Node Flagship

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ลดอุบัติเหตุทางท้องถนนตำบลโกตาบารู
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดยะลา
รหัสโครงการ 63-00175-0024
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2563 - 31 มีนาคม 2564
งบประมาณ 100,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโกตาบารู
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสิทธิศักดิ์ วิชยวิกรานต์
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นายอาหมัด เจ๊ะหมิ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโกตาบารู อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2565 30 ก.ย. 2565 1 เม.ย. 2565 30 ก.ย. 2565 40,000.00
2 1 ต.ค. 2565 28 ก.พ. 2566 50,000.00
3 1 มี.ค. 2566 31 มี.ค. 2566 10,000.00
รวมงบประมาณ 100,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สืบเนื่องจากองค์การสหประชาชาติได้เล็งเห็นปัญหาอุบัติเหตุทางท้องถนนว่าเป็นปัญหาสำคัญและเป็นสาเหตุของการสูญเสีย บาดเจ็บและเสียชีวิตของประชาชน จึงได้มีมติร่วมกันให้เป็นวาระสำคัญที่ทุกประเทศจะต้องเร่งดำเนินการแก้ไข โดยประกาศเป็น “ทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน” (Decade of Action for Road Safety : 2011-2020) โดยตั้งเป้าลดผู้เสียชีวิตลงครึ่งหนึ่งในทศวรรษหน้า ประเทศไทยตอบรับปฏิญญาดังกล่าวโดยรัฐบาลไทยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2556 ประกาศให้ปี 2554-2563 เป็นทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนนโดยบูรณาการการดำเนินการจากหน่วยงานทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นรณรงค์ลดอุบัติเหตุและแก้ไขปัญหาดังกล่าว และตั้งเป้าหมายที่จะลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนให้เหลือไม่เกิน 10 คนต่อประชากรแสนคนภายในปี 2563 ทั้งนี้จากสภาพปัญหาการเกิดอุบัติเหตุทางท้องถนนเป็นสาเหตุที่ทำให้มีผู้บาดเจ็บอยู่ในอันดับต้นๆของประเทศ ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาแม้ว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐหายุทธการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในหลายๆรูปแบบ แต่ยังไม่สามารถลดปัญหาการเกิดอุบัติเหตุลงได้ ทั้งนี้ปัญหาอุบัติเหตุมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งถนนในชุมชน โดยมีสาเหตุมาจากการขับขี่ด้วยความเร็ว ผู้ขับขี่ไม่สวมหมวกนิรภัย ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย และมีจุดเสี่ยงที่มักเกิดอุบัติเหตุในชุมชน จากสถิติการเกิดอุบัติเหตุของอำเภอรามันใน 3 ปี ย้อนหลัง พบว่าตำบลโกตาบารูมีอัตราการเกิดอุบัติเหตุสูงสุด จำนวน 51,65,48 ตามลำดับ โดยสถิติปี 2560 พบว่าจังหวัดยะลามีอุบัติเหตุเกิดขึ้นจำนวน 1,789 ครั้ง  ซึ่งเกิดในพื้นที่อำเภอรามัน 213 ครั้ง เสียชีวิต 5 คน บาดเจ็บจำนวน 282 คน หากวิเคราะห์ตามเขตพื้นที่พบว่าตำบลโกตาบารู ยังเป็นพื้นที่ที่มีอัตราการเกิดอุบัติเหตุสูงสุด ตามลำดับดังนี้ อุบัติเหตุเกิดขึ้น 51 ครั้ง เสียชีวิต 4 คน บาดเจ็บจำนวน 38 คน ปี 2561 อุบัติเหตุเกิดขึ้น 46 ครั้ง ไม่มีผู้เสียชีวิต บาดเจ็บจำนวน 52 คน และปี2562 อุบัติเหตุเกิดขึ้น 33 ครั้ง เสียชีวิต 1 คน บาดเจ็บจำนวน 36 คน สาเหตุหลักในการเกิดอุบัติเหตุของตำบลโกตาบารู จากปัจจัยด้านคน โดยมีพฤติกรรมเสี่ยงในการใช้รถใช้ถนนของผู้ขับขี่และผู้ใช้เส้นทาง ความประมาท ความสามารถของผู้ขับขี่ลดลงเนื่องจากสภาพร่างกายไม่พร้อม รวมถึงการไม่ชำนาญเส้นทาง การไม่เคารพกฎจราจร ขาดวินัยในการใช้รถใช้ถนนร่วมกันและการไม่ใช้อุปกรณ์นิรภัย ด้านยานพาหนะ ยังพบว่าขาดความพร้อมด้านอุปกรณ์ความปลอดภัย การปรับแต่งสภาพยานพาหนะและการบรรทุกหรือโดยสารที่ไม่ปลอดภัย ด้านสิ่งแวดล้อมพบว่าจุดเสี่ยง จุดอันตราย จุดที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยยังไม่ได้รับการแก้ไข ลักษณะทางกายภาพของถนนไม่สมบูรณ์ อาทิ ผิวถนนเป็นหลุม บ่อ และถนนอยู่ระหว่างก่อสร้างหรือซ่อมแซม รวมถึงอุปสรรคทางธรรมชาติและลักษณะภูมิอากาศ จากปัจจัยต่างๆข้างต้นการเกิดอุบัติเหตุทางถนน ส่งผลกระทบต่อผู้ที่ประสบภัยโดยก่อให้เกิดภาวะเครียดและวิตกกังวล บาดเจ็บ จนกระทั่งการเสียชีวิต ไม่เพียงเท่านั้นยังก่อให้เกิดความสูญเสียต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมอย่างมหาศาล เพราะการเสียชีวิตจากและบาดเจ็บทั้งทางกายและใจจากอุบัติเหตุทางท้องถนน ทำให้ผู้ประสบภัยและครอบครัวสูญเสียผลิตภาพ เกิดค่าใช้จ่ายในการรักษาตัว ติดหนี้ ขาดรายได้ในการประกอบอาชีพ รวมถึงทางสังคมที่ส่งผลให้เกิดการทะเลาะวิวาท เกิดข้อพิพาทกับคู่กรณี และอุบัติเหตุยังก่อให้เกิดต้นทุนอื่นๆ เช่น ต้นทุนในการดำเนินคดี ต้นทุนจากผลกระทบต่อสภาพการจราจร ป้ายบอกทางชำรุด เสาไฟฟ้าหรือสัญญานไปชำรุด บ้านเรือนเสียหาย เป็นต้น
ดังนั้นทางตำบลโกตาบารู  มุ่งหวังเพิ่มประสิทธิภาพความครอบคลุม การลดอุบัติเหตุการใช้รถที่เพิ่มมากขึ้น และจากประชาชนขาดความรู้และไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบจราจรอย่างแท้จริง จึงจัดทำโครงการการจัดการจุดเสี่ยงเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในตำบลโกตาบารู โดยมีวัตถุประสงค์ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดระเบียบการจราจรในชุมชน และเกิดการแก้ไขจุดเสี่ยงของชุมชนที่เกิดอุบัติเหตุ รวมถึงสมาชิกในชุมชนมีการปฏิบัติตามข้อตกลงร่วมกันในการแก้ไขจุดเสี่ยงและพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับจุดเสี่ยง เพื่อเป็นการลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุในชุมชนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้เกิดกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชนเรื่องป้องกันอุบัติเหตุทางถนนที่เข้มแข็ง

ผลลัพธ์ที่ 1 เกิดคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ตัวชี้วัดผลลัพธ์
1.1.มีโครงสร้างแบ่งงานชัดเจน มีความรู้ความเข้าใจการวิเคราะห์จุดเสี่ยง 1.2.มีข้อมูล มีแผนการดำเนินงานร่วมกันและแลกเปลี่ยนเรียนรูเพื่อค้นหาแนวทางการแก้ไขปัญหาและขยายผลกิจกรรม 1.3.แกนนำมีทักษะด้านการวิเคราะห์ข้อมูลและจุดเสี่ยง 1.4.มีแผนการดำเนินการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุ จากจุดเสี่ยง 1.5.คณะทำงาน ติดตามประเมินผลทุกเดือน

ผลลัพธ์ที่ 2 ประชาชนมีความรู้และเกิดความตระหนักเพื่อลดอุบัติเหตุทางท้องถนน ตัวชี้วัดผลลัพธ์
2.1.สมาชิกในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องกฎจราจรและการขับขี่อย่างปลอดภัยเพื่อลดอุบัติเหตุในชุมชน 2.2.เกิดข้อตกลงร่วมของชุมชนในการแก้ไขจุดเสี่ยงและพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับจุดเสี่ยงที่ชุมชนจะแก้ไขเพื่อลดอุบัติเหตุในชุมชน 2.3 ประชาชนปฏิบัติตามกฎจราจร

ผลลัพธ์ที่ 3 เกิดกลไกเฝ้าระวังติดตามเรื่องอุบัติเหตุทางท้องถนนที่เข้มแข็ง ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 3.1ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมประชาชนในชุมชน
3.2มีการติดตามเฝ้าระวังและทบทวนแผนปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง

ผลลัพธ์ที่ 4 สภาพแวดล้อมที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้รับการแก้ไข ตัวชี้วัดผลลัพธ์
4.1.จุดเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในชุมชนได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับปัญหาในชุมชน ร้อยละ 60 ของจำนวนจุดเสี่ยงประเภทที่ชุมชนแก้ไขได้เอง 4.2. ส่งต่อจุดเสี่ยงที่ไม่สามารถแก้ไขเองร้อยละ100 4.3 มีป้าย/สื่อรณรงค์ตามจุดเสี่ยงในชุมชน

0.00
2 เพื่ออุบัติเหตุทางท้องถนนลดลง

ตัวชี้วัดผลลัพธ์
5.1.จำนวนการเกิดอุบัติเหตุทางท้องถนนลดลง ร้อยละ 50 1. อัตราความรุนแรงทางศีรษะลดร้อยละ 50 2. อัตราการบาดเจ็บและการตายลดลงร้อยละ60

0.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 45
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
คณะทำงาน 45 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 กิจกรรมพัฒนาร่วมกับหน่วยจัดการ(งบประมาณส่วนที่สสส.สนับสนุน) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 8 4,200.00 5 4,200.00
1 มิ.ย. 63 - 25 มิ.ย. 64 การจัดทำบันทึกรายงาน ข้อมูล ในระบบออนไลน์คนใต้สร้างสุข 1 2,000.00 2,000.00
3 มิ.ย. 63 เวทีปฐมนิเทศและทำสัญญาโครงการย่อย 3 600.00 600.00
25 มิ.ย. 63 จัดทำป้ายสถานที่ปลอดบุหรี่และป้ายชื่อโครงการฯ 0 1,000.00 1,000.00
6 ก.ค. 63 เวทีพัฒนาศักยภาพการรายงานผลลัพธ์ของโครงการย่อยฯ 2 200.00 200.00
15 ส.ค. 63 เวทีทบทวนบันไดผลลัพธ์และออกแบบการเก็บข้อมูลของโครงการย่อย 2 400.00 400.00
2 จัดตั้งคณะทำงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 180 5,400.00 4 5,400.00
3 ก.ค. 63 จัดตั้งคณะทำงานประชุมคณะทำงานครั้งที่1 45 1,350.00 1,350.00
15 ก.ย. 63 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2 45 1,350.00 1,350.00
18 ธ.ค. 63 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3 45 1,350.00 1,350.00
24 มี.ค. 64 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 4 เพื่อสรุปผลการดำเนินงานโครงการ 45 1,350.00 1,350.00
3 อบรมพัฒนาคณะทำงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 45 15,300.00 1 15,300.00
3 - 4 ส.ค. 63 จัดอบรมคณะทำงาน 45 15,300.00 15,300.00
4 จัดอบรมให้ความรู้เรื่องกฏจราจรและการขับขี่อย่างปลอดภัย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 120 19,200.00 1 19,200.00
14 ก.ย. 63 จัดอบรมให้ความรู้เรื่องกฏจราจรและการขับขี่อย่างปลอดภัย 120 19,200.00 19,200.00
5 กิจกรรมพัฒนาศักยภาพ จัดโดย Node flagship yala กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 4 5,800.00 1 1,800.00
23 - 25 ต.ค. 63 เวทีการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้พัฒนา (are) ของหน่วยจัดการระดับที่มีจุดเน้นสำคัญ (node flagship) ระดับจังหวัด ครั้งที่ 1 4 5,800.00 1,800.00
6 การสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้วอย่างเป็นระยะ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 60 7,800.00 4 7,800.00
30 พ.ย. 63 สำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้วอย่างเป็นระยะ ครั้งที่1 15 1,950.00 1,950.00
25 ธ.ค. 63 การสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้วอย่างเป็นระยะ ครัังที่2 15 1,950.00 1,950.00
22 ม.ค. 64 การสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้วอย่างเป็นระยะ ครัังที่3 15 1,950.00 1,950.00
26 ก.พ. 64 การสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้วอย่างเป็นระยะ ครัังที่4 15 1,950.00 1,950.00
7 การปรับปรุงจุดเสี่ยงอันตราย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 45 11,100.00 1 11,100.00
28 ต.ค. 63 การจัดการจุดเสี่ยง 45 11,100.00 11,100.00
8 จัดเวทีคืนข้อมูลการสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแก่สมาชิกในชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 120 15,600.00 0 0.00
23 มี.ค. 64 เวทีคืนข้อมูลการสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้วแก่สมาชิกในชุมชน 120 15,600.00 -
9 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้พร้อมสรุปผลการดำเนินงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบและขับเคลื่อนงานต่อไป กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 120 15,600.00 1 15,600.00
29 มี.ค. 64 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้พร้อมสรุปผลการดำเนินงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนงานต่อไป 120 15,600.00 15,600.00
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 45 0.00 0 0.00
15 ก.ย. 63 ประเมินเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา AREครั้งที่ 1 45 0.00 -
25 เม.ย. 64 ประเมินเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา AREครั้งที่ 2 0 0.00 -
25 เม.ย. 64 ประเมินเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา AREครั้งที่ 3 ถอดบทเรียน 0 0.00 -

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2563 00:40 น.