directions_run

ประเพณีเชื่อมร้อยจิตใจสร้างสายใยชุมชน(การทำกระจาด)

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ประเพณีเชื่อมร้อยจิตใจสร้างสายใยชุมชน(การทำกระจาด)
ภายใต้โครงการ โครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่
รหัสโครงการ 55-01896
วันที่อนุมัติ
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2012 - 31 ตุลาคม 2013
งบประมาณ 213,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสถิตย์ สับสนอง
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ บ้านนาแยะเหนือ หมู่ที่ 2 ตำบลคลองเส อำเภอถ้ำพรรณรา จังหวัดนครศรีธรรมราช
ละติจูด-ลองจิจูด 8.4516991289205,99.464224597855place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2012 15 มี.ค. 2013 1 ต.ค. 2012 15 มี.ค. 2013 0.00
2 16 มี.ค. 2013 31 ต.ค. 2013 16 มี.ค. 2013 31 ต.ค. 2013 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (213,000.00 บาท)

stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

 

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ให้คนในชุมชนมีความสามัคคี มีส่วนร่วมกิจกรรมชุมชน

คนในชุมชนมีการทำกิจกรรมร่วมกันไม่น้อยกว่า ๓ กลุ่ม
กลุ่มทำกระจาดและกลุ่มทำขนมคู่กระจาด ร้อยละ ๑๓.๑๕ (๕๐ คน) ของประชากรชุมชน กลุ่มกลองยาว ร้อยละ ๕.๒๖ (๒๐ คน) ของประชากรชุมชน

2 เรียนรู้กับผู้มีประสบการณ์ในชุมชนและศึกษาดูงานกับชุมชนที่ประสบความสำเร็จ

กลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่มสตรี แม่บ้าน อสม. ปราชญ์ชาวบ้าน เยาวชนในชุมชน ครู นักเรียน ม.ปลาย จำนวน ๓๐ คนเข้าร่วมกิจกรรม

3 การอนุรักษ์สืบสานประเพณีวัฒนธรรม

เกิดกลุ่มทำกระจาด กลุ่มทำขนมคู่กระจาด กลุ่มกลองยาว และประชาชนเข้าร่วมวันสืบสานประเพณีชุมชน ร้อยละ ๖๐ (๒๒๘ คน) ของประชากร

stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม

จัดประชุมเสวนาเพื่อหาแกนนำในการออกแบบกิจกรรม

ออกแบบรูปแบบการฝึกอบรมที่เหมาะสมและสร้างข้อตกลงเพื่อกำหนดบทบาทหน้าที่ของผู้ร่วมกิจกรรม

ฝึกอบรมสร้างกระบวนการเรียนรู้ในการวิเคราะห์ตนเอง  ครอบครัวและชุมชนรวมถึงประเพณีวัฒนธรรมในชุมชน     วิธีการฝึกอบรม ลงทะเบียน (ดำเนินการโดยตัวแทนชุมชน) ชี้แจงกระบวนการและวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม
กิจกรรมการเรียนรู้นำสู่บทเรียน
นำเสนอโดยตัวแทนผู้เข้าประชุม พี่เลี้ยงเติมเต็ม กิจกรรมการบอกเล่าสิ่งดีๆ ของตนเอง ครอบครัว  ชุมชน
ให้วิเคราะห์สุขทุกข์ของตนเอง  ครอบครัว  ชุมชน
สลับด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ การสร้างสุขของตนเอง  ครอบครัว ชุมชน ในอนาคต
การกำหนดคุณลักษณ์ของผู้นำที่ต้องการ       สรุปบทเรียนประจำวัน จัดกลุ่มกิจกรรม 3 กลุ่ม กิจกรรมโดยผู้สูงอายุหรือปราชญ์ชาวบ้านเป็นแกนนำทำกิจกรรม ได้แก่กิจกรรมทำกระจาด  กิจกรรมทำขนม  กิจกรรมกลองยาว ให้สมาชิกในแต่ล่ะกลุ่มได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบร่วมกัน  วางแผนพัฒนากิจกรรมที่กลุ่มสนใจ-เรียนรู้กับผู้ที่มีประสบการณ์ในชุมชน ศึกษาดูงานกับชุมชนที่ประสบความสำเร็จ  เช่น  ชุมชนบ้านหอยราก  อ.ปากพนัง-จัดประชุมเสวนาเพื่อออกแบบการจัดกิจกรรมร่วมเรียนรู้เพื่อสืบสานประเพณี  วัฒนธรรมพื้นบ้าน  แบ่งกลุ่มแต่ละกิจกรรม ได้แก่ 1.การทำกระจาด
ครั้งที่ 1 มีการนัดประชุมปราญช์ชาว ผู้นำชุมชน และประชาชน  มาพูดคุยวางแผนการดำเนินกิจกรรม และมอบหมายบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบตามความถนัด
ครั้งที่ 2 สอนและจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการทำกระจาด เช่น     -ไม้ตีนเป็ด  ใช้ทำส่วนยอด ใช้แกะสลักลวดลายและโครงสร้างของกระจาด   -ไม้ไผ่  ใช้ทำเป็นโครงสร้างของกระจาด   -ไม้ระกำ  ใช้ทำเป็นโครงสร้างของกระจาด ครั้งที่ 3  สอนและปฏิบัติการใช้ไม้ตีนเป็ดการแปรรูปและแกะสลักลวดลาย จนถึงการลงสี
ครั้งที่ 4 สอนและปฏิบัติการใช้ไม้ไผ่มาทำโครงสร้าง
ครั้งที่ 5 สอนและปฏิบัติการใช้ไม้ระกำในการทำโครงสร้าง
ครั้งที่ 6 สอนและปฏิบัติการประกอบเป็นกระจาดพร้อมตกแต่งด้วยกระดาษ โมบาย

2.การทำขนมลา - ครั้งที่ 1 มีการประชุมผู้นำและปราชญ์ชาวบ้าน ประชาชนที่สนใจเพื่อพูดคุยในการทำกิจกรรม มีการมอบหมายงานและความรับผิดชอบ แบ่งกลุ่มกัน 3 กลุ่ม เช่น กลุ่มทำขนมพอง กลุ่มทำขนมลา  และกลุ่มทำขนมบ้าและดีซำ มีผู้เข้าร่วม 30 คน มีวิทยากร 3 คน จำนวน 1 วัน -ครั้งที่ 2 สอนและปฏิบัติการทำขนมพอง เตรียมวัสดุอุปกรณ์ เช่นข้าวเหนียว แบบพิมพ์ซึ่งทำมาจากเปลือกสาคู  ใบกระจงสำหรับไว้ตากขนมพอง จำนวน 2 วัน -ครั้งที่ 3 สอนและปฏิบัติการทำขนมลา มีการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ เช่นแป้งซึ่งทำมาจากข้าวเหนียว น้ำตาลแดง น้ำมัน ฯลฯจำนวน 2 วัน -ครั้งที่ 4 สอนและปฏิบัติการทำขนมบ้าและขนมดีซำ  มีการเตรียมวัสดุอุปกรณ์เช่นแป้ง น้ำตาล เผือกมัน  กล้วย ฯลฯจำนวน 1 วัน

3.กิจกรรมกลองยาว
-ครั้งที่ 1  ผู้นำเชิญปราชญ์ชาวบ้านและผู้ที่สนใจในกิจกรรมกลองยาว 20 คนมาพูดคุยและแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ จำนวน 1 วัน -ครั้งที่ 2 สอนและปฏิบัติการขั้นพื้นฐานของการตีและการรำกลองยาว จำนวน 5 วัน
-ครั้งที่ 3  สอนและปฏิบัติการรำประกอบเพลง จำนวน 5 วัน -ครั้งที่ 4 นำกิจกรรมกลองยาวมาฉลองกระจาดตามประเพณีโบราณ จำนวน 4 วัน

  • จัดกิจกรรมเผยแพร่  สืบสานประเพณี  วัฒนธรรมพื้นบ้าน  สามารถดำเนินกิจกรรมนำไปสู่การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในกิจกรรมงานประเพณีวันต่างๆของชุมชน  เช่น  วันชาวสวน  วันลอยกระทง วันสงกรานต์ ต่อไป

-ประเมินผลว่าคนในชุมชนมีความสามัคคีเพิ่มขึ้น  โดยดูจากพฤติกรรมของคนในชุมชน  โดยคนในชุมชนมีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น  มีการร่วมกันทำกิจกรรมกันมากขึ้น  มีการพูดคุยซักถามกันเป็นประจำ  เช่น  ถามผู้นำชุมชนเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆของชุมชน  ชวนกันไปทำกิจกรรมในวันสำคัญต่างๆ  เป็นต้น-สรุปผล  และถอดบทเรียนจากกิจกรรมทั้งสองกิจกรรม-กิจกรรมการถอดบทเรียนตลอดทั้งโครงการจะดำเนินการทุกๆ  ๓  เดือน  เพื่อเป็นการติดตาม  ประเมิน  และปรับปรุงการดำเนินงานโครงการ โดยการดำเนินกิจกรรมนั้นใช้คำถามในลักษณะชวนคุยในประเด็นต่างๆต่อไปนี้ซึ่งจะสอดคล้องกับเป้าหมายในการดำเนินกิจกรรมในช่วงเวลานั้นๆ ๑.ขณะนี้เราทำอะไร
๒.เราต้องการทำไปถึงไหน
๓. เราไปถึงหรือยัง ๓.๑ ถ้าไปไม่ถึงควรทำอย่างไร ๔. เราจะทำไปถึงได้อย่างไร ๕.ใครมาทำกับเราบ้าง     โดยใช้เวลาหัวข้อละ  30 นาที  ตัวแทนนำเสนอกลุ่มละ  5 นาที) สลับกับกิจกรรมการเรียนรู้(สันทนาการ)

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2012 14:09 น.