directions_run

(23)โครงการ พัฒนาการผลิตและแปรรูปข้าวไร่ชุมพรด้วยเกษตรทันสมัย

assignment
บันทึกกิจกรรม
จัดเวทีนำเสนอผลงานและข้อเสนอต่อหน่วยงาน28 เมษายน 2023
28
เมษายน 2023รายงานจากพื้นที่ โดย Pallapa
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประสานผู้เข้าร่วมประชุมและเตรียมสถานที่ในการจัดประชุม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีแผนการขับเคลื่อนงานเชื่อมโยงงานสวนยาง/พันธุ์ข้าวไร่ชี้แจงเป้าหมาย กระบวนการประชุมเชิงปฏิบัติการ

-โฟกัสที่ตัวสถาบันเป็นคีย์สำคัญ เพราะเป็นตัวเสริมที่ช่วย กยท. และหน่วยงานอื่นๆ -การพัฒนาเศรษฐกิจเกษตรกรรมยั่งยืน การผลิตทำน้อยได้มาก เรื่องของการประกอบการ -กลไกความเข้มแข็งทางนโยบาย กลไกการดำเนินงานทั้งในระดับภาค กลไกระดับเขต/ระดับจังหวัด ทั้ง 4 เรื่องจะเป็นกรอบแนวทาง และเป็นฐานตั้งต้นที่มาจากแกนนำแต่ละพื้นที่ ที่มีการขับเคลื่อนเรื่องนี้อยู่ซึ่งทางทีมงานจะรวบรวมข้อสรุปเพื่อนำไปสู่การแลกเปลี่ยนในพื้นที่ จ.ระนอง  ประจวบคีรีขันธ์  สุราษฎร์ธานี ได้ใช้  วันที่ 21 – 22 เมษายน 2566 ทำร่วมภาพรวมของจังหวัดชุมพร กำหนดเป้าหมายของเกษตรไว้ วิสัยทัศน์ของภาคเกษตรจังหวัดชุมพร  “เกษตรกรรมก้าวหน้า สินค้าเกษตรมีมาตรฐาน เกษตรกรมีความสุข บนพื้นฐานเกษตรกรรมยั่งยืน” ปีพ.ศ. 2566 – 2570
ทิศทางการดำเนินงานเกษตรยั่งยืน โดย ผอ.การยางแห่งประเทศไทย จังหวัดชุมพร การยางแห่งประเทศไทยยินดีที่ทางสมาคมประชาสังคมชุมพร เห็นความสำคัญของเกษตรกรรมยั่งยืน เพื่อให้เกิดการบรรลุตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องชาวสวนยาง นอกจากนี้ยังมีในเรื่องของการส่งเสริมการปลูกแทน การให้เงินทุนสงเคราะห์ หรือ เงินอุดหนุนต่างๆ  เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้กับเกษตรกร  กลุ่มและสถาบันเกษตรกร ในการขยายขนาดการผลิต การแปรรูป การตลาด กยท.ก็ให้ความสำคัญ ในการบริหาจัดการต้องให้ความสำคัญกับต้นน้ำ และปลายน้ำคำนึงถึงเรื่องราคาเป็นหลัก แต่ลืมในเรื่องของความเข้มแข็ง พี่น้องเกษตรกรค่อนข้างอ่อนแอ คือ อ่อนแอจากตัวเกษตรกรเอง  จากปัจจัยภายนอก จากต้นทุนการผลิตค่อนข้างสูง การทำเกษตรพึ่งพิงกับสารเคมีมากเกินไป ลืมพื้นฐานวิถีชีวิตเดิมๆ องค์ความรู้ในสมัยอดีตมีอยู่แล้ว แต่ไม่ได้นำมาปรับใช้ให้เข้ากับสภาพของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ถ้านำปรับประยุกต์ใช้ระหว่างข้อมูลพื้นฐานองค์ความรู้ที่มีอยู่เดิมกับปัจจุบัน ปรับประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีสมัยใหม่กับนวัตกรรม ข้อมูลทางวิชาการมาใช้ จะช่วยสร้างความยั่งยืนให้กับพี่น้องเกษตรกรได้อย่างชัดเจน  ลดต้นทุนการผลิต ปุ๋ย ค่าใช้จ่ายในครัวเรือน รายได้สามารถซื้อขายผลิตได้เองในครัวเรือน ไม่มีค่าใช้จ่ายสู่ภายนอกจะทำให้เกิดความยั่งยืนต่อเกษตรกร นอกจากนี้ยังสนับสนุนในส่วนวิชาการ กรมวิชาการเกษตร  ซึ่งจะเกิดผลกระทบกับเกษตรกร จึงจำเป็นต้องคิดวิเคราะห์คำนึงถึงหลักการและเหตุผล เป็นเวทีพี่น้องเกษตรจากหลายภาคส่วนมาร่วมคิด การดำเนินการโครงการ และเป็นการขับเคลื่อนในภาพรวมของทั้งภาคใต้ทั้งหมด ให้ความสำคัญในเรื่องของเกษตรกรรมยั่งยืน สร้างความมั่งคั่ง มั่นคงในเรื่องของการตลาด    ปัจจุบัน GDP ของจังหวัดชุมพร ไม่ได้มาจากยาง โดยยางจะอยู่ในอันดับที่ 4  อันดับแรกเป็นทุเรียน เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญซึ่งสร้างรายได้ให้เกษตรกรชาวสวน มีการนำเข้าส่งออกกึ่งมหภาค มีนักธุรกิจภายนอก มีการเคลื่อนย้ายแรงงาน  ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกษตรกรไม่ให้ความสำคัญ เริ่มเปลี่ยนวิถีไป ผลผลิตไทยภาคการเกษตรที่ให้ผลตอบแทนค่อนข้างสูง ต้นทุนยางกับทุเรียนต่างกัน แต่ผลผลิตระยะยาวมาคำนวณอาจไม่สมดุลกัน  นอกจากคำนึงตัวเองแล้ว ต้องคำนึงการตลาดด้วย ต้องพืชเศรษฐกิจที่เป็นรายได้ รายวัน รายเดือน รายปี  เกษตรกรที่มีความประสงค์จะปลูกแบบเกษตรกรรมยั่งยืน สามารถขอทุนได้ แต่เกษตรกรยังไม่เห็นความสำคัญ ไม่ให้ความสนใจ เป้าหมาย 8000 ไร่ ครึ่งปี (2 ไตรมาส) ได้เพียง 600 กว่าไร่  เกษตรกรรมยั่งยืนเป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลา 3-5 ปี  ให้ทำการเกษตรด้วยความประณีต ด้วยความระมัดระวัง อย่าทำตามกระแส จะทำให้เกิดผลกระทบกับตัวเกษตรกร ต้องคิดวิเคราะห์ คำนึงเหตุผล เวทีนี้เป็นเวทีที่ดี พี่น้องหลายภาคส่วนมาร่วมคิดแผนกลยุทธ์ ในการจัดทำโครงการเป็นการขับเคลื่อนในภาพรวมทั้งภาคใต้  ซึ่งกยท.มีแผนพัฒนาวิสาหกิจของประเทศไทย ในระยะ 20 ปี เรื่องการทำเกษตรกรรมยั่งยืน แผนตั้งแต่ปี 2560 – 2579 ที่ให้ความสำคัญกับแผนพัฒนาประเทศ การดำเนินการใดที่สามารถยกระดับรายได้ให้กับเกษตรกร และสามารถพึ่งพาตนเองได้ สร้างรายได้เสริม สร้างความมั่นคงยั่งยืนให้กับเกษตรกรได้ สิ่งนั้น กยท. จะดำเนินการ ที่ผ่านให้เงินอุดหนุนในเรื่องของการใช้โซล่าเซลล์ น้ำ อาชีพเสริม ก็มี  ปีมีงบประมาณ 800,000 บาท สนับสนุนเกษตรกร 500,000 บาท ในเรื่องการทำเกษตรกรรมยั่งยืน โดยดูจากเกษตรที่ดำเนินการอยู่แล้ว และคาดว่าจะดำเนินการประสบความสำเร็จ เป็นเกษตรกรต้นแบบให้กับเกษตรกรอื่นๆ ในส่วนของนวัตกรรม เทคโนโลยีต่างๆ สถาบันวิชาการ กยท.จะร่วมกับ มอ. ม.แม่โจ้
สจล. ซึ่ง กยท.ได้ทำ MOU ไว้แล้ว อยากให้เกษตรกรเห็นคุณค่าการทำเกษตรกรรมยั่งยืนให้มากที่สุด ซึ่งที่ผ่านมาอาจเป็นเพราะประชาสัมพันธ์น้อยไป ภาพรวมผลกระทบ นโยบายขาดแรงจูงใจ  2-3 ปี จะเร่งดำเนินการ เร่งให้เกิดผลกระทบเชิงประจักษ์อย่างชัดเจนในเรื่องรายได้ นวัตกรรม เชื่อว่าหน่วยงานในกระทรวงเกษตรทุกภาคส่วนจะให้ความรวมมือกับสมาคม สมาพันธ์ เครือข่าย ในการดำเนินการเกี่ยวกับเกษตรกรรมยั่งยืน  ในส่วนของความช่วยเหลือ กยท.สามารถช่วยได้ในด้านทุนอุดหนุน วิชาการ ความรู้ ยินดีช่วยเป็นอย่างยิ่ง

ตัวองค์ความรู้ ฐานข้อมูลโดนบังคับจากความเคยยินในอดีต มีแต่ยางอย่างเดียวปลูกอะไรไม่ได้ ทักษะการส่งเสริมของตัว กยท. เอง กับตัวภาคียังขาดทักษะเรื่องนี้มาก ภาพเก่าจากระบบเศรษฐกิจในสวนยางเคยมีรายได้สูง มีทางเลือกตัวอื่น จึงมองข้ามที่จะทำเสริมในสวนยาง กลไกกฎหมายตัวระเบียบยังเอื้อ ปัจจุบันนี้ยิ่งขยันยิ่งจน ใช้จ้างแรงงานอย่างเดียว ชี้สั่งงาน  เกษตรบูรณาการ หน่วยงานภาคเกษตรมุ่งไปหมู่บ้านเกษตรสมบูรณ์หมด ทำยังไงจะให้เกษตรกรได้รับรู้ กยท. กำหนดให้แต่ละเขต แต่ละจังหวัดมีคณะกรรมการ แต่ทำไม่มีกรรมการที่เป็นตัวแทนมาจากเกษตรกรชาวสวนยางเลย ควรเอามาเป็นเครื่องมือช่วยในการทำความเข้าใจและขยายฐานการทำเกษตรกรรมยั่งยืน  ทาง มอ. ม.แม่โจ้ จะทำคู่มือทางเลือก คล้ายกับการทำหลักสูตร เพื่อเผยแพร่ทำความเข้าใจในเรื่องเกษตรกรรมยั่งยืน กยท. เสนอกำหนดนโยบายขึ้นไป การเลี้ยงสัตว์ การปลูกพืช สามารถทำร่วมกันได้หมดทุกอย่าง กยท.ก็ให้ความสำคัญ สุดท้ายขึ้นอยู่กับเกษตรกร อย่าสร้างเงื่อนไขหรือเปลี่ยนวิถีชีวิต บริบทกับเกษตรกรมากเกินไป ต้องชี้นำ แนะนำเกษตรกร ให้เห็นความสำคัญ ประโยชน์ และค่าใช้จ่ายๆ ต่าง ก็จะทำให้สามารถขยับไปได้
การทำ Roadmap  จะเป็นเครื่องมือช่วยการคิดเชิงระบบ ตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ทำให้เห็นภาพทั้งระบบ ปัจจุบันอยู่ที่ไหน และจะไปทางไหนต่อ ที่เจรจาไว้แล้วว่าจะสามารถไปสอดรับกับเงื่อนไขของหน่วยงานได้หรือเปล่า ได้แก่ เรื่องภายใต้ทรัพยากรที่ กยท. มีอยู่  ภายใต้แผนพัฒนาจังหวัด ต่อกับโครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ กระทรวงอว. เรื่องเครดิตคาร์บอน  4 ตัวนี้ จะเป็นตัวตอบว่าพื้นที่ไหน กลุ่มเป้าหมาย ต่อกับแหล่งทุนไหน การทำเกษตรกรรมยั่งยืน มี 5 รูปแบบ เพิ่มแบบสวนยางยั่งยืนอีก 1 รูปแบบ รวมเป็น 6 รูปแบบ คิดให้ตลอดทั้งกระบวนการ ตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ  วิธีคิดเชิงระบบเอาจากประสบการณ์บวกกับความรู้ กยท.ควรทำมุมความรู้เพื่อให้ผู้ที่มาติดต่อได้ดูและสร้างความเข้าใจ  การทำสวนยางระบบเกษตรหลากหลายแบบแยกแปลง ระบบพืชร่วม ระบบเกษตรผสมผสาน

สรุปผลการดำเนินงานและทิศทาง -เครือข่ายสวนยางยั่งยืน : นายอดิศักดิ์  ยมสุขี ดำเนินเครือข่ายโครงการสวนยางยั่งยืน  ถือว่าประสบความสำเร็จในการทำสวนยางยั่งยืนถึงจะไม่ทั้งหมด แต่เอาแปลงที่ทำสำเร็จเป็นต้นแบบไปให้กับเกษตรกรอื่นๆ ได้ดู  โดยแปลงของนายฉลองชาติ ยังปักษี เป็นการทำเกษตรแบบวรรณะเกษตร  นายวิเวก อมตเวทย์ เป็นการทำเกษตรผสมผสาน แบบรุ่นใหม่ เริ่มจากการออกแบบวางผังแปลง เป็นแนวทางที่ควรได้รับการพัฒนามากที่สุด  นายอดิศักดิ์ ยมสุขขี ในสวนเป็นยางรุ่นเก่าแล้ว จากการไปสำรวจสอบถามในพื้นที่ แบบนี้จะมีคนทำเยอะที่สุดทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็นยางที่มีอยู่แล้ว จะทำอย่างไรให้เกิดการพัฒนา ให้มีรายได้เพิ่มขึ้น จาก -3 แปลงต้นแบบ ก็ขยายเป็น 10 แปลงต้นแบบ และจะขยายผลอีก 10 แปลง ในปีหน้า เพื่อให้ครอบคลุมทั้งจังหวัด ทำให้เห็นว่า มีประโยชน์ เกิดรายได้เพิ่ม  ยังเครือข่ายที่ครอบคลุมทั้งจังหวัด งาน กยท. คือการตั้งกลุ่มแปลงใหญ่ยางพารา ทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดของกลุ่มมากที่สุด รวมแปลงใหญ่ยางพารา มี 34  ราย พื้นที่ 400กว่าไร่ ได้บูรณาการร่วมกับ กยท.  มี 20 กว่าแปลงเริ่มเปลี่ยนตัวเอง  ของนายทวี  มีการปลูกไม้เศรษฐกิจร่วมกับยางพารา อุปสรรคที่เกิด เกษตรกรวิ่งตามกระแส เช่น การปลูกทุเรียน ปัญหาหลักคือ ยางพาราราคาตกต่ำ  ยังยึดติดกับการทำเกษตรแบบดั้งเดิม พยายามทำพื้นที่สวนแตงให้เป็นแปลงต้นแบบให้ได้  ควรแบ่งเป็น ยางพาราอายุ 1-5 ปี  และ ยางพาราที่หลังการเก็บเกี่ยว  การปลูกข้าวไร่ในร่มเงาสามารถปลูกในสวนยางพาราได้

-เครือข่ายข้าวไร่ชุมพร : นายนิพนธ์  ฤทธิชัย
จากการทำข้าวไร่เมื่อปีที่แล้ว ข้าวไร่เป็นข้าวที่ต้องปลูกตามฤดูกาล ปัญหาของลมฟ้าอากาศที่ไม่ตรงตามฤดูกาลจะมีผลพอสมควร ที่ผ่านมาข้าวไร่สุกในช่วงที่ฝนตกทำให้ข้าวเกิดความเสียหาย เรื่องของแรงงานการทำข้าวไร่ลดน้อยถอยลง  เกษตรกรที่ยังทำกันอยู่ในช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป ทำให้เกิดปัญหาด้านแรงงานถือว่าหนักพอสมควร  พื้นที่มีจำกัด  การที่ไปขอพื้นที่ทำข้าวไร่เพื่อให้เห็นว่า ตัดต้นยางพารา ปาล์มน้ำมัน ก็สามารถที่จะสร้างประโยชน์ในพื้นที่จากการปลูกข้าวไร่ได้ เกิดรายได้ แต่บางคนมีเงินไม่มีความสนใจ ที่ทำหลักเลยคือ ความมั่นคงทางอาหาร และการอนุรักษ์พันธุกรรมข้าวไร่ การจะอนุรักษ์พันธุ์ไว้ได้ ต้องปลูกทุกปี  ต้องสร้างให้เกิดคุณค่าประโยชน์ เกิดเศรษฐกิจจะเป็นจูงใจในการรักษาพันธุ์ไว้ได้ ต้องหาวิธีการผลิต การแปรรูป เพื่อขายเป็นรายได้เสริม การสร้างมูลค่าเพิ่มการแปรรูปจากข้าวสารให้เป็นผลิตภัณฑ์อื่นให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ได้ผลผลิตที่มาก แปรรูปให้ได้มูลค่ามากขึ้น  การสร้างอาหาร ลดรายจ่าย ต้องมีการสื่อสารให้เห็นถึงทางเลือก ทางรอด การแปรรูปต้องมีตลาดรองรับ มีการคุยกับทางTOGA และ โรงแรม 4 แห่ง ที่ภูเก็ต  การทำเป็นธุรกิจต้องดูพื้นที่ ราคาต้องมีความเหมาะสมคุ้มทุน จะหาพื้นที่ ลดรายจ่ายในการซื้ออาหาร การทำข้าวไร่อินทรีย์เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก จึงทำอยู่ในระดับปลอดภัย การทำตลาดมีเครือข่ายอยู่    สมาพันธ์พกฉ.  วิสาหกิจคนทำธุรกิจ  สมาชิกเครือข่ายที่เดินต่อข้าวไร่  จึงมีช่องทางที่จะไปไม่ใช้ปลูกไว้กินอย่างเดียว แต่สามารถมีรายได้เพิ่ม

อบรมเชิงปฎิบัติการพัมนากลุ่มผู้ผลิตข้าวไร่และเกษตรกรรุ่นใหม่ในการคัดสายพันธื์ข้าวไร่20 เมษายน 2023
20
เมษายน 2023รายงานจากพื้นที่ โดย Pallapa
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประสานออกแบบกระบวนการและวิทยากรเพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ของเครือข่าย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การรักษาพันธุ์ข้าวพื้นเมืองของประเทศไว้ให้ได้ นับเป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน เพราะเปรียบไปพันธุ์ข้าวพื้นเมืองของไทย ก็เป็นผลผลิตซึ่งเป็นมรดกตกทอดทางภูมิปัญญาการเกษตรไทยที่ได้รับการ ถ่ายทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่นมาเป็นเวลานับร้อยปี ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีคุณลักษณะเหมาะสมกับพื้นที่”การจะพัฒนาสายพันธุ์ข้าวพื้นเมืองไทยจึงทำได้ง่ายกว่าการนำอาสายพันธุ์อื่นจากต่างประเทศที่มีลักษณะเด่นแต่ไม่เหมาะกับสภาพพื้นที่บ้านเรามาใช้ ที่สำคัญ หากเราสามารถหยิบเอาจุดเด่นของพันธุข้าวเหล่านั้น มาพัฒนาไปสู่ตลาดที่เหมาะสม ควบคู่ไปกับการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกและแปรรูปผลผลิต ก็จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างรายได้สู่ชุมชน ดึงดูดและจูงใจให้ลูกหลานเดินทางกลับคืนถิ่นได้ การเพาะปลูกข้าวไร่ไม่ได้เกิดขึ้นแค่กับผู้ที่มีพื้นที่เป็นจ านวนมากเท่านั้น ผู้ที่มีที่ดินเพียง 2 ไร่ ก็สามารถทำในส่วนของการผลิตเมล็ดพันธุ์ที่จำเป็นต้องอาศัยการดูแลสูงได้ เพราะให้ผลตอบแทนในเรื่องราคาสูงกว่าข้าวไร่ทั่วไปถึง 3 เท่า ที่สำคัญมีอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เข้ามารับซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นเมืองเพื่อเป็นวัตถุดิบสำหรับการนำไปสกัดสารสำคัญหรือแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม คุ้มค่าแก่การลงทุน   พันธุ์ข้าวไร่ที่ได้จากการคัดเลือกบริสุทธิ์ 11 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์สามเดือน ดอกขาม  ภูเขาทอง เล็บนก เล็บมือนาง นางเขียน นางครวญ นางดำ ดำกาต้นดำ ดำกาต้นเขียว และแม่ผึ้ง ขยายผลให้เกษตรกรกลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวไร่ชุมโค อำเภอปะทิว และเกษตรกรในหลายพื้นที่ของจังหวัดชุมพรและจังหวัดใกล้เคียงปลูกเพื่อการบริโภคและจำหน่ายในชุมชน (ข้าวกล้องและข้าวขัดขาว กิโลกรัมละ 60 บาท)พันธุ์ข้าวเหล่านี้เป็นพันธุ์ข้าวที่มีศักยภาพ เนื่องจากให้ผลผลิตต่อไร่สูง ทนทานต่อโรค และแมลง มีลักษณะ การบริโภคที่ผู้บริโภคชื่นชอบ มีทั้งพันธุ์ข้าวเจ้า และพันธุ์ข้าวเหนียวดำ บางพันธุ์มีกลิ่นหอม มีแร่ธาตุ เช่น ธาตุเหล็ก และคุณค่า ทางอาหารสูง แต่ประสิทธิภาพการผลิตและผลิตภัณฑ์ยังไม่สามารถที่สร้างมูลค่าเพิ่มที่สามารถนำไปสู่เชิงพานิชย์ได้ และจากการหารือกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวไร่ชุมโคที่ปลูกข้าวไร่ตั้งแต่  พ.ศ. 2551 จนถึงปัจจุบัน พบว่า ปัญหาหลักของการปลูกข้าวไร่ คือ ต้นทุนการผลิตสูง (ได้รับผลตอบแทนเมื่อหักต้นทุนต่ำ)การแปรรูปข้าวไร่ (สีเป็นข้าวกล้องหรือขัดขาว) ร้อยละต้นข้าวต่ำ นำข้าวไร่ที่เก็บเกี่ยวได้มาผ่านกระบวนการสีข้าว เมล็ดข้าวจะแตกหักจำนวนมาก เนื่องจากมีฝนตกชุก ส่งผลให้ราคาในการจำหน่ายลดลงกลุ่มขาดความร้เูรื่องการวางแผนการตลาดและรูปแบบบรรจุภัณฑ์กลุ่มผู้ปลูกข้าวไร่เข้าสู่วัยผู้สูงอายุและเป็นกลุ่มเกษตรกรที่มีฐานะความเป็นอยู่ค่อนข้างยากจน ดังนั้นเพื่อยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของเกษตรกรกลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวไร่ให้สูงขึ้น จำเป็นต้องอาศัยนวัตกรรมเข้ามาใช้ร่วมด้วยเพื่อลดต้นทุนค่าแรงงานและปัจจัยการผลิต เพิ่มคุณภาพข้าว และส่งเสริมการผลิตสินค้าใหม่ที่ให้ผลตอบแทนสูง ในงานวิจัยนี้จึงมีแนวความคิดที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวไร่ โดยการลดต้นทุนการผลิตข้าวไร่ในรูปแบบการจัดการระบบการเขตกรรม การเพิ่มคุณภาพของข้าวไร่ด้วยเทคนิคฟลูอิไดซ์เบดร่วมกับหลอดฮาโลเจน และการเสริมสร้างศักยภาพธุรกิจชุมชน ส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์ชุมชนข้าวไร่ ดังนั้นจากวิสัยทัศน์และแนวทางตามยุทธศาสตร์ชาติ ที่ให้สถาบันอุดมศึกษาเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ดังที่กำหนดไว้ในแผนอุดมศึกษาระยะยาว 20 ปี พ.ศ. 2561 - 2580 โดยการดำเนินงานผ่านกระบวนการการจัดการเรียนการสอนที่ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศและการสร้างองค์ความรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการของภาคสังคม ชุมชน และท้องถิ่น ซ่ึงเป็นกลไกสำคัญของการขับเคลื่อนประเทศให้สามารถ ลดความเหลื่อมล้ำทั้งทางสังคมและเศรษฐกิจของคนไทยได้อย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืน

ค่าจัดทำเอกสารข้อมูลการเงินและการขับเคลื่อนงานโครงการ14 เมษายน 2023
14
เมษายน 2023รายงานจากพื้นที่ โดย Pallapa
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดทำเอกสารรายงานและเอกสารการเงินที่เป็นระบบ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เกิดข้อมูลที่สามารถวิเคราะห์และนำไปสู่การขยายผลเพื่อขับเคลื่อนการทำงานกับเครือข่าย

คืนเงินสำรองจ่ายเพื่อเปิดบัญชีโครงการ13 เมษายน 2023
13
เมษายน 2023รายงานจากพื้นที่ โดย Pallapa
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประสานผู้มีรายชื่อในบัญชีเพื่อถอนเงิน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้คืนเงินเพื่อเปิดบัญชีจำนวน 500 บาทแก่หัวหน้าโครงการที่สำรองเงินเพื่อเปิดบัญชีโครงการ

ประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้ ARE ครั้งที่ 210 เมษายน 2023
10
เมษายน 2023รายงานจากพื้นที่ โดย Pallapa
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประสานทีมงานสรุปข้อมูลและทีมประเด็น/บันไดผลลัพธ์การขับเคลื่อน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้ง 25 โครงการเพื่อให้ได้เรียนรู้การขับเคลื่อนและจุดอ่อน จุดแข็งของการทำงานอะไรทำได้ ทำได้เพราะอะไรซึ่งจากการแลกเปลี่ยนในกลุ่มเครือข่ายจะเห็นว่าปัจจัยการขับเคลื่อนงานข้าวไร่ยังมีปัญหาในเรื่องของพยาธิฝอยซึ่งอยู่ในดินทำให้ข้าวไร่เกิดความเสียหายและในปีนี้มีการปลูกข้าวไร่ทั้ง 8 อำเภอโดยแต่ละอำเภอมีการขับเคลื่ินและขยายเครือข่ายเพิ่ม

ประชุมคณะทำงานเครือข่ายข้าวไร่4 มีนาคม 2023
4
มีนาคม 2023รายงานจากพื้นที่ โดย Pallapa
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประสาน รวบรวมข้อมูลการขับเคลื่อนงานข้าวไร่ในแต่ละอำเภอ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กลุ่มข้าวไร่เตรียมพื้นที่ปลูกข้าวไร่ในปีนี้ แปลงนี้ 20 กว่าจะเป็นแปลงข้าวไร่ และอีกหลายแปลงที่จัดเมล็ดพันธ์ไว้ของเครือข่ายข้าวไร่ชุมพร เครือข่ายข้าวไร่ชุมพรนำโดยพี่เอี้ยง  นิพนธ์. ฤทธิชัย /นายประสิทธ์ นุ้ยดำ /พี่งามรัก  ร่วมกันเชื่อมร้อยผู้คน-กลุ่มผู้ปลูกข้าวไร่ และการนำหลักจาก รศ.ดร.ร่วมจิตร์ นกเขา    สจล.ชุมพรและทีมผู้ประสานงานทุกอำเภอ หนึ่งใน 25 โครงการ Node. flagship Chumchonเครือข่ายข้าวไร่มีสมาชิกกว่า 108  ราย  มีพื้นที่กว่า  600 ไร่ (ข้อมูลจากเดือน พ.ย.63)  มีเป้าหมายขยายฐานพันธุกรรมข้าว  12 พันธ์ุให้อยู่ในมือเกษตรกร ปีที่ผ่านมานอกจากฟื้นฟู เชื่อมร้อยเครือข่าย สนับสนุนการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน แลกเปลี่ยนเมล็ดพันธ์ุ  พัฒนานักจัดการเมล็ดพันธ์ุ กว่า 60 ชีวิตไปแล้วโดยทีม สจล.ชุมพร ยังสนับสนุนเมล็ดพันธ์ุข้าวไร่สามเดือนไปปลูกรักษา ขยายพันธ์ุเป็นธนาคารเมล็ดพันธ์ุชุมชน และ อ.ร่วมจิตยังยกระดับให้ข้าวไร่เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรเทคโนโลยีการผลิตพืชด้วยศาสตร์พระราชา  (ขณะนี้เปิดรับนักศึกษาต่อเนื่อง ปวส. เข้าเรียนจะปิดรับสมัคร 30 เม.ย.64 นี้ ) และขับเคลื่อนต่อเชืาอมกับหนึ่งตำบลหนึ่งมหาลัยในพื้นที่ ต.นาชะอัง ชุมพรรวมถึงพื้นที่หงษ์เจริญ  ท่าแซะ ไปพร้อม ๆ กันและการวิจัยพัฒนาให้มีพันธ์ุข้าวไร่ที่สามารถปลูกในที่ร่มเงา เช่น สวนปาล์ม  สวนยาง มะพร้าว  ทุเรียนหรือไม้ผลที่มีแสงระดับหนึ่ง  คาดหมายในปี 66 จะมีเมล็ดเพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกรการอนุรักษ์ใช้ประโยชน์ข้าวไร่ชุมพรจะเป็นการสำรองอาหารของพื้นที่ตามมติสมัชชาสุขภาพปี 63  แล้วยังเป็นการเพิ่มรายได้ครัวเรือนเกษตรกรได้เป็นอย่างดี -ผลิตสารข้าวไร่  ปัจจุบัน กก.ละ 60 บาท คิดเป็นมูลค่า ตันละ 60,000 บาท ใช้พื้นที่ปลูก 3-4 ไร่จะได้ข้าวเปลือกประมาณ  1,200  ก.ก.  /เทียบเคียงกับยางพารา 10 ไร่ มีรายได้ไม่เกิน 70,000บาทต่อปี และ ปาล์มน้ำมัน 10 ไร่ไม่เกิน 90,000 บาทต่อปี -ผลิตเป็นเมล็ดพันธ์ุ ได้ ก.ก.ละ 100 บาท  ตันละ 100,000 บาท -กรณีที่แปรรูป เป็นขนมคุกกี๊  แป้งผง  ชา ฯลฯ ก็มีมูลค่าเพิ่มขึ้น  แต่ต้องพัฒนาและจัดการผลิตที่ถูกต้อง  สมสมัยจึงทันการณ์ ดังนั้นปีนี้เกษตรกรหลายรายต้องการเมล็ดพันธ์ุเพื่อปลูกข้าวไร่กันมากด้วยการรับรู้ในมิติเศรษฐศาสตร์การผลิตข้าวไร่แล้ว  อันเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอีกทางหนึ่ง

มหกรรมเครือข่ายข้าวไร่18 กุมภาพันธ์ 2023
18
กุมภาพันธ์ 2023รายงานจากพื้นที่ โดย Pallapa
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประสานภาคีเครือข่ายข้าวไร่/จัดเตรียมสถานที่/ประชุมย่อยเพ่อเตรียมความพร้อมรับเครือข่ายทั้ง ๔ ภาค

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

งานมหกรรมข้าวไร่ 4 ภาค  ศูนย์เครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภาคใต้ตอนบน สถาบันพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร     การจัดงานในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างทางเลือกในการผลิตข้าวไร่ให้แก่เกษตรกรเพื่อให้เกิดการพึ่งพาตนเอง สร้างความเข้มแข็งของชุมชน และความมั่นคงทางด้านอาหาร และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างมูลค่าเพิ่มการผลิตข้าวแบบครบวงจร อีกทั้งเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์การปลูกข้าวไร่ อาชีพการทำนา วัฒนธรรมด้านข้าว และการแปรรูปข้าว พร้อมทั้งสร้างเครือข่ายเชิงพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตร สำหรับกิจกรรมประกอบด้วย 1.เวทีเสวนา "ข้าวไร่ทางเลือก ทางรอดภายใต้การเปลี่ยนแปลง" และ "ข้าวคือฐานชีวิต ชีวิตต้องมีข้าว" 2. นิทรรศการ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้าว 4 ภาค เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับข้าว 3. กิจกรรมการประกวด อาทิ ศิลปะจากเมล็ดข้าว การแปรรูปข้าวไร่ เมนูข้าวไร่ การแข่งขันต าข้าว และการออกร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ข้าวไร่ เป็นต้น สืบเนื่องจาก ข้าว มีความสำาคัญต่อภาคการเกษตรที่มีบทบาทหลักต่อเศรษฐกิจ ข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักของคนไทย สามารถสร้างรายได้ สร้างอาชีพ และบริโภคในครัวเรือน เนื่องจากปัจจุบันนี้ประชาชนมีความ เดือดร้อนจากราคาพืชเศรษฐกิจตกต่ำข้าวไร่จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของเกษตรกร ด้วยธรรมชาติของข้าวไร่ที่ต้องการน้ำน้อย เป็นพืชทนแล้ง สามารถปลูกแซมในสวนยางพารา และสวนมะพร้าวได้ และยังสามารถต่อยอด พัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวไร่เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มได้อีกช่องทางหนึ่งอีกด้วย

จัดตั้งและพัฒนาศุนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและแปรรูปข้าวไร่จังหวัดชุมพร28 มกราคม 2023
28
มกราคม 2023รายงานจากพื้นที่ โดย Pallapa
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประสานงานการจัดกิจกรรม วิทยากรและข้อมูลในการเปิดสุนยืเพื่อขยายการผลิตข้าวไร่

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ข้าวไร่ เป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อย ปลูกบนที่ดอนตั้งแต่พื้นที่สูงกว่าระดับน้ าทะเลเล็กน้อย จนถึงที่ลาดชันบนสันเขาและภูเขา สามารถเจริญเติบโตได้โดยอาศัยน้ำฝนตามธรรมชาติปลูกได้ทุกภูมิภาคของประเทศไทย ข้าวไร่เป็นพืชที่มีความสำคัญในด้าน ความมั่นคงทางอาหารในครัวเรือนและชุมชนที่มีพื้นที่ทำกินน้อยโดยผลิตเพื่อใช้บริโภคในครัวเรือนเพื่อเป็นอาหารหลัก ส่วนที่เหลือจากการบริโภคจำหน่ายในตลาดท้องถิ่น นอกจากเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายด้านอาหารแล้วเป็นการเพิ่มรายได้ในครัวเรือน หรือนำไป แลกเปลี่ยนกับผลผลิตอื่นที่ครัวเรือนของตนขาดแคลน ข้าวไร่จึงเป็นพืชทางเลือกสำหรับการผลิตอาหารในสภาพที่มีน้ำจำกัดเนื่องจากต้องการน้ำน้อย ปลูกในที่ดอนและทนแล้งได้ดี ปลูกได้ทุกภูมิภาคของประเทศไทย
    ข้าวไร่ต้องการพลังงานแสงอาทิตย์ในระยะการเจริญเติบโตประมาณ 400-600 แคลอลรีต่อตารางเซนติเมตรต่อวันความต้องการพลังงานจากแสงอาทิตย์ของข้าวไร่ขึ้นอยู่กับความสมดุลของน้ำ เช่น น้ำที่อยู่ในช่องว่างในดิน และการระเหยของน้ำต้นข้าวไร่ได้รับพลังงานแสงอาทิตย์น้อยในระยะการเจริญเติบโตทางลำต้นมีผลน้อยต่อการให้ผลผลิต หากต้นข้าวได้รับความเข็มของแสงต่างในระยะสร้างรวง ส่งผลให้ผลผลิตต่ำ มีจำนวนเมล็ดดีต่อรวงน้อย น้ำหนักเมล็ดต่ำ และทำให้ข้าวสุกแก่เร็วขึ้น ความต้องการพลังงานจากแสงอาทิตย์ของต้นข้าวสูงในระยะที่ข้าวเริ่มตั้งท้องจนถึงระยะ 10 วันก่อนรวงข้าวสุก ความยาวของวัน ข้าวไร่พันธุ์พื้นเมืองส่วนใหญ่เป็นข้าวไวต่อแสง ถ้าหากได้รับช่วงแสงที่มีกลางวันยาวมากกว่า 11.55ชั่วโมงต่อวัน ทำให้ออกดอกช้า หรือไม่ออกดอก ส่วนพันธุ์ที่ไม่ไวต่อช่วงแสง สามารถออกดอกได้ตามอายุวันออกดอกของพันธุ์ข้าวนั้นเนื่องจากความยาวของช่วงแสงมีอิทธิพลต่อการออกดอกของข้าวไวแสงในพันธุ์ต่าง ๆ แตกต่างกันไป   ตามสภาพการเพาะปลูกแบ่งได้ 2 ชนิดคือ 1 ข้าวไร่ที่ปลูกในพื้นที่สูง เป็นพันธุ์ที่ปลูกในภาคเหนือของประเทศไทย โดยพื้นที่ปลูกสูงกว่าระดับน้ำทะเล500-1,500 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง เกษตรกรที่ปลูกในพื้นที่สูงส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ ได้แก่ ปกาเกอะญอหรือกะเหรี่ยง ม้งหรือแม้ว เมี่ยนหรือ เย้า อาข่าหรืออีก้อ ลาหู่หรือมูเซอ ลีซูหรือลีซอ ลัวะหรือละว้า ข้าวไร่ชนิดนี้ส่วนใหญ่เมล็ดค่อนข้างป้อม คุณภาพเมล็ดเมื่อหุงสุกนุ่ม 2 ข้าวไร่ที่ปลูกในพื้นราบ เป็นพันธุ์ที่ปลูกในภาคใต้ของประเทศไทย โดยพื้นที่ปลูกสูงกว่าระดับน้ำทะเล 300-1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ส่วนใหญ่ปลูกเป็นพืชแซมในสวนยางพารา ปาล์มน้ำมัน ไม้ผลที่มีอายุ 1-3 ปี ปลูกในสวนมะพร้าว และปลูกหมุนเวียนกับ พืชล้มลุกเพื่อบริโภคในครัวเรือนข้าวไร่ชนิดนี้เมล็ดค่อนข้างป้อมถึงเรียวยาว คุณภาพเมล็ดเมื่อหุงสุกจะนุ่ม  หอม พันธุ์ข้าวไร่พันธุ์พื้นเมืองของจังหวัดชุมพรที่ขึ้นทะเบียนพันธุ์กับกรมวิชาการเกษตร ได้แก่ ภูเขาทอง นางเขียน นางครวญ  นางดำ  เล็บนกไร่ ดอกขาม เล็บมือนาง สามเดือน ข้าวเหนียวแม่ผึ้งเหนียวดำกาต้นดำ เหนียวดำกาต้นเขียว เป็นพันธุ์ข้าวไร่ที่ได้จาก การสำรวจและรวบรวมพันธุ์ข้าวไร่ในจังหวัดชุมพร ปี พ.ศ. 2543ได้รับการยืนยันจากกำนันตำบลหินแก้ว อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร (นายบุญเลิศ ศรีชาติ อายุ 64 ปี) เป็นพันธุ์ข้าวไร่พื้นเมืองที่ใช้ปลูกในท้องที่ของจังหวัดชุมพรมาเป็นเวลานานตั้งแต่ปู่ ย่า ตา ยาย ปี พ.ศ. 2544 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพรได้รวบรวมพันธุ์มาปลูกศึกษาพันธุ์ จากการศึกษา พบลักษณะพันธุ์ปน พันธุ์ไม่บริสุทธ์ และมีคุณภาพไม่ดี และปี 2548-2550 ได้นำเมล็ดพันธุ์ 32ข้าวไร่เหล่านี้มาปลูกคัดเลือกพันธุ์โดยวิธีคัดรวมเพื่อให้ได้พันธุ์ที่มีหลายยีโนไทพ์ ทำให้ทนทานต่อสภาพแวดล้อมและมีการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้สูง โดยคัดเลือกต้นที่ไม่แข็งแรง มีการเจริญเติบโตไม่ดี และมีลักษณะแตกต่างจากประชากรกลุ่มใหญ่ที่สุด(Off-type) ออกไปจากแปลงปลูก จากต้นที่ผ่านการคัดเลือกทั้งหมดจะเลือกต้นที่ดีที่สุดจ านวน 30 เปอร์เซ็นต์ ของประชากร ทำการศึกษาลักษณะประจำพันธุ์ ปี พ.ศ. 2551 ตรวจสอบผลผลิตและลักษณะอื่น ๆ ในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร ตำบลหิน แก้ว อำเภอท่าแซะ และอำเภออื่น ๆ ในจังหวัดชุมพร ปี พ.ศ.2552 ขยายเมล็ดพันธุ์เผยแพร่ ขอจดทะเบียนเพื่อคุ้มครองพันธุ์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช ปี พ.ศ. 2518 โดยมีลักษณะประจำพันธุ์ ข้าวไร่ของกลุ่ม มีทั้งหมด 5 สายพันธุ์ โดยมีการปลูกในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายนของทุกปี ได้แก่ พันธุ์ดอกขาม พันธุ์สามเดือน พันธุ์ภูเขาทอง พันธุ์เล็บนก พันธุ์นางดำภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีในชุมชน
1. วิธีการปลูกข้าวแบบชาวบ้าน แบบท้องถิ่น ได้แก่ การไถคอม การหยอดเมล็ด การเก็บเกี่ยว การใช้เคียว และการลงแขก 2. วิธีการกำจัดวัชพืชโดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน ได้แก่ ใช้น้ำปลาหมัก ใช้น้ำสะเดา และใช้น้ำหัวหนอน

อบรมเชิงปฎิบัติการพัฒนากลุ่มผู้ผลิตข้าวไร่และเกษตรกรรุ่นใหม่เพื่อเรียนรู้เทคนิคการปลูกและการใช้เครืองจักรกล16 พฤศจิกายน 2022
16
พฤศจิกายน 2022รายงานจากพื้นที่ โดย Pallapa
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประสานงาน ออกแบบกระบวนการและหาสถานที่ในการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับเครือข่าย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ดร.ร่วมจิตร จาก สจล. การค้นพบข้าวไร่พันธุืพื้นเมืองเกิดขึ้นจากการออกสำรวจการปลูกข้าวซึ่งมีดารปลูกข้าวไร่มากที่สุด จำนวน 9 สายพันธุ์ เป็นข้าวจ้าว  7 สายพันธุ์ คือ ข้าวนางครวญ  นางเขียน  ภูเขาทอง  ข้าวเล็บนก  ข้าวสามเดือน  ข้าวดำ  ดอกขาม พันธุ์ข้าวเหนียว 2  พันธุ์  คือ  เหนียวกาดำต้นดำ  เหนียวกาดำต้นเขียว  เนื่องจากทั้ง 9 สายพันธุ์ มีการปลูกติดต่อกันมาอย่างยาวนาน ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจมีการปะปนของพันธุ์จากการผสมพันธุ์ดดยบังเอิญทางธรรมชาติ จึงจำเป้นต้องเรียนรู้เรื่องการคัดเลืกสายพันธุ์เพื่อจะได้สายพันธุ์ที่บริสุทธิ์ตรงตามมาตรฐาน ดังนั้นการปลูกข้าวไร่จะต้องเป็นพื้นที่มีน้ำน้อย ให้สามารถปลูกข้าวไร่ให้ได้ผลดีเพื่อจะช่วยให้เกษตรกรซึ่งส่วนใหญ่มีฐานะค่อนข้างยากจนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ สังคมของประเทศไทย
  ข้าวที่เป็นที่นิยมปลูกส่วนใหญ่จะเป็นข้าวพันธุ์ดอกขาม จากการทำวิจัยพบว่าคุณภาพข้าวเมื่อสุกจะมีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นใบเตย รสชาติอร่อย ไม่แข้ง หุงขึ้นหม้อ
    การปลูกข้าวไร่ที่ได้ผลดี
สภาพอากาศ  :  เป้นข้าวไวแสง สภาพพื้นที่ปลูก :  ดินมีอินทรีย์วัตถุสูง ฤดูปลูก :  ปลูกได้ปีละครั้ง  ช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม การเตรียมดิน :  ใช้รถไถเตรียมดินให้พอดี การปลูก : ใช้ไม้ปากมนปักดลเป็นหลุมลึก ประมาณสองข้อนิ้วมือ หยอดเมล็ดพันธุ์หลุมละ 4-5 เม็ด ระยะห่างระหว่างหลุม 25x 30
การดูแล  : ใช้ปุ๋ยมูลสัตว์ ขอแนะนำ  :  พื้นที่ๆมีการปลูกข้าวกรณีที่ปลูกต่างสายพันธุ์ ไม่ควรปลูกซ้ำที่เดิม

ประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้ ARE ครั้งที่ 131 ตุลาคม 2022
31
ตุลาคม 2022รายงานจากพื้นที่ โดย Pallapa
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประสานผู้เข้าร่วมเตรียมข้อมูลในการร่วมประเมินผลลัพธ์

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เกิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การขับเคลื่อนงานตามบันไดผลลัพธ์และทบทวนการขับเคลื่อนสู่การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับชุมชนและทุกคนสามารถเข้าถึงได้

เวทีจัดทำแผนและประสานความร่วมมือกับเครือข่ายข้าวไร่จังหวัดชุมพร24 กันยายน 2022
24
กันยายน 2022รายงานจากพื้นที่ โดย Pallapa
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประสานผู้เข้าร่วมและจัดเตรียมความพร้อม ออกแบบเวทีเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงแผนงานแบบบุรณาการของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการทำข้าวไร่เมื่อปีที่แล้ว ข้าวไร่เป็นข้าวที่ต้องปลูกตามฤดูกาล ปัญหาของลมฟ้าอากาศที่ไม่ตรงตามฤดูกาลจะมีผลพอสมควร ที่ผ่านมาข้าวไร่สุกในช่วงที่ฝนตกทำให้ข้าวเกิดความเสียหาย เรื่องของแรงงานการทำข้าวไร่ลดน้อยถอยลง  เกษตรกรที่ยังทำกันอยู่ในช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป ทำให้เกิดปัญหาด้านแรงงานถือว่าหนักพอสมควร  พื้นที่มีจำกัด  การที่ไปขอพื้นที่ทำข้าวไร่เพื่อให้เห็นว่า ตัดต้นยางพารา ปาล์มน้ำมัน ก็สามารถที่จะสร้างประโยชน์ในพื้นที่จากการปลูกข้าวไร่ได้ เกิดรายได้ แต่บางคนมีเงินไม่มีความสนใจ ที่ทำหลักเลยคือ ความมั่นคงทางอาหาร และการอนุรักษ์พันธุกรรมข้าวไร่ การจะอนุรักษ์พันธุ์ไว้ได้ ต้องปลูกทุกปี  ต้องสร้างให้เกิดคุณค่าประโยชน์ เกิดเศรษฐกิจจะเป็นจูงใจในการรักษาพันธุ์ไว้ได้ ต้องหาวิธีการผลิต การแปรรูป เพื่อขายเป็นรายได้เสริม การสร้างมูลค่าเพิ่มการแปรรูปจากข้าวสารให้เป็นผลิตภัณฑ์อื่นให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ได้ผลผลิตที่มาก แปรรูปให้ได้มูลค่ามากขึ้น  การสร้างอาหาร ลดรายจ่าย ต้องมีการสื่อสารให้เห็นถึงทางเลือก ทางรอด การแปรรูปต้องมีตลาดรองรับ มีการคุยกับทางTOGA และ โรงแรม 4 แห่ง ที่ภูเก็ต  การทำเป็นธุรกิจต้องดูพื้นที่ ราคาต้องมีความเหมาะสมคุ้มทุน จะหาพื้นที่ ลดรายจ่ายในการซื้ออาหาร การทำข้าวไร่อินทรีย์เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก จึงทำอยู่ในระดับปลอดภัย การทำตลาดมีเครือข่ายอยู่    สมาพันธ์พกฉ.  วิสาหกิจคนทำธุรกิจ  สมาชิกเครือข่ายที่เดินต่อข้าวไร่  จึงมีช่องทางที่จะไปไม่ใช้ปลูกไว้กินอย่างเดียว แต่สามารถมีรายได้เพิ่ม

อบรมพัฒนาศักยภาพด้านการจัดทำสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์20 สิงหาคม 2022
20
สิงหาคม 2022รายงานจากพื้นที่ โดย Pallapa
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

สมัครเข้าร่วมการอบรมเพื่อพัฒนาคณะทำงานให้มีความรู้ในการจัดทำสื่อเพื่อการสื่อสาร

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานได้มีการแบ่งกลุ่มการเรียนรู้เป็นการถ่ายภาพวีดิโอและการทำแคนวาเพื่อให้เกิดการพัฒนาทั้งสองรูปแบบ

ประชุมคณะกรรมการครั้งที่27 สิงหาคม 2022
7
สิงหาคม 2022รายงานจากพื้นที่ โดย Pallapa
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประสานงานเครือข่ายข้าวไร่และจัดทำรายละเอียดข้อมูลการประชุมเพื่อสร้างการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนการขับเคลื่อนงานเครือข่าย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีผู้เข้าร่วมประชุม 23 คน  โดยมีการติดตามการขับเคลื่อนงานการปลูกข้าวไร่ในแต่ละอำเภอ อำเภอละแมมีปลูกข้าวไร่จำนวน 4 ราย อำเภอหลังสวนจำนวน  8  ราย  อำเภอพะโต๊ะ จำนวน 2 ราย อำเภอสวีจำนวน  5 ราย  อำเภอเมืองจำนวน  7 คน อำเภอปะทิวจำนวน 11 ราย ซึ่งมีการปลูกข้าวไร่หลายสายพันธุ์ ข้าวหอมบอน  ข้าวมันปู  ข้าวดอกข่า  ข้าวบัวผุด, เหนียวดำ  ข้าวโหยน  ข้าวเล็บนก  ข้าวโหยน

อบรมการบันทึกข้อมูลผ่านระบบออนไลน์30 กรกฎาคม 2022
30
กรกฎาคม 2022รายงานจากพื้นที่ โดย Pallapa
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประสานเครือข่ายจัดเตรียมข้อมูลโครงการและอุปกรณ์เพื่อการจัดทำข้อมูลที่เป็นระบบ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การบันทึกข้อมูลออนไลน์จะทำให้เกิดการเก็ยรวมรวมข้อมูลที่เป็นระบบและสามารถนำข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์การขับเคลื่อนงานเพื่อให้เกิดการทำงานที่ชัดเจน

จัดทำเพจประชาสัมพันธ์26 กรกฎาคม 2022
26
กรกฎาคม 2022รายงานจากพื้นที่ โดย Pallapa
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประสานจัดทำเฟสบุ๊คเครือข่ายเพื่อสร้างการเรียนรู้และเป็นช่องทางในการขายสินค้า

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีเฟสบุ๊คเครือข่ายข้าวไร่ 1 เฟสและมีไลน์กลุ่มในการพูดคุยแลกเปลี่ยนการขับเคลื่อนงานข้าวไร่อย่างต่อเนื่อง

พัฒนาระบบฐานข้อมูลสมาชิก25 มิถุนายน 2022
25
มิถุนายน 2022รายงานจากพื้นที่ โดย Pallapa
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประสานออกแบบการเก็บข้อมูลเครือข่ายสมาชิกเพื่อให้เกิดฐานข้อมูลสมาชิกเครือข่าย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีการลงเก็บข้อมูลสมาชิกเครือข่ายข้าวไร่ทั้ง 8 อำเภอ ทำให้ทราบจำนวนสมาชิก ณ ปัจจุบันมีสมาชิกปลูกข้าวไร่จำนวน  63 ราย  มีพื้นที่ปลูก  500 ไร่ และในแต่ละอำเภอจะมีแกนนำที่เข้าเป็นกรรมการของสมาชิกเครือข่ายข้าวไร่เพื่อเป็นแกนกลางในการประสานงานและส่งต่อข้อมูลการขับเคลื่อนงาน

ปฐมนิเทศโครงการ4 มิถุนายน 2022
4
มิถุนายน 2022รายงานจากพื้นที่ โดย Pallapa
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.การเรียนรู้ร่วมกันเชื่อมพลังผู้นำการเปลี่ยนแปลง การทำงานการวิเคราะห์ หรือการใช้มุมมองต่างมุมแต่สามารถเชื่อมโยงกระบวนการทำงาน เชื่อมพลังไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ให้สำเร็จ โดยดร.ฉันทวรรณ เอ่งฉ้วน จากมหาลัยแม่โจ้ ชุมพร 2.พิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัตการปฐมนิเทศโครงการย่อย ปี 2565 (Node Flagship Chumphon) ของสำนักสร้างสรรค์โอกาส(สสส.สน.6) เพื่อสนับสนุนเป้าหมายและการดำเนินงานโครงการการสร้างสุขชุมพร และโครงการย่อยระดับพื้นที่ โดยผู้แทน สสส.สน.6 และคุณทวีวัตร เครือสาย 3.การปฏิบัติการกลุ่มร่วมกันเพื่อคลี่เคลื่อนบันไดผลลัพธ์ เรียนรู้แผนงานโครงการย่อยและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ของชมรม อสม.รพ.สต.บ้านแก่งกระทั่งและชมรมผู้สูงอายุตำบลเขาทะลุ โดย คุณวิษณุ ทองแก้ว พี่เลี้ยงโครงการ วันที่ 5 มิถุนายน 2565 4.เรียนรู้การบริหารจัดการด้านการเงิน เอกสารโครงการที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้อง รัดกุมโปร่งใสและตรวจสอบได้ รวมทั้งเตรียมพร้อมในการบันทึกกิจกรรมรายงานระบบออนไลน์ในครั้งถัดไป โดยคุณพัลลภา ระสุโส๊ะ 5.เวทีเสวนาการขับเคลื่อนงานประเด็นเกษตรการปลอดโรคผู้บริโภคปลอดภัยเชื่อมประเด็นงานการจัดการโรคเรื้อรังแนวใหม่ เพื่อผลลัพธ์สู่การมีสุขภาวะที่ดีของประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์จังหวัดชุมพร โดย ดร.ชุมพล อังคณานนท์ ปลัดธีรนันต์ ปราบปราย และคุณวิโรจน์ แสงบางกา

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.มุมมองจากการเรียนรู้เสริมกระบวนการทำงานร่วมกับทีมเพื่อไปสู่จุดหมายที่ตั้งไว้ร่วมกัน 2.การสนับสนุนและความคาดหวังจาก สสส.สน.6 เพื่อให้การดำเนินงานในโครงการระดับพื้นที่ ต้องเกิดประโยชน์มากที่สุด ทำให้คณะทำงานโครงการเกิดแรงบันดาลใจพร้อมที่จะขับเคลื่อนโครงการที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณมานั้น บรรลุสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ตามบันไดผลลัพธ์ของโครงการ 3.การเตรียมการในการขับเคลื่อนงานโครงการเริ่มตั้งแต่กลไกคณะทำงาน ทุน ศักยภาพ ภาคีเครือข่ายจุดแข็ง-จุดอ่อน ที่มีอยู่เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยง นำไปสู่ความสำเร็จร่วมกัน 4.เกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการบริหารจัดการการเน และการจัดการด้านเอกสารที่เกี่ยวข้องประกอบรายงานโครงการในทุกกิจกรรม เพื่อให้ถูกต้อง รัดกุมโปร่งใสและตรวจสอบได้ จะทำให้ไม่เกิดปัญหาตามมาในช่วงปิดโครงการ

จัดทำป้ายประชาสัมพันธืเหล้า-บุหรี่26 พฤษภาคม 2022
26
พฤษภาคม 2022รายงานจากพื้นที่ โดย Pallapa
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดทำป้ายเหล้า/บุหรี่เพื่อประชาสัมพันธ์

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีป้ายงดเหล้าบุหรี่จำนวน 1 ป้ายติดไว้ ณ. สวนสุขใจ

ประชุมคณะทำงานครั้งที่11 พฤษภาคม 2022
1
พฤษภาคม 2022รายงานจากพื้นที่ โดย Pallapa
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประสานงานเครือข่ายข้าวไร่และจัดทำรายละเอียดข้อมูลการประชุมเพื่อสร้างการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนการขับเคลื่อนงานเครือข่าย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีคณะทำงานเข้าร่วมประชุมจำนวน 19 ท่าน จาการประชุมทบทวนการขับเคลื่อนงานเครือข่ายข้าวไร่ซึ่งมีการปลูกครอบคลุมทั้ง 8 อำเภอและนำมาวิเคราะห์สรุปได้ว่าการปลูกข้าวไร่ต้องมีการดูพื้นที่เพาะปลูกและเมื่อข้าวไร่เริ่มโตต้องกำจัดวัชพืชซึ่งต้องใช้วิธีกการที่หลากหลายและต้องไม่ใช้สารเคมีเพื่อให้ข้าวไร่ที่ปลูกปลอดภัย