directions_run

คุณค่าเด็กแว็นซ์ ที่บ้านปากคลองวัดแดง(ต่อยอดปี2)

assignment
บันทึกกิจกรรม
พบพี่เลี้ยงเพื่อทำรายงานปิดโครงการ13 ตุลาคม 2559
13
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย srilai2557
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมการประชุมจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์เพื่อปิดโครงการโดยในวันนีได้เดินทางมาที่ รพ.สต.เขาพระบาทเพื่อมาทำรายงานฉบับสมบูรณ์ เพื่อเตรียมปิดโครงการโดยวันนี้ได้ตรวจเช็คเอกสารด้านการเงินการบันทึกข้อมูลในเว็ปไซต์บันทึกข้อมูลกิจกรรมต่างๆ รายละเอียดของกิจกรรมการบันทึกรูปในเวปไซต์ให้ครบถ้วนสมบูรณ์และก็ให้พี่เลี้ยงได้ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร และข้อมูลในเว็ปไซต์

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1.มีผู้เข้าารร่วมกิจกรรม 2 คน 2.มีรายงานฉบับสมบูรณ์ เพื่อเตรียมปิดโครงการ

ผลลัพธ์ 1.สามารถจัดทำเอกสารและหลักฐานทางการเงินได้ถูกต้อง 2.สามารถปิดโครงการและสรุปผลการดำเนินงานได้

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 3 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 3 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

พบพี่เลี้ยงเพื่อสรุปผลและปิดรายงานโครงการ12 ตุลาคม 2559
12
ตุลาคม 2559รายงานจากพี่เลี้ยง โดย yongyut
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามเยี่ยมโครงการและปิดเอกสารโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้ตัวแทนโครงการ 3 คน พบพี่เลี้ยง เพื่อนำเอกสารมาตรวจสอบ และสรุปผลการดำเนินงาน ดังนี้ 1.ตรวจเอกสารตามกิจกรรม พบว่าต้องมีการแก้ไข เพิ่มเติมรายละเอียดการดำเนินงาน 2.ตรวจภาพถ่ายในการดำเนินงาน แนะนำให้ไปโหลดภาพถ่ายเพิ่ม และการทำกิจกรมแต่ละครั้ง สามารถทำเป็นกลุ่มย่อยๆได้
3.เอกสารทางการเงิน หลักฐานยังไม่ถูกต้องให้เขียน รายจ่ายแต่ละครั้งให้ละเอียด 4.ตรวจสอบสมุดบัญชี พบว่า ได้ถอนเงินออกจากบัญชีแล้ว
5.ดำเนินการปรับข้อมูล ในแผนภาพ รายละเอียดโครงการ และเคลียร์กิจกรรมการใช้เงินให้ถูกต้อง 6.ปิดรายงาน ง.1 และ ง.2 7.สรุปบทคัดย่อเพื่อจัดทำรายงาน ส.3

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1.ตัวแทนคณะทำงานพบพี่เลี้ยง เพื่อตรวจสอบเอกสาร 3 คน 2.มีการปรับปรุงแก้ไขเอกสารและบันทึกออนไลน์

ผลลัพธ์ 1.จัดทำสรุปรายงานตามกิจกรรมและบทคัดย่อ สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ 2.หลักฐานการใช้จ่ายเงินเป็นไปตามกิจกรรมตามที่กำหนด 3.สามารถปิดงวดรายงาน ง.1ง.2 และ ส.3 ได้

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 3 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน  3  คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ให้นำหลักฐานไปพบพี่เลี้ยงสจรส. รอบสุดท้ายเพื่อส่งเอกสาร ที่ ม.วลัยลักษณ์ ในวันที่ 14 - 15 ต.ค.2559 เพื่อตรวจเอกสารปิดโครงการ

งานสร้างสุขภาคใต้3 ตุลาคม 2559
3
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย srilai2557
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อร่วมงานสร้างสุขภาคใต้

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันจันทร์ ที่ 3 ตุลาคม 2559 12.00 - 13.00 น. การแสดงโขน ตอน ศึกพรหมาสตร์ ศูนย์ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พิธีเปิด การร่วมกันร้องเพลงชาติไทย 13.00 - 13.10 น. กล่าวต้อนรับ โดย นายทรงพลสวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา 13.10 - 13.30 น. กล่าวเปิดโดย นายแพทย์วีระพันธ์สุพรรณไชยมาตร์ รองประธานคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ 13.30 - 15.00 น. ปาฐกถา เรื่อง “บทบาทของประเทศไทยในการเป็นผู้นำการพัฒนานวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพในภูมิภาคอาเซียน”โดย นายอภิสิทธิ์เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี 15.00 - 15.30 น. รายงานสุขภาวะคนใต้ สรุปภาพรวมการดำเนินงานสร้างสุขภาคใต้ปีที่ผ่านมา โดย ผศ.ดร.ภก.พงค์เทพสุธีรวุฒิ ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ (สจรส.ม.อ.) 15.30 - 17.00 น. เสวนา “มุมมองใหม่ในการพัฒนาระบบสุขภาพในอนาคต” โดย ผศ.ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนี นายพงษ์ศักดิ์ยิ่งชนม์เจริญนายกเทศมนตรีนครยะลา นายทวีวัตรเครือสาย ตัวแทนภาคประชาสังคมจังหวัดชุมพร นายแพทย์ยอร์นจิระนครสาธารณสุขนิเทศก์ เขตสุขภาพที่ ๑๒ ผู้ดำเนินรายการเสวนา : นายแพทย์บัญชาพงษ์พานิช 18.00 - 20.00 น. ลานปัญญาสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม วันอังคาร ที่ 4 ตุลาคม 2559 08.00 - 09.00 น. ลานปัญญาสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม 09.00 - 12.00 น.การประชุมห้องย่อย 1. การพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม พื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ 2. การท่องเที่ยวชุมชนเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ 3. กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น 4. สานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่ สู่นโยบายสาธารณะ 5. ความมั่นคงทางมนุษย์ : การลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ • 09.00 - 12.00 น.การนำเสนอผลงานวิชาการ ห้องนำเสนอผลงานวิชาการกลุ่ม 1 ห้องนำเสนอผลงานวิชาการของชุมชน เรื่องเล่าเร้าพลังลานสื่อสร้างสุข 12.00 - 14.00 น. ลานปัญญาเสวนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรม ลานศาลาเรือนไทย 14.00 - 17.00 น. การประชุมห้องย่อย 1. การพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม พื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ (ต่อ) 2. ความมั่นคงทางอาหาร 3. กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น (ต่อ) 4. สานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่ สู่นโยบายสาธารณะ (ต่อ) 6.การพัฒนาเด็ก เยาวชนและครอบครัว 7.ระบบสุขภาพการแพทย์พหุวัฒนธรรม 14.00 - 17.00 น. การนำเสนอผลงานวิชาการ ห้องนำเสนอผลงานวิชาการกลุ่ม 1 (ต่อ) ห้องนำเสนอผลงานวิชาการกลุ่ม 2 (ต่อ) ห้องนำเสนอผลงานวิชาการของชุมชน เรื่องเล่าเร้าพลัง (ต่อ) 18.00 - 21.00 น. ลานปัญญาเสวนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรม ซึ่งในวันนี้ก็ได้เข้าร่วม การประชุมห้องย่อย สานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่สู่นโยบายสาธารณะ โดยในเวลา 09.00 น. เริ่มกิจกรรม เริ่มด้วยการร่วมสนุกเต้นเพลงchicken dance ร่วมกันก่อน และหลังจากนั้น ก็ได้มีการเสวนา ในหัวข้อเรื่อง สานพลังชุมชนน่าอยู่สู่นโยบายสาธารณะ โครงการสร้างคนรักษ์สิ่งแวดล้อมที่บ้านทุ่งยาวตำบลโคกม่วงอำเภอเขาชัยสนจังหวัดพัทลุงซึ่งจากปัญหาในหมู่บ้านในเรื่องวิกฤติภัยแล้งทำฝาย ปลูกป่า ขยะ ไฟไหม้ป่าซึ่งจะใช้ฐานข้อมูลพื้นที่กำหนดทิศทางในการทำงาน ซึ่งคนในชุมชนมีส่วนร่วมกัน มีการแบ่งภาระงานเป็นหุ้นส่วน ร่วมกันทำงานในชุมชน ซึ่งมีโครงการจาก สสส เป็นฐานโดยมีอบต. สนับสนุนงบ ประมาณและนักวิชาการ ช่วยเสริม หัวหน้าสำนักปลัด นวก.สาธารณสุขจนท.อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (ทสจ.) ราชการช่วยจัดการขยะซึ่งจะทำให้ตื่นตัวมากขึ้นซึ่งมีปัจจัยแห่งความสำเร็จโดยการมีผู้นำ ซึ่งนำแบบมีส่วนร่วม ใช้ความรู้ เกิดความร่วมมือ แบ่งภารกิจ และการหนุนเสริมข้อมูลเด่นเฉพาะชุมชน คือ มีพื้นที่ป่าสงวนเต็มพื้นที่ โดยการกำหนดกติกาชุมชน คือ ใช้พื้นที่แล้วต้องปลูกป่าเพิ่ม กันเขตพื้นที่ เป็นพื้นที่ฟื้นฟูมีการเชื่อมโยงเครือข่าย จาก ทสม. (อาสาจัดการทรัพยากรและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม) ภาควิชาการ (มอ.ปัตตานี ม.ทักษิณ) หลังจากจบการเสวนาก็ ชม การแสดงโขนคนตอน เชิดพระอิศวร 10.10 น. นำเสนอกรณีศึกษาประเด็นการคัดแยกขยะโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่บ้านห้วยลึกจัดการขยะชุมชนตำบลทรายขาวอำเภอคลองท่อมจังหวัดกระบี่ 10.30น. นำเสนอกรณีศึกษาประเด็นเศรษฐกิจพอเพียงโครงการแหลมยางนาพึ่งพาเศรษฐกิจพอเพียงตำบลตะโกอำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร 11.50น.นำเสนอกรณีศึกษาประเด็นเด็กและเยาวชนโครงการปันตงสร้างสุขบ้านสี่แยกวัดโหนดตำบลโพธิ์ทอง อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 11.20 น. ผู้ทรงคุณวุฒิให้คำแนะนำการขับเคลื่อนชุมชนสู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย 14.00 น. นำเสนอกรณีศึกษาประเด็นการจัดการทรัพยากรและการท่องเที่ยวโครงการการจัดการท่องเที่ยววิถีชุมชน บ้านท่าฉัตรชัยตำบลนาท่อม ตำบลไม้ขาวอำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต 14.20 น.นำเสนอกรณีศึกษาประเด็นการจัดการสุขภาพและอาหารปลอดภัยโครงการชุมชนหูยานบ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเองตำบลนาท่อมอำเภอเมืองจังหวัดพัทลุง 14.40 น. ผู้ทรงคุณวุฒิให้คำแนะนำการขับเคลื่อนชุมชนสู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย 15.30 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่ สู่การยกระดับเชิงนโยบายโดย อ.กำไล สารักษ์ และ อ.สุวิทย์ เมื่อเสร็จกิจกรรมการเสวนาแลกเปลี่ยนกันก็คนที่เข้าร่วมกิจกรรมในห้องประชุมย่อยก็ได้มาจับมือร่วมกันเป็นวงกลม และร้องเพลงศรัทธาร่วมกัน วันพุธที่ 5 ตุลาคม 2559 08.00 - 09.00 น. ลานสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม ลานศาลาเรือนไทย 09.00- 10.30 น. สรุปข้อเสนอเพื่อการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพของภาคใต้ 10.30 - 11.75 น. เสวนาเรื่อง “การขับเคลื่อนระบบสุขภาพของประเทศไทยสู่การเป็นผู้นำภูมิภาคอาเซียน”โดยนายแพทย์ศักดิ์ชัยกาญจนวัฒนารักษาการเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ผู้จัดการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ นายแพทย์พลเดชปิ่นประทีป เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ รศ.ดร.วิลาสินีพิพิธกุล รองผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยสถานีโทรทัศน์ (TPBS)ผู้ดำเนินการอภิปราย นางสาวณาตยา แวววีรคุปต์ ๑๑.๔๕ - ๑๒.๐๐ น. พิธีปิด


ข้อเสนอเพิ่มเติมจากการประชุมห้องย่อย สานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่สู่นโยบายสาธารณะ 1.การสื่อสารให้เข้าถึงพื้นที่ รู้จัก สสส. 2.สสส.ควรทำงานร่วมกับโรงเรียนให้มากขึ้น ถ้าเข้าถึง เยาวชนได้มาก เขาจะรู้จัก สสส.ตั้งแต่ยังเล็ก ปลูกฝังความคิด จิตสาธารณะ ตอนนี้ทางโรงเรียนต้องการคนชี้นำสสส.คิดอะไรเพื่อเด็กและเยาวชนหลายอย่าง เขาไม่รุ้ว่าใครทำอย่างไรให้ถึงโรงเรียนและทำให้ได้สมาชิกคนใหม่ และเด็กๆ ที่จะสืบทอด 3.การลงไปประชาสัมพันธ์ ลงไปยังพื้นที่ องค์กรเชื่อว่าหลายหมู่บ้าน ชุมชน ยังมีความต้องการวันนี้เป็นนิมิตหลายอันดี ที่ สสส.ซึ่งเป็นองค์กรอิสระ และวันนี้สำคัญถ้าเราทำงานเชิงรุก ประชาสัมพันธ์ ทำให้ประชาชนได้รุ้จัก สสส. (การสร้างคนรุ่นใหม่ คนรุ่นเยาว์เป็นการปลูกฝังตั้งแต่เด็ก) 4.อยากเติมเต็มโครงการ สสส. ทำภายใต้เทคโนโลยี ไอทีหลายหมู่บ้านอยากทำเพราะเป็นโครงการที่ดี เขาทำได้ แต่ปัญหาเขาขาดผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีอาจจะให้เขาได้เข้ามาเสนอ และหาคนรุ่นใหม่ มาอบรม เติมเต็มทางด้านนี้ เพื่อใช้ในการทำเครื่องมือรายงาน การวัดผล สรุปข้อเสนอเพื่อการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพของภาคใต้ 3. ข้อเสนอจากห้องสานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่สู่นโยบายสาธารณะ ข้อเสนอ สสส. - ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดกลไก ขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาศักยภาพผู้นาชุมชนเพื่อสร้างชุมชนน่าอยู่ เช่น สนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้นาชุมชนและองค์กรในท้องถิ่น ให้สามารถขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่ได้อย่างต่อเนื่อง - เพิ่มการสื่อสารและช่องทางการประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนได้เข้าถึงแหล่งทุนให้มากขึ้น - สนับสนุนให้เกิดการสร้างกลไกพี่เลี้ยงเพื่อหนุนเสริมให้ชุมชนมีศักยภาพนาไปสู่การสร้างชุมชนเข้มแข็ง - สสส. เป็นองค์กรกลางประสานความร่วมมือระหว่างเครือข่าย เพื่อให้เกิดการขยายผลในระดับนโยบาย เพื่อยกระดับการขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่ สช. - เปิดโอกาสให้ชุมชนที่ดาเนินงานชุมชนน่าอยู่ ได้เข้ามาร่วมในกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะ เพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม - นาบทเรียนและข้อมูล องค์ความรู้ และคณะทางานจากโครงการชุมชนน่าอยู่ มายกระดับสู่การขับเคลื่อนเชิงนโยบายสาธารณะ ในประเด็นที่สอดคล้องกับการพัฒนาสุขภาวะชุมชน สปสช. - ให้กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น จัดสรรงบประมาณให้กับชุมชนที่ดาเนินงานตามแนวทางของชุมชนน่าอยู่เพื่อพัฒนายกระดับจากพื้นที่สู่ตำบล - กำหนดสัดส่วนคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นให้มีตัวแทนของผู้นาชุมชนที่ขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่ได้สำเร็จ - กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาโครงการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชนให้มีแนวทาง เพื่อพัฒนาและร่วมเป็นภาคีเครือข่ายได้มากขึ้น กระทรวงสาธารณสุข - กำหนดให้หน่วยบริการสุขภาพ ดาเนินงานสร้างเสริมสุขภาพร่วมกับชุมชนมากขึ้น โดยกำหนดตัวชี้วัดชุมชนน่าอยู่ในมาตรฐานการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล - ส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรสาขาสุขภาพมีความเข้าใจ และ มีความร่วมมือกับชุมชน ในการขับเคลื่อนงาน สถานีโทรทัศน์ ไทยพีบีเอส - สนับสนุนให้มีการประชาสัมพันธ์ แนวทางการดาเนินงานชุมชนน่าอยู่ให้ทั่วถึงในระดับชุมชนท้องถิ่น - นาเสนอบทเรียนพื้นที่ตัวอย่าง ดาเนินงานชุมชนน่าอยู่ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ การพัฒนา กลุ่มผู้นาชุมชนให้มีกลไกการดาเนินงานสร้างชุมชนเข้มแข็ง - สนับสนุนให้เกิดช่องทางการสื่อสาร เพื่อประชาสัมพันธ์นวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์ชุมชนน่าอยู่ ให้ถึงทั่วถึงในระดับท้องถิ่น และสื่อสารให้สังคมได้เห็นกระบวนการขับเคลื่อนชุมชนอย่างเป็นระบบ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมาก 2.ได้ศึกษาเรียนรู้กันหลายกิจกรรม 3.ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน

ผลลัพธ์ 1.กลุ่มเป้าหมายได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน 2.ได้สร้างเครือข่ายกันระหว่างกลุ่มเป้าหมาย 3.ได้แนวคิดในการจัดทำแผนชุมชนต่อไป

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธ สุขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เยี่ยมติดตามโครงการ งวดที่ 330 กันยายน 2559
30
กันยายน 2559รายงานจากพี่เลี้ยง โดย yongyut
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามเยี่ยมโครงการและสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้พี่เลี้ยงได้มาสรุปและติดตามการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ และให้ทุกคนได้เล่า

พี่ศรีลัย เล่าว่า "รณรงค์เรื่องหมวกกันน้อคชับรถยอ้นศรการปรับภูมิทัศน์ให้ปลอดภัย จากป่าที่รกทำให้เตียนไปทำกิจกรรมกับนักรเยนในโรงงเรียนให้รู้กฎ จราจร" พี่มนัส บอกว่า "กิจกรรมทำไป แล้ว คนในชุมนรู้รักสามัคคี ลดอุบัติแหตุได้มาก ไม่มีการตาย ไม่มีการบาดเจ็บ"
น้าคิ่น บอกว่า "ได้ดีมาก ลดอุบัติเหตุได้มากคนเข้าใจมากขึ้นบางคนคนขับไม่ใส่ แต่คนซ้อน ก็ต้องใส่ มีการพูดคุยกันทุกวัน มีการรณรงค์กันทุกวัน" อุทุมพรบอกว่า "ประชาชนใส่หมวกเพิ่มขึ้น ไม่มีการย้อนศร" กมล เล่าว่า "คนในชุมชนติดนิสัย เปลี่ยนนิสัยตนเอง เมื่อรณงค์แล้ว ทำให้คนปรับพฤติกรรมการใช้หมวกันน้อคเดิมตนเองไม่ชอบกางหมวก วันนี้กางแล้ว ขับไปไหนไม่ใส่หมวก รู้สึกไม่ดีเลย จึงต้องสวมตลอด พี่จำเป็น บอกว่า "ลดอุบัติเหตุได้มาก คนไม่ค่อยย้อนศรอุบัติเหตุบางเดือนไม่มีเลย ปีนี้มีเพียง 2-3 รายเลย เปรียบเทียบกับพื้นที่อื่นๆแล้ว เรามีอุบัติเหตุน้อยมาก" น้องเบียร์เล่าว่า " ไม่มีคนตายเลย ลดการสูญเสีย ไม่มีเสียค่าใช้จ่าย ทำให้เรามีเวลาไปดูแลเรื่องอื่นมากขึ้นทำให้คนเราไม่ประมาทมากขึ้น"
ประคองบอกว่า "ครอบครัวมีความสุข ลดอุบัติเหตุ ไม่ต้องเสียเงิน ไม่เสียเวลาที่ต้องไปนั่งเฝ้าคนที่โรงพยาบาล"
วิลัย บอกว่า "ตอนนี้คนขับรถย้อนศร น้อยลง"
น้าสาครบอกว่า "ตอนนี้เด็กนักเรียน ผู้ปกครอง มีการสวมหมวกกันน้อค ตั้งแต่ประชุมในโรงเรียน พบว่านักเรียน ผู้ปกครอง ก็สวมหมวก" พี่บัญญํติ เล่าว่า "ประชาชนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสวมหมวก การลดอุบัติเหตุในทางที่ดีขึ้น" พี่สมพงศ์ บอกว่ "ขายของตรงนั้น บริเวณทางแยก ทำให้เห็นว่า ย้อนศรน้อย จากเดิมวันละ 20 ราย ตอนนี้ย้อนศร เหลือไม่เกิน 4- 5 ราย ไหม บอกว่า "เด็กนักเรียน พอออกจากโรงเรียน ยกล้อ ซิ่งตอนนี้ ได้เข้าไปพูดคุย ตักเตือน พบว่าเด็กก็ไม่ทำพฤติกรรมเหล่านี้ ได้พูดคุย2 คน แต่ก็มีการขยายผลไปยังเพื่อนๆ ทำให้หยุดกิจกรรม"
อรอุมา บอกกับทีมงานว่า "เดิมที่หน้าโรงเรียนวัดแดง คนขับรถความเร็วลดลง เดิมขับอย่างเร็ว ซิ่ง เพราะมีสัญญาณเตือน มีการสีเส้น มีการกำจัดความเร็ว" น้าทิน เล่าว่า "เหตุการณ์เรื่องอุบัติเหตุดีขึ้น ประชาชนไม่เกิดอุบัติเหตุการขับรถซิ่ง การขับแวนซ์ ก็น้อยลง"
น้องโอ๋บอกว่า "สุขภาพจิตดีขึ้น ไม่ต้องนอนฟังเสียงรถซิ่ง เดิมมีรถซิ่งทุกคืน ตอนนี้หายไปเกือบทังหมด สภาพแวดล้อมดีขึ้นไม่ต้องตกใจ เพราะอยู่บริเวณทางแยก ไม่ต้องมาทนดูคนบาดเจ็บ คนเกิดอุบัติเหตุ เวลาเกิดเหตุ ทุกครั้งต้องสะดุ้ง ต้องฟังเสียหวอ สุขภาพจิตเสีย เพราะอยู่ตรงยูเทิร์นพอดี
ประเสริฐ เล่าว่า "ผมใส่หมวกกันน้อคมานาน อุบัติเหตุน้อยลง" ้น้าสมหมาย บอกว่า "ดีขึ้นมากเลย การป้องกันหมวกกันน้อค เดิมที่สภาเป็นแกงค์เด็กๆ ตอนนี้เงียบ ดีขึ้นไม่มีรถซิ่ง"
น้องคีย์ ธัญญวัลย์ บอกให้ฟังว่า "ตอนนี้ลดการทะเลาะวิวาทของวัยรุ่นได้มาก เพราะเวลารถชนก็จะมีการเถียง ทะเลาะวิวาท กัน ตอนนี้เหตุการณ์แบบนี้ไม่มีเลย ทำให้วัยรุ่นรักกัน" น้องโสดญ.โสรวรรณ บอกว่า "ทำให้อุบัติเหตุน้อยลง ทำให้คนสวมหมวกกันน้อคมากขึ้น"
ดญ.สไลมล บอกว่า "ตอนนี้ที่บ้านไปรับส่ง ยังไม่สวมหมวกกันน้อคแต่คนอื่นๆได้ใส่ ได้ขอร้องให้คุณตาสวมหมวก เวลาไปรับที่โรงเรียน" ดญ.ชัชฎาภรณ์ บอกว่า "หลังจากที่โรงเรียนได้ทำกิจกรรมปลอดอุบัติเหตุ ที่โรงเรียนวัดแดง เด็กโรงเรียนวัดแดง สวมหมวกกันน้อคเกือบทุกคนที่ผู้ปกครองมาส่ง และผู้ปกครองก็ใส่หมวกกันน้อค ผู้ปกครองเปลี่ยนแปลงประมาณ ร้อยละ 80"
นส.กนกวรรณ เล่าว่า "ทำให้คนสวมหมวกกันมากขึ้น เดิมไปโรงเรียนไม่ค่อยสนใจ ไม่กางหมวก แม่เตือนตลอดเวลา ทำให้ตนเองต้องสวมหมวกกันน้อค"
นายณัฐพงศ์ บอกว่ "ตอนนี้ไม่ค่อยเห็นคนเจ็บ ไม่เห็นคนตาย เพราะคนสวมหมวกกันน้อค ไม่ประมาท" ดช.พงศธร บอกว่า "เมื่อก่อนไปโรงเรียน ไม่สวม ชอบซิ่ง ทุกวันนี้ต้องสวม เพราะต้องการความปลอดภัย ไม่อยากเสียชีวิต ที่ได้ทำเพราะโครงการชักชวน แนะนำ ทำให้เห็นความสำคัญ" ดช.กฤตเมธ บอกว่า "ได้ลดอุบัติเหตุมาก ในชุมชนเมื่อก่อนรถชนกันเยอะ ตอนนี้เราพบว่าเกิดน้อยมาก"

ผลที่เห็นชัดเจนโครงการนี้ -อุบัติเหตุจากเดิม เดือนละ 2 – 3 ครั้ง ตอนนี้ไม่มีเลย -ในรอบปีนี้ เกิดเพียง 1 ครั้ง ไม่มีการสูญเสียมีบาดเจ็บเล็กน้อย -ประชาชนเปลี่ยนนิสัย ไม่ชอบสวมหมวก ตอนนี้ติด พอจับรถ ก็สวมทันทีเปลี่ยนแปลงประมาณร้อยละ 90 -บางครั้งสวมบ้าง บางครั้งก็ไม่สวม แต่จากการสำรวจ มีหมวกกันน้อคทุกคัน
-ตอนนี้ขับย้อนศร ลดน้อยลงมาก ประมาณร้อยละ 80 -ขับรถซิ่ง แข่งรถซิ่ง มีบางช่วง เดือนละ 1 ถึง 2 ครั้ง จากเดิมแข่งรถทุกวัน

ทุกคนเสนอว่า ไม่อยากให้หยุด เพราะถ้าหยุดทำแล้ว จะเกิดอะไร
- เมื่อหยุดโครงการแล้ว คนก็ยังสมหมวกอยู่ตลอดเวลา เพราะเกิดความเคยชิน มีจิตสำนึกแล้ว -แต่ต้องรณรงค์ต่อเนื่อง


ปัญหาอุปสรรค -เดิมคนทำเฉย เพราะไม่ยอมรับ เตือนเท่าไรก็ไม่สนใจ เพราะคิดว่าไม่ใช่เรื่องของตนเอง
-พอมีตำรวจเข้ามาด้วย ก็เปลี่ยนพฤติกรรม เพราะไม่อยากให้ถูกปรับ พอสวมทุกวัน ติดเป็นนิสัย -คนไม่อยากทำ เพราะร้อน
-ประชุมไม่มา เพราะไม่เห็นความสำคัญ ไม่เห็นด้วย เพราะคิดว่าทำเรื่องง่ายๆ -ตอนรณรงค์แรกๆ คนไม่ยอมรับ เพราะไม่เห็นว่าทำแล้วได้อะไร

สรุป
-ทุกคนยืนยันว่าโครงการนี้ดี ยอมรับร้อยละ 95 -ถ้าจะทำโครงการต่ออีก ทุกคนยินดี
-ยินดีพัฒนาต่อเนื่อง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การเปลี่ยนแปลง มีเหตมาจาก -คนเปลี่ยนแปลงเพราะมีการกระตุ้น ผ่านประชาสัมพันธ์ -อดีตคนตายหลายคน ภาพนี้ทำให้เกิดความติดตา ไม่อยากเกิดซ้ำ -ช้ไวนิล มีการติดประชาสัมพันธ์ต่อเนื่อง -มีการบอกต่อ ชวน พูดคุยกันปากต่อปาก -เป็นข้อตกลงของหมู่บ้าน เลยมีการชักชวน -คนที่ไม่สวมหมวก พอถูกเตือน เกิดความรำคาญ -ตอนนี้คนที่ไม่ใส่ กลับมาใส่ เพราะอายเพื่อนหลายๆ สวม ตัวเองไม่สวม จึงต้องเปลี่ยนแปลง


ปัจจัยทำให้สำเร็จ 1.ความร่วมมือของทุกคน ตั้งแต่เด็ก เยาวชน โรงเรียน ผู้นำและทุกภาเครือข่าย 2.มีการประชาสัมพันธ์ต่อเนื่อง 3.ให้ความสำคัญกับทุกคน และมีการกระตุ้นเตือนเสมอ 4.แกนนำ ทำเป็นตัวอย่างให้เด็กๆ เห็น

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 10 คน จากที่ตั้งไว้ 10 คน
ประกอบด้วย

พี่เลี้ยง และคณะทำงาน 10 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

กิจกรรมดังกล่าว ทำให้เกิดการรวมต่อของประชาชนในพื้นที่ได้มากขึ้น และเกิดกลุ่ม ในการร่วมกันรณรงค์ให้สวมหมวกกันฯ้อค มีกติกาของหมู๋บ้าน และโรงเรียน เสนอแนะให้นำกิจกรรมไปบอกกลุ่าวหน่วยงานต่างๆ เพื่อต่อยอดการพัฒนาในหมู่บ้าน

ถอดบทเรียน30 กันยายน 2559
30
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย srilai2557
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อถอดบทเรียนการดำเนินกิจกรรม

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้คณะทำงานและพี่เลี้ยงโครงการเข้าร่วมกิจกรรมถอดบทเรียนโครงการ พบว่า
" หลังจากการทำโครงการนี้ ทุกคนในหมู่บ้านมีการเปลี่ยนแปลง นั่งดูหน้าบ้าน พบว่าคนใส่หมวกกันน็อคกันมากขึ้น ยังมีบ้านคือกลุ่มเด็กที่เป็นกลุ่มเสี่ยงติดยา เดิมมีรถซิ่งเยอะตอนกลางคืน แต่ปัจจุบันไม่พบ กลับรถที่ไม่มีไฟแต่ก็ไม่มากเนื่องจากเป็นรถของนอกพื้นที่ เพราะพื้นที่บ้านปากคลองเป็นทางผ่าน ไปยังอำเภอหัวไทร
ทุกคนยืนยันว่าโครงการนี้ดี ทำให้คนเปลี่ยนแปลง แต่ต้องใช้เวลา เพราะการเปลี่ยนความตระหนัก ต้องให้เวลา ตอนนี้พวกเราทำโครงการไม่ต้องกังวล ปีนี้การทำโครงการมีคนที่ต้านน้อยและตอนนี้มีการตรวจหมวกกันน้อคเพิ่มขึ้น เป็นการทำงานร่วมกันของตำรวจในพื้นที่ ทำให้ชุมชนมีการเปลี่ยนแปลง ทุกคนตระหนัก การบังคับใช้กฎหมายก็เริ่มได้ผล เมื่อตำรวจตรวจทุกวัน ทุกคนก็เปลี่ยนแปลงตนเองทุกวัน สวมหมวกกันนัอค คือว่าเป็นภาพที่ดีของชุมชน ทำให้เกิดผล แม้ว่าจะไม่เต็มร้อย แต่ก็ดีกว่าชุมชนอื่นๆทุกวันนี้เมื่อนั่งสำรวจไปเรื่อยๆ พบว่า การขับรถย้อนศรพบน้อยลงเรื่อยๆ เพราะทุกคนรู้แล้วว่า การย้อนศรก็ผิดกฎหมาย และทุกคนก็ได้เห็นบทเรียนในชุมชน ว่าการทำผิดกฎจราจร ทำให้เกิดความเสียหายและเสียสุขภาพเสียค่าใช้จ่าย"

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 40 คน

ผลลัพธ์ 1.จากกิจกรรมโครงการประชาชนร่วมกันลดจุดเสี่ยง 2.ประชาชนย้อนศรน้อยลง 3.ลดอุบัติเหตุในชุมชนจนเป็นศูนย์ 4.ไม่มีการตายและบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 55 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน ผู้นำชุมชนเยาวชน ประชาชนในหมู่บ้าน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ติดตามและสรุปผลการดำเนินงาน28 กันยายน 2559
28
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย srilai2557
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามและสรุปผลการดำเนินงาน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมติดตามผลการดำเนินการโดยกิจกรรมในวันนี้ก็ได้มี อสม.เขาพระบาท ตำรวจจากสถานีตำรวจภูธรการะเกดหน่วยกู้ชีพ กู้ภัยนครศรีธรรมราช เต็ก่าจีคุงเกาะ หน่วยกู้ภัย ซีบีร่อนพิบูลย์มาร่วมในกิจกรรมในวันนี้ด้วยซึ่งในวันนี้ก็มาทำกิจกรรมกันที่ รพ.สต.เขาพระบาท โดยกิจกรรมในวันนี้ก็จะเป็นการมาติดตามการทำกิจกรรม จาการที่ได้มีการทำกิจกรรมไปแล้วทั้งมีการณรรงค์ใส่หมวกกันน็อคการติดป้ายประชาสัมพันธ์ติดป้ายเตือนลดอุบัติเหตุการได้ไปทำกิจกรรมในโรงเรียน เพื่อเป็นการสอนให้นักเรียนได้รู้กฎหมายกฎจราจรได้มีกติกาเกิดขึ้นในโรงเรียน รวมไปถึงได้ฝากให้ไปบอกผู้ปกครองให้ใส่หมวกกันน็อคเวลาขับขี่รถมอเตอร์ไซต์ กิจกรรมในวันนี้ตำรวจก็จะมาคอยเตือนสำหรับคนที่ยังไม่ใส่หมวกกันน็อค ชื่อชมสำหรับคนที่ได้ปฏิบัติถูกต้องแล้วในการใส่หมวกกันน็อค และแนะนำให้ปฏิบัติตามกฎจราจรซึ่งในกิจกรรมก็จะมีอสม.เขาพระบาทคณะทำงาน ร่วมช่วยสังเกตุการ และมีน้องกู้ชีพ มาอำนวยความสะดวก

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 100 คน 2.มีภาคีเครือข่ายมาร่วมในกิจกรรมคือ 1.ตำรวจจากสถานีตำรวจภูธรการะเกด 2. อสม.เขาพระบาท 3.หน่วยกู้ชีพ กู้ภัยนครศรีธรรมราช เต็ก่าจีคุงเกาะ หน่วยกู้ภัย ซีบีร่อนพิบูลย์ 4.2.ได้มีการติดตามการลดอุบัติเหตุจากการขับขี่ โดยการใส่หมวกกันน็อค 5.รณรงค์ขับขี่ปลอดภัย

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 100 คน จากที่ตั้งไว้ 0 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงาน
  • ผู้นำชุมชน
  • ประชาชนผู้สนใจ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธ์ สุขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ค่าภาพถ่ายกิจกรรม และเอกสารรายงานกิจกรรมปิดโครงการ24 กันยายน 2559
24
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย srilai2557
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรม การจัดทำรายงานโดยกิจกรรมในวันนี้ก็เป็นการเตรียมเอกสารเพื่อจะทำรายงานปิดโครงการ โดยตรวจเช็คเอกสารแต่ละกิจกรรมและตรวจสอบการบันทึกข้อมูลในเวปไซต์

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 2 คน 2.ได้จัดทำรายงานเพือปิดโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 5 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน  5  คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธ์ สุขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เรียนรู้จราจรวันละ 5 นาที14 กันยายน 2559
14
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย srilai2557
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อมีความรู้ความเข้าใจในกฎหมายจราจรบนท้องถนน เพื่อลดอุบัติเหตุ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรม เรียนรู้จราจร เพื่อลดลดอุบัติเหตุจราจรที่โรงเรียนวัดแดงภายใต้แกนนำของนายมนัส ดำด้วงโรม ผู้รับผิดชอบโครงการ และแกนนำคณะทำงาน โดยวางเป้าหมายให้โรงเรียนวัดแดงเป็นต้นแบบในการลดอุบัติเหตุการดำเนินกิจกรรมครั้งนี้ประกอบด้วย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาพระบาท อบต.เขาพระบาทกลุ่ม อสม.ตำบลเขาพระบาท คณะผู้ปกครอง และครู นักเรียน โรงเรียนวัดแดง
กิจกรรมวันนี้ มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อลดอุบัติเหตุจราจรที่เกิดกับนักเรียนโรงเรียนวัดแดง
วัตถุประสงค์ย่อย เพื่อ 1.เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนวัดแดงผู้ปกครอง ได้เรียนรู็และเข้าใจในกฎหมายจราจร และป้ายเครื่องหมายต่างๆ 2.เพื่อให้นักเรียน และผู้ปกครองผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้เห็นถึงความสำคัญของการใส่หมวกกันน็อค

กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย
1.นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1 – ม.3) และนักเรียนประถมปีที่ 4 – 6 จำนวน 100 คน 2.ผู้ปกครองนักเรียน 100 คน
ใช้สถานที่ ห้องประชุม โรงเรียนวัดแดงตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่

กิจกรรมวันนี้ประกอบด้วย
1).ผอ.มนูญ พลายชุมผอ.รพ.เขาพระบาท ได้พูดคุยทักทายและกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมในวันนี้ 2).เชิญ ตำรวจจากสถานีตำรวจภูธรการะเกด มาให้ความรู้เกี่ยวกับป้ายจราจรต่างๆ ที่ควรจะรู้ และเข้่าใจ ตำรวจได้แนะนำเรืองกฎหมายจราจร โดยคนที่สามารถมีใบขับขี่จักรยานยนต์ได้ก็จะต้องมีอายุ 15 ปีขึ้นไป จากสถานการณ์ปัจจุบันปัญหาอุบัติภัยจากการจราจรเพิ่มสูงขึ้น ประเทศไทยพบอุบัติเหตุบนท้องถนนเป็นสาเหตุการบาดเจ็บ พิการและเสียชีวิตที่มีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุบนถนนนั้น ที่สำคัญ 2 ประการคือ
1 เกิดจากการกระทำที่ไม่ปลอดภัย เช่น ความประมาท มักง่าย การฝ่าฝืนกฎระเบียบ เป็นต้น
2 เกิดจากสภาวะที่ไม่ปลอดภัย ได้แก่ สภาพแวดล้อมที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ เช่น ถนนชำรุด แสงสว่างไม่เพียงพอ ทางโค้ง เป็นต้น โดยสรุปแล้วปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่อการเกิดอุบัติเหตุในการจราจร ได้แก่ ถนน ยานพาหนะผู้ใช้รถใช้ถนนและสิ่งแวดล้อม การป้องกันอุบัติเหตุในการจราจรทางบก จึงต้องแก้ที่สาเหตุของปัญหาดังกล่าว โดยเน้นหลัก 3 ประการคือ
1 การให้การศึกษาเกี่ยวกับการจราจรด้านความรู้ เจตคติและการปฏิบัติ
2การควบคุมบังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย
3 การปรับปรุงแก้ไขโครงสร้างถนน
3).จราจรให้ความรู้เรื่องเครื่องหมายจราจรอีกทั้งได้พูดคุยให้กับนักเรียนได้ทราบถึงกับการเดินบนถนน เพื่อให้ปลอดภัยเพราถนนสายปากคลองวัดแดง จะไม่มีไหล่ทาง ซึ่งการเดินก็จะต้องเดินเป็นแถวซ้อนกันตามหลังอย่าเดินแถวเป็นหน้ากระดาน ซ้อน สองเพราะจะทำให้พื้นที่บนช่องทางถนนน้อยลงก็จะทำให้เสี่ยงในเรื่องอุบัติเหตุดอยตำรวจก็ฝากน้องๆนักเรียนเวลาเลิกเรียนเดินกลับบ้าน ก็ได้ให้เป็นแถวและต้องคอยระวังด้วยเพื่อจะไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ
สอนเรื่องป้ายจราจร เป็นป้ายควบคุมการจราจร แบ่งออกเป็นสามประเภท ป้ายบังคับ มักจะมีพื้นสีขาว ขอบสีแดง เป็นป้ายกำหนด ต้องทำตาม เช่น ห้ามเลี้ยวขวา ป้ายเตือน มักจะมีพื้นสีขาว ขอบสีดำ จะเป็นป้ายแจ้งเตือนว่ามีอะไรอยู่ข้างหน้า ป้ายแนะนำ เป็นป้ายที่แนะนำการเดินทางต่างๆ อาทิ ทางลัด ป้ายบอกระยะทาง เป็นต้น คนส่วนใหญ่ไม่เคารพกฎจราจร การแก้ปัญหาจราจรต้องเกิดจากประชาชนชน ถ้าประชาชนไม่ให้ความร่วมมือก็ทำไม่ได้ เพราะการจับกุมถ้าไม่เข้าใจ ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เมื่อประชาชนเข้าใจ การแก้ปัญหาก็ง่าย หมู่ที่ 6 เป็นจุดรวมของการใช้รถใช้ถนน ถ้าประชาชนเข้าใจ เคารพกฎ ตรวจเช็คสภาพรถให้พร้อมในการขับขี่ก็ลดอัตราการสูญเสียไปได้มาก และรถทุกคนต้องมี พรบ.ด้วย ดังนั้นถ้าพวกเราพร้อมใจกันสวมหมวกกันน้อค เรียนรู้กฎจราจร คาดเข็มขัดนิรภัย ก็สามารถแก้ปัญหาได้และตำรวจให้ความรู้เรื่องการใส่หมวกกันน็อคโดยยกตัวอย่าง โดยใช้ลูกมะพร้าวให้แทนหัวของคนซึ่งเปรียบเสมือนถ้าคนใส่หมวกกันน็อคก็คือ ลูกมะพร้าวที่ไม่ปอกเปลือกออกต่อให้ตกจากต้นที่สูงหรือตกลงพื้นลูกมะพร้าวก็ไม่แตกแต่ถ้าให้เปรียบคนที่ไม่ใส่หมวกกันน็อคคือลูกมะพร้าวที่ปอกเปลือกออกแล้ว เหลือแต่ลูกข้างในได้รับแรกกระทกนิดเดียวลูกมะพร้าวก็แตกแสดงให้เห็นว่าลูกมะพร้าวมีเปลือกกันลูกมะพร้าวเพื่อกันแต่แต่คนเรานั้นไม่มีเปลือกของศรีษะก็เลยต้องใส่หมวกกันน็อค เพื่อป้องกันสมองของเรา เมื่อเกิดอุบัติเหตุ และมีการสาธิตการใส่หมวกกันน็อคที่ถูกต้อง โดยจะต้องสวมหมวกและรัดคางให้เรียบร้อย จากนั้นลองขยับหัวไปมาพอประมาณ ถ้าหมวกพอดี เราจะรู้สึกว่าหมวกไม่ขยับ แต่ถ้าหมวกขยับตาม ก็ลองเลือกหมวกที่มีขนาดเล็กโดยใช้มือดันหลังหมวก เกร็งคอไว้เล็กน้อย แล้วลองนำนิ้วก้อยสอดขึ้นไปบริเวณหน้าผากหากสอดเข้าไปเต็มๆ ควรเลือกใบที่เล็กลง เพราะช่องว่างระหว่างหน้าผากกับหมวกที่มากเกินไปจะทำให้เกิดการกระแทกขึ้นปรับสายรัดคางให้แน่น จับหมวกกันน็อกให้มั่นแล้วลองดึงขึ้นลง หากรู้สึกว่าหมวกเลื่อนขึ้นลงตามแต่หัวเราไม่ขยับตาม แปลว่าหมวกอาจไม่พอดี เพราะหมวกลักษณะนี้อาจหลุดได้หากเกิดอุบัติเหตุ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1.กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม 109 คน
2.มีภาคีร่วมทำงานคือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาพระบาท อบต.เขาพระบาทกลุ่ม อสม.ตำบลเขาพระบาท คณะผู้ปกครอง และครู นักเรียน โรงเรียนวัดแดง สถานีตำรวจภูธรการะเกด


ผลลัพธ์ 1.ได้รู้เรื่องกฎหมายจราจรเช่นป้ายจราจร 2.ได้ถึงความสำคัญของใส่หมวกกันน็อค

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 109 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน  นักเรียนโรงเรียนวัดแดง ผู้ปกครอง คณะครู  อสม.ตำบลเขาพระบาท

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ข้อมุูลอุบัติเหตุ ลดตาย ลดบาดเจ็บ12 กันยายน 2559
12
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย srilai2557
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อลดอุบัติเหตุ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรม ให้ความรู้เกี่ยวกับอุบัติเหตุ ลดการเสียชีวิต ลดบาดเจ็บ โดยกิจกรรมในวันนี้ จะเป็นการรณรงค์ การใส่หมวกกันน็อคซึ่งมี อสม.เขาพระบาทตำรวจจากสถานีตำรวจภูธรการระเกดหน่วยกู้ชีพกู้ภัยนครศรีธรรมราช เต็กก่าจีคุงเกาะ ร่วมกิจกรรมด้วย ซึ่งกิจกรรมในวันนี้จะเป็นการรณรงค์การใส่หมวกกันน็อคแต่ไม่ใช่เป็นการจับแต่เป็นการเตือน กิจกรรมที่ปฏิบัติคือ ใครที่ปฏิบัติดี จะได้ใบเขียว คือ คนที่ใส่หมวกกันน็อคเวลาขับรถก็จะได้ใบเขียว เป็นใบแสดงความชื่นชนใบแดงเป็นการเตือน สำหรับคนที่ไม่ใส่หมวกกันน็อคพร้อมทั้งให้ความรู้ และมอบใบเหลืองให้ โดยกิจกรรมก็จะเป็นการตั้งด่านที่ ปากคลองวัดแดง มีตำรวจ ช่วยคอยตักเตือน มีทีมกู้ภัยช่วยอำนวยความสะดวกในด้านจราจร

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม60คน 2. ตำรวจจากสถานีตำรวจภูธรการระเกดหน่วยกู้ชีพกู้ภัยนครศรีธรรมราช เต็กก่าจีคุงเกาะ ร่วมกิจกรรมด้วยได้รับรู้เกี่ยวกับอุบัติเหตุ ลดการเสียชีวิต ลดบาดเจ็บ โดยกิจกรรมในวันนี้ จะเป็นการรณรงค์ การใส่หมวกกันน็อค

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 60 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน  ผู้นำชุมชน อสม.เขาพระบาท  ตำรวจภูธรการะเกด

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สภาชุมชนบ้านปากคลองวัดแดง ครั้ง 810 กันยายน 2559
10
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย srilai2557
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประชุมวางแผนกิจกรรม  และติดตามความคืบหน้าในการทำกิจกรรมโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมประชุมสภาผู้นำบ้านปากคลองวัดแดง ครั้งที่ 8 โดยคณะทำงานเข้าร่วมประชุม กันที่ รพ.สต.เขาพระบาทในเวลา 09.00 น. วาระที่ 1 โดยนางศรีวิไลทองใสพร ผู้รับผิดชอบโครงการ ประชุมชี้แจง กิจกรรมที่ผ่านมาคือการประชุมครั้งที่ 7 และการประชุมเพื่อจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์และข้อมูลอุบัติเหตุลดตายลดบาดเจ็บ วาระที่ 2 ชี้แจงกิจกรรมในครั้งต่อไปคือกิจกรรม ประชุมสภาผู้นำครั้งที่ 9 นำเสนอกิจกรรมต่อพี่เลี้ยงพื้นที่สร้างศูนย์อุบัติเหตุในชุมชนนำเสนอกิจกรรมในพื้นที่ให้กับพี่เลี้ยง เรียนรู้จราจร วันละ 5 นาที และนำเสนอกิจกรรมต่อพี่เลี้ยงในพื้นที่ การทำรายงาน ติดตามสรุปผลการดำเนินงานถอดบทเรียน โดยให้คณะทำงานที่รับผิดชอบ เตรียมเอกสารต่างให้เรียบร้อย และลงบันทึกกิจกรรมในเว็บไซต์ พร้อมลงภาพกิจกรรมให้เรียบร้อยด้วย เพื่อที่จะได้เตรียมตัวปิดโครงการ วาระที่ 3 ชี้แจงกิจกรรมอื่นๆ
1)พบไข้ฉี่หนูในอำเภอเชียรใหญ่ 3 รายแต่ไม่มีในเขตตำบลเขาพระบาท แจ้งเตือนให้มีการดูแลและเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องด้วยและแนะนำประชาชนทุกคนทุกครั้งที่สัมผัสน้ำในพื้นที่สาธารณะควรใสรองเท้าทุกครั้ง 2)โรคติดเชื้อไวรัสซิกา ซึ่งระบาดอยู่ในหลายประเทศและในประเทศไทยได้แก่ จันทบุรี เพชรบูรณ์บึงกาฬและเชียงใหม่ซึ่ง กระทรวงสาธารณสุขกล่าวว่า ตั้งแต่ ม.ค. 2559 - มิ.ย.2559 หรือ 6 เดือนแรกของปีนี้ พบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสซิกาสะสม 97 ราย ใน 10 จังหวัด 16 อำเภอ 26 ตำบล 42 หมู่บ้าน โดยควบคุมสถานการณ์ได้หมดแล้ว แต่ก็ยังพบอยู่ใน 4 จังหวัดดังกล่าวจึงอยากให้ประชาชนในหมู่บ้านช่วยกันเฝ้าระวังด้วยจะเห็นได้จากข่าวแล้วว่า ช่วงนี้ไวรัสซิก้ากลับมาระบาดอีกครั้ง ซึ่งไวรัสซิกาจะสามารถติดต่อจากผู้ป่วย สู่ผู้ป่วยด้วย ยุงลาย ที่เป็นพาหะ และช่วยกันหาวิธีป้องกันโรคคือ

  1. ระวังอย่าให้ตัวเองโดนยุงกัด หากจำเป็นต้องไปในที่ยุงชุกชุม เช่น ป่าดิบชื้น ใกล้แหล่งน้ำนิ่ง แหล่งชุมชนแออัดให้ทายากันยุง เวลาที่นอนควรนอนในมุ้ง หรือพักในห้องที่มีมุ้งลวด

  2. กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายรอบที่อยู่อาศัย รวมถึงที่ทำงาน และโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นการเทน้ำในจานรองกระถางต้นไม้ เปลี่ยนน้ำในแจกัน คว่ำกะละมัง อ่างต่างๆ นอกบ้าน ใส่ทรายอะเบทลงในจานรองกระถางต้นไม้ต่างๆ และฉีดยาป้องกันยุงลายตามสถานที่ทำงาน และโรงเรียน

  3. ผู้หญิงตั้งครรภ์ควรฝากครรภ์กับสถานพยาบาล หรือโรงพยาบาล เพื่อตรวจร่างกายตามเวลาที่แพทย์กำหนด ป้องกันการเกิดความผิดปกติกับลูกน้อย

ไวรัสซิกาไม่น่ากลัว หากมีการป้องกันยุงลายที่ดี เพราะฉะนั้นในช่วงหน้าฝนแบบนี้ หมั่นดูแลสุขภาพให้ดี และอย่าให้ตัวคุณเอง และคนที่คุณรักโดนยุงกัด

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 70 คน
2.มีการชี้แจงกิจกรรมที่ผ่านมาคือ การประชุมครั้งที่ 7 และการประชุมเพื่อจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์และข้อมูลอุบัติเหตุลดตายลดบาดเจ็บ 3.มีกิจกรรมในครั้งต่อไป คือนำเสนอกิจกรรมต่อพี่เลี้ยงพื้นที่สร้างศูนย์อุบัติเหตุในชุมชนนำเสนอกิจกรรมในพื้นที่ให้กับพี่เลี้ยง เรียนรู้จราจร วันละ 5 นาทีและในวันที่ นำเสนอกิจกรรมต่อพี่เลี้ยงพื้นที่ การทำรายงาน ติดตามสรุปผลการดำเนินงานถอดบทเรียน
4.มีการเฝ้าระวังการติดเชื้อไวรัสซิกา

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 70 คน จากที่ตั้งไว้ 70 คน
ประกอบด้วย

ตัวแทนคณะทำงาน ผู้นำชุมชน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เรียนรู้จราจรวันละ 5 นาที7 กันยายน 2559
7
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย srilai2557
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อลดอุบัติเหตุที่บ้านปากคลองวัดแดง 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้มีการจัดกิจกรรม เรียนรู้จราจร เพื่อลดลดอุบัติเหตุจราจรที่โรงเรียนวัดแดงภายใต้แกนนำของนายมนัส ดำด้วงโรม ผู้รับผิดชอบโครงการ และแกนนำคณะทำงาน โดยวางเป้าหมายให้โรงเรียนวัดแดงเป็นต้นแบบในการพัฒนาการดำเนินกิจกรรมครั้งนี้ประกอบด้วย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาพระบาท อบต. เขาพระบาทกลุ่ม อสม.ตำบลเขาพระบาท คณะผู้ปกครอง และครู นักเรียน โรงเรียนวัดแดงเข้าร่วมกิจกรรม 200 คน

กิจกรรมวันนี้ มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อลดอุบัติเหตุจราจรที่เกิดกับนักเรียนโรงเรียนวัดแดง
วัตถุประสงค์ย่อย เพื่อ 1.ผู้ปกครอง และประชาชนสวมหมวกกันน้อคเมื่อขับรถมาส่งนักเรียนทุกคน 2.ไม่มีนักเรียนและผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนถนนสายบ้านปากคลองวัดแดง – หน้าโรงเรียนวัดแดง
3.อัตราการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรในโรงเรียนวัดแดง ให้เป็นศูนย์

กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย
1.นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1 – ม.3) และนักเรียนประถมปีที่ 4 – 6 จำนวน 100 คน 2.ผู้ปกครองนักเรียน 100 คน
ใช้สถานที่ ห้องประชุม โรงเรียนวัดแดงตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่

กิจกรรมวันนี้ประกอบด้วย
1.อ.ผัดพิมพันธ์ครูโรงเรียนวัดแดง ได้พบปะผู้ปกครอง และให้โอวาท พร้อมทั้งบอกให้ทราบว่า วันนี้ชุมชนทำงานได้ดีมาก มีการรณรงค์มาหลายจุดแล้ว และวันนี้ต้องการให้โรงเรียนวัดแดง เป็นโรงเรียนที่ปลอดจากอุบัติเหตุ วันนี้ทางโรงเรียนได้ทำ MOU กับสถานีตำรวจภูธร การะเกดแล้ว การขับขี่รถในโรงเรียนต้องสวมหมวกกันน้อค ผู้ปกครองทุกคนต้องเคารพในการหมายจราจรด้วย และได้ชี้แจงให้ทราบว่ากิจกรรมวันนี้เราต้องทำร่วมกันคือ ช่วยกันคิด ช่วยกันคุย พร้อมทั้งเรียนรู้ กฎหมายจราจรที่เกี่ยวข้อง
2.ผอ.มนูญ พลายชุม ผอ.รพ.สต.เขาพระบาท ได้มาพูดคุย เกี่ยวกับสถานการณ์ของอุบัติเหตุ พบว่าทุกปีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เพราะทุกคนไม่ตระหนัก ทุกคนประมาทการทำกิจกรรมในวันนี้เน้นให้ผู้ปกครอง นักเรียนมีความตระหนัก มีการวางแผนร่วมกันและทุกคนต้องช่วยกันเตือน ช่วยกันบอกเล่าในสิ่งที่ดีและช่วยกันปฏิบัติไม่อยากให้ทุกคนในพื้นที่ตำบลเขาพระบาท ต้องเสียหายไม่อยากให้รับความบาดเจ็บ ทุกคนคงไม่มีใครอยากป่วย อยากพิการจากการเก็บสถิติของสถาบันวิจัยด้านการคมนาคม มหาวิทยาลัยมิชิแกน สหรัฐอเมริกา ร่วมกับข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก ระบุว่า สถิติการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนทั่วโลก มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 18 คน ต่อประชากร 100,000 คนต่อปี แต่สำหรับไทยนามิเบีย และอิหร่าน ซึ่งเป็น 3 อันดับต้น ๆ มีสถิติมากกว่าค่าเฉลี่ยเกิน 2 เท่า นั่นคือ 45คน, 44 คน , และ 38 คนต่อประชากร 100,000 คนต่อปี ตามลำดับ ส่วน 10 ประเทศที่มีสถิติการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนมากที่สุดในโลกได้แก่ 1.นามิเบีย (45 คน/แสน) 2.ไทย (44 คน/แสน) 3.อิหร่าน (38 คน/แสน) 4.ซูดาน (36 คน/แสน) 5.สวาซิแลนด์ (36 คน/แสน) 6.เวเนซุเอลา (35 คน/แสน) 7.คองโก (34 คน/แสน) 8.มาลาวี (32 คน/แสน) 9.สาธารณรัฐโดมินิกัน (32 คน/แสน) 10. อิรัก (32 คน/แสน) จากตัวเลขเสียชีวิตจากอุบัติเหตุมีมากกว่าโรคร้ายใด ๆ นพ.โสภณ เมฆธนกล่าวว่า ปัญหาอุบัติเหตุทางถนนในประเทศไทยคนมักจะมองว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดาและเป็นเรื่องไกลตัว แต่ในความเป็นจริงพบว่าปัจจุบันนี้มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุสูงมาก โดยเฉพาะช่วง 7 วันอันตรายของเทศกาลปีใหม่ สงกรานต์ มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 300 คน เฉลี่ยวันละเกือบ 50 คน ส่วนใหญ่จะเกิดที่ทางหลวงแผ่นดิน 37.9% ถนน อบต.และถนนในหมู่บ้าน 36.7% ทางตรง 64.9% รองลงมาคือทางโค้ง 19.7% โดยมีสาเหตุมาจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 39.1% ขับรถเร็วเกินที่กฎหมายกำหนด 23.6% จักรยานยนต์มากที่สุด และลักษณะการเกิดอุบัติจะพบว่ามีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆได้เสนอวิธีป้องกันอุบัติเหตุ เอาไว้4 เสาหลักคือ 1.การบริหารจัดการความปลอดภัยทางถนน 2.ถนนและการสัญจรอย่างปลอดภัย 3.ยานพาหนะปลอดภัย 4.ผู้ใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัย 3.นายมนัส ดำด้วงโรม ได้กล่าวว่า โครงการนี้เป็นสิ่งที่ดีมาก ช่วยลดอัตราการตาย ลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุได้มาก ในอดีตคนบ้านเรามีปัญหาไม่สวมหมวกกันน็อคและไม่เคารพกฎจราจรเนื่องจากชุมชนบ้านปากคลองวัดแดง เป็นเพียงหมู่บ้านเดียวของพื้นที่ตำบลเขาพระบาท ที่มีถนนหลวงตัดผ่านกลางหมู่บ้าน และถนนทางหลวงเป็นเส้นตรง ทำให้ผู้ขับขี่ ขับรถด้วยความเร็วสูง กลุ่มวัยรุ่น ยังขับรถซิ่ง ไม่สวมหมวกกันน็อค อาจจะเป็นด้วยสาเหตุรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือไม่ตระหนัก ทำให้เกิดอุบัติเหตุและสร้างความเดือดร้อนและต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก จากการสุ่มตรวจพบว่า มีการสวมหมวกกันน้อคเพียงร้อยละ 32 ทุกคันมีหมวกกันน้อคแต่ไม่สวม เพราะไม่ชอบสวมหมวกเวลาขับรถ เป็นเรื่องน่าเบื่อหน่าย จากการทำโครงการปีที่ผ่านมา ชุมชนร่วมกันปรับปรุงจุดเสี่ยง ร้อยละ 100 อัตราการเกิดอุบัติเหตุน้อยลง จากเดิมเฉลี่ยวันละ 1 คน จากการเก็บข้อมูลที่ รพ.สต.เขาพระบาท และ รพ.เชียรใหญ่ อัตราการเกิดอุบัติเหตุจราจร เฉลี่ยสัปดาห์ละ 1 คนนวัตกรรมเด่นที่เกิดขึ้นจากโครงการคือการมี โครงสร้างการทำงานแบบภาคีเครือข่าย มาร่วมทำงานแบบสมานฉันท์และเป็นหนึ่งเดียว สิ่งที่มองได้ชัดและเป็นผลที่เกิดจากโครงการคือ (1)สภาพแวดล้อมเปลี่ยนบริเวณหน้าบ้านถนนโล่ง ไม่มีขยะ (2) สิ่งก่อสร้างที่กีดขวาง เช่น ร้านค้าริมถนน ก็ถูกจัดระเบียบ ไม่ให้ชิดถนนมากเกินไป (3) มีการติดแผ่นป้ายไวนิล อย่างเป็นระเบียบ ไม่เกะเกะ (4) การขับรถย้อนศร น้อยลง (5)อุบัติเหตุลดลง (6) มีป้ายเตือน ป้ายรณรงค์ ติดไว้ตลอดเวลา เป็นการเตือนสติ (7) มีการสร้างจิตสำนึกตลอดเวลา(8)มีการทำลายทางเชื่อมต่อผ่านคูน้ำของถนนสี่เลน

4.ครูโรงเรียนวัดแดง และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ได้ร่วมกันให้ความรู้และจัดทำแผนการพัฒนาให้โรงเรียนวัดแดง เป็นโรงเรียนปลอดอุบัติเหตุ มีแนวทางระดมความคิดเห็นดังนี้ 4.1.ถามด้วยคำถาม “ทำไม ผู้ปกครองและประชาชน มาส่งลูกหลาน ยังไม่สวมหมวกกันน้อค” 1.ขี้เกียจ 2.ลืม 3.รีบ 4.ไม่มีหมวกกันน้อค 5.ไม่สวย 6.สวมแล้ว กลัวคนมองไม่เห็น 7.สวมแล้วมึนหัว / มองไม่ชัด 8.สวมแล้วร้อน 9.สายรัดหมวกแน่นเกินไป 10.ประมาทเพราะคิดว่าขับใกล้ๆ 11.รำคาญ เกะกะ
12.มีหมวกเฉพาะของผู้ใหญ่ ไม่มีสำหรับเด็ก 13.อายคน 14.หมวกไม่สวยหมวกเก่า ไม่อยากใส่ 15.หมวกมีกลิ่นอับ
16.ไม่เท่ห์ 17.สวมหมวกแล้วยกล้อไม่สนุก 18.สวมหมวกแล้วติดหู ฟังเสียงข้างๆ ไม่ได้ยิน 19.สวมแล้วมืด

4.2.ทำอย่างให้ให้คนขับรถมอเตอร์ไซด์และคนซ้อน มอเตอร์ไซด์ ใส่หมวกกันน้อค
1.ช่วยกันตักเตือน 2.รณรงค์ 3.ติดป้ายเตือนใส่หมวกกันน้อค 4.ไม่ใส่หมวกกันน้อค ไม่ให้ขับรถในโรงเรียน 5.ตั้งด่านเตือนสติ 6.มียามหรือ อปพร.หน้าโรงเรียน


4.3.ท่านจะมีแนวทางอยากให้ ให้โรงเรียนวัดแดง ลดอุบัติเหตุจราจร แนวทาง 1.ช่วยกันตักเตือน กิจกรรมประกอบด้วย 1.กิจกรรมเตือนตัวเอง -มีการอ่านข่าวแล้วนำไปเล่าให้เพื่อนฟังในห้องเรียน

2.กิจกรรมนักเรียนเตือนผู้ปกครอง -นักเรียนนำเรื่องราวดีๆ ไปบอกเล่าต่อผู้ปกครอง

3.กิจกรรมเพื่อนเตือนเพื่อน -ทำกิจกรรมโดยแบ่งออกเป็นทีม แต่ละทีมช่วยกันทำกิจกรรม เตือน และสร้างสรรค์ในการเรียนรู้อุบัติเหตุ -แต่ละทีม มีครู เจ้าหน้าที่ ผู้ปกครอง และนักเรียนทุกชั้น แบ่งออกเป็น 7 ทีม
-จัดกิจกรรมตามแผนงานที่กำหนด

2.รณรงค์ -ทั้ง 7 ทีม จัดกิจกรรมรณรงค์ลดอุบัติเหตุในโรงเรียนและเส้นทางเดินทางระหว่างโรงเรียนและบ้าน -จัดเส้นทางปลอดอุบัติเหตุ ปากคลองวัดแดง – หน้าโรงเรียนวัดแดง

3.ติดป้ายเตือนใส่หมวกกันน้อค -กำหนดให้มีป้ายทางเข้าและทางออกในโรงเรียน -มีป้ายเตือนให้สวมหมวกกันน้อค

4.ไม่ใส่หมวกกันน้อค ไม่ให้ขับรถในโรงเรียน -กำหนดจุดรับ ส่ง นักเรียน
-กำหนดจุดจอดรถ สำหรับคนที่ไม่สวมหมวกกันน้อค

5.ตั้งด่านเตือนสติ -กำหนดให้มีด่าน ตั้งเพื่อเตือนสติ เป็นความร่วมมือระหว่างผู้ปกครองนักเรียน

6.มียามหรือ อปพร.หน้าโรงเรียน
-กำหนดให้ผู้ปกครองนักเรียน ร่วมกันทำความดี โดยการจัดยาม บริเวณทางเข้า ออกโรงเรียน เพื่อช่วยเตือนสติ


สิ่งที่เกิดขึ้น
1.มีแนวทางการลดอุบัติเหตุในโรงเรียนวัดแดง 1 เรื่อง
2.นักเรียนและผู้ปกครอง ได้เรียนรู้กฎหมายจราจร ร้อยละ 90 3.มีภาคีเครือข่ายผู้ปกครองเข้ามาร่วมทำงาน
4.นักเรียนและผู้ปกครอง สวมหมวกกันน้อคทุกครั้งร้อยละ 100 5.อัตราการบาดเจ็บด้วยอุบัติเหตุจราจร เป็น 0(คิดจากนักเรียนทั้งหมด)

หน่วยงานและภาคีร่วมทำงาน
1.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาพระบาท2.โรงเรียนวัดแดง
3.คณะทำงานโครงการลดอุบัติเหตุที่บ้านปากคลองวัดแดง 4.กลุ่ม อสม.ตำบลเขาพระบาท
5.อบต.เขาพระบาท 6.กลุ่มผู้ปกครองโรงเรียนวัดแดง

ที่ปรึกษา
1.ผอ.เสรี เกียรติก้องแก้วผู้อำนวยการโรงเรียนวัดแดง 2.ผอ.มนูญ พลายชุม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาพระบาท

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1.กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม 200 คน
2.มีภาคีร่วมทำงาน 6 ภาคี


ผลลัพธ์ 1.มีแนวทางการลดอุบัติเหตุในโรงเรียนวัดแดง 1 เรื่อง
2.นักเรียนและผู้ปกครอง ได้เรียนรู้กฎหมายจราจร ร้อยละ 90 3.มีภาคีเครือข่ายผู้ปกครองเข้ามาร่วมทำงาน
4.นักเรียนและผู้ปกครอง สวมหมวกกันน้อคทุกครั้งร้อยละ 100 5.อัตราการบาดเจ็บด้วยอุบัติเหตุจราจร เป็น 0

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 116 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

กลุ่มผู้ปกครองและนักเรียน และภาคีเครือข่าย 116 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

พบพี่เลี้ยงเพื่อติดตามโครงการ3 กันยายน 2559
3
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย srilai2557
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรม มาตรวจเอกสาร และติดตามความคืบหน้าของโครงการที่ ม.วลัยลักษณ์ โดยวันนี้ได้ตรวจเช็คเอกสารด้านการเงินและการบันทึกในเวปไซต์

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 2 คน 2.ได้ตรวจสอบเอกสารแล้วต้องกลับไปแก้ไขในเรื่องของใบเสร็จและให้ไปบันทึกข้อมูลในเวปไซต์ให้เรียบร้อย

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 2  คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธ์ สุขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สร้างศูนย์อุบัติเหตุ24 สิงหาคม 2559
24
สิงหาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย srilai2557
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างเป็นศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุของชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.วันนี้เป็นกิจกรรมสร้างศูนย์อุบัติเหตุ โดยมาทำกิจกรรมพร้อมกันที่ รพ.สต.เขาพระบาท โดยให้รพ.สต.เขาพระบาท เป็นศุนย์กลางในการรวบรวมข้อมูลรวมและศูนย์เฝ้าระวังการเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.มีผู้เข้าร่วมกิจตกรรม63 คน 2.มีศูนย์รวบรวมข้อมูล และศูนย์เฝ้าระวังการเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 63 คน จากที่ตั้งไว้ 60 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน  ผู้นำชุมชน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธ สุขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ปรับสภาพแวดล้อมที่เสี่ยง19 สิงหาคม 2559
19
สิงหาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย srilai2557
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อปรับสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงในชุมชนและในโรงเรียนโดยนัดพบ อสม.เขาพระบท และคณะทำงาน ที่รพ.สต.เขาพระบาทเวลา 09.00 น.เพื่อวางแผนและพูดคุยกันก่อนทำกิจกรรม
-เริ่มด้วยนางศรีวิลัย ทองใสพรประธานโครงการ กล่าวต้อนรับ และพูดคุยก่อนลงทำกิจกรรม โดยเริ่มกิจกรรมปรับสภาพแวดล้อม รอบๆ ชุมชนก่อนหลังจากนั้นจึงปรับสภาพแวดล้อมในโรงเรียนวัดแดงซึ่งจะนักเรียน และคณะครู ร่วมในกิจกรรมด้วย พร้อมทั้งรณรงค์ให้สมหมวกกันน็อคในวันเดียวกันเริ่มด้วยให้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม เพื่อไปรับสภาพแวดล้อมโดยกลุ่มที่ 1 จะไปที่โดวนเขาหัวจุกและกลุ่มที่ 2 จะไปที่ปากคลองวัดแดงโดยให้แต่ละกลุ่มปรับสภาพแวดล้อมในพื้นที่ลดจุดเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุเมื่อเสร็จกิจกรรมไปพร้อมกันที่รร.วัดแดง ในเวลา 10.30 น.หลังจากนั้นก็ให้แบ่งกลุ่มและแบ่งตามโซนที่แบ่งไว้ -เวลา 10.30น. ทุกคนพร้อมกันที่ โรงเรียนวัดแดงซึ่งจะมีครูและนักเรียนร่วมในการปรับสภาพสิ่งแวดล้อมพร้อมทั้งปรับสภาพแวดล้อมในโรงเรียนไปด้วยไม่ว่าจะเป็นการเก็บขยะ การกำจัดแหล่งที่เพาะยุงลายซึ่งนักเรียนและคณะครู ให้ความสนใจเป็นอย่างดีนักเรียนมีความสนุกในการทำกิจกรรมอีกทั้งเป็นการปลูกฝังให้นักเรียนมีจิตสำนึกรักโรงเรียนมีการสอนและแนะนำให้ใส่หมวกกันน็อคและใช้รถใช้ถนน อย่างปลอดภัย -หลังจากนั้นมีการให้ความรู้แก่นักเรียนในการขับขี่มอเตอร์ไซต์ทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยของตัวเรา และให้นักเรียนไปถ่ายทอดความรู้แก่ญาติพี่น้องให้ใส่หมวกกันน็อคทุกครั้งที่ขับขี่รถมอเตอร์ไซต์

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 220 คน 2.มีการการปรับสภาพแวดล้อมและลดจุดเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหนุในชุมชน 3 เยาวชนได้รับความรู้การขับขี่มอเตอร์ไซน์และนำความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดญาติพี่น้อง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 220 คน จากที่ตั้งไว้ 220 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน  ผู้นำชุมชน  ครูและนักเรียนโรงเรียนวัดแดง  ตัวแทนครัวเรือน  อสม.ตำบลเขาพระบาท 

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สภาชุมชนบ้านปากคลองวัดแดง ครั้งที่ 718 สิงหาคม 2559
18
สิงหาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย srilai2557
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามการทำโครงและวางแผนการทำโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมประชุมสภาผู้นำบ้านปากคลองวัดแดง ครั้งที่ 7 โดยคณะทำงานเข้าร่วมประชุมที่ รพ.สต.เขาพระบาท ในเวลา 09.00น. วาระที่ 1 โดยนางศรีวิไล ทองใสพร ผู้รับผิดชอบโครงการ ประชุมชี้แจง กิจกรรมที่ผ่านมาคือการประชุมครั้งที่ 6 และการติดตามการดำเนินโครงการโดยพี่เลี้ยงโครงการได้ติดตามการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในโครงการ วาระที่ 2 ชี้แจงกิจกรรมในครั้งต่อไปคือ กิจกรรมประชุมสภาผู้นำครั้งที่ 8 นำเสนอกิจกรรมต่อพี่เลี้ยงพื้นที่สร้างศูนย์อุบัติเหตุในชุมชน นำเสนอกิจกรรมในพื้นที่ให้กับพี่เลี้ยง เรียนรู้กฎจราจร วันละ 5 นาที ในวันที่ 3-4 กันยายน 2559
-มีการติดตามความคืบหน้าของการทำโครงการ ที่ ม.วลัยลักษณ์ ร่วมกับพี่เลี้ยงและสจรส. โดยให้คณะทำงานที่รับผิดชอบ ให้เตรียมเอกสารต่างๆ ให้เรียบร้อย และลงบันทึกกิจกรรมในเว็บไซต์ พร้อมลงภาพกิจกรรมให้เรียบร้อยด้วย
วาระที่ 3 ชี้แจงกิจกรรมอื่นๆ
1) เมื่อวันที่ 7 สิงหาคมที่ผ่านมาขอขอบคุณทุกท่านที่ไปลงคะแนนการออกเสียงประชามติผลการลงประชามติ คือ ประชาชนส่วนใหญ่ก็เห็นชอบรับร่างรัฐธรรมนูญเห็นชอบ 16,820,420 คน คิดเป็น ร้อยละ 61.35 ไม่เห็นชอบ 10,598,037 คิดเป็นร้อยละ 38.65 จากผู้ใช้สิทธิทั้งหมดส่วนประเด็นพ่วง (เพิ่มเติมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สนช.) เห็นชอบ 15,132,050 คน คิดเป็นร้อยละ 58.07 ไม่เห็นชอบ 10,926,648 คิดเป็นร้อยละ 41.93 บัตรเสียร้อยละ 3.15 จังหวัดที่ผู้มาใช้สิทธิ์ มากที่สุด คือจังหวัดลำพูน
2) พบไข้เลือดออกในอำเภอเชียรใหญ่ 3 ราย ไม่มีผู้ป่วยในเขตตำบลเขาพระบาท ถึงอย่างไรชุมชนต้องช่วยกันดูแลและเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง 3) พบผู้ป่วยโรคคอตีบเสียชีวิต 1 ราย ที่อำเภอทุ่งสง ซึ่งเรียนอยู่ที่ โรงเรียนปัญญานุกูล รักษาที่โรงพยาบาลตรัง หากชุมชนพบอาการเสี่ยงให้นำลูกหลานของท่านมาพบแพทย์ทันที 4)ในวันศุกร์ ที่ 26 สิงหาคมจะมีการรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลายทุกหมู่บ้าน มีการสำรวจลูกน้ำยุงลายและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์โดยจะนัดพบ อสม.พร้อมกันที่ รพ.สต. 08.30 น.

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 70 คน 2.ได้ติดตามโครงการครั้งที่ผ่านมา คือ การประชุมครั้งที่ 6 และการติดตามการดำเนินโครงการโดยพี่เลี้ยงโครงการได้ติดตามการดำเนินกิจกรรมต่างๆในโครงการ 3.มีการชี้แจงกิจกรรมในครั้งต่อไป คือนำเสนอกิจกรรมต่อพี่เลี้ยงพื้นที่สร้างศูนย์อุบัติเหตุในชุมชนนำเสนอกิจกรรมในพื้นที่ให้กับพี่เลี้ยง เรียนรู้กฎจราจร วันละ 5 นาทีและในวันที่ 3-4 กันยายน 2559 จะมีการติดตามความคืบหน้าของการทำโครงการ ที่ ม.วลัยลักษณ์ ร่วมกับพี่เลี้ยงและสจรส. โดยให้คณะทำงานที่รับผิดชอบ ให้เตรียมเอกสารต่างๆ ให้เรียบร้อย และลงบันทึกกิจกรรมในเว็บไซต์ พร้อมลงภาพกิจกรรมด้วย 4 มีการขอขอบคุณทุกท่านที่ไปลงคะแนนการออกเสียงประชามติผลการลงประชามติ
5 ทราบข่าวการพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในอำเภอเชียรใหญ่ 3 ราย และ พบผู้ป่วยโรคคอตีบเสียชีวิต 1 ราย ที่อำเภอทุ่งสง
6 ทราบข่าวการรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลายทุกหมู่บ้าน ในวันศุกร์ ที่ 26 สิงหาคม 

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 70 คน จากที่ตั้งไว้ 70 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน ผู้นำชุมชน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เยี่ยมติดตามโครงการ งวดที่ 29 สิงหาคม 2559
9
สิงหาคม 2559รายงานจากพี่เลี้ยง โดย yongyut
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามเยี่ยมโครงการและสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้พี่เลี้ยงได้พูดคุบกับคณะทำงาน เพื่อดูสิ่งที่เกิดขึ้นในชุมชนและสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไป พบว่า 1.ลดจุดเสี่ยง โดยการขอความร่วมมือ จากชุมชน ย้อนศรน้อยลงลดอุบัติเหตุ การลดจุดเสี่ยง โดยภาพรวมพบว่า ไม่มีอุบัตเหตุเลย บริเวณหน้าบ้านมีการถางป่าหน้าบ้านออกไป ทุกครัวเรือนเมื่อก่อนไม่มีใครสนใจ ตอนนี้ทุกคนก็เริ่มหันมาให้ความสนใจ ในการพัฒนาหมู่บ้านเดิมเราคิดว่าบางบ้านไม่ทำ แต่เมื่อถึงกิจกรรมทุกคนก็ร่วมมือเป็นอย่างดีเราไม่ได้ทำเรื่องอุบัติเหตุอย่างเดียว มีการส่งเสริมเรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เดิมคนไม่สนใจหน้าบ้านตอนนี้ถางหน้าบ้าน แล้วมีการปลูกผักที่หน้าบ้านและบริเวณหน้าบ้านมีการปลูกดาวเรืองเพื่อสร้างความสวยงาม ให้กับบ้านตัวเอง
2.รณรงค์สวมหมวกนิรภัย ทุกคนเห็นด้วย เป็นคติให้คนได้ตระหนัก ทุกคนรู้ว่าต้องสวมหมวกกันน้อคนะ ทุกวันนี้คนในหมู่บ้านอุบัติเหตุเกิดน้อย ไม่เสียชีวิต เลย ในรอบปีที่ผ่านมา อุบัติเหตุในพื้นที่น้อยมาก และทุกครอบครัวเริ่มตื่นตัว ตอนนี้โรงเรียนเริ่มมีการสอนแนะไปยังผู้ปกครองและผู้ปกครองก็มีความตื่นตัว

3.ตอนนี้การทำงานโครงการนี้ ทุกคนในหมู่บ้านมีการเปลี่ยนแปลง นั่งดูหน้าบ้าน พบว่าคนใส่หมวกกันน้อคกันมากขึ้น ยังมีบ้านคือกลุ่มเด็กที่เป็นกลุ่มเสี่ยงติดยา เดิมมีรถซิ่งเยอะ ตอนนี้หัวค่ำไม่มีเลยแต่ยังพบบ้างคือรถที่ไม่มีไฟ แต่เป็นรถของนอกพื้นที่ เพราะพื้นที่บ้านปากคลองเป็นทางผ่าน ไปยังอำเภอหัวไทร
ทุกคนยืนยันว่าโครงการนี้ดี ทำให้คนเปลี่ยนแปลง แต่ต้องใช้เวลา เพราะการเปลี่ยนความตระหนัก ต้องให้เวลา ตอนนี้พวกเราทำโครงการไม่ต้องกังวล ปีนี้การทำโครงการมีคนที่ต้านน้อยและตอนนี้มีการตรวจหมวกกันน้อคเพิ่มขึ้น เป็นการทำงานร่วมกันของตำรวจในพื้นที่ ทำให้ชุมชนมีการเปลี่ยนแปลง ทุกคนตระหนัก การบังคับใช้กฎหมายก็เริ่มได้ผล เมื่อตำรวจตรวจทุกวัน ทุกคนก็เปลี่ยนแปลงตนเองทุกวัน สวมหมวกกันนัอค คือว่าเป็นภาพที่ดีของชุมชน ทำให้เกิดผล แม้ว่าจะไม่เต็มร้อย แต่ก็ดีกว่าชุมชนอื่นๆทุกวันนี้เมื่อนั่งสำรวจไปเรื่อยๆ พบว่า การขับรถย้อนศรพบน้อยลงเรื่อยๆ เพราะทุกคนรู้แล้วว่า การย้อนศรก็ผิดกฎหมาย และทุกคนก็ได้เห็นบทเรียนในชุมชน ว่าการทำผิดกฎจราจร ทำให้เกิดความเสียหายและเสียสุขภาพเสียค่าใช้จ่าย

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การเปลี่ยนแปลงบุคคล -สวมหมวกกันน้อคเวลาขับขี่รถ -ขับรถย้อนศรน้อยลง -ลดอุบัติเหตุ มีเพียง 2 ราย เท่านั้น และเป็นแผลถลอด -ลดค่าใช้จ่ายด้านรักษาพยาบาล -มีการปรับปรุงหน้าบ้าน มีการถางป่าหน้าบ้านเพื่อไม่ให้บดบังวิสัยทัศน์


การเปลี่ยนแปลงชุมชน -เดิมเมื่อก่อนไม่มีใครสนใจการพัฒนา ตอนนี้ทุกคนก็เริ่มหันมาให้ความสนใจ ในการพัฒนาหมู่บ้าน -เมื่อก่อนมองเรื่องอุบัติเหตุไม่สำคัญ ตอนนี้ให้ความสำคัญ -มีการจัดทำแหล่งเรียนรู้ในชุมชน -มีการปลูกผัก ปลูกดอกไม้ และร่วมพัฒนาให้บ้านน่าอยู่ น่ามอง ลดอุบัติเหตุ -ทุกครอบครัวรณรงค์สวมหมวกนิรภัยสร้างความตระหนัก
-โรงเรียนมีการสอนแนะไปยังผู้ปกครอง
-เดิมรถซิ่งเยอะ ตอนนี้หัวค่ำไม่มีเลย


บทสรุปที่ได้รับในชุมชน
1.การทำงานในช่วงแรก อาจจะมีประชาชนต่อต้านเพราะไม่เข้าใจ แต่เมื่อปล่อยไปตามเวลา ทุกอย่างจะเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น 2.การบังคับกฎหมาย ถ้าทุกหน่วยงานร่วมกัน ก็จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้เร็วขึ้น
3.จากเดิมเราคุยกับชาวบ้านไม่สนใจ แต่ปัจจุบัน แต่สะกิดเตือนด้วยคำพูด ก้ทำให้คนเปลี่ยนแปลงไป 4.การทำกิจกรรมซ้ำๆ เดิมๆ ทำให้คนเปลี่ยนพฤติกรรมได้
5.การทำโครงการนี้เหมือนกับได้บุญเพราะไม่มีคนได้รับบาดเจ็บเลย
6.การทำโครงการ มีความปลอดภัยบนท้องถนน มากกว่าร้อยละ 90 7.ตอนนี้ จุดเสี่ยงในชุมชน ลดน้อยลง เพราะทุกคนได้ร่วมกันจัดระเบียบทางสังคม

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 10 คน จากที่ตั้งไว้ 10 คน
ประกอบด้วย

พี่เลี้ยงติดตามผลการดำเนินงาน กับกลุ่มเป้าหมาย 10 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

การบันทึกกิจกรรมการดำเนินงานยังไม่ครอบคลุม ให้เพิ่มความครอบคลุม และการจัดทำหลักฐานทางการเขียน ต้องเขียนให้ถูกต้องตามระเบียบที่กำหนดไว้

สภาชุมชนบ้านปากคลองวัดแดง ครั้งที่ 624 กรกฎาคม 2559
24
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย srilai2557
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาของคณะทำงาน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมประชุมสภาผู้นำบ้านปากคลองวัดแดง ครั้งที่ 7 โดยคณะทำงานเข้าร่วมประชุม กันที่ รพ.สต.เขาพระบาท ในเวลา 09.00น. วาระที่ 1 โดยนางศรีวิไลทองใสพร ผู้รับผิดชอบโครงการ ประชุมชี้แจง กิจกรรมที่ผ่านมาปรับสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุซึ่งกิจกรรมในวันที่ผ่านมาก็ได้มีคณะทำงานร่วมกับ อบต.เขาพระบาทซึ่งมี นางฉวีวรรณ แก้วเขียว นายก อบต.เขาพระบาท เเละพนังงาน อบต.ร่วมในกิจกรรมนักเรียนโรงเรียนวัดแดงรพ.สต.เขาพระบาท ร่วมกันปรับสภาพแวดล้อมข้างทางถนน ทางเข้าหมู้บ้านเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุที่จะตามมาบนท้องถนนซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีนักเรียนวัดแดง ร่วมมือกันช่วยกับถางหญ่าข้างทางเก็บวัสดุต่างๆ ที่จะเป็นอันตรายในการสัญจรนักเรียนดีใจที่ได้ร่วมกันพัฒนาหมู่บ้านได้ทำกิจกรรมนอกห้องเรียนด้วย วาระที่ 2 ชี้แจงกิจกรรมในครั้งต่อไปคือกิจกรรม ประชุมสภาผู้นำครั้งที่ 8
วาระที่ 3 ชี้แจงกิจกรรมอื่นๆ

1)ให้เฝ้าระวังโรคระบาดในช่วงนี้คือโรคมือ เท้า ปาก ขอความร่วมมือในการรณรงค์ให้ความรู้เรื่องโรค มือ เท้า ปาก ถ้าพบเด็กที่สงสัยให้หยุดพักการเรียนนอนพักอยู่ที่บ้านงดคลุกคลีกับคนอื่น รับประทานอาหารอ่อนๆ พร้อมสังเกตอาการระวังเกิดโรคแทรกซ้อนได้แก่ไข้สูงไม่ลดลง เด็กซึมลง อาเจียนบ่อยหายใจหอบ และแขนขาอ่อนแรงให้รีบนำส่ง รพ.ทันที 2) ธกส.ประชาสัมพันธ์ให้ขึ้นทะเบียนเกษตรกรปี 2559-2560 เพื่อรับเงินไร่ละ 1000 บาท ไม่เกิน 10 ไร่ 3) ให้ลงทะเบียนคนจนวันที่ 15 ก.ค.-15 ส.ค.2559 ที่ ธนาคารธกส.และธนาคารออมสินโดยมีอายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป มีรายได้ต่ำกว่า 100 บาทต่อปี ให้สำรวจทะเบียนทรัพย์สินและหนี้สินแล้วให้ไปขึ้นทะเบียนเพื่อรัฐจะได้ช่วยเหลือ 4) วันที่ 7 สิงหาคม2559 การสนันบสนุนการออกเสียงประชามติฝากประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่มีสิทธิ ไปใช้สิทธิด้วย 5) ช่วงนี้มีโรคที่เกิดจากน้ำและอาหารที่เป็นสื่อ ต้องไปไปดูในเรื่องของความสะอาดหรือสุขลักษณะ กินร้อนช้อนกลางล้างมือ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 70 คน 2.มีการชี้แจงกิจกรรมที่ผ่านมาคือกิจกรรมปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดเสี่ยง 3.มีภาคีเครือข่ายมาร่วมในการทำกิจกรรมคืออบต.เขาพระบาทโรงเรียนวัดแดงรพ.สต.เขาพระบาท 4.กิจกรรมในครั้งต่อไป คือ กิจกรรม ประชุมสภาผู็นำครั้งที่ 8 5.มีการแจ้งกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน การระวัง โรคมือเท้าปาก การขึ้นทะเบียนคนจนการขึ้นทะเบียนเกษตรกรการออกเสียงประชามติ 6 ทราบข่าวสารที่ ธกส.ประชาสัมพันธ์ให้ขึ้นทะเบียนเกษตรกรปี 2559-2560
7 ทราบข่าวสารการลงทะเบียนคนจนที่ธนาคารธกส.และธนาคารออมสิน วันที่ 15 ก.ค.-15 ส.ค.2559
8 ทราบข่าววันที่ไปออกเสียงประชามติ 9 ทราบข่าวโรคที่เกิดจากน้ำและอาหารที่เป็นสื่อกลางและวิธีการป้องกัน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 70 คน จากที่ตั้งไว้ 70 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานเข้าร่วมประชุม 70 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ปรับสภาพแวดล้อมที่เสี่ยง22 กรกฎาคม 2559
22
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย srilai2557
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อปรับจุดเสี่ยงภายในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรม ปรับสภาพแวดล้อมที่เสี่ยง ในพื้นที่บ้านปากคลองวัดแดง และปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน โดยนัดพบกันที่ วัดแดง ในเวลา 09.00 น. เพื่อร่วมกันพูดคุยและวางแผนอีกครั้งก่อนลงทำกิจกรรม - เริ่มด้วยนางศรีวิไล ทองไสพรผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวตอนรับทุกๆ คนที่เข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งจะทำทีมโดยคณะทำงาน อสม.ม.6 รพ.สต.เขาพระบาท และ อบต.เขาพระบาท
-นักเรียนโรงเรียนวัดแดงมาร่วมกันปรับสภาพแวดล้อมกำจัดจุดเสี่ยงถนนภายในหมู่บ้านโดยมีนายกฉวีวรรณ แก้วเขียว นายก อบต.เขาพระบาท นายมนูญ พลายชุมผอ.รพ.สต.เขาพระบาท และพี่เลี้ยงเข้าร่วมในครั้งนี้ด้วย โดยเมื่อประชุมครั้งที่ผ่านมาได้ให้ทุกคนเตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือมาด้วย เช่น พร้า จอบ กรรไกรตัดกิ่งไม้ ถุงสำหรับใส่เศษขยะ ซึ่งกิจกรรมในวันนี้มีการปรับจุดเสี่ยงข้างถนนทั้งสองข้างของ ถนนสายปากคลองวัดแดง โดยการเก็บขยะสองข้างถนน ตัดต้นไม้ที่รกข้างถนนในเวลาที่รถสัญจรไปมาจะได้มองเห็นรถที่ออกจากซอยที่ขับในทางโค้ง ซึ่งก็นักเรียนวัดแดงมาร่วมกันช่วยกิจกรรมในวันนี้ด้วย เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน เล็งเห็นจุดเสี่ยงและสิ่งที่เป็นปัจจัยในการเกิดอุบัติเหตุ หลังจากนั้นก็ให้แบ่งทีมไปกำจัดจุดเสี่ยง โดยทีมผู้ชายก็จะมีหน้าที่ในการตัดแต่งกิ่งไม้ข้างถนนส่วนผู้หญิงจะช่วยกันเก็บขยะ และกิ่งไม้ที่ตัดแล้ว ซึ่งกิจกรรมในวันนี้ทุกคนก็ช่วยกันร่วมกันในการปรับสถาพแวดล้อมซึ่งนักเรียนก็ได้มีกิจกรรมนอกห้องเรียน มีความสนุกในการทำกิจกรรมมีการช่วยเหลือกันในการทำกิจกรรม มีความสัมพันธ์ที่ดีกับคณะทำงาน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 220 คน 2.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม คือ อสม.ม.6 อบต.เขาพระบาท รพ.สต.เขาพระบาทผู้นำชุมชน นักเรียนโรงเรียนวัดแดง 3.ได้การกำจัดจุดเสี่ยง ที่เป็นอันตรายข้างถนน 4.มีการแบ่งหน้าที่ในการทำงาน คือโดยทีมผู้ชายก็จะมีหน้าที่ในการตัดแต่ง กิ่งไม้ข้างถนนส่วนผู้หญิงก็จะช่วยกันเก็บขยะ และกิ่งไม้ที่ตัดแล้ว 5.ถนนมีความปลอดภัยขึ้นคือไม่มีต้นไม้ใหญ๋หรือพุ่มไม้ข้างที่ ที่ทำให้มองไม่ค่อยเหนทางหรือโค้งข้างหน้าในเวลาขับรถ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 200 คน จากที่ตั้งไว้ 200 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานผูhนำชุมชนเยาวชน นักเรียน อสม.

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธ สุขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สภาชุมชนบ้านปากคลองวัดแดง ครั้งที่ 520 พฤษภาคม 2559
20
พฤษภาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย srilai2557
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาของคณะทำงาน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วาระที่ 1 แจ้งเพื่อทราบ
1.การควบคุมโรคไข้เลือดออก ช่วงเดือนนี้เป็นเดือนรณรงค์ควบคุมไข้เลือดออก ขอความร่วมมือทุกครัวเรือนให้ความร่วมมือ 2.รายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออก พบผู้ป่วย 1 ราย ในพื้นที่ ม.5 ตรุด ต.เขาพระบาท อ.เชียรใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช วันที่ป่วย 17/1/2016 สิ้นสุดรักษา 19/1/2016
3.ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ ประกาศจังหวัดนครศรีธรรมราช เกี่ยวกับเขตภัยแล้ง ตำบลเขาพระบาท หมู่ที่ 1 – 9 ประกาศเมื่อ 3 พฤษภาคม 2559
4.ได้ประกาศมาตราการช่วยเหลือด้านการแพทย สำหรับผู้ประสบภาวะภัยแล้ง

วาระที่2 วาระการพัฒนางาน 1.ขอบคุณทุกคนที่ให้ความร่วมมือในการวิเคราะห์กระบวนการพัฒนาตำบลเขาพระบาท เมื่อ 22 เมย.59 2.มะเร็งปากมดลูกให้หมู่บ้านสำรวจรายชื่อ หญิงอายุ 30–60 ปี เพื่อทำการรณรงค์มะเร็งปากมดลูก ในช่วงเดือนมิถุนายน 2559
วันที่รณณรงค์ตรวจมะเร็งปากมดลูก วันพุธที่ 15,21, 29 มิถุนายน จำนวน 150 คน

วาระของโครงการวันนี้ได้ประชุมร่วมกับโรงเรียนวัดแดง โดยการแบ่งคณะทำงานออกเป็นทีมและจับคู่กันทำงาน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.คณะทำงานประชุม 50 คน ผลลัพธ วาระที่ 1 แจ้งเพื่อทราบ
1.มีการรณรงค์ควบคุมโรคไข้เลือดออกและขอความร่วมมือทุกครัวเรือนให้ความร่วมมือ 2.มีการรายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออก
3.มีการประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ ประกาศจังหวัดนครศรีธรรมราช
4.มีการประกาศมาตราการช่วยเหลือด้านการแพทย สำหรับผู้ประสบภาวะภัยแล้ง

วาระที่2 วาระการพัฒนางาน มีการขอบคุณทุกคนที่ให้ความร่วมมือในการวิเคราะห์กระบวนการพัฒนาตำบลเขาพระบาท 2.มีการมอบหมายให้หมู่บ้านสำรวจรายชื่อ หญิงอายุ 30–60 ปี และนัดวัน รณณรงค์ตรวจมะเร็งปากมดลูก วันพุธที่ 15,21, 29 มิถุนายน จำนวน 150 คน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานเข้าร่วมประชุม 50 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธ์ สุขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สภาชุมชนบ้านปากคลองวัดแดง ครั้งที่ 423 เมษายน 2559
23
เมษายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย srilai2557
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาของคณะทำงาน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.วันนี้มีการประชุมคณะทำงาน ซึ่งมีวาระที่เกี่ยวข้องคือ
วาระประชุมจากหมู่บ้าน
1.1 ปีนี้ทางด้านสาธารณสุขจะลงประเมินการควบคุมโรคทุกตำบลให้จัดทีมทำงานควบคุมโรคให้เข้มแข็ง โดยมีคณะทำงานที่ชัดเจน มีประเด็นการพัฒนางานที่ลดการเกิดโรคในพื้นที่ 1.2 ทางจังหวัดนครศรีธรรมราชได้กำหนดให้มีประเพณีแห่ผ้าขึ้นพระธาตุ ขอเชิญทุกคนแต่งกายชุดขาวให้ทุกคนไปร่วมงานได้ 1.3 รายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออก อำเภอเชียรใหญ่อยู่ลำดับที่ 19ปัญหาที่พบคือ ยุงเยอะ ขอความกรุณาให้ทุกครัวเรือนใช้ยาฉีดพ่นกำจัดยุง และยากันยุง และพบโรคฉี่หนู เชียรใหญ่ อันดับ 2 1.4 ตอนนี้พบโรคที่พบการระบาดในขณะนี้คือ โรคซิกา มีผลต่อหญิงตั้งครรภ์ทำให้เด็กสมองพิการ 1.5 จากที่กลุ่ม อสม.ร่วมกับร้านชำในพื้นที่ดำเนินการตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร พบสารกันรา ในน้ำผลไม้ดอง
1.6 ขอความร่วมมือให้ อสม.ทุกคน และผู้นำชุมชนทุกคน สำรวจผู้สูงอายุ ตามแบบกิจวัตรประจำวันหรือ ADL และให้เทียบกับเกณฑ์ มี 10 ข้อ 20 คะแนน แต่ละข้อคะแนนไม่เหมือนกัน
7.ทุกครัวเรือนมีการแจ้ง อสม.หรือ ผู้นำ ให้ทราบว่า เดือนนี้มีเด็กเกิดใหม่ คนตาย คนย้ายเข้า ในเขตรับผิดชอบกี่คน เพื่อนำข้อมูลรายงานผลในแบบรายงาน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.คณะทำงานเข้าร่วมประชุม50 คน ผลลัพธ์ที่ได้ 1.1 คณะทำงานทราบกิจกรรมที่สาธารณสุขจะลงประเมินการควบคุมโรคทุกตำบลต้องจัดทีมทำงานควบคุมโรคที่เข้มแข็งและมีคณะทำงานที่ชัดเจน 1.2 คณะทำงานทราบกำหนดการประเพณีแห่ผ้าขึ้นพระธาตุ ของจังหวัดนครศรีธรรมราช 1.3 ได้รับรายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออก อำเภอเชียรใหญ่อยู่ลำดับที่ 19และพบโรคฉี่หนู เชียรใหญ่ อันดับ 2 1.4 มีการพบโรคระบาดในขณะนี้คือ โรคซิกา มีผลต่อหญิงตั้งครรภ์ทำให้เด็กสมองพิการ 1.5อสม.ร่วมกับร้านชำลงพื้นที่พื้นตรวจพบสารปนเปื้อนในอาหาร พบสารกันรา ในน้ำผลไม้ดอง
1.6 ขอความร่วมมือให้ อสม.ทุกคน และผู้นำชุมชนทุกคน สำรวจผู้สูงอายุ ตามแบบกิจวัตรประจำวัน 7.อสม.หรือ ผู้นำ ทราบว่าในเดือนนี้มีเด็กเกิดใหม่ คนตาย คนย้ายเข้า ในเขตรับผิดชอบกี่คน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานประกอบด้วย กลุ่มแกนนำ ผู้นำ และเยาวชน เข้าร่วมประชุม 

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธ สุขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

รณรงค์สวมหมวกกันน้อค7 เมษายน 2559
7
เมษายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย srilai2557
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อรณรงค์สวมหมวกกันน้อคและประชาสัมพันธ์โครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้ตัวแทนชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมเดินรณรงค์สวมหมวกกันน็อคและมีการจัดแข็งกีฬาประจำตำบล กลุ่มเป้าหมาย 550 คน ทั้งตำบล

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม550 คน
2.มีการรณรงค์กิจกรรมสวมหมวกกันน้อค
3.ได้รณรงค์ออกกำลังกาย ลดเสี่ยง ลดโรค

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 550 คน จากที่ตั้งไว้ 500 คน
ประกอบด้วย

ตัวแทนชุมชนทุกหมู่บ้าน จำนวน 9 หมู่บ้าน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ข้อมุูลอุบัติเหตุ ลดตาย ลดบาดเจ็บ2 เมษายน 2559
2
เมษายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย srilai2557
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อลดอุบัติเหตุที่บ้านปากคลองวัดแดง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้กลุ่มคณะทำงานและกลุ่มเยาวชน ทำการประชุมวางแผนและสะท้อนสถานการณ์ที่ผ่านมาทั้งระดับโลกและระดับประเทศเพื่อลดอุบัติเหตุในชุมชน
จากการเก็บสถิติของสถาบันวิจัยด้านการคมนาคม มหาวิทยาลัยมิชิแกน สหรัฐอเมริกา ร่วมกับข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก ระบุว่า สถิติการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนทั่วโลก มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 18 คน ต่อประชากร 100,000 คนต่อปี แต่สำหรับไทยนามิเบีย และอิหร่าน ซึ่งเป็น 3 อันดับต้นๆ มีสถิติมากกว่าค่าเฉลี่ยเกิน 2 เท่า นั่นคือ 45 คน, 44 คน, และ 38 คนต่อประชากร 100,000 คนต่อปี ตามลำดับ ส่วน 10 ประเทศที่มีสถิติการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนมากที่สุดในโลกได้แก่1.นามิเบีย (45 คน/แสน) 2.ไทย (44 คน/แสน) 3.อิหร่าน (38 คน/แสน) 4.ซูดาน (36 คน/แสน) 5.สวาซิแลนด์ (36 คน/แสน) 6.เวเนซุเอลา (35 คน/แสน) 7.คองโก (34 คน/แสน) 8.มาลาวี (32 คน/แสน) 9.สาธารณรัฐโดมินิกัน (32 คน/แสน) 10. อิรัก (32 คน/แสน) จากตัวเลขเสียชีวิตจากอุบัติเหตุมีมากกว่าโรคร้ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเอดส์ มะเร็ง หวัดนก ฯลฯ แต่เหตุผลที่คนไทยมองข้ามเรื่องนี้ เพราะคิดว่าอุบัติเหตุมันเป็นเรื่องของเวรกรรม เลยไม่คิดจะหาทางป้องกันอย่างจริงจัง ทั้งหน่วยงานราชการ และผู้ใช้รถใช้ถนน ทั้งๆ ที่ความจริง อุบัติเหตุไม่ใช่เรื่องของเวรกรรม แต่ทุกคนป้องกันได้ โดยเฉพาะผู้ขับรถ หากไม่ประมาท และเคารพกฎจราจรอย่างเคร่งครัด ปัญหาอุบัติเหตุทางถนนในประเทศไทยคนมักจะมองว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดาและเป็นเรื่องไกลตัว แต่ในความเป็นจริงพบว่าปัจจุบันนี้มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุสูงมาก โดยเฉพาะช่วง 7 วันอันตรายของเทศกาลปีใหม่ สงกรานต์ มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 300 คน เฉลี่ยวันละเกือบ 50 คน ส่วนใหญ่จะเกิดที่ทางหลวงแผ่นดิน 37.9% ถนน อบต.และถนนในหมู่บ้าน 36.7% ทางตรง 64.9% รองลงมาคือทางโค้ง 19.7% โดยมีสาเหตุมาจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 39.1% ขับรถเร็วเกินที่กฎหมายกำหนด 23.6% จักรยานยนต์มากที่สุด และลักษณะการเกิดอุบัติจะพบว่ามีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กลุ่มคณะทำงานและเยาวชนจำนวน 50 คน ได้ตระหนักถึงปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนนทั่วโลกและในประเทศไทย ซึ่งเราสามารถป้องกันได้ โดยเฉพาะผู้ขับรถ หากไม่ประมาท และเคารพกฎจราจรอย่างเคร่งครัด

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

กลุ่มคณะทำงานและกลุ่มเยาวชน 50 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

กฎหมายต้องรู้30 มีนาคม 2559
30
มีนาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย srilai2557
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อลดอุบัติเหตุที่บ้านปากคลองวัดแดง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้อบรมให้ความรู้เรือง กฎจราจรที่นักเรียนควรรู้
1. การเดินถนน - ถนนที่มีทางเท้าจัดไว้ควรเดินบนทางเท้า อย่าเดินใกล้ทางรถ โดยหันหลังให้รถที่กำลังแล่นมา ก่อนที่จะก้าวลงทางรถต้องมองซ้าย-ขวาก่อนเสมอ - ถนนที่ไม่มีทางเท้า ควรเดินชิดขอบริมทางขวาของถนน และถ้ามากันเป็นหมู่คณะก็ไม่ควรเดินคู่กัน ควรเดินเรียงเดี่ยว - เวลาจูงเด็กควรให้เด็กเดินด้านในของถนนและจับมือเด็กไว้ให้มั่นเพื่อป้องกันเด็กวิ่งออกไปในทางรถ - การเดินถนนในที่มืด ควรสวมเสื้อขาวและถ้าเป็นไปได้ควรพกไฟฉายติดตัวไว้สำหรับส่องทาง - แถวหรือขบวนทหาร ตำรวจ ลูกเสือ หรือนักเรียนที่เดินกันอย่างเป็นระเบียบจะเดินบนทางรถก็ได้โดยเดินชิดทางรถด้านขวา หรือด้านซ้ายตามความจำเป็น 2. การข้ามถนน - ควรข้ามถนนบนทางม้าลายทุกครั้ง หรือใช้สะพานลอย ซึ่งถือเป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุด และหากจำเป็นต้องข้ามถนนในเวลากลางคืนก็ควรหาที่ข้ามที่มีแสงสว่าง - ก่อนข้ามถนนทุกครั้งควรมองซ้าย-ขวา ให้แน่ใจว่าไม่มีรถกำลังแล่นมา จึงจะข้ามได้ และควรเดินอย่างรวดเร็ว อย่าวิ่งข้ามถนน - อย่าข้ามถนนโดยออกจากที่กำบังตัว เช่น ออกจากซอย รถที่จอดอยู่ เพราะหากรถที่สวนมามองไม่เห็นล่วงหน้าอาจทำให้เกิดอันตรายได้ - การข้ามถนนที่รถเดินทางเดียว ต้องแน่ใจเสียก่อนว่ารถแล่นมาทางไหนและมีความปลอดภัยพอจึงจะข้ามได้ - ถนนที่มีเกาะกลางถนนต้องข้ามทีละครึ่งถนน โดยข้ามครั้งแรกแล้วพักที่เกาะกลาง จากนั้นจึงข้างครึ่งหลังต่อไป - การข้ามถนนในช่องทางข้ามที่บริเวณทางแยกควรระวังรถที่จะเลี้ยวเข้ามาหาตัวท่านด้วย - อย่าข้ามถนนเมื่อตำรวจกำลังปล่อยรถเดินอยู่ หรือเมื่อตำรวจให้สัญญาณห้ามคนเดินเท้าอยู่ และถ้าไม่มีตำรวจแต่มีสัญญาณไฟคอยบอก ถ้าเห็นรูปคนสีเขียวกะพริบขึ้นที่สัญญาณไฟก็ให้รีบข้ามถนนโดยเร็ว

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม 200 คนมีความรู้เรื่องกฎจราจร เช่นการเดินถนน และ การข้ามถนน ในที่สาธารณะ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 250 คน จากที่ตั้งไว้ 250 คน
ประกอบด้วย

เด็กนักเรียนผู้ปกครอง

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ติดตามความคืบหน้าของโครงการ26 มีนาคม 2559
26
มีนาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย srilai2557
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามการดำเนินงานของโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมติดตามโครงการร่วมกับพี่เลี้ยงเพื่อติดตามความคืบหน้าของโครงการที่ ม.วลัยลักษณ์ อ.กำไล ได้ให้ความรู้เรื่องการจัดทำโครงการและให้ผู้เข้าร่วมประชุมนั่งสมาธิก่อนเริ่มการประชุมมีการหลับตานึกถึงโครงการที่ได้ทำมาในระยะเวลา 6 เดือน ว่าจากที่ทำไปแล้ว มีใครที่มีพฤติกรรมเปลี่ยนไปบ้าง เกิดการรวมกลุ่มอย่างไรบ้าง สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปในชุมชนมีอะไรบ้าง แล้วระยะเวลาที่เหลือเราจะทำอะไรต่อไปบ้างแล้วให้เขียนลงในกระดาษส่งพี่เลี้ยง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1.ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 2 คน
ผลลัพธ์ 1.ได้ทบทวนโครงการว่าได้ทำอะไรไปแล้วบ้าง และจะทำอะไรต่อไปบ้าง
2.ได้กลับไปดูกิจกรรมของตนเองว่า ต้องเพิ่มเติมอะไรอีกบ้างพร้อมรายละเอียดกิจกรรมในเวปไซต์ และรูป ให้ครบถ้วน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

การจัดทำรายงานปิดงวดที่ 1 13 กุมภาพันธ์ 2559
13
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย srilai2557
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อปิดงวดรายงาน งวดที่ 1

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมการติดตามและ พบพี่เลี้ยงพื้นที่และ สจรส.มอโดยตัวแทนโครงการ 2 คน เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อปิดรายงานงวดที่ 1 ที่ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้นำเอกสารให้ สจรส.มอ.ตรวจสอบเอกสาร และพี่เลี้ยงได้แนะนำมาให้ปรับปรุง ดังนี้
1.ค่าถ่ายเอกสารบิลร้านไม่ถูกต้อง และลงไม่ถูกหมวด
2.ขาดใบสำคัญรับเงินของผู้ประสานงานในบางกิจกรรม 3.การเขียนกิจกรรมไม่ตรงกัน
4.รูปถ่ายกับกิจกรรม ไม่สัมพันธ์กัน ขาดกลุ่มเยาวชนในการร่วมกิจกรรม
5.ตำรวจจราจรมาร่วมเวที ให้ใส่ภาพกิจกรรมด้วย เพื่อเห็นการมีส่วนร่วมของภาคี
6.การเขียนผลลัพธ์กว้างเกินไป 7.การเขียนผลลัพธ์ยังไม่สัมพันธ์

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินตามกิจกรรม สรุปได้ว่า ผลผลิต 1.ตัวแทนโครงการเข้าร่วมกิจกรรม 2 คน

ผลลัพธ์ 1.ได้เรียนรู้วิธีการตรวจสอบเอกสารที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กัน ในแต่ละกิจกรรม 2.เรียนรู้การเขียนบิลที่ถูกต้อง 3.ได้ปรับปรุงเอกสารให้ถูกต้อง 4.ได้ปรับข้อมูลกิจกรรมในเว็บไซต์ให้ถูกต้อง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ตัวแทนโครงการ 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

1.ค่าถ่ายเอกสารบิลร้านไม่ถูกต้อง และลงไม่ถูกหมวดแก้ไขโดย ต้องไปขอบิลจากร้านมาใหม่และในการบันทึกให้บันทึกในค่าใช้สอย 2.ขาดใบสำคัญรับเงินของผู้ประสานงานในบางกิจกรรมแก้ไขโดยการต้องไปขอใบเสร็จรับเงินมา 3.การเขียนกิจกรรมไม่ตรงกันแก้ไขโดยการไปบันทึกใหม่ และดูกิจกรรมให้สอดคล้องกัน 4.รูปถ่ายกับกิจกรรม ไม่สัมพันธ์ ขาดกลุ่มเยาวชนในการร่วมกิจกรรมแก้ไข โดยการนำรูปที่มีการร่วมกิจกรรมในโครงการของเยาวชนไปบันทึกเพิ่มเติม 5.ตำรวจจราจรมาร่วมเวที ให้ใส่ภาพกิจกรรมด้วย เพื่อเห็นการมีส่วนร่วมของภาคีแก้ไขโดยการบันทึกภาพเพิ่มเติม 6.การเขียนผลลัพธ์กว้างเกินไป การเขียนผลลัพธ์ยังไม่สัมพันธ์แก้ไขโดยการบันทึกใหม่

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธ์ สุขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สรุปความก้าวหน้าของกิจกรรม12 กุมภาพันธ์ 2559
12
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย srilai2557
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อรายงานความก้าวหน้าของกิจกรรม 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกกรมประชุมสรุปงานขอตัวแทน โดยสภาชุมชน โดยประชุมที่รพ.สต.เขาพระบาท ซึ่งมีคณะทำงานผู้นำชุมชนตัวแทนเยาวชนร่วมในการประชุม โดยนางศรีวิไลทองใสพรประชุมชี้แจง กิจกรรมที่ผ่านมา คือ 1.การเปิดเวทีหมู่บ้าน ทำไปแล้ว 3 จุด ที่ รพ.สต. บ้านกำนัน และบ้านผู้ช่วยพบว่าประชาชนให้ความสนใจ
2.การรณรงค์การใส่หมวกกันน็อค โดยการทำเป็นแผ่นพับและไวนิล พร้อมทั้งให้ความรุ้ทุกครั้งที่ประชุมหมู่บ้าน
3.การสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุ โดยจะร่วมทำแบบสำรวจเกี่ยวกับข้อมูลอุบัติเหตุในชุมชน โดยอาศัยความร่วมมือกับเยาวชนร่วมในการสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุ แต่ปัญหาที่พบคือ นักเรียนต้องไปเรียนหนังสือ เยาวชนนอกระบบ ไปทำงานนอกบ้าน เพราะช่วงนี้ราคายางพาราตกตำ่ ไม่มีงานในหมู่บ้านแต่กิจกรรมครั้งนี้ทุกคนร่วมมือกันอย่างดี
4.การสำรวจแบบสอบถาม ทุกคนมาร่วมกันแสดงความคิดร่วมกันระดม เพื่อจัดทำเป็นฐานข้อมูลซึ่งได้สำรวจมาแล้ว ทั้งหมด5วัน 402 ครัวเรือน และสรุแได้ว่า ครั้งที่ 1 สำรวจได้ 80 ครัวเรือน ครั้งที่ 2 สำรวจได้ 92 ครัวเรือน ครั้งที่ 3 สำรวจได้ 87 ครัวเรือน ครั้งที่ 4 สำรวจ ได้ 75 ครัวเรือน ครั้งที่ 5 สำรวจได้ 68 ครัวเรือน รวม 402 ครัวเรือนเป้าหมาย 450 ครัวเรือนคิดความครอบคลุม ร้อยละ 89.34

5.กิจกรรมในครั้งต่อไป คือการติดตามจาก สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตามไปประชุมที่สำนักงานสนับสนุนสุขภาพที่ 11กิจกรรมคณะทำงานจะสรุปข้อมูลที่ได้จากการสำรวจแต่ละครัวเรือน นำมาสรุปเป็นภาพรวมของชุมชน และจะต้องไปปิดงวดกิจกรรมครั้ิงที่ 1 ในวันที่ 13 ก.พ.2559 ที่ม.วลัยลักษณ์

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานตามโครกงาร พบว่า
1.มีการวางแผนการทำงานคือการเตียมเอกสารเพื่อปิดงวดรายงานที่ 1และมีการติดตามผลการดำเนินโครงการ 2.ได้สรุปการสำรวจทั้งหมดที่ผ่านมาได้ 402 ครัวเรือนจากเป้าหมายทั้งหมด 450 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 89.34 3.ได้เตรียมความพร้อมและเตรียมเอกสารในการปิดงวดที่ 1

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 10 คน จากที่ตั้งไว้ 10 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานผู้นำชุมชน 10 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ปัญหาในช่วงการสำรวจที่พบคือ นักเรียนต้องไปเรียนหนังสือ เยาวชนนอกระบบแก้ไขโดยการ ให้คณะทำงานได้ลงสำรวจก่อนเมื่อเลิกเรียนเยาวชนก็ได้ได้ตามไปช่วยทีหลัง

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธ์ สุขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

พบพี่เลี้ยงเพื่อปิดรายงานงวดที่ 111 กุมภาพันธ์ 2559
11
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพี่เลี้ยง โดย yongyut
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อปิดงวดรายงาน งวดที่ 1

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้ตัวแทนโครงการ เข้าพบพี่เลี้ยง เพื่อนำเอกสารการดำเนินงานมาส่งให้พี่เลี้ยงได้ตรวจสอบ พบว่า
1.การบันทึกรายงานกิจกรรม ย้งไม่ครอบคลุม ซึ่งได้ปรับปรุงแก้ไปแล้ว แต่ยังไม่ครบทุกฉบับ ให้ปรับปรุงต่อไป
2.รายงานการเงิน การตรวจสอบหลักฐานพบว่า ยังต้องปรับปรุง บางฉบับ และโครงการได้นำไปแก้ไขแล้ว เพื่อรอให้ สจรส.ตรวจสอบต่อไป ในวันที่ 13 - 14 กพ.59

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.โครงการได้เรียนรู้วิธีการปิดงวดรายงานกิจกรรม 2.โครงการได้เรียนรู้วิธีการปิดงวดรายงานการเงิน
3.โครงการได้เรียนรู้วิธีแก้ปัญหาการแก้ไขข้อมูลออนไลน์

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 5 คน จากที่ตั้งไว้ 5 คน
ประกอบด้วย

ตัวแทน 5 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่ม่ี

ปิดรายงาน งวด 1 กับพี่เลี้ยงพื้นที่ ครั้งที่ 411 กุมภาพันธ์ 2559
11
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย srilai2557
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อปิดรายงานงวด

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรม ปิดรายงาน งวด 1 กับพี่เลี้ยงพื้นที่ในเวลา 08.30 น. เดินทางมาถึงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเขาพระบาท พี่เลี้ยงตรวจเอกสารเพื่อทำการปิดงวดแต่ผลปรากฏว่าการเรียงเอกสารไม่ถูกต้อง ข้อมูลยังไม่ได้ลงโปรแกรม ตัองเปลี่ยนแปลงแก้ไข 12.30น. ตรวจเอกสารทางการเงินเป็นใบสำคัญรับเงิน ใบเสร็จรับเงินผิดต้องแก้ไข เขียนรายงานการประชุมที่พบปะพี่เลี้ยงในแต่ละครั้งและให้บันทึกในเว็บไซต์โดยการเพิ่มกิจกรรมพบพี่เลี้ยงด้วย 22.30 น. เดินทางกลับบ้าน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลที่เกิดขึ้นจริง: การปิดงวดงบประมาณ การจัดเรียงเอกสารสำคัญทางเงิน การจัดเก็บเอกสาร ผลลัพธ์ที่เกิดจริง: ได้รู้ถึงการปิดงวดงบประมาณการทำกิจกรรม ได้รู้ถึงความสำคัญทางการเงินได้รู้ถึงน้ำใจของเพื่อร่วมงาน สิ่งที่เกินความคาดหมาย: ความมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความสามัคคีในทีมงานคือได้ช่วยกันทำเอกสารและบันทึกข้อมูลในเว็บไซต์ให้เสร็จ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 5 คน จากที่ตั้งไว้ 5 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 5 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

1.บิลยังไม่ครบ แก้ไขโดยไปขอทางร้านมาให้ครบ 2.กิจกรรมบางกิจกรรมยังไม่ครบถ้วนให้ไปบันทึกเพิ่มเติมแล้ว

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธ์ สุขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เด็กแวนซ์ร่วมสำรวจข้อมุล ครั้งที่ 56 กุมภาพันธ์ 2559
6
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย srilai2557
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสำรวจข้อมูลในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมที่เด็กแว๊นซ.์ร่วมกับคณะทำงานอสม.กลุ่มเยาวชนแกนนำชุมชนร่วมกันสำรวจข้อมูลเป็นวันสุดท้าย ซึ่งเหลือไม่กี่หลังครัวเรือนเรือนแล้วซึ่งวันนี้ก็มารวมตัวกันที่ รพ.สต.เขาพระบาทตามเดิมโดยนางศรีวิไลทองใสพรได้ให้กำลังใจคณะทำงาน และเยาวชน ผู้เข้าร่วมสำรวจกันทุกคนว่าวันนี้เป็นกิจกรรมการสำรวจครั้งสุดท้ายแล้วหลังจากนั้นก็จะได้นำข้อมูลที่ได้สำรวจไปรวบรวมวิเคราะห์ข้อมูล และได้คืนข้อมูลให้กับชุมชนเพื่อให้ชุมชนได้ตระหนักถึงการใส่หมวกกันน็อคการเกิดอุบัติเหตุในชุมชนขอให้ทุกคนทำให้เต็มที่นางศรีวิไล ทองใสพรพูดให้กำลังใจคณะทำงานและเยาวชนทุกคน แล้วหลังจากนั้นก็ได้แยกย้ายตามกลุ่มเพื่อสำรวจครัวเรือนที่เหลือ

ผลการสำรวข้อมูลครัวเรือน
สรุปผลการสำรวจข้อมูล ครั้งที่5
วันนี้ได้ทำการสำรวจครัวเรือน68ครัวเรือน และทำการสรุปข้อมูลย่อยๆ ดังนี้
1.ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิง ร้อยละ 71
2.อายุของผู้ให้สัมภาษณ์ เฉลี่ย49 3.สถานภาพผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นคู่สมรส ร้อยละ 53
4. จำนวนสมาชิกตามทะเบียน 473คน
5.จำนวนสมาชิกที่อยู่จริง 402 คน
6.ครัวเรือนประกอบอาชีพทางการเกษตร ร้อยละ 85 7.รอบปีที่ผ่านมา ครัวเรือนขายผลผลิตทางการเกษตร ร้อยละ 60 8.รอบปีที่ผ่านมาครัวเรือนขายผลผลิตทางการเกษตรให้กับพ่อค้าคนกลางร้อยละ60 9.ครัวเรือนประสบปัญหาในการประกอบอาชีพทางการเกษตร ร้อยละ 85 10.รายได้หลักของครอบครัวมาจากการเกษตร ร้อยละ 80 11.ปัจจุบันครัวเรือนมีหนี้สิน ร้อยละ 86 12.หนี้สินครัวเรือน ส่วนใหญ่ เป็นหนี้จาก ธกส.ร้อยละ 75 กู้เงินดอก ร้อยละ 30
13.ครัวเรือนมีที่ดินทำกิน ร้อยละ 80 14.สมาชิกในครัวเรือนได้รับข้อมูลข่าวสาร จาก อสม.ร้อยละ 90 15.สมาชิกในครอบครัวเข้าร่วมกิจกรรมและเป็นสมาชิกดังนี้ ธนาคารหมู่บ้านร้อยละ 90 กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน (กองทุนเงินล้าน) ร้อยละ 80 กลุ่มสวัสดิการชุมชนตำบลร้อยละ 50 กลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์สูงอายุ ร้อยละ 80 กลุ่มด้านสังคมและวัฒนธรรม ร้อยละ 82 กลุ่มจิตอาสา/ กลุ่มบำเพ็ญประโยชน์ร้อยละ90 กลุ่มแกนนำสุขภาพ ร้อยละ 81 16.รอบปีที่ผ่านมา สมาชิกครัวเรือนเข้าร่วมงานประเพณี ทุกครั้ง ร้อยะ 75 17. เหตุผลที่สมาชิกในครัวเรือน เข้าร่วมกิจกรรมงานประเพณีของหมู่บ้าน มากที่สุด คือศรัทธาร้อยละ100 18.ปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมให้ชุมชนเข้มแข็ง คือ การรวมกลุ่มและร่วมทำกิจกรรม ร้อยละ 70 19.ครัวเรือนมีกลุ่มเป้าหมายคุมกำเนิด ร้อยละ 10 20.สมาชิกในครัวเรือนกำลังตั้งครรภ์ ร้อยละ 2 21.ครัวเรือนมีเด็กอายุแรกเกิดถึง 5 ปี ร้อยละ 2.5 22.เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี ผู้ปกครองพาเด็กไปรับวัคซีนทุกครั้ง ร้อยละ 95 23.ครอบครัวมีผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป ร้อยละ 10 24.ผู้สูงอายุเป็นสมาชิกฌาปนกิจ ร้อยละ 90 25.ในรอบปีที่ผ่านมา สถานพยาบาลที่ท่านใช้บริการบ่อยครั้งที่สุด รพสต.เขาพระบาท ร้อยละ 90 26.เหตุผลที่เลือกเข้ารับบริการรักษาพยาบาลเพราะใกล้บ้านและรักษาดี ร้อยละ 80 27.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 10 28.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาสูบบุหรี่ ร้อยละ 6 29.ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมารับประทานอาหารสุกๆดิบๆ ร้อยละ 7

30.ออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่ออกแรงนานกว่าครั้งละ 30 นาทีขึ้นไป ร้อยละ 80
31.นอนหลับเพียงพอ วันละ 6-8 ชั่วโมง ร้อยละ 90 32.สวมหมวกนิรภัย ขณะขับขี่มอเตอร์ไซด์ ร้อยละ 85 33.นอนในมุ้ง / มุ้งลวด ร้อยละ 80 34.มีวิธีปฏิบัติเพื่อผ่อนคลายความเครียด เช่น สวดมนต์ เล่นกีฬา เป็นต้น ร้อยละ 80 35.รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ ทุกวัน ร้อยละ 85
36.มีการหลีกเลี่ยงหรือลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ร้อยละ 80 37.การล้างมือก่อนรับประทานอาหารทุกครั้งร้อยละ 80 38.การล้างมือหลังการเข้าห้องน้ำทุกครั้งร้อยละ 80

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานตามกิจกรรม พบว่า
ผลผลิต 1.ได้สำรวจข้อมูลวันนี้ 68 ครัวเรือน (คิดเป็นร้อยละ 22.67) 2.ได้สำรวจข้อมูลจำนวน 5 ครั้ง ได้ข้อมูล 402 ครัวเรือนคิดเป็นร้อยละ 89.33จากกลุ่มเป้าหมาย 450ครัวเรือน 3.ได้มีข้อมูลให้กับชุมชน 1 ชุด ผลลัพธ์ 1.สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคณะทำงานและคนในชุมชนคือในขณะที่ได้ลงสำรวจทุกครัวเรือนก็จะถามชื่อถามความเป็นอยู่พูดคุยทำความสนิทกันก่อนก็เลยทำให้มีความสนิทสนมกันมากขึ้นกับคณะทำงาน และเยาวชน 2.เป็นการฝึกการทำงานร่วมกันและสร้างจิตอาสาให้เกิดในชุมชนคือเยาวชน และคณะทำงานได้มาร่วมในการลงสำรวจได้เสียละสละเพื่อทำงานส่วนร่วมเป็นการสร้างจิตอาสาให้กับเยาวชนและคณะทำงาน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 40 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

ผู้นำชุมชนและคณะทำงาน 20 คน เยาวชน 20 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธ์ สุขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เด็กแวนซ์ร่วมสำรวจข้อมุล ครั้งที่ 431 มกราคม 2559
31
มกราคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย srilai2557
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสำรวจข้อมูลในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมที่เด็กแว๊นซ์ร่วมกับคณะทำงานอสม.กลุ่มเยาวชนแกนนำชุมชน ร่วมกันสำรวจข้อมูลในชุมชนครั้งที่ 4 โดยได้นัดพบเพื่อเตรียมความพร้อมและชี้แจงและสอบถามปัญหาและอุปสรรคเช่นเดิมก่อนลงสำรวจครั้งที่4ที่รพ.สต.เขาพระบาทเวลา 09.00 น. ซึ่งนางศรีวิลัยทองไสพรได้สอบถามถึงการลงสำสวจข้อมูลในครั้งที่3ว่ามีปัญหาหรือ อุปรรคอะไรบ้าง ก็ไม่มีปัญหาอะไรและนางศรีวิไล ก็ได้สอบถามปัญหา หรืออุปสรรคอะไรบ้างจากการสำรวจในครั้งที่ผ่านมาและก็ได้ให้กำลังใจในการทำงานหลังจากนั้นก็ได้ออกไปสำรวจแบ่งตามโซนที่ได้แบ่งไว้ ที่เหลือจากการสำรวจครั้งที่ 2 และนัดกันอีกครั้งในการสำรวจครั้งต่อไปในวันที่ 6 ก.พ.. 2559

วันนี้ได้ทำการเก็บข้อมูล จำนวน 75 หลังคาเรือน แต่พบว่าไม่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ เพราะกลุ่มเยาวชนที่รับผิดชอบชุดนี้ ไม่ได้เรียนการวิเคราะห์ข้อมูลมาก่อน จึงขอความกรุณาพี่เลี้ยงช่วยสอนเยาวชนในการวิเคาระห์ข้อมูลในภายหลัง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานพบว่า
1.มีข้อมูลคืนให้กับชุมชน 2.ฝึกให้เยาวชนมีความเพียรขยันอดทนในการทำงานคือการได้สำรวจข้อมูล เพราะต้องใช้เวลาและความเข้าใจในการสอบถามได้ฝึกความอดทนไปด้วย 3.ฝึกให้เยาวชนเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันในการทำงานช่วยเหลือกัน ในการทำงานเป็นทีมเพราะในแต่ละทีมก็ต้องหมุนเวียนกันไปในการสำรวจแต่ละครัวเรือน เพื่อจะให้ทุกๆคนได้ฝึกฝนและช่วยเหลือกัน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 40 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

ผู้นำชุมชนและคณะทำงาน 20 คน เยาวชน 20 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

1.เยาวชนมีปัญหาเรื่องการสรุปข้อมูล เพราะไม่ได้เรียนการวิเคราะห์ข้อมูล จำเป็นต้องอาศัยพี่เลี้ยง ในการช่วยสอนเยาวชนวิเคราะห์ข้อมูล

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธ์ สุขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ติดตามผลการดำเนินงานงวดที่ 130 มกราคม 2559
30
มกราคม 2559รายงานจากพี่เลี้ยง โดย yongyut
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามรายงานผลการดำเนินงาน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้พี่เลี้ยงโครงการนัดพื้นที่ เพื่อมาเรียนรู้การเขียนรายงานเอกสารและรายงานการปิดงวดที่ 1 ดังนี้
1.ติดตามการรายงานผลการดำเนินงานตามเอกสารและปฏิทินของโครงการ สำหรับโครงการ ได้ทำครบตามกิจกรรม แต่ยังขาดความสมบูรณ์ในการบันทึกข้อมูล และกลุ่มเป้าหมายยังขาดความร่วมมือจากเยาวชน พบว่าช่วงนี้เยาวชนไปเรียนหนังสือ ทำกิจกรรมที่โรงเรียนมากเกิน ทำให้ไม่ได้มีโอกาสมาทำกิจกรรมร่วมกับโครงการ และขอให้ถึงเวลาปิดเทอม กลุ่มเยาวชน จะลงมาช่วยทำกิจกรรม ซึ่งประเด็นนี้พี่เลี้ยงรับทราบ
2.ติดตามตรวจสอบรายงานการเงิน พบว่า ยังมีหลายกิจกรรม ที่ยังเขียนใบเสร็จไม่ถุูกต้อง ให้ปรับแก้ไขใหม่ เช่น ไม่มีทะเบียนผู้เสียภาษีลายมือชื่อไม่ครบในกิจกรรม การขาดไปเพียง 1 - 2 คน ถือว่าไม่ครบ
3.การบันทึกภาพถ่ายยังไม่ได้บันทึก และเข้าใจว่าช่วงนี้ สัญญาณอินเตอร์เนต มีปัญหา โดยเฉพาะบริเวณช่องเขา พื้นที่ตั้งของชุมชน มีปัญหาอินเตอร์เนตจากมือถือ ได้แนะนำให้มาใช้บริการที่ รพสต.เขาพระบาท

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1.ตัวแทนโครงการ 4 คน เข้ามาเรียนรู้การเขียนรายงานและการสรุปรายงานงวดที่ 1 2.ได้รับทราบปัญหาของโครงการ 3.โครงการได้ทำกิจกรรม มีความก้าวหน้าประมาณ ร้อยละ 40

ผลลัพธ์ 1.ได้ตรวจสอบความถูกต้องรายงานการเงิน มีความถูกต้องเพียงร้อยละ 60 ต้องปรับปรุงอีก ร้อยละ 40
2.ได้ตรวจสอบการเขียนรายงานบันทึกกิจกรรม พบว่า ยังเขียนไม่ละเอียด ให้ไปปรับปรุงเพิ่มเติม 3.ได้ร่วมกันแก้ปัญหาเรื่องกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเยาวชน ไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้เพราะต้องไปทำกิจกรรมที่โรงเรียน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 4 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ตัวแทนโครงการ 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

การติดตามจาก สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม30 มกราคม 2559
30
มกราคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย srilai2557
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อดำเนินการปิดงวดที่ 1

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมพบพี่เลี้ยงเพื่อชี้แจ้งการทำรายงานการเงิน พร้อมตรวจหลักฐานการเงิน ที่สำนักงานสนับสนุนสุขภาพที่ 11  นครศรีธรรมราช 09.30น. ได้ไปพบพี่เลี้ยงเพื่อติดตามผลงานของกิจกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมให้ สจรส.มอ. ตรวจหลักฐาน 10.30น. พี่เลี้ยงได้ตรวจสอบหลักฐานการเงิน ตรวจสอบยอดเงินในโครงการและการบันทึกออนไลน์ และทำการบันทึกแก้ไขข้อผิดพลาด 11.30น. พี่เลี้ยงได้ตรวจสอบหลักฐาน สมุดบัญชีธนาคารจะต้องทำกิจกรรมให้ได้ 60% พร้อมหลักฐานการจ่ายเงินภาษี 12.30น. พักรับประทานอาหารเที่ยง 13.30น. บันทึกข้อมูลเข้าโปรแกรม และสอบถามข้อปัญหา 16.30น. ปิดการอบรม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานพบว่า
ผลผลิต 1.มีผู้เข้าร่วมโครงากร 2 คน ผลลัพธ์ 1.ได้ตรวจความพร้อมของเอกสารได้เข้าใจในการสรุปปิดงวดโครงการฯ
2.ได้เข้าใจการลงบันทึกบัญชี ได้วิธีการบันทึกข้อมูลออนไลน์ 3.ได้ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารด้านการเงิน และมีความเข้าใจในด้านการเงินมากขึ้น

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการ และเจ้าหน้าที่การเงิน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

บิลซื้อวัสดุอุปกรณ์ ยังไม่ถูกต้องยังเขียนไม่ถูกต้องต้องเขียนชื่อโครงการด้วยแก้ไขโดยการไปขอบิลทางร้านมาใหม่

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธ์ สุขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เด็กแวนซ์ร่วมสำรวจข้อมุล ครั้งที่ 323 มกราคม 2559
23
มกราคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย srilai2557
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสำรวจข้อมูลในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมที่เด็กแว๊นซ์ร่วมกับคณะทำงานอสม.กลุ่มเยาวชนแกนนำชุมชน ร่วมกันสำรวจข้อมูลในชุมชนครั้งที่ 3 โดยได้นัดพบเพื่อเตรียมความพร้อมและชี้แจงและสอบถามปัญหาและอุปสรรค ก่อนลงสำรวจครั้งที่ 3 ที่รพ.สต.เขาพระบาทเวลา 09.00 น. ซึ่งนางศรีวิลัยทองไสพรได้สอบถามถึงการลงสำสวจข้อมูลในครั้งที่ 2ว่ามีปัญหาหรือ อุปรรคอะไรบ้าง ก็ไม่มีปัญหาอะไรและนางศรีวิไลก็ได้ให้กำลังใจทุกคนตั้งใจและสู้ๆในการทำรวจในครั้งนี้ ในครั้งที่ 3และขอชื่นชมคณะทำงานทุกคน ที่ทำงานด้วยความตั้งใจความสมัคคีวัยผู้ใหญ่ กับเยาวชน สามารถเข้าทำงานกันได้อย่างดีซึ่งเป็นสิ่งที่ดีที่จะทำให้งานออกมาสำเร็จอย่างดีหลังจากนั้นก็ได้ออกไปสำรวจแบ่งตามโซนที่ได้แบ่งไว้ ที่เหลือจากการสำรวจครั้งที่ 2 และนัดกันอีกครั้งในการสำรวจครั้งต่อไปในวันที่ 30 ม.ค. 2559

ผลการสำรวจข้อมูลครั้งที่ 3 จำนวน87 ครัวเรือน สรุปผลเบื้องต้น ดังนี้
สรุปผลการสำรวจข้อมูล ครั้งที่3
วันนี้ได้ทำการสำรวจครัวเรือน 87ครัวเรือน และทำการสรุปข้อมูลย่อยๆ ดังนี้
1.ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิง ร้อยละ 56
2.อายุของผู้ให้สัมภาษณ์ เฉลี่ย 53 3.สถานภาพผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นคู่สมรส ร้อยละ 45
4. จำนวนสมาชิกตามทะเบียน 396 คน
5.จำนวนสมาชิกที่อยู่จริง 294 คน
6.ครัวเรือนประกอบอาชีพทางการเกษตร ร้อยละ 90 7.รอบปีที่ผ่านมา ครัวเรือนขายผลผลิตทางการเกษตร ร้อยละ 50 8.รอบปีที่ผ่านมาครัวเรือนขายผลผลิตทางการเกษตรให้กับพ่อค้าคนกลางร้อยละ 80 9.ครัวเรือนประสบปัญหาในการประกอบอาชีพทางการเกษตร ร้อยละ 70 10.รายได้หลักของครอบครัวมาจากการเกษตร ร้อยละ 80 11.ปัจจุบันครัวเรือนมีหนี้สิน ร้อยละ 89 12.หนี้สินครัวเรือน ส่วนใหญ่ เป็นหนี้จาก ธกส.ร้อยละ 76 กู้เงินดอก ร้อยละ 23
13.ครัวเรือนมีที่ดินทำกิน ร้อยละ 82 14.สมาชิกในครัวเรือนได้รับข้อมูลข่าวสาร จาก อสม.ร้อยละ 88 15.สมาชิกในครอบครัวเข้าร่วมกิจกรรมและเป็นสมาชิกดังนี้ ธนาคารหมู่บ้านร้อยละ 91 กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน (กองทุนเงินล้าน) ร้อยละ 78 กลุ่มสวัสดิการชุมชนตำบลร้อยละ 40 กลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์สูงอายุ ร้อยละ 87 กลุ่มด้านสังคมและวัฒนธรรม ร้อยละ 78 กลุ่มจิตอาสา/ กลุ่มบำเพ็ญประโยชน์ร้อยละ79 กลุ่มแกนนำสุขภาพ ร้อยละ 86 16.รอบปีที่ผ่านมา สมาชิกครัวเรือนเข้าร่วมงานประเพณี ทุกครั้ง ร้อยะ 70 17. เหตุผลที่สมาชิกในครัวเรือน เข้าร่วมกิจกรรมงานประเพณีของหมู่บ้าน มากที่สุด คือศรัทธาร้อยละ100 18.ปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมให้ชุมชนเข้มแข็ง คือ การรวมกลุ่มและร่วมทำกิจกรรม ร้อยละ 76 19.ครัวเรือนมีกลุ่มเป้าหมายคุมกำเนิด ร้อยละ 11 20.สมาชิกในครัวเรือนกำลังตั้งครรภ์ ร้อยละ 1 21.ครัวเรือนมีเด็กอายุแรกเกิดถึง 5 ปี ร้อยละ 2 22.เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี ผู้ปกครองพาเด็กไปรับวัคซีนทุกครั้ง ร้อยละ 90 23.ครอบครัวมีผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป ร้อยละ 8 24.ผู้สูงอายุเป็นสมาชิกฌาปนกิจ ร้อยละ 95 25.ในรอบปีที่ผ่านมา สถานพยาบาลที่ท่านใช้บริการบ่อยครั้งที่สุด รพสต.เขาพระบาท ร้อยละ 90 26.เหตุผลที่เลือกเข้ารับบริการรักษาพยาบาลเพราะใกล้บ้านและรักษาดี ร้อยละ 82 27.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 11 28.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาสูบบุหรี่ ร้อยละ 9 29.ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมารับประทานอาหารสุกๆดิบๆ ร้อยละ6 30.ออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่ออกแรงนานกว่าครั้งละ 30 นาทีขึ้นไป ร้อยละ 80
31.นอนหลับเพียงพอ วันละ 6-8 ชั่วโมง ร้อยละ 90 32.สวมหมวกนิรภัย ขณะขับขี่มอเตอร์ไซด์ ร้อยละ 82 33.นอนในมุ้ง / มุ้งลวด ร้อยละ 85 34.มีวิธีปฏิบัติเพื่อผ่อนคลายความเครียด เช่น สวดมนต์ เล่นกีฬา เป็นต้น ร้อยละ 80 35.รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ ทุกวัน ร้อยละ 85
36.มีการหลีกเลี่ยงหรือลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ร้อยละ 80 37.การล้างมือก่อนรับประทานอาหารทุกครั้งร้อยละ 85 38.การล้างมือหลังการเข้าห้องน้ำทุกครั้งร้อยละ 85

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานพบว่า
ผลผลิต 1.ได้ทำการสำรวจข้อมูลวันนี้ 87 ครัวเรือน (ร้อยละ 19.33 ) 2.ได้ทำการสำรวข้อมูลครัวเรือนเพิ่มเป็น 57.55 ผลลัพธ์ 1.ได้เห็นถึงการทำงานร่วมกันระหว่างวัย 2.คณะทำงานมีความกระตือรือร้นในการทำงาน 3.อสม.ได้สอนแนะแนวการทำงานให้กับเยาวชน คือในการลงสำรวจอสม.และคณะทำงานได้แนะนำการทำแบบสอบถาม การพูดกับคนที่ให้สัมภาษณ์การปฏิบัติตัวขณะสำรวจข้อมูล

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 40 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

ผู้นำชุมชนและคณะทำงาน 20 คน เยาวชน 20 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธ์ สุขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เด็กแวนซ์ร่วมสำรวจข้อมุล ครั้งที่ 216 มกราคม 2559
16
มกราคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย srilai2557
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสำรวจข้อมูลในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมที่เด็กแว๊นซ์ร่วมกับคณะทำงานอสม.กลุ่มเยาวชนแกนนำชุมชน ร่วมกันสำรวจข้อมูลในชุมชนครั้งที่ 2โดยได้นัดพบเพื่อเตรียมความพร้อมและชี้แจงและสอบถามปัญหาและอุปสรรค ก่อนลงสำรวจครั้งที่ 2ที่รพ.สต.เขาพระบาทเวลา 09.00 น. ซึ่งนางศรีวิลัยทองไสพรได้สอบถามถึงการลงสำสวจข้อมูลในครั้งที่ 1 ว่ามีปัญหาหรือ อุปรรคอะไรบ้างซึ่งทุกคนก็ตอบว่าไม่มีปัญหาอะไรส่วนเยาวชนก็ตอบว่า ได้ทำกิจกรรมแล้สสนุกกับการได้ทำกิจกรรมใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ได้รู้จักคนเพิ่มอีกมากมายและนางศรีวิไลก็ได้ได้ให้กำลังใจทุกคนตั้งใจและสู้ๆในการสำรวจในครั้งนี้หลังจากนั้นก็ได้ออกไปสำรวจแบ่งตามโซนที่ได้แบ่งไว้ ที่เหลือจากการสำรวจครั้งที่ 1 และนัดกันอีกครั้งในการสำรวจครั้งต่อไปในวันที่ 23 ม.ค. 2559

วันนี้ได้สรุปผลการสำรวจข้อมูล 92 หลังคาเรือน ดังนี้
สรุปผลการสำรวจข้อมูล ครั้งที่ 2
วันนี้ได้ทำการสำรวจครัวเรือน 92ครัวเรือน และทำการสรุปข้อมูลย่อยๆ ดังนี้
1.ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิง ร้อยละ 70
2.อายุของผู้ให้สัมภาษณ์ เฉลี่ย 63 3.สถานภาพผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นคู่สมรส ร้อยละ 51
4. จำนวนสมาชิกตามทะเบียน 401 คน
5.จำนวนสมาชิกที่อยู่จริง 301 คน
6.ครัวเรือนประกอบอาชีพทางการเกษตร ร้อยละ 90 7.รอบปีที่ผ่านมา ครัวเรือนขายผลผลิตทางการเกษตร ร้อยละ 56 8.รอบปีที่ผ่านมาครัวเรือนขายผลผลิตทางการเกษตรให้กับพ่อค้าคนกลางร้อยละ 70 9.ครัวเรือนประสบปัญหาในการประกอบอาชีพทางการเกษตร ร้อยละ 80 10.รายได้หลักของครอบครัวมาจากการเกษตร ร้อยละ 70 11.ปัจจุบันครัวเรือนมีหนี้สิน ร้อยละ 83 12.หนี้สินครัวเรือน ส่วนใหญ่ เป็นหนี้จาก ธกส.ร้อยละ 60 กู้เงินดอก ร้อยละ 43
13.ครัวเรือนมีที่ดินทำกิน ร้อยละ 78 14.สมาชิกในครัวเรือนได้รับข้อมูลข่าวสาร จาก อสม.ร้อยละ 81 15.สมาชิกในครอบครัวเข้าร่วมกิจกรรมและเป็นสมาชิกดังนี้ ธนาคารหมู่บ้านร้อยละ 93 กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน (กองทุนเงินล้าน) ร้อยละ 70 กลุ่มสวัสดิการชุมชนตำบลร้อยละ 42 กลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์สูงอายุ ร้อยละ 78 กลุ่มด้านสังคมและวัฒนธรรม ร้อยละ 72 กลุ่มจิตอาสา/ กลุ่มบำเพ็ญประโยชน์ร้อยละ50 กลุ่มแกนนำสุขภาพ ร้อยละ 85 16.รอบปีที่ผ่านมา สมาชิกครัวเรือนเข้าร่วมงานประเพณี ทุกครั้ง ร้อยะ 70 17. เหตุผลที่สมาชิกในครัวเรือน เข้าร่วมกิจกรรมงานประเพณีของหมู่บ้าน มากที่สุด คือศรัทธาร้อยละ100 18.ปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมให้ชุมชนเข้มแข็ง คือ การรวมกลุ่มและร่วมทำกิจกรรม ร้อยละ 60 19.ครัวเรือนมีกลุ่มเป้าหมายคุมกำเนิด ร้อยละ 12 20.สมาชิกในครัวเรือนกำลังตั้งครรภ์ ร้อยละ 3 21.ครัวเรือนมีเด็กอายุแรกเกิดถึง 5 ปี ร้อยละ 4.3 22.เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี ผู้ปกครองพาเด็กไปรับวัคซีนทุกครั้ง ร้อยละ 95 23.ครอบครัวมีผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป ร้อยละ 12 24.ผู้สูงอายุเป็นสมาชิกฌาปนกิจ ร้อยละ 95 25.ในรอบปีที่ผ่านมา สถานพยาบาลที่ท่านใช้บริการบ่อยครั้งที่สุด รพสต.เขาพระบาท ร้อยละ 90 26.เหตุผลที่เลือกเข้ารับบริการรักษาพยาบาลเพราะใกล้บ้านและรักษาดี ร้อยละ 80 27.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 10 28.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาสูบบุหรี่ ร้อยละ 8 29.ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมารับประทานอาหารสุกๆดิบๆร้อยละ 8

30.ออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่ออกแรงนานกว่าครั้งละ 30 นาทีขึ้นไป ร้อยละ 80
31.นอนหลับเพียงพอ วันละ 6-8 ชั่วโมง ร้อยละ 85 32.สวมหมวกนิรภัย ขณะขับขี่มอเตอร์ไซด์ ร้อยละ 80 33.นอนในมุ้ง / มุ้งลวด ร้อยละ 80 34.มีวิธีปฏิบัติเพื่อผ่อนคลายความเครียด เช่น สวดมนต์ เล่นกีฬา เป็นต้น ร้อยละ 75 35.รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ ทุกวัน ร้อยละ 85
36.มีการหลีกเลี่ยงหรือลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ร้อยละ 80 37.การล้างมือก่อนรับประทานอาหารทุกครั้งร้อยละ 85 38.การล้างมือหลังการเข้าห้องน้ำทุกครั้งร้อยละ 85

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานพบว่า
ผลผลิต 1.กิจกรรมในการสำรวจข้อมูลในวันได้สำรวจได้ทั้งหมด92 หลังคาเรือน(ร้อยละ 20.45) 2.มีการสำรวจข้อมูลเพิ่มขึ้นเป็นคิดเป็นร้อยละ 38.22
ผลลัพธ์ 1.ได้เห็นภาพการทำงานกันเป็นทีมคือการแบ่งกลุ่มในการสำรวจข้อมูล โดยแต่ละกลุ่มก็จะมีเยาวชนอสม. และผู้นำชุมชน ในการลงสำรวจด้วย 2.คณะทำงานมีการยอมรับกันมากขึ้นในการทำงานมีความรักความสามัคคีกันในกลุ่มคือการได้ทำงานกันหลายๆวัยเช่นเยาวชนและวัยผู้ใหญ่ทำให้เห็นการทำงานการมีส่วนร่วมในการสำรวจข้อมูลมีการช่วยเหลือในการสำรวจโดยการแบ่งเป็นแต่ละครัวเรือนไปหมุนเวือนกันในกลุ่ม เพื่อจะได้ฝึกกันทุกๆคน 3.ได้มีประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับชุมชน 4.ฝึกให้เยาวชนมีจิตใจที่อาสา

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 40 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

ผู้นำชุมชนและคณะทำงาน 20 คน เยาวชน 20 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธ์ สุขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สภาชุมชนบ้านปากคลองวัดแดง ครั้งที่ 315 มกราคม 2559
15
มกราคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย srilai2557
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประชุม วางแผนและติดตามกิจกรรมของโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกกรมประชุมสภาชุมชนครั้งที่3โดยประชุมที่บ้านกำนัน ซึ่งมีคณะทำงานผู้นำชุมชนตัวแทนเยาวชนร่วมในการประชุม โดยนางศรีวิไล ทองใสพรประชุมชี้แจง กิจกรรมที่ผ่านมา คือการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับอุบัติเหตุในชุมชนซึ่งในการสำรวจก็จะให้แบ่งกลุ่ม เป็น 4 กลุ่มซึ่งแต่ละกลุ่มก็จะมีเยาวช อสม.และผู้นำชุมอยู่ในกลุ่มเดียวกันเพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์กันระหว่างวัยและจะได้สอนงานให้กับเยาวชอีกด้วยเพื่อจะ เป็นการสร้างความตระหนักของเยาวชน เกี่ยวกับอุบัติเหตุในชุมชนซึ่งจากการสำรวจที่ผ่านมาสำรวจได้ 80ครัวเรือนพบว่าปีที่ผ่านมา เกิดอุบัติเหตุรถยต์ 2 ราย เกิดอุบัติเหตุจากรถมอเตอร์ไซด์ 8 ราย ส่วนใหญ่เกิดมาจากพื้นที่ ไม่มีเกิดเหตุในพื้นที่ แต่เกิดเหตุในพื้นที่ 5 ราย ส่วนใหญ่มาจากต่างอำเภอ ต่างจังหวัด และเทียบกับสถิติพบว่า อัตราการเกิดอุบัติเหตุน้อยลงกว่าทุกปีที่ผ่านมา และปีใหม่ 2559 ไม่มีอุบัติเหตุเกิดในพื้นที่ส่วนรายละเอียดอื่นๆจะแจ้งให้ทราบอีกครั้งหลังจากการสำรวจเสร็จแล้วส่วนกิจกรรมในครั้งต่อไปก็จะเป็นการสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุของชุมชนโดยเยาวชนและทีมงานอีก 4 ครั้งกิจกรรมการติดตามจาก สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม ในวันที่ 30 ม.ค. 2559ที่ สำนักงานสนับสนุนบริการสุขภาพที่ 1 นครศรีธรรมราชโดยจะมีการติดตามความคืบหน้าในการทำโครงการการตรวจสอบเอกสารของโครงการ เอกสารด้านการเงิน การบันทึกข้อมูลในเวปไซต์และเพื่อเตรียมการทำงานเพื่อปิดงวดรายงานที่ 1 กิจกรรม การปิดรายงาน งวด 1 กับพี่เลี้ยงพื้นที่ โดยจะไปพบพี่เลี้ยงที่ รพ.สต.เขาพระบาทจะเป็นการตรวจสอบเอกสารอีกครั้งและการบันทึกกิจกรรมในเว็ปไซต์กอ่นที่จะไปพบเจ้าหน้าที่สจรส.มอ.ในการตรวจเอกสารเพื่อปิดงวดรายงานที่ 1ในวันที่ 13-14กุมภาพันธ์2559ที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และจะนัดประชุมสภาผู้นำในครั้งต่อไปคือวันที่15กุมภาพันธ์ 2559

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานพบว่า 1.มีการวางแผนการทำงานและมีการติดตามผลการดำเนินโครงการ 2.มีความสัมพันธ์กันระหว่างเยาวชนกับคนในชุมชนมากขึ้นคือได้มาร่วมกิจกรรมด้วยกัน 3.เยาววชนได้มาร่วมกับแกนนำในการร่วมพัฒนาชุมชน ทำให้เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 70 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานผู้นำชุมชน 20 คน ตัวแทนครัวเรื่อน ตัวแทนกลุ่มต่างๆ และเยาวชน รวม 30 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธ์ สุขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เด็กแวนซ์ร่วมสำรวจข้อมุล ครั้งที่ 19 มกราคม 2559
9
มกราคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย srilai2557
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสำรวจข้อมูลในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมที่เด็กแว๊นซ์ร่วมกับคณะทำงานอสม.กลุ่มเยาวชนแกนนำชุมชน ร่วมกันสำรวจข้อมูลในชุมชนโดยได้นัดพบเพื่อเตรียมความพร้อมและชี้แจงกันอีกครั้งก่อนลงสำรวจจริง ที่รพ.สต.เขาพระบาทโดยนำแบบสอบถามที่ได้ร่วมกันออกแบบมาสำรวจ ซึ่งได้แบ่งกลุ่มคณะทำงานและทีมงาน พร้อมเด็กแวนซ์แบ่งออกเป็นกลุ่มในการสำรวจ แต่ละกลุ่มประกอบด้วยคณะทำงานอสม และเยาวชนกลุ่มละ 4 คน จำนวน 10 กลุ่ม ทำการสำรวจข้อมูล 400 ครัวเรือน กลุ่มละ 40 ชุด สำรวจ 5 ครั้ง เป็นเวลา 5 วัน และนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาทำการวิเคราะห์แยกออกเป็นหมวดหมู่ เพื่อสุปทำเป็นข้อมูลคืนให้กับชุมชนต่อไปซึ่งนางศรีวิลัยทองไสพรได้ชี้แจงก่อนลงสำรวจและสิบถามว่าใครไม่เข้าใจหรือสงสัยอะไรอีกบ้างและก็ได้ให้กำลังใจกับคณะทำงานทุกคนให้มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการทำงานเพื่อจะเป็นส่วนหนึ่งในการนำเยาวชน ซึ่งเป็นอนาคตของชาติ มาร่วมกันพัฒนาชุมชนซึ่งจะทำให้พวกเขามีความภาคภูมิใจในการทำงานและพัฒนาชุมชนพัฒนาบ้านเกิดของตนเอง รวมถึงเป็นการฝึกฝนในการทำงานการทำงานเป็นกลุ่มผู้ใหญ่จะได้สอนและแนะนำการทำงานของน้องๆเยาวชนหลังจากนั้นก็ได้ออกไปสำรวจแบ่งตามโซนที่ได้แบ่งไว้ให้สำรวจให้ได้มากที่สุดในวันนี้และนัดกันอีกครั้งในการสำรวจครั้งตอไปในวันที่ 16 ม.ค. 2559 และอีกส่วนหนึ่งเจ้าหน้าที่รพ.สต.เขาพระบาทและ อสม. ได้มีการลงชุมชนร่วมสำรวจข้อมูลด้วย

จากการสำรวจข้อมูลวันนี้ คณะทำงานได้ร่วมกันสรุปข้อมูลอย่างง่ายๆ ดังนี้
สรุปผลการสำรวจข้อมูล ครั้งที่ 1
วันนี้ได้ทำการสำรวจครัวเรือน 80 ครัวเรือน และทำการสรุปข้อมูลย่อยๆ ดังนี้
1.ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิง ร้อยละ 65
2.อายุของผู้ให้สัมภาษณ์ เฉลี่ย 57 3.สถานภาพผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นคู่สมรส ร้อยละ 48
4. จำนวนสมาชิกตามทะเบียน 433 คน
5.จำนวนสมาชิกที่อยู่จริง 325 คน
6.ครัวเรือนประกอบอาชีพทางการเกษตร ร้อยละ 92 7.รอบปีที่ผ่านมา ครัวเรือนขายผลผลิตทางการเกษตร ร้อยละ 62 8.รอบปีที่ผ่านมาครัวเรือนขายผลผลิตทางการเกษตรให้กับพ่อค้าคนกลางร้อยละ 72 9.ครัวเรือนประสบปัญหาในการประกอบอาชีพทางการเกษตร ร้อยละ 90 10.รายได้หลักของครอบครัวมาจากการเกษตร ร้อยละเ 73 11.ปัจจุบันครัวเรือนมีหนี้สิน ร้อยละ 93 12.หนี้สินครัวเรือน ส่วนใหญ่ เป็นหนี้จาก ธกส.ร้อยละ 60 กู้เงินดอก ร้อยละ 35
13.ครัวเรือนมีที่ดินทำกิน ร้อยละ 88 14.สมาชิกในครัวเรือนได้รับข้อมูลข่าวสาร จาก อสม.ร้อยละ 89 15.สมาชิกในครอบครัวเข้าร่วมกิจกรรมและเป็นสมาชิกดังนี้ ธนาคารหมู่บ้านร้อยละ 95 กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน (กองทุนเงินล้าน) ร้อยละ 72 กลุ่มสวัสดิการชุมชนตำบลร้อยละ 35 กลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์สูงอายุ ร้อยละ 70 กลุ่มด้านสังคมและวัฒนธรรม ร้อยละ 70 กลุ่มจิตอาสา/ กลุ่มบำเพ็ญประโยชน์ร้อยละ 60 กลุ่มแกนนำสุขภาพ ร้อยละ 80 16.รอบปีที่ผ่านมา สมาชิกครัวเรือนเข้าร่วมงานประเพณี ทุกครั้ง ร้อยะ 75 17. เหตุผลที่สมาชิกในครัวเรือน เข้าร่วมกิจกรรมงานประเพณีของหมู่บ้าน มากที่สุด คือศรัทธาร้อยละ100 18.ปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมให้ชุมชนเข้มแข็ง คือ การรวมกลุ่มและร่วมทำกิจกรรม ร้อยละ 65 19.ครัวเรือนมีกลุ่มเป้าหมายคุมกำเนิด ร้อยละ 15 20.สมาชิกในครัวเรือนกำลังตั้งครรภ์ ร้อยละ 2 21.ครัวเรือนมีเด็กอายุแรกเกิดถึง 5 ปี ร้อยละ 3.5 22.เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี ผู้ปกครองพาเด็กไปรับวัคซีนทุกครั้ง ร้อยละ 95 23.ครอบครัวมีผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป ร้อยละ 15 24.ผู้สูงอายุเป็นสมาชิกฌาปนกิจ ร้อยละ 96 25.ในรอบปีที่ผ่านมา สถานพยาบาลที่ท่านใช้บริการบ่อยครั้งที่สุด รพสต.เขาพระบาท ร้อยละ 90 26.เหตุผลที่เลือกเข้ารับบริการรักษาพยาบาลเพราะใกล้บ้านและรักษาดี ร้อยละ 80 27.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 15 28.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาสูบบุหรี่ ร้อยละ 10 29.ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมารับประทานอาหารสุกๆดิบๆร้อยละ 5

30.ออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่ออกแรงนานกว่าครั้งละ 30 นาทีขึ้นไป ร้อยละ 80
31.นอนหลับเพียงพอ วันละ 6-8 ชั่วโมง ร้อยละ90 32.สวมหมวกนิรภัย ขณะขับขี่มอเตอร์ไซด์ ร้อยละ 85 33.นอนในมุ้ง / มุ้งลวด ร้อยละ 80 34.มีวิธีปฏิบัติเพื่อผ่อนคลายความเครียด เช่น สวดมนต์ เล่นกีฬา เป็นต้น ร้อยละ 80 35.รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ ทุกวัน ร้อยละ 80
36.มีการหลีกเลี่ยงหรือลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ร้อยละ 85 37.การล้างมือก่อนรับประทานอาหารทุกครั้งร้อยละ 80 38.การล้างมือหลังการเข้าห้องน้ำทุกครั้งร้อยละ 80

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานพบว่า
ผลผลิต 1.ได้ทำการสำรวจข้อมูล 80 ครัวเรือน (คิดเป็นร้อยละ 17.78) 2.มีการสรุปข้อมูลการทำงาน 1 ชุด 3.มีทีมงานสำรวจ 30 คน ผลลัพธ์ 1.ได้มีการวางแผนเตรียมความพร้อม ก่อนการทำงานคือการได้สอบถามความเข้าใจในแบบสอบถามอีกครั้งว่ามีใครไม่เข้าใจหรือสสงสัยในส่วนไหนบ้างและการแบ่งกลุ่มในการลงสำรวจชุมชน 2.มีความสามัคคีกันหมู่คณะคือการได้ทำงานร่วมกัน การทำงานเป็นทีม ของคณะทำงาน การช่วยเหลือกันในการสำรวจ 3.ทำให้ทีมงานเกิดความภาคภูมิใจในการทำกิจกรรม โดยการสอบถามและพูดคุยกับทีมงาน ว่ามีความภาคถูมิใจดีใจที่ได้มีส่วนร่วมในการสำรวจข้อมูล ร่วมในการทำกิจกรรม เพื่อที่จะได้เป็นฐานข้อมูลในชุมชนเพื่อที่มาแก้ไขปัญหาและพัฒนาในชุมชนต่อไป

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 40 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

ผู้นำชุมชนและคณะทำงาน 20 คน เยาวชน 20 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธ์ สุขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สำรวจข้อมูลอุบัติเหตุ ครั้งที่ 28 มกราคม 2559
8
มกราคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย srilai2557
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสำรวจข้อมูลผลเสียจากอุบัติเหตุในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้จะเป็นกิจกรรมสำรวจข้อมูลครั้งที่ 2เพื่อสำรวจข้อมูลผลเสียหายจากอุบัติเหตุ โดยจะนัดรวมตัวกันที่รพ.สต.เขาพระบาทเวลา 09.00น.เพื่อประชุมเตรียมความพร้อมและตรวจสอบแบบสอบถามกันอีกครั้งหลังจากที่ได้กลุ่มเยาวชนไปพิมพ์และออกแแบมา ซึ่งนางศรีวิไลทองใสพรชี้แจงรายละเอียดในแบบสอบถามที่ได้ร่วมกันคิดออกแบบมาพร้อมทั้งได้ให้ทุกคนคนเสนอและแสดงความคิดเห็นหรือเพิ่มเติมข้อมูลไดอีกบ้างและสอบถามความเข้าใจและความพร้อมในการลงสำรวจข้อมูลหลักจากนั้นก็ให้แบ่งกลุ่มกันเพื่อใช้ในกิจกรรมการสำรวจข้อมูลซึ่งแต่ละกลุ่มจะประกอบด้วยคณะทำงาน อสม. และเยาวชน กลุ่มละ 4คนกลุ่มละ40ชุดทั้งหมด400ครัวเรือนเป็นเวลา4วัน ซึ่งหลังจากการสำรวจเสร็จแล้วก็นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ และก็จะได้สรุปข้อมูลเพื่อเป็นการคืนข้อมูลให้กับชุมชนซึ่งบรรยากสศของกิจกรรมวันนี้เยาวชนมีความกระตือรือร้นที่จะร่วมกันทำโครงการในครั้งนี้เป็นอน่างมากเพราะจะได้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดอุบัติเหตุบนท้องถนนและสร้างความรักความสามัคคีในชุมชนอีกด้วย

จากข้อมูลสำรวจ ทั้ง 2 วัน 450 ครัวเรือน พบว่า ปีที่ผ่านมา เกิดอุบัติเหตุรถยต์ 2 ราย เกิดอุบัติเหตุจากรถมอเตอร์ไซด์ 8 ราย ส่วนใหญ่เกิดมาจากพื้นที่ ไม่มีเกิดเหตุในพื้นที่ แต่เกิดเหตุในพื้นที่ 5 ราย ส่วนใหญ่มาจากต่างอำเภอ ต่างจังหวัด และเทียบกับสถิติพบว่า อัตราการเกิดอุบัติเหตุน้อยลงกว่าทุกปีที่ผ่านมา และปีใหม่ 2559 ไม่มีอุบัติเหตุเกิดในพื้นที่

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ พบว่า
ผลผลิต 1.ทีมงานสำรวจ 30คน
2.สำรวจข้อมูลได้450ครัวเรือน

ผลลัพธ์
1.จากการสำรวจอุัตราการเกิดอุบัติเหตุ พบว่าน้อยกว่าปีที่ผ่านมา 2.มีการเรียนรู้ในการป้องกันอุบัติเหตุรวมกัน 3.ทำให้เยาวชนและทีมงานรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าในการช่วยพัฒนาและช่วยเหลือชุมชนที่ตนเองอาศัยอยู่ 3.ประชาชนและเยาวชน ได้รู้จักคนในชุมชน คือการได้ลงไปสำรวจข้อมูลครัวเรือนทำให้มีความสัมพันธ์กับคนในชุมมากขึ้นทำให้รู้จักมากขึ้น 4.เยาวชนมีความรักความสามัคคีเพิ่มขึ้นและกระตือรือร้นในการที่จะทำโครงการคือการได้มาทำกิจกรรมร่วมกันในการสำรวจช่วยเหลือกันในการสำรวจ 5.มีการทำงานเป็นทีมและความสัมพันธ์กันระหว่างกลุ่มวัยคือ มีการแบ่งกลุ่มในการลงสำรวจและแต่ละกลุ่มก็จะมีทั้งเยาวชน อสม.ผู้นำชุมชนช่วยด้วยในการสำรวจข้อมูล

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานและแกนนำชุมชน 10 คน  เยาวชน 20 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธ์ สุขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สภาชุมชนบ้านปากคลองวัดแดง ครั้งที่ 215 ธันวาคม 2558
15
ธันวาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย srilai2557
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประชุม วางแผนและติดตามกิจกรรมของโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกกรมประชุมสภาชุมชนครั้งที่2โดยประชุมที่รพ.สต.เขาพระบาท มีคณะทำงานร่วมในการประชุมที่รพ.สต.เขาพระบาท โดยนางศรีวิไลทองใสพรประชุมชี้แจง กิจกรรมที่ผ่านมา คือการเปิดโครงการและกิจกรรมในครั้งต่อไป คือ การสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุ โดยจะร่วมทำแบบสำรวจเกี่ยวกับข้อมูลอุบัติเหตุในชุมชน ซึ่งจะมีเยาวชนร่วมในการสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุด้วยซึ่งในกิจกรรมครั้งนี้ทุกคนร่วมกันแสดงความคิดร่วมกันระดม เพื่อจัดทำแบบสอบถามเพื่อจะใช้ในการสำรวจ กิจกรรมการพัฒนาศักยภาพโครงการในการบันทึกเวปไซด์และทำรายงาน สังเคราะห์ข้อมูลโดยร่วมกิจกรรมที่ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในวันที่ 7 ธันวาคม 2558 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการเขียนผลลัพธ์ การเขียนผลผลิตจากการทำกิจกรรม เรียนรู้เรื่องภาษีและสามารถบันทึกข้อมูลภาษีได้เรียนรู้เกี่ยวกับการบันทึกกิจกรรมเข้าเว็บไซต์และผลจากการสำรวจจากกิจกรรมสำรวจอุบัติเหตุในชุมชน พบว่า มีอุบัติเหตุเกิดในหมู่บ้านน้อยมาก ส่วนใหญ่ เป็นคนภายนอกที่มาเกิดอุบัติเหตุในหมู่บ้าน จำนวน 5 ราย
และปีที่ผ่านมา พบว่า คนในหมู่บ้าน จากข้อมูลสำรวจ 300 ครัว เรือน พบว่า มีผู้ป่วยอุบัติเหตุ 2 ราย ที่เป็นอุบัติเหตุรถยนต์ ไม่มีเสียชีวิต และกิจกรรมในครั้งต่อไปคือสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุ ครั้งที่2เและด็กแวนซ์ร่วมสำรวจข้อมุล ครั้งที่ 1 ซึ่งกิจกรรมใน 2 วัน ต่อไปก็ขอให้มารวมตัวกันก่อนที่รพ.สต.ก่อนลงการสำรวจ เพื่อเตรียมความพรอ้มก่อนโดยจะนัดประชุมอีกครั้งในวันที่ 15มกราคม 2558

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ พบว่า
1.มีการวางแผนกิจกรรมในการดำเนินงานต่อครั้งต่อไป 2.มีแบบสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุโดยการร่วมกันทำแบบสำรวจจากผู้นำชุมชน คณะทำงาน และตัวแทนเยาวชน 3.เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคณะทำงานและเยาวชนในหมู่บ้านทำให้เยาวชนเห็นความสำคัญถึงโครงการที่เกิดขึ้น 4.มีการได้ทราบผลจากการสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 70 คน จากที่ตั้งไว้ 70 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน  ผู้นำชุมชน  ตัวแทนเยาวชน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธ์ สขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

กิจกรรมการพัฒนาศักยภาพโครงการในการบันทึกเวปไซด์และทำรายงาน สังเคราะห์ข้อมูล7 ธันวาคม 2558
7
ธันวาคม 2558รายงานจากพี่เลี้ยง โดย yongyut
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อพัฒนาศักยภาพโครงการในการบันทึกข้อมูล

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้พี่เลี้ยง สจรส.มอ. ร่วมกับพี่เลี้ยงจังหวัดนครศรีธรรมราชได้มาสอนการเขียนรายงานและการจัดทำรายงานการเงิน 1.การเขียนรายงานต้องมีการเตรียมอุปกรณ์เครื่องเขียน การเขียนรายงานมีทั้งการบันทึก การทำ mind map สอนให้เขียนผลลัพธ์ ผลผลิต วิธีการจะได้มาซึ่งผลงาน ต้องทำการสนทนากลุ่ม มีการวิเคราะห์ผล การรวบรวมและต้องมีการบันทึกข้อมูลการเขียนรายงานเพื่อป้องกันความผิดพลาด วิธีการที่ที่สุดในการเขียนผลลัพธ์คือการถอดบทเรียนในการดำเนินงาน 2.การเขียนรายงานเวปไซด์ ให้ทุกโครงการเข้าไปทำการ log in เข้าโปรแกรม ไปโครงการในความรับผิดชอบ และไปเมนู รายงานผู้รับผิดชอบ ให้ไปคลิกบันทึกซึ่งมีการจัดทำปฏิทินโครงการไว้แล้วให้บันทึกชื่อกิจกรรม วัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมายและขั้นตอนการทำงานให้บรรยายให้ละเอียด เล่าถึงกระบวนการทำงานผลลิตที่ได้ หรือสิ่งทีเกิดจากการดำเนินกิจกรรมครั้งนี้ และงบประมาณในการดำเนินงาน
3.การโหลดภาพกิจกรรม ให้โหลดภาพประมาณ 5 ภาพในการทำกิจกรรม การถ่ายภาพให้สื่อถึงกิจกรรมที่ดำเนินงาน 4.ผลผลิต เป็นผลทีเกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรมครั้งนั้น เช่น ผู้เข้าร่วมประชุมกี่คน ผู้ผ่านการอบรมกี่ครั้ง ครัวเรือนปลูกผักไว้กินเองกี่ครัวเรือน
5.ผลลัพธ์ เป็นการเปลี่ยนแปลงไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังการอบรมมีประชาชนเปลี่ยนพฤติกรรมกี่คน
6.การเขียนให้เชื่อมโยงสุขภาวะ เป็นการเชื่อมโยงภาวะของมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งกาย จิต ปัญญาและสังคม เชื่อมโยงเป็นองค์รวมอย่างสมดุล โดยครอบคลุมไม่เพียงเฉพาะบุคคล แต่ครอบคลุมไปยังครอบครัว ชุมชนและสาธารณะ การจัดทำรายงานการเงิน ให้คำนึงดังนี้
1.ถ้ามีการจ้างทำอาหาร เอกสารที่ควรมีประกอบด้วยรายชื่อคนเข้าร่วมกิจกรรม ใบสำคัญรับเงิน ใบเสร็จ สำเนาบัตรประชาชน เอกสารหักภาษีภาพถ่ายและรายงานกิจกรรม 2.ค่าตอบแทนวิทยากร ถ้าเกิน 1000 บาทให้หักภาษีด้วย 3.ค่าจ้างทำป้าย ให้ใช้ใบเสร็จจากทางร้าน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1.กลุ่มเป้าหมาย 4 คน ได้เรียนรู้การเขียนรายงาน การทำรายงานการเงิน 2.กลุ่มเป้าหมาย ได้เรียนรู้วิธีการเขียนผลลัพธ์และผลผลิต 3.กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้วิธีการเขียนหลักฐานทางการเงิน

ผลลัพธ์ 1.กลุ่มเป้าหมายได้ฝึกการจัดเอกสารและมีการปรับแก้ให้ถูกต้อง
2.กลุ่มเป้าหมายเข้าใจและสามารถสอนทีมงานได้

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 4 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ตัวแทนโครงการเข้าร่วม 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

การพัฒนาศักยภาพโครงการในการบันทึกเวปไซด์และทำรายงาน สังเคราะห์ข้อมูล7 ธันวาคม 2558
7
ธันวาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย srilai2557
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อพัฒนาศักยภาพโครงการในการสังเคราะห์ข้อมูล

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้ทาง สจรส.มอ.ได้จัดกิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพโครงการในการสังเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลและการบันทึกในเวปไซด์ ที่  มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งมีเนื้อหาดังนี้
1.สอนให้ถอดบทเรียนการทำงาน โดยการเตรียมอุปกรณ์ให้เรียบร้อย ได้แก่ ปากกา เครื่องบันทึกเทป  เพื่อในการจดบันทึกและหากจดไม่ทัน  เราก็จะได้มีการบันทึกเสียงเอาไว้  เพื่อมาถอดรายละเอียดในภายหลัง การถอดบทเรียนเป็นการค้นหาคุณค่าที่เกิดจากกิจกรรม สิ่งที่ได้ทำ  สิ่งที่ได้เรียนรู้ ปัญหารหรืออุปสรรค  ข้อดีในการทำกิจกรรม  รวมไปถึงประสบการณ์ต่างๆในการทำงาน  ทำกิจกรรมของโครงการ 2. เรียนรู้วิธีการเขียนผลผลิต ซึ่งเป็นผลที่ได้จากการทำกิจกรรมโครงการ โดยกิจกรรมอาจจะเขรฃียนเป็นกำหนดการ  เขียนเป็นข้อๆ หรือเขียนเป็นเรื่องเล่าก็ได้  ดดยเขียนให้เห็นถึงกิจกรรมต่างที่ได้ทำไป  ส่วนการการเขียนผลผลิตและผลลัพธ์ของกิจกรรม  ผลผลิตก็คือ  ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม  เช่น  จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม  จำนวนผู้เข้าการอบรม  จำนวนครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรม  เป็นต้น ส่วนผลลัพธ์  คือ  การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา  เช่น  หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน  มีข้อบังคับหรือข้อบังคับมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม  อย่างไร  เป็นต้น  ส่วนวิธีการเขียนนั้นก็สามารถเขียนได้ในแบบเป็นข้อๆ และเขียนแบบบเรื่องเล่า  ซึ่งการเขียนผลลัพธ์ กิจกรรมที่เกิดจากผลผลิตและเป็นผลกระทบจากการดำเนินงาน 3. การบันทึกกิจกรรมลงในเวปไซด์ สอนแนะให้บันทึกกิจกรรม  การเขียนรายละเอียดกิจกรรม  ขั้นตอนการลงกิจกรรม และได้สอนรายละเอิยดวิธีการเขียนข้อมูลลงในเวปไซด์
4. สอนให้เรียนรู้เรื่องภาษีที่ ณ จ่าย และสอนให้มึการหักจ่ายภาษีด้วย 5.แนะนำการแยกประเภทของงบประมาณ  คือ
1)ค่าตอนแทน  เช่น  ค่าวิทยากร  ค่าเจ้าหน้าที่ช่วยจัดการประชุม  ค่าการประสานงาน 2)ค่าจ้าง  เช่น  ค่าจ้างทำป้ายไวนิล 3)ค่าใช้สอย  เช่น  ค่าที่พัก  ค่าอาหาร  ค่าห้องประชุม  ค่าถ่ายเอกสาร  ค่าเดินทาง  ค่าเช่ารถ  ค่านำ้มันรถ 4)ค่าวัสดุ  เช่า  ค่ากระดาษ  ปากกา 5)ค่าสาธารณูปโภค  เช่น  ค่าส่งไปรษณีย์  ค่าโทรศัพท์

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1.ตัวแทนโครงการเข้าร่วมกิจกรรม 3 คน 2.ได้ฝึกการบันทึกลงเวปไซด์ 1 กิจกรรม 3.ได้ฝึกทำบัญชีเงินสดและการจ่ายภาษีณ ที่จ่าย 1 ชุด

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ สรุปได้ว่า ผลลัพธ์ 1.มีความรู้และเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับการเขียนผลลัพธ์ ผลผลิต 2.มึความรู้และเข้าใจเรื่องภาษีและสามารถบันทึกข้อมูลภาษีได้ 3.มีความรู้ความเข้าใจมากขึ้นในการบันทึกกิจกรรมเข้าเว็บไซต์

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 3 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ตัวแทนโครงการเข้า่ร่วมประชุม 2 คน เพื่อพัฒนาศักยภาพเกี่ยวกับการเขียนข้อมูลลงเวปไซด์ การวิเคราะห์ และการสังเคราะห์ข้อมูล

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธ์ สุขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สำรวจข้อมูลอุบัติเหตุ ครั้งที่ 120 พฤศจิกายน 2558
20
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย srilai2557
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุในชุมชนบ้านปากคลองวัดแดง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุของชุมชนบ้านปากคลองวัดแดงโดยจะนัดรวมตัวกันที่รพ.สต.เขาพระบาทเวลา08.30 น.เพื่อประชุมเตรียมความพร้อมกับคณะทำงาน โดยวันนี้จะเป็นการออกแบบและคิดแบบสอบถาม ร่วมกันในการสำรวจซึ่งนางศรีวิไลทองใสพรชี้แจงรายละเอียดในการร่วมคิดออกแบบแบบสอบถามซึี่งจะให้ทุกคนร่วมกันคิดแบบสอบถามขึ้นมา ล้อมวงคุยเพื่อวางแผนการสำรวจข้อมูล ข้อมูประกอบด้วย

  • ข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุของครัวเรือน
  • ข้อมูลความเสียหายที่เกิดขึ้น

    ซึ้งจะต้องให้สอดคล้องกับวิถีความเป็นอยู่ของคนในชุมชน เพื่อที่จะใช้เป็นข้อมูลประกอบการดำเนินงาน โดยจะให้แต่ละคนร่วมกันเสนอข้อมูลในการรที่จะต้องการสำรวจ ระหว่างเยาวชนกับ อสม.และผู้นำชุมชน เพื่อให้ได้ข้อมูลตามความต้องการของชุมชนซึ่งระหว่างการเสนอ ทุกคนก็ร่วมกันออกความคิดเห็นที่อยากได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการทำโครงการและชุมชนรวมไปถึงการได้สอนงานให้กลุ่มเยาวชนซึ่งเป็นการสร้างความสัมพันธ์กันระหว่างวัยด้วย เมื่อทุกคนได้ร่วมเสนอข้อมูลและออกแบบแบบสำรวจแล้วก็ได้มอบหมายงานให้เยาวชนได้ไปพิมพ์แบบสอบถามมาและก็มาสรุปและประชุมกันอีกครั้งเพื่อแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อมูลอีกครั้ง

ผลจากการสำรวจในวันนี้พบว่า มีอุบัติเหตุเกิดในหมู่บ้านน้อยมาก ส่วนใหญ่ เป็นคนภายนอกที่มาเกิดอุบัติเหตุในหมู่บ้าน จำนวน 5 ราย
และปีที่ผ่านมา พบว่า คนในหมู่บ้าน จากข้อมูลสำรวจ 300 ครัว เรือน พบว่า มีผู้ป่วยอุบัติเหตุ 2 ราย ที่เป็นอุบัติเหตุรถยนต์ ไม่มีเสียชีวิต

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานตามกิจกรรม สรุปได้ว่า
1. เยาวชน ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และทำให้รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าในการช่วยพัฒนาและช่วยเหลือชุมชนที่ตนเองอาศัยอยู่ 2. เยาวชนมีความยินดีกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมในครั้งนี้ได้เห็นความสำคัญของตนเองว่าเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาชุมชน 3. เยาวชน ได้รู้จักคนในชุมชน มีความสัมพันธ์กับคนในชุมมากขึ้นทำให้คนในชุมชนเห็นเยาวชนกลุ่มนี้มีความตั้งใจในการร่วมพัฒนนาชุมชน 4.ได้ข้อมูลเกี่ยวกับอุบัติเหตุในชุมชน พบว่าคนภายนอกที่มาเกิดอุบัติเหตุในหมู่บ้าน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานและผู้นำชุมชน  10  คน  เยาวชน  20  คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธ์ สขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เปิดโครงการ16 พฤศจิกายน 2558
16
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพี่เลี้ยง โดย yongyut
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมเปิดเวทีโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้พี่เลี้ยงได้เปิดเวทีโครงการสำหรับบ้านปากคลองวัดแดง เป็นหมู่บ้านที่ประชากรมาก และครัวเรือน 452 ครัวเรือน ทำให้ยากต่อการเข้าถึงของโครงการ คณะทำงานจึงได้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 จุด จุดที่ 1 ใช้สถานที่ของ รพสต.เขาพระบาทจุดที่ 2 สี่แยกปากคลองวัดแดง ใช้สถานที่บ้านกำนัน และจุดที่ 3 บ้านผู้ช่วยมนัส พื้นที่หัวเขาจุด การจัดกิจกรรมวันนี้ พี่เลี้ยง บอกถึงวัตถุประสงค์ คือ 1.มีสภาผู้นำที่เข้มแข็ง2.เพื่อลดอุบัติเหตุที่บ้านปากคลองวัดแดง

การดำเนินงานจะมี 3 ประเด็นหลัก คือ ประเด็นที่ 1 เกี่ยวข้องกับคน กลุ่มคน กิจกรรมประกอบด้วย ให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายจราจารในชุมชนเพิ่มเติม รณรงค์สวมหมวกกันนัอคเพื่อลดอุบัติเหตุในชุมชน จัดกิจกรรมสื่อประชาสัมพันธ์ถึงบ้าน เพื่อสร้างความตระหนัก จัดกิจกรรมจูงลูกจูงหลานเข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ลดอุบัติเหตุ
จัดทำสื่อเด็กขอความร่วมมือจากผู้ใหญ่ลดอุบัติเหตุ จัดอบรมให้ความรู้กับเยาวชนเพิ่มขึ้น
จัดอบรมเรียนรู้กฎหมายเปรียบเทียบให้เห็นโดยนำเอาคดีอุบัติเหตุมาเสนอ คดีนี้ใครผิด ผิดเพราะอะไร
กิจกรรมเรียนรู้จราจรวันละ 5 นาทีในโรงเรียน

ประเด็นที่ 2 เกี่ยวข้องกับการปรับสภาพแวดล้อม กิจกรรมประกอบด้วย จัดกิจกรรมปรับปรุงหน้าบ้าน ถนนหน้าบ้าน ให้ริมถนนสะอาด
จัดทำป้ายเตือนจุดเสี่ยงจุดอันตราย จัดโซนจอดรถที่จอดบริเวณริมถนน
จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ที่เป็นข้อมูลด้านลบ
จัดทำระบบสื่อสารเอาภาพจริง ข้อมูลจริง มานำเสนอ
เขียนคำขวัญสะท้อนความรู้สึก เพื่อช่วยเตือนใจ

ประเด็นที่ 3 เกี่ยวข้องกับการสร้างและปรับปรุงกลไก กิจกรรมประกอบด้วย
สำรวจจุดเสี่ยงบนถนนเพื่อลดอันตราย จัดตั้งกลุ่มสารวัตรชุมชนรณณงค์ลดอุบัติเหตุ หน่วยงานรัฐปิดป้ายห้ามเข้าสถานที่ราชการถ้าไม่สวมหมวกกันน้อค กำหนดแนวทางการลดอุบัติเหตุในชุมชน ใช้แนวคิดหมวกกันน้อคต้องพกให้เหมือนมือถือ
จัดทำศูนย์ข้อมูลด้านอุบัติเหตุชุมชน

ในการทำกิจกรรมครั้งนี้ นายก อบต.เขาพระบาท ได้เข้ามาร่วมกิจกรรมและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรม ครบตามที่กำหนด 2.ประชาชนได้รับทราบวัตถุประสงค์โครงการ 3.ประชาชนได้สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 200 คน จากที่ตั้งไว้ 200 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานได้เชิญพี่เลี้ยงและประชาชนเข้าร่วมโครงการ 200 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ปัญหาที่พบคือ หมู่บ้านมีพื้นที่ มีขนาดใหญ่ การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายไม่ครอบคลุม
วิธีแก้1.แบ่งหมู่บ้านออกเป็น 3 กลุ่ม เพื่อง่ายต่อการเข้าถึงประชาชน

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เปิดเวทีโครงการ16 พฤศจิกายน 2558
16
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย srilai2557
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อชี้แจงรายละเอียดของโครงการ และกิจกรรมต่างๆของโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกกรรมเปิดเวที ลดแว็นซ์ลดซิ่งลดอุบัติเหตุที่ หอประชุมรพ.สต.เขาพระบาทโดยมี นายมนัส ดำด้วงโรมผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน มาร่วมกล่าวเปิดโครงการมีตัวแทนชุมชน อสม.ตัวแทนเยาวชน ตัวแทนสูงอายุ ตัวแทนผุู้ปกครอง ตัวแทนครูเจ้าหน้าที่รพ.สต.เจา้หน้าที่ตำรวจ สภ.การะเกด และประชาชนในหมู่บ้านเข้าร่วมประชุม
โดยนางศรีวิไลทองใสพรผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงเกี่ยวกับรายละเอียดของโครงการกิจกรรมต่างที่จะมีขึ้นในการทำโครงการ และมีตัวแทนชุมชน อสม.ตัวแทนเยาวชน ตัวแทนสูงอายุ ตัวแทนผุู้ปกครอง ตัวแทนครูเข้าร่วมประชุมระดมแนวทางการป้องกันอุบัติเหตุมีการระดมความคิดร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อหาประเด็นเพิ่มเติมและก็สรุปเพื่อเป็นแนวทางในการลดอุบัติเหตุในชุมชนและร่วมจัดทำแนวทางการการลดอุบัติเหตุในชุมชนปากคลองวัดแดง หลังจากนั้นก็มีตำรวจจราจรจากสภ.การะเกดมาร่วมพูดคุยเกี่ยวกับโครงการ และมาตรการในการช่วยกันทำกิจกรรมในโครงการและมีการพูดถึงการใช้หมวกกันน็อควิธีการใช้ประโยชน์และกฎหมายที่ใช้บังคับในการใส่หมวกกันน็อคอย่างเช่น ถ้าใครไม่ใส่หมวกฝ่าฝืนสัญญาณจราจรก็จะถูฏปรับรวมไปถึงการดัดแปลงสภาพรถสัณญาณจราจรสาธิตสัญญาณมือของตำรวจจราจรสาธิตจำลองผู็ที่ไม่ใส่หมวกกันน็อคโดยใช้ลูกมะพร้าวที่มีเปลือกและไม่มีเปลือกนอกโดยผลที่มีเปลือกคือคนที่ใส่หมวกกันน็อคและผลที่ไม่มีเปลือกคือคนที่ไม่ใส่หมวกกันน็อคโดยการโยนจากที่สูงเพื่อจำลองให้ดูว่าผลเกิดขึ้นอย่างไรผลปรากฎว่าลูกมะพร้าวที่เอาเปลือกออก นั้นแตกก็เหมือนศรีษะคนที่ไม่ได้ใส่หมวกกันน็อคถ้าเกิดกการกระแทกก็จะแตกเหมือน

ปัญหาที่พบบ้านปากคลองวัดแดง หมู่ที่ 6 ต.เขาพระบาท ชุมชนเลือกปัญหาไม่สวมหมวกกันน็อคและไม่เคารพกฎจราจร จากการทำโครงการเมื่อปี 2557 โดยการรณรงค์ให้สวมหมวกกันน็อคและเรียนรู้กฎจราจร พบว่า กลุ่มเป้าหมาย 140 คน เข้าร่วมกิจกรรมร้อยละ 95.71 กลุ่มเป้าหมายทุกคนได้รับความรู้และเข้าใจ ร้อยละ 100สถานที่ราชการมีป้ายเตือนและรณรงค์ลดอุบัติเหตุร้อยละ 100มีกติกาชุมชน 3 ข้อ ในการป้องกันอุบัติเหตุ ประชาชนขับขี่มอเตอร์ไซด์ทั้งคนซ้อน คนขับ จากการสุ่มตรวจพบว่าระยะก่อนดำเนินการร้อยละ 19ขณะดำเนินการร้อยละ 32 และหลังดำเนินการร้อยละ 92สาเหตุที่ไม่สามารถดำเนินการได้ร้อยละ 100 เพราะช่วงนี้ไม่ได้บังคับใช้กฎหมาย มีแต่การเตือนเท่านั้น กลับพบว่ารถทุกคันมีหมวกกันน็อคแต่ไม่สวม เพราะไม่ชอบสวมหมวกเวลาขับรถ เป็นเรื่องน่าเบื่อหน่ายจากการทำโครงการดังกล่าว ชุมชนร่วมกันปรับปรุงจุดเสี่ยง ร้อยละ 100อัตราการเกิดอุบัติเหตุน้อยลง จากเดิมเฉลี่ยวันละ 1 คน จากการเก็บข้อมูลที่ รพ.สต.เขาพระบาท และ รพ.เชียรใหญ่ อัตราการเกิดอุบัติเหตุจราจร เฉลี่ยสัปดาห์ละ 1 คนนวัตกรรมเด่นที่เกิดขึ้นจากโครงการคือการมี โครงสร้างการทำงานแบบภาคีเครือข่าย มาร่วมทำงานแบบสมานฉันท์และเป็นหนึ่งเดียว สิ่งที่มองได้ชัดและเป็นผลที่เกิดจากโครงการคือ (1)สภาพแวดล้อมเปลี่ยนบริเวณหน้าบ้านถนนโล่ง ไม่มีขยะ(2) สิ่งก่อสร้างที่กีดขวาง เช่น ร้านค้าริมถนน ก็ถูกจัดระเบียบ ไม่ให้ชิดถนนมากเกินไป (3) มีการติดแผ่นป้ายไวนิล อย่างเป็นระเบียบ ไม่เกะเกะ (4) การขับรถย้อนศร น้อยลง(5)อุบัติเหตุลดลง (6)มีป้ายเตือน ป้ายรณรงค์ ติดไว้ตลอดเวลา เป็นการเตือนสติ (7) มีการสร้างจิตสำนึกตลอดเวลา(8)มีการทำลายทางเชื่อมต่อผ่านคูน้ำของถนนสี่เลน จากการประชุมของหมู่บ้าน ประชาชนอยากให้ทำกิจกรรมรณรงค์ลดอุบัติเหตุเพิ่มขึ้น เพราะกิจกรรมที่ผ่านมาทำให้ประชาชนหลายคนเปลี่ยนความคิด เปลี่ยนวิธีปฏิบัติ จากเดิมเคยต่อต้าน ปัจจุบันเข้าร่วมกิจกรรม และเน้นให้ทุกคนได้มีส่วนร่วม และกิจกรรมนี้เป็นอานิสงค์ทำให้มีการสวมหมวกทั้งตำบล เพราะคนยอมรับกันมากขึ้น จึงขอเสนอแนะให้คณะทำงานมีการต่อยอดโครงการ โดยเน้นให้คนได้สวมหมวกกันน็อค ไม่ขับรถเร็ว และยอมรับกฎหมายจราจรให้ครอบคลุมทุกหลังคาเรือน กิจกรรมที่ควรต่อยอดถัดไปคือ 1.การจูงลูกจูงหลานเข้าร่วมกิจกรรม เพราะเด็กเตือนผู้ใหญ่ดีที่สุด2.ให้มีแนวคิดพกหมวกนิรภัยเหมือนพกมือถือ3มีศูนย์ข้อมูลด้านอุบัติเหตุของหมู่บ้าน 5.มีกิจกรรมเรียนรู้จราจรวันละ 5 นาที6.มีชมรมคนช่วยเตือนภัย

วัตถุประสงค์ 1.มีสภาผู้นำที่เข้มแข็ง 2.เพื่อลดอุบัติเหตุที่บ้านปากคลองวัดแดง

ตัวชี้วัด 1.สภาผู้นำมีการประชุมทุกเดือน
2.การประชุมสภาผู้นำแต่ละครั้ง มีผู้เข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 3.การประชุมทุกครั้งมีการปรึกษาเรื่องการดำเนินงานโครงการและกิจกรรมพัฒนาหมู่บ้านประเด็นอื่นๆ อย่างน้อย1 ประเด็น 4.ประชาชนสวมหมวกกันน้อค เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 95 (จากเดิมร้อยละ 82) 5.ไม่มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนถนนสายบ้านปากคลองวัดแดง
6.ลดอัตราการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ น้อยกว่า 1 คนต่อสัปดาห์ (เดิมสัปดาห์ละ 2 – 3 คน)

กระบวนการ 1.วิธีการเกี่ยวกับกับคน กลุ่มคน -ให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายจราจารในชุมชนเพิ่มเติม -รณรงค์สวมหมวกกันนัอคเพื่อลดอุบัติเหตุในชุมชน -จัดกิจกรรมสื่อประชาสัมพันธ์ถึงบ้าน เพื่อสร้างความตระหนัก -จัดกิจกรรมจูงลูกจูงหลานเข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ลดอุบัติเหตุ
-จัดทำสื่อเด็กขอความร่วมมือจากผู้ใหญ่ลดอุบัติเหตุ -จัดอบรมให้ความรู้กับเยาวชนเพิ่มขึ้น
-จัดอบรมเรียนรู้กฎหมายเปรียบเทียบให้เห็นโดยนำเอาคดีอุบัติเหตุมาเสนอ คดีนี้ใครผิด ผิดเพราะอะไร
-กิจกรรมเรียนรู้จราจรวันละ 5 นาทีในโรงเรียน

2.วิธีการปรับสภาพแวดล้อม -จัดกิจกรรมปรับปรุงหน้าบ้าน ถนนหน้าบ้าน ให้ริมถนนสะอาด
-จัดทำป้ายเตือนจุดเสี่ยงจุดอันตราย -จัดโซนจอดรถที่จอดบริเวณริมถนน
-จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ที่เป็นข้อมูลด้านลบ
-จัดทำระบบสื่อสารเอาภาพจริง ข้อมูลจริง มานำเสนอ
-เขียนคำขวัญสะท้อนความรู้สึก เพื่อช่วยเตือนใจ

3.วิธีพัฒนากลไก -สำรวจจุดเสี่ยงบนถนนเพื่อลดอันตราย -จัดตั้งกลุ่มสารวัตรชุมชนรณณงค์ลดอุบัติเหตุ -หน่วยงานรัฐปิดป้ายห้ามเข้าสถานที่ราชการถ้าไม่สวมหมวกกันน้อค -กำหนดแนวทางการลดอุบัติเหตุในชุมชน -ใช้แนวคิดหมวกกันน้อคต้องพกให้เหมือนมือถือ
-จัดทำศูนย์ข้อมูลด้านอุบัติเหตุชุมชน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลการดำเนินงานตามกิจกรรม สรุปได้ว่า 1. ได้ชี้แจงกิจกรรมโครงการให้ประชาชนในชุมชนได้ทราบถึงโครงการ 2. ได้มีการระดมความคิดแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แนวทางในการป้องกันอุบัติเหตุในชุมชนเช่น แนวทางในการปรับสภาพแวดล้อมจัดทำป้ายจุดเสี่ยงอันตรายเจัดโซนจอดรถบริเวณริมถนนจัดอบรมให้ความรู้กับเยาวชน 3. ได้ทราบถึงกฎหมายจราจรและประโยชน์จากการใช้หมวกกันน็อคและได้ตระหนักถึงการใส่หมวกกันน็อค 4. มีภาคีเครือข่ายเข้ามาร่วมในโครงการ คือ สภ.การะเกด

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 200 คน จากที่ตั้งไว้ 200 คน
ประกอบด้วย

ตัวแทนชุมชน อสม.ตัวแทนเยาวชน ตัวแทนสูงอายุ ตัวแทนผุู้ปกครอง ตัวแทนครู จำนวน300 คน เข้าร่วมประชุม

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

เนื่องจากพื้นที่หมู่บ้าน มี 450 ครัวเรือน เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย จึงขออนุญาตพี่เลี้ยง แบ่งพื้นที่การดำเนินงานออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ใช้สถานที่ รพ.สต.เขาพระบาท กลุ่มที่ 2 บ้านกำนัน กลุ่มที่ 3 บ้านผู้ช่วยฯ บริเวณหัวเขาจุก

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธ์ สุขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สภาชุมชนบ้านปากคลองวัดแดง ครั้งที่ 115 พฤศจิกายน 2558
15
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย srilai2557
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประชุมคณะทำงาน  จัดตั้งสภาผู้นำ  และวางแผนการดำเนินกิจกรรมในโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกกรรมประชุมจัดตั้งสภาผู้นำชุมชนบ้านปากคลองวัดแดงโดยประชุมที่ หอประชุมรพ.สต.เขาพระบาทโดยมี นายมนัส ดำด้วงโรมผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน มาร่วมกล่าวเปิดการประชุมมี อสม. เยาวชนเจ้าหน้าที่รพ.สต.และประชาชนในหมู่บ้านเข้าร่วมประชุม
โดยนางศรีวิไลทองใสพรผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงเกี่ยวกับรายละเอียดของโครงการ หลังจากนั้นมีการคัดเลือกผู้นำและคณะทำงานเพิ่มเติมในกิจกรรมต่างๆโครงการโดยเลือกตัวแทนจากกลุ่มต่างๆกลุ่มละ2คนทั้งหมด10กลุ่มคณะกรรมการหมู่บ้าน จำนวน15คนคณะกรรมการหมู่บ้าน จำนวน 15 คนผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ตัวแทนเยาวชน 5คน จิตอาสา 5 คน รวมทั้งหมด 50 คนโดยการเสนอจากคนที่เข้าร่วมการประชุมและจะมีการนัดประชุมสภาชุมชนทุกเดือนเพื่อวางแผนในการทำโครงการติดตามการทำโครง

ปัญหาจากที่ประชุมได้มีการพูดคุยเกี่ยวกับจำนวนหลังคาเรือนในหมู่บ้าน มีมากเกินไป จำนวน 450 หลังคาเรือน จำเป็นต้องแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม เหตุผล เพือให้ประชาชนได้เข้าร่วมกิจกรรม ดังนี้

กลุ่มที่ 1 บ้านหัวท่อมแบ่งผู้นำและอสม. ในเขตรับผิดชอบ ดังนี้ นางประคิ่นชูแก้ว, นางบัญญัติดำด้วงโรม, นางสุนีย์วงศ์ศิลป์, นางสมพงศ์นวลศรี, นางศรีวิลัยทองใสพร, นางสาครส่งสุทธิต, นางลัดดาวัลย์หารยางนอก, นางสาววิลัย นาแก้ว, นายมนัส ดำด้วงโรม, นางสาวศิราณี เขียวบุญจันทร์
กลุ่มที่ 2 บ้านปากคลองวัดแดง ทีมงานประกอบด้วยนายสมหมายมีเสน, นายสุทิน พังแพร่, นางพร้อม อินทร์ปรางค์, นางสาวกมลทิพย์ ศรีส่งสุข, นางสาวอรอุมาไขแก้ว, นางอุทุมพร บูชากรณ์, นายไมตรีน้ำทอง, นส.พะเยาว์เกลี้ยงแป้น, นางประคองถนนทอง, นางกมล บูชากรณ์, นส.น้ำอ้อยขวัญมิ่ง กุล่มที่ 3 บ้านปากช่อง ประกอบด้วย นายประเสริฐรักสวนเงิน, นางจำเป็นทวี, นางบุญธรรม ศรีทันเดช, นายกิ่งรักษ์ ย้อยไชยา, นายจักรเทพวัฒนสุข, นางเพ็ญศรี จันทร์เทพ, นางจุฑาลักษณ์สดไธสง และได้มีการแลกเปลี่ยนและเสนอความคิดเห็นในการทำโครงการว่าทำโครงการนี้แล้วได้ผลดีอย่างไรบ้างจากการได้ร่วมเสนอในที่ประชมการทำโครงการนี้ สามารถลดอุบัติเหตุได้ลดการสูญเสียทั้งในด้านของชีวิตและทรัพย์สิน ลดความพิการมีกฎที่เข็มแข็ง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลการดำเนินงานตามโครงการ สรุปได้ว่า
ผลผลิต 1.มีสภาผู้นำและคณะทำงาน 1 ชุด 2.มีการแบ่งกลุ่ม ในการรับผิดชอบ 3 กลุ่ม

ผลลัพธ์ 1.มีการชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการให้คณะทำงานรับทราบถึงกิจกรรมที่จะทำ 2.มีการพบปะพูดคุยกันในชุมชนมีการแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นกันในชุมชนมีการเสนอความคิดเห็นในการเลือกสภาผู้นำและการแบ่งโซนในการทำกิจกรรม 3.มีการยอมรับมากขึ้นกันในกลุ่ม

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 70 คน จากที่ตั้งไว้ 70 คน
ประกอบด้วย

ผู็นำชุมชน  ผู้นำครัวเรือน  คณะทำงงาน  เยาวชน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

1.การประชุมไม่มีเยาวชนร่วมด้วย เพราะช่วงนี้เยาวชนไปโรงเรียนและทำกิจกรรมเยอะ ซึ่งเยาวชนร้องขอให้ปิดภาคเรียนก่อน ค่อยมาร่วมกิจกรรม

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธ์ สุขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ ถ่ายภาพกิจกรรม และจัดทำรายงาน13 พฤศจิกายน 2558
13
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย srilai2557
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเป็นป้ายชื่อของโครงการ  และป้ายเขตปลอดบุหี่ในการทำกิจกรรมต่างๆ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

นางศรีวิไลทองใสพรผู้รับชอบโครงการและนายมนัสดำด้วงโรมผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านได้ไปทำป้ายไวนิล ชื่อโครงการและป้ายเขตปลอดบุหรี่เพื่อใช้นำมาติดในที่ประชุม และทำกิจกรรมในหอประชุมเพื่อให้ผู้ที่เข้าร่วมทราบถึงชื่อโครงการ ที่ทำและบริเวณหอประชุมจะเป็นสถานที่ปลอดบุหรี่

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลการดำเนินกิจกรรม สรุปได้ว่า
1.มีป้ายชื่อประชาสัมพันธ์โครงการ 2 ป้าย 2.มีป้ายเขตปลอดบุหรี่ เพื่อเป็นการรณรงค์การงดสูบบุหรี่

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธ์ สุขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ปฐมนิเทศโครงการใหม่3 ตุลาคม 2558
3
ตุลาคม 2558รายงานจากพี่เลี้ยง โดย yongyut
circle
วัตถุประสงค์

เพือปฐมนิเทศโครงการใหม่

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้ ทาง สจรส.มอ. ได้รวมกับพี่เลี้ยงจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ปฐมนิเทศโครงการใหม่ วันที่ 3 -4 ตุลาคม 2558 โดยในวันแรก ไ้ดพบกับ ผศ.ดร.พงศ์เทพ เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานตามโครงการ
วันที่สอง พี่เลี้ยงได้แนะนะวิธีการเขียนรายงานตามเอกสาร และการเขียนเอกสารทางการเงินพร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ได้ฝึกบัน่ทึกเวปไซด์โครงการ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ตัวแทนโครงการ 2 คน เข้าร่วมประชุมตามที่กำหนด 2.กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้การบันทึกเอกสาร การจัดเตรียมเอกสาร 3.กลุ่มเป้าหมายได้ฝึกปฏิบัติบันทึกในเวปไซด์

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ตัวแทนโครงการ 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

การปฐมนิเทศโครงการใหม่3 ตุลาคม 2558
3
ตุลาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย srilai2557
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อปฐมนิเทศโครงการใหม่ 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้ สจรส.มอ.ได้จัดปฐมนิเทศโครงการใหม่ โดย อ.พงศ์เทพ ได้ชี้แจงแนวทางการทำโครงการ วัตถุประสงค์การดำเนินงาน อ.กำไล ได้แนะนำแนวคิดการทำโครงการ และขั้นตอนการทำโครง3 ระยะ ช่วงก่อนดำเนินงาน ระหว่างดำเนินงานและหลังดำเนินงาน อ.สุดา ได้แนะนำเรือ่งเกี่ยวกับเอกสารเงิน อ.ถนอม ได้แนะนำเกี่ยวกับการบันทึกข้อมุลลงในเวปไซด์และการถ่ายภาพในการทำกิจกรรมให้ถ่ายภาพแล้วให้เห็นว่ากิจกรรมนั้นเราทำอะไรอยู่

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลการดำเนินงานตามกิจกรรมสรุปได้ว่า
ผลผลิต 1.ตัวแทนโครงการเข้าร่วมกิจกรรม2คน

ผลลัพธ์ วันนี้สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ 1.เรียนรู้วิธีการดำเนินงานตามโครงการ 2.เรียนรู้วิธีการทำเอกสารของโครงการเช่นการเขียนบิลการเขียนรายงานโครงการ 3.เรียนรู้วิธีการถ่ายรูปอย่างไร ให้เห็นถึงกิจกรรมที่เราได้ทำไป
4.ได้วางแผนการดำเนินงานตามโครงการ 5.ได้เรียนรู้ความเสี่ยง ต่อการดำเนินงาน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธ์ สุขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี