stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ลดอุบัติเหตุทางท้องถนนตำบลห้วยกระทิง
รหัสโครงการ 65-0005
วันที่อนุมัติ 1 เมษายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2565 - 31 มีนาคม 2566
งบประมาณ 100,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ซากีเร๊าะ มามะ
ผู้รับผิดชอบโครงการ ซากีเร๊าะ มามะ
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวรอฮานี ดือเระ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลห้วยกระทิง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2565 30 ก.ย. 2565 40,000.00
2 1 ต.ค. 2565 28 ก.พ. 2566 50,000.00
3 1 มี.ค. 2566 31 มี.ค. 2566 10,000.00
รวมงบประมาณ 100,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตำบลห้วยกระทิงเป็นตำบลหนึ่งในเขตการปกครองของอำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลาในปัจจุบันคำว่า ห้วยกระทิง เป็นคำแปลมาจากภาษามลายูท้องถิ่นสองคำ คือ คำว่า กูแบสลาแด (กูแบ แปลว่า ห้วย) (สลาแด แปลว่า กระทิง) ซึ่งในอดีตพื้นที่ตำบลห้วยกระทิง เป็นพื้นที่ป่ามีภูเขาสูงล้อมรอบ มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นปกคลุมทำให้พื้นที่ ชุมชื้น มีลำธารหลายสายเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าหลายชนิด  โดยเฉพาะฝูงวัวกระทิงและสัตว์อื่นๆ เมื่อมีผู้คนเขามาอาศัยอยู่ในพื้นที่ได้เปลี่ยนแปลงสภาพป่า กลายเป็นพื้นที่เกษตรกรรมในการเพาะปลูก ทำสวนยาง สวนไม้ผล เช่น ลองกอง ทุเรียน เป็นต้น ส่วนในพื้นที่ราบใช้ในการปลูกสรั้างบ้านเรือนสำหรับที่อยู่อาศัยของชาวบ้าน ตำบลห้วยกระทิงดั้งเดิมเป็นหมู่บ้านหนึ่งของตำบลสะเอะ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ต่อมาได้แยกเป็นตำบล ตั้งเป็นชื่อตำบลห้วยกระทิง ในปี พ.ศ. 2535 เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2537 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศตั้งเป็นกิ่งอำเภอกรงปินัง ส่วนตำบลห้วยกระทิงได้ถูกรวมเป็นตำบลหนึ่งของกิ่งอำเภอ กรงปินัง จังหวัดยะลา ต่อมา ได้ยกระดับให้เป็นอำเภอ กรงปินัง ในปัจจุบัน ภูมิประเทศ ของตำบลมีพื้นที่คิดเป็น 3 ใน4 ของพื้นที่ทั้งหมดเป็นเทือกเขาสูง กล่าวคือ ทิศตะวันออกเป็นที่ราบขนานกับแม่น้ำปัตตานีตลอดแนว เป็นแนวแบ่งอนาเขตระหว่างตำบลห้วยกระทิงกับตำบลบันนังสตา มีคลองกูวาไหลผ่านหมู่ที่1 และหมู่ที่3 ในแนวเหนือ-ใต้ของตำบลมีเขตป่าสงวนแห่งชาติและป่าถาวรส่วนทางด้านตะวันตก มีแนวเทือกเขาสูงเป็นเส้นแบ่ง อณาเขตติดต่อกับตำบลปะแต พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาหินปูนมีความลาดชันเหมาะแก่การปลูกยางพารา พื้นที่ส่วนที่เหลือเป็นที่ราบลุ่ม ใช้ปลูกสร้างบ้านเรือน มียอดเขาสูงสุดประมาณ 484 เมตร ซึ่งอยู่ระหว่างหมู่ที่ 3 ของตำบลห้วยกระทิง และหมู่ที่ 4 ตำบลสะเอะ สภาพภูมิอากาศแบ่งออกเป็น 2 ฤดูคือฤดูร้อน ฤดูฝน สภาพอากาศร้อน อุณหภูมิสูงใน เดือนมีนาคม-เมษายน และอุณหภูมิต่ำในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม เป็นต้น สภาพทางสังคม ศาสนา การศึกษา……………………………………………………………………………………………………….     การดำเนินชีวิตของราษฎรตำบลห้วยกระทิง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มไทยพุทธ และกลุ่มไทยมุสลิม ซึ่งก็มีความแตกต่างกันในเรื่องขนบธรรมเนียม ประเพณี ตามศาสนาที่ตนนับถือ โดยผู้นับถือศาสนาพุทธ มีจำนวนประชากร ตำบลตลิ่งชัน 4,800 คน โดยภาพรวม มีอาชีพค้าขาย ทำสวน (กรีดยาง) รับจ้างทั่วไปการศึกษาโรงเรียนประถมศึกษา 2 แห่ง โรงเรียนตาดีกา 10 แห่ง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 แห่ง (ม.3) ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน/ห้องสมุดประชาชน 2 แห่ง สถาบันและองค์กรทางศาสนา มีมัสยิด 13 แห่ง บริบทพื้นที่ ตำบลตลิ่งชันมีสภาพพื้นที่เป็นพื้นที่ราบ เส้นทางลาดชัน มีสถาพสิ่งแวดล้อมไปด้วยต้นไม้ใหญ่ และ สวนยางพารา และสวนทุเรียน มีร้านขายของชำ โรงเรียน พื้นที่ตำบลห้วยกระทิง มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยกระทิงติดกับองค์การบริหารส่วนตำบล อีกทั้งยังมีทางแยก เส้นทางห้วยกระทิง-กรงปินัง ห้วยกระทิง-กรงปินัง และเส้นทางห้วยกระทิง-ยะหา หากสังเกตพื้นที่ภาพรวม เป็นชุมชนแออัดมีเส้นทาง ซอยแยกหลายเส้นทาง อีกทั้งยังเป็นพื้นที่เส้นทางราบ มีลุ่ม มีบ่อ และที่กั้ดลูกระนาท เป็นต้น

การเมืองการปกครอง     ตำบลห้วยกระทิงมีจำนวนหมู่บ้านทั้งสิ้น 4 หมู่บ้านได้แก่ ม.1บ้านกูวา ม.2 บ้านแบหอ ม.3 บ้านสลาแด ม.4 บ้านควนนางา  รวมประชากร 3,672 คน


      จากสถิติการเกิดอุบัติเหตุของอำเภอกรงปินัง ในปี 2564-2565 ย้อนหลัง พบว่า ตำบลห้วยกระทิง
อำเภอกรงปินัง มีอัตราการเกิดอุบัติเหตุสูงสุด จำนวน 24 ครั้ง เสียชีวิต 2 คน บาดเจ็บจำนวน 36 คน และปี 2565 จำนวนครั้งการเกิดอุบัติเหตุ 6 ครั้ง ตั้งแต่ มราคม 65 ถึง 18 มีนาคม 2565 ไม่มีรายงานเสียชีวิต มีผู้บาดเจ็บสาหัส 1 ราย เข้ารับการรักษา ณ โรงพยาบาลกรงปินัง และส่งต่อผู้ป่วยไปรักษา ณ โรงพยาบาลยะลา ซึ่งผู้ป่วยสะโพกหัก ข้างซ้าย เป็นผู้ป่วยนอนติดเตียง ณ ปัจจุบัน จากเดิมผู้ป่วยมีอาชีพเป็นครู ต้องสูญเสียรายได้ และต้องติดหนี้ เพื่อสำรองเงินในการฟื้นฟูกายภาพบำบัด และจ้างคนดูแล 10,000 บาท/เดือน จากเหตุการณ์ดังกล่าวฯ หากวิเคราะห์ตามเขตพื้นที่ พบว่า ตำบลห้วยกระทิง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา ยังคงมีรายงานการเกิดอุบัติเหตุอยู่เรื่อยๆ อ้างอิงจาก ข้อมูลสถานการณ์ข้างต้น คือ อุบัติเหตุเกิดขึ้น 24 ครั้ง เสียชีวิต 2 คน บาดเจ็บ จำนวน 36 คน ปี พ.ศ.2564 (ที่มาของข้อมูล : คณะทำงานศูนย์กู้ภัยตำบลห้วยกระทิง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา  ณ 18 มีนาคม 2565 )       สาเหตุหลักในการเกิดอุบัติเหตุของตำบลห้วยกระทิง จากปัจจัยด้านคน โดยมีพฤติกรรมเสี่ยงในการใช้รถใช้ถนน ของผู้ขับขี่ขับรถเร็ว ง่วง หลับใน ประมาท คึกคะนอง และขับรถย้อนศร ความพร้อมของผู้ขับขี่ลดลง เนื่องจากสภาพร่างกายไม่พร้อม รวมถึงการเร่งรีบการออกไปปฏิบัติงาน และแข่งขันกับเวลา การไม่เคารพกฎจราจร ขาดวินัยในการใช้รถใช้ถนนร่วมกัน และการไม่ใช้อุปกรณ์นิรภัย การเกิดอุบัติเหตุทางถนน ยังคงมีรายงานอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ ข้อมูลที่ได้รับการสนับสนุนจาก คณะทำงานด้านอุบัติเหตุทางถนน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยกระทิง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา จากการสังเกตพบว่า ถนนเป็นเส้นทางด้านคมนาคม มีสิ่งกีดขวางบนถนนอยู่บ่อยครั้ง ด้านสิ่งแวดล้อม พบว่า จุดเสี่ยง มีทั้งหมด 6 จุดเสี่ยง  ม.1 ทางเลี้ยวสะพาน แม่น้ำบ้านกูวา ม.2 ถนน เนินสูง ทางโค้ง ทางลาดชัน ม.2 ก่อนถึงหน้าโรงเรียน ฮาฟีเสาะห์มีต้นไม้บัง ม.3 สามแยกตลาดนัดบ้านสะลาแด ม.4 สามแยกควนนางา ต้นไม้ล้มทับถนนบ่อยครั้งม.1 สามแยก หน้า รพ.สต.ห้วยกระทิงย้อนศรบ่อยครั้ง จุดอันตราย จุดที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยยังไม่ได้รับการแก้ไข จาการสำรวจข้อมูลและการสังเกต เป็นพื้นที่ ม.1 ตำบลห้วยกระทิง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา ลักษณะทางกายภาพของถนน อาทิ ต้นไม้บัง รวมถึงอุปสรรคทางธรรมชาติ และลักษณะภูมิอากาศจากปัจจัยต่างๆข้างต้น การเกิดอุบัติเหตุทางถนน ส่งผลกระทบต่อผู้ที่ประสบภัยโดยก่อให้เกิดภาวะเครียดและวิตกกังวล บาดเจ็บ จนกระทั่งการเสียชีวิต พิการ ทุพพลภาพ ไม่เพียงเท่านั้น ยังก่อให้เกิดความสูญเสียต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมอย่างมหาศาลเพราะการเสียชีวิตจากและบาดเจ็บทั้งทางกายและใจจากอุบัติเหตุทางท้องถนน ทำให้ผู้ประสบภัยและครอบครัวสูญเสียผลิตภาพ เกิดค่าใช้จ่ายในการรักษาตัว ติดหนี้ ขาดรายได้ในการประกอบอาชีพ รวมถึงทางสังคมที่ส่งผลให้เกิดการทะเลาะวิวาท เกิดข้อพิพาทกับคู่กรณี และอุบัติเหตุยังก่อให้เกิดต้นทุนอื่นๆ
      ดังนั้นทางตำบลห้วยกระทิง มุ่งหวังเพิ่มประสิทธิภาพความครอบคลุม การลดอุบัติเหตุการใช้รถที่เพิ่มมากขึ้น และจากประชาชนขาดความรู้ และไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบจราจรอย่างแท้จริง จึงจัดทำโครงการลดอุบัติเหตุทางถนนตำบลห้วยกระทิง เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ และคนสัญจรไปมา เกิดการป้องกันด้วยการใช้อุปกรณ์ป้องกัน อุบัติเหตุทางถนน ไม่ประมาท ในตำบลห้วยกระทิง โดยมีวัตถุประสงค์ ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดระเบียบการจราจรในชุมชน และเกิดการแก้ไขจุดเสี่ยงของชุมชนที่เกิดอุบัติเหตุ รวมถึงสมาชิกในชุมชนมีการปฏิบัติตามข้อตกลงร่วมกันในการแก้ไข จุดเสี่ยงและพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับจุดเสี่ยง เพื่อเป็นการลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุในชุมชนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

      สิ่งที่ได้รับการสนับสนุนในโครงการครั้งนี้ (จุดแข็ง) คือ องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยกระทิง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยกระทิง อาสาสมัครสาธารณสุข องค์กรพัฒนาเอกชนด้านอุบัติเหตุ แกนนำชุมชน ตลอดจน ศูนย์กู้ภัยห้วยกระทิง โรงพยาบาลกรงปินัง สำนักงานสาธารณสุขอำเภอกรงปินัง และผู้มีส่วนร่วมดำเนินการอื่นๆ มีส่วนช่วยในการดำเนินงานโครงการดังกล่าวฯ สำหรับกลไกการเฝ้าระวังในพื้นที่ พบว่า มี 4 ด่าน ด่านที่ 1 จุดตรวจ เฝ้าระวังอุบัติเหตุ ม.1 หน้าโรงเรียนกูวา นายอับดุลเลาะ เจ๊ะอาแซ กำนันตำบลห้วยกระทิง หัวหน้าทีม พร้อมคณะทำงาน อส. ด่านที่ 2 ม.2 หน้าโรงเรียนบ้านแบหอ นายมะนอยี ดีเยาะ ผู้ใหญ่บ้าน ม.2 หัวหน้าทีมพร้อมคณะทำงาน อส. ด่านที่ 3 หน้า รพ.สต.ห้วยกระทิง และ ด่านที่ 4 สามแยกควนนางา นายมาหะมะ ลายิปูเตะ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ม.4 หัวหน้าทีมพร้อมคณะทำงาน ชรบ. ในการขับเคลื่อนดำเนินงานในพื้นที่ .

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

1.สอดคล้องกับยุทธศาสตร์จังหวัดยะลา 2. ประเด็นพัฒนาคุณภาพชีวิต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ตัวชี้วัดที่ 1 ลดอุบัติเหตุทางท้องถนน ตัวชี้วัดที่ 2 ลดอัตราการตาย/เสียชีวิต ตัวชี้วัดที่ 3 เพื่อการจัดการบริหารโครงการ

จำนวนการเกิดอุบัติเหตุทางท้องถนนลดลง  ร้อยละ 50
อัตราการตายลดลง ร้อยละ 50

0.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 จัดตั้งคณะทำงานโครงการและประชุมคณะทำงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 60 4,800.00 0 0.00
2 เม.ย. 65 ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจโครงการร่วมกัน แบ่งบทบาทหน้าที่ พร้อมวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน 15 1,200.00 -
9 เม.ย. 65 สรุปข้อมูลการติดตามครั้งที่ 1 15 1,200.00 -
16 เม.ย. 65 สรุปข้อมูลการติดตามครั้งที่ 2 15 1,200.00 -
23 - 30 เม.ย. 65 ประชุมเพื่อสรุปผลการดำเนินงานโครงการ 15 1,200.00 -
2 จัดอบรมพัฒนาคณะทำงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 40 16,200.00 0 0.00
14 พ.ค. 65 - 31 ก.ค. 65 จัดอบรม เรื่อง RTI การเกิดอุบัติเหตุในชุมชนและแนวทางการป้องกันและแก้ไข เรียนรู้การบูรณาการทำงานร่วมกันและเน้นให้คณะทำงานร่วมกันวางแผนเพื่อขับเคลื่อนการป้องกันอุบัติเหตุในชุมชน พร้อมเรียนรู้เทคนิคการดำเนินงานเพื่อสร้างเครือข่ายเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลและได 40 16,200.00 -
3 จัดประชุม และพัฒนา ศปถ.ตำบล กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 15 4,400.00 0 0.00
14 พ.ค. 65 - 31 ก.ค. 65 จัดประชุม และพัฒนา ศปถ.ตำบล 15 4,400.00 -
4 อบรมให้ความรู้เรื่อง กฎจราจรและการขับขี่อย่างปลอดภัย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 15 25,000.00 0 0.00
1 - 31 ต.ค. 65 อบรมให้ความรู้เรื่อง กฎจราจรและการขับขี่อย่างปลอดภัย 15 25,000.00 -
5 การปรับปรุงจุดเสี่ยงอันตราย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 20 20,800.00 0 0.00
1 - 31 ต.ค. 65 ชุมชนช่วยกันลงมือปรับปรุงจุดเสี่ยงอันตรายตามแผนที่ได้วางไว้จากข้อมูล 20 20,800.00 -
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 0.00 0 0.00
23 เม.ย. 65 ประชุมจัดตั้งคณะอนุกรรมการ ครั้งที่ 1 0 0.00 -
28 พ.ค. 65 จัดอบรมพัฒนาคณะทำงาน 0 0.00 -
8 ก.ค. 65 จัดประชุม และพัฒนา ศปถ.ตำบล (ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนตำบลห้วยกระทิง) 0 0.00 -

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 พ.ค. 2565 11:20 น.