แบบบันทึกการติดตามสนับสนุนโครงการ ครั้งที่ 3

รหัสโครงการ 58-03820
สัญญาเลขที่ 58-00-1935

ชื่อโครงการ ศูนย์เรียนรู้นาอินทรีย์ที่บ้านโคกแย้ม (ต่อเนื่อง)
รหัสโครงการ 58-03820 สัญญาเลขที่ 58-00-1935
ระยะเวลาตามสัญญา 15 กันยายน 2015 - 15 ตุลาคม 2016

ส่วนที่ 1 : ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม

1.1 ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 1 นายสมนึก นุ่นด้วง
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 2
วันที่ลงพื้นที่ติดตาม 21 สิงหาคม 2016
วันที่ส่งรายงานถึง สสส. 15 ตุลาคม 2016
1.2 ผู้ให้ข้อมูล
ลำดับชื่อ-สกุลผู้ให้ข้อมูลที่อยู่หมายเลขโทรศัพท์
1 นางไพเราะ เกตุชู 131 หมู่ที่ 2 ตำบลนาท่อม อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง 0824378190

ส่วนที่ 2 : ข้อมูลโครงการและความก้าวหน้าการดำเนินงาน

2.1 วัตถุประสงค์และตัวชี้วัดความสำเร็จโครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1.

เพื่อพัฒนาศักยภาพสภาผู้นำชุมชน

1.มีสภาผู้นำเดิม 20 คนและคัดเลือกเพิ่มจากผู้ทรงคุณวุฒิในชุมชน จากภาครัฐ และท่องถิ่นให้ได้ไม่น้อยกว่า 25 คน

2.มีการประชุมอย่างเดือนละ 1 ครั้ง

3.แต่ละครั้งมีผู้เข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

4.การประชุมแต่ครั้งมีการปรึกษาหารือเรื่องโครงการและรื่องอื่นๆของ ชุมชน

5.มีการพัฒนาสภาผู้น้ำให้รู้และเข้าใจการจัดการชุมชนเข้มแข็ง

2.

เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้สู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการผลิตข้าวอินทรีย์ชีวภาพครบวงจร

  1. จำนวนสมาชิกสภาผู้นำที่มาจากกรรมการหมู่บ้าน และสมาชิก อบต. และตัวแทนชาวนา ร้อยละ 80
  2. จำนวนหลักสูตรการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการจัดกระบวนการถ่ายทอดความรู้ไม่น้อยกว่า 3 หลักสูตร
  3. จำนวนครัวเรือนในชุมชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ปรับพฤติกรรมโดยใช้สารเคมมีในการเกษตร (ประเมินโดยการสังเกตโดยคณะทำงานโครงการ ร่วมกับการสำรวจปริมาณการขายสารเคมีเพื่อการเกษตรของร้านค้าในชุมชน)

3.

เพื่อปรับสภาพแวดล้อนในชุมชนให้เอื้อต่อการส่งเสริมการผลิตและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการแปรรูปข้าวอินทรีย์ชีวภาพ

  1. เกิดพื้นที่การผลิตข้าวอินทรีย์รวมของชุมชนเพื่อใช้เป็ยฐานในการสร้างธนาคารเมล็ดพันธุ์และการส่งเสริมการบริโภค ไม่น้อยกว่า 4 ไร่
  2. มีการจัดให้ร้านค้าในชุมชนจำหน่ายผลผลิตที่แปรรูปเป็นข้าวกล้อง ข้าวขาวอินทรีย์ อย่างน้อย 3 ร้าน
  3. เกิดศูนย์เรียนรู้การผลิตข้าวอินทรย์ชีวภาพครบวงจร 1 ศูนย์

4.

เพื่อส่งเสริมและผลักดันให้เกิดกลไกการขับเคลื่อนศูนย์การเรียนรู้และกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

  1. เกิดสภาผู้นำร่วม 3 ฝ่ายประกอบด้วยภาครัฐภาคท้องถิ่น และตัวแทนจากหมู่บ้าน ในการบริหารจัดการศูนย์เรียนรู้และพื้นที่สาธารณะเพื่อการผลิตเมล็ดพันธ์
  2. เกิดข้อตกลงร่วมภายในหมู่บ้านเกี่ยวกับการร่วมกลุ่มการผลิตและการจำหน่ายข้าวอินทรียชีวภาพ

5.

เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

  1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด
  2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม
  3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม
  4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด
2.2 ความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ
กลุ่มเป้าหมายงบประมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงปริมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพ/สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ
ที่ตั้งไว้(บาท)เกิดขึ้นจริง(บาท)จำนวนที่ตั้งไว้(คน)จำนวนเกิดขึ้นจริง(คน)

กิจกรรมหลัก : ประชุมคณะทำงานและสภาผู้นำชุมชนi

5,000.00 25 ผลผลิต

มีการประชุมเป็นประจำทุกเดือน มีสมาชิกสภาผู้นำเข้าร่วมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80และมีการประชุมในทุกเรื่องของชุมชน รวมทั้งเรื่องของโครงการ เวทีที่ประชุมจึงเป็นที่หามติร่วมของชุมชน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ชุมชนมีการใช้ข้อมูล ความเห็นจากผู้เข้าร่วมประชุม ในการร่วมตัดสินใจบริหารจัดการชุมชนตามแผนพัฒนาหมู่บ้าน ตลอดถึงการร่วมบริหารจัดการโครงการนี้ด้วย

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 13 ครั้ง

คณะทำงานและสภาผู้นำชุมชน

1,150.00 1,150.00 25 25 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงานและสภาผู้นำ สามาชิกโครงการร่วมกันรับรู้และเข้าใจถึงรายละเอียดของโครงการต่อเนื่องปีที่ 2
    ในเรื่องการเขียนโครงการเพื่อเสนอของงบประมาณมาทำกิจกรรมในเรื่องของการทำเกษตรอินทรีย์ ปีนี้ บ้านโคกแย้ม หมู่ที่ 2 เสนอในเรื่องการทำนาอินทรีย์ ให้เป็นศูนย์เรียนรู้นาอินทรีย์ครบวงจร ตั้งแต่ขั้นตอนแรก คือ กระบวนการเรียนรู้ก่อนปลูก ขั้นตอนที่สอง คือ กระบวนการดูแลรักษา ขั้นตอนที่สาม กระบวนการเก็บเกี่ยวและคัดเลือกเมล็ดพันธ์ สามารถเป็นแหน่งเรียนรู้ ให้กับคนในชุมชนและเด็กเยาวชน บุคคลทั่วไป ได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้ ได้รับทุนสนับสนุน จาก สสส.
    งบประมาณโครงการ 183,425 บาท
    มีการแบ่งจ่าย 3 งวดงวดที่ 1วันที่ 15 กย. 2558 -15 ก.พ. 2259เป็นเงิน 73,370 บาท งวดที่ 2 วันที่ 16 ก.พ. 2559 - 15 ส.ค.2559เป็นเงิน91,720 บาท งวดที่ 3วันที่ 16 ส.ค. 2559 - 15 ต.ค. 2559เป็นเงิน 18,335 บาท กิจกรรมของโครงการมี 39 กิจกรรม
  • การคัดเลือกสามาชิกสภาผู้นำเพิ่มเติม จาก 20 คน เพิ่มขึ้นอีก 5 คน รวมเป็น 25 คน เพื่อช่วยกันกำหนดแนวทาง วางแผนการดำเนินงานติดตามประเมินผล ในการทำกิจกรรมอย่างมีส่วนร่วม
  • การกำหนดแนวทาง วางแผนในการทำกิจกรรมได้ข้อสรุปว่า จะเริ่มทำกิจกรรมตามแผนปฏิทินที่ลงไว้ วันที่ 17 ตุลาคคม 2558 เรื่องการสร้างกระบวนการเรียนรู้การผลิตข้าวอินทรีย์ครบวงจร ( กระบวนการก่อนการปลูก ) จัดสรรแบ่งหน้าที่กัน มอบหมาย การประสานงาน การประชาสัมพันธ์ สถานที่ทำกิจกรรม ด้วยความเต็มใจตั้งใจที่ จะทำกิจกรรมให้เป็นตามกระบวนการของโครงการ

คณะทำงานและแกนนำ จำนวน 20 คน

350.00 350.00 25 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • วาระประชุมที่ 1การติดตามผลกิจกรรม
  1. ติดตามผลกิจกรรม กระบวนการเรียนรู้การผลิตข้าวอินทรีย์ครบวงจรกระบวนการก่อนปลูก วันที่17 ตุลาคม 2558 มีผู้เข้าร่วม และให้ความสนใจ ทั้งกลุ่มสมาชิกทำนาอินทรีย์บ้านโคกแย้ม และผู้ที่สนใจ การเรียนรู้กระบวนการผลิตข้าวอินทรีย์ครบวงจร กระบวนการก่อนปลูกมีการซักถามพูดคุย แลกเปลี่ยน วิธีการ ระหว่างวิทยากร และผู้เข้าร่วมประชุม เป็นบรรยากาศที่ สนุก เพลิดเพลิน มีเนื้อสาระ ในประเด็นที่พูดคุยกัน วิทยากรบรรยายเสร็จแล้วก็ยังไม่กลับยังคงทั้งวงพูดคุยนอกรอบกันอีก กระบวนการทำงานของแกนนำเป็นตามที่มอบหมายหน้าที่กันไว้ มีการประสาน และการประชาสัมพันธ์ ให้ชุมชนได้รับทราบกันแต่ก็ยังไม่ทั่วถึง จึงต้องเน้นการประชาสัมพันธ์ให้มากยิ่งขึ้นด้วยหอกระจายข่าวหมู่บ้าน การพูดคุยในวงกาแฟ ร้านขนมจีน ร้านค้าหม่บ้าน เพื่อให้คนในชุมชนเข้ามามีส่วนของกิจกรรมต่อไป
  2. ติดตามผล กิจกรรมทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี โครงการศุนย์เรียนรู้นาอินทรีย์ที่บ้านโคกแย้ม ได้รับการสนับสนุนการทำป้าย สถานที่นี้ปลอดบุหรี จาก สสส. เป็นจำนวน 1 ป้าย ได้จัดทำมาติดไว้ที่ศาลาหมู่บ้านเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทำให้มีสานทีที่เขตปลอดบุหรีในชุมชน
  • วาระที่ 2. วางแผนการทำกิจกรรม

1.กิจกรรมกระบวนการเรียนรู้การผลิตข้าวอินทรีย์ครบวงจร กระบวนการดูแลรักษา คณะทำงานและแกนนำได้แสดงความคิดเห็นที่จะทำกิจกรรมกระบวนการดูแลรักษา แปลงนาอินทรีย์ในทุ่งตาลก ใน วันที่ 17 พฤศจิกายน 2558 และได้มอบหมายหน้าที่รับผิดชอบ การประสานงาน การจัดเตรียมสถานที่ ด้านเอกสารการเงิน วัสดุอุปกรณ์ในกิจกรรมกำหนดเวลา ตั้งแต 9.00 - 15.00 น.

แกนนำ และคณะทำงาน  25 คน

350.00 350.00 25 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • วาระที่ 1 เตรียมจัดงานอำเภอยิ้ม มีการมอบหมายหน้าที่ในการประสานงานในเรื่องการจัดสถานที่ การประชาสัมพันธ์ผ่านหอกระจายข่าวแจ้งการหิ้วปิ้นโตร่วมกันทำกิจกรรมกับทางอำเภอ จะมีนายอำเภอและเจ้าหน้าที่เข้าวัดทำบุญฟังธรรมและมีการแต่งกายด้วยเสื้อผ้าแบบไทย เพื่อช่วยกันอนุรักษ์วัฒนธรรมและเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็กๆและเยวาชน

  • วาระที่ 2 การคืนเงินสัจจะหมู่บ้าน การชำระเงินคืนเพื่อการกู้ยืม จะมีการคืนเงินที่ยืมไป และสัญญาในวันที่ 24-26 ธันวาคม 2558 และจะมีการคืนเงินปันผลให้กับสมาชิกใน วันที่ 29 ธัวาคม มอบหมายให้ นางลี่คงนิล ประสัมพันธ์ผ่านหอกระจายข่าวหมู่บ้าน

  • วาระที่ 3 แจ้งเรื่องการทำกิจกรรมของโครงการ กิจกรรมพัฒนาศักยภาพสภาผู้นำชุมชน ไปดูงานที่บ้านทุ่งยาว อำเภอเขาชัย จังหวัด พัทลุง
    สรุปกิจกรรมศึกษาดูงานในวันที่29 พฤศจิกายน 2558 สิ่งที่แกนนำและสภาผู้นำไปได้เรียนรู้มา ในเรื่องการพัฒนาศักยภาพความเป็นผู้นำเพื่อพัฒนาหมู่บ้านสู่ชุมเข็มเข็มแข็ง นั้นมีปัจจัยหลายด้านที่ต้องนำมาประกอบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปัญหาเศษฐกิจ การร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชนที่จะช่วยกันพัฒนาชุมชน สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนที่บ้านทุ่งยาวคือ ผู้ใหญ่บ้าน และ กรรมการ มีความรู้ความเข้าใจเข้าถึงความต้องการของชุมชน ในทุกด้านในด้านความเป็นอยู่ มีการพัฒนาจัดตั้งกลุ่ม สร้างรายได้ในคนในชุมชน มีสวัสดิการณ์ ค่ารักษาพยาบาลให้แก่สามาชิกและคนในครอบครัว มีการพัฒนาอย่างเนื่องจากกลุ่มกลายมาเป็นสหกรณ์ เช่นสหกรณ์การเงินมาเป็นสถาบันการเงินเครดิตยูเนียมขยายการรับฝาก กู้ยืม ทั้งตำบลไม้ใช้เฉพาะหมู่บ้าน บริหารจัดการโดยคนในหมู่บ้าน สิ่งที่เห็นมาแสดงถึงความเข็มแข็งของผู้นำ และการร่วมร่วมใจของคนในหมู่บ้านด้วยแกนนำและสภาผู้นำของโคกแย้มเห็นฟ้องต้องกันว่าบ้านโคกแย้มสามารถพัฒนาไปในแนวทางของบ้านทุงยาวได้ พัฒนา สร้างคนที่มีความรู้ความสามารถและที่สำคัญที่สุดคือการสร้างจิตสำนึกรักบ้านเกิดเสียก่อน มันเป็นพื้นฐานอันลำดับในการที่พัฒนาทั้งหมดเป็นข้อสรุปผลของการไปดูงานของแกนนำและสภาผู้นำชุมชน

  • การทำกิจกรรมต่อไปคือ เวทีคืนข้อมูลระบบนิเวศนาจะมีการทำกิจกรรมในวันที่ 29 ธัวาคม มีการมอบหมายหน้าที่กัน การติดต่อวิทยากร หน่วยงาน ภาคี จัดเตรียมสถานที่ จัดเตรียมอาหาร การจัดเตรียมเอกสาร หน้าที่ในการลงทะเบียนของผู้เข้าร่วมกิจกรรม การประชาสัมพันธ์ผ่านหอกระจายข่าวหมู่บ้าน ปิดการประชุม

คณะทำงานและสภาผู้นำ 20 คนร่วมประชุม

0.00 0.00 25 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • วาระที่ 1 เตรียมจัดงานอำเภอยิ้ม มีการมอบหมายหน้าที่ในการประสานงานในเรื่องการจัดสถานที่ การประชาสัมพันธ์ผ่านหอกระจายข่าวแจ้งการหิ้วปิ้นโตร่วมกันทำกิจกรรมกับทางอำเภอ จะมีนายอำเภอและเจ้าหน้าที่เข้าวัดทำบุญฟังธรรมและมีการแต่งกายด้วยเสื้อผ้าแบบไทย เพื่อช่วยกันอนุรักษ์วัฒนธรรมและเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็กๆและเยวาชน

  • วาระที่ 2 การคืนเงินสัจจะหมู่บ้าน การชำระเงินคืนเพื่อการกู้ยืม จะมีการคืนเงินที่ยืมไป และสัญญาในวันที่ 24-26 ธันวาคม 2558 และจะมีการคืนเงินปันผลให้กับสมาชิกใน วันที่ 29 ธัวาคม มอบหมายให้ นางลี่คงนิล ประสัมพันธ์ผ่านหอกระจายข่าวหมู่บ้าน

  • วาระที่ 3 แจ้งเรื่องการทำกิจกรรมของโครงการ กิจกรรมพัฒนาศักยภาพสภาผู้นำชุมชน ไปดูงานที่บ้านทุ่งยาว อำเภอเขาชัย จังหวัด พัทลุง
    สรุปกิจกรรมศึกษาดูงานในวันที่29 พฤศจิกายน 2558 สิ่งที่แกนนำและสภาผู้นำไปได้เรียนรู้มา ในเรื่องการพัฒนาศักยภาพความเป็นผู้นำเพื่อพัฒนาหมู่บ้านสู่ชุมเข็มเข็มแข็ง นั้นมีปัจจัยหลายด้านที่ต้องนำมาประกอบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปัญหาเศษฐกิจ การร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชนที่จะช่วยกันพัฒนาชุมชน สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนที่บ้านทุ่งยาวคือ ผู้ใหญ่บ้าน และ กรรมการ มีความรู้ความเข้าใจเข้าถึงความต้องการของชุมชน ในทุกด้านในด้านความเป็นอยู่ มีการพัฒนาจัดตั้งกลุ่ม สร้างรายได้ในคนในชุมชน มีสวัสดิการณ์ ค่ารักษาพยาบาลให้แก่สามาชิกและคนในครอบครัว มีการพัฒนาอย่างเนื่องจากกลุ่มกลายมาเป็นสหกรณ์ เช่นสหกรณ์การเงินมาเป็นสถาบันการเงินเครดิตยูเนียมขยายการรับฝาก กู้ยืม ทั้งตำบลไม้ใช้เฉพาะหมู่บ้าน บริหารจัดการโดยคนในหมู่บ้าน สิ่งที่เห็นมาแสดงถึงความเข็มแข็งของผู้นำ และการร่วมร่วมใจของคนในหมู่บ้านด้วยแกนนำและสภาผู้นำของโคกแย้มเห็นฟ้องต้องกันว่าบ้านโคกแย้มสามารถพัฒนาไปในแนวทางของบ้านทุงยาวได้ พัฒนา สร้างคนที่มีความรู้ความสามารถและที่สำคัญที่สุดคือการสร้างจิตสำนึกรักบ้านเกิดเสียก่อน มันเป็นพื้นฐานอันลำดับในการที่พัฒนาทั้งหมดเป็นข้อสรุปผลของการไปดูงานของแกนนำและสภาผู้นำชุมชน

  • การทำกิจกรรมต่อไปคือ เวทีคืนข้อมูลระบบนิเวศนาจะมีการทำกิจกรรมในวันที่ 29 ธัวาคม มีการมอบหมายหน้าที่กัน การติดต่อวิทยากร หน่วยงาน ภาคี จัดเตรียมสถานที่ จัดเตรียมอาหาร การจัดเตรียมเอกสาร หน้าที่ในการลงทะเบียนของผู้เข้าร่วมกิจกรรม การประชาสัมพันธ์ผ่านหอกระจายข่าวหมู่บ้าน ปิดการประชุม

คณะทำงานและแกนนำผู้นำชุมชน จำนวน 25 คน

350.00 350.00 25 25 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • วาระที่1 การลงทะเบียนชาวสวนยางผู้ใหญ่ถาวร คงนิจ แจ้งรายละเอียดการลงทะเบียนชาวสวนยาง ผู้มีสิทธิลงทะเบียน จำนวนไร่ ระยะเวลาในการเปิดกรีด เอกสารประกอบการลงทะเบียน กำหนดเวลาในการลงทะเบียน
  • วาระที่ 2 สรุปรายละเอียดการทำกิจกรรมเวทีคืนข้อมูลระบบนิเวศนาให้ชุมชนในวันที่ 9 มกราคม 2559 มีผู้เข้าร่วมตามเป้า คนในชุมชนให้ความสนใจกับข้อมูลที่กลุ่มเด็กเยาวชนได้ลงสำรวจลงพื้นที่นาจริง ได้ข้อมูลจากเจ้าของแปลงนาและยังมีป้ายนิทรรศการ ลด ละ เลิก การใช้สารเคมี ให้คนชุมชนตระหนักถึงพิษภัย สารตกค้างต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค ระบบนิเวศในนาเปลี่ยนแปลงไป จากดินที่ร่วน มีไส้เดือน กบ เขียด กุ้ง หอย ปู ปลา มีพืช แต่เดียวนี้ไม่ค่อยมีให้แล้ว เพราะเกิดจากการสารเคมีมากเลยไปการคืนข้อมูลโดยเด็กเยาวชนในครั้งนี้เป็นเสี่ยงสะท้อน ให้คนในชุมชนมีความกระตืนรือร้นเกิดความเปลี่ยนระบบการทำนาแบบเคมีกลับมาใช้วิถีการทำนาแบบดั่งเดิม คืน การทำแบบอินทรีย์ชีวภาพมากยิ่งขึ้น
  • วาระที่ 3 กำหนดการทำกิจกรรมเรียนรู้กระบวนแปรรูปข้าววันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2559 เป็นวันที่ทำกิจกรรม มีการมอบหมายงานกันทำ ได้แก่ติดต่อประสานงานสถานที่ดูงาน การติดต่อเช่ารถ จัดเตรียมเอกสาร การประชาสัมพันธ์ผ่านหอกระจายข่าวหมู่บ้าน

คณะทำงานและสภาแกนนำ

350.00 350.00 25 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • วาระที่ 1 รับสมัครสมาชิกกลุ่มกองทุนวันละบาทเพิ่ง ให้เตรียมเอกสารหลักฐานสำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประชาชน มาสมัครในวันที่ 7 มีนาคม 2559 ในเวลา 10.00 - 13.00 น. ที่ศาลาหมู่บ้านผู้ที่เป็นสามาชิกจะได้รับสวัสดิการในเรื่อง การรักษาพยาบาล ตัวสมาชิกและคนในครอบครัว
  • วาระที่ 2การไปดูงานการเรียนรู้กระบวนการแปรรูปข้าวที่ วิชชาลัยร่วงข้าว และศูนย์ผลิตข้าวอินทรีย์บ้านปันแตเป็นการเรียนรู้ถึงกระบวนการแปรรูปข้าวให้เป็นผลิตภัณฑ์ ต่อยอดจากข้าวเปลือกมาเป็นข้าวสาร จากข้าวสารมาโมแป้งนำม่ทำขนมปลายสารนำมาทำเป็นผงจมูกข้าวชง เป็นอาหารเสริมสุภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ให้ครบวงจร ทุกกระบวนการ เริ่มต้นต้องแต่การปลูกการดูแลรักษาการเก็บเกี่ยวต้องอาศัยความขยัน ดูแลเอาใจ ประกอบการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ไม่ใช้สารเคมี เพื่อจะได้ข้าวอินทรีย์มีคุณภาพที่ปลอดภัย แก่ตัวเอง และผู้บริโภคด้วย
  • วาระที่ 3แจ้งการเตรียมปิดงวดที่ 1เรื่องการเตรียมเอกสาร และงบประมาณค่าใช้ของโครงการที่ผ่านมางบประมาณของ งวดที่1 ได้รับมา เป็นเงิน 73,370 บาท ได้จัดกิจกรรมไปแล้ว 18 กิจกรรม ค่าใช้จ่ายทั้งหมด88,650 บาท ติดลบ 15,280 บาท โดยสำรองจ่ายจากเงินกองทุนสวัสดิการณ์หมู่บ้าน แจ้งที่ประชุมทราบเรื่องการประชุมในวันที่ 20 - 21 กุมภาพันธ์ 2559 เพื่อส่งเอกสารรายละเอียดการเงิน ปิดงวดที่1 จะมีผู้เข่าร่วม 3 คน หัวหน้าโครงฯ เจ้าหน้าที่การเงินโครงการ ผู้รายงานกิจกรรมผ่านเว็ปไซส์ ซึ่งต้องเตรียมเอกสารหลักฐานการเงิน สมุดบัญชีธนาคาร ปรับปรุงยอดเงินปัจจุบัน สัญญาโครงการไปด้วย
  • วาระที่ 4 เตรียมทำกิจกรรมชานน้องลงนา และกระบวนการเก็บเกี่ยวข้าว กำหนดวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2559 มอบหมายหน้าที่แบ่งงานการประสานงานติดต่อวิทยากรและเครือข่าย ภาคี และหน่วยงานราชการการจัดเตรียมเอกสารการจัดเตรียมสถานที่ การประชาสัมพันธ์ผ่านหอกระจายข่าวปิดการประชุม

คณะทำงานและสภาผู้นำชุมชน

350.00 350.00 25 12 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประชุมคณะทำงานและสภาผู้นำครั้งที่ 6 มีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 25 คน มีวาระการประชุม 3 วาระ
1. การร่วมแข่งขันกีฬาหมู่บ้าน กีฬานาท่อมสัมพันธ์ ต้านยาเสพติด 2. สรุปกิจกรรมชวนน้องลงน้อง และกระบวนการเรียนรู้การเก็บเกี่ยวข้าวเป็นเมล็ดพันธ์ 3.แจ้งการเปิดงวดที่ 1 สำเสร็จเร็จสิ้น รอเงินงวดที่ 2 พร้อมที่จะทำกิจกรรมรวมพลคนรักษ์ข้าวอินทรีย์ มีธนคารข้าว

  • วาระที่ 1 การเข้าร่วมแข่งขันกีฬาหมู่บ้านกีฬานาท่อมสัมพันธ์ ต่อต้านยาเสพติด ครั้งที่ 19 ประจำปี 2559ใน วันที่ 23-27 มีนาคม 2559ณ สนามโรงเรียนประภัสสรรัวสิตหมู่ที่2 บ้านตาลก มีการส่งกีฬาเข้าร่วม3 ประเภท 1.ฟุตบอลชาย 2. เปตอง รุ่นเด็กเยาวชน ชาย-หญิง จำนวน 2 ทีม 3. กีฬาพื้นบ้าน

  • วาระที่ 2 กิจกรรมชวนน้องลงนา และกิจกรรมกระบวนการเรียนรู้เก็บเกี่ยวข้าวเป็นเมล็ดพันธ์ งสองกิจกรรมสำเร็จเสร็จสิ้นไปด้วยดี รับได้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเด็กเยาวชน และกลุ่มทำนาอินทรีย์ หน่าวยงาน ภาคี ทุกภาคส่วน กลุ่มเด็กเยาวชนได้เรียนรู้กระบวนการเก็บเกี่ยวข้าวการคัดเลือกเมล็ดข้าวเป็นเมล็ดพันธ์ข้าว สามารถเก็บเกี่ยวข้าวเป็นคัดแยกพันธ์ข้าวเป็นเมล็ดพันธ์ได้ สามาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์เก็บเกี่ยวเมล็ดข้าวเป็นเมล็ดพันธ์ได้ตามจำนวน คัดเป็นเมล็ดพันธ์ุไว้ใช้ในฤดูกาลต่อไป

  • วาระที่ 3 การส่งเอกสารหลักฐานการเงิน และรายงานกิจกรรมผ่านเว็ปไซส์ โดย สจรส. ร่วมกับพี้เสี้ยง ตรวจสอบ และรอส่งเอกสารไปให้ สสส. ตรวจสอบความถูกต้อง หลังการตรวจต้องรอประมาณ 15 วัน จะมีการโอนเงินงวดที่ 2 มาให้ เพื่อจะได้ทำกิจกรรมต่อไป กิจกรรรมรวมพลคนรักษ์ข้าวอินทรีย์ มีธนาคาร จะเรียกประชุมเตรียมงานกันอีกครั้งหลังจากเงินงวด 2 โอนมา

  • สรุป การประชุมคณะทำงานและสภาผู้ชุมชน ครั้งที่ 6 รับทราบข้อมูลข่าวสารทางราชการ ในเรื่องการเข้าร่วมแข่งขันกีฬาหมู่บ้านกีฬานาท่อมสัมพันธ์ ต่อต้านยาเสพติด รับทราบข้อมูลข่าวสารของโครงการศูนย์เรียนรู้นาอินทรีย์ที่บ้านโคกแย้ม เรื่องแจ้งผลการดำเนินงานกิจกรรมกิจกรรมชวนน้องลงนา และกิจกรรมกระบวนการเรียนรู้เก็บเกี่ยวข้าวเป็นเมล็ดพันธ์ งสองกิจกรรมสำเร็จเสร็จสิ้นไปด้วยดี

คณะทำงานและสภาผู้นำ

350.00 350.00 25 12 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประชุมคณะทำงานและสภาผู้นำครั้งที่ 7 มีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 25 คน มีวาระการประชุม 3 วาระ

  • ประชุมวาระที่ 1 การยกระดับศักยภาพหมู่บ้านเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตามแนวประชารัฐ
  • วาระที 2 การแปรรูปข้าวอินททรีย์ชีวภาพของโครงการจัดหน่ายในงานกาชาดร่วมกับอำเภอเมือง
  • วาระที่ 3 แจ้งเรื่องเงินงวดที่2 ของโครงการ

วาระที่ 1 การยกระดับศักยภาพหมู่บ้านเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตามแนวประชารัฐตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อ วันท่ี่ 5 เมษายน 2559 เห็นชอบโครงการยกระดับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารับโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ให้แก่ภูมิภาคทั้งด้านเศรษฐกิจสังคมและความต้องการของประชาชนในพื้นที่รวมทั้งสอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทั้งนั้นการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยการสนันสนุนงบประมาณให้แก่หมู่บ้านภายใต้วงเงินไม่เกินหมู่บ้านละ 200,000 บาท หมู่บ้านหมู่ที่ 2 บ้านตาลก มีการเชิญประชุม หัวหน้าครัวเรือน หรือตัวแทน เพื่อเสนอคัดดเลือกโครงการและคัดเลือกคณะทำงานการดำเนินโครงการมีมติเสนอโครงการโรงสีข้าวชุมชน เพื่อสอดคล้องกับโครงการศูนย์เรียนรู้นาอินทรีย์ที่บ้านโคกแย้มที่มีการผลิตข้าวอินทรีย์ครบวงจร อยู่แล้ว สามารถผลิตข้าวและได้แปรรูปข้าวในการบริโภคในชุมชนได้อย่างสมบรูณ์มากยิ่งขึ้น

วาระที 2 การแปรรูปข้าวอินททรีย์ชีวภาพของโครงการศูนย์เรียนรู้นาอินทรีย์ที่บ้านโคกแย้มจัดหน่ายในงานกาชาดร่วมกับอำเภอเมือง ทางอำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง มีงานกากาชประจำปี 2559 ในวันที่ 28 เมย.-8 พค. ได้มีการออกบธูจัดจำหน่ายสินค้าเพื่อสุภาพ ทางอำเภอเมื่องของความร่วมมือทางศูนย์การเรียนรู้นาอินทรียที่บ้านโคกแย้ม ที่ผลิตข้าวอินทรีย์ไม่ใช้สารเคมีเข้าร่วมจัดจำหน่ายด้วย คณะทำงานและแกนนำได้เสนอข้าวอินทรียชีวภาพ 2 สายพันธ์ มี ข้าวไรเบอร์รี และ ข้าวเล็บนกพื้นเมือง ให้สามาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์แปรรูปเป็นข้าวสารบรรจุและติดตราข้าวอินทรีย์บ้านโคกแย้ม

วาระที่ 3 แจ้งเรื่องเงินงวดที่2 ของโครงการ เนื่องจากโครงการศูนย์เรียนรู้นาอินทรีย์ที่บ้านโคกแย้มได้ปิดงวดการทำกิจกรรม ครั้งที่ 1 ใน วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2559 เป็นเวลาประมาณ 2 เดือน อยู่ในช่วงการตรวจสอบความถูกต้องจาก สสส. เลยไม่สามารถทำกิจกรรมได้ต้องรอเงินงวดที่ 2 ก่อน

  • สรุปการประชุมคณะทำงานและสภาผู้นำชุมชน ครั้งที่ 7 ได้รับทราบข้อมูลข่าวสารทางราชการในเรื่อง การยกระดับศักยภาพหมู่บ้านเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตามแนวประชารัฐรับทราบข่าวสารทางหมู่บ้านการแปรรูปข้าวอินททรีย์ชีวภาพของโครงการศูนย์เรียนรู้นาอินทรีย์ที่บ้านโคกแย้มจัดหน่ายในงานกาชาดร่วมกับอำเภอเมือง รับทราบข่าวสารโครงการศูนย์การเรียนรู้นาอินทรีย์ที่บ้านโคกแย้ม ในเรื่องงบประมาณงวดที่2 ล่าช้า ไม่สามารถทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องได้

คณะทำงานและสภาผู้นำชุมชน

350.00 350.00 25 15 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประชุมคณะทำงานและสภาผู้นำครั้งที่ 8 มีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 25 คน มีวาระการประชุม 3 วาระ

  • ประชุมวาระที่ 1 การอบรมการจัดการขัดแยกขยะและการทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหารในครัวเรือนโดยเทศบาลนาท่อม
  • วาระที 2การปรังปรุงศาลาทวดตาลก
  • วาระที่ 3 แจ้งเรื่องของโครงการศูนย์เรียนรู้นาอินทรีย์ที่บ้านโคกแย้ม

การประชุมวาระที่ 1 การอบรมการจัดการขัดแยกขยะและการทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหารในครัวเรือนในครั้งนี้ ในวันที่ 30 ฟฤษภาคม 2559 ในเวลา 13.00 น. ที่ศาลาหมู่บ้านหมู่ที่ 2 ทางเทศบาลตำบลนาท่อม ได้เชิญ วิทยาการมาอบรมการขัดแยกขยะและการทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหารในครัวเรือน และมีการแจกถังหมักปุ๋ย และหัวเชื้อปุ๋ยให้้แก่ผู้เข้าร่วมอบรมด้วย

วาระที่ 2 การปรับปรุงศาลาทวดตาลก เนื่องจากศาลาทวดตาลกทรุดโทรมตามสภาวะ ทางคณะกรรมหมู่บ้านมีมติร่วมกันที่จะปรับปรุงซ่อมแซมศาลาทวดตาลก ในการซ่อมแซมครั้งนี้จึงขอเชิญคนในชุมชนทีมีจิตศรัทธาร่วมบริจาคแล้วแต่กำลังร่วมบริจาคได้ที่กรรมการหมู่บ้านและจะมีการประชาสัมพันธ์ผ่านหอกระจากข่าวสำหรับรายชื่อผู้ร่วมบริจาคด้วย

วาระที่ 3 แจ้งเรื่องโครงการศูนย์เรียนรู้าอินทรีที่บ้านโคกแย้ม เนื่องจากตอนนี้ทางสสส.สจรส. ยังไม่สามารถโอนเงินงวดที่ 2ผู้จัดการโครงการคุณไพเราะเกตุชูได้สอบถามไปทางพี้เสี้ยงโครงการ คุณ สมนึกนุ่นด้วง แล้ว ได้ความว่ารายงานพี้เสี้ยงติดตามพื้นที่ยังไม่เรียบร้อย ทาง พี้เสี้ยงพื้นที่ได้ทำการปรับปรุงแก้ไขเป็นที่เรียบร้อยแล้วและให้มีการปรับแผนปฎทินใหม่ เพราะไม่สามารถทำกิจกรรมตามแผนเดิมได้รอการพิจารณาจาก สสส. สจรส. รอเงินงวดที่ 2

  • สรุปการประชุมคณะทำงานและสภาผู้นำชุมชน ครั้งที่ 8 ได้รับทราบข้อมูลข่าวสารทางราชการ ในเรื่องโครงการการอบรมการจัดการขัดแยกขยะและการทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหารในครัวเรือน ข่าวสารทางหมู่บ้าน ในเรื่องการปรับปรุงศาลาทวดตาลก ได้รับทราบข้อมูลข่าวสารของโครงการศูนย์เรียนรู้นาอินทรีย์ที่บ้านโคกแย้มในเรื่อง การส่งเอกสารโครงการตรวจสอบเพื่อปิดงวดที่ 1

คระทำงานและสภาผู้นำชุมชน

350.00 350.00 25 15 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การประชุมคณะทำงานและสภาผู้นำชุมชน ครั้งที่ 9 มีผู้เข้าร่วมประชุมจจำนวน 25 คน มีวาระการประชุม 3 วาระ 1. ประชุมสร้างความเข้าใจเรื่องการยกร่างรัฐธรรมมูญ 2. แจ้งเรื่องเงินงวดที่ 2 โครงการศูนย์เรียนรู้นาอินทรีย์ที่บ้านโคกแย้ม 3.จัดเตรียมดำเนินงานกิจกรรมตามแผนของโครงการ

วาระที่ 1 ประชุมสร้างคาวมเข้าใจการยกร่างรัฐธรรมมูญ ในวันที่ 21 มิถุนายน 2559 ในเวลา 13.00 น. ที่ศาลาหมู่บ้านหมู่ที่ 2จะมีวิทยากรจากอำเภอมาทำความเข้าใจ และความรู้ในเรื่องข้อบทกฎหมายในการยกร่างรัฐธรรมมูญ เป็นความรู้เบื้องต้น ในการลงประชามติยกร่างรัฐธรรมมูญ

วาระที่ 2 แจ้งเรื่องเงินงวดที่ 2 โครงการศูนย์เรียนรู้นาอินทรีย์ที่บ้านโคกแย้ม ทาง สสส. ได้โอนเงินงวดที่ 2 มาแล้วใน วันที่ 19 พฤษภาคม2559เป็นเงินจำนวน 91,720 บาท เพื่อมาทำกิจกรรมในงวดที่ 2 มีประมาณ 20 กิจกรรม เนื่องจากงบประมาณงวดที่ 2 ล่าช้า เลยต้องปรับแผนการดำเนินงานและปรับปฏิทินในทันกับการปิดงวดครั้งที่ 2 ต่อไป

วาระที่ 3 จัดเตรียมแผนการดำเนินงานทำกิจกรรมของโครงการกิจกรรมต่อไปคณะทำงานและแกนนำชุมชน ได้ คิดเห็นกันว่าจะทำกิจกรรมจัดตั้งกลุ่มแปรรูผลิตภัณฑ์ เป็นลำดับต่อไป กำหนดวันที่ 25 มิถุนายน 2559 เวลา 10.00 น. - 15.00 น. ณสถานที่ศาลาหมู่บ้าน มีการมอบหมายหน้าที่ประสานงาน ติดต่อวิทยากรจัดเตรียมสถานที่ จัดเตรียมเอกสารการประชาสัมพันธ์ผ่านหอกระจายข่าวอย่างต่อเนื่องให้คนในชุมชนรับรู้ถึงข่าวการทำกิจกรรมให้ทั่วถึง

  • สรุป การประชุมครั้งที่ 9 คนในชุมชนได้รับรู้ข่าวสารทางราชการ รับทราบข้อมูลการดำเนินงานของโครงการศูนย์การเรียนรู้นาอินทรีย์ที่บ้านโคกแย้มในเรื่องของงบประมาณงวดที่ 2 และการวางแผนงานการทำกิจกรรรม

คณะทำงานและสภาผู้นำชุมชน

350.00 350.00 25 15 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การประชุมคณะทำงานและสภาผู้นำชุมชน ครั้งที่ 10 มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 25 คน มีวาระการประชุม 3 วาระ 1. ประชุมการลงประชามติยกร่างรัฐธรรมมูญ 2.งานตลาดนัดของดีตำบลนาท่อม 3.จัดเตรียมทำกิจกรรมพัฒนาหลักสูตรเรียนรู้กระบวนการผลิตข้าวอินทรีย์ครบวงจรกระบวนการดูแลรักษา

วาระที่ 1 การลงประชามติยกร่างรัฐธรรมมูญ ในวันที่ 7 สิงหาคม เวลา 8.00 - 16.00 น. ที่ ศาลาหมู่บ้านหมู่ที่ 2 ตำบลนาท่อม เอกสารที่ต้องเตรียมในการใช้สิทธิ์ออกเสียงการยกร่างรัฐธรรมมูญ ยืนแสดงบัตรประจำตัวประชาชน ก่อนยื่นต้องดูรายชื่อผู้มีสิทธฺ์ลงเสียงประชามติที่ป้ายติดไว้ประจำหน่วย สามารถทำความเข้าใจในรายละเอียดการลงประชามติได้ที่ป้ายเอกสารที่ติดไว้ประจำหน่วย

วาระที่ 2 งานตลาดนัดของดีตำบลนาท่อม ประจำปี 2559 ระหว่างวันที่ 28-29 กรกฎาคม 2559 ณ สนามหน้าสำนักงานเทศบาลนาท่อม เริ่มงานตลาดนัดเวลา 14.00 น. มีกิจกรรมในงาน -การแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของดีตำบลนาท่อมชมการแสดง มโนราห์ของนักเรียนประภัสสรรังสิตการแสดงของนักเรียนโรงเรียนวัดนาท่อมการแสดงปิ่นพากย์การตีกลองยาวชมเรื่องเล่า นาท่อมแต่แรก การแสดงหนังโขนคนการแสดงของดีนาท่อมทั้ง 8 หมู่ ซึ่งทางหมู่ที่ 2 บ้านโคกแย้มได้ส่งของดีประจำหมู่ ข้าวอินทรีย์ชีวภาพ ข้าวเล็บนกและข้าวไรส์เบอรีแสดงในงาน

วาระที่ 3 จัดเตรียมทำกิจกรรมพัฒนาหลัดสูตรเรียนรู้กระบวนการผลิตข้าวอินทรีย์ครบวงจรกระบวนการดูแลรักษาที่ประชุมมีมิต กำหนดวันที่ 25 กรกฎาคม 2559 เวลา 10.00 น. - 15.00 น. ณสถานที่ศาลาหมู่บ้าน มีการมอบหมายหน้าที่ประสานงาน ติดต่อวิทยากรจัดเตรียมสถานที่ จัดเตรียมเอกสารการประชาสัมพันธ์ผ่านหอกระจายข่าวอย่างต่อเนื่องให้คนในชุมชนรับรู้ถึงข่าวการทำกิจกรรมให้ทั่วถึง

  • สรุป สมาชิกได้รับข่าวสารทางราชการ สามาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ชีวภาพจะมีรายได้เสริมจากการออกบธูคณะทำงานและสภาผู้นำชุมชนร่วมมือร่วมใจในการทำกิจกรรมของโครงการกำหนดแผนงานร่วมกัน

คณะทำงานและแกนนำชุมชน

350.00 350.00 25 15 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การประชุมคณะทำงานและสภาผู้นำชุมชน ครั้งที่ 11 มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 25 คน มีวาระการประชุม 3 วาระที่ 1. การลงทะเบียนผู้ทำนา วาระที่ 2 จัดเตรียมต้อนรับคณะดูงาน วาระที่ 3 จัดเตรียมการทำกิจกรรมของโครงการราวมพลคนรักษ์ข้าวอินทรีย์ มีธนาคาร


วาระที่ 1 เรื่องการลงทะเบียนผู้ทำนา เนื่องจากเทศบาลตำบลนาท่อมมีโครงการ หนุนเเสริมเมล็ดพันธ์ข้าวที่มีคุณภาพเป็นข้าวสายพันธ์มาจากศูนย์วิจัยข้าว ให้กับผู้ที่ทำนาในตำบล ให้มาลงชื่อผู้ทำนา ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน เริ่มตั้งแต่ 15 -30สิงหาคม 2559ผู้ใหญ่จะร่วมรวมรายชื่อ ผู้ทำนาส่งต่อไปให้กับเทศบาลนาท่อม จะแจ้ง วัน เวลา สถานที่ จัดสรรเมล็ดพันธ์อีกครั้งหนึ่ง


วาระที่ 2 เทศบาลตำบลนาท่อมมีโครงการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ ในวันที่ 21 สิงหาคม 2559 ที่วัดนาท่อม เวลา 13.00 - 15.00 น.เชิญผู้สูงอายุหมู่ที่2 ลงทะเบียนเข้าร่วมการพัฒนาศักยภาพได้ที่ คุณไพเราะเกตุชู จะมีกิจกรรมนันทนาการขยับกายสบายชีวี มีการขับร้องเพลงของศิลปินพื้นบ้าน และในวันที่ 22-23 สิงหาคม 2559 จะเดินไปศึกษาดูงานที่ จังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดสุราษธานี


วาระที่ 3 จัดเตรียมต้อนรับคณะดูงานจาก ชุมชนสำนักกอ หมู่ที่ 3 ต.ปันแต อ. ควนขนุน จ.พัทลุง จะมาเรียนรู้ดูงานการจัดการชุมชนต้นแบบด้านการสร้างอาชีพเสริมศึกษาดูงานใน ต. นาท่อม ในเรื่องการสร้างรายได้เสริมในการเสี้ยงผึ้ง การรวมกลุ่มและการจัดการกลุ่ม ใน วันที่ 18 สิงหาคม 2559 เวลาประมาณ 9 - 11. น. ณ กลุ่มเสี้ยงผึ้งนาท่อม เวลา11.- 13.น. จะมาเยี่ยมเยื้อนที่ศูนย์การเรียนรู้นาอินทรีย์ที่บ้านโคกแย้ม หมู่ที่ 2 ในเครือข่ายภาคีของชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ร่วมพูดคุยศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีดำเนินงานกระบวนการการทำงานของโครงการ และ รับประทานอาหารกลางร่วมกัน


วาระที่ 4 จัดเตรียมทำกิจกรรมของโครงการรวมพลคนรักษ์ข้าวอินทรีย์ มีธนาคารเมล็ดพันธ์ ที่ประชุมมีมิต กำหนดวันที่ 27 สิงหาคม 2559 เวลา 10.00 น. - 15.00 น. ณสถานที่ศาลาหมู่บ้าน มีการมอบหมายหน้าที่ประสานงาน ติดต่อวิทยากร จัดเตรียมสถานที่ จัดเตรียมเอกสาร การประชาสัมพันธ์ผ่านหอกระจายข่าวอย่างต่อเนื่องให้คนในชุมชนรับรู้ถึงข่าวการทำกิจกรรมให้ทั่วถึง

  • การประชุมครั้งที่11 คณะทำงานและสภาผู้นำชุมชนสมาชิกได้รู้ถึงข่าวสารของเทศบาลตำบลนาท่อมได้พบปะพูดคุยพูดแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกำหนดแผนการดำเนินงานกิจกรรมร่วมกัน เห็นถึงการมีส่วนร่วม

คณะทำงานและสภาผู้นำชุมชน

350.00 350.00 25 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การประชุมคณะทำงานและสภาผู้นำชุมชน ครั้งที่ 12 มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 25 คน มีวาระการประชุม 5 วาระ ผู้ใหญ่บ้าน ถาวรคงนิล แจ้งวาระในการประชุม ในครั้งนี้ วาระที่ 1 แจ้งเรื่องโครงการจัดการขยะอันตราย วาระที่ 2 แจ้งเรื่องงบประมาณโครงการศูนย์เรียนรู้นาอินทรีย์ที่บ้านโคกแย้ม งวดที่ 2 และ งวดที่3 วาระที่ 3 แจ้งเรื่องงานสร้างสุขภาคใต้ วาระที่ 4 แจ้งเรื่องปิดโครงการ วารที่ที่ 5 จัดเตรียมทำกิจกรรม เวทีรับฟังความคิดเห็นแนวทางการบริหารจัดการศูนย์เรียนรู้ และ กิจกรรมสรุปประเมินผลและจัดทำชุดความรู้

วาระที่ 1 แจ้งเรื่องโครงการจัดการขยะอันตรายจะมีจัดประชุมการสร้างความเข้าใจการจัดการขยะของตำบลนาท่อมทำความรู้จักขยะอันตราย และผลกระทบต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมของขยะอันตราย วิธีการคัดแยกขยะอันตรายและกำจัดที่ถูกวิธี ทำความเข้าใจตกลงการรวบรวมขยะอันตราย ส่งมอบถังขยะอันตรายไว้ประจำศาลาหมู่บ้าน ในวันที่ 16 ตุลาคม 2559 เวลา บ่ายโมง - บ่ายสามโมง ณ ที่ศาลาหมู่บ้าน

วาระที่ 2 แจ้งเรื่องงบประมาณของโครงกรศูนย์การเรียนรู้นาอินทรีย์ที่บ้านโคกแย้มงบประมาณที่ได้รับการสนับนุนจากสสส.เป็นเงิน 183,425 บาท ได้รับมาเป็นงวดๆ 3งวด งวดที่ 1 เป็นเงิน73,370.00 งวดที่2 เป็นเงิน91720.00 งวดที่3 เป็นเงิน18335.00 กิจกรรมทั้งหมดที่ต้องทำ 41 กิจกรรม ทำกิจกรรมไปแล้ว 35 กิจกรรม เป็นเงิน 152,569กิจกรรมที่ค้างอยู่ 6 กิจกรรม เป็นเงิน 30,856 คณะทำงานและสภาผู้นำชุมชนร่วมกำหนดการทำกิจกรรมไว้แล้วในแผนปฎฺิทินเพื่อจะทำกิจกรรมในเสร็จพร้อมที่จะปิดโครงการใน วันที่ 15-16 ตุลาคม 2559 จึงแจ้งให้ คณะทำงานและสภาผู้นำชุมชนรับทราบ

วาระที่ 3 แจ้งเรื่องงานสร้างสุขภาคใต้ กำหนดการณ์ ใน วันที่ 3-5 ตุลาคม ณ ห้องประชุมนานาชาติ มอ. หาดใหญ่โครงการศูนย์การเรียนรู้นาอินทรีย์ที่บ้านโคกแย้ม มี คณะทำงานเข้าร่วม จำนวน 3 คน ผู้รับผิดชอบโครงการ การเงิน ผู้รายงานกิจกรรมผ่านเว็บไซส์ เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับพื้นที่โครงการท้องถิ่นชุมชนน่าอยู่ระดับภาคใต้

วาระที่ 4 แจ้งเรื่องปิดโครงการทาง สจรส ได้แจ้งการปิดโครงการมาแล้ว เป็นวันที่15-16 ตุลาคม 2559 ณ มอ. หาดใหญ่ ให้จัดเตรียมเอกการเงิน และการรายงายกิจกรรมผ่านเว็ตไซส์ ให้เรียบร้อย พร้อมส่งตรจวความถูกต้องโดยพี่เสี้ยงก่อน โครงการที่ยังค้างทำกิจกรรมให้สานต่อให้เสร็จสิ้น ก่อนวัน ปิดโครงการ

วาระที่ 5 จัดเตรียมทำกิจกรรม เวทีรับฟังความคิดเห็นแนวทางการบริหารจัดการศูนย์เรียนรู้ และ กิจกรรมสรุปประเมินผลและจัดทำชุดความรู้ จัดเตรียมการทำกิจกรรมที่ยังค้างอยู่ 2 กิจกรรมกิจกรรมสรุปประเมินผลและจัดทำชุดความรู้ กำหนดวันที่ 15 ตุลาคม 2559กิจกรรมเวทีรับฟังความคิดเห็นแนวทางการบริหารจัดการศูนย์เรียนรู้กำหนดวันทำกิจกรรมในวันที่ 8 ตุลาคม 2559มีการมอบหน้าที่การทำงานคณะทำงานและแกนนำ การจัดเตรียมชุดเอกสาร การจัดสถานที่ การประสานงาน การประชาสัมพันธ์ทั้งหมดเป็นมติของที่ประชุม ครั้งที่ 12

  • การประชุมครั้งที่12 คณะทำงานและสภาผู้นำชุมชนสมาชิกได้ทราบข่าวสารของทางราชการได้พบปะพูดคุยพูดแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกำหนดแผนการดำเนินงานกิจกรรมร่วมกัน เห็นถึงการมีส่วนร่วม

กิจกรรมหลัก : สำรวจข้อมูลเพื่อทำแผนที่ภูิมนิเวศท้องนาi

4,000.00 25 ผลผลิต

ที่ประชุมร่วมกำหนดอาณาเขตพื้นทีเพื่อทำนาอินทรีย์ ให้คณะทำงาน เด็กและเยาวชน 25 คน ร่วมกันสำรวจ


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

มีที่นาที่ร่วมทำนาอินทรีย์ในกลุ่มเดียวกัน และทำแผนที่แปลงนาที่ร่วมทำนาอินทรีย์ ติดป้ายบอกเขตนาอินทรีย์ให้ประจักษ์แจ้ง ประกาศให้ชุมชนทราบ

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

  • คณะทำงานและสภาแกนนำชุมชน
4,000.00 4,000.00 25 24 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงานและสภาผู้นำได้รับความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการสำรวจข้อมูลสิ่งแวดล้อมภูมิเวศของพื้นที่นา ระหว่างการทำนาแบบใช้สารเคมี การทำอินทีรีย์ชีวภาพ สภาพสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
    ในการทำนาของทั้งสองแบบ มีผลต่อ สัตว์ พืช และที่สำคัญสภาพดินในแปลงนา มีความเป็นกรดมากในขึ้น เพราะการใช้สารเคมี ทุกครั้งในการทำนา เริ่มต้นตั้งแต่กระบวนการเตรียมการปลูก จนถึงกระบวนการเก็บเกี่ยว ทุกขั้นตอนจะมีการใช้สารเคมีตลอด นั้นคือสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้สิ่งแวดล้อมพื้นที่นาเปลี่ยนแปลงไป
  • พื้นที่นาในทุ่งตาลกและพื่้นที่ใกล้เคียง มีการทำนาแบบเคมี และอินทรีย์ชีวภาพขัอมูลในการสำรวจจึง เน้นไปในทางการเปรียบเทียบ ระหว่างการทำนาทั้งสองแบบ ไม่ว่าจะเป็นสภาพดินน้ำพืชสัตว์และผล กระทบต่อสุภาพ และข้อมูลพื้นที่ในการทำนา
  • สรุปในการพุดคุยกัน แบบสำรวจที่ได้มาจะมีการสร้างความเข้าใจให้กับกลุ่มเด็กเยาวชน รักษ์สิ่งแวดล้อม โคกแย้ม จะเป็นกลุ่มที่สำรวจข้อมูลดังกล่าวโดยจะมีคณะทำงานและแกนนำชุมชนเป็นพี่เสี้ยง พาสำรวจพื้นที่นา ของสามาชิกกลุ่มนาและพื้นที่ใกล้เคียง และให้เด็กเยาวชนวาดเป็นแผนที่ในการสำรวจมาด้วย เพื่อจะได้รู้ถึง พื้นที่การทำนาทั้งสองแบบ นำข้อมูทั้งหมดที่ได้นำมาวิเคราะห์ร่วมกัน และทำแผนที่เดินดิน ของทุกตาลก และพื้นที่ใกล้เคียง แล้วจัดการคืนข้อมูลให้คนในชุมชนรับทราบโดยทั่วถึงกัน

กิจกรรมหลัก : เวทีคืนข้อมูลระบบภูมินิเวศนาให้ชุมชนi

9,100.00 60 ผลผลิต
  • เปิดรับสมัครสมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์เพิ่ม

  • มีสมาชิกเข้าร่วมงาน 60 คน

  • จัดงานคืนข้อมูลร่วมกับงานปีใหม่ทั้งภาคกลางวันต่อถึงกลางคืน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

สมาชิกในโครงการ และประชาชนในหมู่บ้านได้รับรู้ข้อมูลผ่านเวทีการคืนข้อมูล เห็นข้อมูลความแตกต่างระหว่างพื้นที่ที่เคยทำนาอินทรีย์กับพื่นที่ทำนาเคมีซึ่งการทำนาอินทรีย์ไม่ใช้สารเคมีไม่มีสารพิษตกค้างแต่ใช้ต้องใช้แรงงานและเวลาในการดูแลมากกว่าและต้องใช้ความอดทนสูง

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

ครัวเรือนนาอินทรีย์ 60 คน คณะทำงานและแกนนำ 20 คน

9,100.00 9,100.00 60 80 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลจากการนำเสนอโดยเยาวชน พบว่า

  • การทำนาแบบใช้สารเคมีในการทำนา สภาพดินจะกระด้างไม่ร่วน สิงแวดล้อมในพื้นที่ จะไม่พบ พืช และสัตว์ อาศัยอยู่เพราะมีการใช้สารเคมี ทุกขั้นตอน ตั้งแต่ก่อนเตรียมปลูกการใช้สารกำจัดหญ้า ยาคุมหญ้าในช่วงก่อนหว่านข้าว ยากำจัดศัตรูพืชตอนข้าวแต่กอ ดูแลรักษาด้วยการฉีดยาจนกระทั่งเก็บเกี่ยว
  • การทำแบบอินทรีย์ชีวภาพ สภาพดินจะร่วน สิงแวดล้อมในพื้นที่ จะเจอ ไล้เดือน แมลงปอ กบ เขียด หอยขม หอยเชอรี พืชจำพวกผักลิ้นการเตรียมการปลูกเริ่มต้นโดยการมักตอซังข้าว ไถกลบเป็นปุ๋ย ก่อนหว่านข้าวหว่านด้วยรำผสมกากมะพร้วมเป็นกำจัดหอยเชอรีกำจัดศัตรูพืชโดยพ่นสารสะกัดจากพืช กำจัดวัชพืชด้วยการถอนและควบคุมระดับน้ำ จนกระทั่งเก็บเกี่ยว
  • การแสดงการคินเห็นของผู้เข้าร่วม การทำนาทั้ง 2 แบบ ผลการสำรวจได้ข้อมูลจากเจ้าของพื้นที่นาถึงกระบวนการผลิตข้าวของแต่แบบ การทำนาแบบการใช้สารเคมีนั้น สะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลา การใช้สารเคมีส่งผลจึงสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่มีสัตว์ ไม่มีพืช และปัญหาสารตกค้างในผลผลิตสู่ตัวเองและ ผู้บริโภค ขณะที่การทำนาแบบอินทรีย์ชีวภาพจะทำแบบใจเย็นต้องขยันก่อนดูแลตลอด แต่ทำให้สิงแวดล้อนในพื้นที่นา ดินดี มีสัตว์ มีพืช และผลผลิตที่ดีไม่มีสารตกที่ส่งผลถึง ผู้ผลิต ผู้บริโภค
  • เปิดรับสมัครชาวนาที่สนใจการทำนาแบบอินทรีย์ชีวภาพมีครัวเรือนที่ให้ความสนใจเข้าร่วมทำกิจกรรม เต็มจำนวน 60 คน

กิจกรรมหลัก : พัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้กระบวนการผลิตข้าวอินทรีย์ชีวภาพครบวงจรi

11,625.00 25 ผลผลิต

คณะทำงานและสภาผู้นำชุมชนให้สมาชิกกลุ่มทำนาให้ข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลนั้น เพื่อจัดทำเป็นหลักสูตรกระบวนการผลิตข้าวอินทรีย์ชีวภาพครบวงจร


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

สามชิกกลุ่มทำนาได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเอง และได้สังเคราะห์องค์ความรู้ในการทำนาเรื่องการปลูกการดูแลและการเก็บเกี่ยว บันทึกเป็นหลักสูตรให้ชุมชนเยาวขนได้เรียนรู้ เพื่อใช้ในศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน และสามารถนำความรู้นำไปปฏิบัติได้จริง

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 3 ครั้ง

คณะทำงานและสภาผู้นำชุมชน

3,875.00 3,875.00 25 25 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้จัดการโครงการได้ชี้แจงประเด็นในการทำหลักสูตรผลิตข้าวอินทรีย์ชีวภาพครบวงจร ตั้งหมดมี 3 หลักสูตร 1 หลักสูตรผลิตข้าวอินทรีย์ก่อนปลูก 2 หลักสูตรการปลูกและดูแลรักษา 3 หลักสูตรการเก็บเกี่ยว การทำหลักสูตรทั้ง 3 กระบวนเพื่อเป็นศึกษาพัฒนาเรียนรู้จัดทำหลักสูตรมาใช้ในการทำนาอินทรีย์ชีวภาพในทุ่งตาลกให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น และครั้งนี้เป็นการทำหลักสูตรก่อนปลูก

  • ผู้จัดการโครงการเป็นผู้นำตั้งวงพูดคุยกับสามาชิก ถึงการกระบวการก่อนปลูกส่วนมากก่อนที่ปลูกข้าวทั้งนาปี และนาปรังหลังจากการเก็บเกี่ยวสิ่งแรกคืนการปล่อยน้ำเข้านาใช้นำ้หมักชีวภาพเพื่อแช่งตอซังข้าวให้เน่าเปลื่อยให้ง่ายต่อการไถนา การแช่งน้ำ ประมาณ 1 เดือน หลังจากนั้นเป็นการปล่อยน้ำที่ขังออก ให้ดินแห้ง แล้วไถดะ การไถดะจะช่วยพลิกดินเพื่อให้ดินชั้นล่างได้ขึ้นมาสัมผัสอากาศรับออกซิเจน และเป็นการตากดินเพื่อทำ ลายวัชพืช โรคพืชบางชนิดการไถดะจะตากดินเอาไว้ประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ หลังจากที่ตากดินเอาไว้พอสมควรแล้วกระบวนการต่อไป คือ การไถแปร จะช่วยพลิกดินที่กลบไว้เอาขึ้นมาอีกครั้ง เพื่อทำ ลายวัชพืชที่ขึ้นใหม่ และเป็นการย่อยดินให้มีขนาดเล็กลง และไถคราดหรือทำเทือก เพื่อเอาเศษวัชพืชออกจากกระนา และย่อยดินให้มีขนาดเล็กลงอีก เป็นการปรับระดับพื้นที่ให้มีความสมํ่าเสมอ เพื่อสะดวกในการควบคุม ดูแลการให้นํ้า เป็นการเตรียมดินก่อนปลูกขั้นตอนต่อไป การเตรียมเมล็ดข้าวปลูก คัดเลือกเมล็ดพันธ์ข้าวที่สมบรูณ์ที่ผ่านตากแดดอย่างดีมาแล้ว นำแช่งน้ำ และหุ้มเมล็ดพันธุ์ ด้วย กระสอบป่านหรือ ถุงผ้า ไปแช่ในน้ำสะอาด นานประมาณ 12-24 ชั่วโมง จากนั้นนำเมล็ดพันธุ์ขึ้นมาวางบนพื้นที่น้ำไม่ขัง และมีการถ่ายเทอากาศดี นำกระสอบป่านชุบน้ำจนชุ่มมาหุ้มเมล็ดพันธุ์โดยรอบ รดน้ำทุกเช้าและเย็น เพื่อรักษาความชุ่มชื้น หุ้มเมล็ดพันธุ์ไว้นานประมาณ 30-48 ชั่วโมง เมล็ดข้าวจะงอกขนาด ตุ่มตาพร้อมที่จะนำไปหว่านได้

  • สรุปกระบวนการก่อนปลูก มี 2 อย่าง 1. การเตรียมดินก่อนปลูก 2. การเตรียมเมล็ดพันธ์ในการปลูก ข้อมูลที่ได้จากการพูดคุยเป็นข้อมูลที่สามาชิกได้ลงมือปฏิบัติทำจริงแล้ว เป็นข้อมูลที่สามาชิกกลุ่มทำนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกระบวนการก่อนปลูก สามารถเรียบเรียงข้อมูลจัดทำเป็นหลักสูตรผลิตข้าวอินทรีย์ชีวภาพครบวงจรเป็นหลักสูตรให้แก่ผู้ที่สนใจศึกษาเรียนรู้ในกระบวนการทำนาต่อไป

คณะทำงานและสภาผู้นำชุมชน

3,875.00 3,875.00 25 25 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้จัดการโครงการ ได้กล่าวถึงการทำหลักสูตรการผลิตข้าวอินทรีย์ชีวภาพครบวงจร หลักสูตรที่ 1 คือ หลักสูตรผลิตข้าวอินทรีย์ชีวภาพกระบวนการก่อนปลูกได้พุดคุยและสรุปข้อมูลเนื้อสาระเตรียมที่รวบรวมข้อมูลทั้งหมดจัดทำเป็นสูตรในครบทุกกระบวนการของการทำนาอินทรีย์ชีวภาพ และในครั้งนี้จะมาพูดคุยถึงขั้นตอนการดูแลรักษาข้าวอินทรีย์ชีวภาพเพื่อเก็บข้อมูลเพื่อจัดเตรียมจัดทำเป็นหลักสูตรดูแลรักษา
  • ผู้จัดการโครงการเป็นผู้นำในตั้งวงชวนคุย กับ คณะทำงานและสภาผู้ชุมชน ถึง ขั้นตอนในการดูแลรักษาข้าวอินทรีย์ชิวภาพของทุ่งนาตกลก การดูแลรักษาเริ่มต้น ขั้นตอนแรกถือว่าสำคัญมาก คือการคัดเลือกเมล็ดพันธ์ข้าวที่มีความสมบูรณ์สมารถต้านทานโรค และมีเปอร์เซ็นต์ ความงอกสูง ไม่ต่ำกว่า 80 เปอร์เซนต์ การคัดเลือกเมล็ดข้าวสมบูรณ์บริสุทธิ เป็นการต้านทานโรคและแมลงได้ส่วนหนึ่งด้วยขั้นตอนที่สอง คือ การจัดระบบให้น้ำ ต้องมีน้ำในแปลงนาอย่างสม่ำเสมอ เป็นการเสี้ยงต้นข้าวให้เจริญเติบ ก่อนดูระดับนำ้ให้ได้ระดับ ตามความสูงของต้นข้าวจนน้ำท่วมผิวดินตลอด ให้หล่อเสี้ยงไว้ในระดับลึกประมาณ 5-10 เซนติเมตร ลดระดับเมื่อถึงเวลาเก็บเกี่ยว ขั้นตอนการจัดระบบการให้น้ำเป็นการช่วยกำจัดวัชพืชลดการเจริญของวัชพืชได้อีกทางหนึ่งขั้นตอนที่ 3 คือการให้ปุ๋ย เริ่มตั้งแต่การเตรียมดินในขั้นตอนการหมักซอซังหลังจากเก็บเกี่ยว ตอซัง 1 ไร่ เท่าปุ๋ย 1 กระสอบ การให้ปุ๋ยช่วงที่สองหลังจากหว่านข้าวหรือปักดำแล้ว ประมาณ 7 วัน หรือในช่วงที่น้ำเข้าท่วมแปลงแล้ว ขั้นตอนที่ 4 คือการกำจัดโรค แมลง และสัตว์ศูตรูข้าว การเลือกใช้พันธ์ข้าวที่เหมาะสม ใช้เมล็ดพันธ์ข้าวที่สะอาดปราศจากโรคและสิ่งเจือปน เลือกใช้เมล็ดพันธ์ที่ต้านโรค หรือแมลงท่ี่มีประวัติเคยระบาดในพื้นที่มาก่อน ไม่ปลูกข้าวพันธ์เดี่ยวกันในพื้นที่นาผืนใหญ่และปลูกติดต่อกันตลอดทั้งปี เป็นเวลานาน ก่อนดูแลตรวจสอบแปลงนาอย่างสม่ำเสมอ กำจัดวัชพืชในแปลงนาโดยการถอน
  • สรุปกระบวนการดูแลรักษามี 4 ขั้นตอน
  1. การคัดเลือกเมล็ดพันธ์ข้าวที่มีความสมบูรณ์สามารถต้านทานโรค
  2. การจัดระบบให้น้ำแปลงนาข้าว
  3. การให้ปุ๋ย
  4. การกำจัดโรค แมลง และสัตว์ศูตรูข้าว
  • ทั้ง 4 ขั้นตอนมีความสำคัญในกระบวนการดูแลรักษาข้าว ให้ได้ข้าวที่สมบรูณ์มากที่สุด เนื้อสาระในการพูดคุยในครั้งเพื่อจะจัดเก็บข้อมูลที่เป็นประโยนช์จัดทำเป็นหลักสูตรผลิตข้าวอินทรีย์ชีวภาพกระบวนการดูแลรักษาให้กับชุมชนและผู้ที่สนใจในการผลิตข้าวอินทรีย์ชีวภาพครบวงจรของทุ่งตาลก

คณะทำงานและสภาผู้นำชุมชน

3,875.00 3,875.00 25 25 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ในเวลา 9.00 น. คณะทำงานและสภาผู้นำชุมชนได้มีการรวมตัวกันที่ศาลาหมู่บ้าน หมู่ที่ 2 เข้าร่วมกิจกรรมการทำหลักสูตรข้าวอินทรีย์ชีวภาพครบวงจรกระบวนการเก็บเกี่ยวข้าว มีผู้ทำกิจกรรมจำนวน25 คน มีการพูดคุยกันระหว่างรอเวลาทำกิจกรรมในเรื่องของการจะทำเป็นหลักสูตรการผลิตข้าวอินทรีทย์ชีวภาพแบบครบวงจร ที่สามารถนำมาใช้ในพื้นที่ทำนาในทุ่งตาลก และรวบร่วมข้อมูลที่ได้เผยแพร่สำหรับบุคคลที่สนใจในกระการทำทำแบบอินทรีย์ชีวภาพ

  • เวลา 10.00 - 11.00 น. ผู้จัดการโครงการ ได้กล่าวถึงการทำกิจกรรมหลักสูตรการผลิตข้าวอินทรีย์ชีวภาพครบวงจร ทั้ง 2 ครั้งครั้งแรก หลักสูตรที่ 1 คือ หลักสูตรผลิตข้าวอินทรีย์ชีวภาพกระบวนการก่อนปลูก ครั้งที่ 2 หลักสูตรผลิตข้าวอินทรีย?ชีวภาพครบวงจรกระบวนการดูแลรักษา ได้สรุปข้อมูลเนื้อสาระเตรียมที่รวบรวมข้อมูลทั้ง 2 กิจกรรม จัดทำเป็นหลักสูตรในครบทุกกระบวนการของการทำนาอินทรีย์ชีวภาพ และในครั้งนี้จะมาพูดคุยถึงขั้นตอนการเก็บเกี่ยวข้าวอินทรีย์ชีวภาพเพื่อเก็บข้อมูลเพื่อจัดเตรียมจัดทำหลักสูตรกระบวนการเก็บเกี่ยวข้าวอินทรีย์ชีวภาพครบวงจร


  • เวลา 11.00 - 12.00 น.ผู้จัดการโครงการเป็นผู้นำในการพูดคุยกับคณะทำงานและสภาผู้นำชุมชนในการทำนาอินทรีย์ชีวภาพในกระบวนการเก็บเกี่ยวของทุ่งนาตาลกหลังจากผ่านกระบวนการปลูกข้าวแล้ว ประมาณ 4 เดือน ก็จะกึงกระบวนเก็บเกี่ยวได้สิ่งที่สำคัญที่สุดในกระบวนการเกี่ยว คือ ระยะเวลาอายุของการเก็บเกี่ยว ลักษณะของการสุขแก่เต็มร่วง ความสุขสม่ำเสมอของข้าวในแปลงนา ระยะเวลาของข้าวที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยว คือ ข้าวระยะพลับพรึงคือข้าวระยะวันที่ข้าวออกดอกแล้วประมาณ 30- 35 วัน เป็นระยะที่เมล็ดสุกแก่พอเหมาะทำให้ได้น้ำหนักเมล็ดสูง ข้าวเต็มเมล็ดและมีคุณภาพการสีดีราคาก็สูงไปด้วย การเก็บเกี่ยวต้องคำนึงถึงพื้นที่นาต้องแห้งไม่มีความชื่น ก่อนเก็บเกี่ยวต้องระบายน้ำในแปลงนาออกเสียก่อนประมาณ 1-2 สัปดาห์ เวลาเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม แดดออก ท้องเปิด ไม่มีฝน การเก็บเกี่ยวก็ต้องอาศัยเครื่องมือกลไกด้วยเครื่องมือในการเก็บเกี่ยวที่มีอยู่ แกระ เคียว เครื่องเกี่ยวข้าว แกระและเคียวใช้ในการเก็บเกี่ยวได้ดีและได้ผลผลิตปริมาณมากเหมาะสมในการเก็บเกี่ยวข้าวที่ใช้เป็นเมล็ดพันธ์ แยกเป็นกำหรือเลียง ได้เมล็ดพันธ์ที่สมบรูณ์ ไม่ปนเปลื้อนกับข้าวสายพันธ์อื่น เมื่อเก็บเกี่ยวเสร็จแล้วก็ตากข้าว ลดความชื่นเพื่อรักษาคุณภาพเมล็ดข้าวให้ได้มาตราฐานเป็นเวลานานๆ หลังจากนวดและทำความ สะอาดเมล็ดข้าวแล้ว จำเป็นต้องนำข้าวเปลือกไปตากอีกครั้งหนึ่งก่อนที่จะนำไปเก็บในยุ้งฉาง เพื่อให้ข้าวเปลือกแห้งและมีความชื้นประมาณ 13-15% เมล็ดข้าวในยุ้งที่มีความชื้นสูงกว่านี้จะทำให้เกิดความร้อนสูงจนคุณภาพข้าวเสื่อม และอาจทำให้เชื้อราติดมากับเมล็ดและขยายพันธุ์ทำลายเมล็ดข้าวเปลือกได้เป็นจำนวนมาก การตากข้าวควรตากบนลานที่สามารถแผ่กระจายเมล็ดข้าวให้ได้รับแสงโดยทั่วถึงกัน ควรตากแดดนานประมาณ 3-4 แดด เพื่อลดความชื้นในเมล็ดข้าว ถือว่าเสร็จสิ้นกระบวนการเก็บเกี่ยวข้าว


  • สรุปเนื้อหาสาระที่สำคัญของกระบวนการเก็บเกี่ยว
  1. อายุระยะเวลา

    1.1 อายุของข้าว

    1.2 ระยะเวลาที่เหมาะสมในเก็บเกี่ยว

  2. เครื่องมือกลไกที่ใช้เก็บเกี่ยว

  3. การดูแลเมล็ดข้าว ทำความสะอาดและตาดแดดลดความชื่น
  • ทั้ง 3 ข้อเป็นกระบวนการเก็บเกี่ยวข้าว อินทรีย์อินทรีย์ชีวภาพ ของทุ่งนาตาลกที่ได้พูดคุยในครั้งนี้เพื่อจะจัดเก็บข้อมูลที่เป็นประโยนช์จัดทำเป็นหลักสูตรผลิตข้าวอินทรีย์ชีวภาพกระบวนเก็บเกี่ยวให้กับชุมชนและผู้ที่สนใจในการผลิตข้าวอินทรีย์ชีวภาพครบวงจรของทุ่งตาลก

กิจกรรมหลัก : กิจกรรมชวนน้องลงนา พัฒนาพื้นที่นาแปลงรวมเพื่อการผลิตข้าวชุมชนi

13,400.00 35 ผลผลิต

เด็ก เยาวชน 35 คนได้ร่วมเรียนรุ้การทำนา ตั้งแต่ต้นทาง คัดเลือกเมล็ดพันธ์ุ การปลูก การดูแล การคัดต้นข้าวผิดพันธ์ุออก


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ชาวนาได้ถ่ายทอดความรู้การทำนาด้วยการทำให้ดู ทำด้วยกัน เด็กๆ เรียนรู้อย่างสนุก มีความสุขในทุกกิจกรรม

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 2 ครั้ง

กลุ่มเด็กเยาวชน 35 คน

7,200.00 7,200.00 35 35 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เด็กเยาวชนได้รับความรู้ความเข้าใจในกระบวนการทำนาอินทรีย์ชีวภาพเริ่มจากขั้นตอนการปลูกตั้งแต่การคัดเลือกเมล็ดพันธ์ที่ใช้ในการทำนา แบบนาหว่านน้ำตม และระยะเวลา ในการหว่านข้าวเตรียมเป็นกล้าเพื่อใช้ในการทำนาปักดำ การคัดแยกกอข้าวเพื่อนำมาปักดำการให้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพระหว่างต้นกล้าเติบโตการกำจัดศูตรูข้าว เช่น หอยเชอรี ที่ กินต้นกล้าอ่อน โดยการออกสำรวจตรวจตราระหว่างข้าวเจริญเติบโตการระบายน้ำเข้าออกในนาข้าวเป็นช่วงๆ เพื่อตัดวงจรการแพร่พันธ์ของหอยเชอรี การนำหอยเชอรีมาทำเป็นปุ๋ยหมัก ก็เป็นวิธีในการกำจัดหอยเชอรีอีกทางหนึ่งและสามารถนำปุ๋ยหมักหอยเชอรีมาเป็นปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพใช้ในนาข้าวได้ด้วย
  • การลงปฎิบัติทำจริงในแปลงนารวมแบบนาหว่านน้ำตม และนาปักดำ เด็กเยาวชนเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว สามารถหว่านข้าว และปักดำนาอย่างสนุนสนาม มีการซักถามตลอดเวลา เช่น การแยกกอข้าวในการปักดำต้องใช้กี่ต้น การจับปักไม่ให้ต้นกล้าข้าวลอยขึ้นมา ต้นกล้าแต่ละต้นทำไม่รากไม่เหมือนกันต้นไหนใช้ได้หรือไม่ได้ เป็นคำถามและข้อสงสัยของเด็กๆเยาวชน คำถาม ทุกๆ คำถามจะมีคำตอบจาก วิทยากและคณะทำงานที่ร่วมกันลงดำนาด้วย
  • เด็กๆเยาวชนมีความสนใจ และให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และยังจัดสรรแบ่งงานกันทำคนละไม้คนละมือ จนเสร็จกิจกรรม ร่วมพูดคุยในวงสนทนากับคณะทำงาน แบ่งหน้าที่จัดกลุ่่ม ค่อยดูแลสำรวจแปลงนาเป็นระยะๆดูแลวัชพืช และเก็บหอยเชอรีนำมาทำปุ๋ยหมัก จนถึงเวลาเก็บเกี่ยวข้าว จะมารวมตัวกันทำกิจกรรมชวนนาลงเก็บเกี่ยวข้าวอินทรีย์ชีวภาพครั้งต่อไป

กลุ่มเด็กเยาวชนบ้านโคกแย้ม

6,200.00 6,200.00 35 38 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • กิจกรรมชวนน้องลงนา กระบวนการเก็บเกี่ยวข้าวและการคัดเลือกเมล็ดข้าวเป็นเมล็ดพันธ์ มีเด็กเยาวชนเข้าร่วม จำนวน 35 คน เริ่มกิจกรรมเวลา 8.00 น. โดย กำนัน อนุชาเฉลาชัย เป็นผู้กล่าวต้อนรับผู้ที่เข้าร่วมทำกิจกรรม ทุกหน่วยงานและภาคี กลุ่มทำนาอินทรีย์ กลุ่มจักรยานสานฝันวันอาทิตย์ เจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลนาท่อม และเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง ที่ได้มารวมตัวกันที่ทุ่งนาตาตก หมู่ที่ 2 ตำนาท่อม เพื่อมาลงแขกเก็บเกี่ยวข้าว อินทรีย์ชีวภาพ ซึ่งมีการเก็บเกี่ยวโดยการใช้แกะ เก็บเป็นเรียงข้าว เพื่อเป็นการคัดเลือกเมล็ดข้าวเป็นเมล็ดพันธ์ ใช้ในการทำนาฤดูกาลต่อไป การใช้แกะ เก็บข้าวเป็นเรียงสมารถคัดแยกข้าวได้เมล็ดพันธ์ที่ไม่มีการปนกับ ข้าวอื่น ได้เมล็ดพันธ์ที่แท้จริงปัจจุบันการเก็บเกี่ยวข้าวที่ใช้แกะ เก็บมัดเป็นเรียงไม่ค่อยมีให้เห็นนัก ส่วนมากจะอาศัยการเกี่ยวข้าวโดยรถเกี่ยว การเก็บข้าวเมื่อสมัยก่อนจะมีการเก็บข้าวแบบช่วยเหลือเกื้อกูลกันในแบบ การลงแขกเก็บข้าวหรือว่า นาวาน เก็บจากเจ้านี้เสร็จไปเจ้านั้น พอเที่ยงเจ้านาก็เสี้ยงข้าว พร้อมด้วยขนมหวาน นั่งกินกันที่เพิงที่ทำไว้หลบแดด ช่วงบ่ายลงนา ก็พูดคุยสวนเสเอฮาตามประสา แก้ง่วงนอน ถัดจากนั้น บ่ายสอง บ่ายสาม นั่งที่คันนากินผลไม้กัน พอให้หายเหนื่อยลงเก็บกันต่อจนกว่าจะเสร็จฤดูกาล นั้นเป็นการช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยกัน และการมีมิตรไมตรีที่ดีต่อกัน ซึ่งปัจจุบันหาสิ่งที่กล่าวมาเหล่านี้หาได้ยากเสียแล้ว การเก็บข้าว ครั้งนี้ถือว่าเป็นการรำรึกวิถีชาวนาการเก็บเมล็ดข้าวเป็นเมล็ดพันธ์ร่วมกัน

  • ผู้ใหญ่บ้าน นายถาวร คงนิล กล่าวรายงาน การทำกิจกรรรม ชวนน้องลงนากระบวนการคัดเลือกเมล็ดข้าวเป็นเมล็ดพันธ์ เป็นกิจกรรมของโครงการศูนย์เรียนรู้นาอินทรีย์ที่บ้านโคกแย้ม เพื่อให้กลุ่มเด็กเยาวชนได้เรียนรู้ กระบวนการผลิตข้าวอินทรีย์ชีวภาพแบบครบวงจร เริ่มตั้งการปลูก การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยวและคัดเมล็ดข้าวเป็นเมล็ดพันธ์ ทุกกระบวนการเน้นให้กลุ่มเด็กเยาวชนได้ลงมือปฏิบัติทำจริงทุกขั้นตอน เช่นเดี่ยวกับครั้งนี้ มีการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวโดยใช้อุปกรณ์เก็บ คือ แกะ เก็บเป็นร่วงแล้วร่วมกันมัดเป็นเรียง กลุ่มเด็กเยาวชนส่วนมากไม่เคยเก็บข้าวด้วย แกะ มัดเรียงข้าวไม่เป็น ซึ่งครั้งนี้จะได้เรียนรู้กับวิทยากรผู้ชำนาญการ ก็คือกลุ่มสามาชิกทำนาอินทรีย์บ้านโคกแย้ม จะเป็นผู้ให้ความรู้วิธีการเก็บข้าวกับ แก้ การคัดเลือกเมล็ดข้าว การมัดเรียงข้าว การจัดเก็บผลผลิตการเก็บข้าวในครั้งนี้ไม่เพียงกลุ่มเด็กเยาวชนจะได้เรียนรู้กระบวนการแล้วก็ยังจะได้มีส่วนร่วมกับชุมชนได้ผลิตข้าวอินทรีย์ที่ปลอดภัยต่อผู้ผลิตและผู้บริโภคด้วย

  • นายสภาพร ตัมพวิสิทธ์ ผอ. ศูนย์วิจัยข้าว ประธานแรกเก็บข้าว ได้กล่าวเปิดงานนับว่าเป็นสิ่งน่ายินดีเป็นอย่างยิ่ง สำหรับคนทำนา คนกินข้าว เพราะในวันนี้คนที่นี่คนที่บ้านโคกแย้มคนที่นาท่อมได้ตระหนักรู้ถึงอันตรายต่อสุขภาพจากการใช้สารเคมีในการทำนาจนนำไปสู่การทำนาอินทรีย์นำไปสู่ความมั่นคงทางอาหารอันหมายถึง อาหารต้องมีความปลอดภัย เพียงพอและเข้าถึงได้ในปัจจุบันนี้ปัจจัยสำคัญต่อความมั่นคงทางอาหารคือการมีเมล็ดพันธุ์การทำนาเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์เองอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการจึงนับเป็นก้าวสำคัญของความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืนซึ่งถ้ากลับมาดูราคาของเมล็ดพันธุ์ จะมีราคาสูงมากเป็น 2-3 เท่าของราคาผลผลิตแต่ถ้าเราสามารถผลิตได้เอง หรือไม่ต้องซื้อก็จะประหยัดต้นทุน และถ้ามีเหลือให้ขายได้ก็จะมีรายได้มากกว่าขายข้าวปกติ 2-3 เท่าด้วยวันนี้เราไม่สามารถเพิ่มพื้นที่นาได้อีก เราจึงต้องหาวิธีการจะทำอย่างไรในพื้นที่นาเท่าเดิมแต่ให้มีรายได้เพิ่มขึ้นคงต้องฝากให้คิดอีก ว่าคนทำนาจะสร้างรายได้เพิ่มอย่างไรตอนนี้ก็ได้เวลาอันสมควร จึงขอเชิญท่านผู้มีเกียรติ และพี่น้องเราทุกคนร่วมกันเก็บข้าวพันธุ์พร้อมกันและร่วมส่งมอบข้าวขวัญเลียงแรกให้กับ การโครงการศูนย์เรียนรู้นาอินทรีย์บ้านโคกแย้ม

  • การลงนาเก็บเกี่ยวข้าวอินทรีย์ชีวภาพในครั้งนี้ กลุ่มเด็กเยาวชนได้เรียนรู้ทุกขั้นตอนในการเก็บ วิธีการจับแกะ วิธีเกี่ยวข้าว วิธีมัดเรียง และวิธีการคัดแยกข้าวที่ไม่ใช้พันธ์เดียวกัน ให้สังเกตุจาก ลำต้นข้าว สีของเมล็ด ลักษณะของเมล็ดพันธ์ที่เหมาะจะนำมาเป็นเมล็ดกับพันธ์ เลือกเก็บรวงข้าวพนัธุ์ที่ต้องการ จากกอที่ไม่เป็นโรค หรือไม่มีแมลงรบกวน เลือกรวงที่สมบูรณ์ติดเมล็ดดีรวงยาวเมื่อได้เมล็ดข้าวเป็นเมล็ดพันธ์ที่สมบรูณ์แล้ว ต้องนำเมล็ดพันธ์ข้าวตากแดด 1-2 แดด เพือกำจัดความชื่น นำไปใส่กระสอบวางไว้ที่อากาศถ่ายเท รองก้นกระสอบก่อนวางด้วยแกลบป้องกันความชื่นอีกขั้นหนึ่งนอกเหลือจากความรู้จากวิทยากรแล้วกลุ่มเด็กเยาวชน ได้ลงปฏิบัติทำจริง ได้เก็บ ได้มัดเรียง และช่วยกันเก็บเรียงข้าววางร่วมกันเป็นกองๆเพื่อจัดใส่กระสอบ เห็นถึงการกระตือรืนร้นความตั้งใจที่จะเรียนรู้การมีส่วนร่วมกับคนในชุมชนเรียนรู้การเก็บเกี่ยวเมล็ดข้าวเป็นเมล็ดพันธ์ ได้ใช้ในปีต่อไป

กิจกรรมหลัก : การสร้างกระบวนการเรียนรู้กระบวนการผลิตข้าวอินทรีย์ครบวงจรi

42,900.00 40 ผลผลิต

ชาวนา 40 คนเรียนรุ้การทำนาอินทรีย์ และทำนาผลิตพันธ์ุข้าว โดยนักวิชาการจากศูนย์วิจัยข้าวพัทลุงและร่วมทำนาอินทรีย์ ในที่นาของตน รวมกันในอาณาเขตที่ประกาศไว้แล้วนั้น


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  • สมาชิกกลุ่ม มีความรู้ในการการทำนาอินทรีย์การทำนาผลิตเมล็ดพันธ์ุ ทั้งกระบวนการเตรียมนา การปลุกการดูแล การเก็บเกี่ยว และการแปรรูปเป้็นข้าวสารที่มีคุณภาพ

  • ตลอดกระบวนการเรียนรุ้ กลุ่มทำนาอินทรีย์ ยังได้รับเชิญเข้าร่วมเป็นเครื่อข่ายนาอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดพัทลุงด้วย

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 4 ครั้ง

สามาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ชีวภาพ

14,300.00 14,300.00 60 50 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • สามาชิกกลุ่มทำนาได้รับความรู้ความเข้าใจในกระบวนการก่อนปลูกข้าว เริ่มตั้งแต่การเตรียมเมล็ดพันธ์ข้าว การคัดเลือกเมล็ดพันธ์ข้าวเริ่มตั้งแต่ กระบวนการเก็บเกี่ยว โดยการเก็บพันธ์ข้าวที่ใช้เมล็ดต้องเก็บแยกไม่ให้ปะปน กระบวนการเก็บเกี่ยวจะใช้การเก็บด้วยเคี้ยวหรือเก็บแกะ เก็บเป็นเรียง จัดแยกจากข้าวแปลงอื่น เพื่อที่จะได้เมล็ดพันธ์ข้าวที่แทนจริง
  • การดูแลรักษาเมล็ดพันธ์การเลือกเมล็ดพันธ์เพื่อรักษาคุณภาพ ต้องรักษาความสะอาด นำเมล็ดพันธ์ข้าวตากแดด ประมาณ 3-4 แดด เพื่อลดความชืนในเมล็ดข้าว ระดับความชื่อของเมล็ดข้าวต้องอยู่ที่ 12 เปอร์เซอร์ ไม่เกิน 15 เปอร์เซอร์ ควรเก็บไว้ที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก ก่อนนำกระสอบข้าวเมล็ดพันธ์เก็บ ให้นำแกลบรองพื้นก่อน 1 ชั้น เพื่อช่วยรักษาระดับความชื่นได้ดี
  • ขั้นตอนการคัดเลือกเมล็ดพันธ์ข้าวมีการดำเนินการ 4 ขั้นตอน

    1. เริ่มจากการคัดเมล็ดพันธ์ตอนปลูก

    2. ระยะข้าวแตกกอต้องดูแลสำรวจแยกกอข้าวที่ไม่ใช่ตัดออก

    3. ตอนข้าวออกร่วงให้สังเกตุขนาดต้นและความสมบรูณ์ ความสูงต่ำไม่เท่ากัน ต้นที่ไม่ใช้ตัดออก

    4. ก่อนเก็บเกี่ยว ให้ดูสีของเมล็ดข้าว ร่วงข้าวที่สีต่างกันคัดออก

  • มีอีกขั้นตอนหนึ่งที่เป็นสิ่งสำคัญ คือการที่ไม้เผาตอซัง ฟางข้าว และวัสดุอินทรีย์ในแปลงนา
    ไม่ว่าจะเป็งตอซัง ฟางข้าวสามารถไถถลบได้เลย เป็นปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพชั้นดีเลยเทียบเท่ากับได้ ปุ๋ย 1 กระสอบต่อ 1 ไร่

  • กระบวนการก่อนการปลูกข้าว เป็นกระบวนการแรกของการผลิตข้าวอินทรีย์ชีวภาพ จึงทำให้ สามาชิกกลุ่มทำนาให้ความสนใจ และซักถามข้อสังสัย พูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้วิธีการ ของตนและสามาชิก ได้ความรู้ และวิธีการทำนาเพิ่มขึ้น สนใจที่จะนำไปปฏิบัต เพื่มผลผลิต ในแปลงนาต่อไป

สมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ จำนวน 50 คน

13,300.00 13,300.00 60 50 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • สมาชิกกลุ่มทำนาได้รับความรู้ เรื่อง
  1. การจัดการระบบน้ำ ปุ๋ย
    1.1 การจัดการระบบน้ำ ตั้งแต่ระยะปักดำจนถึงต้นข้าวแตกกอ ควรจะรักษาระดับน้ำในอยู่ที่ ประมาณ 5-15 เซนติเมตร ทุ่งนาตาลกอยู่ในเขตบริการของระบบชลประทานนาท่อม มีคลองส่งน้ำสายหลักขนาดทั้ง 2 ข้าง ทั้งยังมีเหมืองไส้ไก่ ลงไปถึงกลางทุ่งนาการทดน้ำเข้านาจึงทำได้สะดวก การให้น้ำขังไว้จะทำให้หญ้า และวัชพืชอื่นๆ ไม่งอก หรืองอกช้า การขังน้ำให้อยู่ในระดับที่พอเหมาะำยังเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการให้ปุ๋ยได้ทั่วถึงและสม่ำเสมอ และยังป้องกันการทำลายต้อนข้าวจากหนู แต่ด้วยทุ่งนาตาลกไม่มีปลวก หรือโคก ทั้งคันนาก็เล็กเตี้ย จึงไม่มีแหล่งให้หนูอาศัยอยู่ ปัญหาเรื่องหนูทำลายต้นข้าวจึงไม่ค่อยมีแต่เมื่อถึงระยะก่อนเก็บเกี่ยว เพื่อให้เมล็ดข้าวแก่พร้อมกันจะต้องระบบายน้ำออก ให้พื้นนาแห้ง และยังส่งผลให้สะดวกต่อการเก็บเกี่ยว ไม่ว่าจะเก็บเกี่ยวดว้ยคน หรือเครื่องจักร

2.การควบคุมวัชพืช ให้หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชในการควบคคุมวัชพืช ในควบคุมโดยวิธีการถอน การคลุมดิน การจัดการระดับนำ้ควบคุมวัชพืช

3.การป้องกันกำจัดโรคแมลงและศัตรูพืช หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี ให้ใช้ข้าวพันธ์ที่ต้านทานโรค การเตรียมแปลงดินที่เหมาะสม และการใช้อัตราเมล็ดระยะการปลูกที่เหมาะสม การปลูกพืชหมุนเวียนที่ช่วยรักษษาความอุดมสมบรณ์ของดิน และธาตุอาหารมีการจัดการน้ำ เพื่อให้ต้นข้าวเจริญเติบโตได้ดี สมบรูณ์เข็งแรง ลดการทำลายของโรคแมลง และสัตว์ศัตรูพืช ข้าวได้ให้ใช้สารสกัดจากพันธ์พืช เช่น สะเดา ข่า ตะไคร้หมอ บอระเพ็ดและการใช้วิธีกล การใช้แสงไฟล่อ ใช้กับดัก ใช้กาวเหนียน เป็นต้น

4.การทำสารสกัดกำจััดแมลง ศัตรูพืช จากพันธ์พืช บอระเพ็ด

  • วิธีเตรียม และการใช้นำเถาบอระเพ็ดสด 10 กก. หั่นเป็นชิ้นเล็กๆแล้วบดหรือโขลกให้ละเอียด ผสมกับน้ำ 24 ลิตร ทิ้งไว้ นาน 12 ชั่วโมง จากนั้นกรองเอาแต่น้ำด้วยผ้าขาวบางๆ ก่อนนำไปใช้ ให้ผสมสารจับใบ เช่น ผงซักฝอก ย้ำยางล้างจาน หรือแชมพู
    ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ใช้ฉีดพ่นวันละ 1 ครั้ง เวลามีปัญหาศัตรูพืช หรือใช้บอระเพ็ดสดสับเป็นชิ้เล็กๆ หว่านทั่วแปลงข้าว ครั้งแรกหลังจากหว่านข้าวไป 7 วันและอีกครั้งหลังเมื่อข้าวอายุได้ 60 วัน ในอัตราบอระเพ็ด 10 กก./ ไร่

5.สรุปพูดคุยซักถามข้อสังสัยและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากวิทยากรและกลุ่มทำนาของโคกแย้ม ทุกคนให้ความสนใจ กับการบรรยายจากวิทยากรและก่อนซักถามข้อสังสัยในขั้นตอนการดูแลรักษาแปลงนาข้าว ขั้นตอนในการจัดการน้ำในนาข้าว ระยะเวลาที่เหมาะสมใส่ปุ๋ย การกำจัดวัชพืช หลีกเลียงการใช้สารเคมีใช้ระบบการดูแลเอาใจใส่มั่นค่อยถอนวัชพืชและมีความสนใจเรียนรู้การทำสารสกัดจากพันธ์พืชที่มีอยู่ในท้องถิ่น นำมาใช้ประโยชน์ได้ โดยไม่ต้องพึง การใช้สารเคมีทำให้สามารถลดต้นทุนในการผลิตข้าว และได้พื้นที่การทำนาที่ปลอดสารเคมีเป็นการทำนาอินทรีย์ปลอดภัย ทั้ง ผู้ปลูกและผู้บริโครด้วย

สามาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ จำนวนลงทะเบียน 65 คน

15,300.00 15,300.00 60 68 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • กิจกรรมการสร้างกระบวนการเรียนรู้กระบวนการผลิตข้าวอินทรีย์ครบวงจรกระบวนการเก็บเกี่ยว เริ่มกิจกรรมเวลา 8.00 น. โดย กำนัน อนุชาเฉลาชัย เป็นผู้กล่าวต้อนรับผู้ที่เข้าร่วมทำกิจกรรม ทุกหน่วยงานและภาคี กลุ่มทำนาอินทรีย์ กลุ่มจักรยานสานฝันวันอาทิตย์ เจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลนาท่อม และเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง ที่ได้มารวมตัวกันที่ทุ่งนาตาตก หมู่ที่ 2 ตำนาท่อม เพื่อมาลงแขกเก็บเกี่ยวข้าว อินทรีย์ชีวภาพ ซึ่งมีการเก็บเกี่ยวโดยการใช้แกะ เก็บเป็นเรียงข้าว เพื่อเป็นการคัดเลือกเมล็ดข้าวเป็นเมล็ดพันธ์ ใช้ในการทำนาฤดูกาลต่อไป การใช้แกะ เก็บข้าวเป็นเรียงสมารถคัดแยกข้าวได้เมล็ดพันธ์ที่ไม่มีการปนกับ ข้าวอื่น ได้เมล็ดพันธ์ที่แท้จริงปัจจุบันการเก็บเกี่ยวข้าวที่ใช้แกะ เก็บมัดเป็นเรียงไม่ค่อยมีให้เห็นนัก ส่วนมากจะอาศัยการเกี่ยวข้าวโดยรถเกี่ยว การเก็บข้าวเมื่อสมัยก่อนจะมีการเก็บข้าวแบบช่วยเหลือเกื้อกูลกันในแบบ การลงแขกเก็บข้าวหรือว่า นาวาน เก็บจากเจ้านี้เสร็จไปเจ้านั้น พอเที่ยงเจ้านาก็เสี้ยงข้าว พร้อมด้วยขนมหวาน นั่งกินกันที่เพิงที่ทำไว้หลบแดด ช่วงบ่ายลงนา ก็พูดคุยสวนเสเอฮาตามประสา แก้ง่วงนอน ถัดจากนั้น บ่ายสอง บ่ายสาม นั่งที่คันนากินผลไม้กัน พอให้หายเหนื่อยลงเก็บกันต่อจนกว่าจะเสร็จฤดูกาล นั้นเป็นการช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยกัน และการมีมิตรไมตรีที่ดีต่อกัน ซึ่งปัจจุบันหาสิ่งที่กล่าวมาเหล่านี้หาได้ยากเสียแล้ว การเก็บข้าว ครั้งนี้ถือว่าเป็นการรำรึกวิถีชาวนาการเก็บเมล็ดข้าวเป็นเมล็ดพันธ์ร่วมกัน

  • ผู้ใหญ่บ้าน นาย ถาวรคงนิล กล่าวรายงาน การทำกิจกรรรม การสร้างกระบวนการเรียนรู้กระบวนการผลิตข้าวอินทรีย์ชีวภาพครบวงจรกระบวนการเก็บเกี่ยว เป็นกิจกรรมของโครงการศูนย์เรียนรู้นาอินทรีย์ที่บ้านโคกแย้ม เพื่อให้กลุ่มสมาชิกกลุ่มทำนา และกลุ่มเด็กเยาวชนได้เรียนรู้กระบวนการผลิตข้าวอินทรีย์ชีวภาพแบบครบวงจร เริ่มตั้งการปลูก การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยวและคัดเมล็ดข้าวเป็นเมล็ดพันธ์ ทุกกระบวนการเน้นให้ได้ลงมือปฏิบัติทำจริงทุกขั้นตอน เช่นเดี่ยวกับครั้งนี้ มีการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวโดยใช้อุปกรณ์เก็บ คือ แกะ เก็บเป็นร่วงแล้วร่วมกันมัดเป็นเรียง จัดเก็บเป็นเมล็ดพันธ์ข้าวใช้ในฤดูกาลทำนาครั้งต่อไปการทำนาอินทรีย์ชีวภาพในทุ่งตาลกมีการรวมตัวกันทำเพื่อ ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ให้กับคนในชุมชนและผู้ที่สนใจ และเป็นแหน่งผลิตข้าวอินทรีย์ชีวภาพที่ปลอดภัย สำหรับผู้ผลิต และผู้บริโภค

  • นายสภาพร ตัมพวิสิทธิ์ ผอ. ศูนย์วิจัยข้าว ประธานแรกเก็บข้าว ได้กล่าวเปิดงานนับว่าเป็นสิ่งน่ายินดีเป็นอย่างยิ่ง สำหรับคนทำนา คนกินข้าว เพราะในวันนี้คนที่นี่คนที่บ้านโคกแย้มคนที่นาท่อมได้ตระหนักรู้ถึงอันตรายต่อสุขภาพจากการใช้สารเคมีในการทำนาจนนำไปสู่การทำนาอินทรีย์นำไปสู่ความมั่นคงทางอาหารอันหมายถึง อาหารต้องมีความปลอดภัย เพียงพอและเข้าถึงได้ในปัจจุบันนี้ปัจจัยสำคัญต่อความมั่นคงทางอาหารคือการมีเมล็ดพันธุ์การทำนาเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์เองอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการจึงนับเป็นก้าวสำคัญของความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืนซึ่งถ้ากลับมาดูราคาของเมล็ดพันธุ์ จะมีราคาสูงมากเป็น 2-3 เท่าของราคาผลผลิตแต่ถ้าเราสามารถผลิตได้เอง หรือไม่ต้องซื้อก็จะประหยัดต้นทุน และถ้ามีเหลือให้ขายได้ก็จะมีรายได้มากกว่าขายข้าวปกติ 2-3 เท่าด้วยวันนี้เราไม่สามารถเพิ่มพื้นที่นาได้อีก เราจึงต้องหาวิธีการจะทำอย่างไรในพื้นที่นาเท่าเดิมแต่ให้มีรายได้เพิ่มขึ้นคงต้องฝากให้คิดว่าคนทำนาจะสร้างรายได้เพิ่มอย่างไร ตอนนี้ ก็ได้เวลาอันสมควร จึงขอเชิญท่านผู้มีเกียรติ และพี่น้องเราทุกคนร่วมกันเก็บข้าวพันธุ์พร้อมกันและร่วมส่งมอบข้าวขวัญเลียงแรกให้กับ การโครงการศูนย์เรียนรู้นาอินทรีย์บ้านโคกแย้ม

  • กระบวนการเรียนรู้เก็บเกี่ยวข้าว นาย สภาพร ตัมพวิสิทธิ์ประธานในพิธี และ หน่วยงานในท้องถิ่น กลุ่มสามาชิกทำนาอินทรีย์ ภาคี พร้อมใจ ลงเก็บเกี่ยวข้าว ได้เก็บข้าวมาร่วมกันมัดเป็นเรียงแรก มอบให้กับเจ้าของแปลงนาสาธิต นางนวลจันทร์คงสุดและผู้ใหญ่ ถาวรคงนิล รับมอบไว้เป็นข้าวเรียงแรกสำหรับชาวนาในทุ่งตาลกและนำมาคัดเลือกเป็นเมล็ดพันธ์ใช้ในฤดูกาลต่อไปการเก็บข้าวในครั้งนี้ สิ่งที่เห็นได้ คือ ความร่วมมือ ร่วมใจ ของคนในชุมชนที่จะช่วยกันผลิตข้าวอินทรีย์ชีวภาพที่ปลอดภัยไร้สารเคมี

สามาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์/และภาคีเครือข่าย(เด็กเยาวชน/ผู้ใหญ่/กำนัน/สท.นายก เจ้าหน้าที่เทศบาล/ผอ.และเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยข้าว)

0.00 0.00 35 35 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-ศูนย์วิจัยข้าวจัดป้ายนิทัศการ(พาาโบล่า)การปลูกข้าวอินทรีย์และกระบวนการผลิตพันธุ์ข้าว

-ลำดับเรื่องการเก็บข้าวโดยกำนันกล่าวต้อนรับ ผู้ใหญ่กล่าวรายงาน ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยข้าวพัทลุงเป็นประธาน ก่อนลงเก็บข้าว

-การเก็บออก เป็นการเก็บข้าวรวงที่ไม่ใช่ข้าวพันธ์ุออก โดยการสังเกตสี ลักษณะรวง ก่อนการลงมือเก็บจริง

-การเก็บจริง เป็นการเก็บพันธุ์ข้าวทีละรวงโดยการใช้แกะ เก็บเป็นเลียงเพื่อไปตากและเก็บไว้เป็นเมล็ดพันธ์

-การเก็บข้าวโดยการลงแขกเพื่อรำลึกถึงวัฒนธรรมดั้งเดิมของชุมชน(กินเหนียวคลุกพร้าว เก็บข้าวนาวาน)และให้เด็กได้เรียนรู้การพึ่งพากันเองของชุมชน

-หลังกินอาหารกลางวัน มีการสรุปถึงความจำเป็นที่ต้องเก็บเมล็ดพันธุ์และวิธีการเก็บเมล็ดพันธุ์ ให้เด็กๆได้รู้

***จากกระบวนการข้างต้นเห็นถึงความพร้อม ความร่วมมือ ความสุขของเด็กที่ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ในชีีวิต และความสุขของผู้ใหญ่ที่ได้รำลึกถึงวัฒนธรรมในอดีต ทั้งยังได้พันธ์ุข้าวไว้ปลูกในปีต่อไป อีกทั้งชุมชนได้ทำข้าวสารบรรจุถุงจำหน่ายในชุมชน จำหน่ายให้เครือข่าย และจำหน่ายในงานเทศกาลของจังหวัด

กิจกรรมหลัก : การเรียนรู้กระบวนการแปรรูปข้าวi

26,100.00 60 ผลผลิต

สมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์และเด็กเยาวชนบ้านโคกแย้ม จำนวน 50 คน ได้มาดูงานที่ วิชชลัยร่วงข้าว


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ได้รู้และเข้าใจในกระบวนการผลิต การคัดเลือกเมล็ดพันธ์ การเตรียมพื้นที่ การปลูก การดูแล การเก็บเกี่ยว การแปรรูป การบรรจุภัณฑ์ การตลาดข้าวอินทรีย์ตลอดถึงการใช้วัสดุที่ได้จากการผลิต(ฟาง แกลบ รำ และปลายข้าว) ไปต่อยอดรายได้

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 3 ครั้ง

สมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ กลุ่มเด็กเยาวชน

13,900.00 13,900.00 60 42 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • กลุ่มทำนาอินทรีย์และเด็กเยาวชนบ้านโคกแย้ม จำนวน 50 คน ได้มาดูงานที่ วิชชลัยร่วงข้าว ม.5 ต. พนางตุง อ. ควนขนุน จ. พัทลุง ในเรื่องของการผลิตข้าวอินทรีย์ และ กระบวนการแปรรูปข้าว โดยมี นาย อำมรสุขวิน และทีมงาน ให้การต้อนรับ แนะนำพื้นบ้านท่าช้างตั้งอยู่เขตที่ลุ่มของจังหวัดพัทลุง อาชีพหลักของชาวบ้านคือการทำนา และด้วยวิถีการผลิตที่เน้นปลูกข้าวเพื่อขาย ทำให้ชาวนาที่นี่เร่งการผลิต ใช้สารเคมีทุกประเภท เพื่อให้ข้าวได้ผลผลิตสูงๆ แต่ผลที่ตามมาคือต้นทุนการผลิตสูงขึ้น กำไรในแต่ละปีจึงเหลือเพียงน้อยนิด และที่สำคัญ คือ ปัญหาสุขภาพผู้ทำนาแย่ลง เพราะใช้สารเคมีในการทำนาจึงเกิดการรวมตัวของกลุ่มทำนาข้าวเกษตรอินทรีย์ขึ้น มีการทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพเพื่อลดต้นทุนในการผลิตอาศัยวิถีชีวติดั่งเดิมอดีตของการทำนา ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี เริ่มตั้งการเตรียมดิน กอซังฝางข้าว ไถกลบมักเพื่อเป็นปุ๋ย การใช้เมล็ดพันธ์ข้าวพื้นเมืองอินทรีย์ที่ปลูกที่สมบูรณ์แข็งแรงเป็นการลดต้นทุนในการผลิต และยังตอบโจรย์ ปัญหาเรื่องสุขภาพของผู้ผลิตและผู้บริโภคด้วย
  • แปลงนาอินทรีย์ของวิชชลัยร่วงข้าวมี กระบวนการในการผลิต การคัดเลือกเมล็ดพันธ์ข้าวพื้นเมือง เพราะมีการต้านทานโรคและแมลงได้ดีการเตรียมดินก่อนปลูก กอซังฟางข้าวจะไถกลบมักเป็นปุ๋ย การทำแบบ ทำนาหว่านห่างหรือนาหว่านน้ำตม จึงได้ข้าวที่แตกกอสมบูรณ์ เพลี้ยะก็ไม่มากิน ประกอบกับเมล็ดข้าวที่ได้จากนาอินทรีย์มีเมล็ดแข็ง แมลงไม่มากิน ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพของกลุ่มที่ทำเอง เมล็ดพันธ์ข้าวที่ปลูกส่วนมากจะใช้พันธุ์ สังข์หยด” เฉี้ยง เล็บนก มดริ้น เป็นข้าวที่เหมาะสมกับน้ำท่วมมากที่สุดการเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธ์ใช้วิธีการ ลงแขก เพื่อจะได้เมล็ดพันธ์ที่ไม่ปนส่วนวิถีชีวิตชาวบ้านเมื่อว่างจากฤดูทำนา กลุ่มชาวนาก็ร่วมกันปลูกผักพื้นบ้าน อาทิ พริก ถั่วพลู และมะเขือ มาเป็นอาชีพเสริมเกิดกลุ่มสวัสดิการชุมชน ใช้ผลได้จากปุ๋ยอินทรีย์ และได้สุขภาพที่ดี กลับสู่วิถีวัฒนธรรมที่มีความสามัคคี ช่วยเหลือซึ่งกันและกันเช่นในอดีต
  • ขั้นตอนในการแปรรูปข้าว จากข้าวเปลือกมาเป็นข้าวกล้อง และข้าวสารแกลบที่สีมาจะใช้เป็นวัสดุดิบใการทำปุ๋ย เช่นเดียวกับรำข้าว ปลายสารหรือปลายข้าวก็มาแปรรูปเป็นอาหารเสริมเพื่อสุขภาพทุกส่วนของต้นข้าวใช้ประโยนช์ได้ทั้งหมดกอซัง ฟางข้าว ใช้ทำปุ๋ย เสี้ยงสัตว์การแปรรูปข้าวสารสามารถแปรเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น การทำขนมการทำสูบเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มในการแปรรูปข้าวอีกด้วย
  • การร่วมพูดคุยซักถาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถึงกระบวนการผลิตข้าวอินทรีย์ชิวภาพครบวงจร จนกระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ได้รับความรู้ความใจ ถึงความเป็นมาเป็นไปของขั้นตอนการผลิตและแปรรูป รู้ถึงปัญหาในด้านต่างๆ และวิธีการแก้ไข ช่วยกันคิดช่วยคนแก้ วางแผนงานแนวทางการดำเนินงาน ช่วยเกื้อคณูกันในกลุ่ม ทำให้การทำเกษตรอินทรีย์กลับมาเป็นวิถีชีวติในการดำรงชีวติ ด้วยความรับผิดชอบต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค เดินทางกลับ

สมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ชีวภาพ กลุ่มเด็กเยาวชน จำนวน 50 คน

0.00 0.00 60 42 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • กลุ่มทำนาอินทรีย์และเด็กเยาวชนบ้านโคกแย้ม จำนวน 50 คน ได้มาดูงานที่ วิชชลัยร่วงข้าว รับฟังการบรรยายสรุปทุกคนให้ความสนใจ มีการซักถามในประเด็นที่สงสัยทั้งยังเดินทางลงไปดูถึงแปลงนาข้าวอินทรีย์อย่างตั้งใจ

ตัวแทนครัวเรือนผลิตข้าว
เด็กเยาวชน

12,200.00 12,200.00 60 42 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • สมาชิกกลุ่มทำนา และ เด็กเยาวชนได้เรียนรู้ถึง ขั้นตอนกระบวนการผลิตข้าวอินทรีย์ชิวภาพครบวงจรตั้งแต่กระบวนการปลูกการดูแลรักษาแปลงนาอินทรีย์ การเก็บเกี่ยว จนถึง กระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทุกกระบวนการมีความสำคัญ เพื่อที่จะผลิตข้าวอินทรีย์ชีวภาพให้มีคุณภาพ
  • กระบวน การแปรรูปข้าวอินทรีย์ มีขั้นตอนตั้งแต่ นำข้าวเปลือกที่ได้แปลงนา มาตากแดด 1 แดด เพื่อลดความชื้น แล้วนำข้าวเปลือกไปสี สีเสร็จ คัดปลายสาร คัดเศษหญ้า ดอกหญ้าแข็งๆ ออกก่อนจะแพ็กกิ้ง ผลิตภัณฑ์นอกจากข้าว ยังมีจมูกข้าวที่ชงใส่โอวันติน และแป้งที่โม้มาจากข้าวใช้ทำขนม อีกด้วย
  • การดูงานในครั้งนี้ ได้รับความรู้ความใจ ถึงความเป็นมาเป็นไปของขั้นตอนการผลิตข้าวและการแปรรูป การแปรรูปข้าวสามารถแปรเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ส่งเสริมสุขภาพ เป็นสินค้าที่ใช้ในการอุปโภค บริโภค สามารถพัฒนาต่อยอดไปได้อีกมากมาย

กิจกรรมหลัก : กิจกรรมจัดตั้งกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์i

8,700.00 60 ผลผลิต

กลุ่มทำนาอินทรีย์ และกลุ่มแม่บ้าน จำนวน 60 มีการประชุมปรึกษาหารือแนวทางการจัดตั้งกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ที่ประชุมมีมติให้กลุ่มทำนาอินทรีย์ ยื่นขอจดทะเบียนเป้นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพื่อการแปรรูป

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

สมาชิกโครงการและกลุ่มแม่บ้าน จำนวน 45 คน

8,700.00 8,700.00 60 60 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การทำกิจกรรมจัดตั้งกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ ได้จัดทำที่ศาลาหมู่บ้านหมูที่ 2 ตำบลนาท่อม ใน เวลา 10.00 น. มี สมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์บ้านโคกแย้ม กลุ่มแม่บ้าน และผู้ที่สนใจ เข้าร่วม จำนวน 60 คน โดยมี คณะทำงานและผู้นำชุมชนค่อยต้อนรับ รับลงทะเบียน

  • ผู้ใหญ่ ถาวรคงนิจได้ชี้แจงรายละเอียดการจัดตั้งกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ หมู่ที่ 2 มีพื้นที่การทำนามากที่สุดทั้งตำบล มีพื้นที่การทำนา ประมาณ 830 ไร่ และ ได้ทำนาแบบอินทรีย์ชีวภาพแล้วบางส่วนของพื้นที่ มีผลผลิตที่เก็บเกี่ยวแล้ว จากสามาชิกกลุ่มทำนาของโครงการศูนย์เรียนรู้นาอินทรีย์ที่บ้านแย้มคณะทำงานและสภาผู้นำชุมชนได้เล้งเห็นถึงความสำคัญในการจัดตั้งกลุ่มแปรรูปข้าว ได้มีการรวมตัวกันนำผลผลิตที่ได้มาแปรรูป จากข้าวเปลือกเป็นข้าวสาร ได้แลกเปลี่ยน และจัดจำหน่ายในกับคนในชุมชนได้บริโภคข้าวแบบอินทรีย์ชีวภาพได้ทั่วถึงกัน สร้างอาชีพสร้างรายได้ สร้างความร่วมมือ สร้างความเข็มแข็งให้กับชุมชน เป็นชุมชนที่พึ่งพาอาศัยกันยึดหลักเศษรฐ กิจพอเพียงในระดับชุมชนสามารถจัดจำหน่ายข้าวสารให้กับคนในตำบล ผู้ที่สนใจในการบริโภคข้าวเพื่อสุขภาพ เป็นศูนย์กลางในการผลิตและแปรรูปข้าวของตำบลนาท่อม แบบครบวงจรทั้งแต่กระบวนการปลูกข้าวจนถึงกระบวนการแปรรูปข้าว เป็นแหน่งเรียนรู้ในกับผู้ที่สนใจอีกช่องทางหนึ่ง

  • เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอธิบายถึงหลักเกณฑ์และแนวทางในการจัดตั้งกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ หลักเกณฑ์ การจัดตั้งกลุมอาชีพและการสงเสริมกลุมอาชีพ เปนการสนับสนุนใหมีการบริหารจัดการสงเสริมอาชีพของชุมชน อยางมีระบบและ สรางความเขมแข็งของชุมชนภาคการผลิต คือ การรวมกลุมของประชาชนที่มีจุดประสงคและ เปาหมายรวมกัน เพื่อดําเนินกิจกรรมการผลิต สรางพลังของการพึ่งตนเองของกลุมอาชีพในชุมชนกลุมอาชีพ หมายถึง การรวมกลุมของประชาชนที่รวมดําเนินกิจกรรม เพื่อทําใหเกิด รายไดและการสรางโอกาสในการประกอบอาชีพใหสมาชิกโดยแบงออกเปน 2 ลักษณะคือ 1.กลุมอาชีพที่มีการรวมตัวกันแตไมไดจดทะเบียนนิติบุคคล เชน กลุมแมบาน กลุมอาชีพการแปรรูปผลผลิตกลุมอาชีพอุตสาหกรรมในครัวเรือนและหัตถกรรมไทย 2. กลุมอาชีพที่มีการจดทะเบียนเปนนิติบุคคลเชน กลุมสหกรณสหกรณออมทรัพย กลุมยุวเกษตรกร เปนตน โดยมีกฎเกณฑขอบังคับของกลุมอาชีพที่ถือเปนแนวปฏิบัติเพื่อสงเสริม การดําเนินกิจกรรมของกลุมใหมีความเขมแข็งสามารถพึ่งตนเองไดและสงเสริมความเขมแข็ง ของครอบครัว ชุมชน และทองถิ่น

  • แนวทางการจัดตั้งกลุมอาชีพ เพื่อเปนการสงเสริม สนับสนุนการประกอบอาชีพในชุมชน ใหมีความเขมแข็งและ สามารถพึ่งพาตนเองได องคกรปกครองสวนทองถิ่น ควรสงเสริมและสนับสนุนใหประชาชนที่มี อาชีพเดียวกัน รวมกลุมเพื่อสรางพลังของการพัฒนาการเรียนรูและแลกเปลี่ยนประสบการณรวม ดําเนินกิจกรรมเพื่อแลกเปลี่ยนความรูและการแกไขปญหาที่เกิดขึ้นที่คลายกันหรือเหมือนกัน โดย ประชาชนและเพื่อประชาชนในทองถิ่นหรือเปนแนวทางความรวมมือระหวางประชาชนและ เจาหนาที่ขององคกรปกครองสวนทองถิ่น รวมประชุม ปรึกษา หารือ มองภาพรวมดานอาชีพของทองถิ่น เพื่อการสงเสริมความรวมมือระหวางพื้นที่ เครือขายอยางเปนทางการและไมเปนทางการและแกไขปญหาไดตรงตามความตองการของประชาชนทั้งในระดับบุคคลระดับครัวเรือนและระดับกลุม

  • พูดคุยสรุปการจัดตั้งกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ กลุ่มสามาชิกทำนาอินทรีย์และกลุ่มแม่บ้าน ได้ร่วมพูดคุยถึงการจักตั้งกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ เห็นด้วยถึงการจัดตั้งกลุ่มเป็นการรวมตัวกันสร้างความเข็มแข็งในกับคนในชุมชนสร้างอาชีพสร้างรายได้ ได้ศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้พัฒนาการผลิตการแปรรูปการดำเนินงานของกลุ่มในทิศทางเดียวกัน เริ่มต้นจากสามาชิกกลุ่มทำนานำข้าวแปลือกมารวมกันและจดจำนวนกระสอบของแต่ละคนนำไปสี เป็น ข้าวสาร และนำมาบรรจุใส่ถุงขนาด 2 กิโล และ 5 กิโล ซ๊ลด้วยกระบบไฟฟ้า 2 แนวซีล พร้อมติดตรา โดยกลุ่มแม่บ้าน จัดจำหน่ายราคาท้องตลาดในร้านค้าของชุมชนจำนวน 4 ร้าน จัดหน่ายที่ตลาดนัดหูยาน เสาร์ที่ 2 และเสาร์สุดท้ายของเดือน ตลาดนัดเกษตรหน้าสำนักงานเกษตรจังหวัด ถนน ชัยบุรีและออกบธูแสดงผลิตภัณฑ์ ในเทศกาลต่าง ๆ

กิจกรรมหลัก : รวมพลคนรักษ์ข้าวอินทรีย์ มีธนาคารเมล็ดพันธุ์i

10,700.00 65 ผลผลิต

กลุ่มเด็กเยาวชน สมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์และผุ้สนใจ จำนวน 60 คน เข้าร่วมเรียนรู้กระบวนการเก็บรักษาเมล็ดพันธ์ข้าวโดยนักวิชการการเกษตร และพิธีกรรมสมโภชแม่โพสพ(พิธีทำขวัญข้าว)โดยภูมิปัญญาจากชุมชน เพื่อสร้างความเชื่อในเรื่องของวัฒนธรรมข้าวของชุมชน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ได้เรียนรู้วิธีการรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าว และศรัทธาต่อความเชื่อในการอนุรักษ์เมล็ดพันธ์ข้าว(แม่โพสพ)

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 2 ครั้ง

คณะทำงานสภาผู้นำชุมชน

สามาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์

กลุ่มเด็กเยาวชนบ้านโคกแย้ม

10,700.00 10,700.00 60 74 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กิจกรรมรวมพลคนรักษืข้าวอินทรีย์ มีธนาคารเมล็ดพันธ์ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 60 คน มีกลุ่มเด็กเยาวชนบ้านโคกแย้ม สามาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ คณะทำงานและสภาผู้นำชุมชน ณ ที่ศาลาประจำหมู่บ้าน

  • ผู้ใหญ่ ถาวร คงนิล ชี้แจงการทำกิจกรรมรวมพลคนรักษ์ข้าวอินทรีย์ มีธนาคารเมล็ดพันธ์ข้าว หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวจากแปลงนาได้เมล็ดข้าวเปลือก กลุ่มทำนาอินทรีย์บ้านโคกแย้มได้นำเมล็ดพันธ์ข้าวที่เก็บเกี่ยวด้วยแกะ เพื่อเป็นเมล็ดพันธ์ข้าวสายพันธ์ดั้งเดิม คือ ข้าวเล็บนก รวบรวมเป็นกองทุนรักษาเมล็ดพันธ์ไว้สำหรับการทำนาครั้งต่อไป และจะมีการทำพิธีกรรมสมโภสแม่โพพสเป็นศิริมงคลเมล็ดพันธ์ข้าวไว้เพาะปลูกแบ่งปันเมล็ดข้าวเข้ายุ้งเป็นธนาคารเมล็ดพันธ์ การทำพิธีทำขวัญข้าวเป็นการขอขมาพระแม่โพสพในช่วงตลอดฤดูกาลที่ทำนาและเป็นการขอบพระคุณแม่โพสพที่ให้ความอุดมสมบรูณ์ในแปลงนา การทำพิธีขวัญข้าวในครั้งนี้ อยากให้เด็กเยาวชนได้ศึกษาเรียนรู้การทำพิธีทำขวัญที่สืบทอดต่อกันมา

  • วิทยากรบรรยายการทำนาแบบอินทรีย์ชีวภาพ เป็นการทำนาแบบไม่ต้องลงทุนอะไรมากมายอาศัยทุนที่มีอยู่แล้วในท้องถิ่นท้องนา เริ่มต้นการทำนาใช้ปุ๋ยที่มีอยู่แล้วในแปลงนา ก็คือ ฟางข้าวนั้นเองแค่ไม่เผาฟาง ปล่อยน้ำเข้าแปลงเติมหัวเชื้อจุลินทรีย์ลงไปเพื่อการย่อยสลายฟางข้าวช่วยปรัปสภาพดินให้ร่วนซุย ฟางข้าว 1 ไร่ เท่ากับปุ๋ย 1 กระสอบ การไถก็ง่ายขึ้นเพราะดินร่วน ในขั้นตอนการปลูกข้าวใช้วิธีเพาะกล้าและดำนา ซึ่งมีต้นทุนต่ำกว่านาหว่าน การเพาะกล้าและการใช้วิธีการทำนาแบบนาดำนั้นลดประมาณเมล็ดพันธ์ข้าวและการแตกกอข้าวจะดีกว่านาแแบบนาหว่าน นาดำใช้เมล็ดพันธ์ข้าว 4-5 กิโลกรัม ต่อ 1ไร่ นาหว่านใช้เมล็ดพันธ์ข้าว 10-15 กิโลกรัมการใช้ปุ๋ยก็เช่นกันใช้แบบปุ๋ยอินทรีย์สามารถทำเองทุกเรือนได้จาก ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมัก ขี้วัว ใบไผ่ แกลบ รำ เศษผักต่างๆ นำมาหมักรวมกับจุลินทรีย์ กลายเป็นปุ๋ยชั้นดีใช้ในแปลงนา ปัญหาแมลงศัตรูพืชและโรคข้าวก็สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดพ่นสมุนไพรที่หมักเองได้ ซึ่งจะช่วยไล่แมลงและทำให้ต้นข้าวแข็งแรงตั้งแต่กระบวนการปลูก การใช้ปุ๋ย การป้องกันแมลงศัตรูพืช วัสดุอุปกรณ์มีอยู่แล้วทั้งนั้นในท้องนาและท้องถิ่น ไม่จำเป็นต้องพึ่งสารเคมีแต่อย่างใด การลด ละ เลิก ใช้สารเคมีในแปลงนาสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนก็คือสภาพดินในแปลงนาจะร่วนซุย ไม่แข็งกระด้าง ไม่มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม ไม่ต้องเสี่ยงกับปัญหาสุภาพผู้ทำนาเอง ไม่ต้องกลัวว่ามีสารตกค้างต่อผู้บริโภคด้วย การทำนาปัจจจุบันเน้นกระบวนการสะดวดรวดเร็วเห็นผลทันทีทันใด สิ่งที่สะนองตอบได้คือการใช้สารเคมีได้ผลดีในระยะสั้นแต่เป็นผลเสียในระยะยาวสำหรับพื้นที่นา การทำแบบอินทรีย์จึงถือเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งสำหรับผู้ทำนา

  • วิยากรเล่าประวัติความเป็นมาการทำพิธีขวัญข้าว การทำขวัญข้าวนั้น เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับชาวนาให้รู้ว่า การทำนาปลูกข้าวของตนนั้น จะไม่สูญเปล่า เพราะพระแม่โพสพเป็นผู้ดูแล และเมื่อมีการเกี่ยวข้าวก็จะมาช่วยกันเกี่ยวข้าว เป็นการสร้างความสมัครสมานสามัคคี และที่สุดคือการร่วมสนุกสนานเมื่อทุกคนเหนื่อยยาก และประสบความสำเร็จด้วยดี ตามความเชื่อว่าแม่โพสพมีพระคุณจึงต้องทำขวัญเป็นการกล่าวขอขมาต่อต้นข้าวทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับข้าว ทั้งการเกิดเองตามธรรมชาติ และจากการที่มนุษย์จะกระทำอะไรก็ตามกับต้นข้าว เช่น การถอนกล้า การปักดำ การเก็บเกี่ยว อีกทั้งเพื่อเป็นการขอบคุณและเอาใจแม่โพสพที่ให้ความอุดมสมบูรณ์แก่ผืนนา และเพื่อขออภัยและเรียกขวัญแม่โพสพ เป็นสิริมงคลดลบันดาลให้มั่งมียิ่งขึ้น การทำขวัญข้าวจะทำกัน 2 ช่วง ช่วงแรกข้าวตั้งท้อง ช่วงที่สองตอนเก็บเกี่ยว เครื่องเซ่นจะไม่เหมือนกันแล้วแต่พื้นถิ่นนั้นๆ เครื่องเซ่นนี้ เรียกว่า เครื่องสิบสอง คือสํารับที่ประกอบด้วยถ้วย 12 ใบ บรรจุของ 12 อย่าง สําหรับ เครื่องสิบสองในพิธีที่จัดขึ้น ประกอบด้วย ข้าวจ้าว ข้าวเหนียว ข้าวตอก กล้วย อ้อย ถั่ว งา กุ้ง ปลามีหัวมีหาง ขนมโคขาว ขนมโคแดงน้ำ พานใส่หมากพลู ดอกไม้ ธูปเทียน ด้าย 3 สี วัวดินแมงดาพานใส่แก้ว แหวน เงิน ทอง และบายศรีนอกจากเครื่องเซ่นสังเวยในการทำพิธีที่ลอมข้าวนี้แล้วยังมิ เครื่องเซ่นในที่นาข้าวก็มีการเอาต้นไม้ต่างๆ มารวมกันเป็นซุ้มเล็กๆ รวบเข้ากับกอข้าวเรียกว่า “รวบข้าว” ประกอบด้วยกิ่งไม้ อ้อย ระกํา บังใบ กําชํา หว้า ชุมเห็ด ชุมแสง ชุมพู่ ย่านาง ย่านลิเภา ที่เชื่อมกันด้วยสายสิญน์จากพิธีนี้ด้วย

  • เตรียมเครื่องเซ่นสังเวยครบเรียบร้อย หมอทำขวัญข้าวก็เริ่มด้วยการตั้งนโม 3 จบ ต่อด้วยคาถาชุมนุมเทวดา แล้วตามด้วยบทอัญเชิญแม่โพสพ ดังนี้

........ วันนี้วันดี เป็นศรีพญาวัน แคล้วทั้งทักทิน แคล้วทั้งยมขัน ลูกจักทำขวัญ จัดสรรของดี กล้วยอ้อยถั่วงา กุ้งปลามากมี ทุกสิ่งใส่ที่ ให้แม่ได้เสวย อีกทั้งพันธุ์ไม้ ลูกแต่งไว้ ให้แม่ได้ชมเชย ชุมเห็ดชุมแสง ชุมพู่แม่เอย พันธุ์ไม่ยังเหลย ไม้หว้ากำชำ กล้วยอ้อยพรมคด ลูกจัดมาหมด ให้แม่ตาดำ ย่านนางอย่างดี ด้ายแดงขาวดำ ย่านลิเภาประจำ รัดซึ่งพฤกษา ไม้ระกำทำหลัก ทำตรอมแล้วปัก รับพระมารดา ให้แม่เชยชม พุ่มไม้พฤกษา ลูกน้อยไครครา ถ้ามารดาดำเหนิน โอแม่โพสพลูกนั่งเคารพ เรียกแม่คิ้วเหิน เชิญแม่ร้อยชั่ง ฟังลูกร้องเชิญ วันนี้ดำเหนิน เชิญมาแม่มา เชิญมาเถิดหนา นะขวัญแม่กูเอยฯ
(หมอวางมือขวาบนจอมข้าว กล่าวคาถา 3 จบ)..มะอะโหโคจังอาคัดฉายะอาคัดฉาหิ

.........สิบนิ้วร้องเชิญ พี่เลี้ยงทั้งสี่ เสด็จมาทันที เคียงซ้ายเคียงขวา แม่นินโพสี มาตตุหลีเทวา ทั้งแม่เหล็กกล้า แม่ไพสาหลี ปลาหลาดนำหน้าเมื่อแม่เสด็จมา นางนกกุลา พาจากคีรี ข้าวเหนียวข้าวจ้าว สิ่งละเม็ดด้วยดี องค์พระมาตตุหลี นำแม่เข้ามา แม่โพสพเจ้า ประสูติลูกเต้า จนเต็มไร่นา มนุษย์ทั้งหลาย ได้รอดชีวา พระคุณมารดา ร้อยสามสิบเก้าบรรจง วันนี้ลูกยา ข้าวสุกแล้วหนา ร้องเชิญโฉมยง ให้แม่ผู้มา จากปรางทองทรง ชักชวนญาติวงศ์ แห่ห้อมล้อมมา นางแก้วนางกอง ทองพูนหนูนห้อง พวงหวายลูกปลา นางขาวดำหอม ดอกยอมแมงดา หอมกระดังงา ประชุมโสภา พญาย่ออย่างดี ช่อปริงดอกพร้าว เชิญมาเถิดเจ้า แม่นินโพสี ข้าวไรซ์เบอรี่ หนวยเขือ นางกอง เข็มทองก็ มีนางทองรองรี กอขอหอมดี ข้าวหยีรวงดำ นางหอมประจำ ข้าวประแจะหอมหวาน ทั้งข้าวพวงไร่ ข้าวช่อไม้ไผ่ ไข่มดลิ้นคลาน ข้าวเหลืองเล่าท่าน ยังข้าวนั้นเหลย นางหงส์สงรส ทั้งข้าวสังหยด รวงงามปรากฏ หนวยแตงหน้าเชย ข้าวขาวบ้านนา ช่อลุงด้วยหนา รวงใหญ่จังเลย ปทุมชัยนาท เม็ดขาวสะอาด ทำอย่าให้ขาด ปิ่นแก้วมาก่อน เล็บนกนี่แหละ เที่ยงแท้งามงอน ย่านไทรใบหล้อน รวงกองเป็นก้อน ข้าวเหลืองนางพูน อีกข้าวแก่นจันทร์ นับวันจะสูญ ช่วยกันค้ำคูน กอเดียวในนา หอมแดงรวงเด็ด ข้าวช่อไข่เป็ด ก้อรวงงามเสร็จ เก็บไม่รู้เหือง ข้าวพูข้าวทอง เสด็จมานองเนือง เชิญมาอย่างเคือง ข้าวโพดสาลี ข้าวเฉี้ยงงามเลิศ ข้าวนางพูนเกิด เชิญแม่มาเถิด ข้าวไพสาหลี ข้าวตีนนกทูง ก้อรวงงามดี เชิญแม่ทั้งนี้ ข้าวแมงดาลาย ข้าวชายข้าวเล่า เชิญมาเถิดเจ้า ทำขวัญให้สบาย ยังข้าว กำพฤก ลูกนึกไม่วาย ยังข้าวเล่าไซร้ ดอกอ้อช่อปริง อีกข้าวไม่ตาก สีแม่งามหลาก รวงมากจริงๆ เชิญมารับเอาขวัญ สาระพันทุกสิ่ง เชิญมาให้สิ้น นางหอมลูกปลา ข้าวเทพมหาไชย มาแล้วอย่าไป เชิญมาแม่มา เชิญมาเถิดหนา ...นะขวัญแม่กูเอยฯ. (หมอวางมือขวาบนจอมข้าว กล่าวคาถา 3 จบ)..มะอะโหโคจังอาคัดฉายะอาคัดฉาหิ

..........ช่อตอกดอกประดู่ ข้าวหนักทั้งคู่ มะลิซ้อนตัวผู้ ข้าวยี่ข้าวสาร มาชมให้สบาย ให้ฤทัยชื่นบาน เชิญมาอย่านาน เหลยท่านทั้งปวง โอๆแม่โพสพ ลูกเรียกมาจบ แต่ภูเขาหลวง เชิญมาอยู่เม็ด เสด็จมาอยู่รวง มารับเอาเครื่องบวงสรวง ที่ลูกบูชา ขวัญแม่อยู่ในไร่ ลูกเรียกมาไว้ อย่างนิ่งเหลยหนา อยู่ในไร่นา เชิญมาทุกคนมาสร้างกุศล ด้วยคนเถิดหนา แม่โพสพเจ้า อย่าละห้อยสร้อยเศร้า เชิญมาแม่มาเชิญมาแม่มา มารับเอาขวัญ สาระพันของข้า ลูกแต่งบูชา นานาสาระพันเงินทองแก้วแหวน ผูกมือถือแขน ข้างละคู่ทำขวัญ วัวดินแมงดา กุ้งปลาหลายพันธุ์ แต่งไว้ครบครัน ให้แม่กูชมเชย เชยแล้วอย่าจาก บรรดามามาก มารับเอารับเครื่องสังเหวย มาจับเทียนขวัญ เถิดแม่ข้าเอย เชิญแม่มาชมเชย สู่ห้องสู่ท้องพระคะลัง เชิญแม่กูยกขึ้นนั่ง ลูกจักผูกมือแม่ (หมอวางมือขวาบนจอมข้าว กล่าวคาถา 3 จบ).มะอะอุอาคัดฉาหิ พุทธังอาคัดฉาหิ ธัมมังอาคัดฉาหิ สังฆังอาคัดฉาหิ

เชิญมาแม่มา เชิญมาเถิดหนา นะขวัญแม่กูเอย..(หมอวางมือขวาบนจอมข้าว กล่าวคาถา 3 จบ) เชิญมาแม่มา กุศลาธรรมานางจันทกุมาร(หมาน)
เชิญมาแม่มา กุศลาธรรมานางอินทกุมาร
เชิญมาแม่มา กุศลาธรรมานางราชกุมาร

(3 ครั้ง)...เชิญมาแม่มา เชิญมาให้สิ้น นาลึกนาดอน ขวัญแม่อย่าร้อน หฤทัยฉุนเฉียว แม่อย่าตกใจ รถไถรถเกี่ยว ตะแก้ ตะเคียว หนมจ้าวข้าวเหนียว อีกทั้งพลูหมาก ขวัญแม่มาแต่เมืองนาค ขวัญแม่มาอยู่ราก ขึ้นมาอยู่รวง มารับเอาเครื่องบวงสรวง ที่ลูกบูชา ลูกแต่งบายสี ดูดีแล้วหนา ขอเชิญแม่มาสู่ห้อง สู่ท้องพระคะลัง เชิญแม่กูยกขึ้นนั่ง ลูกจักผูกมือแม่ (หมอวางมือขวาบนจอมข้าว กล่าวคาถา 3 จบ) มะอะอุอาคัดฉาหิ พุทธังอาคัดฉาหิ ธัมมังอาคัดฉาหิ สังฆังอาคัดฉาหิ
เชิญมาแม่มา เชิญมาเถิดหนา นะขวัญแม่กูเอย..(หมอวางมือขวาบนจอมข้าว กล่าวคาถา 3 จบ)

เชิญมาแม่มา กุศลาธรรมานางจันทกุมาร(หมาน)
เชิญมาแม่มา กุศลาธรรมานางอินทกุมาร
เชิญมาแม่มา กุศลาธรรมานางราชกุมาร

(เป็นอันเสร็จพิธี)

เมื่อเสร็จพิธี ชาวบ้าน สมาชิกทำนาอินทรีย์ ก็นำเลียงข้าว หรือข้าวที่มาร่วมพิธีกลับไปไว้ที่ลอมข้าวซึ่งถือเป็นศิริมงคล และอาจเก็บไว้เป้นข้าวขวัญพันธ์ุข้าวสำหรับนําไปปลูกในการทํานาครั้งต่อไป

  • การทำกิจกรรรมรวมพลคนรักษ์ข้าวอินทรีย์ มีธนาคารเมล็ดพันธ์ ได้มีการรวบรวมเมล็ดพันธ์มาไว้รวมกันเป็นธนาคารเมล็ดพันธ์ไว้แลกเปลี่ยนเรียนรู้แบ่งปันในการปลูกข้าวอินทรีย์ในฤดูกาลต่อไป และการทำพิธีกรรมสมโภสแม่โพสพ เป็นการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีให้เด็กเยาวชนได้ศึกษาเรียนรู้ เกิดจิตสำนึกอนุรักษ์สือทอดกันไป และเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้ผู้ทำนาด้วย

คณะทำงานสภาผู้นำชุมชน

สามาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์

กลุ่มเด็กเยาวชนบ้านโคกแย้ม

0.00 0.00 60 60 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กิจกรรมรวมพลคนรักษ์ข้าวอินทรีย์
- มีธนาคารเมล็ดพันธ์ -เกิดกลุ่มคนรักษ์พันธ์ข้าว - สมาชิกกลุ่มทำนาข้าวอินทรีย์นำพันธ์ุข้าวที่ตนเองเก็บไว้มาร่วมพิธีทำขวัญ - สมาชิกกลุ่มฯทำขนมพื้นบ้านจากข้าวอินทรีย์ เช่น ขนมโค ขนมข้าวเกรียบปากหม้อ ขนมปำจี ขนมพิมรังต่อ - มีพิธีทำขวัญข้าว โดยมีเครื่องเซ่นเครื่ิองพลีสังเวยตามประเพณีท้องถิ่น - ทำขวัญข้าวโดยหมอพิธีในชุมชน - มีเด็กเยาวชนเข้ามาร่วมเรียนรู้

กิจกรรมหลัก : สร้างกลไกการขับเคลื่อนนาอินทรีย์ชีวภาพครบวงจรi

8,200.00 60 ผลผลิต

กลุ่มทำนาอินทรีย์ จำนวน 60 คน ประชุมเพื่อสร้างความร่วมมือในการสร้างกลไกขับเคลื่อนบริหารจัดการศูนย์เรียนรู้ การวางระเบียบหลักเกณฑ์ต่าง ๆ


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ได้กติกากลุ่มเป็นแนวทางหลักเกณฑ์การจัดการศูนย์เรียนรู้ หลักเกณฑ์การจัดสรรพื้นที่ การควบคุมกระบวนการผลิตข้าวอินทรีย์ หลักเกณฑ์การจัดจำหน่ายข้าวในร้านค้าชุมชนการ

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

สามาชิกโครงการกลุ่มทำนาอินทรีย์

8,200.00 8,200.00 60 45 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การทำกิจกรรมสร้างกลไกขับเคลื่อนนาอินทรีย์ชีวภาพครบวงจร ได้จัดทำที่ศาลาหมู่บ้านหมูที่ 2 ตำบลนาท่อม ใน เวลา 10.00 น. มี สมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์บ้านโคกแย้ม กลุ่มแม่บ้าน และผู้ที่สนใจ เข้าร่วม จำนวน 60 คน โดยมี คณะทำงานและผู้นำชุมชนค่อยต้อนรับ รับลงทะเบียน

  • ผู้จัดการโครงการ คุณไพเราะเกตุชู กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจการสร้างกลไกกลการขับเคลื่อนนาอินทรีย์ชีวภาพครบวงจร การทำนาอินทรีย์ชีวภาพของทุ่งตาลก มีผลผลิตสู่ชุมชนจากสามาชิกกลุ่มทำนา ได้รวมกลุ่มจัดตั้งกลุ่มแปรรูปข้าวสารจัดจำหน่ายในชุมชนและได้ออกบธู ร่วมกับเทศบาลตำบลนาท่อม ในงานของดีตลาดนัดนาท่อม ได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคเป็นอย่างดี มีการพูดคุยซักถามถึงกระบวนการผลิต การจัดสรรพื้นที่ผลิตของทุ่งตาลกมีจำนวนเท่าไร มีกฎเกณฑ์อะไรบ้างในการทำนาอินทรีย์ และการจัดจำหน่ายข้าวสาร มีกลุ่มมีตัวแทนในการจัดจำหน่ายหรือเปล่า นี้เป็นเสีี่ยงสะท้อนจากผู้บริโภค ข้าวที่เค้าบริโภคมีความปลอดภัยจากสารเคมีแค่ไหน มีกระบวนการผลิตข้าวอย่างไร จึงอยากให้ผู้ที่เข้าร่วมประชุมพูดคุยแสดงความคิดเห็นในการวางแนวทางการผลิตข้าวอินทรีย์ชีวภาพให้มีกฎเกณฑ์ในทุกกระบวนการในการผลิตข้าวให้เป็นข้าวอินทรีย์ชีวภาพที่ปลอดภัย และสามารถตอบโจรย์แก่ผู้บริโภคได้

  • ตั้งวงพูดคุยแนวทางบริหารจัดการศูนย์เรียนรู้นาอินทรีย์ เริ่มต้นจากสามาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ชีวภาพบ้านตาลกมีการรวมกลุ่มกันอยุ่แล้ว แต่ยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจนในการผลิตข้าวอินทรีย์ อยากให้มีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ กฏ กติกา ของกลุ่มทำอินทรีย์ ตั้งแต่กระบวนการก่อนปลูกข้าวการดูแลรักษาและกระบวนการเก็บเกี่ยว
    หลักเกณฑ์ในการสรรพื้น

    1. กระบวนการก่อนปลูก
      1.1 ไม่เผาตอซังในนาข้าว 1.2 ใช้น้ำหมักชีวภาพหมักตอซังให้กลายเป็นปุ๋ย
      1.3 ไม่ใช้ยาฉีดหญ้าในพื้นที่นา
    2. กระบวนการดูแลรักษาต้นข้าว
      2.1 ไม่ใช้สารกำจัดวัชพืชพื้นที่นา
      2.2 ไม่ใช้สารกำจัดศูตรู
    3. กระบวนการเก็บเกี่ยวข้าว
      3.1ใช้แกะหรือเคี่ยวในการเก็บเมล็ดพันธ์ข้าว
      3.2ใช้รถเกี่ยวข้าวที่ไม่ปนกับพื้นที่นาที่ใช้สารเคมี หลักกฎเกณฑ์การควบคุมกระบวนการผลิต ใช้ระบบดูแลช่วยเเหลือตรวจสอบกันเองโดยกลุ่มสามาชิกทำนาอินทรีย์และจัดให้มีแปลงนาสาธิตเป็นแหน่งเรียนรู้สำหรับการศึกษากระบวนการทำนาอินทรีย์ให้กับกลุ่มสามาชิกและผู้ที่สนใจในการทำนาแบบอินทรีย์ชีวภาพ ทั้งนี้เพื่อการผลิตข้าวอินทรีย์ชีวภาพให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น
  • ตั้งวงพูดคุยการจัดจำหน่ายข้าวอินทรีย์ชีวภาพในร้านค้าชุมชนกลุ่มสามาชิกทำนาอินทรีย์ชีวภาพ ได้จัดตั้งกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ รับนำข้าวแปลือกจากสามาชิกมารวมกันและจดจำนวนกระสอบของแต่ละคนนำไปสี เป็น ข้าวสาร และนำมาบรรจุใส่ถุงขนาด 2 กิโล และ 5 กิโล ซ๊ลด้วยกระบบไฟฟ้า 2 แนวซีล พร้อมติดตรา โดยกลุ่มแม่บ้านจัดทำ จัดจำหน่ายราคาท้องตลาดในร้านค้าของชุมชนจำนวน 4 ร้าน ทั้งนี้ต้องนั้นยังไม่หลักเกณฑ์ที่เป็นทางการกับร้านค้าชุมชน สามาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์บ้านตาลก ได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็น ตั้ง หลักเกณฑ์กับร้านค้าที่จะรับข้าวอินทรีย์ไปชำจำหน่าย
    หลักเกณฑ์การจำหน่ายของร้านชุมชน

    1. จัดจำหน่ายราคาตามท้องตลาด
    2. มีป้ายติดไว้ที่ร้านค้าจำหน่ายข้าวอินทรีย์ปลอดสารพิษ
    3. ราคาจัดส่งเป็นราคาที่ทางกลุ่มเป็นผู้กำหนด
    4. การนำสินค้าออกบูธจัดจำหน่ายต้องผ่านการเห็นชอบของกลุ่มก่อน

นี้เป็นหลักเกณฑ์สำหรับร้านค้าในชุมชนที่จัดหน่ายข้าวอินทรีย์ ผ่านการแสดงความคิดเห็นของสามาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ เพื่อจะให้คนในชุมชนได้บริโภคข้าวสารอินทรีย์ได้ทั่วถึงในราคาที่กลุ่มเป็นคนกำหนดราคาได้เอง เป็นการสร้างอาชีพสร้างรายได้ให้กับสามาชิกกลุ่มอีกทางหนึ่ง

  • สรุปการสร้างกลไกขับเคลื่อนนาอินทรีย์ชีวภาพสามาชิกกลุ่มทำอินทรีย์ชีวภาพได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นตั้งกฎเกณฑ์แนวทางในการบริหารจัดการการทำนาอินทรีย์ชีวภาพบ้านตาลก มีหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
  1. หลักเกณฑ์การจัดสรรพื้นที่
  2. การควบคุมกระบวนการผลิตข้าวอินทรีย์
  3. หลักเกณฑ์การจัดจำหน่ายข้าวในร้านค้าชุมชนการ

กิจกรรมหลัก : เวทีรับฟังความคิดเห็นแนวทางการบริหารจัดการศูนย์เรียนรู้i

17,700.00 125 ผลผลิต

สมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ กลุ่มเด็กเยาวชน กลุ่มผู้อายุ และภาคีเครือข่าย จำนวน 125 คน เข้าร่วมเวทีรับฟังความคิดเห็นแนวทางการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคนในชุมชน ได้ข้อตกลงร่วมแนวทางการบริหารจัดการศูนย์เรียนรู้ และได้รับรุู้แนวทางการสนับสนุนจากภาคีที่เกี่ยวข้อง

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 2 ครั้ง

เด็กเยาวชน สามาชิกกลุ่มทำนา ผู้สูงอายุ ท้องถิ่น ท้องที่

จำนวน 123 คน

17,700.00 17,700.00 125 125 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กิจกรรมเวทีรับฟังความคิดเห็นแนวทางการบริหารจัดการศูนย์เรียนรู้ ได้จัดทำขึ้นที่ศาลาอเนกประสงค์หมู่ที่ เวลา 16.00- 20.00 น. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 135 คน มีสามาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ กลุ่มเด็กเยวาชน กลุ่มผู้สูงอายุ และผู้ที่สนใจเข้าร่วม โดยมี คณะทำงานและผู้นำชุมชนค่อยต้อนรับ รับลงทะเบียน

  • นายถาวรคงนิจ กล่าวต้อนรับผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมเวทีรับฟังความคิดเห็นแนวทางการบริหารจัดการศูนย์เรียนรู้นาอินทรีย์ที่บ้านโคกแย้ม โครงการศูนย์การเรียนรู้นาอินทรีย์บ้านโคกแย้ม เริ่มต้นการทำงานของคณะทำงานและสภาผู้นำชุมชนได้เล้งเห็นถึงปัญหาเรื่องสุภาพของคนในชุมชน ที่ปัจจุบันเลี่ยงต่อการมีโรคภัยไข้เจ็บมากขึ้น ส่วนหนึ่งก็มาการบริโภค พืช ผัก ผลไม้ที่มีสารเคมีตกค้าง คณะทำงานและสภาผู้นำชุมชนได้มีการประชุมหาวิธีการใน การลดความเลี่ยงของคนในชุมชน โดยการทำโครงการเสนอของทุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาพ (สสส.) ได้รับทุนมาแล้ว 2 ปี ปี1 ชื่อโครงการว่า เสริมพลังชุมชนคน 3 วัย บ้านโคกแย้ม ทำเรื่องการปลูกพืชผักอินทรีย์ในครัวเรือน การทำปุ๋ยอินทรีย์ และการทำนาอินทรีย์ 4 แบบ นาหว่าน นาปักดำ นาโยน นากล้าต้นเดียวเนื่องด้วยบ้านโคกแย้มมีพื้นที่การทำนามากที่สุดในตำบลนาท่อม เหมาะกับการทำศูนย์เรียนรู้การทำนาในแบบนาอินทรีย์ชีวภาพให้คนในชุมชนได้มีส่วนร่วมเเรียนรู้การทำนาอินทรีย์ชีวภาพแบบครบวงจร ซึ่งเป็นที่มาของการของรับทุนเป็นที่ 2 ในภายใต้โครงการศูนย์เรียนรู้นาอินทรีย์ที่บ้านโคกแย้มเพื่อที่จะสร้างกระบวนการการทำนาแบบอินทรีย์ชีวภาพแบบครบวงจร ตั้งแต่กระบวนการก่อนปลูก กระบวนการดูแลรักษา กระบวนการเก็บเกี่ยว จนสู่กระบวนการแปรรูปข้าว ทุกกระบวนการปลอดสารเคมี เพื่อคนในชุมชนได้บริโภคข้าวสารที่ปลอดสารเคมี คณะทำงานและสภาผู้นำชุมชนอยากให้พื้นที่การทำนาของทุ่งตาลกมีแนวทางการทำนาในทิศทางเดียวกัน จึงเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่มทำนาและผู้เข้าร่วมกิจกรรมพูดคุยหาแนวทางการบริหารการจัดการศูนย์เรียนรู้ให้ได้ดำเนินการต่อไป

  • วงเสนวนาการทำอินทรีย์ที่บ้านตาลก มี 4 ประเด็นการพูดคุย

ประเด็นที่ 1 การทำนาแบบอินทรีย์ชีวภาพกับการทำนาแบบการใช้สารเคมี แตกต่างกันอย่างไร สามาชิกคนทำนาบอกถึงความแตกต่างว่า การทำแบบอินทรีย์ที่เห็นได้ชัดเจน ก็ คือ ต้นทุนการผลิตลดลงจากเดิมทีี่ทำแบบเคมี นาอินทรีย์เริ่มการทำนาก็ใช้ต้นทุนที่มีอยู่เดิมแล้ว ในท้องนา เช่น ฟางข้าวก็ไม่เผาตอซังเอาน้ำเข้านาแช่ไว้ให้กลายเป็นปุ๋ย ขณะที่การทำนาแบบเคมี เริ่มต้น ใช้ ยาฉีดหญ้า ยาคุมหญ้า ในขั้นตอนดูแลรักข้าว การทำแบบอินทรีย์ ใช้ จำพวกปุ๋ยหมัก จากมูลสัตว์ เศษใบไม้ หาได้ในชุมชน นาเคมีต้องใส่ปุ๋ยเคมีซึ่งมีราคาสูง เป็นข้อแตกต่างกันอย่างเห็นได้ในเรื่องต้นทุน ข้อแตกต่างอีกเรื่องหนึ่งก็คือสภาพแวดล้อมของทุ่ง สิ่งมีชีวตในพื้นที่นา เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา กบ เขียด ที่เคยมีหายหมดเนื่องจากการใช้สารเคมีส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ พื้นที่นาที่ใช้เคมีก็มีความเป็นกรดความเป็นด่างมากขึ้นไม่มีธาตุอาหารเพียงพอที่จะเสี้ยงต้นข้าวต้องอาศัยปุ๋ยเคมีให้กับต้นข้าวเพิ่มมากขึ้นเรืี่อยๆนี้คือ ข้อแตกต่างของการทำนาต้องสองแบบ

ประเด็นที่ 2 ต้นทุนการผลิตผลผลิต การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว การทำนาอินทรีย์ชีวภาพ ต้นทุนในการทำนาอินทรีย์เริ่มต้นจากการเตรียมดินก่อนปลูกการเตรียมดินที่ดีทำให้ข้าวสมบรูณ์เจริญโตเร็ว ใช้น้ำหมักชีวภาพหมักตอซังให้เน่าเปลืี่อยแล้วไถถลบกลายเป็นปุ๋ยชั้นดีสำหรับเมล็ดข้าว เป็นการลดต้นทุนในการใช้ปุ๋ยเคมี การดูแลรักษาอาศัยมั่นดูแลถอนหญ้า วัชพืชในนา มั่นตรวจสอบต้นข้าวที่ไม่ใช้ตัดออก ให้ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมัก ก่อนดูแลระดับน้ำในแปลงนาเป็นส่วนช่วยในเรื่องหยุดการเจริญเติตของหญ้าและวัชพืช ลดต้นทุนในการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชการเก็บเกี่ยวในแปลงนาที่จะเก็บเมล็ดพันธ์ใช้การเก็บกับแกระ หรือ เคียว จะได้ไม่ปนเปลื้อนกัน ได้เมล็ดพันธ์ข้าวที่แท้จริง

ประเด็นที่ 3 การแปรรูปข้าวจากข้าวเปลือกเป็นข้าวสาร ราคาข้าวเปลือกในแปลงนา ราคาค่อนข้างต่ำ ความชื้นสูง ราคา 8000 บาท/ ตัน ข้าวเปลือกที่ตากแห้ง ลดความชื่นแล้ว ราคา 9000/ตันราคาข้าวเปลือกที่แปรรูปเป็นข้าวสารแล้ว ราคาสูง 16,000 บาท/ข้าวเปลือก 1/ ตัน ยิ่งเป็นข้าวสารที่มาจากการทำอินทรีย์ราคาสูงกว่าข้าวสารตามท้องตลาดทั่วไปส่วนมากจะเป็นข้าวที่ผ่านกระบวนการใช้สารเคมีในการทำนา ผู้บริโภคจะสนใจกับเรื่องสุขภาพมากขึ้นจึงเป็นข้อได้เปรีบยของคนทำนาอินทรีย์ชีวภาพในการจัดหน่าย สามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นจากการแปรรูปข้าวเปลือกเป็นข้าวสาร

ประเด็นที่ 4 ความคาดหวังในการทำนาอินทรีย์ ในทุ่งนาตกมีแนวทางการทำนาแบบเดี่ยวกันเน้นการผลิตข้าวปลอดสารพิษ ลด ละ เลิก การใช้สารเคมี ทุกกระบวนการของการผลิต มีการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน มีกฎกติกาของกลุ่มที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ดูแลตรวจสอบกันเอง เป็นแหล่งผลิตข้าวอินทรีย์ชีวภาพที่ปลอดภัยสำหรับคนในชุมชนไว้บริโภคในครัวเรือน เลือกจากการบริโภคแล้วจัดแปรรูปข้าวเปลือกเป็นข้าวสารเป็นผลิตภัณฑ์ของคนหมู่ 2 และเป็นแหล่งการผลิตข้าวอินทรีย์ชีวภาพเสี้ยงคนในตำบลนาท่อมผลัดดันให้เป็นผลิตภัณฑ์ของตำบล และเป็นศูนย์การเรียนรู้กระบวนการทำนาอินทรีย์ในกับผู้ที่สนใจ

  • แนวทางการทำนาอินทรีย์โดยการหนุนเสริมจากเทศบาล นายยก และปลัด เทศบาลนาท่อม ร่วมพูดคุย เรื่องของการสนับสนุนการทำนาอินทรีย์ที่ทุ่งตาลก จะมีการหนุนเสริมของเมล็ดพันธข้าวให้กับชุมชน และการฝึกอบรมของเรื่องการทำปุ๋ยอินทรีย์ใช้ในการทำการเกษตรจะจัดให้มีการศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับพื้นที่ทำนาอินทรีย์ชีวภาพที่ประสบความสำเร็จในเรื่องของการจัดตั้งกลุ่มให้เป็นวิสาหกิจชุมชน พัฒนาเรื่องการแปรรูปและการบรรจุถุง จะผลัดดันในเข้าสู้แผ่นพัฒนาตำบลปี 2560ส่งเสริมความรู้การทำอินทรีย์ในกระบวนการทำนา ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต สร้างรายได้ให้กับชุมชนต่อไป

  • การแสดงหุ่นเงาคืนข้อมูลการทำนาอินทรีย์ชีวภาพ โดยสภาเด็กเยาวชนนาท่อมร่วมกับเด็กเยาวชนบ้านโคกแย้ม ในตอนชื่อเรื่องในน้ำมีปลาในนามีข้าว พูดถึงวิถีชีวติปัจจุบันคนในชุมชนจะมีอาชีพหลักคือการกรีดยางที่สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน และจะมีอาชีพเสริม คือการทำนาณ ตอนนี้การกรีดยางอย่างเดียวไม่พอเพียงกับรายจ่าย ราคายางตกต่ำ ทำให้คนในชุมชนต้องหาอาชีพเสริมบ้างก็ออกไปทำงานข้างนอกหมู่บ้าน บ้างก็ทำการเกษตรปลูกพืชผักไว้จำหน่าย ส่วนคนอีกกลุ่มหนึ่งที่หันมาทำนาแบบวิถีดั้งเดิม คือการทำอินทรีย์ชีวภาพ อาศัยหลักการทำนาแบบคนรุ่นก่อน พยายามที่จะใช้ต้นทุนทางธรรมชาติที่มีอยู่แล้วในพื้นนามาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด ลดการใช้สารเคมีที่จะส่งผลกระทบให้พื้นที่การทำนาและสภาพแวดล้อมสิงแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป จากเดิมเมื่อก่อนการทำนาจะทำเมื่อถึงฤดูกาล อาศัยน้ำฝนในการทำนา ประมาณ ปี ละ 1 ครั้ง จะมีช่วงเว้นว่างจากการทำนาช่วงนั้นจะเป็นช่วงพักดินสภาพแวดล้อมในท้องนาก็จะมีพืชผัก สัตว์น้ำ กุ้ง หอย ปู ปลา กบ เขียด ได้เจริญเติบโต เป็นอาหารให้กับคนในชุมชน ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้เยอะเลย แต่มาปัจจุบันไม่มีให้เห็นในสิ่งเหล่านี้แล้วเพราะการทำนาจะ ทำกัน ปี ละ 2 ครั้ง ไม่มีช่วงเว้นว่างให้พื้นที่การทำนาเลยซ่ำร้ายไปกว่านั้นก็คือการใช้สารเคมีในการทำนาอย่างมากมายตั้งแต่การการเตรียมดินปลูกข้าวจนถึงการเก็บเกี่ยว เลยทำให้สภาพแวดล้อมในท้องนาเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อ พืชผัก สัตว์ กุ้ง หอย ปู ปลา กบ เขียด ไม่เหลืออยู่ให้เจริญได้เลย และนาข้าวที่ทำโดยการใช้สารเคมีเป็นหลักยังส่งผลต่อสุขภาพคนทำนาเอง ในทุกขั้นตอนในการทำนา ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคเพราะมีสารเคมีตกค้างด้วย ราคาข้าวในปัจจุบันราคาก็ตกต่ำไม่คุ้มทุนกับการทำนาเพราะต้นทุนส่วนมากคือสารเคมีที่ใช้มีราคาค่อนข้างแพง การทำนาในปัจจุบันอาศัย ความสะดวก รวดเร็ว มากจนเลยไป ไม่คำนึงถึงผลที่จะตามมาจะส่งผลต่ออะไรบ้าง ที่แน่ๆที่เห็นได้ชัดเจนคือสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป สภาพดินก็เป็นกรด เป็นด่าง ผลผลิตก็ไม่สมบรูณ์ทำให้ราคาก็ไม่ดี สุขภาพคนทำนาเองก็ยิ่งแย่ตรวจเลือดทุกทีก็มีสารเคมีในเลือดส่งผลให้เกิดโรคภัยที่ตามมาด้วย กลุ่มเด็กเยาวชนได้แสดงละครหุ่นเงาสะท้อนปัญหาในเรื่องการทำนาให้คนในชุมชนได้ลองคิดพิจารณาการทำนาแบบไหนดีกว่ากัน

  • สรุป เวทีรับฟังความคิดเห็นแนวทางการบริหารจัดการศูนย์เรียนรู้คนในชุมชนรับทราบแนวทางการบริหารจัดการศูนย์ร่วมกัน ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารจากการพูดคุยในเรื่องการทำนาอินทรีย์ที่บ้านตาลก ที่มาที่ไปของการทำนาอินทรีย์ความแตกต่างระหว่างการทำนาแบบอินทรีย์กับนาเคมี ต้นทุน ปริมาณ การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว การแปรรูปข้าว และรับทราบถึงแนวทางการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้นาอินทรีย์ร่วมกับเทศบาลนาท่อม กิจกรรมในครั้งนี้เห็นถึงความร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชนมากยิ่งขึ้น กล้าแสดงความคิดเห็นเพื่อร่วมกันที่จะพัฒนาศูนย์เรียนรู้นาอินทรีย์ที่บ้านโคกแย้มให้อยู่กับชุมชนต่อไป

คณะทำงานและสมาชิกกลุ่มทำนา เด็กเยาวชน ผู้นำท้องที่ ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาเทศบาล

0.00 0.00 60 0 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้ใหญ่ถาวรคงนิจ กล่าวต้อนรับผู้ร่วมเวทีรับฟังความคิดเห็นแนวทางการบริหารจัดศูนย์เรียนรู้
  • วงเสวนาการทำนาอินทรีย์บ้านโคกแย้ม

    • นายถาวรคงนิล ผู้ใหญ่บ้านและประธานกลุ่มทำนาได้ให้ความเห็นว่าคนโคกแย้มทำนากันมาตั้งแต่รุ่นบุกเบิกชุมชน แม้ว่าปัจจุบันคนทำนามีนาน้อยลงมาก แต่ส่วนใหญ่แล้วก็ยังคงทำนาเพื่อไว้กินเอง การทำนาอินทรีย์ เป็นทางเลือกใหม่ของการทำนาแปลงเล็ก ทำนาปราณีต โดยลดต้นทุน เพิ่มมูลค่า และยังได้กล่าวถึงทิศทางการพัฒนากลุ่มทำนาอินทรีย์สู่ความยั่งยื่น และมุ่งมั่นที่จะจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน
    • นางโสพิศธรรมเพชร คนทำนาอินทรีย์สมาชิกกลุ่ม ได้กล่าวถึงเจตนารมณ์ต่อการทำนาเพื่อสุขภาพ ทั้งสุขภาพคนทำ และสุขภาพคนกิน
    • นางนวลจันทร์คงสุดคนทำนาอินทรีย์ สมาชิกกลุ่ม ที่ตั้งใจทำนาเพื่อผลิตเมล็ดพันธ์ุ และยังได้ปลูกข้าวไรซ์เบอรี่ กล่าวถึงการปลูข้าวที่ตลาดตอ้งการจะทำให้ขายง่าย ได้ราคาดี ตนทำข้าวไรซ์เบอรี่เป้นปีที่ 2 ในเนื้อที่ 3 งาน ขายข้าวสารได้ 12,000 บาท จึงฝากถึงชาวนาให้หันทำนาแบบปราณีต
    • นางไพเราะเกตุชู ผู้รับผิดชอบโครงการ ที่ทำบัญชีรับจ่ายการซื้อขายของกลุ่มทำนาอินทรีย์ กล่าวถึงการผลิตข้าวสารตรานาท่อมว่า ข้าวตรานาท่อมเป้นที่รู้จักของคนนาท่อม และเป็นที่นิยมของผู้บริดภค ผลิตออกมาเท่าไหร่ขายหมดในวัน สองวัน ปัญหาตอนนี้คือกลุ่มมีข้าวไม่พอขาย จึงฝากให้คนทำนาเปลี่ยนมาตากข้าวแ้ลวขายข้าวให้กลุ่มในราคาที่สูงกว่าราคาตลาด เพื่อกลุ่มจะได้มาผลิตข้าวสารขาย ได้กำไรมาแบ่งปันกับสมาชิกกลุ่มต่อไป
    • นายอนุชา เฉลาชัยกำนันตำบลนาท่อม ให้ความเห็นว่าคนนาท่อม มีผักปลอดภัยที่ผลิตโดยกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษจนเป้นที่รู้จักและไว้วางใจของประชาชนในระดับจังหวัดมาแล้ว หากวันนี้คนโคกแย้มได้ผลิตข้าวปลอดภัยป้อนเข้าสู่ตลอดคนรักษ์สุขภาพ ก็จะช่วยกันเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับตำบลนาท่อมมากขึ้น ที่ผู้ใหญ่กล่าวมาจึงเป้็นทิศทางที่ถูกต้องแล้ว รอเพียงให้พวกเราค่อยๆ เดินไปทางนั้นอย่างมั่นคง
  • การแสดงรำเคี่ยวเกี่ยวข้าวของกลุ่มเด็กเยาวชนบ้านโคกแย้ม

  • แนวทางการทำนาอินทรีย์โดยการหนุนเสริมจากเทศบาลตำบลนาท่อม โดย นายยกเทศบาล และปลัดเทศบาล นาท่อม
    • นายพีระพงค์บาลทิพย์นายกเทศมนตรีตำบลนาท่อม กล่าวสั้นๆ แต่กระชับมีใจความว่า เทศบาลมีนโยบายสนับสนุนตำบลนาท่อมเป็นตำบลเกษตรอินทรีย์ หรือตำบลสีเขียว เทศบาลจึงหนุนเสริมการทำนามาตลอด
    • นางกชกานต์คงชูปลัดเทศบาลตำบลนาท่อม ยืนยันกับผู้มาร่วมกิจกรรมว่าปีนี้เทศบาลได้จัดทำแผนนพัฒนาตำบล ส่วนหนึ่งมีการสนับสนุนการทำนาอินทรีย์และผ่านมติสภาเรียบร้อยแล้ว พี่น้องคนทำนาคงจะได้รับการหนุนเสริมการทำนาอินทรีย์อย่างต่อเนื่องเช่นทุกๆปี
  • การแสดงหุ่นเงาคืนข้อมูลการทำนาอินทรีย์ชีวภาพ โดยสภาเด็กเยวาชนนาท่อมร่วมกับเด็กเยาวชนบ้านโคกแย้ม
  • สรุปพูดคุยแนวทางการบริหารจัดการศูนย์เรียนรู้นาอินทรีย์ โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรม-

กิจกรรมหลัก : สรุปประเมินผลและจัดทำชุดความรู้i

4,500.00 25 ผลผลิต

คณะทำงานและสภาผู้นำชุมชนจำนวน 25 คน ร่วมกันสรุปประเมินผลการดำเนินงานของโครงการและการจัดทำชุดความรู้เพื่อการเผยแพร่ต่อไป


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ได้ผลการดำเนินงานของโครงการในระยะของการทำกิจกรรมของแผนงาน ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงของคนในชุนชน เกิดกระบวนการเรียนรู้แลกเปลี่ยนระหว่างคนในชุมชน เกิดกระบวนการร่วมมือกันพัฒนาสร้างชุมชนให้เข็มแข็ง ได้ชุดความรู้การขับเคลื่อนการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้นาอินทรีย์ที่บ้านโคกแย้ม เกิดกระแสการดูแลสุขภาพ เกิดกลุ่มอาชีพและผลิตภัณฑ์ใหม่ของชุมชน/ตำบล(ข้าวสารตรานาท่อม)

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

คณะทำงานและสภาผู้นำชุมชน

4,500.00 4,500.00 25 25 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กิจกรรมสรุปประเมินผลและจัดทำชุดความรู้มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 25 คน ณ ที่ศาลาประจำหมู่บ้าน เวลา 10.30 น เป็นต้น ผู้ร่วมกิจกรรมมีคณะทำงานและสภาผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่เทศบาลนาท่อม
มีวาระพูดคุย 2 ประเด็น 1 ประเมินผลการดำเนินงานโครงการ 2 สังเคราะห์ผลงานเป็นชุดความรู้การทำนาอินทรีย์

  • การประเมินผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของโครงการศูนย์เรียนรู้นาอินทรีย์ที่บ้านโคกแย้ม ได้ปฏิบัติไปตามแผนงานที่วางไว้ เริ่มต้นประชุมสภาผู้นำและคัดเลือกสามาชิกสภาแกนนำเพิ่มศักยภาพเป็นคณะทำงานและสภาผู้ มีการประชุมชน ทบทวน วางแผน ติดตามการดำเนินงาน มีการจัดทำข้อมูลเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำเสนอข้อมูลสู่ชุมชน ข้อมูลพื้นฐานการทำโครงการของหมู่ที่ 2 คือพื้นที่การทำนามีการทำนาแบบใด ระบบภูนิเวศสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างไร ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ มีข้อมูลบ่งบอกถึงการทำแบบเคมีเป็นจำนวนมากของพื้นที่ทุ่งตาลก ประมาณ 80 เปอร์เซนต์ของพื้นที่ สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปสุขภาพคนทำนาเองและคนในชุมชนก็มีสารเคมีตกค้างในเลือดเพิ่มขึ้นมาก สาเหตุมาจากการมาจาการใช้สารเคมีในการเกษตรจึงเป็นที่มาของการทำโครงการเกิดขึ้นมา คือการทำเกษตรอินทรีย์เน้นการทำนาอินทรีย์เป็นตัวหลักเพราะทุ่งตาลกมีพื้นการทำนามากที่สุดของตำบล เริ่มต้นหาข้อมูลและคืนข้อมูลการทำนาข้อเปรีบยระหว่างการทำทั้งเคมี และ นาอินทีย์ให้คนชุมชนรับทราบ ได้ทำกิจกรรมพัฒนาหลักสูตรกระบวนการผลิตข้าวอินทรีย์ชีวภาพครบวงจร ตั้งแต่กระบวนการก่อนผลิต ขั้นตอนการปลูกและดูแลการรักษา และกระบวนการเก็บเกี่ยว เพื่อให้คนในชุมชนได้ศึกษาเรียนรู้และนำไปปฏิบัติได้ จากการดำเนินงานโครงการที่ผ่านคณะทำงานและสภาผู้นำชุมชนได้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงในชุมชนได้ดังนี้
    • ความร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชนเพิ่มขึ้น
    • ความระตืนรืนร้นในเรื่องของการรักษาสุขภาพ การบริโภคผืชผักที่ปลูกเองไม่ใช้สารเคมี เหลือแบ่งปัน และจัดจำหน่ายในร้านค้าชุมชน
    • เด็กเยาวชนมีความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรมและเป็นตัวแทนสื่อสารข้อมูลให้กับคนในชุมชนรับรู้ข้อมูลได้ง่ายและทั่วถึงโดยการแสดงละครหุ่นเงาเปรียบเทียบ การทำนาทั้งสองแบบ
    • สร้างรายได้เพิ่มขึ้นในกับกลุ่มผู้ทำอินทรีย์โดยการแปรรูปจากข้าวเปลือกเป็นข้าวสารเพิ่มมูลค่าติดตรานาท่อม
    • เกิดกลุ่มทำนาอินทรีย์ชีวภาพมีสามาชิกเพิ่มขึ้น
    • เกิดกลุ่มการทำปุ๋ยอินทรีย์ใช้เองในแปลงเกษตร ลด ละ เลิก การใช้สารเคมี ทั้งหมดเป็นผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของโครงการศูนย์การเรียนรู้นาอินทรีย์ที่บ้านโคกแย้ม
    • คณะทำงานร่วมกันสังเคราะห์ผลงานสรุปเป็นชุดความรู้การทำนาอินทรีย์ เป็นชุดความรู้ของการทำนาแบบกระบวนการผลิตข้าวอินทรีย์ชีวภาพครบวงจรตั้งแต่กระบวนการก่อนผลิต เช่นหลักสูตรการปรับปรุงดินหลักสูตรการปรับปรุงน้ำหมัก การเตรียมเมล็ดพันธ์กระบวนการปลูกและการดูและรักษา เช่นหลักสูตรพืชร่วมนา หลักสูตรการกำจัดแมลงศัตรูพืชโดยกระบวนการทางธรรมชาติ และขั้นตอนการเก็บเกี่ยว เช่นหลักสูตรการเกี่ยว หลักสูตรการทำข้าวซ้อมมือ ทั้งหมดนี้สามารถนำมาเป็นชุดความรู้ให้ ได้หลักสูตรการเรียนรู้เพื่อใช้ในศูนย์เรียนรู้ของชุมชนซึ่งสอดคล้องกับความต้องการเรียนรู้และฐานทรัพยากรของชุมชนเอง ที่คนทุกกลุ่ม ทุกวัย สามารถเรียนรู้และนำไปปฏิบัติได้จริง
    • สรูป ได้ผลการดำเนินงานของโครงการในระยะของการทำกิจกรรมของแผนงาน ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงของคนในชุนชน เกิดกระบวนการเรียนรู้แลกเปลี่ยนระหว่างคนในชุมชน เกิดกระบวนการร่วมกันพัฒนาสร้างชุมชนให้เข็มแข็งได้ชุดความรู้การขับเคลื่อนการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้นาอินทรีย์ที่บ้านโคกแย้มต่อไป

กิจกรรมหลัก : พัฒนาสภาผู้นำชุมชนi

8,500.00 25 ผลผลิต

สภาผู้นำจำนวน 25 คนได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านการทำงานเป็นทีมเพื่อพัฒนาหมู่บ้านด้วยการไปดูงานจากหมู่บ้านที่ประสบความสำเร็จ


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ได้เรียนรู้หลักการสร้างหมู่บ้านเข้มแข็งซึ่งต้องใช้คนที่ศักยภาพ ใช้ข้อมูลในการวางแผน ใช้การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ในการจัดการแก้ไขปัญหาชุมชน

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 2 ครั้ง

สภาแกนนำ กลุ่มเด็กเยาวชนบ้านโคกแย้ม ปลัดสำนักเทศบาล เลขานุการนายก

8,500.00 8,500.00 25 25 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการศึกษาดูงาน ได้เรียนรู้การบริหารพื้นที่ชุมชนเข้มแข็ง ต้องมีหลักการดังนี้

  • ปัจจัยที่สำคัญในการพัฒนาหมู่บ้าน คือคนและทุน เริ่มจาการพัฒนาคน หรือบุคลากรให้มีจิตอาสา มีความเสียสละ มีความอดทน มีความตั้งใจได้เข้ามามีส่วนรวมในการพัฒนาหมู่บ้าน มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ให้เหมาะสมกับความสามารถแต่ละบุคคลมีการจัดอบรมพัฒนาศักยภาพในด้านการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การวางแผนงาน การติดตามผลและมีการศึกษาดูงานพื้นที่ที่มีการพัฒนาประสบความสำเร็จเป็นการสร้างแรงจูงใจให้กับแกนนำมีความกระตือรือร้นในการพัฒนาหมู่บ้านร่วมกัน
  • ทุนในการพัฒนาหมู่บ้านได้มาจาก กลุ่ม องค์กร ที่มีอยู่ และขยายกลุ่มให้มีความเข็งแข็งยิ่งขึ้น เช่น กลุ่มออมทรัพย์ มีการจัดการบริหารมาเป็นรูบแบบสหกรณ์เครติดยูเนีบย มีการรับฝากเงิน ถอนเงิน มีการกู้ยืม แบบธนาคาร มีเงินหมุนเวียน ประมาณ 65 ล้านบาทกลุ่มสวนยาง มีการพัฒนามาเป็นรูบแบบสหกรณ์การยาง มีการรับซื้อน้ำยางทั้งตำบล มาแปรรูปเป็นยางแผ่น จัดชำหน่ายเองยังมีอีกหลายกลุ่มที่สามารถมาเป็นทุน และสวัสดิการให้กับคนในชุมชน
  • การศึกษาดูงานของคณะทำงานและสภาผู้นำ เด็กเยาวชน และเจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลนาท่อม ในครั้งนี้ทำให้เกิดการเรียนรู้ในการพัฒนาศักยภาพ ความเป็นผู้นำ เข้าใจ เข้าถึง ให้โอกาศและการประสานงานที่ดี เป็นหัวใจหลักสำหรับผู้นำ ที่จะสามารถสร้างพลัง สร้างแรงจูงใจ ความร่วมมือร่วมใจ ให้เกิดการพัฒนาในชุมชนและการบริหารจัดการทุนที่มีอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ให้กับคนในชุมชนเด็กเยาวชนบ้านโคกแย้มได้เรียนรู้ถึงบทบาทหน้าที่ในการทำงานของแกนนำคนในชุมชน และ เด็กเยาวชน มีความสำคัญ ที่จะช่วยกันพัฒนาหมู่บ้าน ไม่ใช่หน้าที่คนใดคนหนึ่ง ต้องร่วมมือร่วมใจมีความรักความสามัคคีในชุมชนจึงจะสามารถ พัฒนาหมู่บ้านสู่ความเข็มแข็งได้

สภาแกนนำ กลุ่มเด็กเยาวชนบ้านโคกแย้ม ปลัดสำนักเทศบาล เลขานุการนายก

0.00 0.00 25 60 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

แกนนำชุมชน กลุ่มเด็กเยาวชน เจ้าหน้าที่เทศบาลนาท่อมจำนวน 27 คน ได้เดินทางไปดูงานที่ ม. 11 ต.โคกม่่วง อ. เขาชัย จ. พัทลุง การจัดการชุมชนเข็มแข็ง ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2558 ม.11 ต.ม่วงโคกมีการบริหารจัดการหมู่บ้านโดย กลุ่มต่างๆ ให้มีความเชื่องโยงกัน กลายมาเป็นทุน ในการพัฒนาชุมชน โดยแกนนำ และกรรมการของแต่ละกลุ่มเข้ามามีส่วนร่วม มีการจัดประชุม การจัดทำแผนชุมชนเป็นประจำทุกปี แผนชุมชนจะขึ้นอยุ่กับสภาพเศรษฐกิจ และความต้องการของคนในชุมชนเป็นหลัก


ปัจจัยที่สำคัญในการพัฒนาหมู่บ้าน คือคนและทุน เริ่มจาการพัฒนาคน หรือบุคลากรให้มีจิตอาสา มีความเสียสละ มีความอดทน มีความตั้งใจ ได้เข้ามามีส่วนรวมในการพัฒนาหมู่บ้าน มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ให้เหมาะสมกับความสามารถแต่ละบุคคลมีการจัดอบรมพัฒนาศักยภาพในด้าน การเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การวางแผนงาน การติดตามผลและมีการศึกษาดูงานพื้นที่ที่มีการพัฒนาประสบความสำเร็จเป็นการสร้างแรงจูงใจ ให้กับแกนนำมีความกระตือรือร้นในการพัฒนาหมู่บ้านร่วมกัน


ทุนในการพัฒนาหมู่บ้านได้มาจาก กลุ่ม องค์กร ที่มีอยู่ และขยายกลุ่มให้มีความเข็งแข็งยิ่งขึ้น เช่น กลุ่มออมทรัพย์ มีการจัดการบริหารมาเป็นรูบแบบ สหกรณ์เครติดยูเนีบย มีการรับฝากเงิน ถอนเงิน มีการกู้ยืม แบบธนาคาร มีเงินหมุนเวียน ประมาณ 65 ล้านบาทกลุ่มสวนยาง มีการพัฒนามาเป็นรูบแบบ สหกรณ์การยาง มีการรับซื้อน้ำยางทั้งตำบล มาแปรรูปเป็นยางแผ่น จัดชำหน่ายเองยังมีอีกหลายกลุ่มที่สามารถมาเป็นทุน และสวัสดิการให้กับคนในชุมชน


การศึกษาดูงานของคณะทำงานและสภาผู้นำ เด็กเยาวชน และเจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลนาท่อม ในครั้งนี้ทำให้เกิดการเรียนรู้ในการพัฒนาศักยภาพ ความเป็นผู้นำ เข้าใจ เข้าถึง ให้โอกาศและการประสานงานที่ดี เป็นหัวใจหลักสำหรับผู้นำ ที่จะสามารถสร้างพลัง สร้างแรงจูงใจ ความร่วมมือร่วมใจ ให้เกิดการพัฒนาในชุมชนและการบริหารจัดการทุนที่มีอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ให้กับคนในชุมชนเด็กเยาวชนบ้านโคกแย้มได้เรียนรู้ถึงบทบาทหน้าที่ในการทำงานของแกนนำคนในชุมชน และ เด็กเยาวชน มีความสำคัญ ที่จะช่วยกันพัฒนาหมู่บ้าน ไม่ใช่หน้าที่คนใดคนหนึ่ง ต้องร่วมมือร่วมใจมีความรักความสามัคคีในชุมชนจึงจะสามารถ พัฒนาหมู่บ้านสู่ความเข็มแข็งได้

กิจกรรมหลัก : การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตามi

10,000.00 2 ผลผลิต

คณะทำงานของโครงการเข้าร่วมพัฒนาร่วมประชุมกับพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.ทุกครั้ง


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

เข้าใจกระบวนการจัดการโครงการ การทำบัญชีรับจ่าย การรายงานผลผ่านเวบ

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 13 ครั้ง

  • ผู้รับผิดชอบโครงการ 1 คน นางไพเราะเกตุช

  • การเงินโครงการ 1 คนนางนวลจันทร์คงสุด

  • ผู้รายงานผ่านเว็บไซร์ 1 คนนางสาวไพลิน ทิพย์สังข์

1,700.00 1,572.00 3 3 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • แนวทางการบริหารจัดการโครงการ ได้รับความรู้ความเข้าในการบริหารจัด การสร้างความเข้าใจแก่ทีมงานและคณะทำงาน การประสานงานการจัดระบบการทำงานของโครงการ และการแบ่งงาน บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ ของคณะทำงานและแกนนำ การวางแผนงานการดำเนินงานโครงการอย่างเป็นขั้นตอน มีการประชุมพูดคุย ไม่ว่าจะเป็นการประชุมประจำเดือน หรือในวงสภากาแฟ ร้านค้าหมู่คนชุมชนได้แสดงความคิดเห็นสามารถพูกคุยปรึกษาหารึกกัน การทำกิจกรรมแต่ละกิจกรรมต้องกลับพูดคุย ทบทวนผลของกิจกรรมที่ทำไปมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง มีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ มีปัญหาอะไรบ้าง แก้ไขปัญหาอย่างไร สรุปรายละเอียดของกิจกรรมรายงานคณะทำงานและสภาผู้ชุมชนทุกครั้งที่มีการประชุมหมูบ้านให้คนในชุมชนรับทราบความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง
  • การบริหารจัดการความเลี่ยงของโครงการ การทำกิจกรรม ให้ต่อเนื่องรายงานผลกิจกรรมผ่านเว็บไซต์ตามปฏิทินของโครงที่กำหนดไว้ ลงรายงานการเงินตามหนวดหมู่ใหเครบถ้วนตามกิจกรรมที่ทำ
  • การบริหารจัดการแนวทางด้านการเงิน ต้องมีผู้รับผิดชอบหลัก1. หัวหน้าโครงการ 2. ผู้รับผิดชอบโครงการ 3. การเงินโครงการใน จัดทำระบบบัญชีการเงิน- การจ่ายเงินกิจกรรมตามโครงการ รายงานผลการใช้จ่ายเงินของโครงการในที่ประชุมคณะทำงานทุกเดือน ต้องมีเอกสารใบสำคัญรับเงินประกอบการ ในการใช้จ่าย รายละเอียดการลงใบสำคัญรับเงิน
  • ระบบการลงรายละเอียดในเว็บไซต์ ได้ความรู้ความเข้าใจ ในการลงรายละเอีดยขั้นตอนการรายงานกิจกรรม การลงปฏทิน การบันทึกแผนภาพ การบันทึกกิจกรรม การจัดเตรียมเอกสารในการรายงานปิดงวด

หัวหน้าโครงการ ผู้รับผิดชอบโครงการ การเงิน

500.00 500.00 1 3 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เพื่อให้ได้รู้ว่าการถอนเงินคืน ถึงแม้ว่าจะเป็นเงินของเรา แต่ต้องรายงาน กิจกรรมผ่านเว็บไซต์ และต้องทำหลักฐานการเงินด้วยแสดงเป็นเอกสารด้านการเงินประกอบในการตรวจสอบ

1 นาง ไพเราะเกตุชู  ผู้รับผิดชอบโครงการ

2 นางสาวไพลินทิพย์สังข์ ผู้รายงานกิจกรรมผ่านเวบไซต์

3 นางนวลจันทร์คงสุดการเงินโครงการ

400.00 200.00 3 3 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การพัฒนาศักยภาพผู้รับทุนโครงการ ร่วมกับสสส.สจรส. มอ. พี้เสี้ยง จำนวน 3 คน ในการพัฒนาศักยภาพการเขียนรายงานผลการดำเนินการโครงการการจัดการเอกสารการเงิน
การจัดทำรายงานที่ถูกต้อง และการเรียนรู้ด้านการหักภาษีโครงการชุมชนน่าอยู่

  • การเขียนรายงานผลการดำเนินการโครงการเริ่มต้นจากการจดบันทึกรายละเอียด กระบวนการ ทำกิจกรรมปฏิบัติจริงสิ่งที่ทำ ทำกับใคร ทำแล้วได้อะไร เก็บผลข้อมูลที่ได้มาจัดเรียบเรียง ลงรายงาน ผลการดำเนินงานในเว็บไซต์

  • การจัดการเอกสารการเงินและการทำรายงานที่ถูกต้อง จัดเตรียมเอกสารตามรายกิจกรรม ตามรายละเอียดของงบประมาณ การใช้จ่ายมีอะไรบ้าง ลงรายละเอียดให้ครบถ้วน พร้อมเอกสารหลักฐานการเงินจัดเป็นชุดเอกสาร เป็นรายกิจกรรม

  • การหักภาษีโครงการชุมชนน่าอยู่วิธีการหักภาษี ณ ที่จ่าย เริ่มดำเนินการ หักภาษี ณ ที่จ่าย 1%
    สำหรับค่าใช้จ่ายในหมวด ค่าจ้าง ค่าตอบแทน ค่าเช่า ตั้งแต่ จำนวนเงิน 1000 บาท ขึ้นไป เริ่มใช้ 1 ธันวาคม 2558 เป็นต้น

  • ขั้นตอนการการปฏิบัติ เกี่ยวกับภาษี

    1. หัก ณ ที่จ่ายไว้ 1% ของประเภทเงินได้ที่จ่าย

    2.ออกหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย

    3 ออกรายการยท่นแบบแสดงรายการภาษี หัก ณ ที่จ่าย

    4.นำส่ง ภ.ง.ด 3ภายในวันที่ 1-7 ของเดือนถัดไป เดือนที่จ่ายเงินไว้

  • แบ่งกลุ่มปฎิบัติการจัดทำรายงานการเงินที่ถูกต้อง ได้มีการตรวจสอบเอกสารหลักฐานที่ทำมาดูความเรียบร้อย ในการลงรายละเอียดต่างๆการลงค่าใช้จ่ายตามหมวด แนะนำการจัดเตรียมเอกสารให้ครบถ้วนสมบรูณ์

การพัฒนาศักยภาพผู้รับทุนโครงการครั้งนี้ได้รับความรู้ความเข้าใจในด้าน การเขียนรายงานผลดำเนินงานโครงการ การจัดการเอกสารการเงิน การรายงานการเงิน การหักภาษี ณ ที่จ่าย เป็นความรู้ใหม่ในการทำโครงการวิธีการ ขั้นตอนการหัก ภาษี ผู้เข้าร่วมทั้ง 3 คนได้เข้าใจทุกกระบวนการมากยิ่งขึ้นสามารถนำปฎิบัติทำจริงได้ตามหน้าที่ของแต่ละคน

  ผู้จัดการโครงการ ผู้รายงานกิจกรรมผ่านเว็ปไซส์

400.00 200.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • การจัดเตรียมเอกสารหลักฐานการเงิน และการรายงานกิจกรรมผ่านเว็ปไซส์โครงการศูนย์เรียนนาอินทีย์ที่บ้านโคกแย้ม มีผู้รับผิดโครงการและผู้รายงานกิจกรรมในเว็ปไซส์ เข้าร่วมรับ ฟัง การสร้างความเข้าใจในเรื่องของการจัดเตรียมเอกสารหลักฐาน การเงินได้อย่างถูกต้อง และการรายงานกิจกรรมของโครงการให้เป็นปัจจุบัน พร้อมทั้งลงรายละเอียดในครบถ้วน

ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้รายงานกิจกรรมผ่านเวปไซต์

0.00 0.00 3 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การดำเนินงานเป็นไปตามแผน

เอกสารหลักฐานการเงินถูกต้อง ครบถ้วน

รายงานกิจกรรมผ่านเว็ปเป็นปัจจุบัน

พร้อมรับการตจรวจจาก สจรส.มอ.

  ผู้รับผิดชอบโครงการ เจ้าหน้าที่การเงิน ผู้รายงานกิจกรรมผ่านเว็ปไซส์

1,000.00 752.00 3 3 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การส่งเอกสารการเงินส่งตรวจ ความถูกต้องเพื่อปิดงวดที่1 โครงการศูนย์เรียนนาอินทรีย์ที่บ้านโคกแย้ม มีคณะทำงานจำนวน 3 คน มี ผู้รับผิดชอบโครงการ เจ้าหน้าที่การเงินโครงการ ผู้รายงานกิจกรรมผ่านเว็ปไซส์

เอกสารที่ต้องดูความถูกต้องเรียบร้อย 1. เอกสารหลักฐานการเงิน 2. การรายงานผลการดำเนินงานของโครงการ โดยเจ้าหน้าที่ สจรส. และพี่เสี้ยง

  • ส่งเอกสารหลักฐานการเงิน ตรวจ โดย นายญัตติพงษ์แก้วทอง ทั้งหมด 19 ชุดครบถ้วนถูกต้อง

  • การรายงานผลการดำเนินการของโครงการโดย นายญัตติพงษ์แก้วทองทั้งหมด 19กิจกรรม รายงานกิจกรรมเป็นปัจจุบัน ถูกต้องสมบรูณ์
    เอกสารหลักฐานการเงิน และ รายงานผลการดำเนินงานของโครง ถูกต้องสมบรูณ์ ปิดงวดที่ 1

จำนวน 3 คน
1. นางไพเราะเกตุชูผู้รับผิดรับโครงการ

  1. นางนวลจันทร์ คงสุด การเงินโครงการ

  2. นางสาวไพลิน ทิพย์สังข์ผู้รายงานกิจกรรมผ่านเวปไซส์

600.00 200.00 3 3 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การติดตามความก้าวของโครงการร่วมกับพี้เสี้ยงโครงการครั้งนี้ เป็นครั้งที่ 4 ผู้เข้าร่วมของโครงศูนย์การเรียนรู้นาอินทรีย์ที่บ้านโคกแย้ม จำนวน 3 คน 1.คุณไพเราะ เกตุชู ผู้รับผิดชอบโครงการ2. คุณนวลจันทร์ คงสุด การเงินโครงการ 3. คุณไพลิน ทิพย์สังข์ ผู้รายงานกิจกรรมผ่านเวปไซส์ ที่เทศบาลตำบลนาท่อม อ.เมือง จ. พัทลุง โดยมีคณะทีมพี้เสี้ยงค่อยต้อบรับ

  • คุณเสณีจ่าวิสูตกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมโครงการ และชี้แจงจึงรายละเอียดของการติดตามความก้าวหน้าโครงการในงวดที่ 2 ในเรื่องของ
  1. ติดตามความก้าวหน้าผลดำเนินงาน
  2. ตรวจสอบความถูกต้องสมบรูณ์ของรายงานในเวบไวส์
  3. ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารการเงิน
  4. ปรับแผนการดำเนินงานให้สามารถปิดได้ตามที่กำหนดไว้ในโครงการ
  5. ต้องมีรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการต่อสภา/ที่ประชุมหมู่บ้านประจำเดือนสิงหาคม
  6. เงือนไขของ สสส. กรณีที่กิจกรรมใดไม่ภาพถ่ายและรายละเอียดสรุปของกิจกรรมจะระงับการจ่ายเงินในกิจกรรมนั้นๆ
  7. ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงานตามโครงการ
  8. เรื่องอื่นๆ
  • คุณจุรีหนูผุด ชี้แจงรายละเอียดการลงรายงานในเวปไซส์ เอกสารหลักฐานการเงินความถูกต้องสมบรูณ์ การลงกิจกรรมแต่ละครั้งต้องตรงกับปฏิทินโครงการ สามารถการปรับเปลี่ยนแก้ไขปฏิทินได้ให้ตรงกับวันที่ที่ทำกิจกรม ให้ลงรายละขั้นตอนการทำกิจกรรมรายละเอียดให้มีเนื้อหาสารที่ชัดเจนตามกระบวนการปฏิบัติจริงของกิจกรรม ทำกิจกรรรมอะไรทำอย่างไร ทำกับใคร และได้อะไรจากทำกิจกรรรมการลงค่าใช้จ่ายให้ตรงกับประเภทรายจ่ายส่วนมากจะมีปัญหาในการแยกประเภทไม่ถูก ให้ดูรายละเอียดการแยกประเภทได้ที่แบบสรุปรายงายการเงิน ได้แยกค่าใช้จ่ายเป็นเภทแล้ว และลงภาพถ่ายกิจกรรมที่ทำด้วย รายงานจะสมบรูณ์ถูกต้องได้ต้องประกอบทั้งการรายงานกิจกรรมต้องลงค่าใช้จ่ายตรงประเภทจต้องมีภาพถ่ายที่ทำกิจกรรรมจึงจะถือว่ารายงานเสร็จสมบรูณ์

  • ฟังการชี้แจงรายละเอียดการติดตามความหน้าของโครงการและรายละเอียดการลงรายงานในเวปไซส์ การเงินและการแยกประเภทค่าใช้จ่ายแล้ว ส่งเอกสารหลักฐานการเงิน และการรายงานกิจกรรมผ่านเวบไซส์ ให้พี้เสี้ยงแต่ละพื้นที่ดูความถูกต้อง แนะนำเพิ่มเติมในส่วนที่ไม่สมบรูณ์พื้นที่ศูนย์การเรียนรู้นาอินทรีย์ที่บ้านโคกแย้ม ส่งเอกสารและรายงานผ่านเวบไซส์ ให้ คุณสมนึกนุ่นด้วง ซึ่งเป็นพี้เสี้ยงพื้นที่ ดูความถูกต้องพี้เสี้ยงแนะนำเรื่องการลงรายละเอียดในใบสำคัญรับเงิน ต้องอธิบายรายละเอียดให้ชัดเจน ครบถ้วนรายงานผ่านเวบไซส์ต้องเพิ่มเติม ผลผลิต ผลลัพธ์ ที่เกิดขึ้นจริง และสรุปเนื้อหาสาระได้อะไรบ้างในการทำกิจกรรมในแต่ละ ภาพถ่ายให้สอดคล้องกับกิจกรรมแนะนำการปรับแผนการดำเนินการทำกิจกรรมให้สามารถปิดได้ตามแผน ต้องมีการรายงานผลดำเนินงานโครงการต่อสภา/ที่ประชุมประจำเดือน ถ้าไม่เข้าใจในการลงรายงานใเวบไซส์ การลงรายละเอียดเอกสารหลักฐานการเงินให้ติิดต่อสอบถามจากพี่เสี้ยง

  • สรุปการติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินงานของโครงการครั้งนี้ ผู้เข้าร่วม

  1. ได้เรียนรู้การลงรายละเอียดการรายงานผลกิจกรรรมผ่านเวบไซส์มากยิ่งขึ้น
  2. ได้เรียนรู้การลงรายละเอียดเอกสารการเงินที่ถูกต้องและเข้าใจในเรื่องการแยกประเภทค่าใช้จ่าย จะได้นำไปใช้ได้ถูกต้อง
  3. ได้พบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการดำเนินงานของแต่ละโครงการ

ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้รายงานกิจกรรมผ่านเวปไซต์ การเงินโครงการ

0.00 0.00 3 3 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การดำเนินงานเป็นไปตามแผน เอกสารหลักฐานการเงินถูกต้อง ครบถ้วน รายงานกิจกรรมผ่านเว็ปเป็นปัจจุบัน พร้อมรับการตรวจจาก สจรส.มอ.

ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้รายงานกิจกรรมผ่านเวปไซส์

3,152.00 3,152.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • การเข้าร่วมงานสร้างสุขภาคใต้ ในครั้งนี้โครงการศูนย์เรียนรู้นาอินทรีย์ที่บ้านโคกแย้ม มีผู้เข้าร่วม จำนวน 2 คน ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้รายงานกิจกรรมผ่านเวบไซสต์ ร่วมรับฟังสถานการณ์สุขภาวะการขับเคลื่อนเครือข่ายสุขภาวะภาคใต้ ได้รับรู้ถึงสถานการณ์สุขภาวะและได้เรียนรู้ถึงกระบวนการประสานงานภาคีเครือข่ายในการขับเคลื่อนงานในหน่วยงานต่่างๆที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสุขภาพ ได้เข้าร่วมรับฟังการเสนวนาของพื้นที่ชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่หลายๆพื้นที่มาพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการทำงาน แนวทางการทำงาน การวางแผนงาน การบริหารจัดการคน พบเจออุปสรรคอะไร แก้ไขอย่างไร ที่จะให้โครงการดำเนินงานได้ตามแผนงาน ตามวัถตุประสงค์ ให้เห็นผลต่อชุมชน และได้พบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับพื้นที่ต่างๆที่มาออกบูธ เห็นถึงความร่วมมือร่วมใจของแต่ละพื้นที่ ความตั้งใจที่จะมานำเสนอพื้นที่ให้คนที่เข้าร่วมงานได้รู้จัก ถึงกระบวนการทำงาน และผลงานเด่นมีอะไรบ้าง เป็นสร้างแรงจูงใจที่ดีสำหรับคนทำงานด้วยกัน

ผู้รับผิดชอบ

การเงิน

ผู้รายงาน

0.00 0.00 3 3 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

รายงานครบถ้วน

เอกสารการเงินครบถ้วน

รายงานการเงินถูกต้องเรียบร้อย

คุณไพเราะ เกตุชู ผู้รับผิดชอบโครงการ

คุณนวลจันทร์ คงสุด การเงินโครงการ

คุณไพลิน ทิพย์สังข์ ผู้รายงานกิจกรรมผ่านเว็บไซต์

600.00 200.00 3 3 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จัดเตรียมเอกสารหลักฐากการเงินและรายงานกิจกรรมผ่านเว็บไซต์ส่งตรวจสอบความถูกต้อง โดยทีมพี้เสี้ยงโครงการ ที่เทศบาลตำบลนาท่อม อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง มีคณะทำงานโครงการศูนย์การเรียนรู้นาอินทรีย์ที่บ้านโคกแย้ม เข้าร่วม จำนวน 3 คนมีผู้รับผิดชอบโครงการ การเงินโครงการ ผู้รายงานกิจกรรมผ่านเว็ปไซส์ มีการตรวจสอบ 2 ครั้ง ครั้งที่1โดยพี่เสี้ยงโครงการ ครั้งที่2 โดยคุณจุรีย้หนูผุด

  • ส่งเอกสารหลักฐานการเงินรายงานกิจกรรมผ่านเว็บไซต์ ตรวจสอบโดย คุณสมนึกนุ่นด้วง พี่เสี้ยงโครงการ

    1. เอกสารหลักฐานการเงิน ตรวจสอบเป็นรายกิจกรรม มีข้อมูลรายละเอียด เอกสารประกอบการเงิน รายละเอียดงบประมาณ ถูกต้อง สมบรูณ์
    2. รายงานกิจกรรมผ่านเว็บไซต์มีรายละเอียดขั้นตอนกระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริงมีผลที่เกิดขึ้นจริง ผลผลิต ผลลัพธ์ ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม มีรูปภาพประกอบกิจกกรรม สมบรูณ์ครบถ้วน
  • ส่งเอกสารหลักฐานการเงิน รายงานกิจกรรมผ่านเว็บไซต์ ตรวจสอบ คุณ จุรีย์หนูผุด

    1. เอกสารหลักฐานการเงิน ตรวจสอบหลักฐานการเงิน เอกสารประกอบการเงิน การแยกประเภทค่าใช้จ่ายให้ตรงกับหมวดหมู่ การหักภาษี ณ ที่จ่ายถูกต้อง ครบถ้วน สมบรูณ์
    2. รายงานกิจกรรมผ่านเว็บไซสต์ตรวจสอบรายงานการใช้เงิน ประเภทของรายจ่าย ถูกต้อง
  • สรุป กิจกรรมติดตามความก้าวโครงการโดยทีมพี่เสี้ยง ได้มีการตรวจสอบเอกสารหลักฐานการเงิน การรายงานกิจกรรมผ่านเว็บไซต์ของแต่ละโครงการ โครงการศูนย์การเรียนรู้นาอินทรีย์ที่บ้านโคกแย้ม ได้ส่งเอกสารหลักฐานการเงินและการรายงานกิจกรรมผ่านเว็บไซต์ ตรวจสอบโดยทีมพี่เสี้ยง เอกสารและการรายงาน ถูกต้องพร้อมที่จะส่งตรวจสอบ โดย สจรส. สสส. ในวันที่ 29-30 ตุลาคม 2559 ณ วิทยาลัยภูมิปัญญาชุมชน เพื่อปิดโครงการ

  • คุณไพเราะ เกตุชูผู้รับผิดชอบโครการ
  • คุณนวลจันทร์ คงสุดการเงินโครงการ
  • คุณไพลิน ทิพย์สังข์ผู้รายงานกิจกรรมผ่านเว็บไซต์
1,648.00 240.00 3 3 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประชุมปิดโครงการ จัดทำรายงานสมบรูณ์ โครงการศูนย์การเรียนรู้นาอินทรีย์มีคณะทำงานเข้าประชุม จำนวน 3 คน มีผู้รับผิดชอบโครงการ การเงินโครงการผู้รายงานกิจกรรมผ่านเว็บไซต์ รับฟังการชี้แจงการตรวจเอกสารหลักฐานการเงิน และการรายงานกิจกรรมผ่านเว็ตไซต์ ตรวจสอบความถูกต้อง สมบรูณ์เพื่อปิดโครงการ

  • ส่งเอกสารหลักฐานเงิน ตรวจสอบความถูกต้อง
  • ส่งรายงานกิจกรรมผ่านเว็บไซต์ ตรวจสอบความถูกต้อง - สรุปการตรวจเอกสารหลักฐานการเงินถูกต้อง รายงานกิจกรรมผ่านเว็บไซต์ถูกต้องสมบูรณ์ พร้อมออกรายงานฉบับสมบูรณ์

ผู้รับผิดชอบโครงการ การเงินโครงการ ผู้รายงานกิจกรรมผ่านเว็บไซต์

0.00 0.00 2 3 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เอกสารการเงิน การรายงานกิจกรรมผ่านเว็บไซต์ ถูกต้อง ครบถ้วน

กิจกรรมหลัก : ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ ถ่ายภาพกิจกรรม และจัดทำรายงานi

3,000.00 2 ผลผลิต

เข้าใจกระบวนการจัดการโครงการ การทำบัญชีรับจ่าย การรายงานผลผ่านเวบ


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

มีผู้ให้ความสนใจและร่วมมือไม่สูบบุหรี่ในช่วงทำกิจกรรม

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 3 ครั้ง

สามาชิกของโครงการแและผู้เข้าร่วมทำกิจกรรม 

1,000.00 1,000.00 60 60 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • จ้างทำป้ายเขตปลอดบุหรี ตามขนาดที่ สสส. กำหนด และนำมาใช้ติดเป็นป้ายบอกสถานที่ปลอดบุหรี่ทุกครั้งที่ทำกิจกรรมของโครงการ ส่วนนอกเวลาทำกิจกรรมสภาแกนนำมีมติให้ติดไว้ที่ศาลาหมู่ บ้านเพื่อให้ทุกครั้งที่มีการทำกิจกรรมของชุมน ณ ศาลาแห่งนี้ ให้สถานีทีนี้เป็นเขตปลอดบุหรี่

ผู้รายงานกิจกรรมผ่านเว็บไซต์

1,000.00 1,000.00 1 1 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้รูปภาพประกอบกิจกรรมโครงการในการรายงานกิจกรรรมผ่านเว็บไซต์ครบถ้วนสมบรูณ์ในทุกกิจกรรมพร้อมตรวจสอบความถูกต้อง

ผู้รับผิดชอบโครงการ การเงินโครงการ ผู้รายงานกกิจกรรมผ่านเว็บไซต์

1,000.00 1,000.00 3 3 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้จัดเตรียมเอกสารหลักฐานการเงิน ตรวจสอบความถูกต้องรายละเอียดในใบสำคัญรับเงิน บิลเงินสด รายละเอียดการหักภาษี ณ ที่จ่าย เอกสารประกอบใบสำคับรับเงิน
  • ได้จัดทำเอกสารหลักฐานการเงินประกอบเป็นชุดกิจกรรม ทุกกิจกรรมเป็นที่เรียบร้อย
  • ได้ตรวจสอบรายงานกิจกรรมผ่านเว็บไซต์ มีความสมบรูณ์ของเนื้อหาสารที่สำคัญ มีภาพประกอบกิจกรรมทุกกิจกรรม
  • ได้ลงบันทึกรายงานผ่านเว็บไซต์ ให้ถูกต้อง ครบถ้วน ในทุกเนื้อหาสาระของกิจกรรม พร้อมสรุปสาระสำคัญ

โดย ผู้รับผิดชอบโครงการ มอบหมายให้นางสาวไพลินทิพย์สังข์ เป็นผู้รายงานกิจกรรมผ่านเว็บไซต์ มีข้อมูลถูกต้องครบถ้วนสมบรูณ์ พร้อมตรวจสอบ จาก พี้เสี้ยง สจรส. สสส.

2.3.1 นวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ

(นวัตกรรมคือ การจัดการความคิด กระบวนการ ผลผลิต และ/หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสม มาใช้งานให้เกิดประสิทธิผล และ/หรือประสิทธิภาพมากกว่าเดิมอย่างชัดเจน)

ชื่อนวัตกรรมคุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรมผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์
2.3.2 โครงการเด่น (Best Practice)

(โครงการเดิ่น คือ โครงการสร้างเสริมสุขภาพให้สัมฤทธิ์ผลที่เป็นรูปธรรมแล้วขยายผลอย่างยั่งยืน โดยแนวคิดกระบวนการ และผลงาน สามารถเป็นตัวอย่างที่จะนำไปขยายผลในชุมชน (Setting) อื่น ๆ ได้ การดำเนินงานมีส่วนร่วมของภาคีที่หลากหลาย มีการบริหารจัดการที่ดี โปร่งใสและตรวจสอบได้)

ชื่อ Best Practiceวิธีการทำให้เกิด Best Practiceผลของ Best Practice / การนำไปใช้ประโยชน์
2.3.3 เกิดแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการสร้างเสริมสุขภาพในประเด็นต่าง ๆ
ชื่อ-สกุลที่อยู่ติดต่อได้สะดวกคุณสมบัติแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลง
2.3.4 มีสภาพแวดล้อมและปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพ

เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพในชุมชนพื้นที่โครงการดังนี้

สถานที่/พื้นที่ ที่เปลี่ยนแปลงรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

ส่วนที่ 3 : ปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงาน

3.1 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเด็นปัญหา/อุปสรรคการแก้ไขของผู้รับทุนข้อเสนอแนะ/การแก้ไขปัญหาและการเสริมพลังของผู้ติดตาม
3.2 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเภทความเสี่ยง / ปัจจัยเสี่ยงระดับความเสี่ยง
(จากมากไปหาน้อย)
ข้อมูล ข้อสังเกตุ และข้อคิดเห็นของผู้ติดตาม
3210
1. ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน (Operational Risks)
1.1 โครงสร้างการดำเนินงาน

 

1.2 ศักยภาพและทักษะการดำเนินงาน

 

1.3 ผลลัพธ์และผลสำเร็จของการดำเนินงาน

 

2. ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risks)
2.1 ระบบและกลไกการบริหารจัดการ

 

2.2 การใช้จ่ายเงิน

 

2.3 หลักฐานการเงิน

 

ผลรวม 0 0 0 0
ผลรวมทั้งหมด 0 ระดับความเสี่ยง : ???
เกณฑ์วัดระดับความเสี่ยง ???
สรุปการแก้ไขความเสี่ยง แก้ไขแล้ว ยังไม่ได้แก้ไข

ส่วนที่ 4 : สรุปความเห็นของผู้ติดตาม

ส่วนที่ 4สรุปความเห็นของผู้ติดตาม
4.1 กรณีเบิกเงินงวด/ติดตามเยี่ยมชม มีแนวโน้มสำเร็จตามเป้าหมายโครงการและติดตามปกติ
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

 

มีแนวโน้มเสี่ยง ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจาก
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

 

มีความเสี่ยง ต้องยุติโครงการ เนื่องจาก
4.2 กรณีสรุปปิดโครงการ ดำเนินงานได้ตามแผนปฏิบัติการและสามารถปิดโครงการได้
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

เอกสารหลักฐานประกอบการเบิกจ่ายครบถ้วนตรวจสอบ

การใช้จ่ายเงินตรงตามหมวดหมวดรายจ่าย และได้หักภาษี ณ ที่จ่ายส่งสรรพากรถูกต้องตามกฎหมาย

การทำบัญชีถูกต้องตามหลักฐานการจ่าย

การรายงานกิจกรรมผ่านเว็บไซต์เสร็จสิ้นสมบรูณ์

เห็นสมควรปิดงบโครงการได้ตามปกติ

ไม่เป็นไปตามแผนปฏิบัติการ ให้ดำเนินการจัดระบบการเงิน ระบบรายงานให้ถูกต้องก่อนปิดโครงการ
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

 

ส่วนที่ 5 : สรุปภาพรวมของการติดตามประจำงวด (ข้อสังเกต/สิ่งดีๆ ที่ค้นพบ/ข้อพึงระวัง/บทเรียนที่ได้)

  • เกิดความต่อเนื่องของสภาผู้นำที่มีประชุมร่วมกันทุกเดือน และมีทักษะเพิ่มขึ้น

  • เกิดองค์ความรู้การทำนาอินทรีย์(ปลอดสารเคมี)

  • เกิดสินค้าชุมชน "ข้าวสารตรานาท่อม"
  • เกิดกลุ่มเด็กเยาวชนที่ไปขับเคลื่อนงานอื่นๆในชุมชนต่อไป
  • สรุปภาพรวม โครงการศูนย์การเรียนรู้นาอินทรีย์ที่บ้านโคกแย้ม ดำเนินกิจกรรมตามแผนงาน เสร็จสิ้นตามเวลาที่กำหนด ทางชุมชนมีความสนใจที่ดำเนินงานของโครงต่อไปถึงแม้จะหมดงบประมาณของ สสส. แล้วก็ตาม

สร้างรายงานโดย ฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์