แบบบันทึกการติดตามสนับสนุนโครงการ ครั้งที่ 2

รหัสโครงการ 58-03825
สัญญาเลขที่ 58-00-1934

ชื่อโครงการ ชุมชนหูยาน บ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเอง(ต่อเนื่องปี 3)
รหัสโครงการ 58-03825 สัญญาเลขที่ 58-00-1934
ระยะเวลาตามสัญญา 15 กันยายน 2015 - 15 ตุลาคม 2016

ส่วนที่ 1 : ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม

1.1 ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 1 ถาวร คงศีร
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 2
วันที่ลงพื้นที่ติดตาม 21 เมษายน 2016
วันที่ส่งรายงานถึง สสส. 15 สิงหาคม 2016
1.2 ผู้ให้ข้อมูล
ลำดับชื่อ-สกุลผู้ให้ข้อมูลที่อยู่หมายเลขโทรศัพท์

ส่วนที่ 2 : ข้อมูลโครงการและความก้าวหน้าการดำเนินงาน

2.1 วัตถุประสงค์และตัวชี้วัดความสำเร็จโครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1.

เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัยของชุมชนและสร้างวิสาหกิจชุมชนสีเขียวบ้านหูยานที่มีตรามาตรฐาน

1.เกิดกลุ่มวิสาหกิจสีเขียวบ้านหูยาน มีผลิตภัณฑ์อย่างน้อย 5 ชนิดเป็นสินค้าปลอดภัยของชุมชน

2.มีชุดความรู้หรือหลักสูตรการจัดระบบวิสาหกิจสีเีขียวบ้านหูยาน 6 ระบบวิชา คือ ระบบการผลิตเกษตรอินทรีย์ ระบบกลุ่มและเครือข่าย ระบบการกระจายผลผลิต ระบบมาตรฐานความปลอดภัย ระบบเรียนรู้จากฐานข้อมูลระบบการสื่อสารประชาสัมพันธ์

3.เกิดตลาดเขียวชุมชนที่มีตรามาตรฐานความรับผิดชอบต่อผู้ซื้อผู้ขายและสังคม อย่างน้อย 2แห่ง

2.

1 เพื่อพัฒนาศักยภาพสภาแกนนำบ้านหูยาน ให้มีความรู้ในการใช้ข้อมูลในการทำแผนการผลิตอาหารปลอดภัย ให้เพียงพอความต้องการของชุมชน

1.1.ทบททวนข้อมูลการผลิตอาหารปลอดภัย 2 ปีย้อนหลังพัฒนาการชุมชนหูยานใช้ในการกำหนดทิศทางของสภาแกนนำ

1.2.มีชุดข้อมูลการผลิต รวมซื้อ รวมขาย เป็นฐานข้อมูลหรือหลักสูตร วิสาหกิจชุมชนสีเขียวบ้านหูยาน 1 ชุด 6 ระบบวิชา

1.3.เกิดแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์วิสาหกิจสีเขียวบ้านหูยาน 6 แผน แผนการบริหารจัดการ แผนการผลิตได้แก่พืชผัก แผนการทำปุ๋ยทำเครื่องแกง การผลิตน้ำดื่มผลิตภัณฑ์เลียงผึ้งครบวงจรและ แผนร่วมซื้อร่วมขาย บรรจุในแผนชุมชน

3.

2.เพื่อหนุนเสริมการปฎิบัติตามแผนเพื่อการขับเคลื่อนวิสาหกิจสีเขียวบ้านหูยาน

2.1.ดำเนินการตามแผนของวิสหกิจสีเขียวบ้านหูยาน 3 แผน

2.2.มีตรามาตรฐานรับรองความปลอดภัยใช้กับผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจสีเขียวบ้านหูยาน

2.3.มีตลาดเขียวแหล่งอาหารปลอดภัย 2 แห่งที่รับผิดชอบ ต่อผู้ซื่อ ผู้ขาย และสังคม

4.

3.เพื่อก่อตั้งวิสาหกิจสีเขียวบ้านหูยาน เป็นกลไกชุมชนแก้ปัญหาเศรษฐกิจรายรับน้อยกว่ารายจ่ายของชุมชนและปัญหาอื่น

3.1.เกิดวิสาหกิจสีเขียวบ้านหูยาน 1 แห่งที่ผลิตอาหารปลอดภัยในชุมชน

3.2.เกิดกิจกรรมรณรงค์ของวิสหกิจฯแสดงอาหารปลอดภัยด้วยกิจกรรม  ด้วยสื่อเอกสาร บูทนำเสนออย่างต่อเนื่อง เดือนละ 2 ครั้งในตลาดเขียวหรือตลาดภายนอกชุมชน

3.3.เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 1 ครั้งต่อเดือนในการปรับปรุงแก้ไข พัฒนาวิสาหกิจสีเขียว

3.4 เวทีถอดบทเรียนคืนข้อมูลให้ชุมชนเพื่อพัฒนา

5.

เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

  1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด
  2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม
  3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม
  4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด
2.2 ความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ
กลุ่มเป้าหมายงบประมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงปริมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพ/สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ
ที่ตั้งไว้(บาท)เกิดขึ้นจริง(บาท)จำนวนที่ตั้งไว้(คน)จำนวนเกิดขึ้นจริง(คน)

กิจกรรมหลัก : 1.เวทีชี้แจงและสร้างความเข้าใจโครงการกับชุมชนi

14,500.00 100 ผลผลิต

ผู้เข้าร่วมประชุมเข้าใจวัตถุประสงค์โครงการ เนื่องจากเป็นโครงการต่อเนื่อง กิจกรรมไม่แตกต่างมาก


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  • สภาแกนนำใช้ชุมชนไม้เรียงเป็นชุมชนต้นแบบ
  • แผนชุมชนเป็นหัวใจในการทำงานของสภาแกนนำ

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 3 ครั้ง

  • สมาชิกของกลุ่มสวนผักเดิม 70 คน
  • เจ้าหน้าที่เทศบาล 2 คน นายกเทศมนตรีกับหัวหน้าสำนักปลัด
  • ประชาชนทั้วไป 18คน
14,500.00 14,500.00 100 90 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • สภาแกนนำและสมาชิกครัวเรือนต้นแบบ ประชาชนทั้งไปและภาคีที่เข้าร่วม ได้ รู้และเข้าใจโครงการ ในปีที่ 1,2,3 จากหัวหน้าโครงการผู้รับผิดชอบและพี่เลี้ยงโครงการ
  • คือ ปีที่ 1 เป็นการรวมคน เป็นสภาแกนนำมาทำงานแก้ปัญหา เรื่องสุขภาพและความเห็นไม่ตรงกัน โดยใช้กิจกรรมการปลูกผัก 20 ชนิดปลอดสารพิษ บริโภค แบ่งปัน เหลือขาย
  • ปีที่ 2 พัฒนายกระดับกิจกรรมเดิมต่อจากปีที่ 1 ให้มีความเข็มแข็งหรือพัฒนาศักยภาพ กลุ่ม ผลิตภัณฑ์ ด้านบัญชี ด้านแผนชุมชนผลิตภัณฑ์จากผึ้งและตลาดสีเขียว
  • ส่วนปีที่ 3 พัฒนายกระดับเป็นชุมชนที่จัดการอาหารปลอดภัย และตลาดเขียวเพื่อแก้ปัญหารายได้น้อยกว่ารายจ่าย
  • เทศบาลตำบลนาท่อมโดยนายกพีรพงศ์ บาลทิพย์ จะให้ความสำคัญกับการสนับสนุนให้ไปเปิดตลาดเขียวบริเวณหน้าเทศบาลของกลุ่มสวนผัก
  • การเลี้ยงอาหารต้อนรับผู้มาเข้าร่วมกิจกรรมใช้ปิ่นโตเพื่อสุขภาพต้อนรับแสดงให้เห็นถึงความหลากหลายของอาหารและรสชาติและชุมชนเกิดกติกาใหม่ คือ ประชุมเดือนละ 1 ครั้ง ใช้ปิ่นโตมารับประทานร่วมกันและนิมนต์พระด้วยทุกครั้ง ปรับเปลี่ยนเวลาประชุมประจำเดือนจากเดิมเป็น 13.00 น เป็น เริ่ม 9.00 น เสร็จไม่เกินบ่าย 2 โมง

สภาแกนนำ  17  คน สมาชิกของกลุ่มสวนผัก  43 ประชาชนทั่วไป 25 คน ผู้นำของพื้นที่  5 คน

0.00 0.00 100 90 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-ชุมชนได้มีการประชุมโดยมีระเบียบวาระง่ายต่อการเข้าใจยิ่งขึ้น -กำนันอนุชา  เฉลาชัย  หัวหน้าโครงการ ได้เล้าเปรียบเทียบผลที่เกิดจากการดำเนินโครงการในปีที่ 1 ผลของการดำเนินการ ทำให้มีสภาแกนนำ 15-21  คนมีการปรับเปลี่ยนบ้างจากเหตุผลความจำเป็น ที่มาจากกลุ่มบ้านและเป็นตัวแทนกลุ่มบ้าน  เป็นตัวแทนสำคัญในการสื่อสารกันในแต่ละกลุ่ม  ทำให้สภาแกนนำได้ชวนพี่น้องร่วมกันปลูกผักเพื่อกินเอง ปลอดสารพิษ เลิกการใช้เคมี  ลดรายจ่ายให้ครัวเรือนใช้ภูมิปัญญาการเลี้ยงผึ้งเพ่ิมรายได้ ปีที่สอง พัฒนาขยายผลปีที่หนึ่งให้ชัดขึ้นของสภาแกนนำ  เพื่อให้ผลผลิตอาหารปลอดภัยได้เพียงพอต่อชุมชน โดยเริ่มพัฒนาตลาดเขียวในการรวบรวมผลผลิตจากครัวเรือนที่เหลือกินมาแลกเปลี่ยนสู่ชุมชน โดยใช้ ตลาดหูยานสะพานคนเดินเป็นจุดรวบผลผลิต เดือนละสองครั้งในระยะแรก ต่อมาก็ได้มีจุดขายเพิ่มขึ้นจนเป็นแหล่งรายได้ของชุมชน ในปีที่ สาม สภาแกนนำได้ร่วมกันพัฒนายกระดับเพื่อช่วยให้ชุมชนแก้ปัญหาเศรษฐกิจด้วยการเพิ่มรายได้จากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การแปรรูป การพัฒนาตลาด สู่การเป็นวิสาหกิจสีเขียวบ้านหูยาน ที่ผลิตสินค้าปลอดภัยให้เพียงพอในชุมชน -สถาแกนนำ  สมาชิก กลุ่มสวนผักชุมชนหูยานจัดการตนเอง รู้และเข้าใจตรงกันถึงการรักษากลุ่ม ทำให้กลุ่มของชุมชนเติมโตโดยต้องร่วมกันทำ ร่วมกันรักษาคุณภาพมาตรฐานการผลิต

       

-สภาแกนนำ  15  คน -ตัวแทนครัวเรือน 25 คน

0.00 0.00 40 40 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ชี้แจงผู้เข้าร่วมประชุมเข้าใจวัตถุประสงค์โครงการ ขั้นตอนการดำเนินการ รายละเอียด
          -สภาแกนนำและตัวแทนชุมชนทราบโครงการชุมชนหูยานบ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเอง ต่อเนือง 3 ปี เป็นโครงการที่แก้ปัญหา 3 เรื่อง คือ สุขภาพเป็นปันหาใหญ่  ปัญหาเรื่องต่างคนต่างอยู่ ปัญหาเรื่องรายรับน้อยกว่ารายจ่าย โดยวิธีการสร้างสภาแกนนำขึ้นมา 15 คนจากกลุ่มบ้าน ในการรวมคนทำงานร่วมลดปัญหาต่างคนต่างอยู่ด้วยวิธีการเรียนรู้และพัฒนามาตลอดเวลา โดยใช้กิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษ 20  ชนิดเพื่อสุขภาพลดรายจ่ายครัวเรือน นำภูมิปัญญาเลี้ยงผึ้งมาเลี้ยงเพิ่มรายได้

2.สิ่งที่ได้รับ สิ่งที่เปลี่ยนแปลง เกิดขึ้นกับตัวเอง  ครอบครัวและชุมชนหูยาน โดยร่วมกันแลกเปลี่ยนของสภาแกนนำ และครัวเรือนต้นแบบ             -สภาแกนนำและครัวเรือนต้นแบบเกิดการแปลง มีผลผลิตพืชผักปลอดสารพิษ เหลือกิน มีผึ้งจำหน่ายน้ำผึ้ง ชุมชนเลิกใช้ใช้เคมี  ชุมชนมีตลาดเขียวผลิตอาหารปลอดภัยจำหน่ายเป็นรายได้ในชุมชนและนอกชุมชนต่อเนื่อง เกิดปิ่นโตสุขภาพ สร้างงาน กระจายรายได้ ลดปัญหาขยะชุมชน
3.สิ่งที่ต้องการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นหลังจากโครงการจบ 3 ปีคืออะไร ผลผลิตที่เหลือกิน เกิดการรวมกลุ่มพัฒนาแปรรูป รวมเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสีเขียวบ้านหูยาน เช่น เครื่องแกง เห็ด  ปุ๋ย อาหารแปรรูป ผึ่้ง มีฐานมาจากการปลูกผักปลอดสารพิษ 20  ชนิดลดรายจ่าย

4.ปัญหาอุปสรรค์ของการดำเนินงานโครงการคืออะไร             -เนื่องจากเมื่อจบโครงการความเป็นชุมชนต้องได้รับความต่อเนื่องของกิจกรรม การพัฒนาศักยภาพกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสีเขียวบ้านหูยาน ต้องพัฒนาศักยภาพสภาแกนนำให้ขับเคลื่อนวิสาหกิจชุมชนฯด้วยวิธีการใช้แผนชุมชนเป็นเครื่องมือต่อไป และใช้ทักษะความสามารถเฉพาะต้วในการเชื่อต่อเครื่อข่ายภายในและภายนอกในการพัฒนาวิสาหกิจฯ

5.ข้อเสนอแนะมีอะไรบ้าง           -สร้างโรงเรียนผู้นำหรือพัฒนาสภาแกนนำเป็นแหล่งเรียนรู้ให้เป็นที่เรียนรู้ของชุมชนอื่นในตำบลหรือที่อื่นเพื่อขยายผล

กิจกรรมหลัก : 1.ประชุมเชิงปฎิบัติการสภาแกนนำเพื่อสร้างและออกแบบสร้างเครื่องมือการจัดเก็บข้อมูลเพื่อทำหลักสูตรเรียนรู้การเป็นวิสาหกิจชุมชนสีเขียว 2.ตั้งคณะทำงานวิสาหกิจสีเขียวบ้านหูยานi

6,000.00 25 ผลผลิต

สภาแกนนำเข้าใจวิธีการเก็บข้อมูล เป็นการได้ทบทวน ได้เรียนรู้ข้อมูลสถานการณ์เพื่อนำมาสู่การปรับแผนชุมชนนำมาใช้ในการวางแผนการเป็นวิสาหกิจชุมชนสี่เขียวบ้านหูยาน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

เกิดการพูดคุย ออกแบบ การทำกลุ่มเครื่องแกงจากฐานข้อมูลพืช 20 ชนิดในครัวเรือนได้ข้อมูลการพัฒนากลุ่มผึ้งแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆครบวงจร ได้ข้อมูลการรวมกลุ่มทำปุ๋ยใช้ลดต้นทุน และกลุ่มทำเห็ด น้ำสมุนไพร แปรรูปอย่างอื่นอีกหลายอย่างทั้งหมดฐานข้อมูลในการทำทำแผนวิสาหกิจชุมชนสีเขียวบ้านหูยาน

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

สภาแกนนำชุมชนบ้านหูยาน จำนวน 17 คน สมาชิกของกลุ่มหูยานที่เป็นผู้สูงอายุ 8  คน

6,000.00 6,000.00 25 25 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิตที่เกิดขึ้น

  1. ได้แบบการเก็บข้อมูลกับครอบครัวต้นแบบ 70ครอบครัว เพื่อนำมาวิเคราะห์ให้เห็นว่าเป็นข้อมูลเชิงประจักโดยสภาแกนนำ ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลจากสมาชิก พบว่า ทั้ง 70 ครัวเรือนมีการปลูกผักกินเอง มีมากบ้าง น้อยบ้าง ขึ้นอยู่กับพื้นที่บริเวบ้านบางคนก็ปลูกเหลือกันในครัวเรือนนำมาฝากร้านค้าเพื่อจำหน่ายเพิ่มรายได้จากข้อมูลที่พบ ครัวเรือนปลูกผักกินเพียงพอในชุมชน แต่เหลือเพื่อจำหน่ายเพิ่มรายได้ยังน้อยไม่สามารถขยายตลาดได้เนื่องจากจำนวนสินค้ามีไม่พอจำหน่าย วิธีการแก้ไข จากขอเสนอของสภาแกนนำ คือ 1. เพิ่มพื้นที่การปลูก 2. สร้างการเรียนรู้เพื่อผลิตพื้ชผักที่ตลาดมีความต้องการเพิ่มขึ้น 3. พัฒนาให้เป็นให้สมาชิกพัฒนาแปรรูปผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม
  2. ได้คณะทำงานที่เป็นสภาแกนนำบ้านหูยานเป็นกลไก แบ่งเป็นฝ่ายต่าง ๆ ได้แก่ด้านตลาดด้านประชาสัมพันธู์ ฝ่ายรวมชื้อ - รวมขาย เป็นต้น กลุ่มสวนผักชุมชนคนหูยาน ภายใต้โครงการหูยานจัดการตนเองในปีที่ 3ได้พัฒนาตลาดเขียว อย่างต่อเนื่อง ที่เริ่มจากคนในชุมชน รวมกลุ่มเรียนรู้ สร้างกิจกรรม ดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง จนมีคณะทำงาน

2.1ด้านการตลาด แบ่งเป็นสองส่วน คือ ตลาดภายนอกตลาดภายใน ทำกิจกรรมคู่ขนานกับชุมชน

  • ตลาดภายนอก คือ ภาคีเครือข่ายที่เชิญกลุ่มไปเข้าร่วมกิจกรรมนอกสถานที่ เช่น ตลาดเกษตร ที่มีจำน่ายผลผลิตจากชุมชนในวัน ศูกร์กับวันจันทร์และการออกบูทนิทรรศการผลที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาศักยภาพคนในชุมชนเกิดการรวมซื้อจากสมาชิก ไปขายเพื่อเป็นรายได้หรือเป็นแม่ค้าคนกลางที่รับสินค้าในชุมชนไปขายกับตลาดและเครือข่ายภายนอก ทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น ปัจจุบันคนกลางที่ได้รับการพัฒนาแล้ว พี่งตนเองได้แล้วหลาย คนโดยการแบ่งคนกันออกไป ได้แก่ คือ นางจริยาฮั่นพิพัฒน์นางบุญเรืองแสงจันทร์จริพรพงษ์ชูจิรพรช่วยรักษ์ปราณีบัวแก้วกุลรัตน์แก้วกวน สุมาลีศรีโดนกรรณิฐาจันทร์เพ็งบุญธรรมศรีบริรักษ์สุนีย์ส่งแสง

  • ตลาดภายใน คือ ตลาดภายในชุมชนที่พัฒนากันอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ตลาดหูยานสะพานคนเดือน ปัจจุบัน จัดเดือนละ 2 ครั้ง เสาร์ที่สองของเดือนและเสาร์สุดท้ายของเดือน ตลาดร้านค้าชุมชน สมาชิกนำผลผลิตไปฝากจำหน่าย และผู้บริโภคมาซื้อโดยตรงกับสมาชิก และตลาดในกิจกรรมที่จัดขึ้นในชุมชน

2.2 ด้านการประชาสัมพันธ์กลุ่มสวนผักชุมชนบ้านหูยานมีการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง ตลอดตั้งแต่ปีที่ 1 - 3 โดยช่องทาง สื่อ วิทยุข่าวช่วงเช้า หนูนุ้ยคุ้ยข่าว, การขยานออกบูทจัดนิทรรศการของกลุ่มในสถานที่ต่างๆ ในจังหวัดพัทลุง, มีกิจกรรมร่วมงานกับเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง ,มีกิจกรรมในชุมชนตลอด ได้แก่ ร่วมกิจกรรมกับเทศบาลตำบลนาท่อมร่วมกิจกรรมงานวัด งานประเพณีในชุมชน มีตลาดหูยานสะพานคนเดิน เดือนละ 2 ครั้ง เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป และสินค้าเริ่มมีไม่เพียงพอ

3.ได้คำขวัญที่เป็นวิสัยทัศน์คือ ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อ แบ่งปันเป็นสโลแกนในการสร้างแรงบันดาลใจให้คณะทำงานมีกำลังใจ ในการร่วมกันหาความหมายชุมชนจัดการตนเอง คือ ชุมชนที่ร่วมกันคิด ทำรับผิดชอบ และเป็นชุมชนพึ่งตนเองได้ หรือการที่คนในชุมชนจัดการตนเอง พึ่งตนเองได้

4.ได้ร่างกรอบวิชาที่กลุ่มสวนผักต้องเรียน และทบทวน ให้เป็นกรอบ ทิศทางการทำงาน (เอกสารแนบ)


5.สภาแกนนำบ้านได้เป็นคณะทำงานของวิสาหกิจสีเขียว ได้เข้าใจถึงสถานการณ์ของกลุ่มสวนผักฯ ดีว่าสินค้าและผลิตภัณฑ์มีจำนวนไม่เพียงพอต่อความต้องการในการขายในแต่ละครั้งของตลาดหูยานสะพานคนเดินซึ่งเปิด เดือนละ 2 ครั้ง/สภาแกนนำ มีความรู้ และเข้าใจตรงกัน ชุมชนจัดการตนเอง คือ ชุมชนที่มีครัวเรือนหลาย ๆ ครัวเรือน หรือ ระดับบุคคล หลาย ๆ คนในชุมชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรรมไปในทางที่พึงตนเองได้ เช่น พี่งตนเองในการผลิตอาหารปลอดภัยกินเองในชุมชน รูปธรรมความสำเร็จ ครัวเรือนจัดการตนเองอย่างน้อยจำนวน 12 ครอบครัว/เดิมสถานที่จำหน่ายสินค้าอาหารปลอดภัยบ้านหูยานเปิดขายเดิอนละ 1 ครั้ง ปัจจุบัน 2 ครั้ง และมีสถานที่เปิดขายประจำ ที่หน้าตลาดเกษตร สัปดาห์ละ 2คือวัน-อาทิศุกร์กับวันจันทร์

กิจกรรมหลัก : ประชุมเชิงปฎิบัติการทำแผนงานวิสาหกิจสีเขียวและแผนปฏิบัติการi

6,000.00 25 ผลผลิต

สภาแกนนำได้แผนแผนปฎิบัติการเพื่อขับเคลื่อนชุมชน ให้มีวิสาหกิจชุมชนสีเขียว ผลิตอาหารปลอดภัยชุมชนหูยานบนฐานการปลูกผักปลอดสารพิษ 20 ชนิดลดรายจ่ายครัวเรือน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

สภาแกนนำยังขาดประสบการณ์ยังต้องเรียนรู้การเป็นวิสาหกิจชุมชนและวิธีการดำเนินงานเพราะเป็นเรื่องใหม่ต่อชุมชน ต้องสร้างความเข้าใจ และต้องให้ความรู้กับชุมชนก่อน

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

สภาแกนนำชุมชนบ้านหูยานและสมาชิกกลุ่มสวนผัก 

6,000.00 6,000.00 25 25 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • สถาแกนนำบ้านหูยานทุกคนทราบ ปัญหาของกลุ่มในปัจจุบัน คือ ผลผลิตเพียงพอในการลดรายจ่ายครัวเรือน แต่ไม่ไม่เพียงพอต่อการสร้างรายได้, การดำเนินการต่อไปด้วยการมีแผนงานและการเรียนรู้พัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อนำไปสู่การเป็นวิสาหกิจชุมชนสีเขียวบ้านหูยานและได้เรียนรู้บันใดผลลัพธ์จากพี่เลี้ยง นายถาวร  คงศรีและนายสมนึกนุ่นด้วง  ในการพัฒนาสู่วิสาหกิจชุมชน
  • สภาแกนนำได้เรียนรู้ในวิชา การเป็นวิสาหกิจชุมชน ต้องเรียนรู้ 6 วิชา คือ แต่ละวิชาจะเรียนคู่กับกับการปฏิบัติ โดยการแลกเปลี่ยนกันอย่างน้อยเดือนละครั้งของสภาแกนนำใช้ 6 เรื่องมาจับในการคุย วิสาหกิจชุมชนสีเขียวบ้านหูยาน หลักสูตรที่ต้องเรียนรู้ 6 เรื่อง
  1. การจัดการระบบการผลิตเกษตรอินทรีย์
  2. การจัดการระบบมาตรฐานความปลอดภัยด้านเกษตรและอาหาร
  3. การจัดการระบบการกระจายสินค้า
  4. การจัดการกลุ่มและเครือข่าย
  5. การจัดการระบบการเรียนรู้และฐานข้อมูล
  6. การจัดการระบบการสื่อสารประชาสัมพันธ์และเชื่อมโยงผู้บริโภคเกษตรปลอดภัย

กิจกรรมหลัก : ทบทวนแผนชุมชนคืนข้อมูลและนำแผนวิสาหกิจชุมชนสีเขียวเพื่อใส่ในบัญชีแผนชุมชนบ้านหูยาน ก่อนการแก้ปัญหาi

11,900.00 70 ผลผลิต
  • สภาแกนนำและประชาชนตัวแทนครัวเรือนมีความรู้และเข้าใจการทบทวนแผนชุมชน ยังขาดความรู้เรื่องวิสาหกิจฯแก้ปัญหาด้วยการ จัดทำเอกสาร 2อย่าง คือแผนชุมชน กับแผนการเป็นวิสาหกิจ แจกและนำมาเรียนรู้ในวันประชุมหมู่บ้านวันถัดไป

ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  • สภาแกนนำ นำกิจกรรมในแผนวิสาหกิจเข้ามาบรรจุไว้ในแผนชุมชน เช่น การทำเครื่องแกง การทำปุ๋ยอินทรีย์การพัฒนาแปรรูปผึ้ง การทำเห็ดการขอระบบน้ำทำแปลงรวมรวมของกลุ่ม เพื่อขอสนับสนุนจากหน่วยงานอื่น

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

สภาแกนนำ 21 คน ผู้นำ 3  คน เทศบาล 1 คน สมาชิกและประชาชนทั่วไป 35

11,900.00 11,900.00 70 60 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลสรุปที่สำคัญ

  1. สภาแกนนำชุมชนบ้านหูยานได้เรียนรู้เชิงปฏิบัติการ รู้ปัญหาของชุมชนแล้วนำปัญหาเสนอเป็นร่างแผนเสนอให้ประชาชนเห็นชอบ ในวันที่ 23/2/59เช่นเรื่องเร่งด่วนแหล่งน้ำในแปลงรวม ตรามาตรฐาน พลังงานทดแทน
  2. กิจกรรมทั้ง 3 ครั้ง สภาแกนนำเรียนรู้เชิงปฎิบัติการ เห็นข้อมูลที่ที่ร่วมกันวิเคราะห์แล้วเป็นปัญหาของชุมชนได้แก่ ในที่ประชุมพบปัญหาผลผลิตในตลาดอาหารปลอดภัยมีไม่เพียงพอในชุมชนและความต้องการ แก้ไขโดย ร่วมกันเสนอขอใช้แปลงรวมปลูกผักปลอดสารพิษ โดยได้เนื้อที่ ประมาณ 3 ไร่ 3 งาน แต่ขาดงบประมาณทำแหล่งน้ำ และพบว่าผลผลิตที่ออกมาต้องมีมาตรฐานรับรอง

ผลลัพธ์

  1. สภาแกนนำบ้านหูยานมีความรู้และเข้าใจในการใช้แผนของชุมชนและผลักดันกิจกรรมสำคัญที่เกินศักยภาพชุมชน
  2. ได้ร่างแผนชุมชนที่มีการร่วมคิดฉบับ ตรงกับปัญหาความต้องการ และรับรองวันที่ 23/2/59

กิจกรรมหลัก : พัฒนาศักยภาพเรียนรู้ดูงานวิสาหกิจต้นแบบ ชุมชนไม้เรียง จ.นครศรีธรรมราชi

20,500.00 25 ผลผลิต

สภาแกนนำไปศึกษาดูงานจากโครงการพระราชดำริ ชั่งหัวมัน เนื่องจากเป็นการทำการปลูกผักหลายชนิดปลอดสารพิษ ลดรายจ่าย สร้างรายได้ ที่เป็นรูปธรรมและสอดสอดคล้องกับกิจกรรมที่ชุมชนหูยานดำเนินการอยู่ ส่วนพื้นที่ชุมชนไม้เรียงที่เป็นพื้นที่ต้นแบบ ได้ศึกษาจาก vcd เป็นประจำรู้เข้าใจหลักปฏิบัติ


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

สภาแกนนำกลับมาสรุปงานผลที่ได้รับจากการศึกษาดูงาน คือ ได้นำมาปรับพื้นที่ 4 ไร่ เป็นพื้นที่แปลงรวมของกลุ่มสวนผักฯ เข้าไปปรับปรุงพื้นที่ จะทำแปลงรวมต้นแบบ20ชนิด เป็นรายได้ของกลุ่ม นำผลผลิตมาจำหน่ายในตลาดหูยาน และทำปุ่๋ยใช้เองในแปลงรวม ปัญหายังขาดระบบน้ำ

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

สภาแกนนำ 21  ผู้นำในชุมชน 1

20,500.00 20,500.00 25 22 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลที่เกิดขึ้น

  • สภาแกนนำ ได้รับฟังการบรรยาย จำนวน 21 คนและผู้นำ 4 คน ได้ทราบหลักคิด วิธีการกระบวนการ ของโครงการชั่งหัวมัน สอดคล้องกับโครงการหูยานจัดการตนเองในปีที่ 1-3ซึ่งได้นำโครงการช่างหัวมันมาเป็นต้นแบบตั้งแต่ปีที่ 1 โดยนำมาปรับใช้สอดคล้องกับปัญหาของพื้นที่ ปัจจุบันชุมชนหูยานดำเนินงานมา 3 ปีเมื่อนำมาเปรียบเที่ยบ พบ ว่า ใกล้ความเป็นจริงกับพื้นที่ต้นแบบมาขึ้น โดยในช่วงแรกเป็นการรวมคนช่วงที่สองพัฒนาคนสู่การผลิตปลูกผักปลอดสารพิษให้เพียงพอต่อความต้องการของครัวเรือนและลดรายจายเมื่อเพียงพอในครัวเรือนแล้วยกระดับสู่ ขั้นที่สาม ผลิตเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด เพื่อสร้างรายได้และโครงการช่างหัวมันเป็นตัวแบบที่ชัดเจนมากสภาแกนนำเห็นแล้วเข้าใจได้ตรงกัน
  • สภาแกนนำ หลังจากที่ดูงานแล้วสรุปงานได้พบ จุดอ่อนของโครงการหูยานจัดการตนเอง ในระยะแรกสมาชิกปลูกเพื่อบริโภคในครัวเรือน ลดรายจ่ายระยะที่สองเรียนรู้พัฒนาเพื่อให้เกิดตลาดสีเขียวเพื่อนำผลผลิตที่เหลือจากครัวเรือนมาจำหน่ายให้เกิดรายได้บ้างแต่ผลผลิตในตลาดสินค้าที่นำมาแลกเปลี่ยนในตลาดไม่เพียงพอ ระยะที่สามเพื่อมองตัวเองได้ชัดขึ้นก็ตัดสินใจให้โครงการช่างหัวมันเป็นต้นแบบ
  • สภาแกนนำต้องกลับมาปรับกระบวนการต้นทางกลางทางปลายทาง ทุกกระบวนต้องพัฒนา ให้ความรู้เพิ่มกับสมาชิก กลุ่มสวนผักชุมชนคนหูยาน ที่จะนไปสู่กาเป็นรวิสาหกิจชุมชนสีเขียวบ้านหูยาน เพื่อผลิตอาหารปลอดภัยให้เพียงพอต่อความต้องการของชุมชนและตลาด

กิจกรรมหลัก : เรียนรู้การปลูกพืชปลูกพืชปลอดสารพิษเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มi

29,900.00 70 ผลผลิต

สมาชิกครัวเรือนต้นแบบและสภาแกนนำมีความรู้ จากเกษตรอำเภอเมือง จ.พัทลุง เรื่องการปลูกผักปลอดสารพิษ การตลาดผักปลอดสารพิษโดยการอบรม และยกตัวอย่างพื่นที่ประสบความสำเร็จ


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

การปลูกพืชปลอดสารพิษเพิ่มมูลค่าต้องอาหารการเรียนรู้และลงมีทำ ต้องมีความรู้เรื่องการบริหารจัดการพืชผักในแปล ระบบการตลาด มาตรฐาน ความต่อเนื่อง เป็นสิ่งที่ผู้ปลูกต้องมีวินัย

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 3 ครั้ง

สภาแกนนำบ้านหูยาน จำนวน 21 คน

0.00 0.00 25 21 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. แหล่งเรียนรู้ผึ้งบ้านหูยานได้ ต้อนรับและนำเสนอวิธีการเลี้ยงผึ้งเพิ่มรายได้ ของกลุ่ม
  2. ชุมชนหูยานได้ต้อนรับเครือข่ายจากธนาคารธกส.และลูกค้า ได้มาเรียนรู้ชุมชนหูยาน และขายผลผลิตจากผึ้งได้เป็นรายได้ของกลุ่ม
  3. สภาแกนนำได้ไปศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ดูงานบ้านลุงนัน ในกรอยต.ป่าบอน ได้ความรู้แนวคิดการจัดการตนเองของลุงนันคือ แนวคิดในการบริการจัดการพื้นที่ให้เกิดรายได้อย่างยั่งยืน ตลอด พึงตนเองได้ แก้ไขปัญหาตนเองเรื่องรายได้ ตนเอง ครอบครัวอย่างเข้าใจง่าย ทุกคนทำได้ เป็นตัวอย่าง การจัดการตนเองที่เป็นรูปธรรมในระดับบุคคล
  4. ชุมชนหูยานได้มีเพือนที่เป็นธนาคาร ธกส. 2สาขาลูกค้าธนาคารและได้รูัจักแหล่งเรียนรู้สวนสะละลุงนัน เป็นบุคคลต้นแบบที่จัดการตนเองได้

กลุ่มเครื่องแกง 4 คน แกนนำ 1 คน

0.00 0.00 5 5 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • กลุ่มเครื่องแกงบ้านหูยานได้มีความรู้ ได้เห็นกระบวนการบริหารกลุ่มปัจจัยการผลิตของสมาชิกการผลิตเครื่องแกงปลอดสารเคมี
  • กลุ่มเครื่องแกงหูยานนำความรู้วิธีการมาประยุกต์ใช้กับกลุ่มให้ปลูกวัสดุการทำเครื่องแกงไม่ให้ขาดและเกิน เช่น ต้นพริก ตะไคร้ ขมิ้น เพื่อนำมาเป็นวัสดุดิบในการทำเครื่องแกง

สมาชุิก  สภาแกนนำ  ผู้สูงอายุ

29,900.00 29,900.00 70 68 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. สมาชิกได้เรียนรู้การสร้างมูลค้าจากการทำเกษตรปลอดภัย ปลอดสาร จากนางจริยา  ฮั่นพิพัฒน์และนางบุญเรื่อง  แสงจันทร์  สมาชิกสภาแกนนำที่ได้ไป อบรมเรียนรู้ มาจากเกษตรจังหวัดพัทลุงจนได้รับเครื่องหมายรับรองมาตรฐานคุณภาพ Q  และมีจุดขายอยู่ตรงตลาดหน้าสำนักงานเกษตรทุกวันจันทร์และศุกร์
  2. ได้มีการปรับแผนชุมชน เพื่อต้องการขอระบบน้ำเพื่อการเกษตรในแปลงรวม/และทำโครงการของงบประมาณเศรษฐกิจพอเพียง จากพัฒนาการอำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง
  3. ทางกลุ่มได้รับสมาชิกเพื่อไปทำเกษตรแปลงรวม 4 ไร่ โดยออกแบบทำการปลูก 20 ชนิด ตามหลักคิดโครงการในปีแรก ขณะนี้อยู่ในขั้นปรับปรุงแปลงรวม มีปัญหาระบบน้ำที่รอหน่วยงานรัฐเข้ามาช่วยเหลือแหล่งน้ำ
  4. สมาชิกรู้จุดอ่อนของกลุ่มและของตนเอง ในการรวมกลุ่มกันทำ เนื่องจาก ปัจจุบันต่างคนต่างทำของตนเองแล้วนำมารวมกันขายในตลาดสีเขียว(ตลาดหูยานและตลาดเกษตร) แต่การทำเพื่อการค้าต้องปรับตัวเนื่องจากเรื่องเวลา
  5. สมาชิกได้รับรู้ และเข้าใจในเรื่องมาตรฐาน หลักเกณฑ์การแข่งขัน ข้อบังคับต่าง ๆ และสมาชิกยังได้ใช้ระบบบัญชีเป็นการคุมสินค้าอย่างต่อเนื่อง เป็นจุดแข็งที่ต้องรักษาและพัฒนาต่อ

กิจกรรมหลัก : - หนุนเสริมกลุ่มผลิตเครื่องแกงและกลุ่มผลิตภัณฑ์ผึ้งครบวงจร เป็นผลิตภัณฑ์ในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสีเขียวบ้านหูยานi

17,900.00 70 ผลผลิต
  • เกิดกลุ่มผลิตเครื่องแกงสมุนไพรบ้านหูยาน20คน
  • เกิดกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ผึืงกครบวงจร21 คน
  • เกิดกลุ่มเห็ดนางฟ้า17 คน
  • เกิดกลุ่มปุ๋ย 15 คน

ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

กลุ่มกิจกรรม 4 กลุ่มหลักเป็นฐานวิสาหกิจชุมชนสีเขียวบ้านหูยาน

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

  • ตัวแทนครัวเรือนละ 1  คน
  • สมาชิกกลุ่มสวนผัก 54 คน
  • สภาแกนนำบ้านหูยาน 15 คน
17,900.00 17,900.00 70 70 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เกิดกลุ่มเครื่องแกง ชื่อ กลุ่มเครื่องแกงสมุนไพรบ้านหูยาน สมาชิกในองค์กร 20 คน สมาชิกกลุ่ม คือ ทุกคนที่เป็นสมาชิกกลุ่มสวนผัก สามารถนำผลผลิดของตนเองมาจำหน่ายให้กลุ่มได้เป็นลำดับแรก ถ้าไม่พอหาซื้อจากภายนอกพื้นที่ ผลลัพธ์ทางกลุ่มได้ปรับเข้าแผนชุมชนเสนอให้สนับสนุนพัฒนาอาชีพ ทางกลุ่มเสนอของบประมาณจากโครงการประชารัฐเศรษฐกจพอเพียงเพื่อสนับสนุนกลุ่มอยู่ในช่วงดำเนินการ
  • เกิดกลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ จากจุลินทรีย์ธรรมชาติ 7 อย่างใช้กับ พืชสัตว์ ลดรายจ่ายนำไปใช้ในแปลงสาธิต และแปลงรวม ตลอดจนจำหน่ายเป็นรายได้เข้ากลุ่มส่งเสริมอาชีพ สมาชิกก่อตั้ง 14คน
  • เกิดกลุ่มเลี้ยงเห็ดเพื่อส่งเสริมอาชีพ/รายได้ของกลุ่ม
  • ได้มีการส่งสมาชิกสภาแกนนำไปเรียนรู้กับเครือข่าย ได้แก่ ธกส สาขาท่ามิหรำเกษตรอำเภอไปเรียนการทำผลไม้ออกนอกฤดู เช่น มังคุดเงาะลองกอง แล้วกลับมาถ่ายทอดในที่ประชุมแก่สมาชิก -ผลลัพธ์ ของการมีกลุ่มกิจกรรมเพิ่มขึ้นเป็นช่องทาง โอกาสให้กลุ่มไปจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนสีเขียวบ้านหูยานที่มีหลากหลายกิจกรรม เพื่อให้ชุมชนมีรายได้จากการรวมกลุ่มทำกิจกรรมในชุมชน

กิจกรรมหลัก : - หนุนเสริมพัฒนาตรามาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัย เครื่องหมาย คิว รับรองจาก 3 หน่วยงาน คือ เทศบาลอนามัย และผู้ผลิต - หนุนเสริมภาชนะใส่ผลิตภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้i

13,900.00 70 ผลผลิต

สภาแกนนำมีความรู้จากการอบรมเป็นตัวแทนของชุมชนร่วมกับ เทศบาลตำบลนาท่อมรพสต.ตำบลนาท่อม ร่วมกันกำหนดตัวชี้วัด สร้างตราเครื่องหมาย Q ของตำบลนาท่อมเพื่อสร้างระบบมาตรฐานอาหารปลอดภัยในตำบลโดย รพสต.ตำบลนาท่อมให้ความรู้ เทศบาลแต่งตั้งคณะทำงานคุ้มครองผู้บริโภคมาทำหน้าที่แทนโดยตรวจตามตัวชี้วัดที่กำหนดหนดร่วมกัน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ตำบลนาท่อมได้เครื่องหมาย Q เป็นเครื่องหมายมาตรฐานอาหารปลอดภัยของชุมชน ที่ใช้ทั้งตำบล โดยมีหน่วยงาน รพสต.ตำบลนาท่อมเทศบาลตำบลนาท่อมตัวแทนชุมชน ร่วมกำหนดตัวชี้วัดมาตรฐานอาหารปลอดภัย

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 2 ครั้ง

-ประชาชนทั่วไป 14 คน -สภาแกนนำ 12  คน -รพสต 1 คน -จนท เทศบาล 3 คน

13,900.00 13,900.00 70 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้ร่วมกันกำหนดหลักเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยจาก 3 ฝ่าย คือ เทศบาลตำบลนาท่อม ที่มีการแต่งตั้ง คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคไว้แล้ว มาตรวจสอบตามเกณฑ์ตัวชี้วัด หมออนามัยให้ความรู้เรื่องอาหารปลอดภัยสภาแกนนำร่วมกันคิด เสนอแนะจนทั้ง 3ฝ่ายยอมรับให้ใช้เครื่องหมาย Qของตำบลนาท่อมแต่ต้องผ่านการตรวจสอบจากตัวชี้วัดมาตรฐานของคณะกรรมการคุมครองผู้บริโภคตำบลนาท่อม
  • ปัญหาผู้เข้าร่วม 30คนน้อยกว่าเป้าหมาย แนวทางแก้ไข จัดกิจกรรมครั้งที่ 2 วันที่ 16 กย 59ร่วมกับเทศบาลในตลาดหูยานสะพานคนเดิน ในกิจกรรม ตลาดน่าซื้อเคียงคู่อาหารปลอดภัย เป็นการประชาสัมพันธ์ แนะนำการเลื่อกซื้ออาหารที่ปลอดภัยภัยจากตลาดต้องคำนึงถึง อะไรบ้างหมออนามัยให้ความรู้เรื่องอาหารปลอดภัย ต้องมีการตรวจ ต้องให้ตรามาตรฐาน เพื่อเป็นหลักเกณฑ์ชี้วัดอาหารปลอดภัย

เทศบาลตำบลนาท่อม 9 คน สภาแกนนำ 10  คน เด็ก 20  คนคนทั่วไป 31  คน

0.00 0.00 70 70 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ประชาชนได้มีความรู้เรื่องตลาดน่าชื่อเคียงคู่อาหารปลอดภัยในชุมชน
  • ประชาชนได้ทราบหลักเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัย เครื่องหมาย Q ของตำบลนาท่อมมีการกำหนด 3 ฝ่าย เทศบาลที่มี คณะกรรมการผู้บริโภค รพสต เป็นหน่วยงานที่ร่วมกำหนดและให้ความรู้ชุมชนเป็นผู้ร่วมกำหนดตัวชี้วัด

กิจกรรมหลัก : ประชุมสร้างความเข้าใจสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสีเขียวกับการเข้าสู่มาตรฐานรับรองผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัยกับผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจสีเขียวบ้านหูยานi

10,400.00 70 ผลผลิต

ผู้เข้าร่วมประชุม ครอบครัวต้นแบบและสภาแกนนำมีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานรับรองผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัยของวิสาหกิจชุมชนสีเขียว


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคที่แต่งตั้งโดยเทศบาลตำบลนาท่อมเป็นผู้ตรวจและออกมาตรฐาน Q รับรองให้ผู้มีความประสงค์เข้าสู่การผลิตอาหารปลอดภัยในชุมชนตำบลนาท่อม

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

-สภาแกนนำ 15  คน ร่วมคิดกำหนดหลักเกณฑ์ -เทศบาลตำบลนาท่อม 2 คน ร้วมกำหนดหนักเกณฑ์เงื่อนไขโดยใช้คณะคุมครองผู้บริโภคกำหนดตัวชี้วัด -รพสต 1 คน หน่วยงานให้ความรู้ร่วมกำหนดตัวชี้วัด -สมาชิกครัวเรือนต้นแบบและประชาชนทั่วไปร่วมรับฟัง42 คน

10,400.00 10,400.00 70 60 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้เครื่องหมาย Qของตำบลนาท่อม ที่จะนำมาใช้ โดยใช้ กลไกคณะกรรมการคุมครองผู้บริโภค ในการตรวจสอบดูแลมาตรฐานอาหารปลอดภัย 3 ฝ่าย คือ เทศบาลตำบลนาท่อรพสต.นาท่อมตัวแทนประชาชน
  • ได้มาตรการข้อตกลงร่วมในการรับผิดชอบต่อชุมชน เช่น การลด ละ เลิกการใช้โฟมและพลาสติก อันนำไปสู่ขยะชุมชน
  • ได้ทะเบียนผู้จำหน่ายอาหารปลอดภัยในตลาดหูยานและตลาดของดีนาท่อม เพื่อใช้ในการพัฒนาพื้นที่อาหารปลอดภัยของตำบลนาท่อมต่อไป โดยการใช้การประชุม ผู้จำหน่ายอย่างน้อย 1 ครั้งต่อเดือนโดยมีเทศบาลเป็นเจ้าภาพ

กิจกรรมหลัก : รณรงค์บูทนิทรรศการณ์อาหารปลอดภัยในชุมชน ครั้งที่ 1 ประกาศเปิดตลาดเขียวแหล่งอาหารปลอดภัย 2 แห่งที่รับผิดชอบ ต่อผู้ซื่อ ผู้ขาย และสังคมi

14,100.00 70 ผลผลิต

-การรณรงค์ให้ประชาชนในชุมชนและนอกชุมชนรู้จักชุมชนหูยานด้วย การใช้ตลาดหูยานสะพานคนเดินเดือนละ 2 ครั้ง -การรณรงค์อาหารปลอดภัยในกิจกรรมแข่งขันเรือพาย งานประเพณีของชุมชน ให้ชุมชนได้รู้อาหารปลอดภัยและเผยแพร่


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ใช้ตลาดหูยานสะพานคนเดินและกิจกรรมชุมชนประเพณีแข่งขันเรือพาย ในการเผยแพร่บูทอาหารปลอดภัย

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 3 ครั้ง

สมาชิกกลุ่มสวนผักชุมชนคนหูยานที่มีผลผลิตเหลือจากการบริโภคในครัวเรือนนำมาซื้อขาย  แลกเปลี่ยน มีเด็ก  ผู้ใหญ๋ และผู้สูงอายุ

0.00 0.00 100 70 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิตจากการทำกิจกรรม

  • มีตลาดนัดชุมชน ตลาดหูยานสะพานคนเดิน เป็นตลาดอาหารปลอดภัยของชุมชนบ้านหูยานที่เป้นที่รู้จักของคนทั้งตำบลทั้งจังหวัดจากการประชาสัมพันธ์ต่อเนื่องเดือนละ 2 ครั้ง

ผลลัพธ์

  • สมาชิกกลุ่มสวนผักมีรายได้จากการนำผักมาซื้อขายแลกเปลี่ยน
  • ชุมชนมีแหล่งผลิตอาหารปลอดภัย
  • เด็กและผู้สูงอายุไม่เป็นภาระของครอบครัว เพราะมีงานทำ มีรายได้ มีอาหารปลอดภัยกิน
  • ความเอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือแบ่งปัน ที่เกิดจากกิจกรรมของตลาดตลาดไม่มีขยะจัดการหมดไปแต่ละครั้งตลาดรณรงค์ไม่ใช้พลาสติก
  • สมาชิกหมุนเวียนกันทำบัญชีกลุ่ม ในการบริหารทำให้ไม่เกิดปัญหา
  • ครอบครัวในชุมชนมีกิจกรรมต่อเนื่องนำมาสู่การมีรายได้ เพราะมีงานทำ

สมาชิกสภาแกนนำ  สมาชิกที่เป็นครัวเรือนต้นแบบนำผลผลิตมารวมกับกลุ่ม 

0.00 0.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-  นางสุมาลี ศรีโดน ผู้จัดการตลาด ได้ปรับวิ่ธีการใหม่ โดยการจัดการแบ่งพื้นที่ออกเป็น 3  ส่วน คือ พื้นที่ขายต้นชำ  พื้นที่ขายผักสด  พื้นที่ขายผลิตภัณฑ์แปรรูป และปรับการบรรจุภํณฑ์ให้ดูน่าซื้อ  ผลิตภัณฑ์ต้องผ่านการลงทะเบียนก่อนวางจำหน่าย เพื่อสร้างระบบในการเป็นวิสาหกิจชุมชนสีเขียวบ้านหูยานต่อไป

-  สมาชิกชภาแกนนำเข้ามาช่วยจัดระบบ  ได้แก่  ฝ่ายลงทะเบียน  ฝ่ายขายผลิตภัณฑ์ ฝ่ายสถานที่  ฝ่ายประชาสัมพันธ์

-  ผลจากการดำเนินของตลาดในครั้งนี้ พบว่าเมื่อจัดระบบของตลาด  ผลิตภัณฑ์น่าซื้อ และขายดีกว่าครั้งก่อน ๆ  ปัญหาที่พบ ผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัยยังไม่เพียงพอต่อความต้องการชุมชนและตลาดภายนอก

สภาแกนนำและประชาชนที่มาร่วมเปิดบูธแสดงผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัย และประชาชนทั้งในจังหวัดพัทลุงและจังหวัดอื่นที่มาร่วมชม เชียร์รือลงทะเบียน 65 คน

14,100.00 14,100.00 70 65 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต

-ได้รับความไว้วางใจและเป็นที่ต้องการของผู้เข้าชมงาม -ได้ฝึกการทำงานของกลุ่มโดยการแบ่งบทบาทหน้าที่ ใช้ระบบรวมซึ้อ รวมขาย บันทึกบันชีลดปัญหาความขัดแย้ง

ผลลัพธ์

  • ได้ผลผลิตใหม่คือ ผลิตภัณฑ์น้ำกระบอกไม้ไผ่เป็นที่นิยมและจำหน่ายได้เป็นจำนวนมาก ส่วนไม้ไผ่ก็มีจำนวนมากมายในชุมชนไม่ต้องซื้อ

กิจกรรมหลัก : ประกาศจัดตั้งวิสาหกิจสีเขียวบ้านหูยาน ผลิตอาหารปลอดภัยในชุมชนและเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้(รณรงค์ครั้งที่ 2)i

12,900.00 70 ผลผลิต
  • ผู้เข้าร่วมมีความรู้เข้าในเรื่องการจัดการอาหารอาหารปลอดภัย
  • การมีกติกาทำงานร่วมกันในกลุ่มโดยใช้ระบบเวลา และการบันทึกบัญชีกลุ่ม
  • ประชาชน/ครัวเรือนได้ฝึกการนำเสนอเป็นกลุ่มช่วยเหลือกัน ช่วยกันเสนอขาย ฝึกการลงบัญชีกลุ่ม ข้อดีแต่ละคนมีเพือนเป็นของตนเอง
  • ได้ประชาสัมพันธ์กิจกรรมดี ๆ ของชุมชนหูยานคนรู้จักชุมชนหูยานเพิ่มขึ้น ผลิตเครื่องแกงและเห็ดได้รับความนิยม
  • ผู้สูงอายุมีรายได้จากการผลผลิตอย่างต่อเนื่อง
  • สวนผักฯมีความเข็มแข็งภายใต้ชื่อหูยานทุกคนมีความรักหวงแหนชื่อที่เป็นโลโก้กลุ่ม
  • สมาชิก นางบุุญเรืองแสงจันทร์และนางจริยาฮั้นพิพัฒน์ พัฒนาตัวเองจนได้เครื่องหมาย GAP และได้จำหน่ายผลผลิตอย่างต่อเนื่องที่ ตลาดหน้าเกษตร ในเมืองพัทลุง

ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

เกิดตลาดนัดคนรักษ์สุขภาพแห่งที่ 2 คือ พื้นที่ตลาดนัดหูยานสะพานคนเดิน และตลาดนัดสีเขียวหน้าเทศบาล

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

เป็นงานรณรงค์ของดีนาท่อม ผู้เข้าร่วม ประกอบด้วย กลุ่มผู้สูงอายุ  เด็กนักเรียน 3 โรง คือ รร.วัดนาท่อม  กับ รร.วัดโคกแย้ม  รร.ประภัสสรรังสิต  กลุ่มผู้สูงอายุ  กลุ่มองค์กรทั้งหมดในตำบลนาท่อม และครัวเรือนต้นแบบบ้้านหูยานและประชาชนทั่วไป

12,900.00 12,900.00 70 72 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้เข้าร่วมมีความรู้เข้าเพิ่มขึ้น ในเรื่องการจัดการอาหารอาหารปลอดภัย
  • มีกติการการทำงานร่วมกันในกลุ่มโดยใช้ระบบเวลา และการบันทึกบัญชีกลุ่ม
  • ประชาชนในชุมชนที่เป็นครัวเรือนได้ฝึกการนำเสนอเป็นกลุ่มช่วยเหลือกัน ช่วยกันเสนอขาย ฝึกการลงบัญชีกลุ่ม ดีกว่าการแยกกันขายเพราะแต่ละคนมีเพือนเป็นของตนเอง
  • สิ่งที่เกิดขึ้น ได้ประชาสัมพันธ์กิจกรรมดี ๆ ของชุมชนหูยานคนรู้จักชุมชนหูยานเพิ่มขึ้น ผลิตเครื่องแกงและเห็ดเป็นผลผลิตใหม่ที่ได้รับความนิยม
  • ผู้สูงอายุมีรายได้จากการผลผลิตอย่างต่อเนื่อง
  • กลุ่มมีความเข็มแข็งภายใต้ชื่อหูยานทุกคนมีความรักหวงแหนชื่อที่เป็นโลโก้กลุ่ม
  • สมาชิก นางบุุญเรืองแสงจันทร์และนางจริยาฮั้นพิพัฒน์ พัฒนาตัวเองจนได้เครื่องหมาย GAP และไดจำหน่ายผลผลิตของกลุ่มอย่างต่อเนื่องที่ ตลาดหน้าเกษตรในเมืองพัทลุง
  • ปัญหาเรื่องตลาด แนวทางแก้ไข ทางกลุ่มต้องมีการอบรมพัฒนาศักยภาพสมาชิกในกลุ่มให้มีการพัฒนาตลาดขยายตลาด รองรับการเปลี่ยนแปลงเรื่องผลผลิตตามฤดูกาล และกลุ่มวิสาหกิจยังจัดทะเบียนไม่ได้ ต้องรอการปรับเรื่องโครงสร้างของกลุ่ม การระดมหุ้นเพื่อปรับฐานการผลิต ผลตอบแทนของสมาชิกกำลังดำเนินการสร้างความเข้าใจ

กิจกรรมหลัก : กิจกรรมรณรงค์ของวิสหกิจฯแสดงอาหารปลอดภัยด้วยกิจกรรมด้วยสื่อเอกสาร บูทนำเสนอครั้งที่ 3ในตลาดเขียวหรือตลาดภายนอกชุมชนi

12,900.00 70 ผลผลิต
  • ครอบครัวต้นแบบผู้สูงอายุและสภาแกนนำ มีความรู้การประชาสัมพันธ์วิสาหกิจชุมชนสีเขียว การจัดการอาหารปลอดภัย 10 วัน 10 คืน
  • ครอบครัวต้นแบบผู้สูงอายุและสภาแกนนำ ได้เพิ่มทักษะการสื่อสารประชาสัมพันธ์ชุมชนและผลผลิตของชุมชน

ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  • ครอบครัวต้นแบบผู้สูงอายุและสภาแกนนำ มีเครื่อข่ายเพิ่มขึ้น เช่น ธกส เข้ามาดูงานและนำแกนนำไปร่วมดูงาน
  • เกษตรอำเภอนำไปเรียนรู้การทำผลไม้ออกนอกฤดู
  • กศน.มาสอนการทำปุ๋ยอินทรีย์และแจกเมล็ดพันธ์แก่กลุ่ม
  • ชุมชนมีรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัยเพิ่มขึ้น

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 3 ครั้ง

สภาแกนนำบ้านหูยานและแหล่งเรียนรู้โรงเรียนผึ้ง

0.00 0.00 15 15 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เป็นกิจกรรมที่ได้รับความไว้วางใจจาก สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พมจ.พัทลุง) ที่ร่วมงานกันหลายครั้ง ในเรื่องผลผลิตปลอดสารพิษจากชุมชนหูยาน และ เรื่องการเลี้ยงผึ้ง ทำให้สภาแกนนำมีความภูมิใจในการออกไปนำเสนอตัวเองต่อเครื่อข่ายภายนอก ผลที่ตามมา คือ กลุ่มสวนผักชุมคนหูยานฯ ในโครงการหูยานบ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเอง ได้รับเชิญให้ไป ออกบูท ขายผลิตภัณฑ์ปลอดสารพิษ เพิ่มขึ้นจากหน่วยงานต่างๆ ของภาครัฐ

งานกาชาดประจำปี 2559 ของดีเมืองลุง งานกาชาดประจำปี 2559 ของดีเมืองลุง 1.รวมของดีทั้งจังหวัดพัทลุง ของกลุ่มองกร มาร่วมจัดนิทรรศการแสดงผลิตภัฑณ์ในงาน 10  วัน 10  คืน ณ.ศาลากลางจังหวัดพัทลุง วันที่ 29 เมษายน ถึง 8 พฤษภาคม 2559
2.ตำบลนาท่อมได้รับเชิญเข้าร่วมงาน ร่วมกับโรงพยาบาลพัทลุง  สาธารณะสุขจังหวัดพัทลุง ตำบลนาท่อมคัดเลือกชุมชนหูยานจัดการตนเอง
3. ชุมชนหูยาน จัดการตนเอง เข้าร่วมกิจกรรมร่วมจัดบูทกับภาคีหน่วยงาน พมจ.พัทลุง นำกิจกรรมครอบครอบครัวจักรยานสานฝันวันอาทิตย์ นำกิจกรรมการสร้างครอบครัวอบอุนไปนำเสนอ
4. จำนวนผู้เข้าร่วมแต่ละคืนมากกว่า 500  คน

12,900.00 12,900.00 70 78 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ชุมชนหูยานได้ฝึกการนำเสนออย่างเป็นระบบ ต่อเนื่อง ส่งผลให้หลายหน่วยงานมีความมั่นใจ เชืื่อมั่นในกระบวนการ ผลิตภัณฑ์  คนนำเสนอ และชื่อเสียงของชุมชนหูยานที่มีการจัดการอาหารปลอดภัย  ส่งผลให้มีคนเข้ามาศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่อง
  2. คนในชุมชน และคนนอกชุมชน มีความรู้ความเข้าใจชุมชนหูยานเพิ่มมากขึ้น จากการทำกิจกรรมเรื่องอาหารปลอดภัย ผักปลอดสารพิษ  การเลี้ยงผึ้ง การลดขยะพสาสติกนำกระบอกไม้ไผ่  ใบตอง มาใช้แทนพลาสติกได้แสดงให้เห็นในงานกาชาด 10 คืน
  3. คนในชุมชนหูยานมีรายได้จากการได้นำผลผลิตผักปลอดสารพิษ  น้ำผึ้ง น้ำสมุนไพร ผลิตแปรรูปไปจำหน่วย 10 คืน ด้วยการใช้ระบบบัญชีกลุ่มจัดการเพื่อลดปัญหาความขัดแย้งกลุ่ม คนทำ  คนรวบรวม  คนขาย มีรายได้จากการร่วมกิจกรรม
  4. ชุมชนหูยานนำผลผลิตจากผึ้งไปจำหน่าย ได้สะท้อนยืนยันได้ชัด และยืนยัดมาตลอด ชุมชนหูยานจัดการอาหารปลอดภัย ชุมชนไร้สารเคมี
  5. ชุมชนหูยานมีผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ คอยผลิตสินค้าอาหารปลอดภัยอยู่เบื้องหลัง เขามีรายได้ จากผลผลิตข้างบ้านที่ดูแล  ทั้งขายสดและแปรรูปที่หลากหลายตามฤตูกาล

-สมาชิกสภาแกนนำ 6 คน -ตัวแทนเครือข่ายจาก รพ.พัทลุง และจากสาธารณะสุข 2  ท่าน

0.00 0.00 21 8 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-ได้ประชาสัมพันธ์ ชุมชนหูยานจัดการตนเอง 10  วัน 10  คืน ทำให้คนนอกรู้จักชุมชนบ้านหูยานทั้งจังหวัด -ได้ทำงานร่วมกันหลายหน่วยงาน โรงพยาบาลพัทลุง  สาธารณะสุขจังหวัดพัทลุง  เทศบาทตำบลนาท่อม
-ได้บริหารจัดการสมาชิกที่จะมาฝึกนำเสนอพื้นที่ เรื่องการจัดการอาหารปลอดภัย  ด้วยสื่อที่หลากหลาย ได้แก่ ไวนิล  จำหน่ายอาหารปลอดภัยแปรรูป  เครื่องดื่มสมุนไพรแปรรูป - ได้รูัจักเครื่อข่ายเพิ่มจำนวนมาก เช่น หัวหน้าส่วนราชการต่าง ๆ ที่มาเยี่ยมชม -ได้ฝึกการบริหารคนบริหารเวลา และการจัดการ

กิจกรรมหลัก : ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 1 ครั้งต่อเดือนในการปรับปรุงแก้ไข พัฒนาวิสาหกิจสีเขียว จำนวน 12 ครั้งi

4,800.00 40 ผลผลิต
  • สภาแกนนำและชุมชนมีการประชุมเป็นระบบมากขึ้นและมีอาหารปิ่นโตมารับประทานร่วมกัน

ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  • ชุมชนใช้การประชุมกำหนดกติกา เช่น ให้วันที่ 10 เป็นวันครอบครัวของชุมชน
  • ชุมชนใช้การประชุมรายงานผลความก้าวหน้าการพัฒนาชุมชนและความก้าวหน้าโครงการ

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 14 ครั้ง

สภาแกนนำ 21 คน

400.00 400.00 40 21 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สิ่งสำคัญที่ได้รับ

  1. สภาแกนนำต้องร่วมกันแสดงบทบาทเป็นเจ้าภาพรับพื้นที่ดูงาน แหล่งเรียนรู้ผึ้งบ้านหูยาน ได้มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ กันของสภาแกนนำ ได้แก่ วิทยากรให้ความรู้ คือ นางบุญเรืองแสงจันด้านบริการอาหารเครื่องดื่ม คือ สมาชิกกลุ่มเลี้ยงผึ้ง ด้านบริการอำนวยความสะดวก โดยสภาแกนนำ
  2. ได้ ธกส.เป็นภาคีเครือข่าย ทำงานร่วมกันในการแก้ปัญหาเรื่องรายได้ของเกษตรกรซึ่งเป็นลูกค้าของธนาคาร ลูกค้าธกส. ในการแก้ปัญหาหนี้สิน โดยการนำกลุ่มลูกค้าไปเรียนรู้ศึกษาพื้นที่รูปธรรม ที่สำเร็จและแก้ปัญหาได้จริง และชุมชนหูยานก็เป็นพื้นที่ของ ธกส. สาขาท่ามิหร่ำ ดูแล
  3. สภาแกนนำ จำนวน 21 คน ให้ความสนใจส่งสภาแกนนำไปร่วมเรียนรู้เพื่อจะนำมาปรับปรุงใช้กับพื้นที่ตนเอง

สภาแกนนำ 15 คน ผู้สูงอายุสมาชิกกลุ่มสวนผัก  5  คน

400.00 400.00 40 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีผู้เข้าร่วมประชุมและเสนอโครงการเร่งด่วนจากจังหวัด จำนวน 4โครงการ คือ โครงการเลี้ยงผึ้งเพื่อสร้างรายได้ครบวงจรโครงการเลี่้ยงเห็ดเพื่่อเป็นอาชีพโครงการเครื่องแกงโครงการทำปุ๋ยและดินปลูกและนัดเขียนโครงการโดยสภาแกนนำช่วยเหลือกลุ่มใหม่ที่เกิดขึ้นจาก โครงการสวนผักชุมชนคนหูยานฯเชิญนายถาวรคงศรีมาช่วยเหลือ ให้คำแนะนำในการเขียนโครงการ
  • โครงการชุมชนหูยานบ้านน่าอยู่ สู่การจัดการตนเอง ที่มีสภาแกนนำที่เข็มแข็งและมีกลุ่มย่อยๆ พร้อมพัฒนายกระดับจำนวน 4 กลุ่ม
  • โครงการเร่งด่วนของรัฐ เอื้อให้ชุมชนบ้านหูยานต่อยอดกิจกรรมได้อย่างเหมาะกับโอกาสที่กลุ่มต้องเติบโต
  • กลุ่มสวนผักชุมชนได้ทำงานร่วมกับเกษตรตำบลเทศบาลตำบลนาท่อม และศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี่ เป็นโอกาสต่อไป

ประชาชนทั่วไป, สภาแกนนำ,สมาชิกกลุ่มสวนผักฯ,ผู้สูงอายุ

400.00 400.00 40 40 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ชุมชนได้พบกัน ได้มีการแลกเปลี่ยนทุกเดือนทำให้ชุมชนรวมคนได้ง่ายขึ้น
  • ประชาชนได้รู้ข่าวสารทางราชการจากกำนัน  ประธานในทุกเดือน
  • ชุมชนทำปิ่นโตเพื่อสุขภาพถวายพระ และทานอาหารด้วยกัน
  • สอดรับกับทางฝ่ายปกครองโครงการเข้าวัดพัฒนาคุณธรรม ทำเรื่องเดียว ตอบหลายเรื่อง(ชุมชนทานอาหารร่วมกัน  นิมนต์พระด้วย เด็ก  ผู้สูงอายุ คนทั่วไปได้มีกิจกรรมร่วมกัน)

สภาแกนนำ  ผู้สูงอายุ คนทั่วไป

400.00 400.00 40 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ชุมชนได้ทราบกิจกรรมงานของฝ่ายปกครอง ที่ได้รับมาจากอำเภอทุกเดือน ในที่ประชุมทุกวันที่ 10 เดือน
  • ชุมชนได้ทราบกิจกรรมของโครงการชุมชนหูยานบ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเอง อย่างต่อเนื่อง

ผลลัพธ์

  • แกนนำมีความรู้เพิ่มขึ้นกระตือรือร้นดำเนินการในสิ่งที่ได้เรียนรู้ดูงานมาคาดว่าผลผลิตจะเพิ่มขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์
  • จำนวนแกนนำที่มาร่วมกิจกรรมตลาดเขียวภายในและภายนอกพื้นที่ ทั้งสามี ภรรยา เพิ่มขึ้นเข้าใจและทำเป็นอาชีพ รวมซื้อ รวมขาย เป็นพ่อค้าคนกลางรวบรวมผลผลิตในชุมชนไปขายมีรายได้เพียงพอเลี้ยงครอบครัว จำนวน 15 ครอบครัว

สภาแกนนำ,ครัวเรือนทัวไป,สมาชิกกลุ่มสวนผัก,เด็กและผู้สูงอายุ

400.00 400.00 40 15 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ประชาชนได้ทราบความเรื่องของฝ่ายปกครอบแจ้งให้ทราบ/หน่วยงานในพื้นที่ กศน เข้ามาทำงานสนับสนุนร่วมกับชุมชน/ ได้ทราบความก้าวหน้าและทิศทางของโครงการชุมชนหูยานบ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเองในระยะแรก
  • โครงการหูยานบ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเอง นางสุมาลีศรีโดน ผู้รับผิดชอบโครงการได้ชี้แจงการดำเนินงานของโครงการในช่วงที่ผ่านมา เน้นการให้ความรู้คู่กับการปฎิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งหลังจากดูงานจากโครงการชั่งหัวมันแล้วทางคณะสภาแกนนำก็ได้มีการประสานงาน จะทำแปลงผักรวมของชุมชน ได้ติดต่อหน่วยงานเทศบาลตำบลนาท่อมการใช้พื้นที่แปลงรวมมหาวิทยาลัยทักษิณ เรื่องการปลูกปผักไฮโดโปดิกและการทำแก็สชีวภาพ นำน้ำปุ๋ยมาใช้ปลูกผัก กศน.ตำบลนาท่อม การฝึกอบรมหลักสูตรระสั้นสนับสนุนกลุ่ม ความก้าวหน้าในตอนนี้ ทางกลุ่มได้ประสานการใช้ที่ดินแปลงรวม เนื้อที่ 3 ไร่ 3งาน และกำลังดำเนินการแจ้งให้สมาชิกทราบให้สมัครเข้าร่วมโครงการ เมื่อได้สมาชิกแล้วจะประชุมชี้แจงทำความเข้าใจ และเริ่มปฎิบัติการวันที่ 1/3/59 เหตุผลของการเข้ามาทำในแปลงรวม เนื่องจากปัญหาของชุมชนหูยาน เรื่องเศรษฐกิจ รายได้น้อยกว่ารายจ่าย และชุมชนปลูกผักปลอดสารพิษเป็นทุนเดิมของชุมชน และมีเพียงพอต่อการบริโภคในครัวเรือน เพราะพื้นที่ปลูกน้อย จากการเก็บข้อมูลการปลูกพืชในชุมชน พืชที่ปลูกมีไม่เพียงพอต่อความต้องการในตลาดที่ทางกลุ่มสวนผักชุมชนเปิดขายในตลาดหูยานสะพานคนเดินเดือนละ 2 ครั้ง และตลาดหน้าเกษตร อาทิตย์ละ 2 วันส่วนตลาดอื่น ๆในชุมชนมีสินค้าไม่เพียงพอ เป็นปัญหาหลักของกลุ่ม
  • จากการวิเคราะห์ข้อมูลโดยสภาแกนนำ วิธีแก้ปัญหา คือ ต้องมีสินค้าเพียงพอต้องปลูกเพิ่ม โดยหาพื้นที่แปลงรวม ผลที่จะเกิดขึ้น จะทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นชุมชนมีอาหารปลอดภัยรับประทานเพียงพอ และสร้างรายได้ให้คนและชุมชน นี้เป็นแนวทางของกลุมสวนผัก

สภาแกนนำ 

400.00 400.00 15 15 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ที่ประชุม สภาแกนนำบ้านหูยานนัดประชุมทบทวนแผน วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 59  โดยมีสภาแกนนำ  เทศบาล  ตัวแทนจากอำเ เพื่อประชุม เรื่องการเก็บข้อมูลเพื่อทำบัญชีครั้วเรือน 1 เดือน,แหล่งน้ำในชุมชน, การขอใช้ที่ดินแปลงรวมของกลุ่มสวนผัก
  • สภาแกนนำบ้านหูยานได้เอกสาร 6 วิชาและจะมาทบทวนโดยใช้เป็นกรอบในการเดินของกลุ่ม
  • แกนนำ
  • ประชาชนทั่วไปในชุมชน
400.00 400.00 40 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ระเบียบวาระการประชุม - เรื่องที่ประธานแจ้งให้ทราบ  นายอนุชา เฉลาชัย ประธานได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบเรื่องของทางราชการ ทางอำเภอแจ้งให้ทราบเรื่องการเสนอโครงการเพื่อขอรับงบประมาณภัยแล้ง ปี 2558/2559 ให้ชุมชนนำเสนอโครงการและเรื่องการทำประชาคมของทางเทศบาลตำบลนาท่อม

สภาแกนนำ15  คน
ประชาชนตัวแทนตรัวเรือน 16 พัฒนากรอำเภอ 1 คน

400.00 400.00 40 32 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ได้บทเรียนการดำเนินงานเสนอต่อที่ประชุมกับผู้เข้าร่วมประชุม
  2. ได้มีเครือข่ายทำงานร่วมทำงาน คือ พื้นที่หมู่ที่ 2 การทำนาข้าวอินทรีย์
  3. ได้เครือข่ายตลาดม่วงลูกดำ ได้มีพื้นที่ขายผลิตภัณฑ์  ได้ประชาสัมพันธ์ชุมชนหูยาน
  4. ได้ร่วมแลกเปลี่ยน วิเคราะห์ปัญหาในการเสนอทำแผนจากพัฒนากร จนนไปสู่ปัญหาความต้องการของประชาชนและได้โครงการเพื่อสู่การแก้ปัญหา
  5. กลุ่มปุ่ยได้ปุ๋ยมาใช้ในราคาประหยัดจากการรวมกลุ่มร่วมกันทำ

-  สภาแกนนำ 15  คน -  ตัวแทนครัวเรือน18คน

400.00 400.00 40 33 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิตที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการในเดือนเมษายนถึง 10 พ.ค 59

  1. เกิดกลุ่มเลี้ยงเห็ดนางฟ้า 17คน สมาชิกส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุที่เคยมีประสบการณ์ฝึกอบรมอาชีพระยะสั้นมาแล้ว
  2. เกิดการรวมตัวกันเป็นกลุ่มเพื่อผลิตปุ๋ยใช้เองในกลุ่มสวนผัก ผลิตแล้วแบ่งกันไปใช้เป็นลดต้นทุนและทำจุลินทรีย์จากธรรมชาติใช้เป็นอาหารสัตว์ และส่วนผสมใช้กับพืช
  3. ได้คณะทำงานที่เป็นหนุ่มสาวเพิ่มเข้ามาช่วยในการจัดออกแบบบูท ช่วยนำสิ่งของไปประดับตกแต่ง
  4. สภาแกนนำมีความรู้ เข้าใจ สามารถเขียนโครงการของงบประมาณ

ผลลัพธ์

  • โรงปุ๋ยของหมู่ที่ 8 บ้านหูยานที่หยุดการผลิตมานานและเป็นทุนเดิมของชุมชนได้รับการฟื้นกลับมาใช้อีกครั้งโดยกลุ่มเห็ด

สภาแกนนำ 15  คน ประชาชนทั่วไป 25  คน

400.00 400.00 40 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิตที่ได้จากการศึกษาดูงานของพื้นที่อื่น

1. ประชาชนในพื้นที่ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้รับรู้ ได้มีทักษะในการให้บริการเพิ่มขึ้นมีความสุขที่ได้นำปิ่นโตสุขภาพมาต้อนรับและได้รับคำชม มีความสุขกับอาหารที่หลากหลาย
2. สมาชิกสภาแกนนำที่ไปดูงานมีความรู้ใหม่เรื่องการแยกขยะจากวงศ์พาณิชย์ และเกษตรธรรมชาติ ที่แกนนำสามารถนำมาพัฒนาเป็นเป็นแหล่งเรียนรู้ได้ ที่บ้าน นางสุมาลี ศรีโดน

3.สมาชิกสภาแกนนำได้รับรางวัลโล่ชูเกียรติครอบครัวร่มเย็น 1 ใน 3 จังหวัดพัทลุงครอบครัวนายธีรวุฒิ กับ นางจิรภรณ์ช่วยรักษ์

4.ปิ่นโตเพื่อสุขภาพเป็นเมนูที่สร้างความประทับใจกับทุกคณะทึ่มาศึกษาดูงานบ้านหูยานและสร้างความพึงพอใจกับเจ้าของปิ่นโต พร้อมกับได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วย

ตัวแทนทุกครัวเรือน อย่างน้อย 1 คน

0.00 0.00 40 70 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้เข้าร่วมประชุมรู้ และเข้าใจการประชุมของหัวหน้าโครงการในเรื่องดังกล่าว
  • ได้ผู้เข้าร่วมโครงการในแปลงรวมทีมี"แกนนำ ต้องทำให้ดูก่อน " โดยการนำกล้วยหอมทอง จำนวน 100หน่อปลูกไว้เป็นส่วนกลางหรือเป็นสวัสดิการของกลุ่ม
  • สำหรับสมาชิกทยอยมาสมัครเนื่องจากพึ่งเริ่มดำเนินการ
  • สรุปที่สำคัญของกิจกรรมคือ การรายงานความก้าวหน้าโครงการและการส่งหนังสือแจ้งให้ประชาชนเข้าร่วมทำกิจกรรมแปลงรวม ปลูก 20 ชนิด ในที่ดินสาธารณะโดยแจ้งให้ทุกคนได้รับทราบและมีสิทธิเท่าเที่ยมกัน

สมาชิกสภาแกนนำและประชาชนครัวเรือนต้นแบบและประชาชนทั่วไป

400.00 400.00 40 35 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง สามารถต่อยอดจนเกิดกลุ่ม ย่อย ๆ ได้แก่ กลุ่ม เลี้ยงเห็ดนำเห็ดไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ  การส่วเสริมการปลูกผักสวนครัวอย่างต่อเนื่องสามารถนำผลผลิตมาแปรรูปเป็นเครื่องแกงสมุนไพร คนในชุมชนได้กิน  ที่ดินสาธารณะว่างอยู่เกิดการรวมกลุ่มใช้เป็นแปลงรวมและแปลงสาธิตเป้าหมายปลูกผักอย่างน้อย 20 ชนิดที่ไม่ใช้สารเคมีและยาฆ่าแมลง เป็นต้นแบบการจัดการอาหารปลอดภัยของชุมชนและทำต่อเนื่องจนชุมชนมีแหล่งผลิตอาหารปลอดภัยที่เพียงพอในชุมชน ซื้อขายแลกเปลี่ยนเป็นรายได้ของชุมชน

ตัวแทนครัวเรือนในชุมชนบ้านหูยานอย่างน้อยครัวเรือนละ 1 คน

400.00 400.00 40 36 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ชุมชนมีความตื่นตัวและมีส่วนร่วมในกิจกรรม เช่น กิจกรรมกรรมปั่นเพื่อแม่ มีครอบครัว พ่อ แม่ ลูก ช่วยกันมาปั่นจักรยานกิจกรรมต้อนรับผู้มาศึกษาดูงานจาก พมจ.จังหวัดตรัง
  2. กลุ่มมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เครื่องแกง การแปรรูปผลิตภัณฑ์เห็ดการรวมกลุ่มทำปุ๋ยแล้วแบ่งกันไปใช้การรวมตัวปลูกผักในแปลงรวม
  3. การทำงานของสภาแกนนำมีการวางแผน ออกแบบกิจกรรม ก่อนมีกิจกรรมจริง เช่น ศูนย์ประสานงานของกลุ่ม ต้องถามหน่วยงานหรือกลุ่มก่อนที่จะมาดูงาน ว่า จะมาดูงานเรื่องอะไร ทางสภาแกนนำได้จัดเตรียม ออกแบบงานได้ถูก
  4. สภาแกนนำมีการบริหารจัดการกลุ่มปิ่นโตสร้างสุข ให้กระจายกันเพื่อลดความซ้ำซ้อน แตกแยก ของชุมชนเรื่องการกระจายรายได้ ในการบริการอาหารสุขภาพของชุมชน
  5. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทุกวันที่ 10 ของทุกเดือนเป็นการทำงานยกระดับการทำงานของชุมชนมีระบบมากขึ้น ประชาชนเข้าใจและมีส่วนร่วมเป็นอย่างดีและมีชุมชนอื่นเข้ามาเรียนรู้เพิ่มขึ้น
  6. ชุมชนมีประชาชนเข้ามาเรียนรู้ร่วมกับกลุ่มหรือองค์กรจากการนำปิ่นโตมาบริการ ถือเป็นช่องทางเรียนรู้ของชุมชนอีกทางที่เป็นประโยชนต่อชุมชนบ้านหูยาน(ชุมชนแห่งการเรียนรู้)
  7. เกิดการสื่อสารชุมชน ด้วยบริการของคนในชุมชนแหล่งเรียนรู้ในชุมชน เป็นที่รู้จักจากภายนอกเพิ่มขึ้น

สภาแกนนำ 15  คน และตัวแทนครัวเรือน

0.00 0.00 40 40 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้เข้าประชุมทราบกติกาการมีส่วนร่วมคิดร่วมทำ ทุกวันที่ 10 ของเดือนเป็นหลักเกณฑ์ตัวชี้วัดการให้สิทธิ การเสียสิทธิ ของชุมชน
  • ประชาชนที่เข้าร่วมประชุมรับทราบการรายงานผลความก้าวหน้าการทำงานของกำนันและสภาแกนนำ
  • ประชาชนได้มีส่วนร่วม นำปิ่นโตมาร่วมรับประทาน สร้างความสุข จากอาหารปลอดภัยที่ทำเองมาร่วมกินด้วยกันกำหนดให้วันที่ 10 ทุกเดือนเป็นวันครอบครัวของชุมชนบ้านหูยาน

กิจกรรมหลัก : เวทีถอดบทเรียนคืนข้อมูลให้ชุมชนเพื่อพัฒนาi

14,600.00 80 ผลผลิต

ผู้นำทั้ง 8 หมู่บ้านและประชาชนผู้เข้าร่วมได้รับทราบการคืนข้อมูลผ่านกิจกรรม ของสภาผู้นำ ของเด็กและเยาวชน ของสมาชิกกลุ่มสวนผัก


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

มีสื่อหลากหลาย คืนข้อมูลเช่น สื่อสภาแกนนำสื่อละครหุ่นเงาเด็ก สื่อไวลินสื่อ VCDแผ่นพับ

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 3 ครั้ง

ประชาชนทั่วไป ประกอบด้วย เด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ  กลุ่มผู้นำทั้ง 8 หมู่บ้าน(ผู้ใหญ่  สมาชิกสภาเทศบาล อสม รพสต ชุมชมผู้สูงอายุ สื่อวิทยุ)

14,600.00 14,600.00 80 113 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้นำประชาชนทั้ง 8 หมู่บ้านได้รู้และเข้าใจ ชุมชนหูยานบ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเอง เรื่องสุขภาพเรืีองอาหารปลอดภัย เรื่องสภาแกนนำเรื่องตลาดเขียวเรื่องผึ้งและเรื่องอื่นๆ ด้วยสื่อสารที่หลากหลาย
  • เด็กและเยาวชนรู้เรื่องการจัดการตนเอง ด้วยบทสรุปที่แปลงบทเป็นละครหุ่นเงา
  • ได้กระจายความรู้เรื่องสุขภาพภาคประชาชนไปสู่วงกว้าง ทั้ง 8 หมู่บ้าน
  • สภาแกนนำได้แสดงบทบาทบนเวที ด้วยการพูดคุยเห็นความสำคัญของ การประชุมพูดคุยการดูงาน อย่างต่อเนื่อง เป็นปัจจุยความสำเร็จ
  • การเกิดกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสีเขียวบ้านหูยาน เกิดจากการสะสมความร่วมมือ สะสมความสำเร็จ อย่างต่อเนื่องยาวนาน

-สภาแกนนำและประชาชน 39  คน -หัวหน้าสำนุักปลัดเทศบาลตำบลนาท่อม

0.00 0.00 40 40 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ภาพสรุปรวม -สภาแกนนำแต่ละคนมีความเปลี่ยนแปลง ระดับตัวเอง ได้มีการพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง มีความรู้ กล้าคิด กล้าคุย  เดิมไม่กล้า ในระดับกลุ่ม มีความรู้ และทำงานเป็นกลุ่มได้ดียิ่งขึ้นเข้ากับคนอื่นได้ เดิมไม่มี ปัจจุบันทีมสภาแกนนำทุกคนสร้างเครือข่ายได้เอง สามารถต่อเชื่อมหน่วยงานอื่นๆด้  กระแสเรื่องสุขภาพได้ขยายไปทั้งตำบล และชุมชนหูยานเดิมไม่มีตลาดนัดเพื่อสุขภาพปัจจุบันมีตลาดเป็นของชุมชน โดยโครงการที่สสส.สนับสนุน เรื่องทางเศรษฐกิจสภาแกนนำสามารถนำและพาชุมชน ทั้งคนขายผลิตภัณฑ์หน้าใหม่ และผู้สูงอายุส่งเสริมให้มีรายได้อย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญ มีการพัฒนาของกลุ่มหลายกลุ่มรวมตัวกันเป็นวิสาหกิจชุมชนสีเขียวบ้านหูยาน

-สภาแกนนำ ครัวเรือนต้นแบบ ประชาชนทั่วไป เทศบาลตำบลนาท่อม สภาเด็กและเยาวชน ปลัดอำเภอเมือง  ชมรมผู้สูงอายุ  อสม 

0.00 0.00 100 200 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้เข้าร่วมกิจกรรมการสื่อสารคืนข้อมูลได้ชมนิทรรศการรู้เรื่องราวผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย  ผ่านสื่อสะท้อนภาพรวมที่ชัด เห็นภาพของกิจกรรมในวิถีของชุมชน -สำหรับผู้นำที่ได้รับเชิญ เป็นประโยชน์ในการนำไปต่อยอดกิจกรรมได้กับชุมชนอื่น ๆ -ผลที่เกิดขึ้นจริงในวงสะท้อนโครงการเห็นได้ชัด คือ การไปพัฒนาตลาดหูยานสะพานคนเดินเพื่อยกระดับสู่ระดับตำบล การพัฒนาสภาแกนนำให้เป็นแหล่งเรียนรู้โรงเรียนผู้นำ และพัฒนากลุ่มต่าง ๆให้เป็นกลุ่มวิสาหกิจสีเขียวบ้านหูยาน ที่ผ่านมาเป็นการ จัดกระบวนการให้ชุมชนตั้งหลัก เห็นจุดยืน แต่หลังจากนี้คือ สิ่งที่ต้องพัฒนาให็เข้มแข็งและขยายผลได้

กิจกรรมหลัก : การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตามi

10,000.00 2 ผลผลิต

ผู้เข้าร่วมการประชุมมีความรู้เรื่องการบันทึกทำรายงานการเงินโครงการการทำกิจกรรม และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

คณะทำงานโครงการสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอด 3 ปี

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 10 ครั้ง

ผู้รับผิดชอบโครงการและเจ้าหน้าที่การเงินโครงการ

2,000.00 1,900.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้เรียนรู้การบันทึกข้อมูล การรายงานกิจกรรมลงในเวบไซต์
  • ได้เรียนรู้เรื่องการวางแผนกำหนดปฏิทินทำโครงการ และได้ลงข้อมูลในเวบไซต์เสร็จ
  • ทำให้ได้เรียนรู้เรื่องหลักการบริหารจัดการโครงการ ว่า ทุกครั้งที่มีการจัดกิจกรรมต้องรายงานกิจกรรมในเวบไซต์และต้องจัดการเอกสารการเงินให้ถูกต้อง และจะต้องไม่มีรายงานในเวบไซต์ล่าช้าเกิน 2 เดือน

ผู้รับผิดชอบโครงการ/การเงิน/ผู้บัญบันทึกเข้าสู่ระบบ

400.00 400.00 3 3 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต  คณะทำงาน ผู้รับผิดชอบโครงการ การเงิน  ผู้บัญทึก เข้าใจกระบวนการทำงานโครงการ การบัญทึกบัญชี  ระบบภาษีที่ต้องหักนำส่ง
ผลลัพธ์  คณะทำงานโครงการไม่กังวลกับระบบใหม่ ที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย เจ้าหน้าที่การเงินสามารถหักภาษี ส่ง สรรพพากรได้ทันเวลาที่กำหนด

ผู้รับผิดชอบโครงการ

500.00 500.00 3 1 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

นางสุมาลี  ศรีโดนได้รับเงิน จำนวน 500 บาทจากโครงการที่เป็นเงินเปิดบัญชี

นายอนุชา เฉลาชัย หัวหน้าโครงการ/นางสุมาลี  ศรีโดน  ผู้รับผิดชอบโครงการและนางเยาวดี ผู้บันทึกข้อมูล

400.00 400.00 3 3 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงานจัดทำเอกสารและรายงานกิจกรรมผ่านระบบเว็ปได้ครบทุกกิจกรรมและเอกสารเสร็จพร้อมตรวจ

ผู้รับผิดชอบและเจ้าหน้าที่การเงิน

1,000.00 800.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เอกสารทางการเงินเรียบร้อยสมบูรณ์
  • รายงานกิจกรรมผ่านผ่านเว็บไซครบทุกกิจกรรม

สภาแกนนำจำนวน 7  คน -นำเสนอบูทนิทรรศการ 2  คน -นำเสนอกรณีศึกษา 5  คน

4,200.00 6,400.00 2 6 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • สภาแกนนำ 7 คนได้แสดงบทบาท คืนข้อมูล ผลการดำเนินงานโครงการชุมชนหูยานบ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเอง แบ่ง การนำเสนอผ่านบูทธนิทรรศการ 2คน และนำเสนอผ่านเวที กรณีศึกษา ประเด็นการจัดการสุขภาพและการจัดการอาหารปลอดภัย ที่นำทีมโดย กำนันอนุชาเหลาชัย
  • ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นโครงการหูยานบ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเอง เป็นที่รู้จักจากการนำเสนอ กรณีศึกษา ชุมชนจัดการตนเองด้านสุขภาพและอาหารปลอดภัยผ่านการนำเสนอนิทศรรการการแผ่นพับโดยสภาแกนนำของชุมชน 7 คน สภาแกนนำทุกคนสามารถเป็นผู้นำเสนอผลการดำเนินโครงการ ได้ ด้วยบทบาทที่แตกแต่งกันของกลุ่ม ได้แก่ นางบุญเรืองแสงจันทร์มีความเก่งเรื่อง แหล่งเรียนรู้โรงเรียนผึ้งนางจริยาฮั่นพิพัฒน์เก่งเรื่องการสร้างเครือข่ายตลาดเขียวอาหารปลอดภัยนางสุมาลีศรีโดน เก่งเรื่องการประสานภายในส่วนกำนัน อนุชาเฉลาชัย มีความเก่งเรื่องการจัดการชุมชน ส่วนคนอื่น ๆ เก่งเรื่องกิจกรรมและการประสานภายในระดับกลุ่มในชุมชน
  • ผู้รับผิดชอบโครงการ
  • เจ้าหน้าที่การเงินโครงการ
500.00 240.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้รับผิดชอบโครงการและการเงินได้เรียนรู้ และการเตรียมเอกสารปิดโครงการ  การทำรายงานความก้าวหน้า การบัญทึกข้อมูล
  • คณะทำงานได้รับรู้ แก้ไข  ปรับปรุง เอกสารโครงการให้ถูกต้องตามผู้ตรวจกลาง
  • เอกสารครบถ้วนมีแก้ไขปรับเล็กน้อยก่อนส่งงาน

การเงินโครงการ  หัวหน้าโครงการ  และผู้รับผิดชอบโครงการ

1,000.00 240.00 2 3 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เอกสารการเงินที่ถูกต้อง พร้อมออกรายงานฉบับสมบูรณ์
  • รายงานผ่านหน้าเว็บฉบับสมบูรณ์

เจ้าหน้าที่การเงิน 1 คน และผู้รับผิดชอบโครงการ 

0.00 0.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

รายงานการเงินและรายงานผ่านเว็บไซต์มีความเรียบร้อยพร้อมส่งให้เจ้าหน้าที่การเงินของ สจรส.ตรวจสอบ

เจ้าหน้าที่การเงินและผู้รับผิดชอบโครงการ

0.00 0.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เอกสารการเงิน โครงการ ชุมชนหูยานบ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเอง ต่อเนื่องปี 3  ได้รับการตรวจเอกสารการเงินปิดโครงการ โดย เจ้าหน้าที่การเงินและผู้รับผิดชอบโครงการ จากเจ้าหน้าที่ สจรส.มอ ผู้ตรวจ

กิจกรรมหลัก : ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ ถ่ายภาพกิจกรรม และจัดทำรายงานi

3,000.00 2 ผลผลิต
  • สถานที่การประชุมของหมู่บ้าน ได้รับงบประมาณ จาก สสส. ปีที่ 3การรณงค์ให้เลิก บุหรี เหล้า อย่างต่อเนื่อง
  • การประชุมอย่างต่อเนื่องของชุมชน จะเห็นป้ายรณรงค์จนทำให้คนในชุมชนเคารพสถานที่ไม่สูบบุหรี่และดิ่มเหล้าในศาลาการประชุมของหมู่บ้าน

ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ศาลาที่มีป้ายรณรงค์ งดเหล้า บุหรี เป็นพื้นที่สร้างสรรค์ใช้ทำกิจกรรมของชุมชนอย่างต่อเนื่อง

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 2 ครั้ง

ทุกคนที่ร่วมกิจกรรมในศาลาการประชุมหมู่ที่ 8  บ้านหูยาน ถูกกำหนดเป็นพื้นที่ปลอดบุหรี่

1,000.00 1,000.00 100 90 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เนื่องจากสถานที่การประชุมของหมู่บ้าน ได้รับงบประมาณ จาก สสส. ปีที่ 3การรณงค์ให้เลิก บุหรี เหล้า อย่างต่อเนื่องการประชุมอย่างต่อเนื่องของชุมชน ก็ได้พบเห็นป้ายรณรงค์จนทำให้คนในชุมชนเคารพสถานที่ไม่สูบบุหรี่และดิ่มเหล้าในศาลาการประชุมของหมู่บ้าน

เผยแพร่ผู้เข้าร่วมงาน วิชาการ งานสร้างสุขภาคใต้ วันที่ 3-5 ตุลาคม 59 และงานปิดโครงการเพื่อคืนข้อมูลให้ชุมชนวันที่ 11 ตุลาคม 2559

2,000.00 2,000.00 20 100 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้เอกสารแผนพับ 2 ชุด ชุดความรู้โรงเรียนผึ้งชุดบทเรียนชุมชนหูยานบ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเองฉบับแผ่นพับกับฉบับเล่มสมบูรณ์ และ วีดีโอที่ทีม สื่อ สสส.ทำให้ใช้ประกอบการคืนข้อมูล

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • ประชาชนในตำบลนาท่อมทั้ง 8 หมู่บ้านและคนทั้วไปได้รู้ผลการดำเนินงานโครงการ ระยะ 3 ปีผ่านกิจกรรมรายงานผลคืนข้อมูล
  • ชุมชนมีสื่อ ในอินเทอร์เน็ตทาง ยูทูป ที่ได้รับความสนใจจำนวนมาก
  • ชุมชนตืนตัวเรื่องการจัดการอาหารปลอดภัยในระดับตำบล
2.3.1 นวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ

(นวัตกรรมคือ การจัดการความคิด กระบวนการ ผลผลิต และ/หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสม มาใช้งานให้เกิดประสิทธิผล และ/หรือประสิทธิภาพมากกว่าเดิมอย่างชัดเจน)

ชื่อนวัตกรรมคุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรมผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์
โรงเรียนผึ้งบ้านหูยาน
  • การเลี้ยงผึ้ง ผึ้งไม่ชอบ ยาฆ่าแมลงและสารเคมีทุกชนิด ชุมชนส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งเท่ากับชุมชนเลิกใช้สารเคมีผึ้งผสมเกสรดอกไม้ให้ติดดอดออกผล เพิ่มผลผลิต ผึ้งให้น้ำหวานที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ
  • การพัฒนาแปรรูผลิตภัณฑฺ์จากผึ้ง แก้ปัญหาเศรษฐกิจ ขายน้ำผึ้งจากรังทำสบู่ทำกล่องเลี้ยงผึ้งทำหมวกเก็บน้ำผึ้ง น้ำผึ้งเป็นยาสมุนไพร
ตลาดหูยานสะพานคนเดิน(ตลาดเขียว)
  • เป็นพื้นที่คนรักษ์สุขภาพในชุมชน ที่รวบรวมผลผลิตที่เหลือบริโภคในครัวเรือนมาฝึกนำเสนอ จำหน่ายเป็นรายได้ ของครัวเรือน เด็ก ผู้สูงอายุ คนทั่วไป เป็นพื้นที่ฝึกความชำนาญ ด้านทักษะการหาเครื่อข่าย การหารายได้ การพัฒนาตัวเอง ฯลฯ และเป็นพื้นที่ผลิตอาหารปลอดภัยในชุมชน
  • ทักษะความสามารถจากการพัฒนาตัวเองด้านการขาย การทำบัญชีกลุ่ม การทำงานร่วมกัน
  • การมีรายได้ ของผู้ปลูกเหลือกินนำมาจำหน่ายในชุมชนลดรายจ่าย
  • เป็นการส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษ ปลูกแล้วมีที่วางจำหน่าย(ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง)และชุมชมมีพื้นที่จัดการอาหารปลอดภัยเป็นทางเลือกเพื่อสุขภาพ
ปิ่นโตสุขภาพ(สร้างสุข)
  • ในระดับครัวเรือนที่มีการส่งเสริมการปลูก การจำหน่าย และมีการพัฒนาแปรรูปผลผลิตจากการปลูกเป็นเมนูอาหารปลอดภัยในครัวเรือนเหลือจากกินในครัวเรือนนำใส่ปิ่นโตมาให้คนอื่นได้กินด้วย(แบ่งปัน)
  • ได้สร้างความสัมพันธ์และมีความสุขจากการกินร่วมกัน
  • ได้เมนูสุขภาพใหม่ๆ เกิดขึ้น
  • ได้มีการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรมกับสายปิ่นโต
  • ลดขยะในชุมชน
2.3.2 โครงการเด่น (Best Practice)

(โครงการเดิ่น คือ โครงการสร้างเสริมสุขภาพให้สัมฤทธิ์ผลที่เป็นรูปธรรมแล้วขยายผลอย่างยั่งยืน โดยแนวคิดกระบวนการ และผลงาน สามารถเป็นตัวอย่างที่จะนำไปขยายผลในชุมชน (Setting) อื่น ๆ ได้ การดำเนินงานมีส่วนร่วมของภาคีที่หลากหลาย มีการบริหารจัดการที่ดี โปร่งใสและตรวจสอบได้)

ชื่อ Best Practiceวิธีการทำให้เกิด Best Practiceผลของ Best Practice / การนำไปใช้ประโยชน์
โครงการชุมชนหูยานบ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเอง

รวมคนจาก 5 กลุ่มบ้านพัฒนาศักยภาพเป็นสภาแกนนำ เพื่อแก้ปัญหา 3 เรื่องหลัก คือ ปัญหาสารเคมีตกค้างในร่างกาย ปัญหาต่างคนต่างอยู่ และปัญหาเศรษฐกิจ

  • วิธีทำคือ
  • พัฒนาสร้างสภาแกนนำ 15 คน ชวนคนมาปลูกผัก 20 ชนิดปลอดสารพิษ เลี้ยงผึ้งเพิ่มรายได้
  • ประชุมสมำเสมออย่างน้อย 1 ครั้งต่อเดือนเพื่อสร้างความเข้าใจไปสือสารแต่ละกลุ่มบ้าน ลดปัญหาต่างคนต่างอยู่
  • สร้างและพัฒนาตลาดเขียว คนรักษ์สุขภาพ ในชุมชน แก้ปัญหารายรับน้อยกว่ารายจ่าย คือ เมื่อส่งเสริมปลูกผักปลอดสารพิษ เพื่อสุขภาพ เหลือกินก็ต้องมีที่วางจำหน่าย เพิ่มรายได้
  • ปิ่นโตสุขภาพเป็นการต่อยอดพัฒนาเมนูอาหารสุขภาพและการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม
  • สภาแกนนำแก้ปัญหา สังคมต่างคนต่างอยู่ปัญหาสุขภาพปัญหาเศรษฐกิจของชุมชมได้ โดยใช้การประชุมอย่างมีระบบต่อเนื่อง(แผนชุมชน)
2.3.3 เกิดแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการสร้างเสริมสุขภาพในประเด็นต่าง ๆ
ชื่อ-สกุลที่อยู่ติดต่อได้สะดวกคุณสมบัติแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลง
นายอนุชาเฉลาชัย 199 ม.8 ต.นาท่อม อ.เมือง จ.พัทลุง

ประธานสภาแกนนำ/กำนัน

จิราภรพงษ์ชู 104ม.8 ต.นาท่อม อ.เมือง จ.พัทลุง

สมาชิกแกนนำ

จริยาฮั่นพิพัฒน์ 123 ม.8ต.นาท่อม อ.เมือง จ.พัทลุง

สมาชิกแกนนำ/ผู้นำบทบาทสตรี

นางปราณีบัวแก้ว 29 ม.8 ต.นาท่อม อ.เมือง จ.พัทลุง

สมาชิกแกนนำ/อสม

นางวรรณานิลแก้ว 33 ม.8 ต.นาท่อม อ.เมือง จ.พัทลุง

สมาชิกแกนนำ

นางบุญเรืองแสงจันทร์ 49/2 ม.8 ต.นาท่อม อ.เมือง จ.พัทลุง

สมาชิกแกนนำ/เจ้าของแหล่งเรียนรู้กลุ่มผึ้ง

นางบุญธรรมศรีบริรักษ์ 76 ม.8 ต.นาท่อม อ.เมือง จ.พัทลุง

สมาชิกสภาแกนนำ

นางสาวสุนีย์สงแสง 47 ม.8 ต.นาท่อม อ.เมือง จ.พัทลุง

สมาชิกแกนนำ

นางจิราพรช่วยรักษ์ 105 ม.8 ต.นาท่อม อ.เมือง จ.พัทลุง

สมาชิกแกนนำ/อสม

นางสุมาลีศรีโดน 104/1 ม.8 ต.นาท่อม อ.เมือง จ.พัทลุง

สมาชิกแกนนำ/สมาชิกสภาเทศบาล

นางเสงี่ยมช่วยนะ 43 ม.8 ต.นาท่อม อ.เมือง จ.พัทลุง

สมาชิกแกนนำ

นางกรรนิฐาจันทร์เพ็ง 36 ม.8 ต.นาท่อม อ.เมือง จ.พัทลุง

สมาชิกแกนนำ/อสม

นางกุลรัตน์แก้วกวน 186 ม.8 ต.นาท่อม อ.เมือง จ.พัทลุง

สมาชิกแกนนำ/อสม

นางหนูเอียดภิรมย์ 111 ม.8 ต.นาท่อม อ.เมือง จ.พัทลุง

สมาชิกแกนนำ

นางวาสนาด้วงวงค์ 106 ม.8 ต.นาท่อม อ.เมือง จ.พัทลุง

สมาชิกสภา

นางทัศนีย์จีนเยี้ยน 172 ม.8 ต.นาท่อม อ.เมือง จ.พัทลุง

สมาชิกสภา/อสม

2.3.4 มีสภาพแวดล้อมและปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพ

เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพในชุมชนพื้นที่โครงการดังนี้

สถานที่/พื้นที่ ที่เปลี่ยนแปลงรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

ตลาดหูยานสะพานคนเดิน

  • เดิมพื้นที่ริมคลองเป็นพื้นที่รกร้างขาดการสนใจ เมื่อมีการจัดให้มีตลาดเปลี่ยนเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ทำใ้หเป็นขายของให้เป็นพื้นที่ทำกิจกรรมของเด็กและผู้สูงอายุ เดือนละ 2ครั้ง และยังมีการทำกิจกรรมอื่นๆ

  • เป็นพื้นที่เศรษฐกิจของชุมชน ในการซื้อขาย - แลกเปลี่ยน

  • สะพานคลองนาท่อม เป็นจุดนัดพบของสมาชิกครอบครัวจักรยานสานฝันวันอาทิตย์ ทุกสัปดาห์และเป็นจุดให้อาหารปลาของพื้นที่ในเขตอภัยทาน

โรงปุ๋ยหมู่ที่ 8

เดิมเป็นโรงปุ๋ยรกร้างขาดคนในใจในการผลิตปุ๋ยมาเป้นเวลาหลายปีกลุ่มสวนผักได้เข้าไปฟื้น ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง โดยใช้ทุนเดิมที่มี และกลุ่มเห็ดบ้านหูยาน ใช้โรงปุ๋ยเป็นที่ผลิตก้อนเชื้อเห็ด

สวนผักแปลงรวม

เดิมเป็นที่รกร้างเนื้อที่ประมาณ 4 ไร่กลุ่มสวนผักได้ปรับปรุงเป็นสวนผักปลอดสารพิษแปลงรวม เป้าหมาย 20 ชนิด ปลูกเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับสมาชิกในกลุ่ม และนำผลผลิตจากแปลงผักมาแปลรูป

ส่วนที่ 3 : ปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงาน

3.1 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเด็นปัญหา/อุปสรรคการแก้ไขของผู้รับทุนข้อเสนอแนะ/การแก้ไขปัญหาและการเสริมพลังของผู้ติดตาม
3.2 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเภทความเสี่ยง / ปัจจัยเสี่ยงระดับความเสี่ยง
(จากมากไปหาน้อย)
ข้อมูล ข้อสังเกตุ และข้อคิดเห็นของผู้ติดตาม
3210
1. ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน (Operational Risks)
1.1 โครงสร้างการดำเนินงาน
  • เป็นชุมชนที่มีผู้หญิงและผู้สูงอายุดูแลขับเคลื่อนชุมชน ส่วนผู้ชายทำงานหลักดูแลชุมชนอีกชั้น เป็นชุมชนที่น่าอยู่
1.2 ศักยภาพและทักษะการดำเนินงาน

คณะทำงานและสภาแกนนำมีการเปลี่ยนแปลงมีผลกระทบกับชุมชนได้ต้องประชุม ประเมิน อย่างต่อเนื่องเพื่อการแก้ไขปรับปรุง ควรหาแกนคนใหม่ๆเข้ามาเสริมการทำงาน

1.3 ผลลัพธ์และผลสำเร็จของการดำเนินงาน
  • ผลลัพท์ที่เกิดขึ้น ต้องระวังความต่อเนื่อง ความเข็มแข็ง เพราะชุมชนมีปัจจัยหลายอย่างมากระทบได้
  • การเริ่มต้นที่มีทิศทางของชุมชน เป็นโอกาสที่ดีของชุมชน
2. ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risks)
2.1 ระบบและกลไกการบริหารจัดการ

 

2.2 การใช้จ่ายเงิน

จ่ายเป็นกิจกรรมๆ

2.3 หลักฐานการเงิน

เอกสารการเงินถูกต้องครบถ้วน

ผลรวม 0 0 0 0
ผลรวมทั้งหมด 0 ระดับความเสี่ยง : ???
เกณฑ์วัดระดับความเสี่ยง ???
สรุปการแก้ไขความเสี่ยง แก้ไขแล้ว ยังไม่ได้แก้ไข

ส่วนที่ 4 : สรุปความเห็นของผู้ติดตาม

ส่วนที่ 4สรุปความเห็นของผู้ติดตาม
4.1 กรณีเบิกเงินงวด/ติดตามเยี่ยมชม มีแนวโน้มสำเร็จตามเป้าหมายโครงการและติดตามปกติ
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

 

มีแนวโน้มเสี่ยง ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจาก
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

 

มีความเสี่ยง ต้องยุติโครงการ เนื่องจาก
4.2 กรณีสรุปปิดโครงการ ดำเนินงานได้ตามแผนปฏิบัติการและสามารถปิดโครงการได้
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

 

ไม่เป็นไปตามแผนปฏิบัติการ ให้ดำเนินการจัดระบบการเงิน ระบบรายงานให้ถูกต้องก่อนปิดโครงการ
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

 

ส่วนที่ 5 : สรุปภาพรวมของการติดตามประจำงวด (ข้อสังเกต/สิ่งดีๆ ที่ค้นพบ/ข้อพึงระวัง/บทเรียนที่ได้)

สิ่งดี ๆ ที่ค้นพบ

  • ค้นพบเห็นพัฒนาการอย่างต่อเนื่องของชุมชน เห็นคุณภาพชีวิตของเด็ก ผู้สูงอายุและคนทั่วไป ดีขึ้นเป็นลำดับตลอด 3 ปี สร้างและสะสมความสำเร็จเพิ่มที่ละเรื่อง ทีละอย่างเพราะฐานชุมชนเข้มแข็ง
  • บทเรียนที่ได้ การพัฒนาคนมาเป็นสภาแกนนำและสภาแกนนำที่มีความทักษะ ความรู้สามารถแก้ปัญหาชุมชนได้โดยใช้การประชุมหัวใจ ใช้แผนเป็นเครื่องมือ
  • ข้อพึงระวัง สภาแกนนำต้องใช้การประชุมเป็นหัวใจ ใช้แผนเป็นเครื่องมือ
  • ข้อพึงระวังความสำเร็จที่เกิดขึ้นปัจจุบันเป็นฐานความสำเร็จอนาคต ต้องพัฒนาต่อยอดไม่หยุด

สร้างรายงานโดย thawonr kongsri