directions_run

ส่งเสริมต้นแบบการเลี้ยงปลาดุกปลอดภัยชุมชนหานโพธิ์

assignment
บันทึกกิจกรรม
ค่าเปิดบัญชีธนาคาร30 กันยายน 2021
30
กันยายน 2021รายงานจากพื้นที่ โดย Churee
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้รับทุนโครงการได้ยืมเงินทดรองจ่ายค่าเปิดบัญชีธนาคาร

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้รับทุนโครงการได้รับเงินยิืมทดรองจ่ายคืนแล้ว

ส่วนที่ สสส. สนับสนุนเพิ่มเติม ใช้จ่ายในงวดที่ 2/25636 สิงหาคม 2021
6
สิงหาคม 2021รายงานจากพื้นที่ โดย Fishhanpho
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. รับแจ้งประสานงานเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมจากพี่เลี้ยงโครงการของ หน่วยจัดการ Node Flagship พัทลุง 2563
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. เข้าร่วมกิจกรรมการตรวจเอกสารทางการเงิน เพื่อปิดงวดการเงินของโครงการ งวดที่ 1 วันที่ 14 พฤศจิกายน 2564
  2. เข้าร่วมกิจกรรมการประชุมประเมินผลการเรียนรู้เพื่อการพัฒนา ARE วันที่ 20 มีนาคม 2564
  3. จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่ และ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สำหรับติดในสถานที่กิจกรรมโครงการส่งเสริมต้นแบบการเลี้ยงปลาดุกปลอดภัยชุมชนหานโพธฺิ์
กิจกรรมที่ 12 เวทีสรุปผลการดำเนินงาน30 เมษายน 2021
30
เมษายน 2021รายงานจากพื้นที่ โดย Fishhanpho
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. เลขากลุ่มช่วยประสานงานสมาชิกในโครงการส่งเสริมต้นแบบการเลี้ยงปลาดุกปลอดภัยชุมชนหานโพธิ์ และประชาชนที่สนใจทั่วไป เพื่อแจ้งวันที่ เวลา และสถานที่เข้าร่วมเวที การสรุปผลการดำเนินงานการเลี้ยงปลาดุกปลอดภัย
  2. ประสานงานผู้จัดเตรียมอาหารและเครื่องดื่ม
  3. จัดเตรียมสถานที่ หรือเอกสาร และวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในกิจกรรม เช่น บอร์ดและกระดาษรองเขียน ปากกาเคมี เครื่องฉายโปรเจคเตอร์ เป็นต้น
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการดำเนินโครงการส่งเสริมต้นแบบการเลี้ยงปลาดุกปลอดภัยชุมชนหานโพธิ์ มาเป็นระยะเวลา 10 เดือน ได้ผลสรุปการดำเนินงานตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ดังนี้

1. เกิดกลไกการบริหารจัดการ การผลิตอาหารโปรตีนที่ปลอดภัย โครงการได้เริ่มต้นด้วยสมาชิกทั้งหมด 10 ราย จากการรับสมัครชาวบ้านในชุมชน โดยแต่ละคนจะต้องมีแหล่งน้ำสำหรับเลี้ยงปลาได้ รวมทั้งจะต้องยึดถือและปฎิบัติตาม..กฎกติกาของกลุ่ม 10 ประการ คือ

1) สามารถเข้าร่วมการประชุมกลุ่มประจำเดือน รวม 10 เดือน เพื่อสร้างความเข้าใจ แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น การรับทราบผลการทำงาน และการแก้ปัญหาร่วมกันตามแต่สถานการณ์

2) จัดหากระชังขนาดกว้างคูณยาวไม่ต่ำกว่า 2x3 เมตร สำหรับใช้เลี้ยงปลาดุกของโครงการที่ทำการแจกให้สมาชิกไปทดลองเลี้ยงคนละ 200 ตัว

3) ปลาดุกที่ใช้ในโครงการ คือ ปลาดุกพันธุ์บิ๊กอุยเท่านั้น เพราะเป็นที่นิยมของตลาด และสามารถนำไปแปรรูปได้หลากหลาย

4) ห้ามใช้อาหารเลี้ยงปลาดุกจากที่อื่น ให้ใช้อาหารจากโครงการจัดหา หรือผลิตขึ้นเท่านั้น เพื่อความปลอดภัย และเพื่อง่ายต่อการบันทึกและนำข้อมูลไปคำนวนหาต้นทุนค่าอาหารปลาได้

5) มีการบันทึกข้อมูลการให้อาหารปลา น้ำหนักปลา ตามแบบฟอร์มที่โครงการจัดให้

6) เก็บตัวอย่างน้ำของบ่อที่จะใช้เลี้ยงปลาดุกปลอดภัย เพื่อส่งตรวจก่อนเลี้ยงจริง เพื่อศึกษาสภาพน้ำเบื้องต้น

7) สามารถปลูกพืชที่ใช้ทำอาหารปลาตามสูตรที่โครงการกำหนดได้

8) ต้องเว้นหรือแบ่งปลาดุกที่เลี้ยงโตแล้วไว้ประมาณ 1 กิโลกรัม ให้โครงการ เพื่อใช้ในการตรวจรับรองมาตรฐานการผลิตสัตว์น้ำขั้นปลอดภัย (Safety Level) กับศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพัทลุง

9) สามารถบอกต่อผู้อื่นที่สนใจ ถึงองค์ความรู้ที่ได้รับจากโครงการ เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาชุมชนได้

10) สามารถพัฒนาเป็นบ่อเรียนรู้ปลาดุกปลอดภัยของโครงการได้ ถ้าโครงการคัดเลือก

2. เกิดกระบวนการเรียนรู้วิธีการผลิตอาหารโปรตีนที่ปลอดภัย โครงการได้จัดให้มีการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงปลาดุก ในหัวข้อต่างๆ ดังนี้

1) วิธีการเตรียมบ่อปลา การปรับสภาพน้ำ และการสร้างกระชังปลา

2) วิธีการคัดเลือกพันธุ์ปลาดุกบิ๊กอุย

3) การออกแบบสูตรอาหารปลาดุกปลอดภัย และเทคนิคการให้อาหารปลา ที่มีคุณค่าทางอาหารตรงตามช่วงวัยของอายุ เพื่อให้ปลาดุกมีความเจริญเติบโต แข็งแรง และมีภูมิต้านทานโรค

4) การจดบันทึกข้อมูลการเลี้ยง เพื่อประสิทธิภาพของผู้เลี้ยงปลา ที่จะได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลในการเลี้ยงปลาครั้งต่อไป

5) การตรวจรับรองมารตฐานการผลิตสัตว์น้ำขั้นปลอดภัย (Safety Level : SL)

3. เพื่อให้เกิดการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการผลิตอาหารโปรตีนที่ปลอดภัย การเลี้ยงปลาให้ได้ดี มีความปลอดภัยต่อการบริโภคนั้น...จะต้องเริ่มที่ใจ ทั้งนี้ทางโครงการได้ตระหนักดีว่า..การสร้างกำลังใจและความมั่นใจแก่สมาชิกด้วยกันนั้นมีความจำเป็น จึงได้จัดให้มีกิจกรรม..ที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน ดังนี้

1) กิจกรรมลงพื้นที่..เพื่อติดตามพูดคุยแลกเปลี่ยนปัญหา และเพื่อการเก็บข้อมูลการเลี้ยงปลาของสมาชิก ประโยชน์ที่ได้รับ คือ ได้เห็นสภาพแวดล้อมของบ่อเลี้ยงปลาและเห็นการเจริญเติบโตของลูกปลา ในสถานการณ์จริง ก่อให้เกิดการเปรียบเทียบระหว่างสมาชิกด้วยกันว่า..การเจริญเติบโตของปลานั้นเป็นไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่ หากใครปลาไม่โต หรือโตช้า ก็จะได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์ว่ามาจากสาเหตุอะไร จะได้แก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที ข้อนี้ถือว่าได้ประโยชน์ในเรื่องการฝึกคิดและวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกัน

2) กิจกรรมประชุมกลุ่มประจำเดือน ช่วยทำให้เกิดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ดียิ่งขึ้น ก่อให้เกิดวิธี เทคนิค เคล็ดลับใหม่ๆ เกี่ยวกับการเลี้ยงปลาดุก ให้ได้ผล หรือแม้แต่การแก้ปัญหาด้านต่างๆ สมาชิกจะช่วยกันบอกเล่าธีการแก้ไขได้ตรงจุด ไม่เสียเวลาลองผิดลองถูก ถือเป็นการสร้างประสบการณ์ร่วมกันของสมาชิก และสามารถตกผลึกเป็นบทเรียนแก่ชุมชนได้

3) กิจกรรมส่งเสริมให้มีการปลูกพืชอาหารสัตว์ เพื่อประโยชน์ในการลดต้นทุนค่าอาหารปลา และช่วยสร้างรายได้เสริม เพราะพืชอาหารนั้นสามารถนำไปขายให้แก่สมาชิกท่านอื่นได้ ทั้งนี้ทางโครงการจะเป็นผู้ช่วยจัดหาพันธุ์พืชและปุ๋ยอินทรีย์มาให้สมาชิกในระยะเริ่มต้นปลูก

4) การจัดให้มีบ่อเรียนรู้การเลี้ยงปลาดุกปลอดภัย เพื่อเป็นตัวอย่างของชุมชน และสังคม และตัวผู้เลี้ยงเองก็จะเกิดความภาคภูมิใจ ที่เห็นความสำเร็จจากการเพียรพยายามผลิตอาหารปลอดภัยมาบริโภคเอง และจำหน่ายแก่ผู้อื่นได้

4. เพื่อให้เกิดต้นแบบการเลี้ยงปลาดุกปลอดภัย ผลการเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยของทางกลุ่ม ด้วยวิธีการจัดการ ทั้งการผลิตอาหารปลาขึ้นเอง และเทคนิคการให้อาหารปลาตามช่วงวัยนั้น ให้ผลเป็นที่น่าพอใจ โดยการตรวจวัดผลจะวัดจากขนาดปลาที่มีอายุ 3.5 เดือน และมีน้ำหนัก 5ตัวต่อกิโลกรัม ดังนี้

1) ปลาดุกบิ๊กอุยมีอัตราการเจริญเติบโตด้วยอัตราแลกเนื้อ(Feed Conversion) เท่ากับ 1.1 : 1 ซึ่งหมายถึงปลาดุกกินอาหารไป 1.1 กิโลกรัม ได้น้ำหนักเนื้อปลามา 1 กิโลกรัม อาหารปลาที่มีอัตราแลกเนื้อต่ำ จะทำให้เกษตรกรได้ผลกำไรเพิ่มขึ้น

โดยค่าเฉลี่ยอัตราแลกเนื้อของปลาดุก...จากประสบการณ์ที่เคยเลี้ยงของคนทั่วไปด้วยการใช้อาหารเม็ดที่ซื้อจากตลาดจะอยู่ที่ 1.5 : 1 นั่นแสดงให้เห็นว่าสูตรอาหารที่ทางกลุ่มคิดและผลิตขึ้น ช่วยให้ปลาดุกเจริญเติบโตได้ดี และเกษตรกรสามารถลดต้นทุนค่าอาหารได้ แต่ทั้งนี้การให้อาหารที่เหมาะสมตามช่วงวัยของปลา ก็มีผลต่อการเจริญเติบโตเช่นเดียวกัน เช่น ปลาที่อายุยังน้อยควรจะได้รับอาหารที่มีโปรตีนสูงกว่าปลาในวัยโต เพราะปลาวัยเล็กเป็นวัยที่กำลังสร้างการเจริญเติบโตของอวัยวะต่างๆ

2) อาหารปลาที่ทางกลุ่มผลิตขึ้น มีต้นทุนค่าเฉลี่ย ดังนี้

2.1) อาหารปลาดุกโปรตีน 32% ...ต้นทุนกิโลกรัมละ 17 บาท

2.2) อาหารปลาดุกโปรตีน 28% ...ต้นทุนกิโลกรัมละ 15 บาท

3) การเลี้ยงปลาด้วยวิธีการผลิตอาหารปลาขึ้นใช้เองร่วมกับการซื้ออาหารปลาแบบเม็ดจากตลาดมาเลี้ยงปลานั้น สามารถช่วยลดต้นทุนค่าอาหารปลาลงได้ร้อยละ 39 (ถ้าซื้อราคาปลีก) หรือลดต้นทุนลงได้ร้อยละ30 (ถ้าซื้อยกกระสอบ)

อาหารเม็ดที่ทางกลุ่มจัดซื้อมาใช้นั้นเป็นอาหารสำหรับลูกปลาอนุบาลมีโปรตีน 40% คิดเป็นสัดส่วนการใช้เพียงร้อยละ 7 จากทั้งหมด 430กิโลกรัม แต่เนื่องด้วยเป็นอาหารที่มีราคาสูงมาก คือ กิโลละ 65-70 บาท จึงทำให้ค่าเฉลี่ยของอาหารทั้งหมดสูงขึ้น ถ้าเกษตรกรสามารถผลิตขึ้นมาเองได้ ด้วยวิธีการที่ทำให้ลูกปลากินได้ง่าย จะสามารถลดต้นทุนค่าอาหารปลาได้มากกว่าร้อยละ 50 ที่เดียว

4) ปลาดุกบิ๊กอุยที่ผ่านการเลี้ยงปลาด้วยวิธีการจัดการของโครงการ ฯ มีอัตราการรอดร้อยละ 80

5) ปลาดุกบิ๊กอุยที่ผ่านการเลี้ยงปลาด้วยวิธีการจัดการของโครงการ ฯ สามารถผ่านการตรวจรับรองมาตรฐานการผลิตสัตว์น้ำขั้นปลอดภัย (Safety Level : SL) จากศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดจังหวัดพัทลุง เกินเป้าที่ตั้งไว้ร้อยละ 80 นั้นแสดงว่าการเลี้ยงปลาด้วยวิธีการจัดการของโครงการฯ สามารถผลิตอาหารโปรตีนที่มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคได้สำเร็จ อย่างมีความภาคภูมิใจ

กิจกรรมที่ 1.10 ประชุมกลุ่มประจำเดือนเพื่อสร้างความเข้าใจในการทำงาน และวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน (มีนาคม'64)30 มีนาคม 2021
30
มีนาคม 2021รายงานจากพื้นที่ โดย Fishhanpho
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. เลขานุการกลุ่มติดต่อประสานงานสมาชิกเข้าร่วมประชุมกลุ่มประจำเดือน
  2. ประสานผู้จัดสถานที่และจัดอาหาร
  3. เตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อแจ้งหรือใช้ประกอบการประชุม และวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ เช่น บอร์ดรองเขียน กระดาษบรู๊ฟ ปากกาเคมี เป็นต้น
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ประธานโครงการแจ้งสมาชิก นัดวัน เวลา และสถานที่ เพื่อทำกิจกรรมที่ 12 สรุปผลการดำเนินงานโครงการ

  2. สมาชิกในกลุ่มรับมอบใบประกาศรับรอง...การผ่านเกณ์มาตรฐาน...การผลิตสัตว์น้ำขั้นปลอดภัย(Safety Level : SL) จากศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพัทลุง

  3. สมาชิกร่วมกันแสดงความประสงค์ผ่านหนังสือขอรับการสนับสนุนเครื่องมือเกี่ยวกับการทำอาหารปลา เช่น เครื่องสับหญ้า และเครื่องอัดเม็ดอาหารปลาไปยังประมงจังหวัดพัทลุง หากมีงบประมาณที่เกี่ยวข้องก็จะได้รับพิจารณา โดยให้ประธานเป็นผู้ประสานงาน ประโยชน์ที่ได้รับคือ ถ้าทางกลุ่มได้รับการสนับสนุนเครื่องมือดังกล่าวข้างต้น จะทำให้สมาชิกในกลุ่มสามารถลดเวลาการทำงาน และสามารถผลิตอาหารปลาได้มากขึ้น โดยที่อาหารที่ผลิตได้จะมีคุณภาพที่ดีขึ้นและมีความสม่ำเสมอกัน

  4. สมาชิกร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเลี้ยงปลาดุกปลอดภัยเพื่อการแปรรูป เช่น การทำปลาดุกแดดเดียว และปลาดุกร้า เพื่อการเก็บรักษาถนอมอาหารและเพื่อเพิ่มมูลค่าปลาให้สูงขึ้น และอาจพัฒนาต่อยอดเป็นกิจกรรมกลุ่มที่ยั่งยืนต่อไปได้

  5. สมาชิกอยากให้ทางโครงการฯ ดำเนินการจัดหาสูตรการทำปลาดุกร้าที่ได้มาตรฐาน มีรสชาติเป็นที่ต้องการของตลาด เพื่อนำมาสอนสมาชิกให้ทำเป็น และสามารถทำขายได้อนาคต

  6. สมาชิกลองช่วยกันวางแผนการเลี้ยงปลาดุกปลอดภัย เพื่อป้อนแม่ค้าที่รับซื้อไปทำปลาดุกร้า เช่น ถ้าตลาดต้องการรับซื้อปลาดุกขนาด 5 ตัวต่อกิโลกรัม เดือนละ 100 กิโลกรัม จะต้องเลี้ยงปลากี่ตัว และเริ่มต้นเลี้ยงในเดือนอะไร และจับวันไหน เลี้ยงคนละกี่ตัว เพื่อการหมุนเวียนให้ปลามีจำนวนเพียงพอต่อการขายในแต่ละเดือน และจะต้องวางแผนการผลิตอาหารกันอย่างไรให้มีเพียงพอ ไม่ขาดตอน ถือว่านี่คือการฝึกการวางแผนการทำงานที่เป็นระบบ จะช่วยให้สมาชิกมีพื้นฐานการจัดการที่ดี ทำงานเป็น และไม่เสียต้นทุนโดยเปล่าประโยชน์

กิจกรรมที่ 11 การประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา14 มีนาคม 2021
14
มีนาคม 2021รายงานจากพื้นที่ โดย Fishhanpho
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. เลขากลุ่มช่วยประสานงานสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมต้นแบบการเลี้ยงปลาดุกปลอดภัยชุมชนหานโพธิ์ เพื่อแจ้งวันที่ เวลา และสถานที่เข้าร่วมกิจกรรมการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา
  2. ประสานงานผู้จัดเตรียมอาหารและเครื่องดื่ม
  3. จัดเตรียมสถานที่ หรือเอกสาร และวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในกิจกรรม เช่น บอร์ดและกระดาษรองเขียน ปากกาเคมี เป็นต้น
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เพื่อให้การดำเนินงานของโครงการมีความเจริญก้าวหน้า และสามารถพัฒนาต่อยอดไปได้ สมาชิกได้เรียนรู้จากการทำกิจกรรมร่วมกัน หลายประการ จำแนกได้ดังนี้

1. ด้านบุคคล

1.1) ผู้เข้าร่วมโครงการจะต้องมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เพื่อประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ

1.2) ผู้เข้าร่วมโครงการจะต้องเคารพกฎและกติกาของกลุ่ม หากมีเหตุสงสัยว่าจะทำผิดกฎหรือกติกา ก็ให้แจ้งกับที่ประชุมเพื่อหาทางออกร่วมกัน

1.3) ผู้เข้าร่วมโครงการจะต้องให้ความใส่ใจกับการจดบันทึกข้อมูล เช่น การจดบันทึกปริมาณการให้อาหารปลา วิธีการให้อาหาร และการพบปัญหาระหว่างการเลี้ยง เพื่อเก็บไว้เป็นข้อมูลถ่ายทอดให้แก่บุคคลอื่นต่อไปในอนาคต

2. ด้านการใช้เวลาร่วมกันเพื่อทำกิจกรรม การกำหนดเวลาการทำกิจกรรม เช่น การประชุมกลุ่มประจำเดือน ควรจะกำหนดเวลาให้ตายตัวไว้ล่วงหน้าในระยะยาว เพื่อให้สมาชิกได้ล็อคเวลาเพื่อให้ว่างตรงกันได้ เพราะถ้าสมาชิกไม่เข้าร่วมประชุมพร้อมกัน จะทำให้การรับทราบปัญหาไม่เท่ากัน และทำให้การแก้ปัญหาล่าช้าได้

3. ด้านการผลิตอาหารปลาดุกปลอดภัย สมาชิกของโครงการได้ทราบถึงหลักการ การใช้เลือกใช้วัตถุดิบมาเป็นแหล่งพลังงานของปลาเพื่อให้ปลาเจริญเติบโตได้ดี โดยคำนึงถึงความปลอดภัยต่อการบริโภคเป็นสำคัญ

3.1) พืชอาหารที่มีในท้องถิ่นชุมชนหานโพธิ์ ที่สามารถใช้ทำอาหารปลาได้ ..ได้แก่.. หยวกกล้วย หญ้าเนเปียร์ แหนแดง กากมะพร้าว รำข้าว และปลายข้าว เป็นต้น

3.2) หลักการเลือกใช้พืชอาหารเพื่อมาทำเป็นอาหารปลา จะต้องคำนึงถึง

  3.2.1) มีปริมาณเพียงพอต่อการผลิตอาหารปลาแต่ละครั้ง

  3.2.2) พืชที่ใช้ควรจะมีปริมาณโปรตีนสูง เพราะจะช่วยลดต้นทุนค่าอาหารได้มาก การค้นหาว่าพืชชนิดใดมีปริมาณโปรตีนเท่าใด สามารถค้นได้จากเอกสารความรู้ที่บ่อเรียนรู้การเลี้ยงปลาดุกปลอดภัยของชุมชน หรือค้นหาข้อมูลจากกูเกิ้ล (Goo gle) เช่น พืชที่มีโปรตีนสูงที่สุดในสูตรอาหารที่ทางกลุ่มผลิตขึ้น ได้แก่ แหนแดงสายพันธุ์ อซอลล่า ไมโครฟิลล่า ที่กรมวิชาการเกษตรส่งเสริมให้เลี้ยง ซึ่งมีโปรตีนสูงถึง 30% แบบสด และมีโปรตีน 27% แบบแห้ง เป็นต้น

  3.2.3) การใช้หญ้าเนเปียร์มาทำอาหารปลา ควรจะเลือกที่มีอายุไม่เกิน 30 วัน เพราะหญ้าจะมีความอ่อนตัวสับเป็นชิ้นเล็กๆ ได้ง่าย ปลากินได้ง่าย และที่สำคัญมีโปรตีนสูงกว่าหญ้าที่มีอายุมากขึ้น โปรตีนในหญ้าเนเปียร์ปกติจะอยู่ที่ร้อยละ 18-20 และปริมาณโปรตีนในหญ้าเนเปียหมักจะอยู่ที่ร้อยละ 15.69 (ที่มา : มหาวิทยาลัยแม่โจ้,2560)

  3.2.4) การเลือกใช้หยวกกล้วย แม้จะเป็นพืชที่มีปริมาณโปรตีนต่ำกว่าพืชชนิดอื่น แต่ก็มีข้อดีคือ เป็นพืชที่หาได้ง่าย ปลูกขยายพันธุ์ได้ง่าย ต้นทุนการดูแลรักษาน้อย ไม่เปลืองปุ๋ยถ้าเทียบกับการปลูกหญ้าเนเปียร์ และสามารถแตกหน่อได้เร็ว ส่วนการเลี้ยงแหนแดง ก็จะมีข้อจำกัดในเรื่องของการใช้พื้นที่เลี้ยง เพราะต้องเลี้ยงในน้ำ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความสะดวกของเกษตรกรเป็นสำคัญว่าจะสะดวกกับการจัดการพืชชนิดใด เพราะบางครั้งเกษตรกรก็สามารถนำพืชในแต่ละชนิดมาผสมรวมกันได้ แต่ทั้งนี้จะต้องคำนวนหาปริมาณโปรตีนในอาหารให้เพียงพอต่อความต้องการของปลาในแต่ละวัยนั่นเอง ปริมาณโปรตีนในหยวกหมักจะอยู่ที่ร้อยละ 3.5 (ที่มา : พงษ์ชาญ,2556)

  3.2.5) การใช้แหนแดงมาทำอาหารปลา ควรจะใช้แบบแห้งที่มีความชื้นไม่เกินร้อยละ 60 (แหนแดง 1 กิโลกรัมตากแล้วควรได้แหนแดงแห้ง 600กรัม) จึงจะทำให้อาหารที่ผสมแล้วไม่เปียกแฉะและปั้นเป็นก้อนได้ง่ายกว่าการใช้แหนแดงสด และแหนแดงที่ใช้ควรจะมีอายุไม่เกิน 14 วัน ไม่เช่นนั้นโปรตีนจะลดลง โดยปกติแหนแดงที่มีอายุ 7-10วัน จะมีโปรตีนสูง คือประมาณ 30% ส่วนที่อายุ 14วัน ปริมาณโปรตีนในแหนแดงแห้งจะอยู่ที่ 27.6% (ที่มา : วารสารสัตวศาสตร์แห่งประเทศไทย,2558)

  3.2.6) พืชที่ใช้ จะต้องไม่เป็นสาเหตุให้กระชังอุดตัน เช่น ถ้าใช้กระชังตาถี่มาเลี้ยงปลาดุก การใช้หยวกหมักในปริมาณมาก จะทำให้กระชังถูกอุดตันได้ง่ายกว่า ทำให้การถ่ายเท หรือการไหลของน้ำในกระชังทำได้ไม่ดี จะส่งผลให้ปลาดุกโตช้าได้ แต่ถ้าใช้กระชังตาใหญ่ 2-3 นิ้ว สามารถใช้หยวกปริมาณมากได้ เพราะปัญหาการอุดตันจะไม่มี

3.3 การใช้จุลินทรีย์แลกโตบาซิลลัสในขั้นตอนการหมักพืชอาหารสัตว์น้ำ ..มีประโยชน์ดังนี้

3.3.1) ประโยชน์ในการยืดอายุการเก็บรักษาวัตถุดิบ เช่น การทำหยวกกล้วยหมักทำให้สามารถเก็บไว้ใช้ได้นานเป็นเดือน ช่วยลดเวลาการทำงาน ไม่ต้องเตรียมบ่อย ทำครั้งนึงใช้ได้หลายครั้ง และสามารถเตรียมไว้ในปริมาณมากได้ โดยการหมักยังช่วยรักษาคุณภาพของสารอาหารในพืชสดไว้ได้ โดยเฉพาะแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น แคลเซี่ยม โปแตสเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม แมงกานีส ทองแดง เหล็ก และสังกะสี เป็นต้น

3.3.2) ปลาที่กินอาหารที่มีส่วนผสมของพืชหมักจะสามารถย่อยอาหารได้ดีขึ้น กินอาหารได้ดีขึ้น

3.3.3) ช่วยบำบัดน้ำในบ่อเลี้ยงปลาไม่ให้เสีย ทำให้ปลาไม่เครียด ไม่เป็นโรค และเจริญเติบโตได้ดี เพราะมูลปลาที่ถ่ายออกมาก็จะมีจุลินทรีย์ปนออกมาด้วย

4. ด้านการลดต้นทุนค่าอาหารปลาดุกให้ได้ร้อยละ 50 ...สามารถทำได้โดย

4.1) ลดการใช้อาหารเม็ดกระสอบที่มีโปรตีน 40% ลงให้เหลือปริมาณร้อยละ 5 ของปริมาณอาหาร430 กิโลกรัม โดยแต่เดิมนั้นซื้อมาใช้เลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยในโครงการ 30 กิโลกรัม คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 7ของอาหารทั้งหมด(430 กก.) คิดเป็นเงิน 1,950 บาท หรือร้อยละ 23 ของค่าอาหารทั้งหมด(8,350 บาท)

4.2) ผลิตอาหารที่มีโปรตีน40% ขึ้นใช้เอง ปริมาณไม่ต่ำกว่าร้อยละ 2 ของปริมาณอาหาร430 กิโลกรัม หรือผลิตขึ้นใช้เองทดแทนอาหารกระสอบแบบ 100%

4.3) ข้อควรคำนึงการผลิตอาหารโปรตีน40% สำหรับปลาวัยอนุบาล ควรคำนึงความง่ายและความสะดวกในการกินอาหารของลูกปลาด้วย ดังนั้นการเลือกใช้พืชอาหารปลา ควรจะใช้หยวกกล้วยหมักหรือหญ้าหมักที่สับให้ละเอียด ถ้าจะใช้แหนแดงก็ควรจะมีการปั่นให้มีชิ้นเล็กลงจนปลาสามารถกินได้ หรือไม่ก็ควรจะเลือกใช้รำละเอียดมาผสมแล้วลดสัดส่วนอาหารหยาบอื่นๆ ลง เป็นต้น

5. ด้านการพัฒนา เพื่อการแก้ปัญหา และต่อยอดการผลิตอาหารปลาปลอดภัยในอนาคต

5.1) ควรจะจัดหาเครื่องสับหญ้าแบบสับละเอียด เพื่อช่วยลดเวลาในขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบสำหรับการหมัก เช่น หยวกกล้วย และหญ้าเนเปียร์ ซึ่งขั้นตอนนี้จะต้องใช้เวลาในการสับวัสดุให้เป็นชิ้นเล็กๆ ถ้าเกษตรกรต้องการใช้หยวกหรือหญ้าสับในปริมาณมาก ก็ควรจะมีเครื่องทุ่นแรง ที่ช่วยลดเวลาการทำงานลง อีกทั้งเครื่องสับหญ้าก็จะช่วยทำให้ขนาดของหยวกหรือหญ้ามีขนาดที่เท่าๆ กัน ไม่เล็กบ้างใหญ่บ้าง โดยเครื่องสับหญ้าที่เหมาะสมกับงานสับละเอียดควรจะเป็นเครื่องแบบ 4 ใบมีด

5.2) ควรจัดหาเครื่องทุ่นแรงในขั้นตอนในการคลุกเคล้าส่วนผสม เพราะในการทำอาหารปลาจะมีวัตถุดิบหลายอย่าง และถ้าทำในปริมาณมากการคลุกเคล้าด้วยแรงงานคนไม่สามารถทำให้ส่วนผสมเข้ากันได้อย่างทั่วถึง ทำให้คุณภาพอาหารที่ได้ในแต่ละก้อนไม่เท่ากัน เวลาที่ใช้แรงงานคนก็จะนานกว่าใช้เครื่องเคล้าผสม

5.3) ควรจะจัดหาเครื่องอัดเม็ดอาหารปลา แต่เดิมในการทำอาหารปลา ก่อนที่จะนำไปให้ปลากิน ก็จะเอาอาหารนั้นมาปั้นเป็นก้อน แล้วนำไปตากแดดอ่อนๆ ทำให้ต้องใช้เวลาในการตากนานพอสมควร และอาหารก็ไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน ทำให้ต้องผลิตใหม่บ่อยๆ ทำให้เสียเวลา และทำให้เกษตรกรไม่เกิดแรงจูงใจ และที่สำคัญในช่วงฤดูฝน ความชื้นในอากาศจะสูง จึงทำให้อาหารเกิดเชื้อราได้ง่าย ก่อให้เกิดความเสียหายไม่สามารถนำไปใช้ได้ ต้องนำไปทิ้ง จึงเป็นการเพิ่มต้นทุนให้เกษตรกร แต่ถ้ามีเครื่องอัดเม็ดอาหารปลา ที่สามารถทำให้อาหารปลามีขนาดเล็กลง ตากแห้งได้เร็ว จัดเก็บได้ง่าย และผลิตได้ครั้งละมากขึ้น จะช่วยลดเวลาการทำงาน อีกทั้งได้อาหารปลาที่เพียงพอ ปลากินได้แบบไม่ขาดตอนอีกด้วย

6. ด้านวิธีการให้อาหารปลาเพื่อการเจริญเติบโตของปลาดุกบิ๊กอุย ขึ้นอยู่กับการใช้อาหารทีเหมาะสมกับช่วงวัย ปริมาณการให้อาหาร และจำนวนมื้ออาหารที่ให้ ดังนี้

6.1) ปลาดุกวัยอนุบาล คือปลาในช่วงอายุ 15 วัน - 1 เดือน ควรจะให้อาหารที่มีโปรตีนไม่ต่ำกว่า40% โดยให้ในปริมาณร้อยละ10 ของน้ำหนักตัว เช่น ปลาดุก 200ตัว หนักรวม1,200กรัม ควรจะให้อาหารวันละ 120กรัม โดยแบ่งให้เป็นมื้อ ไม่ควรต่ำกว่า 2-3 มื้อต่อวัน โดยในวันแรกๆ การให้อาหารปลา จะต้องใช้เวลาสังเกตุดูว่าปลากินอาหารดีหรือไม่อย่างไร จะได้ปรับลดปริมาณของอาหารให้เหมาะสม ช่วยลดการสูญเสียต้นทุนได้ เพราะถ้าให้อาหารในปริมาณมาก แต่ปลาไม่กิน ก็จะทำให้อาหารเน่าเสียไปเปล่าๆ และส่งผลให้น้ำในบ่อเลี้ยงเสียเร็วด้วย

6.2) ปลาดุกวัยเด็กจนถึงวัยรุ่น คือปลาในช่วงอายุ 1 - 2.5 เดือน ควรจะให้อาหารที่มีโปรตีนไม่ต่ำกว่า32% และควรให้ 2 มื้อต่อวัน ส่วนปริมาณการให้ ก็ควรจะนับต่อยอดมาจากปริมาณอาหารในวัยอนุบาล แต่ปลาในวัยนี้จะเป็นช่วงที่ปลากินอาหารมากที่สุด เพราะเป็นวัยกำลังเจริญเติบโต การเพิ่มปริมาณอาหารจะต้องใช้การสังเกตุด้วยตัวเอง เช่น ถ้าวันนี้ให้ปลากินอาหาร 2กิโลกรัม แต่ปลายังกินไม่อิ่ม วันถัดไปก็ควรเพิ่มปริมาณเป็น 2.5 กิโลกรัม และให้สังเกตุดูว่าปลากินหมดหรือไม่ ถ้ากินหมด ในวันถัดไปก็ลองเพิ่มปริมาณอาหารขึ้นอีกเป็น 3 กิโลกรัม แต่ถ้าปลากินไม่หมดก็ให้ลดลงมาให้เหมาะสม ทั้งนี้ผู้เลี้ยงจะต้องสังเกตุดูและทำการจดบันทึกไว้เป็นบทเรียนด้วย

6.3) ปลาดุกวัยโตจนถึงวัยจับขาย คือปลาในช่วงอายุ 2.5 เดือนขึ้นไป ควรจะให้อาหารที่มีโปรตีน 25-28% โดยให้ 2 มื้อต่อวันก็เพียงพอ ปริมาณการให้อาหารก็ทำเหมือนกันกับปลาวัยเด็ก คือใช้การสังเกตุการของผู้เลี้ยงและทำการจดบันทึก

7. ด้านการสร้างจิตสำนึก สมาชิกของโครงการสามารถผลิตปลาดุกที่มีความปลอดภัย มาเป็นอาหารได้ ทั้งนี้เพราะทุกคนมีความตระหนัก มีความตั้งใจเป็นจุดเริ่มต้น และในการผลิตอาหารปลอดภัยไว้กินเอง และจำหน่ายนั้น จะต้องใช้ความซื่อสัตย์และมีวินัย ไม่ควรทำแบบเห็นแก่ตัว ถ้าตัวเองกินไม่ได้ ก็ไม่ควรให้คนอื่นกิน นี่คือหลักการ ที่สมาชิกได้ยึดถือและจะส่งมอบให้แก่ผู้อื่นต่อไป

กิจกรรมที่ 9 จัดตั้งบ่อเรียนรู้การเลี้ยงปลาดุกปลอดภัย25 กุมภาพันธ์ 2021
25
กุมภาพันธ์ 2021รายงานจากพื้นที่ โดย Fishhanpho
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. เลขากลุ่มช่วยประสานงานสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมต้นแบบการเลี้ยงปลาดุกปลอดภัยชุมชนหานโพธิ์ เพื่อแจ้งวันที่ เวลา และสถานที่เข้าร่วมกิจกรรมจัดตั้งบ่อเรียนรู้การเลี้ยงปลาดุกปลอดภัย
  2. ประสานงานผู้จัดเตรียมอาหารและเครื่องดื่ม
  3. จัดเตรียมสถานที่ หรือเอกสาร และวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในกิจกรรม เช่น บอร์ดและกระดาษรองเขียน ปากกาเคมี เป็นต้น
  4. จัดจ้างทำสื่อเอกสารการเรียนรู้และป้ายให้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงปลาดุกปลอดภัยเพื่อติดตั้งที่บ่อเรียนรู้ ตามที่โครงการกำหนด
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

บ่อเรียนรู้การเลี้ยงปลาดุกปลอดภัย ที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นต้นแบบของชุมชนหานโพธิ์ มีทั้งหมด 3 บ่อเรียนรู้ ได้แก่

  1. บ่อเรียนรู้การเลี้ยงปลาดุกปลอดภัยของ นายจิรัฐพล สอนทอง ตั้งอยู่เลขที่ 153 หมู่ 9 ตำบลหานโพธิ์ อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง

  2. บ่อเรียนรู้การเลี้ยงปลาดุกปลอดภัยของ นางสาวจุฑารัตน์ เมฆเรือง ตั้งอยู่เลขที่ 186 หมู่ 10 ตำบลหานโพธิ์ อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง

  3. บ่อเรียนรู้การเลี้ยงปลาดุกปลอดภัยของ นายพิชิต จันทร์มูล ตั้งอยู่เลขที่ 10 หมู่ 10 ตำบลควนขนุน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง

หลักเกณฑ์การคัดเลือกให้เป็นบ่อเรียนรู้ปลาดุกปลอดภัยของโครงการ ได้แก่

  1. เป็นสถานที่ที่มีการเลี้ยงปลาดุกมาอย่างต่อเนื่อง 1ปีขึ้นไป และสามารถรองรับคนมาศึกษาดูงานได้จำนวนไม่ต่ำกว่า 20คน

  2. เจ้าของบ่อเรียนรู้ต้องเป็นคนที่มีความคิดก้าวหน้า ชอบการพัฒนา มีความเป็นมิตร มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์การเลี้ยงปลาดุกแก่ผู้อื่นได้ ที่สำคัญจะต้องเป็นผู้ที่มีคุณธรรมโดยเฉพาะด้านการผลิตอาหารปลอดภัยด้วยความซื่อสัตย์ทั้งต่อตนเองและผู้บริโภค

กิจกรรมที่ 1.9 ประชุมกลุ่มประจำเดือนเพื่อสร้างความเข้าใจในการทำงาน และวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน (กุมภาพัน'64)10 กุมภาพันธ์ 2021
10
กุมภาพันธ์ 2021รายงานจากพื้นที่ โดย Fishhanpho
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. เลขากลุ่มช่วยประสานงานสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมต้นแบบการเลี้ยงปลาดุกปลอดภัยชุมชนหานโพธิ์ โดยแจ้งวันที่ เวลา และสถานที่เข้าร่วมประชุมประจำเดือนมกราคม 2564
  2. ประสานงานผู้จัดเตรียมอาหารและเครื่องดื่ม
  3. จัดเตรียมสถานที่ เอกสาร และวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในกิจกรรม
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สมาชิกมาร่วมกันประชุมกลุ่มเพื่อบอกเล่าแลกเปลี่ยนเรื่องราวจากการเลี้ยงปลาดุกปลอดภัย ดังนี้ 1. สมาชิกจำนวน 5 รายแจ้งว่า ปลาดุกที่เลี้ยงมีคนมาติดต่อรับซื้อ จึงได้ขายไปจำนวนหนึ่ง ในกิโลกรัมละ 60 บาท ส่วนบางคน ก็นำไปขายเองที่ตลาด เช่น พี่สุจินต์ ซึ่งแกมีอาชีพขายเครื่องแกงอยู่แล้ว เลยได้นำปลาดุกไปขายที่ตลาดด้วยในราคา กิโลกรัมละ 70-80 บาทแล้วแต่ขนาด..... 2. เมื่อสอบถามถึงความพึงพอใจของลูกค้า ต่อกลิ่น รส และเนื้อสัมผัสของปลาดุกที่เลี้ยงแบบปลอดภัย สมาฃิกตอบว่าลูกค้าต่างบอกตรงกัน ว่าปลาไม่มีกลิ่นสาป เนี้อสัมผัสดี ไม่คาว รสชาติคล้ายปลาดุกบ้าน..... 3. ในช่วงที่มีฝนตกชุก จนน้ำท่วม ทำให้มีปลาดุกบางส่วนหายไป เพราะน้ำเข้าท่วมบ่อเลี้ยง ทำให้กระชังที่ผูกแบบปักไม้ ไม่มีทุ่นลอย ถูกน้ำท่วมไปด้วย แต่บางคนน้ำไม่ท่วมกระชังปลาก็สามารถว่ายน้ำหนีไปได้ เพราะกระชังถูกลมพัดจนเอียง เชือกที่ผูกไว้ขาด...จึงได้ร่วมเสนอแนะวิธีแก้ไขกันว่า การผูกกระชังเลี้ยงปลาควรผูกแบบใช้ทุ่นลอย เพราะเวลาน้ำท่วมกระชังจะไม่จมแต่จะลอยขึ้นตามระดับน้ำ และควรล่ามกระชังไว้กันน้ำพัดพาเวลาน้ำท่วมไหลหลากด้วย แต่การล่ามกระชังควรทำการล่ามทั้ง 2 ด้านที่อยู่ฝั่งตรงข้ามกัน จะช่วยกันไม่ให้กระชังล้มเอียงไปทางด้านใดด้านหนึ่งเมื่อมีลมพัดแรง..... 4. สมาชิกแจ้งเรื่องพืชอาหารสัตว์น้ำที่ทำการปลูก ว่ามีความเจริญเติบโตดี และขยายพันธุ์ได้เร็ว มีสมาชิกอยู่ 3 ราย แจ้งว่าจะทำการเลี้ยงแหนแดงเพิ่มขึ้นมาอีกชนิด เพื่อเพิ่มความหลากหลาย และให้มีอาหารเพียงพอในอนาคต..... 5. ประธานโครงการฯ แจ้งสมาชิกทราบว่า ผลการส่งปลาดุกในโครงการไปตรวจรับรอง เพื่อขอมาตรฐานการผลิตสัตว์น้ำขั้นปลอดภัย (Safety Level : SL) ทั้ง 8 รายนั้น ปรากฎว่าทุกคนผ่านการตรวจสอบและได้รับใบรับรองมาตรฐานการผลิตสัตว์น้ำขั้นปลอดภัย โดยมีอายุการตรวจรับรองทั้งหมด 3 ปี..... 6. สมาชิกร่วมกันออกแบบการทำป้ายประกอบความรู้ ที่ได้จากการถอดบทเรียนในการทำกิจกรรมการเลี้ยงปลาดุกแบบปลอดภัย เพื่อใช้ติดตั้งไว้ที่บ่อเลี้ยงปลาต้นแบบของโครงการฯ ทั้งนี้จะได้เป็นวิทยาทานแก่สมาชิก และประชาชนผู้สนใจทั่วไป โดยในการประชุมครั้งต่อไป (ครั้งที่ 10) ประธานจะได้ทำการคัดเลือกบ่อเลี้ยงปลาต้นแบบของโครงการร่วมกันกับสมาชิก

กิจกรรมที่ 6 เวทีวิเคราะห์ผลการเลี้ยงปลาดุกปลอดภัย30 มกราคม 2021
30
มกราคม 2021รายงานจากพื้นที่ โดย Fishhanpho
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. กรรมการประสานงานนัดรวมสมาชิกที่สมัครเข้าร่วมโครงการฯ และชักชวนชาวบ้านที่สนใจทั่วไป แจ้งวันที่ เวลา และสถานที่เข้าร่วมกิจกรรมที่ 6 เวทีวิเคราะห์ผลการเลี้ยงปลาดุกปลอดภัย
  2. ประสานงานเจ้าหน้าที่ประมงอำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง เพื่อเข้าร่วมกิจกรรม และ เพื่อประสานงานการส่งเอกสารขอตรวจรับรองมาตรฐานการผลิตสัตว์น้ำขั้นปลอดภัยแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  3. ประสานงานผู้จัดเตรียมอาหารและเครื่องดื่มแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
  4. จัดเตรียมสถานที่ เครื่องขยายเสียง ป้ายโครงการ และอุปกรณ์สำนักงานที่จำเป็นต้องใช้
  5. เตรียมอุปกรณ์เครื่องเขียนให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประธานโครงการชวนสมาชิก..ทบทวนวัตถุประสงค์การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยแบบปลอดภัยของกลุ่ม..ซึ่งมี 3 ประการ คือ

  1. ปลาดุกที่สมาชิกเลี้ยงเพื่อรับประทานเป็นอาหารจะต้องมีความปลอดภัยต่อการบริโภค โดยสามารถผ่านการตรวจรับรองมาตรฐานการผลิตสัตว์น้ำขั้นปลอดภัย(Safety Level : SL) ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80ของสมาชิกที่ทำการเลี้ยง
  2. อาหารที่ใช้เลี้ยงปลาดุกแบบปลอดภัย จะเน้นใช้อาหารที่สมาชิกในกลุ่มผลิตขึ้นเอง โดยมีการใช้พืชอาหารที่สามารถจัดหาได้ในท้องถิ่นมาเป็นส่วนผสม และทั้งนี้จะต้องช่วยลดต้นทุนค่าอาหารปลาลงให้ได้ร้อยละ 50
  3. การเลี้ยงปลาดุกแบบปลอดภัยด้วยหลักการจัดการของกลุ่ม จะต้องทำให้ปลามีอัตราการรอดอย่างน้อยร้อยละ 80

การวิเคราะห์ผลการเลี้ยง มีดังนี้

1. ด้านการผลิตอาหารปลาดุก และผลต่อการเจริญเติบโตของปลา

1.1) อาหารที่ใช้เลี้ยงปลาดุกในโครงการ มี 3 แบบ โดยแบ่งตามระดับของปริมาณโปรตีนที่ใช้ ดังนี้

1.1.1) อาหารปลาโปรตีน 40% ---> สำหรับปลาดุกอายุ 15วัน - 1เดือน ทางกลุ่มไม่ได้ผลิต แต่จัดซื้ออาหารกระสอบที่มีจำหน่ายในท้องตลาดมาใช้แทน เนื่องจากเห็นว่าเป็นอาหารที่ใช้น้อย และลูกปลาเล็กๆ สามารถกินได้ง่าย เพราะอาหารเม็ดสามารถลอยน้ำอยู่ได้นาน ไม่เหมือนอาหารปั้นก้อนที่ทางกลุ่มทำขึ้น ปลาจึงตอดกินได้นานขึ้น

1.1.2) อาหารปลาโปรตีน 32% ---> สำหรับปลาดุกอายุ 1-2.5เดือน ทางกลุ่มได้ผลิตขึ้นเอง โดยใช้พืชวัตถุดิบในท้องถิ่นมาผสมคือ หยวกกล้วยหมัก และปลายข้าว ส่วนวัตถุดิบที่ต้องซื้อจากนอกท้องถิ่น คือ ปลาป่น กากถั่วเหลือง น้ำมันปาล์ม และเกลือ

1.1.3) อาหารปลาโปรตีน 28% ---> สำหรับปลาดุกอายุ 2.5 เดือนขึ้นไป ทางกลุ่มได้ผลิตขึ้นเอง โดยใช้พืชวัตถุดิบในท้องถิ่นคือ หยวกกล้วยหมัก หญ้าเนเปียร์ แหนแดง และปลายข้าว ส่วนวัตถุดิบที่ต้องซื้อจากนอกท้องถิ่น คือ ปลาป่น กากถั่วเหลือง น้ำมันปาล์ม และเกลือ

1.2) การเจริญเติบโตของปลาดุกบิ๊กอุยเมื่อเลี้ยงด้วยอาหารที่ทางกลุ่มจัดหาและผลิตขึ้น

ปลาดุกบิ๊กอุยที่ทางกลุ่มจัดหามาให้สมาชิกเลี้ยงแบบใส่กระชัง รวมทั้งหมด 2,000ตัว โดยแบ่งให้สมาชิกแยกไปเลี้ยง 10 คน คนละ 200ตัว มีการใช้อาหารร่วมกันทั้งหมด 530 กิโลกรัม ได้แก่ --->อาหารเม็ดกระสอบที่มีโปรตีน 40% ซื้อจากตลาด รวมจำนวน 30กิโลกรัม

--->อาหารที่ผลิตขึ้นเอง ที่มีโปรตีน 32% รวมจำนวน 200 กิโลกรัม และ

--->อาหารที่ผลิตขึ้นเอง ที่มีโปรตีน 28% รวมจำนวน 300 กิโลกรัม

--->ผลจากการจับปลามาชั่งน้ำหนักเพื่อตรวจดูความเจริญเติบโตพบว่า

1.2.1) เมื่อนำปลาดุกบิ๊กอุยที่มีอายุ 57วัน มาชั่งน้ำหนัก ก็พบว่าปลามีน้ำหนักเฉลี่ยตัวละ 100 กรัม หรือประมาณ 10 ตัวต่อกิโลกรัม หรือปลาดุก 2,000 ตัวมีน้ำหนักรวมทั้งหมด 200กิโลกรัม ซึ่งเมื่อนับปริมาณอาหารที่ปลาดุกได้กินเข้าไปเท่ากับ 165 กิโลกรัม คิดอัตราแลกเนื้อหรืออัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ(Feed Conversion) ได้เท่ากับ 0.8:1 หมายถึงปลาดุกกินอาหาร 0.8 กิโลกรัม จะได้น้ำหนักเนื้อ 1 กิโลกรัม

1.2.2) เมื่อนำปลาดุกบิ๊กอุยที่มีอายุ 105วัน (3.5 เดือน) มาชั่งน้ำหนัก ก็พบว่าปลามีน้ำหนักเฉลี่ยตัวละ 200 กรัม หรือประมาณ 5 ตัวต่อกิโลกรัม ซื่งถือเป็นขนาดที่ตลาดต้องการและเริ่มรับซื้อ เพราะสามารถนำไปแปรรูปได้แล้ว ทั้งทำปลาแดดเดียว และปลาดุกร้า
เมื่อรวมน้ำหนักปลาดุกทั้งหมด 2,000ตัว จะได้เท่ากับ 400กิโลกรัม และปริมาณอาหารที่ปลาดุกกินเข้าไปเท่ากับ 430 กิโลกรัม คิดอัตราแลกเนื้อหรืออัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ(Feed Conversion) ได้เท่ากับ 1.1:1 หมายถึงปลาดุกกินอาหาร 1.1 กิโลกรัม จะได้น้ำหนักเนื้อปลา 1 กิโลกรัม

1.2.3) สรุปผลการเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย ...การเลี้ยงปลาดุกปลอดภัย ด้วยอาหารที่ทางกลุ่มจัดหาและคิดสูตรผลิตขึ้นนั้น จะทำให้ปลาดุกเจริญเติบโตจนเป็นที่ต้องการของตลาด โดยมีขนาดน้ำหนักที่ 5ตัวต่อกิโลกรัม หรือหนักตัวละ 200กรัม มีอัตราแลกเนื้อเท่ากับ 1.1:1 และใช้ระยะเวลาการเลี้ยงประมาณ 3เดือนครึ่ง แสดงให้เห็นว่าสูตรอาหารปลาที่ทางกลุ่มจัดหาและผลิตขึ้น ทำให้ปลามีอัตราแลกเนื้อที่ดี หรือมีค่าอัตราแลกเนื้อที่ต่ำ คือ ปลากินอาหารไม่มากแต่เจริญเติบโตดี
โดยจากประสบการณ์การเลี้ยงปลาดุกของสมาชิกหลายท่านพบว่า ที่ผ่านมาจะเลี้ยงปลาดุกด้วยอาหารเม็ดกระสอบที่ซื้อจากตลาดเท่านั้น และปลาดุกที่ได้ จะมีอัตราแลกเนื้อเฉลี่ยอยู่ที่ 1.5:1 (กินอาหาร 1.5 กก.ได้น้ำหนักปลา 1 กก.) โดยถ้าเกษตรกรเลี้ยงปลาแล้วมีอัตราแลกเนื้อสูงหรือปริมาณอาหารที่ใช้มาก จะทำให้เกษตรกรขาดทุน แต่ถ้ามีอัตราแลกเนื้อต่ำจะทำให้เกษตรกรได้ผลกำไร

2. ด้านการลดต้นทุนค่าอาหารปลา ...ต้นทุนค่าอาหารจะขึ้นอยู่กับปริมาณอาหารที่ให้ปลาดุกกิน ราคาอาหารจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับปริมาณโปรตีนในอาหาร โดยอาหารที่มีโปรตีนสูงจะมีต้นทุนราคาที่สูงกว่า

2.1) ค่าอาหารปลาของโครงการฯ ในการเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยจนได้ขนาดที่ตลาดรับซื้อ (น้ำหนัก 5ตัวต่อกิโลกรัม) ของโครงการฯ จำนวน 2,000ตัว จะใช้อาหารไป 430 กิโลกรัม รวมเป็นเงินทั้งหมด 8,350 บาท หรือ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19 บาท

ค่าอาหารของโครงการ 8,350 บาท แยกออกตามปริมาณโปรตีน ดังนี้

2.1.1) อาหารปลาดุกโปรตีน 40% ...ซื้อสำเร็จรูป...ราคายกกระสอบกิโลกรัมละ 65 บาท จำนวนที่ใช้ 30 กิโลกรัม คิดเป็นเงิน 1,950 บาท

2.1.2) อาหารปลาดุกโปรตีน 32% ...ซื้อวัตถุดิบมาทำเอง...ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 17 บาท จำนวนที่ใช้ 200 กิโลกรัม คิดเป็นเงิน 3,400 บาท

2.1.3) อาหารปลาดุกโปรตีน 28% ...ซื้อวัตถุดิบมาทำเอง...ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 15 บาท จำนวนที่ใช้ 200 กิโลกรัม คิดเป็นเงิน 3,000 บาท

2.2) ค่าอาหารปลาที่จำหน่ายในท้องตลาด ของอำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง จะมีราคาขายปลีก และขายยกกระสอบ ดังนี้

2.2.1) อาหารปลาดุกโปรตีน 40% ...กิโลกรัมละ 75 บาท จำนวนที่ใช้ 30 กิโลกรัม คิดเป็นเงิน 2,250 บาท / ยกกระสอบ คิดเป็นเงิน 1,950 บาท

2.2.2) อาหารปลาดุกโปรตีน 32% ...กิโลกรัมละ 30 บาท จำนวนที่ใช้ 200 กิโลกรัม คิดเป็นเงิน 6,000 บาท / ยกกระสอบ คิดเป็นเงิน 5,000 บาท

2.2.3) อาหารปลาดุกโปรตีน 28% ...กิโลกรัมละ 25 บาท จำนวนที่ใช้ 200 กิโลกรัม คิดเป็นเงิน 5,000 บาท / ยกกระสอบ คิดเป็นเงิน 4,600 บาท

2.3) ผลการเปรียบเทียบ..ค่าอาหารปลา..ที่จำหน่ายในท้องตลาดกับค่าอาหารปลาของโครงการฯ ...พบว่า... ต้นทุนค่าอาหารปลาของโครงการฯ มีราคาถูกกว่าอาหารเม็ดกระสอบในตลาด กิโลกรัมละ 12 บาท(ราคาปลีก) หรือ 8บาท (ราคายกกระสอบ) ---> ต้นทุนค่าอาหารปลาของโครงการเฉลี่ยกิโลกรัมละ 19 บาท แต่ราคาที่ซื้อตามท้องตลาดค่าเฉลี่ยจะอยู่ที่กิโลกรัมละ 31 บาท (ราคาขายปลีก) หรือ 27บาท (ราคายกกระสอบ)
จึงกล่าวได้ว่า ผลการผลิตอาหารปลาดุกของโครงการฯ สามารถช่วยลดต้นทุนค่าอาหารปลาดุกในราคาปลีกลงได้ ร้อยละ 39 และในราคายกกระสอบลดลงได้ร้อยละ30...ซึ่งไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือ ร้อยละ 50
การเรียนรู้สาเหตุที่ทำให้ไม่สามารถลดต้นทุนค่าอาหารปลาดุกบิ๊กอุยลงได้ร้อยละ 50 สมาชิกจะได้ร่วมกันวิเคราะห์ในกิจกรรมที่ 11 การประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา

4. ด้านอัตราการรอด ปลาดุกบิ๊กอุย ที่ให้สมาชิกไปเลี้ยงคนละ 200 ตัว ทางกลุ่มจะให้สมาชิกนับจำนวนการรอดชีวิต โดยดูจากการตายของปลา โดยใช้หลักธรรมชาติที่ว่าเมื่อปลาตาย ปลาจะลอยน้ำขึ้นมาให้เห็น โดยเป้าหมายของกลุ่มตามโครงการการเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยแบบปลอดภัย ปลาจะต้องมีอัตราการรอดไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 นั่นคือ ปลาดุก 200 ตัวจะต้องมีปลาตายไม่เกิน 40 ตัวผลปรากฎว่าปลาดุกของสมาชิกมีอัตราการรอดเกินร้อยละ 80 ทุกคน ปลาดุกของสมาฃิกที่ตายมากที่สุดอยู่ที่ 10ตัว คือปลาของนางสาวปัทมา

5. ด้านความปลอดภัย ........สมาชิกส่งปลาดุกที่เลี้ยงในโครงการฯ ไปตรวจขอใบรับรองมาตรฐานการผลิตสัตว์น้ำขั้นปลอดภัย(Safety Level : SL) กับศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดจังหวัดพัทลุง ทั้งหมด 9 ราย และได้รับใบรับรองฯ ครบทั้ง 9 ราย ออกให้ ณ วันที่ 29 มกราคม 2564 ...ส่วนอีก 1 รายที่ไม่ส่งปลาดุกไปตรวจเจ้าตัวอ้างว่าติดปัญหาการจัดการเอกสารที่ดิน **ดังนั้น จึงสามารถกล่าวได้ว่า ผลการเลี้ยงปลาดุกแบบปลอดภัยของกลุ่มได้บรรลุเป้าหมาย เพราะสมาชิกสามารถผ่านการรับรองมาตรฐานการผลิตสัตว์น้ำขั้นปลอดภัย (Safety Level : SL) ได้เกินร้อยละ 80


...

กิจกรรมที่ 1.8 ประชุมกลุ่มประจำเดือนเพื่อสร้างความเข้าใจในการทำงาน และวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน (มกราคม'64)10 มกราคม 2021
10
มกราคม 2021รายงานจากพื้นที่ โดย Fishhanpho
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. เลขากลุ่มช่วยประสานงานสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมต้นแบบการเลี้ยงปลาดุกปลอดภัยชุมชนหานโพธิ์ โดยแจ้งวันที่ เวลา และสถานที่เข้าร่วมประชุมประจำเดือนมกราคม 2564
  2. ประสานงานผู้จัดเตรียมอาหาร
  3. จัดเตรียมวัตถุดิบทำอาหารปลาดุกปลอดภัย สูตรโปรตีน 28% สำหรับปลาดุกอายุ 2.5 เดือนขึ้นไป
  4. จัดเตรียมสถานที่ เอกสาร และวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในกิจกรรม
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. เนื่องจากมีโรคระบาดโควิด19 ที่กำลังระบาดในรอบที่สอง ของประเทศไทย ทำให้สมาชิกต้องเว้นช่วง เพื่อรักษาระยะห่างระหว่างกัน ป้องกันไม่ให้เกิดความเสี่ยงในการระบาดของโรค
    จึงมีการแจ้งประชุมกันในช่องทางออนไลน์ ผ่านแอพพลิเคชั่นของเมสเซนเจอร์ (Messenger App.) เพื่อแจ้งข้อตกลงของกิจกรรม
  2. สมาชิกตกลงกันว่าจะทำอาหารปลาสูตรใช้หยวกหมักโปรตีน 28% สำหรับปลาโตกันอีกรอบ ก่อนที่จะแยกย้ายกันไปทำกันแบบส่วนตัว เนื่องจากวัตถุดิบการทำอาหารปลาของส่วนรวมยังเหลืออยู่ โดยทางเลขาของกลุ่มจะเป็นผู้รับอาสาจัดเตรียมส่วนผสม เช่น ต้มปลายข้าว และกากถั่วเหลือง รวมทั้งผสมอาหารไว้ให้เสร็จพร้อมใช้ แล้วนัดให้สมาชิกไปรับอาหารที่บ้านของคุณจุฑารัตน์ โดยนัดไปรับไม่พร้อมกัน เพื่อลดการพบปะรวมตัวกันในช่วงโรคโควิด19 ระบาด
  3. สมาชิกได้อาหารไปคนละ 15 กิโลกรัม น้ำหนักเปียก รวมน้ำหนักอาหารทั้งหมด 150 กิโลกรัม
กิจกรรมที่ 8 ส่งเสริมการปลูกพืชอาหารที่สอดคล้องกับสูตรอาหารปลาปลอดภัย5 มกราคม 2021
5
มกราคม 2021รายงานจากพื้นที่ โดย Fishhanpho
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. เลขากลุ่มช่วยประสานงานสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมต้นแบบการเลี้ยงปลาดุกปลอดภัยชุมชนหานโพธิ์ เพื่อแจ้งวันที่ เวลา และสถานที่เข้าร่วมกิจกรรมการปลูกพืชอาหารสัตว์น้ำ
  2. ประสานงานผู้จัดหาวัสดุทำปุ๋ยอินทรีย์และพันธุ์พืช
  3. จัดเตรียมสถานที่ หรือเอกสาร และวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในกิจกรรม
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลจากการประชุมร่วมกันของสมาชิก 1. สมาชิกเลือกพันธุ์พืชที่จะปลูก โดยมอบหมายให้นายสำราญ เขนย เป็นคนจัดหาพันธุ์พืชมาให้ โดยแบ่งเป็นปลูกกล้วย คนละ 30 หน่อ และปลูกหญ้าเนเปียร์คนละ 20 ต้น..... 2. ทางกลุ่มได้เลือกใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อปลูกพืชแบบปลอดภัย เพราะพืชที่ได้จะต้องนำมาใช้เลี้ยงสัตว์ และเราเองเป็นผู้รับประทาน..... 3. ทางกลุ่มได้มอบหมายให้นายพิชิต จันทร์มูล เป็นคนจัดหาวัสดุมาทำปุ๋ยอินทรีย์ เพราะคุณพิชิตมีความรู้และมีความเชี่ยวชาญในเรื่องการทำปุ่ย อีกทั้งมีอุปกรณ์สำหรับการคลุกเคล้าปุ๋ยให้เข้ากันดี ช่วยลดเวลาและลดแรงงานในการทำงานของสมาชิก..... 4. สมาชิกได้รับปุ๋ยอินทรีย์ไปคนละ 1 กระสอบ และปุ๋ยมูลใส้เดือนคนละ 2 กิโลกรัม..... 5. สมาชิกแยกกันปลูกพืชในพื้นที่ของตัวเองและตกลงกันว่าจะให้ตัวแทนของสมาชิกลงไปเก็บรูปเพื่อนำมาประกอบการรายงานผ่านเว็บไซต์

กิจกรรมที่ 10 การตรวจรับรองมาตรฐานการผลิตสัตว์น้ำขั้นปลอดภัย (Safety Level)24 พฤศจิกายน 2020
24
พฤศจิกายน 2020รายงานจากพื้นที่ โดย Fishhanpho
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. กรรมการประสานงานนัดรวมสมาชิกที่สมัครเข้าร่วมโครงการฯ และชักชวนชาวบ้านที่สนใจทั่วไป แจ้งวันที่ เวลา และสถานที่เข้าร่วมการอบรม เพื่อทำกิจกรรมที่ 10 การตรวจรับรองมาตรฐานการผลิตสัตว์น้ำขั้นปลอดภัย
  2. ประสานงานเจ้าหน้าที่ประมงอำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง เพื่อเข้าร่วมกิจกรรม และ เพื่อประสานงานการส่งเอกสารขอตรวจรับรองมาตรฐานการผลิตสัตว์น้ำขั้นปลอดภัยแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  3. ประสานงานผู้จัดเตรียมอาหารและเครื่องดื่มแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
  4. จัดเตรียมสถานที่ เครื่องขยายเสียง ป้ายโครงการ และอุปกรณ์สำนักงานที่จำเป็นต้องใช้
  5. เตรียมเอกสารชุดความรู้เรื่องการตรวจรับรองมาตรฐานการผลิตสัตว์น้ำขั้นปลอดภัย (Safety Level : SL)
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. กรรมการโครงการส่งเสริมต้นแบบการเลี้ยงปลาดุกปลอดภัยชุมชนหานโพธิ์ ร่วมกับเจ้าหน้าที่ประมงอำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง ได้ทำการบรรยาย และอธิบายถึงจุดเริ่มต้น ที่มาที่ไป และความจำเป็นของการตรวจรับรองมาตรฐานการผลิตสัตว์น้ำขั้นปลอดภัย (Safety Level : SL) รวมทั้งได้อธิบายถึงวิธีการ ขั้นตอน การบันทึกเอกสาร และหลักฐานที่ต้องใช้ประกอบการขอตรวจรับรองฯ
  2. สมาชิกในกลุ่มโครงการฯ ยื่นเอกสารขอตรวจรับรองทั้งหมด 8 ราย อีก 2ราย ไม่ประสงค์จะขอตรวจเนื่องจากติดปัญหาเรื่องเอกสารที่ดินที่บ่อเลี้ยงปลาตั้งอยู่
  3. สมาชิกและชาวบ้านผู้สนใจที่เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ มีความตระหนักถึงความจำเป็นของการผลิตอาหารปลอดภัย เพื่อให้ได้มาซึ่งมาตรฐานฯ ที่มีความสำคัญอันเป็นเครื่องหมายการันตีต่อผู้บริโภคที่จะตัดสินใจเลือกซื้อ
  4. มีผู้แสดงความประสงค์จะขอเข้าร่วมโครงการฯ กับทางกลุ่มเพื่อทำการเลี้ยงปลาดุกแบบปลอดภัย และ ลดต้นทุน ตามวิถีของโครงการฯ เพิ่มขึ้นอีก 5 ราย **
  5. ความรู้ที่สมาชิกและชาวบ้านได้รับเกี่ยวกับมาตรฐานSafety Level หรือ SL โดยสรุป ดังนี้ ....5.1. ประเทศไทยประสพปัญหาการตกค้างของยาและสารเคมี ในสินค้าที่ส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ เมื่อปี พ.ศ.2546 จึงจำเป็นที่จะต้องสร้างมาตรฐานสินค้าให้เป็นที่ยอมรับ โดยสำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการผลิตอาหารสัตว์น้ำปลอดภัย เพื่อให้เกษตรกรมีความพร้อมในการพัฒนาตนเองไปสู่การผลิตที่มีมาตรฐานสูงขึ้น โดยเฉพาะการผลิตกุ้งก้ามกรามส่งออก ให้มีศักยภาพสูงในการสร้างรายได้
    ....5.2 มาตรฐานการตรวจรับรองการผลิตสัตว์น้ำขั้นปลอดภัย ได้เริ่มขี้นเมื่อปีพ.ศ. 2547 โดยกำหนดอยู่ใน "ระเบียบกรมประมงว่าด้วยการออกใบรับรองการผลิตสัตว์น้ำขั้นปลอดภัย พ.ศ.2547" ซึ่งมีสำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดเป็นหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายในการดำเนินงาน ....5.3 มาตรฐานการผลิตสัตว์น้ำขั้นปลอดภัย เป็นพื้นฐานสำคัญ ที่จะนำไปสู่การขอรับรองมาตรฐานที่สูงขึ้นเพื่อใช้ในการส่งออก คือ มาตรฐานการปฎิบัติทางประมงที่ดีหรับสัตว์น้ำ หรือ จี เอ พี (GAP) ....5.4 ยาและสารเคมีที่ห้ามใช้ในสัตว์น้ำ ได้แก่ คลอแรมฟินิคอล(Chloramphenicol)/ ไนโทรฟิวราโซน(Nitrofurazone)/ ไนโทรฟิวแรนโทอิน(Nitrofurantoin)/ ฟิวราโซลิโดน(Furazolidone)/ ฟิวแรลทาโดน(Furaltadone)/ และ มาลาไคท์ กรีน(Malachite Green) (ที่มา: ประกาศการะทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 299 พ.ศ.2549 วันที่ 18 สิงหาคม 2549) ....5.5 เอกสารหลักฐานที่จำเป็นต้องใช้ในการยื่นขอตรวจรับรอง SL ได้แก่
    .......5.5.1 สำเนาทะเบียนบ้าน ,สำเนาบัตรประชาชน, สำเนาบัตรประจำตัวเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ(ทบ.1), สำเนาโฉนดที่ดินที่บ่อเลี้ยงปลาตั้งอยู่, ใบเสร็จรับเงินของฟาร์มที่ไปซื้อลูกปลามาเลี้ยงหรือใบบันทึกข้อมูลการเลี้ยงปลา ....5.6 เกษตรกรจะต้องเก็บอาหารที่ใช้เลี้ยงปลาไว้ส่งตรวจร่วมกับปลาที่เลี้ยงด้วย โดยปลาที่จะนำส่งตรวจจะใช้ 1 กิโลกรัม ส่วนอาหารปลา ใช้ประมาณ 100 กรัม ....5.7 ประมงอำเภอ จะเป็นผู้ช่วยประสานงาน ตั้งแต่การส่งเอกสาร และการติดตามผลการตรวจ รวมทั้งการแจ้งผลการตรวจแก่เกษตรกร **
  6. เกณฑ์การประเมินมาตรฐานขั้นปลอดภัยฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำ ได้แก่ ....6.1 มีการขึ้นทะเบียนฟาร์ม ....6.2 ไม่มีการใช้สารต้องห้ามที่ทางราชการประกาศ (มีภาพประกอบ) ....6.3 ไม่มียาปฎิชีวนะและสารต้องห้ามที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภคตกค้างในเนื้อสัตว์น้ำเกินกว่าที่ทางราชการกำหนด ....6.4 มีใบกำกับการจำหน่ายพันธุ์สัตว์น้ำและลูกพันธ์ุสัตว์น้ำ หรือ มีการลงบันทึกการเลี้ยงตามแบบฟอร์มที่ประมงกำหนด
กิจกรรมที่ 1.7 ประชุมกลุ่มประจำเดือนเพื่อสร้างความเข้าใจในการทำงาน และวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน (ธันวาคม'63)20 พฤศจิกายน 2020
20
พฤศจิกายน 2020รายงานจากพื้นที่ โดย Fishhanpho
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประสานงานสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมต้นแบบการเลี้ยงปลาดุกปลอดภัยชุมชนหานโพธิ์ โดยแจ้งวันที่ เวลา และสถานที่เข้าร่วมประชุมประจำเดือนธันวาคม 2563
  2. ประสานงานผู้จัดเตรียมอาหารและเครื่องดื่ม
  3. จัดเตรียมวัตถุดิบทำอาหารปลาดุกปลอดภัย สูตรโปรตีน 28% สำหรับปลาดุกอายุ 2.5 เดือนขึ้นไป
  4. จัดเตรียมสถานที่ เอกสาร และวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการประชุม
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. สมาชิกเข้าร่วมประชุมเพื่อทำ อาหารปลาดุกโปรตีน28% สูตรผสมแหนแดง สำหรับปลาที่มีอายุ 2.5 เดือนขึ้นไป โดยอาหารสูตรนี้จะทดลองใช้ แหนแดง ที่เป็นพืชอาหารปลาอีกชนิดหนึ่งที่หาได้ในท้องถิ่น และสามารถขยายพันธุ์ได้ง่าย อีกทั้งยังมีโปรตีนที่สูงกว่าหญ้าเนเปียและหยวกหมักที่ใช้สูตรก่อนหน้านี้ โดยเมื่อทำเสร็จแล้วก็จะได้อาหารไปคนละ 15 กิโลกรัม (น้ำหนักปียก)

  2. อาหารปลาดุกโปรตีน28% สูตรผสมแหนแดง ใช้ส่วนผสมดังนี้ ....2.1 ปลาป่น 55% ---------> 20 กิโลกรัม ....2.2 กากถั่วเหลือง---------> 18 กิโลกรัม ....2.3 ปลายข้าวนึ่ง ----------> 25 กิโลกรัม ....2.4 แหนแดง -------------> 24 กิโลกรัม ....2.5 หยวกหมัก------------> 10 กิโลกรัม ....2.6 น้ำมันพืช ------------> 2.8 กิโลกรัม ....2.7 เกลือแกง ------------> 0.2 กิโลกรัม

  3. สมาชิกรับทราบว่าตอนนี้ทางกลุ่มได้ทำอาหารปลาจนครบคนละ 60 กิโลกรัมแล้ว ดังนั้นการคำนวนการหาอัตราแลกเนี้อ ตามสูตร 1:1.5 (ปลาดุกที่เลี้ยงจนได้น้ำหนักเนื้อ 1 กิโลกรัม จะกินอาหาร 1.5 กิโลกรัม) จะได้ว่า ถ้าปลาดุกกินอาหารไป 60 กิโลกรัม ปลาดุกควรจะมีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 40 กิโลกรัม ซึ่งนั่นจะแสดงให้เห็นว่าอาหารสูตรที่ทางกลุ่มได้ผลิต และนำมาให้ปลาดุกกินนั้น จะเป็นอาหารที่มีคุณภาพเป็นที่ต้องการของผู้เลี้ยงหรือตลาดได้ เพราะทำให้ปลาดุกเจริญเติบโตได้ไม่ต่างกันกับอาหารเม็ดกระสอบ แต่ที่ต่างกันก็คือ ต้นทุนค่าอาหารที่ลดลง ซึ่งนั่นเป็นเป้าหมายที่ผู้เลี้ยงย่อมต้องการ

  4. สมาชิกตกลงกันว่าจะต้องชั่งน้ำหนักปลาของตน เมื่อปลากินอาหารรอบนี้หมดลง เพื่อพิสูจน์หาอัตราแลกเนื้อของปลา
  5. สมาชิกบันทึกข้อมูลอายุของลูกปลาดุก เท่ากับ 87 วัน นับจากวันที่ 23 ส.ค. - 20 พ.ย 2563
กิจกรรมที่ 1.6 ประชุมกลุ่มประจำเดือนเพื่อสร้างความเข้าใจในการทำงาน และวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน (พฤศจิกายน'63)6 พฤศจิกายน 2020
6
พฤศจิกายน 2020รายงานจากพื้นที่ โดย Fishhanpho
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประสานงานสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมต้นแบบการเลี้ยงปลาดุกปลอดภัยชุมชนหานโพธิ์ โดยแจ้งวันที่ เวลา และสถานที่เข้าร่วมประชุมแก่สมาชิกและผู้สนใจ
  2. ประสานงานผู้จัดเตรียมอาหารและเครื่องดื่ม
  3. จัดเตรียมวัตถุดิบทำอาหารปลาดุกปลอดภัย สูตรโปรตีน 28% สำหรับปลาดุกอายุ 2.5 เดือนขึ้นไป
  4. จัดเตรียมสถานที่ เอกสาร และวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการประชุม
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. สมาชิกโครงการ ได้เรียนรู้สูตรอาหารปลาดุกสูตรใหม่ที่มีโปรตีน28% สูตรผสมหญ้าเนเปียร์ สำหรับเลี้ยงปลาดุกที่มีอายุ 2.5 เดือนขึ้นไป โดยสูตรนี้จะทดลองใช้ หญ้าเนเปียร์ มาแทนหยวกกล้วยหมัก ด้วยเหตุผล คือ ....1.1) หญ้าเนเปียเป็นพืชที่หาได้ในท้องถิ่นเช่นเดียวกันกับหยวก แต่จะมีโปรตีนที่สูงกว่า จึงสามารถทำให้ปรับลดปริมาณปลาป่น และกากถั่วเหลือง ที่มีราคาสูงกว่าลงได้ นั่นหมายถึงจะทำให้อาหารปลามีต้นทุนที่ลดลง
    ....1.2) เนื่องจากหญ้าที่เรานำมาใช้ยังไม่ได้ผ่านการหมัก จึงคาดว่าน่าจะเหมาะที่จะนำมาใช้กับปลาในวัยที่โตขึ้น มากกว่าปลาวัยเล็ก ในเรื่่องของความาสามารถในการย่อย กรณีนี้จะช่วยลดเวลาในการเตรียมหยวกหมักได้ แต่ถ้าจะใช้สำหรับปลาวัยเล็กแนะนำให้ใช้หญ้าเนเปียหมัก เพราะจะช่วยให้ลูกปลาย่อยอาหารได้ง่ายขึ้น ....1.3) การทำอาหารปลา สามารถปรับสูตรได้ตามปริมาณวัตถุดิบที่มีมากในท้องถิ่น ....
  2. สมาชิกช่วยกันเตรียมส่วนผสม เช่น การช่วยกันสับหญ้าเนเปียให้เป็นชิ้นเล็กๆ เพื่อให้ปลากินได้ง่าย และสะดวกในการปั้นก้อน รวมทั้งช่วยกันต้มปลายข้าวและกากถั่วเหลือง เพื่อทำให้แป้งสุกปลาจะย่อยได้ง่าย และช่วยให้มีความเหนียวเพื่อจับเป็นก้อนง่ายเวลาปั้น
  3. อาหารปลาดุกโปรตีน28% สูตรผสมหญ้าเนเปียร์สับ ใช้ส่วนผสมดังนี้ ....3.1) ปลาป่น 55% --------->25 กิโลกรัม ....3.2) กากถั่วเหลือง--------->22 กิโลกรัม ....3.3) ปลายข้าวนึ่ง ---------->25 กิโลกรัม ....3.4) หญ้าเนเปียสับ -------->25 กิโลกรัม ....3.5) น้ำมันพืช------------->2.8 กิโลกรัม ....3.6) เกลือแกง ----------->0.2 กิโลกรัม

  4. น้ำหนักวัตถุดิบเริ่มต้นที่ 100 กิโลกรัม แต่พอนำวัตถุดิบ เช่น กากถั่วเหลือง และปลายข้าว มาต้มให้สุกก่อนนำไปใช้ น้ำหนักของอาหารปลาจะเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 80% คือจะได้อาหารปลาที่มีน้ำหนัก 180 กิโลกรัม

  5. สมาชิกลงความเห็นว่า ในช่วงปลาที่อายุ 2 เดือนขึ้นไป ปลาจะโตเร็ว ดังนั้นจึงควรย่นเวลาของการทำอาหารปลาให้เร็วขึ้น จากเดิมที่ทำอยู่ คือ 12 วันครั้ง ก็ให้ย่นมาเหลือ 7 วัน หรือ 1สัปดาห์ ต่อครั้ง และให้เพิ่มปริมาณการทำที่มากขึ้น เพื่อเตรียมไว้สำหรับหน้าฝน ซึ่งจะช่วยลดปัญหาเรื่องการตากอาหารไม่แห้ง กันอาหารขึ้นรา

  6. สมาชิกได้พูดถึงการนำปลาดุกไปแปรรูปเป็นปลาดุกร้า เพราะมีตลาดภายนอกติดต่อเข้ามา ว่าต้องการปลาดุกร้าที่ผลิตจากปลาดุกปลอดภัย แต่ทั้งนี้ก็ต้องให้ปลาดุกที่เลี้ยงในกลุ่มได้ผ่านการตรวจรับรองมาตรฐานการผลิตสัตว์น้ำเบื้องต้น(Safety Level) เสียก่อน โดยต่างก็ได้พูดคุยวางแผนการเลี้ยงไว้ล่วงหน้า ถ้าสามารถเจรจาราคาซื้อขายได้ลงตัวตามที่ต้องการ

  7. สมาชิกช่วยกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และบอกกล่าววิธีการให้อาหารปลาของแต่ละคน เช่น บางคนบอกว่าใช้วิธีการโยนอาหารลงกระชัง โดยก่อนโยนจะทำการแกะอาหารออกเป็นชิ้นที่เล็กลงจากก้อนใหญ่ และบางคนที่ให้โดยวิธีการใส่ตระกร้าลอยน้ำให้ปลาไปตอดกิน

  8. สมาชิกบันทึกข้อมูลอายุของลูกปลาดุก เท่ากับ 73 วัน นับจากวันที่ 23 ส.ค. - 6 พ.ย 2563


    ....................

กิจกรรมที่ 5 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างการเลี้ยงปลาดุกปลอดภัย28 ตุลาคม 2020
28
ตุลาคม 2020รายงานจากพื้นที่ โดย Fishhanpho
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. กรรมการประสานงานนัดรวมสมาชิกโครงการฯ และชักชวนชาวบ้านที่สนใจทั่วไป แจ้งวันที่ เวลา และสถานที่เข้าร่วมการอบรมกิจกรรมที่ 5
  2. ประสานงานผู้จัดเตรียมอาหารและเครื่องดื่มแก่ผู้เข้าร่วมการอบรม
  3. จัดเตรียมสถานที่เครื่องขยายเสียงและอุปกรณ์สำนักงานที่จำเป็นต้องใช้
  4. เตรียมเอกสารชุดความรู้เรื่อง อาหารและการผลิตอาหารสัตว์น้ำ เอกสารแบบฟอร์มการบันทึกข้อมูลการเลี้ยงปลาดุกปลอดภัย
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กลุ่มผู้เลี้ยงปลาดุกบ้านศาลาไม้ไผ่ มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิธีการเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยแบบปลอดภัย กับกลุ่มสมาชิกในโครงการต้นแบบการเลี้ยงปลาดุกปลอดภัยชุมชนหานโพธิ์ ดังนี้ .. 1. การเลือกลูกพันธ์ปลาดุกบิ๊กอุย ให้เลือกซื้อจากฟาร์มที่ได้รับการขึ้นทะเบียนรับรองจากหน่วยงานราชการแล้ว เพราะเวลาปลามีปัญหาจะได้ทราบที่มาที่ไปของลูกปลาได้ และลักษณะของลูกปลาที่ควรนำมาเลี้ยง จะต้องมีความแข็งแรง ดวงตาใสแจ๋ว มีการขยับร่างกายอย่างคล่องแคล่ว ไม่มีแผลตามลำตัว มีขนาดตั้งแต่ 3 นิ้วขึ้นไป เพราะสามารถกินอาหารได้ดีและ อัตราการรอดจะสูงกว่าปลาที่มีขนาดเล็ก

  1. ศึกษาความแตกต่างของลูกพันธุ์ปลาดุกบิ๊กอุย กับปลาดุกพันธุ์อื่นๆ โดยการสังเกตุที่ข้างลำตัวของลูกปลาดุกบิ๊กอุย จะมีลายจุดสีขาวแบบประแป้ง เรียงขวางตามลำตัว และตรงโคนของศีรษะ จะมีรอยหยัก 3หยัก แต่ปลายของหยักจะไม่แหลมมากไม่เหมือนปลาดุกรัสเซีย และถ้าเป็นปลาดุกอุย (ปลาดุกบ้าน หรือดุกเนื้ออ่อน) รอยหยักจะโค้งมนไม่แหลม

  2. วิธีการให้อาหารปลา จะต้องเลือกให้ตามอายุหรือวัยของลูกปลา คือ
    ....3.1) ปลาวัยอนุบาล (อายุ 0.5-1เดือน) -----> ต้องให้อาหารที่มีโปรตีนไม่น้อยกว่า 35% ....3.2) ปลาวัยรุ่น (อายุ 1-2.5 เดือน) --------> ต้องให้อาหารที่มีโปรตีนไม่น้อยกว่า 30-32% ....3.3) ปลาวัยโตถึงจับขาย (อายุ 2.5 เดือนขี้นไป) -----> ต้องให้อาหารที่มีโปรตีน 25- 28%

  3. อาหารเลี้ยงปลาดุกที่ทางกลุ่มหานโพธิ์ผลิตใช้ ยึดหลักความปลอดภัยของวัตถุดิบ หาได้ในชุมชน และได้สารอาหารโดยเฉพาะโปรตีนตรงตามความต้องการของปลา รวมทั้งจะต้องเป็นอาหารที่ย่อยง่าย และช่วยลดปัญหาน้ำเสียในบ่อปลา หลักการที่ใช้ก็คือ วัตถุดิบที่นำมาทำอาหาร ถ้าเป็นพืชที่ลำต้นอวบน้ำ เช่น หยวก หญ้าเนเปีย หญ้าหวาน เป็นต้น จะต้องนำมาหมักด้วยจุลินทรีย์จากนมเปรี้ยวและจากแป้งข้าวหมากเสียก่อน เพื่อให้เยื่อใยถูกย่อยและปลากินได้ง่าย ส่วนวัตถุดิบที่เป็นปลายข้าว หรือกากถั่วเหลือง จะต้องทำให้สุกเสียก่อนเพื่อทำให้แป้งถูกย่อยได้ดี ปลาท้องไม่อืด และนำไปใช้ประโยชน์ได้ดีกว่าแบบดิบ

  4. ผลจากการเลี้ยงด้วยอาหารปลาที่ทำเอง พบว่าปลาดุกมีอัตราการโตที่ดี เพราะเมื่อนำปลาดุกที่มีอายุ 57 วันมาชั่งน้ำหนักดู พบว่าหนักเฉลี่ยตัวละ 100 กรัม หรือประมาณ 10 ตัวต่อกิโลกรัม จึงทำให้ทางกลุ่มผู้เลี้ยงปลาดุกบ้านศาลาไม้ไผ่ มีความสนใจที่จะทำอาหารสูตรเดียวกันกับกลุ่มผู้เลี้ยงปลาดุกปลอดภัยบ้านหานโพธิ์

  5. การแลกเปลี่ยนความรู้และเทคนิคในการปั้น การเก็บรักษาอาหารปลาดุกทำเองช่วงหน้าฝน คือ จะต้องปั้นให้ก้อนเล็กลงกว่าเดิม (ปกติปั้นก้อนขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 ซม.) เพื่อให้อาหารแห้งเร็ว และจะต้องสเปร์หัวเชื้อจุลินทรีย์ให้ทั่วถึงจริงๆ ก้อนอาหารจะไม่ขึ้นรา และจะต้องทำในปริมาณที่พอดีให้ปลากินให้หมดใน 7 วัน แล้วจึงทำใหม่ การเตรียมวัตถุดิบช่วงหน้าฝนควรจะต้องซื้อมาเผื่อไว้ จะได้ไม่ต้องมีปัญหาเรื่องการเดินทางหน้าฝน เพราะจำทำให้อาหารเปียกฝนได้ง่าย เกิดความชื้น และขึ้นรา

  6. วิธีการให้อาหารปลาแบบปั้นก้อน คือ การนำอาหารใส่ลงไปในถุงอวน หรือ ตะกร้าที่มีตากว้างพอประมาณ แล้วนำไปหย่อนในกระชังหรือในบ่อ ให้ปลาได้ตอดกิน เมื่อปลากินหมด ก็ให้เพิ่มปริมาณใหม่ และดูว่าปลาจะกินเหลือหรือไม่ ก็ให้ปรับลดปริมาณอาหารลงตามความเหมาะสม วิธีนี้จะช่วยลดการสูญเสียอาหาร ดีกว่าการโยนอาหารลงไปในบ่อ โดยไม่รู้ว่าต้องโยนลงไปเท่าไหร่ถึงจะเพียงพอ เพราะเราไม่สามารถมองเห็นว่าปลากินหมดจริงหรือไม่

  7. การเพิ่มจำนวนมื้ออาหารของปลา เมื่อเห็นว่าปลาของตนโตไม่ทันเท่ากับปลาของคนอื่น ทั้งที่เป็นปลาดุกรุ่นเดียวกันและเริ่มเลี้ยงพร้อมกัน โดยการเพิ่มมื้ออาหารสามารถทำได้จากเดิม คือ วันละ 1-2 มื้อ ก็เพิ่มเป็นวันละ 3 มื้อแทน วิธีนี้จะทำให้ปลาโตเร็วขึ้นได้ แต่จะต้องเพิ่มตอนที่ปลาดุกอายุยังไม่มาก(ไม่ควรเกิน 4 เดือน) เพราะปลายังอยู่ในวัยที่เจริญเติบโต กระเพาะอาหารยังไม่ลีบ และมื้อที่เพิ่มควรเป็นมื้อกลางวันมากกว่ามื้อเย็น เนื่่องจากมื้อเย็นถ้าปลากินอาหารมากเกินไป จะมีปัญหาเรื่องการย่อย และการใช้ออกซิเจนในการเผาผลาญอาหาร เพราะเวลาใกล้ค่ำ ปริมาณออกซิเจนในน้ำจะต่ำ ทำให้ปลามีปัญหาเรื่องการขาดออกซิเจนได้

กิจกรรมที่ 1.5 ประชุมกลุ่มประจำเดือนเพื่อสร้างความเข้าใจในการทำงาน และวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน (ตุลาคม'63)8 ตุลาคม 2020
8
ตุลาคม 2020รายงานจากพื้นที่ โดย Fishhanpho
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประสานงานสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมต้นแบบการเลี้ยงปลาดุกปลอดภัยชุมชนหานโพธิ์ โดยแจ้งวันที่ เวลา และสถานที่เข้าร่วมประชุมแก่สมาชิกและผู้สนใจ
  2. ประสานงานผู้จัดเตรียมอาหารและเครื่องดื่ม
  3. จัดเตรียมวัตถุดิบทำอาหารปลาดุกปลอดภัย สูตรโปรตีน 32% สำหรับปลาดุกอายุ 1-2.5เดือน
  4. จัดเตรียมสถานที่ เอกสาร และวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการประชุม
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. สมาชิกมาร่วมประชุมเพื่อทำ อาหารปลาดุกโปรตีน 32% สูตรผสมหยวกกล้วยหมัก เพื่อเตรียมอาหารไว้ใช้ให้ทันการกินของลูกปลา โดยเมื่อทำเสร็จแล้วก็จะได้อาหารไปคนละ 15 กิโลกรัม
  2. สมาชิกช่วยกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้และบอกกล่าววิธีการให้อาหารปลาของแต่ละคน เช่น บางคนบอกว่าใช้วิธีการโยนอาหารลงกระชัง โดยก่อนโยนจะทำการแกะอาหารออกเป็นชิ้นที่เล็กลงจากก้อนใหญ่ และบางคนที่ให้โดยวิธีการใส่ตระกร้าลอยน้ำให้ปลาไปตอดกิน
  3. สมาชิกเล่าว่าปลาของตัวเองตัวเล็กหรือใหญ่ไม่เท่ากัน สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากการแย่งอาหารที่ไม่ทันกัน โดยปลาที่แข็งแรงกว่า ตัวใหญ่กว่าจะแย่งกินอาหารได้เร็วกว่า
  4. สมาชิกเสนอว่าการปั้นอาหารเป็นก้อน น่าจะทำขนาดให้เล็กลง เพราะช่วงนี้หน้าฝน ถ้าก้อนใหญ่ไปอาหารจะขึ้นราง่าย แห้งช้า และการสเปรย์หัวเชื้อจุลินทรีย์ลงบนก้อนอาหารก็อาจไม่ทั่วถึงเท่ากับการปั้นก้อนเล็ก และการปั้นอาหารควรจะปั้นเป็นทรงวงรี เพราะคิดว่าปลาจะเข้าไปกินได้ทั่วถีงกว่าก้อนกลม แต่สรุปว่าการทำอาหารให้ก้อนเล็กลงจะดีกว่า และจับโยนได้ง่ายกว่าโดยไม่ต้องเสียเวลาแกะเป็นชิ้นๆ
  5. สมาชิกช่วยกันบันทึกข้อมูลอายุของลูกปลาดุก เท่ากับ 45 วัน นับจากวันที่ 23 ส.ค. - 8 ต.ค 2563
กิจกรรมที่ 4 เวทีออกแบบสูตรอาหารปลาดุกปลอดภัย การจัดหาลูกพันธุ์ปลาดุก และการออกแบบการเก็บข้อมูลการเลี้ยงที่สอดคล้องกับสูตรอาหาร20 กันยายน 2020
20
กันยายน 2020รายงานจากพื้นที่ โดย Fishhanpho
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. กรรมการประสานงานนัดรวมสมาชิกที่สมัครเข้าร่วมโครงการฯ และชักชวนชาวบ้านที่สนใจทั่วไป แจ้งวันที่ เวลา และสถานที่เข้าร่วมการอบรมกิจกรรมที่ 4
  2. ประสานงานผู้จัดเตรียมอาหารและเครื่องดื่มแก่ผู้เข้าร่วมการอบรม
  3. จัดเตรียมสถานที่เครื่องขยายเสียงและอุปกรณ์สำนักงานที่จำเป็นต้องใช้
  4. เตรียมเอกสารชุดความรู้เรื่อง อาหารและการผลิตอาหารสัตว์น้ำ เอกสารแบบฟอร์มการบันทึกข้อมูลการเลี้ยงปลาดุกปลอดภัย
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. สมาชิกในโครงการได้เรียนรู้เรื่องอาหารสัตว์น้ำ และสามารถแยกแยะประเภทของปลาดุก ได้ว่า เป็นปลาที่กินทั้งเนื้อและพืชแต่เน้นไปทางเนื้อ
  2. สมาชิกสามารถทราบแหล่งพลังงานของอาหารปลาดุกว่าได้มาจากโปรตีน แป้ง และไขมัน โดยมีวิตมินและแร่ธาตุเป็นตัวช่วยเสริมให้ธาตุอาหารหลักทำงานได้ดี และส่วนใหญ่ก็อยู่ในผักและผลไม้
  3. แหล่งโปรตีนที่สำคัญของปลาดุก คือ ปลาป่น และกากถั่วเหลือง เพราะให้ปริมาณโปรตีนที่สูงกว่่า หาได้ง่ายกว่า ทำให้ปลาในวัยอนุบาลเจริญเติบโตได้ดีกว่าการใช้โปรตีนจากแหล่งอาหารชนิดอื่น
  4. สูตรอาหารปลาที่เกษตรกรทำเอง จะต้องคำนึงถึงอายุของลูกปลา ว่าวัยไหนต้องการโปรตีนเท่าไหร่ ถึงจะทำให้ปลาเจริญเติบโตตามช่วงอายุได้ดี เช่น ปลาวัยอนุบาลควรทำอาหารที่มีโปรตีน 35-40% ปลาวัยเด็กและวัยรุ่นควรจะมีโปรตีน 30-32% และปลาวัยผู้ใหญ่(ปลาที่พ่ร้อมจับขาย อายุประมาณ 3.5เดือนขึ้นไป) ควรจะลดโปรตีนลงแค่ 25-28% เพราะปลาที่โตแล้วความต้องการโปรตีนจะลดลง จะเน้นไปทางแป้งมากขึน
  5. การคำนึงถึงปริมาณแป้งหรือคาร์โบไฮเดรตในอาหารปลาก็มีความจำเป็น โดยปลาที่กินพืชจะทำการย่อยแป้งได้ดีกว่าปลาที่กินเนื้อ นั่นคือ สำหรับปลาดุกที่กินทั้งพืชทั้งเนื้อแต่ค่อนไปทางเนื้อ ควรจะให้มีแป้งในอาหารเพียงร้อยละ 30-40 ก็เพียงพอ ถ้ามากไปกว่านั้นปลาจะไม่ย่อย ทำให้ท้องอืด ไม่สบายเอาง่ายๆ และก่อให้เกิดการสูญเสียอาหารไปเปล่าๆ
  6. น้ำมันพืชที่ใช้แล้วสามารถนำมาใช้ทำอาหารปลาเพื่อลดต้นทุนได้ แต่ทั้งนี้ก็ต้องไม่ใช้น้ำมันพืชที่มีตะกอนดำๆ เพราะจะอันตรายมากกว่า และปริมาณที่ใช้ในอาหารปลาส่วนใหญ่ไม่เกินร้อยละ 3
  7. การทำอาหารปลา นอกจากจะคำนึงถึงปริมาณสารอาหารแล้ว สิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงก็คือ การช่วยให้อาหารนั้นสามารถย่อยได้ดีในตัวปลา และถ่ายออกมาจะไม่ทำให้น้ำเสียเร็ว ทั้งนี้ก็ต้องใช้จุลินทรีย์ที่ดีต่อระบบย่อยอาหารมาช่วยเสริม เช่น การทำหยวกหมักมาเป็นส่วนผสมในอาหารปลา เป็นต้น
  8. เนื่องจากเกษตรกรไม่มีเครื่องอัดเม็ด อาหารปลาที่ทำเอง จึงจำเป็นต้องปั้นเป็นก้อนและตากให้แห้ง แล้วจึงนำไปให้ปลา
  9. ปริมาณการให้อาหารปลา ควรจะให้ประมาณ 10% ของน้ำหนักตัวต่อวัน และปลาในช่วงวัยเล็กๆ ควรจะให้วันละ 3 มื้อ เนื่องจากปลายังต้องสร้างการเจริญเติบโต ส่วนปลาใหญ่ให้วันละ 2 มื้อก็เพียงพอ
  10. การบันทึกข้อมูลการให้อาหาร บันทึกน้ำหนักปลา บันทึกต้นทุน บันทึกสิ่่งที่เกี่ยวข้องที่เกิดขึ้นระหว่างการเลี้ยง เช่นการเกิดปัญหารปลาตาย ปัญหาน้ำเสีย และบันทึกวิธีการแก้ปัญหา จะช่วยให้การเลี้ยงปลาดุกในรุ่นต่อๆ ไป ง่ายขึ้น และสามารถป้องกันปัญหาที่จะเกิดซ้ำได้ ทั้งนี้การออกแบบใบบันทึกข้อมูล ควรจะเข้าใจง่ายเมื่อนำข้อมูลมาอ่านทบทวนในคราวหลัง
  11. อาหารปลาที่ทำการอบรมในวันนี้คือ อาหารปลาโปรตีน 32% สูตรผสมหยวกกล้วยหมัก วัตถุดิบที่ใช้ได้แก่ ....11.1) ปลาป่น 55% --------->38 กิโลกรัม ....11.2) กากถั่วเหลือง---------->22 กิโลกรัม ....11.3) ปลายข้าวนึ่ง ---------->20 กิโลกรัม ....11.4) หยวกกล้วยหมัก ------>17 กิโลกรัม ....11.5) น้ำมันพืช ----------->2.8 กิโลกรัม ....11.6) เกลือแกง ---------->0.2 กิโลกรัม
  12. อาหารปลาที่ได้มีน้ำหนักรวม 150 กิโลกรัม (น้ำหนักเปียก) จะเห็นได้ว่าส่วนผสมที่เราใช้มีแค่ 100 กิโลกรัม แต่เมื่อนำมาผสมกันกลับได้อาหารที่มีน้ำหนักมากขึ้น ทั้งนี้เพราะ ส่วนผสมที่เป็นกากถั่วเหลืองและปลายข้าว ทางกลุ่มจะเอามาต้มให้สุกก่อนใช้ เพื่อทำให้ปลาย่อยได้ง่ายขึ้น จึงทำให้ได้น้ำหนักอาหารที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยพบว่าปลายข้าว 1 กิโลกรัมเมื่อทำการต้มแล้วจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นประมาณ 3 เท่า หรือเท่ากับ 3 กิโลกรัม ส่วนกากถั่วเหลือง จะได้น้ำหนักเพิ่มขึ้นประมาณ 2เท่า หรือ 2 กิโลกรัม
กิจกรรมที่ 1.4 ประชุมกลุ่มประจำเดือนเพื่อสร้างความเข้าใจในการทำงาน และวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน (กันยายน'63)6 กันยายน 2020
6
กันยายน 2020รายงานจากพื้นที่ โดย Fishhanpho
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประสานงานสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมต้นแบบการเลี้ยงปลาดุกปลอดภัยชุมชนหานโพธิ์ แจ้งวันที่ เวลา และสถานที่เข้าร่วมประชุม
  2. ประสานงานผู้จัดเตรียมอาหารและเครื่องดื่ม
  3. จัดเตรียมสถานที่ เอกสาร และวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการประชุม
  4. จัดเตรียมถังหมัก หัวเชื้อ(ขอจากประมงจังหวัดพัทลุง) น้ำซาวข้าว และหยวกสับเพื่อทำการหมักหยวกไว้สำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการทำอาหารปลาดุก ซึ่งต้องใช้เวลาหมักนาน 14 วัน
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีผู้เข้าร่วมประชุม 10 คน

  2. อธิบายการทำอาหารปลาเบี้องต้นในส่วนของวัตถุดิบที่ต้องเตรียมพร้อมทั้งวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ โดยแบ่งหน้าที่กันจัดหา ดังนี้ ....2.1 คุณพิชิต จัดเตรียมรำข้าวหยาบ
    ....2.2 คุณจุฑารัตน์ จัดเตรียมปลายข้าว(ต้มสุก) น้ำตาลทราย ปลาป่น หยวกกล้วยหมัก ตาชั่ง พลั่วตัก และกระบะใช้เคล้าผสมอาหาร ....2.3 คุณสภาพร จัดเตรียมวัตถุดิบการทำหัวเชื้อจุลินทรีย์ ได้แก่ น้ำมะพร้าว แป้งข้้าวหมาก นมเปรี้ยว(เลือกใช้ยาคูล) ซีอิ๊วดำ เพื่อทำการสาธิต ให้สมาชิกสามารถนำไปทำต่อที่บ้านได้ ....2.4 สมาชิกคนอื่นๆ จะช่วยกันออกแรงในการตักอาหาร เคล้าผสมอาหาร และปั้นอาหาร

  3. สมาชิกได้นำหยวก และอุปกรณ์ มาให้คุณจุฑารัตน์ สำหรับการเตรียมหมักหยวกไว้ใช้ในการทำอาหารปลา ซึ่งต้องเตรียมล่วงหน้า 14 วัน ตามสูตรที่ได้มาจากประมงจังหวัดพัทลุง

  4. กำหนดกิจกรรมที่ต้องทำต่อไป คือ กิจกรรมที่ 4 เวทีออกแบบสูตรอาหารปลาดุกปลอดภัย การจัดหาลูกพันธุ์ปลาดุก และการออกแบบการเก็บข้อมูลการเลี้ยงที่สอดคล้องกับสูตรอาหาร โดยนัดวัน เวลา และสถานที่ คือ 20 กันยายน 2563 เริ่มเวลา 10.00น. ที่บ้านคุณจุฑารัตน์ เมฆเรือง

กิจกรรมที่ 1.3 ประชุมกลุ่มประจำเดือนเพื่อสร้างความเข้าใจในการทำงาน และวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน (สิงหาคม'63)23 สิงหาคม 2020
23
สิงหาคม 2020รายงานจากพื้นที่ โดย Fishhanpho
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประสานงานสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมต้นแบบการเลี้ยงปลาดุกปลอดภัยชุมชนหานโพธิ์ แจ้งวันที่ เวลา และสถานที่เข้าร่วมประชุม
  2. ประสานงานผู้จัดเตรียมอาหารและเครื่องดื่ม
  3. จัดเตรียมสถานที่ เอกสาร และวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการประชุม
  4. จัดเตรียมลูกปลาดุกบิ๊กอุยให้สมาชิก คนละ 200 ตัว รวมทั้งหมด 2,000 ตัว
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 13 คน

  2. สมาชิกรับลูกปลาดุกบิ๊กอุย คนละ 200ตัว โดยจ่ายตามรายชื่อผู้สมัครเข้าร่วมโครงการจำนวน 10 ราย พร้อมรับอาหารปลาสำหรับลูกปลาวัยอนุบาล ที่มีโปรตีนสูงร้อยละ 40 จำนวนคนละ 2 กิโลกรัม โดยหลักเกณฑ์การให้อาหารในช่วงวัยอนุบาลนั้น เน้นการให้อาหารให้บ่อย ไม่ต่ำกว่าวันละ 2ครั้ง แต่ละครั้งให้ในปริมาณที่เหมาะสม ดังนี้ ....2.1 อาทิตย์แรกของการเลี้ยง ควรให้อาหาร 10-20 กรัมต่อมื้อ(หรือประมาณ 3ช้อนโต๊ะ โดยจากการชั่งน้ำหนักอาหารพบว่า 1ช้อนโต๊ะหนักเท่ากับ 5 กรัม) โดยให้ 2-3 มื้อต่อวัน ....2.2 อาทิตย์ที่ 2 ควรให้อาหารมื้อละ 20-30 กรัม โดยให้ 2-3 มื้อต่อวัน ....2.3 อาทิตย์ที่ 3 ควรให้อาหารมื้อละ 30-50 กรัม โดยให้ 2 มื้อต่อวัน ....2.4 อาทิตย์ที่ 4 ควรให้อาหารมื้อละ 50-80 กรัม โดยให้ 2 มื้อต่อวัน รวมปริมาณอาหารที่จะให้ทั้งหมดในช่วง 1 เดือนแรก ไม่ควรเกิน 1.8 กิโลกรัม ต่อจากนั้นอาหารที่จะต้องใช้เลี้ยงปลาดุก จะต้องเป็นอาหารที่ทำเองโดยทางโครงการจะสอนวิธีการทำพร้อมสูตรอาหารปลาดุกปลอดภัย ที่มีโปรตีนอยู่ในช่วงร้อยละ 30-33

  3. ในที่ประชุมมีการตกลงกันว่า จะต้องมีการแบ่งหน้าที่ให้สมาชิก เพื่อลงพื้นที่เก็บข้อมูลการเลี้ยงปลา โดยข้อมูลที่ต้องทำการบันทึกจะครอบคลุมในเรื่องของ ....2.1 ปริมาณการให้อาหารปลาในแต่ละมื้อ ....2.2 สำรวจอัตราการเจริญเติบโตของปลาเบื้องต้น จากการวัดขนาดลำตัว และหรือการชั่งน้ำหนัก โดยวัดขนาดก่อนเลี้ยง และเมื่อเลี้ยงปลาจนมีอายุครบ 1 เดือน 2 เดือน 3 เดือน และ 4เดือน(ได้ขนาดจับขาย) เป็นต้น ....2.3 สอบถามปัญหาที่พบเจอในระหว่างการเลี้ยง และ ทางผู้เลี้ยงมีการจัดการกับปัญหาได้หรือไม่อย่างไร ....2.4 สภาพแวดล้อมในการเลี้ยง เช่น รอบๆ บ่อเลี้ยงปลามีการฉีดยาฆ่าหญ้าหรือไม่ สภาพน้ำในบ่อเลี้ยงปลาเปรียบเทียบน้ำในกระชัง กับน้ำนอกกระชัง เหมือนหรือต่างกันอย่างไรบ้าง

  4. หากมีการลงพื้นที่ สมาชิกที่ทำการลงพื้นที่จะต้องแจ้งวันที่และเวลาการลงพื้นที่ให้สมาชิกทราบล่วงหน้า โดยแจ้งทางโทรศัพท์ หรือแจ้งมาในกล่องข้อความของกลุ่มทางโซเชี่ยล(ในแอพแชทMessenger)
  5. คณะทำงานโครงการแจ้งที่ประชุมเรื่องกิจกรรมครั้งถัดไป คือ กิจกรรมประชุมกลุ่มประจำเดือนกันยายน 2563 เรื่องการวางแผนเตรียมการทำอาหารปลาดุก โดยแบ่งหน้าที่ผู้ที่ต้องจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ ดังนี้ ....4.1 คุณสุภาพร ประสานงานขอหัวเชื้อน้ำหมักจุลินทรีย์แลคโตบาซิลัส มาจากประมงจังหวัด เพื่อทำการต่อเชื้อใช้หมักหยวกในถังหมักของกลุ่ม และจัดเตรียมถังหมักขนาด 150 ลิตร จำนวน 1 ถัง ....4.2 คุณสุจินต์ รับหน้าที่จัดหาหยวก ....4.3 คุณจุฑารัตน์ รับหน้าที่บดสับหยวก จำนวน 100 กิโลกรัม ....4.4 คุณปัทมา รับหน้าที่จัดหาน้ำซาวข้าว เพื่อใช้ต่อเชื้อจุลินทรีย์สำหรับการหมักหยวก ที่จะเตรียมไว้เป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารปลาดุก
กิจกรรมที่ 3 เวทีอบรมให้ความรู้ก่อนการเลี้ยง หัวข้อการเตรียมบ่อ เตรียมน้ำ และการเตรียมกระชังปลา9 สิงหาคม 2020
9
สิงหาคม 2020รายงานจากพื้นที่ โดย Fishhanpho
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. กรรมการประสานงานนัดรวมสมาชิกที่สมัครเข้าร่วมโครงการฯ เพื่อแจ้งวันที่ เวลา และสถานที่เข้าร่วมการอบรมกิจกรรมที่ 3
  2. ประสานงานผู้จัดเตรียมอาหาร
  3. จัดเตรียมสถานที่เครื่องขยายเสียงและอุปกรณ์สำนักงานที่จำเป็น
  4. เตรียมเอกสารชุดความรู้เรื่อง การเตรียมบ่อ การเตรียมน้ำ และการเตรียมกระชังปลา ก่อนการเลี้ยงปลาดุกปลอดภัย
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. สมาชิกและผู้ที่สนใจอยากได้ความรู้ เข้าร่วมการอบรมทั้งสิ้น 18 คน
  2. สมาชิกสามารถเข้าใจได้ว่าการนำน้ำไปตรวจสภาพเบื้้องต้นก่อนการปล่อยปลาลงไปเลี้ยง ช่วยให้การจัดการน้ำ และ การปรับสภาพน้ำง่ายขึ้น
  3. สมาชิกเข้าใจได้ว่าการปรับสภาพน้ำโดยการใช้ปูนขาว คือใช้เพื่อการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค และเพื่อการปรับสภาวะความเป็นกรดด่างของบ่อปลาให้เหมาะสม โดยมีปริมาณการใช้ และวิธีการใช้ตามเอกสารชุดความรู้ที่โครงการจัดทำให้
  4. สมาชิกสามารถทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงเพื่อบำบัดน้ำเสียได้ในระหว่างการเลี้ยงปลาดุกแบบปลอดภัย
  5. สมาชิกสามารถเลือกหาขนาดของกระชังปลาให้เหมาะสมกับปริมาณการเลี้ยง ตามอัตราการปล่อยปลาดุก จำนวน 50-60 ตัวต่อตารางเมตร ซึ่งเป็นขนาดที่ทำให้ปลาไม่หนาแน่นจนเกินไปและปลาจะโตเร็วกว่า
  6. สมาชิกร่วมประกอบกระชังปลาแบบที่ทำจากท่อพีวีซี โดยสามารถออกแบบ และเลือกขนาดที่เหมาะสมตามความต้องการการใช้งานได้
  7. สมาชิกสามารถเข้าใจได้ว่า พันธุ์ปลาดุกที่นิยมเลี้ยง เพื่อใช้รับประทาน และเพื่อการแปรรูปนั้น คือปลาดุกพันธุ์บิ๊กอุย
  8. วิธีการดูให้รู้ว่าลูกปลาดุกที่ไปซื้อมาเลี้ยงนั้น เป็นปลาดุกพันธุ์บิ๊กอุยหรือไม่ ในเบื้องต้นให้ดูจากข้างลำตัว จะเห็นเป็นจุดขาวๆ ยาวทอดขวางลำตัว และเมื่อปลาโตขึ้นอีกหน่อยจะเห็นว่าที่หนังหัวของปลาจะเป็นหยักรูปตัววีที่ก้นมน ไม่แหลมเหมือนกับปลาดุกรัสเซีย
กิจกรรมที่ 7 การลงพื้นที่ ติดตามผลการเลี้ยง แลกเปลี่ยนเรียนรู้และบันทึกข้อมูลการเลี้ยงปลาดุกปลอดภัยของสมาชิก ทุกๆ 1 เดือน7 สิงหาคม 2020
7
สิงหาคม 2020รายงานจากพื้นที่ โดย Fishhanpho
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประชุมสมาชิกวางแผนเพื่อลงพื้นที่ ในช่วงก่อนการเลี้ยงปลา และช่วงระหว่างเลี้ยงปลา
  2. สอบถามความสมัครใจจากสมาชิกว่าใครจะลงพื้นที่ไปดูบ่อเลี้ยงปลาด้วยบ้าง โดยการลงพื้นที่แต่ละครั้งจะต้องไปกับคณะกรรมการโครงการอย่างน้อย 1 คน
  3. จัดเตรียมสมุดจดบันทึก
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ก่อนทำการเลี้ยงปลา คณะกรรมการโครงการได้ลงพื้นที่เพื่อตรวจเยี่ยมบ่อเลี้ยงปลาของสมาชิกที่จะเข้าร่วมโครงการส่งเสริมต้นแบบการเลี้ยงปลาดุกปลอดภัยชุมชนหานโพธิ์ เพื่อดูสถานที่ตั้ง ดูสภาพน้ำในบ่อเลี้ยงปลา เพื่อจะให้คำแนะนำก่อนการเลี้ยงเบื้องต้น และพูดคุยทำความคุ้นเคยกับสมาชิก เพื่อศึกษาทัศคติในการทำงานร่วมกัน
  2. ในระหว่างการเลี้ยงปลา คณะกรรมการและสมาชิกในโครงการลงพื้นที่ เพื่อเยี่ยมบ่อเลี้ยงปลาของสมาชิกแต่ละคน เพื่อได้สอบถามข้อมูล แลกเปลี่ยนเรียนรู้ รับทราบปัญหา และจดบันทึกน้ำหนักของปลาดุกที่เลี้ยง ว่ามีขนาดโตขึ้นเท่าไหร่ในแต่ละเดือน
กิจกรรมที่ 2 ประชุมกลุ่มเพื่อสร้างความเข้าใจในข้อกำหนดกติกาของกลุ่ม และการวางแผนการเลี้ยงปลาดุกปลอดภัย19 กรกฎาคม 2020
19
กรกฎาคม 2020รายงานจากพื้นที่ โดย Fishhanpho
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. กรรมการประสานงานนัดชาวบ้านผู้เลี้ยงปลาที่สนใจจะเข้าร่วมโครงการฯ เพื่อแจ้งวันที่ เวลา และสถานที่เข้าร่วมประชุม
  2. ประสานงานผู้จัดเตรียมอาหาร
  3. จัดเตรียมสถานที่เครื่องขยายเสียงและอุปกรณ์สำนักงานที่จำเป็น
  4. เตรียมเอกสารใบสมัครผู้เข้าร่วมโครงการและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สมุดจดบันทึกสำหรับทำรายงานการประชุม
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ได้รายชื่อผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ จำนวน 10 คน โดยมีการบันทึกลายมือชื่อลงในใบสมัคร พร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชน
  2. ได้ข้อกำหนดกติกาที่ตกลงร่วมกันระหว่างสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการ ดังนี้ .....1) สามารถเข้าร่วมการประชุมกลุ่มประจำเดือน รวม 10 เดือน เพื่อสร้างความเข้าใจ แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น การรับทราบผลการทำงาน และการแก้ปัญหาร่วมกันตามแต่สถานการณ์ .....2) จัดหากระชังขนาดกว้างคูณยาวไม่ต่ำกว่า 2x3 เมตร สำหรับใช้เลี้ยงปลาดุกของโครงการ 200 ตัว
    .....3) ปลาดุกที่ใช้ในโครงการ คือ ปลาดุกพันธุ์บิ๊กอุย .....4) ห้ามใช้อาหารเลี้ยงปลาดุกจากที่อื่น ให้ใช้อาหารจากโครงการที่ช่วยกันทำเท่านั้น เพื่อศึกษาผลการเจริญเติบโตของปลาดุกด้วยต้นทุนที่ต่ำลง .....5) มีการบันทึกข้อมูลการให้อาหารปลา น้ำหนักปลา ตามแบบฟอร์มที่โครงการจัดให้ .....6) เก็บตัวอย่างน้ำของบ่อที่จะใช้เลี้ยงปลาดุกปลอดภัย เพื่อส่งตรวจก่อนเลี้ยงจริง เพื่อฝึกการอ่านค่าสภาพน้ำและแก้ปัญหาได้เบื้องต้นได้ .....7) ปลูกพืชที่ใช้ทำอาหารปลาตามสูตรที่โครงการกำหนด .....8) ต้องจับปลาดุกที่เลี้ยงโตแล้ว (หลังจากเลี้ยงครบ 4 เดือน) เพื่อใช้ในการตรวจรับรองมาตรฐานการผลิตสัตว์น้ำขั้นปลอดภัย (Safety Level) แก่โครงการ .....9) สามารถบอกต่อผู้อื่นที่สนใจ ถึงองค์ความรู้ที่ได้รับจากโครงการ เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาชุมชนได้ ....10) สามารถพัฒนาเป็นบ่อเรียนรู้ปลาดุกปลอดภัยของโครงการได้ ถ้าโครงการคัดเลือก
  3. สรุปวันที่ให้สมาชิกเก็บน้ำในบ่อเลี้ยงปลา มาตรวจสภาพน้ำก่อนเลี้ยง คือ วันที่ 14 สิงหาคม 2563
  4. สรุปวันที่จะเริ่มเลี้ยงปลาดุกปลอดภัย คือ วันที่ 23 สิงหาคม 2563 โดยทางคณะทำงานของโครงการจะรับผิดชอบจัดหาลูกปลาดุกบิ๊กอุยมาให้สมาชิกเลี้ยง คนละ 200 ตัว และในวันที่ 23 สิงหาคม จะนัดเป็นวันประชุมประจำเดือนสิงหาคมด้วย
  5. วางแผนการผลิตอาหารเลี้ยงปลาดุกตามสูตรของประมงจังหวัดพัทลุงแนะนำ โดยมอบหมายให้คุณจุฑามาศ เมฆเรือง รับไปทำหัวเชื้อจุลินทรีย์และเตรียมวัตถุดิบตามสูตร เนื่องจากต้องใช้เวลาหมักนานขั้นตอนละ 14 วัน
  6. แจ้งวันที่เริ่มผลิตอาหารแบบลดต้นทุน คือ วันที่ 20 กันยายน 2563
  7. แจ้งวันที่เริ่มใช้อาหารทำเองเพื่อลดต้นทุน คือ วันที่ 27 กันยายน 2563
  8. แจ้งวันที่เริ่มลงพื้นที่ เพื่อเก็บข้อมูลการเลี้ยงปลาและแลกเปลี่ยนรับฟังปัญหา ตามบ่อเลี้ยงปลาของสมาชิก คือ ตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม 2563 เป็นต้นไป
  9. แจ้งวันที่จะทำการจับปลาดุกที่ผ่านการเลี้ยงด้วยอาหารทำเอง เพื่อนำไปตรวจรับรองมาตรฐานการผลิตสัตว์น้ำขั้นปลอดภัย (Safety Level) ที่ศูนย์เพาะเลี้ยงประมงน้ำจืดพัทลุง คือวันที่ 28 ธันวาคม 2563
  10. การแจ้งผลการตรวจมาตรฐานตามข้อ 9 แก่สมาชิก ค่อยสรุปอีกครั้ง เพราะต้องรอให้ทางห้องตรวจปฏิบัติการแจ้งวันที่มาก่อน
กิจกรรมที่ 1.2 ประชุมกลุ่มประจำเดือนเพื่อสร้างความเข้าใจในการทำงาน และวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน (กรกฎาคม'63)12 กรกฎาคม 2020
12
กรกฎาคม 2020รายงานจากพื้นที่ โดย Fishhanpho
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประสานงานคณะกรรมการ ที่ปรึกษา และชาวบ้านที่ประสงค์จะเข้าร่วมเลี้ยงปลาดุกปลอดภัยกับโครงการ
  2. ประสานงานผู้จัดอาหาร
  3. จัดเตรียมสถานที่ เอกสาร และวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการประชุม
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ทางคณะทำงานของโครงการ ได้แจ้งให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับทราบกิจกรรมทั้ง 12กิจกรรมหลัก และ 10 กิจกรรมย่อย ของโครงการที่จะต้องประสานงานและทำงานร่วมกัน
  2. ผู้เข้าร่วมประชุมช่วยกันกำหนดกติกาข้อตกลงเบื้องต้น เพื่อจะได้ทำการลงบันทึกไว้ในใบสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ (ที่จะจัดขึ้นในกิจกรรมที่ 2) และทุกคนได้ช่วยกันพิจารณาตนเองว่าสามารถทำตามข้อกำหนดกติกาของโครงการได้หรือไม่ เช่น ในหัวข้อของการเข้าประชุมประจำเดือน ที่ทุกคนจะต้องหาเวลาเข้าประชุมให้ได้ไม่ควรขาด ตลอดระยะเวลา 10 เดือน ยกเว้นกรณีจำเป็นหากไม่ได้มาจะต้องแจ้งให้ทางกลุ่มทราบล่วงหน้า เพราะบางครั้งเราสามารถเลื่อนการประชุมออกไปได้
  3. ทางโครงการแจ้งผู้เข้าร่วมประชุม ว่ากรณีที่มีการลงชื่อในใบสมัครเข้าร่วมโครงการแล้ว ทุกคนซึ่งรวมทั้งหมด 10 คนนั้น จะถือเป็นคณะกรรมการของกลุ่มโดยอัตโนมัติ และทุกคนจะต้องช่วยกันรับผิดชอบงานตามที่ตัวเองถนัด หากมีการร้องขอจากกลุ่ม ซึ่งทุกคนเห็นด้วย
  4. กำหนดวันที เวลาและสถานที่ในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป คือ กิจกรรมที่ 2 เวทีประชุมกลุ่มเพื่อสร้างความเข้าใจในข้อกำหนดกติกาของกลุ่ม และการวางแผนการเลี้ยงปลาดุกปลอดภัย
  5. คณะทำงานของโครง แจ้งให้ผู้เข้าร่วมประชุมทราบว่า จะมีการลงพื้นที่ เพื่อไปดูสภาพบ่อเลี้ยงปลาของสมาชิกที่ประสงค์จะสมัครเข้าร่วมโครงการ ว่ามีความพร้อมจริงหรือไม่อย่างไร พร้อมทั้งจะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้หรือตอบปัญหาที่เขาต้องการทราบเกี่ยวกับโครงการ(หากมี)
กิจกรรมที่ 1.1 ประชุมกลุ่มประจำเดือนเพื่อสร้างความเข้าใจในการทำงาน และวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน (มิถุนายน'63)30 มิถุนายน 2020
30
มิถุนายน 2020รายงานจากพื้นที่ โดย Fishhanpho
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประสานงานผู้ทำงานกลุ่มและที่ปรีกษาโครงการ เพื่อนัดพูดคุยวางแผนการทำงานให้บรรลุตามเป้าหมาย
  2. ประสานผู้จัดสถานที่และจัดอาหาร
  3. เตรียมเอกสารโครงการเพื่อประกอบการประชุม และวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ เช่น บอร์ดรองเขียน กระดาษบรู๊ฟ ปากกาเคมี เป็นต้น
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มี่ผู้เข้าร่วมประชุม 8 คน
  2. เนื้อหาการประชุมมีดังนี้ ....2.1 แจ้งกิจกรรมที่ต้องดำเนินการร่วมกัน ทั้งหมด 12 กิจกรรมหลัก และ 10กิจกรรมย่อย ....2.2 ร่วมกันเสนอรายชื่อผู้ที่คาดว่าต้องการจะเข้าร่วมกิจกรรมได้ครบทั้ง 10 เดือน โดยต้องเป็นผู้ที่มีความตั้งใจจริง ....2.3 กำหนดวันลงพื้นที่เพื่อไปดูสถานที่จริงของผู้ที่ต้องการจะเข้าร่วมโครงการส่งเสริมต้นแบบการเลี้ยงปลาดุกปลอดภัยชุมชนหานโพธิ์ ....2.4 กำหนดวันประชุมประจำเดือนครั้งถัดไป ให้ตรงกับวันที่ลงพื้นที่ โดยในช่วงเช้าทำการประชุมกรรมการและที่ปรึกษากลุ่ม ช่วงบ่ายทำการลงพื้นที่ผู้เลี้ยงปลา
ส่วนที่ สสส. สนับสนุนเพิ่มเติม ใช้จ่ายในงวดที่ 1/256319 มิถุนายน 2020
19
มิถุนายน 2020รายงานจากพื้นที่ โดย Fishhanpho
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. รับแจ้งการประสานงานจากพี่เลี้ยงโครงการส่งเสริมต้นแบบการเลี้ยงปลาดุกปลอดภัยชุมชนหานโพธิ์ เพื่อเข้าร่วมประชุมปฐมนิเทศ Node Flagship จังหวัดพัทลุง 2563
  2. เตรียมการเปิดบัญชีธนาคารกรุงไทย เพื่อรับโอนเงินโครงการ
  3. ประสานงานเข้าร่วมการประชุมตามช่วงเวลาที่ทางคณะกรรมการ Node Flagship พัทลุงกำหนด
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. คณะกรรมการเข้าร่วมการปฐมนิเทศโครงการ จำนวน 3 คน
  2. ได้เรียนรู้และทำความเข้าใจ ถึงเป้าหมายรวมของ Node Flagship จังหวัดพัทลุง 2563 เพื่อการสร้างสุขภาวะในการดำรงชีวิต
  3. ได้เรียนรู้วิธีการเขียนรายงาน การเก็บบันทึกข้อมูลผ่านเว็บไซต์เครือข่ายฅนสร้างสุข
  4. ได้เรียนรู้วิธีการทำบัญชีเพื่อการเบิกจ่ายเงินทำกิจกรรมของโครงการ
  5. ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนผู้ร่วมทำโครงการจากสถานที่ต่างๆ ถึงกิจกรรมที่พวกเขาได้ทำ ถือเป็นการได้รับความรู้และประสบการณ์เพิ่มเติมที่เป็นประโยชน์ต่อการนำมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาปรับปรุงกระบวนการทำงานของเราได้
  6. นัดวันเพื่อร่วมกันเปิดบัญชีรับเงินเข้าโครงการส่งเสริมต้นแบบการเลี้ยงปลาดุกปลอดภัย ที่ธนาคารกรุงไทย สาขาเขาชัยสน จ.พัทลุง โดยใช้เงินเปิดบัญชี 500 บาท