directions_run

โครงการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นฐาน (Community Based Treatment : CBTx) ตำบลพะตง

stars
1. ชื่อโครงการ
โครงการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นฐาน (Community Based Treatment : CBTx) ตำบลพะตง
stars
2. องค์กรที่รับผิดชอบ
กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลพะตง
stars
3. เป้าประสงค์
groups
เป้าประสงค์ที่สอดคล้องกับประเด็นขับเคลื่อน
ลดจำนวนนักดื่มนักสูบหน้าเก่า ป้องกันนักดื่มนักสูบหน้าใหม่ ควบคุมการจำหน่ายบุหรี่แปลกใหม่ เช่น บุหรี่ไฟฟ้า

 

groups
เป้าประสงค์เฉพาะ
ลดภาวะเสี่ยงจากโรคกล่องเสียงและถุงลมโป่งพอง ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด

 

สร้างความเข้าใจปัจจัยเสี่ยงเกี่ยวกับสมุนไพรกระท่อมและกัญชา

 

ลดปัจจัยเสี่ยงในสังคมในรูปแบบต่างๆได้แก่ ลดอุบัติเหตุจากการดื่มแล้วขับ การพนัน ยาสูบ ยาเสพติด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ภัยไซเบอร์

 

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
5. ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัญหายาเสพติดเป็นภัยอันตรายที่คุกคามมวลมนุษยชาติทั่วโลก เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้คุณภาพ ชีวิตของประชากรต่ำลง ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาประเทศและก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมที่บั่นทอน เศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศ โดยมีการกำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งในการป้องกันและ แก้ไขปัญหายาเสพติดนั้น ถือเป็นนโยบายสาธารณะที่มีความเกี่ยวข้องกับการควบคุมพฤติกรรมของบุคคลเพื่อประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม ในขณะที่ประชาชนมีความคาดหวังให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งรัดในการควบคุม ป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติดให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อที่จะได้มีความรู้สึกมั่นคงและปลอดภัยในการดำรงชีวิต โดยที่ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ได้ระบุ การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นประเด็นที่อยู่ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง โดยผลักดันการวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาของทุกภาคส่วนในทุกประเด็นอย่างเป็นระบบ ส่งเสริมการหารือ วางแผน และยกระดับวิธีการแก้ไขปัญหาที่อาศัยการผนึกกำลังคนและทรัพยากรให้ มีส่วนร่วมแบบบูรณาการอย่างแท้จริง เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานหลักและรองในการป้องกันแก้ไขปัญหาและช่วยเหลือประชาชน ตามที่รัฐบาลได้มีนโยบายให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาผู้เสพและผู้ติดยาเสพติด โดยมีการใช้ กระบวนการชุมชนเป็นฐาน ในการค้นหา ชักชวน และร่วมดูแลช่วยเหลือผู้ใช้ยาเสพติด ให้สอดคล้องกับสภาพ ความเป็นอยู่/บริบทของพื้นที่ที่เหมาะสม ประกอบกับสถานการณ์ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานด้านการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ในทุกระบบ ทำให้การบำบัดฟื้นฟูบางกิจกรรมไม่สามารถดำเนินการได้ จำเป็นจะต้องปรับรูปแบบการบำบัดฟื้นฟู ให้เหมาะสม สอดรับกับสถานการณ์ โดยการนำรูปแบบการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นฐาน (Community Based Treatment : CBTx) มาดำเนินการไปพร้อมกับการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหายาเสพติด ในหมู่บ้าน/ชุมชน การบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นฐาน เป็นการดูแล ผู้ใช้ยาเสพติดให้เกิดการบำบัดฟื้นฟูใกล้บ้าน หรือภายในชุมชนอย่างต่อเนื่อง มีกระบวนการ ตั้งแต่การค้นหา คัดกรอง บำบัดฟื้นฟู การลดอันตรายจากยาเสพติด และการติดตามดูแลช่วยเหลือทางสังคม ซึ่งถือว่า เป็นเป้าหมายสำคัญที่หน่วยงานทุกภาคส่วนและชุมชนจะเข้ามาดำเนินการร่วมกัน จากสถานการณ์ข้อมูล และการดำเนินงานด้านการรักษาในศูนย์คัดกรองยาเสพติดของสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ ต. พะตงตั้งแต่ ปี 2565 ถึง 2566 เป็นต้นมา พบว่า มีผู้ป่วยที่ใช้สารเสพติดเข้าสู่ระบบการรักษาบำบัดโดยความสมัครใจ จำนวน 5 คน หลังจากบำบัดรักษา ปัจจุบันไม่ใช้สารเสพติดทั้ง 3 คน ประกอบอาชีพแล้ว 2 คน อีก 2 คน กำลังรักษา และอยู่ในช่วงการติดตามผล และประเมินติดตามโดยทีมสหวิชาชีพ และทีมภาคีเครือข่ายในชุมชน เพื่อประเมินความต้องการ และให้ความช่วยเหลือตามความจำเป็น รวมทั้งส่งเสริมการประกอบอาชีพ และประเมินคุณภาพชีวิตของครอบครัว จนทำให้ผู้ป่วยที่ใช้สารเสพติดสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนและพึ่งตนเองได้ รวมถึงการดำเนินงานแก้ไขปัญหาจิตเวชคุ้มคลั่งในกลุ่มผู้ใช้สารเสพติด ร่วมกับโรงพยาบาลหาดใหญ่ และภาคีเครือข่าย ที่นำผู้ใช้สารเสพติดที่มีปัญหาด้านจิตเวชเข้าสู่กระบวนการรักษา รวมถึงให้ชุมชนร่วมกันสังเกต ร่วมสอดส่อง มองหาผู้ที่มีสัญญาณเตือน 5 อาการสำคัญ คือ “นอนไม่หลับ เดินไปเดินมา พูดจาคนเดียว หงุดหงิดฉุนเฉียว เที่ยวหวาดระแวง” เพื่อนำส่งบุคคลเหล่านี้เข้าสู่กระบวนการรักษา เพื่อป้องกันอันตรายแก่บุคคล ครอบครัว และชุมชน จากการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่า กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการเหล่านี้ ร้อยละ 90 เป็นผู้ป่วยที่มีการใช้สารเสพติดมากที่สุด ดังข้อมูลในปี 2566 มีผู้ป่วยที่ส่งเข้าระบบรักษา จำนวน 18 คน เป็นผู้ใช้สารเสพติด จำนวน 9 คน และจากการดำเนินงานที่ผ่านในพื้นที่พะตงนั้น กล่าวได้ว่าประสบความสำเร็จระดับดีมาก เนื่องจากเป็นการทำงานโดยความร่วมมือจากภาคีทุกภาคส่วน ทั้ง ภาคราชการประกอบด้วย เทศบาลตำบลพะตง สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ ตำบลพะตง สภต. ทุ่งลุง โรงพยาบาลหาดใหญ่ สสอ. หาดใหญ่ ภาคผู้นำท้องถิ่น ประกอบด้วย กำนัน อส. ผู้นำชุมชน อสม. แกนนำต่างๆ และภาคเอกชน คือ มูลนิธิพะตงเทิดธรรม โรงงานอุตสาหกรรม กล่าวได้ว่าการดำเนินงานในพื้นที่ตำบลพะตงที่ผ่านมา กระบวนการดำเนินงานนั้นไม่ได้แตกต่างกับแนวคิดการนำรูปแบบการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นฐาน มาดำเนินการไปพร้อมกับการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหายาเสพติด ในหมู่บ้าน/ชุมชน ที่รัฐบาลกำหนดไว้ เพื่อให้การดำเนินการบำบัดฟื้นฟู ผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นฐาน ตำบลพะตง เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ศูนย์คัดกรองยาเสพติดตำบลพะตง โดยสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ ตำบลพะตง และคณะกรรมการการดำเนินการบำบัดฟื้นฟู ผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นฐาน ตำบลพะตง จึงได้จัดทำโครงการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นฐาน (Community Based Treatment : CBTx) เพื่อให้ผู้เสพยาเสพติดได้รับการพัฒนาทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม การพัฒนาคุณภาพชีวิต ตลอดจนได้รับการติดตาม ดูแล และช่วยเหลือในด้านต่างๆ อย่างเหมาะสม จนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้สามารถลด ละ เลิกยาเสพติดได้ และส่งคืนคนดีกลับสู่สังคม โดยใช้รูปแบบการดูแลผู้ใช้สารเสพติดแบบมีส่วนร่วมที่เรียกว่า “พะตงโมเดล” ต่อไป
stars
6. รูปแบบการจัดกิจกรรม
Online
Onsite
Hybridge
stars
7. ประเภทของกิจกรรม
การพัฒนากลไก เช่น สนับสนุนกลไกในการทำงาน การรวมกลุ่ม สร้างชุมชนเข้มแข็ง การประสานส่งต่อความช่วยเหลือ

 

การสำรวจข้อมูล ค้นหากลุ่มเสี่ยง กลุ่มเป้าหมาย

 

การตรวจคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย

 

การทำแผน กติกา การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ การวางแผนครอบครัว

 

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การส่งเสริมทักษะทางกาย ใจ การนำหลักศาสนามาใช้

 

การป้องกันและลดปัญหา เช่น ด้านยาเสพติด การป้องกันและลดปัญหาด้านโภชนาการ การป้องกันและลดปัญหาด้านเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์ไม่พร้อม

 

การบริการรักษาสุขภาพ เช่น การพัฒนาระบบบริการเชิงรุก การฉีดวัคซีน การแพทย์ทางร่วม การลดภาวะซีดในหญิงมีครรภ์ การดูแลสุขภาพจิต การใช้สมุนไพรทางเลือก

 

การปรับสภาพแวดล้อม สิ่งอำนวยความสะดวก กายอุปกรณ์ ผ้าอ้อมสำเร็จรูป ตัดแว่นตา

 

การส่งเสริมสุขภาพ

 

การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

 

การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ สื่อสารสาธารณะ

 

การพัฒนาศักยภาพ เช่น ให้ความรู้ การดูงาน

 

ด้านการเงิน งบประมาณ (การให้ความช่วยเหลือทางการเงิน ปัจจัยการผลิต กองทุนหมุนเวียน กองทุนกลาง การออมทรัพย์ สวัสดิการ)

 

การส่งเสริมอาชีพ การสร้างอาชีพ และรายได้ ลดรายจ่าย

 

การส่งเสริมการตลาดในชุมชน การส่งเสริมตลาดกรีน/ตลาดอาหารสุขภาพ

 

การบังคับใช้กฏหมาย

 

การเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง

 

การประเมินติดตามผล

 

การจัดการความรู้ งานวิจัย

 

การฟื้นฟูสมรรถภาพ

 

อื่นๆ

 

stars
8. พื้นที่ดำเนินการ
จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
สงขลา หาดใหญ่ พะตง place directions
stars
9. งบประมาณ
งบประมาณ
59,375.00 บาท
ได้รับงบประมาณจาก

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2567 13:24 น.