directions_run

สนับสนุนการสร้างระบบความมั่นคงทางอาหารของชุมชนบ้านลูโบ๊ะซูลง ตำบลเตราะบอน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี

assignment
บันทึกกิจกรรม
ค่าจัดทำรายงาน27 มกราคม 2022
27
มกราคม 2022รายงานจากพื้นที่ โดย nana56psu@gmail.com
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ทางคณะทำงานโครงการเสริมและสนับสนุนความมั่นคงทางอาหารได้ร่วมกันดำเนินการจัดทำรายงานโครงการฉบับสมบูรณ์ ให้แล้วเสร็จในวันที่ 28 มกราคม 2565

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ทางโครงการได้จัดทำรายงานฉบับสมบรูณ์ จำนวน 3 เล่ม เป็นที่เรียบร้อย

ARE ครั้งที่ 223 มกราคม 2022
23
มกราคม 2022รายงานจากพื้นที่ โดย nana56psu@gmail.com
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การประชุม ARE ครั้งที่ 2 เป็นการรายงานความก้าวหน้าโครงการเพื่อวิเคราะห์ตัวชี้วัดประเมินผลบันได้ผลลัพธ์โครงการ โดยให้คณะทำงานผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอารีนา สามะ และนายไซลฮูดิง สาอิ ได้รายงานโครงการโดยทางโครงการได้เนินกิจกรรมทั้งหมดดังนี้

  1. ประชุมทำความเข้าใจโครงการให้กลุ่มเป้าหมายได้เข้าใจ
  2. สำรวจข้อมูลแหล่งผลิตอาหารที่มีอยู่ในชุุมชน
  3. ประชุมคณะทำงาน 5  ครั้ง
  4. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูและสุขภาพ 3 อ 2 ส.
  5. อบรมการรับมือแผนการจัดการภัยพิบัติโควิดภายในชุมชน
  6. พัฒนาศักยภาพการผลิตอาหารปลอดภัย
  7. อบรมเสริมความรู้เรืองการจัดทำบัญชีครัวเรือน
  8. การจัดตั้งร้านค้า ออมทรัพย์ชุมชน
  9. การถนอมอาหารปลอดภัย
  10. การติดตามและประเมินผลการเก็บออม และการปลูกผัก
  11. การสร้างเครือข่ายสนับสนุนการสร้างความมั่นคงทางอาหาร
  12. การสรุปและถอดบทเรียน

การดำเนินโครงการอยู่ในขั้นบันได้ที่ 4 อุปสรรค์ปัญหาในการดำเนินงานคือ สถานการโควิดระบาดหนักในชุมชนหน่วยงานรัฐให้ชะลอการรวมกลุ่มกัน จึงงดการกิจกรรมชั่วคร่าว โดยได้มีการแก้ไขปัญหาด้วยการแบ่งโซนเพื่อกระจายการดำเนินงานให้ตัวแทนหัวหน้าโซนเป็นผู้รับผิดชอบ

ข้อเสนอแนะ พี่เลี้ยงโครงการได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวการดำเนินงานการบริหารจัดการร้านค้าลอยฟ้าสินค้าชุมชนให้ขยายวงกว้างมากยิ่งขึ้น..เช่น การจัดทำตลาดสินค้าชุมชน การผ่อน-เดาน์สินค้า

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. คณะกรรมการผู้รับผิดชอบโครงการจำนวน 15 ได้รายงานความก้าวหน้าโครงการ ARE ครั้งที่ 2 ได้รับทราบ
  2. การดำเนินโครงการได้ดำเนินการทั้งหมด 12กิจกรรม อยู่ในบันได้ผลลัพธ์ขั้นที่ 4 บรรลุชั้นบันไดที่กำหนดไว้
  3. เกิดภาคีเครือข่าย ที่การบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างภาคีเครือข่าย
  4. กลุ่มเป้าหมายมีรายได้เพิ่มขึ้น 300 บาทต่อเดือน มีรายจ่ายลดลง 150 บาท และมีการออมเงินเฉลี่ย 440 บาทต่อเดือน
  5. เกิดพื้นที่กลางในการสร้างความมั่นคงทางอาหาร 2 แหล่ง และสามารถผลัดให้เป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการสร้างความมั่นคงต่อทางอาหารได้
เวทีประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสังเคราะห์บทเรียนและเขียนรายงานปิดโครงการ26 ธันวาคม 2021
26
ธันวาคม 2021รายงานจากพื้นที่ โดย nana56psu@gmail.com
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เวทีประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสังเคราะห์บทเรียนและเขียนรายงานปิดโครงการ ระหว่างวันที่ 24-26 ธันวาคม 2564 ณ โรงแรมเซาเทิร์น แอร์พอร์ต อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จัดโดยหน่วยจัดการโครงการการฟื้นฟูคุณภาพชีวิต และพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากแก่ผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID- 19 เพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะจังหวัดภาคใต้


สนับสนุนโดยสำนักสร้างสรรค์โอกาส สสส. วัตถุประสงค์การจัดกิจกรรม

  1. สรุปโครงการ และถอดบทเรียนการดำเนินงานโครงการย่อย
  2. เพื่อสร้างความเข้าใจต่อเครื่องมือที่ใช้หนุนเสริมในการดำเนินงานชุมชนน่าอยู่
  3. เพื่อกำหนดแผนการทำงานร่วมกันระหว่างโครงการย่อย และหน่วยจัดการ

1.ผู้รับผิดชอบโครงการย่อยโครงการละ 2 คน 15 โครงการ รวม 30 คน 2.หน่วยจัดการและพี่ เลี้ยงจังหวัด รวม 7 คน

วันที่ ธันวาคม 64 16.00 – 17.00 น. เช็คอินเข้าพักที่โรงแรม 17.00 – 18.30 น. เตรียมปฏิบัติภารกิจส่วนตัว 18.30 – 20.30 น. หน่วยจัดการ/พี่เลี้ยง ประชุมเตรียมความพร้อมการจัดกิจกรรม ผู้รับผิ ดชอบโครงการ
เตรียมตัวกิจกรรมนำเสนอ วันที่ 25 ธันวาคม 64 08.00 - 09.00 น. ลงทะเบียน กิจกรรมสันทนาการ โดย ทีมพี่เลี้ยง 09.00 - 09.30 น. เปิดกิจกรรมกล่าวต้อนรับ และชี้แจงกระบวนการของเวที โดย อาจารย์สุวิทย์ หมาดอะ ดำ ผู้จัดการโครงการฯ 09.30 - 10.30 น. โครงการย่อยนำเสนอผลลัพธ์โครงการ โครงละ 15 นาที และแลกเปลี่ยน 5 นาที 10.30 – 10.45 พักรับประทานอาหารว่าง 10.45 - 12.15 น. โครงการย่อยนำเสนอผลลัพธ์โครงการ โครงละ 15 นาที และแลกเปลี่ยน 5 นาที 12.00 - 13.30 น. พักรับประทานอาหารกลางวันและปฏิบัติศาสนกิจ 13.30 - 15.30 น. โครงการย่อยนำเสนอผลลัพธ์โครงการ โครงละ 20 นาที และแลกเปลี่ยน 5 นาที 15.30 – 16.30 น. กระบวนการสังเคราะห์กลุ่มย่อย ในหัวข้อ “ หากชุมชนอื่นๆต้องการสร้างความรอบรู้ เรื่องสุขภาพ และการเงิน จะมีรูปแบบและขั้นตอนอย่างไร” พร้อมนำเสนอ 16.30 – 18.00 น. พักผ่อนตามอัธยาศัย 18.00 – 19.00 น. รับประทานอาหารเย็นร่วมกัน 19.00 – 21.00 น. กระบวนการสังเคราะห์กลุ่มย่อย ในหัวข้อ “ หากชุมชนอื่นๆจะทำโครงการเกี่ยวกับการ สร้างอาชีพและรายได้/การสร้างความมั่นคงทางอาหาร จะมีรูปแบบและขั้นตอน อย่างไร” พร้อมนำเสนอ
วันที่ 26 ธันวาคม 64 08.30 - 09.00 น. กิจกรรมสันทนาการ /สร้างสัมพันธ์ 09.00 - 10.00 น. กระบวนการสังเคราะห์กลุ่มย่อย ในหัวข้อ “ปัจจัยความสำเร็จ / ความไม่สำเร็จ และสิ่ง ที่ได้เรียนรู้(บทเรียน) ” พร้อมนำเสนอ 10.00 - 10.15 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.15 –12.00 น. การใช้ระบบติดตามโครงการ เพื่อปิดโครงการย่อยในระบบออนไลน์ ด้านกิจกรรม 12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน/ปฏิบัติศาสนกิจ
13.00 – 14.30 น. การใช้ระบบติดตามโครงการ เพื่อปิดโครงการย่อยในระบบออนไลน์ ด้านการเงิน (ต่อ) 14.30 – 14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง 14.45 – 15.30 น. ตรวจสอบความเรียบร้อยของระบบติดตามโครงการออนไลน์และการเงินโครงการย่อย 15.30 น.-16.00 น. สรุปเวทีและปิดการประชุม
โดย นายสุวิทย์ หมาดอะดำ หัวหน้าหน่วยจัดการชุมชนน่าอยู่ชายแดนใต้ ...................................... หัวข้อการนำเสนอโครงการย่อย

  1. ผลลัพธ์ด้าน จำนวน ของคนที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพและการเงิน (ดึงจากข้อมูล excel)
  2. ผลลัพธ์ด้าน อาชีพและรายได้(สำหรับโครงการที่เลือกประเด็นอาชีพและรายได้)และผลลัพธ์ด้านการสร้าง ความมั่นคงทางอาหาร(สำหรับโครงการที่ทำเรื่องความมั่นคงทางอาหาร)
  3. กลยุทธ์ /วิธีการดำเนินโครงการด้าน อาชีพและรายได้(สำหรับโครงการที่เลือกประเด็นอาชีพและรายได้) และการสร้างความมั่นคงทางอาหาร(สำหรับโครงการที่ทำเรื่องความมั่นคงทางอาหาร)
  4. มีหน่วยงานใดบ้างมาสนับสนุนการดำเนินงานโครงการ
  5. บทเรียน/ข้อเรียนรู้สำหรับการดำเนินงาน
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.แกนนำชุมชมเข้าร่วมโครงการจำนวน 4 คน 2.แกนนำชมชนนำเสนอรายงานผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงคือ
- ชุมชนมีแผนรับมือการจัดการโควิดภายในชุมชน
- สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการมีการจดบันทึกบัญชีครัวเรือนจำนวน 27 คน ไม่มีการบันทึกจำนวน 3 คน และมรายได้จากเก็บออมเฉลี่ย 440 บาทต่อคน/ครัวเรือน - สมาชิกมีองค์ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพ ปรับพฤติกรรมการเริ่มออกกำลังกาย บริโภคผักสมุนไพรเพื่อสร้างภูมิกัน ใส่ใจเรื่องการบริโภคอาหารคำนึ่งถึงโภชนาการทางอาหาร
- เกิดร้านค้าลอยฟ้าสินค้าเพื่อชุมชน ที่เิกิดการจากเก็บออมเงินกองทุนสมาชิกวันละ 10 บาท เที่ศูนย์กลางการเเลกเปลี่ยนสินค้า การแบ่งปัน เกิดการผ่อน-เดาน์สินค้าชุมชน เพื่อรายได้เป็นเงินปันผลแกสมาชิก - มีการขยายพื้นที่แหล่งผลิตอาหารเป็น 2 พื้นที่ ภายในชุมชน
- ภาคีเครือข่ายที่ร่วมสนับสนุนคือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล เทศบาลตำบล กศน. เกษตรอำเภอ พัฒนาชุมชนอำเภอ สถานบันการศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
3.และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนกระบวนการทำงานโครงการให้บรรลุผลสำเร็จ 4 หัวข้อดังนี้ 3.1 กลไกวิธีการทำงานร่วมกันโครงการ คือ การสร้างความเข้าใจกลุ่มคณะทำงานร่วม การมีเป้าหมายร่วม ร่วมคิดร่วมทำ การกระจายโซนพื้้นที่การทำงาน ค้นหาศักยภาพพื้นที่ และการใช้เทคโนโลยีปรับใช้ในการงาน 3.2 ภาคีที่สนับสนุน
ภาคีสนับสนุนงบประมาณ องค์ความรู้ บุคคลากร และการมีแผนบรรจุในแผนงานหน่วยงาน การบูรณาการทำงานร่วมกันภาคีในพื้นที่ องค์กรต่างๆภายในชุมชน
3.3 บทเรียนที่ได้รับ การที่ได้รับผลกระทบร่วมกันนำมาซึ่งความสำเร็จของการดำเนินงาน การผลิตวิกฤติให้เป็นโอกาศ ความแตกต่างที่ไม่แตกแยก ทุกคนสามารถเป็นผู้นำได้ 3.4 ความยั่นยืนของโครงการ และโควิดทำให้เรารู้จักการปรับตัว
การทำงานต่อเนื่องเป็การสร้างความยั่งยืน การติดตามและต่อยอดกิจกรรมเพื่อให้เกิดกิจกรรมใหม่ มีการอัพเดทกิจกรรมอยู่ตลอดเวลา และสร้างคนสองเเถวเพื่อส่งต่อข้อมูลและสร้างแกนนำรุ่นใหม่ 4.จัดรายงานคีย์ข้อมูลผลการปฏิบัติงานในระบบเพื่อให้พี่เลี้งติดตามโครงการ เพื่อปิดโครงการย่อยในระบบออนไลน์ ด้านการเงิน การบันทึกค่าใช้จ่ายรายกิจกรรมให้สอดคล้องกับการดำเนินงาน เพิ่มเติมกิจกรรมในส่วนรายละเอียดเนื้อหาและผลิตผลิตมากยิ่งขึ้น (ใคร ทำอะไร ที่ไหร อย่างไร ให้กับใคร เกิดอะไรขึ้นบ้าง)

ปรึกษาพี่เลี้ยง ตรวจรายงานการเงิน19 ธันวาคม 2021
19
ธันวาคม 2021รายงานจากพื้นที่ โดย nana56psu@gmail.com
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรม : ปรึกษาพี่เลี้ยงโครงการ ตรวจรายงานการเงิน วันที่ : 19 ธันวาคม 2564 เวลา : 10.00 น.-15.00 น. ณ สำนักงานพี่เลี้ยง จังหวัดปัตตานี กลุ่มเป้าหมาย ผู้บันทึกข้อมูล 1 คน รูปแบบกิจกรรม

  • ปรึกษาแนวทางการทำงานต่อไป
  • ตรวจรายงานการเงินเอกสารโครงเพื่ดำเนินคีย์ข้อมูลในระบบ
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. พี่เลี้ยงโครงการตรวจรายงานการเงินมีความเรียบร้อย ถูกต้องครบถ้วน
  2. ได้รับข้อเสนอแนะให้คีย์ข้อมูลให้เเล้วเสร็จก่อนปิดโครงการ
สรุปผลการดำเนินงานและคืนข้อมูลสู่ชมชน (ถอดบทเรียนการทำงาน)30 พฤศจิกายน 2021
30
พฤศจิกายน 2021รายงานจากพื้นที่ โดย nana56psu@gmail.com
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรม สรุปผลการดำเนินงานและคืนข้อมูลสู่ชมชน (ถอดบทเรียนการทำงาน)

วันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 เวลา 09.00 น.

กลุ่มเป้าหมาย ผู้ที่เข้ารับผลกระทบจากสถานการโควิด 19 จำนวน 20 คน

รายละเอียดรูปแบบกิจกรรรม

  1. สรุปผลการดำเนินงาน กิจกรรมที่ได้ดำเนินงาน
  2. ผลเกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรม
  3. ปัญหาอุปสรรค์ในการดำเนินงาน
  4. สิ่งที่ประทับใจจากการดำเนินงาน
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เป็นพูดคุยแลกเปลี่ยนรู้กระบวนการทำงานภายในโครงการตลอดโครงการ เป็นการประมวลสรุปผลสิ่งที่เกิดขึ้นจริง

  1. มีสถานที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 30 คนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการโควิด
  2. เกิดข้อมูลข้อมูลแหล่งผลิตอาหารภายในชุมชน คือ

- แหล่งผลิตอาหารธรรมชาติ ได้แก่ บ่อปลา น้ำคลองโคกหม้อ อ่างเก็บน้ำแนแวะห์ ทุ่งนาแนแวะห์และปาวา ซึ่งเป็นแหล่งโปรตีน และคาร์โปร์ไฮเดรตภายในหมู่บ้าน สามารถผลิตอาหารขึ้นเองธรรมชาติตลอดฤดูกาล - แหล่งปลูกข้าว และพืชผัก ผลไม้ ตามสวนเกษตรกร - กลุ่มอาชีพผลิตอาหาร ได้แก่ ทำขนม  น้ำจิ้ม กรือโป๊ะ และเครืองแกง - กลุ่มเลี้ยงสัตว์  ได้แก่ ไก่ ปลา แพะ - ร้านค้า

  1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการดูแลสุขภาพ 3 อ 2 ส. และการดูแลสุขภาพตนเองในช่วงสถานการณ์โควิด19 และมีการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด 19
  2. เกิดกฎกติการการรับมือร่วมกันในภายในหมู่
  3. เกิดแผนการรับมือสถานการณ์โควิด 19 ในชุมชน มีพื้นที่รับมือ และปฏิบัติตามได้แก่ มัสยิด โรงเรียนตาดีกา และร้านค้าในชุมชน
  4. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจในเรืองการจัดทำบัญชีครัวเรือน และจดบันทึกบัญชีครัวเรือนจำนวน 27 คน กลุ่มเป้าหมายเห็นคุณค่าของเงิน ลดการฟุ้งเฟือย ฝึกการเก็บออมเริ่มตั้งแต่ 5 -30 บาท
  5. เกิดทักษการเพาะปลูกเป็นธรรมชาติ ความรู้การทำปุยหมัก และการทำโฮรโมร์ไข่
  6. เกิดนวัตกรรมการถนอนอาหารปลอดภัยในชุมชน ด้วยการบูรณาปรัชญาภูมิปัญญาท้องถิ่น
  7. เกิดพื้นที่ศูนย์กลางผลิตอาหารในชุมชน 2 พื้นที่ ได้แก่ โคกหนองนาโมลผู้ใหญบ้าน และ โรงแครปลูกผัก
  8. เกิดภาคีเครือสนับสนุนโครงการอำนวยความรู้และวัสดุอุปกรณ์ ได้แก่ฟาร์มเตราะบอน เกษตรอำเภอ และ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  9. เกิดกองทุนออมทรัพย์ชุมชน (เก็บออม หุ้น ค้าขายลอยฟ้า ผ่อนเดาน์) และเกิดการหมุนเวียนเพื่อให้เกิดรายได้ให้เพิ่มขึ้น
  10. สมาขิกกลุ่มเป้าหมายมีรายได้เพิ่มขึ้น เฉลี่ยนประมาน 300-900 บาท

  11. สิงที่ประทับใจคือ มีเงินเก็บ ลดความเครียด มีกำลังใจ และรู้สึกได้ถึงการไม่รู้สึกโดดเดียวไม่ถูกทอดทิ้ง

การสร้างเครือข่ายเพื่อการขยายแหล่งผลิต อาหารปลอดภัย25 พฤศจิกายน 2021
25
พฤศจิกายน 2021รายงานจากพื้นที่ โดย nana56psu@gmail.com
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรม : สร้างเครือข่ายเพื่อขยายการผลิตอาหารปลอดภัย วันที่  25 พฤศจิกายน พ.ศ.2563  เวลา 09.00 น.-12.30 น. ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน วัตถุประสงค์กิจกรรม 1.เพื่อเชื่อมโยงกระบวนการผลิดอาหารปลอดภัย เเละสร้างความมั่นคงทางอาหารในชุมชน 2.เพื่อให้เกิดการขยายแหล่งผลิตอาหารที่เป็นศูนย์กลางของชุมชน 3.เพื่อสร้างภาคีเครือข่ายในการสนับสนุนองค์ความรุ้ด้านความมั่นคงทางอาหารในชุมชน กลุ่มเป้าหมายผู้เข้่ากิจกรรม 1.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่ได้รับผลกระทบจำนวน  27  คน 2.หน่วยงานภาคีผู้ร่วมสนับสนุบ  3  คน รุปแบบกิจกรรม 1.ประชุมเเลกเปลี่ยนรู้ระหว่างวัน 2.สร้างเเละเชือมโยงกระบวนการผลิตอาหารปอดภัย 3.วางแผนประบวนการทำงานร่วมกันระหว่างการดำเนินงานและภายหลังการดำเนินงาน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลการดำเนินงาน กิจกรรม การเชื่อมรอยการผลิตอาหารในชุมชนและการสร้างเครือข่ายเพื่อขยายแหล่งผลิตอาหารปลอดภัย 1. เกิดภาคีเครือข่ายที่ช่วยหนุนเสริมการผลิตอาหารปลอดภัยในชุมชนได้แก่ สำนักงานเกษตรอำเภอ ช่วยหนุนเสริมอุปกรณ์แคร่โรงเรือนสำหรับปลูกผักปลอดภัยในชุมชนจำนวน 2 โรงเรือน 2. เกิดภาคีร่วมสนับสนุนองค์ความรู้คือ ฟาร์มเตราะบอน
3. เกิดการขยายพื้นที่ปลูกศูนย์จาก 1 แหล่ง เป็น 2 แหล่งในชุมชนได้ ได้แก่
 แหล่งที่ 1  แปลงโคกหนองนาผู้ใหญ่บ้าน เป็นพื้นที่ศูนย์กลางการเฉพาะปลูกให้แก่ชุมชน  แหล่งที่ 2 แคร่โรงเรือนปลูกผักลอยฟ้า อยู่ในโซนโต๊ะฮะ
4. เกิดการปลูกผักแบบผสมผสาน เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนตามฤดูกาล 5. เกิดการวางแผนการปลูกตามฤดูกาลชุมชน 6. เกิดการแบ่งปันอาหารปลอดภัยซึ่งกันและกัน

การติดตามและการประเมินผลการจัดการบริหารออมทรัพย์และการทำบัญชีครัวเรือน18 พฤศจิกายน 2021
18
พฤศจิกายน 2021รายงานจากพื้นที่ โดย nana56psu@gmail.com
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรม การติดและการประเมินผลการจัดการบริหารออมทรัพย์และการทำบัญชีครัวเรือน วันที่ 18 พฤศจิกายน 2564  เวลา 09.00 - 12.00 น. ณ บ้านลูโบ๊ะซูลง  ตำบลเตราะบอน อ.สายบุรี  จ.ปัตตานี กลุ่มเป้าหมาย  30  คน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.กลุ่มเป้าหมายจำนวน 30 คน ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 19 มีการเก็บกอมเงินกองทุน 10 บาท จำนวน 26 คน ซึ่งโดยมีรายละเอียดดังนี้

 เก็บออมวันละ 10 บาท จำนวน 12  คน เฉลี่ยต่อเดือน 300 บาท  เก็บออมวันละ 15 บาท จำนวน  6  คน เฉลี่ยต่อเดือน 450 บาท  เก็บออมวันละ 20 บาท จำนวน 4  คน เฉลี่ยต่อเดือน 600 บาท  เก็บออมวันละ 30 บาท จำนวน 5  คน เฉลี่ยต่อเดือน 900 บาท  ไม่มีการเก็บออม จำนวน 3  คน เฉลี่ยนต่อเดือน - บาท

2.รูปแบบการเก็บออม มีการติดตาม 2 สัปดาห์ต่อครั้ง ผ่านการลงพื้นที่ติดตาม สอบถาม และพูดคุย ในกรณีที่ได้สามารถลงพื้นที่ได้ในสมาชิกรายงานทางกลุ่มไลน์ เงินออมรายละดังนี้

 คิดจากมูลค่าของพืชผักที่ปลูกเอง จำนวน 18 คน  รายได้จากแบ่งปันผักที่เพาะปลูก จำนวน 4 คน  จัดแบ่งสัดส่วนเงินจากการประกอบอาชีพ จำนวน 5 คน

3.สิ่งที่ได้เรียนรูจากการเก็บออม

 เห็นคุณค่าของตัวเงิน ฝึกความอดทน
 วางแผนค่าใช้จ่ายในครัวเรือนคล่องขึ้น (วางแผนการบริหารจัดการ)  มีเงินเก็บ (เป็นเงินสำรองที่ใช้ยามฉุกเฉิน)  ลดความวิตกกังวล เครียดน้อยลง
 เห็นข้อมูลค่าใช้ของตนเอง

กิจกรรมถนอมอาหารปลอดภัย11 พฤศจิกายน 2021
11
พฤศจิกายน 2021รายงานจากพื้นที่ โดย nana56psu@gmail.com
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ชื่อกิจกรรม : ถนอมอาหารปลอดภัยและการบริโภคอาหารปลอดภัยในชุมชน วันเดือนปีที่จัดกิจกรรม : 11  ตุลาคม พ.ศ.2564 เวลา 09.00 น. – 16.00 น. สถานที่ : ศูนย์เฝ้าระวังภัยพิบัติชุมชนบ้านลูโบ๊ะซูลง กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 และผู้ที่สนใจเข้าร่วม จำนวน 40 คน รายละเอียดกิจกรรม : กิจกรรมอบรมการถนอมอาหารปลอดภัยและการบริโภคอาหารปลอดภัย มีวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมดังนี้ 1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายและผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการบริโภคอาหารที่ถูกหลักตามโภชนาการมีความปลอดภัย และการถนอนอาหารที่ปลอดภัย 2. เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนใหม่ นวัตรกรรมอาหารปลอดภัย ตามวิธีชุมชน และเป็นที่ยอมรับ 3. เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายมีรายได้เพิ่มขึ้นและลดรายจ่าย กระบวนการกิจกรรม แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 การเลือกบริโภคอาหารที่ปลอดภัย (กินอย่างรู้ที่มา)
การอบรมเรียนรู้ในหัวข้อ การเลือกบริโภคอาหารที่ปลอดภัย โดยมีวิทยากรจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเตราะบอน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเป็นผู้บรรยายให้ความรู้ เป็นความรู้การบริโภคอาหารให้ครบ 5 หมู่ ถูกหลักโภชนาการ บริโภคในสัดส่วนที่พอดี เน้นย้ำในเรื่องการให้เลือกบริโภคผักให้ครบ 400 กรัม วิธีคัดเลือกพืชผัก สารอาหารที่ร่างการต้องได้รับต่อวัน รวมถึงสาธิตการ เลือกทานเนื้อสัตว์ การตักตวงปริมาณพืชผัก พร้อมมีสื่อคู่มือการเลือกบริโภคอาหารปลอดภัย และได้กล่าวความสำคัญอีกว่า การเลือกทานอาหารแต่ละอย่างต้องรู้ถึงกระบวนการได้มาของอาหารนั้น หรือต้องรู้ถึงกระบวนการผลิต องค์ประกอบการได้มาของอาหารนั้น เป็นต้น
หากอาหารที่เกิดจากชุมชนผลิตเองตามธรรมชาติ สามารถพิจารณาได้ว่าจะเป็นอาหารที่ปลอดภัย ปราศจากสารเคมี ด้วยกระบวนการปลูก เพราะคนในชุมชนจะคัดสรรสิ่งที่ดีและปลอดภัยในการบริโภค และหากมาจากตลาด ร้านค้าภายนอกชุมชน ไม่สามารถบอกได้ว่า กระบวนการผลิตอาหารเป็นเช่นไร จะไม่สามารถการันตีความปลอดภัยได้ ด้วยเหตุผลที่ว่าผู้ประกอบส่วนมุ่งเน้นผลิตอาหารให้ได้ในปริมาณที่เยอะ จะส่วนทางกับการคำนึงความปลอดภัยของอาหาร เป็นต้น ส่วนที่ 2 การถนอมอาหารปลอดภัย ( การคัดเลือก การเก็บรักษา การแปรรูป) การอบรมในหัวข้อง การถนอนอาหารปลอดภัย โดยมีวิทยากรจากธนาคารเมล็ดพันธุ์ จะอธิบายถึง กระบวนการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์พืช เพาะพันธุ์ เพื่อเก็บรักษา ที่ปลอดดภัย ไม่พึ่งสารเหตุในการเพาะปลูก ซึ่งวิธีการหนึ่งคือ การเก็บเมล็ดพืชนำไปตากแดดให้แห้ง เนื่องจากสามารถรักษาได้ได้นานกว่าเมล็ดพันธ์ที่สดใหม่
และได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อหาวิธีการแปรูรูปอาหารที่อยู่ในชุมชนเพื่อให้สามารถเก็บรักษาได้นานมมากยิ่งขึ้น วิธีการดังกล่าวจากการสรุปในการแลกเปลี่ยนคือ
1. การแปรรูปอาหารเพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ ได้ แปรรูป ผักฟักทองให้เป็นข้าวเกรียบ แปรรูปสมุนไพรให้เป็นน้ำพริกหรือพริกแกง และน้ำจิม 2. การถนอมด้วยวิธีการ หมัก ดอง ตุ้น เช่น การทำไข่เป็ดดอง ผักดอง ตากแห้ง และอบแห้ง 3. การรักษาในรักษาได้ยาวนาวคือ เก็บในห้องฟิช ให้อุณภูมิที่เย็นจัด และเก็บรักในถุงซิลด้วยการดูดลมออก เป็นต้น

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการคัดเลือกอาหารเพื่อบริโภคที่ปลอดภัยตามหลักโภชนาการทางอาหาร
  2. กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ ความเข้าในในเรื่องการถนอมอาหารที่ปลอดภัยมีวิธีการดังนี้ คือ การแปรรูป การหมักดอง การตากแห้ง การอบ และเก็บในความเย็นจัด
  3. เกิดนวัตรกรรมการแปรูรูปวัตถุดิบชุมชนคือ การทำน้ำพริก น้ำจิ้ม เครื่องแกง กรือโปะฝักทอง สะตอดอง และ ปล้าร้า (อีแกงาแซ)  โดยการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาปรับใช้ในกระบวนการถนอนอาหารที่ปลอดภัย
  4. รายจ่ายลดลงในการซื้ออาหารในครัวเรือนเฉลี่ย 23 บาทต่อวัน
  5. เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ซึ่งการและกัน
จัดตั้งกลุ่มร้านค้าสหกรณ์ชุมชนพร้อมระเบียบการบริหารกลุ่ม (การรวมหุ้น เก็บออม)17 ตุลาคม 2021
17
ตุลาคม 2021รายงานจากพื้นที่ โดย nana56psu@gmail.com
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ชื่อกิจกรรม : จัดตั้งร้านกลุ่มร้านค้าสหกรณ์ชุมชนพร้อมระเรียบ การบริหารจัดการกลุ่ม
(การรวมหุ้น การเก็บออม) วันเดือนปีที่จัดกิจกรรม : 17  ตุลาคม  พ.ศ.2564  เวลา 09.00 น. – 12.00 น. สถานที่ : ศูนย์เฝ้าระวังภัยพิบัติชุมชนบ้านลูโบ๊ะซูลง กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 จำนวน 30 คน รายละเอียดกิจกรรม : กิจกรรมอบรมเสริมความรู้เรื่องการจัดทำบัญชีครัวเรือน เก็บออม การจัดการบริหารการเงิน และกลุ่มออมทรัพย์ มีวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมดังนี้ 1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายรวมกลุ่มจัดตั้งร้านค้าลอยฟ้าสินค้าเพื่อชุมชน เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารและการบริหารจัดการด้านการเงิน เสริมสร้างการเก็บออมแก่สมาชิก
2. เพื่อให้เกิดกฎกติกา ระเบียบร้านค้า การบริหารจัดการกลุ่ม และแผนดำเนินงานร้านค้าลอยฟ้าสิ้นค้าเพื่อชุมชน เริ่มต้นกิจกรรมจัดตั้งกลุ่มร้านค้า สหกรณ์ชุมชน โดยมีผู้รับเปิดโครงการกล่าวต้อนรับสมาชิกผู้เข้ามากิจกรรมและบอกเล่าภาพรวมดำเนินกงานที่ผ่านเพื่อเป็นการทบทวนกิจกกรมให้ผู้เข้าร่วมได้รับฟัง ต่อมานางสาวอารีนา สามะ คณะกรรมการผู้รับผิดชอบโครงการได้ชี้แจ้งวัตถุประสงค์กิจกรรมให้สมาชิกผู้เข้าร่วมได้รับทราบ โดยชี้แจงว่า กิจกรรมนี้มุ่งเน้นให้เกิดร้านค้าชุมชนที่มาจากชุมชน และชุมชนเป็นเจ้าของ เพื่อให้เกิดการหมุนเวียน ช่วยเหลือเกื้อกูลกันในยามวิกฤติ
กระบวนเรียนรู้การจัดตั้งให้ร้านค้าชุมชน เป็นไปในรูปแบบการประชุมหารือร่วมกัน โดยให้สมาชิกผู้เข้าร่วมกิจกรรมนำเสนอ ร้านค้าชุมชนในฝันของตนเอง ต้องการร้านค้ารูปแบบไหน ดำเนินการอย่างไร ให้สอดคล้องกับสถานการณ์และวิธีชุมชน
เชิญชวนสมาชิกผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนรู้เพื่อการตั้งกฎกติกา ร้านค้า ที่ควรจะเป็น ในแบบฉบับชุมชน โดยคาดว่าจะต้องเกิดขึ้นจริง โดยให้สมาชิกเสนอแลกเปลี่ยน พร้อมจัดทั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินงานดังกล่าว

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. เกิดการจัดตั้งกลุ่มจำนวน 1 กลุ่มที่มีชื่อ กลุ่มร้านค้าลอยฟ้าสินค้าเพื่อชุมชนบ้าน โดยมีโครงการคณะกรรมกลุ่มที่มาจากสมาชิกโครงการสนับสนุนการสร้างความมั่นคงทางอาหารชุมชนบ้านลูโบ๊ะซูลงจำนวน 30 คน
  2. โครงการคณะกรรมร้านค้าประกอบด้วย

- คณะผู้บริหารร้านค้า ได้แก่ ประธาน นายไซลฮูดิง สาอิ รองประธาน นางสาวพาตีเมาะ สาและ เลขานุการ นางสาวอารีนา สามะ - คณะกรรมการอำนวยการและการบริการได้แก่ นางสาวอามาณี สาและ นางสาวหาซือนะ หะมะ - กรรมการหรือสมาชิกร้านค้า คือ ผู้ที่ถือ หุ้มการเก็บออม จำนวน 24 คน
3. เกิดกฎระเบียบร้านค้าเพื่อบริหารจัดการจำนวน 6 ข้อ 1. เงินทุน ร้านค้า คือ เงินที่ได้รับจากการรวมหุ้นของกลุ่มสมาชิกที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ โควิด 19
2. ร้านค้าลอยฟ้าสินค้าชุมชนเป็นร้านค้าอำนวยความสะดวก ค้าขายสินค้าชุมชนที่มีคุณภาพ และตรงตามความต้องการของกลุ่มสมาชิกและผู้ที่สนใจซื้อ ซึ่งการบริการซื้อขายสินค้าผู้ซื้อต้องสั่งจองสิ้นค้าล่วงหน้า และร้านค้าจะบริการจัดส่งสินค้าถึงที่ เพื่อลดการรวมกลุ่ม และการมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน
3. สินค้าต้องมีราคาถูกกว่าท้องตลาดทั่วไป เพื่อเป็นช่วยเหลือสมาชิกยามวิกฤติโควิด 19 สมาชิกสามารถเดาวน์ – ผ่อน ได้ตามความเหมาะสม ภายใต้ระยะเวลาที่กลุ่มร้านค้ากำหนด 4. ร้านค้าต้องกมีการจดบันทึกการรายรับ-รายจ่าย และมีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ 5.กำไรที่ได้รับจากร้านนำไปบริหารจัดการ 3 ส่วน คือ 1.การบริหารจัดการร้านค้า ร้อยละ 30  2.ปันผลสมาชิก ร้อยละ 50 3.เพื่อทำประโยชน์สู่ชุมชน ร้อยละ 20
6.คณะกรรมการร้านค้าต้องการบริการด้วยความเที่ยงตรง เสมอภาค
4. มีร้านค้าภายในชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรมร้านค้าลอยฟ้าสิ้นค้าเพื่อชุมชน จำนวน 1 ร้าน

ปรึกษาพี่เลี้ยงโครงการในเรื่องการคีย์ข้อมูลในระบบ4 ตุลาคม 2021
4
ตุลาคม 2021รายงานจากพื้นที่ โดย nana56psu@gmail.com
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรม  : ปรึกษาพี่เลี้ยงว่าด้วยเรื่องการคีย์ข้อมูลในระบบ วันที่ : 5 ตุลาคม พ.ศ.2565 เวลา : 10.00 น.- 16.00 น. กลุ่มเป้าหมาย  คณะทำงานผู้รับผิดชอบโครงการจำนวน 6 คน รูปแบบกิจกรรม : ปรึกษาหารือ เพื่อหาข้อเสนอแนะ และพูดคุยแลกเปลี่ยนกับพี่เลี้ยงโครงการ และ เรียนรู้การคีย์ข้อมูลออนไลน์ผ่านระบบ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.คณะผู้รับผิดชอบโครงการได้เรียนรู้การคีย์ข้อมูลออนไลน์ผ่านระบบที่หน่วยจัดการกำหนด
2.ได้ฝึการบันทึกข้อมูล รายละเอียดโครงการเพื่อการจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงาน 3.ได้รับข้อเสนอแนะจากพี่เลี้ยงในเรื่อง เนื้อหารายละเอียดที่จำเป็น หลักการที่สำคัญ การสรุปใจความสำคัญของเนื้อหาที่คีย์ข้อมูล

เสาร์สร้างสรรค์ ครั้งที่ 1 ถอดรหัส "โอกาศ ฝ่าวิกฤตด้วยเศรษฐกิจฐานราก2 ตุลาคม 2021
2
ตุลาคม 2021รายงานจากพื้นที่ โดย nana56psu@gmail.com
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมเสาร์สร้างสรรคื ครั้งที่ 1 ถอดรหัส "สร้างโอกาศ ฝ่าวิกฤตด้วยเศรษฐกิจฐานราก" วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ.2564  เวลา 14.00 น. - 16-30 น. ประชุมออนไลน์ผ่านระบบ ZOOM
โดยกลุ่มเป้าหมายคือ ตัวแทนผู้รับผิดชอบจำนวน 3 คน เข้าร่วมประชุมและนำเสนอผลการดำเนินงานโดยมีข้อหัวประเด็นดังตต่อไปนี้ 1. เล่าที่มาของ สาเหตุปัญหา 2. สิ่งมี่ได้ดำเนินงาน 3.ผลลัพธ์ที่ได้จาการดำเนินงาน 4.ข้อเสนอแนะการดำเนินงานจากผู้เข้าร่วมโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.คณะกรรมการจำนวน 3 คนได้เข้าร่วมการประชุมออนไลน์ผ่านระบบ ZOOM
2.ตัวแทนคณะกรรมการได้นำเสนอผลการดำเนินงานให้ผู้เข้าร่วมได้รับฟัง 3.ตัวแทนคณะกรรมการได้ร่วมแลกเปลี่ยน วิธีคิด การสร้างระบบความมั่นคงทางอาหารที่ยั่งยืน ในการเกิดการเรียนรู้รูปแบบใหม่

อบรมเสริมความรู้เรื่องการจัดทำบัญชีครัวเรือนเก็บออมการจัดการบริหารการเงิน และกลุ่มออมทรัพย์ชุมชน30 กันยายน 2021
30
กันยายน 2021รายงานจากพื้นที่ โดย nana56psu@gmail.com
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผลการจัดกิจกรรม (สำหรับบันทึกข้อมูลการจัดกิจกรรมในแต่ละครั้ง) ชื่อกิจกรรม : อบรมเสริมความรู้เรื่องการจัดทำบัญชีครัวเรือน เก็บออม การจัดการ บริหารการเงิน และกลุ่มออมทรัพย์
วันเดือนปีที่จัดกิจกรรม : 30  กันยายน พ.ศ.2564  เวลา 09.00 น. – 12.00 น. สถานที่ : ศูนย์การศึกษาอิสลาม (ตาดีกา) นูรูลฮูดา ลูโบ๊ะซูลง กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 และประชาชนทีสนใจเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 166  คน รายละเอียดกิจกรรม : กิจกรรมอบรมเสริมความรู้เรื่องการจัดทำบัญชีครัวเรือน เก็บออม การจัดการบริหารการเงิน และกลุ่มออมทรัพย์ มีวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมดังนี้ 1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการเกิดความรู้ความเข้าในเรื่องการการจัดทำบัญชีครัวเรือน การบริหารจัดการการเงิน
2. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 80 มีการเก็บออมเงิน มีการจดบันทึกและติดตามผล เริ่มต้นกิจกรรมเสริมความรู้เรื่องการจัดทำบัญชีครัวเรือน การเก็บออม และการจัดการบริการหารเงินเวลา 09.00 น.เพื่อทราบจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการและเพื่อง่ายต่อการบริการจัดการ เวลาเมื่อเวลา 09.30 น. เป็นต้นไป เริ่มกระบวนการด้านเวที ซึ่งมีผู้รับผิดชอบโครงการนายไซลฮูดิง สาอิ (ผู้ใหญ่บ้าน) กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมโครงการและได้เกริ่นทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมา และเน้นย้ำว่าเป้าหมายกิจกรรมครั้งนี้ว่ามุ่งเน้นช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 19 เหลือว่าทุกคนที่เข้าร่วมกิจกรรมล้วนเป็นบุคคลที่ได้รับผลกระทบทั้งสิ้น เมื่อได้รับผลกระทบแล้วสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ เราต้องมีแผนรับมือสถานการณ์หรือวิธีจัดการเพื่อการดำเนินชีวิตต่อ และกิจกรรมวันอาจเป็นเครืองมือวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้เรามีการจัดการที่ดีขึ้นหรือการสร้างภูมิคุ้มกันด้านความรู้การจัดการบริหารการเงินให้ยามวิกฤติเช่นนี้
ต่อมานางสาวอารีนา สามะผู้รับผิดชอบโครงการได้อธิบายวัตถุประสงค์กิจกรรมคือ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการเกิดความรู้ความเข้าในเรื่องการการจัดทำบัญชีครัวเรือน การบริหารจัดการการเงิน  มุ่งเน้นให้กลุ่มเป้าหมายมีการจดบันทึกบัญชีครัวเรือน เพื่อให้ทราบถึงที่มา ที่ไป ของค่าใช้จ่ายต่างๆในแต่ละ มีการเก็บออม และมีเหตุผล ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอ เพื่อเป็นการสร้างภูมิด้านการเงินในทางที่ดีขึ้น จากนั้นได้แนะนำวิทยากรผู้ที่จะให้ความรู้เรื่องการจัดทำบัญชีครัวเรือนคือ นางสาวยัสมี  อาลี ดำรงตำแหน่งเป็นข้าราชการครู กศน. ตำบลเตราะบอน
วิทยากรได้ให้ความรู้การจัดทำบัญชีครัวเรือน การเก็บออม สามารถสรุปได้ดังนี้ การทำบัญชี คือ การจดบันทึก ข้อมูลเกี่ยวกับเงื่อนไขปัจจัยในการดำรงชีวิตของตัวเอง และภายในครอบครัว ชุมชน รวมถึงประเทศ ข้อมูลที่ได้จากการบันทึกจะเป็นตัวบ่งชี้อดีตปัจจุบันและอนาคตของชีวิตของตัวเอง สามารถนำข้อมูลอดีตมาบอกปัจจุบันและอนาคตได้ ข้อมูลที่ได้ ที่บันทึกไว้ จะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนชีวิตและกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิต ในครอบครัว
การทำบัญชีครัวเรือนเป็นการจดบันทึกรายรับรายจ่ายประจำวันของครัวเรือน และสามารถนำข้อมูลมาวางแผนการใช้จ่ายเงินในอนาคตได้อย่างเหมาะสม ทำให้เกิดการออม การใช้จ่ายเงินอย่างประหยัดคุ้มค่า ไม่ฟุ่มเฟือย ดังนั้นการทำบัญชีชีครัวเรือนมีความสำคัญดังนี้ 1. ทำให้ตนเองและครอบครัวทราบรายรับ รายจ่าย หนี้สิน และเงินคงเหลือในแต่ละวัน 2. นำข้อมูลการใช้จ่ายเงินภายในครอบครัวมาจัดเรียงลำดับความสำคัญของรายจ่าย และวางแผนการใช้จ่ายเงิน โดยพิจารณาแต่ละรายการในแต่ละวันมีรายจ่ายใดที่มีความสำคัญมาก และรายจ่ายใดไม่จำเป็นให้ตัดออก เพื่อให้การใช้จ่ายเงินภายในครอบครัวมีพอใช้และเหลือเก็บเพื่อการออมทรัพย์สำหรับใช้จ่ายสิ่งที่จำเป็นในอนาคต บัญชีครัวเรือนถือเป็นส่วนสำคัญในการปฏิบัติตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โดยยึดหลัก 3 ข้อคือ การพอประมาณ ถ้ารู้รายรับรายจ่าย ก็จะใช้แบบพอประมาณ แต่ มีเหตุผล รู้ว่ารายจ่ายใดจำเป็นไม่จำเป็น และเมื่อเหลือจากใช้จ่ายก็เก็บออม นั่นคือภูมิคุ้มกัน ที่เอาไว้คุ้มกันตัวเราและครอบครัว บัญชีครัวเรือนสามารถจัดได้หมด จึงนับว่ามีประโยชน์มาก การวางแผนการใช้จ่ายเงินให้เหมาะสมระหว่างรายรับและรายจ่าย ครอบครัวต้องมีรายรับมากกว่ารายจ่าย หากพบว่ารายรับน้อยกว่ารายจ่าย ต้องหาแนวทางนำเงินมาใช้จ่ายให้เพียงพอ โดยอาจต้องกู้ยืมเงินมาใช้จ่าย แต่การกู้ยืมเงินไม่ใช่แนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ เพียงแต่ช่วยให้การใช้จ่ายมีสภาพคล่องชั่วขณะเท่านั้น และในระยะยาวยังส่งผลให้ครอบครัวมีภาระหนี้สินจำนวนมาทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยซึ่งจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นตามระยะเวลาที่ยาวนานในการกู้ยืมเงิน เป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยาก สำหรับการแก้ไขปัญหาการขาดสภาพคล่องในการใช้จ่ายเงินหรือปัญหารายรับไม่เพียงพอกับรายจ่ายนั้นมีแนวทางดังนี้   1. การตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออก เพื่อลดภาระการจ่ายเงินออกจากครอบครัว เช่น รายจ่ายเกี่ยวกับการพนัน สิ่งเสพติดของมึนเมา รายจ่ายฟุ่มเฟือย เป็นต้น เป็นการสร้างนิสัยมิให้ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย   2. การลดรายจ่ายที่จำเป็นลง เพื่อสร้างนิสัยการประหยัด อดออม การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดอย่างคุ้มค่า เช่น การปลูกผัก ผลไม้ไว้รับประทานเอง เพื่อช่วยลดค่าอาหาร และค่าเดินทางไปตลาด อีกทั้งทำให้สุขภาพดีอีกด้วย ลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงแล้วหันมาออกกำลังกายโดยการปั่นจักรยาน หรือ การเดิน การวิ่งแทนการขับรถจักรยานยนต์ หรือรถยนต์ เป็นต้น   3. การเพิ่มรายรับ หารายได้เสริมนอกเวลาทำงานปกติ เช่น การใช้เวลาว่างรับจ้างตัดเย็บเสื้อผ้า การขายอาหารหลังเลิกงาน การปลูกผัก หรือเลี้ยงสัตว์ไว้ขาย เป็นต้น   4. การทำความเข้าใจกันภายในครอบครัวเพื่อให้ทุกคนร่วมมือกันประหยัด รู้จักอดออม การใช้ทรัพยากรต่างๆ ลด ละ เลิก รายจ่ายหรือสิ่งที่ไม่จำเป็น และช่วยกันสร้างรายรับให้เพียงพอ เหมาะสมกับเศรษฐกิจปัจจุบัน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีกลุ่มเป้าหมายสนเข้าใจเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 30 คน
  2. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการจัดทำบัญชีครัวเรือน และการบริหารจัดการเงิน
  3. กลุ่มเป้าหมายได้มีการทดลองบันทึกบัญชีครัวเรือนตนเอง ผลปรากฏว่าว่า ครัวเรือนการการใช้จ่ายเงินฟุ้งเฟื่อยเกิดนความจำ เมื่อทราบการเคลื่อนไหวและรายละเอียดของค่าใช้จ่ายของตน
  4. เกิดการตั้งเป้าปมายร่วมกันว่าจะเก็บออมทุกวัน อย่างน้อยวันละ 1-5 บาท
  5. เกิดคณะกรรมการติดตามการบันทึกบัญชีครัวเรือนจำนวน 5 คน โดยแบ่งเป็นเขตโซน 5 โซน
  6. เกิดแผนงานการติดตามการบันทึกบัญชีครัวเรือนเดือนละ 1 ครั้ง โดยจะมีการติดตามทุกวันสิ้นเดือน
กิจกรรม ARE ครั้งที่ 122 กันยายน 2021
22
กันยายน 2021รายงานจากพื้นที่ โดย nana56psu@gmail.com
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การประชุม ARE ครั้งที่ 1
เป็นการรายงานความก้าวหน้าโครงการเพื่อวิเคราะห์ตัวชี้วัดประเมินผลบันได้ผลลัพธ์โครงการ โดยให้คณะทำงานผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอารีนา สามะ และนายไซลฮูดิง สาอิ ได้รายงานโครงการโดยทางโครงการได้เนินกิจกรรมทั้งหมดดังนี้ 1. ประชุมทำความเข้าใจโครงการให้กลุ่มเป้าหมายได้เข้าใจ 2.สำรวจข้อมูลแหล่งผลิตอาหารที่มีอยู่ในชุุมชน 3. ประชุมคณะทำงาน  ครั้ง 4.อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูและสุขภาพ 3 อ 2 ส.
5.อบรมการรับมือแผนการจัดการภัยพิบัติโควิดภายในชุมชน 6.พัฒนาศักยภาพการผลิตอาหารปลอดภัย

การดำเนินโครงการอยู่ในขั้นบันได้ที่ 2
อุปสรรค์ปัญหาในการดำเนินงานคือ สถานการโควิดระบาดหนักในชุมชนหน่วยงานรัฐให้ชะลอการรวมกลุ่มกัน จึงงดการกิจกรรมชั่วคร่าว โดยได้มีการแก้ไขปัญหาด้วยการแบ่งโซนเพื่อกระจายการดำเนินงานให้ตัวแทนหัวหน้าโซนเป็นผู้รับผิดชอบ

ข้อเสนอแนะ พี่เลี้ยงโครงการได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวการดำเนินงานการจัดตั้งร้านค้าสินค้าชุมชน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.คณะกรรมการผู้รับผิดชอบโครงการจำนวน 5 ได้รายงานความก้าวหน้าโครงการ ARE ครั้งที่ 1 ได้รับทราบ 2.การดำเนินโครงการได้ดำเนินการทั้งหมด 6 กิจกรรม อยู่ในบันได้ผลลัพธ์ขั้นที่ 3
3.คณะกรรมการเกิดกติกาการทำงานร่วมกัน
4.เกิดแนวคิดการจัดตั้งร้านค้าลอยฟ้าสินค้าชุมชน เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการได้มีการลดค่าใช้จ่าย เก็บออม
5.พี่เลี้ยงโครงการได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดตั้งร้านค้าลอยฟ้าสินค้าชุนชนเพื่อให้ได้ดำเนินการที่มีประสิทธิภาพเเละเกิดประโยชน์ูสุงสุด

ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 515 กันยายน 2021
15
กันยายน 2021รายงานจากพื้นที่ โดย nana56psu@gmail.com
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ชื่อกิจกรรม : ประชุมคณะทำงานประจำเดือนสิงหาคม ครั้งที่ 5
วันเดือนปีที่จัดกิจกรรม : 15 กันยายน พ.ศ.2564 เวลา 09.00 น. – 12.00 น. สถานที่ : ศูนย์เฝ้าระวังภัยพิบัติชุมชนบ้านลูโบ๊ะซูลง กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 จำนวน 30 คน รายละเอียดกิจกรรม :
ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 5 มีวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมดังนี้ 1. เพื่อทบทวนบันไดผลลัพธ์
2. เพื่อรายงานผลการปฏิบัติงานของเดือน กันยายน พ.ศ.2564 3. เพื่อวางแผนการดำเนินงานกิจกรรมประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564 กิจกรรมประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 5 เป็นการประชุมวางแผนการทำงานของกันของคณะทำงานครั้งที่ 3 มีคณะกรรมการผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานจำนวน 30 คน โดยเป็นกระบวนการพูดคุยแลกเปลี่ยนการทำงานร่วมกันด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม และวางเป้าหมายร่วมกันว่า กิจกรรมภายในเดือนกันยายน พ.ศ.2564 ตามแผนงานโครงการต้องดำเนินการอะไรบ้าง เพื่อตอบโจทย์ตัวชีวัดโครงการ และมีการทบทวนแผนงานให้รับคณะกรรมการได้รับฟัง เพื่อทำความเข้าใจโครงการร่วมกัน เริ่มต้นการประชุมด้วยการกล่าวต้อนรับคณะทำงานโครงการจำนวน 30 คน โดยนายไซลฮูดิง สาอิ ประธานผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวคือ ประธานที่ประชุมได้กล่าวตอนรับทุกคนที่เข้าประชุม ที่ได้ร่วมให้ความสำคัญกับการทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาฟื้นฟูคุณภาพชีวิต ให้กับชุมชน และได้ชี้แจ้งสถานการณ์โควิดภายในหมู่บ้านว่าอยู่ในช่วงวิกฤติ เนื่องจากพบเจอผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด 19 ภายในหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง จึงขอความร่วมมือช่วยเหลือจากคณะกรรมการทุกคนช่วยกันเฝ้าระวัง ปฏิบัติตามมาตรการป้องโควิด 19 อย่างเคร่งครัด สาเหตุที่พอเจอผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากผู้เสี่ยงสูงบางกลุ่ม มีความปกปิดข้อมูล ป่วยโดยไม่ได้มีการแจ้ง อสม.อีกทั้งหมู่บ้านมีแนวโน้มสูงที่จะถูกคำสั่งการจากอำเภอให้ปิดหมู่บ้าน เนื่องการมีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติกเชื้อโควิด 19 หมู่บ้านอาจทำการปิดหมู่บ้านโดยเร็ว หากสถานการณ์ยังมียอดผู้ติดเชื้อยังไม่นิ่ง กิจกรรมจำเป็นต้องหยุดการดำเนินการประชุม อาจปรับการพูดคุยผ่านระบบทางไลน์กลุ่มแทน
ภายหลังจากนั้นในแผนงานโครงการประชุมอาจจะมีการงดการประชุม งดการรวมกลุ่ม แต่กิจกรรมปลูกผัก เก็บออมเงิน ก็ยังดำเนินการ โดยที่จะมีการแบ่งบทบาทหน้ารับผิดชอบเป็นโซน และให้รายงานความก้าวหน้าผ่านระบบไลน์กลุ่มแทน
จากนั้นนางสาวอารีนา  สามะ ได้นำกระบวนการประชุมครั้งนี้โดยชี้แจ้งวัตถุประสงค์ในการประชุมว่า เป็นการประชุมครั้งที่ 5 ต่อเนื่องจากครั้งที่แล้ว ตามมติที่ประชุมครั้งก่อนว่าให้มีการในวันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ.2564 โดยมีประวัตถุประสงค์ดังนี้คือ 1. ทบทวนการดำเนินงานตามบันไดผลลัพธ์โครงการ 2. วางแผนการดำเนินงานกิจกรรมภายในเดือนสิงหาคมตามแผนงานโครงการ จากการดำเนินการประชุมมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1. ทบทวนการดำเนินงานตามบันไดผลลัพธ์โครงการ การดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการส่งเสริมสนับสนุนการสร้างความมั่นคงทางอาหารภายในชุมชน โดยดำเนินการไปแล้ว 6 กิจกรรม คือ 1. ประชุมชนชี้แจงทำความเข้าใจโครงการ , 2.ประชุมประจำเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2564 , 3. สำรวจข้อมูลแหล่งผลิตอาหารภายในชุมชน , 4. ประชุมประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ.2564 5. ประชุมประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2564 6.อบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพ 3 อ. 2 ส. 7. อบรมให้ความรู้การรับมือภัยพิบัติโควิด 19 สาธิต แผนเผชิญเหตุเพื่อรับมือ โดยอยู่ในขั้นบันไดที่ 2 คือกลุ่มเป้าหมายมีความรู้และทักษะการดำเนินงาน โดยตอบโจทย์ผลลัพธ์ 1. เกิดระบบการรับมือสถานการณ์โควิดจำนวน 1 แผนงาน 2. กลุ่มเป้าหมายร้อยละ 80 มีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพและตระหนักถึงการดูแลสุขภาพ 3 อ. 2 ส. 3. .การอบรมการจัดทำบัญชีครัวเรือน
ขั้นบันไดที่ 3 คือกลุ่มการเป้าหมายมีการบริหารภายในกลุ่มคือ โดยตอบโจทย์บันไดผลลัพธ์ 1.พัฒนาศักยภาพกลุ่มผลิตอาหารสาธิตผลิตอาหารปลอดภัยการปลูกผักแปลงใหญ่ (ศูนย์กลางชุมชน)
2. วางแผนการดำเนินงานกิจกรรมภายในเดือนสิงหาคม พ.ศ.2564 ตามแผนงานโครงการ นางสาวอารีนาได้สรุปกิจกรรมตามแผนบันไดผลลัพธ์โครงการว่า จากแผนงานโครงการที่ต้องดำเนินงานต่อจากนี้คือ
- ให้คณะกรรมทำงานดำเนินการคิดออกแบบกิจกรรมถนอมอาหารปลอดภัย โดยดำเนินการตามโซน และรายงานผลการดำเนินงาน
- ให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบโซนลงพื้นทีติดตามครัวเรือนว่าด้วยการปลูกผัก การเก็บออม และการกระบวนการสร้างความั่นคงทางอาหารในครัวเรือนที่รับผิดชอบ และรายงานผลการติดตาม สัปดาห์ละ 1 ครั้ง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เกิดการทบทวนบันได้ผลลัพธ์โครงการอยู่ในขั้นบันไดที่ 3 คือ กลุ่มเป้าหมายการบริหารจัดการกลุ่มเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร
  • เกิดการวางแผนกิจกรรมประจำเดือนกันยายน  พ.ศ.2564 จำนวน 2 กิจกรรม ดังนี้ o กิจกรรมถนอมอาหารปลอดภัย โดยดำเนินการตามโซน และรายงานผลการดำเนินงาน โดยแต่ละโซนเป็นผู้กำหนดการดำเนินงาน o ลงพื้นทีติดตามครัวเรือนว่าด้วยการปลูกผัก การเก็บออม และการกระบวนการสร้างความั่นคงทางอาหารในครัวเรือนที่รับผิดชอบ และรายงานผลการติดตามสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
พัฒนาศักยภาพกลุ่มผลิตอาหารและสาธิตผลิตอาหารปลอดภัยการปลูกผักแปลงใหญ่ (ศูนย์กลางชุมชน)10 สิงหาคม 2021
10
สิงหาคม 2021รายงานจากพื้นที่ โดย nana56psu@gmail.com
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพกลุ่มผลิตอาหารและสาธิตผลิตอาหารปลอดภัยการปลูกผักแปลงใหญ่ (ศูนย์กลางชุมชน)มีวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมดังนี้ 1.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ด้านการเกษตร การทำปุ๋ยชีวภาพในการเพาะปลูกพืชเพื่อการผลิตอาหาร   ปลอดภัยภายในชุมชน 2.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายศักยภาพในการผลิตอาหารที่ปลอดภัย และสามารถวางแผนการผลิตอาหาร   ปลอดภัยเพื่อใช้ในระดับครัวเรือนและชุมชนได้ เริ่มต้นพัฒนาศักยภาพกลุ่มผลิตอาหารและสาธิตผลิตอาหารปลอดภัยการปลูกผักแปลงใหญ่ (ศูนย์กลางชุมชน) ในช่วงเวลา 09.00 น. โดยนายนายไซลฮูดิง สาอิ (ผู้รับผิดชอบโครงการ) ได้กล่าวตอนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมและเปิดพิธีกิจกรรม และได้กล่าวขอบคุณผู้เข้าร่วมที่ได้สละเวลาสำคัญเข้ามาร่วมกิจกรรมในช่วงสถานการณ์โควิดแบบนี้ และได้ชีแจ้งวัตถุประสงค์กิจกรรมในครั้งนี้ว่า เป็นกิจกรรมพัฒนาศักยภาพกลุ่มผลิอาหารและสาธิตการผลิตอาหารปลอดภัย ที่ทุกคนสามารถนำไปได้ง่ายใรครัวเรือนของตนเอง โดยกิจกรรมวันนี้จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้ 1. อบรมเชิงปฏิบัติการการทำปุ๋ยหมักชีวภาพจากสัปปะรด เศษเหลือจากครัวเรือน โดยได้รับเชิญเจ้าหน้าที่พัฒนาที่ดินจังหวัดปัตตานี เป็นวิทยากรในการบรรยายให้ความรู้ ซึ่งเจ้าหน้าพัฒนาที่ดินได้บรรยายขั้นตอนการทำปุ๋ยหมักจากสัปปะรดตามขั้นตอนทุกกระบวนการพร้อมให้กลุ่มเป้าหมายได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ซึ่งปุ๋ยหมักที่ได้ทำนั้น ต้องหมักเป็นระยะเวลา 1 เดือนถึงจะได้ประโยชน์ได้ ปุ๋ยหมักที่ได้นั้นสามารถนำมาใช้เป็นปุ๋ยหลักในรดนำต้นไม้ ที่ช่วยให้พืชผักเจริญเติบโตได้อย่างรวด ทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี นำมาซึ่งการได้มาของอาหารปลอดภัย
2. อบรมเชิงการทำปุ๋ยคอกจากขี้วัว เพื่อการเพาะปลูกพืชแบบผสมผสานตามรอยเศรษฐกิจพอเพียงโดยได้เชิญเจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอสายบุรี เป็นครัวเรือนเป็นวิทยากรในการบรรยายให้ความรู้พร้อมลงมือปฏิบัติการไปพร้อมกัน ซึ่งส่วนผสมหลักคือ ขี้วัว กากมะพร้าว และกากพืชต่างๆ โดยการรวมสวนผสมให้เข้ากันตั้งทิ้งไว้เป็นระยะเวลา 1 – 2 เดือน ก๊าซและสารอาหารในปุ๋ย สามารถนำไปใช้ประโยชน์โดยการใส่ปุ๋ยต้นไม้ และพืชผักแบบผสมผสาน ซึ่งมีความปลอดภัยและทำได้ง่ายๆ ภายในครัวเรือนเป้าหมาย 3. สาธิตการเพาะปลูกพืชอายุสั้น (การเพาะถั่วงอก) เพื่อบริโภคและเพิ่มรายได้ลดรายจ่ายใน โดยได้เชิญเจ้าหน้าที่พัฒนากรอำเภอสายบุรี เป็นวิทยากรในการอบรมบรรยายให้ความรู้ การเพาะถั่วงอกเป็นปลูกระยะเวลาสั้นก็สามารถนำมารับประทานได้ และเป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถทำได้ง่ายๆในช่วงภัยพิบัติโควิด 19 ซึงการเพาะนั้นไม่ยุ่งยาก ครัวเรือนบริโภคเป็นประจำ เป็นที่ต้องการของตลาด

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. กลุ่มเป้าหมายผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 19  จำนวน 30 คน มีความรู้ความเข้าใจการเรื่องการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ และการทำปุ๋ยคอกชีวภาพ
  2. กลุ่มเป้าหมายจำนวน 30 คน ได้มีความรู้เรื่องการเพาะปลูกพืชอายุสั้น (การเพาะถั่วงอก) ด้วยวิธีอย่างง่าย
  3. กลุ่มเป้าหมายจำนวน 30 คน เกิดทักษะการทำปุ๋ยและการเพาะพืชผัก
ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 46 สิงหาคม 2021
6
สิงหาคม 2021รายงานจากพื้นที่ โดย nana56psu@gmail.com
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

รายละเอียดกิจกรรม :
ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 4 มีวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมดังนี้ 1. เพื่อทบทวนบันไดผลลัพธ์
2. เพื่อรายงานผลการปฏิบัติงานของเดือน กรกฎาคม พ.ศ.2564 3. เพื่อวางแผนการดำเนินงานกิจกรรมประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564 กิจกรรมประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่  4  เป็นการประชุมวางแผนการทำงานของกันของคณะทำงานครั้งที่ 3 มีคณะกรรมการผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานจำนวน 30  คน โดยเป็นกระบวนการพูดคุยแลกเปลี่ยนการทำงานร่วมกันด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม และวางเป้าหมายร่วมกันว่า กิจกรรมภายในเดือนสิงหาคม พ.ศ.2564 ตามแผนงานโครงการต้องดำเนินการอะไรบ้าง เพื่อตอบโจทย์ตัวชีวัดโครงการ และมีการทบทวนแผนงานให้รับคณะกรรมการได้รับฟัง เพื่อทำความเข้าใจโครงการร่วมกัน เริ่มต้นการประชุมด้วยการกล่าวต้อนรับคณะทำงานโครงการจำนวน 30 คน โดยนายไซลฮูดิง  สาอิ ประธานผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวคือ ประธานที่ประชุมได้กล่าวตอนรับทุกคนที่เข้าประชุม ที่ได้ร่วมให้ความสำคัญกับการทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาฟื้นฟูคุณภาพชีวิต ให้กับชุมชน และได้ชี้แจ้งสถานการณ์โควิดภายในหมู่บ้านว่าอยู่ในช่วงวิกฤติ เนื่องจากพบเจอผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด 19 ภายในหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง จึงขอความร่วมมือช่วยเหลือจากคณะกรรมการทุกคนช่วยกันเฝ้าระวัง ปฏิบัติตามมาตรการป้องโควิด 19 อย่างเคร่งครัด สาเหตุที่พอเจอผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากผู้เสี่ยงสูงบางกลุ่ม มีความปกปิดข้อมูล ป่วยโดยไม่ได้มีการแจ้ง อสม. และคณะทำงานผู้ใหญ่บ้าน จึงส่งผลให้เกิดการระบาดอย่างต่อเนื่อง และหวังเป็นอย่างว่า ทุกคนจะปฏิบัติตามกฎกติกาชุมชน และขอบคุณผู้เข้าร่วมโครงการในวันนี้ และได้ทวนวัตถุประสงค์โครงการให้กับผู้เข้าร่วมโครงการอีกครั้งคือเพื่อพัฒนาความรู้ทักษะด้านการเงิน สุขภาพ และสังคม แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19และ เพื่อสนับสนุนสร้างระบบความมั่นคงทางอาหารของชุมชน และได้นางสาวอารีนา  สามะ ผู้บันทึกข้อมูลเป็นผู้นำกระบวนการประชุมในครั้งนี้ นางสาวอารีนา  สามะ ได้นำกระบวนการประชุมครั้งนี้โดยชี้แจ้งวัตถุประสงค์ในการประชุมว่า เป็นการประชุมครั้งที่ 4 ต่อเนื่องจากครั้งที่แล้ว ตามมติที่ประชุมครั้งก่อนว่าให้มีการในวันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ.2564 โดยมีประวัตถุประสงค์ดังนี้คือ 1. ทบทวนการดำเนินงานตามบันไดผลลัพธ์โครงการ 2. วางแผนการดำเนินงานกิจกรรมภายในเดือนสิงหาคมตามแผนงานโครงการ จากการดำเนินการประชุมมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1. ทบทวนการดำเนินงานตามบันไดผลลัพธ์โครงการ การดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการส่งเสริมสนับสนุนการสร้างความมั่นคงทางอาหารภายในชุมชน โดยดำเนินการไปแล้ว 6 กิจกรรม คือ 1. ประชุมชนชี้แจงทำความเข้าใจโครงการ , 2.ประชุมประจำเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2564  , 3. สำรวจข้อมูลแหล่งผลิตอาหารภายในชุมชน , 4.  ประชุมประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ.2564  5. ประชุมประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2564  6.อบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพ 3 อ. 2 ส. 7. อบรมให้ความรู้การรับมือภัยพิบัติโควิด 19 สาธิต แผนเผชิญเหตุเพื่อรับมือ โดยอยู่ในขั้นบันไดที่ 2  คือกลุ่มเป้าหมายมีความรู้และทักษะการดำเนินงาน โดยตอบโจทย์ผลลัพธ์  1. เกิดระบบการรับมือสถานการณ์โควิดจำนวน 1 แผนงาน  2. กลุ่มเป้าหมายร้อยละ 80 มีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพและตระหนักถึงการดูแลสุขภาพ 3 อ. 2 ส. 2. วางแผนการดำเนินงานกิจกรรมภายในเดือนสิงหาคม พ.ศ.2564 ตามแผนงานโครงการ นางสาวอารีนาได้สรุปกิจกรรมตามแผนบันไดผลลัพธ์โครงการว่า จากแผนงานโครงการที่ต้องดำเนินงานต่อจากนี้คือ
- 1. กิจกรรมพัฒนาศักยภาพกลุ่มผลิตอาหารสาธิตผลิตอาหารปลอดภัยการปลูกผักแปลงใหญ่ (ศูนย์กลางชุมชน)  และจากการประชุมสรุปได้ว่าให้มีการจัดกิจกรรมนี้ในวันที่  10 สิงหาคม พ.ศ. 2564 จัดขึ้น ณ ศูนย์เฝ้าระวังภัยพิบัติชุมชน เวลา 08.30 – 16.30 น. โดยเน้นกลุ่มหมายคือ ประชาชนทั่วไปในชุมชนจำนวน 30 ครัวเรือน โดยให้คณะกรรมการประสานเจ้าหน้าพัฒนากรอำเภอ  เกษตรอำเภอ และพัฒนาที่ดินจังหวัดปัตตานี มาให้ความรู้และมีงบประมานในการดำเนินกิจกรรมตามแผนงานคือจำนวน 4,450 บาท

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เกิดการทบทวนบันได้ผลลัพธ์โครงการอยู่ในขั้นบันไดที่ 2 คือ กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และทักษะการดำเนินงาน
  • เกิดการวางแผนกิจกรรมประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ.2564 จำนวน 1 กิจกรรม ดังนี้ o พัฒนาศักยภาพกลุ่มผลิตอาหารสาธิตผลิตอาหารปลอดภัยการปลูกผักแปลงใหญ่ (ศูนย์กลางชุมชน จัดขึ้น ณ ศูนย์เฝ้าระวังภัยพิบัติชุมชน เวลา 08.30 – 16.30 น.
  • เกิดการวางแผนกติกาการปลูกสวนครัวในครัวเรือนเพื่อบริโภค อย่างน้อยครัวเรือนละ 5-7 ชนิดต่อครัวเรือน
อบรมให้ความเรื่่องการับมือสถานการณ์โควิด19 และสาธิตการรับมือเผชิญเหตุเชิงปฏบัติงาน30 กรกฎาคม 2021
30
กรกฎาคม 2021รายงานจากพื้นที่ โดย nana56psu@gmail.com
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ชื่อกิจกรรม : อบรมความรู้เรื่องการรับมือสถานการณ์โควิด 19 และสาธิตการรับมือแผน เผชิญเหตุเชิงปฏิบัติงาน วันเดือนปีที่จัดกิจกรรม : 30 กรกฎาคม พ.ศ.2564  เวลา 13.00 น. – 16.30 น. สถานที่ : ศูนย์เฝ้าระวังภัยพิบัติชุมชนบ้านลูโบ๊ะซูลง กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 และประชาชนให้พื้นที่ 116 คน รายละเอียดกิจกรรม : กิจกรรมอบรมความรู้เรื่องการรับมือสถานการณ์โควิด 19 และสาธิตการรับมือแผนเผชิญเหตุเชิงปฏิบัติงาน มีวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมดังนี้ 1.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการมีแผนการรับมือเผชิญเหตุสถานการณ์โควิด 19
2.เพื่อให้เกิดแผนการรับมือภัยพิบัติในระดับชุมชน เริ่มต้นกิจกรรมอบบรมความรู้เรื่องการรับมือสถานการณ์โควิด 19  โดยมีนายนายไซลฮูดิง  สาอิ (ผู้รับผิดชอบโครงการ) ได้กล่าวตอนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมและเปิดพิธีกิจกรรม และได้กล่าขอบคุณผู้เข้าร่วมที่ได้สละเวลาสำคัญเข้ามาร่วมกิจกรรมในช่วงสถานการณ์โควิดแบบนี้ แต่ด้วยผู้นำชุมชนมีความมุ่งมั่นตั้งใจจัดทำโครงการเพื่อให้ผู้เข้าร่วมมีความมั่นคงในชีวิต สามารถสู่กับวิกฤติเช่นนี้ และหวังอย่างยิ่งว่ากิจกรรมวันนี้จะเกิดประโยชน์สุงสุดคือ หวังอยากให้ชุมชนมีแผนรับมือเพื่อป้องกันโควิด 19
และกิจกรรมอบรมในครั้งนี้ได้เชิญวิทยาคือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข จากโรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพตำบลเตราะบอนมาให้ความรู้ครั้งนี้ โดยได้บรรยายให้ความรู้มีรายละเอียดดังนี้ 1. ความรู้เรื่องโรคภัยจากโควิด และสถานการณ์โควิดในระดับตำบลเตราะบอน
2. แผนการรับมือของหน่วยงานต่อชุมชน 3. ยกตัวอย่างเคสผู้ติดเชื้อที่ทางหน่วยงานได้รับมือ และทั้งยังได้ร่วมกันจัดทำแผนรับมือสถานการณ์โควิดในพื้นที่ คือ การจัดสถานที่ 1 . มัสยิดให้เป็นไปตามมาตราการป้องกันโควิด 1๙  2. ร้านค้าให้มีจุดล้างมือ และมีแจลแอลกอฮอร์บริการ มีแผ่นกั้นระหว่างผู้ขายกับผู้ซื้อ 3 .เตรียมสถานที่กักตัวผู้เสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด 19 ในระดับชุมชน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้เรื่องการรับมือภัยโควิด 19 ของหน่วยงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเตราะบอน ที่บริการจัดการในชุมชน
  2. กลุ่มเป้าหมายได้มีการปฏิบัติการตามมารการป้องกันโควิด 19
    3.เกิดกติกาชุมชนเกี่ยวกับการรับมือภัยพิบัติโควิด 19 1 ฉบับ และถูกประกาศใช้อย่างเป็นทางการภายในชุมชน 4.เกิดแผนรับมือมือภัยพิบัติโควิด 19 จำนวน 1 แผน
    5.เกิดสถานที่รับมือที่ปฏิบัติการตามมาตราการป้องกันโควิด 19 ได้แก่ มัสยิด สถานที่กักตัว และร้านค้าชุมชนในระดับชุมชน
อบรมให้ความรู้การดูเเลสุขภาพ 3 อ 2 ส.16 กรกฎาคม 2021
16
กรกฎาคม 2021รายงานจากพื้นที่ โดย nana56psu@gmail.com
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

รายละเอียดกิจกรรม :
กิจกรรมอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพ 3 อ. 2 ส. มีวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมดังนี้ 1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 80 มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการดูแลสุขภาพที่ครบวงจรและถูกวิธี
2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมบูรณาการองค์ความรู้ที่ได้รับปรับใช้ในชีวิตประจำวันจริง เริ่มต้นกิจกรรมอบบรมให้ความรู้ 3 อ. 2ส.คณะผู้รับผิดชอบโครงการนายไซลฮูดิง สาอิ (ผู้รับผิดชอบโครงการ) ได้กล่าวตอนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมว่า ทางคณะผู้รับผิดชอบมีความยินดีอย่างยิ่งที่อยากเห็นชุมชนเดินหน้า มีศักยภาพและพัฒนาไปไกลกว่าเดิม แต่ด้วยสถานการณ์โควิดเช่นนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่ชุมชนต้องมึความร่วมมือกันช่วยดูแลสุขภาพ ใช้ชีวิตอย่างพอเพียงตามรอยในหลวง ราชกาลที่ 9 เพื่อมีความมั่นทางในชีวิต และกิจกรรมวันในวันนีคือเป็นกิจกรรมอบรมการดูแลสุขภาพ 3 อ.2 อ. มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ชุมมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการดูแลสุขภาพที่ครบวงจรและถูกวิธี และเชื่อว่าการมีสุขภาพที่ดี ย่อมโชคดีกว่าคนรวยที่สุขภาพไม่ดี เพราะความมั่นคงทางสุขภาพคือความมั่นคงทางชีวิต การอบรมความรู้การดูแลสุขภาพได้เชิญวิทยากรเจ้าหน้าที่สาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเตราะบอนและได้บรรยายความรู้รายละเอียดพอสังเขปดังนี้ 3 อ 2 ส. ลดเสี่ยง เลี่ยงภัย ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบดังนี้ 1. อาหาร : ต้องฝึกนิสัย “ชิมก่อนเติม กินอาหารให้พอดี” , ปรุงอาหารด้วยวิธีต้ม นึ่ง อบ ยำ และผัดที่ไม่มัน เลี่ยงอาหารที่มีคอเรสเตอรอลสูง  และเลือกซื้อผัก ผลไม้ที่รสไม่หวาน ที่สดและใหมา 2. ออกกำลังกาย : เพิ่มการเคลื่อนไหวร่างกายในชีวิตประจำวันอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน 5 วันต่อสัปดาห์ 3. อารมณ์ : เมื่อรู้สึกเครียดนั้น มีวีธีการจัดการหลากหลายรูปแบบ เช่น การนอนหลับพักผ่อน พูดคุยกับเพื่อนฟูง เต้นแอรอบิก ฟังเพลง อ่านหนังสือ และท่องเที่ยว เป็นต้น 4. งดสูบบุหรี่ : จำเป็นต้องมีเคล็ดลับการลดละเลิกบุหรี่ คือ ต้องมีความตั้งใจที่จะเลิก เตือนตัวเองอยุ่เสมอว่า “ไม่สูบแล้ว” และการคุมอาหารการเลือกอาหารจำพวกผักผลไม้ให้มากกว่าเดิม 5. งดดื่มสุรา : หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอร์หรือจำกัดการดื่มมิให้เกินปริมาณ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีกลุ่มเป้าหมายที่เราร่วมกิจกรรมมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการดูและสุขภาพ 3 อ.2ส. โดยการประเมินการแลกเปลี่ยนพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ระหว่างการอบรม และสื่อความรู้ที่ได้แจก
  2. กลุ่มเป้าหมายมีความตระหนักถึงการดูแลสุขภาพมากขึ้น
  3. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และนำความรู้ที่ได้รับปรับใช้ในการดูแลสุขภาพตนเองในช่วงสถานการณ์โควิด 19
ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 39 กรกฎาคม 2021
9
กรกฎาคม 2021รายงานจากพื้นที่ โดย nana56psu@gmail.com
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

รายละเอียดกิจกรรม :
ประชุมคณะทำงานประจะเดือนครั้งที่ 3 มีวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมดังนี้ 1. เพื่อวางแผนการทำงานและมีแผนการปฏิบัติงานที่จัดเจน 2. เพื่อรายงานผลการดำเนินงานการเก็บข้อมูลแห่งผลิตอาหารภายในชุมชน 3. เพื่อวางแผนการดำเนินงานกิจกรรมประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564 กิจกรรมประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่  3  เป็นการประชุมวางแผนการทำงานของกันของคณะทำงานครั้งที่ 3 มีคณะกรรมการผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานจำนวน 30  คน โดยเป็นกระบวนการพูดคุยแลกเปลี่ยนการทำงานร่วมกันด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม และวางเป้าหมายร่วมกันว่า กิจกรรมภายในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2564 ตามแผนงานโครงการต้องดำเนินการอะไรบ้าง เพื่อตอบโจทย์ตัวชีวัดโครงการ และมีการทบทวนแผนงานให้รับคณะกรรมการได้รับฟัง เพื่อทำความเข้าใจโครงการร่วมกัน เริ่มต้นการประชุมด้วยการกล่าวต้อนรับคณะทำงานโครงการจำนวน 30 คน โดยนายไซลฮูดิง  สาอิ ประธานผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวคือ ประธานที่ประชุมได้กล่าวตอนรับทุกคนที่เข้าประชุม ที่ได้ร่วมให้ความสำคัญกับการทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาฟื้นฟูคุณภาพชีวิต ให้กับชุมชน และได้ทวนวัตถุประสงค์โครงการให้กับผู้เข้าร่วมโครงการอีกครั้งคือเพื่อพัฒนาความรู้ทักษะด้านการเงิน สุขภาพ และสังคม แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19และ เพื่อสนับสนุนสร้างระบบความมั่นคงทางอาหารของชุมชน และได้นางสาวอารีนา  สามะ ผั้นทึกข้อมูลเป็นผู้นำกระบวนการประชุมในครั้งนี้ นางสาวอารีนา  สามะ ได้นำกระบวนการประชุมครั้งนี้โดยชี้แจ้งวัตถุประสงค์ในการประชุมว่า เป็นการประชุมครั้งที่ 3 ต่อเนื่องจากครั้งที่แล้ว ตามมติที่ประชุมครั้งก่อนว่าให้มีการในวันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ.2564 โดยมีประวัตถุประสงค์ดังนี้คือ 1. รายงานผลการเก็บข้อมูลแหล่งผลิตอาหารในชุมชน
2. ทบทวนการดำเนินงานตามบันไดผลลัพธ์โครงการ 3. วางแผนการดำเนินงานกิจกรรมภายในเดือน กรกฎาคม ตามแผนงานโครงการ 4. แลกเปลี่ยนปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการ
จากการดำเนินการประชุมมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1. รายงานผลการเก็บข้อมูลแหล่งผลิตอาหารในชุมชน
จากการประชุมคณะกรรมการสามารถสรุปผลการดำเนินงานการเก็บข้อมูลแบบสอบถามได้ดังนี้ • ข้อมูลแหล่งผลิตอาหารในชุมชน โซน จำนวนครัวเรือน ทั้งหมด ประเภทแหล่งผลิตอาหารในชุมชน ปลูกข้าว/ปลูกผัก เลี้ยงปลา เลี้ยงไก่/เป็ด เลี้ยงแพะแกะ เลี่ยงวัว ร้านอาหารค้าของชำ ครัวเรือนทำขนม บ่อน้ำธรรมชาติเพาะสัตว์น้ำ โซนปาวา 40 5 - - - 1 2 1 1 โซนปอเนาะ 22 1 1 - - 1 3 1 โซนโตะฮะ 26 1 1 8 1 2 1 2 1 โซนมัสยิด 26 3 - 3 1 1 4 1 - โซนบาตะ 22 3 1 1 - 1 2 1 - รวม 136 13 3 12 2 5 10 8 3

  1. ทบทวนการดำเนินงานตามบันไดผลลัพธ์โครงการ การดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการส่งเสริมสนับสนุนการสร้างความมั่นคงทางอาหารภายในชุมชน โดยดำเนินการไปแล้ว 4 กิจกรรม คือ 1. ประชุมชนชี้แจงทำความเข้าใจโครงการ , 2.ประชุมประจำเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2564  , 3. สำรวจข้อมูลแหล่งผลิตอาหารภายในชุมชน , 4.  ประชุมประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ.2564 โดยตอบโจทย์ตัวชี้วัดคือ มีคณะทำงานผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินโครงการจำนวน 30 คน คณะทำงานมีความเข้าใจโครงการ และมีการแบ่งบทบาทหน้าที่และมีแผนการดำเนินโครงการที่จัดเจน
  2. วางแผนการดำเนินงานกิจกรรมภายในเดือน กรกฎาคม พ.ศ.2564 ตามแผนงานโครงการ นางสาวอารีนาได้สรุปกิจกรรมตามแผนบันไดผลลัพธ์โครงการว่า จากแผนงานโครงการที่ต้องดำเนินงานต่อจากนี้คือ

- 1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ 3 อ. 2 ส. และจากการประชุมสรุปได้ว่าให้มีการจัดกิจกรรมนี้ในวันที่  16 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 จัดขึ้น ณ ศูนย์เฝ้าระวังภัยพิบัติชุมชน เวลา 08.30 – 12.00 น. โดยเน้นกลุ่มหมายคือ ประชาชนทั่วไปในชุมชนจำนวน 166 ครัวเรือน โดยให้คณะกรรมการประสานเจ้าหน้าที่สาธารสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเตราะบอน มาให้ความรู้และมีงบประมานในการดำเนินกิจกรรมตามแผนงานคือจำนวน 10,960 บาท
- 2. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องอบรมให้ความเรื่องการับมือสถานการณ์โควิด19 และสาธิตการรับมือเผชิญเหตุเชิงปฏิบัติงาน และจากการประชุมสรุปได้ว่าให้มีการจัดกิจกรรมนี้ในวันที่  30 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 จัดขึ้น ณ ศูนย์เฝ้าระวังภัยพิบัติชุมชน เวลา 08.30 – 12.00 น. โดยเน้นกลุ่มหมายคือ ประชาชนทั่วไปในชุมชนจำนวน 166 ครัวเรือน โดยให้คณะกรรมการประสานเจ้าหน้าที่สาธารสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเตราะบอน มาให้ความรู้ มีงบประมานในการดำเนินกิจกรรมตามแผนงานคือจำนวน 10,530 บาท
4. แลกเปลี่ยนปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการ
จากการประชุมพูดคุยแลกเปลี่ยนเล่าประสบการณ์การดำเนินงานของแต่ละคนตามโซนที่รับผิดชอบ สรุปได้ว่า การดำเนินงานมีปัญหาอุปสรรคดังนี้ - กลุ่มเป้าหมายประชาชนไม่กล้าเข้าร่วมโครงการเนื่องการระแวง กลัวติดเชื้อโควิด เลี่ยงการรวมกลุ่ม - กลุ่มเป้าหมายมีเวลาว่างไม่ตรงการกับกิจกรรม ส่งผลให้มีผลเข้าร่วมโครงการน้อยกว่าเป้าหมายที่วางไว้ - แนวทางการแก้ไข้ปัญหาในการดำเนินงานคือ ร่วมกลุ่มให้น้อยลง ตามช่วงเวลาที่จำเป็นกรณีมีกิจกรรมเร่งด่วนเท่านั่น ใช้ช่องทางไลน์ในการพูดคุยหารือเป็นหลักเพื่อลดการร่วมกลุ่ม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงานที่เป็นหัวหน้าโซน ได้รายงานผลการดำนเนินงานการเก็บข้อมูลแหล่งผลิตอาหาร ให้คณะกรรมการจำนวน 30 รายได้รับทราบ เพื่อ รับรองข้อมูล และเพื่อแก้ไขข้อมูลเพิ่มเติม
  • เกิดการทบทวนบันได้ผลลัพธ์โครงการอยู่ในขั้นบันไดที่ 2 คือ กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และทักษะการดำเนินงาน
  • เกิดการวางแผนกิจกรรมประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2564 จำนวน 2 กิจกรรม ดังนี้ o กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ 3 อ. 2 ส. o กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องอบรมให้ความเรื่องการับมือสถานการณ์โควิด19 และสาธิตการรับมือเผชิญเหตุเชิงปฏิบัติงาน โดยวางแผนวันเวลาการดำเนินงานที่ชัดเจน
  • เกิดการแลกเปลี่ยนสะท้อนการดำเนินงานของคณะกรรมการแต่ละโซน เพื่อหารือวิธีการแก้ไขคือการดำเนินงานมีปัญหาอุปสรรคดังนี้ o กลุ่มเป้าหมายประชาชนไม่กล้าเข้าร่วมโครงการเนื่องการระแวง กลัวติดเชื้อโควิด เลี่ยงการรวมกลุ่ม o กลุ่มเป้าหมายมีเวลาว่างไม่ตรงการกับกิจกรรม ส่งผลให้มีผลเข้าร่วมโครงการน้อยกว่าเป้าหมายที่วางไว้
  • แนวทางการแก้ไข้ปัญหาในการดำเนินงานคือ ร่วมกลุ่มให้น้อยลง ตามช่วงเวลาที่จำเป็นกรณีมีกิจกรรมเร่งด่วนเท่านั่น ใช้ช่องทางไลน์ในการพูดคุยหารือเป็นหลักเพื่อลดการรวมกลุ่ม
ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 24 มิถุนายน 2021
4
มิถุนายน 2021รายงานจากพื้นที่ โดย nana56psu@gmail.com
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

รายละเอียดกิจกรรม :
ประชุมคณะทำงานประจะเดือนครั้งที่ 2 มีวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมดังนี้ 1. เพื่อวางแผนการทำงานและมีแผนการปฏิบัติงานที่จัดเจน 2. เพื่อดำเนินการวางแผนการเก็บข้อมูลแหล่งผลิตอาหารภายในชุมชนเพื่อการจัดทำฐานข้อมูลอย่างเป็นระบบ
กิจกรรมประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่  2  เป็นการประชุมวางแผนการทำงานของกันของคณะทำงานครั้งที่ 2 มีคณะกรรมการผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานจำนวน 30  คน โดยเป็นกระบวนการพูดคุยแลกเปลี่ยนการทำงานร่วมกันด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม และวางเป้าหมายร่วมกันว่า จะทำงานตามแผนร่วมกันอย่างไร จะเก็บข้อมูลแหล่งผลิตอาหารในชุมชนอย่างไร ใครเป็นผู้จัดเก็บ เก็บสอบถามใครเป็นคนออกแบบเป็นต้น เริ่มต้นการประชุมด้วยการกล่าวต้อนรับคณะทำงานโครงการจำนวน 30 คน โดยนายไซลฮูดิง  สาอิ ประธานผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวคือ  ประธานที่ประชุมได้กล่าวตอนรับทุกคนที่เข้าประชุม ที่ได้ร่วมให้ความสำคัญกับการทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาฟื้นฟูคุณภาพชีวิต ให้กับชุมชน และได้ทวนวัตถุประสงค์โครงการให้กับผู้เข้าร่วมโครงการอีกครั้งคือเพื่อพัฒนาความรู้ทักษะด้านการเงิน สุขภาพ และสังคม แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19และ เพื่อสนับสนุนสร้างระบบความมั่นคงทางอาหารของชุมชน ซึ่งกิจกรรมการประชุมครั้งเริ่มเป็นการประชุมครั้งที่ 2 ตามมติที่ประชุมครั้งก่อนว่าให้มีการประชุมประจำเดือนทุกๆวันศุกร์ สัปดาห์ที่  1 ของทุกเดือน จากแผนการดำเนินงานโครงการแล้ว สิ่งที่เราต้องลงมือดำเนินการต่อจากนี้คือ การเก็บข้อมูลแหล่งผลิตอาหารที่มีอยู่ในชุมชนบ้านลูโบ๊ะซูลงบ้านเรา ประกอบด้วย 2 ส่วนหลักๆคือ 1. ข้อมูลกลุ่มอาชีพในชุมชน 2. ข้อมูลแหล่งผลิตอาหาร การประชุมครั้งนี้จะแบ่งบทบาทหน้าที่การทำงานมีรายละเอียดดังนี้ 1. ออกแบบ แบบสอบถาม ให้นางสาวอารีนา สามะ คณะกรรมการจัดทำข้อมูลเป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินงาน โดยให้มีเนื้อหา ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลรายรับ-รายจ่ายในครัวเรือน ข้อมูลแหล่งกลุ่มอาชีพ และข้อมูลแหล่งผลิตอาหาร ( ครัวเรือนที่ปลูกพืชผัก , เลี้ยงสัตว์ , ทำนา , ร้านค้า ) 2. แบ่งบทบาทหน้าที่การเก็บข้อมูลแบบสอบถามรายครัวเรือน โดยการเก็บข้อมูลแบสอบถามจะแบ่งตามโซนและได้แต่งตั้งหัวหน้าโซนรับผิดชอบจำนวน 5 โซน คือ
- โซนปาวา นางสาวคอลีเยาะ วานิ เป็นหัวหน้าโซน - โซนปอเนาะ นางรอมละห์  อาแวยง เป็นหัวหน้าโซน - โซนมัสยิด  นางซัลมา  เจะนะ  เป็นหัวหน้าชอบโซน - โซนบาตะ  นางซัส  หะมะ  เป็นหัวหน้าโซน - โซนโตะฮะ  นางสาวพาตีเมาะ สาและ 3. กำหนดการเก็บข้อมูลแบบสอบถาม ตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน – 30 มิถุนายน 2564
4. กำหนดส่งแบบสอบถามข้อมูลแหล่งผลิตอาหารในวันประชุมคณะทำงานประจำเดือนกรกฎาคม ซึ่งตรงกับวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ.2564 และให้รายงานผลการดำเนินงานในวันประชุม 5. แผนงานกิจกรรมเก็บข้อมูลแบบสอบถาม จะแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ก่อนเริ่มโครงการ ระยะดำเนินโครงการ และสิ้นสุดโครงการ โดยมีงบประมาณการดำเนินงานทั้งหมด 2,600 บาท

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เกิดการแบ่งบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบการดำเนินงานการเก็บแบบสอบถามดังนี้ o ผู้ออกแบบสอบและจัดทำแบบสอบถาม o แบ่งโซนการเก็บข้อมูลออกเป็น 5 โซน
  • เกิดการกำหนดการดำเนินงานในการเก็บแบบสอบถามโดยกำหนดเก็บวันที่ 20 มิถุนายน – 30 มิถุนายน 2564
  • เกิดการวางแผนการดำเนินงานประจำเดือนมิถุนายน 1 กิจกรรมคือ การสำรวจข้อมูลแหล่งผลิตแหล่งของชุมชนที่มีอยู่ โดยการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ กำหนดวันที่เวลา ที่ชัดเจน
สำรวจข้อมูลกลุ่มผลอาชีพแหล่งอาหารชุมชนก่อนเริมดำเนิน 3 ระยะ15 พฤษภาคม 2021
15
พฤษภาคม 2021รายงานจากพื้นที่ โดย nana56psu@gmail.com
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ชื่อกิจกรรม : สำรวจข้อมูลกลุ่มอาชีพแหล่งอาหารชุมชนก่อนเริมดำเนิน
วันเดือนปีที่จัดกิจกรรม : 15  พฤษภาคม พ.ศ.2564  เวลา 09.00 น. – 12.00 น. สถานที่ : ชุมชนบ้านลูโบ๊ะซูลง กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 จำนวน 30  คน รายละเอียดกิจกรรม :
กิจกรรมสำรวจกลุ่มผลอาชีพและแหล่งผลิตอาหารชุมชนบ้านลูโบ๊ะซูลงก่อนกำเนินการ
มีวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมดังนี้ 1. เพื่อให้เกิดฐานข้อมูลกลุ่มอาชีพภายในชุมชนและแหล่งผลิตอาหารในชุมชน 2. เพื่อให้เกิดนำฐานข้อมูลนำไปใช้วางแผนการดำเนินงานภายในชุมชนเพื่อวิเคราะห์วางแผนการดำเนินงาน กิจกรรมสำรวจข้อมูลกลุ่มอาชีพและแหล่งผลิตอาหารในชุมชนบ้านลูโบ๊ะซูลงก่อนกำเนินการ  โดยคณะทำงานร่วมกันประชุม พูดคุย แลกเปลี่ยน เพื่อออกแบบแบบสอบถามข้อมูลก่อนดำเนินงาน โดยนางสาวอารีนา  สามะ เป็นผู้นำกระบวนการออกแบบแบบสอบถาม ซึ่งได้ออกแบบข้อมูลที่มีความจำเป็น ไม่ซับซ้อน และ เข้าใจง่าย เพื่อสะดวกต่อการในไปใช้ แบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ 1. ข้อมูลทั่วไปผู้ให้ข้อมูล 2. ข้อมูลกลุ่มอาชีพในชุมชน 3. ข้อมูลแหล่งผลิตอาหาร การลงพื้นที่สำรวจข้อมูลตามมติที่ประชุมมีรายละเอียดดังนี้ 1. วิธีการแบ่งโซนรับผิดชอบ และมอบหมายการดำเนินงานให้กับหัวหน้าโซนเป็นผู้รับผิดชอบ ลงพื้นที่เก็บข้อมูล กำกับดูแล และ ประเมินสถานการณ์ในการดำเนินงาน 2. กำหนดระยะเวลาในการลงพื้นที่เก็บข้อมูล 15 วัน เริ่มตั้งแต่วันที 15 – 30 พฤษภาคม พ.ศ.2564 ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ ข้อมูลกลุ่มอาชีพและแห่งผลิตอาหารในชุมชนบ้านลูโบ๊ะซูลง ข้อมูลที่ได้รับจากการสำรวจก่อนดำเนินงานโครงการวันที่ 15-30 เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2564 โดยสำรวจข้อมูล “กลุ่มอาชีพ และ แหล่งผลิดอาหาร ในชุมชน ด้วยวิธีการแบ่งกระจายงานตามโซนรับผิดทั้ง 5 โซน ดังนี้ 1. โซนปาวา 2. โซนปอเนาะ 3. โซนโตะฮะ 4. โซนมัสยิด 5. โซนบาตะ เนื้อหาข้อมูลที่ได้รับจากการสำรวจได้ดังนี้ • ข้อมูลทั่วไป 1. ประกรทั้งหมด 723 คน 2. ครัวเรือนทั้งหมด  136 ครัวเรือน 3. รายได้เฉลี่ย 60,000 บาทต่อปี • ข้อมูลกลุ่มอาชีพในชุมชน โซน จำนวนครัวเรือน กลุ่มอาชีพในชุมชน รับจ้างทั่วไป กรีดยาง เกษตรกร/เลียงสัตว์ ค้าขาย ข้าราชการ ลูกจ้างรัฐ/เอกชน แรงงานต่างพื้นที่ ว่างงาน โซนปาวา 40 11 4 6 1 - 5 10 3 โซนปอเนาะ 22 2 4 3 4 2 1 5 1 โซนโตะฮะ 26 4 8 8 1 - 1 2 2 โซนมัสยิด 26 5 3 7 2 2 2 3 2 โซนบาตะ 22 4 2 4 6 1 1 3 1 รวม 136 26 21 28 14 5 10 23 9 • ข้อมูลแหล่งผลิตอาหารในชุมชน โซน จำนวนครัวเรือน ทั้งหมด ประเภทแหล่งผลิตอาหารในชุมชน ปลูกข้าว/ปลูกผัก เลี้ยงปลา เลี้ยงไก่/เป็ด เลี้ยงแพะแกะ เลี่ยงวัว ร้านอาหารค้าของชำ ครัวเรือนทำขนม บ่อน้ำธรรมชาติเพาะสัตว์น้ำ โซนปาวา 40 5 - - - 1 2 1 1 โซนปอเนาะ 22 1 1 - - 1 3 1 โซนโตะฮะ 26 1 1 8 1 2 1 2 1 โซนมัสยิด 26 3 - 3 1 1 4 1 - โซนบาตะ 22 3 1 1 - 1 2 1 - รวม 136 13 3 12 2 5 10 8 3

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เกิดข้อมูลแหล่งผลิตอาหารในชุมชนแบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ 1.เพาะปลูกพืชผัก/ข้าว
- ปลูกข้าวจำนวน  25 ครัวเรือน -ปลูกผักสวนครัวจำนวน 10 ชนิดขึ้นไปเพื่อบริโภคและขาย 7 ครัวเรือน -ปลูกผักเพื่อบริโภค 3-5 ชนิด จำนวน 73 ครัวเรือน 2.เลี้ยงสัตว์ -สัตว์น้ำ ได้แก่  ปลาน้ำจืดในบ่อน้ำ 2 ครัวเรือน  , ปลาดุกในกระชัง 1 ครัวเรือน -สัตว์ปีก ได้แก่ เลี้ยงไก่บ้านเพื่อขายและบริโภค 2 ครัวเรือน , เลี้ยงไก่บ้าน 3-5 ตัวเพื่อบริโภค 10  ครัว -สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
•วัว: เลี้ยง 1-3 ตัว  เพื่อบริโภคและขาย  5 ครัวเรือน •แพะ : เลี้ยง 1-5 ตัว เพื่อบริโภคจำนวน 2 ครัวเรือน 3.แปรรูป คือ ครัวเรือนที่ผลิตอาหารขาย  ทำขนม จำนวน 7 ครัวเรือน และ กลุ่มแม่บ้าน 1 กลุ่ม 4.แหล่งขาย คือร้านค้าในชุมชนได้แก่ร้านอาหาร จำนวน 6  ร้าน    ร้านค้าของชำ  4  ร้าน 5.แหล่งธรรมชาติ  บ่อน้ำธรรมชาติที่เป็นแหล่งเพาะสัตว์น้ำ
- อ่างเก็บน้ำแนแวะห์    จำนวน  1  บ่อ -บ่อปลาธรรมชาติของครัวเรือน    จำนวน  3 บ่อ

ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 15 พฤษภาคม 2021
5
พฤษภาคม 2021รายงานจากพื้นที่ โดย nana56psu@gmail.com
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมคณะทำงานประจะเดือนครั้งที่ 1 มีวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมดังนี้

  1. เพื่อให้เกิดกลุ่มคณะทำงานภายในโครงการ มีโครงสร้างบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจน
  2. เพื่อวางแผนการทำงานและมีแผนการปฏิบัติงานที่จัดเจน

กิจกรรมประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 1 เป็นการประชุมวางแผนการทำงานของกันของคณะทำงานที่สนใจเข้าร่วมโครงการจำนวน 30 คน โดยการประชุมครั้งนี้จะเป็นการประชุมครั้งแรก โดยมีกระบวนการพูดคุยและเปลี่ยนการทำงานร่วมกันด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม และการสร้างเป้าหมายร่วมกันว่า ท้ายที่สุดแล้วความต้องการ ของแต่ละคนคืออะไร อยากเห็นอะไรเกิดขึ้นในชุมชนเรา และเราจะทำมันอย่างไร ถึงจะไปถึงเราเป้าหมายที่วางไว้ เริ่มต้นการประชุมด้วยการกล่าวต้อนรับคณะทำงานโครงการจำนวน 30 คน โดยนายไซลฮูดิง สาอิ ประธานผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวคือ ประธานที่ประชุมได้กล่าวตอนรับทุกคนที่เข้าประชุม ที่ได้ร่วมให้ความสำคัญกับการทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาฟื้นฟูคุณภาพชีวิต ให้กับชุมชน และได้ทวนวัตถุประสงค์โครงการให้กับผู้เข้าร่วมโครงการอีกครั้งคือ

  1. เพื่อพัฒนาความรู้ทักษะด้านการเงิน สุขภาพ และสังคม แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19
  2. เพื่อสนับสนุนสร้างระบบความมั่นคงทางอาหารของชุมชน

และได้ชี้แจงวาระประชุมภายในนี้คือ

  1. วาระที่ 1 แบ่งบทบาทหน้าที่ของโครงการคณะทำงาน
  2. วาระที่ 2 วางแผนการทำงานประจำเดือนพฤษภาคม
  3. วาระที่ 3 การพิจารณาในส่วนเกี่ยวข้อง
  4. วาระที่ 4 เรื่องอื่นๆ

การประชุมวาระที่ 1 การแบ่งบทบาทหน้าที่ของโครงการคณะทำงานร่วมกัน โดยมีนางสาว อารีนา สามะ เป็นกระบวนการในการดำเนินงาน ให้เป็นบทบาทหน้าที่เพื่อรับผิดชอบโครงการร่วมกัน และคณะกรรมได้มีการแบ่งบทหน้าที่ดังต่อไปนี้ - ประธาน : นายไซลฮูดิง สาอิ
- รองประธาน : นางสาวคอลีเยาะ วานิ - เลขานุการ : นางสาวพาตีเมาะ สาและ - เหรัญญิก : นายอับดุลฮาเล็ม อูเซ็ง - ฝ่ายอาหาร : นางสาวรอซีด๊ะ สามะ ,นางมารีแย สามะ , นางฮาบีเดาะ สาอิ - ฝ่ายสถานที่ : นายมูหะมัดรุตพี กะโด , นายอับดุลเลาะ สาและ
- ฝ่ายทะเบียน : นางสาวสารีพะ ดอนิ , นางสาวรอพีอ๊ะ สามะ , นางสาวซัลมา เจ๊ะนะ - โสต/ถ่ายรูป/วิดีโอ : นางสาวอารีนา สามะ - ฝ่ายข้อมูล : นางสาวอารีนา สามะ การประชุมวาระที่ 2 การวางแผนการทำงานประจำเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564 จากแผนงานโครงการที่ทั้งหมด 12 กิจกรรรม ดำเนินการแล้ว 1 โครงการ ในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2564 ผ่านมา และยังไม่ได้ทำเนินงาน 11 กิจกรรม จากแผนเดือนพฤษภาคม ที่คณะทำงานสามารถดำเนินการได้คือ กิจกรรมสำรวจข้อมูลแหล่งผลิตอาหารชุมชน ระยะก่อนจำนวน 1 กิจกรรม โดยมีนางสาวคอลีเยาะ วานิ นางสาวพาตีเมาะ สาและ เป็นรับผิดชอบในการดำเนินการในครั้งนี้
และวางแผนการการประชุมคณะทำงานเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 ในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2564 ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน เวลา 14 . 00 น.
การประชุมวาระที่ 3 การพิจารณาการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลแหล่งผลิตอาหารภายในหมู่บ้านดังนี้ - ผู้รับผิดชอบกิจกรรม นางสาวคอลีเยาะ วานิ และนางสาวพาตีเมาะ สามะ - ผู้จัดทำข้อมูลแบบสำรวจ นางสาวอารีนา สามะ - ลงพื้นที่ตามโซนที่รับผิดชอบโซนปาวา , โซนบาตะ , โซนโต๊ะฮะ , โซนปอเนาะ , โซนมัสยิด - วันเวลา ตั้งแต่วันที่ 15-30 ของเดือนพฤษภาคม พ.ศ.264 - กำหนดการส่ง 31 พฤษภาคม พ.ศ.2564
การประชุมวาระที่ 4 การทำข้อตกลงร่วมกันหรือการทำสัญญาใจ ในการทำงานร่วมกันดังนี้ - ประชุมคณะทำงานประจำในวันศุกร์สัปดาห์ที่ 2 ของทุกๆเดือน - เวลาประชุมคณะทำงาน เวลา 14.00 น. - สถานที่ ประชุม คือ ณ ศูนย์เฝ้าระวังภัยพิบัติชุมชน /ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน - สถานที่ทำการเพาะปลูกผักแปลงใหญ่ศูนย์กลางคือ พื้นที่หลังมัสยิด

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เกิดโครงการคณะทำงานภายในโครงการที่ชัดเจนตามโครงสร้าง สมาชิกได้แบ่งบาทความถนัดของตนเอง
  • เกิดการวางแผนการดำเนินประจำเดือนพฤษภาคม 1 กิจกรรมคือ การสำรวจข้อมูลแหล่งผลิตแหล่งของชุมชนที่มีอยู่ โดยการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ กำหนดวันที่เวลา ที่ชัดเจน
  • เกิดกติการ่วมกันการทำงานคือ o ประชุมคณะทำงานประจำในวันศุกร์สัปดาห์ที่ 2 ของทุกๆเดือน o เวลาประชุมคณะทำงาน เวลา 14.00 น. o สถานที่ ประชุม คือ ณ ศูนย์เฝ้าระวังภัยพิบัติชุมชน /ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน o สถานที่ทำการเพาะปลูกผักแปลงใหญ่ศูนย์กลางคือ พื้นที่หลังมัสยิด
เวทีชีแจ้งทำความเข้าใจกลุ่มอาชีพผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 1930 เมษายน 2021
30
เมษายน 2021รายงานจากพื้นที่ โดย nana56psu@gmail.com
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมทำความเข้าใจกลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 มีวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมดังนี้ 1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการเกิดความเข้าใจโครงการที่ตรงกันกิจกรรม 2. เพื่อให้เกิดกลุ่มคณะทำงานภายในโครงการ มีโครงสร้างบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจน และมีแผนการปฏิบัติงานที่จัดเจนและสามารถวัดผลได้ กิจกรรมประชุมเวทีชี้แจงทำความเข้าใจกลุ่มผู้ที่ได้รับผลการจากโควิด 19 เป็นการประชุมเพื่อทำความเข้าใจโครงการสนับสนุนการสร้างความมั่นคงทางอาการของชุมชนบ้านลูโบ๊ะซูลง ตำบลเตราะบอน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ต่อกลุ่มเป้าหมายผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานโควิด 19 จำนวน 30 คน  เพื่อให้ได้รับทราบถึงที่มาของโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ เป้าหมายโครงการ และหน่วยงานที่รับผิดชอบในการสนับสนุนโครงการต่อชุมชน
เริ่มต้นกิจกรรมคณะผู้รับผิดชอบโครงการนางสาวอารีนา  สามะ ได้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมโครงการที่เป็นผู้ที่ได้รับกระทบจากสถานการโควิด 19 พร้อมได้อธิบายความเป็นมาโครงการคือ เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากโครงการฟื้นฟูคุณภาพชีวิต และพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก  Covid 19 เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพจังหวัดภาคใต้  สำนักงานกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูและพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้แก่กลุ่มผู้ที่ได้รับกระทบจากโควิด 19  ซึ่งทางคณะผู้รับผิดชอบโครงการหรือผู้นำชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน เล็งเห็นถึงความสำคัญต่อการฟื้นฟูคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด จากการสำรวจข้อมูลสถานการณ์ชุมชนในช่วงโควิด 19 เบื้องต้นนั้น ได้รับมีครัวเรือน ผู้คนในชุมชน กำลังเผชิญวิกฤตตึงเครียด ไม่งานทำ รายได้ไม่เพียงพอ แรงงานที่กลับจากมาเลเซีย ต่างจังหวัดที่กลับมาอยู่ตั้งหลักที่บ้านเกิด ก็มีจำนวนมาก บางคนก็มีงานที่ทำบ้าน บางคนไม่มีงาน  และคณะทำงานผู้รับผิดชอบโครงการก็ได้ประชุมหารือกันเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวคือ การวิเคราะห์บริบทชุมชน อะไรจะเป็นปัจจัยสำคัญความต้องการชุมชนแล้ว ทางชุมชนมีแหล่งผลิตอาหารที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งรวมของธรรมชาติ เป็นชุมชนที่กึ่งเมืองกึ่งชุมชน ผู้คนมีทักษะฝีมือในการประกอบอาชีพ เพื่อแค่ขาดการร่วมกลุ่มการสร้างแหล่งผลิตอาหารของชุมชนร่วมกัน เพื่อเป็นบรรเทาฟื้นฟูยามวิกฤตโควิด จึงได้ขอรับเสนอโครงการสนับสนุนโครงการสร้างความมั่นคงทางอาหารของชุมชนบ้านลูโบ๊ะซูลง เพื่อให้เกิดความยั่นยืน กลุ่มเป้าหมายมีรายได้เพิ่มขึ้น เกิดแหล่งศูนย์กลางของแหล่งผลิตอาหารในชุมชนที่ปลอดภัย เพราะทางเราเชื่อมั่นในกระบวนการผลิตที่ปลอดภัย และเสริมการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจที่ดีในชุมชนอีกด้วย
โครงการสนับสนุนการสร้างความมั่นคงทางอาหารของชุมชนมีวัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาความรู้ทักษะด้านการเงิน สุขภาพ และสังคม แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19
2. เพื่อสนับสนุนสร้างระบบความมั่นคงทางอาหารของชุมชน และมีแผนงานในการดำเนินกิจกรรมดังนี้ 1. เวทีทำความเข้าใจกลุ่มผู้ที่ได้รับผลการทบจากโควิด 19
2. การสำรวจข้อมูลแห่งผลิตอาหารในชุมชน 3. ประชุมคณะทำงานเป็นประจำทุกเดือน 4. การอบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ 3 อ 2  ส 5. การรับมือสถานการณ์โควิด (แผนเผชิญเหตุ) 6. การจัดทำบัญชีครัวเรือน 7. พัฒนาศักยภาพกลุ่มผลิตอาหารและสาธิตการผลิตอาหารปลอดภัย 8. การจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ ร้านค้าสหกรณ์ชุมชน 9. การถนอมอาหารที่ปลอดภัย 10. การเชื่อมโยงเครือข่ายการผลิตอาหาร 11. การติดตามและการประเมินผล 12. การสรุปและถอดบทเรียนสู่ชุมชน งบประมาณที่ได้รับในการดำเนินโครงการ จำนวน  60,000 บาท โดยมีระยะเวลาในการดำเนินงาน 9 เดือน โครงการจะสำเร็จไปมิได้หากปราศจากความร่วมมือจากทุกคน เพราะทุกคนคือเจ้าของโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.มีกลุ่มเป้าหมายสนเข้าใจเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 30 คน 2.กลุ่มเป้าหมายผู้ที่ได้รับผลการทบจากสถานการณ์โควิด 19 มีความเข้าโครงการและแผนการดำเนินงานร่วมกัน 3.กลุ่มเป้าหมายผู้โครงการมีการจัดแบ่งโครงสร้างคณะทำงานเบื้องต้น คือตำแหน่งประธาน คือ ผู้ใหญ่บ้าน

ค่าจัดทำป้าย28 เมษายน 2021
28
เมษายน 2021รายงานจากพื้นที่ โดย nana56psu@gmail.com
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดทำป้ายโครงการสนับสนุบการสร้างระบบความมั่นคงทางอาหารของชุมชนบ้านลูโบ๊ะซูลง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้เเผ่นป้ายไวนิลโครงการสนับสนุนการสร้างระบบความมั่นคงทางอาหารของชุมชนบ้านลูโบ๊ะซูลงจำนวน 1 แผ่นไวนิล ขนาด 2*1 เมตร

ปฐมนิเทศโครงการการฟื้นฟูคุณภาพชีวิต และพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากแก่ผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะจังหวัดภาคใต้12 เมษายน 2021
12
เมษายน 2021รายงานจากพื้นที่ โดย nana56psu@gmail.com
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

โครงการการฟื้นฟูคุณภาพชีวิต และพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากแก่ผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะจังหวัดภาคใต้

10 เมษายน พ.ศ. 2564 17.00 น. โครงการย่อยเข้าพักและลงทะเบียน(สตูล สงขลา นราธิวาส) ตรวจหลักฐาน ลงนามในข้อตกลงโครงการย่อย และรับหนังสือเปิดบัญชีโครงการย่อย 11 เมษายน พ.ศ. 2564 08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียน ตรวจหลักฐาน ลงนามในข้อตกลงโครงการย่อย และรับหนังสือเปิดบัญชีโครงการย่อย(ปัตตานี ยะลา) 08.30 – 09.30 น. กิจกรรม กลุ่มสัมพันธ์ โดยคุณนฤมล ฮะอุรา และคุณอุบัยดีละ
09.30 – 10.00 น. ชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการ แนวทางการดำเนินงานโครงการ และธามไลน์โครงการ โดย คุณสุวิทย์ หมาดอะดัม 10.00 – 10.30 น. บรรยายเรื่อง บันไดผลลัพธ์โครงการ โดยคุณรูสลาม สาระ 10.30 – 10.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง 10.45 – 11.15 น. บรรยายเรื่อง การทำแผนการทำงานด้วยปฏิทินกิจกรรม โดยคุณนฤมล ฮะอุรา 11.15 – 12.00 น. บรรยายเรื่องการออกแบบเก็บข้อมูลตัวชี้วัด คุณอัดนัน อัลฟารีตีย์ 12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 – 13.30 น. บรรยายเรื่อง ระบบบัญชี การเงิน และการเสียภาษี โดยคุณซอร์ฟีเย๊าะ สองเมือง 13.30 – 14.30 น. บรรยายเรื่อง การรายงานกิจกรรมโครงการทางระบบออนไลน์ โดยคุณสุวิทย์ หมาดอะดัม 14.30 – 14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง 14.45 – 16.00 น. พบพี่เลี้ยงจังหวัด ตรวจเอกสารตรวจหลักฐานฯ ต่อ นัดหมายการลงพื้นที่ติดตาม


  11 เมษายน พ.ศ. 2564 09.00 – 09.30 น. กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์
ทบทวนเรื่องที่ได้เรียนรู้เมื่อวันวาน 09.00 - 10.00 น. แบ่งกลุ่มเข้าฐานเรียนรู้และฝึกปฏิบัติ ฐานที่ 1 ระบบบัญชี การเงิน และการจ่ายภาษี -วิทยากรประจำฐาน คุณซอร์ฟีเย๊าะ
คุณกัลยา คุณไอลดา ฐานที่ 2 บันไดผลลัพธ์โครงการ-วิทยากรประจำฐาน คุณรูสลาม คุณมะยูนัน ฐานที่ 3 การออกแบบเก็บข้อมูลตัวชี้วัดและการสะท้อนผลลัพธ์-วิทยากรประจำฐาน
-คุณอัดนัน คุณอุบัยดีล๊ะ ฐานที่ 4 การทำรายงานออนไลน์-วิทยากรประจำฐาน คุณสุวิทย์ คุณนฤมล

10.00 - 10.15 น. พักรับประทานอาหารว่าง 10.15 - 12.00 น. เข้าฐานเรียนรู้และฝึกปฏิบัติ(ต่อ) 12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน 13.00 – 15.00 น.    เข้าฐานเรียนรู้และฝึกปฏิบัติ(ต่อ) 15.00 – 15.15 น. พักรับประทานอาหารว่าง
15.15 – 16.00 น. ทำแผน เวทีการสะท้อนผลลัพธ์(ARE) ร่วมกับพี่เลี้ยง สามารถสรุปผลการเรียนรู้ของตัวแทนชุมชนได้ดังนี้ -ผู้รับผิดชอบโครงการส่งตัวเเทนเข้าร่วมอบรบพัฒนาศักยภาพ จำนวน โครงการละ 5 คนให้เข้าเรียนรู้ทำความเข้าใจกระบวนการจัดทำโครงการตามรายเอียดขอบเขตเนื้อหา กรอบแนวความคิดที่ สสส.กำหนด ในการเข้าร่วมครั้งมีมีตัวแทนจากชุมชนบ้านลูโบ๊ะซูลงเข้าร่วมกิจกรรมปฐมนิเทศทั้งหมด 5 คน สมาชิกทุกได้ร่วมเรียนเครืองมือต่างๆที่จะนำไปใช้ในโครงการ เช่น อบรมการบริหารการเงิน เครื่องมือการดำเนินโครงการ วิเคราะห์ประเมินผล เป็นต้น

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. คณะทำงานผู้รับผิดโครงการมีความรู้ความเข้าใจโครงการกระบวกการดำเนินงานตามกรอบแนวคิดของ สสส.และวัตถุประสงค์ เป้าหมายโครงการ
  2. คณะทำงานโครงการมีความรู้ความเข้าใจการใช้เครืองมือกิจกิจกรรมที่จำเป็นต่อการนำไปใช้ในโครงการ
  3. คณะทำงานเข้าใจถึงการทำบัญชีโครงการ
  4. โครงการมีแผนการปฏิบัติงานที่ชัดเจน