directions_run

กลุ่มประมงบ้านบ่อเมา-แหลมแท่น รักษ์สิ่งแวดล้อม ปี3

assignment
บันทึกกิจกรรม
พี่เลี้ยงติดตามโครงการพื้นที่บ้านบ่อเมา แหลมแท่น14 ตุลาคม 2016
14
ตุลาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย cherdsak.chamnan
circle
วัตถุประสงค์

เข้าร่วมประชุมกับพี่เลี้ยง และเจ้าหน้าที่ สจรส.

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

พี่เลี้ยงลงพื้นที่พูดคุยกับคณะทำงาน ผู้รับผิดชอบโครงการ และชุมชน เพื่อสอบถามผลการดำเนินกิจกรรม ก่อน หลัง และระยะเวลาที่ทำกิจกรรม เป็นอย่างไรบ้าง เกิดผลกระทบอะไรบ้าง และผลตอบรับจากชุมชน และท้องถิ่นเป็นอย่างไร และลงพืนที่ตรวจเยี่ยมผลการดำเนินงานในพื้นที่ชุมชน พื้นที่สาธารณะ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีการพัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยวให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว เช่น แหลมแท่น มีการปรับภูมิทัศน์ได้อย่างสวยงาม เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว และมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชมบ้างประปรายมีการปรับพื้นที่อย่างสวยงามมองเห็นวิวทิวทัศน์อ่าวปะทิวในมุมกว้าง เห็นเกาะแก่งในทะเล เห็นเรือประมงลอยลำอยู่กลางทะเล เป็นมุมที่มีทัศนียภาพที่สวยงาม นอกจากนี้จากการสัมภาษณ์ชุมชนพบว่า ยังมีการนำสมาชิกในชุมชนได้เก็บขยะในพื้นที่เกาะไข่ และปรับภูมิทัศน์บนเกาะไข่ด้วยซึ่งอยู่ห่างจากชายฝั่งประมาณ ๕ กิโลเมตร แล้วนำขยะเหล่านั้นขึ้นมากำจัดบนชายฝั่ง และปัจจุบันทาเทศบาลมีการนำแผนพัฒนาพื้นที่โดยบรรจุการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวแหลมแท่น และเกาะไข่เข้าไว้ในแผนพัฒนาของเทศบาลด้วย

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 7 คน จากที่ตั้งไว้ 5 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการ คณะทำงาน และชุมชน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ติดตามเยี่ยมโครงการครั้งที่ ๓14 ตุลาคม 2016
14
ตุลาคม 2016รายงานจากพี่เลี้ยง โดย somjai
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสรุปผลการดำเนินโครงการทั้งหมดเตรียมส่งรายงานสสส.

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

พี่เลี้ยงติดตามการดำเนินงานตามกิจกรรมโครงการที่กำหนดไว้ รอบที่สองตั้งแต่

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีการดำเนินตามกิจกรรมที่กำหนดมีการปรับเปลี่ยนวันและเวลาตามความพร้อมของผู้รับผิดชอบโครงการเนื่องจากรับงานภาคประชาชนมากทำให้แผนการติดตามของพี่เลี้ยงจะไม่ตรงกับการจัดกิจกรรมต้องติดตามภายหลัง 

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 5 คน จากที่ตั้งไว้ 5 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการและทีมงาน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

การจัดกิจกรรมที่ทำแล้วจะต้องเทียบเียงกับตัวชี้วัดที่กำหนดไว้

จัดเวทีสรุปผลการดำเนินงานเพื่อคืนข้อมูลชุมชน8 ตุลาคม 2016
8
ตุลาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย cherdsak.chamnan
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเสริมสร้างบทบาทของสภาผู้นำชุมชนในการสร้างสภาพแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนและคืนข้อมูลสู่ชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดประชุมสมาชิกในชุมชน จำนวน 100 คน เพื่อนำเสนอผลการดำเนินงานของโครงการในรอบปีที่ผ่านมา ในราย 3 เดือน ดังนี้ โครงการได้มีการนำเสนอแผนงานการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน คือ แหลมแท่น เพื่อให้ชุมชนได้ร่วมกันจัดทำงบประมาณเสนอต่อแหล่งทุนอื่น ๆ ที่สามารถให้การสนับสนุนได้ ,มีการจัดทำแผนการอนุรักษ์หอยมือเสือของชุมชนหมู่ที่ 5 บ้านบางจาก โดยผู้ใหญ่สุพนัดดวงกมล ซึ่งเป็นประธานกลุ่มอนุรักษ์หอยมือเสือบ้านบางจาก ,มีการจัดทำแผนงานดูแลชายหาดทะเลชุมโค ซึ่งทางเทศบาลตำบลบลโคจะพยายามจัดทำงานท่องเที่ยวทะเลชุมโค ในทุก ๆ ปี เพื่อให้ทางกลุ่มต่าง ๆ ในพื้นที่ได้มีการส่งเสริมรณรงค์การ่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลชุมโคได้ และนอกจากนี้เทศบาลตำบลชุมโค ได้นำแผนการท่องเที่ยวทะเลชุมโคในทุก ๆ ปี โดยที่ผ่านมาจัดมาแล้ว 3 ปี ต่อเนื่องกัน ทางเทศบาลจึงต้องอาศัยสมาชิกในชุมชน และแกนนำชุมชนทั้งหลายที่ต้องร่วมด้วยช่วยกันหลาย ๆ ฝ่ายเพื่อให้ตำบลชุมโค เป็นที่รู้จักด้านการท่องเที่ยว มีทะเลที่สวยงาม มีน้ำทะเลที่ใสสะอาด มีหาดทรายสวย ตามสโลแกนที่งานอำเภอปะทิว 120 ปี ได้ตั้งไว้คือ "หาดทรายสวย 400 ลี้ 120 ปี อำเภอปะทิว" ซึ่งชายฝั่งทะเลชุมโค ก็เป็นหนึ่งใน 400 ลี้ ฉะนั้นเราต้องสร้างทัศนียภาพ และทัศนคติที่ให้คนทั้งประเทศและนักท่องเที่ยวยอมรับในความสวยงามตามธรรมชาติของชายฝั่งทะเลชุมโค และหนังจากนี้ เศรษฐกิจรายได้กับชุมชนท้องถิ่น ธุรกิจร้านค้าทั้งเล็กใหญ่อาจจะดีขึ้นมาตามลำดับ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ และรับรู้เกี่ยวกับกิจกรรมการดำเนินงานตามโครงการที่ทางผู้รับผิดชอบโครงการ ได้นำเสนอให้ทราบ และเกิดการพัฒนากิจกรรมข้้นต่อไปโดยชุมชนสามารถขับเคลื่อนร่วมกันในสมาชิกผู้นำชุมชน และทางเทศบาลสามารถนำแผนงานต่าง ๆ ที่ทางโครงการได้จัดทำขึ้น ไปนำสู่แผนเทศบาลได้ตามความเหมาะสม ก่อเกิดการพัฒนาขับเคลื่อนตามแนวทางชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ได้

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 100 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

ประชาชนในพื้นที่หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 5 หมู่ที่ 6 โดยแบ่งเป็นนักเรียนในสถานศึกษาในชุมชน จำนวน 20 คน ชุมชนวัยทำงานในชุมชน 50 คน ชุมชนผู้สูงอายุ ในชุมชน 30 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

มีการปรับเปลี่ยนวิถีการประกอบอาชีพตามสภาพดินฟ้าอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลงในทุกฤดูกาลและทุกปี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-นางสมใจด้วงพิบูลย์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เข้าร่วมกิจกรรมกับสจรส.และพี่เลี้ยงโครงการ "งานคนใต้สร้างสุข"5 ตุลาคม 2016
5
ตุลาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย cherdsak.chamnan
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเข้าร่วมประชุมกับ สสส.และ สจรส.ม.อ.

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 3-5 ตุลาคม 2559 เข้าร่วมกิจกรรม คนใต้สร้างสุข ณ  อาคารหอประชุมนานาชาติ มอ.หาดใหญ่ จ.สงขลา  ซึ่งประกอบไปด้วยลานสร้างสุข นิทรรศการของเครือข่ายต่าง ๆ ระดับชุมชน 14 จังหวัดภาคใต้ เช่น ผลิตภัณฑ์ชุุมชน สินค้าชุมชน  และการประชุมห้องย่อยต่างๆ เช่น การท่องเที่ยวชุมชน ,สมัชชาสุขภาพ,กองทุนหลักประกันสุขภาพ ,ชุมชนน่าอยู่ ,เด็กและเยาวชน โดยทางโครงการได้เข้าร่วมภายในห้องสมัชชาสุขภาพ ทำให้ทราบทิศทางการขับเคลื่อนของภาคีเครือข่ายระดับจังหวัด กลุ่มจังหวัด เพื่อขับเคลื่อนงานด้านการส่งเสริมชุมชนสุขภาพดีถ้วนหน้า นอกจากนี้ทางโครงการได้นำนิทรรศการไปจัดภายในงานเพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานได้รับชมในโมเดล การสร้างประการังเทียมที่เกาะไข่ 

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการเข้าร่วมประชุมติดตามโครงการกับพี่เลี้ยงและเจ้าหน้าที่ สจรส.มอ ทำให้ทราบแนวทางการรายงานโครงการที่ถูกต้อง การบันทึกรายงาน ,การจัดทำบัญชีการใช้จ่ายเงิน ซึ่งที่ทำไปบางส่วนยังไม่ถูกต้องนักต้องแก้ไข โดยทางเจ้าหน้าที่ได้สอบถามรายละเอียดการจัดกิจกรรมแต่ละกิจกรรมที่ทางโครงการได้ขับเคลื่อน และการบันทึกในรายงานควรมีการบันทึกอย่างละเอียดตามขั้นตอนที่จัด และเขียนผลลัพท์และตัวชี้วัดที่ถูกต้อง จากการเข้าร่วมเวที"คนใต้สร้างสุข" ทำให้มองเห็นภาพการทำงาน และการขับเคลื่อนของกลุ่มภาคีเครือข่ายงานด้านสุขภาพชุมชน เครือข่ายชุมชนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนที่ทำงานคู่ขนานกันไป และเชื่อมร้อยเป็นภาคีเครือข่ายตั้งแต่ระดับชุมชน อำเภอ จังหวัดและระดับภาคใต้ ตลอดจนระดับประเทศ เกิดประสบการณ์ที่กว้างขวาง ภายในงานเต็มไปด้วยบูชนิทรรศการ โชว์ผลการดำเนินงาน และบูชสินค้าในชุมชน กิจกรรมสันทนาการให้เล่น ซึ่งผู้เข้าร่วมงานสามารถเยี่ยมชมและร่วมกิจกรรมได้ทุกบูช นอกจากนี้ยังมีห้องบรรยาย การนำเสนอข้อมูลด้านวิชาการต่าง ๆ ให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับฟังความรู้ต่าง ๆ ด้านการส่งเสริมสุขภาพอย่างเต็มรูปแบบหลายเรื่องราว ตามห้องย่อยต่าง ๆ โดยทางโครงการได้เข้าร่วมในห้องย่อยชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ทำให้ทราบแนวทางการดำเนินงานของชุมชน และผู้นำชุมชนอย่างเป็นกระบวนการชุมชนโดยอาศัยการมีส่วนร่วม ร่วมมือ ร่วมใจและร่วมปฏิบัติ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 4 คน จากที่ตั้งไว้ 4 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการ และคณะทำงานที่ร่วมทำกิจกรรม รวมจำนวน 4 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-นางสมใจด้วงพิบูลย์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เข้าร่วมประชุมกับ สสส.สจรส.มอ.และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม18 กันยายน 2016
18
กันยายน 2016รายงานจากพื้นที่ โดย cherdsak.chamnan
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสรุปงานกิจกรรมโครงการและรวบรวมเอกสารโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมร่วมกับพี่เลี้ยงโครงการ เจ้าหน้าที่ สจรส. เพื่อจัดทำรายงานปิดโครงการ และรวบรวมภาพถ่ายกิจกรรม และลงรายละเอียดในรายงานโครงการได้อย่างถูกต้องครบถ้วน ได้ใจความ และมีความสอดคล้องตามแผนงาน โดยเข้าร่วมกิจกรรมกับพี่เลี้ยงและเจ้าหน้าที่ สจรส.และโครงการอื่น ๆ เพื่อจัดทำเอกสารรายงานผลการดำเนินกิจกรรมโครงการ การรายงานผลในเว็บไซต์คนใต้สร้างสุข เอกสารการเงิน บัญชี ภาพถ่ายกิจกรรมต่าง ๆ นำมารวบรวมและลงบันทึกเพื่อความเรียบร้อยรอการตรวจจากเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ โดยเจ้าหน้าที่ได้ทำการตรวจเอกสารการเงิน ที่ทางโครงการได้จัดทำมา และมีการชี้แนะให้ปรับปรุงแก้ไขในบางส่วนที่ยังมีข้อผิดพลาดเล็กน้อย และเจ้าหน้าที่ได้ทำการตรวจการลงรายละเอียดในเอกสารรายงานผลการดำเนินงานในเว็บไซด์คนใต้สร้างสุข พร้อมกับชี้แนะการเขียนรายงานให้สอดคล้องกับหัวข้อที่ทาง สจรส.กำหนดไว้ เช่น รายละเอียดกิจกรรม,ผลลัพท์ ,ผลที่เกิดขึ้นจริง และผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เจ้าหน้าที่จาก สจรส.ได้ทำการตรวจเอกสารการเงินที่ทางผู้รับผิดชอบได้เตรียมมา และตรวจบันทึกรายงานกิจกรรมที่มีการบันทึกรายงานในเว็บไซด์ ซึ่งพบว่า การตรวจในครั้งนี้ ทั้งเอกสารการเงินและการรายงานในเว็บไซด์ยังไม่เรียบร้อย ทางเจ้าหน้าที่ได้แนะนำว่า การรวบรวมเอกสารการเงินและบัญชีโครงการ ภาพถ่ายกิจกรรม มีการตรวจความถูกต้องของการรายงานในทุก ๆ กิจกรรมเพื่อให้เป็นไปตามตัวชี้วัดที่เกิดขึ้นจริง และพี่เลี้ยงได้แนะนำว่า สิ่งที่ต้องกลับไปทำด่วน ดังนี้

๑. รายงานกิจกรรมในเว็บไซด์ให้เรียบร้อย และส่งเอกสารการเงินให้พี่เลี้ยงตรวจใหม่ทุกกิจกรรม

๒. เมื่อรายงานเรียบร้อยทุกกิจกรรมแล้วให้แจ้งพี่เลี้ยง เพื่อให้พี่เลี้ยงแจ้งต่อ สจรส.ให้ตรวจความเรียบร้อยถูกต้องของรายงานทางเว็บไซด์๓. ทาง สจรส.จะตรวจความถูกต้องของรายงาน แล้วแจ้งพี่เลี้ยงให้โครงการปริ้นเอกสารส่งมาที่ สจรส. ส่งที่ต้องส่งรายงาน ฉบับสมบูรณ์ ดังนี้

๑. รายงาน ส.๓

๒. รายงาน ง๑ งวด ๒

๓. รายงาน ง .๒

๔. รายงาน ส.๔

๕. สำเนาสมุดบัญชี ปรับยอดเป็นปัจจุบัน

เอกสารทั้งหมดให้แล้วเสร็จภายใน วันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๙

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงานโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

มีการแก้ไขตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

จัดค่ายเยาวชนอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม18 กันยายน 2016
18
กันยายน 2016รายงานจากพื้นที่ โดย cherdsak.chamnan
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเสริมสร้างบทบาทของสภาผู้นำชุมชนและเยาวชนในการสร้างสภาพแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนและคืนข้อมูลสู่ชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดอบรมเยาวชนในลักษณะค่ายเยาวชน โดยมีการบรรยายให้ความรู้เรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตั้งแต่บนบกจนถึงชายฝั่งทะเลเช่น การดูแลรักษาชายหาด การจัดการขยะในแหล่งท่องเที่ยว การปลูกป่าชายเลน การเป็นมัคคุเทศก์น้อยที่สามารถให้คำแนะนำแก่นักท่องเที่ยวได้ มีการจัดทำฐานการเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมจำนวน 4 ฐาน ดังนี้ ฐานการอนุรักษ์ป่าไม้ ,ฐานการจัดการขยะในชุมชน,ฐานการปลูกป่าและการอนุรักษ์ป่าชายเลน และฐานการเป็นจิตอาสานอกจากนี้ยังมีการจัดให้กลุ่มเยาวชนเก็บขยะในพื้นที่สาธารณะเช่น ชายหาด เกาะไข่ แหล่งท่องเที่ยวบ้านแหลมแท่น กิจกรรมการทำแผนกิจกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในชุมชน กลุ่มเยาวชนได้ร่วมกันคิดแผนงานการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในชุมชน เช่น อยากมีป่าชายเลนแปลงใหญ่ อยากมีสัตว์ทะเลจำนวนมาก ๆ เพื่อที่พวกเราจะได้กินอาหารทะเลที่สมบูรณ์ และปลอดสารพิษ, พวกเราจะร่วมด้วยช่วยกันในการดูแลรักษาทรัพยากรโดยการร่วมฟืนฟู ,ร่วมเก็บขยะ ,ร่วมปลุกป่าชายเลน และร่วมปลูกป่าไม้

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เยาวชนที่เข้ารับการอบรมและเข้าค่ายเยาวชน เกิดจิตสำนึกการอนรุักษ์สิ่งแวดล้อม และสามารถเป็นผู้นำเยาวชน เกิดความเป็นจิตอาสาการมีน้ำใจต่อเพื่อนร่วมงาน เพื่อบ้านเยาวชนเกิดจิตสำนึกรักษ์์สิ่งแวดล้อม และสามารถต่อยอดการจัดการส่ิงแวดล้อมในชุมชนโดยการสืบทอดสู่เยาวชนรุ่นน้อง ๆ ได้ในปีต่อ ๆ ไป

  • ให้เด็กและเยาวชนได้ร่วมคิด ร่วมมอง ร่วมสะท้อนปัญหาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ตำบล
  • ฝึกทักษะด้านการประชุมกลุ่ม การคิดวิเคราะห์ปัญหา การพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและการนำเสนองานต่อที่ประชุม
  • ให้เยาวชนในกลุ่มมีความสัมพันธ์กันมากขึ้นด้วยการผ่านกระบวนการทำงานร่วมกัน
  • กระตุ้นพลังกลุ่มใหญ่ ฝึกการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม ที่มีกลไก มีระบบบริหารจัดการกันเองด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม
  • ฝึกให้เยาวชนมีความอดทน ร่วมทุกข์ร่วมสุข ร่วมมือกันฟันฝ่าปัญหาอุปสรรคไปด้วยกัน

สิ่งที่ได้จากการจัดกิจกรรมในครั้งนี้

  • เกิดกลุ่มเครือข่ายเยาวชนรักสิ่งแวดล้อมที่ในพื้นที่ตำบลชุมโค
  • เด็ก-เยาวชนได้ร่วมกันคิด วิเคราะห์ สะท้อนปัญหาต่าง ๆ ในมุมมองของเด็ก-เยาวชนที่เชื่อมโยงต่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นและแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน
  • เด็ก-เยาวชนสามารถวางกลไกการทำงานร่วมกันและมีแผนกิจกรรมที่สอดคล้องกับบริบทและสภาพปัญหาสิ่งแวดล้อมของพื้นที่ตำบลชุมโค
  • ละลายพฤติกรรมให้เยาวชนได้รู้จัก คุ้นเคย และสัมพันธ์กัน
  • กระตุ้นให้เยาวชนเกิดความสนุกสนาน กล้าเล่น กล้าแสดงออก ดึงศักยภาพของแต่ละคนออกมา เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้ผู้เข้าอบรมทุกคนตื่นตัวที่จะเข้าร่วมกิจกรรมตลอดกระบวนการเรียนรู้
  • ทำความเข้าใจวัตถุประสงค์ รับทราบความคาดหวังแต่ละคน และกำหนดขอตกลงการอยู่ร่วมกัน
  • กระตุ้นพลังกลุ่ม ฝึกการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม ที่มีกลไก มีระบบบริหารจัดการกันเอง
  • ฝึกทักษะด้านการคิด วิเคราะห์ การพูด การเขียน การสื่อสารและการทำงานร่วมกันด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม
  • ให้เยาวชนได้ทำความรู้จักและสัมพันธ์กันในกลุ่มย่อยมากขึ้น
  • หล่อหลอมจิตวิญญาณ กระตุ้นพลังภายใน (จิตใจ)ให้มีใจอยากทำความดี เสียสละเพื่อคนอื่นและทำประโยชน์เพื่อสังคม
  • เอาใจผูกใจ เอาใจผูกกัน ผูกสัมพันธ์ความเป็นพี่-น้อง ที่อบอุ่น
  • ให้เยาวชนเกิดความรัก ความสามัคคี เป็นมิตรที่ดีต่อกันทั้งกลุ่มใหญ่
  • ให้เยาวชนได้แสดงพฤติกรรมและศักยภาพของตนเองออกมา เพื่อค้นหาและคัดกรองผู้นำหรือแกนนำ
  • เพื่อตัดสินใจ หล่อหลอมอุดมการณ์การเป็นผู้นำ การเสียสละและมีจิตอาสา ที่จะทำงาน เสียสละเพื่อผู้อื่นและสังคม พร้อมสืบทอดเจตนารมณ์ร่วมกัน
  • ให้เยาวชนได้เห็นตัวอย่างกลุ่มเยาวชนที่ประสบผลสำเร็จในการทำงานด้านสิ่งแวดล้อม (การริเริ่มกิจกรรม ความสำเร็จ ปัญหา อุปสรรค และแรงบันดาลใจ)
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

กลุ่มเยาวชนในพื้นที่ตำบลชุมโค และโรงเรียนต่าง ๆ จำนวน 50 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

พี่เลี้ยงติดตามโครงการพื้นที่บ้านบ่อเมา แหลมแท่น14 กันยายน 2016
14
กันยายน 2016รายงานจากพื้นที่ โดย cherdsak.chamnan
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อตรวจเยี่ยมโครงการ และพบปะพูดคุยกับสมาชิกในชุมชนของพี่เลี้ยง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

พี่เลี้ยงลงพื้นที่พบปะพูดคุยกับผู้นำชุมชน ผู้รับผิดชอบโครงการ คณะทำงาน และสมาชิกในชุมชน เพื่อสอบถามความก้าวหน้า ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการ และผลสำเร็จที่ได้รับ รวมทั้งผลตอบรับจากเทศบาลตำบลชุมโค ว่ามีผลอย่างไรบ้างในระยะที่ผ่านมา เนื่องจากโครงการนี้ เป็นโครงการที่รับงบประมาณเป็นปีที่ 3 ฉะนั้นการเชื่อมโยงกับชุมชน และภาคส่วนต่าง ๆ ต้องประสบผลสำเร็จอย่างน้อย ๘๐ เปอร์เซ็นต์ และเป็นที่ยอมรับในชุมชนได้ดี

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

พื้นที่โครงการมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่การสร้างการมีส่วนร่วมในชุมชน การพัฒนาพื้นที่สาธารณะ ตลอดจนมีการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอย่างสมบูรณ์และได้มาตรฐาน ผู้นำชุมชนให้การยอมรับและมีส่วนร่วมกับการทำงานของโครงการร่วมกับผู้รับผิดชอบโครงการ และมีการประสานงานกันได้ดี ไม่มีปัญหาอุปสรรคหรือความขัดแย้งร่วมกัน มีการประสานแผนงานของโครงการเข้ากับแผนงานชุมชนร่วมกัน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 10 คน จากที่ตั้งไว้ 10 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการ คณะทำงาน ผู้ใหญ่บ้าน และสมาชิกในชุมชน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไมมี

จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในชุมชน8 กันยายน 2016
8
กันยายน 2016รายงานจากพื้นที่ โดย cherdsak.chamnan
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเสริมสร้างบทบาทของสภาผู้นำชุมชนและเยาวชนในการสร้างสภาพแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนและคืนข้อมูลสู่ชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดประชุมโดยมีผู้ใหญ่บ้านคือ นายสมศักดิ์ เพชรคีรี ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 6 เข้ามาชี้แจงรายละเอียดกิจกรรมต่าง ๆ ที่ผ่านมาในชุมชน และในขณะนี้พบว่ามีชุมชนในพื้นที่ได้นำเรือจากภายนอกเข้ามาทำมาหากินในอ่าวบ้านเรา ซึ่งทำให้ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศชายฝั่งทะเลที่พวกเราร่วมกันดูแลรักษาทรัพยากรอยู่ จึงขอเสียงโหวตจากที่ประชุมว่า จะให้พวกเราอยู่ต่อไปหรือ ให้ออกจากพื้นที่ ซึ่งมติจากที่ประชุมครั้งนี้ในฐานะผู้ใหญ่บ้านจะมีอำนาจในการให้เขาออกไป ปรากฎว่า ที่ประชุมยกมือไม่ให้คนภายนอกเข้ามาทำมาหากินชายฝั่งที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศชายฝั่งทะเลอ่าวบ่อเมา - หินกบ มีการพูดคุยกันในเรื่องของการจัดทำกิจกรรมของกลุ่มแม่บ้าน โดย นางคำขวัญบรรจง อดีตครูโรงเรียนบ้านหินกบ ปัจจุบันทำงานในชุมชนอย่างเต็มตัว และยังเป็นประธานกลุ่มสตรีบ้านบ่อเมา ได้นำเสนอเกี่ยวกับโครงการต่าง ๆ ของกลุ่มเครือข่ายว่าจะต้องมีการระดมทุนหรืองบประมาณในการขับเคลื่อนให้กลุ่มอยู่ได้ มีเงินทุนในการจัดการกลุ่ม ทางประธานสภาองค์กรชุมชน จึงได้เสนอว่า ในปี 60 นี้ สภาฯ ชุมโคต้องมีการทำแผนเพื่อเสนองบประมาณไปยัง พอช. จึงอยากให้แต่ละกลุ่มได้เขียนคร่าว ๆ ว่าจะทำอะไร ใช้งบประมาณเท่าไหร่แล้วนำมาส่งที่ประธาน เพื่อประธานจะได้มอบให้กับทีมเลขาได้บรรจุเข้าแผนสภาฯ แล้วสภาได้ดำเนินการส่งต่อให้กับ พอช.ต่อไป

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในชุมชน เกิดแนวความคิดในการหวงแหนทรัพยากรในพื้นที่ที่ได้ร่วมกันดูแลรักษา ทำให้มีความรู้สึกว่า ชุมชนชายฝั่งร่วมเป็นเจ้าของทรัพยากรร่วมกัน และเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่มองดูว่าเกิดผลกระทบในภาพรวม ยิ่งทำให้มีพลังในการดูแลรักษาร่วมกันมากยิ่งขึ้น

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

สมาชิกในชุมชน หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 5 หมู่ที่ 6 เจ้าหน้าที่เทศบาลชุมโค และภาคีเครือข่ายการจัดการชายฝั่งทะเล

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ประสานงานต่อไปยังคนที่นำบุคคลภายนอกเข้ามาทำมาหากินในพื้นที่โดยการเจรจาไกล่เกลี่ยเพื่อต่อรอง และใช้มติที่ประชุมในการให้เหตุผลต่อบุคคลดังกล่าว

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เก็บข้อมูลรายได้หลังดำเนินโครงการ และประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้2 กันยายน 2016
2
กันยายน 2016รายงานจากพื้นที่ โดย cherdsak.chamnan
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อลดหนี้สินของคนในชุมชนทั้งสามหมู่บ้าน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประชุมเก็บข้อมูลรายได้หลังดำเนินโครงการ และรวบรวมเป็นเอกสาร 1 ชุด
  2. จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และติดตามผลงานเพื่อระดมความคิดเห็น การพัฒนาเพิ่มรายได้ และอนุรักษย์ทรัพยากร ทุก ๆ เดือน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต

  • เกิดชุดข้อมูลรายได้ชุมชน ทุก 3 เดือน และการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา ผลลัพธ์-ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการสามารถรายได้เพิ่มขึ้นและหนี้สินชุมชนลดลง มีการสรุปผลในภาพรวมของชุมชนประมงชายฝั่งอ่าวบ่อเมา - หินกบ - แหลมแท่น เพื่อเป็นข้อมูลให้กับชุมชนได้อย่างสังเขป
  • ประเภทเรือในชุมชนมีดังนี้ เรือประมงขนาดเล็ก ประมาณ 4 วา , เรือประมงขนาดกลาง ประมาณ 6 วา และเรือขนาดใหญ่ อยู่ที่ 8 วา และเมื่อในช่วงมรสุม ต้องนำเรือทั้งหมดไปจอดไว้ที่อ่าวบางสนซึ่งเป็นจุดหลบมุมของเรือประมงไม่ให้โดนคลื่นลม ผลสรุปได้ดังนี้

  • การประมงชายฝั่งหรือประมงพื้นบ้านในพื้นที่อ่าวบ่อเมา – แหลมแท่น – บางจาก

  • ชุมชนในพื้นที่ ร้อยละ 70 ประกอบอาชีพประมงชายฝั่ง หรือประมงพื้นบ้าน คือ การประมงเพื่อยังชีพหรือประมงขนาดเล็ก โดยทั่วไปใช้เรือขนาดเล็ก เช่น เรือพื้นบ้านโดยมีเครื่องยนต์ติดเข้าไปด้วย ทำการประมงโดยใช้เครื่องมือประมง เช่น แหหรือเบ็ดแบบง่ายๆประมงพื้นบ้านตำบลชุมโคเป็นการประมงเพื่อยังชีพ หาอาหาร สร้างรายได้ และก่อให้เกิดการสร้างงานในท้องถิ่น ซึ่งปริมาณการจับสัตว์น้ำจากการทำประมงพื้นบ้านคิดเป็นร้อยละ 10 จากปริมาณผลผลิตสัตว์น้ำจากการประมงทะเลทั้งหมด

  • การบริหารจัดการประมงชายฝั่งตำบลชุมโค ยังจำเป็นที่จะต้องเกี่ยวข้องโดยตรงภาครัฐ เนื่องจากมี พรบ.ปี ๕๙ เป็นกฎหมายภาคประชาชนที่นำมาบังคับใช้กับชุมชนประมงชายฝั่งในขณะนี้ เป็น พรบ.ที่ออกมาสด ๆ ร้อนๆชาวประมงทะเลพื้นบ้านส่วนใหญ่นับว่ายังมีฐานะความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจและสังคมที่ด้อยกว่าชนกลุ่มอื่น การพัฒนาประมงทะเลพื้นบ้าน โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในพื้นที่จังหวัดชุมพร ทำให้มีกิจกรรมการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน การพัฒนาอาชีพ การจัดตั้งสหกรณ์การประมง การจัดการประมงชายฝั่ง การแปรรูปสัตว์น้ำและโภชนาการ ตลอดจนฝึกอบรมให้ประชาชนริมฝั่งทะเลประกอบอาชีพประมงและอาชีพต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด การแบ่งเขตพื้นที่ทำการประมงในอ่าวบ่อเมา – บางจาก – แหลมแท่น ได้กำหนดไว้ ประมาณ 5000 เมตร โดยห้ามเรืออวนล้อม อวนรุนเข้ามาทำการประมงในพื้นที่อย่างเคร่งครัด หากมีการฝ่าฝืน ทางผู้นำชุมชนสามารถแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าจับกุมหรือตักเตือนได้
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

คนวัยทำงาน 20 คน และกลุ่มผู้สูงอายุ 10 คน ซึ่งอยู่ในหมู่ที่ 1 หมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 6 ซึ่งเป็นชุมชนเกษตรกร และประมงชายฝั่งทะเลชุมโค

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เก็บข้อมูลรายได้หลังดำเนินโครงการ และประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้22 สิงหาคม 2016
22
สิงหาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย cherdsak.chamnan
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อลดหนี้สินของคนในชุมชนทั้งสามหมู่บ้าน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประชุมเก็บข้อมูลรายได้หลังดำเนินโครงการ และรวบรวมเป็นเอกสาร 1 ชุด
  2. จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และติดตามผลงานเพื่อระดมความคิดเห็น การพัฒนาเพิ่มรายได้ และอนุรักษย์ทรัพยากร ทุก ๆ เดือน รวม 10 ครั้ง ๆ ละ 30 คน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต

  • เกิดชุดข้อมูลรายได้ชุมชน ทุก 3 เดือน และการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา

ผลลัพธ์

  • ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการสามารถรายได้เพิ่มขึ้นและหนี้สินชุมชนลดลง

สรุปผลภาพรวมของชายฝั่งทะเลตำบลชุมโค

  • บริเวณชายฝั่งทะลอำเภอปะทิวเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ ประกอบด้วย ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ ทั้งพืชและสัตว์ และลักษณะกายภาพของแนวสันทรายบางเบิดที่มีเอกลักษณ์เฉพาะพื้นที่ซึ่งเป็นสันทรายที่ใหญ่และสูงที่สุดในประเทศไทย เม็ดทรายก่อตัวเป็นกำแพงสูงตลอดแนวทรายหาดยาวประมาณ 10 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่กว่า 2,000 ไร่ ซึ่งเกิดจากกระบวนการทางธรรมชาติโดยเกิดจากลมที่พัดแรงสม่ำเสมอต่อเนื่องยาวนานและในประเทศไทยพบได้เพียงแห่งเดียว พื้นที่ในทะเลตามแนวชายฝั่งทะเล ประกอบด้วย แหล่งทรัพยากรที่สำคัญ เช่น แหล่งหญ้าทะเล ดอกไม้ทะเล ปะการัง และยังพบว่ามีสัตว์ทะเลที่หากยาก เช่น วาฬ โลมา เต่าทะเล พะยูน ฯลฯ จำนวนหนึ่งหากินอยู่ในพื้นที่บริเวณชายฝั่งอำเภอปะทิว นอกจากนี้ยังพบว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นแหล่งอาศัยและแหล่งหาอาหารของสัตว์เศรษฐกิจ เช่น ปลาทู หอยมือเสือ หอยกระต่าย เป็นต้น สำหรับพื้นที่รอยต่อระหว่างพื้นทะเลกับพื้นดินเป็นบริเวณที่อุดมสมบูรณ์ด้วยป่าชายเลน ป่าชายหาด ป่าพรุ สันทราย และหาดทรายที่สวยงาม พื้นที่นี้เป็นแหล่งอาหารของนกหลายประเภท เช่น นกหัวโตทรายเล็ก นกอีก๋อยเล็ก นกยางควาย และนกกาฮัง ซึ่งอยู่ที่เกาะเวียง เป็นต้น ส่วนพื้นที่บนแผ่นดินของอำเภอปะทิว ประกอบด้วยพื้นที่ป่าบก ซึ่งถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ รวม 12 แห่ง พื้นที่นี้เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ป่าคุ้มครองหลายชนิด เช่นค่างแว่น ลิ่น เม่น เต่าเหลือง และเลียงผา เป็นต้น และเป็นแหล่งของพันธุ์พืชหายากหลายชนิด เช่น กล้วยไม้ป่าตระกูลแวนด้าซึ่งปัจจุบันยังไม่เอกสารรายงานว่าพบกล้วยไม้ชนิดนี้ ในบริเวณอื่นนอกจากบริเวณพรุหนองยายชี พญามือเหล็ก จันทร์ผา เป็นต้น

  • ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมความสมดุลระหว่างการใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติในพื้นที่ ซึ่งจะทำให้การใช้ประโยชน์ทรัพยากรเป็นไปอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชนในพื้นที่ และแหล่งทรัพยากรธรรมชาติสามารถฟื้นฟูสภาพตามธรรมชาติได้ จึงจำเป็นต้องมีแผนการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ควบคู่และสอดคล้องกับมาตรการคุ้มครอง ป้องกันคุณภาพทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บริเวณชายฝั่งทะเลอำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร ซึ่งจะนำไปสู่ความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและความปกติสุขของวิถีชีวิตชุมชนในพื้นที่ ป่าชายเลน

  • การใช้ประโยชน์ที่มากเกินไป การบุกรุกป่าชายเลนเพื่อหาผลผลิตจากป่าโดยตรงจนเกินขีดความสามารถของป่า ตลอดจนการอนุญาตให้เข้าตัดฟันป่าไม้ชายเลนมากเกินไป การแปรสภาพป่าชายเลน กิจกรรมต่าง ๆ เช่น การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งการทำบ่อปลา การทำนากุ้ง การก่อสร้างท่าเทียบเรือ อู่ซ่อมเรือ การทำเหมืองแร่ การทำการเกษตรกรรม การพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมชายฝั่งทะเล การพัฒนาเป็นที่อยู่อาศัยรวมถึงการระบายน้ำเสียจากชุมชน ลงสู่ป่าชายเลน ทำให้พื้นที่ป่าชายเลนเสื่อมโทรมและลดลง มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมบริเวณใกล้เคียงด้วย กิจกรรมการใช้ประโยชน์จากป่าชายเลนที่มากเกินไป จนก่อให้เกิดผลกระทบในทางลบต่อพืชและสัตว์หลายชนิดในป่าชายเลนและยังก่อให้เกิดผลกระทบทางด้านกายภาพ และเคมีภาพต่อป่าชายเลนอีกด้วย เช่นอุณหภูมิน้ำ ปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำ ปริมาณธาตุอาหาร สภาพทางอุทกวิทยา (การขึ้นลงของน้ำทะเลและปริมาณน้ำจืด) การตกตะกอน และน้ำขุ่นข้น ปริมาณสารพิษในน้ำ และการพังทลายของดินเป็นต้นผลกระทบทางด้านชีววิทยา เช่น การเปลี่ยนแปลงชนิด ปริมาณและลักษณะโครงสร้างของพืชและสัตว์น้ำ เป็นผลกระทบต่อความสมดุลของระบบนิเวศ เช่น การสืบพันธุ์ การเจริญเติบโต การเปลี่ยนแปลงทำลายที่อยู่ การเปลี่ยนแปลงห่วงโซ่อาหาร ที่เกิดขึ้นในระบบนิเวศป่าชายเลนเอง และระบบนิเวศประเภทอื่น ๆ ในบริเวณชายฝั่งและใกล้เคียงป่าเลน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

กลุ่มอาชีพประมงชายฝั่ง,เกษตรกร ,ผู้อาศัยอยู่ชายฝั่งทะเล ซึ่งประกอบด้วย ผู้สูงอายุ ,ผู้หญิง และผู้ใช้แรงงานทั่วไป ซึ่งอยู่ในหมู่ที่ 1 หมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 6  ตำบลชุมโค  อำเภอปะทิว  จังหวัดชุมพร  จำนวน 30 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เก็บข้อมูลรายได้หลังดำเนินโครงการ และประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้11 สิงหาคม 2016
11
สิงหาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย cherdsak.chamnan
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อลดหนี้สินของคนในชุมชนทั้งสามหมู่บ้าน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประชุมเก็บข้อมูลรายได้หลังดำเนินโครงการ และรวบรวมเป็นเอกสาร 1 ชุด
  2. จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และติดตามผลงานเพื่อระดมความคิดเห็น การพัฒนาเพิ่มรายได้ และอนุรักษย์ทรัพยากร ทุก ๆ เดือน รวม 10ครั้ง ๆ ละ 30 คน

การสัมภาษณ์ชุมชนดังนี้

นายวัชระศิลปเสวตร์:อาจารย์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังวิทยาเขตชุมพร

  • สัตว์น้ำในอ่าวบางจากบ่อเมา โดยทั่วไปสามารถเก็บข้อมูลในบางส่วนได้จากกลุ่มประมงชายฝั่งในทุก ๆ เช้าที่ท่าเรือ ซึ่งในแต่ละวันปลาแต่ละชนิดที่ติดมากับอวนนั้นมีหลากหลายไม่เหมือนกันแต่ทั้งนี้บางทีก็ขึ้นอยู่กับชนิดของอวนที่ชาวประมงใช้ทำการประมง เช่น อวนปลาทู อวนปลากระบอก อวนปู ฯลฯ แต่ถึงแม้จะเป็นอวนเฉพาะในการทำการประมง แต่ก็มีชนิดของปลาอื่น ๆ ติดมาด้วยก็เป็นช่องทางหนึ่งที่สามารถเก็บข้อมูลชนิดของปลาได้ ส่วนการดำน้ำลงไปเก็บนั้น เป็นการเก็บข้อมูลด้านความหนาแน่นของชนิดสัตว์น้ำ และควรมีการสังเกตและเปรียบเทียบความเหมือนความต่างของชนิดสัตว์น้ำ ซึ่งในส่วนนี้เราอาจจะรู้จักชนิดของสัตว์น้ำได้ไม่ทั้งหมด จึงต้องนำชนิดของสัตว์น้ำที่เก็บได้มาเปรียบเทียบชื่อ ชนิดของข้อมูลที่ทางศูนย์วิจัยทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนกลางได้ทำการเก็บข้อมูลเบื้องต้นไว้แล้ว

นายสุพนัดดวงกมล :แกนนำกลุ่มอนุรักษ์หอยมือเสืออ่าวบ่อเมา

  • สัตว์น้ำในอ่าวบางจาก นั้นทางกลุ่มได้ทำการสำรวจเบื้องต้นไว้บ้างแล้ว และสามารถให้ข้อมูลบางส่วนได้ และพบว่า ในอ่าวบางจากนี้ มีสัตว์น้ำไม่ต่ำกว่า หมื่นชนิด ทั้งสัตว์ทะเลหายาก สัตว์ทะเลใกล้จะสูญพันธุ์ซึ่งนายสุพนัด ยังให้ข้อมูลต่อว่า ในพื้นที่บริเวณอ่าวบางจาก เคยมีแหล่งปลาพะยูนจำนวนมาก แต่ปัจจุบันไม่พบปลาพะยูนในพื้นที่ดังกล่าว แต่ยังคงเหลือแหล่งหญ้าทะเล ตั้งแต่อ่าวบางจากไปจนถึงอ่าวบ่อเมาหินกบ แต่ไม่หนาแน่นมากนักและยังมีสัตว์ทะเลสงวนอย่างน้อย ๕ ชนิดขึ้นไป เช่น หอยมือเสือ ดอกไม้ทะเล ปะการังและสัตว์ทะเลที่เป็นอาหารมีจำนวนมากพอที่จะสามารถเลี้ยงคนได้ทั้งจังหวัดชุมพร และจังหวัดใกล้เคียง หากชุมชนในพื้นที่ทำการประมงอย่างถูกวิธี ไม่ใช้ยาเบื่อเมา หรือ อวนตาถี่เกินไป และชุมชนต้องมมีจิตสำนึกร่วมกันในการดูแลรักษาทรัพยากรเหล่านี้ไว้ และที่สำคัญทะเลชุมโค และพื้นที่ตำบลชุมโคต้องไม่มีการก่อสร้างอุตสาหกรรมหนัก หรือโรงไฟฟ้าถ่านหิน นิวเคลียร์ และท่าเรือน้ำลึก หรืออุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อทะเลชุมชน และวิถีชีวิตของชุมชนอำเภอปะทิว
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต

  • เกิดชุดข้อมูลรายได้ชุมชน ทุก 3 เดือน และการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา

ผลลัพธ์

  • ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการสามารถรายได้เพิ่มขึ้นและหนี้สินชุมชนลดลง
  • จากการสำรวจชนิดและปริมาณการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นที่พบว่าชุมชนประมาณ ๖๐ เปอร์เซ็นของพื้นที่ ใช้ประโยชน์ทางอ้อมจากแหล่งน้ำ และป่าชายเลนบ้านชุมโค โดยการจับสัตว์น้ำเพื่อเป็นอาหาร ประมาณ ๕๐ เปอร์เซ็นต์และจับสัตว์น้ำเพื่อจำหน่ายเป็นรายได้เสริมประมาณ ๑๐ เปอร์เซ็นต์และนอกจากนี้ยังมีภูมิปัญญาชาวบ้านในการใช้พืชสมุนไพรในป่าชายเลนอีกด้วยและที่สำคัญ แกนนำชุมชนในพื้นที่ มีความรู้ความเข้าใจในการอนุรักษ์ป่าชายเลนและประโยชน์ของป่าชายเลนในระยะยาว ทำให้มีการรวมตัวกันเพื่อฟื้นฟูป่าชายเลนแห่งนี้ให้มีความอุดมสมบูรณ์ยิ่ง ๆ ขึ้นไป
  • ความสำคัญของป่าชายเลนบ้านชุมโค:โดยศึกษาจากการใช้ประโยชน์จากป่า และทัศนคติของชุมชนต่อการอนุรักษ์ป่าผืนนี้
  • การใช้ประโยชน์ของป่าชายเลนกับชุมชนในพื้นที่ ม. ๒ / การทำประโยชน์ในพื้นที่
  • ความสำคัญของทรัพยากรสัตว์ในอ่าวบางจาก – บ่อเมา : ศึกษาชนิดพันธุ์สัตว์น้ำและสัตว์ทั่วไปที่พบในพื้นที่ป่าชายเลนและในหมู่ที่ ๒ บ้านชุมโค และพันธุ์สัตว์น้ำในหมู่ที่ ๑ หมู่ที่ ๕ และหมู่ที่ ๖ (โดยกำหนดพื้นที่ห่างจากแนวชายฝั่งประมาณ ๒๐๐ – ๕๐๐เมตร)
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

ชุมชนกลุ่มเกษตรกร ,ชุมชนกลุ่มประมงชายฝั่ง,ชุมชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งทะเล จำนวน 3 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 5 และ หมู่ที่ 6 รวมจำนวน 30 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เก็บข้อมูลรายได้หลังดำเนินโครงการ และประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้6 สิงหาคม 2016
6
สิงหาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย cherdsak.chamnan
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อลดหนี้สินของคนในชุมชนทั้งสามหมู่บ้าน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดเก็บข้อมูลดังต่อไปนี้

  1. ชื่อ
  2. ที่อยู่
  3. ความยาวเรือที่ใช้ อายุการใช้งานค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงเรือต่อปี
  4. ประเภทที่ทำการประมง
  5. สมาชิกในครัวเรือนที่อาศัยในครัวเรือนเดียวกัน
  6. แรงงานที่ใช้ในการทำการประมง จากคนภายนอก จำนวน (คน) และจากสมาชิกในครัวเรือน จำนวน(คน)
  7. รายได้ต่อเดือน และต่อปี
  8. จำนวนวันที่ทำการประมง ต่อเดือน และต่อปี
  9. ค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนรายเดือน หักแล้วคงเหลือ ต่อเดือน ต่อปี (เช่น ค่าน้ำมัน ค่าน้ำแข็ง และค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องใช้ในการออกเรือเพื่อทำการประมง)
  10. อาชีพอื่น ที่เป็นรายได้เสริมนอกจากประมงชายฝั่ง
  11. รายได้รวม ต่อปี และค่าใช้จ่ายรวม ต่อปี
  12. ภาระหนี้สิน (แยกตามประเภท)
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต

  • เกิดชุดข้อมูลรายได้ชุมชน ทุก 3 เดือน และการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา

ผลลัพธ์

  • ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการสามารถรายได้เพิ่มขึ้นและหนี้สินชุมชนลดลง
  • ได้สำรวจความคิดเห็นชาวบ้าน ที่ตั้งอยู่รอบพื้นที่บ้านชุมโคพบว่า ที่ผ่านมาป่าชายเลนบ้านชุมโค มีสภาพเสื่อมโทรม แต่ปริมาณสัตว์น้ำที่หาได้ในลำคลองบางมูล และคลองบางสน (เชื่อมต่อป่าชายเลนบ้านชุมโค สร้างรายได้ให้กับครอบครัวประมาณ เดือนละ ไม่ต่ำจาก ๑๐,๐๐๐-๑๕,๐๐๐บาท โดยนำไปขายในตลาดสดอำเภอปะทิว ทุกวันมีชาวบ้านประกอบอาชีพดังกล่าวอยู่ประมาณ ๕ ครัวเรือนนอกจากนี้มีชาวบ้านอีกกลุ่มหนึ่งที่จับสัตว์น้ำเพื่อการบริโภคในครัวเรือนประมาณ๓๐ครัวเรือนและชุมชนได้เสนอต่อว่า หากป่าชายเลนดังกล่าวมีความอุดมสมบูรณ์เต็มพื้นที่ สัตว์น้ำคงมีหลากหลายกว่านี้มากขึ้นประมาณ ๑๐ เท่า กว่าที่เป็นอยู่
  • การประเมินค่าความสำคัญของป่าชายเลนบ้านชุมโคนอกจากจะพิจารณาจากความอุดมสมบูรณ์ของป่าแล้ว ยังต้องพิจารณาจากคุณค่าการใช้ประโยชน์จากป่า รวมถึงทัศนคติในการอนุรักษ์ป่าผืนนี้ของชุมชนที่อาศัยอยู่รอบๆ อีกด้วย
  • ชุมชนประมงชายฝั่งพื้นบ้าน เป็นวิถีชุมชนที่สอดคล้องกับธรรมชาติ ซึ่งต่างฝ่ายต่างถ้อยทีถ้อยอาศัยกันมาตลอด การตัดไม้ทำลายป่าชายเลน ก็มีการปลูกทดแทนตามผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชนสั่งสอนมาให้สำนึกในบุญคุณของต้นไม้ ที่ทำให้ชุมชนได้มีอาหารกิน มีต้นไม้สร้างที่พักอาศัย สร้างเรืออันเป็นเครื่องมือประกอบอาชีพ ต้นไม้ใหญ่เคารพสักการะ ป้องกันการโค่นทำลาย การทำประมงก็เพียงเพื่อพออยู่พอกินในการดำรงชีวิตเท่านั้น ทรัพยากรสัตว์น้ำ ป่าชายเลน และชุมชนประมง จึงการเกิดความสมดุลในการอยู่ร่วมกัน ชาวประมงก็สามารถจับสัตว์ที่มีชุมชน ในแหล่งที่สัตว์น้ำมีแหล่งเพาะพันธุ์ได้ตลอดไป
  • ต่อมาอุตสาหกรรมประมงได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ทั้งในด้านการจับสัตว์น้ำ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และการแปรรูปสัตว์น้ำ ในส่วนของการจับสัตว์น้ำ ได้มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเรือประมง เรือประมงไทยมีขนาดใหญ่ และติดตั้งอุปกรณ์เดินเรือ พร้อมเครื่องมือการทำประมงที่ทันสมัย ทำให้ประสิทธิภาพในการจับสัตว์น้ำสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ผลผลิตสัตว์น้ำของไทยที่เคยมีอยู่เพียงไม่กี่แสนตันในอดีตได้เพิ่มขึ้นมาในระดับล้านตันในระยะเวลาอันสั้น อย่างไรก็ตาม การพัฒนาอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมประมงได้ก่อเกิดปัญหาที่สำคัญ ๒ ประการ คือ

๑) ปัญหาเสื่อมโทรมของทรัพยากรประมง จากทรัพยากรได้ถูกกำหนดให้เป็นสาธารณะสมบัติที่คนไทยทุกๆคนสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเสรี จึงได้มีชาวประมงจำนวนมากเข้ามาจับสัตว์น้ำ โดยไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบใดๆที่จะเกิดขึ้นกับตัวทรัพยากร ทุกคนพยายามจับสัตว์น้ำให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ บางคนใช้เครื่องมือที่ผิดกฎหมาย เช่น การใช้ตาอวนที่มีขนาดเล็ก การใช้ไฟฟ้า และยาเบื่อเมาในการทำประมง ทำให้ทรัพยากรลดลงอย่างรวดเร็ว นอกจากนั้นแล้วการเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อมทางการประมงอันเนื่องมาจากการทำลายพื้นท้องทะเล โดยการทำประมงอวนลาก อวนรุน และการปล่อยสิ่งเน่าเสียลงสู่แหล่งน้ำต่างของบ้านเรือน และโรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้งการใช้ล้างสารเคมีต่างๆที่ตกค้างบนแผ่นดิน อันเนื่องมาจากการทำเกษตรแผนใหม่ ก็เป็นต้นเหตุอีกประการหนึ่งที่ทำให้ทรัพยากรเสื่อมโทรมอย่างรวดเร็ว

๒) ปัญหาความขัดแย้งระหว่างกลุ่มที่ใช้ทรัพยากรประมง ปัญหานี้เป็นผลอันเนื่องมาจากปัญหาแรก จากการที่ทรัพยากรประมงได้ลดน้อยถอยลงอย่างรวดเร็ว แต่จำนวนชาวประมงไม่ได้ลดน้อยถอยลงแต่อย่างใด กลับพยายามพัฒนาเครื่องมือการทำประมงของตนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ชาวประมงจึงเกิดการแย่งชิงการจับสัตว์น้ำ ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างชาวประมงกลุ่มต่างๆ เช่น กลุ่มประมงอวนลากขัดแย้งกับชาวประมงอวนลอย และลอบหมึก เป็นต้น ซึ่งนับวันความขัดแย้งจะรุนแรงมากยิ่งขึ้น เพราะเกิดการแย่งชิงทรัพยากรกันระหว่างประมงพานิชกับประมงพื้นบ้าน ทำให้ทรัพยากรประมงในแนวชายฝั่งลดน้อยถอยลงทุกวัน การเสื่อมโทรมของทรัพยากรสัตว์น้ำ เกิดจาก ๒ สาเหตุ คือ การเสื่อมโทรมโดยธรรมชาติ และการเสื่อมโทรมจากการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ สาเหตุแรกเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำ การพังทลายของดินตามชายฝั่ง การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในทะเล และการเกิดคลื่นลมอย่างรุนแรงทำให้มีผลกระทบต่อแหล่งที่อยู่อาศัย การแพร่พันธุ์ ขบวนการห่วงโซ่อาหาร และการดำเนินชีวิตของสัตว์น้ำ ส่วนสาเหตุหลักสืบเนื่องมาจากการทำประมงทะเล ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูง จึงมีการพัฒนาการประมงอย่างรวดเร็ว จนทำให้มีการประมงมากเกินไป การขาดจิตสำนึกในการทำประมง และการทำเกษตร ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำทั้งทางทะเล และน้ำจืดเสื่อมโทรม เช่น การทำประมงในฤดูวางไข่ การทิ้งสารเคมีจากปุ๋ยยาฆ่าแมลง และปล่อยน้ำเสียจากนากุ้ง ลงแหล่งน้ำ เป็นต้น

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

ชุมชนเกษตรกร , ชุมชนกลุ่มประมงชายฝั่ง ,และชุมชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งทะเล รวมจำนวน 30 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

จัดอบรมเยาวชนเรียนรู้เรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน23 กรกฎาคม 2016
23
กรกฎาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย cherdsak.chamnan
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเสริมสร้างบทบาทของสภาผู้นำชุมชนในการสร้างสภาพแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดอบรมเยาวชนในลักษณะค่ายเยาวชนอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ต่อยอดความรู้เรื่องการอนุรักษ์สิงแวดล้อม, การจัดทำฐานการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อม และร่วมทำกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ เช่น เก็บขยะในชุมชน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต

  • เยาวชนจำนวน 50 คนเกิดจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม และสามารถเป็นเยาวชนแกนนำในอนาคตได้ สร้างการมีส่วนร่วมของเยาวชนกับชุมชน

ผลลัพธ์

  • เกิดความสัมพันธ์ุอันดีร่วมกันของเยาวชนในท้องถิ่นกับชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 70 คน
ประกอบด้วย

เทศบาลตำบลชุมโค

โรงเรียนบ้านบ่ออิฐ

โรงเรียนบ้านหินกบ

โรงเรียนบ้านดอนตะเคียน

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังฯศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ที่ 3 จ. ชุมพร

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

จัดประชุมให้ความรู้กับชุมชนเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ทำประชาคมหมู่บ้าน14 กรกฎาคม 2016
14
กรกฎาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย cherdsak.chamnan
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อลดหนี้สินของคนในชุมชนทั้งสามหมู่บ้าน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เชิญวิทยากรมาอบรมบรรยายให้ความรู้กับชุมชนเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงแนวทางการบริหารจัดการชุมชน มีการจัดทำแผนชุมชน โดยนำข้อมูล จปฐ. มาวิเคราะห์ปัญหาในหมู่บ้านเพื่อมากำหนดแนวทางแก้ไขปัญหา และจัดทำโครงการเพื่อพัฒนาหมู่บ้านตามปัญหาและความต้องการของประชาชน เช่นพัฒนาหมู่บ้าน และปลูกต้นไม้เพื่อเทิดพระเกียรติด้านความมั่นคงและปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีการจัดเวรยามดูแลหมู่บ้าน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต

  • กลุ่มเด็ก เยาวชนและวัยทำงานได้รับความรู้จากเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงจำนวน 70 คน

ผลลัพธ์

  • คนในชุมชนบ้านบ่ออิฐ - แหลมแท่น จำนวนจำนวน 80 % เกิดความตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อม และการสร้างเศรษฐกิจพอเพียงในครัวเรือนเพื่อลดหนี้ ลดรายจ่าย ด้วยการปลูกผักสวนครัวกินเอง เป็นต้น
  • บทเรียนหรือวิธีปฏิบัติที่ดีขึ้นในการดำเนินงาน(วิเคราะห์/สังเคราะห์)
  1. เศรษฐกิจพอเพียงในครัวเรือนเพื่อลดหนี้ ลดรายจ่าย ด้วยการปลูกผักสวนครัวกินเอง เป็นต้น

จุดเด่นของหมู่บ้าน คือ

  1. ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการร่วมกันพัฒนาเช่น การปลูกป่า ปลูกป่าชายเลน เก็บขยะชายหาด เก็บขยะบนเกาะไข่
  2. ด้านเศรษฐกิจชุมชน ครัวเรือนสามารถพึ่งตนเองได้ ด้วยกิจกรรมการลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้มากขึ้น ได้แก่
  • การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรที่มีในชุมชนเพื่อสร้างรายได้ให้กับครัวเรือน เช่น การทำปุ๋ยอินทรีย์ การทำกะปิ ,ปลาเค็ม หมึกแห้ง ฯลฯ
  • กิจกรรมปลูกผักสวนครัวทุกครัวเรือน, ลดการใช้ปุ๋ยเคมีเพิ่มการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ น้ำหมักชีวภาพ, การทำเครื่องจักสานใช้เอง, เผาถ่านใช้เอง

3.ด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่น ได้แก่ กิจกรรมวันสงกรานต์มีการจัดรดน้ำขอพรผู้สูงอายุ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 70 คน จากที่ตั้งไว้ 70 คน
ประกอบด้วย

นักเรียน20คน

วัยทำงาน 30 คน

ผู้สูงอายุ 20 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสมใจด้วงพิบูลย์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ติดตามเยี่ยมโครงการครั้งที่ ๒14 กรกฎาคม 2016
14
กรกฎาคม 2016รายงานจากพี่เลี้ยง โดย somjai
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อร่วมประชุมชี้แจงผลดำเนินโครงการและจัดทำประชาคมหมู่บ้าน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู่ใหญ่บ้านกล่าวเปิดประชุมกล่าวถึงที่มาของการประชุมในวันนี้เพื่อรวมกลุ่มคนในการหามติของชุมชนและกลุ่มต่างๆที่เกี่ยวข้องในพื้นที่อ่าวบ่อเมาและแหลมแท่น พี่เลี้ยงได้ชี้แจงถึงที่มาของโครงการปี๓ที่ดำเนินการอยู่จะต้องมีผลลัพธ์ที่โดดเด่นและกระทำอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความยั่งยืนทุกคนเห็นได้อย่างชัดเจน และจะนำผลงานเข้าจัดแสดงในวันประชุมวิชาการสานพลังภาคใต้ที่หาดใหญ่ในช่วงวันที่ ๓-๕ ตุลาคมนี้ ให้ทุกคนร่วมกันแสดงความคิดเห็นและเสนอแนะในการจัดกิจกรรมดำเนินโครงการต่อไป กลุ่มต่าง ๆให้ความคิดเห็นร่วมกันสรุปได้ว่า๑.ต้องสร้างจิตสำนึกของชุมชนให้มากขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มผู้นำที่ต้องกระทำให้เป็นแบบอย่างในทุกด้าน๒.ประสานแหล่งทุนทุกหน่วยที่มีทั้งในส่วนของสสส. สภาพัฒนาชุมชน(งบพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนฐานราก) พมจ. การท่องเที่ยวฯ กรมประมง เป็นต้น ให้เป็นหนึ่งเดียวแล้ว แบ่งหน้าที่กันดำเนินงาน แต่งตั้งเป็นคณะทำงาน มีศูนย์ปฏิบัติการ ๓.วิเคราะห์จุดเด่นและจุดอ่อนของชุมชนเพื่อนำมาพัฒนา และจัดทำนโยบาลและแผนปฏิบัติงานร่วมกัน ๔.แจ้งผลการดำเนินการของกลุ่มที่จัดตั้งขึ้นและผลการดำเนินงานให้ผู้นำทุกระดับและประชาชนทราบทุกครั้ง ๕.พัฒนาเกาะไข่ อ่าวบ่อเมา-แหลมแท่นให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เป็นต้น

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีกลุ่มชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วยกลุ่มทำกะปิ /กลุ่มประมงชายฝั่ง/กลุ่มข้าวไร่/กลุ่มหอยมือเสือ/กลุ่มท่องเที่ยวฯ และกลุ่มสภาผู้นำชุมชนจากหลายหมู่บ้านและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แสดงให้เห็นถึงความเข็มแข็งของชุมชนโดยการนำของผู็ใหญ๋บ้านที่มีความมุ่งมั่นจะพัฒนาชุมชนด้วยการทำตนเองให้เป็นแบบอย่างของการเป็นผู้นำยุคใหม่ มีความสามารถในการเชื่อมเครือข่ายได้ดี ทำให้การประชุมครั้งนี้ได้มติชุมชนที่จะพัฒนาเกาะไข่และชายทะเลบ่อเมา-แหลมแท่นให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ด้วยการบูรณาการด้านงบประมารและความร่วมมือจากทุกภาคส่วน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 70 คน
ประกอบด้วย

สภาผู้นำชุมชน ผู้ใหญ่บ้านม.๑,๕,๖,๑๒ สภาพัฒนาจังหวัด พมจ. ตัวแทนกลุ่มทำกะปิ /กลุ่มประมงชายฝั่ง/กลุ่มข้าวไร่/กลุ่มหอยมือเสือ/กลุ่มท่องเที่ยวบ้านบางสนและประชาชนที่สนใจ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เก็บข้อมูลรายได้หลังดำเนินโครงการ และประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้9 กรกฎาคม 2016
9
กรกฎาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย cherdsak.chamnan
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อลดหนี้สินของคนในชุมชนทั้งสามหมู่บ้าน และชุมชนสามารถวิเคราะห์รายได้ รายจ่ายในครัวเรือนของตนเอง และวิเคราะห์ได้ว่าสิ่งไหนจำเป็นสิ่งไหนไม่จำเป็นควรลดรายจ่ายลง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. จัดประชุุมอบรมสร้างความรู้ความเข้าใจในเด็กและเยาวชน และชุมชนเรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรชายฝั่งและป่าชายเลน จำนวน 30 คน

    • มีการจัดเวทีประชุมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับกลุ่มเยาวชน และชุมชน โดยกลุ่มเป้าหมายเป็นเยาวชนจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังวิทยาเขตชุมพร เขตรอุดมศักดิ์ และชุมชนในพื้นที่อ่าวปะทิวจำนวน 3 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 6 เป็นชุมชนที่ประกอบอาชีพประมงชายฝั่ง และเกษตรกรรม และค้าขาย
    • จัดกิจกรรมทำความสะอาดเกาะไข่ โดยนำกลุ่มชุมชนประมงชายฝั่งไปเก็บขยะบนเกาะไข่เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและรณรงค์ไม่ทิ้งขยะบนเกาะไข่
  2. จัดให้แกนนำเด็กและเยาวชนทำแบบฟอร์มเก็บข้อมูลนี้สินและ รายได้ และ ร่วมลงเก็บข้อมูลสัมภาษณ์ชาวประมง โดยใช้แบบสอบถามและแบบฟอร์มในการกรอกข้อมูลชุมชน

  3. นำข้อมูลที่ได่มาวิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อรวบรวมเป็นข้อมูลชุมชนต่อไป โดยแบ่งเป็น 10 พื้นที่เป้าหมาย ได้แก่

    • จุดที่ 1 ชุมชนบ้านแหลมแท่น ม.1
    • จุดที่ 2 ชุมชนกลางอ่าวบ่อเมา ร้านอาหารทะเลทอง หมู่ที่ 1
    • จุดที่ 3 ชุมชนบริเวณร้านอาหารเรือนชะเมา ม. 6
    • จุดที่ 4 ชุมชนบ้านหินกบ ท่าเรือแหลมทองหลาง (หมู่ที่ 6)
    • จุดที่ 5 ท่าเรือหินกบ ม.6 จุดที่ 6 ชุมชนบ้านบนไร่ ม.6
    • จุดที่ 7 ชุมชน สนามบิน
    • จุดที่ 8 - 10 พื้นที่ หมู่ที่ 5 บ้านบางจาก
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. เด็ก เยาวชนและวัยทำงานเข้ารับความรู้ และฝึกเป็นนักเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ชุมชนได้ จำนวน 30 คน มีการร่วมกันกำหนดกรอบและเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูลหนี้สินกลุ่มประมง

  2. เยาวชนมีบทบาทในการขับเคลื่อนงานและเห็นประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการอนุรักษ์ทรัพยากร มีการเก็บขยะทำความสะอาดชายหาดและแหล่งท่องเที่ยวของตำบลชุมโค คือ เกาะไข่ เพื่อสร้างจิตสำนึกและความตระหนักให้กับเยาวชนได้เกิดสำนึกรักท้องถิ่น และสร้างความเป็นผู้นำในอนาคต และสามารถสานต่อกิจกรรมสู่รุ่นน้อง ๆ ต่อไปได้

  3. ได้ข้อมูลการสำรวจรายรับรายจ่ายจากชุมชน ผลลัพธ์-กลุ่มประมงและคนในชุมชนสามารถคำนวณ รายรับและรายจ่าย และสามารถวิเคราะห์รายจ่ายที่ไม่จำเป็นต่อครอบครัวและลดการจ่ายลง ทำให้สามารถลดหนี้ลงได้เล็กน้อย ได้ข้อมูลคร่าว ๆ ดังนี้

    • ข้อมูลหนี้สิน มีหนี้สินครัวเรือนละประมาณ 300,000 - 500,000 บาท ในระบบได้แก่ ธนาคาร ธกส.80 % ธนาคารอื่น ๆ 15 % หนี้นอกระบบ 5 %
    • ข้อมูลรายได้ รายได้หลักจากเกษตรกรรม 50 % จากประมงพื้นบ้าน 30 % รายได้อื่น ๆ รวมทั้งค้าขาย 20 %
    • อาชีพหลัก เกษตรกรรม ,ประมง
    • อาชีพรองค้าขาย ,รับจ้างทั่วไป
    • รายจ่าย/เดือน20,000 - 30,000 / เดือน
    • เงินออมรายเดือน 100 - 1,000 บาท
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

คนวัยทำงาน กลุ่มประมงชายฝั่ง และเกษตรกรเด็กและเยาวชน จำนวน 30 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ถ่ายภาพและจัดทำรายงาน6 กุมภาพันธ์ 2016
6
กุมภาพันธ์ 2016รายงานจากพื้นที่ โดย cherdsak.chamnan
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อรับฟังการชี้แจงจากเจ้าหน้าที่ สจรส.มอ. และพี่เลี้ยงโครงการ ตรวจรายงานการเงิน และบันทึกการทำรายงานในเว็บไซด์คนใต้สร้างสุข

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เข้าร่วมประชุมเพื่อจัดทำรายงาน ปิดงวดโครงการ งวดที่ 1 ร่วมกับพี่เลี้ยงโครงการและเจ้าหน้าที่ สสส.,สจรส.มอ. ที่เทศบาลวังไผ่ อ.เมือง จ. ชุมพร ตรวจใบเสร็จการใช้จ่ายเงินตามกิจกรรมตามแผนงานที่วางไว้ ผู้รับผิดชอบโครงการได้ทำการแก้ไขปรับปรุงเอกสารการใช้จ่ายเงินตามแผนกิจกรรม และการรายงานกิจกรรมในเว็บไซด์คนใต้สร้างสุขเรียบร้อยแล้ว

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จัดทำรายงาน งวด 1 จัดทำเอกสารค่าใช้จ่ายตามโครงการที่มีการใช้จ่ายเงิน และตรวจความถูกต้องของใบเสร็จการใช้จ่ายเงินในกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการและการบันทึกรายงานลงในเว็บไซด์คนใต้สร้างสุขและคืนเงินเปิดบัญชี 100 บาท กิจกรรมในครั้งนี้ ผู้รับผิดชอบโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับด้านการทำใบเสร็จรับเงิน ใบสำคัญรับเงินและการบันทึกรายงานได้อย่างถูกต้องขึ้น

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 1 คน จากที่ตั้งไว้ 4 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการ และผู้ร่วมทำกิจกรรมร่วมทำกิจกรรม

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

พี่เลี้ยงผู้ติดตาม พี่เลี้ยงจาก สจรส.ได้แนะนำเอกสารการเงินของโครงการที่เขียนผิดพลาด ไม่ถูกต้องให้ไปดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องตามคำแนะนำ

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสมใจด้วงพิเบูลย์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

แนะนำเรื่องความถูกต้องของเอกสาร

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ให้คำแนะนำตามความเหมาะสม และถูกต้องตามโครงการ

ก่อร่างสร้างศูนย์เรียนรู้สู่วิถีประมงบ้านบางจาก23 มกราคม 2016
23
มกราคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย cherdsak.chamnan
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อลดหนี้สินของชุมชนทั้ง 3 หมู่บ้าน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้และอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.จัดประชุมให้ความรู้เรื่องการบริหารจัดการศูนย์เรียนรู้ ในเวทีได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในการจัดตั้งศุูนย์การเรียนรู้ของกลุ่มประมงชายฝั่งอ่าวบางจาก และอ่าวบ่อเมา เพื่อเป็นการเฝ้าระวังทรัพยากรในอ่าวบางจากที่มีอย่างหลากหลาย เช่น หอยมือเสือประมาณ 5000 ตัว ปะการังหลากหลายชนิด ปลาสวยงาม ดอกไม้ทะเล และปลาเศรษฐกิจอีกจำนวนมาก เช่น ปลานกแก้ว ปลาเก๋า ปลากระโทง ปลากระบอก ปลาทราย ฯลฯ เป็นปลาที่สร้างรายได้ให้กับประมงชายฝั่งของชุมชนอ่าวชุมโคแห่งนี้ นอกจากนี้ ผู้นำชุมชนโดย นายสุริยันสัจจวิโส ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5 ต้องการที่จะจดทะเบียนกลุ่มกับพัฒนาชุมชนเพื่อให้มีความเป็นนิติบุคคล จะได้หาทุนมาเลี้ยงกลุ่มได้ง่าย เพราะทางเทศบาลฯ ไม่สามารถที่จะสรรงบประมาณอุดหนุนให้กับกลุ่มโดยตรงได้
2.ประชุมแกนนำสภาชุมชนเพื่อ การจัดตั้งคณะทำงานวางกติกาศูนย์ - มีการตั้งกฎกติกาของศุูนย์ฯ ไว้เบื้องต้นคร่าว ๆ ว่า ให้ชุมชนประมงชายฝั่งร่วมกันดูแลอ่าวหน้าบ้านร่วมกัน ,การใช้เครื่องมือประมงโดยการกำหนดตาอวน เช่น ไม่ต่ำกว่า 2 นิ้ว ,หากเห็นว่ามีเรื่องนอกพื้นที่เข้ามาทำการประมงในแนวเขตชายฝั่งเช่น เรืออวนลาก อวนรุน ให้แจ้งกับผู้นำชุมชน และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทันที ให้ออกนอกแนวเขตทำการประมงชุมชน 3.ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องแนวทางการดำเนินงาน และสร้างข้อตกลงร่วมกันกับประชาชนผู้ใช้ประโยชน์จากป่าชายเลน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มประมงพื้นบ้าน เพื่อปกป้อง ทรัพยากรป่าชายเลน และแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น โดยในอ่าวบางจากชุมชนได้ร่วมกันทดลองปลูกป่าชายเลนขึ้นบริเวณหน้าวัดยายไอ๋ ซึ่งก่อนหน้านั้นเป็นหาดทรายปนเลนธรรมดา ไม่มีป่าชายเลนขึ้นในบริเวณนี้เลย หลังจากที่ได้ทดลองปลูกดูเพราะชุมชนเห็นว่าป่าชายเลนมีประโยชน์ต่อชุมชนชายฝั่งมากมาก ปรากฎว่าในปัจจุบันมีป่าโกงกางเกิดขึ้นบริเวณอ่าวบางจากหน้าวัดยายไอ๋ และดินบริเวณดังกล่าวจากเป็นดินทรายปนกรวดและเลนเล็กน้อย ปัจจุบันกลายเป็นดินโคลนไปโดยปริยาย และชุมชนและโรงเรียนจะร่วมกันฟื้นฟูป่าชายเลนดังกล่าวให้กลายเป็นแปลงใหญ่ในอนาคตต่อไปทั้งนี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลาย ๆ ภาคส่วน 4. จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ในพื้นที่ชุมชน - จะต้องจัดหางบประมาณจัดทำป้ายรณรงค์แหล่งอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งบริเวณนี้ติดไว้เนื่องจากเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนแห่งหนึ่งที่นักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชมถ้ำยายไอ๋และมาทำบุญ เราควรที่จะมีป้ายติดไว้เพื่อรณรงค์การอนุรักษ์ของกลุ่มชุมชนชายฝั่งชุมโคไว้ให้นักท่องเที่ยวได้เห็น 5.นำองค์ความรู้ในศูนย์เรียนรู้เพื่อไปจัดการลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตให้เกิดรายได้ในชุมชน - อย่างไรก็ตามชุมชนชายฝั่งตำบลชุมโคก็มีรายได้จากการประมงเป็นรายได้หลักมาตั้งแต่อดีต เราไม่สามารถที่จะหยุดเพื่อไปทำอาชีพอื่นๆได้ ยิ่งในยุคปัจจุบันพืชผลทางการเกษตรตกต่ำมาก ไม่สามารถเลี้ยงครอบครัวได้ แต่ราคาสัตว์น้ำยังมีราคาสูงอยู่ เราควรที่จะอนุรักษ์ทรัพยากรร่วมกันเพื่อส่งผลต่อสัตว์น้ำที่เพิ่มขึ้นในปริมาณมาก ๆ หล่อเลี้ยงชุมชนชายฝั่งตำบลชุมโคได้

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ประชาชน ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารและมีส่วนร่วมในการก่อสร้างศูนย์เรียนรู้ และสามารถใช้ศูนย์เรียนรู้เป็นแหล่งพบปะพูดคุยกันในชุมชนทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ เพื่อเป็นสื่อกลางให้กับประชาชน หรือ ชุมชนชายฝั่งตำบลโค (ประกอบด้วย 3 หมู่บ้านคือ หมู่ที่ 1 บ้านแหลมแท่น - บ่ออิฐ หมูที่ 5 บ้านบางจาก และ หมู่ที่ 6 บ้านบ่อเมา - หินกบ โดยทั้ง 3 หมู่บ้าน เราใช้อ่าวทะเลชุมโค เดียวกัน ฉะนั้นชุมชนชายฝั่งต้องเป็นหนึ่งเดียว คือ ชุมชนชายฝังทะเลชุมโค
  2. เกิดศูนย์เรียนรู้วิถีประมง 1ศูนย์ ที่มีองค์ความรู้เกี่ยวกับการดูแลปะการัง หอยมือเสือและพื้นที่ป่า ที่อนุบาลสัตว์น้ำ ประชาชนเกิดความเป็นเจ้าของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมชายฝั่ง ทีมคณะทำงานศุูนย์ฯ จะมีการออกแบบป้ายนิทรรศการประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ เพื่อติดประกาศไว้ภายในศูนย์ฯ หากมีนักท่องเที่ยว หรือนักศึกษาเข้ามาเรียนรู้ เบื้องต้นคือ ได้ดูความเป็นมา และกิจกรรมต่าง ๆ ผ่านป้ายนิทรรศการ ก่อนที่จะเข้าไปสัมภาษณ์ผู้นำชุมชน ซึ่งที่ผ่านมา ได้มีกลุ่มองค์กรต่าง ๆ นักศึกษา นักวิจัย เข้ามาศึกษาเรียนรู้และสัมภาษณ์ผู้นำชุมชนเป็นจำนวนมาก และยังนำไปออกสื่อทางเฟสบุ๊คอีกด้วย ทำให้กลุ่มชุมชนชายฝั่งอ่าวบางจากมีชื่อเสียงทางด้านการอนุรักษ์หอยมือเสือ ทั่วประเทศ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 72 คน จากที่ตั้งไว้ 70 คน
ประกอบด้วย

เยาวชนในชุมชน
วัยทำงาน
ผู้สูงอายุ
เทศบาลตำบลชุมโค

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสมใจ ด้วงพิบูลย์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไมมี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ต้องการการให้คำปรึกษาเมื่อมีปัญหาด้านการทำเอกสาร และการรายงาน

จัดทำป้ายนิทรรศการเคลื่อนที่เพื่อการออกโชว์ในชุมชนเรื่องการอนุรักษ์ทรพัยากรทางทะเลและชายฝั่งและป่าชายเลน15 มกราคม 2016
15
มกราคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย cherdsak.chamnan
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเสริมสร้างบทบาทของสภาผู้นำชุมชนในการสร้างสภาพแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คณะทำงานได้ออกแบบสื่อนิทรรศการร่วมกันในชุมชนโดยมีรายละเอียดของนิทรรศการคือ เรื่องป่าชายเลนชุมชน ซึ่งในตำบลชุมโค มีป่าชายเลนหลัก ๆ จำนวน 3 พื้นที่คือ ป่าชายเลนหมุ่ที่ 1 ป่าชายเลนหมู่ที่ 2 และป่าชายเลนหมู่ที่ 5 และทุก ๆ ครั้งที่มีการฟื้นฟูหรือปลูกป่า ชุมชนทั้ง 3 ชุมชนจะเข้ามามีส่วนร่วมกันโดยตลอดนอกจากนี้ยังมีหน่วยงาน โรงเรียนต่าง ๆ ในพื้นที่ เช่น โรงเรียนบ้านบ่ออิฐ ,โรงเรียนบ้านบางจาก ,โรงเรียนบ้านหินกบ ,โรงเรียนบ้านดอนทราย เข้ามาร่วมทำกิจกรรมปลูกป่าชายเลนร่วมกันทุกครั้งเพราะถือว่าเป็นทรัพยากรสาธารณะที่เราต้องดูแลร่วมกัน และผลประโยชน์ที่เกิด่จากป่าชายเลน แม้จะเป็นทางอ้อม แต่คนในชุมชนก็ได้รับร่วมกันอย่างทั่วถึง เนื่องจากสัตว์น้ำในทะเลถ้าไม่มีป่าชายเลนให้อนุบาลหรือฟักตัว ปริมาณสัตว์น้ำในทะเลก็จะลดน้อยลง แต่เมื่อมีป่าชายเลนในหลาย ๆ พื้นที่ของตำบลชุมโค สัตว์น้ำในอ่าวทะเลชุมโคย่อมมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น และทำให้กลายเป็นอาหารชุมชนได้ตลอดทั้งปี

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีสื่อนิทรรศการเคลื่อนที่ เพื่อโชว์ตามโอกาสสำคัญ ๆ ต่าง ๆ ในชุมชน
ผลลัพธ์-ประชาชนในชุมชนและบุคคลทั่วไปรับรู้และสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งและป่าชายเลน -คณะทำงานนำแบบทำป้ายนิทรรศการส่งให้ร้านทำสื่อนิทรรศการเคลือนที่จำนวน 2 ชุด ชุด ๆละ 6 แผ่น พร้อมขาตั้งเหล็ก ที่สามารถพับเก็บได้ เพื่อเผยแพร่ในชุมชนเนื่องในโอกาสต่าง ๆ นิทรรศการนี้ คณะทำงานสามารถนำไปติดโชว์ภายในงานกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชนได้ตลอดทั้งปี เช่น งานวันเด็กแห่งชาติ ,งานวันท่องเที่ยวทะเลชุมโค หรือแม้แต่งาน 120 ปีอำเภอปะทิว ที่กำลังจะจัดขึ้นในเดือน พฤษภาคม 2559 นี้

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 12 คน จากที่ตั้งไว้ 10 คน
ประกอบด้วย

ออกแบบสื่อนิทรรศการร่วมกันในชุมชน จัดทำสื่อนิทรรศการเคลือนที่จำนวน 2 ชุด ชุด ๆละ 6 แผ่น พร้อมขาตั้งเหล็ก ที่สามารถพับเก็บได้ เพื่อเผยแพร่ในชุมชนเนื่องในโอกาสต่าง ๆ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสมใจ ด้วงพิบูลย์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

นิทรรศการชุดนี้ถือเป็นสมบัติส่วนรวมของคนในชุมชน ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในกิจกรรมงานต่าง ๆ ที่จัดขึ้นโดยชุมชนได้ตลอดทั้งปี และดูแลรักษาโดยคณะทำงานของโครงการนี้

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ให้คำปรึกษาาและแนะนำโครงการ

เก็บข้อมูลหนี่้สิน และรายได้กลุ่มประมง6 มกราคม 2016
6
มกราคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย cherdsak.chamnan
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อส่งเสริมบทบาทของสภาผู้นำชุมชนในการนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการดำรงชีวิต

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประชุมเก็บข้อมูลรายได้หลังดำเนินโครงการ และรวบรวมเป็นเอกสาร 1 ชุด
  2. จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และติดตามผลงานเพื่อระดมความคิดเห็น การพัฒนาเพิ่มรายได้ และอนุรักษ์ทรัพยากร ทุก ๆ เดือน ๆ ละ 30 คน
  3. มีการลงพื้นที่ชุมชนชายฝั่งเพื่อเก็บข้อมูลชุมชนชาวประมงรายคน รายลำ

รายละเอียดการเก็บข้อมูลชุมชนรายคน มีดังนี้
1) ชื่อ 2) ที่อยู่ 3) ความยาวเรือที่ใช้ อายุการใช้งานค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงเรือต่อปี 4) ประเภทที่ทำการประมง 5) สมาชิกในครัวเรือนที่อาศัยในครัวเรือนเดียวกัน
6) แรงงานที่ใช้ในการทำการประมง จากคนภายนอก จำนวน (คน) และจากสมาชิกในครัวเรือน จำนวน(คน) 7) รายได้ต่อเดือน และต่อปี
8) จำนวนวันที่ทำการประมง ต่อเดือน และต่อปี
9) ค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนรายเดือน หักแล้วคงเหลือ ต่อเดือน ต่อปี (เช่น ค่าน้ำมัน ค่าน้ำแข็ง และค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องใช้ในการออกเรือเพื่อทำการประมง) 10) อาชีพอื่น ที่เป็นรายได้เสริมนอกจากประมงชายฝั่ง
11) รายได้รวม ต่อปี และค่าใช้จ่ายรวม ต่อปี
12) ภาระหนี้สิน (แยกตามประเภท)

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เกิดชุดข้อมูลรายได้ชุมชน ทุก 3 เดือน และการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา
ผลลัพธ์-ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการสามารถวิเคราะห์ด้านเศรษฐกิจและสังคม ค่าครองชีพ ความเป็นอยู่ รายได้ หนี้สิน และสามารถประเมินผลปลายปีได้ว่า ความเป็นอยู่ดีขึ้นหรือ ภาวะหนี้สินลดลงหรือเพิ่มขึ้น จากปัจจัยอะไรบ้าง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 70 คน
ประกอบด้วย

เทศบาลตำบลชุมโค กลุ่มประมงชายฝั่งบ้านบ่ออิฐ - แหลมแท่น - คลองบางสน โรงเรียนบ้านบ่ออิฐ ภาคีกลุ่มประมงชายฝั่งตำบลบางสน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

การเก็บข้อมูลชุมชนอาจจะยังไม่ครบถ้วนเนื่องจากบางคนติดภารกิจในการเข้าร่วมในเวทีที่จัดขึ้น แต่คณะทำงานได้จัดตั้งทีมอาสาสมัครไปเก็บข้อมูลรายบุคคลตามครัวเรือนแล้ว

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสมใจ ด้วงพิบูลย์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

เป็นที่ปรึกษาโครงการต่อเนื่อง

เข้าร่วมประชุมกับพี่เลี้ยงโครงการ12 ธันวาคม 2015
12
ธันวาคม 2015รายงานจากพื้นที่ โดย cherdsak.chamnan
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อรับฟังการชี้แจงจากเจ้าหน้าที่ สจรส.มอ. และพี่เลี้ยงโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ได้รับการประสานงานจากพี่เลี้ยงโครงการเพื่อเข้าร่วมประชุม โดยให้จัดเตรียมเอกสารการเงิน ใบเสร็จ ต่าง ๆ นำมาให้พี่เลี้ยงตรวจสอบ และรับฟังรายละเอียดการจัดทำรายงานในเว็บไซด์ รายงานการเงิน และการบันทึกกิจกรรมในเว็บไซด์ และผู้รับผิดชอบโตรงการเข้าร่วมประชุมรับฟังรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับการจัดทำโครงการตามแผนงานที่ตั้งไว้เข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อรับฟัง กฎระเบียบต่าง ๆ ในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่าง พี่เลี้ยงสจรส.มอ. ภาคีเครือข่ายผู้รับทุน เพื่อนำประสบการณ์ต่าง ๆ ไปปรับใช้กับชุมชน และการขับเคลื่อนโครงการเกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำรายงานทั้งในเว็บไซต์ การเขียนรายงานเอกสาร การเขียนใบเสร็จรับเงิน หมวดค่าใช้จ่าย การเขียนใบเสร็จเพื่อจะได้ไม่ต้องเสียภาษี และใบเสร็จชนิดใดที่ต้องเสียภาษี ใบเสร็จชนิดใดไม่ต้องเสียภาษี วิทยากรได้ชี้แนะอย่างละเอียดเกี่ยวกับ การบันทึกรายงานกิจกรรมในเว็ีบไซต์ ว่าควรเขียนให้ตอบโจทย์ที่ทาง สสส.กำหนดให้มากที่สุด และมีการขยายความให้ได้มากที่สุด เพื่ออ่านแล้วเกิดความเข้าใจ มองเห็นภาพอย่างเป็นรูปธรรม และเข้าใจง่าย

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงาน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสมใจ ด้วงพิบูลย์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

้ต้องการให้คำแนะนำปรึกษาต่อเนื่อง

ติดตามผลการดำเนินโครงการ11 ธันวาคม 2015
11
ธันวาคม 2015รายงานจากพี่เลี้ยง โดย somjai
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามผลการดำเนินโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ตรวจสอบการจัดกิจกรรม  การเงิน และการลงรายงานทางเว็บไซด์

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้จัดดำเนินการตามแผนกิจกรรมที่กำหนดในปฏิทินทำกิจกรรมย่อย ๆ แต่ยังไม่มีการประชุมชี้แจงประชาชนทั้งหมด

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการและการเงิน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ยังไม่มีเวทีประชุมชี้แจงประชาชนทั้งหมู่บ้านให้รับทราบ

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

จัดทำกิจกรรมให้ต่อเนื่อง ผู้รับผิดชอบโครงการต้องเรียนรู้งานทั้งหมดพร้อมทั้งมอบหมายงานให้แกนนำทุกคนได้ปฏิบัติ

ปลูกป่าชายเลนชุมชนหมู่ที่ 1 บ้านบ่ออิฐ ต.ชุมโค อ.ปะทิว จ. ชุมพร5 ธันวาคม 2015
5
ธันวาคม 2015รายงานจากพื้นที่ โดย cherdsak.chamnan
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของสภาผู้นำชุมชนในการสร้างสุขภาพในชุมชนและพื้นที่สีเขียวในชุมชนเมือง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลนอ่าวบ่อเมา - บางจาก จำนวน 1,200 กล้า มีผู้เข้าร่วม 85 คน
โดยก่อนที่จะมีการจัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลน ทางคณะทำงานได้ปรึกษาหารือร่วมกันในการมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบของแต่ละคน ในเรื่อง การประสานงานผุู้เข้าร่วมกิจกรรมจาก หน่วยงาน โรงเรียน องค์กรชุมชน และประชาชนในพื้นที่ ,ฝ่ายเลขานุการ ได้ทำหนังสือเพื่อประสานงานกับหน่วยงานบางหน่วยงานที่ต้องใช้หนังสือเช่น การขอกล้าไม้ป่าชายเลน การขอเด็กนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม และมอบหมายให้คนไปรับพันธ์ุกล้าไม้ป่าชายเลนจากอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร พร้อมคนขนขึ้นรถ
เตรียมการจัดกิจกรรมที่กำหนดไว้ให้สำเร็จลุล่วงตามเป้าประสงค์ที่ตั้งไว้ และเก็บข้อมูลบันทึกภาพ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สมาชิกในชุมชนมีส่วนร่วมทำกิจกรรมสาธารณะร่วมกัน
มีป่าชายเลนเพิ่มขึ้น จำนวน 2000 ต้น พื้นที่ 50ไร่ ชุมชน องค์กร หน่วยงาน โรงเรียน มีส่วนร่วมในการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชนร่วมกัน
ผลลัพธ์-เกิดจิตสำนึกและความตระหนักในการเป็นเจ้าของทรัพยากรร่วมกัน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 85 คน จากที่ตั้งไว้ 80 คน
ประกอบด้วย

สมาชิกในชุมชนบ้านบ่ออิฐแหลมแท่น

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

บางต้นอาจจะตาย และจะทำการปลููกเสริมในครั้งต่อไปเมื่อมีโอกาส

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสมใจ ด้วงพิบูลย์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

โดรงการยังคงขับเคลื่อนกิจกรรมร่วมกับชุมชนอย่างต่อเนื่อง

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ให้คำแนะนำในปัญหาอุปสรรคของโครงการ

พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวบ้านแหลมแท่น และปลูกสวนป่าวัดบ่ออิฐ30 พฤศจิกายน 2015
30
พฤศจิกายน 2015รายงานจากพื้นที่ โดย cherdsak.chamnan
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของสภาผู้นำชุมชนในการสร้างสุขภาพในชุมชนและพื้นที่สีเขียวในชุมชนเมือง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดกิจกรรมเก็บขยะชายหาดอ่าวแหลมแท่น - บ่ออิฐ มีความยาวของหาดประมาณ 3 กิโลเมตร และพัฒนาวัดบ่ออิฐ และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวบ้านแหลมแท่น โดยมีการปลูกป่าถาวร บริเวณสวนป่าในแหล่งท่องเที่ยวแหลมแท่นและพื้นที่ชุมชนบริเวณริมทางเดินในพื้นที่หมู่ที่ 1 ต.ชุมโค อ.ปะทิว จ.ชุมพร

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีการนำชุมชนเยาวชนพัฒนาพื้นที่บริเวณชายหาดอ่าวบ่อเมา ปลูกป่า 500 ต้น กระจายในบริเวณวัด (ปลูกต้นตะเคียน เบญจพรรณหลากหลาย ต้นกระถิ่น มะฮอกกานี) และป่าชายเลน (ปลูกโกงกาง) ในพื้นที่ประมาณ 500 ไร่

  • พื้นที่แหลมแท่น และพื้นที่ชุมชน มีสภาพแวดล้อมที่สะอาด น่าอยู่ น่ามอง เป็นระเบียบเรียบร้อยมากขึ้น

  • น้องๆ สถาบันการศึกษามาช่วยเก็บขยะที่ชายหาดบ่อเมา ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า โรงเรียนปะทิววิทยา โรงเรียนหินกบ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 65 คน จากที่ตั้งไว้ 60 คน
ประกอบด้วย

เยาวชนนักศึกษา 30 คน ชุมชน 35 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ขยะในพื้นที่จะมีมากในช่วงลมมรสุม และจะมีมากในช่วงเดือนพฤศจิกายน - มกราคม

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
สมใจ ด้วงพิบุูลย์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

อยากได้เอกสารเชิงวิชาการให้ชุมชนศึกษาเรียนรู้

จัดทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่23 ตุลาคม 2015
23
ตุลาคม 2015รายงานจากพื้นที่ โดย cherdsak.chamnan
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อใช้ประกอบการจัดกิจกรรมเวทีประชุมต่าง ๆ ของโครงการที่จัดขึ้น

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

นำรูปแบบป้ายที่ สสส.กำหนดให้จัดทำนำไปให้ร้านค้าจัดพิมพ์ จัดทำป้ายสัญลักษณ์ เขตปลอดบุหรี่ โดยคณะทำงานโครงการร่วมกับผู้รับผิดชอบโครงการได้ออกแบบป้ายไปให้กับทางร้านเพื่อจัดทำป้ายตามแบบฟอร์มที่ทาง สสส.กำหนดให้ เพื่อที่ทางโครงการสามารถนำไปติดในช่วงที่มีการจัดกิจกรรมและใช้ตลอดจนกว่าจะดำเนินโครงการเสร็จสิ้น

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่ จำนวน 1 ป้าย เพื่อไว้ติดประกาศเวลาจัดกิจกรรมตามโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 1 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ผู้ประสานงานโครงการ และคณะทำงาน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
สมใจด้วงพิบูลย์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ชี้แจงรายละเอียดโครงการ แผนการทำงาน แจกเอกสาร จัดตั้งคณะกรรมการป่าชายเลน15 ตุลาคม 2015
15
ตุลาคม 2015รายงานจากพื้นที่ โดย cherdsak.chamnan
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของสภาผู้นำชุมชนในการสร้างสุขภาพในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการกับคณะทำงานโครงการ 15 คน แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ เช่น หัวหน้าทีมเก็บขยะ ทีมปลูกป่า เป็นต้น มีการพูดคุยปรึกษาหารือแลกเปลียนเรียนรู้ร่วมกัน และมีการจัดตั้งคณะทำงาน วางแผนการทำงาน การอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง การอนุรักษ์ป่าชายเลน การอนุรักษ์และดูแลรักษาพื้นที่สาธารณะ เช่น แหล่งท่องเที่ยวทางทะเล ชายหาดต่าง ๆ และในเดือนพฤษภาคมที่กำลังจะมาถึง ตำบลชุมโคจะมีการจัดงานท่องเที่ยวทะเลชุมโคในทุก ๆ ปี ซึ่งปีนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ 3 ทางผู้นำชุมชนได้ชี้แจงว่า หากโครงการฯ มีงบประมาณที่สามารถนำมาขับเคลื่อนในส่วนนี้ก็จะได้มีกำลังงบในการจัดงานร่วมกันได้ ซึ่งเป็นภาพรวมของตำบลชุมโค แต่หน้าตาเป็นทั้งอำเภอและจังหวัด รวมทั้งจังหวัดใกล้เคียงด้วย เนื่องจากทางเทศบาลชุมโคได้มีการประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซด์และติดป้ายประชาสัมพันธ์ในหลาย ๆ พื้นที่

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ที่ประชุมรับทราบรายละเอียดโครงการ และมีการจัดตั้งคณะทำงานโครงการ จำนวน 15 คน ประกอบด้วย

  1. นายโสพจน์ธรรมรักษา รับผิดชอบหน้าที่ ประธานคณะทำงาน
  2. นายเชิดศักดิ์ชำนาญ รับผิดชอบหน้าที่ เลขานุการ ประสานงานพื้นที่ชุมชน
  3. นายทวีบุญพา รับผิดชอบหน้าที่ ขับเคลื่อนการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าชายเลนชุมโค หมู่ที่ 2 ต.ชุมโค
  4. นางฉลาดชื่นแก้ว รับผิดชอบหน้าที่ ขับเคลื่อนการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าชายเลนชุมโค
  5. นายสุพนัดดวงกมลรับผิดชอบหน้าที่ อาสาสมัครเฝ้าระวังทรัพยากร บริเวณอ่าวทะเลชุมโค พื้นที่หมู่ที่ 5 อ่าวบางจาก
  6. นายกำพลบุญนาโค รับผิดชอบหน้าที่ เป็นเหรัญญิกของโครงการ และอาสาสมัครเฝ้าระวังชายฝั่ง
  7. นางสาวอังคณาชำนาญ รับผิดชอบหน้าที่ เป็นเจ้าหน้าที่ธุรการ คอยดูแลเรื่องเว็บไซด์และการจัดทำรายงาน เอกสารการเงิน ของโครงการ
  8. นายสุริยันสัจจวิโส่รับผิดชอบหน้าที่ ที่ปรึกษาของโครงการ ซึ่งเป็นแกนนำขับเคลื่อนเรื่องทรัพยากรหอยมือเสืออ่าวบางจาก
  9. นายถาวรโชติกวนิช รับผิดชอบหน้าที่ แกนนำกลุ่มประมงชายฝั่งบ้านแหลมแท่น บ่ออิฐ
  10. นายทรงสวัสดิ์นุชศรี รับผิดชอบหน้าที่ ที่ปรึกษาของโครงการ
  11. นางสายใจเจียวยี่ รับผิดชอบหน้าที่ ที่ปรึกษาโครงการและตัวแทนประสานงานกับเทศบาล เนื่องจากดำรงเป็นเลขานุการของนายกเทศมนตรีชุมโค และเป็นสมาชิกในชุมชนหมู่ที่ 1 บ้านแหลมแท่น - บ่ออิฐ
  12. นายสุทัศน์ นิยมแก้ว รับผิดชอบหน้าที่ อาสาสมัครเฝ้าระวังทรัพยากร บริเวณอ่าวทะเลชุมโค พื้นที่หมู่ที่ 1 บ้านแหลมแท่น - บ่ออิฐ
  13. นายนิวัติโลหะจีรัง รับผิดชอบหน้าที่ เป็นแกนนำขับเคลื่อนกลุ่มประมงขนาดกลางและใหญ่บริเวณบ้านบ่ออิฐ หมู่ที่ 1
  14. นางรัตนาอินทสินท์ รับผิดชอบหน้าที่ ติดต่อประสานงานกับแกนนำองค์กรกลุ่มต่าง ๆ เนื่องจากเป็นคณะกรรมการหมุ่บ้าน หมู่ที่ 1 บ้านบ่ออิฐ
  15. นายประมวลกล่อมดง รับผิดชอบหน้าที่ เป็นที่ปรึกษาเรื่องการบริหารจัดการป่าชายเลนชุมชนตำบลชุมโค และจัดหาทุนเสริมหนุนให้กับชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 21 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการชุมชน ผู้นำชุมชน และคณะทำงานโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
สมใจ ด้วงพิบุูลย์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

เอกสารเผยแพร่

ร่วมประชุมปฐมนิเทศโครงการ3 ตุลาคม 2015
3
ตุลาคม 2015รายงานจากพื้นที่ โดย cherdsak.chamnan
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อรับฟังการชี้แจงจากเจ้าหน้าที่ สจรส.มอ. และพี่เลี้ยงโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

รับฟังการบรรยายจากเจ้าหน้าที่ สจรส.เรื่องการบริหารจัดการโครงการ ,การลงปฏิทิน กิจกรรมตามรายละเอียดในโครงการ เรียนรู้การทำงานอย่างมีส่วนร่วมรู้จักตนเอง และจัดการโครงการเป็นการประชุมในครั้งนี้เป็นการเข้าร่วมประชุมกับ สสส. สจรส.มอ. และพี่เลี้ยงโครงการ เพื่อทำความเข้าใจรายละเอียดการบริหารจัดการโครงการ การเงิน การจัดทำรายงาน และการบันทึกรายงานผ่านเว็บไซด์คนใต้สร้างสุข

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สามารถลงข้อมูลรายละเอียดของโครงการ ปฏิทินกิจกรรม ผลการดำเนินงาน และรายงานกิจกรรมตามโครงการ ผ่านทางเว็บไซต์คนใต้สร้างสุขได้อย่างถูกต้อง และแก้ไขได้เมื่อมีการบันทึกผิดพลาดผู้รับผิดชอบโครงการสามารถลงรายละเอียดกิจกรรมต่าง ๆ ลงในเว็บไซต์คนใต้สร้างสุขได้ด้วยตนเอง ,สามารถทำความรู้จักแบบฟอร์มต่าง ๆ ของสสส. การลงปฏิทินกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการ และมีพี่เลี้ยงคอยให้คำแนะนำเป็นระยะ ๆ เมื่อมีปัญหาในการลงรายงาน และสามารถแก้ไขได้ืทุกขั้นตอนเมื่อมีการลงผิดพลาด

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการ และผู้นำชุมชน (ผู้ใหญ่บ้าน)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

สามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขการลงรายงานผิดพลาดได้

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
สมใจ ด้วงพิบุูลย์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่ควรทำแบบฟอร์มที่ยุ่งยากไปเพื่อความสะดวกของชุมชนในการบันทึกรายงาน

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

เป็นพี่เลี้ยงที่คอยให้คำปรึกษาเมื่อมีปัญหาในการดำเนินโครงการ