเอง สามารถขับเคลื่อนกิจกรรมตามโครงการร่วมกันได้ ประชุมแกนนำเยาวชน

    25 ต.ค. 2558 ณ ศูนย์เรียนรู้ บ้านผัง19 หมู่ที่ 8 ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ประกอบด้วย คณะทำงาน 10 คน ผู้ใหญ่ ผู้ช่วย สมาชิกอบต. อสม. กลุ่มสตรี และแกนนำ เด็กและเยาวชน จำนวน 30 คน

    เวลา 13.00 – 16.00 น. ประชุมเพื่อทำความเข้าใจในการดำเนินโครงการ ขับเคลื่อนการดำเนินกิจกรรมร่วมกัน เข้าใจในการดำเนินงาน มี 5 กิจกรรมดังนี้

    1. อบรมให้ความรู้เรื่องการทำบัญชีครัวเรือนให้กับแกนนำเยาวชน
    2. แกนนำเยาวชน เก็บข้อมูลรายได้ รายจ่ายในครัวเรือน
    3. แกนนำเยาวชนมีรายได้มีกิจกรรมส่งเสริมอาชีพการรวมกลุ่ม
    4. แกนนำเยาวชนรวมกลุ่มใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
    5. แกนนำเยาวชนร่วมทำกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ในวันสำคัญ ได้แก่ วันที่ 5 ธันวาคม , วันที่ 12 สิงหาคม , วันสงกรานต์

    มีการประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน ของเยาวชน และคณะทำงานเพื่อการดำเนินงานเป็นไปในแนวทางเดียวกัน โดยมีการวางแผนในการดำเนินกิจกรรมแรกคือ ให้ผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 40 คนสำรวจ เก็บข้อมูล รายได้ รายจ่าย ในครัวเรือน จะมีการประชุมวางแผนรายละเอียดในกิจกรรมอีกครั้ง

     

    40 40

    7. แกนนำเยาวชน เก็บข้อมูลรายได้ รายจ่ายในครัวเรือน

    วันที่ 31 ตุลาคม 2015 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีการเก็บข้อมูลนำมาวิเคราะห์  รายได้ รายจ่าย ของคนในหมู่บ้าน เพื่อส่งเสริมสนับสนุนอาชีพให้กับคนในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีการเก็บข้อมูลของคนในครัวเรือนจำนวน 222 ครัวเรือน มีรายได้ที่ลดลงจากปีที่ผ่านมา เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ราคายางพารา ตกต่ำ

    • แกนนำเยาวชน เก็บข้อมูลรายได้ รายจ่ายในครัวเรือน 31 ต.ค. 2558 ณ ศูนย์เรียนรู้ บ้านผัง19 หมู่ที่ 8 ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ประกอบด้วย คณะทำงาน 10 คน ผู้ใหญ่ ผู้ช่วย สมาชิกอบต. อสม. กลุ่มสตรี และแกนนำ เด็กและเยาวชน จำนวน 30 คน

    • เวลา 13.00 – 16.00 น. ประชุมเพื่อทำความเข้าใจในการดำเนินโครงการ ขับเคลื่อนการดำเนินกิจกรรมร่วมกัน ในการ เก็บข้อมูลรายได้ รายจ่ายในครัวเรือน เพื่อนำมาสรุปและวิเคราะห์ ให้ผู้ที่รายได้น้อย มีหนี้สิน ได้เข้าร่วมในการทำกิจกรรมต่างๆในหมู่บ้านเพื่อลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ในครัวเรือน

    • มีการเก็บข้อมูลของคนในครัวเรือนจำนวน 222 ครัวเรือน มีรายได้ที่ลดลงจากปีที่ผ่านมา เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ราคายางพารา ตกต่ำ รายได้เฉลี่ย ต่อครัวเรือน 61,481 บาท รายจ่ายเฉลี่ย ต่อครัวเรือน 45,109 บาท หนี้สิน เฉลี่ยต่อครัวเรือน 23,730 บาท

     

    40 40

    8. ขับเคลื่อนสภาผู้นำชุมชน เพื่อพัฒนากลไกลชุมชน(ครั้งที่3)

    วันที่ 9 พฤศจิกายน 2015 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีการประชุมคณะทำงาน เพื่อวางแผนการดำเนินกิจกรรมต่างๆร่วมกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สามารถได้แผนการดำเนินกิจกรรมร่วมกัน ในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ การดำเนินการโครงการสสส. โดยคณะทำงานร่วมกับ ผู้นำในท้องที่และท้องถิ่น ร่วมกันเปิดโครงการ ผังนิคมเข้มแข็ง เสริมสร้างสุขภาพเด็กและเยาวชนอย่างยั่งยืนในวันที่ 15 ตุลาคม 2558 ที่ผ่านมา ได้รับความร่วมมือจากทุกๆฝ่ายเป็นอย่างดี ในการเปิดโครงการ ได้รับความร่วมมือ จากเจ้าหน้าที่หน่วยงาน อบต. โรงเรียน และคณะทำงานหมู่บ้าน มีการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายเพื่อเข้าร่วมโครงการจำนวน 30 คน ร่วมกับคณะทำงานอีก 20 คน ในการร่วมกันขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้หมู่บ้านมีการพัฒนาในการทำกิจกรรมร่วมกันของคนในชุมชนและหน่วยงานต่างๆในพื้นที่ สำหรับกิจกรรมต่อไปที่จะจัดขึ้น คือกิจกรรมการประชุมแกนนำเยาวชน และให้แกนนำเยาวชนเก็บข้อมูลรายได้ในครัวเรือน จำนวน 150 ครัวเรือน เพื่อนำมาวิเคราะห์และหาข้อสรุปในการดำเนินกิจกรรมต่อไป

     

    30 30

    9. แกนนำเยาวชนจัดกิจกรรมส่งเสริมอาชีพการรวมกลุ่ม

    วันที่ 20 พฤศจิกายน 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แกนนำเด็ก เยาวชนและประชาชน มีการรวมกลุ่ม ในการจัดตั้งกลุ่มเลี้ยงปลา ในหมู่บ้าน โดยมีคณะทำงาน ร่วมสนับสนุนและส่งเสริม ให้เกิดกิจกรรมขึ้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะทำงาน 10 คน แกนนำหลักเด็กและเยาวชน จำนวน 30 คนมีการรวมกลุ่มเลี้ยงปลาในหมู่บ้าน จำนวน 1 กลุ่ม เพื่อสร้างงานและอาชีพ ในหมู่บ้าน แกนนำเยาวชนจัดกิจกรรมส่งเสริมอาชีพการรวมกลุ่ม 20 พ.ย. 2558 ณ ศูนย์เรียนรู้ บ้านผัง 19 หมู่ที่ 8 ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล เวลา 13.00 – 16.00 น. คณะทำงาน ร่วมกับแกนนำเด็กและเยาวชน จำนวน 50 คน ร่วมกันจัดกิจกรรมการรวมกลุ่มเลี้ยงปลาในหมู่บ้าน โดยมีคณะทำงาน ร่วมสนับสนุนและส่งเสริม ให้เกิดกิจกรรมขึ้น สามารถสร้างงานและอาชีพให้กับเด็กและเยาวชน ไม่ให้เกิดการว่างงานและยังมีรายได้เสริมในครัวเรือนด้วย

    • เกิดกิจกรรมกลุ่มเลี้ยงปลา จำนวน1 กลุ่มมีระเบียบการบริหารกลุ่มปลา ดังนี้

    1. มีการแต่งตั้งจากคณะกรรมการจากสมาชิกตังนี้ นายสาโรจน์ชมเชย ประธาน นายวรรณะนิลกัณฑ์ รองประธาน นายวิรักษ์ชูน้อย กรรมการ นายสุวัฒน์ขวัญทอง กรรมการ นางสุครพฤษศรี กรรมการ นายอาคมทองเนียมกรรมการ นายอรุณสุวรรณรัตน์ กรรมการ นายเชวงจันทร์รัตน์ กรรมการ

    2. สถานที่ตั้งตั้งณอาคารศูนย์เรียนรู้ หมู่ที่8 ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล

    3. กรรมการบริหารกลุ่มส่งเสริมครัวเรือนตัวอย่างดำรงชีพตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หมู่ที่ 8ตำบลนิคมพัฒนา มีการประชุมทุกวันที่ 9ของทุกเดือน เวลา14.00 น เป็นต้นไป

    4. การบริหารจัดการดูแลรักษาให้โครงการมีความต่อเนื่อง

      4.1 การดูแลรักษาจะอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เลี้ยงโดยมีคณะกรรมการจากสมาชิกคอยติดตามผลการดำเนินงานเป็นระยะๆ 4.2 เมื่อได้รับผลผลิตสมาชิกจะต้องรวบรวมส่งตลาดรับซื้อ 4.3 เมื่ออาหารหมดสมาชิกจะต้องจัดหาเอง 4.4 เมื่อได้รับผลผลิตและมีการจำหน่ายผลกำไรที่ได้ก็สามารถนำไปต่อยอดในการดำเนินงานครั้งต่อไป
      เพราะฉะนั้นหากเราสามารถดำเนินการได้ตามนี้แล้ว จะส่งผลให้ประชาชนเข้าใจและพัฒนาไปสู่ความพออยู่ พอกิน พอใช้ และค่อยๆปลูกฝังจิตสำนึกให้กับลูกหลาน และคนรุ่นใหม่ให้รู้จักการดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้เช่นกัน

     

    40 40

    10. แกนนำเยาวชน ร่วมกันใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

    วันที่ 24 พฤศจิกายน 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีการทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน ในหมู่บ้าน โดยการปลูกต้นไม้บริเวณศูนย์เรียนรู้ของหมู่บ้านเพื่อปรับภูมิทัศน์และสร้างความร่มรืนให้กับสถานที่ของหมู่บ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • 24 พ.ย. 2558 ณ ศูนย์เรียนรู้ บ้านผัง 19 หมู่ที่ 8 ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ประกอบด้วย คณะทำงาน 10 คน ผู้ใหญ่ ผู้ช่วย สมาชิกอบต. อสม. กลุ่มสตรี และแกนนำ เด็กและเยาวชน จำนวน 30 คน

    • เวลา 13.00 – 16.00 น. ร่วมกันดำเนินตามโครงการ ขับเคลื่อนร่วมกันทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ ในการพัฒนา พื้นที่ในหมู่บ้าน โดยการปลูกต้นไม้บริเวณศูนย์เรียนรู้ของหมู่บ้านเพื่อปรับภูมิทัศน์และสร้างความร่มรื่นให้กับสถานที่ของหมู่บ้านซึ่งใช้สถานที่เป็นจุดศูนย์กลางในการ ประชุมและจัดกิจกรรมร่วมกัน สามารถทำให้สถานที่ดูมีความสวยงาม เป็นระเบียบเรียบร้อยและก่อให้เกิดการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ร่วมกันภายในหมู่บ้านได้

    • ทำให้เด็กและเยาวชน จำนวน 30 คนคณะทำงานจำนวน 10 คน โดยการปลูกต้นไม้บริเวณศูนย์เรียนรู้ของหมู่บ้านเพื่อปรับภูมิทัศน์และสร้างความร่มรืนให้กับสถานที่ของหมู่บ้าน แกนนำเยาวชน ร่วมกันใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

     

    40 40

    11. แกนนำเยาวชน จัดกิจกรรมสาธารณประโยชน์

    วันที่ 28 พฤศจิกายน 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงาน และแกนนำหลักเด็กและเยาวชนร่วมกัน ปรับปรุงและพัฒนาภูมิทัศน์ บริเวณสองข้างถนนและบริเวณโรงเรียน ในหมู่บ้าน แกนนำเยาวชน จัดกิจกรรมสาธารณประโยชน์ 28พ.ย. 2559ณหมู่ที่ 8 ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล
    ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ประกอบด้วย คณะทำงาน 10 คน ผู้ใหญ่ ผู้ช่วย สมาชิกอบต. อสม. กลุ่มสตรี และแกนนำ เด็กและเยาวชน จำนวน 30 คน รวม 40 คน เวลา 09.00 – 12.00 น. ร่วมกันปรับปรุงและพัฒนาภูมิทัศน์ บริเวณสองข้างถนน ตัดหญ้าและเก็บขยะ เพื่อให้เกิดความสะอาด สวยงามและเรียบร้อย ภายในบริเวณหมู่บ้าน ซึ่งมีการสัญจรไป-มาของนักท่องเที่ยว ทำให้เกิดความสบายตา แก่ผู้สัญจรผ่าน เวลา 13.00 – 16.00 น. ร่วมกันพัฒนาบริเวณพื้นที่ในโรงเรียนนิคมพัฒนาบ้านผัง 20 ตัดหญ้าบริเวณสวนปาล์มในโรงเรียน เก็บขยะ และตกแต่งต้นไม้ เพื่อให้เกิดความสะอาดเรียบร้อย ภายในหมู่บ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงาน จำนวน 20 คน และแกนนำหลักเด็กและเยาวชนจำนวน 20 คน ช่วยกันในการปรับปรุงและพัฒนาภูมิทัศน์ บริเวณสองข้างถนน และบริเวณโรงเรียนในหมู่บ้าน

     

    40 40

    12. อบรมการเขียนรายงาน

    วันที่ 4 ธันวาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เข้าร่วมการอบรมในการเขียนรายงานโครงการ ในการลงกิจกรรมต่างๆหน้าเว็บ และการเตรียมหลักฐานเอกสารสำคัญต่างๆของโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สามารถทำให้ทราบรายละเอียดต่างๆในการเขียนรายงานและการเตรียมเอกสารหลักฐานสำคัญต่างๆด้วย อบรมการเขียนรายงาน วันที่4ธันวาคม 2558ณ สตารินทร์รีสอร์ทอำเภอเมือง จังหวัดสตูล

    เวลา 09.00 – 16.00 น. คณะทำงาน จำนวน 2 คน ผู้รับผิดชอบโครงการ

    เข้าร่วม อบรม การเขียนรายงานผลการดำเนินโครงการ การจัดการเอกสารการเงินและการทำรายงานการเงินที่ถูกต้อง การหักภาษี โครงการชุมชนน่าอยู่ซักถามแลกเปลี่ยน แบ่งกลุ่มปฏิบัติการจัดทำรายงานแลเอกสารการเงินที่ถูกต้อง สรุปและถอดบทเรียนร่วมคณะทำงานโครงการแต่ละพื้นที่เข้าใจการเขียนรายงานและหลักการในการจัดเอกสารการเงินโครงการ

     

    2 2

    13. ขับเคลื่อนสภาผู้นำชุมชน เพื่อพัฒนากลไกลชุมชน(ครั้งที่4)

    วันที่ 9 ธันวาคม 2015 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีการประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนวางแผนการทำงานร่วมกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีการวางแผนการดำเนินงานในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆร่วมกัน โดยมีการวางแผนให้ผู้เข้าร่วมโครงการ ได้เข้าร่วมในการดำเนินกิจกรรมทุกกิจกรรมร่วมกันเพื่อสร้างความเข้าใจสร้างกิจกรรมให้เกิดขึ้นในหมู่บ้าน การดำเนินโครงการสสส.ในกิจกรรม ส่งเสริมเยาวชนในการส่งเสริมอาชีพ การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และการจัดกิจกรรมสาธารณประโยชน์ ทำให้เด็กและเยาวชนมีกิจกรรมในการร่วมกันทำเพื่อให้เกิดความรักความสามัคคี ทำให้มีกิจกรรมร่วมกันในการพัฒนาหมู่บ้าน และกิจกรรมที่จะมีต่อไปคือ กิจกรรมการอบรมเด็กและเยาวชนในการสร้างอาชีพและรายได้ ทำให้เข้าใจในเศรษฐกิจพอเพียง อบรมการจัดทำบัญชีครัวเรือน มีการปฏิบัติที่สามารถเห็นผลได้จริงในทุกๆกิจกรรม ก่อให้เกิดการพัฒนาหมู่บ้านได้ โดยในทุกๆกิจกรรม คณะทำงานมีการร่วมกิจกรรมในทุกๆครั้ง เพื่อสามารถช่วยกันประชาสัมพันธ์และขยายกิจกรรมให้กับชาวบ้านอีกด้วย

     

    30 30

    14. อบรมเด็กและเยาวชนการสร้างอาชีพและรายได้

    วันที่ 10 ธันวาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้เข้าร่วมอบรมตามกิจกรรมโครงการ จำนวน 50 คน มีการจัดการอบรมให้ความรู้ในด้านเศรษฐกิจพอเพียง แก่ผู้เข้าร่วมโครงการและชาวบัาน ได้มีความรู้ในการประกอบอาชีพ เพิ่มเสริมรายได้ ในครัวเรือน 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 50 คนได้ รับการอบรมในการให้ความรู้ทางด้านเศรษฐกิจพอเพียง และสร้างความรู้ความเข้าใจในการประกอบอาชีพ การรวมกลุ่มในรูปแบบสหกรณ์ในหมู่บ้าน โดยมีคณะทำงาน ผู้้ใหญ่บ้านผู้ช่วย สมาชิกอบต.และคณะกรรมการหมู่บ้าน เข้าร่วมรับฟังการอบรมเพื่อขยายผลต่อในการกิจกรรมต่อไป อบรมเด็กและเยาวชนการสร้างอาชีพและรายได้ 10 ธ.ค. 2558ณ ศูนย์เรียนรู้ บ้านผัง 19 หมู่ที่ 8 ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีดังนี้ เด็ก และเยาวชน จำนวน 20 คน คณะทำงาน จำนวน 20 คน ประชาชน 10 คน

    • เวลา 09.00 – 12.00 น. สร้างความรู้ความเข้ใจ ด้าน"เศรษฐกิจพอเพียง"

    • เวลา 13.00 – 16.00 น. สร้างความรู้ความเข้าใจในการประกอบอาชีพ การรวมกลุ่มในรูปแบบสหกรณ์ "เศรษฐกิจพอเพียง" เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชายไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียงหมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมี ผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

     

    50 50

    15. เยาวชน เข้าใจเศรษฐกิจพอเพียง

    วันที่ 16 ธันวาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงาน 20 คน  เยาวชน 20 คน และประชาชน 10 คน 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เพื่อรับฟังการอบรมให้ความรู้ในด้านเศษฐกิจพอเพียง เพื่อให้สามารถนำไปปรับใช้ในหมู่บ้านและชุมชนได้ เยาวชน เข้าใจเศรษฐกิจพอเพียง 16 ธ.ค. 2558ณ ศูนย์เรียนรู้ บ้านผัง 19 หมู่ที่ 8 ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีดังนี้ เด็ก และเยาวชน จำนวน 20 คน คณะทำงาน จำนวน 20 คน ประชาชน 10 คน เวลา 13.00 – 16.00 น. มีการสร้างความรู้ความเข้าใจในด้านเศรษฐกิจพอเพียงให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อทำให้สามารถนำความรู้ที่ได้ไปดำเนินกิจกรรมได้ เศรษฐกิจพอเพียง

    “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่ พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับ ครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐนักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริตและให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบไปด้วย 5 ส่วน ดังนี้

    ข้อที่ 1. กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อความมั่นคง และความยั่งยืนของการพัฒนา

    ข้อที่ 2. คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน

    ข้อที่ 3. คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ ดังนี้

    ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น เช่นการผลติ และการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้ และไกล ข้อที่ 4. เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน 2 เงื่อนไข ดังนี้

    เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

    ข้อที่ 5. แนวทางปฏิบัติ / ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุล และยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้ และเทคโนโลยี

    นั่นคือ หลักแนวคิด และแนวทางเพื่อการปฏิบัติ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งไม่ว่าจะเป็นบุคคล หรือองค์กรต่างๆ สามารถปฏิบัติตามได้

     

    50 50

    16. อบรมในการจัดทำบัญชีครัวรือน และการจัดตั้งกลุ่มกองทุนในชุมชน

    วันที่ 23 ธันวาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีการจัดอบรม บัญชีครัวเรือน เพื่อให้ความรู้ แก่เด็กและเยาวนเพื่อได้จัดทำบัญชี รายรับ - รายจ่าย ในครัวเรือน

    การจัดตั้งกลุ่มให้ประสบผลสำเร็จ จะทำให้ธุรกิจกลุ่มอาชีพมั่นคงและยั่งยืนก้าวหน้าได้อย่างไร คือ ต้องมีความรู้, ความเข้าใจ, ความชำนาญในเรื่องการจัดการธุรกิจของกลุ่มอาชีพ ให้ชัดเจน เพราะหากไม่มีความรู้ความชำนาญก็เปรียบเหมือนนักกีฬาฟุตบอล ที่ไม่รู้วิธีการเตะลูก เลี้ยงลูก ไม่รู้กติกาการเล่น ย่อมไม่สามารถจะเป็นนักกีฬาที่ดีได้เลย แล้วจะต้องมีความรู้ในเรื่องใดบ้าง ก็ต้องรู้หลักการ และวิธีการจัดการคน การจัดการงานด้านต่าง ๆ ตามขั้นตอนของการทำธุรกิจกลุ่มอาชีพ และได้มีคำถามว่า
    ธุรกิจคืออะไร คือ ความพยายามที่เป็นระบบของผู้ประกอบการในการทำสินค้าและบริการที่ดีมีคุณภาพ ราคาเหมาะสม ส่งมอบตรงเวลา เพื่อสนองความต้องการของลูกค้าโดยมุ่งหวังผลตอบแทนที่เรียกว่า “กำไร” และเพื่อเป้าหมายอื่นตามต้องการ ขุมความรู้ การทำธุรกิจคือการบริหารทรัพยากรประกอบด้วย 1.วัสดุได้แก่วัตถุดิบอาคารเครื่องจักรอุปกรณ์ 2.คนได้แก่คนงานสมาชิกผู้จัดการ 3.เงินได้แก่เงินทุนค่าใช้จ่ายรายได้รายจ่าย 4. ข้อมูล ได้แก่ ข้อมูล ข่าวสาร เทคโนโลยี หลักการ, วิธีการ การทำธุรกิจให้ได้ผลสำเร็จเปรียบได้กับการทำโต๊ะ 4 ขา ให้แข็งแรงใช้งานได้ ซึ่งต้องมีการจัดการที่ดีทั้ง 4 ขา ได้แก่ 1. การจัดการคนที่ดี คนที่เป็นปัจจัยหลักในการทำธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจกลุ่มอาชีพ ที่มีเป้าหมายเพื่อความผาสุกของคนในกลุ่ม ดังนั้น ต้องมีวิธีการจัดหน้าที่ ความรับผิดชอบของคนที่เกี่ยวข้อง ให้มีขวัญกำลังใจ ความรู้ ความสามารถ ที่เหมาะสมกับการทำธุรกิจให้บรรลุเป้าหมายได้ 2. การจัดการผลิตที่ดี การทำธุรกิจต้องมีการนำทรัพยากรมาผลิตให้เป็นสินค้าและบริการ ที่ สนองความต้องการของลูกค้าได้ การผลิตต้องมีการจัดการให้ถูกขั้นตอน ถูกวิธีการ ถูกต้อง ถูกเวลา เพื่อให้ได้ สินค้าและบริการที่มีคุณภาพ ต้นทุนต่ำ และส่งมอบสินค้าตรงตามเวลาตามสัญญา 3. การจัดการตลาดที่ดี การทำการตลาดที่ดีจะทำให้รู้ความต้องการลูกค้าแต่ละกลุ่ม รู้เรื่อง คู่แข่งขัน รู้เรื่องราคาขาย รู้ช่องทาง การใช้สื่อให้ลูกค้าเข้าใจโดยเร็ว ซึ่งต้องมีการจัดการเรื่องนี้อย่างจริงจัง จึงจะทำให้ธุรกิจอยู่รอดได้ 4. การจัดการเงินที่ดี การทำธุรกิจต้องมีเงินเป็นปัจจัยในการทำงาน ทั้งการซื้อวัตถุดิบ จ่ายค่าแรง ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ และต้องมีรายได้จากการขายสินค้าเข้ามา จึงต้องมีการจัดการให้รายได้กับรายจ่ายเหมาะสม มีกำไรและต้องรู้การเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของเงินเข้าเงินออกตลอดเวลา บันได3ขั้นของการทำธุรกิจกลุ่มอาชีพให้ได้ผลสำเร็จ บันไดขั้นที่1ต้องรู้ว่าลูกค้าเป้าหมายของเรามีความต้องการสินค้าและบริการอะไรแน่ บันไดขั้นที่ 2 ต้องรู้ว่า จะจัดการทรัพยากรที่มีให้เกิดสินค้าที่มีคุณภาพดีและราคาถูกได้อย่างไร บันไดขั้นที่ 3 ต้องรู้ว่า จะคิดสร้างสินค้าและบริการที่มีประสิทธิภาพและมีข้อดีข้อเด่นกว่าสินค้าของคู่แข่งได้อย่างไร เส้นทางพัฒนาธุรกิจกลุ่มอาชีพสู่ความยั่งยืน ดูแลคน 3 กลุ่ม คือ ดูแลลูกค้า ในเรื่องทำสินค้าที่ดี มีคุณภาพ เชื่อถือได้ ทำสินค้าที่มีต้นทุนต่ำ ทำให้ขายในราคาต่ำได้ สามารถส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าได้ถูกต้องตรงเวลา ดูแลสมาชิก ในเรื่องจัดการให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยให้กับการทำงานของสมาชิก จัดการเรื่องผลประโยชน์ สวัสดิการ ค่าตอบแทนที่ยุติธรรม รวมทั้งการเสริมความรู้ทักษะให้ด้วย
    ดูแลชุมชน ในเรื่องจัดการทำสินค้าที่ไม่ทำลาย ไม่รบกวนความเป็นอยู่และสภาพแวดล้อมที่ดีของชุมชน ยึดมั่นในจริยธรรม ศีลธรรมอันดีงาม ไม่ทำผิดกฎหมาย ไม่เอารัดเอาเปรียบสังคมและชุมชน
    เส้นทางพัฒนาธุรกิจกลุ่มอาชีพสู่ความยั่งยืน คือ ผู้บริหารกลุ่มอาชีพต้องรู้วิธีการจัดการที่ดี วิธีการจัดการที่ดีต้องรู้หลักการจัดการที่ดี 4 ขั้นตอน การจัดการที่ดี 4 ขั้นตอน ดูเหมือนจะเป็นขั้นตอนทั่วไป แต่พบว่าผู้บริหารกลุ่มอาชีพมักไม่ได้ทำตามขั้นตอนของการจัดการที่ดีกันมากนัก ส่วนใหญ่จะชอบทำ ไม่ชอบคิดวางแผน ไม่ชอบตรวจสอบ และไม่แก้ไขปรับปรุง ดูจากเหตุการณ์ที่ผิดพลาดจะเกิดซ้ำ ๆ “ผิดแล้วผิดอีก” ในเรื่องเดิมอยู่เป็นประจำ 1.คิดเป็นขั้นตอนของ ๐ การกำหนดเป้าหมาย แผนงาน ทิศทาง เวลา ขั้นตอนทำงาน ผู้รับผิดชอบ การใช้วัตถุดิบ อุปกรณ์ เครื่องจักร ๐วิธีการประเมินติดตามงาน ๐ การตรวจวัด
    2.ทำเป็นขั้นตอนของ ๐การปฏิบัติหรือการลงมือทำตามแผนงานที่วางไว้ ๐มีการสื่อสารทำความเข้าใจขั้นตอนของงานให้กับทุกคนที่เกี่ยวข้อง ๐ มีการจัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับแผนงานที่วางไว้ 3.ตรวจเป็นขั้นตอนของ ๐ การตรวจสอบติดตามประเมินผลเป็นระยะเพื่อดูความก้าวหน้าของงานที่ทำไปตามแผน 4.แก้เป็นขั้นตอนของ ๐ การปรับปรุงแก้ไขให้เป็นไปตามเป้าหมาย หากมีปัญหาอุปสรรคจะได้ปรับแก้อย่างทันเวลา ๐ในกรณีที่ทำได้ตามเป้าหมายควรมีการปรับปรุงให้ทำได้ดีกว่าเดิม ๐ ต้องมีการสรุปผลเป็นบทเรียนที่ได้รับทั้งความสำเร็จและความล้มเหลว
    การที่จะให้การจัดการที่ดี 4 ขั้นตอน มุ่งสู่เป้าหมายและประสบผลสำเร็จตามต้องการนั้น ต้องมีการตัดสินใจที่รอบคอบ ไม่ประมาท คิดพิจารณาเหตุปัจจัย ทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกให้รอบด้าน เสียก่อน ปัจจัยภายใน หมาย ถึง การคิดพิจารณาดูจากจุดอ่อน จุดแข็ง ที่เราหรือกลุ่มผลิตมีอยู่ เช่น เราเก่งด้านไหน เก่งอะไร มีข้อได้เปรียบด้านใด ด้านวัตถุดิบ อุปกรณ์ ด้านที่ตั้ง ด้านชื่อเสียง มีจุดอ่อนที่ต้องปรับปรุงอะไรบ้างเพื่อให้สามารถทำธุรกิจให้บรรลุเป้าหมาย ได้เหมาะสมกับจุดแข็งที่เรามี ปัจจัยภายนอก หมาย ถึง การคิดพิจารณาสิ่งแวดล้อมภายนอกที่มีผลกระทบต่อการทำธุรกิจของเรา อาทิเช่น ความต้องการลูกค้า คู่แข่ง กฏระเบียบ กฎหมาย ราคาวัสดุอุปกรณ์ ราคาน้ำมัน ค่าแรงขั้นต่ำ สภาพดินฟ้าอากาศ สภาพการค้าของตลาด เป็นต้น โดยต้องมีการพิจารณาปัจจัยภายนอกเหล่านี้ว่ามีผลกระทบต่อการขาย ต่อต้นทุนของเราอย่างไร แก่นความรู้ สิ่งที่กลุ่มอาชีพต้องทำเป็นหลัก คือ การทุ่มเทความตั้งใจ ความพยายาม และเวลาเพื่อนำทรัพยากรทั้งหลายที่มี มาดำเนินการเพื่อให้ได้ผลตอบแทนตามเป้าหมายที่ต้องการให้ได้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะทำงาน 20 คนเด็กและเยาวชน 30 คน สามารถเขียนบัญชี รายรับ - รายจ่าย ในครัวเรือน เพื่อได้สามารถบริหาร ค่าใช้จ่ายในครัวเเรือน อย่างเป็นระบบ การจัดการค่าใช้จ่าย ในครัวเรือน อบรมในการจัดทำบัญชีครัวเรือน และการจัดตั้งกลุ่มกองทุนในชุมชน 23 ธ.ค. 2558 ณ ศูนย์เรียนรู้ บ้านผัง 19 หมู่ที่ 8 ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล

    • ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีดังนี้ เด็ก และเยาวชน จำนวน 20 คน คณะทำงาน จำนวน 20 คน ประชาชน 10 คน เวลา 09.00 – 12.00 น. สร้างความรู้ความเข้าใจในการจัดทำบัญชีครัวเรือน เวลา 13.00 – 16.00 น. การจัดตั้งกลุ่มกองทุนในชุมชน มีการรับการอบรมการจัดทำบัญชีครัวเรือน เพื่อให้มีความรู้สามารถเขียนบัญชีรายรับ-รายจ่ายในครัวเรือนได้ มีการบริหารจัดการด้านการเงินเพื่อใช้จ่ายอย่างถูกต้อง โดยผู้เข้าร่วมรับการอบรมมีความตั้งใจในการอบรมเป็นอย่างดี และมีการทำบัญชีครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่มีการอบรมมาจนถึงปัจจุบัน และครัวเรือนตัวอย่างมีการทำบัญชีครัวเรือนมาก่อนหน้านี้ ทำให้สามารถเขียนบัญชีได้อย่างต่อเนื่องได้ ครัวเรือนตัวอย่าง และคณะทำงานมีการเขียนบัญชีรายรับ-รายจ่าย อย่างต่อเนื่องกันทุกคน สามารถทำให้ควบคุมและบริหารค่าใช้จ่ายได้อย่างถูกต้อง มีครัวเรือนตัวอย่างที่เขียนอย่างต่อเนื่อง ได้เป็นแบบอย่างให้กับครัวเรือนอื่นได้

     

    50 50

    17. ขับเคลื่อนสภาผู้นำชุมชน เพื่อพัฒนากลไกลชุมชน(ครั้งที่5)

    วันที่ 8 มกราคม 2016 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานมีการประชุมเพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมร่วมกันโดย มีการวางแผนการดำเนินงานกิจกรรมต่อไปและสรุปผลของกิจกรรมที่ดำเนินการมาแล้ว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สามารถทำให้ได้กิจกรรมที่จะดำเนินการต่อไป และผลของกิจกรรมที่ดำเนินการมาแล้ว ดังนี้
    ตามที่ทางหมู่บ้านได้ดำเนินการขอรับงบประมาณสนับสนุนในการจัดกิจกรรมต่างๆภายในหมู่บ้านจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)ในการร่วมกันจัดกิจกรรมนั้น เด็ก เยาวชน คณะทำงานและชาวบ้านต่างได้รับความรู้ในการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง สามารถช่วยเหลือตนเองในภาวะเศรษฐกิจราคายางตกต่ำ ไม่แน่นอน ไม่คงที่ ต้องอาศัยในการลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นในครัวเรือนและเพิ่มรายได้ โดยการปลูกพืชผัก เลี้ยงปลา เพาะเห็ด รวมกลุ่มอาชีพ ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น จากที่เป็นอยู่ และลดรายจ่ายในการปลูกพืชผัก เลี้ยงปลาไว้สำหรับบริโภค กินเอง เพิ่มมากขึ้นด้วย

     

    30 30

    18. อบรมการปลูกผักปลอดสารพิษ

    วันที่ 20 มกราคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีการ สำรวจความต้องการปัจจัยการผลิต เพื่อส่งเสริมอาชีพให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 50 คนโดยมีการส่งเสริมในการปลูกผักชนิดต่างๆ เพื่อให้มีรายได้ มีการจัดอบรม เพื่อให้มีความรู้ในการการปลูกพืชผัก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงาน จำนวน 20 คน เด็กและเยาวชน จำนวน 30 คน มีความรู้จากการอบรมสามารถนำมาปรับใช้ในการประกอบอาชีพปลูกพืชผัก โดยมีวิธีการและขั้นตอน อย่างถูกต้อง อบรมการปลูกผักปลอดสารพิษ 20 ม.ค. 2559ณ ศูนย์เรียนรู้ บ้านผัง 19 หมู่ที่ 8 ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีดังนี้ เด็ก และเยาวชน จำนวน 20 คน คณะทำงาน จำนวน 20 คน ประชาชน 10 คน เวลา 09.00 – 12.00 น. ร่วมกันรับฟังการอบรมในการปลูกพืชผักปลอดสารพิษ เพื่อให้ทีความรู้ในการนำไปปฏิบัติในการปลูกพืชผักในแปลงของตนเองได้ เวลา 13.00 – 16.00 น. ลงแปลงเพาะปลูกเพื่อดูการปลูกของครัวเรือนตัวอย่างและมีการแจกพันธ์ผักและต้นมะนาว มะละกอ มะเขือ ต้นพริก เพื่อนำไปเพาะปลูก ทำให้มีความรู้และสามารถนำไปปฏิบัติในการเพาะปลูกพืชได้

     

    50 50

    19. ขับเคลื่อนสภาผู้นำชุมชน เพื่อพัฒนากลไกลชุมชน(ครั้งที่6)

    วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีการร่วมกันจัดการประชุมเพื่อติดตามกิจกรรมที่ได้ดำเนินการ เพื่อสรุปผลกิจกรรมและวางแผนการทำงานต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    การดำเนินกิจกรรมสสส.ที่ผ่านคือกิจกรรมการอบรมการปลูกผักปลอดสารพิษ ทำให้เด็กและเยาวชน ประชาชน ได้รับความรู้ ในการประกอบอาชีพในด้านการปลูกพืชผักได้เป็นอย่างดี สามารถนำไปปฏิบัติในการเพาะ พืชผัก ปลอดสารพิษได้ โดยการใช้น้ำหมักชีวภาพ ในไล่แมลงชนิดต่างๆ และน้ำหมักยังช่วยในการเป็นปุ๋ยให้กับพืชอีกด้วย และการจัดกิจกรรมทั้งหมด ทำให้เกิดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ในหมู่บ้านเป็นอย่างมาก

    จากการดำเนินกิจกรรมทั้งหมดได้รับความร่วมมือจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นอย่างดี ทำให้เกิดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ ในหมู่บ้านเป็นอย่างยิ่ง ทำให้เด็ก เยาวชน และผู้นำ ผู้ปกครองได้ทำกิจกรรมต่างๆร่วมกันได้ 

     

    30 30

    20. โครงการปิดงวด ที่ 1

    วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีการเข้ารับการตรวจโครงการตามกิจกรรมที่ได้ดำเนินการในหมู่บ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สามารถสรุปผลงานตามกิจกรรมโครงการได้ / คืนเงินเปิดบัญชี 100 บาท 

     

    2 2

    21. การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม

    วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม ตรวจเอกสารปิดรายงานงวดที่ 1 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ส่งรายงานงวดที่ 1 (ขอเบิกค่าที่พักในงวดที่ 2)

     

    2 2

    22. อบรมการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ

    วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กิจกรรมภาคเช้าวิทยากรให้ความรู้เรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
          เป็นหลักสูตรฝึกอบรมที่จัดให้กับหน่วยงาน ที่มีความประสงค์จะจัดกิจกรรมเสริมสร้างจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้กับบุคลากรของหน่วยงาน โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า…เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า การจัดการขยะในสำนักงาน การใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่าด้วยการลดการสูญเสียพลังงาน แนวทางในการดำรงชีวิตเพื่อสิ่งแวดล้อม การลดใช้สารพิษในบ้านและที่ทำงาน ฯลฯ โดยการเรียนรู้ดังกล่าว จะเกิดขึ้นเมื่อผู้เข้ารับการอบรม ได้เข้าร่วมทำกิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นในค่าย เช่น การฟังบรรยาย การชมการสาธิต การชมนิทรรศการ การทดลองปฏิบัติ การเดินป่า การเล่นเกมและชมสารคดีทางด้านสิ่งแวดล้อม  โดยแกนนำ กลุ่มอาชีพและคนในชุมชนเข้ารับการอบรมเพื่อให้มีความรู้และทำข้อตกลง มีการวางแผนการดำเนินงานเพื่อดูแลและรักษาทรัพยากรธรรมชาติ กิจกรรมภาคบ่ายวัตถุประสงค์  เพื่อให้เป็นห้องเรียนธรรมชาติที่ให้ความรู้ด้าน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแก่เยาวชน ซึ่งเป็นนักเรียนจากโรงเรียนต่างๆ รอบแนวเขตอุทยานแห่งชาติ       1.เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่อย่างยั่งยืน       2.เพื่อสร้างแนวร่วมและเครือข่ายในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    เนื้อหาหลักสูตร
    การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่       1. การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่       2. การเดินป่าศึกษาเส้นทางธรรมชาติ ป่าไม้ และเส้นทางน้ำตามธรรมชาติ
          3. บทบาทเยาวชนกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
          4. กิจกรรมนันทนาการที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
          5. จริยธรรมเยาวชน
          6. แนวทางการจัดตั้งกลุ่มหรือชมรมอนุรักษ์ และอาสาสมัครพิทักษ์แหล่งน้ำของชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้รวมกลุ่มคณะทำงาน แกนนำ และประชาชนในหมู่บ้าน มีการร่วมกันรับฟังการอบรมเพื่อสามารถที่จะนำมาดำเนินการในหมู่บ้านเกี่ยวกับการรักษาทรัพยากรธรรมชาติด้านแหล่งน้ำได้ โดยแกนนำกลุ่มเป้าหมายต่างมีความสนใจและสามารถนำแนวทางในการอบรมไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป

     

    50 50

    23. ขับเคลื่อนสภาผู้นำชุมชน เพื่อพัฒนากลไกลชุมชน(ครั้งที่7)

    วันที่ 9 มีนาคม 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมคณะทำงานผู้รับผิดชอบโครงการ สภาผู้นำชุมชนประกอบด้วยคณะกรรมการหมู่บ้านและตัวแทนกลุ่มต่างๆเพื่อรับทราบวัตถุประสงค์การดำเนินโครงการ แนวทางการดำเนินงานและวางแผนการดำเนินกิจกรรมร่วมกัน 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีการวางแผนการดำเนินกิจกรรมดังนี้ ในเดือนมีนาคม จะมีการพัฒนาแหล่งน้ำร่วมกัน โดยในหมู่บ้านจะมีแหล่งน้ำสาธารณะ เช่น ห้วย คลอง สระ บึง จะร่วมกันปรับปรุงและพัฒนาสถานที่ดังกล่าวให้มีความสะอาดเรียบร้อย และสามารถเก็บกักน้ำเพื่อไว้ใช้กันต่อไป

     

    30 32

    24. ร่วมกันพัฒนาแหล่งน้ำ

    วันที่ 16 มีนาคม 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีการร่วมกันจัดกิจกรรมในการให้ความรู้ในการรักษาสมดุลระบบนิเวศวิทยาทางน้ำ เพื่อให้ชุมชนได้รู้จักรักษาแหล่งน้ำให้คงอยู่  โดยให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ร่วมกันพัฒนาบริเวณรอบสระน้ำภายในชุมชนบ้านผัง 19 เนื่องจากบริเวณสระเกิดความตื้นเขินจึงมีการขุดลอกไปแล้วระยะหนึ่งแต่เมื่อนานเข้ามีวัชพืชมาปกคลุมบริเวณโดยรอบของขอบสระจึงได้มีการร่วมกันในการจัดกิจกรรมครั้งนี้เพื่อพัฒนาแหล่งกักเก็บน้ำของหมู่บ้าน  เพราะในฤดูแล้งประชาชนได้มาสูบน้ำจากสระไปใช้ และสระนี้เป็นพื้นที่เก็บกักน้ำเพื่อใช้เป็นน้ำประปาที่ครัวเรือนในพื้นที่ได้ใช้ประโยชน์  ถือเป็นแหล่งน้ำที่ยังประโยชน์ต่อพื้นที่หมู่บ้าน  และคนในชุมชนได้ใช้น้ำในการอุปโภคบริโภคในครัวเรือนในปัจจุบันด้วย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประโยชน์ของน้ำ  น้ำเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับชีวิตทุกชีวิต ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ สัตว์เล็กหรือสัตว์ใหญ่ ตลอดจนพืชถ้าขาดน้ำก็จะต้องแห้งเหี่ยวและเฉาตายในที่สุด มนุษย์ต้องใช้น้ำสัมพันธ์อยู่กับชีวิตประจำวันอย่างเห็นได้ชัด เช่น ใช้น้ำสำหรับดื่ม ใช้หุงต้มอาหาร ใช้ชะล้างสิ่งสกปรกต่าง ๆ ใช้ซักเสื้อผ้า ใช้ในเครื่องทำความร้อน เครื่องลดความร้อน เช่นในโรงงานอุตสาหกรรมบางประเภท และใช้กับเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น  ในการเกษตรกรรม การทำเรือกสวนไร่นา ทำสวนครัว เลี้ยงสัตว์ ก็ต้องใช้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญทั้งสิ้น  แม้แต่ในการอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น ในการหล่อเย็น ในพลังไอน้ำก็ดี พลังงานไฟฟ้าก็ดี การกำจัดน้ำทิ้งและขยะก็ดี ตลอดจนถึงการดับไฟเมื่อเกิดไฟไหม้ น้ำเป็นองค์ประกอบที่สำคัญทั้งนั้นสามารถทำให้คนในชุมชนรู้จักรักษาทรัพยากรธรรมชาติ คือแหล่งน้ำ ห้วย หนอง คลองบึง ให้คงอยู่ มีการร่วมมือกันรักษาทรัพยากร และร่วมมือกันในการปรับปรุงพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อให้ในชุมชนมีน้ำอุปโภคร่วมกันตลอดไป  จากกิจกรรมช่วยให้ชุมชนได้มีน้ำที่สะอาด และเป็นการดูแลบริเวณโดยรอบของแหล่งน้ำของชุมชนเพื่อเป็นการรักษาแหล่งน้ำให้สะอาด และดูแลพื้นที่สระเพื่อให้มีการกักเก็บน้ำในปริมาณมากได้

     

    50 50

    25. ขับเคลื่อนสภาผู้นำชุมชน เพื่อพัฒนากลไกลชุมชน(ครั้งที่8)

    วันที่ 8 เมษายน 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมคณะทำงานผู้รับผิดชอบโครงการ สภาผู้นำชุมชนประกอบด้วยคณะกรรมการหมู่บ้านและตัวแทนกลุ่มต่างๆเพื่อรับทราบวัตถุประสงค์การดำเนินโครงการ แนวทางการดำเนินงานและวางแผนการดำเนินกิจกรรมร่วมกัน ทุกเดือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีการวางแผนร่วมกันในการทำกิจกรรมการเพาะเห็ด และการพัฒนาแหล่งน้ำร่วมกัน ในเดือนเมษายน โดยคณะทำงานและกลุ่มเป้าหมายต้องมีการประชาสัมพันธ์และร่วมกันดำเนินตมกิจกรรมดังกล่าวด้วย

     

    30 32

    26. อบรมการเพาะเห็ดและลงมือปฏิบัติ

    วันที่ 22 เมษายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานร่วมกันจัดการอบรมในการเพาะเหดนางฟ้าให้กับคณะทำงานเด็กและเยาวชน เพื่อให้เกิดการรวมกลุ่ม มีรายได้ และรู้จักขั้นตอนในการลงมือทำ เทคนิคต่างๆ เพื่อให้ได้เห็ดที่มีคุณภาพ กิจกรรมช่วงเช้า มีการอบรมทฤษฎีและวิธีการขั้นตอนในการจัดทำการอบโรงเรือน ด้วยการใช้ความร้อนระบบการอบไอน้ำภายในโรงเรือน ระยะเวลา  3  ชั่วโมงทิ้งไว้ 1 คืน เมื่อจะนำทลายปาล์มที่หมักเข้าให้อบโรงเรือนอีกครั้งเป็นระยะเวลา 1 ชั่วโมง  ต่อจากนั้นมีการเตรียมหมักเชื้อด้วยวัสดุทลายปาล์มมีการหมักไว้ระยะเวลา 15 วัน  ขั้นตอนหลังจากนั้นเป็นการวางทะลายปาล์มในโรงเรือนพร้อมโรยเชี้อเห็ดฟาง รอระยะเวลาในการเก็บผลผลิต  ใช้ระยะเวลา 15 - 20 วัน ในขณะนี้จำเป็นต้องควบคุมอุณหภูมิในโรงเรือนให้อยู่ที่อุณหภูมิคงที่ 35องศาเท่านั้น
    กิจกรรมช่วงบ่าย  ให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ลงมือปฏิบัคิจริงโดยวิทยากรซึ่งเป็นปราชญ์ชาวบ้าน และผู้มีภูมิในเรื่องการเพาะเห็ดฟางมาให้คำแนะนำขั้นตอนและกระบวนการจัดการเพาะเห็ดและให้ได้มีการลงมือปฏิบัติจริง ในโรงเรือนของหมู่บ้าน โดยวิธีให้ผู้เข้าร่วมการอบรมมาดูวิธีการใช้ความร้อนระบบการอบไอน้ำภายในโรงเรือนเพื่อใช้จริง ด้วยการใช้ความร้อนในระบบการอบไอน้ำภายในโรงเรือน ระยะเวลา  3  ชั่วโมงทิ้งไว้ 1 คืน  และให้ผู้เข้ารับการอบรมฝึกกระบวนการหมักวัสดุทลายปาล์มที่ใช้หมัก สอนเรื่องกระบวนการเรียงทลายปาล์มในอ่างหมักและให้ใช้ผ้ายางคลุมไว้เพื่อให้เกิดความร้อนจนได้ทลายปาล์มที่จะใช้ในระยะเวลา 15 วัน และวิทยาแนะนำวิธีการนำทลายปาล์มมาเข้าเรียงในโรงเรือนอย่างไร และวิธีการโรยเชื้อเห็ดอย่างไร ซึ่งกระบวนการขั้นตอนการเรียงทลายปาล์มและโรยเชื้อเห็ดเป็นแค่การสาธิตให้ผู้เข้าอบรมได้ดูก่อนที่จะลงมือปฏิบัติจริงตามขั้นตอนและระยะเวลาที่กำหนด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทำให้เกิดการรวมกลุ่ม และมีวิธี ขั้นตอนต่างๆในการลงมือปฏิบัติ สามารถสร้างกิจกรรมและก่อให้เกิดการสร้างงานและสร้างรายได้ให้กับเยาวชนและชุมชน  ทั้งนี้กระบวนการดังกล่าวที่วิทยากรได้ให้การอบรมเยาวชนสามารถนำไปปรับใช้ในชุมชนได้  โดยสามารถให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ขั้นตอนต่างๆ เพื่อนำไปปรับใช้ในครัวเรือนได้จริง

     

    50 100

    27. ร่วมกันพัฒนาแหล่งน้ำ

    วันที่ 26 เมษายน 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กิจกรรมการขุดลอกคูน้ำและบึงน้ำบริเวณหมู่บ้านเพื่อให้เกิดมีเนื้อที่ในการกักเก็บน้ำไว้ใช้ในยามหน้าแล้งโดยคณะทำงานมีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมให้กับคนในชุมชนพร้อมทั้งเปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมกิจกรรมซึ่งกลุ่มเป้าหมายหลักเป็นเด็กเยาวชนในชุมชนเพื่อเข้าร่วมในกิจกรรมโครงการครั้งนี้  โดยในกิจกรรมได้ร่วมกันพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ของหมู่บ้าน เพื่อให้มีพื้นที่ในการเก็บกักน้ำไว้ใช้ ในช่วงหน้าแล้ง และเพื่อรักษาสมดุลทางธรรมชาติ ให้คงอยู่ มีการถางหญ้าที่รกเรื้อ ขุดลอกหญ้าและเศษใบไม้กิ่งไม้ขึ้นมาจากแหล่งน้ำจากกิจกรรมครั้งนี้มีผู้ให้ความร่วมมือเป็นคณะทำงานจำนวน 20 คน เยาวชนจำนวน 20 คน ประชาชนในพื้นที่จำนวน 10 คน ให้ความร่วมมือโดยส่วนใหญ่จะเป็นเพศชาย 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากกิจกรรมครั้งนี้สามารถทำให้เกิดการพัฒนาแหล่งน้ำในชุมชน เกิดความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจ เพื่อให้มีแหล่งน้ำใช้ และรักษาสมดุลทางธรมชาติให้คงอยู่ในชุมชนตลอดไป

     

    50 50

    28. ขับเคลื่อนสภาผู้นำชุมชน เพื่อพัฒนากลไกลชุมชน(ครั้งที่9)

    วันที่ 9 พฤษภาคม 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานวางแผนการทำงานร่วมกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทำให้คณะทำงานมีการวางแผนการทำงานร่วมกันอย่างชัดเจน และสามารถสรุปผลการดำเนินงานในกิจกรรมที่ผ่านมาร่วมกันได้ โดยในกิจกรรมที่จะดำเนินงานร่วมกันในเดือนพฤษภาคม คือการร่วมกันพัฒนาแหล่งน้ำ ในคลองผัง 20 ซึ่งน้ำในคลองแห่งนี้ ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน ในการอุปโภค

     

    30 32

    29. ร่วมกันพัฒนาแหล่งน้ำ

    วันที่ 20 พฤษภาคม 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จากกิจกรรมมีการประชาสัมพันธ์ให้เยาวชนเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาแหล่งน้ำตามธรรมชาติ ปรับปรุง บริเวณ แหล่งนำเก็บขยะ และขุดลอกบึงเพื่อให้มีพื้นที่ในการเก็บกักน้ำที่สะอาด  กิจกรรมเริ่มเวลา 13.00 - 16.00 น. โดยนัดลงเรือคายัคจากท่าพายเก็บขยะบริเวณลำคลองมะนัง ซึ่งเป็นคลองที่ไหลผ่านหมู่บ้าน ผัง 20 หมู่ที่  8  ตำบลนิคมพัฒนา  อำเภอมะนัง  จังหวัดสตูล  และเป็นแหล่งน้ำที่ประชาชนใช้โดยนำน้ำไปใช้ในชีวิตประจำวันทั้งในภาคครัวเรือนและภาคการเกษตรของพื้นที่  จึงถือเป็นพื้นที่ต้นน้ำที่จำเป็นต้องอนุรักษ์ด้านทรัพยากรสิ่งแวดล้อม  และด้านความสะอาดของลำคลอง  จึงก่อให้เกิดกิจกรรมร่วมกันพัฒนาแหล่งน้ำ บริเวณแหล่งน้ำชุมชนบ้านผัง 19 จากกิจกรรมมีเด็กและเยาวชนร่วมกับคณะทำงาน  จำนวน  50 คน ร่วมกันในการพายเรือคายัคเก็บขยะในลำคลอง  โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมบอกว่ารู้สึกสนุนกสนานและเป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนเป็นอย่างยิ่งอยากให้มีกิจกรรมลักษณะนี้เกิดขึ้นอีกบ่อยครั้ง ทั้งยังเสนอให้มีป้ายรณรงค์ให้ประชาชนในพื้นที่ไม่ทิ้งขยะลงในแม่น้ำลำคลองของหมู่บ้านในพื้นที่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สามารถทำให้เกิดการร่วมมือร่วมแรงร่วมใจในการพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่หมู่บ้านเพื่อให้เกิดการอนุรักษ์ธรรมชาติ ให้มีความสมดุล สามารถมีแหล่งน้ำตามธรรมชาติไว้ใช้ยิ่งยืนนาน จากกิจกรรมครั้งนี้ถือเป็นสิ่งที่ดีที่ก่อให้เกิดความสามัคคีกันระหว่างเด็กเยาวชนในพื้นที่และคณะทำงานได้มาทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อเป็นการดูแลแหล่งน้ำของชุมชนให้ใสสะอาดปราศจากขยะและมลพิษจากสิ่งปฏิกูลทั้งเป็นการสร้างให้เยาวชนมีสำนึกรักธรรมชาติ และแหล่งน้ำของชุมชนรู้จักใช้และร่วมกันเป็นกระบอกเสียงให้คนในชุมชนหันมาให้ความสำคัญกับการรักษาความสะอาดแหล่งน้ำไม่ทิ้งขยะ หรือสิ่งสกปรกลงในลำคลองได้

     

    50 50

    30. ขับเคลื่อนสภาผู้นำชุมชน เพื่อพัฒนากลไกลชุมชน(ครั้งที่10)

    วันที่ 10 มิถุนายน 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมคณะทำงานผู้รับผิดชอบโครงการ สภาผู้นำชุมชนประกอบด้วยคณะกรรมการหมู่บ้านและตัวแทนกลุ่มต่างๆเพื่อรับทราบวัตถุประสงค์การดำเนินโครงการ แนวทางการดำเนินงานและวางแผนการดำเนินกิจกรรมร่วมกัน 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานสามารถร่วมกันวางแผนการดำเนินงานตามกิจกรรมได้ โดยในเดือนนี้มีการวางแผนในการจัดกิจกรรมการแข่งขันกีฬาครอบครัว เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ภายในครอบครอบครัวเพื่อให้ห่างไกลจากยาเสพติด

     

    30 32

    31. จัดกิจกรรมการแข่งขันกีฬาครอบครัว

    วันที่ 16 มิถุนายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานร่วมกันจัดกิจกรรมการแข่งขันกีฬาเปตอง โดยมีการแบ่งทีมผู้เล่นตามความสมัครใจ  ส่วนใหญ่จะเป็นน้องๆเยาวชน  และประชาชนชายหญิงบางส่วนร่วมเป็นทีมผู้เล่นในกิจกรรมครั้งนี้  เมื่อจัดการแข่งขันกันขึ้นทุกคนสนุกสนาน ผู้ปกครองที่ไม่ได้ลงแข่งขันจะทำการเชียร์บุตรหลานเยาวชนของตน  การแข่งขันครั้งนี้ถือเป็นการสร้างความรัก ความสามัคคีในครอบครัว โดยได้รับความร่วมมือในการจัดการแข่งขันกีฬาจากทุกๆฝ่ายเป็นอย่างดี โดยมีรายละเอียดขั้นตอนการจัดการแข่งขัน  ภาคเช้าแบ่ง 1.การแข่งขันในระดับ เด็กและเยาวชน  2.ระดับครอบครัว และประชาชนทั่วไป  ผลการตัดสินแพ้ชนะ  2 ใน 3 เกมส์  หากแพ้ 2 เกมส์ติดต่อถือว่าตกรอบ  และช่วงบ่ายจะดำเนินการแข่งขันในรอบของคู่แข่งขันที่ผ่านเข้ารอบ  ชิงที่ 2 ที่3 และสุดท้ายรอบตัดสินคู่ชิงชนะเลิศ ตามลำดับของแต่ละประเภทจะแข่งขันพร้อมกัน 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานดำเนินการจัดกิจกรรมการแข่งขันกีฬา โดยแบ่งทีมผู้เล่นกีฬาเปตองตามความสมัครใจซึ่งแบ่งออกเป็นทีมชาย ทีมหญิง และทีมผสมโดนการแข่งขันกีฬาเปตองเพื่สร้างกิจกรรมกีฬาสัมพันธ์ครอบครัวครั้งนี้มุ่งเน้นทีมครอบครัวที่เข้าแข่งขันทีมผสมให้เป็นครอบครัวเดียวกันหรือญาติพี่น้อง เพื่อสร้างให้ทุกคนเกิดการใช้เวลาร่วมกัน เพราะก่อนการแข่งขัน ต้องมาจากการฝึกซ้อม เอื้ออาทรและช่วยเหลือกันทำให้สามารถสร้างความรัก ความเข้าใจ การใช้เวลาว่างในการร่วมกันทำกิจกรรม ภายในครอบครัว ทำให้เด็กและเยาวชนไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดและทั้งให้ครอบครัวได้มีช่วงเวลาที่มีกิจกรรมร่วมกันได้ทั้งนี้เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการชื่นชอบในกิจกรรมครั้งนี้มาก

     

    100 100

    32. ขับเคลื่อนสภาผู้นำชุมชน เพื่อพัฒนากลไกลชุมชน(ครั้งที่11)

    วันที่ 11 กรกฎาคม 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมคณะทำงานผู้รับผิดชอบโครงการ สภาผู้นำชุมชนประกอบด้วยคณะกรรมการหมู่บ้านและตัวแทนกลุ่มต่างๆเพื่อรับทราบวัตถุประสงค์การดำเนินโครงการ แนวทางการดำเนินงานและวางแผนการดำเนินกิจกรรมร่วมกัน 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานมีการวางแผนการทำงานร่วมกัน โดยกำหนดกิจกรรมในเดือน นี้ คือ กิจกรรมสานสัมพันธ์ครอบครัว โดยให้คณะทำงานร่วมกันประชาสัมพันธ์ เพื่อให้เข้าร่วมทำกิจกรรมดังกล่าวด้วย

     

    30 32

    33. จัดกิจกรรมสานสัมพันธ์ในครอบครัว

    วันที่ 20 กรกฎาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กิจกรรมที่ 1  โดยให้ผู้ปกครองและเด็กนักเรียน เยาวชน ร่วมกันเข้าวัดทำบุญ มีพิธีกรรมทางศาสนาร่วมกัน เพื่อให้เกิดความคิดบวก มีความสงบด้านจิตใจ สำรวมกาย ฝึกสมาธิ  เมื่อผู้เข้าอบรมพร้อม ประธานนายวิโรจน์  น้ำเย็น  กล่าวเปิดงานพร้อมเชิญวิทยากรเจ้าอาวาสวัดป่ามะนังชโลธาร (วัดผัง 20) ขึ้นเป็นวิทยากรในการบรรยายตามโครงการ สานสัมพันธ์ครอบครัว  สานสร้างพื้นที่ให้เยาวชน มีการบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้ารับการอบรมเรื่องคุณธรรมจริยธรรม  การนำศีลห้าเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวันได้ หยิบยกตัวอย่างการกระทำความดีเป็นการประกอบการบรรยาย ให้เยาวชนและประชาชนทั้วไปได้เห็นภาพต่างๆ ในมุมมองหลาย ๆ ด้านที่เป็นแรงขับเคลื่อนให้ทุกคนเห็นถึงการทำดี  การทำกรรมดีเป็นสิ่งที่ท้าทายและเป็นสิ่งหนึ่งที่ต้องทำให้เกิดเป็นปกติวิสัย ทำจนเกิดเป็นกิจวัตรประจำวันให้ได้ยิ่งดีใหญ่ กิจกรรมที่ 2  จัดกีฬาสานสัมพันธ์ ครอบครัว โดยการออกกำลังกายร่วมกันในการเล่นกีฬา เต้นแอโรบิค กิจกรรมจัดขึ้นที่ลานเอนกประสงค์หมู่บ้านหมู่ที่  8 ต.นิคมพัฒนา อ.มะนัง จ.สตูล ช่วงเวลา 13.00 -16.00 น. โดยมีการจัดกิจกรรมกีฬากลางแจ้งฟุตบอล วอลเลย์บอล  และปิดกิจกรรมด้วยการเต้นกีฬาแอโรบิค ณ ลานกีฬาหมู่บ้าน 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สามารถทำให้ครอบครัวมีกิจกรรมร่วมกัน ก่อให้เกิดความรักความสามัคคี ความเข้าใจในครอบครัวมากขึ้น  โดยในการดำเนินกิจกรรมได้รับความร่วมแรงร่วมใจจากทุกๆฝ่ายเป็นอย่างดี  ผู้เข้าร่วมในกิจกรรมมีความประทับใจและเข้ามามีส่วนร่วมเพราะถือว่าเป็นกิจกรรมทีช่วยส่งเสริมคนในชุมชนให้มีสุขภาพแข็งแรง  ใช้เวลาว่างร่วมกันให้เกิดประโยชน์  สร้างสัมพันธภาพที่ดีให้เกิดขึ้นในชุมชน

     

    100 100

    34. ขับเคลื่อนสภาผู้นำชุมชน เพื่อพัฒนากลไกลชุมชน(ครั้งที่12)

    วันที่ 9 สิงหาคม 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานร่วมกันจัดประชุมเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินกิจกรรม วางแผน และร่วมกันสรุปกิจกรรมต่างๆที่ได้ร่วมกันดำเนินงานที่ผ่านมา มีผลสำเร็จ และปัญหา อุปสรรคเป็นอย่างไร ้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สามารถร่วมกันสรุปแผนการดำเนินงานและสรุปกิจกรรมที่ได้ดำเนินการมาแล้วก่อให้เกิดผลอย่างไรกับหมู่บ้านโดยกิจกรรมต่างๆที่ได้ดำเนินการมานั้น มีการร่วมมือจากทุกๆฝ่ายเป็นอย่างดี ก่อให้เกิดผลกับคณะทำงานและผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นอย่างดี

     

    30 32

    35. ร่วมกันสร้างกฎกติกาของเยาวชน ในชุมชน

    วันที่ 24 สิงหาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีการจัดประชุมเพื่อดำเนินการในการสร้างกฎกติการ่วมกันของคนในชุมชน โดยให้ทุกคนยึดกฎกติกาที่วางไว้ร่วมกัน โดยผ่านเวทีและประชาชนในหมู่บ้านต้องรับรู้ และสามารถดำเนินการได้ทันทีตามกฎกติกาที่ตั้งไว้เป็นลายลักษณฺ์อักษรที่ชัดเจน  โดยแบ่งการจัดกิจกรรมออกเป็น 2 ช่วง กิจกรรมภาคเช้าในกิจกรรมมีการวิเคราะห์สภาพปัญหาของพื้นที่เพื่อให้ได้แนวทางเพื่อยึดถือเป็นหลักปฏิบัติและหาแนวทางวางกฎกติการ่วมกันของชุมชน  โดยเปิดให้ผู้รู้ในพื้นที่ และปราชญ์ชาวบ้านได้เล่าถึงประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านให้เยาวชนที่เข้าร่วมการประชุมได้รู้ถึงสภาพพื้นที่และบอกเล่าถึงการพัฒนาพื้นที่ระหว่างรุ่นสู่รุ่นที่ผ่าน  บอกเล่าถึงแนวทางปฏิบัติที่ดีพูดคุยถึงส่วนที่ต้องให้มีการปรับปรุงแก้ไขในทุกมิติของพื้นที่ กิจกรรมช่วงบ่าย เปิดเวทีให้แกนนำเยาวชนได้บอกเล่าถึงสิ่งที่กลุ่มเยาวชนต้องการให้เกิดกับพื้นที่ และอยากให้แกนนำในพื้นที่ช่วยเหลือในด้านความต้องการด้านใดบ้าง  เปิดโอกาสให้ประชาชนที่เข้าร่วมการประชุมแสดงแนวคิดหรือข้อเสนอแนะที่จะให้เกิดขึ้นในชุมชน  และมีความต้องการในด้านใดเพื่อให้ทางคณะทำงานได้ร่างลงในกฎกติกาหมู่บ้านบ้าง  สุดท้ายเวทีนำข้อเสนอแนะจากเวทีมากรั่นกรองสรุปรวบรวมพร้อมทั้งเปิดให้มีการเสนออย่างเป็นเอกฉันท์ในภาพรวมว่ากฏกติกาข้อใดที่จะให้เกิดกับชุมชน  และให้ทุกคนได้ลงมติเห็นชอบโดยผ่านเวทีการสร้างกฏกติกาของเยาวชนในชุมชนร่วมกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    หมู่บ้านมีกฎกติกาที่ร่วมกันวางไว้เพื่อดำเนินการได้ทันที จำนวน 1 ชุด โดยผ่านเวทีประชุมของหมู่บ้านและมีลายลักษณ์อักษรที่ชัดเจน กฎกติกาหมู่บ้าน บ้านผัง 16,18,19,20 หมู่ที่ 8  ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง  จังหวัดสตูล กฎกติกาเพื่อนำมาใช้ร่วมกันในหมู่บ้าน มีการประชุมเพื่อให้ชาวบ้านนำเสนอกฎกติกา ในวันที่ 24 ตุลาคม 2558 นั้น ทางหมู่บ้านได้มีการจัดทำ กฎกติกาหมู่บ้าน กฎกติกาต่างๆ  ได้กำหนดขึ้นเพื่อความสงบสุขแก่ส่วนรวมของชาวบ้านผัง 16,18,19,20 หมู่ที่ 8  ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง  จังหวัดสตูล ทุกคน  จึงใคร่ขอความร่วมมือมายังชาวบ้านทุกคน  ช่วยกันปฏิบัติตามกฎกติกาต่างๆ  เหล่านี้โดยเคร่งครัดและช่วยกันดูแล มิให้ผู้ใดกระทำการอันขัดต่อกฎกติกานี้  ซึ่งอาจกระทำการไปโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม  หากพบเห็นกรุณาแจ้งคณะกรรมการหมู่บ้านหรือประธานหมู่บ้าน  ดังนี้ ข้อที่  1.  ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด 1.1 ผู้ใดหรือครอบครัวใดเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ห้ามเข้าเป็นสมาชิกขององค์กรและกลุ่มต่างๆที่มีอยู่ในหมู่บ้านโดยเด็ดขาด ข้อที่  2.  ด้านการรักษาความปลอดภัยความสันติสุขในหมู่บ้าน
    2.1 ยิงปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต  ปรับนัดละ 500 บาท
    2.1 ขโมยขี้ยางและยางแผ่น ปรับกิโลกรัมละ 500 บาท 2.2 ขโมยลูกปาล์ม  ปรับทะลาย ละ 500 บาท 2.3 ขโมย ไก่ และเป็ด ปรับตัวละ 500 บาท 2.4 ขโมย นก ปรับ 2 เท่าของราคานก ข้อที่  3.  ด้านการสร้างความสามัคคีและแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างบุคคล 3.1 วัวกินยาง ชั้นละ 500 บาท 3.2 วัวกินปาล์ม ต้นละ 500 บาท 3.3 เขตแดนที่ดิน ต้องเว้นระยะ 1 เมตร ห้ามปลูกต้นไม้กลางแดน แต่สามารถใช้เสาปูนได้ ข้อที่  4.  ด้านการรักษาทรัพยากรสิ่งแวดล้อม และสิ่งสาธารณะประโยชน์
    4.1 การช็อตปลา และวางยาปลา ปรับไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท 4.2 ผู้ใดทำลายทรัพย์สินของหมู่บ้านเสียหาย ต้องชดใช้เท่ากับทรัพย์สินนั้น 4.3 การทิ้งขยะบริเวณข้างถนนหรือหน้าบ้านตนเองครั้งที่ 1 เมื่อพบเห็นจะขอเตือน ครั้งที่ 2 ปรับ จำนวน 100-300 บาท กรณีพบเห็นสามารถแจ้งคณะกรรมการหมู่บ้านเพื่อให้ดำเนินการ ปรับ 500-1,000 บาท
    ข้อที่  5.  ด้านเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมกิจกรรมลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ในครัวเรือน 5.1 ครัวเรือนในหมู่บ้าน ต้องมีการปลูกพืชผักสมุนไพร สวนครัว จำนวน 3 ชนิดขึ้นไป ข้อที่ 6 กติกาของเยาวชนคือ 6.1 เยาวชน ต้องมีกิจกรรมร่วมกัน เป็นประจำอาทิตย์ละ1ครั้งเพื่อพัฒนาหมู่บ้าน 6.2 เยาวชนในขุมชนต้องไม่ทะเลาะกัน 6.3 เยาวชนต้องมีอาชีพและรายได้ ต้องไม่มีการว่างงาน 6.4 เยาวชนรุ่นพี่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีแก่รุ่นน้อง 6.5 เยาวชนทุกคนต้องมีจิตสำนึกในการทำความดีเพื่อชุมชน ให้คณะกรรมการหมู่บ้านเป็นผู้ดูแลและบังคับใช้ในการถือปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ    ของหมู่บ้าน

     

    100 100

    36. ร่วมกันสรุปกิจกรรมทั้งหมด

    วันที่ 26 กันยายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงาน เด็กและเยาวชน ประชาชน ร่วมกันจัดเวทีเพื่อสรุปผลการดำเนินกิจกรรมทั้งหมดของโครงการที่ได้รับการสนับสนุน
    กิจกรรมในภาคเช้า  เวลา 09.00 น.-12.00 น. โดยกลุ่มผู้นำจัดสะท้อนความคิดเห็นของกิจกรรมที่ผ่านในการดำเนินกิจกรรมระหว่างเดือนมีนาคม - กันยายน 2559 กิจกรรมช่วงบ่าย เวลา 13.00 น.- 16.00 น. แบ่งกลุ่มเพื่อให้ผู้เข้าร่วมการประชุมได้สะท้อนแนวคิด และสภาพปัญหา ทำการ swot ปัญหาจากการเข้าร่วมในกิจกรรมต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางปรับกระบวนแนวคิดและสะท้อนความต้องการของกลุ่มต่างๆให้หมู่บ้านได้ทราบข้อบกพร่องและสร้างความพร้อมของชุมชนให้เกิดการปรับตัวเข้าหากันระหว่างเยาวชนและประชาชนในพื้นที่ 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ข้อสรุปดังนี้ 1 เกิดแกนนำหมู่บ้านในการขับเคลื่อนกิจกรรมในชุมชน 2 สภาผู้นำชุมชนขับเคลื่อนกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายประสบผลสำเร็จอีกระดับ 3 มีกติกาของเยาวชนที่เยาวชนตกลงร่วมกันในการดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกันภายในชุมชน 4 เกิดกิจกรรมที่ทำให้มีความสามัคคีในชุมชน 5 เกิดกิจกรรมการสร้างอาชีพและรายได้ในชุมชน 6 ลดการว่างงานของเยาวชน ึ7 เยาวชนสามารถใช้เวลาว่างในการเล่นกีฬา และเกิดอาชีพ มีงานทำ ทำให้ห่างไกลจากแหล่งมั่วสุม และยาเสพติด

    โครงการนี้เป็นโครงการที่ดีมากสามารถให้ชุมชนมีความร่วมแรงร่วมใจก่อให้เกิดผลที่ดีแก่ชุมชน วัตถุประสงค์ / เป้าหมาย ตัวชี้วัดความสำเร็จ
    วัตถุประสงค์โดยตรง วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เพื่อส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมและกลไกลชุมชนเข้มแข็ง ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1. เกิดแกนนำหมู่บ้านในการขับเคลื่อนให้เกิดสภาชุมชน เป้าหมาย จำนวน 20 คน - แกนนำมีการดำเนินขับเคลื่อนงาน จำนวน20 คน ประกอบ ด้วยผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วย สมาชิกอบต. อสม. กลุ่มสตรี และชุดชรบ. 2. มีสภาชุมชนโดยมีตัวแทนจากเยาวชน เกิดขึ้นในชุมชน มีแกนนำเยาวชน จำนวน10 คน ขับเคลื่อนงานร่วมกับคณะทำงาน ตามกิจกรรมโครงการ ดังนี้ 1. นายจรัญจอมแก้ว 2. นายโสภณถึงเกื้อ 3. นายยุวเรศ ทองเนียม 4. นายสมศักดิ์ชมเชย 5. นายจักรกฤษ กลับวุ่น
    6. นายธีรภาพหวานแก้ว 7. นายวันทา ถึงเกื้อ 8. นายสมเกียรติ อ่อนมาก
    9. นายสุกฤษดิ์ทองเนียม 10.นายอาคม สุวรรณโณ 11. นายปัญญา ปัญจะเภรี 12. นายวรวุฒิเกื้อหน่วย 13. นายอภิวัฒน์สารมานิตย์ 14. นายเอกรัตน์มากมูล 15. นายวิรัตน์ ทองเนียม 16. นายมานิตย์มังคะเล 17. นายธีรศักดิ์ เกื้อหน่วย 18. นายวรวุฒินิลกัณฑ์ 19. นายสุรศักดิ์กลับวุ่น 20. นายวิวัฒน์มุสิกรังษี 21. นายสุริยาแสงทอง 22. นายปานชัยแก้วประดับ 23. นายสมนึกกาญจนทอง
    24. นายจรัญสุวรรณโณ 25. นายวรรณีนิลกัณฑ์ 26. นายสมศักดิ์ มณีพันธ์
    27. นายเฉวียงเอียดปู 28. นางสาววรรดี ปาตังตะโร 29. นายปรีชาชูตรี 30. นางสาวฤทัยอินทรภัณท์ 3. สภาผู้นำชุมชนมีการประชุมทุกเดือน เดือนละ 1 ครั้ง จำนวน 12 ครั้ง -สภาผู้นำชุมชน 20คน ประกอบ ด้วยผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วย สมาชิกอบต. อสม. กลุ่มสตรี และชุดชรบ. มีการประชุม ในทุกวันที่ 9 ของทุกเดือน เพื่อขับเคลื่อนงานร่วมกัน

    1. แกนนำสภาผู้นำชุมชนเข้าร่วมประชุมสภาร้อยละ 80

    - แกนนำสภาผู้นำชุมชน มีการเข้าร่วมประชุม ร้อยละ 80 ทำให้เยาวชนมีการขับเคลื่อนงานสำเร็จดังนี้ 1 เกิดแกนนำหมู่บ้านในการขับเคลื่อนกิจกรรมในชุมชน 2 สภาผู้นำชุมชนขับเคลื่อนกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายประสบผลสำเร็จอีกระดับ 3 มีกติกาของเยาวชนที่ตกลงร่วมกันในการดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกันภายในชุมชน 4 เยาวชนมีการรวมกลุ่มในการทำกิจกรรมและสร้างความเข้าใจร่วมกันมากขึ้น 5 เยาวชนมีกิจกรรมมีงานทำ มีรายได้ เพิ่มมากขึ้น
    6 เยาวชนมีความกระตื้อรือร้น ในการร่วมกันทำกิจกรรมส่วนร่วมมากขึ้น 7 เยาวชนสามารถใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ โดยการเล่นกีฬามากขึ้น 8 เยาวชน มีกิจกรรมในการทำร่วมกัน ทำให้ไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด 9 โครงการนี้สามารถทำให้มีความประสบความสำเร็จในหลายๆด้าน โดยเฉพาะการประสานงาน ร่วมมือกันในการทำงานเป็นทีม ส่งผลให้การดำเนินงานในทุกกิจกรรมสำเร็จลุล่วงได้ดี 10 คณะทำงานมีการพัฒนาตัวเองมากขึ้น ในการรับผิดชอบในการดำเนินงานร่วมกัน

    1. มีแกนนำเยาวชน ในชุมชน มีส่วนร่วมในกิจกรรม ตามแผน30 คน ทุกกิจกรรม

    - แกนนำเยาวชน จำนวน30 คน มีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามกิจกรรมตามแผน ในทุกกิจกรรม สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี โดยมีกิจกรรมตามแผนดังนี้ 1. กิจกรรม ที่ 8คืนความร่มรื่นลำคลองสะอาดสู่ชุมชน ร่วมกันพัฒนาแหล่งน้ำ ( ครั้งที่ 1 )

    1. กิจกรรม ที่ 8คืนความร่มรื่นลำคลองสะอาดสู่ชุมชนร่วมกันพัฒนาแหล่งน้ำ ( ครั้งที่ 2 )
    2. กิจกรรม ที่ 8คืนความร่มรื่นลำคลองสะอาดสู่ชุมชน ร่วมกันพัฒนาแหล่งน้ำ ( ครั้งที่ 3 )
    3. กิจกรรม ที่6 เยาวชนนำความพอเพียง อบรมการเพาะเห็ดและลงมือปฏิบัติ
    4. กิจกรรม ที่ 7 ร่วมกันรักษาทรัพยากรธรรมชาติ อบรมการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ
    5. กิจกรรม ที่ 9สร้างความรู้สู่ครอบครัวอบอุ่น จัดกิจกรรมการแข่งขันกีฬาครอบครัว
    6. กิจกรรม ที่ 10 สานสัมพันธ์ครอบครัว สานสร้างพื้นที่ให้เยาวชน จัดกิจกรรมสานสัมพันธ์ในครอบครัว
    7. กิจกรรม ที่ 11 เยาวชนยุคใหม่ ดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่า ร่วมกันสร้างกฎกติกาของเยาวชนในชุมชน
    8. กิจกรรม ที่ 12 กิจกรรมสรุปบทเรียนร่วมกันสรุปกิจกรรมทั้งหมด วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของเด็กเยาวชน ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้และการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ตัวชี้วัดความสำเร็จ
    9. ครัวเรือนต้นแบบที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถเพิ่มรายได้ขึ้นจากเดิม จำนวน20 ครัวเรือน

    - ครัวเรือนต้นแบบที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถเพิ่มรายได้ขึ้นจากเดิม จำนวน20 ครัวเรือน โดยครัวเรือนทั้งหมดมีกิจกรรม ในการเพิ่มรายได้ คือ กิจกรรมการปลูกพืขผัก เลี้ยงไก่ไข่ และเลี้ยงปลา เพื่อจำหน่ายทำให้รายได้เพิ่มขึ้น มีครัวเรือนดังนี้ 1. นายจรัญจอมแก้ว 2. นายโสภณถึงเกื้อ 3. นายยุวเรศ ทองเนียม 4. นายสมศักดิ์ชมเชย 5. นายจักรกฤษ กลับวุ่น
    6. นายธีรภาพหวานแก้ว 7. นายวันทา ถึงเกื้อ 8. นายสมเกียรติ อ่อนมาก
    9. นายสุกฤษดิ์ทองเนียม 10.นายอาคม สุวรรณโณ 11. นายปัญญา ปัญจะเภรี 12. นายวรวุฒิเกื้อหน่วย 13. นายอภิวัฒน์สารมานิตย์ 14. นายเอกรัตน์มากมูล 15. นายวิรัตน์ ทองเนียม 16. นายมานิตย์มังคะเล 17. นายธีรศักดิ์ เกื้อหน่วย 18. นายวรวุฒินิลกัณฑ์ 19. นายสุรศักดิ์กลับวุ่น 20. นายวิวัฒน์มุสิกรังษี

    1. ครัวเรือนต้นแบบที่เข้าร่วมกิจกรรมลดรายจ่ายได้จากเดิม จำนวน20 ครัวเรือน -ครัวเรือนต้นแบบที่เข้าร่วมกิจกรรมลดรายจ่ายได้จากเดิม จำนวน20 ครัวเรือน โดยมีกิจกรรมในการปลูกพืชผัก สวนครัว เพื่อไว้กินในครัวเรือนและเลี้ยงไก่ไข่ เพื่อนำไข่กินเองในครัวเรือน ทำให้สามารถลดรายจ่ายในครัวเรือนได้มีจำนวน ครัวเรือนดังนี้
    2. นายจรัญจอมแก้ว
    3. นายโสภณถึงเกื้อ
    4. นายยุวเรศ ทองเนียม
    5. นายสมศักดิ์ชมเชย
    6. นายจักรกฤษ กลับวุ่น
    7. นายธีรภาพหวานแก้ว
    8. นายวันทา ถึงเกื้อ
    9. นายสมเกียรติ อ่อนมาก
    10. นายสุกฤษดิ์ทองเนียม 10.นายอาคม สุวรรณโณ
    11. นายปัญญา ปัญจะเภรี
    12. นายวรวุฒิเกื้อหน่วย
    13. นายอภิวัฒน์สารมานิตย์
    14. นายเอกรัตน์มากมูล
    15. นายวิรัตน์ ทองเนียม
    16. นายมานิตย์มังคะเล
    17. นายธีรศักดิ์ เกื้อหน่วย
    18. นายวรวุฒินิลกัณฑ์
    19. นายสุรศักดิ์กลับวุ่น
    20. นายวิวัฒน์มุสิกรังษี
    21. เกิดกลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มเพื่อการเกษตร กลุ่มส่งเสริมอาชีพเสริม หรือกลุ่มที่ส่งเสริมด้านเศรษฐกิจของหมู่บ้านอย่างน้อย 1 กลุ่ม

    - เยาวชนสามารถทำให้เกิดกลุ่มที่ส่งเสริมด้านเศรษฐกิจของหมู่บ้าน คือกลุ่มเพาะเห็ดฟาง ในหมู่บ้าน จำนวน1 กลุ่ม สามารถทำให้มีอาชีพและรายได้ เพิ่มขึ้น 4. เกิดชุดข้อมูลรายจ่ายและรายได้มวลรวมของหมู่บ้าน - ขับเคลื่อนการดำเนินกิจกรรมร่วมกัน ในการ เก็บข้อมูลรายได้ รายจ่ายในครัวเรือน เพื่อนำมาสรุปและวิเคราะห์ ให้ผู้ที่รายได้น้อย มีหนี้สิน ได้เข้าร่วมในการทำกิจกรรมต่างๆในหมู่บ้านเพื่อลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ในครัวเรือน มีการเก็บข้อมูลของคนในครัวเรือนจำนวน 222 ครัวเรือน มีรายได้ที่ลดลงจากปีที่ผ่านมา เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ราคายางพารา ตกต่ำ รายได้เฉลี่ย ต่อครัวเรือน61,481 บาท รายจ่ายเฉลี่ย ต่อครัวเรือน 45,109บาท หนี้สิน เฉลี่ยต่อครัวเรือน23,730 บาท วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 เพื่อให้เกิดพื้นที่สาธารณในการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชนโดยเยาวชน ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1. เกิดเวทีพูดคุยระหว่างเยาวชน ผู้ปกครองและผู้นำชุมชน - มีการจัดกิจกรรมในการสานสัมพันธ์ครอบครัว ให้ผู้ปกครองและเยาวชนได้ร่วมทำกิจกรรม เพื่อสามารถสร้างความเข้าใจ และมีเวลาว่างในการทำกิจกรรมร่วมกันด้วย 2. เกิดแกนนำเยาวชน - ในการทำกิจกรรมในทุกกิจกรรม แกนนำเยาวชน จะร่วมในการทำกิจกรรมในทุกกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนงานร่วมกัน สามารถทำให้เยาวชนรุ่นพี่ ได้ ดูแลในการดำเนินกิจกรรมต่อไป 3. เกิดพื้นที่สาธารณะเพื่อส่งเสริมสุขภาพในชุมชน เช่น ลานกีฬา - สามารถทำให้ลานกีฬาในชุมชน มีกิจกรรมในการทำร่วมกันที่เป็นประโยชน์ ก่อให้เกิดความเข้าใจ ความรักและความสามัคคี กลมเกลียว เช่นกีฬา สานสัมพันธ์ครอบครัว กีฬา แอโรบิค เปตอง วอลเล่บอล และฟุตบอล วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 เพื่อให้เกิดกติกาของเยาวชนในการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่า ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1. เกิดกติกาของเยาวชนในการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่า - กฎกติกาหมู่บ้าน บ้านผัง 16,18,19,20 หมู่ที่ 8ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนังจังหวัดสตูล กฎกติกาเพื่อนำมาใช้ร่วมกันในหมู่บ้าน มีการประชุมเพื่อให้ชาวบ้านนำเสนอกฎกติกา ในวันที่ 24 ตุลาคม 2558 นั้น ทางหมู่บ้านได้มีการจัดทำ กฎกติกาหมู่บ้าน กฎกติกาต่างๆได้กำหนดขึ้นเพื่อความสงบสุขแก่ส่วนรวมของชาวบ้านผัง 16,18,19,20 หมู่ที่ 8ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนังจังหวัดสตูล ทุกคนจึงใคร่ขอความร่วมมือมายังชาวบ้านทุกคนช่วยกันปฏิบัติตามกฎกติกาต่างๆเหล่านี้โดยเคร่งครัดและช่วยกันดูแล มิให้ผู้ใดกระทำการอันขัดต่อกฎกติกานี้ซึ่งอาจกระทำการไปโดยเจตนาหรือไม่ก็ตามหากพบเห็นกรุณาแจ้งคณะกรรมการหมู่บ้านหรือประธานหมู่บ้านดังนี้ ข้อที่1.ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด 1.1 ผู้ใดหรือครอบครัวใดเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ห้ามเข้าเป็นสมาชิกขององค์กรและกลุ่มต่างๆที่มีอยู่ในหมู่บ้านโดยเด็ดขาด ข้อที่2.ด้านการรักษาความปลอดภัยความสันติสุขในหมู่บ้าน
    2.1 ยิงปืนโดยไม่ได้รับอนุญาตปรับนัดละ 500 บาท 2.1 ขโมยขี้ยางและยางแผ่น ปรับกิโลกรัมละ 500 บาท 2.2 ขโมยลูกปาล์มปรับทะลาย ละ 500 บาท 2.3 ขโมย ไก่ และเป็ด ปรับตัวละ 500 บาท 2.4 ขโมย นก ปรับ 2 เท่าของราคานก ข้อที่3.ด้านการสร้างความสามัคคีและแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างบุคคล 3.1 วัวกินยาง ชั้นละ 500 บาท 3.2 วัวกินปาล์ม ต้นละ 500 บาท 3.3 เขตแดนที่ดิน ต้องเว้นระยะ 1 เมตร ห้ามปลูกต้นไม้กลางแดน แต่สามารถใช้เสาปูนได้ ข้อที่4.ด้านการรักษาทรัพยากรสิ่งแวดล้อม และสิ่งสาธารณะประโยชน์
    4.1 การช็อตปลา และวางยาปลา ปรับไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท 4.2 ผู้ใดทำลายทรัพย์สินของหมู่บ้านเสียหาย ต้องชดใช้เท่ากับทรัพย์สินนั้น 4.3 การทิ้งขยะบริเวณข้างถนนหรือหน้าบ้านตนเองครั้งที่ 1 เมื่อพบเห็นจะขอเตือน ครั้งที่ 2 ปรับ จำนวน 100-300 บาท กรณีพบเห็นสามารถแจ้งคณะกรรมการหมู่บ้านเพื่อให้ดำเนินการ ปรับ 500-1,000 บาท
    ข้อที่5.ด้านเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมกิจกรรมลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ในครัวเรือน 5.1 ครัวเรือนในหมู่บ้าน ต้องมีการปลูกพืชผักสมุนไพร สวนครัว จำนวน 3 ชนิดขึ้นไป ข้อที่ 6 กติกาของเยาวชนคือ 6.1 เยาวชน ต้องมีกิจกรรมร่วมกัน เป็นประจำอาทิตย์ละ1ครั้งเพื่อพัฒนาหมู่บ้าน 6.2 เยาวชนในขุมชนต้องไม่ทะเลาะกัน 6.3 เยาวชนต้องมีอาชีพและรายได้ ต้องไม่มีการว่างงาน 6.4 เยาวชนรุ่นพี่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีแก่รุ่นน้อง 6.5 เยาวชนทุกคนต้องมีจิตสำนึกในการทำความดีเพื่อชุมชน ให้คณะกรรมการหมู่บ้านเป็นผู้ดูแลและบังคับใช้ในการถือปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ของหมู่บ้าน


    1. เกิดเยาวชนกลุ่มสร้างอาชีพ อย่างน้อย1กลุ่ม

    - เยาวชนสามารถทำให้เกิดกลุ่มที่ส่งเสริมด้านเศรษฐกิจของหมู่บ้าน คือกลุ่มเพาะเห็ดฟาง ในหมู่บ้าน จำนวน1 กลุ่ม สามารถทำให้มีอาชีพและรายได้ เพิ่มขึ้น 3. เกิดแผนการพัฒนาเยาวชนของหมู่บ้าน 1 แผน - แผนพัฒนาเยาวชน ดังนี้

    1 สามารถทำให้เกิดแกนนำหมู่บ้านในการขับเคลื่อนกิจกรรมในชุมชน 2 มีสภาผู้นำชุมชนขับเคลื่อนกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายประสบผลสำเร็จอีกระดับ 3 มีกติกาของเยาวชนที่ตกลงร่วมกันในการดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกันภายในชุมชน 4 เยาวชนมีการรวมกลุ่มในการทำกิจกรรมและสร้างความเข้าใจร่วมกันมากขึ้น 5 เยาวชนมีกิจกรรมมีงานทำ มีรายได้ เพิ่มมากขึ้น
    6 เยาวชนมีความกระตื้อรือร้น ในการร่วมกันทำกิจกรรมส่วนร่วมมากขึ้น 7 เยาวชนสามารถใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ โดยการเล่นกีฬามากขึ้น 8 เยาวชน มีกิจกรรมในการทำร่วมกัน ทำให้ไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด 9 โครงการนี้สามารถทำให้มีความประสบความสำเร็จในหลายๆด้าน โดยเฉพาะการประสานงาน ร่วมมือกันในการทำงานเป็นทีม ส่งผลให้การดำเนินงานในทุกกิจกรรมสำเร็จลุล่วงได้ดี 10 คณะทำงานมีการพัฒนาตัวเองมากขึ้น ในการรับผิดชอบในการดำเนินงานร่วมกัน วัตถุประสงค์โดยอ้อม วัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยที่มีผลต่อการแก้ปัญหา เรื่องการพัฒนาคน วัตถุประสงค์ข้อที่ 5 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1.มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด - คณะทำงานมีการเข้าร่วมในการประชุมกับสสส. สจรส.ม.อ.ทุกครั้ง

    1. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม -คณะทำงานมีการติดป้ายปลอดบุหรี่ ในศาลาการประชุมหมู่บ้าน ในการจัดกิจกรรมต่างๆ
    2. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม

    - คณะทำงานมีการถ่ายภาพในกิจกรรมที่จัดในทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด - คณะทำงานมีการจัดทำรายงานกิจกรรมในทุกิกจรรมเสร็จเป็นที่เรียบร้อยเพื่อนำส่งสสส.

     

    100 100

    37. งานสร้างสุขภาคใต้

    วันที่ 3 ตุลาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานได้ข้าร่วมในงานสร้างสุขภาคใต้ เพื่อรับฟังการบรรยายและชมผลงานของกิจกรรมตามโครงการต่างๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    วันที่ 3-5 ตุลาคม 2559  ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา  ตัวแทนคณะกรรมการผู้นำชุมชนโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ประจำปี 2558 (สสส.) ได้เข้าร่วมในงานสร้างสุข ภาคใต้  มีการนำเสนอนวัตกรรมในการสร้างเสริมสุขภาพ และสรุปภาพรวมการดำเนินงานสร้างสุขภาคใต้ บทบาทศูนย์วิชาการ สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ โดย ผศ.ดร.กก.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ  ผอ.สถาบันการจัดการสุขภาพภาคใต้ มีการจัดนิทรรศการ ของศูนย์เรียนรู้จากจังหวัดต่างๆในภาคใต้ สามารถรับฟังความรู้ เพื่อนำไปปฏิบัติปรับใช้ในชุมชน และการนำเสนอผลงานของกิจกรรมต่างๆที่เป็นความรู้ สามารถนำไปปรับใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนต่อไป

     

    2 2

    38. จัดทำรูปถ่าย

    วันที่ 10 ตุลาคม 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานมีการจัดทำรูปถ่ายของกิจกรรมตามโครงการทั้งหมดเพื่อเก็บบันทึกเป็นข้อมูลตามโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานมีการจัดทำรูปถ่ายตามกิจกรรมโครงการ เพื่อเก็บเป็นบันทึก ข้อมูลตามกิจกรรมโครงการได้อย่างถูกต้อง

     

    2 2

    39. จัดทำรายงาน

    วันที่ 13 ตุลาคม 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    พี่เลี้ยง และคณะทำงาน มีการร่วมกันวิเคราะห์สรุปกิจกรรมในการดำเนินงานมาทั้งหมด โดยพี่เลี้ยงมีการแนะนำ เพื่อจัดทำเป็นรายงานและบันทึกกิจกรรมได้ถูกต้อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการร่วมกันวิเคระห์ข้อมูลจากกิจกรรมตามโครงการ คณะทำงานสามารถนำข้อมูลสรุป เพื่อจัดทำรายงานและบันทึกกิจกรรมได้อย่างถูกต้อง วัตถุประสงค์ / เป้าหมาย ตัวชี้วัดความสำเร็จ วัตถุประสงค์โดยตรง วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เพื่อส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมและกลไกลชุมชนเข้มแข็ง ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1. เกิดแกนนำหมู่บ้านในการขับเคลื่อนให้เกิดสภาชุมชน เป้าหมาย จำนวน 20 คน - แกนนำมีการดำเนินขับเคลื่อนงาน จำนวน  20 คน ประกอบ ด้วยผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วย สมาชิกอบต. อสม. กลุ่มสตรี และชุดชรบ. 2. มีสภาชุมชนโดยมีตัวแทนจากเยาวชน เกิดขึ้นในชุมชน มีแกนนำเยาวชน จำนวน  10 คน ขับเคลื่อนงานร่วมกับคณะทำงาน ตามกิจกรรมโครงการ ดังนี้ 1. นายจรัญ  จอมแก้ว 2. นายโสภณ  ถึงเกื้อ 3. นายยุวเรศ  ทองเนียม 4. นายสมศักดิ์  ชมเชย 5. นายจักรกฤษ กลับวุ่น
    6. นายธีรภาพ  หวานแก้ว 7. นายวันทา ถึงเกื้อ 8. นายสมเกียรติ อ่อนมาก
    9. นายสุกฤษดิ์  ทองเนียม 10. นายอาคม  สุวรรณโณ 11. นายปัญญา  ปัญจะเภรี 12. นายวรวุฒิ  เกื้อหน่วย 13. นายอภิวัฒน์  สารมานิตย์ 14. นายเอกรัตน์  มากมูล 15. นายวิรัตน์  ทองเนียม
    16. นายมานิตย์  มังคะเล 17. นายธีรศักดิ์  เกื้อหน่วย
    18. นายวรวุฒิ  นิลกัณฑ์ 19. นายสุรศักดิ์  กลับวุ่น 20. นายวิวัฒน์  มุสิกรังษี 21. นายสุริยา  แสงทอง 22. นายปานชัย  แก้วประดับ 23. นายสมนึก  กาญจนทอง
    24. นายจรัญ  สุวรรณโณ 25. นายวรรณี  นิลกัณฑ์ 26. นายสมศักดิ์ มณีพันธ์
    27. นายเฉวียง    เอียดปู 28. นางสาววรรดี  ปาตังตะโร 29. นายปรีชา    ชูตรี 30. นางสาวฤทัย  อินทรภัณท์ 3. สภาผู้นำชุมชนมีการประชุมทุกเดือน เดือนละ 1 ครั้ง จำนวน 12 ครั้ง - สภาผู้นำชุมชน 20  คน ประกอบ ด้วยผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วย สมาชิกอบต. อสม. กลุ่มสตรี และชุดชรบ. มีการประชุม ในทุกวันที่ 9 ของทุกเดือน เพื่อขับเคลื่อนงานร่วมกัน

    1. แกนนำสภาผู้นำชุมชนเข้าร่วมประชุมสภาร้อยละ 80

    - แกนนำสภาผู้นำชุมชน มีการเข้าร่วมประชุม ร้อยละ 80 ทำให้เยาวชนมีการขับเคลื่อนงานสำเร็จดังนี้ 1 เกิดแกนนำหมู่บ้านในการขับเคลื่อนกิจกรรมในชุมชน 2 สภาผู้นำชุมชนขับเคลื่อนกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายประสบผลสำเร็จอีกระดับ 3 มีกติกาของเยาวชนที่ตกลงร่วมกันในการดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกันภายในชุมชน 4 เยาวชนมีการรวมกลุ่มในการทำกิจกรรมและสร้างความเข้าใจร่วมกันมากขึ้น 5 เยาวชนมีกิจกรรมมีงานทำ มีรายได้ เพิ่มมากขึ้น
    6 เยาวชนมีความกระตื้อรือร้น ในการร่วมกันทำกิจกรรมส่วนร่วมมากขึ้น 7 เยาวชนสามารถใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ โดยการเล่นกีฬามากขึ้น 8 เยาวชน มีกิจกรรมในการทำร่วมกัน ทำให้ไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด 9 โครงการนี้สามารถทำให้มีความประสบความสำเร็จในหลายๆด้าน โดยเฉพาะการประสานงาน ร่วมมือกันในการทำงานเป็นทีม ส่งผลให้การดำเนินงานในทุกกิจกรรมสำเร็จลุล่วงได้ดี 10 คณะทำงานมีการพัฒนาตัวเองมากขึ้น ในการรับผิดชอบในการดำเนินงานร่วมกัน

    1. มีแกนนำเยาวชน ในชุมชน มีส่วนร่วมในกิจกรรม ตามแผน  30 คน ทุกกิจกรรม

    - แกนนำเยาวชน จำนวน  30 คน มีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามกิจกรรมตามแผน ในทุกกิจกรรม สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี โดยมีกิจกรรมตามแผนดังนี้ 1. กิจกรรม ที่ 8  คืนความร่มรื่นลำคลองสะอาดสู่ชุมชน ร่วมกันพัฒนาแหล่งน้ำ ( ครั้งที่ 1 )

    1. กิจกรรม ที่ 8  คืนความร่มรื่นลำคลองสะอาดสู่ชุมชนร่วมกันพัฒนาแหล่งน้ำ ( ครั้งที่ 2 )
    2. กิจกรรม ที่ 8  คืนความร่มรื่นลำคลองสะอาดสู่ชุมชน ร่วมกันพัฒนาแหล่งน้ำ ( ครั้งที่ 3 )
    3. กิจกรรม ที่  6 เยาวชนนำความพอเพียง อบรมการเพาะเห็ดและลงมือปฏิบัติ
    4. กิจกรรม ที่ 7 ร่วมกันรักษาทรัพยากรธรรมชาติ อบรมการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ
    5. กิจกรรม ที่ 9  สร้างความรู้สู่ครอบครัวอบอุ่น จัดกิจกรรมการแข่งขันกีฬาครอบครัว
    6. กิจกรรม ที่ 10 สานสัมพันธ์ครอบครัว สานสร้างพื้นที่ให้เยาวชน จัดกิจกรรมสานสัมพันธ์ในครอบครัว
    7. กิจกรรม ที่ 11 เยาวชนยุคใหม่ ดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่า ร่วมกันสร้างกฎกติกาของเยาวชนในชุมชน
    8. กิจกรรม ที่ 12 กิจกรรมสรุปบทเรียนร่วมกันสรุปกิจกรรมทั้งหมด วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของเด็กเยาวชน ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้และการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ตัวชี้วัดความสำเร็จ
    9. ครัวเรือนต้นแบบที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถเพิ่มรายได้ขึ้นจากเดิม จำนวน  20 ครัวเรือน

    - ครัวเรือนต้นแบบที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถเพิ่มรายได้ขึ้นจากเดิม จำนวน  20 ครัวเรือน โดยครัวเรือนทั้งหมดมีกิจกรรม ในการเพิ่มรายได้ คือ กิจกรรมการปลูกพืขผัก เลี้ยงไก่ไข่ และเลี้ยงปลา เพื่อจำหน่ายทำให้รายได้เพิ่มขึ้น มีครัวเรือนดังนี้ 1. นายจรัญ  จอมแก้ว 2. นายโสภณ  ถึงเกื้อ 3. นายยุวเรศ  ทองเนียม 4. นายสมศักดิ์  ชมเชย 5. นายจักรกฤษ กลับวุ่น
    6. นายธีรภาพ  หวานแก้ว 7. นายวันทา ถึงเกื้อ 8. นายสมเกียรติ อ่อนมาก
    9. นายสุกฤษดิ์  ทองเนียม 10. นายอาคม  สุวรรณโณ 11. นายปัญญา  ปัญจะเภรี 12. นายวรวุฒิ  เกื้อหน่วย 13. นายอภิวัฒน์  สารมานิตย์ 14. นายเอกรัตน์  มากมูล 15. นายวิรัตน์  ทองเนียม
    16. นายมานิตย์  มังคะเล 17. นายธีรศักดิ์  เกื้อหน่วย
    18. นายวรวุฒิ  นิลกัณฑ์ 19. นายสุรศักดิ์  กลับวุ่น 20. นายวิวัฒน์  มุสิกรังษี

    1. ครัวเรือนต้นแบบที่เข้าร่วมกิจกรรมลดรายจ่ายได้จากเดิม จำนวน  20 ครัวเรือน -  ครัวเรือนต้นแบบที่เข้าร่วมกิจกรรมลดรายจ่ายได้จากเดิม จำนวน  20 ครัวเรือน โดยมีกิจกรรมในการปลูกพืชผัก สวนครัว เพื่อไว้กินในครัวเรือน  และเลี้ยงไก่ไข่ เพื่อนำไข่กินเองในครัวเรือน ทำให้สามารถลดรายจ่ายในครัวเรือนได้  มีจำนวน ครัวเรือนดังนี้
    2. นายจรัญ  จอมแก้ว
    3. นายโสภณ  ถึงเกื้อ
    4. นายยุวเรศ  ทองเนียม
    5. นายสมศักดิ์  ชมเชย
    6. นายจักรกฤษ กลับวุ่น
    7. นายธีรภาพ  หวานแก้ว
    8. นายวันทา ถึงเกื้อ
    9. นายสมเกียรติ อ่อนมาก
    10. นายสุกฤษดิ์  ทองเนียม
    11. นายอาคม  สุวรรณโณ
    12. นายปัญญา  ปัญจะเภรี
    13. นายวรวุฒิ  เกื้อหน่วย
    14. นายอภิวัฒน์  สารมานิตย์
    15. นายเอกรัตน์  มากมูล
    16. นายวิรัตน์  ทองเนียม
    17. นายมานิตย์  มังคะเล
    18. นายธีรศักดิ์  เกื้อหน่วย
    19. นายวรวุฒิ  นิลกัณฑ์
    20. นายสุรศักดิ์  กลับวุ่น
    21. นายวิวัฒน์  มุสิกรังษี
    22. เกิดกลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มเพื่อการเกษตร กลุ่มส่งเสริมอาชีพเสริม หรือกลุ่มที่ส่งเสริมด้านเศรษฐกิจของหมู่บ้านอย่างน้อย 1 กลุ่ม

    - เยาวชนสามารถทำให้เกิดกลุ่มที่ส่งเสริมด้านเศรษฐกิจของหมู่บ้าน คือกลุ่มเพาะเห็ดฟาง ในหมู่บ้าน จำนวน  1 กลุ่ม สามารถทำให้มีอาชีพและรายได้ เพิ่มขึ้น 4. เกิดชุดข้อมูลรายจ่ายและรายได้มวลรวมของหมู่บ้าน - ขับเคลื่อนการดำเนินกิจกรรมร่วมกัน ในการ เก็บข้อมูลรายได้ รายจ่ายในครัวเรือน เพื่อนำมาสรุปและวิเคราะห์ ให้ผู้ที่รายได้น้อย มีหนี้สิน ได้เข้าร่วมในการทำกิจกรรมต่างๆในหมู่บ้านเพื่อลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ในครัวเรือน มีการเก็บข้อมูลของคนในครัวเรือนจำนวน 222 ครัวเรือน มีรายได้ที่ลดลงจากปีที่ผ่านมา เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ราคายางพารา ตกต่ำ รายได้เฉลี่ย ต่อครัวเรือน    61,481 บาท รายจ่ายเฉลี่ย ต่อครัวเรือน 45,109  บาท หนี้สิน เฉลี่ยต่อครัวเรือน    23,730 บาท วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 เพื่อให้เกิดพื้นที่สาธารณในการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชนโดยเยาวชน ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1. เกิดเวทีพูดคุยระหว่างเยาวชน ผู้ปกครองและผู้นำชุมชน - มีการจัดกิจกรรมในการสานสัมพันธ์ครอบครัว ให้ผู้ปกครองและเยาวชนได้ร่วมทำกิจกรรม เพื่อสามารถสร้างความเข้าใจ และมีเวลาว่างในการทำกิจกรรมร่วมกันด้วย 2. เกิดแกนนำเยาวชน - ในการทำกิจกรรมในทุกกิจกรรม แกนนำเยาวชน จะร่วมในการทำกิจกรรมในทุกกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนงานร่วมกัน สามารถทำให้เยาวชนรุ่นพี่ ได้ ดูแลในการดำเนินกิจกรรมต่อไป 3. เกิดพื้นที่สาธารณะเพื่อส่งเสริมสุขภาพในชุมชน เช่น ลานกีฬา - สามารถทำให้ลานกีฬาในชุมชน มีกิจกรรมในการทำร่วมกันที่เป็นประโยชน์ ก่อให้เกิดความเข้าใจ ความรักและความสามัคคี กลมเกลียว เช่นกีฬา สานสัมพันธ์ครอบครัว กีฬา แอโรบิค เปตอง วอลเล่บอล และฟุตบอล วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 เพื่อให้เกิดกติกาของเยาวชนในการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่า ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1. เกิดกติกาของเยาวชนในการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่า - กฎกติกาหมู่บ้าน บ้านผัง 16,18,19,20 หมู่ที่ 8  ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง  จังหวัดสตูล กฎกติกาเพื่อนำมาใช้ร่วมกันในหมู่บ้าน มีการประชุมเพื่อให้ชาวบ้านนำเสนอกฎกติกา ในวันที่ 24 ตุลาคม 2558 นั้น ทางหมู่บ้านได้มีการจัดทำ กฎกติกาหมู่บ้าน กฎกติกาต่างๆ  ได้กำหนดขึ้นเพื่อความสงบสุขแก่ส่วนรวมของชาวบ้านผัง 16,18,19,20 หมู่ที่ 8  ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง  จังหวัดสตูล ทุกคน  จึงใคร่ขอความร่วมมือมายังชาวบ้านทุกคน  ช่วยกันปฏิบัติตามกฎกติกาต่างๆ  เหล่านี้โดยเคร่งครัดและช่วยกันดูแล มิให้ผู้ใดกระทำการอันขัดต่อกฎกติกานี้  ซึ่งอาจกระทำการไปโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม  หากพบเห็นกรุณาแจ้งคณะกรรมการหมู่บ้านหรือประธานหมู่บ้าน  ดังนี้ ข้อที่  1.  ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด 1.1 ผู้ใดหรือครอบครัวใดเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ห้ามเข้าเป็นสมาชิกขององค์กรและกลุ่มต่างๆที่มีอยู่ในหมู่บ้านโดยเด็ดขาด ข้อที่  2.  ด้านการรักษาความปลอดภัยความสันติสุขในหมู่บ้าน
    2.1 ยิงปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต  ปรับนัดละ 500 บาท
    2.1 ขโมยขี้ยางและยางแผ่น ปรับกิโลกรัมละ 500 บาท 2.2 ขโมยลูกปาล์ม  ปรับทะลาย ละ 500 บาท 2.3 ขโมย ไก่ และเป็ด ปรับตัวละ 500 บาท 2.4 ขโมย นก ปรับ 2 เท่าของราคานก ข้อที่  3.  ด้านการสร้างความสามัคคีและแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างบุคคล 3.1 วัวกินยาง ชั้นละ 500 บาท 3.2 วัวกินปาล์ม ต้นละ 500 บาท 3.3 เขตแดนที่ดิน ต้องเว้นระยะ 1 เมตร ห้ามปลูกต้นไม้กลางแดน แต่สามารถใช้เสาปูนได้ ข้อที่  4.  ด้านการรักษาทรัพยากรสิ่งแวดล้อม และสิ่งสาธารณะประโยชน์
    4.1 การช็อตปลา และวางยาปลา ปรับไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท 4.2 ผู้ใดทำลายทรัพย์สินของหมู่บ้านเสียหาย ต้องชดใช้เท่ากับทรัพย์สินนั้น 4.3 การทิ้งขยะบริเวณข้างถนนหรือหน้าบ้านตนเองครั้งที่ 1 เมื่อพบเห็นจะขอเตือน ครั้งที่ 2 ปรับ จำนวน 100-300 บาท กรณีพบเห็นสามารถแจ้งคณะกรรมการหมู่บ้านเพื่อให้ดำเนินการ ปรับ 500-1,000 บาท
    ข้อที่  5.  ด้านเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมกิจกรรมลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ในครัวเรือน 5.1 ครัวเรือนในหมู่บ้าน ต้องมีการปลูกพืชผักสมุนไพร สวนครัว จำนวน 3 ชนิดขึ้นไป ข้อที่ 6 กติกาของเยาวชนคือ 6.1 เยาวชน ต้องมีกิจกรรมร่วมกัน เป็นประจำอาทิตย์ละ1ครั้งเพื่อพัฒนาหมู่บ้าน 6.2 เยาวชนในขุมชนต้องไม่ทะเลาะกัน 6.3 เยาวชนต้องมีอาชีพและรายได้ ต้องไม่มีการว่างงาน 6.4 เยาวชนรุ่นพี่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีแก่รุ่นน้อง 6.5 เยาวชนทุกคนต้องมีจิตสำนึกในการทำความดีเพื่อชุมชน ให้คณะกรรมการหมู่บ้านเป็นผู้ดูแลและบังคับใช้ในการถือปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ    ของหมู่บ้าน


    1. เกิดเยาวชนกลุ่มสร้างอาชีพ อย่างน้อย  1  กลุ่ม

    - เยาวชนสามารถทำให้เกิดกลุ่มที่ส่งเสริมด้านเศรษฐกิจของหมู่บ้าน คือกลุ่มเพาะเห็ดฟาง ในหมู่บ้าน จำนวน  1 กลุ่ม สามารถทำให้มีอาชีพและรายได้ เพิ่มขึ้น 3. เกิดแผนการพัฒนาเยาวชนของหมู่บ้าน 1 แผน - แผนพัฒนาเยาวชน ดังนี้

    1 สามารถทำให้เกิดแกนนำหมู่บ้านในการขับเคลื่อนกิจกรรมในชุมชน 2 มีสภาผู้นำชุมชนขับเคลื่อนกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายประสบผลสำเร็จอีกระดับ 3 มีกติกาของเยาวชนที่ตกลงร่วมกันในการดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกันภายในชุมชน 4 เยาวชนมีการรวมกลุ่มในการทำกิจกรรมและสร้างความเข้าใจร่วมกันมากขึ้น 5 เยาวชนมีกิจกรรมมีงานทำ มีรายได้ เพิ่มมากขึ้น
    6 เยาวชนมีความกระตื้อรือร้น ในการร่วมกันทำกิจกรรมส่วนร่วมมากขึ้น 7 เยาวชนสามารถใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ โดยการเล่นกีฬามากขึ้น 8 เยาวชน มีกิจกรรมในการทำร่วมกัน ทำให้ไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด 9 โครงการนี้สามารถทำให้มีความประสบความสำเร็จในหลายๆด้าน โดยเฉพาะการประสานงาน ร่วมมือกันในการทำงานเป็นทีม ส่งผลให้การดำเนินงานในทุกกิจกรรมสำเร็จลุล่วงได้ดี 10 คณะทำงานมีการพัฒนาตัวเองมากขึ้น ในการรับผิดชอบในการดำเนินงานร่วมกัน วัตถุประสงค์โดยอ้อม วัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยที่มีผลต่อการแก้ปัญหา เรื่องการพัฒนาคน วัตถุประสงค์ข้อที่ 5 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด -   คณะทำงานมีการเข้าร่วมในการประชุมกับสสส. สจรส.ม.อ.ทุกครั้ง

    1. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม

    -     คณะทำงานมีการติดป้ายปลอดบุหรี่ ในศาลาการประชุมหมู่บ้าน ในการจัดกิจกรรมต่างๆ 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม - คณะทำงานมีการถ่ายภาพในกิจกรรมที่จัดในทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด - คณะทำงานมีการจัดทำรายงานกิจกรรมในทุกิกจรรมเสร็จเป็นที่เรียบร้อยเพื่อนำส่งสสส.

     

    2 8

    40. แลกเปลี่ยนเรียนรู้และสังเกตโครงการปิดงวด2

    วันที่ 14 ตุลาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานได้ร่วมกับพี่เลี้ยงในการแนะนำ และสรุปการวิคราะห์ข้อมูลจากกิจกรรมตามโครงการทั้งหมด เพื่อได้นำข้อมูลในการจัดทำรายงานและบันทึกกิจกรรมได้อย่างถูกต้อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานได้รับคำแนะนำจากพี่เลี้ยงเพื่อสามารถนำไปเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ สรุปข้อมูล เพื่อจัดทำรายงานและบันทึกกิจกรรมได้อย้่างถูกต้อง วัตถุประสงค์ / เป้าหมาย ตัวชี้วัดความสำเร็จ
    วัตถุประสงค์โดยตรง วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เพื่อส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมและกลไกลชุมชนเข้มแข็ง ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1. เกิดแกนนำหมู่บ้านในการขับเคลื่อนให้เกิดสภาชุมชน เป้าหมาย จำนวน 20 คน - แกนนำมีการดำเนินขับเคลื่อนงาน จำนวน20 คน ประกอบ ด้วยผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วย สมาชิกอบต. อสม. กลุ่มสตรี และชุดชรบ. 2. มีสภาชุมชนโดยมีตัวแทนจากเยาวชน เกิดขึ้นในชุมชน มีแกนนำเยาวชน จำนวน10 คน ขับเคลื่อนงานร่วมกับคณะทำงาน ตามกิจกรรมโครงการ ดังนี้ 1. นายจรัญจอมแก้ว 2. นายโสภณถึงเกื้อ 3. นายยุวเรศ ทองเนียม 4. นายสมศักดิ์ชมเชย 5. นายจักรกฤษ กลับวุ่น
    6. นายธีรภาพหวานแก้ว 7. นายวันทา ถึงเกื้อ 8. นายสมเกียรติ อ่อนมาก
    9. นายสุกฤษดิ์ทองเนียม 10.นายอาคม สุวรรณโณ 11. นายปัญญา ปัญจะเภรี 12. นายวรวุฒิเกื้อหน่วย 13. นายอภิวัฒน์สารมานิตย์ 14. นายเอกรัตน์มากมูล 15. นายวิรัตน์ ทองเนียม 16. นายมานิตย์มังคะเล 17. นายธีรศักดิ์ เกื้อหน่วย 18. นายวรวุฒินิลกัณฑ์ 19. นายสุรศักดิ์กลับวุ่น 20. นายวิวัฒน์มุสิกรังษี 21. นายสุริยาแสงทอง 22. นายปานชัยแก้วประดับ 23. นายสมนึกกาญจนทอง
    24. นายจรัญสุวรรณโณ 25. นายวรรณีนิลกัณฑ์ 26. นายสมศักดิ์ มณีพันธ์
    27. นายเฉวียงเอียดปู 28. นางสาววรรดี ปาตังตะโร 29. นายปรีชาชูตรี 30. นางสาวฤทัยอินทรภัณท์ 3. สภาผู้นำชุมชนมีการประชุมทุกเดือน เดือนละ 1 ครั้ง จำนวน 12 ครั้ง -สภาผู้นำชุมชน 20คน ประกอบ ด้วยผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วย สมาชิกอบต. อสม. กลุ่มสตรี และชุดชรบ. มีการประชุม ในทุกวันที่ 9 ของทุกเดือน เพื่อขับเคลื่อนงานร่วมกัน

    1. แกนนำสภาผู้นำชุมชนเข้าร่วมประชุมสภาร้อยละ 80

    - แกนนำสภาผู้นำชุมชน มีการเข้าร่วมประชุม ร้อยละ 80 ทำให้เยาวชนมีการขับเคลื่อนงานสำเร็จดังนี้ 1 เกิดแกนนำหมู่บ้านในการขับเคลื่อนกิจกรรมในชุมชน 2 สภาผู้นำชุมชนขับเคลื่อนกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายประสบผลสำเร็จอีกระดับ 3 มีกติกาของเยาวชนที่ตกลงร่วมกันในการดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกันภายในชุมชน 4 เยาวชนมีการรวมกลุ่มในการทำกิจกรรมและสร้างความเข้าใจร่วมกันมากขึ้น 5 เยาวชนมีกิจกรรมมีงานทำ มีรายได้ เพิ่มมากขึ้น
    6 เยาวชนมีความกระตื้อรือร้น ในการร่วมกันทำกิจกรรมส่วนร่วมมากขึ้น 7 เยาวชนสามารถใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ โดยการเล่นกีฬามากขึ้น 8 เยาวชน มีกิจกรรมในการทำร่วมกัน ทำให้ไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด 9 โครงการนี้สามารถทำให้มีความประสบความสำเร็จในหลายๆด้าน โดยเฉพาะการประสานงาน ร่วมมือกันในการทำงานเป็นทีม ส่งผลให้การดำเนินงานในทุกกิจกรรมสำเร็จลุล่วงได้ดี 10 คณะทำงานมีการพัฒนาตัวเองมากขึ้น ในการรับผิดชอบในการดำเนินงานร่วมกัน

    1. มีแกนนำเยาวชน ในชุมชน มีส่วนร่วมในกิจกรรม ตามแผน30 คน ทุกกิจกรรม

    - แกนนำเยาวชน จำนวน30 คน มีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามกิจกรรมตามแผน ในทุกกิจกรรม สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี โดยมีกิจกรรมตามแผนดังนี้ 1. กิจกรรม ที่ 8คืนความร่มรื่นลำคลองสะอาดสู่ชุมชน ร่วมกันพัฒนาแหล่งน้ำ ( ครั้งที่ 1 )

    1. กิจกรรม ที่ 8คืนความร่มรื่นลำคลองสะอาดสู่ชุมชนร่วมกันพัฒนาแหล่งน้ำ ( ครั้งที่ 2 )
    2. กิจกรรม ที่ 8คืนความร่มรื่นลำคลองสะอาดสู่ชุมชน ร่วมกันพัฒนาแหล่งน้ำ ( ครั้งที่ 3 )
    3. กิจกรรม ที่6 เยาวชนนำความพอเพียง อบรมการเพาะเห็ดและลงมือปฏิบัติ
    4. กิจกรรม ที่ 7 ร่วมกันรักษาทรัพยากรธรรมชาติ อบรมการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ
    5. กิจกรรม ที่ 9สร้างความรู้สู่ครอบครัวอบอุ่น จัดกิจกรรมการแข่งขันกีฬาครอบครัว
    6. กิจกรรม ที่ 10 สานสัมพันธ์ครอบครัว สานสร้างพื้นที่ให้เยาวชน จัดกิจกรรมสานสัมพันธ์ในครอบครัว
    7. กิจกรรม ที่ 11 เยาวชนยุคใหม่ ดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่า ร่วมกันสร้างกฎกติกาของเยาวชนในชุมชน
    8. กิจกรรม ที่ 12 กิจกรรมสรุปบทเรียนร่วมกันสรุปกิจกรรมทั้งหมด วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของเด็กเยาวชน ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้และการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ตัวชี้วัดความสำเร็จ
    9. ครัวเรือนต้นแบบที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถเพิ่มรายได้ขึ้นจากเดิม จำนวน20 ครัวเรือน

    - ครัวเรือนต้นแบบที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถเพิ่มรายได้ขึ้นจากเดิม จำนวน20 ครัวเรือน โดยครัวเรือนทั้งหมดมีกิจกรรม ในการเพิ่มรายได้ คือ กิจกรรมการปลูกพืขผัก เลี้ยงไก่ไข่ และเลี้ยงปลา เพื่อจำหน่ายทำให้รายได้เพิ่มขึ้น มีครัวเรือนดังนี้ 1. นายจรัญจอมแก้ว 2. นายโสภณถึงเกื้อ 3. นายยุวเรศ ทองเนียม 4. นายสมศักดิ์ชมเชย 5. นายจักรกฤษ กลับวุ่น
    6. นายธีรภาพหวานแก้ว 7. นายวันทา ถึงเกื้อ 8. นายสมเกียรติ อ่อนมาก
    9. นายสุกฤษดิ์ทองเนียม 10.นายอาคม สุวรรณโณ 11. นายปัญญา ปัญจะเภรี 12. นายวรวุฒิเกื้อหน่วย 13. นายอภิวัฒน์สารมานิตย์ 14. นายเอกรัตน์มากมูล 15. นายวิรัตน์ ทองเนียม 16. นายมานิตย์มังคะเล 17. นายธีรศักดิ์ เกื้อหน่วย 18. นายวรวุฒินิลกัณฑ์ 19. นายสุรศักดิ์กลับวุ่น 20. นายวิวัฒน์มุสิกรังษี

    1. ครัวเรือนต้นแบบที่เข้าร่วมกิจกรรมลดรายจ่ายได้จากเดิม จำนวน20 ครัวเรือน -ครัวเรือนต้นแบบที่เข้าร่วมกิจกรรมลดรายจ่ายได้จากเดิม จำนวน20 ครัวเรือน โดยมีกิจกรรมในการปลูกพืชผัก สวนครัว เพื่อไว้กินในครัวเรือนและเลี้ยงไก่ไข่ เพื่อนำไข่กินเองในครัวเรือน ทำให้สามารถลดรายจ่ายในครัวเรือนได้มีจำนวน ครัวเรือนดังนี้
    2. นายจรัญจอมแก้ว
    3. นายโสภณถึงเกื้อ
    4. นายยุวเรศ ทองเนียม
    5. นายสมศักดิ์ชมเชย
    6. นายจักรกฤษ กลับวุ่น
    7. นายธีรภาพหวานแก้ว
    8. นายวันทา ถึงเกื้อ
    9. นายสมเกียรติ อ่อนมาก
    10. นายสุกฤษดิ์ทองเนียม 10.นายอาคม สุวรรณโณ
    11. นายปัญญา ปัญจะเภรี
    12. นายวรวุฒิเกื้อหน่วย
    13. นายอภิวัฒน์สารมานิตย์
    14. นายเอกรัตน์มากมูล
    15. นายวิรัตน์ ทองเนียม
    16. นายมานิตย์มังคะเล
    17. นายธีรศักดิ์ เกื้อหน่วย
    18. นายวรวุฒินิลกัณฑ์
    19. นายสุรศักดิ์กลับวุ่น
    20. นายวิวัฒน์มุสิกรังษี
    21. เกิดกลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มเพื่อการเกษตร กลุ่มส่งเสริมอาชีพเสริม หรือกลุ่มที่ส่งเสริมด้านเศรษฐกิจของหมู่บ้านอย่างน้อย 1 กลุ่ม

    - เยาวชนสามารถทำให้เกิดกลุ่มที่ส่งเสริมด้านเศรษฐกิจของหมู่บ้าน คือกลุ่มเพาะเห็ดฟาง ในหมู่บ้าน จำนวน1 กลุ่ม สามารถทำให้มีอาชีพและรายได้ เพิ่มขึ้น 4. เกิดชุดข้อมูลรายจ่ายและรายได้มวลรวมของหมู่บ้าน - ขับเคลื่อนการดำเนินกิจกรรมร่วมกัน ในการ เก็บข้อมูลรายได้ รายจ่ายในครัวเรือน เพื่อนำมาสรุปและวิเคราะห์ ให้ผู้ที่รายได้น้อย มีหนี้สิน ได้เข้าร่วมในการทำกิจกรรมต่างๆในหมู่บ้านเพื่อลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ในครัวเรือน มีการเก็บข้อมูลของคนในครัวเรือนจำนวน 222 ครัวเรือน มีรายได้ที่ลดลงจากปีที่ผ่านมา เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ราคายางพารา ตกต่ำ รายได้เฉลี่ย ต่อครัวเรือน61,481 บาท รายจ่ายเฉลี่ย ต่อครัวเรือน 45,109บาท หนี้สิน เฉลี่ยต่อครัวเรือน23,730 บาท วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 เพื่อให้เกิดพื้นที่สาธารณในการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชนโดยเยาวชน ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1. เกิดเวทีพูดคุยระหว่างเยาวชน ผู้ปกครองและผู้นำชุมชน - มีการจัดกิจกรรมในการสานสัมพันธ์ครอบครัว ให้ผู้ปกครองและเยาวชนได้ร่วมทำกิจกรรม เพื่อสามารถสร้างความเข้าใจ และมีเวลาว่างในการทำกิจกรรมร่วมกันด้วย 2. เกิดแกนนำเยาวชน - ในการทำกิจกรรมในทุกกิจกรรม แกนนำเยาวชน จะร่วมในการทำกิจกรรมในทุกกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนงานร่วมกัน สามารถทำให้เยาวชนรุ่นพี่ ได้ ดูแลในการดำเนินกิจกรรมต่อไป 3. เกิดพื้นที่สาธารณะเพื่อส่งเสริมสุขภาพในชุมชน เช่น ลานกีฬา - สามารถทำให้ลานกีฬาในชุมชน มีกิจกรรมในการทำร่วมกันที่เป็นประโยชน์ ก่อให้เกิดความเข้าใจ ความรักและความสามัคคี กลมเกลียว เช่นกีฬา สานสัมพันธ์ครอบครัว กีฬา แอโรบิค เปตอง วอลเล่บอล และฟุตบอล วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 เพื่อให้เกิดกติกาของเยาวชนในการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่า ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1. เกิดกติกาของเยาวชนในการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่า - กฎกติกาหมู่บ้าน บ้านผัง 16,18,19,20 หมู่ที่ 8ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนังจังหวัดสตูล กฎกติกาเพื่อนำมาใช้ร่วมกันในหมู่บ้าน มีการประชุมเพื่อให้ชาวบ้านนำเสนอกฎกติกา ในวันที่ 24 ตุลาคม 2558 นั้น ทางหมู่บ้านได้มีการจัดทำ กฎกติกาหมู่บ้าน กฎกติกาต่างๆได้กำหนดขึ้นเพื่อความสงบสุขแก่ส่วนรวมของชาวบ้านผัง 16,18,19,20 หมู่ที่ 8ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนังจังหวัดสตูล ทุกคนจึงใคร่ขอความร่วมมือมายังชาวบ้านทุกคนช่วยกันปฏิบัติตามกฎกติกาต่างๆเหล่านี้โดยเคร่งครัดและช่วยกันดูแล มิให้ผู้ใดกระทำการอันขัดต่อกฎกติกานี้ซึ่งอาจกระทำการไปโดยเจตนาหรือไม่ก็ตามหากพบเห็นกรุณาแจ้งคณะกรรมการหมู่บ้านหรือประธานหมู่บ้านดังนี้ ข้อที่1.ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด 1.1 ผู้ใดหรือครอบครัวใดเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ห้ามเข้าเป็นสมาชิกขององค์กรและกลุ่มต่างๆที่มีอยู่ในหมู่บ้านโดยเด็ดขาด ข้อที่2.ด้านการรักษาความปลอดภัยความสันติสุขในหมู่บ้าน
    2.1 ยิงปืนโดยไม่ได้รับอนุญาตปรับนัดละ 500 บาท 2.1 ขโมยขี้ยางและยางแผ่น ปรับกิโลกรัมละ 500 บาท 2.2 ขโมยลูกปาล์มปรับทะลาย ละ 500 บาท 2.3 ขโมย ไก่ และเป็ด ปรับตัวละ 500 บาท 2.4 ขโมย นก ปรับ 2 เท่าของราคานก ข้อที่3.ด้านการสร้างความสามัคคีและแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างบุคคล 3.1 วัวกินยาง ชั้นละ 500 บาท 3.2 วัวกินปาล์ม ต้นละ 500 บาท 3.3 เขตแดนที่ดิน ต้องเว้นระยะ 1 เมตร ห้ามปลูกต้นไม้กลางแดน แต่สามารถใช้เสาปูนได้ ข้อที่4.ด้านการรักษาทรัพยากรสิ่งแวดล้อม และสิ่งสาธารณะประโยชน์
    4.1 การช็อตปลา และวางยาปลา ปรับไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท 4.2 ผู้ใดทำลายทรัพย์สินของหมู่บ้านเสียหาย ต้องชดใช้เท่ากับทรัพย์สินนั้น 4.3 การทิ้งขยะบริเวณข้างถนนหรือหน้าบ้านตนเองครั้งที่ 1 เมื่อพบเห็นจะขอเตือน ครั้งที่ 2 ปรับ จำนวน 100-300 บาท กรณีพบเห็นสามารถแจ้งคณะกรรมการหมู่บ้านเพื่อให้ดำเนินการ ปรับ 500-1,000 บาท
    ข้อที่5.ด้านเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมกิจกรรมลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ในครัวเรือน 5.1 ครัวเรือนในหมู่บ้าน ต้องมีการปลูกพืชผักสมุนไพร สวนครัว จำนวน 3 ชนิดขึ้นไป ข้อที่ 6 กติกาของเยาวชนคือ 6.1 เยาวชน ต้องมีกิจกรรมร่วมกัน เป็นประจำอาทิตย์ละ1ครั้งเพื่อพัฒนาหมู่บ้าน 6.2 เยาวชนในขุมชนต้องไม่ทะเลาะกัน 6.3 เยาวชนต้องมีอาชีพและรายได้ ต้องไม่มีการว่างงาน 6.4 เยาวชนรุ่นพี่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีแก่รุ่นน้อง 6.5 เยาวชนทุกคนต้องมีจิตสำนึกในการทำความดีเพื่อชุมชน ให้คณะกรรมการหมู่บ้านเป็นผู้ดูแลและบังคับใช้ในการถือปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ของหมู่บ้าน


    1. เกิดเยาวชนกลุ่มสร้างอาชีพ อย่างน้อย1กลุ่ม

    - เยาวชนสามารถทำให้เกิดกลุ่มที่ส่งเสริมด้านเศรษฐกิจของหมู่บ้าน คือกลุ่มเพาะเห็ดฟาง ในหมู่บ้าน จำนวน1 กลุ่ม สามารถทำให้มีอาชีพและรายได้ เพิ่มขึ้น 3. เกิดแผนการพัฒนาเยาวชนของหมู่บ้าน 1 แผน - แผนพัฒนาเยาวชน ดังนี้

    1 สามารถทำให้เกิดแกนนำหมู่บ้านในการขับเคลื่อนกิจกรรมในชุมชน 2 มีสภาผู้นำชุมชนขับเคลื่อนกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายประสบผลสำเร็จอีกระดับ 3 มีกติกาของเยาวชนที่ตกลงร่วมกันในการดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกันภายในชุมชน 4 เยาวชนมีการรวมกลุ่มในการทำกิจกรรมและสร้างความเข้าใจร่วมกันมากขึ้น 5 เยาวชนมีกิจกรรมมีงานทำ มีรายได้ เพิ่มมากขึ้น
    6 เยาวชนมีความกระตื้อรือร้น ในการร่วมกันทำกิจกรรมส่วนร่วมมากขึ้น 7 เยาวชนสามารถใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ โดยการเล่นกีฬามากขึ้น 8 เยาวชน มีกิจกรรมในการทำร่วมกัน ทำให้ไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด 9 โครงการนี้สามารถทำให้มีความประสบความสำเร็จในหลายๆด้าน โดยเฉพาะการประสานงาน ร่วมมือกันในการทำงานเป็นทีม ส่งผลให้การดำเนินงานในทุกกิจกรรมสำเร็จลุล่วงได้ดี 10 คณะทำงานมีการพัฒนาตัวเองมากขึ้น ในการรับผิดชอบในการดำเนินงานร่วมกัน วัตถุประสงค์โดยอ้อม วัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยที่มีผลต่อการแก้ปัญหา เรื่องการพัฒนาคน วัตถุประสงค์ข้อที่ 5 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1.มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด - คณะทำงานมีการเข้าร่วมในการประชุมกับสสส. สจรส.ม.อ.ทุกครั้ง

    1. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม -คณะทำงานมีการติดป้ายปลอดบุหรี่ ในศาลาการประชุมหมู่บ้าน ในการจัดกิจกรรมต่างๆ
    2. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม

    - คณะทำงานมีการถ่ายภาพในกิจกรรมที่จัดในทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด - คณะทำงานมีการจัดทำรายงานกิจกรรมในทุกิกจรรมเสร็จเป็นที่เรียบร้อยเพื่อนำส่งสสส.

     

    7 7

    41. ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่

    วันที่ 15 ตุลาคม 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานมีการจัดทำป้ายปลอดบุหรี่ จำนวน 2 ป้าย เพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการแสดง เขตพื้นที่ปลอดบุหรี่ และระชาสัมพันธ์การงดสูบบุหรี่ ซึ่งทำกิจกรรมไปแล้วในงวดที่ 1 แต่ยังไม่ได้รายงานการใช้เงินในเว็บไซต์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานมีการจัดทำป้ายปลอดบุหรี่ จำนวน 2 ป้าย เพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการแสดง เขตพื้นที่ปลอดบุหรี่ และระชาสัมพันธ์การงดสูบบุหรี่

     

    2 2

    42. ประชุมจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

    วันที่ 15 ตุลาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมจัดทำรายงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้รายงานฉบับสมบูรณ์

     

    2 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมและกลไกลชุมชนเข้มแข็ง
    ตัวชี้วัด : 1. เกิดแกนนำหมู่บ้านในการขับเคลื่อนให้เกิดสภาชุมชน เป้าหมาย จำนวน 20 คน 2. มีสภาชุมชนโดยมีตัวแทนจากเยาวชน เกิดขึ้นในชุมชน 3. สภาผู้นำชุมชนขับเคลื่อนกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายประสบผลสำเร็จได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ร้อยละ 90 4. เยาวชนในชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมตามแผนมากกว่าร้อยละ 60 ทุกกิจกรรม 5. สภาชุมชนมีการประชุมทุกเดือน คิดเป็น ร้อยละ 100

     

    2 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของเด็กเยาวชน ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้และการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
    ตัวชี้วัด : 1. ครัวเรือนเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถเพิ่มรายได้ขึ้นจากเดิม ร้อยละ 60ของครัวเรือน 2. ครัวเรือนเยาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมลดรายจ่ายได้จากเดิม ร้อยละ 60 ของครัวเรือน 3. เกิดกลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มเพื่อการเกษตร กลุ่มส่งเสริมอาชีพเสริม หรือกลุ่มที่ส่งเสริมด้านเศรษฐกิจของหมู่บ้านอย่างน้อย 1 กลุ่ม 4. เกิดชุดข้อมูลรายจ่ายและรายได้มวลรวมของหมู่บ้าน

     

    3 เพื่อให้เกิดพื้นที่สาธารณในการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชนโดยเยาวชน
    ตัวชี้วัด : 1. เกิดเวทีพูดคุยระหว่างเยาวชน ผู้ปกครองและผู้นำชุมชน 2. เกิดแกนนำเยาชน 3. เกิดพื้นที่สาธารณะเพื่อส่งเสริมสุขภาพในชุมชน เช่น ลานกีฬา

     

    4 เพื่อให้เกิดกติกาของเยาวชนในการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่า
    ตัวชี้วัด : 1. เกิดกติกาของเยาวชนในการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่า 2. เกิดเยาวชนกลุ่มสร้างอาชีพ อย่างน้อย 1 กลุ่ม 3. เกิดแผนการพัฒนาเยาชนของหมู่บ้าน1 แผน

     

    5 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
    ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมและกลไกลชุมชนเข้มแข็ง (2) เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของเด็กเยาวชน ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้และการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ (3) เพื่อให้เกิดพื้นที่สาธารณในการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชนโดยเยาวชน (4) เพื่อให้เกิดกติกาของเยาวชนในการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่า (5) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ ผังนิคมเข้มแข็ง เสริมสร้างสุขภาพเด็กเยาวชนอย่างยั่งยืน

    รหัสโครงการ 58-03941 รหัสสัญญา 58-00-1986 ระยะเวลาโครงการ 15 กันยายน 2015 - 15 ตุลาคม 2016

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    เกิดกระบวนการทำงานโดยสภาชุมชน

    การประชุมทุกเดือน

    แกนนำขับเคลื่อนต่อ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่
    • การประชุมสภาผุ้นำ

    รายงานประชุม

    ดำเนินการต่อ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    1 กลุ่มออมทรัพย์

    1. กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียง

    3.กลุ่มเยาวชนสร้างอาชีพ

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

    เกิดครัวเรือนต้นแบบ จำนวน 20 ครัวเรือน

    ภาพถ่าย

    ขยายเพิ่มจำนวนครัวเรือนต้นแบบ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

    มีการออกกำลังกาย การลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ทำให้ความเครียดลดลง

    ลานกีฬาหมู่บ้าน

    ส่งเสริมต่อโดยแกนนำและภาคส่วนร้ฐในพื้นที่

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

    ลานกีฬาหมู่บ้าน

    สถานที่และภาพถ่ายประกอบ

    สนับสนุนต่อเนื่องจากแกนนำหมู่บ้าน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

    การออกกำลังกายทำให้ลดความเครียดและมีการปฏิบัติสัมพันธ์คนในหมู่บ้านทำให้เกิดความเข้าใจกันระหว่างวัยมากขึ้น

    ลานกีฬา

    ส่งเสริมต่อโดยแกนนำและภาคส่วนร้ฐในพื้นที่

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

    เกิดเยาวชนเข้าร่วมสภาหมู่บ้านลดความขัดแย้งในกลุ่มเ่ยาวชน กับวัยผู้ใหญ๋

    รายงานประชุม

    เสริมสร้างศักยภาพเยาวชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

    เกิดกลุ่มออมทรัพย์ทำให้มีการออมเกิดขึ้น

    จำนวนสมาชิกกลุ่มและบัญชีการออม

    ส่งเสริมให้มีความเข้มแข็งดำเนินการเป็นทีม

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    กติกาหมู่บ้านจากการมีส่วนร่วมของชาวบ้านและติดตามในที่ประชุมสภาหมู่บ้าน

    ภายถ่ายกิจกรรม

    ดำเนินการต่อเนื่องโดยแกนนำหมู่บ้าน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

    มาตรการที่เกิดจากกิจกรรมหรือปัญหาในหมู่บ้านและติดตามในที่ประชุมโดยผู้ใหญ่บ้านเป็นแกนนำ

    ภายถ่ายกิจกรรม

    ติดตามมาตรการต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    เกิดการเชื่อมโยงกับหน่วยงานภาครัฐ เช่น เกษตรอำเภอ โรงเรียน ศูนย์ส่งเสริมอาชีพ เป็นต้น

    การดำเนินกิจกรรมกลุ่มต่างๆ

    ส่งเสริมให้กลุ่มสร้างอาชีพและรายได้อย่างเป็นรูปธรรม

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

    แกนนำสามารถเข้าไปของบประมาณโครงการจากแหล่งเงินทุนอื่นๆได้

    ตัวโครงการ

    พัฒนาแกนนำต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

    มีกลุ่มเยาวชนและกลุ่มสภาแกนนำหมู่บ้านดำเนินการต่อเนื่อง

    รายงานการประชุมและภาพถ่ายกิจกรรม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

    จากการถอดบทเรียนทำให้แกนนำเกิดการเรียนรู้และสรุปเป็นเอกสารความรู้ของหมู่บ้านได้ ู

    เอกสารชุดสรุปบทเรียนการดำเนินโครการหมู่บ้าน

    นำความรู้ที่ได้มาใช้ในการดำเนินการกิจกรรมของหมู่บ้านต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

    แกนนำสามารถดำเนินกิจกรรมในโครงสำเร็จไม่เกิดความขัดแย้ง มีความโปร่งใสในการดำเนินงาน

    รายงานปิดงวดและรายงานต่างๆ

    เสริมสร้างศักยภาพแกนนำให้ดำเนินการต่อ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    แกนนำเกิดความภาคภูมิใจ

    จากการถอดบทเรียน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    ผังนิคมเข้มแข็ง เสริมสร้างสุขภาพเด็กเยาวชนอย่างยั่งยืน จังหวัด สตูล

    รหัสโครงการ 58-03941

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นาย สุรชัย เกื้อหน่วย )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด