assignment
บันทึกกิจกรรม
พบพี่เลี้ยงเพื่อสรุปผลและปิดรายงานโครงการ12 ตุลาคม 2016
12
ตุลาคม 2016รายงานจากพี่เลี้ยง โดย yongyut
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามเยี่ยมโครงการและปิดเอกสารโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้ตัวแทนโครงการ 2 คน พบพี่เลี้ยง เพื่อนำเอกสารมาตรวจสอบ และสรุปผลการดำเนินงาน ดังนี้ 1.ตรวจเอกสารตามกิจกรรม พบว่าต้องมีการแก้ไข เพิ่มเติมรายละเอียดการดำเนินงาน 2.ตรวจภาพถ่ายในการดำเนินงาน แนะนำให้ไปโหลดภาพถ่ายเพิ่ม และการทำกิจกรมแต่ละครั้ง สามารถทำเป็นกลุ่มย่อยๆได้
3.เอกสารทางการเงิน หลักฐานยังไม่ถูกต้องให้เขียน รายจ่ายแต่ละครั้งให้ละเอียด 4.ตรวจสอบสมุดบัญชี พบว่า ได้ถอนเงินออกจากบัญชีแล้ว
5.ดำเนินการปรับข้อมูล ในแผนภาพ รายละเอียดโครงการ และเคลียร์กิจกรรมการใช้เงินให้ถูกต้อง 6.ปิดรายงาน ง.1 และ ง.2 7.สรุปบทคัดย่อเพื่อจัดทำรายงาน ส.3

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1.ตัวแทนคณะทำงานพบพี่เลี้ยง เพื่อตรวจสอบเอกสาร 2 คน 2.มีการปรับปรุงแก้ไขเอกสารและบันทึกออนไลน์

ผลลัพธ์ 1.จัดทำสรุปรายงานตามกิจกรรมและบทคัดย่อ สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ 2.หลักฐานการใช้จ่ายเงินเป็นไปตามกิจกรรมตามที่กำหนด 3.สามารถปิดงวดรายงาน ง.1ง.2 และ ส.3 ได้

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ให้นำหลักฐานไปพบพี่เลี้ยง  สจรส. รอบสุดท้ายเพื่อส่งเอกสาร

จัดทำรายงานปิดโครงการ12 ตุลาคม 2016
12
ตุลาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย dadchanee
circle
วัตถุประสงค์

การประชุมจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์เพื่อปิดโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมการประชุมจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์เพื่อปิดโครงการโดยในวันนีได้เดินทางมาที่ รพ.สต.เขาพระบาทเพื่อมาทำรายงานฉบับสมบูรณ์ เพื่อเตรียมปิดโครงการโดยวันนี้ได้ตรวจเช็คเอกสารด้านการเงินการบันทึกข้อมูลใเวปไซต์บันทึกข้อมูลกิจกรรมต่างๆ รายละเอียดของกิจกรรม และได้บันทึกข้อมูลในเวปไซต์ และโหลดรูปขึ้นเว็ปไซต์ ใส่รายละเอียดกิจกรรมต่างๆ ผลลัพธ์ ผลผลิตของกิจกรรมให้ครบถ้วนสมบูรณ์และก็ให้พี่เลี้ยงได้ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร และข้อมูลในเว็ปไซต์ ก่อนที่จะให้ทาง สจรส.มอ.ตรวจสอบเอกสารในวันที่ 14 - 15 ตุลาคม 2559ที่ ม.วลัยลักษณ์

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1.มีผู้เข้ารร่วมกิจกรรมครบ 2 คน 2.ได้ตรวจรายงานโครงการและรูปภาพ 3.ได้มาร่วมกิจกรรมของพี่เลี้ยง

ผลลัพธ์ 1.ได้ตรวจรายงานโครงการผ่านเรียบร้อย 2.มีโครงการมาร่วมทุกโครงการของพี่เลี้ยง 3.เกิดกระบวนการมีส่วนร่วม คือโครงการอื่นๆได้มาช่วยกันในทำเอกสาร และการบันทึกข้อมูล 4.เกิดการรวมกลุ่ม

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ข้อมูลในเว็บไซต์ ยังไม่ครบถ้วนได้มีการแก้ไขให้ครบถ้วนแล้ว

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เยี่ยมติดตามโครงการ งวดที่ 38 ตุลาคม 2016
8
ตุลาคม 2016รายงานจากพี่เลี้ยง โดย yongyut
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามเยี่ยมและสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นการติดตามเยี่ยมโครงการงวดที่ 3 ได้ลงติดตามเยี่ยมบ้านผู้เข้าร่วมโครงการ ได้ลงเยี่ยมสวนและบ้านที่เข้าร่วมกิจกรรม ในการทำโครงการซึ่งได้พูดคุยกันในการลงเยี่ยม เมื่อก่อนก็เคยใช้ปุ๋ยเคมีในการทเกษตรเพราะมันสะดวกและง่าย รวดเร็วในการทำ และผลผลิตดีแต่ค่าใช้จ่ายสูง พอนานๆไป สุขภาพก็แย่ผลผลิตตกต่ำ ต้นทุนสูง เลยต้องปรับเปลี่ยนมาทำเกษตรแบบชีวภาพ และยึดแนวตามเศรษฐกิจพอเพียงก็เลยหันมาใช้ปุ๋ยหมักน้ำหมักในการทำเกษตร แต่ก็ต้องค่อยปรับทีละนิดหลังจากที่ได้เข้าร่วมโครงการ ก้ได้มาที่บ้าน และก็ใช้ในการปลูกผักข้างๆบ้านสังเกตุได้ว่าผักสวยงามดีดินร่วนซุยและก็ได้ไปเยี่ยมสวนมะนาวซึ่งใช้ปุ๋ยหมักในการปลูกด้วย

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.มีผู้เข้าร่วมโครงการ 10 คน 2.ได้ลงเยี่ยมบ้านและติดตามการทำโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 10 คน จากที่ตั้งไว้ 10 คน
ประกอบด้วย

พี่เลี้ยงโครงการและคณะทำงาน 10 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

กิจกรรมดังกล่าว ทำให้เกิดการรวมต่อของประชาชนในพื้นที่ได้มากขึ้น และเกิดกลุ่ม เสนอแนะให้นำกิจกรรมไปบอกกลุ่าวหน่วยงานต่างๆ เพื่อต่อยอดการพัฒนาในหมู่บ้าน

ร่วมงานสร้างสุขคนใต้3 ตุลาคม 2016
3
ตุลาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย dadchanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อร่วมงานคนใต้สร้างสุข

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันจันทร์ ที่ 3ตุลาคม ๒๕๕๙ 12.00 - 13.00น. การแสดงโขน ตอน ศึกพรหมาสตร์ ศูนย์ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พิธีเปิด การร่วมกันร้องเพลงชาติไทย 13.00 - 13.10น. กล่าวต้อนรับ โดย นายทรงพลสวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา 13.10- 13.30น. กล่าวเปิดโดย นายแพทย์วีระพันธ์สุพรรณไชยมาตร์ รองประธานคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ 13.30 - 15.00น. ปาฐกถา เรื่อง “บทบาทของประเทศไทยในการเป็นผู้นำการพัฒนานวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพในภูมิภาคอาเซียน”โดย นายอภิสิทธิ์เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี 15.00 - 15.30น. รายงานสุขภาวะคนใต้ สรุปภาพรวมการดำเนินงานสร้างสุขภาคใต้ปีที่ผ่านมา โดย ผศ.ดร.ภก.พงค์เทพสุธีรวุฒิ ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ (สจรส.ม.อ.) 15.30-17.00น. เสวนา “มุมมองใหม่ในการพัฒนาระบบสุขภาพในอนาคต” โดย ผศ.ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนี นายพงษ์ศักดิ์ยิ่งชนม์เจริญนายกเทศมนตรีนครยะลา นายทวีวัตรเครือสาย ตัวแทนภาคประชาสังคมจังหวัดชุมพร นายแพทย์ยอร์นจิระนครสาธารณสุขนิเทศก์ เขตสุขภาพที่ 12ผู้ดำเนินรายการเสวนา : นายแพทย์บัญชาพงษ์พานิช 18.00 - 20.00น. ลานปัญญาสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม วันอังคาร ที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๙ 08.00 - 09.00น. ลานปัญญาสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม 09.00 - 12.00น.การประชุมห้องย่อย 1. การพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม พื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ 2. การท่องเที่ยวชุมชนเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ 3. กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น 4. สานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่ สู่นโยบายสาธารณะ 5. ความมั่นคงทางมนุษย์ : การลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ • 09.00 -12.00น.การนำเสนอผลงานวิชาการ ห้องนำเสนอผลงานวิชาการกลุ่ม 1ห้องนำเสนอผลงานวิชาการของชุมชน เรื่องเล่าเร้าพลังลานสื่อสร้างสุข 12.00 -14.00น. ลานปัญญาเสวนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรม ลานศาลาเรือนไทย 14.00-17.00น. การประชุมห้องย่อย 1. การพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม พื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ (ต่อ) 2. ความมั่นคงทางอาหาร 3. กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น (ต่อ) 4. สานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่ สู่นโยบายสาธารณะ (ต่อ) 6.การพัฒนาเด็ก เยาวชนและครอบครัว 7.ระบบสุขภาพการแพทย์พหุวัฒนธรรม 14.00-17.00 น. การนำเสนอผลงานวิชาการ ห้องนำเสนอผลงานวิชาการกลุ่ม 1 (ต่อ) ห้องนำเสนอผลงานวิชาการกลุ่ม 2 (ต่อ) ห้องนำเสนอผลงานวิชาการของชุมชน เรื่องเล่าเร้าพลัง (ต่อ) 18.00 -20.00น. ลานปัญญาเสวนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรม ซึ่งในวันนี้ก็ได้เข้าร่วม การประชุมห้องย่อย สานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่สู่นโยบายสาธารณะ โดยในเวลา 09.00 น. เริ่มกิจกรรม เริ่มด้วยการร่วมสนุกเต้นเพลงchicken dance ร่วมกันก่อน และหลังจากนั้น ก็ได้มีการเสวนา ในหัวข้อเรื่อง สานพลังชุมชนน่าอยู่สู่นโยบายสาธารณะ โครงการสร้างคนรักษ์สิ่งแวดล้อมที่บ้านทุ่งยาวตำบลโคกม่วงอำเภอเขาชัยสนจังหวัดพัทลุงซึ่งจากปัญหาในหมู่บ้านในเรื่องวิกฤติภัยแล้งทำฝาย ปลูกป่า ขยะ ไฟไหม้ป่าซึ่งจะใช้ฐานข้อมูลพื้นที่กำหนดทิศทางในการทำงาน ซึ่งคนในชุมชนมีส่วนร่วมกัน มีการแบ่งภาระงานเป็นหุ้นส่วน ร่วมกันทำงานในชุมชน ซึ่งมีโครงการจาก สสส เป็นฐานโดยมีอบต. สนับสนุนงบ ประมาณและนักวิชาการ ช่วยเสริม หัวหน้าสำนักปลัด นวก.สาธารณสุขจนท.อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (ทสจ.) ราชการช่วยจัดการขยะซึ่งจะทำให้ตื่นตัวมากขึ้นซึ่งมีปัจจัยแห่งความสำเร็จโดยการมีผู้นำ ซึ่งนำแบบมีส่วนร่วม ใช้ความรู้ เกิดความร่วมมือ แบ่งภารกิจ และการหนุนเสริมข้อมูลเด่นเฉพาะชุมชน คือ มีพื้นที่ป่าสงวนเต็มพื้นที่ โดยการกำหนดกติกาชุมชน คือ ใช้พื้นที่แล้วต้องปลูกป่าเพิ่ม กันเขตพื้นที่ เป็นพื้นที่ฟื้นฟูมีการเชื่อมโยงเครือข่าย จาก ทสม. (อาสาจัดการทรัพยากรและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม) ภาควิชาการ (มอ.ปัตตานี ม.ทักษิณ) หลังจากจบการเสวนาก็ ชม การแสดงโขนคนตอน เชิดพระอิศวร 10.10 น. นำเสนอกรณีศึกษาประเด็นการคัดแยกขยะโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่บ้านห้วยลึกจัดการขยะชุมชนตำบลทรายขาวอำเภอคลองท่อมจังหวัดกระบี่ 10.30น. นำเสนอกรณีศึกษาประเด็นเศรษฐกิจพอเพียงโครงการแหลมยางนาพึ่งพาเศรษฐกิจพอเพียงตำบลตะโกอำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร 11.50น.นำเสนอกรณีศึกษาประเด็นเด็กและเยาวชนโครงการปันตงสร้างสุขบ้านสี่แยกวัดโหนดตำบลโพธิ์ทอง อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 11.20 น. ผู้ทรงคุณวุฒิให้คำแนะนำการขับเคลื่อนชุมชนสู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย 14.00 น. นำเสนอกรณีศึกษาประเด็นการจัดการทรัพยากรและการท่องเที่ยวโครงการการจัดการท่องเที่ยววิถีชุมชน บ้านท่าฉัตรชัยตำบลนาท่อม ตำบลไม้ขาวอำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต 14.20 น.นำเสนอกรณีศึกษาประเด็นการจัดการสุขภาพและอาหารปลอดภัยโครงการชุมชนหูยานบ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเองตำบลนาท่อมอำเภอเมืองจังหวัดพัทลุง 14.40 น. ผู้ทรงคุณวุฒิให้คำแนะนำการขับเคลื่อนชุมชนสู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย 15.30 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่ สู่การยกระดับเชิงนโยบายโดย อ.กำไล สารักษ์ และ อ.สุวิทย์ เมื่อเสร็จกิจกรรมการเสวนาแลกเปลี่ยนกันก็คนที่เข้าร่วมกิจกรรมในห้องประชุมย่อยก็ได้มาจับมือร่วมกันเป็นวงกลม และร้องเพลงศรัทธาร่วมกัน วันพุธที่ 5ตุลาคม 255908.00 - 09.00น. ลานสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม ลานศาลาเรือนไทย 09.00-10.30น. สรุปข้อเสนอเพื่อการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพของภาคใต้ 10.30 11.45น. เสวนาเรื่อง “การขับเคลื่อนระบบสุขภาพของประเทศไทยสู่การเป็นผู้นำภูมิภาคอาเซียน”โดย  นายแพทย์ศักดิ์ชัยกาญจนวัฒนารักษาการเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ผู้จัดการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ  นายแพทย์พลเดชปิ่นประทีป เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ  รศ.ดร.วิลาสินีพิพิธกุล รองผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยสถานีโทรทัศน์ (TPBS)ผู้ดำเนินการอภิปราย นางสาวณาตยา แวววีรคุปต์ 11.45 -12.00น. พิธีปิด

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ข้อเสนอเพิ่มเติมจากการประชุมห้องย่อย สานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่  สู่นโยบายสาธารณะ 1.การสื่อสารให้เข้าถึงพื้นที่ รู้จัก สสส. 2.สสส.ควรทำงานร่วมกับโรงเรียนให้มากขึ้น ถ้าเข้าถึง เยาวชนได้มาก เขาจะรู้จัก สสส.ตั้งแต่ยังเล็ก ปลูกฝังความคิด จิตสาธารณะ ตอนนี้ทางโรงเรียนต้องการคนชี้นำ  สสส.คิดอะไรเพื่อเด็กและเยาวชนหลายอย่าง เขาไม่รุ้ว่าใคร  ทำอย่างไรให้ถึงโรงเรียน  และทำให้ได้สมาชิกคนใหม่ และเด็กๆ ที่จะสืบทอด 3.การลงไปประชาสัมพันธ์ ลงไปยังพื้นที่ องค์กร  เชื่อว่าหลายหมู่บ้าน ชุมชน ยังมีความต้องการ  วันนี้เป็นนิมิตหลายอันดี ที่ สสส.ซึ่งเป็นองค์กรอิสระ และวันนี้สำคัญถ้าเราทำงานเชิงรุก ประชาสัมพันธ์ ทำให้ประชาชนได้รุ้จัก สสส. (การสร้างคนรุ่นใหม่ คนรุ่นเยาว์  เป็นการปลูกฝังตั้งแต่เด็ก) 4.อยากเติมเต็ม  โครงการ สสส. ทำภายใต้เทคโนโลยี ไอที  หลายหมู่บ้านอยากทำเพราะเป็นโครงการที่ดี เขาทำได้ แต่ปัญหาเขาขาดผู้เชี่ยวชาญด้านไอที  อาจจะให้เขาได้เข้ามาเสนอ และหาคนรุ่นใหม่ มาอบรม เติมเต็มทางด้านนี้ เพื่อใช้ในการทำเครื่องมือรายงาน การวัดผล สรุปข้อเสนอเพื่อการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพของภาคใต้ 3. ข้อเสนอจากห้องสานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่สู่นโยบายสาธารณะ      ข้อเสนอ สสส. - ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดกลไก ขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาศักยภาพผู้นาชุมชนเพื่อสร้างชุมชนน่าอยู่ เช่น สนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้นาชุมชนและองค์กรในท้องถิ่น ให้สามารถขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่ได้อย่างต่อเนื่อง - เพิ่มการสื่อสารและช่องทางการประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนได้เข้าถึงแหล่งทุนให้มากขึ้น - สนับสนุนให้เกิดการสร้างกลไกพี่เลี้ยงเพื่อหนุนเสริมให้ชุมชนมีศักยภาพนาไปสู่การสร้างชุมชนเข้มแข็ง - สสส. เป็นองค์กรกลางประสานความร่วมมือระหว่างเครือข่าย เพื่อให้เกิดการขยายผลในระดับนโยบาย เพื่อยกระดับการขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่ สช. - เปิดโอกาสให้ชุมชนที่ดาเนินงานชุมชนน่าอยู่ ได้เข้ามาร่วมในกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะ เพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม - นาบทเรียนและข้อมูล องค์ความรู้ และคณะทางานจากโครงการชุมชนน่าอยู่ มายกระดับสู่การขับเคลื่อนเชิงนโยบายสาธารณะ ในประเด็นที่สอดคล้องกับการพัฒนาสุขภาวะชุมชน สปสช. - ให้กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น จัดสรรงบประมาณให้กับชุมชนที่ดาเนินงานตามแนวทางของชุมชนน่าอยู่เพื่อพัฒนายกระดับจากพื้นที่สู่ตำบล - กำหนดสัดส่วนคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นให้มีตัวแทนของผู้นาชุมชนที่ขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่ได้สำเร็จ - กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาโครงการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชนให้มีแนวทาง เพื่อพัฒนาและร่วมเป็นภาคีเครือข่ายได้มากขึ้น กระทรวงสาธารณสุข - กำหนดให้หน่วยบริการสุขภาพ ดาเนินงานสร้างเสริมสุขภาพร่วมกับชุมชนมากขึ้น โดยกำหนดตัวชี้วัดชุมชนน่าอยู่ในมาตรฐานการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล - ส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรสาขาสุขภาพมีความเข้าใจ และ มีความร่วมมือกับชุมชน ในการขับเคลื่อนงาน สถานีโทรทัศน์ ไทยพีบีเอส - สนับสนุนให้มีการประชาสัมพันธ์ แนวทางการดาเนินงานชุมชนน่าอยู่ให้ทั่วถึงในระดับชุมชนท้องถิ่น - นาเสนอบทเรียนพื้นที่ตัวอย่าง ดาเนินงานชุมชนน่าอยู่ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ การพัฒนา กลุ่มผู้นาชุมชนให้มีกลไกการดาเนินงานสร้างชุมชนเข้มแข็ง - สนับสนุนให้เกิดช่องทางการสื่อสาร เพื่อประชาสัมพันธ์นวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์ชุมชนน่าอยู่ ให้ถึงทั่วถึงในระดับท้องถิ่น และสื่อสารให้สังคมได้เห็นกระบวนการขับเคลื่อนชุมชนอย่างเป็นระบบ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ถอดบทเรียนการพัฒนา30 กันยายน 2016
30
กันยายน 2016รายงานจากพื้นที่ โดย dadchanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อถอดบทเรียนการดำเนินงานตามโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ตัวแทนกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกระบวนการถอดบทเรียนโดยได้พูดคุยถอดบทเรียน 1.กิจกรรมที่ได้ทำผ่านมาในโครงการ 1)ได้เรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือนในการบันทึกรายรับ-รายจ่ายในแต่ละวันและมีเงินคงเหลือเท่าไหร ได้สมุดบัญชีครัวเรือนเป็นของชาวสวนขันเองโดยกการร่วมกันออกแบบของชาวสวนขันได้เรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือนด้วยตนเอง คือ การฝึกหัดทำบัญชีครัวเรือนได้ฝึกการทำบัญชีครัวเรือนและรู้ว่าได้ใช้จ่ายเงินไปเท่าไหรในสัปดาห์นี้ 3.มีการได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในชุมชนจากการเรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือนคือได้ช่วยกันแนะนำซึ่งกันและกันในการทำบัญชีครัวเรือนข้อดีของการทำบัญชีครัวเรือน คือสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้ ว่าสิ่งไหนที่จำเป็น หรือไม่จำเป็นสิ่งไหนฟุ่มเฟือย จะได้รู้ และยังมีเงินออมด้วย 2)ได้เรียนรู้ในการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ปุ๋ยหมักสามารถลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้จากการลดการใช้ปุ๋ยเคมีมีความปลอดภัยต่อตัวเอง และสิ่งแวดล้อมทำให้ดินร่วนซุยดี

3)ได้เรียนรู้การเพาะเห็ดนางฟ้าตั้งแต่การเตรียมสถานที่ การเพาะเชื้อเห็ดการดูแลการเก็บเกี่ยวซึ่งเป็นสิ่งที่ดีที่ได้เรียนรู้เพราะสามารถที่จะนำไปสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้

2.ปัจจัยที่ให้เกิดความสำเร็จคือการรวมกลุ่มกันเพื่อทำกิจกรรมเพื่อที่จะให้เกิดการพัฒนาในชุมชน 3.ปัญหาและอุปสรรค คนบางคนยังไม่เห็นความสำคัญของกิจกรรม 4.การเปลี่ยนแปลงหลังจากการทำโครงการทำให้มีค่าใช้จ่ายลดลงจากการซื้อปุ๋ยเคมีมาทำการเกษตร หันมาใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพแทนในการทำการเกษตร ทำให้รู้สึกว่ามีความสุขในการเกษตรเราปลูกเองสามารถที่จะกินเองได้ขายคนอื่นได้ อีกทั้งทำให้สิ่งแวดล้อมดีด้วยใช้แล้วดินร่วนซุย สามารถลดค่าใช้จ่ายได้ 700-800 บาทต่อเดือนได้ 5.ข้อดีจากการทำโครง ได้เรียนรู้จากกิจกรรมที่โครงการได้จัดขึ้น ซึ่งก็ได้นำความรู้จากการที่เรียนปุ๋ยหมักไปทำเองที่บ้านลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้และก็ได้นำวัสดุที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น ใบไม้ข้างๆบ้าน มาทำปุ๋ยหมัก

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมครบ 160 คน 2.ได้ถอดบทเรียน 3.ได้แลกเปลี่ยนความรู้ด้วยกัน

ผลลัพธ์ 1.ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเรื่องปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ 2.ได้แลกเปลี่ยนความรู้การเพาะเห็ดนางฟ้า 3.ได้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วม 4.ได้เกิดกลุ่ม

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 160 คน จากที่ตั้งไว้ 160 คน
ประกอบด้วย

ตัวแทนกลุ่มเป้าหมาย 160 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

การถ่ายภาพกิจกรรม และจัดทำรายงาน28 กันยายน 2016
28
กันยายน 2016รายงานจากพื้นที่ โดย dadchanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อจัดทำรายงาน  และเตรียมเอกสารการเงิน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้คณะทำงาน  ได้เดินทางมา ที่ รพ.สต.เขาพระบาท เพื่อมาทำรายงานกิจกรรม  เอกสารด้านการเงิน และตรวจสอบเอกสารด้านการเงิน  พร้อมทั้งตรวจสอบการบันทึกการข้อมูลในเวปไซต์ 

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมครบ 2 คน
2.ได้รายงานผลการดำเนินกิจกรรม บันทึกข้อมูลในเวปไซต์ 3.ได้ใส่รูปภาพประกอบในทุกกิจกรรม

ผลลัพธ์ 1.ได้รายงานผลงานของโครงการ 2.ได้มีภาพประกอบในแต่ละกิจกรรม 3.ได้รายงานผลของโครงการฉบับที่สมบูรณ์

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

1.ยังบีนทึกข้อมูลในเว็ปไซต์ยังไม่เรียบร้อย  แก้ไข โดยการบันทึกเพิ่มเติม

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญพลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประเมินผลกิจกรรม24 กันยายน 2016
24
กันยายน 2016รายงานจากพื้นที่ โดย dadchanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามประเมินผลการทำกิจกรรม

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนีเป็นกิจกรรมประเมินผลการดำเนินโครงการ ซึ่งวันนี้นางดัชนีย์มัชฌิมวงศ์ประธานโครงการได้กล่าวพูดคุยและได้ชี้แจงกิจกรรมที่ผ่านมาและศุนย์เรียนรู้ที่เราได้จัดตั้งขึ้นในชุมชน คือ1)บ้านนายทินกรบรรดิศักดิ์จะให้เป็นแหล่งเรียนรู้ในเรื่องของปุ๋ยหมักชีวภาพการทำเกษตรแบบผสมผสาน 2)ศูนย์เรียนรู้สมุนไพร จะตั้งอยู่ทีั่ศาลาประจำหมู่บ้าน 3)แหล่งเรียนรู็การทำเห็ดนางฟ้า ที่บ้านนางสาวสุภาพรชัยชาญซึ่งได้เป็นแหล่งเรียนรู็ในชุมชน ที่สามรถให้คนในชุมชนและผู้สนใจสามารถไปศึกษาในเรื่อง ที่สนใจได้ และเราก็จะได้มาติดตามประเมินผลจากการดำเนินการซึ่งจะมีการสอบถามผลจากการดำเนินการ และจะติดตามไปถามตามบ้านที่เข้าร่วมกิจกรรม โดย 1.ในที่ประชุมได้พูดคุย และเสนอบอกว่ากิจกรรมที่ผ่านมานั้น เป็นกิจกรรมที่ดี เป็นการส่งเสริมให้ใช้ชีวภาพในการทำการเกษตรไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพน้ำหมักชีวภาพเพราะจะต้องไม่ต้องใช้สารพิษในการเกษตรปลอดภัยในการกิน อีกทั้งยังรักษาสภาพดินสภาพแวดล้อมอีกด้วยทำให้ผักที่ปลูกสวยงาม ดินดี ร่วนซุย ในเรื่องของการเพาะเห็ดก็ได้กลับไปเพาะอีกที่บ้านสามารถลดค่าใช้จ่ายในการซื้อผักได้และเป็นผักที่ปลอดสารพิษได้มีการจัดทำบัญชีครัวเรือนซึ่งสามารถรู็ค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้ได้รู็ว่าสิ่งไหนที่เป็นสิ่งที่ฟุ่มเฟือยสิ่งไหนที่จำเป็นและไม่จำเป็น และยังมีเงินออกออีกด้วย 2.ได้มีการไปสอบถามที่บ้าน คือ บ้านนายสมพรพราห์มชูซึ่งที่บ้านทำเกษตรผสมผสานซึ่งได้ใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพนำ้หมักชีวภาพในการทำการเกษตร ซึ่งนายสมพรได้บอกว่า การใช้ชีวภาพในการทำเกษตรนี้ดีมากเลยเมื่อก่อนเคยใช้เคมีในการทำเกษตรมา ได้ผลผลิตเร็ซ สะดวก แต่ใช้เงินทุนเยอะ และยังเป็นโทษกับตัวเองอีกและคนสมัยนี้ เป็นคนที่รักสุขภาพ กินอาหารที่ปลอดสารพิษเลยหันมาทำเกษตรแบบชีวภาพพอได้ทำแล้วก็รู็สึกว่า ผักมีความสวยงามดินก็ดีปลอดภัยกับตัวเอง และคนอื่น อีกทั้งเป็นการลดค่าใช้จ่ายในเรื่องปุ๋ยเคมีไปเยอะเลย

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมครบ80คน 2.ได่้ทราบถึงผลการทำกิจกรรมที่ได้มา ถือว่าเป็นการตอบรับที่ดี โดยเฉพาะในการทำเกษตรแบบชีวภาพเพราเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมและปลอดภัยในการบริโภคด้วย 3.เกิดฐานเรียนรู้

ผลลัพธ์ 1.เกิดฐานเรียนรู้ปุ๋ยหมักชีวภาพและเกษตรผสมผสาน 2.เกิดฐานเรียนรู้พืชสมุนไพร 3.เกิดฐานเรียนรู้เห็ดนางฟ้า 4.เกิดกระบวนการมีส่วนร่วม

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 80 คน จากที่ตั้งไว้ 80 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานผู้นำชุมชน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมสภาผู้นำครั้งที่107 กันยายน 2016
7
กันยายน 2016รายงานจากพื้นที่ โดย dadchanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประชุมวางแผนการทำงานและติดตามกิจกรรมการทำงาน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมประชุมสภาผู้นำชุมชนบ้านสวนขัน ครั้งที่ 10
นาวดัชนีย์มัชฌิมวงศ์ ประธานโครงการกล่าวตอนรับ และทีทักทายคณะทำงานซึ่งนางดัชนีย์ได้ชี้แจงถึง
1.สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสซิกา ซึ่งระบาดอยู่ในหลายประเทศและในประเทศไทยได้แก่ จันทบุรี เพชรบูรณ์บึงกาฬและเชียงใหม่ซึ่ง กระทรวงสาธารณสุขกล่าวว่า ตั้งแต่ ม.ค. 2559 - มิ.ย.2559 หรือ 6 เดือนแรกของปีนี้ พบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสซิกาสะสม 97 ราย ใน 10 จังหวัด 16 อำเภอ 26 ตำบล 42 หมู่บ้าน โดยควบคุมสถานการณ์ได้หมดแล้ว แต่ก็ยังพบอยู่ใน 4 จังหวัดดังกล่าวจึงอยากให้ประชาชนในหมู่บ้านช่วยกันเฝ้าระวังด้วยจะเห็นได้จากข่าวแล้วว่า ช่วงนี้ไวรัสซิก้ากลับมาระบาดอีกครั้ง ซึ่งไวรัสซิกาจะสามารถติดต่อจากผู้ป่วย สู่ผู้ป่วยด้วย ยุงลาย ที่เป็นพาหะ อย่างนั้นเราช่วยกันป้องกันโรคนี้กันดีกว่าว่ามีวิธีใดบ้างที่จะช่วยให้ไม่ให้เกิดขึ้นกับตัวเรา

ระวังอย่าให้ตัวเองโดนยุงกัด หากจำเป็นต้องไปในที่ยุงชุม เช่น ป่าดิบชื้น ใกล้แหล่งน้ำนิ่ง แหล่งชุมชนแออัดให้ทายากันยุง เวลาที่นอนควรนอนในมุ้ง หรือพักในห้องที่มีมุ้งลวด

กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายรอบที่อยู่อาศัย รวมถึงที่ทำงาน และโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นการเทน้ำในจานรองกระถางต้นไม้ เปลี่ยนน้ำในแจกัน คว่ำกะละมัง อ่างต่างๆ นอกบ้าน ใส่ทรายอะเบทลงในจานรองกระถางต้นไม้ต่างๆ และฉีดยาป้องกันยุงลายตามสถานที่ทำงาน และโรงเรียน

ผู้หญิงตั้งครรภ์ควรฝากครรภ์กับสถานพยาบาล หรือโรงพยาบาล เพื่อตรวจร่างกายตามเวลาที่แพทย์กำหนด ป้องกันการเกิดความผิดปกติกับลูกน้อย

ไวรัสซิกาไม่น่ากลัว หากมีการป้องกันยุงลายที่ดี เพราะฉะนั้นในช่วงหน้าฝนแบบนี้ หมั่นดูแลสุขภาพให้ดี และอย่าให้ตัวคุณเอง และคนที่คุณรักโดนยุงกัด กิจกรรมที่ผ่านมา 2.กิจกรรมที่ผ่านมา คือ กิจกรรมการจัดตั้งกลุ่มเพาะเห็ดและกลุ่มสมุนไพรสร้างแหล่งเรียนรู็ในชุมชนเรียนรู้เกษตรชีวภาพครั้งที่ 3 3.กิจกรรมในครั้งต่อไปคือประเมินผลการดำเนินกิจกรรมจัดทำรายงานถอดบทเรียนพัฒนาและร่วมงานสร้างสุขภาคใต้ ในวันที่ 3 - 5 ต.ค.2559 ที่ ศูนย์ประชุมนานาชาติ มอ.หาดใหญ่

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมครบ 30 คน 2.ได้รู้ถึงสถานการณ์โรคติดเชื่อไวรัสซิกา และการเฝ้าระวัง 3.ได้ทราบผลการดำเนินงานที่ผ่านมา 4.กิจกรรมในครั้งต่อไปคือประเมินผลการดำเนินกิจกรรมจัดทำรายงานถอดบทเรียนพัฒนาและร่วมงานสร้างสุขภาคใต้ ในวันที่ 3 - 5 ต.ค.2559 ที่ ศูนย์ประชุมนานาชาติ มอ.หาดใหญ่

ผลลัพธ์ 1.ได้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วม 2.ได้สรุปผลการดำเนินงาน 3.เกิดการรวมกลุ่มกัน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน  ผู้นำชุมชน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญพลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

พบพี่เลี้ยงเพื่อติดตามโครงการ3 กันยายน 2016
3
กันยายน 2016รายงานจากพื้นที่ โดย dadchanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามความคืบหน้าของโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรม มาตรวจเอกสาร และติดตามความคืบหน้าของโครงการ  โดยวันนี้ได้ตรวจเช็คเอกสารด้านการเงิน  และการบันทึกในเวปไซต์

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมครบ 2 คน 2.ได้ตรวจสอบเอกสารแล้วต้องกลับไปแก้ไขในเรื่องของใบเสร็จและให้ไปบันทึกข้อมูลในเวปไซต์ให้เรียบร้อยด้วยนะ

ผลลัพธ์ 1.ได้ตรวจเอกสารและมีข้อผิดพลาดได้นำมาแก้ไข 2.ได้ตรวจเอกสารการใช้เงินถูกต้อง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เรียนรู้เกษตรชีวภาพครั้งที่330 สิงหาคม 2016
30
สิงหาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย dadchanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อได้ความรู้และเข้าใจการทำเกษตรชีวภาพเข้าใจมากขึ้น

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมการเรียนรู้เกษตรแบบชีวภาพ ซึ่งจะเป็นการเรียนรู้ เกี่ยวกับเกษตรผสมผสาน การปลูกผักปลอดสารพิษ การปลูกผักแบบผสมผสานเป็นระบบเกษตรที่มีการปลูกพืชและมีการเลี้ยงสัตว์หลากหลายชนิดในพื้นที่เดียวกัน โดย ที่กิจกรรมการผลิตแต่ละ ชนิด เกื้อกูลประโยชน์ต่อกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในไร่นาอย่างเหมาะสม เกิดประโยชน์สูงสุด มีความสมดุลต่อสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง และเกิดการเพิ่มพูนความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ การเกื้อกูลกันระหว่างพืชและสัตว์ เศษซากและผลพลอยได้จากการปลูกพืชจะเป็นประโยชน์ต่อกิจกรรมการเลี้ยงสัตว์ ในทางตรงกันข้าม ผลที่ได้จากการเลี้ยงสัตว์ก็จะเป็นประโยชน์ต่อพืชด้วยเช่นกัน (1) หลักการของ "เกษตรผสมผสาน" (2)
หลักการพื้นฐานของระบบเกษตรกรรมแบบผสมผสานมีอยู่อย่างน้อย 2 ประการสำคัญๆ คือ
1) ต้องมีกิจกรรมการเกษตรตั้งแต่ 2 กิจกรรมเป็นต้นไป โดยการทำการเกษตรทั้งสองกิจกรรมนั้น ต้องทำในพื้นที่และระยะเวลาเดียวกัน ซึ่งกิจกรรมเหล่านั้นควรประกอบไปด้วยการปลูกพืชและการเลี้ยงสัตว์ และสามารถผสมผสานระหว่างการปลูกพืชต่างชนิด หรือการเลี้ยงสัตว์ต่างชนิดกันได้
2) การเกื้อกูลประโยชน์ระหว่างกิจกรรมเกษตรต่างๆ และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในระบบเกษตรแบบผสมผสานนั้น เกิดขึ้นทั้งจากวงจรการใช้แร่ธาตุอาหารรวมทั้งอากาศ และพลังงาน เช่น การหมุนเวียนใช้ประโยชน์จากมูลสัตว์ให้เป็นประโยชน์กับพืช และให้เศษพืชเป็นอาหารสัตว์ โดยที่กระบวนการใช้ประโยชน์จะเป็นไปทั้งโดยตรงหรือโดยอ้อม เช่น ผ่านการหมักของจุลินทรีย์เสียก่อน การปลูกผักแบบชีวภาพ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้ครบ 160 คน 2.ได้องค์ความรู้ใหม่ 3.ชุมชนก็สะอาดขึ้น

ผลลัพธ์ 1.ได้ศึกษาเรียนรู้การทำกิจกรรม 2.เกิดกระบวนการมีส่วนร่วม 3.ได้เกิดกลุ่มขึ้นมา 4. ข้อดีของการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ

  • ทำให้ได้พืชผักที่มีคุณภาพ ไม่มีสารพิษตกค้าง เกิดความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค
  • ช่วยให้เกษตรกรผู้ปลูกผักมีสุขภาพอนามัยดีขึ้นเนื่องจากไม่มีการฉีดพ่นสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ทำ ให้เกษตรกรปลอดภัยจากสารพิษเหล่านี้ด้วย
  • ลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรด้านค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมีป้องกันและกำ จัดศัตรูพืช
  • ลดปริมาณการนำ เข้าสารเคมีป้องกันและกำ จัดศัตรูพืช
  • เกษตรกรจะมีรายได้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากผลผลิตที่ได้มีคุณภาพ ทำ ให้สามารถขายผลผลิตได้ในราคาสูงขึ้น
  • ลดปริมาณสารเคมีป้องกันและกำ จัดศัตรูพืชที่จะปนเปื้อนเข้าไปในอากาศและนํ้า ซึ่งเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและลดมลพิษของสิ่งแวดล้อมได้ทางหนึ่ง

วิธีการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษ

ในการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษนั้น จะใช้หลักการปลูกพืชผักโดยการใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพน้ำหมักชีวภาพในการปลูกเพื่อลดดสารเคมีลดต้นทุนอีกทั้งเป็นผลดีต่อการกินเพราะเรากินผักที่ปลอดภัยที่ปลูกเอง ซึ่งน้ำหมักชีวภาพปุ๋ยหมักเราก็ได้ทำกันเองสามารถทำกันเองได้

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 160 คน จากที่ตั้งไว้ 160 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 30 คนและชาวบ้าน  130  คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญพลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สร้างแหล่งเรียนรู้23 สิงหาคม 2016
23
สิงหาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย dadchanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อได้เป็นศูนย์เรียนรู้ของชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประธานโครงการได้กล่าวสวัสดีผู้เข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งวันนี้เป็นการมาเยี่ยมชม และร่วมสร้างแหล่งเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในโครงการ
1.แหล่งเรียนรู้การทำปุ๋ยหมัก บ้านนายทินกรบรรดิศักดิ์จะให้เป็นแหล่งเรียนรู้ในเรื่องของปุ๋ยหมักชีวภาพ
2.แหล่งเรียนรู้สมุนไพรพื้นบ้าน ซึ่งต่อยอดมาจากปีที่แล้ว ศูนย์เรียนรู้สมุนไพร จะตั้งอยู่ทีั่ศาลาประจำหมู่บ้าน 3.แหล่งเรียนรู้การทำเกษตรแบบผสมผสานซึ่งใช้เกษตรชีวภาพและเยี่ยมดูสวนมะนาวซึ่งใช้ปุ๋ญหมัก และน้ำหมักในการปลูกผลผลิต 4.แหล่งเรียนรู็การทำเห็ดนางฟ้า ที่บ้านนางสาวสุภาพร ชัยชาญ

แหล่งเรียนรู็การทำเห็ดนางฟ้า ที่บ้านนางสาวสุภาพร ชัยชาญ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต
1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมครบ 60 คน 2.ได้แหล่งเรียนรู้และศูนย์ของชุมชน 3.เกิดกลุ่มขึ้น

ผลลัพธ์ 1.เกิดศูนย์เรียนรู้การเพาะเห็ดนางฟ้า 2.เกิดศูนย์เรียนรู้การทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ 3.เกิดศูนย์เรียนรู้การปลูกพืช

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 60 คน จากที่ตั้งไว้ 60 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 30 คนและชาวบ้าน 30 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญพลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

จัดตั้งกลุ่มเพาะเห็ดฟางและกลุ่มสมุนไพร13 สิงหาคม 2016
13
สิงหาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย dadchanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อจะได้กลุ่มเกิดขึ้นมาในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมวันนี้เป็นกิจกรรมการจัดตั้งกลุ่มเพาะเห็ดนางฟ้าและกลุ่มสมุนไพรเพื่อเป็นฐานการเรียนรู๋้ในชุมชนในการศึกษาหาความรู็ นางดัชนีย์ มัชฌิมวงค์ประธานโครงการได้กล่าวต้อนรับ คณะทำงานและผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้ชี้แจง ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ว่ากิจกรรมต่างๆที่ผ่านมาได้ทำกิจกรรมต่างๆไปแล้วทั้งการสำรวจข้อมูลชุมชน แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ แล้วคืนข้อมูลให้กับชุมชน การเรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือนเพื่อเป็นการรู้จักการใช้จ่ายในครัวเรือนเป็นการณุ้เกี่ยวกับรายจ่ายในครัวเรือนการเรียนรู้การเพาะเห็ดนางฟ้าการเรียนรู้เกษตรแบบผสมผสานการทำเกษตรแบบชีวภาพ โดยจะมีการประชุมเพื่อวางแผนการทำงานทุกๆเดือนเพื่อติดตามกิจกรรม การดำเนินโครงการเพื่อติดตามความคืบหน้าของโครงการ โดย ให้คนในที่ประชุมได้เสนอ บ้านที่เหมาะสมที่จะเป็นแหล่งเรียนรู็ของชุมชนซึ่งก็ได้เสมอมาคือ 1.บ้านนายทินกรบรรดิศักดิ์จะให้เป็นแหล่งเรียนรู้ในเรื่องของปุ๋ยหมักชีวภาพ ซึ่งก็ได้เป็นหมอดินของหมู่บ้านโดยที่บ้านจะทำปุ๋ยหมัก ทำการเกษตรผสมผสานทำน้ำหมักชีวภาพซึ่งก็ได้ใช้ปุ๋ยหมักที่ทำเอง ในการทำการเกษตรอยู่แล้ว 2.ศูนย์เรียนรู้สมุนไพร จะตั้งอยู่ทีั่ศาลาประจำหมู่บ้านซึ่งมีตัวอย่างของสมุนไพร ต่างๆ 3.แหล่งเรียนรู็การทำเห็ดนางฟ้า ที่บ้านนางสาวสุภาพรชัยชาญ ซึ่งเป็นผู้มีความรู็ เป็นปราญช์ในด้านการเพาะเห็ดนางฟ้า ซึ่งศุนย์การเรียนรู้สถานที่ต่างๆนี้สามารถให้คนที่สนใจในเรื่องดังกล่าวสามารถไปศึกษาเรียนรู้ได้

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมครบ 35 คน 2.ในที่ประชุมได้เสนอให้ 1)บ้านนายทินกรบรรดิศักดิ์จะให้เป็นแหล่งเรียนรู้ในเรื่องของปุ๋ยหมักชีวภาพ
2)ศูนย์เรียนรู้สมุนไพร จะตั้งอยู่ทีั่ศาลาประจำหมู่บ้าน 3)แหล่งเรียนรู็การทำเห็ดนางฟ้า ที่บ้านนางสาวสุภาพร ชัยชาญ

ผลลัพธ์ 1.ได้ศูนย์เรียนรู้ 3 ศูนย์ 2.ได้เรียนรู้กิจกรรมร่วมกัน 3.ได้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วม

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 35 คน จากที่ตั้งไว้ 35 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 30 คนและชาวบ้าน  5 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญพลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เยี่ยมติดตามโครงการ งวดที่ 28 สิงหาคม 2016
8
สิงหาคม 2016รายงานจากพี่เลี้ยง โดย yongyut
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามเยี่ยมและสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้ได้ไปติดตามการทำโครงการ ทุนชมชนสร้างรายได้บ้านสวนขันซึ่งได้ไปพูดคุยกับผู้ที่เข้า่วมกิจกรรม และได้ลงไปเยี่ยมติดตามครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรมของโครงการซึ่งที่บ้านของผู้เข้าร่วมกิจกรรมก็ได้ทำเกษตรแบบชีวภาพ คือใช้น้ำหมักปุ๋ยหมักในการทำการเกษตร ซึ่งผลดี คือ เป็นการลดต้นทุนในเรื่องของปุ๋ยทำให้ดินร่วนซุยผักใบเขียวสวยส่งผงดีต่อสิ่งแวดล้อมไม่มีสารพิษตกค้าง และได้ใช้ชีวิตแบบพอเพียง มีกินมีใช้พอประมาณและเหลือกิน ก็นำไปขายได้

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 10 คน 2.ได้ลงติดตามเยี่ยมบ้านผู้เข้าร่วมกิจกรรม

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 10 คน จากที่ตั้งไว้ 10 คน
ประกอบด้วย

พี่เลี้ยงโครงการและคณะทำงาน 10 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

การบันทึกกิจกรรมการดำเนินงานยังไม่ครอบคลุม ให้เพิ่มความครอบคลุม และการจัดทำหลักฐานทางการเขียน ต้องเขียนให้ถูกต้องตามระเบียบที่กำหนดไว้

ประชุมสภาผู้นำครั้งที่97 สิงหาคม 2016
7
สิงหาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย dadchanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมาและเตรียมงานกิจกรรมครั้งต่อไป

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้้เป็นกิจกรรมประชุมสภาชุมชนครั้งที่ 9
เริ่มด้วยนางดัชนีย์มัชฌิมวงศ์ ประธานโครงการและผู้ใหญ่บ้าน กล่าวเปิดการประชุม ต้อนรับคณะทำงานนำทุกท่าน
1. เมื่อวันที่ 7 สิงหาที่ผ่านมา ที่ผ่านมา ขอขอบคุณทุกท่านที่ไปลงคะแนนการออกเสียงประชามติผลการลงประชามติ ตือ ประชาชนส่วนใหญ่ก็เห็นชอบรับร้่างรัฐธรรมนูญเห็นชอบ16,820,420 คน คิดเป็น ร้อยละ 61.35 ไม่เห็นชอบ 10,598,037 คิดเป็นร้อยละ 38.65 จากผู้ใช้สิทธิทั้งหมดส่วนประเด็นพ่วง(เพิ่มเติมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สนช.) เห็นชอบ15,132,050 คน คิดเป็นร้อยละ58.07 ไม่เห็นชอบ10,926,648 คิดเป็นร้อยละ41.93บัตรเสียร้อยละ 3.15 จังหวัดที่ผู้มาใช้สิทธิ์ มากที่สุด คือจังหวัดลำพูน
2.กิจกรรมที่ผ่านมาคือกิจกรรม ประชุมสภาชุมชนครั้งที่ 8 เรียนรู้การเพาะเห็ดนางฟ้า ครั้งที่ 3
3.กิจกรรมในครั้งต่อไป คือ กิจกรรมการจัดตั้งกลุ่มเพาะเห็ดและกลุ่มสมุนไพรสร้างแหล่งเรียนรู็ในชุมชนเรียนรู้เกษตรชีวภาพครั้งที่ 3 ประชุมสภาผู้นำครั้งที่ 10

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต
1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมครบ 30 คน 2.กิจกรรมที่ผ่านมาคือกิจกรรม ประชุมสภาชุมชนครั้งที่ 8 เรียนรู้การเพาะเห็ดนางฟ้า ครั้งที่ 3
3.กิจกรรมในครั้งต่อไป คือ กิจกรรมการจัดตั้งกลุ่มเพาะเห็ดและกลุ่มสมุนไพรสร้างแหล่งเรียนรู็ในชุมชนเรียนรู้เกษตรชีวภาพครั้งที่ 3 ประชุมสภาผู้นำครั้งที่ 10

ผลลัพธ์ 1.เกิดกระบวนการมีส่วนร่วม 2.เกิดกลุ่มขึ้นมา 3.ได้แนวทางการทำกิจกรรมครั้งต่อไป

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 30 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เรียนรู้การเพาะเห็ดนางฟ้าครั้งที่26 สิงหาคม 2016
6
สิงหาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย dadchanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อได้ความรู้และเข้าใจการในการเพาะเห็ดนางฟ้าได้ดีขึ้น

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมการเรียนรู้การเพาะเห็ดนางฟ้า ครั้งที่ 2

เห็ดนางฟ้า ลักษณะโดยทั่วไปของเห็ดนางฟ้า มีกลิ่นหอม เนื้อแน่น เจริญเติบโตได้ดีในช่วงหน้าร้อน (มีค.-เมย.) จะออกดอกในพื้นที่ชุ่มชื้นและเย็นมีสรรพคุณช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ลดไขมันในเส้นเลือด เห็ดนางฟ้า 1 กรัมให้พลังงาน 300 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย โปรตีน 2.3 กรัม คาร์โบไฮเดรต 5.7 กรัม ไนอะซิน 2.5 มิลลิกรัม

การดูแลรักษาเห็ดนางฟ้าช่วงเปิดดอกเห็ดที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันได้แก่ เห็ดนางฟ้า เห็ดนางฟ้าภูฐาน เห็ดนางรม - อุณหภูมิและความชื้นจะเจริญได้ดีที่สุดที่ความชื้นภายในโรงเรือนไม่ควรต่ำกว่า 80% - การถ่ายเทอากาศ ต้องการออกซิเจนสูงมากในระยะกำลังสร้างเส้นใยและเกิดดอกถ้ามีก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ไว้มาก จะสังเกตที่ลำต้นจะยืดยาว ดอกจะหุบไม่บาน - แสง แสงมีความจำเป็นต่อการทำให้ดอกเห็ดสมบูรณ์หรือเพื่อให้เห็ดออกดอกเร็วขึ้น ถ้าขาดแสงก้านดอกจะยาวออก ดอกเล็กและผลผลิตต่ำ - ศัตรูเห็ดนางฟ้า 1. หนูและแมลงสาบ 2. ไร จะดูดกินน้ำเล้ยงระยะก้อนเชื้อและดอกเห็ด จะระบาดเมื่อความชื้นในโรงเรือนต่ำ 3. แมลงหวี่ จะเกิดกับดอกเห็ดที่มีอายุมากจะมาตอมและวางไข่ 4. โรคจุดเหลือง จะเกิดกับดอกเห็ดที่มีอายุมากตกค้างในการเก็บหรือเพราะน้ำที่รดนั้นสกปรก ไม่สะอาด 5. ราเมือก ลักษณะเป็นสีเหลือง กลิ่นคาวจัด ระบาดโดยสปอร์ ป้องกันโดยเอาก้อนเชื้อที่หมด อายุแล้วและเศษวัสดุในโรงเรือนออกอย่าให้หมักหมม

การรดน้ำก้อนเห็ดมีประเด็นที่ต้องพิจารณาอยู่ 3-4 เรื่อง คือ

  1. ใช้น้ำอะไรรดก้อนเห็ดดี
  2. ตำแหน่งในการรดน้ำ
  3. ความถี่ในการรดน้ำ
  4. อุปกรณ์ที่ใช้รดน้ำ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมครบ 160 คน 2.ชาวบ้านเข้าใจการเพาะเห็ดนางฟ้า 3.ชาวบ้านเข้าใจถึงการแปรรูปเห็ดนางฟ้าและเกิดองค์ความรู้ใหม่

ผลลัพธ์ 1.ชาวบ้านมีความรู้เรื่องการเพาะเห็ดนางฟ้า 2.ชาวบ้านมีความรู้เรื่องการแปรรูปเห็ดนางฟ้า 3.เกิดกระบวนการมีส่วนร่วม 4. เรียนรู้การเพาะเห็ดนางฟ้า

4.1 น้ำที่ใช้รด

เห็ดจะเจริญเติบโตได้ดีในสภาพเป็นกลาง หรือ pH 7.0 ในสูตรการเตรียมวัสดุเพาะที่ใช้ทำก้อนเห็ด จะมีการใส่ยิปซัม และปูนขาวลงไปด้วย สาเหตุคือวัสดุที่นำมาทำเป็นอาหารสำหรับเห็ด เช่น รำละเอียด ขี้เลื่อยมักมีสภาพเป็นกรด จึงต้องใส่ยิปซัม และปูนขาวที่มีคุณสมบัติเป็นด่างลงไป เพื่อปรับสภาพให้เป็นกลาง ดังนั้นน้ำที่จะใช้รดก้อนเห็ด ก็ควรจะมีค่าความเป็นกรด-ด่างที่ pH 7.0 แหล่งน้ำสามารถใช้ได้ทั้งน้ำบ่อ น้ำคลอง น้ำบาดาลที่ไม่กร่อย หรือแม้กระทั้งน้ำประปา สำหรับน้ำประปามีค่าความเป็นกรด-ด่างเป็นกลางอยู่แล้ว แต่ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้เลย ควรตากแดดหรือรองทิ้งไว้ประมาณ 3-4 วัน เพื่อให้คลอรีนระเหยออกไปก่อน ข้อเสียของการใช้น้ำประปาคือมีต้นทุนที่สูง สำหรับท่่านที่ใช้น้ำบาดาลควรจะมีการปรับด่างโดยการแกว่งสารส้มเพื่อให้เศษปูนและอื่น ๆ ที่มากับน้ำบาดาลตกตะกอน ไม่ว่าน้ำที่ใช้จะมาจากแหล่งไหน หากไม่แน่ใจควรจะทำการวัดค่าความเป็นกรด-ด่างของน้ำก่อนเสมอ

4.2 ตำแหน่งการรดน้ำ ให้รดโดยรอบก้อน และให้รดจากก้อนที่อยู่บนสุด และน้ำจะค่อยไหลลงมาก้อนที่เรียงอยู่ด้านล่าง สิ่งที่ต้องระมัดระวังที่สุด คือ ไม่รดน้ำเข้าไปที่หน้าก้อน เพราะน้ำจะเข้าไปขังในก้อนเห็ด เป็นอันตรายต่อก้อนเห็ดเป็นอย่างมาก เพราะเส้นใยเห็ดที่เดินขาว ๆ อยู่ตายกลายเป็นเมือก ที่เรียกกันว่า “ราเมือก” เมื่อมีราเมือก เห็ดจะไม่ออกดอก และก้อนเห็ดจะเสีย นอกจากการรดบนก้อนเห็ดแล้ว บางครั้งอาจจะต้องรดที่พื้น ผนัง และหลังคาของโรงเรือนเพิ่มเข้าไปด้วย

4.3 ความถี่ในการรดน้ำ ไม่มีคำตอบที่แน่นอนว่าควรจะรดน้ำกี่ครั้งต่อวัน ความถี่ในการรดน้ำให้พิจารณาอุณหภูมิ ความชื้นสัมพันธ์ สภาพของก้อนเห็ด ลมและอากาศเป็นองค์ประกอบ เห็ดแต่ละชนิดเจริญเติบโตได้ดีในอุณหภูมิและความชื้นสัมพันธ์ที่แตกต่างกัน ดังนั้นเป็นเรื่องจำเป็นที่นักเพาะเห็ดมือใหม่จะต้องรู้ว่าเห็ดแต่ละชนิดที่เราเพาะเจริญเติบโตได้ดีในอุณหภูมิกี่องศาและความชื้นสัมพันธ์กี่เปอร์เซนต์ เช่น เห็ดหูหนู อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพันธ์อยู่ที่ 85-90% การรดน้ำในสภาพปกติอยู่ที่ 4-5 ครั้งต่อวัน คือเช้า สาย บ่าย เย็น แต่หากอุณหภูมิสูงไปถึง 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพันธ์ต่ำ ควรจะรดน้ำให้นานขึ้นอีกสักเล็กน้อย หรือรดที่พื้น และผนังโรงเรือนเพิ่มไปด้วย ในทางกลับกัน หากความชื้นสูง เราก็ควรจะลดการรดน้ำลง พร้อมทั้งเปิดโรงเรือนเพื่อให้มีการระบายอากาศ อันเป็นกรอบกว้างๆ เท่านั้น เราต้องดูลึกลงไปที่สภาพของดอกและก้อนเห็ดด้วย เช่น หากเราสังเกตเห็นว่าดอกเห็ดแห้ง ดอกไม่มีน้ำหนัก นั้นเป็นอาการขาดน้ำ ก็ควรจะรดน้ำเพิ่ม ตรรกะความสัมพันธ์และการเชื่อมโยงระหว่างอุณหภูมิ ความชื้นภายนอก ความชื้นในก้อน การรดน้ำ การระบายอากาศจึงเป็นเรื่องที่นักเพาะเห็ดมือใหม่ต้องทำความเข้าใจให้ถ่องแท้

4.4 อุปกรณ์ในการรดน้ำ ในระยะแรก กูรูผู้เชี่ยวชาญการเพาะเห็ด มักแนะนำให้รดน้ำแบบ Manual (เช่น สายยาง บัวรดน้ำ) ไปก่อน เพื่อที่นักเพาะเห็ดจะได้ศึกษาทำความเข้าใจการรดน้ำได้ถูกต้อง เช่น หากเราเห็นว่าเห็ดตรงไหนชื้นมาก เราก็รดน้ำตรงนั้นให้น้อย เห็ดตรงไหนแห้งมาก ก็รดน้ำให้มากหน่อย หากใช้เครื่องรดน้ำแบบอัตโนมัติ การรดน้ำจะทำในปริมาณที่เท่ากัน ก้อนไหนแชะอยู่แล้ว จะยิ่งแชะหนักเข้าไปอีก

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 160 คน จากที่ตั้งไว้ 160 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 30 คนและชาวบ้าน 130 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมสภาผู้นำครั้งที่87 มิถุนายน 2016
7
มิถุนายน 2016รายงานจากพื้นที่ โดย dadchanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมาและเตรียมงานกิจกรรมครั้งต่อไป

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมประชุมสภาผู้นำชุมชน ครั้งที่ 8 เริ่มด้วยนางดัชนีย์มัชฌิมวงศ์ ประธานโครงการและผู้ใหญ่บ้าน กล่าวเปิดการประชุม ต้อนรับคณะทำงานนำทุกท่านที่มาร่วมกันประชุมในวันนี้

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมครบ 30 คน มีข้อมูลประชุม ดังนี้

  1. รายงานอุบัติเหตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช ช่วง 7 วัน อันตรายรวม 702 คน ตาย 9 คน ภาพรวมทั้งประเทศ สรุป 7 วันสงกรานต์ ตายพุ่ง 442 เจ็บ 3,656 คนสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ขับเร็วเกินกำหนดร้อยละ 35.57ยานพาหนะเกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ79.14เรียกตรวจยานพาหนะ617,870 คัน มีผู้ถูกดำเนินคดี 95,483รายโดยจังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ จ.นครศรีธรรมราช และ จ.เชียงใหม่ 14จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุด ได้แก่จ. เชียงใหม่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด ได้แก่จ.นครศรีธรรมราช
  2. ชี้แจงกิจกรรมที่ผ่านมาคือ การเรียนรู้เกษตรชีวภาพครั้งที่ 1ในวันที่ 14 เม.ย.2559 เป็นการเรียนรู็เกี่ยวกับการทำปุ๋ยหมักเกรการเรียนรู้การเพาะเห็ดนางฟ้าครั้งที่ 1 ในวันที่ 20 พ.ค.2559 การเรียนรู้เกษตรชีวภาพ ครั้งที่ 2 31 พ.ค. 2559และการเรียนรู็การเพาะเห็ดนางฟ้าครั้งที่ 2 ในวันที่5 มิ.ย.2559ซ฿่งกิจกรรมที่ผ่านมา ก็ได้รับความสนใจจากประชาชนในหมู่บ้าน
  3. กิจกรรมในครั้งต่อไป คือ การเรียนรู็การเพาะเห็ดครั้งที่ 3 และการประชุมครั้งที่ 9
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 30 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญพลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เรียนรู้การเพาะเห็ดนางฟ้าครั้งที่35 มิถุนายน 2016
5
มิถุนายน 2016รายงานจากพื้นที่ โดย dadchanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อได้ความรู้และเข้าใจการเพาะเห็ดนางฟ้าและเข้าใจมากขึ้น

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมการเพาะเห็ดนางฟ้าครั้งที่ 3ในวันนี้ก็จะมาเรียนรู้การการเก็บเห็ด และหลังจากการเก็บเห็ดแล้วเราจะมีวิธีการดูแลอย่างไร

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมครบ 160 คน 2.ได้เรียนรู้การเพาะเห็ดนางฟ้า 3.ได้ศูนย์เรียนรู้การเพาะเห็ดนางฟ้า

ผลลัพธ์ 1.ได้ศูนย์เพาะเห็ดนางฟ้า 1 ศูนย์ 2.ได้เข้าใจการเพาะเห็ดนางฟ้า ดังนี้

การเก็บเกี่ยวและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว

เมื่อเอาถุงก้อนเชื้อมาเปิดรดน้ำ และมีการดูแลรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม จะเกิดดอกเห็ดเล็กๆ ภายในเวลาประมาณ 2 – 3 สัปดาห์ ขณะที่กำลังเกิดเป็นดอกเห็ดเล็กๆ นี้ หากดูแลในเรื่องของความชื้นได้ดี ดอกเห็ดก็จะโตเต็มที่ภายใน 4–5 วัน ส่วนมากจะเก็บได้ ในวันที่ 4 ถ้าทิ้งไว้นานกว่านั้น ดอกเห็ดจะสร้างสปอร์ออกมาเป็นผงสีขาวละเอียด หลุดร่วงหล่นลงด้านล่าง ดอกเห็ดที่สร้างสปอร์ไปแล้วคุณภาพจะด้อยลง คือ เหนียวขึ้นและรสชาดก็จะขม

ลักษณะของดอกเห็ดที่แก่พอจะเก็บเกี่ยวได้ สังเกตจากก้านของดอกเห็ดจะหยุดการเจริญเติบโตทางด้านความยาว หมวกดอกเริ่มคลี่ออกมาประมาณครึ่งหนึ่ง แล้วเริ่มสร้างสปอร์บ้าง ขอบดอกจะหนา และรวมตัวเข้าหากัน

เมื่อเจริญโตเต็มที่แล้วขอบดอกจะคลี่ออก และบางลงกว่าเดิม เป็นระยะที่ควรเก็บเกี่ยวได้ ไม่ควรปล่อยให้โตไปมากกว่านี้ จนกระทั่งปลายหมวกดอกคลี่บานเต็มที่ เพราะระยะนี้ดอกเห็ดจะสร้างสปอร์มากทำให้ความหนาแน่นของเนื้อเห็ดลดลง ทั้งยังดูดอมน้ำมากขึ้น จะช้ำง่ายเมื่อนำไปจำหน่าย

การเก็บดอกเห็ดควรเก็บในตอนเช้ามืด ให้ใช้มือดึงที่โคนออกมาเบาๆ ไม่ควรใช้มีดตัด เพราะเศษเห็ดที่ติดอยู่กับก้อนเชื้อจะเน่า เกิดเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค เมื่อเก็บดอกเห็ดมาแล้ว จึงใช้มีดหรือกรรไกรตัดเอาส่วนโคนที่มีเศษขี้เลื่อยติดมาวางเห็ดคว่ำไว้ในตะกร้าที่สะอาดแต่ละตะกร้าไม่ควรใส่ดอกเห็ดลงไปมากเกินไป หรือไม่ควรใส่เกิน 5 กิโลกรัม/ตะกร้า เพื่อไม่ให้น้ำ หนัก ของดอกเห็ดกดทับกันจนเสียหาย

ดอกเห็ดนางฟ้าเก็บรักษาได้ไม่ทนมากนัก ควรจะใช้ทำอาหารให้หมดภายใน 1–2 วัน หลังจากที่ตัดออกมา เพราะเห็ดชนิดนี้เก็บไม่ทน มักจะเหี่ยวแม้จะแช่ตู้เย็นก็ตาม การเก็บเห็ด ถ้าเก็บในอุณหภูมิห้อง คือ ไม่เข้าตู้เย็น การวางบนใบตองสด เรียงดอกเห็ดบางๆ ก็สามารถเก็บไว้ได้ระยะหนึ่ง ถ้าเก็บในตู้เย็นก็ควรเอาใส่ถุงพลาสติกอย่างขุ่น ขยี้แล้วสเปรย์น้ำให้มีหยดเล็กๆ ติดภายในเอาดอกเห็ดใส่ถุงรัดด้วยยางหรือเย็บปากถุงไว้

ก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าสูตรธรรมดาขนาดน้ำ หนัก 1 กิโลกรัม จะให้ผลผลิตครั้งละ 50–60 กรัม แต่ละก้อนจะให้ผลผลิตประมาณ 4–5 รุ่น แต่ละรุ่นมีช่วงห่างระหว่างการเกิดดอกประมาณ 30–40 วัน ได้น้ำหนักรวมกระทั่งหมดอายุ ประมาณ 3–4 ขีด

การดูแล และเก็บเห็ดนางฟ้าจะใช้เวลาประมาณ 2-4 เดือน หรือจนหมดอายุอาหารในก้อนจึงนำรุ่นใหม่เข้ามาเพาะแทน รวมทั้ง ก้อนเชื้อบางก้อนที่เน่าเสียไปอย่างรวดเร็วกว่าก้อนอื่นๆให้แยกออกไปแล้วนำ รุ่นใหม่เข้ามาแทนเช่นกัน ก้อนเชื้อที่หมดสภาพหรือหมดอายุแล้ว จะมีน้ำหนักเบา บางก้อนจะเละมีสีดำคล้ำ ถึงระยะนี้อาจนำออกมาทั้งหมด จากนั้นจึงล้างโรงเรือนให้สะอาดก่อนนำ ก้อนเชื้อรุ่นใหม่เข้าไปเพาะต่อไป

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 160 คน จากที่ตั้งไว้ 160 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 30 คนและชาวบ้าน 130  คน 

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เรียนรู้เกษตรชีวภาพครั้งที่231 พฤษภาคม 2016
31
พฤษภาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย dadchanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อได้ความรู้และเข้าใจการทำเกษตรชีวภาพเข้าใจมากขึ้น

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้มีเป็นการเรียนรู้เกษตรชีวภาพ ครั้งที่ 2โดยเชิญชวนสมาชิก เข้ามาเรียนรู้วีการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ แบบใส่กระสอบ ซึ่งเป็นการทำที่ง่าย ไม่ต้องใช้พื้นที่ในการหมักทิ้งไว้ โดยแต่ละคนก็ได้นำสูตรที่ตนเองเรียนรู้มานั่งพูดคุยซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้ทำปุ๋ยหมักประกอบด้วย 1.ขี้วัว จำนวน 20 กระสอบ 2.ฟางข้าว จำนวน20 กระสอบ 3.แกลบ จำนวน 20 กระสอบ 4.พด.1 จำนวน 1 ซอง 5.น้ำหมักชีวภาพ จำนวน 1 ขวด 6.กระสอบสำหรับใส่ปุ๋ยหมัก 7.จอบ มีด ถังน้ำ วิธีการทำ 1.จัดเตรียมถานที่ และอุปกรณ์ต่างๆในการทำปุ๋ยหมัก โดยใช้พื้นที่ข้างที่เก็บซังข้าวและอุปกรณ์ต่างๆ 2.เตรียมวัสดุในการทำปุ๋ยหมัก โดยการนำฟางข้าวมาสับให้เป็นชิ้นเล็ก เพื่อจะได้ย่อยสลายเร็วขึ้น 3.นำฟางข้าว ขี้วัว แกลบ มาผสมรวมกัน โดยใช้สัดส่วน 1 : 1 มาผสมคลุกเล้าให้เข้ากันอาจจะใช้ชี้วัวมากกว่าสักหน่อยก็ได้เพราะที่บ้านลุงสวิดมีขี้วัวเอง 3.นำ พด.1ผสมกับน้ำ 20 ลิตร และใส่ น้ำหมักชีวภาพ 1 ขวด ผสมให้เข้ากัน 4.เมื่อส่วนผสมคลุกเคล้าเข้ากันแล้ว ก็นำน้ำที่ผสมกันไว้มารดในกองปุ๋ยให้ทั่วคลุกเค้าให้เข้ากัน โดยกะให้มีความชื้นประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ วิธีทดสอบง่ายๆ คือถ้ากำปุ๋ยไว้ในมือแล้วไม่มีน้ำไหลออกมาตามง่ามนิ้ว และเมื่อแบมือออก ปุ๋ยก็ยังจับกันเป็นก้อน อย่างนี้ถือว่าใช้ได้ 4.เมื่อผสมปุ๋ยเสร็จ ก็นำกระสอบมาใส่ปุ๋ยโดยใส่ประมาณ2 ส่วน 4 ของกระสอบ เพื่อเหลือพื้นที่ไว้ในการที่จะพลิกกระสอบและนำเชือกมารัดปากกระสอบปุ๋ยไว้ 5.นำกระสอบปุ๋ยที่ใส่ปุ๋ยไว้เสร็จแล้วมาตั้งซ้อนกัน สลับหัว นำกระสอบที่เย็บไว้มาปิดไว้ เพื่อป้องกันแสงแดดและคอยพลิกปุ๋ย ทุกๆ 2-3 วัน ประมาณ 3 สัปดาห์ ก็สามารถนำปุ๋ยมาใช้ได้ บรรยากาศในการทำงาน ทุกคนมีการพูดคุย เป็นการกันเอง มีความสนใจการการทำปุ๋ยแบบใส่กระสอบ สมาชิก ได้ช่วยกันลงแรงในการทำปุ๋ย ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมวัสดุอุปกรณ์การผสมปุ๋ย และการบรรจุกระสอบ สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้ และเห็นได้ชัด คือ ทุกคนพร้อมที่จะเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักในครัวเรือนไว้ใช้เอง มีความสนใจในการทำปุ๋ยแบบใส่กระสอบปุ๋ยมากมีการช่วยเหลือในการทำปุ๋ยกันจนเสร็จเกิดการยอมรับกันมากขั้น

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมครบ 160 คน 2.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้ในเรื่ิองการทำปุ๋ยหมักแบบใสสอบปุ๋ย 3.กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมได้เข้าใจเกษตรชีวภาพ

ผลลัพธ์ 1.ชาวบ้านกลุ่มเป้าหมายเข้าใจการทำปุ๋ย 2.เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมในโครงการ 3.เกิดกลุ่มการทำปุ๋ย

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 160 คน จากที่ตั้งไว้ 160 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 30 คนและชาวบ้าน 130 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญพลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เรียนรู้การเพาะเห็ดนางฟ้าครั้งที่120 พฤษภาคม 2016
20
พฤษภาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย dadchanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อได้ความรู้และเข้าใจการในการเพาะเห็ดนางฟ้า

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วาระที่ 1 ประธานแจ้งที่ประชุมทราบ ยินดีต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกท่าน วันนี้มีโอกาสดี ที่เราจะได้เรียนรู้การเพาะเห็ดนางฟ้ากัน เพื่อลดการใช้สารเคมีและประหยัดต้นทุนในการผลิต โดย นางสาวสุภาพร ชัยชาญ วาระที่ 2 เรื่องรับรองการประชุม
เชิญเลขารายงาน
ที่ประชุมมีมติ รับรอง วาระที่ 3 เรื่องพิจารณา
วันนี้จะขอมติเห็นชอบ เป็นการทำกิจกรรมเกี่ยวกับการเรียนรู้เรื่องเพาะเห็ดนางฟ้าครั้งที่ 1 เรื่องการทำโรงเรือน การจัดเตรียมอุปกรณ์ การสาธิตโดยปราชญ์ชุมชนเป็นผู้ถ่ายทอดเพื่อให้มีประสบการณ์

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมครบ160คน 2.ชาวบ้านได้เรียนรู้การเพาะเห็ดนางฟ้า 3.ชาวบ้านเกิดกระบวนการเรียนรู้

ผลลัพธ์ 1.ชาวบ้านมีความเข้าใจในการเพาะเห็ดนางฟ้า

ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมโรงเรือนสำหรับเพาะเห็ดนางฟ้า

1.การเตรียมโรงเรือนสำหรับเพาะเห็ดนางฟ้า

สำหรับโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้านั้นควรมีขนาด 2 x 15 x 2 (กว้าง x ยาว x สูง) เมตร ซึ่งจะวางก้อนเชื้อเห็ดนางรม และเห็ดนางฟ้าได้ประมาณ 4,000 ก้อน โรงเรือนควรเป็นแบบที่สร้างง่าย ลงทุนน้อย และวัสดุที่จะนำมาสร้างเป็นโรงเรือนนั้นจะต้องหาง่ายที่มีอยู่ในท้องถิ่น เป็นวัสดุที่มาจากธรรมชาติ เช่น ฟาง, หญ้าแฝก, ไม้ไผ่ เป็นต้น สำหรับการสร้างโรงเรือนให้เหมาะสมนั้นควรสร้างในที่เย็นชื้นและสะอาดปราศจากศัตรูของเห็ดที่จะเข้ามารบกวน หลังคามุงจากหรือแฝก แล้วคลุมทับด้วยสะแลนอีก 1 ชิ้น การคลุมหลังคาขึ้นอยู่กับชนิดของเห็ดด้วย เพื่อป้องกันลม ลมแรง ลมค่อย ลมหนาว ลมแห้งแล้ง สภาพลม สภาพอากาศ มีผลกระทบต่อการออกดอกของเห็ดได้เช่นเดียวกัน ปิดประตูด้วยกระสอบป่านหรือแผ่นยาง ปูพื้นด้วยทราย เพื่อเก็บความชื้น ทิศทางลม ก้อมีส่วนสำคัญในการโรงเพาะเห็ด ต้องดูทิศทางของลมเหนือลมใต้ เพื่อป้องกันการพัดพาเชื้อโรค ที่จะมีผลต่อก้อนเห็ด และการออกดอกของเห็ด

การสร้างโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้าขนาด 2 x 15 x 2 มีทั้งหมด 4 ด้านด้วยกัน ซึ่งแต่ละด้านสามารถเก็บก้อนเชื้อเห็ดนางรม และเห็ดนางฟ้าได้ถึง 1,000 ก้อน ซึ่งการทำโรงเรือนในลักษณะนี้ ใช้พื้นที่รวมแล้วแค่ประมาณ 60 ตารางเมตรเท่านั้น วัสดุในการทำงานก็ใช้ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น ไม้ไผ่ ไม้ยูคา หรือ อื่น ๆ ตัวเสาก็อาจจะใช้ไม้ที่มีขนาดใหญ่เพื่อความแข็งแรงของโรงเรือน หลังคาก็ใช้หญ้าแฝก ซึ่งเป็นวัสดุที่เหมาะกับการทำโรงเรือนเป็นอย่างดี เนื่องจากสามารถกักเก็บความร้อนชื้นได้ดี เป็นภูมิอากาศที่เห็ดนางรม และเห็ดนางฟ้าชอบ ขั้นตอนที่ 2 การทำก้อนเชื้อเพาะเห็ดนางฟ้า

วิธีการทำก้อนเชื้อเพาะเห็ดนางรม และเห็ดนางฟ้า

การทำก้อนเชื้อเพาะเห็ดนางฟ้านั้นจำเป็นต้องหาวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องเตรียมดังนี้ ได้แก่ขี้เลื่อยยางพาราหรือขี้เลื่อยไม้เนื้ออ่อน แต่ในทางปฏิบัตินั้นขี้เลื่อยยางพาราจะให้ผลดีที่สุด จากนั้นก็หาส่วนผสมต่างๆเพื่อให้ได้คุณค่าทางอาหารมากยิ่งขึ้น และสูตรการทำก้อนเชื้อเห็ดนางรม และเห็ดนางฟ้ามีส่วนผสมหลัก ๆดังนี้

ขี้เลื่อยยางพาราแห้งสนิท 100 กิโลกรัม รำละเอียด 6 – 8 กิโลกรัม ข้าวโพดป่น 3 – 5 กิโลกรัม ปูนยิบซัม 1 กิโลกรัม หินปูนหรือผงชอล์ก 1 กิโลกรัม ดีเกลือ 0.2 กิโลกรัม น้ำ 80 กิโลกรัม EM 1 ลิตร

เมื่อหาส่วนผสมมาครบแล้ว ก็ทำการตากและกองขี้เลื่อยยางพาราไว้ประมาณ 7 วัน จากนั้นค่อยทำการผสมโดยการเติมน้ำลงประมาณ 70 เปอร์เซนต์ ทดสอบโดยการกำส่วนผสมถ้ามีน้ำซึมตามง่ามมือแสดงว่าการผสมนี้ผสมน้ำมากเกินไปแต่ถ้าเมื่อบีบแล้วขี้เลื่อยแตกเป็น 3 ก้อนแสดงว่าการผสมใช้ได้เรียกว่าพอดีแล้วแต่ถ้าว่าถ้ากำแล้วแบมือออกแล้วขี้เลื่อยจับตัวไม่เป็นก้อนแสดงว่าเติมน้ำน้อยจนเกินไป เมื่อผสมเข้ากันได้ที่แล้วก็ทำการกรอกใส่ถุงเพาะเห็ด ใส่ให้ได้น้ำหนักประมาณ 800 – 900 กรัม หลังจากนั้นก็ทำการรวบปากถุงกระทุ้งกับพื้นให้แน่นพอประมาณหลังจากนั้นก็ทำการใส่คอขวด

ขั้นตอนที่ 3 การหยอดเชื้อและบ่มเชื้อเห็ดนางฟ้า

การหยอดเชื้อและบ่มเชื้อเห็ดนางฟ้า เมื่อทำก้อนเชื้อเสร็จแล้ว เราก็จะนำก้อนเชื้อที่ได้ทำการหยอดเชื้อและบ่มเชื้อเห็ดนางรม และเห็ดนางฟ้าตามลำดับ โดยก่อนอื่นก้อนเชื้อที่ได้นั้นเราก็จะนำมาทำการนึ่งเพื่อฆ่าเชื้อ ถ้ามีหม้อนึ่งความดันอยู่แล้วก็ให้นึ่งที่ความดัน 25 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว โดยทำการนึ่งที่ระยะเวลาประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง ถ้าไม่มีหม้อนึ่งความดันอาจใช้หม้อนึ่งจากถังน้ำมัน 200 ลิตร แทนก็ได้ แต่จะต้องทำการนึ่งประมาณ 3 ครั้ง โดยทำการนึ่งที่อุณหภูมิ 100 อาศาเซลเซียส นึ่งที่ระยะเวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมง และทำการนึ่งทั้งหมด 3 ครั้ง เมื่อผ่านขั้นตอนการนึ่งฆ่าเชื้อเรียบร้อยแล้ว เราก็จะทำการหยอดเชื้อเห็ดลงสู่ก้อนเชื้อ เชื้อเห็ดจากเมล็ดข้าวฟ่างควรหยอดเชื้อลงประมาณ 20 – 25 เมล็ด เมื่อหยอดเชื้อลงสู่ก้อนเชื้อเห็ดเสร็จแล้ว ให้ทำการปิดปากถุงก้อนเชื้อให้เรียบร้อย หลังจากทำการหยอดเชื้อลงในก้อนเชื้อเสร็จ เราก็จะทำการบ่มเชื้อเห็ดในอีกขั้นตอนหนึ่ง โดยการบ่มเชื้อนั้นต้องนำก้อนไปบ่มไว้ที่ระยะเวลาประมาณ 20-25 วัน กรรมวิธีการบ่มก็ไม่ยุ่งยากอะไร เพียงแต่ต้องเก็บให้เป็นระเบียบ ไม่ถูกแดด ไม่ถูกฝน ลมไม่โกรกไม่มีแมลง ไม่มีหนู อากาศถ่ายเทได้สะดวก

ขั้นตอนที่ 4 การเก็บเกี่ยวผลผลิตเห็ดนางฟ้า

การเก็บเกี่ยวผลผลิตเห็ดนางรม และเห็ดนางฟ้า หลังจากที่ได้เราทำการบ่มเชื้อเห็ดนางรม และเห็ดนางฟ้าเรียบร้อยแล้ว ก็เป็นช่วงระยะเวลาของการเปิดดอกและทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตเห็ดนางรม และเห็ดนางฟ้าจะออกดอกเมื่อมีความชื้นสูงพออากาศไม่ร้อนมาก เมื่อถูกเหนี่ยวนำด้วยอากาศเย็นตอนกลางคืนก็จะออกดอกได้ดี เทคนิคที่ทำให้ออกดอกสม่ำเสมอและดอกใหญ่สามารถทำได้ดังนี้เมื่อเก็บดอกเสร็จต้องทำความสะอาดหน้าก้อนเชื้อโดยเขี่ยเศษเห็ดออกให้หมด งดให้น้ำสัก 3 วัน เพื่อให้เชื้อฟักตัวแล้วก็กลับมาให้น้ำอีกตามปกติเห็ดก็จะเกิดเยอะเหมือนเดิมหรือเมื่อเก็บดอกเห็ดเสร็จก็ทำความสะอาดหน้าก้อนเชื้อเหมือนเดิม แล้วรัดปากถุงไม่ให้อากาศเข้าทิ้งระยะเวลาประมาณ 2 – 3 วัน ให้น้ำปกติหลังจากนั้นก็เปิดปากถุงก็จะเกิดดอกที่สม่ำเสมอเป็นการเหนี่ยวนำให้ออกดอกพร้อมกัน เมื่อเห็ดออกดอกและบานจนได้ขนาดที่ต้องการแล้ว ให้เก็บดอกโดยจับที่โคนดอกทั้งช่อ โยกซ้ายขวา-บนล่าง แล้วดึงออกจากถุงเห็ด ระวังอย่าให้ปากถุงเห็ดบาน ถ้าดอกเห็นโคนขาดติดอยู่ให้แคะออกทิ้งให้สะอาดเพื่อป้องกันการเน่าเสีย เป็นสาเหตุทำให้เกิดหนอนจากการวางไข่ของแมลงได้ การดูลักษณะดอกเห็ดที่ควรเก็บ คือดอกไม่แก่ หรืออ่อนจนเกินไป ดูที่ขอบดอกยังงุ้มอยู่คือดอกที่เหมาะแก่การเก็บเกี่ยว ถ้าขอบยกขึ้นแสดงว่าแก่แล้ว ดอกเห็ดที่แก่จัด และออกสปอร์เป็นผงขาวด้านหลังดอกเห็ด ต้องรีบเก็บออก เพราะสปอร์จะเป็นตัวชักนำให้แมลงเข้ามาในโรงเรือนเพาะเห็ดนางรม และเห็ดนางฟ้าได้

ขั้นตอนที่ 5 ปัญหาที่พบในการเพาะเห็ดนางฟ้า

ปัญหาที่พบในการเพาะเห็ดนางรม และเห็ดนางฟ้า เราสามารถวิเคราะห์ปัญหาในการเพาะเห็ดนางรม และเห็ดนางฟ้าออกมาได้ 7 ข้อหลัก ๆ ดังนี้

  1. เชื้อในถุงไม่เดิน สาเหตุ ขณะหยอดเชื้อถุงก้อนเชื้อร้อนเกิน เชื้ออ่อนแอเกินไป และลืมหยอดเชื้อ วิธีแก้ไข ตั้งก้อนเชื้อให้เย็นอย่างน้อย 24 ชั่งโมง คัดเชื้ออ่อนแอทิ้ง ก่อนหยอดเชื้อ ขณะหยอดเชื้อต้องมีสติ และสมาธิแน่นแน่
  2. หนอนแมลงหวี่กินเส้นใย สาเหตุ แมลงหวี่ไข่ไว้ที่ฝาจุกหรือสำลีวิธีแก้ไข ตรวจสอบสุขภาพอนามัยของโรงเรือน จุก สำลี ต้องนึ่งฆ่าเชื้อ สำลีต้องอุดให้แน่น ปิดกระดาษให้สนิทอย่าให้มีช่อง
  3. เชื้อเดิน แต่หยุด มีกลิ่นบูด มีน้ำเมือก มีสีเหลือง เขียว หรือสีดำสาเหตุ มีราหรือแบคทีเรียปนเปื้อน นึ่งฆ่าเชื้อไม่หมด นึ่งฆ่าเชื้อดีแต่กระบวนการลดความร้อนและเปิดหม้อนึ่งไม่ถูกต้อง เชื้อเห็ดที่ใช้ไม่มีคุณภาพ วิธีการหยอดเชื้อไม่ดี บ่มถุงก้อนเชื้อหนาแน่นเกินไปทำให้การระบายอากาศไม่ดี มีคาร์บอนไดออกไซค์มาก วิธีแก้ไข ให้ทบทวนสาเหตุหลักของการปนเปื้อน ตรวจกระบวนการนึ่ง เรื่อง เวลา อุณหภูมิ จำนวนก้อน ไล่อากาศในหม้อนึ่ง ค่อยๆลดความร้อน อย่าเปิดหม้อนึ่งอย่ารวดเร็ว ตรวจดูจุกสำลีว่าแน่นหรือไม่ ใช้เชื้อเห็ดที่บริสุทธิ์ อบรมวิธีการปลอดเชื้อ และปรับปรุงวิธีทำงาน ห้องบ่มเชื้อควรมีอุณหภูมิ 25 – 30 องศาเซลเซียส ปรับปรุงเรื่องสุขอนามัยฟาร์ม
  4. เชื้อเดินเต็มก้อน แต่ไม่ออกดอกสาเหตุ เชื้อเป็นหมัน เชื้อไม่ดี สภาพแวดล้อมในโรงเรือนไม่เหมาะสม มีสิ่งปนเปื้อน เช่น รา ไร แบคทีเรีย หนอน และมีการใช้สารเคมีมากเกินไป วิธีแก้ไข จัดหาเชื้อใหม่ จัดสภาพในโรงเรือนให้เหมาะสม จัดสุขอนามัยฟาร์ม แสง อุณหภูมิ ความชื้น การถ่ายเทอากาศ และไม่ควรใช้สารเคมีกำจัดแมลง
  5. เกิดดอกเห็ดแต่ก้านยาวหมวกดอกไม่แผ่ออก สาเหตุ แสงไม่เพียงพอและมีคาร์บอนไดออกไซค์มากเกินไป วิธีแก้ไข ปรับแสงให้มากขึ้น จัดให้อากาศถ่ายเทได้ดีขึ้น
  6. เกิดหน่อมากแต่ดอกกลับเติบโตน้อยสาเหตุ เชื้ออ่อนแอ เงื่อนไขเหมาะแก่การเกิดหน่อ ไม่เหมาะแก่การพัฒนาของดอก ขาดออกซิเจนและแสง อาหารในก้อนเชื้อไม่เพียงพอหรือไม่มีคุณภาพ เชื้อที่ใช้ไม่ดี มีคุณภาพต่ำ มีจุลินทรีย์ต่างๆรบกวน การถ่ายเทอากาศไม่ดี ความชื้นสูงเกินไปและรดน้ำมากเกินไป เกิดจากการใช้สารเคมีในช่วงเปิดดอก การแก้ไข เปลี่ยนเชื้อใหม่ ปรับเงื่อนไขของการเกิดดอก เพิ่มการถ่ายเทอากาศ เพิ่มช่องแสง ตรวจสอบคุณภาพของวัตถุดิบ ใช้เชื้อที่มีอัตราการเดินเส้นใยดี ปรับโรงเรือนไม่ให้เหมาะกับจุลินทรีย์ เพิ่มการถ่ายเทอากาศ ลดความชื้นลง ควรเลิกใช้สารเคมีในช่วงเปิดดอก
  7. เกิดดอกเพียงรุ่นเดียวรุ่นต่อไปไม่เกิด สาเหตุ อาหารในก้อนเชื้อไม่เพียงพอ เกิดการปนเปื้อน การจัดโรงเรือนไม่ดี เชื้อไม่ดี การแก้ไข ปรับสูตรอาหารใหม่ จัดการเรื่องสุขอนามัยฟาร์ม ปรับเรื่องแสง อุณหภูมิ ความชื้น ขูดลอกผิวส่วนที่ปากถุงออก ปรับปรุงวิธีการจัดการและเอาใจใส่มากขึ้น เปลี่ยนเชื้อใหม่
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 160 คน จากที่ตั้งไว้ 160 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 30 คนและชาวบ้าน 130 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เรียนรู้เกษตรชีวภาพครั้งที่114 เมษายน 2016
14
เมษายน 2016รายงานจากพื้นที่ โดย dadchanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อได้ความรู้และเข้าใจการทำเกษตรชีวภาพ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรม เรียนรู้เกษตรชีวภาพครั้งที่ 1 โดยในวันนี้จะเป็นกิจรรมการทำน้ำหมักประธานโครงการได้อธิบายถึงการทำเกษตรชีวภาพ ซึ่งในวันนี้เราจะมาเรียนรู้ในการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
โดยเชิญชวนสมาชิก เข้ามาเรียนรู้วีการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ โดยแต่ละคนก็ได้นำสูตรที่ตนเองเรียนรู้มานั่งพูดคุย
ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้ทำปุ๋ยหมักประกอบด้วย ๑.ขี้วัว จำนวน ๒๐ กระสอบ ๒.ฟางข้าว จำนวน๒๐ กระสอบ ๓.แกลบ จำนวน ๒๐ กระสอบ ๔.พด.๑ จำนวน ๑ ซอง ๕.น้ำหมักชีวภาพ จำนวน ๑ ขวด วิธีการดังกล่าว เป็นการหมักปุ๋ยชีวภาพแบบ พลิก กลับ วิธีการทำ 1.จัดเตรียมถานที่ และอุปกรณ์ต่างๆในการทำปุ๋ยหมัก โดยใช้ไม่กั้นเพื่อทำเป็นรั้ว สูงประมาณ 10 ซม. ก็โดยเอาไม้ต้นโหนด ที่มีคนมาตัดยังเหลืออยู่มาทำเป็นคอก และนำกระสอบที่ได้เย็บไว้มาปูไว้ที่พื้น 2.เตรียมวัสดุในการทำปุ๋ยหมัก โดยการนำฟางข้าว ขี้วัว แกลบ โดยใช้สัดส่วน 1 : 1 มาผสมคลุกเล้าให้เข้ากัน 3.นำ พด.1ผสมกับน้ำ 20 ลิตร และใส่ น้ำหมักชีวภาพ 1 ขวด ผสมให้เข้ากัน 4.เมื่อส่วนผสมคลุกเคล้าเข้ากันแล้ว ก็นำน้ำที่ผสมกันไว้มารดในกองปุ๋ยให้ทั่วคลุกเค้าให้เข้ากัน โดยกะให้มีความชื้นประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ วิธีทดสอบง่ายๆ คือถ้ากำปุ๋ยไว้ในมือแล้วไม่มีน้ำไหลออกมาตามง่ามนิ้ว และเมื่อแบมือออก ปุ๋ยก็ยังจับกันเป็นก้อน อย่างนี้ถือว่าใช้ได้ 4.เกลี่ยกองปุ๋ยให้เสมอทั่วๆกัน ไม่สูงจนเกินไป จากนั้นก็นำกระสอบที่ได้เย็บไว้มาปิดไว้ข้างบน 5.ทิ้งไว้ประมาณ 12 ชั่วโมง ให้ทดสอบโดยสอดมือเข้าไปในกองปุ๋ยจะร้อนมาก เมื่อครบ 24 ชั่วโมง จะเริ่มมีเส้นขาวๆ ปรากฏขึ้นบนผิวกองปุ๋ย แสดงว่าจุลินทรีย์เริ่มทำงาน อีก 3-4 วัน ต่อมาให้ทดสอบอีกครั้ง ถ้าปุ๋ยเย็นลงถือว่าใช้ได้ ถ้ายังมีความร้อนอยู่ให้ทิ้งไว้ต่อจนกว่าจะเย็น จึงสามารถนำไปใช้ได้

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1.มีู้เข้าร่วมกิจกรรมครบ 160 คน
2.ผู้เข้าร่วมกิจรรมมีความรู้ในการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ บรรยากาศในการทำงาน ทุกคนมีการพูดคุย เป็นการกันเองการ สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้ และเห็นได้ชัด คือ ทุกคนพร้อมที่จะเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักในครัวเรือนไว้ใช้เองมีการช่วยเหลือระหว่างกัน เกิดการยอมรับกันมากขั้น

ผลลัพธ์ 1.ชาวบ้านเข้าใจการทำปุ๋ยหมัก 2.เกิดการรวมกลุ่ม 3.เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมในโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 160 คน จากที่ตั้งไว้ 160 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน  30  คนและชาวบ้าน 130 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญพลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมสภาผู้นำครั้งที่77 เมษายน 2016
7
เมษายน 2016รายงานจากพื้นที่ โดย dadchanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาของคณะทำงาน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้้เป็นกิจกรรมประชุมสภาชุมชนครั้งที่ 7
เริ่มด้วยนางดัชนีย์มัชฌิมวงศ์ ประธานโครงการและผู้ใหญ่บ้าน กล่าวเปิดการประชุม ต้อนรับคณะทำงานนำทุกท่าน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานปรชุมครบ 30 คน มีข้อมูลการประชุม ดังนี้

  1. ได้ชี้แจงกิจกรรมที่ผ่านมาคือการประชุมสภาผู้นำบ้านสวนขัน ครั้งที่ 6 การปลูกผักปลอดสารพิษ การทำเห็ดฟาง เป็นตัวอย่างให้กับสมาชิกที่มาเข้าร่วมโครงการ ขอให้สภาผู้นำพัฒนาตัวเองก่อน ก่อนจะไปพัฒนาคนอื่น ขอให้ปลูกผักปลอดสารพิษ อย่างน้อย 5 อย่างต่อครัวเรือน ต่อมา นายคมเดชได้สอบถามความคืบหน้าของการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ทางสมาชิกโครงการดำเนินการบันทึกบัญชีแล้ว1 เดือน และถามว่า ว่ามีกิจกรรมไหนบ้างที่เราสามารถดำเนินการต่อได้ โดยตอนนี้มีการสำรองจ่ายเงินไปแล้ว ขอความร่วมมือสมาชิกโครงการให้ช่วยกันทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย เพื่อได้ทราบรายการค่าใช้จ่ายแต่ละวันของครัวเรือน
  2. ได้ชี้แจงกิจกรรมครั้งต่อไปคือ การเรียนรู้เกษตรชีวภาพครั้งที่ 1ในวันที่ 14 เม.ย.2559 การเรียนรู้การเพาะเห็ดนางฟ้าครั้งที่ 1 ในวันที่ 20 พ.ค.2559 การเรียนรู้เกษตรชีวภาพ ครั้งที่ 2 31 พ.ค. 2559และการเรียนรู็การเพาะเห็ดนางฟ้าครั้งที่ 2 ในวันที่5 มิ.ย.2559 และฝากช่วยเตือนประชาชนในหมู่บ้านด้วย เพราะใกล้จะถึงเทศกาลสงกรานต์แล้วให้ระวังในเรื่องของอุบัติเหตุ ขี่มอเตอร์ไซต์ก็ให้สวมหมวกกันน็อคให้เรียบร้อยด้วย เคารพกฎจราจรมีสติในการขับรถ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 30 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญพลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

พบพี่เลี้ยงเพื่อติดตามโครงการ26 มีนาคม 2016
26
มีนาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย dadchanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามรายงานผลการดำเนินงาน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมติดตามโครงการร่วมกับพี่เลี้ยง  เพื่อติดตามความคืบหน้าของโครงการ  ที่ ม.วลัยลักษณ์ อ.กำไลได้ให้ความรู้เรื่องการจัดทำโครงการ ได้ให้ผู้เข้าร่วมประชุมนั่งสมาธิก่อนเริ่มการประชุม ให้หลับตานึกถึงโครงการที่ได้ทำมาในระยะเวลา 6 เดือน ว่าจากที่ทำไปแล้ว มีใครที่มีพฤติกรรมเปลี่ยนไปบ้าง เกิดการรวมกลุ่มอย่างไรบ้าง สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปในชุมชนมีอะไรบ้าง แล้วระยะเวลาที่เหลือเราจะทำอะไรต่อไปบ้างแล้วให้เขียนลงในกระดาษส่งพี่เลี้ยง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 2 คน 2.ได้ทบทวนโครงการว่าได้ทำอะไรไปแล้วบ้าง และจะทำอะไรต่อไปบ้าง 3.ได้กลับไปดูกิจกรรมของตนเองว่า ต้องเพิ่มเติมอะไรอีกบ้างเพราะรายละเอียดกิจกรรมในเวปไซต์ และรูป ยังไม่เรียบร้อย

ผลลัพธ์ 1.ได้มีความรู้ความเข้าใจในการทำกิจกรรมต่อไป 2.เกิดทักษะและเทคนิคในการทำเอกสารของกิจกรรม

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 2  คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

กิจกรรมทำไปแล้ว แต่ยังไม่ได้คีย์ในเวปไซต์ แก้ไข โดยการไปคีย์ข้อมูลเพิ่มเติม

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมสภาผู้นำครั้งที่67 มีนาคม 2016
7
มีนาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย dadchanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาของคณะทำงาน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เวลา 09.00 นางดัชนีย์มัชฌิมวงศ์ ประธานโครงการและผู้ใหญ่บ้าน กล่าวเปิดการประชุม ชี้แจงโครงการเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งสอดคล้องกันโครงการพัฒนาหมู่บ้าน
นางสุปรียา กล่าวสรุปการดูงานกลุ่มส่งเสริมอาชีพ ชี้แจงการดำเนินกิจกรรมสนับสนุนกลุ่มอาชีพ ขอให้แกนนำกลุ่มอาชีพ ดำเนินกิจกรรมเป็นแบบอย่างให้กับชาวบ้าน นายสมรักษ์ หารือการทำกิจกรรมสนับสนุนการเลี้ยงไก่และปลูกผัก หารือการจัดทำกลุ่มออมทรัพย์/สัจจะ ของหมู่บ้าน ขอมติเรื่องเงินสนับสนุนการเลี้ยงไก่และเพาะเห็ด ให้คณะกรรมการสภาผู้นำ ลงพื้นที่สำรวจ ดูแล การดำเนินกิจกรรม การเรียนรุ้การทำเกษตรชีวภาพ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1.คณะทำงานเข้าประชุมครบ 30 คน 2.ได้ชี้แจงกิจกรรมที่ผ่านมา คือปิดงวดรายงาน โครงการคร้งที่ 1 ร่วมกับพี่เลี้ยง และ สจรส.มอ. 3.กิจกรรมในครั้งต่อไปคือ การประชุมสภาผู้นำครั้งที่ 7

ผลลัพธ์ 1.ได้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมในโครงการ 2.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมให้ความสนใจดีมาก 3.ได้เกิดสภาผู้นำในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 30 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่22 กุมภาพันธ์ 2016
22
กุมภาพันธ์ 2016รายงานจากพื้นที่ โดย dadchanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อได้นำไปใช้ในการจัดกิจกรรม

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประธานโครงการและคณะทำงาน ไปจัดทำป้ายผู้รับผิดชอบโครงการพร้อมด้วยนางสุภาพรชัยชาญ

ได้ไปทำป้ายโครงการทุนชุมชนสร้างรายได้บ้านสวนขัน (ต่อยอดปีที่ 2 )และป้ายเขตปลอดบุหรี่เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์โครงการและรณรงค์การงดสูบบุหรี่

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1.คณะทำงาน 2 คน ไปจัดทำป้าย 2.มีป้ายชื่อโครงการ1ป้าย 3.ป้ายเขตปลอดบุหรี่ 1ป้าย

ผลลัพธ์ 1. มีป้ายสำหรับใช้ประชาสัมพันธ์โครงการ 2. มีป้ายเขตปลอดบุหรี่ เพื่อนำไปติดไว้ที่สถานที่ประชุม เพื่อเป็นการรณรงค์การงดสูบบุหรี่

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน  2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ปิดงวดโครงการ ที่ 1 ร่วมกับ สจรส.มอ.13 กุมภาพันธ์ 2016
13
กุมภาพันธ์ 2016รายงานจากพื้นที่ โดย dadchanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสรุปและรายงานผลการดำเนินกิจกรรม

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรม ปิดงวดโครงการที่ 1 โดยจัดกิจกรรม ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งกิจกรรมในวันนี้ก็เป็นการตรวจเอกสารด้านการเงินเอกสารเกี่ยวกับโครงการและการบันทึกกิจกรรมในออนไลน์ของเจ้าหน้าที่สจรส.มอ.ซึ่งจะต้องรอเข้าคิวในการตรวจเอกสารเพาะมีโครงการในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นจำนวนมากที่มาร่วมกันตรวจในวันนี้โครงแต่ละโครงการได้ตรวจเป็นเวลา จึงทำให้ไม่ทันในการตรวจและเมื่อได้สอบถามจากโครงการที่ตรวจแล้วเอกสารเกี่ยวกับการเงินยังผิดอยู่บ้างก็เลยกลับไปแก้ไขก่อนให้เรียบร้อยและจะส่งตรวจในภายหลัง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ พบว่า 1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 2 คน 2.ได้เตรียมเอกสารเอกสารเกี่ยวกับโครงการไว้สำหรับตรวจเอกสาร 3.ได้สอบถามโครงการที่ได้ตรวจเสร็จแล้วเอกสารด้านการเงินยังผิดอยู่ก็เลยต้องกลับไปแก้ใหม่

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการ 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

1.โครงแต่ละโครงการได้ตรวจเป็นเวลานาน จึงทำให้ไม่ทันในการตรวจและเมื่อได้สอบถามจากโครงการที่ตรวจแล้วเอกสารเกี่ยวกับการเงินยังผิดอยู่บ้างก็เลยกลับไปแก้ไขก่อนให้เรียบร้อยและจะส่งตรวจในภายหลัง

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

พบพี่เลี้ยงเพื่อปิดรายงานงวดที่ 111 กุมภาพันธ์ 2016
11
กุมภาพันธ์ 2016รายงานจากพี่เลี้ยง โดย manoon
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อปิดงวดรายงาน งวดที่ 1

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้ตัวแทนโครงการ เข้าพบพี่เลี้ยง เพื่อนำเอกสารการดำเนินงานมาส่งให้พี่เลี้ยงได้ตรวจสอบ พบว่า
1.การบันทึกรายงานกิจกรรม ย้งไม่ครอบคลุม ซึ่งได้ปรับปรุงแก้ไปแล้ว แต่ยังไม่ครบทุกฉบับ ให้ปรับปรุงต่อไป
2.รายงานการเงิน การตรวจสอบหลักฐานพบว่า ยังต้องปรับปรุง บางฉบับ และโครงการได้นำไปแก้ไขแล้ว เพื่อรอให้ สจรส.ตรวจสอบต่อไป ในวันที่ 13 - 14 กพ.59

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.โครงการได้เรียนรู้วิธีการปิดงวดรายงานกิจกรรม 2.โครงการได้เรียนรู้วิธีการปิดงวดรายงานการเงิน
3.โครงการได้เรียนรู้วิธีแก้ปัญหาการแก้ไขข้อมูลออนไลน์

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ตัวแทนโครงการ 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ในการบันทึกผลลัพท์ที่ได้จากการทำกิจกรรมยังไม่ชัดเจน  แก้ไขโดยการไปบันทึกใหม่

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ปิดรายงานโครงการงวดที่ 111 กุมภาพันธ์ 2016
11
กุมภาพันธ์ 2016รายงานจากพื้นที่ โดย dadchanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อทำความเข้าใจเอกสารและปิดงวด

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมติดตามของพี่เลี้ยงโครงการ เพื่อปิดงวดครั้ง ที่ 1 โดยเดินทางมาพบพี่เลี้ยงที่ รพ.สต. เขาพระบาท
ได้เรียนรู้ในเรื่อง: -การตรวจหลักฐานการทำงายงานโดยพี่เลี้ยงได้ตรวจดูเอกสารด้านการเงินและได้แนะนำในเรื่องเตรียมเอกสารด้านการเงินในเรื่องของบิลการเสียภาษี -การลงบันทึกโปรแกรมออนไลน์โดยได้แนะนำในการบันทึกในโปรแกรมออนไลน์ว่าให้เขียนรายละเอียดในแต่ละกิจกรรมให้มากกว่านี้และผลลัพธ์ที่ได้จากการทำกิจ ว่าได้อะไรบ้างได้อย่างไรส่วนรูปให้ใส่ขึ้นเว็บไซต์ได้เลย -การลงบันทึกรายรับรายจ่ายให้ลงให้ครบและให้ลองคิดคำนวนรายจ่ายออกมาดูว่าถูกต้องและตรงกับเอกสารไหม การทำบัญชีการเงินและการเตรียมเอกสารเพื่อการตรวจของ สจรส.มอ.

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ พบว่า มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม2 คน
1.ได้รวบรวมกิจกรรมได้ทุกกิจกรรม และได้แก้ไขในบางกิจกรรมได้ เช่น ในเรื่องของรูปภาพและเนื้อหาบางกิจกรรมที่ยังขาดรายละเอียด 2.ได้เรียนรู้เพิ่มเติมในการบันทึกกิจกรรมเข้าเว็บไซต์ และการบันทึกรายละเอียดให้ชัดเจนเช่นผลลัพธ์ที่ได้รับจากการทำกิจกรรม แต่ละกิจกรรม 3.เรียนรู้การทำบัญชีทางการเงิน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

หัวหน้าโครงการและเจ้าหน้าที่การเงิน 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ยังบันทึกรายละเอียดกิจกรรมยังไม่ชัดเจนแก้ไขโดยการลงบันทึกกิจกรรมใหม่ให้มีความละเอียด และชัดเจนเพิ่มขึ้น

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมสภาผู้นำครั้งที่57 กุมภาพันธ์ 2016
7
กุมภาพันธ์ 2016รายงานจากพื้นที่ โดย dadchanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประชุมวางแผนกิจกรรม  และติดตามความคืบหน้าในการทำกิจกรรมโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมประชุมสภาผู้นำครั้งที่ 5ณ ศาลาภายในวัดสวนขันเริ่มประชุมใน13.00น. วาระที่ 1 ประธานแจ้งให้ทราบ โดยนางดัชนีย์มัชฉิมวงศ์ ได้กล่าวทักทายกับผู้เข้าร่วมประชุมและได้ชี้แจ้งในที่ประชุมให้ทราบว่ากิจกรรมในยครั้งที่ผ่านมา ก็คือการเรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือน ครั้งที่1และ2ซึ่งมีคนเข้าร่วมกิจกรรมมากมาย ซึ่งในกิจกรรมได้เรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือนประโยชน์หลักในการเขียและก็ได้ฝึกหัดทำกันและที่สำคัญก็คือได้ร่วมกันออกแแบสมุดบันทึกรายรับ-รายจ่ายบัญชีครัวเรือน เป็นของบ้านสวนขันเองซึ่งคนที่เข้าร่วมกิจกรรมก็ร่วมกันช่วยออกแบบกันและก็ได้ให้ผุ้เข้าร่วมกิจกกรมได้ไปทำการบันทึกรายรับ-รายจ่ายที่บ้านโดยให้ลูกช่วยในการบันทึกด้วนเพื่อจะให้เลูกได้รับรู้ค่าใช้จ่ายในครัวเพื่อจะได้สร้างนความตระหนักให้กับลูกๆ อีกทั้งเป็นการฝึกการเขียนการบันทึกการคิดและและสร้างนิสัยในการออมให้กับเด็กหลังจากบันทึกไปสักระยะหนึ่งก็จะมาร่วมกันวิเคราะห์ว่าในแต่ละครัวเรือนใช้จ่ายเป็นอย่างไรบ้าง
กิจกรรมครั้งต่อไป คือการที่จะปิดงวดรายงานและการเงินงวดที่1 ที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในวันที่ 13ก.พ.2559 นี้โดยก็จะให้คณะทำงานช่วยกันเคลียเอกสารที่เกี่ยวข้องและการบันทึกขึ้นเว็บไซต์และหลังจากนั้นก็จะเป็นกิจกรรมการเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักโดยจะมีการอบรมในเรื่องต่างๆของการทำปุ๋ยหมักตั้งแต่การหาวัสดุต่างๆที่จะมาทำปุ๋ยหมักวิธีการหมัก การนำไปใช้และเรียนรู้ในเรื่องของการเพาะเห็ดนางฟ้าวิธีการเพาะเชื้อการทำโรงเรือนการเก็บผลผลิตรวมถึงการเรียนรู้การนำปุ๋ยหมักไปใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์และสิ่งที่ได้จากการทำปุ๋ยหมักชีวภาพกับการเพาะเห็ดนางฟ้าเพื่อให้เกิดคุณค่าและประโยชน์จะได้นำเห็ดนางฟ้าไปแบ่งปันกันในชุมชนและเหลือก็ขายโดยจะมีปราชญ์ผู้รู้เฉพาะด้านมาแนะนำและสอนการทำให้กับคนในชุมชนที่เข้าร่วมนกิจกรรม วาระที่ 2ประธานในที่ประชุมได้ขอสอบถามในที่ประชุมว่าให้เสนอมาก่อนว่ากิจกรรมในครั้งคต่อไปจะทำอะไรก่อนระหว่างการทำปุ๋ยหมักกับการเพาะเห็ดนางฟ้าโดยในที่ประชุมได้เสนอให้ทำปุ๋ยหมักก่อนเพราะจะต้องใช้ระยะเวลาในการหมักเพื่อให้เกิดการนำมาใช้ได้ทันในเวลาเพราต้องใช้ระยะเวาในการหมัก

วันนี้ได้มีการสรุปข้อมูลการวิเคราะห์สถานการณ์ชุมชน 7 มิิติ ดังนี้
มิติที่๑ด้านเศรษฐกิจท้องถิ่น จากการสำรวจพบว่า
๑. หนี้สิน พบร้อยละ76 ๒. รายได้ต่ำ / รายจ่ายสูง พบร้อยละ 125 ๓. ว่างงาน พบร้อยละ 20 ๔. ไม่มีที่ดินประกอบอาชีพ พบร้อยละ 12 ๕.ไม่มีที่ดินเป้นของตนเอง พบร้อยละ16 ๖. ผลผลิตตกต่ำ /ไม่ได้ผล พบร้อยละ 125 ๗. ราคาผลิตผลตกต่ำ พบร้อยละ 125 ๘. ราคาต้นทุนสูง / การเกษตรสูง พบร้อยละ125 ๙. ค่าครองชีพสูง พบร้อยละ 125 ๑๐. ค่าแรงงานถูก พบร้อยละ 125 ๑๑.ขาดแรงงานในการประกอบอาชีพ พบร้อยละ120 ๑๒. สิ้นค้าไม่ได้มาตรฐานตามที่ตลาดต้องการ พบร้อยละ 125

มิติที่ ๒ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จากการสำรวจพบว่า ๑.ดินเสื่อมคุณภาพ พบร้อยละ 35 ๒.ดินเปรี้ยวดินเค็ม พบร้อยละ5 ๓. ที่ดินสาธารณะไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ อย่างเต็มที่ พบร้อยละ 6 ๔.น้ำไม่เพียงพอต่อการดำรงชชีวิตและประกอบอาชีพ พบร้อยละ 46 ๕.ขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง พบร้อยละ 84 ๖.น้ำเน่าเสียส่งกลิ่นเหม็น พบร้อยละ6 ๗. น้ำประปาไม่สะอาด พบร้อยละ 7 ๘. ป่าไม้ถูกทำลายบางส่วน พบร้อยละ 35 ๙. ป่าไม้ถูกทำลายจนหมดสิ้น พบร้อยละ10 ๑๐. ป่าไม้ถูกลักลอบตัดไปใช้ส่วนตัว พบร้อยละ 5 ๑๑. ขยะเน่าเสียส่งกลิ่นเหม็นพบร้อยละ 10 ๑๒. ที่ทิ้งขยะไม่เพียงพอ พบร้อยละ 36 ๑๓.มีการขยะไปทำประโยชน์ ปุ๋ยชีวภาพและพลังงานอื่นๆ พบร้อยละ 47 ๑๔. สถานบันเทิงส่งเสียงรบกวน พบร้อยละ 1 ๑๕.มอเตอร์ไซต์ซิ่งส่งเสียงดังรบกวน พบร้อยละ 2 ๑๖.ข้างบ้านส่งเสียงดังรบกวน พบร้อยละ3 ๑๗.ควันที่เกิดจากการเผา พบร้อยละ 8 ๑๘.ควันที่เกิดจากรถต่างๆ ควันจาการหญ้า พบร้อยละ2
๑๙.ใช้น้ำมันมากเกินไป พบร้อยละ53 ๒๐.ใช้น้ำเกินความจำเป็น พบร้อยละ74 ๒๑.ใช้ไฟฟ้าเกินความจำเป็น พบร้อยละ36 ๒๒.ใช้แก็สเกินความจำเป็น พบร้อยละ73 ๒๓.ใช้ถ่านและฟืนมาก พบร้อยละ32

มิติที่ ๓ ด้านศิลปวัฒนธรรม/ประเพณี / สังคม / ครอบครัว / สวัสดิการ / ศาสนาจากการสำรวจพบว่า ๑. เด็กและเยาวชนรุ่นใหม่ไม่ใส่ใจวัฒนธรรม พบร้อยละ35 ๒. ขาดการสืบทอดศิลปวัฒนธรรม พบร้อยละ 10 ๓.ประเพณีที่ดีงามถูกทำลาย พบร้อยละ 10 ๔. ประเพณีหมู่บ้านชุมชนไม่มีการสืบทอด พบร้อยละ20 ๕. ประชาชนในหมู่บ้าน ไม่ช่วยเหลือกัน ต่างคนต่างอยู่ พบร้อยละ15 ๖.ประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชนเกิดการแตกแยก พบร้อยละ12 ๗.เด็กและเยาวชนมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรในหมู่บ้าน/ชุมชน พบร้อยละ8 ๘. เด็กถูกทอดทิ้ง พบร้อยละ2 ๙.ปัญหายาเสพติด พบร้อยละ6 ๑๐.เยาวชนก่อเหตุทะเลาะวิวาท พบร้อยละ11 ๑๑.ปัญหาอพยพแรงงาน พบร้อยละ 43 ๑๒.สามี ภรรยา นอกใจ มีชู้ พบร้อยละ 3 ๑๓.ครอบครัวแตกแยก พบร้อยละ 4 ๑๔.ลูกเกเรไม่เชื่อฟังพ่อแม่ พบร้อยละ7 ๑๕.พ่อแม่ไม่เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ลูก พบร้อยละ6 ๑๖.ผู้ด้อยโอกาส(ผู้สูงอายุ/ คนพิการ/ผู้ติดเชื้อเอด ไม่มีสวัสดิการช่วยเหลือ) พบร้อยละ 3 ๑๗.บุคลากรทางศาสนา(เจ้าหน้าที่) มีน้อยร้อยละ 2 ๑๕.พระสงฆ์ปฏิบัติตนไม่เหมาะสมไม่มี ๑๖.ศาสนสถานชำรุด ทรุดโทรม ขาดการทะนุบำรุง พบร้อยละ 5 ๑๗.ชาวบ้านไม่ค่อยเข้าวัดไม่ค่อยปฏิบัติธรรมทำผิดศีล ๕ พบร้อยละ22

มิติที่ ๔ ด้านการศึกษาจากการสำรวจพบว่า ๑.เด็ก/เยาวชนขาดโอกาสเรียนต่อ ไม่มีทุนเรียนต่อ พบร้อยละ5 ๒.สถานศึกษาอยู่ห่างไกลไม่มี ๓.มีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน พบร้อยละ 10 ๔.เกเรไม่เชื่อฟังครูอาจารย์ พบร้อยละ 10 ๕.การเรียนการสอนไม่มีการแทรกประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่นไว้ในหลักสูตร ไม่มี

มิติที่๕ด้านประชาธิปไตย / การมีส่วนร่วม / ธรรมาภิบาลจากการสำรวจพบว่า ๑.การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ร้อยละ 85 ๒.การแสดงความคิดเห็นของชาวบ้าน ชุมชน ในที่ประชุมประชาคม มีน้อย ร้อยละ 75 ๓.การนำมติในที่ประชุมสู่การปฏิบัติร้อยละ 60

มิติที่๖ด้านโครงสร้างพื้นฐานจากการสำรวจพบว่า ๑.ถนนเป็นหลุมเป็นบ่อ ไม่มี ๒.ถนนไม่เพียงพอ ไม่มี ๓.ไม่มีน้ำประปาใช้ ไม่มี ๔.น้ำประปาไม่สะอาด ไม่มี ๕.ไม่มีไฟฟ้าใช้ ไม่มี

มิติที่๗ด้านสุขภาพจากการสำรวจพบว่า ๑.เจ็บป่วยจากการใช้สารเคมีพบร้อยละ30 ๒. เจ็บป่วยจากการ ดื่มสุรา สูบบุหรี่ หรือสารเสพติดพบร้อยละ 5 ๓.เจ็บป่วยด้วยโรคประจำตัว พบร้อยละ 35 ๔.เจ็บป่วยจากโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ พบร้อยละ10 ๕.ไม่มีเงินรักษาพยาบาลขาดการเหลียวแล จากภาครัฐบาล พบร้อยละ 1 ๖.จิตใจถูกกระทบกระเทือนจนเจ็บป่วย พบร้อยละ 1

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ พบว่า 1.ได้ทราบถึงกิจกรรมในครั้งที่ผ่านมาได้ติดตามการทำกิจกรรมคือการทำบัฐชีครัวเรือน 2.ได้มีการวางแผนและร่วมกันเสนอความคิดเห็นในการวางแผนกิจกรรม 3.ได้มีการเตรียมเอกสารเพื่อจะปิดงวดที่ 1 คือ บิลต่างๆลายมือชื่อ การลงบันทึกขึ้นเว็บไซต์การอัปโหลดรูป

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

ผู้นำชุมชนและคณะทำงาน 10คนประชาชน20คน รวม 30 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ทำบัญชีครัวเรือนครั้งที่26 กุมภาพันธ์ 2016
6
กุมภาพันธ์ 2016รายงานจากพื้นที่ โดย dadchanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมการเรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือนครั้งที่ 2 โดยทำกิจกรรมกันที่ ศาลาเอนกประสงค์ภายในวัดสวนขัน เริ่มกิจกรรมโดย นางทัศนีย์มัชฌิมวงศ์ ประธานโครงการไได้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่จะมาเรียนรู้กันในวันนี้ซึ่งจากการได้เรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือนในครั้งที่ 1แล้วนั้นเราก็ได้ความรู้ได้ประโยชน์ของการทำบัญชีครัวเรือนและในวันนี้เราก็จะมาฝึกทำบัญชีครัวเรือนกัน โดยในวันนี้จะมีนายคมเดช มัชฌิมวงศ์ ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ในด้านการทำบัญชีครัวเรือน มาสอนและแนะนำการทำบัญชีครัวเรือนอีกครั้ง หลังจากการได้ช่วยกันออกแบบสมุดบัญชีครัวเรือนมาแล้ว ว่าให้เราทำแบบง่ายๆในแบบของสวนขันเอง ซึ่งในแต่ละวันก็ให้ไปบอกข้อมูลการใช้จ่ายในแต่ละครั้งให้กับลูกให้ช่วยในการบันทึกข้อมูลลงไปจะทำให้ลูกได้รู้เห็นในเรื่องของค่าใช้จ่าย เพื่อจะได้ตระหนักในการใช้จ่ายในครัวเรือน โดยการบันทึกนั้นให้บันทึกไปเลยว่าเป็นรายจ่ายหรือรายรับใช่จ่ายไปเท่าไหรแล้วก็คงเหลือเท่าไหรเก็บออมไว้เท่าไหรหลังจากนั้นก็ได้ให้สมาชิกที่เข้าร่วมลองฝึกทำบัญชีครัวเรือน โดยให้นึกค่าใช้จ่ายที่ผ่านมาในสัปดาห์นี้ว่าเราจ่ายอะไหรไปบ้างได้รายรับมาจากไหนบ้างและเหลือเงินเท่าไหรในสัปดาห์นี้ให้ลองฝึกหัดทำดู โดยนายคมเดชก็ได้ยกตัวอย่างในการบันทึกรายรับ-รายจ่ายเช่นสมมติว่า เราได้รับรายรับ (เงินเดือน) มาจำนวน 10,000 บาท และค่าขายยางแผ่นมา 2000บาท วิธีการบันทึกรายการจะเป็นแบบนี้โดยของผมที่แนะนำไปจะเป็นการออมไว้ 10% ของรายรับที่ได้รับมาเพื่อจะเป็นการฝึกนิสัยในการอดออม ดังนี้

  1. เริ่มต้นออมเงินก่อน 10% ของรายรับทันที 1,200 บาท
  2. นำเงินส่วนที่เหลือ 10800 บาท มาลงบันทึกในบัญชี เป็น รายรับ 3.เมื่อมีรายการใช้จ่ายต่างๆก็นำมาจดบันทึกไว้เป็น รายจ่าย อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เช่น ในวันี้ก็จะมีค่าใช้จ่าย คือ

– ค่าอาหาร500 บาท – ค่าน้ำมันรถ 500 บาท – ค่าโทรศัพท์ 100 บาท - ค่าให้ลูกไปโรงเรียน 50บาท -ค่าไฟ 350บาท ให้ลงรายจ่ายทั้งหมดนี้ในช่องรายจ่ายโดยทั้งรายรับและรายจ่ายให้เขียนสิ่งที่เราได้รับหรือรายจ่ายที่ช่องรายการส่วนตัวเลขนั้นให้เขียนที่ช่องรายรับ-หรือรายจ่ายและหักลบกันก็จะเป็นยอดคงเหลือในวันต่อๆๆไป 4. ตรวจสอบดูสรุปยอดรายการทุกสิ้นเดือนโดยการสรุปยอดการใช้จ่ายทั้งหมดและรายรับที่ได้มาและเงินคงเหลือของแต่ละเดือนและที่สำคัญก็ได้ดู้สิ่งที่ฟุ่มเฟือนไม่จำเป็นที่เราได้จ่ายไปฏ็ให้ลดสิ่งนั้นเพราะเราได้รู็แล้วหลังจากบันทึกว่าสิ่งไหนที่จำเป็นฟุ่มเฟือยในครัวเรือนของเรา

และหลังจากนั้นก็ได้ชี้แจงให้สมาชิกก็ให้สมาชิกลองฝึกทำและก็ได้ชี้แจงให้ไปทำเองที่บ้าน แล้วก็จะมาสรุปกันดูว่าในแต่ละครัวเรือนใช้จ่ายสิ่งใดที่ไม่จำเป็นไว้บ้างเสร็จแล้วก็ได้มี พ.ต.อ.เทียรบาลทิพย์ผู้กำกับสภ.ช้างกลาง มาพบปะพูดคุยกับผู้ทำกิจกรรมด้วยในเรื่องเฝ้าระวังเหตุต่างๆในหมู่บ้านด้วย

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ พบว่า 1.ได้เรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือนด้วยตนเอง คือ การฝึกหัดทำบัญชีครัวเรือนจากที่ได้จ่ายในสัปดาห์นี้ 2.ได้ฝึกการทำบัญชีครัวเรือนและรู้ว่าได้ใช้จ่ายเงินไปเท่าไหรในสัปดาห์นี้ 3.มีการได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในชุมชนจากการเรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือนคือได้ช่วยกันแนะนำซึ่งกันและกันในการทำบัญชีครัวเรือน 4.มีความเข้าใจเพิ่มขึ้นในการทำบัญชีครัวเรือน ในเรื่องของการจดบันทึกรายรับรายจ่ายและเงินคงเหลือ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 160 คน จากที่ตั้งไว้ 160 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน ผู้นำชุมชน 20คนและสมาชิกที่สนใจเข้าร่วม 140 คน รวม 160 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ทำบัญชีครัวเรือนครั้งที่15 กุมภาพันธ์ 2016
5
กุมภาพันธ์ 2016รายงานจากพื้นที่ โดย dadchanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมการเรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือนครั้งที่ 1 โดยทำกิจกรรมกันที่ศาลาประจำหมู่บ้าน บ้านสวนขัน เริ่มกิจกรรมโดยนางทัศนีย์ มัชฌิมวงศ์ ประธานโครงการกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่จะมาเรียนรู้กันในวันนี้ วัตตุประสงค์ก็เพื่อได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำบัญชีครัวเรือน เพื่อให้รายรู็รายรับรายจ่ายในครัวเรือนอะไรที่ไม่จำเป็นหรือฟุ่มเฟือย ในชีวิตประจำวันของเราเองซึ่งคณะทำงานเชิญผู้ที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ เรียนรู้ทำบัญชีครัวเรือน ให้ชาวบ้านที่เข้าร่วมจัดทำบัญชีแต่ละเดือนในรูปแบบของชาวสวนขันโดยจะร่วมกันคิดออกแบบบสมุดบันทึกบัญชีครัวเรือนเป็นของชาวสวนขันเอง โดยให้เยาวชนเป็นผู้บันทึกและจัดทำบัญชีโดยผู้ปกครองเป็นคนให้ข้อมูล ว่าในแต่ละวันได้รับรายได้มาจากทางไหนบ้างได้มาเท่าไหร ส่วนรายจ่ายจ่ายอะไรไปบ้างเท่าไหรและในแต่ละวันคงเหลือเท่าไหร และจะมีการประสานกับทางโรงเรียนให้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาคณิตศาสตร์และมีการตรวจเช็คทุกสัปดาห์ แล้วผู้ปกครองมาจัดแลกเปลี่ยนกันว่าแต่ละเดือนใช้จ่ายอะไรอย่างไง สามารถลดรายได้ได้หรือให้มีเงินออมแต่ละเดือนเท่าไหร่ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน พร้อมทั้งหาทางแก้ไขที่มีค่าใช้จ่ายสูงกว่ารายได้ เราจะทำอย่างไรถึงจะมีเงินเก็บในครัวเรือนซึ่งจะให้เด็กนักเรียนได้รู้ถึงค่าจ่ายที่พ่อแม่ได้มาและได้ใช่จ่ายออกไปพเื่อที่จะให้เด็กได้ตระหนักถึงการใช้จ่าย มากขึ้นหลังจากนั้นก็ได้ร่วมกันออกแบบ ว่าจะทำอย่างไรเอาข้อมูลหรือตารางในการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับรายรับรายจต่ายในครัวเรือนอย่างไรบ้างและจะมาสอนการทำบัญชีครัวเรือนกันอีกในครั้งต่อไป
ซึ่งในกิจกรรมในวันนี้มีนายคมเดชมัชฉิมวงศ์ ผู้มีความรู้ในเรื่องการทำบัญชีครัวเรียนมาสอนและแนะนำการทำบัญชีครัวเรือนโดยเริ่มจากการบอกถึงความหมายการทำบัญชี คือ การจดบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับเงื่อนไขปัจจัยในการดำรงชีวิตของตัวเอง และภายในครอบครัว ชุมชน รวมถึงประเทศ ข้อมูลที่ได้จากการบันทึกจะเป็นตัวบอกถึงอดีตปัจจุบันและอนาคตของชีวิตของตัวเอง สามารถนำข้อมูลอดีตมาบอกปัจจุบันและอนาคตได้ ข้อมูลที่ได้ ที่บันทึกไว้ จะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนชีวิตและกิจกรรมต่างๆในชีวิต ในครอบครัวจะเป็นการการจดบันทึกรายการเกี่ยวกับการเงินทุกรายการ ทั้งที่ได้รับเข้ามาและที่ต้องจ่ายออกไปในแต่ละวัน

การทำบัญชีบันทึกรายรับ – รายจ่าย เป็นการบันทึกรายรับรายจ่ายของแต่ละวัน เปรียบเสมือนเป็นการวางแผนการเงินใช้จ่ายให้ถูกวิธี และทำให้ตัวเราเองเป็นคนที่มีระเบียบวินัยเพิ่มมากขึ้น

พอพูดถึงเรื่องที่เกี่ยวกับตัวเลขบางท่านถึงกับสับสน ถึงแม้การทำบันทึกรายรับ – รายจ่าย หลายๆ คนอาจมองว่าเป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัว รู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ยุ่งยากมากมาย ทำงานมาทั้งวันแล้วยังต้องมานั้งจดนั้งเขียนอยู่อีกเหรออันที่จริงการทำบันทึกรายรับรายจ่าย เป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเรามากที่สุด และไม่มีความยุ่งยากอะไรเลยแม้แต่น้อย อยู่ที่เราเปิดใจเมื่อได้ลงมือจดบันทึกเป็นประจำแล้วจะพบว่า การทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายสามารถทำได้ง่ายๆ แถมยังประโยชน์ต่อเรามากอีกด้วย

การทำบัญชีบันทึกรายรับ-รายจ่าย ประจำวัน ท่านสามารถแบ่งแยกเป็นตารางที่มีส่วนประกอบ ได้ดังนี้ รายรับ คือรายรับที่เราได้รับมาเช่นเงินเดือน ค่าขายของได้พ่อแม่ให้เงินมาจ่ายค่าขายผลผลิตทางการเกษตรได้เงินที่ได้จากการขายสินค้าเงินทีได้ จากการทำงาน เป็นต้นส่วนรายจ่ายคือสิ่งที่เราต้องจ่ายออกไปทั้งหมดเช่น ค่าอาหาร ค่าเชื้อเพลิงรถค่าปุ๋ย ค่าเทอมให้ลูก ค่าโทรศัพท์ค่าเสื้อผ้า ค่านำ้ค่าไฟ เป็นต้น


ส่วนประโยชน์ของการทำบัญชีครัวเรือน 1.เพื่อจดบันทึกรายการการดำเนินกิจการเรียงลำดับก่อนหลัง ในเรื่องของการใช้จ่ายเงินในแต่ละวัน 2.ง่ายต่อการตรวจสอบ ก็คือเราได้รู้ว่าเงินของเราได้จ่ายอะไรไปบ้างได้รับจากส่วนไหนบ้างรับมาเท่าไหรถือว่าเป็นการตรวจสอบตัวเองไปด้วย 3. บัญชีครัวเรือน” ช่วยชี้ว่าจัดการเงินได้ถูกต้องแค่ไหน 4. เพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายภายในครัวเรือน 5. เพื่อรู้รับ-รู้จ่าย-รู้เก็บ..ไม่อด “จดแล้วไม่จน” จะได้มีเงินออมไว้ด้วย 6. เพื่อรับรู้รายได้และรายจ่ายที่แน่นอน รวมทั้งทราบค่าใช้จ่าย ที่ฟุ่มเฟือยค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น จะได้รู้และจะได้ลดในสิ่งที่ไม่จำเป็ฯ 7. คุมยอดค่าใช้จ่ายให้เพียงพอกับรายได้ คือ จะได้รู้ว่าเรารับมาเท่าไหร และจะต้องจ่ายไปเท่าไหรควบคุมเพื่อที่จะได้ไม่เกินกับรายรับที่เรามาจะต้องไม่ต้องไปกู้ยืมเงินมาเพื่อใช้จ่าย

หลักการทำบัญชีรับ-จ่าย
- จัดทำแบบฟอร์มบัญชีรับจ่ายอย่างง่าย ให้สะดวกต่อการจดบันทึกรายการโดยจะเป็นแบบที่ชาวสวนขันออกแบบร่วมกัน - จดบันทึกรายการเรียงลำดับตามเหตุการณ์ที่เป็นจริงที่เกิดขึ้นในแต่ละอย่าง ในแต่ละวัน - สรุปยอดเงินรายรับรายจ่าย ประจำวัน เปรียบเทียบผลการดำเนินกิจการประจำวัน -ยอดเงินคงเหลือจะได้เป็นเงินออมส่วนหนึ่งเพื่อเก็บไว้ใช้จ่ายในยามจำเป็น

การทำบัญชีครัวเรือนนั้น ทำให้เรารู้การใช้จ่ายของเราในแต่ละเดือน ช่วยให้สามารถตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นในออกไปทำให้มีเงินเหลือมากขึ้น เช่น ค่ากาแฟ ค่าชอปปิ้งของที่ไม่จำเป็น

ทำให้รู้จักคิดให้รอบคอบก่อนจะใช้จ่าย รู้ว่าค่าใช้จ่ายไหนเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม เพราะถ้าเรารู้จักตัวเอง และมองเห็นพฤติกรรมการใช้จ่ายของตนเองแล้ว การละเลิกกิจกรรมที่สร้างความฟุ่มเฟือยทั้งปวง จะเป็นจุดเริ่มต้นของการออมที่เพิ่มขึ้นด้วยการทำบัญชีรายรับรายจ่าย

ขอแนะนำให้เพื่อนๆพี่ๆน้องๆ เริ่มต้นบันทึกรายการใช้จ่ายในแต่ละเดือนไว้ แล้วสำรวจดูครับว่า มีรายจ่ายส่วนไหนที่สามารถลดลงได้บ้าง อะไรคือสิ่งไม่จำเป็น แม้ไม่มีครอบครองหรือได้มา ชีวิตก็ยังดำรงอยู่ได้ เราต้องรีบทำการตัดรายจ่ายเหล่านั้นทิ้งไปให้หมด เพื่อที่เราจะได้มีเงินเหลือเพิ่มขึ้นในแต่ละเดือนยังไงล่ะคร้าบบบบ

หรือไม่ก็ลองดัดนิสัยตัวเองก็ได้ครับ ในทุกครั้งที่คิดจะใช้จ่ายไปกับเรื่องที่ไม่สำคัญ ให้ลองเปลี่ยนมาเป็น “ออมเงิน” แทนในทุกๆครั้ง เราก็จะรู้ได้เลยว่าเราจะได้เหลือเงินเก็บมากแค่ไหน หลังจากได้เรียนรู้และมีความเข้าใจเพิ่มขึ่้นในเรื่องของการทำบัยชีครัวเรือนการบันทึก รายรับ-รายจ่ายก็มาร่วมกันออกแบบสมุดบันทึกรายรับราย-จ่ายครัวเรือนบ้านสวนขันโดยจะให้คิดแล้วก็เสนอมาว่าจะเอาแบบไหนที่ง่ายที่สุด สรุปก็ได้แบบง่ายๆๆคือ เป็นตารางช่องด้วยกัน คือ วันที่ รายการ รายรับรายจ่าย และเงินคงเหลือซึ่งเป็นการออกแบบที่ร่วมกันของชาวสวนขันโดยหลังจากนี้ก็ให้ผู้ที่เข้าร่วมเริ่มบันทึกรายรับ-รายจ่ายกันได้เลย

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ พบว่า 1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือน160คน 2.ได้เรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือนในการบันทึกรายรับ-รายจ่ายในแต่ละวันและมีเงินคงเหลือเท่าไหร 3.ได้สมุดบัญชีครัวเรือนเป็นของชาวสวนขันเองโดยกการร่วมกันออกแบบของชาวสวนขัน 4.มีความรักความสามัคคีมากขึ้นในชุมชนคือการได้มาร่วมทำกิจกรรมด้วยกัน 5.ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในชุมชน ในการเรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือน และการออกแแบสมุดบันทึกรายรับ-รายจ่ายบัญชีครัวเรือนบ้านสวนขัน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 160 คน จากที่ตั้งไว้ 160 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน ผู้นำชุมชน 20คนและสมาชิกที่สนใจเข้าร่วม 140 คน รวม 160 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

บางคนที่เข้าร่วมกิจกรรมเป็นผู้สูงอายุ จึงอาจจะเขียนหนังสือไม่ค่อยเห็นแก้ไขโดยการให้ลูกหลานช่วยบันทึกให้

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เปิดโครงการ1 กุมภาพันธ์ 2016
1
กุมภาพันธ์ 2016รายงานจากพี่เลี้ยง โดย manoon
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมเปิดเวทีโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้ได้เข้าร่วมกิจกรรมโครงการ  ทุนชุมชนสร้างรายได้บ้านสวนขัน ณ ศาลาเอนกประสงค์บ้านสวนขัน
        พี้เลี้ยงโครงการได้พูดคัยและประชาสัมพันธ์โครงการ และชี้แจงให้ทราบถึงกิจกรรมของโครงการของบ้านสวนขัน
โดยโครงการนี้จะเป็นการต่อยอดปีที่ 2ซึ่งเมื่อครั้งก่อนก็ได้ทำโครงการที่เกี่ยวกับสมุนไพรและก็ได้สร้างศูนย์การเรียนรู้เกี่ยวกับสมุนไพรไปแล้วนั้นในปีนี้โครงการก็ คือ ทุนชุมชนสร้างรายได้บ้านสวนขัน (ต่อยอดปี 2)โดยการทุนในชุมชนก็ คือทรัพยากรต่างๆที่มีในชุมชน มาสร้างให้เกิดรายได้ให้กับคนในชุมชนซึ่งในโครงการ ก็จะมีกิจกรรม คือ 1. การเรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือน
2.การเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ 3.การเพาะเห็ดนางฟ้า 4. การทำการเกษตรชีวภาพซึ่งจะมีปราชญ์ในชุมชนที่มีความรู้ความสามารถมาสอนและแนะนำการทำให้กับสมาชิก
  ซึ่งก็จะได้ประกาศรับสมัครสมาชิกผู้ที่สนใจเข้าร่วมในกิจกรรมดั่งกล่าวต่อไปซึ่งหลังจากได้ดำเนินการไปสักระยะหนึ่งแล้วก็จะได้จัดกลุ่มเรียนรู้ ตามกิจกรรมที่ได้เรียนรู้ไป
5.หลังจากได้ทำกิจกรรมไปแล้วนั้นก็จะร่วมกันคัดเลือกบ้านต้นแบบ เพื่อร่วมกันจัดทำเป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ดังนี้
แหล่งเรียนรู้เพาะเห็ดนางฟ้า แหล่งเรียนรู้สมุนไพรชุมชน แหล่งเรียนรู้ปุ๋ยหมักชีวภาพ –น้ำหมักชีวภาพ แหล่งเรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรม ครบตามที่กำหนด 2.ประชาชนได้รับทราบวัตถุประสงค์โครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 190 คน จากที่ตั้งไว้ 190 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน  และประชาชนในชุมชนบ้านสวนขัน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

คืนข้อมูลให้ชุมชนและประชาสัมพันธ์โครงการ1 กุมภาพันธ์ 2016
1
กุมภาพันธ์ 2016รายงานจากพื้นที่ โดย dadchanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจมาคืนข้อมูลให้กับชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมคืนข้อมูลให้กับชุมชนและประชาสัมพันธ์โครงการซึ่งในวันนี้ได้นัดพบกันที่ ศาลาเอนกประสงค์บ้านสวนขัน
เริ่มกิจกรรมด้วยการลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรมและแจกเอกสารแผ่นพับที่ได้ทำการสรุปข้อมูลจากการสำรวจในชุมชนเพื่อคณะทำงานจะได้ชี้แจงในเวลาทีประชุม เริ่มโดยนางดัชนีย์มัชฉิมวงศ์ประธานโครงการได้ชี้แจงเปิดโครงการ ทุนชุมชนสร้างรายได้บ้านสวนขัน ซึ่งเป็นโครงการต่อยอดเป็นปีที่ 2 แล้ว คือ โครงการหมอชาวบ้านสืบสานภูมิปัญญาสมุนไพรพื้นบ้าน ที่ได้ทำในเรื่องของสมุนไพร ซึ่งก็ได้กล่าวถึงรากิจกรรมที่ผ่านมาของโครงการคือ ได้ประชุมคณะทำงานมาแล้วและได้ลงไปสำรวจข้อมูลในชุมชน 2 ครั้งด้วยกันโดยแบบสำรวจข้อมูลก็ได้มาคิดออกกันในคณะทำงานเพื่อให้ได้แบบสำรวจที่ตรงกับความต้องการในการสำรวจชุมชนหลังจากนั้นก็ได้นำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจมารวบรวมวิเคราะห์ และได้นำข้อมูลมาคืนและเสนอให้กับคนในชุมชนได้รับทราบในวันนี้โดยได้จัดทำไวนิลและแผ่นพับเพื่อคืนข้อมูลสู่ชุมชนเพื่อที่จะกระตุ้นให้คนในชุมชนเกิดความตระหนักกับปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน โดยกิจกรรมของโครงการจะเน้นในเรื่องของการที่นำทุนในชุมชนที่มีอยู่มาทำให้เกิดการลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนและเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนได้โดยจะยึดในหลักของเศรษฐกิจพอเพียง และจากการได้รวบรวมข้อมูลจากการสำรวจข้อมูล และผ่านที่ประชุมแล้วว่าจะสร้างอาชีพเสริมให้กับคนในชุมชน และเรียนรู้การลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน

หลังจากนั้นก็ได้เชิญนายยงยุทธ์สุขพิทักษ์ซึ่งเป็นพี้เลี้ยงโครงการได้พูดคัยและประชาสัมพันธ์โครงการ และชี้แจงให้ทราบถึงโครงการของบ้านสวนขัน โดยโครงการนี้จะเป็นการต่อยอดปีที่ 2ซึ่งเมื่อครั้งก่อนก็ได้ทำโครงการที่เกี่ยวกับสมุนไพรและก็ได้สร้างศูนย์การเรียนรู้เกี่ยวกับสมุนไพรไปแล้วนั้นในปีนี้โครงการก็ คือ ทุนชุมชนสร้างรายได้บ้านสวนขัน (ต่อยอดปี 2)โดยการทุนในชุมชนก็ คือทรัพยากรต่างๆที่มีในชุมชน มาสร้างให้เกิดรายได้ให้กับคนในชุมชนซึ่งในโครงการ ก็จะมีกิจกรรม คือ 1. การเรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือน 2.การเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ3.การเพาะเห็ดนางฟ้า 4. การทำการเกษตรชีวภาพซึ่งจะมีปราชญ์ในชุมชนที่มีความรู้ความสามารถมาสอนและแนะนำการทำให้กับสมาชิก
ซึ่งก็จะได้ประกาศรับสมัครสมาชิกผู้ที่สนใจเข้าร่วมในกิจกรรมดั่งกล่าวต่อไปซึ่งหลังจากได้ดำเนินการไปสักระยะหนึ่งแล้วก็จะได้จัดกลุ่มเรียนรู้ ตามกิจกรรมที่ได้เรียนรู้ไปหลังจากพี่เลี้ยงได้พูดคุยกับผู้เข้าร่วมกิจกรรมนายคมเดช มัชฌิมวงศ์ผุ็รับผิดชอบโครงการได้กล่าวขอบคุณพี่เลี้ยงที่ได้มาร่วมกิจกรรมในวันนี้และก็กล่าวขอบคุณผู้ที่เข้าร่วมโครงการในวันนี้ทุกคนที่ได้เสียสละเวลามาเข้าร่วมกิจกรรมซึ่งก็ขอให้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆต่อไปและก็ให้ฝากบอกเพื่อนๆบ้านที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมมาสมัครเข้าร่วมกิจกรรมกันได้

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ พบว่า 1.ได้รู้เกี่ยวกับรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการที่จะทำในโครงการคือการเรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือนการเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักชีวภาพการเพาะเห็ดนางฟ้า การทำการเกษตรชีวภาพ 2.ได่้มีการเปิดรับผู้ที่สนใจในการเข้าร่วมกิจกรรมและประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมไปบอกคนในชุมชนที่สนใจมาเข้าร่วมกิจกรรม

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 190 คน จากที่ตั้งไว้ 190 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานและผู้นำชุมชน30 คนผู้ที่สนใจในชุมชน 170 คน รวม 190 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ติดตามผลการดำเนินงานงวดที่ 130 มกราคม 2016
30
มกราคม 2016รายงานจากพี่เลี้ยง โดย manoon
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามรายงานผลการดำเนินงาน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้พี่เลี้ยงโครงการนัดพื้นที่ เพื่อมาเรียนรู้การเขียนรายงานเอกสารและรายงานการปิดงวดที่ 1 ดังนี้
1.ติดตามการรายงานผลการดำเนินงานตามเอกสารและปฏิทินของโครงการ สำหรับโครงการ ได้ทำครบตามกิจกรรม แต่ยังขาดความสมบูรณ์ในการบันทึกข้อมูล และกลุ่มเป้าหมายยังขาดความร่วมมือจากเยาวชน พบว่าช่วงนี้เยาวชนไปเรียนหนังสือ ทำกิจกรรมที่โรงเรียนมากเกิน ทำให้ไม่ได้มีโอกาสมาทำกิจกรรมร่วมกับโครงการ และขอให้ถึงเวลาปิดเทอม กลุ่มเยาวชน จะลงมาช่วยทำกิจกรรม ซึ่งประเด็นนี้พี่เลี้ยงรับทราบ
2.ติดตามตรวจสอบรายงานการเงิน พบว่า ยังมีหลายกิจกรรม ที่ยังเขียนใบเสร็จไม่ถุูกต้อง ให้ปรับแก้ไขใหม่ เช่น ไม่มีทะเบียนผู้เสียภาษีลายมือชื่อไม่ครบในกิจกรรม การขาดไปเพียง 1 - 2 คน ถือว่าไม่ครบ
3.การบันทึกภาพถ่ายยังไม่ได้บันทึก และเข้าใจว่าช่วงนี้ สัญญาณอินเตอร์เนต มีปัญหา โดยเฉพาะบริเวณช่องเขา พื้นที่ตั้งของชุมชน มีปัญหาอินเตอร์เนตจากมือถือ ได้แนะนำให้มาใช้บริการที่ รพสต.เขาพระบาท

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1.ตัวแทนโครงการ 2คน เข้ามาเรียนรู้การเขียนรายงานและการสรุปรายงานงวดที่ 1 2.ได้รับทราบปัญหาของโครงการ 3.โครงการได้ทำกิจกรรม มีความก้าวหน้าประมาณ ร้อยละ 40

ผลลัพธ์ 1.ได้ตรวจสอบความถูกต้องรายงานการเงิน มีความถูกต้องเพียงร้อยละ40 ต้องปรับปรุงอีก ร้อยละ60 2.ได้ตรวจสอบการเขียนรายงานบันทึกกิจกรรม พบว่า ยังเขียนไม่ละเอียด ให้ไปปรับปรุงเพิ่มเติม 3.ได้ร่วมกันแก้ปัญหาเรื่องกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเยาวชน ไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้เพราะต้องไปทำกิจกรรมที่โรงเรียน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ตัวแทนโครงการ 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ยังบันทึกข้อมูลยังไม่สมบูรณ์  รายละเอียดในกิจกรรมยังชัดเจน  แก้ไขโดยการไปบันทึกเพิ่มเติม

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

พี่เลี้ยงติดตามโครงการ30 มกราคม 2016
30
มกราคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย dadchanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามการดำเนินงานโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นการประชุมติดตามการดำเนินงานของโครงการโดยวันนี้ มาประชุมที่สำนักงานสนับสนุนบริการสาธารณสุขเขต 11 นครศรีธรรมราช ในวลา 09.00 น. เริ่มโดยมีพี่เลี้ยงโครงการได้ชี้แจงรายละเอียดในการสรุปเอกสารด้านการเงินเพื่อปิดงวดที่1 รายงานส. 1รายงาน ง.1 พร้อมบัญชีธนาคารให้โครงการได้ตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวกับการเงินทั้งหมด บิลการเสียภาาีลายมือชื่อ แบบบันทึกของโครงการเริ่มโดยการเช็คว่าทุกกิจกรรมครบไหมตามแต่ละกิจกรรมโดยพี่เลี้ยงจะตรวจแต่ละโครงอย่าให้ปรับสมุดบัญชีธนาคารปรุงครั้งล่าสุดด้วยเพราว่า มันจะมีดอกเบี้ยเมื่อสิ้นปีเดียวพอไปลงการเงินในการปิดบัญชีจะไม่ตรงกัน
ส่วนในการคีย์ข้อมูลและตรวจสอบในโปรแกรมออนไลน์เพิ่มเติม ให้แต่ละโครงการบันทึกข้อมูลในเว็บไซต์ให้ครบทุกกิจกรรมที่ทำไปสามารถเลื่อนวันที่เลือ่นกิจกกรรมได้ เพราะบางกิจกรรมเราต้องทำก่อนหรือหลังที่กำหนดก้ให้ไปเปลี่ยนที่ปฏิทินโครงการไปที่แก้ไขรายละเอียดแล้วก็แก้ไขวันที่ให้ตรงที่เราทำกิจกรรมแล้วก็มาบันทึกกิจกรรมให้หดมทุกช่องในส่วนของกิจกรรมให้บันทึกให้ครบรายละเอียดว่าทำอย่างไรทำอะไรบ้างได้เรียนรู้อะไรบ้างและก็บันทึกผลที่ได้รับว่าในแต่ละกิจกรรมได้ผลลัพธ์ อะไรบ้างอย่างไรบ้าง
หลังจากนั้นพี่เลี้ยงก็ได้ตรวจเอกสารเกี่ยวกับการเงินพร้อมทั้งเอกสารเกียวกับการเสียภาษี

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ พบว่า 1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมติดตามโครงการ2คน 2.ได้ติดตามความคืบหน้าของโครงการ ว่าได้ทำกิจกรรมอะไรไปแล้วบ้าง 3.ได้ตรวจสอบความถูกต้องเกี่ยวกับด้านการเงินและการคีย์โปรแกรมออนไลน์

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอโครงการ และการเงิน 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ในการบันทึกเข้าเว็บไซต์ รายละเอียดในการทำกิจกรรมและผลลัพธ์ยังไม่ชัดเจน แก้ไขโดยการไปบันทึกเพิ่มเติมในแต่ละกิจกรรม

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

วิเคราะห์ข้อมูลครั้งที่229 มกราคม 2016
29
มกราคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย dadchanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อวิเคระห์ข้อมูลจากการสำรวจในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจใชุมชน ครัั้งที่ 2นำมาวิเคระห์และสรุปข้อมูลโดยนัดพบกันที่ ศาลาเอนกประสงค์บ้านสวนขัน
เริ่มกิจกรรมโดยนางทัศนย์มัชฌิมวงศ์ประธานโครงการได้ชี้แจงถึงการทำการวิเคราะห์ข้อมูลในครั้งที่ผ่านมา ซึ่งได้พบปัญหาที่มีมากในชุมชนจากการวิเคราะห์ในครั้งที่ผ่านมา เช่น ปัญหายางพาราที่ถูกมาก ทำให้ประชาชนมีปัญหาทางด้านการเงินค่าใช้จ่ายในครัวเรือนซึ่งหลังจากนั้นก็ได้ให้คณะทำงานร่วมกันวิเคาระห์ข้อมูลต่อจนหมดและจะได้มาสรุปปัญหากัน ซึ่งจากการวิเคราะห์ข้อมูลส่วมมากจะมีปัญหาในเรื่องของค่าใช้จ่ายในครัวเรือนดังนั้นในที่ประชุมจึงได้เสนอให้มีการทำอาชีพเสริมของคนในชุมชน เพื่อเพิ่มรายได้ในครัวเรือนซึ่งใครที่สนใจก็เข้าร่วมกิจกรรมได้ ซึ่งก็จะได้เปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมกิจกรรมต่อไป และข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลในครั้งนี้ก็จะนำไปคืนในชุมชนโดยการทำไวนิลและแป่นพับติดและแจงในหมู่บ้านเพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ถึง ข้อูลที่ได้สำรวจมาซึ่งข้อมูลที่ได้มาก็คือ บ้านสวนขันหมู่ที่ 1 มี 120ครัวเรือนจำนวนทั้งหมด 335 คน ประชากรส่วนใหญญ่มีอาชีพทำสวนยางพาราและสวนผลไม้มีพื้นที่ทำกินทั้งหมด3300ไร่ครัวเรือนที่ทำสวนยางจำนวน 90ครัวเรือนอีก30 ครัวเรือนทำสวนผลไม้ส่วนมากมีรายได้เฉลี่ยครัวเรือนละ71108บาทต่อปีในเรื่องของการสอบถามที่สนใจจะเข้าร่วมโครงการร้อยละ 80มีความสนใจที่จะเข้าร่วมโครงการ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวที่ได้มาจะสรุปและคืนขอ้มูลให้กับชุมชน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การวิเคราะห์ครั้งที่ 2 เกี่ยวกับมิติสังคม ประเพณี วัฒนธรรม การศึกษา ดังนี้
มิติที่ ๓ ด้านศิลปวัฒนธรรม/ประเพณี / สังคม / ครอบครัว / สวัสดิการ / ศาสนา จากการสำรวจพบว่า

๑. เด็กและเยาวชนรุ่นใหม่ไม่ใส่ใจวัฒนธรรม พบร้อยละ35 ๒. ขาดการสืบทอดศิลปวัฒนธรรม พบร้อยละ 10 ๓.ประเพณีที่ดีงามถูกทำลาย พบร้อยละ 10 ๔. ประเพณีหมู่บ้านชุมชนไม่มีการสืบทอด พบร้อยละ20 ๕. ประชาชนในหมู่บ้าน ไม่ช่วยเหลือกัน ต่างคนต่างอยู่ พบร้อยละ15 ๖.ประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชนเกิดการแตกแยก พบร้อยละ12 ๗.เด็กและเยาวชนมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรในหมู่บ้าน/ชุมชน พบร้อยละ8 ๘. เด็กถูกทอดทิ้ง พบร้อยละ2 ๙.ปัญหายาเสพติด พบร้อยละ6 ๑๐.เยาวชนก่อเหตุทะเลาะวิวาท พบร้อยละ11 ๑๑.ปัญหาอพยพแรงงาน พบร้อยละ 43 ๑๒.สามี ภรรยา นอกใจ มีชู้ พบร้อยละ 3 ๑๓.ครอบครัวแตกแยก พบร้อยละ 4 ๑๔.ลูกเกเรไม่เชื่อฟังพ่อแม่ พบร้อยละ7 ๑๕.พ่อแม่ไม่เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ลูก พบร้อยละ6 ๑๖.ผู้ด้อยโอกาส(ผู้สูงอายุ/ คนพิการ/ผู้ติดเชื้อเอด ไม่มีสวัสดิการช่วยเหลือ) พบร้อยละ 3 ๑๗.บุคลากรทางศาสนา(เจ้าหน้าที่) มีน้อยร้อยละ 2 ๑๕.พระสงฆ์ปฏิบัติตนไม่เหมาะสมไม่มี ๑๖.ศาสนสถานชำรุด ทรุดโทรม ขาดการทะนุบำรุง พบร้อยละ 5 ๑๗.ชาวบ้านไม่ค่อยเข้าวัดไม่ค่อยปฏิบัติธรรมทำผิดศีล ๕ พบร้อยละ22

มิติที่ ๔ ด้านการศึกษาจากการสำรวจพบว่า

๑.เด็ก/เยาวชนขาดโอกาสเรียนต่อ ไม่มีทุนเรียนต่อ พบร้อยละ5 ๒.สถานศึกษาอยู่ห่างไกลไม่มี ๓.มีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน พบร้อยละ 10 ๔.เกเรไม่เชื่อฟังครูอาจารย์ พบร้อยละ 10 ๕.การเรียนการสอนไม่มีการแทรกประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่นไว้ในหลักสูตร ไม่มี

มิติที่๕ด้านประชาธิปไตย / การมีส่วนร่วม / ธรรมาภิบาลจากการสำรวจพบว่า

๑.การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ร้อยละ 85 ๒.การแสดงความคิดเห็นของชาวบ้าน ชุมชน ในที่ประชุมประชาคม มีน้อย ร้อยละ 75 ๓.การนำมติในที่ประชุมสู่การปฏิบัติร้อยละ 60

มิติที่๖ด้านโครงสร้างพื้นฐานากการสำรวจพบว่า

๑.ถนนเป็นหลุมเป็นบ่อ ไม่มี ๒.ถนนไม่เพียงพอ ไม่มี ๓.ไม่มีน้ำประปาใช้ ไม่มี ๔.น้ำประปาไม่สะอาด ไม่มี ๕.ไม่มีไฟฟ้าใช้ ไม่มี

มิติที่๗ด้านสุขภาพจากการสำรวจพบว่า

๑.เจ็บป่วยจากการใช้สารเคมีพบร้อยละ30 ๒. เจ็บป่วยจากการ ดื่มสุรา สูบบุหรี่ หรือสารเสพติดพบร้อยละ 5 ๓.เจ็บป่วยด้วยโรคประจำตัว พบร้อยละ 35 ๔.เจ็บป่วยจากโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ พบร้อยละ10 ๕.ไม่มีเงินรักษาพยาบาลขาดการเหลียวแล จากภาครัฐบาล พบร้อยละ 1 ๖.จิตใจถูกกระทบกระเทือนจนเจ็บป่วย พบร้อยละ 1

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ พบว่า 1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 30 คน
2.ได้ข้อมูลให้กับชุมชน 1 ฉบับ 3.ได้ร่วมกันวิเคราะห์และสรุปข้อมูลในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานและผู้นำชุมชน  30  คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

วิเคราะห์ข้อมูลครั้งที่120 มกราคม 2016
20
มกราคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย dadchanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อวิเคระห์ข้อมูลจากการสำรวจในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป้นกิจกรรมวิเคราห์ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจใชุมชนนำมาวิเคระห์และสรุปข้อมูลครั้งที่ 1 โดยนัดพบกันที่ ศาลาเอนกประสงค์บ้านสวนขัน
เริ่มกิจกิจกรรมโดยนางทัศนย์มัชฌิมวงศ์ประธานโครงการได้ชี้แจงหลังจากที่ได้ลงสำรวจข้อมูลกันในวันที่ 14 ธ.ค.32558 และวันที่23 ธันวาคม 2558เป็นเวลา 2 วันด้วยกันโดยประธานได้กล่าวชื่นชมคณะทำงานที่ได้มีความตั้งใจขยันและอดทนในการลงสำรวจเพื่้อให้ได้ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ในวันนี้ โดยจะให้ได้วิเคระห์ข้อมูลที่ได้ดังนี้คือ
1.ข้อมูลทั่วไปของชุมชน 2.ข้อมูลหนี้สินของครัวเรือนในชุมชนแต่ละครัวเรือน 3.ข้อมูลการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ และใช้ปุ๋ยหมักที่ใช้ในครัวเรือน 4.การเพาะเห็ดนางฟ้าเพื่อการลดรายจ่าย ในครัวเรือน โดยให้วิเคราะห์และสรุปในภาพรวมของชุมชนตามข้อมูลที่ได้สำรวจไปเพื่อจะได้นำข้อมูลไปแสดงให้คนในชุมชนได้เห็น ซึ่งในวันนี้จะให้ทำการวิเคาระห์ข้อมูลให้ได้ร้อยละ 50 ของที่ลงสำรวจมาทั้งหมดและจะนัดหมายให้มาวิเคราะห์ข้อมูลอีกครั้ง ในส่วนที่เหลือให้หมดในวันที 29มกราคม2559

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ข้อมูลการวิเคราะห์วันนี้ วิเคราะห์เฉพาะมิติเศรษฐกิจและสังคม พบว่า
มิติที่๑ด้านเศรษฐกิจท้องถิ่นจากการสำรวจพบว่า
๑. หนี้สิน พบร้อยละ76 ๒. รายได้ต่ำ / รายจ่ายสูง พบร้อยละ 125 ๓. ว่างงาน พบร้อยละ 20 ๔. ไม่มีที่ดินประกอบอาชีพ พบร้อยละ 12 ๕.ไม่มีที่ดินเป้นของตนเอง พบร้อยละ16 ๖. ผลผลิตตกต่ำ /ไม่ได้ผล พบร้อยละ 125 ๗. ราคาผลิตผลตกต่ำ พบร้อยละ 125 ๘. ราคาต้นทุนสูง / การเกษตรสูง พบร้อยละ125 ๙. ค่าครองชีพสูง พบร้อยละ 125 ๑๐. ค่าแรงงานถูก พบร้อยละ 125 ๑๑.ขาดแรงงานในการประกอบอาชีพ พบร้อยละ120 ๑๒. สิ้นค้าไม่ได้มาตรฐานตามที่ตลาดต้องการ พบร้อยละ 125

มิติที่ ๒ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จากการสำรวจพบว่า

๑.ดินเสื่อมคุณภาพ พบร้อยละ 35 ๒.ดินเปรี้ยวดินเค็ม พบร้อยละ5 ๓. ที่ดินสาธารณะไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ อย่างเต็มที่ พบร้อยละ 6 ๔.น้ำไม่เพียงพอต่อการดำรงชชีวิตและประกอบอาชีพ พบร้อยละ 46 ๕.ขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง พบร้อยละ 84 ๖.น้ำเน่าเสียส่งกลิ่นเหม็น พบร้อยละ6 ๗. น้ำประปาไม่สะอาด พบร้อยละ 7 ๘. ป่าไม้ถูกทำลายบางส่วน พบร้อยละ 35 ๙. ป่าไม้ถูกทำลายจนหมดสิ้น พบร้อยละ10 ๑๐. ป่าไม้ถูกลักลอบตัดไปใช้ส่วนตัว พบร้อยละ 5 ๑๑. ขยะเน่าเสียส่งกลิ่นเหม็นพบร้อยละ 10 ๑๒. ที่ทิ้งขยะไม่เพียงพอ พบร้อยละ 36 ๑๓.มีการขยะไปทำประโยชน์ ปุ๋ยชีวภาพและพลังงานอื่นๆ พบร้อยละ 47 ๑๔. สถานบันเทิงส่งเสียงรบกวน พบร้อยละ 1 ๑๕.มอเตอร์ไซต์ซิ่งส่งเสียงดังรบกวน พบร้อยละ 2 ๑๖.ข้างบ้านส่งเสียงดังรบกวน พบร้อยละ3 ๑๗.ควันที่เกิดจากการเผา พบร้อยละ 8 ๑๘.ควันที่เกิดจากรถต่างๆ ควันจาการหญ้า พบร้อยละ2
๑๙.ใช้น้ำมันมากเกินไป พบร้อยละ53 ๒๐.ใช้น้ำเกินความจำเป็น พบร้อยละ74 ๒๑.ใช้ไฟฟ้าเกินความจำเป็น พบร้อยละ36 ๒๒.ใช้แก็สเกินความจำเป็น พบร้อยละ73 ๒๓.ใช้ถ่านและฟืนมาก พบร้อยละ32

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ พบว่า 1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 30คน 2.มีข้อมูลชุมชนจากการวิเคราะห์ 1 ฉบับ 3.ผู้เข้าร่วมได้ร่วมกันสรุปข้อมูลจากการสำรวจในชุมชน 4.นัดทำกิจกรรมวิเคราะห์ข้อมูล ครั้งต่อไปในวันที 29มกราคม2559

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานและผู้นำชุมชน  30  คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมสภาผู้นำครั้งที่47 มกราคม 2016
7
มกราคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย dadchanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประชุมวางแผนกิจกรรม  และติดตามความคืบหน้าในการทำกิจกรรมโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมประชุมสภาผู้นำครั้งที่ 4ณ ศาลาการเปรียญวัดสวนขันโดยเริ่มประชุมใน13.00น. ประธาน โดยนางดัชนีย์มัชฉิมวงศ์ ได้กล่าวทักทายและแจ้งที่ประชุมให้ทราบว่ากิจกรรมที่ผ่านมาคือการลงไปสำรวจข้อมูล ครั้งที่ 1 และ2โดยการสำรวจข้อมูล ครั้งที่ 1 ในวันที่ 14 ธันวาคมและสำรวจข้อมูล ครั้งที่ 2 ในวันที่ 23ธันวาคม 2559โดยในการสำรวจทั้ง 2 วันที่ผ่านมาก็ผ่านไปได้ด้วยดีซึ่งจะได้นำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจทั้งหมด มาทำการวิเคราะห์อีกครั้งในกิจกรรมการวิเคาระห์ข้อมูลในครั้งต่อไป กิจกรรมในครั้งต่อไปคือกิจกรรมกิจกรรมในการวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งจะได้นำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจในชุมชนมาร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลสรุปข้อมูลจากการสำรวจว่าในแต่ละประเด็นในแต่ละหัวข้อที่ได้ทำการสำรวจไปนั้นได้ข้อมูลมาอย่างไรมีปัญหาในเรื่องไดบ้างหรือคนในชุมชนอยากให้ช่วยเหลือในเรื่องใดบ้างก็จะได้มารวบรวมเป็นข้อมูลของชุมชนเพื่อเป็นฐานข้อมูลให้กับชุมชนโดยจะนัดทำกิจกรรมการวิคาระห์ข้อมูล ครั้งที่ 1 คือวันที่ 20มกราคม 2559นัดพร้อมกันที่ศาลาเอนกประสงค์บ้านสวนขันก้จะเป็นการพิจารณาการแบ่งกลุ่มเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลให้แต่ละกลุ่มทำงานเพื่อชุมชนเพื่อมาวางแผนการดำเนินงานกิจกรรมตามความต้องการของคนในชุมชนให้กับครอบครัวเพื่อที่จะลดรายจ่ายและสร้างอาชีพและกิจกรรมทำเพื่อพัฒนาชุมชนต่อไปโดยมอบหมายให้คณะได้ไปดูความเรียบร้อยของแบบสอบถามและนำแบบสอบถามรวมกันและให้นำมาในวันทำกิจกรรมด้วย

สรุปผลการสำรวข้อมูล พบว่า
การสำรวจครัวเรือน พบว่า สำรวจ จำนวน 125 ครัวเรือน พบว่า
1.ครัวเรือนประกอบกิจกรรมทางการเกษตร 125 ครัว 2.ปีนี้ครัวเรือนติดต่อซื้อ-ขายผลผลิตทางการเกษตร55 ครัว 3.ครัวเรือนเลี้ยงสัตว์เพื่อจำหน่าย 42ครัวเรือน
4.รายได้หลักของครอบครัวมาจากอาชีพเกษตร 123ครัว 5.รายได้เฉลี่ยของครัวเรือน 7,200 บาท ต่อเดือน
6.ครัวเรือนมีหนี้สิน122ครัว 7.คนในครัวเรือนส่วนใหญ่รับข้อมูลข่าวสารจาก อสม.มากที่สุด จำนวน 125 ครัว 8. คนในครอบครัวเป็นสมาชิกหรือเข้าร่วมในกลุ่มหรือโครงการต่างๆในชุมชนจำนวน 125 ครัว 9.คนใน ครัวเรือนคุมกำเนิด53 ครัว 10.ปีนี้ ในครัวเรือนของท่านมีหญิงคลอด 2คน 11.ในครัวเรือนมีเด็กอายุแรกเกิดถึง 5 ปี จำนวน52 คน
12.ปีที่ผ่านมามีคนในครัวเรือนของท่านเสียชีวิต มี 3 คน
13.ในรอบ 6 เดือน มีคนในครอบครัวของท่านเจ็บป่วย จำนวน 11คน 14.ปีที่ผ่านมา สถานพยาบาลใดที่ท่านใช้บริการบ่อยครั้งที่สุด ไป รพสต. 122 ครัว 15.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ท่านดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ดื่ม30คน 16.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาท่านและคนในครัวเรือนดื่มเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน ดื่ม 9คน 17.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาท่านและคนในครัวเรือนของท่านดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง ดื่ม 6คน 18.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาคนในครัวเรือนของท่านมีผู้สูบบุหรี่ สูบ 38 คน 19.คนในครัวเรือนของท่านรับประทานอาหารสุกๆดิบๆหรือไม่กิน 125 ครัว 20.ในรอบปีที่ผ่านมา ครัวเรือนของท่านใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช มี125 ครัว 21. ครัวเรือนท่าน ได้รับความรู้ข่าวสารด้านสุขภาพจากแหล่งใดมากที่สุด จาก อสม. 125 ครัว 22.ครัวเรือนมีคอกหรือกรงสัตว์ในบริเวณบ้านมี52 ครัว 23.ครัวเรือนมีน้ำดื่มเพียงพอ 125 ครัว
24.ครัวเรือนมีถังขยะ 125 ถัง 25.ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะ 125 ครัว

เสร็จสิ้นการประชุม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.มีผู้เข้าร่วมประชุม30คน 2.ได้วางแผนกิจกรรมในครั้งต่อไป คือ การวิเคราะห์ข้อมูลครั้งที่ 1 3.ได้ติดตามความคืบหน้าในการทำกิจกรรมคือการทำกิจกรรมสำรวจข้อมูล ได้เก็บข้อมูลเสร็จเรียบร้อยแล้ว 4.นัดประชุมครั้งต่อไป 7 กุมภาพันธ์2559

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

ผู้นำชุมชนและคณะทำงาน 10คนประชาชน20คน รวม 30 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สำรวจข้อมูลครั้งที่223 ธันวาคม 2015
23
ธันวาคม 2015รายงานจากพื้นที่ โดย dadchanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสำรวจข้อมูลในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมสำรวจข้อมูลครั้งที่ 2 โดยนัดรวมตัวกันที่ ศาลาเอนกประสงค์บ้านสวนขัน เพื่อพบปะและชี้แจงก่อนลงสำรวจข้อมูล ในเวลา 09. 00 น. โดยนางดัชนีย์มัชฉิมวงศ์ ประธานโครงการได้ชี้แจงคณะทำงาน และสอบถามถึงปัญหาและอุปสรรคในการลงสำรวจข้อมูลในครั้งที่ 1 ซึ่งก็ได้พบว่าบ้างบ้านอาจจะไม่มีคนอยู่บ้าน เพราตอนกลางวันต้องไปทำงาน และบางบ้านอาจจะเก็บข้อมูลล่าช้าเพราะเป็นผู้สูงอายุแต่ก็ไม่ถือว่าเป็นปัญหาที่ใหญ๋มากก็แก้ไขโดยการไปเก็บข้อมูลตอนๆเย็นๆหลังจากที่ให้เขาได้กลับจากกการทำงานและประธานก็ได้กล่้าวอีกว่า คณะทำงานและเยาวชนทุกคน ร่วมกันสำรวจข้อมูลกันอย่างตั้งใจถือว่าเป็นสิ่งที่ดีที่มีการได้สำรวจข้อมูลจะได้นำ ข้อมูลไปแสดงให้คนในชุมชนได้รับทราบต่อไปหลังจากนั้นก็ให้คณะทำงานให้ลงเก็บข้อมูลตามโซนที่เหลือหรือถ้าโซนใดเก็บข้อมูลเสร็จแล้วก็ให้ไปช่วยในกลุ่มของโซนอื่นๆๆ เพื่อจะได้ให้เสร็จในวันนี้และก็ให้นำเอกสารรวบรวมไว้เพื่อจะได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อที่จะได้คืนให้กับชุมชน

ผลการสำรวจ พบว่า การสำรวจครัวเรือน ครั้งที่ 2สำรวจ จำนวน 65 ครัวเรือน พบว่า
1.ครัวเรือนประกอบกิจกรรมทางการเกษตร 65 ครัว 2.ปีนี้ครัวเรือนติดต่อซื้อ-ขายผลผลิตทางการเกษตร55 ครัว 3.ครัวเรือนเลี้ยงสัตว์เพื่อจำหน่าย 22ครัวเรือน
4.รายได้หลักของครอบครัวมาจากอาชีพเกษตร 63ครัว 5.รายได้เฉลี่ยของครัวเรือน 7,400 บาท ต่อเดือน
6.ครัวเรือนมีหนี้สิน62ครัว 7.คนในครัวเรือนส่วนใหญ่รับข้อมูลข่าวสารจาก อสม.มากที่สุด จำนวน 65 ครัว 8. คนในครอบครัวเป็นสมาชิกหรือเข้าร่วมในกลุ่มหรือโครงการต่างๆในชุมชนจำนวน 65 ครัว 9.คนใน ครัวเรือนคุมกำเนิด30 ครัว 10.ปีนี้ ในครัวเรือนของท่านมีหญิงคลอด3คน 11.ในครัวเรือนมีเด็กอายุแรกเกิดถึง 5 ปี จำนวน32 คน
12.ปีที่ผ่านมามีคนในครัวเรือนของท่านเสียชีวิต มี2 คน
13.ในรอบ 6 เดือน มีคนในครอบครัวของท่านเจ็บป่วย จำนวน 5คน 14.ปีที่ผ่านมา สถานพยาบาลใดที่ท่านใช้บริการบ่อยครั้งที่สุด ไป รพสต. 62 ครัว 15.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ท่านดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ดื่ม8คน 16.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาท่านและคนในครัวเรือนดื่มเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน ดื่ม 4คน 17.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาท่านและคนในครัวเรือนของท่านดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง ดื่ม 6คน 18.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาคนในครัวเรือนของท่านมีผู้สูบบุหรี่ สูบ 22 คน 19.คนในครัวเรือนของท่านรับประทานอาหารสุกๆดิบๆหรือไม่กิน 65 ครัว 20.ในรอบปีที่ผ่านมา ครัวเรือนของท่านใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช มี65 ครัว 21. ครัวเรือนท่าน ได้รับความรู้ข่าวสารด้านสุขภาพจากแหล่งใดมากที่สุด จาก อสม. 65 ครัว 22.ครัวเรือนมีคอกหรือกรงสัตว์ในบริเวณบ้านมี32 ครัว 23.ครัวเรือนมีน้ำดื่มเพียงพอ 65 ครัว
24.ครัวเรือนมีถังขยะ 65 ถัง 25.ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะ 65 ครัว

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ พบว่า 1.มีข้อมูลเพื่อที่จะได้ทำการวิเคาระห์ข้อมูลในครั้งต่อไป 2.มีการยอมรับกันมากขึ้นในหมู่คณะสามัคคีกันมากขึ้น เพราะได้ร่วมกันลงสำรวจชุมชนร่วมกันได้ช่วยกันสอบถามช่วยกันบันทึก

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 35 คน จากที่ตั้งไว้ 35 คน
ประกอบด้วย

ผู้นำชุมชนและคณะทำงาน 15 คน เยาวชน 20 คน รวม 35 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

1.จากการลงสำรวจพบว่า บ้างบ้านอาจจะไม่มีคนอยู่บ้าน เพราตอนกลางวันต้องไปทำงาน และบางบ้านอาจจะเก็บข้อมูลล่าช้าเพราะเป็นผู้สูงอายุ ก็แก้ไขโดยการไปเก็บข้อมูลตอนเย็นๆหลังจากที่ให้เขาได้กลับจากกการทำงาน

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สำรวจข้อมูลครั้งที่114 ธันวาคม 2015
14
ธันวาคม 2015รายงานจากพื้นที่ โดย dadchanee
circle
วัตถุประสงค์

เพือสำรวจข้อมูลในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมสำรวจข้อมูลครั้งที่ 1 โดยนัดรวมตัวกันที่ ศาลาการเปรียญวัดสวนขันในเวลา 09. 00 น. โดยนางดัชนีย์มัชฉิมวงศ์ ประธานโครงการได้ชี้แจงคณะทำงานได้แจ้งให้ทราบว่าการกิจกรรมสำรวจข้อมูลนี้ จะมีด้วยกัน 2 วัน คือในวันนี้และ วันที่ 23 ธันวาคม 2558 ซึ่งจะแบ่งเป็นกลุ่มกลุ่มละ6 คน 5 กลุ่ม ตามที่ได้แบ่งวันแล้วนั้นให้ลงตามโซนที่ได้แบ่งไว้และก่อนจะลงสำรวจให้รับแบบสำรวจ ไปด้วย ในการสำรวจก็ขอให้เก็บข้อมูลตามแบบสอบถามให้ครบและให้มีความขยัน และอดทนในการลงสำรวจเมื่อเก็บเสร็จในวันนี้ก็ได้นัดหมายในการลงไปสำรวจในครั้งต่อไปคือ วันที่ 23 ธันวาคม 2559โดยมารวมกันที่ศาลาเอนกประสงค์ก่อนที่จะลงสำรวจหลังจากนั้นก็ได้แยกย้ายกันลงไปสำรวจในชุมชน

ผลการสำรวจครั้งที่ 1 พบว่า
การสำรวจครัวเรือน ครั้งที่ 1สำรวจ จำนวน 60 ครัวเรือน พบว่า
1.ครัวเรือนประกอบกิจกรรมทางการเกษตร 60 ครัว 2.ปีนี้ครัวเรือนติดต่อซื้อ-ขายผลผลิตทางการเกษตร60 ครัว 3.ครัวเรือนเลี้ยงสัตว์เพื่อจำหน่าย 20ครัวเรือน
4.รายได้หลักของครอบครัวมาจากอาชีพเกษตร 60ครัว 5.รายได้เฉลี่ยของครัวเรือน 7,000 บาท ต่อเดือน
6.ครัวเรือนมีหนี้สิน60ครัว 7.คนในครัวเรือนส่วนใหญ่รับข้อมูลข่าวสารจาก อสม.มากที่สุด จำนวน 60 ครัว 8. คนในครอบครัวเป็นสมาชิกหรือเข้าร่วมในกลุ่มหรือโครงการต่างๆในชุมชนจำนวน 60 ครัว 9.คนใน ครัวเรือนคุมกำเนิด25 ครัว 10.ปีนี้ ในครัวเรือนของท่านมีหญิงคลอด2คน 11.ในครัวเรือนมีเด็กอายุแรกเกิดถึง 5 ปี จำนวน20 คน
12.ปีที่ผ่านมามีคนในครัวเรือนของท่านเสียชีวิต มี1 คน
13.ในรอบ 6 เดือน มีคนในครอบครัวของท่านเจ็บป่วย จำนวน 6คน 14.ปีที่ผ่านมา สถานพยาบาลใดที่ท่านใช้บริการบ่อยครั้งที่สุด ไป รพสต. 60 ครัว 15.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ท่านดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ดื่ม12คน 16.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาท่านและคนในครัวเรือนดื่มเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน ดื่ม 10คน 17.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาท่านและคนในครัวเรือนของท่านดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง ดื่ม 5 คน 18.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาคนในครัวเรือนของท่านมีผู้สูบบุหรี่ สูบ 16 คน 19.คนในครัวเรือนของท่านรับประทานอาหารสุกๆดิบๆหรือไม่กิน 60 ครัว 20.ในรอบปีที่ผ่านมา ครัวเรือนของท่านใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช มี60 ครัว 21. ครัวเรือนท่าน ได้รับความรู้ข่าวสารด้านสุขภาพจากแหล่งใดมากที่สุด จาก อสม. 60 ครัว 22.ครัวเรือนมีคอกหรือกรงสัตว์ในบริเวณบ้านมี20 ครัว 23.ครัวเรือนมีน้ำดื่มเพียงพอ 60 ครัว
24.ครัวเรือนมีถังขยะ 60 ถัง 25.ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะ 60 ครัว

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ พบว่า 1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 35 คน
2.ได้มีแบบสำรวจข้อมูลของชุมชนจากการได้ร่วมออกแบบกันของคนในชุมชนเพื่อที่จะใช้สำรวจในชุมชน 3.มีการแบ่งหน้าที่การทำงานโดยการแบ่งเป็นกลุ่มๆในการลงสำรวจ 4.มีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเยาวชนกับคณะทำงานคือ คณะทำงานได้แนะนำ และสอนเกี่วกับการสอบถามข้อมูลการเก็บข้อมูลการบันทึก

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 35 คน จากที่ตั้งไว้ 35 คน
ประกอบด้วย

ผู้นำชุมชนและคณะทำงาน 15 คน เยาวชน 20 คน รวม 35 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

กิจกรรมการพัฒนาศักยภาพโครงการในการบันทึกเวปไซด์และทำรายงาน สังเคราะห์ข้อมูล7 ธันวาคม 2015
7
ธันวาคม 2015รายงานจากพี่เลี้ยง โดย manoon
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อพัฒนาศักยภาพโครงการในการบันทึกข้อมูล

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้พี่เลี้ยง สจรส.มอ. ร่วมกับพี่เลี้ยงจังหวัดนครศรีธรรมราชได้มาสอนการเขียนรายงานและการจัดทำรายงานการเงิน 1.การเขียนรายงานต้องมีการเตรียมอุปกรณ์เครื่องเขียน การเขียนรายงานมีทั้งการบันทึก การทำ mind map สอนให้เขียนผลลัพธ์ ผลผลิต วิธีการจะได้มาซึ่งผลงาน ต้องทำการสนทนากลุ่ม มีการวิเคราะห์ผล การรวบรวมและต้องมีการบันทึกข้อมูลการเขียนรายงานเพื่อป้องกันความผิดพลาด วิธีการที่ที่สุดในการเขียนผลลัพธ์คือการถอดบทเรียนในการดำเนินงาน 2.การเขียนรายงานเวปไซด์ ให้ทุกโครงการเข้าไปทำการ log in เข้าโปรแกรม ไปโครงการในความรับผิดชอบ และไปเมนู รายงานผู้รับผิดชอบ ให้ไปคลิกบันทึกซึ่งมีการจัดทำปฏิทินโครงการไว้แล้วให้บันทึกชื่อกิจกรรม วัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมายและขั้นตอนการทำงานให้บรรยายให้ละเอียด เล่าถึงกระบวนการทำงานผลลิตที่ได้ หรือสิ่งทีเกิดจากการดำเนินกิจกรรมครั้งนี้ และงบประมาณในการดำเนินงาน
3.การโหลดภาพกิจกรรม ให้โหลดภาพประมาณ 5 ภาพในการทำกิจกรรม การถ่ายภาพให้สื่อถึงกิจกรรมที่ดำเนินงาน 4.ผลผลิต เป็นผลทีเกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรมครั้งนั้น เช่น ผู้เข้าร่วมประชุมกี่คน ผู้ผ่านการอบรมกี่ครั้ง ครัวเรือนปลูกผักไว้กินเองกี่ครัวเรือน
5.ผลลัพธ์ เป็นการเปลี่ยนแปลงไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังการอบรมมีประชาชนเปลี่ยนพฤติกรรมกี่คน
6.การเขียนให้เชื่อมโยงสุขภาวะ เป็นการเชื่อมโยงภาวะของมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งกาย จิต ปัญญาและสังคม เชื่อมโยงเป็นองค์รวมอย่างสมดุล โดยครอบคลุมไม่เพียงเฉพาะบุคคล แต่ครอบคลุมไปยังครอบครัว ชุมชนและสาธารณะ การจัดทำรายงานการเงิน ให้คำนึงดังนี้
1.ถ้ามีการจ้างทำอาหาร เอกสารที่ควรมีประกอบด้วยรายชื่อคนเข้าร่วมกิจกรรม ใบสำคัญรับเงิน ใบเสร็จ สำเนาบัตรประชาชน เอกสารหักภาษีภาพถ่ายและรายงานกิจกรรม 2.ค่าตอบแทนวิทยากร ถ้าเกิน 1000 บาทให้หักภาษีด้วย 3.ค่าจ้างทำป้าย ให้ใช้ใบเสร็จจากทางร้าน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1.กลุ่มเป้าหมาย 2 คน ได้เรียนรู้การเขียนรายงาน การทำรายงานการเงิน 2.กลุ่มเป้าหมาย ได้เรียนรู้วิธีการเขียนผลลัพธ์และผลผลิต 3.กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้วิธีการเขียนหลักฐานทางการเงิน

ผลลัพธ์ 1.กลุ่มเป้าหมายได้ฝึกการจัดเอกสารและมีการปรับแก้ให้ถูกต้อง
2.กลุ่มเป้าหมายเข้าใจและสามารถสอนทีมงานได้

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ตัวแทนโครงการเข้าร่วมประชุม 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

อบรมการเขียนรายงานและเอกสารการเงิน ร่วมกับ สจรส.มอ.7 ธันวาคม 2015
7
ธันวาคม 2015รายงานจากพื้นที่ โดย dadchanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อความเข้าใจในรายงานที่ถูกต้องในการเขียนรายงานและทำกิจกรรม

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมที่ต้องไปพบปะพี่เลี้ยง และ สจรส.มอ.ที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 09.30น.ได้พบพี่เลี้ยงเพื่อติดตามผลงานทำกิจกรรม เพื่อเตรียมความพร้อม และบันทึกกิจกรรมรายงานกิจกรรมที่เกิดขึ้น และได้พบ เจ้าหน้าที่ จากสจรส.มอ.โดยได้ชี้แจงเกี่ยวกับ 1.การเขียนรายงานและการเงินการบันทึก รายงานลงโปรแกรมโดยในการบันทึกข้อมูลนั้นในช่องกิจกรรม ผลดำเนินการ
อาจจะเขียนในแบบกำหนดการเช่น
08.30 - 9.00 น. นัดประชุมที่ศาลาหมู่บ ้าน 9.00 – 10.00 น. คัดเลือกทีมงานสภาผ้นู ำ ชุมชน 10.00 – 12.00 น. วางแผนการดำเนินโครงการ เขียนในแบบเล่าเรื่อง พี่น้องในชุมชนร่วมใจเดินทางมาประชุมที่ศาลาหมู่บ้าน จากการชักชวนของผู้ใหญ่และเพื่อนบ้านมานนั่งคุยคัดเลือกทีมงานสภาผู้นำชุมชน วางแผนการทำงานโครงการในอนาคตส่วนการเขียนผลสรุปที่ได้จากกิจกรรมเช่น เขียนในแบบเป็นข้อๆ ผลผลิต 1. ผ้เูข้าร่วมกิจกรรมประชุมสภา จำนวน 100 คน 2. ได้คณะทำงานสภาผู้นำชุมชน 1 ชุด ซึ่งได้คัดเลือกร่วมกันและยอมรับในชุมชน 3. ได้แผนการดำเนินงาน 1 ฉบับ ผลลัพธ์ 1. ผ้เูข้าร่วมตัดสินใจร่วมกันคัดเลือกสภาผู้นำ มีความรู้ความเช้าใจเรื่องของโครงการ 2. รายชื่อสภาผู้นำมีดังนี้โดยแบ่งหน้าที่ไว้ดังนี้ 3. แผนการดำเนินงานมีดังนี้. .......เขียนในแบบเล่าเรื่อง........ ผลผลิต พี่น้องในชุมชนร่วมใจเดินทางมาประชุมที่ศาลาหมู่บ้าน 100 คน ได้ประชุมคัดเลือกสภาผู้นำจำนวน 20 คน และวางแผนการดำเนินร่วมกัน ผลลัพธ์ สภาผู้นำ มี นาย.... เป็นผู้ใหญ่บ้านนางสาว........เป็น อสม. นาง....../ แบ่งหน้าที่ประธานดูแลตัดสินใจทั้งหมด เลขาทำหน้าที่จดประชุม ประสานงาน....../ ได้วางแผนกันต่อไปว่าจะทำ.....ประชุมทุกวันที่ 10 ของเดือน........

และอย่าลืมคลิ๊กเลือกการประเมินกิจกรรมด้วยว่ามีผู้เข้าร่วมในเกณฑ์ระดับไหน และก็การบันทึกรายการการเงิน

แนะนำการแยกประเภทของงบประมาณคือ 1)ค่าตอนแทนเช่นค่าวิทยากรค่าเจ้าหน้าที่ช่วยจัดการประชุมค่าการประสานงาน 2)ค่าจ้างเช่นค่าจ้างทำป้ายไวนิล 3)ค่าใช้สอยเช่นค่าที่พักค่าอาหารค่าห้องประชุมค่าถ่ายเอกสารค่าเดินทางค่าเช่ารถค่านำ้มันรถ 4)ค่าวัสดุเช่าค่ากระดาษปากกา 5)ค่าสาธารณูปโภคเช่นค่าส่งไปรษณีย์ค่าโทรศัพท์

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ พบว่า 1.ตัวแทนโครงการเข้าร่วมกิจกรรม 2คน
2.ได้ฝึกการบันทึกลงเวปไซด์ 1 กิจกรรม
3.ได้ฝึกทำบัญชีเงินสดและการจ่ายภาษีณ ที่จ่าย 1 ชุด 4.มีความรู้และเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับการเขียนผลลัพธ์ ผลผลิต 5.มึความรู้และเข้าใจเรื่องภาษีและสามารถบันทึกข้อมูลภาษีได้
6.ได้เรียนรู้การบันทึกกิจกรรมในเว็บไซต์ในการบันทึกรายละเอียดของการดำเนินกิจกรรมและผลการดำเนินกิจกรรมอาจจะเขียนเป็นข้อหรือการเขียนแบบเล่าเรืองก็ได้ 7.ได้เรียนรู้การทำบัญชีด้านการเงิน การดูรายละเอียดของใบเสร็จ ว่าต้องมีรายละเอียดครบตามที่กำหนด 8.ได้เข้าใจการแยกประเภทของงบประมาณ คือค่าตอบแทนค่าใช้สอยค่าจ้างค่าวัสดุค่าสาธารณูปโภค

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

บางกิจกรรมได้บันทึกกิจกรรมไปบ้างแล้วแต่ไม่ครบถ้วนแก้ไขโดยการไปบันทึกเพิ่มเติมให้มีรายละเอียดที่ชัดเจนขึ้น

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมสภาผู้นำครั้งที่37 ธันวาคม 2015
7
ธันวาคม 2015รายงานจากพื้นที่ โดย dadchanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประชุมจัดตั้งสภาผู้นำ และงางแผนการการทำกิจกรรมในโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมประชุมสภาผู้นำครั้งที่ 3 ณ ศาลาเอนกประสงค์บ้านสวนขันโดยเริ่มประชุมใน 13.00น. วาระที่ 1 ประธานแจ้งให้ทราบ โดยนางดัชนีย์มัชฉิมวงศ์ กล่าวต้อนรับในผู้เข้าร่วมประชุมและแจ้งที่ประชุมให้ทราบถึงกิจกรรมที่ผ่านมา คือ กิจกรรมการจัดทำและออกแแบสำรวจ เพื่อใช้ในการสำรวจข้อมูลในชุมชนบ้านสวนขัน ซึ่งแบบสอบถามนี้ได้ร่วมกันออกแบบของคนในชุมชนบ้านสวนขันเองซึ่งก็ถือว่าเป็นความภาคภูมิใจที่ชาวสวนขันได้ร่วมกันคิดแบบสอบสอบถามในการเก็บข้อมูลนี้ขึ้นมาซึ่งข้อมูลที่ได้ออกแบบนั้นก็ได้ร่วมกันเสนอกันมาให้เก็บข้อมูลในเรื่องของข้อมูลทั่วไปของครัวเรือนข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพเกี่ยวกับเศรษฐกิจในครัวเรือน ข้อมูลเกี่ยวกับการหาอาชีพเสริมการ ประกอบอาชีพ ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้จ่ายรายได้หนี้สิน เงินออม ความต้องการการใช้ปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพการเพาะเห็ดนางฟ้าและข้อมูลพื้นฐานของชุมชน และก็ได้มอบหมายให้คุณคมเดชไปจัดทำแบบสอบถามมาแล้วก็จะใช้ในกิจกรรมสำรวจ

วาระที่ 2 เรื่องพิจารณาโดยนางดัชนีย์มัชฉิมวงศ์ เสนอให้ที่ประชุมเสนอชื่อนักปราชญ์ชุมชนที่มีความรู้ความสามารถ ในการที่จะถ่ายทอดความรู้เพื่อมาเป็นวิทยากรการเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ และการเพาะเห็ดนางฟ้าที่ประชุมมีมติเสนอให้นายคมเดชมัชฉิมวงศ์ให้เป็นนักปราชญ์ ในเรื่องของปุ๋ยหมักชีวภาพและเสนอให้ นางสาวสุภาพร ชัยชาญเป็นนักปราชญ์ในเรื่องของการเพาะเห็ดนางฟ้าที่ประชุมได้เห็นชอบด้วย และได้นัดหมายกิจกรรมในครั้งต่อไปคืออบรมการเขียนรายงานและเอกสารการเงิน ร่วมกับ สจรส.มอ. ที่ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในวันที่ 7 ตุลาคม 2559
และกิจกรรมสำรวจข้อมูลซึ่งมีกิจกรรม 2 ครั้งด้วยกันคือกิจกรรมสำรวจข้อมูลครั้งที่ 1 คือวันที่ 14 ธันวามคม ครั้งที่ 2 คือวันที่ 23 ธันวาคม 2558โดยในวันที่ 14 ธันวาคม 2558 นี้นัดรวมตัวกันก่อนที่ วัดสวนขันเพื่อทำความเข้าใจและเตรียมความพร้อมกันก่อนลงสำรวจ ส่วนการประชุมในครั้งต่อไป การประชุมสภาชุมชนครั้งที่ 4 ในวันที่ 7 ม.ค.2559

สำหรับข้อคำถามที่นำมาใช้ประกอบครั้งนี้
ข้อคำถามประกอบด้วย 1.ครัวเรือนประกอบกิจกรรมทางการเกษตรกี่ครัว 2.ปีนี้ครัวเรือนติดต่อซื้อ-ขายผลผลิตทางการเกษตรหรือไม่
3.ครัวเรือนเลี้ยงสัตว์เพื่อจำหน่ายหรือไม่ 4.รายได้หลักของครอบครัวมาจากอาชีพไหน 5.รายได้เฉลี่ยของครัวเรือน 6.ครัวเรือนมีหนี้สินหรือไม่ 7.คนในครัวเรือนส่วนใหญ่รับข้อมูลข่าวสารจากไหน 8. คนในครอบครัวเป็นสมาชิกหรือเข้าร่วมในกลุ่มหรือโครงการต่างๆในชุมชนหรือไม่ 9.คนใน ครัวเรือนคุมกำเนิดหรือไม่ 10.ปีนี้ ในครัวเรือนของท่านมีหญิงคลอดกี่คน 11.ในครัวเรือนมีเด็กอายุแรกเกิดถึง 5 ปีกี่คน 12.ปีที่ผ่านมามีคนในครัวเรือนของท่านเสียชีวิตหรือไม่ 13.ในรอบ 6 เดือน มีคนในครอบครัวของท่านเจ็บป่วยหรือมไ 14.ปีที่ผ่านมา สถานพยาบาลใดที่ท่านใช้บริการบ่อยครั้งที่สุด
15.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ท่านดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือไม่ 16.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาท่านและคนในครัวเรือนดื่มเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน หรือไม่ 17.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาท่านและคนในครัวเรือนของท่านดื่มเครื่องดื่มชูกำลังหรือไม่ 18.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาคนในครัวเรือนของท่านมีผู้สูบบุหรี่หรือไม่ 19.คนในครัวเรือนของท่านรับประทานอาหารสุกๆดิบๆหรือไม่ 20.ในรอบปีที่ผ่านมา ครัวเรือนของท่านใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชหรือไม่ 21. ครัวเรือนท่าน ได้รับความรู้ข่าวสารด้านสุขภาพจากแหล่งใดมากที่สุด 22.ครัวเรือนมีคอกหรือกรงสัตว์ในบริเวณบ้าน
23.ครัวเรือนมีน้ำดื่มเพียงพอหรือไม่ 24.ครัวเรือนมีถังขยะหรือไม่ 25.ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะหรือไม่

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ พบว่า 1.มีผู้เข้าร่วมการประชุม 30 คน 2.ได้มีการวางแผนการทำโครงการครั้งต่อไป คือ ได้นัดกันเพื่อที่จะลงสำรวจข้อมูลในชุมชนและได้มอบหมายให้จัดทำแบบสำรวจให้เรียบร้อย 3.ได้เสนอให้มีปราชญ์ชุมชน ในเรื่องของปุ๋ยหมักชีวภาพ และการเพาะเห็ดนางฟ้าซึ่งได้เสนอให้นายคมเดชมัชฉิมวงศ์ให้เป็นนักปราชญ์ ในเรื่องของปุ๋ยหมักชีวภาพและเสนอให้ นางสาวสุภาพร ชัยชาญเป็นนักปราชญ์ในเรื่องของการเพาะเห็ดนางฟ้า 4.นัดประชุมครั้งตอไปในวันที่ 7 ม.ค.2559

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

ผู้นำชุมชนและคณะทำงาน 10คนประชาชน20คน รวม 30 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

จัดทำแบบสำรวจข้อมูล14 พฤศจิกายน 2015
14
พฤศจิกายน 2015รายงานจากพื้นที่ โดย dadchanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อจัดทำแบบสำรวจข้อมูลพื้นฐานสวนขัน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมจัดทำแบบสำรวจข้อมูลโดยประชุมที่ห้องประชุมเทศบาลสวนขันม.1บ้านสวนขัน ซึ่งจะมีกลุ่ม อสม. เยาวชน ผู้นำชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ โดยนางดัชนีย์มัชฌิมวงศ์ ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวต้อนรับ และยินดีกับทุกคนที่เข้ามามีสวนร่วมในการทำกิจกรรมในการพัฒนาชุมชนในครั้งนี้ซึ่งทุกคนก็อยากจะเห็นความเปลี่ยนแปลงของชุมชนจึงได้เสียสละเวลามาร่วมกันในครั้งนี้ ต่อมานางดัชนีย์ มัชฌิมวงศ์ ก็ได้ชี้แจงกิจกรรมที่ทำในวันนี้คือการร่วมระดมความคิดแลกเปลี่ยนความรู็กันร่วมกันในการทำแบบสำรวจข้อมูลของชุมชน เพื่อสำรวจข้อมูลพื้นฐานครัวเรือน โดยใช้แบบสำรวจที่ร่วมกันคิดและออกแบบในวันนี้หลังจากนั้นก็ให้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นและก็ร่วมกันทำแบบสำรวจในครั้งนี้และได้แจ้งให้ทราบว่าการกิจกรรมสำรวจข้อมูลนี้ จะมีด้วยกัน 2 วัน คือในวันที่ 14 ธันวาคม 2559และวันที่ 23 ธันวาคม 2558 นการออกสำรวจก็จะมีเยาวชนที่สมัครใจเข้ามาร่วมในกิจกรรมด้วย หลังจากน้ันก็ได้ร่วมกันออกแบบสำรวจกันมาโดยให้เสนอมาว่าจะเก็บข้อมูลในเรื่องใดบ้างก็ได้เสนอกันมาให้เก็บในเรื่องของข้อมูลทั่วไปของครัวเรือนข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพเกี่ยวกับเศรษฐกิจในครัวเรือนเกี่ยวกับการหาอาชีพเสริมการประกอบอาชีพข้อมูลเกี่ยวกับการใช้จ่ายรายได้หนี้สิน เงินออม ความต้องการการใช้ปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพการเพาะเห็ดนางฟ้าและข้อมูลพื้นฐานของชุมชนหลังจากนั้นก็ร่วมกันคิดข้อคำถามในแต่ละหัวข้อ แต่ละประเด็นไปหลังจากนั้นก็ได้มอบหมายให้นายคมเดชมัชฉิมวงศ์ได้ไปทำแบบสอบถามโดยให้นำไปพิมพ์และถ่ายเอกสาร เพื่อที่จะได้ทำการลงสำรวจในครั้งต่อไป กิจกรรมในวันนี้ทุกคนก็ร่วมระดมความคิดเห็นต่างๆเพื่อที่จะเป็นแบบสำรวจเพื่อจะนำไปพัฒนาหมู่บ้านทุกคนหัวเราะยิ้มแย้มแจ่มใส และมีพลังที่จะช่วยเหลือในกิจกรรมต่างๆต่อไป

ข้อคำถามประกอบด้วย ข้อคำถามประกอบด้วย 1.ครัวเรือนประกอบกิจกรรมทางการเกษตรกี่ครัว 2.ปีนี้ครัวเรือนติดต่อซื้อ-ขายผลผลิตทางการเกษตรหรือไม่
3.ครัวเรือนเลี้ยงสัตว์เพื่อจำหน่ายหรือไม่ 4.รายได้หลักของครอบครัวมาจากอาชีพไหน 5.รายได้เฉลี่ยของครัวเรือน 6.ครัวเรือนมีหนี้สินหรือไม่ 7.คนในครัวเรือนส่วนใหญ่รับข้อมูลข่าวสารจากไหน 8. คนในครอบครัวเป็นสมาชิกหรือเข้าร่วมในกลุ่มหรือโครงการต่างๆในชุมชนหรือไม่ 9.คนใน ครัวเรือนคุมกำเนิดหรือไม่ 10.ปีนี้ ในครัวเรือนของท่านมีหญิงคลอดกี่คน 11.ในครัวเรือนมีเด็กอายุแรกเกิดถึง 5 ปีกี่คน 12.ปีที่ผ่านมามีคนในครัวเรือนของท่านเสียชีวิตหรือไม่ 13.ในรอบ 6 เดือน มีคนในครอบครัวของท่านเจ็บป่วยหรือมไ 14.ปีที่ผ่านมา สถานพยาบาลใดที่ท่านใช้บริการบ่อยครั้งที่สุด
15.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ท่านดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือไม่ 16.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาท่านและคนในครัวเรือนดื่มเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน หรือไม่ 17.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาท่านและคนในครัวเรือนของท่านดื่มเครื่องดื่มชูกำลังหรือไม่ 18.ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาคนในครัวเรือนของท่านมีผู้สูบบุหรี่หรือไม่ 19.คนในครัวเรือนของท่านรับประทานอาหารสุกๆดิบๆหรือไม่ 20.ในรอบปีที่ผ่านมา ครัวเรือนของท่านใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชหรือไม่ 21. ครัวเรือนท่าน ได้รับความรู้ข่าวสารด้านสุขภาพจากแหล่งใดมากที่สุด 22.ครัวเรือนมีคอกหรือกรงสัตว์ในบริเวณบ้าน
23.ครัวเรือนมีน้ำดื่มเพียงพอหรือไม่ 24.ครัวเรือนมีถังขยะหรือไม่ 25.ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะหรือไม่

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ พบว่า 1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 30 คน
2.มีแบบสำรวจข้อมูลพื้นฐานของชุมชนบ้านสวนขัน1ชุด 3.การมีส่วนร่วมในการคิดและออกแบบแบบสำรวจข้อมูลคือ การได้ร่วมกันเสนอความคิดและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการออกแบบสำรวจข้อมูลชุมชนบ้านสวนขันเพื่อใช้ในการสำรวจข้อมูลในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานแลผู้นำชุมชน10คนนักเรียน10 คนอสม. 10คน รวม 30 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมสภาผู้นำครั้งที่27 พฤศจิกายน 2015
7
พฤศจิกายน 2015รายงานจากพื้นที่ โดย dadchanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประชุมวางแผน และติดตามการทำโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมประชุมสภาผู้นำบ้านสวนขันครั้งที่2 ณ วัดสวนขัน
โดยนางดัชนีย์มัชฌิมวงศ์ผู้รับผิดชอบโครงการได้กล่าวนมัสการ พระครูกิตติวิมลเจ้าอาวาสวัดสวนขันซึ่งได้เข้าร่วมการประชุมด้วย และกล่าวทักทายผู้ที่เข้าร่วมประชุม และได้ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการ ซึ่งวันนี้รู้สึกดีใจที่ท่านเจ้าอาววาสวัดสวนขันได้เข้าร่วมประชุมด้วยวันนี้ซึ่งท่านก็เป็นที่ปรึกาาของโครงการและเป็นผู้ให้สถานที่ภายในวัดในการจัดกิจกรรมและได้ให้การสนับสุนกิจกรรมต่างๆเรื่อยมา ซึ่งการทำโครงการก็ยังจะต้องใช้พื้นที่วัดบ้างในการทำกิจกรรมท่านก็ยินดีที่จะให้ใช้ได้สถานที่ ผลการประชุมในครั้งที่ผ่านมา ชี้แจงถึงกิจกรรมในครั้งต่อไปคือกิจกรรมจัดทำแบบสำรวจข้อมูลโดย ให้คณะทำงานจะประสานขอความร่วมมือกับกลุ่ม เจ้าหน้าที่ รพ.สต. ผู้ใหญ่บ้านผู้นำชุมชนอสม. และเยาวชน ตัวแทนชุมชน ะร่วมระดมความคิดเพื่อร่วมกันกันคิดออกแบบสำรวจและแนวทางการเก็บข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาหมู่บ้านโดยแบ่งให้คณะทำงานไปประสานกับเจ้าหน้าที่ รพ.สต. ผู้ใหญ่บ้านผู้นำชุมชนอสม. คุณครูนักเรียนและเยาวชน ให้มาร่วมในกิจกรรมในครั้งต่อไปคือการจัดทำและออกแบบสำรวจข้อมูล ในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2558นี้

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ พบว่า 1.มีผู้เข้าร่วมประชุม 30 คน 2.ได้มีการวางแผนในกิจกรรมครั้งต่อไปคือ การจัดทำแบบสำรวจข้อมูล
3.ได้มีสถานที่ในการจัดกิจกรรม คือ ที่วัดสวนขัน 4.ได้นัดทำกิจกรรมการออกแบบสำรวจข้อมูลในวันที่ 14 พฤศจิกายน2558

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

ผู้นำชุมชนและคณะทำงาน 10คนประชาชน20คน รวม 30 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมสภาผู้นำครั้งที่17 ตุลาคม 2015
7
ตุลาคม 2015รายงานจากพื้นที่ โดย dadchanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประชุมจัดตั้งสภาผู้นำ และงางแผนการการทำกิจกรรมในโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมประชุมสภาผู้นำบ้านสวนขัน ครั้งที่ 1 ณ ศูนย์เรียนรู้สมุนไพร ม.1 บ้านสวนขัน โดยนางดัชนีย์ มัชฌิมวงศ์ ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการทุนชุมชนสร้างรายได้บ้้นสวนขันซึ่งเป็นโครงการต่อยอด ปีที่ 2ซึ่งในปีแรกนั้น ได้ทำโครงการเกี่ยวกับสมุนไพร และได้สร้างศูนย์การเรียนรู้สมุนไพร เป็นของบ้าน สวนขัน แล้ว ซึ่งจะมีการประชุมทุกเดือน เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินกิจกรรม ซึ่งจะมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การวางแผนในการทำกิจกรรม มีการรายงานผลกิจกรรม และการติดตามความก้าวหน้าโครงการเพื่อแจ้งให้สภาชุมชนได้รับทราบ เพื่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วม เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และร่วมกันปรับปรุงกิจกรรมโดยโครงการในครั้งนี้ก็จะเป็นการนำทุนในชุมชนก็ คือทรัพยากรต่างๆที่มีในชุมชน มาสร้างให้เกิดรายได้ให้กับคนในชุมชนซึ่งในโครงการ ก็จะมีกิจกรรม คือ 1. การเรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือน 2.การเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ3.การเพาะเห็ดนางฟ้า 4. การทำการเกษตรชีวภาพซึ่งจะมีปราชญ์ในชุมชนที่มีความรู้ความสามารถมาสอนและแนะนำการทำให้กับสมาชิก และก็จะเปิดรับสมาชิกกันต่อไป วาระที่ 2เรื่องการจัดตั้งสภาผู้นำ เป็นสภาผู้นำบ้านสวนขันเพื่อดำเนินกิจกรรมในโครงการซึ่งจะให้ที่ประชุมได้เสนอมาคือ 1.นางดัชนีย์มัชฌิมวงศ์เป็นประธานโครงการ 2.นางจีรวรรณธนพรยศวัฒน์รองประธานและเลขานุการ 3.นายอำนวยพรถี่ถ้วนรองประธาน 4.นายมีชัยจันจงรองประธาน 5.นายเก่งชัยไชยรัตน์ประชาสัมพันธ์ 6.นายมณีวงเวียนที่ปรึกษาโครงการ 7.นางเรณูพูลศักดิ์เหรัญญิก 8.นายสุรินทร์รุ่งเรืองสกุลที่ปรึกษา 9.นายประทีปรัตนาประชาสัมพันธ์ 10.นายเกรียงศักดิ์ประคองศักดิ์ฝ่ายปฏิคม 11.นายศิววิชญ์ ธนพรยศวัฒน์ ที่ปรึกษา 12.นายบริรักษ์ประทุมมาศที่ทปรึกษา 13.นายมโนทำสุวรรณกุลที่ปรึกษา 14.นายหนูถิ่นยืนยง ที่ปรึกษา 15.นายคมเดชมัชฌิมวงศ์ฝ่ายทะเบียน
16.นางสายใจไชยรัตน์ผู้ช่วยฝ่ายทะเบียน 17.นายธวัชชัยธราพรปฏิคม 18.นายศุภาวรรณจิตต์ธรรมที่ปรึกษา 19.นายเดชาราชรักษ์ กรรมการ 20.นางหนูจิตรนุมาศกรรมการ 21.นายไชยยันต์พลเมือง กรรมการ 22.นางจรัสศรีกรเสน่ห์กรรมการ 23.นายวันชัยคุ้มครอง กรรมการ 24.น.ส.สุภาพรชัยชาญกรรมการ 25.นางวรรณดีกฐินหอมกรรมการ 26.นางวรรณดีโปณะทอง กรรมการ 27.นางละออง นุมาศ กรรมการ 28.นางสงบ รัตนแก้ว กรรมการ 29.นายวิชาญไชยรัตน์ กรรมการ 30.นายสมชาย เพชรประพันธ์ กรรมการ ซึ่งในที่ประชุม ก็ได้เสนอมาและทุกคนก็รับทราบปฏิบัติแลละให้ทุกคนได้ทำตามที่ที่จะได้รับมอบหมายในกิจกรรมต่อๆไป และนัดประชุมในครั้งต่อไปในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2558

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ พบว่า 1.มีผู้เข้าร่วมการประชุม 30 คน
2.มีสภาชุมชนบ้านสวนขัน 1 ชุด 30 คน 3.มีการแลกเปลี่ยนเสนอรายชื่อสภาผู้นำในหน้าที่ที่ถนัดในแต่ละคนไป 4.มีการวางแผนและติดตามกิจกรรมต่างๆของโครง 5.มีการยอมรับกันมากขึ้น มีความสัมพันธ์ที่ดีมากขึ้น คือ ได้เสนอสภาผู้นำและก็เป็นมติที่ประชุมทุกคน และก็ยอมรับได้ 6.จะมีการประชุมสภาผู้นำทุกเดือน 7.ได้ชี้แจงกิจกรรมที่จะทำของโครงการ ให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้ทราบ 8.นัดประชุมสภาผู้นำครั้งต่อไปในวันที่ 7 พ.ย.2558

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

ผู้นำชุมชนและคณะทำงาน 10คนประชาชน20คน รวม 30 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ปฐมนิเทศโครงการใหม่3 ตุลาคม 2015
3
ตุลาคม 2015รายงานจากพี่เลี้ยง โดย manoon
circle
วัตถุประสงค์

เพือปฐมนิเทศโครงการใหม่

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้ ทาง สจรส.มอ. ได้รวมกับพี่เลี้ยงจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ปฐมนิเทศโครงการใหม่ วันที่ 3 -4 ตุลาคม 2558 โดยในวันแรก ไ้ดพบกับ ผศ.ดร.พงศ์เทพ เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานตามโครงการ
วันที่สอง พี่เลี้ยงได้แนะนะวิธีการเขียนรายงานตามเอกสาร และการเขียนเอกสารทางการเงินพร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ได้ฝึกบัน่ทึกเวปไซด์โครงการ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ตัวแทนโครงการ 2 คน เข้าร่วมประชุมตามที่กำหนด 2.กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้การบันทึกเอกสาร การจัดเตรียมเอกสาร 3.กลุ่มเป้าหมายได้ฝึกปฏิบัติบันทึกในเวปไซด์

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ตัวแทน โครงการ 2  คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ปฐมนิเทศโครงการใหม่3 ตุลาคม 2015
3
ตุลาคม 2015รายงานจากพื้นที่ โดย dadchanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อปฐมนิเทศโครงการใหม่

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้ สจรส.มอ.ได้จัดปฐมนิเทศโครงการใหม่ โดย อ.พงศ์เทพ ได้ชี้แจงแนวทางการทำโครงการ วัตถุประสงค์การดำเนินงาน
อ.กำไล ได้แนะนำแนวคิดการทำโครงการ และขั้นตอนการทำโครง3 ระยะ ช่วงก่อนดำเนินงาน ระหว่างดำเนินงานและหลังดำเนินงาน อ.สุดา ได้แนะนำเรือ่งเกี่ยวกับเอกสารเงิน
อ.ถนอม ได้แนะนำเกี่ยวกับการบันทึกข้อมุลลงในเวปไซด์

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันนี้สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้คือ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 2 คน 1.เรียนรู้วิธีการดำเนินงานตามโครงการ 2.เรียนรู้วิธีการตรวจสอบเอกสารโครงการ 3.เรียนรู้วิธีดำเนินกิจกรรมตามโครงการ 4.ได้วางแผนการดำเนินงานตามโครงการ 5.ได้เรียนรู้ความเสี่ยง ต่อการดำเนินงาน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายมนูญ พลายชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี